The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

35 การจัดการสิ่งส่งตรวจในห้องผ่าตัด

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by saranjn, 2023-11-21 00:23:20

การจัดการสิ่งส่งตรวจในห้องผ่าตัด

35 การจัดการสิ่งส่งตรวจในห้องผ่าตัด

Keywords: Specimen Management

Ad IAUA J . i B rJ fr ffr r r u rB o r n r : 6'n n r : fr I ri w : r qtu rio r ri r 6'pr 14]J1ULafl t0ndl: : WI-RAHA-NSO-035 w UA ttnL?n:{yt : 00 iufir^zual'ln'u1il : 27 frurnt 2566 n ^r c :rx #. .. .r.l *.r :4.f . t L?.?. ? Y ud (urrarrnajnriuoi uiuu:na 6u oqDU't) (>^ O* (uxnrunr nrryouTvrd) 14? 14U1.i'l U n 1 :V\l U 1U 1 A Ytu 140{21rl0 (uxar:r::rur nlirrnro:fr q) ri'r rarir rl r u n I :y{ u't u 1 a T:rvrurrra:urBrq^ a1ul.r01J0 (ur'roYrud ar:muyfro) yytu tJ fl :? a n't:{'tufl 'l:v\ tJ1lJ'tau0{ti1r] o (urramnarfi urftr:imri) Vy tJ n:?a n''t :.1'lu n 1 :fl u'tu1a u0.:,.i 1 rl 0 2t fiutau zsao 27 fiwau 2566 omnrd qrJri nu: vA l4u'tvi 110.1 5ilt'l d{,J {trl\, ha เอกสารควบคุม


อตฺตานํ อุปมํ กเร หน้าที่ 2 ของ 5 หน้า วิธีปฏิบัติงานเรื่อง การจัดการสิ่งส่งตรวจในห้องผ่าตัด ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลรามาธิบดี หมายเลขเอกสาร : WI-RAHA-NSO-035 วันที่มีผลบังคับใช้ : 27 มีนาคม 2566 แก้ไขครั้งที่ : 00 1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อให้บุคลากรห้องผ่าตัดสามารถเก็บสิ่งส่งตรวจที่นําออกจากตัวผู้ป่วยโดยการผ่าตัดหรือการตรวจ รักษาได้อย่างถูกวิธี และนําส่งตรวจทางพยาธิวิทยาได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ตามมาตรฐานที่กําหนด 1.2 เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับผลการตรวจทางพยาธิวิทยาและได้รับการรักษาอย่างถูกต้องตามแผนการรักษา 2. ขอบเขต ครอบคลุมการปฏิบัติงานเรื่องการจัดการสิ่งส่งตรวจในห้องผ่าตัด ภายในโรงพยาบาลรามาธิบดี 3. นิยามศัพท์ 3.1 3.1 สิ่งส่งตรวจ หมายถึง สิ่งที่แพทย์ ตัด เจาะ ดูด หรือ นําออกจากร่างกายผู้ป่วยจากการผ่าตัด /ตรวจ รักษา ได้แก่ เนื้อเยื่อ เลือด สารคัดหลั่ง วัสดุแปลกปลอม และวัสดุเทียมต่างๆ 3.2 3.2 ใบสั่งตรวจ หมายถึง แบบบันทึกสําหรับแพทย์กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลของผู้ป่วย และสิ่งส่ง ตรวจ หรือขอส่งตรวจวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา 4. ความรับผิดชอบ แพทย์ พยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลประจําห้องผ่าตัด 5. ตัวชี้วัดและเป้าหมาย 5.1 อัตราการส่งสิ่งส่งตรวจถูกต้องครบถ้วนทันตามกําหนดเวลา = 100% 6. ขั้นตอนการปฏิบัติ 6.1 การเตรียมภาชนะเก็บสิ่งส่งตรวจให้เหมาะสมพร้อมใช้งาน ถูกต้องกับประเภทของสิ่งส่งตรวจโดย ปฏิบัติ ตามคู่มือการใช้บริการทางพยาธิวิทยา 6.2 การรับสิ่งส่งตรวจ โดยใช้หลัก Universal precaution ในการปฏิบัติงาน 6.2.1 แพทย์ผ่าตัด แจ้ง ชนิด/ ตําแหน่ง /ข้าง และประเภทการส่งตรวจ 6.2.2 พยาบาลส่งผ่าตัด ยืนยัน ชนิด ชื่อ ตําแหน่ง ข้าง ของสิ่งส่งตรวจ และประเภทของการส่งตรวจ ร่วมกับแพทย์ 6.2.3 พยาบาลช่วยทั่วไป จดบันทึกชนิด ชื่อ ตําแหน่ง ข้าง ของสิ่งส่งตรวจ และประเภทของการส่ง ตรวจทันที และทวนสอบกับแพทย์/ พยาบาลส่งผ่าตัด เอกสารควบคุม


อตฺตานํ อุปมํ กเร หน้าที่ 3 ของ 5 หน้า วิธีปฏิบัติงานเรื่อง การจัดการสิ่งส่งตรวจในห้องผ่าตัด ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลรามาธิบดี หมายเลขเอกสาร : WI-RAHA-NSO-035 วันที่มีผลบังคับใช้ : 27 มีนาคม 2566 แก้ไขครั้งที่ : 00 6.3 การระบุข้อมูลบนฉลาก 6.3.1 พยาบาลช่วยทั่วไป ติดสติ๊กเกอร์ชื่อผู้ป่วย โดยระบุรายละเอียดของสิ่งส่งตรวจ ได้แก่ ชนิดของ สิ่งส่งตรวจ วันที่ (และเวลาที่เก็บสําหรับสิ่งส่งตรวจบางประเภท) ลงบนสติ๊กเกอร์/ฉลากที่เตรียมไว้ 6.3.2 ติดสติ๊กเกอร์ในตําแหน่งที่เหมาะสม อ่านง่าย มองเห็นชัดเจน ไม่สูญหาย (ห้ามติดที่ฝาภาชนะ) 6.3.3 ใช้ปากกาสีเข้ม เห็นได้ชัดเจน ลบออกยาก ไม่ละลายน้ํา 6.4 การบรรจุสิ่งส่งตรวจ 6.4.1 ชิ้นเนื้อต้องได้รับการคงสภาพและคงความชุ่มชื้นก่อนบรรจุในภาชนะ (ยกเว้นชิ้นเนื้อบางประเภท เช่น muscle, nerve เป็นต้น) 6.4.2 พยาบาลช่วยทั่วไปทวนสอบข้อมูลของสิ่งส่งตรวจกับแพทย์อีกครั้งก่อนบรรจุสิ่งส่งตรวจลงใน ภาชนะที่เตรียมไว้ 6.4.3 เลือกใช้น้ํายาให้ถูกต้องกับประเภทการส่งตรวจ ใส่น้ํายาในปริมาณที่มากพอ โดยน้ํายาต้องสัมผัส ทุกส่วนของชิ้นเนื้อ พร้อมระบุชนิดของน้ํายาที่ขวด 6.4.4 กรณีการใช้น้ํายา 10 % ฟอร์มาลิน จัดเก็บน้ํายาในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก บุคลากร ควรสวม PPE และเพิ่มความระมัดระวังขณะใช้งาน 6.5 เอกสาร 6.5.1 ตรวจสอบใบขอตรวจชิ้นเนื้อ (Surgical Pathology Request Form รหัสเอกสาร Fo-WI-PAF001/001.01) ให้ถูกต้องตามชื่อ/สกุล /HN ของผู้ป่วย และชนิดของสิ่งส่งตรวจ 6.5.2 แพทย์กรอกข้อมูลส่งใบขอตรวจชิ้นเนื้อ ให้ถูกต้องสมบูรณ์ 6.5.3 พยาบาล/ผู้ช่วยพยาบาลตรวจสอบข้อมูลที่ระบุในใบส่งตรวจทางพยาธิวิทยาให้ถูกต้องตรงกับ ข้อมูลในฉลากที่ติดบนภาชนะส่งตรวจ 6.6 การส่งสิ่งส่งตรวจ 6.6.1 รวบรวมสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วยแต่ละรายมาวางไว้ในบริเวณที่กําหนด พร้อมทั้งลงบันทึกในสมุด บันทึกสิ่งส่งตรวจให้ครบถ้วน ถูกต้อง 6.6.2 ผู้ช่วยพยาบาล/ผู้ที่ได้รับมอบหมาย รวบรวมสิ่งส่งตรวจและใบขอตรวจชิ้นเนื้อ ทวนสอบความ ถูกต้อง หากพบข้อผิดพลาด ให้สอบถามกลับไปที่พยาบาลประจําห้องผ่าตัดนั้น ๆ / แพทย์ผู้ทําการผ่าตัด เพื่อ แก้ไขให้ถูกต้อง พร้อมรวบรวมใส่ในภาชนะที่มีฝาปิดและลงชื่อผู้ตรวจสอบรอนําส่งหน่วยพยาธิวิทยา เอกสารควบคุม


อตฺตานํ อุปมํ กเร หน้าที่ 4 ของ 5 หน้า วิธีปฏิบัติงานเรื่อง การจัดการสิ่งส่งตรวจในห้องผ่าตัด ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลรามาธิบดี หมายเลขเอกสาร : WI-RAHA-NSO-035 วันที่มีผลบังคับใช้ : 27 มีนาคม 2566 แก้ไขครั้งที่ : 00 6.6.3 พนักงาน/ผู้ได้รับมอบหมาย นําส่งสิ่งส่งตรวจบรรจุในภาชนะที่มีฝาปิด พร้อมใบขอตรวจ ชิ้น เนื้อ และสมุดบันทึกสิ่งส่งตรวจประจําห้องผ่าตัด ไปหน่วยพยาธิวิทยาส่งมอบให้ผู้รับผิดชอบของหน่วยพยาธิวิทยา พร้อมลงชื่อผู้รับไว้เป็นหลักฐาน 6.6.4 กรณีที่ผู้ป่วย / ญาติ /แพทย์ เป็นผู้นําสิ่งส่งตรวจไปตรวจนอกโรงพยาบาล ให้ลงบันทึกชนิด/ จํานวนชิ้นเนื้อในใบบันทึกการพยาบาลผ่าตัด (PNR) และสมุดบันทึกสิ่งส่งตรวจ พร้อมระบุแพทย์ผู้รับผิดชอบ และ ข้อมูล เช่น นําส่งโดยญาติ / แพทย์นําไปเอง /เจ้าหน้าที่ภายนอกโรงพยาบาลมารับ 6.6.5 กรณีสิ่งส่งตรวจที่เป็น Fresh specimen ต้องนําส่งงานพยาธิวิทยา ทันที 7. รายชื่อผู้จัดท าเอกสาร 1. พว.นาถยา จํารัสแสง หัวหน้าห้องผ่าตัดจักษุ 2. พว.อรพิณ อยู่เผือก หัวหน้าห้องผ่าตัดออร์โธปิดิกส์ 3. พว.นงนาจ แก้วใจ หัวหน้าห้องพักฟื้นศัลยกรรม 4. พว.ณิช ปิยสุนทราวงษ์ หัวหน้าห้องผ่าตัดศัลยกรรม 5. พว.ดวงพร รอดพิทักษ์ หัวหน้าห้องผ่าตัด โสต ศอ นาสิก 6. พว.ปิยนันท์ พรรณงาม หัวหน้าห้องผ่าตัดอาคารสิริกิติ์ 7. พว.เกศสุดา ล้ําลักษณไพบูลย์ หัวหน้าห้องผ่าตัดสูติ-นรีเวช 8. พว.บุญทวี สุนทรลิ้มศิริ หัวหน้าห้องคลอดพิเศษ 9. พว.ธนภร พงษ์สุขเวชกุล หัวหน้าห้องผ่าตัดอาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ 8. การบันทึก มีการบันทึกงานในแบบฟอร์มที่แสดงในตาราง และจัดเก็บบันทึกตามระยะเวลาที่กําหนด ลําดับที่ แบบฟอร์ม หมายเลข ระยะเวลา จัดเก็บบันทึก (ปี) ผู้รวบรวมจัดเก็บ 1 ใบขอตรวจชิ้นเนื้อ (Surgical Pathology Request Form) Fo-WI-PAF001/001.01 - - 2 สมุดบันทึกสิ่งส่งตรวจประจําห้อง ผ่าตัด ไม่มี - หัวหน้าหน่วย เอกสารควบคุม


อตฺตานํ อุปมํ กเร หน้าที่ 5 ของ 5 หน้า วิธีปฏิบัติงานเรื่อง การจัดการสิ่งส่งตรวจในห้องผ่าตัด ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลรามาธิบดี หมายเลขเอกสาร : WI-RAHA-NSO-035 วันที่มีผลบังคับใช้ : 27 มีนาคม 2566 แก้ไขครั้งที่ : 00 9. ประวัติการแก้ไขเอกสาร ลําดับที่ แก้ไขครั้งที่ วันที่อนุมัติ หน้าที่แก้ไข รายละเอียดการแก้ไข 1 00 27/03/2566 - เป็นการจัดทําเอกสารครั้งแรก (เนื่องจากเปลี่ยนรหัสเอกสารใหม่ตามระบบ E-document ของโรงพยาบาลรามาธิบดี) เอกสารควบคุม


Click to View FlipBook Version