The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ตามรูปแบบสสวท เพื่อใช้ประกอบการสอน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 4410210155, 2021-06-05 08:14:35

การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ตามรูปแบบสสวท

การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ตามรูปแบบสสวท เพื่อใช้ประกอบการสอน

ค่มู อื
การเขยี นรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์

และคอมพวิ เตอร์
โครงการหอ้ งเรยี นพิเศษวทิ ยาศาสตร์

จัดทาํ โดย

สาขาโอลมิ ปกิ วิชาการและพฒั นาอจั ฉรยิ ภาพทางวทิ ยาศาสตร์และคณติ ศาสตร์
สถาบนั สง่ เสรมิ การสอนวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธกิ าร

คําชแี้ จง

รายงานโครงงานเป็นรายงานเชิงวิชาการอย่างหน่งึ ทีร่ วบรวมข้อมลู ของโครงงานที่ศกึ ษาท้งั หมด
โดยทัว่ ไปการเขียนรายงานเชิงวชิ าการมรี ปู แบบการเขยี นทีแ่ น่นอนตามสากลนยิ ม แตอ่ าจมีข้อปลีกยอ่ ยของ
รูปแบบการเขียนที่ตา่ งกันออกไปในแต่ละสถาบนั หรอื สาขาวชิ า อย่างไรก็ตามหลกั การสําคัญในการเขียนก็
ยงั คงเหมือนกัน คือ ต้องเขยี นไปตามขอ้ เท็จจรงิ ตามข้อมูลที่ไดม้ า โดยไมเ่ พิ่มเติมความคดิ เหน็ ส่วนตวั ลงไป
มีการแปลผลและอภิปรายผลภายใต้ขอบเขตของขอ้ มลู โดยใชภ้ าษาเขียนตามหลักวิชาการ ท้ังนเ้ี พอ่ื ใหผ้ ูท้ ม่ี ี
พื้นความรทู้ ่ีแตกตา่ งสามารถเข้าใจเนื้อหาโครงงานไดจ้ ากการอ่านรายงาน และเมือ่ มกี ารทดลองทาํ ซํ้า ด้วย
วธิ ีการหรอื กระบวนการเดียวกบั ที่ระบุในรายงานควรได้ผลการทดลองไมต่ ่างกนั

ดังนั้น เพอื่ ใหร้ ายงานฉบับสมบูรณ์ของนักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ที่ทํา
โครงงานวิทยาศาสตร์ หรือโครงงานคณิตศาสตร์ หรือโครงงานเทคโนโลยี ตามหลักสูตรห้องเรียนพิเศษ
วิทยาศาสตร์ มีรูปแบบเป็นไปในทางเดียวกัน และเพ่ือเป็นแนวปฏิบัติสาํ หรับครูที่ปรึกษาโครงงาน ในการ
ให้คาํ แนะนํานักเรียน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จึงได้จัดทาํ
คู่มือการเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ เล่มน้ีขึ้น โดยแบ่งเปน็ 3 ตอน
คอื ตอนท่ี 1 องค์ประกอบของการเขียนรายงานโครงงานฯ กล่าวถงึ นิยามของแต่ละองค์ประกอบอย่างสังเขป
เพื่อใหม้ ีความรู้ ความเขา้ ใจก่อนเขยี นและพิมพ์รายงาน ตอนท่ี 2 รปู แบบการพมิ พ์ รายงานโครงงาน กลา่ วถึง
รูปแบบการพมิ พ์รายงานของแต่ละองค์ประกอบอย่างละเอียด ทง้ั ในเรอื่ งของการกาํ หนดแบบและขนาด
ตวั อักษร การกั้นหน้ากระดาษ และการเว้นวรรคตอน และตอนท่ี 3 ตวั อยา่ งการเขยี น การพิมพ์ตามโครงสร้าง
ของรายงานโครงงาน

ในการจัดทาํ คู่มือการเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ ฉบับนี้
ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่ง จากสาํ นักวิทยาศาสตร์ และสาํ นักคณิตศาสตร์ ของ สสวท. ผู้ทรงคุณวุฒิ
คณาจารย์ของมหาวิทยาลัย และคณะครูจากโรงเรียนที่เป็นศูนย์ของโครงการ พสวท. จึงขอขอบพระคุณ
เป็นอย่างสูง ไว้ ณ โอกาสนี้ หากท่านพบข้อบกพร่องหรือมีข้อเสนอแนะเพ่ิมเติม ขอได้โปรดแจ้งให้
สาขาโอลิมปิกวิชาการฯ ทราบ จะเป็นพระคุณยิ่ง ท้ังนี้เพ่ือจะได้ปรับปรุงเอกสารนี้ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ในโอกาสต่อไป

สาขาโอลมิ ปิกวชิ าการและพัฒนาอจั ฉริยภาพทางวิทยาศาสตรแ์ ละคณิตศาสตร์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
เมษายน 2554

1

ตอนที่ 1 องค์ประกอบของการเขียนรายงาน
โครงงานวิทยาศาสตร์ คณติ ศาสตร์ และคอมพิวเตอร์

โครงสร้างของรายงานโครงงานวทิ ยาศาสตร์ คณติ ศาสตร์ และคอมพวิ เตอร์ กาํ หนดไว้เปน็ 3 สว่ น
คือ สว่ นนาํ สว่ นเน้ือเรื่อง และส่วนอา้ งอิง

1. สว่ นนาํ ประกอบดว้ ย

1.1 ปกนอก
1.2 ใบรองปก
1.3 ปกใน
1.4 บทคัดยอ่
1.5 กิตตกิ รรมประกาศ
1.6 สารบัญ
1.7 คาํ อธิบายสญั ลักษณ์และคาํ ยอ่ (ถ้าม)ี

ปกนอก
ปกนอกเป็นส่วนทค่ี วรเนน้ ความเรยี บร้อยสวยงามเปน็ พเิ ศษ โดยท่ัวไปนิยมใชก้ ระดาษขนาด

120 แกรม พิมพต์ วั อักษรด้วยสีสภุ าพ หรือใชก้ ระดาษสี ขอ้ ความบนปกนอกประกอบด้วยขอ้ ความเรียง
ตามลาํ ดบั ดงั นี้

1. ตราโรงเรียน
2. ช่ือเรอื่ งโครงงานวิทยาศาสตร์ หรอื โครงงานคณติ ศาสตร์ หรอื โครงงานคอมพิวเตอร์
3. ชื่อนักเรยี นผจู้ ดั ทาํ โครงงานทกุ คน โดยระบคุ ํานําหนา้ ชื่อ ชื่อตัวและช่อื สกลุ และใสค่ าํ ว่า

“โดย” กอ่ นพิมพ์ช่ือผทู้ ําโครงงาน
4. ข้อความทบี่ อกใหท้ ราบถงึ โอกาสในการทาํ โครงงาน คือ “รายงานน้ี เปน็ สว่ นหนึง่ ของรายวิชา
ว 30291 โครงงานวิทยาศาสตร์ 2 หรือ ค 30299 โครงงานคณิตศาสตร์ 2 หรือ ง 30299 โครงงาน
คอมพิวเตอร์ 2 ตามหลักสตู รห้องเรยี นพิเศษวิทยาศาสตร์ของ สสวท. โรงเรียน....... ภาคเรยี นที่ …....
ชนั้ มธั ยมศกึ ษาปที ่.ี .. ปีการศึกษา .....”
ข้อความทั้งหมดบนปกนอกควรจัดเรียงให้กระจายอยู่บนปก ได้ระยะที่สวยงาม ใช้ขนาดตัวอักษร
ท่พี อเหมาะ ดงึ ดดู ความสนใจ และเว้นระยะห่างให้สมดลุ

ใบรองปก
เป็นกระดาษ A4 สีขาว ขนาด 80 แกรม ไม่พิมพ์ข้อความใดๆ จํานวน 1 แผ่น ใส่ไว้ถัดจาก

ปกนอก ถ้าเปน็ ปกอ่อนและรายงานมคี วามหนาสนั ปกไมเ่ กิน 0.5 เซนติเมตร อาจไมต่ ้องใสใ่ บรองปก

2

ปกใน
ข้อความทงั้ หมดบนปกในควรจดั เรียงให้กระจายอย่บู นปก ไดร้ ะยะที่สวยงาม ใช้ขนาดตวั อกั ษร

ท่ีพอเหมาะ ดึงดดู ความสนใจ และเว้นระยะหา่ งใหส้ มดุล ขอ้ ความท่เี พมิ่ เตมิ จากปกนอก คอื ครูท่ปี รึกษา
ในกรณีทม่ี ที ป่ี รึกษาจากหนว่ ยงานนอกโรงเรียน หรือท่ีปรึกษาพิเศษ ซง่ึ อาจมาจากมหาวิทยาลัย
หรอื หนว่ ยงาน หรือเปน็ ผู้รู้ ผู้เชย่ี วชาญ หรอื นักวิชาการอสิ ระอ่ืนๆ กอ็ าจเขยี นหัวขอ้ ทป่ี รึกษาพเิ ศษ
หรอื เขียนใหส้ อดคล้องกบั สถานะของท่ปี รกึ ษานนั้ ๆ อย่างไรกด็ ีนักเรียนควรมีครูท่ปี รกึ ษาจากโรงเรียน
ของนักเรียนอยู่ด้วย

บทคัดยอ่ (abstract)
บทคัดยอ่ เป็นข้อความโดยสรปุ ของรายงานโครงงานวทิ ยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์

ทีส่ น้ั ไดใ้ จความชัดเจน ครอบคลุมเน้อื หาสาํ คัญของโครงงาน โดยเฉพาะอยา่ งยิ่งในส่วนของจุดประสงค์
ขอบเขตของการทาํ โครงงาน วธิ ีดําเนนิ งาน รวมถึงวิธีการทางสถติ ิทใ่ี ชแ้ ละผลการดําเนนิ งาน โดยการเขียน
ตอ้ งไม่มีการอ้างองิ การยกตวั อยา่ ง ข้อความ สมการ ภาพ คําวจิ ารณ์ และคาํ ฟุ่มเฟอื ย

บทคัดยอ่ ทีเ่ ป็นส่วนหนง่ึ ในรายงานโครงงานไม่ต้องเขยี นส่วนนําของบทคัดยอ่ ถ้าเปน็ บทคดั ยอ่
ทจ่ี ัดทําขึ้นมาเพื่อการเผยแพรโ่ ครงงานที่ตอ้ งการแยกออกไปจากรายงานโครงงานฉบบั สมบรู ณ์ ตอ้ งมที งั้
ส่วนนาํ ของบทคดั ยอ่ ส่วนบทคดั ย่อ และคาํ สาํ คญั (ถ้าม)ี ดงั น้ี

1. ส่วนนําของบทคัดย่อ ประกอบด้วย
- ช่อื เร่อื ง
- ชอื่ ผทู้ ําโครงงานวทิ ยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ ใชห้ ลกั การเดียวกับ
การเขียนปกนอก
- อเี มล (E-mail) หมายเลขโทรศัพท์
- ช่ือครทู ี่ปรึกษา หมายเลขโทรศัพท์ อเี มล และชอื่ โรงเรยี นของครทู ่ีปรกึ ษา
- ชือ่ อาจารย์ทป่ี รึกษาพิเศษพร้อมระบตุ าํ แหน่งทางวชิ าการ (ถา้ ม)ี หมายเลขโทรศพั ท์
อีเมล และช่อื หน่วยงาน
- วัน เดอื น ปี ทท่ี าํ (ระบุภาคการศึกษา และปกี ารศึกษาท่ที ํา)
- ผูส้ นบั สนุนการทาํ โครงงาน เชน่ โรงเรยี น มหาวทิ ยาลยั สถาบันสง่ เสรมิ การสอน
วทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี หรือหนว่ ยงานอืน่ ๆ

2. สว่ นบทคดั ย่อ ประกอบด้วยจุดประสงค์ วิธีการดาํ เนนิ งาน ผลการดาํ เนนิ งาน และอาจมี
ข้อเสนอแนะดว้ ย การเขียนสว่ นบทคัดยอ่ เขียนเปน็ ความเรียงตอ่ เนือ่ ง ระบจุ ุดประสงค์ ขอบเขตของ
โครงงาน วธิ กี ารดาํ เนินงาน วธิ กี ารเก็บขอ้ มูล ผลการดาํ เนินงาน ความยาวท้ังหมดไม่ควร 1 หนา้ หรือ
ประมาณ 250-300 คํา ในสว่ นของวธิ ีการดาํ เนินงานควรระบขุ นาดของกลุ่มตัวอย่าง วิธีการรวบรวมข้อมูล
และการวเิ คราะหข์ ้อมลู ตามลาํ ดบั จดุ ประสงค์ แล้วนาํ เสนอผลการดาํ เนนิ งานตามลาํ ดับ โดยนําเสนอเฉพาะ
ประเด็นสาํ คญั ในลักษณะการสรปุ เทา่ นั้น

3. คําสําคัญ (keyword) เป็นคําที่ให้ไว้เพ่ือเป็นประโยชน์ในการสืบค้นสําหรับผู้ที่สนใจ โดยเลือกคํา
ทม่ี คี วามหมายเฉพาะ และเก่ียวข้องกบั งานทท่ี าํ ในโครงงานมากท่ีสดุ โดยไม่ควรเกนิ 5 คํา

3

กิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศเปน็ ส่วนทผี่ ู้ทาํ โครงงานเขยี นแสดงความขอบคณุ บุคคล สถาบัน หนว่ ยงานท่ีให้

ความช่วยเหลอื ให้ความรว่ มมอื ทัง้ ในการคน้ คว้าความรู้ การดาํ เนินงาน ใหข้ ้อคิดเหน็ และใหข้ อ้ มูล
การเขยี นกติ ตกิ รรมประกาศเปน็ การแสดงถึงจรรยาบรรณทางวิชาการที่ผ้ทู ําโครงงานควรถือปฏิบัติ ขอ้ ความที่
เขียนควรเปน็ ภาษาทางวิชาการ ไม่ใชภ้ าษาพูดและคําสแลง การระบุชอื่ บคุ คลใหร้ ะบุทง้ั ชือ่ นามสกลุ และคาํ
นําหนา้ ถา้ เปน็ บคุ คลทม่ี ียศ/ ตําแหนง่ หน้าทก่ี ารงานให้ระบไุ ว้ด้วย หากต้องการแสดงความขอบคณุ บุคคลใน
ครอบครวั ใหจ้ ดั ไว้ในลาํ ดับสุดทา้ ย

กิตติกรรมประกาศน้ีให้พิมพ์ไว้ตอ่ จากบทคัดย่อ ความยาวไม่เกิน 1 หน้า ท้ายขอ้ ความระบชุ ือ่ ผูเ้ ขียน
รายงานโครงงาน สําหรับกรณที ผี่ ้จู ดั ทาํ เพยี งคนเดียวให้ลงช่อื ใต้ขอ้ ความ แต่ถ้าเป็นคณะผู้จดั ทาํ ไม่ตอ้ งลงชื่อ
นอกจากนีถ้ ้าที่ปกนอกมกี ารระบุ ปี พ.ศ. หรอื ปกี ารศึกษาปรากฏอยู่แล้วไม่จาํ เปน็ ตอ้ งลงวัน เดือน ปี

สารบัญ
สารบญั เป็นส่วนที่แสดงลาํ ดบั หน้าของรายงานท้งั ฉบบั ซ่ึงประกอบด้วยส่วนนาํ สว่ นเนื้อเรอ่ื ง และ

ส่วนอา้ งอิง ในส่วนนําให้ใชเ้ ปน็ ตวั อกั ษร โดยเรม่ิ บทคัดยอ่ เปน็ หนา้ ก สว่ นเนอื้ เรอ่ื ง และสว่ นอา้ งอิงให้ใชเ้ ป็น
ตัวเลข

ในส่วนของรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ทมี่ กี ารแสดงผลเปน็ ตารางและภาพ (รปู ภาพ แผนที่
แผนภมู ิ กราฟ ฯลฯ) ในหวั ข้อสารบญั ตอ้ งมหี ัวขอ้ สารบัญตาราง และสารบัญภาพเปน็ หัวข้อยอ่ ย แมจ้ ะมี
จํานวนเพยี ง 1 ตาราง / ภาพ ก็ตาม)

คําอธบิ ายสญั ลกั ษณ์และคํายอ่
เป็นส่วนท่อี ธบิ ายถึงสญั ลักษณ์และคําย่อต่างๆ ท่ใี ชใ้ นการทําโครงงาน เพอ่ื ช้แี จงใหผ้ ูอ้ ่านเกิด

ความเข้าใจที่ตรงกนั เช่น

สัญลักษณ์ คาํ อธบิ าย
BK กรุงเทพมหานคร
CO แกส๊ คาร์บอนมอนอกไซด์
+ พบแบคทเี รยี จาํ นวน 1-5 โคโลนี
++ พบแบคทเี รยี จํานวน 6-10 โคโลนี
+ เสน้ ผ่านศูนยก์ ลางของ inhibition zone 6.1-9 mm

ความคิดเหน็ แสดงความพงึ พอใจระดบั มาก

ความคดิ เหน็ แสดงความพึงพอใจระดบั ปานกลาง

ความคิดเห็น แสดงความพงึ พอใจระดับนอ้ ย

4

2. สว่ นเนือ้ เรือ่ ง

ส่วนนี้กาํ หนดใหท้ ําแบบเปน็ บท จํานวน 5 บท ประกอบดว้ ย
2.1 บทที่ 1 บทนํา
2.2 บทท่ี 2 เอกสารและงานวิจัยทีเ่ กีย่ วข้อง
2.3 บทท่ี 3 วิธีดาํ เนินการทดลอง
2.4 บทท่ี 4 ผลการทดลอง
2.5 บทท่ี 5 สรุป อภปิ รายผล และขอ้ เสนอแนะ

บทที่ 1 บทนํา
1.1 ท่ีมา และความสําคญั ของโครงงาน
กล่าวถึงความเปน็ มาและความสาํ คัญของปญั หาหรอื ส่งิ ทสี่ นใจศกึ ษา หรือสิ่งท่ีต้องการ

ปรับปรุง โดยอธบิ ายในภาพกวา้ งกอ่ นจากนั้นจงึ เชอ่ื มโยงเข้าสหู่ วั ขอ้ โครงงาน อธบิ ายชเ้ี ฉพาะถึงความสาํ คัญ
ใหเ้ หตุผลว่าเพราะเหตใุ ดจึงต้องการทําโครงงานน้ี และแสดงหลักการหรอื ทฤษฎที ี่เกย่ี วขอ้ งกับโครงงานให้
ข้อมลู วา่ เร่ืองทีท่ ําเปน็ เรือ่ งใหม่หรือมผี ู้อน่ื เคยศึกษาไว้บา้ งแลว้ หากเป็นงานทมี่ ีผอู้ นื่ เคยศึกษาไว้ ให้กลา่ วถงึ
ผลการทดลองนนั้ และชี้ใหเ้ ห็นว่าการทเ่ี ลอื กทําเรื่องนเี้ ป็นการทําซ้ําเพ่อื ตรวจสอบผล หรอื ทาํ เพมิ่ เตมิ หรอื มี
การปรับปรุงในเร่อื งตวั แปร วิธหี รอื ขัน้ ตอนการทดลอง หรือเปล่ยี นตวั อย่าง

1.2 จุดประสงค์
ระบถุ ึงสงิ่ ทตี่ ้องการทาํ ในโครงงานใหช้ ดั เจน กระชับ เชน่ เพือ่ ศึกษา... เพอื่ ออกแบบ...

เพื่อสรา้ ง... เพอื่ ปรับปรุง… เพ่อื ทดสอบ… เพือ่ ออกแบบ สร้าง ประกอบ ทดสอบประสทิ ธิภาพ ของ
สิง่ ประดษิ ฐ.์ ..

1.3 สมมตฐิ าน (ถา้ ม)ี
สมมตฐิ านคือ การคาดคะเนคําตอบของปัญหาหรือส่ิงทีเ่ ราสนใจศึกษาอย่างมเี หตุผล

ตามหลักการ ทฤษฎี รวมทงั้ ผลการศกึ ษาของโครงงานที่ไดท้ าํ มาแล้ว การเขยี นสมมตฐิ านควรช้ีแนะ
การออกแบบการทดลอง การสาํ รวจไวด้ ว้ ย และการทดสอบประสทิ ธิภาพของส่งิ ประดิษฐ์

1.4 ตัวแปร (ถ้าม)ี
1.5 นยิ ามศพั ท์เฉพาะ (ถา้ ม)ี

เป็นการใหค้ วามหมาย หรือคาํ จาํ กัดความของคาํ ศพั ทท์ ีผ่ ูท้ าํ โครงงานใช้ในการทําโครงงาน
ซง่ึ เปน็ ความหมายเฉพาะงานทีท่ าํ เพ่ือใหเ้ กดิ ความเขา้ ใจท่ตี รงกันทั้งผูท้ าํ โครงงานและผู้อ่าน เช่น
การเจริญเติบโตของต้นคะนา้ หมายถึง ตน้ คะน้ามีความสงู ความยาวรอบลําตน้ และมจี ํานวนใบเพมิ่ ขน้ึ

1.6 นยิ ามเชงิ ปฏบิ ัติการ (ถ้าม)ี
เปน็ การกาํ หนดความหมายและขอบเขตของตวั แปรท่ีอยู่ในสมมตฐิ านทต่ี ้องการทดสอบให้

เข้าใจตรงกัน และสามารถสงั เกตหรอื วดั ได้ โดยใชห้ นว่ ยท่เี ชื่อถือไดเ้ ป็นระบบสากล
ตวั อย่าง สมมตฐิ าน การใสม่ ลู ไกใ่ นปริมาณที่แตกตา่ งกนั ทําใหผ้ ักคะน้า
เจรญิ เตบิ โตแตกต่างกนั
ตวั แปรตน้ มลู ไก่ทใ่ี สใ่ หต้ ้นคะนา้
ตัวแปรตาม การเจริญเตบิ โตของต้นคะน้า

5

นิยามเชงิ ปฏิบัติการ
มูลไก่ หมายถงึ มลู แห้งของไก่เน้อื พนั ธุ์โรด๊ ไอแลนด์ อายุ 3-6 สัปดาห์ ทีเ่ ล้ียงด้วย

อาหารสําเรจ็ จาก CP
การเจริญเติบโตของต้นคะน้า หมายถึง การวดั ความสูง ความยาวรอบลาํ ต้น และ

นับจํานวนใบของตน้ คะนา้ แต่ละตน้ ทุกๆ 3 วนั เปน็ เวลา 25 วนั แล้วหาคา่ เฉลย่ี
ต้นคะน้า หมายถึง ต้นคะน้าทม่ี ีอายตุ ง้ั แต่งอกจากเมลด็ และปลูกมาเปน็ เวลา 20 วัน

1.7 ขอบเขตของการดําเนนิ งาน
เพอ่ื ใหไ้ ด้ผลการศกึ ษาทน่ี ่าเชอ่ื ถือ นกั เรยี นตอ้ งกําหนดขอบเขตการทาํ โครงงานซึง่ ไดแ้ ก่

การกาํ หนดประชากรว่าเป็นสิง่ มชี วี ิต หรอื ส่งิ ไมม่ ชี วี ิต ระบุชื่อ กลุม่ ประเภท แหลง่ ทอ่ี ย/ู่ ผลติ และช่วงเวลา
ทที่ ําการทดลอง เชน่ เดอื น ปี รวมทง้ั กาํ หนดกลมุ่ ตัวอย่างทม่ี ีขนาดเหมาะสมเปน็ ตวั แทนของประชากรท่ีสนใจ
ศึกษา และกาํ หนดตวั แปรทีศ่ กึ ษา ตวั แปรใดทศ่ี ึกษาเป็นตัวแปรต้น ตวั แปรใดทศ่ี กึ ษาเปน็ ตวั แปรตาม และ
ตวั แปรใดบา้ งเป็นตัวแปรควบคมุ เพ่ือเป็นแนวทางการออกแบบการทดลอง ตลอดจนมผี ลต่อการเขยี นรายงาน
การทําโครงงานฯ ทถี่ ูกต้อง ส่ือความหมายใหผ้ ูฟ้ งั และผอู้ า่ นเขา้ ใจตรงกนั

บทที่ 2 เอกสารและงานวจิ ยั ท่ีเก่ยี วขอ้ ง
ประกอบด้วยเนอ้ื หา หรอื ทฤษฎี จากเอกสารงานวิจยั โครงงานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ

คอมพิวเตอร์ ทีเ่ ก่ยี วข้องโดยตรงกับโครงงานของนกั เรยี นซึง่ มผี ้ศู ึกษาทดลองมาก่อน และอ้างองิ แหล่งท่ีมา
นักเรียนควรค้นควา้ รวบรวมผลงานจากงานวิจัย หนงั สืออา้ งองิ รวมทั้งโครงงานยอ้ นหลงั ให้ไดม้ าก

ทส่ี ุด และควรเป็นข้อมลู ที่ทนั สมยั สําหรบั โครงงานในระดับมธั ยมศกึ ษานนั้ ไม่จาํ เปน็ ต้องสืบคน้ งานวิจัย และ
เอกสารอา้ งองิ จนครบถ้วน แต่ใหพ้ ยายามค้นหาเทา่ ที่จะทาํ ได้ โครงงานบางเร่ืองอาจไม่สามารถคน้ หาเอกสาร
และรายงานการวิจัยทเ่ี ก่ยี วข้องได้ นักเรยี นอาจกลา่ วอ้างถงึ ผ้รู ู้ ผู้เชย่ี วชาญทเ่ี ปน็ บุคคล หรอื หน่วยงาน
อ้างองิ แหล่งทมี่ า และเพ่อื ความสะดวกในการเขียนรายงาน เมื่อสํารวจคน้ ควา้ รวบรวมผลงานจากหนังสอื
ตาํ รา วารสาร หนังสือพิมพ์ เอกสารเผยแพร่หรอื เว็บไซต์แล้ว นกั เรยี นควรรวบรวมรายชื่อเอกสารเหลา่ นนั้
ในรูปแบบทจี่ ะนําไปเขียนในหัวข้อเอกสารอา้ งอิง

บทที่ 3 วิธดี าํ เนนิ การทดลอง
การเขียนวิธีการดําเนินงาน จําเป็นต้องเขียนเกี่ยวกับวิธีการดําเนินการศึกษาค้นคว้า รูปแบบการ

วิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล และ
การวเิ คราะห์ข้อมูล เพ่อื ใชย้ นื ยันผลการศึกษา การวเิ คราะห์ และการอภิปรายผล และมีรายละเอียดเพียงพอ
ท่ผี ้สู นใจสามารถทาํ ซาํ้ ได้ โดยมหี ัวข้อยอ่ ยดังน้ี

3.1 วสั ดุ /อปุ กรณ์ และเครือ่ งมอื พิเศษ (ถ้ามี)
วสั ดุ คอื สิ่งของท่มี สี ภาพการใชส้ น้ิ เปลอื งหรอื เส่ือมสภาพลงเพราะการใชง้ านโดยมีอายุ
การใชง้ านน้อยกวา่ 1 ปี
อปุ กรณ์ คอื สง่ิ ของทม่ี อี ายุการใช้งานนาน คงทน โดยอาจรวมเครอ่ื งมอื พเิ ศษ ทีห่ าไม่ได้
ท่ัวไปในโรงเรียน และหากเป็นเครื่องมอื มาตรฐานทร่ี จู้ ักแพร่หลายควรระบชุ อ่ื บริษทั ทผี่ ลิต
รนุ่ (model) ถ้าเปน็ เคร่อื งมือทีป่ ระดิษฐ์ขนึ้ เองต้องอธิบายหลักการ แบบ และการทาํ งาน

3.2 สารเคมี (ถ้าม)ี เขยี นเป็นภาษาไทยตามศพั ท์บัญญตั โิ ดยราชบัณฑติ และควรระบุเป็นช่ือ
ภาษาอังกฤษ พรอ้ มวงเล็บสูตรเคมีไวท้ า้ ยชือ่

6

3.3 สง่ิ มีชวี ิต (ถา้ มี) ตอ้ งบอกทัง้ ชื่อสามัญและช่ือวิทยาศาสตร์พร้อมหมวดหม่ตู ามหลกั
อนุกรมวิธาน

3.4 ขั้นตอนการดําเนินงาน
ในส่วนของข้ันตอนการดําเนินงาน นักเรยี นต้องเขยี นรายงานเรยี งลําดับตามจุดประสงค์

และสมมติฐานให้สอดคล้องและครบถว้ น ในการกล่าวถึงสิ่งเดียวกันต้องใชค้ ําหรอื ขอ้ ความเดียวกันเสมอ
และหากเปน็ กระบวนการศึกษา (procedure) เกย่ี วกับส่งิ มีชวี ิต ควรเขยี นขั้นตอนอยา่ งละเอียด เช่น
วิธีการใชเ้ ครอื่ งมอื ในการเก็บตัวอย่าง การเก็บรกั ษาตวั อย่างสง่ิ มีชีวิต เป็นตน้ นอกจากนี้ ควรกลา่ วถงึ
การออกแบบการสํารวจ ประดิษฐ์ ทดลองที่มกี ารควบคมุ ตวั แปรอย่างถกู ตอ้ งเหมาะสม อธบิ ายวิธีการ
และเครอ่ื งมือทใ่ี ช้ในการรวบรวมข้อมูลจากการสํารวจ ประดษิ ฐ์ ทดลอง และสถิตทิ ี่ใช้ในการวิเคราะห์
ขอ้ มลู ไว้อย่างชดั เจน กรณที ่ไี มใ่ ช่โครงงานประเภททดลอง อาจเปลยี่ นหัวข้อบทว่า วธิ ีดาํ เนนิ งาน

บทที่ 4 ผลการทดลอง
เป็นการรายงานผลการศึกษา การสํารวจ ประดิษฐ์ ทดลอง ท่ีนกั เรยี นได้ค้นพบด้วยตนเอง รวมท้ัง

รายงานผลการวิเคราะหข์ อ้ มลู ในการรายงานผลการดาํ เนินงานน้ีต้องเขียนรายงานตามลําดับหัวขอ้ ให้
สอดคลอ้ งกบั จดุ ประสงคแ์ ละวิธีการดําเนนิ งาน ควรใชข้ ้อความที่กะทดั รัดใชค้ าํ ทีต่ รงกบั ความต้องการท่ีจะส่อื
ให้ผูอ้ ่านเขา้ ใจ อาจมกี ารจัดกระทาํ ขอ้ มลู และนาํ เสนอในรูปของตาราง กราฟ ภาพประกอบให้เหมาะสมกับ
ธรรมชาตขิ องข้อมลู และความนยิ มของแตล่ ะสาขาวิชา โดยกอ่ นจะนาํ เสนอดว้ ยตาราง ภาพ นกั เรยี นต้อง
อธบิ ายผลการดําเนินงานที่ไดใ้ หค้ รบถ้วน แลว้ อา้ งถงึ ตาราง หรอื ภาพ โดยเขียนเป็น “ดังตารางที.่ ..” หรอื
“ภาพที่...” อาจเรยี งลาํ ดับเป็นรายบท หรอื เรยี งลําดับใหต้ อ่ เนอ่ื งตลอดทงั้ สว่ นเนื้อเรอ่ื ง กรณที ไี่ มใ่ ชโ่ ครงงาน
ประเภททดลอง อาจเปลย่ี นหัวข้อบทว่า ผลการดาํ เนินงาน

บทท่ี 5 สรปุ อภิปรายผล และขอ้ เสนอแนะ
ในบทนี้ ต้องเขยี นหวั ข้อเรียงลาํ ดบั ดังนี้
5.1 สรปุ ผล
การเขียนสรุปผลทไ่ี ด้จากการทาํ โครงงาน ถ้ามีการตัง้ สมมติฐานควรระบวุ า่ ผลท่ไี ด้สนบั สนุน

หรอื คัดค้านกบั สมมตฐิ าน แล้วสรุปผลเรียงลาํ ดบั ตามจดุ ประสงค์และผลการดาํ เนินงานทไี่ ด้
5.2 การอภิปรายผล
การอภิปรายผลการดาํ เนนิ งาน เป็นการอธิบายเหตผุ ลทที่ าํ ใหไ้ ด้ผลการพสิ จู น์ สํารวจ

ประดิษฐ์ ทดลอง อาจคน้ พบองคค์ วามรูใ้ หม่ การอภปิ รายผลการดําเนนิ งานจดั เปน็ สว่ นทแ่ี สดงถึงความรู้
และความเอาใจใส่ในเรือ่ งทศี่ กึ ษาค้นคว้า นักเรียนควรสบื คน้ ความรตู้ า่ งๆ มาอา้ งอิง เพ่ือสนบั สนนุ ผล
การดําเนนิ งานวา่ มีคุณค่า และเชือ่ ถือได้ ควรอภิปรายผลการดาํ เนินงานเรียงลําดบั ตามประเดน็ ทร่ี ายงานผล
การดาํ เนนิ งานไปแล้วในบทที่ 4

5.3 ข้อเสนอแนะ
ในส่วนของขอ้ เสนอแนะน้นั ใหเ้ สนอข้อควรปรับปรงุ แกไ้ ข ปญั หา และอปุ สรรค เพ่อื พฒั นา

ต่อยอดองคค์ วามรู้ได้ หากมีผตู้ ้องการศกึ ษาคน้ ควา้ เก่ียวกบั เร่อื งน้ีต่อไปในอนาคต และเนื้อหาทงั้ หมดนีจ้ ะตอ้ ง
เป็นเนอ้ื หาสาระท่ไี ดจ้ ากการทําโครงงาน รวมถงึ ประโยชน์ท่ีไดจ้ ากการทาํ โครงงาน

7

การเขยี นอ้างองิ ในสว่ นเนื้อเรอ่ื ง
ในบทท่ี 1 บทท่ี 2 หรือบทท่ี 5 ทก่ี ล่าวมาแล้วอาจมกี ารอ้างอิงขอ้ มูลความรู้ จากเอกสาร หนงั สือ

ตํารา งานวิจัย หรอื แหลง่ ข้อมลู ต่างๆ ซึง่ การอา้ งอิงดังกล่าว เรียกวา่ การอ้างองิ ในสว่ นเน้อื เร่ือง ข้อมลู ทค่ี วร
อ้างอิง เช่น คํากลา่ วของบุคคลสาํ คญั ตัวเลขทแ่ี สดงจํานวนประชากรที่กลา่ วถงึ สถานการณป์ ัจจุบนั ทเ่ี ปน็
ปัญหา ผลงานการค้นคว้าวิจยั ของบุคคลหรอื หน่วยงาน โดยในการอ้างอิงน้นั ใหน้ ักเรยี นเลือกใช้ระบบการ
อ้างอิงระบบใดระบบหนง่ึ เพียงระบบเดียวตลอดการพิมพร์ ายงานโครงงาน

ระบบการอา้ งอิงในสว่ นเนื้อหา ท่ีพบบ่อย มี 3 ระบบ คือ
1. ระบบการอ้างองิ แบบนาม-ปี เป็นการอ้างถึงแหลง่ ทีม่ าของขอ้ มลู โดยการแทรกเนือ้ หาของ
เอกสารไว้ในเน้อื หา และระบุชอ่ื ผ้เู ขยี นกับปีที่พิมพ์ไว้ในตําแหน่งทีเ่ หมาะสม ซงึ่ อาจเปน็ ตอนตน้ หรือตอนท้าย
ของเน้ือหา
2. ระบบการอ้างองิ แบบตัวเลข เปน็ การระบหุ มายเลขเอกสารหรือแหล่งทม่ี าของข้อมูลตามลาํ ดับท่ี
อ้างอิง
3. ระบบการอา้ งองิ แบบเชงิ อรรถ เป็นการอา้ งองิ แหล่งท่มี าของขอ้ มลู โดยเขียนไว้ท่สี ่วนล่างของ
หน้ารายงานเหมอื นกับการทํารายการอา้ งอิงไว้ทา้ ยเล่ม
หมายเหตุ
สาํ หรบั นักเรียนในโครงการหอ้ งเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ใหเ้ ลือกใช้เพียง 2 ระบบ คือ แบบนามปี
และแบบตวั เลข

3. สว่ นอ้างอิง

เป็นส่วนท้ายของรายงานโครงงาน ประกอบดว้ ย รายการอา้ งอิง และภาคผนวก

รายการอา้ งองิ
รายการอ้างอิง เป็นรายการแสดงรายช่ือหนังสือ ส่ิงพิมพ์อ่ืนๆ โสตทัศนวัสดุ การสัมภาษณ์ ฯลฯ ที่

นํามาใช้ประกอบการทําโครงงาน การลงรายการอ้างอิง ให้พิมพ์เฉพาะเอกสารทุกรายการท่ีมีการอ้างถึงใน
เนื้อหาของโครงงานในบทที่ 1 บทนํา หรือบทท่ี 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หรือบทที่ 5 สรุป
อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ เท่านั้น โดยให้ใช้คําว่า เอกสารอ้างอิง (references) ถ้ามีเอกสารอ่ืนหรือข้อมูล
อื่นท่ีเก่ียวข้องแต่ไม่ได้นํามาใช้อ้างในการทําโครงงาน แต่ประสงค์จะนํามารวบรวมไว้ด้วย ให้พิมพ์ต่อจาก
รายการอ้างอิง โดยขึ้นหน้าใหม่และใช้คําว่า บรรณานุกรม (bibliography) ท้ังนี้การเขียนรายการอ้างอิงมี
หลายระบบ นักเรียนสามารถเลือกใช้ระบบใดระบบหน่ึง แต่ต้องเป็นระบบเดียวกันตลอดการเขียนรายงาน
เล่มน้นั ๆ

การพิมพ์รายการอ้างอิงในขั้นสุดท้าย ไม่ว่าจะใช้การอ้างอิงแบบนาม-ปี หรือแบบตัวเลข ให้ใช้
รปู แบบการพมิ พร์ ายการอา้ งอิงเหมอื นกนั โดยเลือกใช้แบบใดแบบหนง่ึ จาก 2 แบบ น้ี

แบบท่ี 1 ปีทพี่ ิมพอ์ ยทู่ ้ายรายการ
แบบท่ี 2 ปีทีพ่ ิมพ์อยูห่ ลงั ช่อื ผู้แตง่ (ใส่วงเล็บหรือไม่ใสก่ ็ได)้

8

ในที่น้ีได้ให้ตัวอย่างรูปแบบการพิมพ์รายการอ้างอิงและตัวอย่างการพิมพ์รายการอ้างอิงเฉพาะ
แบบท่ี 1 ส่วนผู้ที่ประสงค์จะใช้แบบที่ 2 ก็ให้ใช้แบบเดียวกัน เพียงแต่ย้ายปีที่พิมพ์ มาไว้หลังช่ือผู้แต่งเท่าน้ัน
โดยตัวอย่างรูปแบบและตัวอย่างการพิมพ์รายการอ้างอิงดังกล่าวได้คัดลอกมาจากคู่มือการพิมพ์วิทยานิพนธ์
2548 ของบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายละเอียดดังตัวอย่างรูปแบบและตัวอย่างการพิมพ์
ในส่วนที่ 2

ภาคผนวก
ภาคผนวกเป็นส่วนท้ายของรายงานเชิงวิชาการ ไม่ใช่ส่วนท่ีเป็นเน้ือหาอย่างแท้จริง เป็นเพียง

ส่วนประกอบท่ีจะสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยของผู้ทําโครงงานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์
ในกรณขี องการเขยี นรายงานโครงงานของนกั เรียน ขอ้ มูลส่วนทน่ี าํ มาลงไว้ในภาคผนวก เชน่

- ข้อมลู การสาํ รวจ ประดษิ ฐ์ ทดลองท่ยี ังไมจ่ ดั กระทํา
- ตาราง รปู ภาพ กราฟ และแผนภาพทล่ี ะเอียดมากๆ ซงึ่ ถา้ ใสไ่ ว้ในสว่ นเนื้อเรือ่ ง

จะทําให้เน้ือเรื่องยาวไมก่ ระชับ
- ขอ้ มลู ของผลการทดลองเบ้อื งต้น
- ขอ้ ความซ่ึงเปน็ รายละเอียดของเทคนิควธิ ีตา่ งๆ ทีต่ อ้ งการให้ผสู้ นใจได้ศกึ ษา
- ฯลฯ

9

ตอนท่ี 2
รปู แบบการพิมพร์ ายงานโครงงานวทิ ยาศาสตร์ คณติ ศาสตร์ และคอมพวิ เตอร์

รูปแบบท่ัวไป (format)
• ใชก้ ระดาษสีขาว 80 แกรม ขนาดมาตรฐาน A4 (ขนาด 8 1/4x11 3/4 นวิ้ ) ในการพมิ พ์รายงาน
• พมิ พห์ น้าเดยี วดว้ ยตัวพมิ พ์สีดํา ตวั อกั ษรแบบ TH Sarabun แบบเดยี วกันตลอดท้งั เลม่
• ช่อื บท เรม่ิ ต้นในทุกบท ให้พิมพ์ด้วยตวั อกั ษรแบบ TH Sarabun ตัวหนา ขนาด 22 จุด
• หัวขอ้ ใหญใ่ นแตล่ ะบทให้พิมพ์ดว้ ยตัวอกั ษรแบบ TH Sarabun ตวั หนา ขนาด 18 จุด
• หวั ขอ้ รองในแตล่ ะบทให้พมิ พด์ ้วยตัวอักษรแบบ TH Sarabun ตัวหนา ขนาด 16 จดุ

การเว้นริมขอบกระดาษ (margination)
• เว้นทว่ี า่ งจากขอบกระดาษดา้ นซา้ ยมอื และดา้ นบน หา่ งจากขอบกระดาษ 1.5 นว้ิ
• เว้นท่ีว่างจากขอบกระดาษด้านขวามือ และด้านล่าง ห่างจากขอบกระดาษ 1 นิ้วทุกหน้า การเว้นห่าง

จากขอบกระดาษให้วดั จากขอบกระดาษถงึ เลขหน้า

การเว้นระยะพมิ พ์ (spacing)
• กรณีพิมพ์ตัวอักษรภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษที่ไม่มีสูตรหรือสมการ ให้กําหนดระยะพิมพ์ระหว่าง

บรรทัด (line spacing) เป็นแบบ 1 เทา่ (single)
• กรณีพิมพ์ตัวอักษรสลับกับการพิมพ์สูตรหรือสมการ ให้กําหนดระยะพิมพ์ระหว่างบรรทัด (line

spacing) เป็นแบบ 1.5 เท่า (1.5 lines)
• หลังเคร่ืองหมายจุลภาค (, comma) เครื่องหมายอัฒภาค (; semicolon) เคร่ืองหมายทวิภาค หรือ

มหัพภาคคู่ หรอื จุดคู่ (: colon) และหลังชื่อยอ่ ให้เว้นหนง่ึ ชว่ งตวั อักษร
• หลังเครื่องหมายมหัพภาค (. fullstop/ period/ point) เครื่องหมายปรัศนีย์ (? question mark)

และเครอ่ื งหมายอศั เจรีย์ (! exclamation mark) ใหเ้ วน้ สองชว่ งตัวอักษร

การลาํ ดับหน้า (pagination)
• ส่วนนํา การลําดับหน้าในส่วนนําท้ังหมด ให้ใช้ตัวอักษรเรียงตามลําดับพยัญชนะในภาษาไทย สําหรับ

รายงานภาษาไทย (เร่ิมพมิ พต์ ัวอักษร ก ที่หนา้ บทคัดย่อ) และใช้เลขโรมันพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์เล็กสําหรับรายงาน
ภาษาอังกฤษ (เร่ิมพิมพเ์ ลข i ทีห่ นา้ บทคัดย่อ)

• ส่วนเน้ือเรื่อง และส่วนอ้างอิง การลําดับหน้าในสองส่วนนี้ให้ลําดับหน้าโดยการพิมพ์หมายเลข
2 3 4 ... ต่อเนื่องกันตลอดทุกหน้าจนจบเล่ม ยกเว้นหน้าแรกของทุกบท หน้าแรกของรายการอ้างอิง และ
หนา้ แรกของภาคผนวก ไม่ต้องพิมพ์เลขหนา้ กํากบั แต่ใหน้ ับจาํ นวนหน้ารวมไปด้วย

• ตําแหน่งการพิมพ์เลขหน้าให้พิมพ์ไว้ที่ก่ึงกลาง ท้ายหน้ากระดาษของแต่ละหน้า ห่างจากขอบ
กระดาษด้านล่าง 1 น้ิว และไม่ต้องพิมพ์เครื่องหมายใดๆ ไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังตัวอักษรหรือตัวเลขลําดับ
หน้า ใช้ตัวอักษรปกติขนาด 16 จุด ในกรณีท่ีจําเป็นต้องพิมพ์ตามความยาวของหน้ากระดาษ ให้พิมพ์
หมายเลขลําดบั หน้าไว้ในตําแหน่งเดยี วกับหน้าอืน่ ๆ

10

การพิมพ์ส่วนต่างๆ
1. ส่วนนาํ

1.1 ปกนอก (cover) พิมพ์ภาพและข้อความ ไวก้ ลางหนา้ กระดาษเรยี งตามลาํ ดับ ดงั นี้
• ภาพตราโรงเรยี นขนาด 1.5 น้วิ x1.5 นวิ้ วางขอบบนของภาพหา่ งจากขอบกระดาษด้านบน 1.5 นิว้
• พิมพ์คําว่าโครงงานวิทยาศาสตร์ หรือ โครงงานคณิตศาสตร์ หรือโครงงานคอมพิวเตอร์ ด้วย

ตัวอักษรหนาขนาด 22 จุด ห่างจากขอบลา่ งของภาพตราโรงเรยี น 1 บรรทดั
• พมิ พช์ ื่อเรอ่ื งโครงงาน ดว้ ยตัวอักษรหนาขนาด 22 จดุ
• พมิ พค์ ําวา่ โดย ด้วยตวั อักษรปกติขนาด 18 จุด
• พิมพ์ช่ือนักเรียนผู้ทําโครงงาน ระบุคํานําหน้า ช่ือ นามสกุล หากมีผู้ทําโครงงานหลายคนต้องลง

ชือ่ ทุกคน ใช้ตวั อกั ษรปกตขิ นาด 18 จุด
• พิมพ์ข้อความ รายงานนี้เป็นส่วนหน่ึงของรายวิชา ว 30291 โครงงานวิทยาศาสตร์ 2 หรือ

ค 30299 โครงงานคณิตศาสตร์ 2 หรือ ง 30299 โครงงานคอมพิวเตอร์ 2 ตามหลักสูตรห้องเรียนพิเศษ
วิทยาศาสตร์ของ สสวท. ชื่อโรงเรียน.... ภาคเรียนที่ ... ช้ันมัธยมศึกษาปีท่ี... ปีการศึกษา ..... ด้วยตัวอักษร
ปกติขนาด 18 จดุ

ควรจัดเรยี งขอ้ ความให้กระจายอยบู่ นปก ไดร้ ะยะทส่ี วยงาม และเว้นระยะห่างให้สมดุล

1.2 ปกใน (title page) ใช้กระดาษสีขาว 80 แกรม ขนาดมาตรฐาน A4 พิมพ์ภาพและข้อความ
ไวก้ ลางหน้ากระดาษเรียงตามลําดบั ดังน้ี

• ภาพตราโรงเรียนขนาด 1.5 น้ิว x1.5 นว้ิ วางขอบบนของภาพหา่ งจากขอบกระดาษดา้ นบน 1.5 นิว้
• พิมพ์คําว่าโครงงานวิทยาศาสตร์ หรือ โครงงานคณิตศาสตร์ หรือโครงงานคอมพิวเตอร์ ด้วย
ตัวอกั ษรหนาสีดาํ ขนาด 22 จุด ห่างจากขอบล่างของภาพตราโรงเรียน 1 บรรทดั
• พมิ พช์ ือ่ เรื่องโครงงาน ด้วยตัวอกั ษรหนาขนาด 22 จดุ
• พมิ พ์คําวา่ โดย ด้วยตวั อกั ษรตัวปกตขิ นาด 18 จดุ
• พิมพ์ชื่อนักเรียนผู้ทําโครงงาน ระบุคํานําหน้า ชื่อ นามสกุล หากมีผู้ทําโครงงานหลายคนต้องลง
ชื่อทกุ คน ใช้ตวั อกั ษรตัวปกติขนาด 18 จดุ
• พมิ พค์ าํ วา่ ครูที่ปรกึ ษา 1 บรรทดั และพิมพช์ อ่ื ครทู ี่ปรกึ ษาไวใ้ นบรรทดั ถัดไป ใช้ตัวอักษรตวั ปกติ
ขนาด 18 จุด
• พิมพ์คําว่า อาจารย์ที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัย/ หน่วยงาน/ ที่ปรึกษาพิเศษ 1 บรรทัด และพิมพ์ช่ือ
อาจารยท์ ่ีปรึกษาไว้ในบรรทัดถดั ไป โดยระบตุ าํ แหนง่ ทางวิชาการ ดว้ ยตัวอักษรตัวปกตขิ นาด 18 จดุ
ควรจดั เรยี งข้อความให้กระจายอยบู่ นปก ได้ระยะท่สี วยงาม และเว้นระยะห่างใหส้ มดุล

1.3 บทคดั ย่อ (abstract)
• พิมพค์ ําวา่ บทคัดยอ่ กลางหน้ากระดาษด้วยตัวอักษรหนาขนาด 22 จดุ
• เว้น 1 บรรทดั พิมพเ์ นอ้ื ความของบทคดั ยอ่ ความยาวไมเ่ กินหนึง่ หน้ากระดาษ ด้วยตัวอักษรปกติ

ขนาด 16 จุด

11

1.4 กิตติกรรมประกาศ (acknowledgement)
• พิมพค์ ําวา่ กติ ติกรรมประกาศ กลางหนา้ กระดาษ ด้วยตัวอักษรหนาขนาด 22 จดุ
• เว้น 1 บรรทดั พิมพเ์ นอ้ื ความ ความยาวไม่เกินหนง่ึ หน้ากระดาษ ตัวอกั ษรปกตขิ นาด 16 จุด
• กรณีเป็นผู้ทําโครงงานคนเดียว ให้เว้น 2 บรรทัด แล้วพิมพ์ช่ือและชื่อสกุลของผู้ทําโครงงานห่าง

จากบรรทดั สุดท้ายของขอ้ ความ เย้อื งไปทางด้านขวาโดยไมต่ ้องระบุวันท่ี กรณที าํ หลายคน ไมต่ อ้ งลงช่ือ

1.5 สารบัญ (table of contents)
• พิมพค์ ําว่า สารบญั กลางหน้ากระดาษ ด้วยตวั อักษรหนาขนาด 22 จุด
• เว้น 1 บรรทัด พิมพค์ าํ วา่ หน้า ชิดรมิ ดา้ นขวาของกระดาษ และเวน้ 1 บรรทัด เพือ่ พมิ พร์ ายการแรก
• แสดงบัญชีการแบ่งเน้ือเร่ืองออกเป็นบท โดยระบุเลขที่บทและช่ือบทพร้อมหมายเลขหน้าตามที่

ปรากฏในรายงานและส่วนอ่ืนๆ ยกเว้นหน้าปกในและหน้าสารบัญ โดยพิมพ์คําว่า บทที่ เอกสารอ้างอิง
ภาคผนวก ชิดขอบด้านซ้าย ชื่อบทอยู่ห่างจากหมายเลขบทสองช่วงตัวอักษร หากต้องการแสดงรายการหัวข้อ
ภายในบทใหพ้ มิ พร์ ายการหวั ข้อตรงกับช่อื บท โดยไมต่ อ้ งใสเ่ ครื่องหมาย – ข้างหน้า การแสดงรายการภาคผนวก
ใหป้ ฏิบัตเิ ชน่ เดียวกนั ใช้ตวั อกั ษรปกตขิ นาด 16 จดุ

สารบัญตาราง (list of tables)
• พิมพค์ ําวา่ สารบัญตาราง กลางหน้ากระดาษ ดว้ ยตัวอกั ษรหนาขนาด 22 จุด
• เว้น 1 บรรทัด แล้วพมิ พ์คําว่า ตาราง ห่างจากริมขอบกระดาษซ้ายมือหนึ่งนิ้วคร่ึง แล้วพิมพ์คําว่า
หน้า ในแนวเดียวกัน หา่ งจากขอบกระดาษขวามอื หนงึ่ น้วิ และเว้น 1 บรรทดั เพอ่ื พมิ พร์ ายการแรก
• แสดงบัญชีตารางโดยระบุหมายเลขลําดับตารางอยู่ตรงกลางของคําว่าตารางข้างบน เว้นระยะ
พมิ พส์ องช่วงตัวอกั ษร แล้วพมิ พ์ช่อื ตาราง หรือคาํ อธบิ ายตาราง พมิ พห์ มายเลขหนา้ ให้ตรงกบั คําว่า หน้า
การให้หมายเลขตาราง อาจเรียงหมายเลขลําดับตาราง ต้ังแต่ตารางแรกจนถึงตารางสุดท้ายใน
รายงาน หรอื เรียงหมายเลขลําดับตารางแยกออกเปน็ บทๆ ไป การพิมพใ์ ชต้ ัวอกั ษรปกตขิ นาด 16 จดุ
สารบัญภาพ (list of figures)
• พมิ พ์คาํ ว่า สารบัญภาพ กลางหนา้ กระดาษ ด้วยตัวอกั ษรหนาขนาด 22 จดุ
• เว้น 1 บรรทัด แล้วพิมพ์คําว่าภาพท่ี ห่างจากริมขอบกระดาษซ้ายมือหน่ึงน้ิวครึ่ง แล้วพิมพ์คําว่า
หน้า ในแนวเดยี วกันหา่ งจากรมิ ขอบกระดาษขวามอื หน่ึงนวิ้ และเวน้ 1 บรรทัด เพอ่ื พิมพร์ ายการแรก
• แสดงบัญชีภาพประกอบโดยระบุหมายเลขลําดับภาพ ชื่อภาพหรือคําอธิบายภาพและหมายเลข
หน้า ตามที่ปรากฏในโครงงานให้หมายเลขลําดับภาพอยู่ตรงกลางของคําว่า ภาพ หมายเลขหน้าตรงกับคําว่า
หน้า ใชต้ ัวอกั ษรปกติขนาด 16 จดุ
การให้หมายเลขภาพ อาจเรียงหมายเลขลําดับภาพ ตั้งแต่ภาพแรกจนถึงภาพสุดท้ายในรายงาน หรือ
เรยี งหมายเลขลําดบั ภาพแยกออกเป็นบทๆ ไป

1.6 อกั ษรย่อและสัญลักษณ์ (abbreviations and symbols) ถ้ามี
• พิมพ์คําว่า อักษรย่อ หรือสัญลักษณ์ หรืออักษรย่อและสัญลักษณ์แล้วแต่กรณีไว้กลาง

หน้ากระดาษ ดว้ ยตัวอกั ษรหนาขนาด 22 จดุ
• เว้น 1 บรรทัด พิมพ์ข้อความบรรทัดแรกของอารัมภบท (ถ้ามี) ถ้าไม่มีอารัมภบทให้พิมพ์คําว่า

สัญญลกั ษณไ์ ว้ชดิ ริมซ้ายมอื และพิมพค์ าํ วา่ คาํ อธิบาย ไวใ้ นแนวเดยี วกนั ในระยะหา่ งทเี่ หมาะสม
• เว้น 1 บรรทดั แสดงบัญชีอักษรย่อและสัญลกั ษณ์พร้อมคําอธบิ าย ใชต้ วั อักษรปกติขนาด 16 จุด

12

2. สว่ นเนอื้ ความ (text)
2.1 การแบ่งเนือ้ เรอื่ ง (sections and subsections)

• การแบ่งบท ควรแบ่งเน้ือเรื่องออกเป็นบทหรือตอน และเม่ือเริ่มบทใหม่หรือตอนใหม่ต้องข้ึนหน้า
ใหมเ่ สมอ

• ให้พิมพ์คําว่า “บทท่ี” กลางหน้ากระดาษ และมีเลขประจําบทเป็นเลขไทยหรือเลขอารบิกสําหรับ
รายงานภาษาไทย และเลขโรมันใหญ่ สําหรับรายงานภาษาอังกฤษ ช่ือบทให้พิมพ์ไว้กลางหน้ากระดาษใน
บรรทัดตอ่ จากบทที่ ชอื่ บทภาษาองั กฤษให้ใชต้ ัวพมิ พ์ใหญ่ทุกตัวอกั ษร ใชต้ ัวอกั ษรตัวหนาขนาด 22 จุด

• เวน้ 1 บรรทดั ก่อนเริ่มพมิ พ์เนือ้ ความของแต่ละบท
2.2 ตาราง (tables)

• การนาํ เสนอตารางทําไดส้ ามวธิ ี ใหเ้ ลอื กวธิ ีใดวิธหี นง่ึ คือ
1) นําเสนอตารางต่อจากข้อความท่ีกล่าวถึงตารางนั้น โดยบรรยายผลการดําเนินงานท่ีได้ให้

ครบถ้วน แล้วจึงเขียน คําว่า ดังตารางที่... หากมีเน้ือที่ไม่เพียงพอท่ีจะเสนอตารางในหน้าเดียวกันกับข้อความ
ให้พิมพ์ข้อความอื่นต่อจนหมดหน้ากระดาษแล้วจึงเร่ิมพิมพ์ตารางในหน้าถัดไป โดยก่อนพิมพ์ตาราง ให้พิมพ์
ขอ้ ความชิดดา้ นซา้ ยของกระดาษวา่

ตารางท่ี ... .................................... (ใสช่ อื่ ตาราง)
2) นําเสนอตารางท้ังหมดไวด้ ้วยกันในทหี่ น่งึ ทีใ่ ดตามความเหมาะสม
3) นาํ เสนอตารางเปน็ ตอนๆ แยกจากข้อความตามความเหมาะสม

• ขนาดของตารางไม่ควรเกินกรอบหน้ากระดาษ สําหรบั ตารางที่มขี นาดใหญ่ให้ลดขนาดลงด้วยการ
ใชเ้ คร่ืองถา่ ยสาํ เนาหรอื วธิ ีการอื่นๆ โดยใหค้ งความชัดเจนไว้

• หากตารางยังมีความกว้างเกินกรอบหน้ากระดาษให้พิมพ์ตารางตามแนวนอนของหน้า กระดาษ
โดยหมุนส่วนบนของตารางเขา้ หาขอบซา้ ยของหนา้ กระดาษ และพิมพ์ไว้หน้าหนึ่งต่างหาก ไม่พิมพ์ข้อความอื่น
ไวใ้ นหนา้ เดยี วกัน การพมิ พ์หมายเลขหน้าจะต้องทําเชน่ เดียวกับหน้าอนื่ ๆ

• หากจําเป็นต้องต่อตารางข้ามหน้า ให้พิมพ์คําว่า ตารางและพิมพ์หมายเลขตารางแล้วพิมพ์คําว่า
(ตอ่ ) ไวใ้ นวงเลบ็

• สาํ หรับตารางท่ีมีหัวเร่ืองควบสดมภ์ (boxhead) มากๆ ให้ซอยตารางออกได้

• คาํ อธบิ ายตาราง ประกอบดว้ ยหมายเลขตารางและชื่อตาราง ทง้ั นี้
1) อาจเรียงหมายเลขลําดับตาราง ต้ังแต่ตารางแรกจนถึงตารางสุดท้ายในรายงาน หรือเรียง

หมายเลขลําดับตารางแยกออกเป็นบทๆ เช่น ตารางที่ 1.1 (อยู่ในบทท่ี 1) ตารางที่ 2.1 (อยู่ในบทที่ 2) ตาราง
ท่ี ก.1 (อยู่ในภาคผนวก ก) เป็นตน้

2) พมิ พ์คําว่า ตารางที่ และหมายเลขลําดับตารางด้วยตัวอักษรตัวหนาขนาด 16 จุด จากน้ันเว้น
ระยะสองช่วงตวั อักษร แลว้ จงึ พิมพ์ช่ือตารางท่ีเป็นข้อความกะทัดรัดและสื่อความหมายชัดเจน

3) กรณีช่ือตารางยาวเกิน 1 บรรทัด ให้พิมพ์ตัวอักษรตัวแรกของบรรทัดถัดไป ตรงกับอักษรตัว
แรกของชอ่ื ตาราง

13

2.3 ภาพ (figures)
• การนาํ เสนอภาพประกอบทาํ ไดส้ องวิธี ให้เลือกใชแ้ บบใดแบบหนงึ่ ตลอดทงั้ เลม่ คือ
1) นําเสนอภาพต่อจากข้อความท่ีกล่าวถึงภาพน้ัน โดยบรรยายผลการดําเนินงานที่ได้ให้

ครบถ้วน แล้วจึงเขียน คําว่า ดังภาพท่ี... หากมีเนื้อที่ไม่พอท่ีจะเสนอภาพประกอบไว้ในหน้าเดียวกันกับ
ข้อความ ให้พิมพข์ ้อความอ่นื ตอ่ ใหห้ มดหน้ากระดาษ แล้วจงึ เสนอภาพประกอบหนา้ ถดั ไป หรือ

2) นําเสนอภาพประกอบทัง้ หมดไว้ดว้ ยกนั ในท่ีหน่ึงท่ใี ดตามความเหมาะสม
• ภาพประกอบท่ีมีขนาดใหญ่เกินหน้ากระดาษ ให้ลดขนาดลงด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งที่เหมาะสม
หากวางภาพในกรอบของหน้ากระดาษตามปกติไม่ได้ให้วางภาพตามแนวนอน โดยหันด้านบนของ
ภาพประกอบชิดขอบซา้ ยมอื ของรายงาน
• การผนึกภาพให้ใช้กาวอย่างดีและผนึกอย่างประณีต เรียบร้อย เหมาะสม และสวยงาม ทั้งน้ี
จะวางตามแนวตงั้ หรือแนวนอนของหน้ากระดาษก็ได้
• คําอธบิ ายภาพ ประกอบดว้ ยหมายเลขลาํ ดบั ภาพและชอ่ื ภาพ ท้ังน้ี

1) อาจเรียงหมายเลขลําดับภาพตั้งแต่ภาพแรกจนถึงภาพสุดท้าย หรือเรียงหมายเลขลําดับภาพ
แยกออกเป็นบทๆ เช่น ภาพท่ี 1.1 (อยใู่ นบทที่ 1) ภาพท่ี 2.1 (อย่ใู นบทท่ี 2) ภาพท่ี ก.1 (อยู่ในภาคผนวก ก)

2) พิมพ์คําว่า ภาพที่ และหมายเลขลําดับภาพด้วยตัวอักษรตัวหนาขนาด 16 จุด จากนั้นเว้น
ระยะสองชว่ งตัวอกั ษร แลว้ จงึ พมิ พช์ อ่ื ภาพท่เี ป็นข้อความกะทัดรดั และส่อื ความหมายชดั เจน ด้วยตวั ปกติ

3) พิมพค์ าํ อธบิ ายภาพประกอบไว้ใต้ภาพ กลางหน้ากระดาษ

3. บรรณานุกรม (bibliography) และ เอกสารอ้างองิ (references)
• พิมพ์คาํ ว่า บรรณานกุ รม หรือ เอกสารอ้างอิง ไวก้ ลางหน้ากระดาษ ดว้ ยตวั อกั ษรหนาขนาด 22 จุด
• เว้น 1 บรรทัด แล้วจึงพิมพ์รายการแรก หากรายการท่ีพิมพ์ยาวเกินหนึ่งบรรทัด ให้ตัดไปพิมพ์ใน

บรรทดั ถัดไปโดยย่อหน้าเขา้ ไปแปดชว่ งตวั อกั ษรพมิ พ์ ใช้ตวั อักษรปกติขนาด 16 จุด
• ให้พิมพร์ ายการอ้างอิงหรือบรรณานุกรม ท่เี ป็นภาษาไทยกอ่ นภาษาต่างประเทศ
• เรยี งแต่ละรายการตามลาํ ดบั อักษรของคาํ แรกของแต่ละรายการตามพจนานุกรม

4. ภาคผนวก (appendix)
• ข้ึนหน้าใหม่ พิมพ์คําว่า ภาคผนวก ก่ึงกลางหน้ากระดาษ ด้วยตัวอักษรตัวหนาขนาด 22 จุด โดย

ไม่ตอ้ งพิมพเ์ ลขหนา้ แต่นบั หน้า
• กรณีมีหลายภาคผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่และพิมพ์เลขหน้า และพิมพ์เรียงลําดับเป็น ภาคผนวก ก

ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค ฯลฯ โดยไม่ใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.) หลังตัวอักษรลําดับภาคผนวก
แลว้ พิมพ์ช่อื ภาคผนวกในบรรทดั ถัดไป โดยใชต้ วั อักษรตัวหนาขนาด 22 จุด

• เวน้ 1 บรรทัด กอ่ นพิมพ์ข้อความบรรทัดแรก
• สําหรับจดหมาย แบบสอบถาม (questionnaires) แบบตรวจสอบ (check list) แบบสํารวจ
(inventory) ฯลฯ ทใ่ี ช้ในการเก็บข้อมูล หากมีขนาดใหญ่กว่ากระดาษท่ีใช้พิมพ์รายงานให้ลดขนาดลง โดยการ
ถา่ ยสําเนาเอกสาร หรือพมิ พใ์ หม่ในกระดาษทใี่ ช้พมิ พร์ ายงาน
• ภาคผนวกท่ีเป็นอภิธานศัพท์ (glossary) หากไม่ได้นําเสนอไว้ในบทนํา ให้เรียงศัพท์ตามลําดับอักษร
โดยพิมพ์อักษรตัวแรกของศัพท์แต่ละคําห่างจากริมขอบกระดาษด้านซ้ายมือหน่ึงนิ้วครึ่ง เว้นระยะสองช่วง

14

ตัวอักษร แล้วจึงพิมพ์คําอธิบาย หากคําอธิบายศัพท์ยาวเกินหนึ่งบรรทัด ให้พิมพ์บรรทัดต่อไปโดยย่อหน้าเข้า
ไปแปดชว่ งตวั อกั ษร

การพมิ พ์หัวข้อย่อย
การพิมพ์หัวข้อย่อยอาจใช้ตัวอักษรกํากับหน้าหัวข้อสลับกับตัวเลข หรือใช้ตัวเลขอย่างเดียวดังตัวอย่าง

ต่อไปน้ี โดยกาํ หนดให้ ** หมายถึง เว้น 2 ช่วงตวั อักษร
แบบที่ 1 ใช้ตัวอักษรกาํ กบั สลับกับตวั เลข
ประเทศไทย (หวั ข้อหลัก)
ก** ลักษณะภมู ิประเทศ (หัวขอ้ ย่อย)
1** ภาคเหนือ
ก** ภาคเหนอื ตอนบน
ข** ภาคเหนอื ตอนลา่ ง
2** ภาคตะวันออกเฉียงเหนอื
แบบท่ี 2 ใชต้ ัวเลขกาํ กบั อย่างเดยี ว
ประเทศไทย (หัวข้อหลกั )
1** ลักษณะภูมปิ ระเทศ (หัวข้อยอ่ ย)
1.1** ภาคเหนอื
1.1.1** ภาคเหนือตอนบน
1.1.2** ภาคเหนือตอนลา่ ง
1.2** ภาคตะวันออกเฉียงเหนอื
การพิมพ์หวั ข้อยอ่ ยให้พมิ พย์ ่อหน้าโดยเว้นระยะให้ตรงกับตัวอักษรตวั แรกของชอื่ ขอ้ ความของหัวข้อสําคัญนั้น

การใชเ้ คร่ืองหมายวรรคตอน

การเขยี นรายการอา้ งองิ มีการใชเ้ คร่ืองหมายวรรคตอนตา่ งๆ ชว่ ยแบ่งขอ้ ความดังน้ี

™ เคร่ืองหมายมหัพภาค (. point) ใช้ในกรณีตอ่ ไปน้ี
- เมอ่ื เขยี นยอ่ ช่ือแรกหรอื ชื่อกลางของผ้แู ตง่ ชาวต่างประเทศ เช่น Hodgkiss, A. G.
- ไวท้ า้ ยคาํ ทยี่ ่อ เช่น ed.
- เมือ่ จบแตล่ ะขอ้ ความ (เช่น ผูแ้ ต่ง ปีพมิ พ์ ชือ่ เรอ่ื ง ฯลฯ) ในรายการอา้ งอิงน้นั เช่น Hodgkiss, A. G. (1981).
Understanding maps. Dawson, Folkestone, UK.

™ เคร่อื งหมายจลุ ภาค (, comma) ใช้ในกรณีต่อไปนี้
- ใช้ค่ันระหว่างช่ือและบรรดาศักดข์ิ องผแู้ ต่งชาวไทยหรอื ช่ือสกุลและชอื่ ตัวของ ผูแ้ ต่งชาว
ตา่ งประเทศ เชน่ Renolds, F. F.
ธรรมศักด์มิ นตร,ี เจา้ พระยา.

- ใชค้ ่ันระหว่าง ช่ือผู้แตง่ เมอ่ื มผี ้แู ต่งมากกว่า 1 คน
เช่น สุธรรม พงศส์ ําราญ, วริ ชั ณ สงขลา และพงึ ใจ พึ่งพานิช.
Hanson, H., Borlaug, N. E., and Anderson, R. G.

15

- ใช้ค่ันระหวา่ งสํานกั พิมพ์และปพี ิมพ์ ถ้าเขยี นรายการอา้ งองิ ตามแบบที่ 1
เช่น สาํ นกั พมิ พ์จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย, 2539.
Wiley, 1965.

™ เครอื่ งหมายอฒั ภาค (; semi-colon)
- ใช้เมื่อในขอ้ ความสว่ นนนั้ ได้ใช้เคร่ืองหมายจุลภาค (,) แลว้ เช่น เม่อื เขยี นช่ือผู้แต่งชาวตา่ งประเทศ
เป็นภาษาไทยหลายๆ คน เชน่
แนช้ , จอรช์ ; วอลดอรฟ์ , แดน; และ ไรซ,์ โรเบิร์ต อ.ี มหาวิทยาลยั กบั ชมุ ชนเมือง.
แปลโดย อปั สร ทรัยอนั และคนอ่ืนๆ . กรงุ เทพมหานคร : สํานักพิมพแ์ พรพ่ ทิ ยา, 2518.

™ เคร่ืองหมายมหัพภาคคู่ (: colons)
- ใช้คน่ั ระหว่างสถานทีพ่ ิมพ์ (ชื่อเมอื ง ชื่อรฐั ) และช่ือสํานักพมิ พ์
เชน่ New York: Wiley
St. Louis, MO: Mosby
- ใชค้ ัน่ ระหว่าง ปีท่ี หรือ เลม่ ที่ ของวารสาร หนังสอื พมิ พ์ สารานกุ รม และเลขหน้า
เช่น 16 (เมษายน 2519): 231-254.
37 (1979): 1239-1248. (แบบที่ 1)
37 : 1239-1248. (แบบที่ 2)

การอา้ งองิ (reference citation)

ระบบการอ้างอิงในการเขียนรายงานโครงงาน แนะนําให้ใช้แบบนาม-ปี หรือแบบตัวเลข ทั้งการ
เขียนอ้างอิงในส่วนเน้ือหา (บทที่ 1 2 และ 5) และการเขียนเอกสารอ้างอิง และ/หรือ บรรณานุกรม โดยการ
ลงรายการอ้างอิงในเอกสารอ้างอิงให้พิมพ์เฉพาะเอกสารทุกรายการท่ีมีการอ้างอิงในเน้ือหาของโครงงาน
เท่านั้น ถ้ามีเอกสารอ่ืนที่เก่ียวข้องแต่ไม่ได้นํามาอ้างอิง และผู้เขียนประสงค์นํามารวมด้วย ให้พิมพ์ต่อจาก
เอกสารอา้ งองิ โดยข้นึ หน้าใหม่และใช้คาํ ว่าบรรณานุกรม

1. การเขียนอ้างองิ ในสว่ นเนือ้ หา
1.1 การอ้างอิงแบบตัวเลข (the numerical arrangement system)
การอ้างอิงแบบนี้เป็นการระบุแหล่งข้อมูลท่ีใช้อ้างอิงในเนื้อหาโครงงานเป็นหมายเลขเรียงลําดับ

ตอ่ เนอื่ งกนั ตลอดท้ังเลม่ โดยมีวิธีการดังนี้
1) ใส่หมายเลขไว้ท้ายข้อความหรือช่ือบุคคลท่ีอ้างอิง โดยใส่ไว้ในวงเล็บ ( ) หรือ [ ] ให้ตัวเลข

อยู่ในบรรทัดเดียวกับเนื้อหา หรือยกลอยข้ึนเหนือแนวบรรทัด เพื่อให้เด่นชัดต่างไปจากการใส่เลขประจํา
หวั ข้อย่อยอ่ืนๆ และพิมพด์ ว้ ยตวั หนา หรอื ตวั เอน ท้งั น้ี ต้องใชใ้ หเ้ หมอื นกันตลอดรายงาน

2) ใหใ้ ส่ตวั เลขอา้ งองิ เรยี งลาํ ดบั ตั้งแตเ่ ลข 1 เป็นต้นไปตอ่ เนือ่ งกนั ทกุ บทจนจบเล่ม
3) ในกรณที ี่มีการอ้างอิงซาํ้ เรื่องเดมิ ให้ใชต้ ัวเลขเดิมทเ่ี คยใช้อา้ งมาก่อนแลว้
4) แหล่งอ้างอิงท้ังหมดท่ีใช้ ต้องนําไปเขียนไว้ในเอกสารอ้างอิงท้ายเล่ม โดยใส่รายการเรียงตาม
ลาํ ดบั หมายเลข และพิมพห์ มายเลขอยใู่ นเครอื่ งหมายวงเล็บ ( ) หรือ [ ]

16

1.2 การอ้างองิ แบบนาม-ปี (the author-date system)
การอ้างอิงแบบนาม-ปี เป็นการระบุแหล่งอ้างอิงท่ีใช้อ้างอิงในเนื้อหาโครงงานโดยระบุช่ือผู้แต่ง

และปีท่ีพิมพ์ ไว้ในวงเล็บ กรณีอ้างเน้ือหาหรือแนวคิดหรือคัดลอกข้อความบางส่วนมาโดยตรง ต้องระบุ
เลขหนา้ ไว้ทา้ ยปที ีพ่ ิมพ์ ค่นั ดว้ ยเครื่องหมาย : โดยรูปแบบวิธีการเขยี นอา้ งอิงแบบนาม-ปี เปน็ ดงั น้ี

1) การเขียนปี พ.ศ. หรือ ค.ศ. ทเ่ี อกสารได้รบั การตีพมิ พ์ มแี นวการเขียนดังนี้

ภาษาที่ใชท้ ํารายงาน เอกสารที่ใชอ้ ้างอิง ใหพ้ ิมพป์ แี บบ

ภาษาไทย ภาษาไทย พ.ศ.
ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ค.ศ.
ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ค.ศ. โดยแปลเป็นภาษาองั กฤษทัง้ หมด

2) การเขียนนามผูแ้ ตง่

• นามผู้แต่งชาวไทย แม้จะเขียนด้วยภาษาอังกฤษก็ให้เขียนท้ังช่ือและนามสกุล โดยเขียนช่ือ
กอ่ น ถา้ เป็นชาวตา่ งชาติ ใส่เฉพาะนามสกุล กรณีผแู้ ต่งใชน้ ามแฝง ให้เขียนตามท่ีปรากฎ

• ไม่ต้องใส่ยศทางทหาร ตํารวจ หรือตําแหน่งทางวิชาการ เช่น ศ. รศ. ผศ. หรือคําเรียกทาง
วิชาชีพ เช่น นพ. ทพญ. เภสัชกร เว้นแต่จะเป็นผู้มีฐานันดรศักดิ์ บรรดาศักด์ิ หรือสมณศักด์ิ เท่าน้ัน เช่น
กรมหมื่น พระยา สมเดจ็ พระอรยิ วงศาคตญาน ม.ล.

• การเขียนในเนื้อหาอาจเขียนโดย แบบ ชื่อ นามสกุล (ปีท่ีพิมพ์) …เน้ือหาท่ีอ้างอิง… หรือ
แบบ …เนื้อหาท่ีอา้ งองิ ... (ชอ่ื นามสกลุ , ปที ี่พิมพ์)

• กรณผี ู้แต่งเปน็ คนไทยคนเดยี ว สามารถเขียนไดด้ ังน้ี

(ตวั อยา่ ง 1) พรชัย อินทรฉ์ าย (2549) ศกึ ษาว่า… / พบวา่ … / รายงานว่า …
(ตัวอยา่ ง 2) ……..(เนือ้ หาท่อี ้างองิ )…….(พรชัย อินทรฉ์ าย, 2549)

ในกรณีทีอ่ า้ งถงึ งานนน้ั ซ้ําอกี คร้ัง หลังจากเพิง่ กลา่ วถึงมาไมน่ าน สามารถเขยี นได้ดังน้ี

(ตัวอย่าง 3) พรชัย อินทร์ฉาย (2549) ศึกษา…….. สุวิมล จรูญโสตร์ (2552) อธิบายถึง
……… ซึ่งจากงานวจิ ัยของ พรชัย อินทรฉ์ าย และ สุวมิ ล จรูญโสตร์ ตา่ งสรปุ ตรงกนั ว่า …

• กรณีผู้แต่งเป็นคนต่างชาติคนเดียว สามารถเขียนได้ 2 วิธี คือ ระบุช่ือเป็นภาษาต่างประเทศ
ในเนื้อความ และระบุปีท่ีพิมพ์ในวงเล็บ หรือ ระบุชื่อเป็นภาษาไทยในเนื้อความก่อน แล้ววงเล็บชื่อ
ภาษาต่างประเทศและปที พ่ี ิมพ์

(ตวั อย่าง 4) John (2002 a: 4-5) เตรียมสารสกัดหยาบ ….ด้วยวิธกี าร….
(ตัวอยา่ ง 5) รชิ ารด์ (Richard, 2003: 134) ให้ความเห็นวา่ ……(เนอ้ื หาท่ีอา้ งอิง)……..

• กรณีผแู้ ต่งคนเดียว เขียนเอกสารเร่ืองเดียวแตม่ ีหลายเล่มใหร้ ะบหุ มายเลขเล่มท่ีอา้ งถงึ ด้วย

(ตวั อยา่ ง 6) ……(เน้ือหาท่อี า้ งอิง)….(สุภาพร สกุ สีเหลือง, 2547, เล่ม 2)
(ตวั อยา่ ง 7) ……(เนื้อหาท่ีอ้างอิง)….(David, 2004, vol.3)

17

• กรณีผู้แตง่ 2 คน ตอ้ งระบชุ ่อื ผู้แต่งทุกคน โดยใช้คาํ และ หรอื and เชอ่ื มนามผูแ้ ตง่ ดงั นี้

(ตัวอย่าง 8) พรชยั อินทรฉ์ าย และ สุวิมล จรูญโสตร์ (2549) ศึกษา … พบว่า… Rose
และ Katy (2001) แสดงให้เหน็ วา่ …

(ตวั อยา่ ง 9) จากการศึกษาสมบตั ขิ องสารสกัด…. พบวา่ …….(John amd David, 2549)

• กรณีผู้แตง่ 3 คน ครัง้ แรกทอ่ี ้างถงึ ต้องระบุชื่อผูแ้ ตง่ ทุกคน อ้างครัง้ ต่อไปใหร้ ะบุเฉพาะ
คนแรก ตามดว้ ยคาํ ว่า และคณะ หรือ และคนอนื่ ๆ สําหรบั เอกสารภาษาไทย สว่ นเอกสารภาษาองั กฤษ
ให้ตามด้วย et al. หรือ and others ยกเว้น ถ้าเอกสารสองเรือ่ งทีอ่ ้างครั้งตอ่ มา เมอื่ เขียนย่อแล้วเหมือนกบั
รายการอา้ งอิงอื่น ทาํ ให้สับสน ให้เขยี นเตม็ ดงั ตัวอย่างท่ี 12

(ตัวอย่าง 10) พรชยั อินทรฉ์ าย และคณะ (2549) ศกึ ษา … พบวา่ … หรือ
…..เน้อื หาอ้างอิง….. (พรชยั อนิ ทรฉ์ าย และคณะ, 2549)

(ตัวอยา่ ง 11) …..เนอื้ หาอา้ งองิ ….. (John, et al., 2001)
(ตวั อย่าง 12) John, Kane, and Susan (2001)… เขยี นยอ่ ได้เป็น (John, et al., 2001)

John, Arter, and Wiley (2001)… เขียนย่อไดเ้ ป็น (John, et al., 2001)

• กรณีผู้แต่งมากกว่า 3 คน การอ้างถึงทุกคร้ังให้ระบุเฉพาะชื่อผู้แต่งคนแรก ตามด้วยคําว่า
และคณะ หรือ และคนอ่ืนๆ สําหรับเอกสารภาษาไทย ส่วนเอกสารภาษาอังกฤษ ให้ตามด้วย et al. หรือ
and others ยกเว้น ถ้าเอกสารสองเร่ืองที่อ้าง เมื่อเขียนย่อแล้วเหมือนหรือคล้ายกับรายการอ้างอิงอื่น
ดงั นน้ั ใหร้ ะบุผู้แตง่ คนอ่ืนเรียงมาจนกว่าจะมชี ่ือผ้แู ตง่ ท่ีไม่ซา้ํ กัน เช่น

John, Kane, Susan, Arter, Wiley, Sony, and Kino (2004) และ
John, Kane, Susan, Arter, Nisson, and Toyo (2004) ใหเ้ ขียนอา้ งในเน้ือความดงั น้ี
John, Kane, Susan, Arter, Wiley, et al. (2004) ………………………… และ
John, Kane, Susan, Arter, Nisson, et al., (2004) ………………………..

• กรณีผู้แต่งเป็นสถาบัน ท่ีมีช่ือย่อเป็นทางการ ให้ระบุช่ือย่อไว้ในวงเล็บ [ ] ซ่ึงเม่ืออ้างซ้ํา
ให้ใช้ชื่อย่อได้ แต่ถ้าไม่มีช่ือย่อ การอ้างครั้งต่อๆ มาให้ระบุชื่อสถาบันเต็มทุกครั้ง และในการอ้างต้องมิให้
ผู้อ่านสับสนระหว่างสถาบันท่ีอ้างถึงกับสถาบันอ่ืนๆ โดยลําดับในการอ้างถึงหน่วยงานรัฐบาล ต้องอ้างตาม
เป็นลาํ ดบั ตามระดบั ชนั้ ของหน่วยงาน เช่น กระทรวง กรม คณะ สาํ นกั เป็นต้น

การอา้ งครัง้ แรก การอา้ งครัง้ ต่อมา

(สถาบนั ส่งเสรมิ การสอนวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี [สสวท.], 2550: 30) (สสวท., 2550: 30)
(Asian Institute of Technology [AIT], 2003: 20) (AIT, 2003: 20)

• กรณีอ้างถึงเอกสารหลายเรื่องที่มีผู้แต่งคนเดียวกัน แต่พิมพ์ในปีต่างๆ กัน ให้ระบุช่ือผู้แต่ง
คร้งั เดียวแลว้ ระบปุ ีทีพ่ มิ พต์ ามลําดบั โดยคน่ั ระหว่างปีด้วยเครอ่ื งหมายจลุ ภาค ( , ) เชน่

(พรชัย อนิ ทรฉ์ าย, 2516: 54-70, 2520: 18-30, 2549: 16-28)
(Busy and Gena, 1980: 56, 2001: 156)

18

ถ้าอ้างเอกสารหลายเร่ือง ท่ีเขียนโดยคนเดียวกัน แต่ปีท่ีพิมพ์ซ้ํากัน ให้ใช้ a b c d
ตามหลังปที ี่พมิ พ์สาํ หรับเอกสารภาษาตา่ งประเทศ และใช้ ก ข ค ง สําหรับเอกสารภาษาไทย

(พรชัย อินทร์ฉาย, 2549ก: 54)
(สวุ ิมล จรญู โสตร์, 2550ก: 3-30, 2550ข: 65)
(Susan et al., 1980a: 4, 1980b: 4, 1980b: 10, 1980c: 18)

• กรณีอ้างเอกสารหลายเร่ืองโดยผู้แต่งหลายคน มีวิธีเขียน 2 วิธี เลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งให้
เหมอื นกนั ตลอดท้ังเล่ม ดงั น้ี

1) ให้ระบุช่ือผู้แต่งโดยเรียงลําดับตามตัวอักษร ตามด้วย ปีท่ีพิมพ์ และใส่เคร่ืองหมาย
อัฒภาค (;) คั่นเอกสารแตล่ ะเรอื่ ง

2) ให้เรียงปีที่พิมพ์จากน้อยไปหามาก และให้เครื่องหมายอัฒภาค (;) ค่ันเอกสาร
แตล่ ะเรอื่ ง เพือ่ แสดงววิ ฒั นาการของเรอื่ งทีศ่ ึกษา

กรณีท่ีอ้างเอกสารหลายช่ือเร่ือง ท่ีมีผู้แต่งเป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศให้อ้างชื่อผู้ที่
แตง่ เปน็ ภาษาไทยจนครบกอ่ น จึงตามดว้ ยชือ่ ผทู้ ี่แตง่ เปน็ ภาษาตา่ งประเทศ

• การอา้ งเอกสารท่ีไมป่ รากฏนามผแู้ ต่ง
1) ให้ลงชือ่ เรอื่ งไดเ้ ลย เชน่ วารสารวทิ ยาศาสตร์ โรงเรียน… (2552: 25) …
2) หากมผี ้เู ปน็ บรรณาธิการหรือผ้รู วบรวม ใหล้ งชื่อบรรณาธิการหรือผูร้ วบรวม เชน่
…(สวุ มิ ล จรญู โสตร,์ ผู้รวบรวม, 2552: 52-70) …(Anderson, ed., 1980)
…(Wonder, comp., 2001: 30)

• การอ้างหนงั สอื แปล ให้ระบผุ เู้ ขียนท่เี ป็นเจา้ ของเร่อื ง ถา้ ไมท่ ราบจงึ ระบุชือ่ ผู้แปล เชน่
…(สวุ ิมล จรูญโสตร์, ผู้แปล, 2552: 52-70)

• การอ้างอิงที่ไม่ได้อ้างจากต้นฉบับ แต่เป็นการอ้างต่อ ให้ระบุนามผู้แต่งของเอกสารท้ังสอง
รายการ โดยระบุนามผู้แต่งและปีท่ีพิมพ์ของเอกสารอันดับแรก ตามด้วยคําว่า อ้างถึงใน หรือ cited in
แลว้ ระบุนามผแู้ ต่งเอกสารอันดบั รองและปีท่ีพมิ พ์

….(พรชัย อนิ ทรฉ์ าย, 2549: 20 อ้างถึงใน คงนิตา เคยนิยม, 2552: 50) ……
ถา้ เอกสารอันดบั รองไม่ไดร้ ะบปุ ที ่ีพมิ พข์ องเอกสารอนั ดบั แรก ให้เขียนวา่

….(พรชัย อนิ ทร์ฉาย อา้ งถึงใน คงนติ า เคยนยิ ม, 2552: 50) ……
….(Kate, cited in Charley, 2005: 50) ……
ถ้ากล่าวถึงนามผู้แต่งเอกสารอันดับแรกในเน้ือหาอยู่แล้วก็ลงแต่ปีที่พิมพ์และเลขหน้า (ถ้ามี)
ของเอกสารอันดบั แรก และใสช่ อื่ เอกสารอันดับรองไว้ในวงเลบ็ ( ) เช่น
พรชยั อนิ ทรฉ์ าย ได้กลา่ วถงึ … (2549: 20 อา้ งถงึ ใน คงนิตา เคยนยิ ม, 2552: 50) …
เรือ่ ง The Journals of Science, 2003-2005 (Lily, 2009: 50) ไดศ้ กึ ษาแลว้ พบว่า…

19

3) การอา้ งทมี่ าของตารางและภาพ
การเขียนชอ่ื ผู้แตง่ ให้ใช้หลกั การเดยี วกับการเขียนอ้างแบบตามทา้ ยข้อความในเนื้อเร่อื ง ตาม

ดว้ ยวงเล็บปีที่พมิ พ์ เชน่
ตารางที่ 1 ......................................................................ทมี่ า: Rosy และคณะ (2003)

4) การอ้างที่มาของภาพ

ภาพที่ 1 ........................................................
ทมี่ า: Nileson และ Willma (2006)

2. การเขียนเอกสารอา้ งองิ และ/หรือ บรรณานุกรม
การพิมพ์รายการอ้างอิงในเอกสารอา้ งองิ และ/ หรอื บรรณานกุ รม ไม่วา่ จะใช้การอา้ งอิงแบบนาม-ปี

หรอื แบบตัวเลข ใหใ้ ชร้ ปู แบบการพิมพ์แบบเดียวกนั ตลอดเล่ม โดยเลือกใชแ้ บบใดแบบหนงึ่ จาก 2 แบบ น้ี
แบบท่ี 1 ปีทพี่ มิ พ์อยทู่ า้ ยรายการ
แบบที่ 2 ปที พี่ ิมพ์อยู่หลังชือ่ ผู้แต่ง (ใส่วงเลบ็ หรอื ไม่ใสก่ ไ็ ด)้

ในทีน่ ้ีได้ให้ตวั อยา่ งรูปแบบการพมิ พ์รายการอ้างอิงและตัวอย่างการพิมพ์รายการอา้ งองิ เฉพาะแบบท่ี
1 สว่ นผทู้ ี่ประสงค์จะใชแ้ บบท่ี 2 ก็ใหใ้ ช้แบบเดยี วกัน เพียงแตย่ า้ ยปีทพ่ี ิมพ์ มาไวห้ ลังช่อื ผแู้ ต่งเทา่ นนั้

20

ภาษาไทย
(หนังสอื )

ผแู้ ตง่ .\\ ชอ่ื หนังสอื .\\ เล่มทห่ี รอื จํานวนเลม่ (ถ้ามี).\\ คร้งั ทพ่ี ิมพ์ (ถา้ ม)ี .\\ช่ือชุดหนังสอื และลาํ ดบั ที(่ ถา้ มี).
\\สถานทพี่ ิมพ์ :\สาํ นกั พิมพ,์ \ปีพิมพ.์
(หนงั สอื ทพี่ มิ พใ์ นโอกาสพเิ ศษต่างๆ)
ผู้แต่ง.\\ ชอ่ื หนังสือ.\\ เล่มทีห่ รอื จาํ นวนเล่ม (ถ้ามี).\\ คร้ังทีพ่ มิ พ์ (ถ้ามี).\\ชอ่ื ชุดหนังสอื และลําดับที่(ถา้ มี).
\\สถานที่ พมิ พ์ :\สํานักพมิ พ,์ \ปพี มิ พ์.\\ (รายละเอยี ดในการจัดพิมพห์ นังสือ).
(หนงั สอื แปล)
ผแู้ ต่ง.\\ ชอื่ หนังสอื หรือชื่อเรื่อง.\\แปลโดย ช่อื ผแู้ ปล.\\สถานทีพ่ ิมพ์ :\สํานักพิมพ,์ \ปพี ิมพ์.
(วิทยานพิ นธ)์
ผ้เู ขียนวทิ ยานพิ นธ์.\\ ช่อื วทิ ยานพิ นธ.์ \\ ระดับปริญญา.\\ ชื่อสาขาวิชาหรือภาควิชา คณะ ชอื่
มหาวิทยาลยั ,\ปีพิมพ.์
(บทความในหนังสือ)
ผเู้ ขียนบทความ.\\ ช่ือบทความ.\\ใน\ชอ่ื บรรณาธกิ าร(ถา้ มี), \ชอ่ื เรอื่ ง,\เลขหน้า.\\สถานที่พมิ พ์ \:\
สํานักพมิ พ,์ \ปีพมิ พ์.
(บทความในวารสาร)
ผู้เขียนบทความ.\\ ช่ือบทความ.\\ ช่อื วารสาร\ ปีที่หรอื เลม่ ที่ \(เดือน ปี)\ :\เลขหน้า.
(บทความในหนงั สือพิมพ)์
ผู้เขียนบทความ(ถ้ามี).\\ ชื่อบทความ.\\ ช่ือหนังสือพิมพ\์ (วัน เดือน ป)ี \:\เลขหน้า.
(บทความในสารานุกรม)
ผู้เขียนบทความ.\\ ชือ่ บทความ.\\ ช่อื สารานกุ รม\ เลม่ ท่ี \(ปพี มิ พ์)\ :\เลขหน้า.
(บทวจิ ารณห์ นงั สอื ในวารสาร)
ผูเ้ ขยี นบทวจิ ารณ์.\\วจิ ารณเ์ รอื่ ง\ ชอ่ื หนงั สอื ท่ีวิจารณ์.\\โดย\ ช่ือผแู้ ต่งหนังสอื .\\ ชอื่ วารสาร\ :\เลขหน้า.
ปที ห่ี รือเลม่ ท\ี่ (เดือน ป)ี
(วารสารสาระสงั เขปของวิทยานพิ นธ)์
ผเู้ ขียนวทิ ยานิพนธ์.\\ ช่ือวิทยานิพนธ์.\\ ระดับปรญิ ญา.\\ ชอ่ื สาขาวิชาหรือภาควิชา คณะ ชือ่
มหาวทิ ยาลัย,\ปพี มิ พ.์ \\ชื่อแหล่งท่ีมาของสาระสังเขป.
(วารสารสาระสังเขปของบทความ)
ผู้เขยี นบทความ.\\ ช่อื บทความ.\\ ชื่อวารสาร\ ปที ่ีหรอื เลม่ ที่ \(เดือน ปี)\ :\เลขหนา้ .\\ช่ือแหล่งท่ีมาของ
สาระสงั เขป.
(รายงานการประชมุ ทางวชิ าการ)
ผูเ้ ขียนบทความ.\\ ช่อื บทความ.\\ใน\ช่อื บรรณาธกิ ารหรอื ช่อื ผู้รวบรวม(ถา้ ม)ี , \ชือ่ รายงานการประชุมทาง
วิชาการ,\เลขหน้า.\\สถานทพี่ มิ พ์ :\สาํ นกั พมิ พ์,\ปีพิมพ.์
(เอกสารอัดสาํ เนา จุลสาร เอกสารที่ไม่ไดต้ พี มิ พ์)
ผแู้ ตง่ .\\ ชอ่ื เรอื่ ง.\\สถานท่พี มิ พ์\:\หน่วยงานที่รบั ผิดชอบ,\ปีพิมพ์.\\ (เอกสารอดั สําเนา หรือเอกสารไมต่ พี ิมพ)์
(เอกสารท่ีอ้างถงึ ในเอกสารอนื่ )
ผู้แต่ง.\\ ชอ่ื เร่ืองเอกสารอันดบั แรก.\\สถานทพ่ี มิ พ์\:\สํานักพมิ พ,์ \ปีพมิ พ์.\\อา้ งถึงใน ผู้แต่ง.\\ ชือ่ เรอ่ื ง
เอกสารอนั ดับรอง.\\สถานทพี่ ิมพ์\:\สาํ นักพิมพ์,\ปพี มิ พ์.\\เลขหน้า.

21

(การสัมภาษณ)์
ผู้ให้สมั ภาษณ.์ \\ ตําแหน่ง (ถา้ ม)ี .\\ สมั ภาษณ์,\วัน เดอื น ปี.

(โสตทศั นวสั ด)ุ
ช่อื ผ้จู ดั ทาํ .\\(หน้าท่ีทรี่ ับผดิ ชอบ-ถา้ มี).\\ชอื่ เรือ่ ง\ [ลกั ษณะของโสตทัศนวสั ด]ุ .\\ สถานทีผ่ ลิต\:\หน่วยงาน
ทเ่ี ผยแพร,่ \ปีที่เผยแพร่.

(ส่อื อเิ ล็กทรอนกิ ส)์
ชือ่ ผ้รู ับผดิ ชอบหลัก.\\ ช่ือแฟ้มขอ้ มลู (หรอื ชื่อโปรแกรม) [ประเภทของส่ือ].\\ สถานท่ผี ลติ \:\ช่อื ผู้ผลิต
หรอื ผเู้ ผยแพร,่ \ปที จี่ ัดทํา.\\แหลง่ ท่มี า\:\ชื่อของแหล่งที่มา\ชื่อแหล่งย่อย[วนั เดือน ปีทเ่ี ขา้ ถึงขอ้ มูล].

ภาษาองั กฤษ
(หนังสอื )

ผู้แตง่ .\\ ช่อื หนงั สือ.\\ เล่มทหี่ รือจํานวนเล่ม (ถ้าม)ี .\\ คร้งั ท่พี ิมพ์ (ถ้ามี).\\ชื่อชุดหนังสือและลาํ ดับที่
(ถ้ามี).\\สถานทพ่ี ิมพ์ :\สาํ นักพมิ พ,์ \ปพี มิ พ์.
(หนงั สือทพ่ี ิมพใ์ นโอกาสพเิ ศษตา่ งๆ)
ผู้แต่ง.\\ ชอ่ื หนงั สอื .\\ เลม่ ท่ีหรือจาํ นวนเล่ม (ถา้ ม)ี .\\ คร้งั ท่พี มิ พ์ (ถ้าม)ี .\\ชอ่ื ชดุ หนังสอื และลาํ ดับท(ี่ ถา้
ม)ี .สถานท่ีพมิ พ์ :\สํานกั พมิ พ,์ \ปีพิมพ์.\\ (รายละเอียดในการจัดพิมพห์ นงั สอื ).
(หนงั สือแปล)
ผ้แู ตง่ .\\ ช่อื หนังสือหรือช่ือเร่ือง.\\แปลโดย ชือ่ ผู้แปล.\\สถานทพ่ี ิมพ์ :\สํานกั พมิ พ,์ \ปีพิมพ.์
(วทิ ยานพิ นธ)์
ผู้เขียนวทิ ยานิพนธ์.\\ ช่ือวิทยานพิ นธ์.\\ ระดบั ปริญญา.\\ ช่ือสาขาวิชาหรอื ภาควชิ า คณะ
ชอื่ มหาวิทยาลัย,\ปีพมิ พ์.

หมายเหตุ 1. เครื่องหมาย \ แตล่ ะขดี หมายถงึ ให้เว้นระยะพิมพ์ 1 ตวั อักษร (1 เคาะ)
2. ถ้าอา้ งองิ แบบตวั เลขใหพ้ มิ พต์ วั เลข อยใู่ น ( ) หรอื [ ] หนา้ รายการ เรียงตามลาํ ดบั
ตวั เลขทอ่ี ้างอิง โดยไม่ตอ้ งแยกรายการเป็นภาษาไทย กับ ภาษาองั กฤษ

ตัวอย่าง

การพิมพร์ ายงานโครงงาน
วทิ ยาศาสตร์ คณติ ศาสตร์ และคอมพิวเตอร์

ระยะหา่ ง 1.5 นิ้ว

ภาพ
ตราโรงเรียน

(TH Sarabun ขนาด 22 จดุ ขนาด (เวน้ 1 บรรทดั ขนาด 16 จดุ )
ตัวดํา หนา) (1.5 น้วิ x 1.5 นว้ิ )

โครงงานวทิ ยาศาสตร์ / คณติ ศาสตร/์ คอมพิวเตอร์
เร่อื ง .............................

โดย (ขนาด 18 จดุ ตัวปกต)ิ
……...................................…….......

………………………………………..
………………………………………..

รายงานนเ้ี ป็นส่วนหนง่ึ ของรายวชิ า……….(*)……. (ขนาด 18 จุด
ตามหลักสูตรหอ้ งเรยี นพิเศษวิทยาศาสตรข์ อง สสวท. ตัวปกติ)

โรงเรียน .....................................................
ภาคเรยี นที่ ........ ชน้ั มัธยมศกึ ษาปีท่ี ........ ปกี ารศึกษา .......

หมายเหตุ (*) ให้เขียนระบชุ อื่ รายวิชา ว 30291 โครงงานวทิ ยาศาสตร์ 2 หรอื ค 30299 โครงงานคณติ ศาสตร์ 2 หรือ
ง 30299 โครงงานคอมพวิ เตอร์ 2

ระยะห่าง 1.5 น้ิว

ภาพ
ตราโรงเรยี น

(TH Sarabun ขนาด 22 จดุ ขนาด (เว้น 1 บรรทัด ขนาด 16 จดุ )
ตวั ดาํ หนา) (1.5 นว้ิ x 1.5 น้ิว)

โครงงานวทิ ยาศาสตร์ / คณิตศาสตร/์ คอมพิวเตอร์
เรอื่ ง .............................

โดย (ขนาด 18 จุด ตัวปกติ)
……...................................…….......
……...................................…….......
……...................................…….......

ครทู ี่ปรกึ ษา (ขนาด 18 จุด ตัวปกต)ิ
……...................................…….......
……...................................…….......

อาจารยท์ ป่ี รกึ ษาจากมหาวิทยาลยั / หนว่ ยงาน / ทป่ี รกึ ษาพเิ ศษ (ขนาด 18 จุด
ศ./ รศ./ ผศ......................................................... ตัวปกติ)

รายงานนเ้ี ป็นสว่ นหนึง่ ของรายวชิ า……….(*)……. (ขนาด 18 จุด
ตามหลักสูตรหอ้ งเรยี นพเิ ศษวิทยาศาสตร์ของ สสวท. ตัวปกติ)

โรงเรียน .....................................................
ภาคเรยี นที่ ........ ช้นั มัธยมศึกษาปีท่ี ........ ปีการศึกษา .......

หมายเหตุ (*) ใหเ้ ขยี นระบชุ อ่ื รายวิชา ว 30291 โครงงานวิทยาศาสตร์ 2 หรือ ค 30299 โครงงานคณติ ศาสตร์ 2 หรอื
ง 30299 โครงงานคอมพวิ เตอร์ 2

ระยะห่าง 1.5 นว้ิ ก

บทคัดยอ่ (TH Sarabun 22 จดุ ตวั หนา)

ระยะห่าง 1 บรรทดั 16 จดุ

จากการสกดั สารและแยกแบคทเี รียบริสทุ ธจ์ิ ากสิ่งมีชวี ติ ในทะเล 7 ชนดิ ได้แก่ ฟองน้าํ ทะเล
(ไฟลมั เพอรเิ ฟอรา) 5 ชนิด เพรียงหวั หอม (ไฟลัมคารด์ าตา) 1 ชนิด สาหร่ายทะเล 1 ชนดิ
(ดิวชิ นั โรโดไฟตา) และจากน้าํ ทะเล บรเิ วณแพเลย้ี งหอยแมลงภู่ หน้าสถานีวิจัยประมงศรรี าชา
จ.ชลบุรี พบว่าสารสกดั จากส่ิงมีชวี ิตในทะเลไมแ่ สดงผลการยบั ยัง้ จุลชีพ ในขณะที่แบคทเี รียซ่ึง
แยกได้จากสิง่ มีชวี ิตในทะเล จํานวน 55 isolates สรา้ งสารทมี่ ีฤทธิ์ยับยงั้ จลุ ชีพจาํ นวน 12 isolates
(ซึ่งทงั้ หมดเป็นแบคทเี รยี แกรมบวก) คดิ เป็นร้อยละ 21.82 โดยสามารถยับย้งั เชือ้ จุลชีพในคน
คือ Bacillus subtilis และ Staphylococcus aureus ในพชื คอื Xanthomonas campestris
และยังสามารถยับยัง้ แบคทีเรีย Vibrio chlolerae ทท่ี ําใหเ้ กิดโรคในกงุ้ ไดใ้ นระดบั ท่คี ่อนขา้ งดี ซึ่ง
จากการตรวจเอกลกั ษณ์ของสารสกดั จากแบคทีเรยี ท่มี ฤี ทธ์ยิ บั ย้งั จุลชีพ พบว่าทง้ั หมดมอี งคป์ ระกอบ
เป็นฮาโลเจนและแอนโทรน นอกจากน้ียงั พบสารอลั คาลอยดเ์ ป็นส่วนใหญ่ ทําใหเ้ หน็ แนวทางในการ
พัฒนายาปฏิชีวนะเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ และแสดงให้เหน็ ถงึ ความเปน็ ไปได้ในการนํา
สง่ิ มชี ีวิตท่ีมีแบคทเี รยี ท่สี ร้างสารยบั ยงั้ จุลชพี ท่ที าํ ใหเ้ กดิ โรคในก้งุ ไปเลย้ี งรว่ มกบั กงุ้ เพ่ือปอ้ งกนั การเกิด
โรคในกงุ้ ต่อไป ทาํ ใหเ้ กดิ เปน็ ระบบการเลี้ยงกุ้งแบบใหมข่ ้นึ ได้

ระยะหา่ ง 1.5 น้ิว ข

กิตตกิ รรมประกาศ (TH Sarabun 22 จดุ ตัวหนา)

ระยะห่าง 1 บรรทัด 16 จุด

โครงงานเรือ่ งนีป้ ระกอบดว้ ยการดําเนนิ งานหลายขั้นตอน นบั ตัง้ แตก่ ารศกึ ษาหาขอ้ มูล
การทดลอง การวเิ คราะหผ์ ลการทดลอง การจัดทาํ โครงงานเปน็ รปู เล่ม จนกระท่ังโครงงานนี้สาํ เร็จ
ลุล่วงไปได้ดว้ ยดี ตลอดระยะเวลาดงั กล่าวคณะผู้จดั ทาํ โครงงานได้รบั ความช่วยเหลอื และคําแนะนาํ
ในด้านตา่ งๆ ตลอดจนได้รบั กําลังใจจากบุคคลหลายทา่ น คณะผูจ้ ัดทาํ ตระหนักและซาบซงึ้ ในความ
กรณุ าจากทุกๆทา่ นเปน็ อย่างยง่ิ ณ โอกาสนี้ ขอขอบคณุ ทกุ ๆ ท่าน ดังน้ี

กราบขอบพระคณุ อาจารย์พนั ธุ์ทิพย์ วิเศษพงศ์พันธุ์ อาจารย์ท่ีปรกึ ษาพเิ ศษจากภาควชิ า
วิทยาศาสตรท์ างทะเล คณะประมง มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ใหค้ ําแนะนาํ และได้เมตตา
ให้ความช่วยในทกุ ๆ ด้าน ตลอดจนเอือ้ เฟื้อหอ้ งปฏิบัติการและเคร่อื งมอื ต่างๆในการทาํ โครงงานนี้
จนประสบความสําเร็จ

กราบขอบพระคณุ นายฤทธริ งค์ พรหมมาศ นิสิตปรญิ ญาโท ภาควิชาวทิ ยาศาสตรท์ างทะเล
คณะประมง มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์ ผู้ใหค้ วามรู้ คําแนะนาํ คอยดูแลในด้านตา่ งๆ และสละเวลา
มาช่วยฝกึ ฝนเทคนิคในการทาํ โครงงานครั้งน้ี พร้อมทง้ั เป็นกําลังใจใหเ้ สมอมา

กราบขอบพระคุณ ผู้อาํ นวยการโรงเรยี นศรบี ณุ ยานนท์ นายเฉลมิ กลนิ่ กุล ที่ให้ความ
อนุเคราะห์ และให้ความช่วยเหลอื ในดา้ นต่างๆ อาจารยเ์ สาวลักษณ์ ประพฤตดิ ี และอาจารย์สมพร
อคั รธรี านนท์ อาจารยท์ ่ีปรึกษา และอาจารย์ในหมวดวชิ าวิทยาศาสตรโ์ รงเรยี นศรีบุณยานนท์ทุกคน
ทคี่ อยดแู ลเอาใจใสแ่ ละให้คาํ ปรกึ ษาอยา่ งดี

ขอขอบพระคุณโครงการพัฒนาและสง่ เสริมผ้มู คี วามสามารถพิเศษทางวทิ ยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี (พสวท.) ทใ่ี ห้เงนิ ทุนสาํ หรบั สนบั สนนุ การทาํ โครงงานในครั้งนี้

ขอขอบคณุ เพอ่ื นๆ ทีไ่ ดใ้ ห้ความช่วยเหลอื ในการทาํ โครงงาน
ทา้ ยทีส่ ดุ ขอกราบขอบพระคุณ คุณพอ่ และคณุ แม่ ผู้เปน็ ที่รกั ผ้ใู หก้ ําลังใจและให้โอกาส
การศกึ ษาอนั มคี า่ ย่ิง

มณฑ์นภา นาคะศิริ

ระยะห่าง 1.5 น้ิว ค

สารบญั (TH Sarabun 22 จดุ ตัวหนา)

ระยะหา่ ง 1 บรรทดั 16 จุด

หน้า

ระยะห่าง 1 บรรทดั 16 จดุ

บทคัดย่อ ก
กติ ติกรรมประกาศ ข
สารบัญ ค
สารบญั ตาราง ง
สารบญั ภาพ จ
คาํ อธิบายสญั ลักษณ์ ฉ

บทท่ี 1 บทนาํ 1
ท่ีมาและความสาํ คัญ 1
วัตถุประสงค์ของโครงงาน 1
ขอบเขตของโครงงาน 1
สมมติฐาน 2
ตวั แปรท่ศี ึกษา 2
นิยามเชงิ ปฏบิ ัติการ 4
10
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยทเ่ี ก่ยี วขอ้ ง 16
บทที่ 3 วิธดี ําเนินการทดลอง 38
บทที่ 4 ผลการทดลอง 40
บทที่ 5 สรปุ อภิปรายผล และขอ้ เสนอแนะ
เอกสารอ้างองิ 46
ภาคผนวก 48

ก การเตรียมอาหารเลย้ี งเซลลแ์ บคทเี รยี
ข เทคนคิ การวเิ คราะหท์ างชวี วิธี

ระยะห่าง 1.5 น้ิว ง

สารบญั ตาราง (TH Sarabun 22 จดุ ตัวหนา)

ตารางที่ ระยะหา่ ง 1 บรรทดั 16 จดุ หน้า

ระยะห่าง 1 บรรทัด 16 จดุ 5
7
ตารางที่ 1 แหล่งทอ่ี ยู่อาศยั ของจุลินทรยี ใ์ นทะเล 10
13
ตารางท่ี 2 รูปร่าง ลกั ษณะ และแหล่งอาศยั ของส่งิ มีชีวิตท่ีนาํ มาศึกษาสง่ิ มีชีวติ
15
ตารางท่ี 3 เช้ือจลุ ชีพหรือเชือ้ จลุ ินทรยี ม์ าตรฐานทนี่ าํ มาทดสอบ 19
20
ตารางที่ 4 ผลการยบั ย้ังเชอื้ แบคทีเรียและเชอ้ื รามาตรฐานดว้ ยสารสกัดจากสิ่งมชี ีวิตในทะเล

ตารางที่ 5 ผลการยบั ยง้ั เชอื้ แบคทเี รยี และเช้อื ราสายพนั ธมุ์ าตรฐานดว้ ยแบคทเี รยี ท่ีอาศัย

อยรู่ ว่ มกบั สง่ิ มีชีวิตในทะเล

ตารางท่ี 6 ลกั ษณะและรปู ร่างของแบคทเี รยี ท่ีมีฤทธ์ยิ ับยงั้ จุลชพี

ตารางท่ี 7 เอกลักษณข์ องสารทีส่ กดั ได้จากแบคทีเรียทม่ี ฤี ทธย์ิ ับยั้งจลุ ชีพ

(หนา้ นี้ แสดงตัวอย่างสารบัญตารางแบบนบั เลขลาํ ดับทต่ี อ่ เน่ือง)

ระยะหา่ ง 1.5 น้ิว ง

สารบญั ตาราง (TH Sarabun 22 จดุ ตวั หนา)

ตารางท่ี ระยะหา่ ง 1 บรรทัด 16 จุด หนา้

ระยะห่าง 1 บรรทัด 16 จุด

ตารางที่ 1.1 แหล่งทอี่ ยอู่ าศยั ของจุลนิ ทรยี ใ์ นทะเล 5

ตารางท่ี 3.1 รูปรา่ ง ลักษณะ และแหล่งอาศัยของสงิ่ มีชวี ติ ที่นาํ มาศกึ ษาส่งิ มชี วี ติ 7

ตารางท่ี 3.2 เช้ือจลุ ชพี หรือเชอ้ื จุลนิ ทรยี ม์ าตรฐานทนี่ าํ มาทดสอบ 10

ตารางที่ 4.1 ผลการยบั ยั้งเช้อื แบคทีเรยี และเชอื้ รามาตรฐานดว้ ยสารสกดั จากสง่ิ มีชีวิตในทะเล 13

ตารางที่ 4.2 ผลการยับยั้งเช้อื แบคทเี รยี และเชอื้ ราสายพนั ธุม์ าตรฐานดว้ ยแบคทเี รยี ทอี่ าศัย

อยรู่ ่วมกบั สง่ิ มชี วี ิตในทะเล 15

ตารางท่ี 4.3 ลักษณะและรปู ร่างของแบคทเี รียทม่ี ีฤทธยิ์ ับยง้ั จลุ ชพี 19

ตารางที่ 4.4 เอกลักษณ์ของสารท่ีสกดั ได้จากแบคทีเรียทมี่ ฤี ทธยิ์ บั ยัง้ จุลชีพ 20

(หนา้ นี้ แสดงตวั อย่างสารบัญตารางแบบนับเลขลาํ ดับท่ีแยกแตล่ ะบท)

ระยะห่าง 1.5 น้ิว จ

สารบัญภาพ (TH Sarabun 22 จุด ตัวหนา) หน้า

ระยะห่าง 1 บรรทดั 16 จุด 2
11
ภาพท่ี 16
17
ระยะห่าง 1 บรรทัด 16 จุด 18
24
ภาพที่ 1 ส่ิงมชี ีวติ ในทะเลทีใ่ ช้ศึกษา 26
ภาพที่ 2 สารสกัดหยาบทีไ่ ด้จากสิ่งมีชีวติ ในทะเลทงั้ 6 ชนดิ 30
ภาพที่ 3 การทดสอบฤทธ์ิยบั ยั้งจุลชพี ของสารสกดั 32
ภาพท่ี 4 แผนภมู ิแสดงจาํ นวนชนิดของแบคทีเรียทแ่ี ยกได้จากส่งิ มีชีวิตในทะเล 33
ภาพที่ 5 แผนภมู ิแสดงจาํ นวนเช้อื แบคทเี รียที่มีฤทธยิ์ บั ยัง้ จุลชพี ที่นาํ มาทดสอบ 34
ภาพที่ 6 วธิ ีการแยกเชอื้ ดว้ ยเทคนคิ cross streak 35
ภาพท่ี 7 ลกั ษณะ รปู รา่ งและการเรียงตวั ของเซลล์แบคทเี รียที่แยกได้
ภาพท่ี 8 ข้ันตอนการหยดสารสกดั จากสงิ่ มีชีวิตในทะเลลงบน filter paper disc
ภาพที่ 9 ผลการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งของสารสกัด
ภาพท่ี 10 ลักษณะของจานเพาะเช้ือทีท่ ดสอบฤทธิ์ยบั ย้ังจลุ ชีพ
ภาพที่ 11 ผลการทดสอบฤทธยิ์ บั ยงั้ จลุ ชพี ของแบคทเี รยี
ภาพที่ 12 ขน้ั ตอนการแยกสารสกดั จากแบคทีเรียดว้ ยกรวยแยก

(หน้าน้ี แสดงตัวอยา่ งสารบญั ภาพแบบนบั เลขลาํ ดบั ท่ตี อ่ เน่ือง)

ระยะหา่ ง 1.5 นิ้ว จ

สารบญั ภาพ (TH Sarabun 22 จดุ ตัวหนา) หน้า

ระยะหา่ ง 1 บรรทัด 16 จุด 2
11
ภาพที่ 16
17
ระยะห่าง 1 บรรทัด 16 จดุ 18
24
ภาพท่ี 1.1 สิ่งมชี ีวิตในทะเลทใ่ี ชศ้ ึกษา 26
ภาพที่ 3.1 สารสกดั หยาบที่ได้จากส่งิ มีชวี ิตในทะเลทั้ง 6 ชนิด 30
ภาพที่ 4.1 การทดสอบฤทธยิ์ บั ยง้ั จลุ ชีพของสารสกัด 32
ภาพท่ี 4.2 แผนภมู แิ สดงจํานวนชนดิ ของแบคทีเรียทแ่ี ยกได้จากส่งิ มชี วี ิตในทะเล 33
ภาพที่ 4.3 แผนภูมิแสดงจาํ นวนเช้อื แบคทีเรียท่มี ีฤทธิย์ บั ยงั้ จุลชีพทีน่ ํามาทดสอบ 34
ภาพท่ี 4.4 วธิ ีการแยกเช้ือด้วยเทคนิค cross streak 35
ภาพที่ 4.5 ลักษณะ รปู ร่างและการเรียงตวั ของเซลล์แบคทีเรียทแ่ี ยกได้
ภาพท่ี 4.6 ขน้ั ตอนการหยดสารสกดั จากสิ่งมชี วี ิตในทะเลลงบน filter paper disc
ภาพท่ี 4.7 ผลการทดสอบฤทธ์ยิ ับยั้งของสารสกดั
ภาพที่ 4.8 ลกั ษณะของจานเพาะเช้ือทท่ี ดสอบฤทธิ์ยับยัง้ จลุ ชีพ
ภาพที่ 4.9 ผลการทดสอบฤทธิ์ยับยงั้ จุลชีพของแบคทีเรยี
ภาพที่ 4.10 ขั้นตอนการแยกสารสกดั จากแบคทีเรียด้วยกรวยแยก

(หนา้ นี้ แสดงตัวอยา่ งสารบญั ภาพแบบนับเลขลําดับทแี่ ยกแตล่ ะบท)

ระยะหา่ ง 1.5 นิ้ว ฉ

คาํ อธบิ ายสัญลกั ษณ์ (TH Sarabun 22 จดุ ตัวหนา)

ระยะหา่ ง 1 บรรทัด 16 จดุ

สญั ลกั ษณ์ คําอธบิ าย

ระยะหา่ ง 1 บรรทดั 16 จดุ

BS Bacillus subtilis
SA Staphylococcus aureus
ST Salmonella typhimurium
XC Xanthomonas campestris
VCB Vibrio chlolerae
CA Candida albicans
MG Microsporum gypseum
– ไม่เกิด inhibition zone
+ เสน้ ผ่านศนู ยก์ ลางของ inhibition zone 6.1-9 mm
++ เส้นผ่านศูนยก์ ลางของ inhibition zone 9.1-12 mm
+++ เส้นผ่านศูนยก์ ลางของ inhibition zone 12.1-15mm
++++ เส้นผ่านศนู ยก์ ลางของ inhibition zone มากกว่า 15 mm

บทท่ี 1
บทนาํ

1.1 ทมี่ าและความสาํ คญั (ขนาดอกั ษร 18 จุด ตัวหนา) ระยะห่าง 1 บรรทดั พมิ พ์ 16 จดุ

พน้ื ผิวโลกของเรานน้ั มากกว่าร้อยละ 70 ปกคลุมไปด้วยทะเลและมหาสมทุ ร ดังนัน้ สิ่งมชี ีวิต
ในทะเลจงึ มีการพฒั นาลกั ษณะเฉพาะทางสรรี วิทยา รวมทงั้ การสรา้ งสารทีแ่ ตกตา่ งจากส่ิงมีชวี ติ ที่
อาศยั อยูบ่ นบก ซงึ่ สารต่างๆ ทสี่ ร้างข้นึ มาน้ีเรยี กวา่ สารทตุ ิยภูมิ ...................โดยนาํ สารทไ่ี ด้นัน้
มาทาํ การศึกษาฤทธ์ใิ นการยบ้ั ยงั้ แบคทีเรยี และเชอื้ ราท่ที าํ ใหเ้ กิดโรคเพ่อื เป็นแนวทางในการพัฒนา
ยาปฏิชีวนะจากผลติ ภัณฑธ์ รรมชาตทิ างทะเลตอ่ ไป (ขนาดอกั ษร 16 จุด ตัวปกต)ิ

1.2 วัตถุประสงค์ ระยะห่าง 1 บรรทดั พิมพ์ 16 จดุ

1.2.1 เพือ่ ศกึ ษาสารที่สกัดไดจ้ ากสงิ่ มีชวี ติ ในทะเล ท่มี ฤี ทธย์ิ ับยง้ั แบคทเี รียและเช้ือราทท่ี ํา
ใหเ้ กดิ โรค

1.2.2 เพอื่ คดั เลือกแบคทีเรียทอี่ าศยั อยรู่ ว่ มกบั สิ่งมชี วี ติ ทส่ี ามารถผลิตสารทม่ี ฤี ทธิย์ บั ยั้ง
แบคทเี รยี และเชอื้ ราที่ทาํ ใหเ้ กดิ โรค

1.2.3 เพอ่ื ศกึ ษารูปร่างและลกั ษณะที่สาํ คญั ของแบคทเี รียทีอ่ าศยั อย่รู ว่ มกับสิง่ มชี วี ิตใน
ทะเล ที่สามารถผลิตสารที่มฤี ทธิ์ยับยง้ั แบคทเี รียและเชอ้ื ราที่ทาํ ให้เกิดโรคได้

1.2.4 เพอ่ื ศกึ ษาสารสกัดจากแบคทเี รยี ทม่ี ฤี ทธ์ใิ นการยับย้งั แบคทเี รยี และเชอื้ ราทท่ี าํ ให้
เกดิ โรค

1.2.5 เพอื่ ศึกษาแนวโน้มในการพฒั นายาปฏิชีวนะจากสงิ่ มชี วี ิตในทะเล และแบคทีเรียท่ี
อาศัยอยู่รว่ มกบั ส่งิ มีชวี ิตในทะเล

1.3 ขอบเขตของการศึกษา ระยะหา่ ง 1 บรรทัดพิมพ์ 16 จุด

ส่งิ มชี วี ติ ในทะเลทนี่ าํ มาศกึ ษา คือ ฟองนํา้ ทะเล 5 ชนดิ สาหรา่ ยทะเล 1 ชนิด เพรียงหัว
หอม 1 ชนดิ โดยทําการเก็บตัวอย่างมาจากหนา้ สถานีวจิ ัยประมงศรีราชา จ.ชลบรุ ี บรเิ วณแพ
เลี้ยงหอยแมลงภู่

1.4 สมมตฐิ าน ระยะหา่ ง 1 บรรทดั พมิ พ์ 16 จุด

สารท่ีสกดั จากแบคทีเรยี ท่ีอาศยั ร่วมกบั สิ่งมชี ีวิตในทะเลมคี วามสามารถในการยับยั้งจลุ ินทรยี ์
ท่ีทําใหเ้ กดิ โรคได้

1.5 ตวั แปรท่ศี ึกษา ระยะหา่ ง 1 บรรทดั พมิ พ์ 16 จดุ

ตัวแปรตน้ สิง่ มชี วี ติ ในทะเล ไดแ้ ก่ ฟองนา้ํ ทะเล สาหรา่ ยทะเล และเพรียงหัวหอม
ตัวแปรตาม ชนิดของแบคทเี รยี ท่แี ยกไดจ้ ากส่งิ มชี ีวิตในทะเล และความสามารถในการ
ยบั ยั้งการเจริญเตบิ โตจุลินทรยี ์ที่ทําให้เกิดโรค
ตัวแปรควบคมุ ไดแ้ กจ่ ลุ ินทรยี ส์ ายพนั ธมุ์ าตรฐานทที่ าํ ใหเ้ กดิ โรค และอุณหภมู ขิ ณะบม่ เชื้อ

1.6 นยิ ามเชงิ ปฏบิ ัตกิ าร ระยะหา่ ง 1 บรรทัดพิมพ์ 16 จุด

จุลชีพ หรือ จลุ ินทรีย์สายพนั ธ์มุ าตรฐาน หมายถึง สง่ิ มชี วี ติ ขนาดเล็กๆท่มี ีโครงสร้างภายใน
ไมซ่ ับซอ้ น เชน่ แบคทเี รียและราทท่ี ําให้เกิดโรคต่างๆ เช่น Bacillus subtilis ทําให้เกิดโรค
ทางเดนิ อาหารในคน เป็นต้น

สารสกัดจากสงิ่ มีชีวติ ในทะเล หมายถึง สารทส่ี ิ่งมชี ีวิตในทะเลสรา้ งขน้ึ และนํามาสกดั
ด้วยสารอนิ ทรีย์ เพอ่ื ศึกษาผลการยับย้ังแบคทเี รยี หรือเชอ้ื ราทีท่ าํ ใหเ้ กิดโรค

สารยับยัง้ จุลชีพจากแบคทีเรยี หมายถึง สารทแ่ี บคทีเรยี สร้างขน้ึ และนํามาสกัดดว้ ย
สารอินทรยี ์ เพ่ือศึกษาผลการยับย้งั แบคทีเรียและเชือ้ ราท่ีทาํ ใหเ้ กิดโรค

การยับยง้ั จลุ ชีพ คือ การทแี่ บคทีเรียหรือสารท่สี กัดได้จากสงิ่ มีชีวิต สรา้ งสารตา้ นการ
เจริญของแบคทเี รยี หรือเชือ้ ราทท่ี าํ ใหเ้ กิดโรค

Clear zone หรือ inhibition zone หมายถงึ บริเวณทมี่ ลี กั ษณะใสรอบๆ บริเวณเชอ้ื ท่ี
นาํ มาทดสอบ ซง่ึ สามารถบอกถงึ ความสามารถในการยับย้งั จลุ นิ ทรียส์ ายพันธมุ์ าตรฐานทีท่ าํ ให้
เกดิ โรคได้

บทที่ 2

เอกสารและงานวจิ ยั ทเี่ กย่ี วขอ้ ง

(เวน้ ระยะห่าง 1 บรรทดั พิมพ์ ขนาด 16 จดุ )
ควรมีข้อความเกรน่ิ นาํ เพือ่ นําไปส่ทู ่ีมาและความสาํ คัญของเรื่องทีศ่ ึกษา................................
…………………………………………………………………………………………………………………………………………

2.1 ความสาํ คญั ของผลติ ภัณฑธ์ รรมชาตทิ างทะเล ระยะหา่ ง 1 บรรทดั พมิ พ์ 16 จดุ

2.1.1 การผลิตสารทมี่ ฤี ทธทิ์ างชวี ภาพ
สารทุตยิ ภูมิทมี่ ีความสาํ คัญทางนเิ วศวิทยาสําหรับฟองนํ้าไดถ้ ูกพัฒนานํามาใช้ประโยชน์ใน
รปู ของยาจากผลิตภัณฑธ์ รรมชาติ ซึ่งฟองนาํ้ แตล่ ะชนดิ ผลติ สารทตุ ิยภมู อิ อกมาแตกตา่ งกนั ไป
โดยสารเหลา่ นอ้ี าจเปน็ สารท่มี ีโครงสรา้ งใหมๆ่ หรอื เป็นสารทม่ี ีโครงสรา้ งทางเคมที ซ่ี ับซ้อน
นับวา่ ฟองน้ําเปน็ ส่ิงมีชวี ติ ที่เปน็ แหลง่ ผลติ สารท่มี ฤี ทธ์ิทางชวี ภาพท่ีนา่ สนใจและมจี าํ นวนมากทีส่ ุด
เมอ่ื เปรียบเทยี บกบั สงิ่ มีชีวิตในทะเลทงั้ หมด ทาํ ให้ฟองนํ้าจัดเป็นสงิ่ มชี ีวิตทค่ี วรแกก่ ารศึกษาทาง
เภสัชกรรมและทางดา้ นเคมี (Ireland et al., 1993; Andersen and Williams, 2000; Lei
and Zhou, 2002)

2.1.1.1 ชื่อหวั ขอ้ ยอ่ ยของ 2.1.1
1) ชื่อหวั ขอ้ ยอ่ ยของ 2.1.1.1

บทท่ี 3

วธิ ีดาํ เนินการทดลอง

(เว้นระยะห่าง 1 บรรทดั พิมพ์ ขนาด 16 จุด)
ควรมขี อ้ ความเกรน่ิ นํา กอ่ นขึ้นหวั ข้อต่างๆ ...........................................................................
…………………………………………………………………………………………………………………………………………

3.1 วัสดุอปุ กรณ์และเครอ่ื งมอื พิเศษ (18 จุด ตวั หนา) ระยะหา่ ง 1 บรรทดั พิมพ์ 16 จดุ

3.1.1 วสั ดุอุปกรณ์ (รายชอ่ื วัสดอุ ุปกรณ์ พิมพ์เรียงตามลําดบั ตวั อักษร)

(เวน้ ระยะหา่ ง 1 บรรทัดพมิ พ์ ขนาด 16 จุด)

ชนดิ ของวสั ดอุ ุปกรณ์ บริษทั ผผู้ ลติ

กระดาษกรอง (Electroph wick) PHARMACIA BIOTECH

กระดาษไนโตรเซลลูโลส Hoefer Phamacia Biotech Inc.

(Nitrocell 33 CMX3M ROLL) Sanfancisco, California, U.S.A.

เข็มฉีดยาพร้อมกระบอกสบู ขนาด 1 มลิ ลลิ ติ ร TERUMO®

(Syringe with needle U-100 insulin)

ขวดเลย้ี งเซลลข์ นาด 50 และ 250 มลิ ลลิ ติ ร NUNCLON™ ∆ DELTA

(50 ml and 250 ml Tissue Culture Flask)

ถาด ELISA NUNCLON™ ∆ DELTA

(Nunc-Immuno Plate MexiSorp®)

ปเิ ปตชนิดปรบั คา่ อัตโนมตั ิ BIOHIT OY. FINLAND

(BIOHIT PROLINE Pipette)

ปเิ ปตชนิดหลายชอ่ ง BIOHIT OY. FINLAND

(BIOHIT PROLINE Multichannel Pipette)

ปเิ ปตบอย INTEGRA BIOSCIENCES S.A.

(PIPETBOY)

หลอดเก็บเซลลแ์ ช่แข็ง NALGENE® U.S.A.

(Cryotube)

หลอดปนั่ เหว่ยี งตกตะกอนใสขนาด 50 มลิ ลลิ ติ ร NALGENE® U.S.A.

3.1.2 เคร่ืองมือพเิ ศษ (รายชื่อเครอ่ื งมือพมิ พเ์ รียงตามลาํ ดับตวั อกั ษร)

(เวน้ ระยะห่าง 1 บรรทดั พมิ พ์ ขนาด 16 จุด)

ชนดิ เคร่อื งมอื บริษัทผผู้ ลิต

กล้องจุลทรรศน์ NIKON, JAPAN

(Light microscope)

เครอื่ งเขย่าผสมสาร SCIENTIFIC INDUSTRIES, INC.,

(Vertex mixer) BOHEMIA N.Y. 11716 U.S.A

เครอ่ื งชง่ั 3 ตาํ แหน่ง SARTORIUS LABORATRY

เครื่องนึ่งความดันฆ่าเชื้อจลุ ลนิ ทรยี ์ HIRAYAMA, JAPAN

(Autoclave)

เครื่องปนั่ เหวยี่ งตกตะกอนขนาดเลก็ SHELTON SCIENTIFIC

(Mini Centrifuge VSMC-B)

3.2 สารเคมี (รายชอ่ื สารเคมี พิมพเ์ รียงตามลําดบั ตัวอกั ษร) ระยะหา่ ง 1 บรรทัดพิมพ์ 16 จุด

ชือ่ สารเคมี บรษิ ัทผผู้ ลติ
Acetic acid (glacial) (CH3COOH) MERCK, 64271 Darmstadt , Germany
Calcium chloride (CaCl2) BDH Chemicals Ltd. Poole England
Cupric sulfate pentahydrate (CuSO4.5H2O) Fluka. Chemie AG,CH-9470 Buchs
Switzerland
Potassium dihydrogen phosphate (KH2PO4) Fluka. Chemie AG,CH-9470 Buchs
Switzerland
Potassium chloride (KCl) BDH Chemicals Ltd. Poole England
Streptomycin M&H Manufacturing CO., LTD
Sodium acetate (C2H3O2Na) Fluka. Chemie AG,CH-9470 Buchs
Switzerland
Sodium carbonate (Na2CO3) Fluka. Chemie AG,CH-9470 Buchs
Switzerland
Sodium chloride (NaCl) Fluka. Chemie AG,CH-9471 Buchs
Switzerland
Sodium hydroxide (NaOH) Eka Nobel AB,S-445 80 Buhus
Sweden

3.3 ส่งิ มีชวี ติ (ถา้ มี) ระยะหา่ ง 1 บรรทดั พมิ พ์ 16 จดุ

ฟองนํา้ SP1
ฟองนํา้ SP2

ฟองน้าํ SP3
ฟองนา้ํ SP4
สาหร่ายทะเล AG

3.4 ขน้ั ตอนการดําเนนิ งาน ระยะหา่ ง 1 บรรทัดพิมพ์ 16 จดุ

3.4.1 การทดสอบฤทธ์ยิ ับยง้ั จลุ ชีพดว้ ยสารสกัดหยาบจากส่งิ มีชวี ิตในทะเลทง้ั 6 ชนดิ
3.4.1.1 ความสามารถในการยบั ยงั้ เช้อื แบคทีเรยี
3.4.1.2 ความสามารถในการยบั ยั้งเชอ้ื รา

3.4.2 การทดสอบฤทธิย์ ับย้งั จลุ ชีพของแบคทีเรียทีอ่ าศัยอยรู่ ่วมกบั ส่ิงมีชีวติ ในทะเล
3.4.2.1 ............................................................

บทท่ี 4

ผลการทดลอง

(เว้นระยะห่าง 1 บรรทัด ขนาด 16 จุด)

ควรเขยี นบรรยายความเกร่นิ นํากอ่ นแสดงผลการทดลอง ………………..…………………………….

…………………………………………………………………………………………………………………………………………

4.1 ทดสอบฤทธิ์ยบั ย้ังจุลชพี จากสารทส่ี กดั ได้จากสิง่ มชี วี ิตในทะเล เว้น ระยะห่าง
1 บรรทัดพิมพ์
16 จดุ

เมื่อทดลองสกัดสารจากสงิ่ มีชีวติ ในทะเล 6 ชนดิ คือ ฟองนาํ้ 5 ชนดิ และสาหร่ายทะเล 1
ชนดิ ดว้ ยสารละลายผสมระหว่างโทลอู นี และเมทานอล ในอตั ราสว่ น 3:1 ได้สารสกัด 6 ตัวอย่าง
เมือ่ นําสารสกดั ท่ไี ด้ไปทดสอบการยบั ยง้ั จุลชพี 6 ชนิด พบวา่ สารสกัดหยาบจากส่งิ มีชีวติ ในทะเล
ทง้ั 6 ชนดิ ไมม่ ฤี ทธใิ์ นการยบั ยั้งจุลชพี

4.2 (ผลการทดลองหวั ขอ้ ตอ่ ไปซ่ึงเรียงลาํ ดับสอดคล้องกบั วิธีการทดลอง) เวน้ ระยะหา่ ง
1 บรรทดั พิมพ์
16 จุด

………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………..

ตารางท่ี 4.1 ผลการยบั ยง้ั เชื้อแบคทเี รยี และเช้อื รามาตรฐานดว้ ยสารสกัดจากสิ่งมชี วี ิตในทะเล
เช้อื จลุ นิ ทรีย์
ท่ที ดสอบ VCB XC ST BS SA CA MG

สิง่ มชี วี ิต

SP1 - - - - - - -
SP2 - - - - - - -
SP3 - - - - - - -
SP4 - - - - - - -
SP5 - - - - - - -
AG - - - - - - -

หมายเหตุ 1. BS = Bacillus subtilis, SA = Staphylococcus aureus, ST = Salmonella typhimurium,
XC = Xanthomonas campestris, VCB = Vibrio chlolerae , CA = Candida albicans
MG = Microsporum gypseum

2. สญั ลักษณ์ – หมายถึงไมพ่ บ inhibition zone เกิดข้นึ ในชดุ ทดลอง

ภาพท่ี 4.1 สารสกดั หยาบท่ไี ดจ้ ากส่งิ มีชวี ติ ในทะเลทั้ง 6 ชนดิ

บทที่ 5

สรปุ อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

(เวน้ ระยะหา่ ง 1 บรรทดั ขนาด 16 จุด)
จากการสกดั สารจากฟองนํา้ ทะเล 5 ชนดิ และสาหรา่ ยทะเล 1 ชนิด พบว่าไม่มสี ารสกดั จาก
สงิ่ มชี วี ิตชนดิ ใดท่ีสามารถยับยั้งเช้ือจลุ ชีพทดสอบได้ อาจเป็นเพราะว่าความเข้มขน้ ของสารสกดั
ตํ่าเกนิ ไป เน่ืองจากมีตัวอย่างสง่ิ มชี ีวติ ไมเ่ พยี งพอต่อการสกัด หรอื เปน็ เพราะในสารสกัดจาก
สงิ่ มชี ีวติ ในทะเลไม่มีสารท่ีมีฤทธิใ์ นการยับยง้ั เช้ือจลุ ชีพอยู่ ............................................................

5.1 สรุปผล ระยะห่าง 1 บรรทดั พิมพ์ 16 จดุ

5.1.1 แบคทเี รียทีแ่ ยกได้จากฟองนํา้ 5 ชนิด เพรียงหวั หอม 1 ชนิด สาหร่ายทะเล
1 ชนดิ และน้าํ ทะเล 1 ตวั อยา่ ง บริเวณแพเลีย้ งหอยแมลงภู่ หนา้ สถานวี จิ ัยประมงศรีราชา
จ.ชลบรุ ี มที ัง้ สิน้ 55 isolates ประมาณรอ้ ยละ 21.82 สามารถผลติ สารยบั ยัง้ จุลชพี ได้

5.1.2 (ขอ้ สรปุ ตอ่ ไป โดยเรียงลาํ ดบั ใหส้ อดคลอ้ งกับวธิ ีการทดลอง)

5.2 อภปิ รายผล ระยะห่าง 1 บรรทดั พิมพ์ 16 จดุ

5.2.1 การศึกษาคัดเลอื กเช้อื แบคทีเรยี จากฟองนํ้า 5 ชนดิ เพรยี งหัวหอม 1 ชนิด สาหรา่ ยทะเล
1 ชนิด และจากนํา้ ทะเล สามารถแยกเช้ือแบคทเี รีย บรสิ ุทธิไ์ ด้จากฟองนา้ํ SP5 มากที่สดุ คือ 10
isolates และจากนาํ้ ทะเลไดน้ อ้ ยที่สุด คอื 2 isolates ซ่งึ เมอ่ื พจิ ารณาจากลกั ษณะรปู ร่างของ
ฟองนํา้ SP5 พบวา่ มลี ักษณะเคลอื บแขง็ ซึ่งแตกตา่ งจากฟองน้ําชนดิ อืน่ ๆที่พบ เพราะว่าฟองนํ้า
โดยทว่ั ไปที่มีรพู รุนและมสี ปคิ ลู อยู่ เป็นการป้องกนั ตวั เองจากอันตรายต่างๆ ทําให้ฟองนํา้ ที่มี
ลกั ษณะเคลอื บแขง็ เช่น SP5 สรา้ งสารบางอย่างข้ึนมาพัฒนาระบบการปอ้ งกนั ตวั เอง ซ่ึงสาร
ดงั กลา่ วน่าจะอย่ใู นแบคทีเรยี ที่อาศัยอยู่รว่ มกบั ฟองนํ้า
5.2.2 (อภิปรายตอ่ ไป โดยเรยี งลําดบั ใหส้ อดคล้องกบั วิธีการทดลอง)

5.3 ข้อเสนอแนะ ระยะห่าง 1 บรรทัดพมิ พ์ 16 จดุ

5.3.1 .......................................................................
5.3.2 .......................................................................

เอกสารอ้างอิง

(เวน้ ระยะหา่ ง 1 บรรทัด ขนาด 16 จุด)
กรมควบคุมมลพิษ. (2542). สารเคมีอนั ตราย (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http:/www.

Thaiclinic.com/ medbible/bonetumor.html [21 พฤศจิกายน 2543]
คณาจารยภ์ าควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร.์ 2543. ปฏิบตกิ ารเคมี

อินทรีย.์ โรงพมิ พ์ โอ. เอส. พริน้ ต้งิ เฮ้าส,์ กรงุ เทพมหานคร. (เยือ้ งเขา้ มา 1.5 cm)
จันท์จรี ทพิ ย์ทองเรือง. (2536). การพัฒนากระบวนการผลิตสารธรรมชาต.ิ วทิ ยานิพนธ์วทิ ยา

ศาสตรมหาบัณฑติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นงลักษณ์ สวุ รรณพินิจ และปรีชา สวุ รรณพินิจ. 2544. จลุ ชวี วทิ ยาท่ัวไป.สาํ นกั พิมพแ์ หง่

จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั , กรุงเทพมหานคร.
บพธิ จารุพนั ธุ์ และนนั ทพร จารพุ นั ธุ.์ (2545). สัตวไ์ ม่มกี ระดกู สนั หลงั 1 โพรโทซัว ถงึ ทาร์ดิก

ราดา.สาํ นักพิมพม์ หาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์, กรงุ เทพมหานคร.
ภาควชิ าจลุ ชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร.์ 2542. จลุ ชีววทิ ยา

ปฏบิ ัติการ. บริษทั เจ้าพระยาระบบการพมิ พ์ จาํ กดั , กรงุ เทพมหานคร.
แมน้ อมรสทิ ธ.์ิ (2539). หลกั การและเทคนคิ การวเิ คราะห์เชิงเคร่อื งมือ. โรงพมิ พช์ วนพมิ พ์,

กรงุ เทพมหานคร.
ราชบณั ฑติ ยสถาน. (2536). ศพั ทว์ ทิ ยาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑติ ยสถาน. พิมพค์ รั้งที่ 4.

กรงุ เทพฯ : โรงพิมพ์ราชบัณฑิตยสถาน.
วรวิชญ์ ร่งุ รตั น์, ปรีชา วดศี ิรศิ ักด์ิ, นันทกร บุญเกิด, วทิ ยา ธนานสุ นธิ์, และเยน็ ใจ วสุวตั . (2527).

ศกึ ษาปรมิ าณเช้อื ไรโซเบยี มทเ่ี หมาะสมในการคลกุ เมลด็ พนั ธถุ์ วั่ ลิสงพันธ์ุไทยนาน.
รายงานการสมั มนาเชิงปฏิบัติการงานวจิ ัยถัว่ ลสิ ง ครั้งที่ 3 ณ มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์
วทิ ยาเขตกาํ แพงแสน. 12-21 เมษายน 2537. หนา้ 172-179.
วัลลภ สันติประชา และชศู ักดิ์ ณรงค์เดช. (2535). คณุ ภาพเมล็ดพนั ธ์ถุ ว่ั เขยี วทีผ่ ลติ ในภาคใต้.
ว.เกษตรศาสตร์ (วทิ ย์.) 26: 119-125.
วิศษิ ฐ์ วังวญิ ญ,ู (2526). ความตา่ งและความคล้ายระหว่างหมู่บ้านเล็กและซมั เมอรฮ์ ลิ . ใน ชีวิต
จริงทห่ี มบู่ า้ นเล็ก. (พภิ พ ธงไชย, บรรณาธกิ าร).หน้า 51-59. กรุงเทพฯ : มูลนธิ เิ ด็ก.
สมถวิล กลุ ทววี ฒั นา. (2544). หลักการและเทคนิคการตรวจสอบทางชวี วิธี. ใน หลกั สตู รการ
อบรมเชิงปฏบิ ัตกิ าร เรือ่ ง เทคนิคทางจลุ ชวี วทิ ยาในการตรวจสอบสารปนเปื้อน วันท่ี 5 –
9 มีนาคม พ.ศ. 2543 (หน้า 1 – 35). กรงุ เทพฯ : ศนู ย์พฒั นาผลติ ภณั ฑ์อุตสาหกรรม
เกษตรประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สทิ ธิเกียรติ พรมสทุ ธามาศ. (2546). การผลติ สารออกฤทธ์ทิ างชีวภาพจากสัตวท์ ะเล. รายงาน
การวจิ ยั โปรแกรมวชิ าวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยีชวี ภาพ คณะวทิ ยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี สถาบนั ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
สรุ พล อปุ ดสิ สกลุ . (2521). สถติ ิ: การวางแผนการทดลองเบื้องตน้ .กรุงเทพฯ: ภาควชิ าพชื ไรน่ า
คณะเกษตร มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์.

Bewley, J.D., and Black, M. (1982). Physiology and Biochemistry of Seeds in
Relation to Germination. Vol. II. New York: Springer-Verlag.

อาหารและสุขภาพ (ออนไลน)์ . (2542). สืบค้นจาก :
http://www.khonthai.com/Vitithai/food.html [21 [21 พฤศจกิ ายน 2543] ทา่ เรอื
นาํ้ ลึกสงขลา (ออนไลน)์ . (2542). สืบค้นจาก : http://www.motc.go.th/stats5.html
[21 พฤศจกิ ายน 2543]

Adam, M. R. and Michaela, M. O. (2000). Marine Microbiology. 2nd ed.
Cambridge : Royal Society

Brooks, J.R. and Griffin, V.K. (1987). Liquefaction of rice starch from milled rice
flour using heat-stable alpha-amylase. J. Food sci. 52: 712-717

Department of the Environment and Heritage. (1999). Guide to Department and
Agency Libraries (Online). Available :
http://www.erin.gov.au/library/guide.html[2000, November 17]

Fenical, W. and P.R. Jensen. (1993). Marine microorganisms:a new biomedical
resource, pp. 419- 458. In H. Attaway and O.R. Zaborsky, eds. Marine
Biotechnology Volume.I : Pharmaceutical and Bioactive Natural Product.
Plenum Press, New York.

Harrington, J. F. (1972). Seed Storage and Longevity. In Seed Biology (ed. T. T.
Kozlowski) Vol. II. Pp. 145-245. New York: Academic Press.

Hill, M. J., Archer, K.A. and Hutchinson, K.J. (1989). Towards developing a model of
per sistence and production for white clover. Proceedings of the XIII
International Grassland Congress Nice, France, 4-11 October 1989. pp.
1043-1044.

Ireland, C.M., B.R. Copp, M.P. Foster, L.A. McDonald, D.C. Radisky and J.C. Swersey.
(1993). Biomedical potential of marine natural products, pp. 1-43. In H.
Attaway and O.R. Zaborsky, eds. Marine Biotechnology Volume.I :
Pharmaceutical and Bioactive Natural Product. Plenum Press, New York.

Kelecom, A. (2002). Secondary metabolites from marine microorganism. An.
Acad. Bras. Cienc. 74: 151-170.

Lei J. and J. Zhou. (2002). A marine natural product database. J. Chem. Inf.
Comput. Sci. 42: 742-748.

Phillips, O.C., Jr. (1962). The Indfluence of Ovidd on Lucan’s Bellum Civil. Ph.D.
Dissertation, University of Chicago.

Rahart, J. (1999). Preserving harvested mushrooms. MycoWest News [Online].
Available http:/swcp.com/mycowest/books/p-9903jr.html.

ภาคผนวก

(เว้นระยะห่าง 1 บรรทดั ขนาด 16 จุด)

ภาคผนวกท่ี 1 : อาหารเล้ียงเซลลแ์ บคทีเรยี (ขนาดอักษร 18 จดุ ตวั หนา)

1.1 สตู รอาหาร TSA (Tryptic Soy Agar) (ใช้ตัวอกั ษรหนา ขนาด 16 จดุ )

Enzymatic Digest of Casein 17.0 กรมั

Enzymatic Digest of Soybean Meal 3.0 กรมั

Sodium Chloride 5.0 กรัม

Dextrose 2.5 กรมั

Dipotassium Phosphate (K2HPO4) 2.5 กรัม

ผงวุ้น (agar) 15.0 กรัม

นํ้ากลัน่ 1000 มิลลลิ ิตร

นําส่วนผสมขา้ งตน้ ละลายในน้ํากล่ัน 1000 มลิ ลลิ ิตร ปรบั pH 7.3 เติมผงวนุ้ แล้วนําไปต้ม

จนวนุ้ ละลายหมด หลังจากนนั้ นาํ ไปนึ่งฆ่าเช้ือด้วยหมอ้ นึง่ ความดันไอนํ้า ทคี่ วามดัน 15 ปอนด์ต่อ

ตารางน้วิ อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซยี ส เปน็ เวลานาน 15 นาที

1.2 PDA (Potato Dextrose Agar)

มันฝรง่ั 200.0 กรัม

Dextrose 20.0 กรัม

ผงวุ้น (agar) 15.0 กรมั

น้าํ กลัน่ 1000 มิลลลิ ิตร

ปอกเปลอื กมนั ฝรง่ั แลว้ หน่ั เปน็ ชน้ิ สี่เหลย่ี มลกู เตา๋ นํ าไปช่งั จนครบ 200 กรัม แลว้ นาํ มาต้ม

กับน้าํ กล่นั ประมาณ 500 มลิ ลลิ ิตร นาน 15-20 นาที กรองเอาสว่ นท่เี ป็นกากออก เตมิ นํ้าตาล

Dextrose คนจนน้าํ ตาลละลายหมดเติมน้ํากลั่นใหไ้ ด้ 1000 มลิ ลลิ ติ ร ปรบั pH 5.6 ใสผ่ งว้นุ

นาํ ไปตม้ จนว้นุ ละลายหมด หลงั จากน้นั นําไปนึ่งฆา่ เชอื้ ด้วยหม้อนึง่ ความดนั ไอนาํ้ ท่คี วามดัน 15

ปอนดต์ อ่ ตารางนวิ้ อณุ หภูมิ 121 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 15 นาที


Click to View FlipBook Version