The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

best practices การส่งเสริมการนิเทศภายในของสถานศึกษาเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ด้วยกระบวนการplc-slc

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ฟ้า จุฑา, 2022-07-11 11:14:02

best practices การส่งเสริมการนิเทศภายในของสถานศึกษาเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ด้วยกระบวนการplc-slc

best practices การส่งเสริมการนิเทศภายในของสถานศึกษาเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ด้วยกระบวนการplc-slc

1

2



คำนำ

รายงาน นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ฉบับนี้ ได้จัดทำขึ้น เพื่อเป็นการ
นำเสนอการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบา้ นเปา โดยให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ พันธกจิ
เป้าหมาย ที่โรงเรียนกำหนดไว้ ได้แก่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สงู ขึ้น การดําเนินงานประกัน
คุณภาพการศึกษา และการดําเนินงานตามจุดเน้นเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยการส่งเสริมการนิเทศ
ภายในของสถานศกึ ษา เพอ่ื สรา้ งชุมชนแห่งการเรยี นรู้ดว้ ยกระบวนการ PLC & SLC

การนิเทศภายในมีความสำคัญในการพัฒนาการจัดการศึกษา ดังนั้นโรงเรียนบ้านเปา จึงได้
ดำเนนิ การนเิ ทศภายในมาอยา่ งต่อเนือ่ งทุกปกี ารศึกษา เพอื่ พัฒนาครูผ้สู อนให้เปน็ บคุ คลทศ่ี ักยภาพ ในการ
จัดการศึกษา เป็นเครื่องมือที่สำคัญของฝ่ายบริหารในการจัดการด้านวิชาการ อีกทั้งเป็นการติดตาม
ตรวจสอบการดาํ เนนิ งานด้านต่าง ๆ ท่จี ะช่วยสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศกึ ษาของโรงเรียนให้ดียิ่งขึ้น

โรงเรยี นบา้ นเปา หวังเป็นอยา่ งยงิ่ วา่ รายงาน นวัตกรรมการปฏบิ ัติที่เป็นเลศิ (Best Practices)
ฉบบั น้ี จะเป็นแนวทาง ในการพฒั นา กระบวนการจดั การเรยี นการสอนของโรงเรยี นบา้ นเปาและโรงเรียนที่
มีความสนใจพัฒนาการดําเนินงานทุกด้านของโรงเรียน อันจะส่งผลต่อความสำเร็จตามเป้าหมายของ
โรงเรยี นทุกดา้ นท่กี ำหนดไว้

คณะผู้จดั ทำ
โรงเรียนบา้ นเปา

3

สารบัญ 4

เรื่อง ข

คำนำ หน้า
สารบัญ
ตอนที่ 1 ข้อมลู ทั่วไปของสถานศึกษา ก
ตอนที่ 2 ผลการดำเนินงานดา้ นการนเิ ทศภายในของสถานศกึ ษา ข
1
2.1 ชือ่ รูปแบบการนเิ ทศ SLC 3
2.2 สภาพปัจจบุ นั /ปัญหา ความเป็นมา 3
2.3 จุดประสงคแ์ ละเปา้ หมาย 3
2.4 รูปแบบหรือกระบวนการนิเทศภายในของสถานศกึ ษา 4
2.5 วิธีการการดำเนินการ 5
2.6 การประเมินผลและรายงาน 5
2.7 ผลสำเร็จทไ่ี ดแ้ ละการนำไปใช้ 12
ตอนท่ี 3 ข้อมูลอน่ื ๆ 13
- ภาคผนวก 15
บรรณานุกรม 15
34

1

นวตั กรรมการปฏิบัติทเี่ ปน็ เลิศ (Best Practices)

ชอ่ื ผลงาน การสง่ เสรมิ การนิเทศภายในของสถานศกึ ษา เพอื่ สรา้ งชุมชนแห่งการเรยี นรู้
ด้วยกระบวนการ PLC & SLC

ตอนท่ี 1 ข้อมูลท่ัวไปของสถานศกึ ษา
ข้อมูลพ้ืนฐาน ขอ้ มลู ทว่ั ไป

ชอ่ื สถานศกึ ษา: โรงเรียนบา้ นเปา ที่อยู่: เลขที่ 200 หมู่ท่ี 5 บ้านเปา ตำบลน้ำตก อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน
รหสั ไปรษณีย์ 55150

สงั กัด: สำนักงานเขตพื้นท่ีการศกึ ษาประถมศึกษาน่าน เขต 1
เปิดสอน: ระดบั ช้นั อนุบาลปีที่ 2 ถงึ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 3
วิสยั ทศั น์ (Vision)

ภายในปี 2564 โรงเรียนบ้านเปา จะจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความรู้ คู่คุณธรรม น้อมนำหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ สามารถใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย สืบสานวัฒนธรรม ประเพณี
และภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ โรงเรียน ร่มรื่น สวยงาม ชุมชนมี
ส่วนร่วมในการบรหิ ารจัดการศกึ ษา พฒั นากระบวนการจัดการเรียนรู้

พันธกิจ (Mission)
1. พฒั นาผู้เรยี นให้มคี ณุ ภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาขัน้ พน้ื ฐาน
2. ส่งเสริม สนบั สนนุ ใหค้ รูและบคุ ลากรไดร้ บั การพฒั นาตนเองอย่างต่อเน่อื ง
3. สง่ เสริม สนบั สนุน อนุรกั ษ์ สบื สานวัฒนธรรมพ้นื บา้ น และภูมิปัญญาท้องถนิ่ นา่ น
4. ปลูกฝังใหผ้ เู้ รียนมคี ุณธรรม นอ้ มนำหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียงส่กู ารปฏิบตั ิ
5. สง่ เสรมิ สนบั สนนุ ใชเ้ ทคโนโลยี และภมู ิปัญญาทอ้ งถ่ินมาพฒั นาตนเอง
6. พัฒนาสิ่งแวดลอ้ มให้เอื้อต่อการจดั การศึกษา
7. เพิม่ ประสทิ ธิภาพของระบบการบริหารจดั การโดยผา่ นกระบวนการมีสว่ นร่วม
เป้าหมาย (Goal)
1. ผู้เรียนมีคุณภาพตามเกณฑม์ าตรฐานการศึกษาขน้ั พน้ื ฐาน
2. ผูเ้ รยี นมีคุณลกั ษณะที่พงึ ประสงคแ์ ละสมรรถนะตามหลกั สูตรทกี่ ำหนด
3. ผู้เรียนและชมุ ชนมคี วามภาคภูมิใจในความเป็นไทย รักถนิ่ ฐาน และเหน็ คุณค่าในการร่วมสบื

สานเอกลกั ษณ์วฒั นธรรมและภมู ิปัญญาทอ้ งถิน่ น่าน
4. โรงเรียนมีการผลติ สอื่ นวัตกรรมการเรียนการสอนและใช้เทคโนโลยที างการศึกษาที่ทันสมยั
5. ครู และบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความสามารถและมที ักษะตามมาตรฐานวชิ าชีพ
6. โรงเรยี นมกี ารบรกิ ารจดั การที่มปี ระสทิ ธภิ าพ

2

ขอ้ มูลบคุ ลากรของสถานศึกษา พนกั งาน ครูอตั ราจา้ ง เจ้าหนา้ ที่ รวมท้ังหมด
1) จำนวนบคุ ลากร ราชการ 2 อืน่ ๆ 21
บุคลากร ผู้บริหาร ขา้ ราชการครู 2
1
จำนวน 1 15

2) วุฒกิ ารศกึ ษาสูงสดุ ของบุคลากร

บคุ ลากร ตำ่ กว่า ปรญิ ญาตรี ปรญิ ญาโท ปริญญาเอก รวมทั้งหมด
5 - 21
ปรญิ ญาตรี

จำนวน 1 15

1.3 ข้อมูลนกั เรียน

จำนวนนักเรยี น ปกี ารศึกษา 2563 รวม 177 คน

ระดับชน้ั เรยี น จำนวนห้อง เพศ รวม เฉลยี่ ต่อห้อง

ชาย หญงิ -
12 1
อ.1 - - - 20 1
32 2
อ.2 1 6 6 19 1
16 1
อ.3 1 10 10 18 1
20 1
รวม 2 16 16 22 1
18 1
ป.1 1 8 11 113 6
91
ป.2 1 8 8 81
15 1
ป.3 1 9 9 32 3
177 11
ป.4 1 12 8

ป.5 1 10 12

ป.6 1 7 11

รวม 6 54 59

ม.1 1 0 9

ม.2 1 5 3

ม.3 1 7 8

รวม 3 12 20

รวมทง้ั หมด 11 82 95

3

ตอนที่ 2 ผลการดำเนินงานดา้ นการนเิ ทศภายในของสถานศกึ ษา
2.1 ชื่อรูปแบบการนิเทศ การส่งเสริมการนิเทศภายในของสถานศกึ ษา เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

ด้วยกระบวนการ PLC & SLC
2.2 สภาพปจั จุบนั /ปญั หา ความเป็นมา

จุดมุ่งหมายสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา คือ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่เรียกว่า Quality
Education ซึ่งหมายถึง การพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้เป็นคนดี คนเก่งและมีความสุข ปิยพจน์ ตุลาชม
(2550) ได้เสนอแนะแนวทางในการปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จได้นั้น จะต้องเน้นปฏิรูปใน 4 ด้าน คือ 1)
ปฏิรูปด้านสถานศึกษา 2) ปฏิรูปครู 3) ปฏิรูปหลักสูตรการเรียนการสอน และ 4) ปฏิรูประบบการบริหาร
การจัดการศึกษา ซึ่งการที่จะปฏิรูปทั้ง 4 ด้าน ดังกล่าวนั้น ต้องอาศัยการบริหาร จัดการศึกษาที่เน้นการมี
ส่วนร่วมของทุกภาคส่วน มีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการตามหลักการบริหาร โดยใช้โรงเรียนเป็น
ฐาน (School Based Management : SBM) ซ่ึงเป็นการสรา้ งรากฐานและความเข้มแข็งให้กับสถานศึกษา
อย่างมีคุณภาพ ได้มาตรฐานและสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลักการบริหารจัดการในลักษณะ
ดังกล่าวนี้ สอดคล้องกับแนวทางการกระจายอำนาจการจัดการศึกษา ของโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง
การกระจายอำนาจประเภท 1 และเปน็ ไปตามนโยบายของหน่วยงานตน้ สังกัด

จากการศึกษาหลักการ ทฤษฎีตา่ ง ๆ ที่เกย่ี วขอ้ งกับการบริหารงานวชิ าการตามบทบาทหน้าท่ีของ
ผู้บริหาร กรอบการกระจายอำนาจ ตลอดจนแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาอื่น ๆ แล้ว
พบว่า การนิเทศ เป็นอีกกระบวนการหนึง่ ที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพ ของครูผู้สอนในการปฏบิ ัติหน้าที่การสอน
ได้อย่างมีประสิทธภิ าพ ซ่งึ จะนำไปสู่คณุ ภาพของผู้เรียนในโอกาสต่อไปทำการศึกษารปู แบบการนิเทศแบบ
ตา่ ง ๆ และทำการวิเคราะห์บริบทของโรงเรียนทีเ่ กี่ยวข้องกบั กระบวนการนิเทศภายในโรงเรียน เพ่ือทำการ
ออกแบบการนเิ ทศใหเ้ หมาะสมกบั สภาพต้นทุนเดิมของโรงเรียน ซง่ึ จากการศึกษาวิเคราะห์ พบวา่ โรงเรียน
บ้านเปา มีจุดแขง็ ด้านบคุ ลากร กล่าวคือ โรงเรียนมีบุคลากรที่มคี วามรู้ความสามารถทางดา้ นวชิ าการ มกี าร
ทำงานเป็นทีม และนอกจากนั้นทางโรงเรียนยังมีบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจ และมีประสบการณ์ใน
กระบวนการนิเทศการเรียนการสอน มีผู้เชี่ยวชาญที่เป็นศึกษานิเทศร่วมนิเทศโดยเป็นคณะกรรมการร่วม
นิเทศการเรียนการสอนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 ซึ่งจากจุดเด่นดังกล่าว
โรงเรียนบ้านเปา จึงได้นำมาสร้างเป็นโมเดลการนิเทศภายใน ขยายเครอื ข่ายการพัฒนาไปยังครูผู้สอนอ่ืน ๆ
ตามกระบวนการนิเทศภายใน โดยยึดแนวทางของข้ันตอนการดำเนินงาน ตามหลักการบริหารคุณภาพ
PDCA ของ เดมมิ่ง และกระบวนการ PLC เชื่อมโยงกิจกรรม SLC โดยเชื่อว่าจะเป็นแนวทางในการ
ยกระดบั คุณภาพการจดั การศกึ ษาได้เป็นอย่างดี

โลกในยุคปัจจุบันเป็นยุคที่มีความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปล ง ที่เกิดขึ้น
ตลอดเวลา จึงจำเปน็ ทีม่ นุษย์จะต้องเรยี นรู้ทจี่ ะปรับตัวให้ทันกับการเปล่ียนแปลงท่ีเกิดขึ้นและเตรียมความ
พร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทายของกระแสโลก การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ
เป็น คนทีส่ มบรู ณเ์ พ่ือใหค้ นนำความรู้ความสามารถมาพฒั นาประเทศชาติใหก้ ้าวทนั การเปลยี่ นแปลง

4

จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.
2545 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการนิเทศภายใน โดยเฉพาะนั้นมีกำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ
หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา พ.ศ. 2542 ซึ่งกำหนดการกำกับ ติดตาม การ
จัดการ ศึกษาของผู้บริหารไว้อย่างชัดเจน นอกจากนี้เกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอก ของสำนักงาน
รบั รอง มาตรฐานและประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา (สมศ.) ยงั ไดก้ ำหนดให้มกี ารนเิ ทศภายในเปน็ สว่ นหนึ่งของ
เกณฑ์ การประเมินด้วย เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษา ได้ตระหนักเห็นความสำคัญและนำไปปฏิบัติใน
โรงเรียนให้มี ประสิทธิภาพและได้ผลอย่างเป็นรูปธรรม งานนิเทศภายในโรงเรียนมีความสำคัญและจำเป็น
อย่างยิ่งต่อการส่งเสริมคุณภาพการเรียนการสอน การนิเทศภายในเป็นกิจกรรมที่สำคัญทีส่ ดุ ท่ีจะทำให้การ
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนดำเนินการ ไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการส่งเสริมให้ผู้บริหาร
คณะครูได้ปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน ในชั้นเรียน ของตนเองให้มีคุณภาพ เป็นไปตามจุดมุ่งหมาย
ของหลกั สูตรทกี่ ำหนด (พัชรินทร์ ชว่ ยศริ ิ 2554, หนา้ 16)

สภาพปัญหาของการนิเทศภายในโรงเรียนต่างๆ มักพบว่า ยังมีปัญหาหลายประการที่ทำให้การ
นิเทศไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ประการสำคัญ คือ ตัวผู้บริหารโรงเรียนเห็นว่าการนิเทศภายใน เป็น
งานของฝ่ายวิชาการ ครูวิชาการ จึงมอบให้บุคลากรเหล่านั้นรับผิดชอบดำเนินการแทน ผู้บริหาร ไม่ได้ มี
บทบาทหรือใชศ้ ักยภาพอยา่ งเตม็ ท่ีในการดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียน นอกจากนี้ในส่วนของบคุ คล กร
ส่วนใหญ่ยังไม่รู้จุดหมายทีแ่ ท้จริงของการนิเทศภายใน มองการนิเทศภายใน คือ การไปสังเกตการณ์สอน
ของครูภายในชั้นเรียน เข้าใจการนิเทศว่าเป็นการไปตรวจสอบ ประเมิน วิพากษ์วิจารณ์ บุคลากรขาด
ความรว่ มใจรว่ มคิด ร่วมทำ ตลอดจนผลิตสื่อ เครอื่ งมือ นวตั กรรมใหมๆ่ ทางการนิเทศไม่ได้นำมาใช้เพื่อ
การสนับสนนุ ให้เกดิ การนเิ ทศภายในสถานศึกษาอย่างแทจ้ รงิ สำหรับจดุ มุ่งหมายทีแ่ ท้จริงของการนิเทศ คือ
ต้องการ ปรับปรุงการสอนของครูให้มีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งองค์ประกอบของการนิเทศประกอบด้วย การ
ช่วยเหลือครูผู้สอนโดยตรง การพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่ม การเสริมสร้างประสบการณ์ทางวิชาชีพ การ
พัฒนา หลักสูตร การวิจัยเชิงปฏิบตั กิ ารในชั้น จากความสำคัญและความจำเป็นดังกล่าว โรงเรียนบ้านเปา
จึงมีการนิเทศภายในของสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม รวมพลัง เพื่อให้โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้
อย่างมปี ระสทิ ธภิ าพ

2.3 จดุ ประสงค์และเปา้ หมาย
การดำเนินงานครง้ั น้ี มีวัตถุประสงค์หลัก เพือ่ พฒั นาประสิทธภิ าพการจดั การเรยี นการสอน โดยใช้

กระบวนการนเิ ทศภายในสถานศกึ ษา โดยมวี ัตถปุ ระสงค์ยอ่ ยตามกรอบการพัฒนา ดงั นี้
1. เพื่อพฒั นาคุณภาพการออกแบบการเรยี นรู้ และจัดกจิ กรรมการเรยี นรู้ของครผู ้สู อนโรงเรยี น

บ้านเปา
2. เพื่อสนับสนุนความรู้ความสามารถของครูในการจดั กิจกรรมการเรียนการสอน กาํ กับ ตดิ ตาม

ผลการปฏบิ ัติงานของครใู นการปฏบิ ัตงิ านอย่างต่อเน่ือง รวมถงึ ส่งเสริมความคดิ สร้างสรรคแ์ ละการทาํ งาน
รว่ มกนั เป็นทมี

5

3. เพ่อื ยกระดบั ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน ของนักเรยี นโรงเรียนบา้ นเปา ประจำปีการศึกษา 2563
4. เพ่อื ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อกระบวนการจดั กจิ กรรมการเรียนการสอน
ของครูโรงเรียนบา้ นเปา ประจำปีการศึกษา 2563
2.4 รปู แบบหรอื กระบวนการนเิ ทศภายในของสถานศึกษา
โรงเรียนบ้านเปาได้นำกระบวนการนิเทศแบบ PLC เชื่อมโยงกับ SLC มาใช้ในการส่งเสริม
ขับเคล่อื นการดำเนินงานนิเทศภายในของสถานศึกษา กล่าวคือ
PLC = Professional Learning Community : ชมุ ชนการเรยี นร้ทู างวชิ าชพี คอื การรวมตัว รวมใจ ร่วม
พลัง รว่ มมอื กันของครู ผ้บู รหิ าร และนักการศกึ ษา ในโรงเรียน เพ่อื พัฒนาการเรยี นรู้ของผเู้ รียนเป็นสำคัญ
SLC = School as Learning Community : โรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ คือ ผู้อำนวยการ
โรงเรียนเรียนรู้จากการเข้าสังเกตชั้นเรียน แลกเปลี่ยน สะท้อนคิดร่วมกันกับเพื่อนครูไม่จำกัดสาขาวิชา
ชว่ งวัย ทกุ คนคือเพ่อื นเรยี นรูร้ ว่ มกัน ครูทกุ คนเปิดชนั้ เรียนตนเองเพื่อชวนเพอ่ื นครู ผู้บรหิ าร เขา้ รว่ มเรียนรู้
จากบทเรียนที่ได้พัฒนาร่วมกันมาล่วงหน้า ผ่านกระบวนการศึกษาบทเรียน (Lesson Study) เพื่อนคู่
พฒั นาหรอื เพอื่ นคูห่ เู รียนรู้ (Peer) ระบบพี่เลี้ยงและโคช้ (Mentoring and Coaching) โดยใชแ้ พลตฟอร์ม
ของชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ในการแลกเปลี่ยน เรียนรู้
สะทอ้ นคดิ วา่ ด้วยการเรียนรขู้ องนกั เรียนทช่ี ่วยให้ครเู องได้เรียนรู้จากชัน้ เรียนของตนเอง
นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมพลัง (Collaborative Learning) ที่ไม่
กำหนดบทบาทตายตวั แต่ดึงจดุ แขง็ ของแต่ละคนในการเรยี นรู้มาสนับสนุนเก้ือกลู กนั ชนั้ เรยี นของโรงเรียน
ที่ดำเนินการตามแนวทาง SLC จึงไม่ได้มุ่งแต่จะพัฒนา Active Learning แต่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้
ผ่านการร่วมมือร่วมพลัง (Collaboration) ในกิจกรรมการเรียนรูต้ ามสภาพจริง (Authentic Learning) ที่
เป็นการเรยี นรอู้ ย่างมคี วามหมาย (Meaningful Learning)

2.5 วธิ กี ารการดำเนินการ
การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการนิเทศภายในของสถานศึกษาครั้งน้ี

ได้ประยุกต์ขั้นตอนการนิเทศมาจากแนวคิดของ แฮริส (Harris,1985) ซึ่งมีด้วยกัน 6 ขั้นตอน โดยการ
ดำเนินงานครั้งนี้ ได้เพิ่มขั้นตอนการประเมินผล และการสะท้อนผลการดำเนินงาน และได้นำหลักการ
บริหารงาน PDCA ของ ดร. เดมมงิ่ มาใชเ้ ปน็ แนวทางการดำเนนิ งานเพอื่ พฒั นา ดังนี้

1. ขน้ั การวางแผน (Plan)
1.1 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการนิเทศ คณะกรรมการ PLC ( Professional

Learning Community) แต่ละช่วงชั้นเชื่อมโยงกิจกรรม SLC (School as Learning Community ) ซึ่ง
ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูคู่พัฒนา Model teacher และ Buddy teacher ประจำโรงเรียน ตาม
กระบวนการกิจกรรม SLC หัวหน้ากลุ่มสาระการเรยี นรู้ทุกกลุ่มสาระ ครูต้นแบบ ครูแกนนำจากกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ต่าง ๆ รวมถึงศึกษานิเทศซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นพี่เลี้ยงและโค้ช
(Mentoring and Coaching)

6

1.2 ประเมินสภาพการปฏิบัติงาน และความต้องการในการพัฒนาของบุคลากรภายใน
สถานศกึ ษาโดยใช้รูปแบบการประเมินสมรรถนะ

1.3 จัดลำดบั ความสำคัญและความเร่งด่วนในการพัฒนา โดยวิเคราะหจ์ ากข้อมลู ในการจดั ทำ
I D. Plan ของครู ซง่ึ จากการดำเนินงานสามารถจัดลำดับความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วนในการพฒั นา
ได้ดงั น้ี

ลำดบั ท่ี 1 สมรรถนะประจำสายงาน เรอ่ื ง ความสามารถในการสรา้ งและพัฒนาหลักสูตร
ลำดับที่ 2 สมรรถนะประจำสายงาน เรื่อง ความสามารถในการใช้และพัฒนานวัตกรรม
เทคโนโลยสี ารสนเทศ เพอื่ การจดั การเรยี นรู้
ลำดบั ท่ี 3 สมรรถนะประจำสายงาน เร่ือง ความสามารถในการวจิ ยั
1.4 ออกแบบการพัฒนา ในขั้นตอนนี้ทางโรงเรียนได้กำหนดรูปแบบขั้นตอนการพัฒนาโดย
กำหนดแผนการนิเทศ กำหนดปฏิทินงานการนิเทศ ทั้งการนิเทศแบบครูคู่พัฒนา การเยี่ยมชั้นเรียน การ
สงั เกตการณ์สอน เพ่อื ให้ครมู คี วามรู้ความเข้าใจและทักษะต่างๆ ทจี่ ำเปน็ ตอ่ สมรรถนะประจำสายงานตาม
ความตอ้ งการ แลว้ นำปัญหาทีพ่ บมา PLC ปรกึ ษาหารือในรปู แบบกลุม่ ยอ่ ยและกลุม่ ใหญ่ตามลำดบั

2. ข้นั การดำเนินงาน (Do)
2.1 จัดสรรทรัพยากร โรงเรียนได้มีการจัดหางบประมาณในการสนับสนุน โดยใช้

งบประมาณจากเงินอุดหนุนของทางโรงเรียนเอง และเงินงบประมาณสนับสนุนจากโครงการโรงเรียนใน
ฐานะเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community : SLC) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศกึ ษาน่าน เขต 1 และสำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาข้ันพน้ื ฐาน

2.2 ประสานงาน การดำเนนิ งานนเิ ทศ มผี ้ทู ม่ี ีสว่ นเกย่ี วขอ้ งหลายฝ่าย ไม่วา่ จะเป็นครูแต่
ละสาระ ครแู ต่ละช่วงชั้น ศกึ ษานิเทศก์ นักวิชาการจากสำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพ้ืนฐาน

2.3 อำนวยการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพซึ่งใน
ฐานะที่เป็นผู้บริหารโรงเรียนได้คอยอำนวยความสะดวกในเรื่องต่าง ๆ ให้แก่คณะครูและคณะกรรมการ
ดำเนนิ งานตลอดชว่ งเวลาท่ดี ำเนินงาน

2.4 ขั้นตอนการนำ PLC และ SLC ไปสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา ชุมชนการเรียนรู้ทาง
วิชาชีพที่ขับเคลื่อนในบริบทของสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วย ระดับนักเรียน (Student Level) ระดับผู้
ประกอบวิชาชีพ (Professional Level) ซึ่งประกอบด้วยครูผู้สอนและ ผู้บริหารของโรงเรียน โดยใช้ฐาน
ของ “ชมุ ชนแหง่ วิชาชีพ” เช่ือมโยงกบั การเรียนรู้ของชุมชน จงึ เรียกวา่ “ชุมชนการเรียนรทู้ างวิชาชีพ” และ
ระดับการเรียนรู้ของชุมชน (Learning Community Level) จะครอบคลุมถึงผู้ปกครอง สมาชิกชุมชนและ
ผู้นำชุมชน ซึ่งการรวมตัวของครูในสถานศึกษาในลักษณะทีมเรียนรู้ โดยครูเป็นผู้นำร่วมกัน ส่วนผู้บริหาร
เป็นผู้ดูแลสนับสนุนบนพื้นฐานวัฒนธรรม ความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร ที่มีวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และ
ภารกิจร่วมกัน มีการดำเนินการแบบทีมร่วมเรียนรู้ มีการจัดการความรู้และพัฒนา วิชาชีพ ภายใต้

7

สภาพการณ์ที่สนบั สนุนเพื่อเปลี่ยนแปลงคุณภาพตนเองสู่คุณภาพการจัดการเรียนรูท้ ี่เนน้ ความสำเร็จหรอื
ประสทิ ธิผลของผเู้ รียนเปน็ สำคัญ สามารถดำเนนิ ตามขนั้ ตอนไดด้ ังนี้

ข้นั ตอนการนำรปู แบบ PLC เชอื่ มโยง SLC ไปใช้ในสถานศึกษา

รวมกลุ่ม PLC

คน้ หาปัญหา/ความตอ้ งการ/PLC วธิ กี าร/นวัตกรรม

ออกแบบกจิ กรรมรว่ มกัน

แลกเปลยี่ น/เสนอแนะ/PLC

นำสู่การปฏิบัติ/ร่วมคิดรว่ มทำ/สงั เกตการสอน/SLC

สะท้อนผล

นวัตกรรม/Best Practices

จากแผนภมู ขิ ั้นตอนการนำรูปแบบ PLC ไปใชใ้ นสถานศึกษามีรายละเอียด แตล่ ะขน้ั ตอน ดงั น้ี
1. การรวมกลมุ่ PLC รวมกลุ่มครูทมี่ ปี ัญหา/ความต้องการ เดียวกนั เชน่ ครูกลุ่มสาระเดียวกนั ครูทีส่ อนใน
ระดบั ช้ันเดยี วกนั หรอื ชว่ งชัน้ เดยี วกัน เป็นต้น
2. คน้ หาปญั หา ความต้องการ ดว้ ยกระบวนการ PLC : ( Professional Learning Community)

- ร่วมกนั เสนอปัญหา/ความต้องการ
- จัดกลมุ่ ปัญหา
- จัดลำดบั ความจำเป็นเรง่ ด่วน
- เลือกปัญหาเพยี ง 1 ปัญหา โดยการพจิ ารณารว่ มกัน
3. รว่ มกนั หาแนวทางในการแกป้ ัญหา
- เร่อื งเล่าเร้าพลัง/บอกเลา่ ประสบการณ์ท่แี ก้ปัญหาไดส้ ำเร็จ
- คน้ หาตวั อยา่ ง/รปู แบบทป่ี ระสบความสำเร็จ
- รว่ มกันตัดสนิ ใจเลือกรปู แบบ/วธิ ีการ/นวัตกรรมในการแก้ปัญหา
4. ออกแบบกิจกรรมการแก้ปัญหา ออกแบบกิจกรรมตามวิธีการ/นวตั กรรมท่ีกล่มุ เลือก

8

5. แลกเปลย่ี นเสนอแนะ นำเสนอกจิ กรรมการแก้ปัญหาให้ผูเ้ ชยี่ วชาญ(ศึกษานเิ ทศก/์ นักวชิ าการ) หรือผู้ที่มี
ประสบการณ์ให้ ข้อเสนอแนะ
6. นำสู่การปฏบิ ัติ/ร่วมคิดรว่ มทำ /สงั เกตการสอน ด้วยกระบวนการ SLC โดยการพฒั นาบทเรียนร่วมกนั
(Lesson study)

การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson study) เป็นการพัฒนาวิชาชีพครู(Professional
development) ที่ว่าด้วยการเรียนรู้ในชั้น เรียนแบบร่วมมือรวมพลังตามโครงการ SLC (School as
Learning Community : SLC) โรงเรยี นในฐานะชมุ ชนแหง่ การเรียนรู้ อย่างเปน็ ระบบและตอ่ เน่อื งในระยะ
ยาวในบริบทการทำงานจริงของครูเพื่อ พัฒนาการจัดการเรียนการสอนและเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของ
ผู้เรียนโดยดำเนินงานตามขั้นตอนของ กระบวนการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน ซึ่งเป็นกระบวนการทำงาน
พฒั นาวชิ าชีพรว่ มกันของกลมุ่ ครู ทใี่ หค้ วาม สำคญั กับการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงการคดิ และการเรียนรู้
ของนักเรยี นโดยตรงในช้ันเรยี นและการ อภิปรายสะท้อนความคิดรว่ มกัน เพ่อื พฒั นาบทเรียนอย่างต่อเน่ือง
จนไดบ้ ทเรียนที่มคี ุณภาพสามารถนำไปใช้ พฒั นานักเรยี นของตนเองได้อยา่ งมีประสิทธิภาพ นวัตกรรมการ
พัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson study) เป็นนวัตกรรมที่เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยในการ พัฒนาวิชาชีพครู
เพราะเป็นแนวทางที่จะช่วยให้ครูได้ปรับปรุงการสอนด้วยตัวของครูเอง(teacher-led instruction
improvement) และเป็นการผลักดันให้ครูเกิดความรู้สึกที่จะพัฒนาวิชาชีพครูภายใต้ กระบวนการ
ปรับปรุงการสอนด้วยตัวของครูเองอยู่ตลอดเวลา เพราะจุดประสงค์หลักหรือจุดเน้นท่ีจะทำให้เกิดผลคือ
นกั เรยี น ดังน้นั การนำแนวทางนี้มาใชใ้ นการสอน ของครไู มว่ ่าจะเปน็ ดา้ นเนื้อหา วธิ กี ารสอน สอ่ื การสอน ท่ี
นำมาใชจ้ ะเกิดผลต่อการเรยี นรขู้ องนักเรียนมาก โรงเรียนบ้านเปาไดด้ ำเนินการคอื

- นำกิจกรรมไปใชใ้ นการแก้ปัญหา
- ครูร่วมคดิ รว่ มทำ วางแผน จดั ทำส่ือ ในรูปแบบ Buddy Teacher (ครคู ู่พัฒนา)
- ครูคู่พฒั นา (Buddy Teacher) หรือเพ่ือนคู่หเู รียนรู้ (Peer) และผเู้ ชี่ยวชาญ สังเกตการณ์สอน
เข้าร่วมสงั เกตในการจัดกิจกรรมการเรยี นการสอนโดยครูคู่พฒั นา (Buddy Teacher) ให้ความช่วยเหลือใน
การจดั กิจกรรม เพ่ือพัฒนาตนเอง เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และเพื่อพัฒนาการเรยี นรู้ของ
ผ้เู รยี นไปพร้อมกัน

บทบาทหนา้ ทีผ่ ้นู ิเทศหลัก
ครูกลมุ่ PLC + ครูคพู่ ัฒนา(Model Teacher & Buddy Teacher)

การพัฒนาครู

Lesson Study

การพัฒนาผเู้ รียน การพัฒนาการเรยี นการสอน

9

3. ขน้ั การตรวจสอบผลการดำเนนิ งาน (Check)
3.1 ตรวจสอบคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ หลังจากทค่ี รูผสู้ อนไดร้ ับการพัฒนาไปแล้ว

เพอื่ ใหแ้ นใ่ จวา่ ครูจะนำหลักการทฤษฎตี า่ ง ๆ ไปใช้ได้อยา่ งถูกตอ้ งเหมาะสมครทู ุกคนจะไดร้ ับการตรวจสอบ
คุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้จากครูคู่พัฒนา (Buddy Teacher) หรือเพื่อนคู่หูเรียนรู้ (Peer)
ศึกษานิเทศก(์ ผูเ้ ชยี่ วชาญ)

3.2 การเยี่ยมชั้นเรียนและสังเกตการสอน ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของ
ครผู สู้ อนทุกคนจะมคี รคู ู่พัฒนา (Buddy Teacher) หรือเพ่ือนคหู่ เู รียนรู้ (Peer) คณะกรรมการนเิ ทศภายใน
ศึกษานิเทศก์ (ผู้เชี่ยวชาญ) เข้าเยี่ยมชั้นเรียนและสังเกตการสอน เพื่อหาข้อบกพร่องหรือปัญหามาแก้ไข
ไมใ่ ช่จบั ผิด หรือประเมินผ่านไม่ผ่าน ยดึ หลกั การนเิ ทศแบบกลั ยาณมิตร หรือเพ่ือนช่วยเพ่ือน จึงทำให้ครูใน
โรงเรียนเกิดความสบายใจในการปฏิบัติงานผ่านกระบวนการศึกษาบทเรียน (Lesson Study) เพื่อนคู่หู
เรียนรู้ (Peer) ระบบพเี่ ลีย้ งและโค้ช (Mentoring and Coaching) โดยใชแ้ พลตฟอรม์ ของชมุ ชนการเรียนรู้
เชิงวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ในการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ สะท้อนคิด ว่าด้วย
การเรียนรูข้ องนกั เรียนทช่ี ่วยใหค้ รูเองได้เรยี นรจู้ ากช้ันเรยี นของตนเอง

3.3 ตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เมื่อสิ้นภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ทาง
โรงเรียนได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทุกรายวิชา และผลการสอบ
ระดบั ชาติ เพื่อนำข้อมูลท่ีได้ไปเปรยี บเทียบกบั ผลสมั ฤทธท์ิ างการเรียนในปีการศกึ ษาท่ผี ่านมา วิเคราะห์หา
ผลความก้าวหนา้ ทไี่ ดจ้ ากกระบวนการนิเทศภายในของสถานศึกษา

3.4 สอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนของครู
เพื่อให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลสูงสุด นอกจากจะมีการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนแล้ว เพื่อให้แน่ใจว่า การดำเนินงานดังกล่าวจะส่งผลดีต่อนักเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม ทาง
โรงเรียนจึงได้ทำแบบสอบถาม เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการ
สอนของครทู กุ คน

4. ขั้นการสะท้อนผล (Act)
4.1 วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง เป็นการวิเคราะห์ถึงจุดอ่อน จุดแข็งในดำเนินงานเพือ่ เปน็

ข้อมลู ในการวางแผนพัฒนาในวงรอบต่อไป
4.2 สรุปปัญหาอุปสรรค หลังจากการดำเนินงานแล้วเสร็จ ทางโรงเรียนได้จัดให้มีการ

สรุปสภาพปัญหาทเ่ี กิดขน้ึ ระหวา่ งการดำเนนิ งานเพื่อวางแผนแก้ไขพัฒนาต่อไป
4.3 กำหนดแนวทางการแก้ปัญหา เป็นขั้นตอนในการวิเคราะห์แนวทาง การพัฒนา

ต่อเนื่อง และเปน็ ข้อมลู ในการวางแผนการดำเนินงานในปกี ารศึกษาตอ่ ไป

10

จากรายละเอยี ดทแ่ี สดงถึงขั้นตอนการดำเนนิ งานท่ีกล่าวมาขา้ งตน้ สามารถสรุปเปน็ แผนภูมิ
ขัน้ ตอนการดำเนนิ งาน ไดด้ งั น้ี

การสง่ เสริมการนิเทศภายในสถานศกึ ษา
เพอื่ สรา้ งชุมชนแหง่ การเรียนรู้
ด้วยกระบวนการ PLC & SLC
เพ่ือ

ขนั้ การสะทอ้ นผล (Act) ขัน้ การวางแผน (Plan)
1. วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแขง็ 1. แต่งตงั้ คณะกรรมการดำเนินงาน
2. สรุปปญั หาอุปสรรค 2. ประเมินสภาพการปฏิบตั ิงาน
3. กำหนดแนวทางการแกป้ ัญหา 3. จัดลำดับความสำคญั และความเร่งด่วน
ในการพฒั นา
4. ออกแบบการพัฒนา

ขัน้ การตรวจสอบผล (Check) ข้นั การดำเนินงาน(Do)
1. ตรวจสอบคณุ ภาพแผนการจัดการเรียนรู้ 1. จดั สรรทรัพยากร
2. เยี่ยมชน้ั เรยี นสังเกตการสอน 2. ประสานงาน
3. ตรวจสอบผลสมั ฤทธิ์ทางการเรยี น 3. อำนวยการ
4. สอบถามความพงึ พอใจของนกั เรยี น 4. ดำเนินการนเิ ทศและพัฒนาดว้ ย
กระบวนการ PLC & SLC

แผนภูมิขน้ั ตอนการดำเนินงานกระบวนการนเิ ทศภายในโรงเรียนบ้านเปา

11

BANPAO MODEL
การสง่ เสรมิ การนิเทศภายในสถานศึกษา เพอ่ื สร้างชุมชนแห่งการเรยี นรู้ด้วยกระบวนการ PLC & SLC

P

A

B การนเิ ทศ N

ภายใน

A สถานศกึ ษา D
OP

A
PLC & SLC

C

PLC = Professional Learning Community : ชมุ ชนการเรยี นรู้ทางวิชาชีพ
SLC = School as Learning Community : โรงเรยี นในฐานะชุมชนแหง่ การเรียนรู้
B = Brainstorm : การระดมสมอง
A = Active learning : การเรียนแบบมสี ่วนร่วมและลงมือปฏิบตั จิ ริง
N = Need ความตอ้ งการ : ความจำเปน็
P = Project – based learning : การจดั การเรยี นรู้แบบใช้โครงงานเปน็ ฐาน
A = Academic : อา่ นออกเขยี นได้
O = Opportunity : มโี อกาส เปิดโอกาสให้คณะรว่ มตดั สินใจ
P = Planning : การวางแผนงาน
D = Do : การลงมอื ปฏบิ ตั ิ
C = Check การตรวจสอบ
A = Act / Action การปรับปรงุ

12

2.6 การประเมนิ ผลและรายงาน
ในการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนด้วยการส่งเสริมการนิเทศภายในของ

สถานศึกษาเพื่อสร้างชมุ ชนแหง่ การเรียนรู้โรงเรียนบา้ นเปา ครัง้ นผ้ี รู้ ายงาน ไดส้ รุปผล และวิเคราะห์ข้อมูล
เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงาน ดงั น้ี

1. ผลการพัฒนาคณุ ภาพการออกแบบการเรียนรขู้ องครูผสู้ อน
จากการวิเคราะห์ผลการตรวจสอบคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ ของครูทั้งโรงเรียน ที่ได้ทำการ
ออกแบบก่อนนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนด้วยกระบวนการ PLC
( Professional Learning Community) เชื่อมโยงกิจกรรม SLC (School as Learning Community
โดยให้ครูคู่พัฒนา (Model teacher & Buddy Teacher) หรือเพื่อนคู่หูเรียนรู้ (Peer) ศึกษานิเทศก์
ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นคณะกรรมการนิเทศภายในของสถานศึกษาเป็นผู้ตรวจสอบ พบว่า ครูผู้สอนทุกคน
สามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้ได้มีคุณภาพเหมาะสมตามเกณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นทั้งในภาพรวมของ
โรงเรยี น รายกลมุ่ สาระการเรียนรู้ หรือรายบคุ คล
2. ผลการพัฒนาคุณภาพการจัดกิจกรรมการเรยี นการสอนของครู โรงเรียนบา้ นเปา
ในการศึกษาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน ใช้วิธีการสังเกตการสอนโดยเพื่อนครู
นิเทศภายใน ซึ่งครูแต่ละคนจะได้รับการนิเทศการสอนสลับกันนิเทศในรูปแบบ Model teacher และ
Buddy teacher ตลอดปีการศึกษาแล้วมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สะท้อนคิด ในรูปแบบ PLC แต่ละ
ช่วงช้นั กลุม่ ยอ่ ย แลว้ มาสกู่ ลุ่มใหญ่ รว่ ม AAR เพอื่ รับรปู้ ญั หาและแก้ไขปญั หาต่อไป ซ่งึ จากการดำเนินงาน
พบว่า คุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครใู นภาพรวมของโรงเรียน มีคุณภาพเหมาะสมอยู่ใน
ระดับดีเยี่ยม ผลดีต่อครูผู้สอนพบว่า PLC ส่งผลต่อครูผู้สอนกล่าวคือลดความรู้สึกโดดเดี่ยวงานสอน ของ
ครู เพิ่มความรู้สึกผูกพันต่อพันธกิจและเป้าหมายของโรงเรียนมากขึ้น โดยเพิ่มความกระตือรือร้นที่จะ
ปฏบิ ตั ใิ หบ้ รรลพุ ันธกิจอย่างแขง็ ขัน จนเกดิ ความรู้สกึ วา่ ต้องการรว่ มกันเรยี นร้แู ละรบั ผดิ ชอบต่อพัฒนาการ
โดยรวมของนักเรียน ถือเป็นพลังการเรียนรู้ซึ่งส่งผลให้การปฏิบัติการสอนในชั้นเรียนให้มีผลดียิ่งขึ้น
กล่าวคือมี การค้นพบความรู้ และความเชื่อที่เกีย่ วกบั วิธีการสอนและตัวผู้เรยี นซึง่ ที่เกิดจากการคอยสังเกต
อย่างสนใจ รวมถึงเข้าใจในด้านเนื้อหาสาระ ที่ต้องจัดการเรียนรู้ได้แตกฉานยิ่งข้ึนจนตระหนักถึงบทบาท
และพฤติกรรม การสอนที่จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด อีกทั้งการรับทราบข้อมูลสาระสนเทศ
ต่างๆ ที่จำเป็นต่อ วิชาชีพได้อย่างกว้างขวาง และรวดเร็วขึ้น ส่งผลดีต่อการปรับปรุงพัฒนางานวิชาชีพได้
ตลอดเวลา เป็นผลให้ เกิดแรงบันดาลใจที่จะพัฒนาและอุทิศตนทางวิชาชีพเพื่อศิษย์ ซึ่งเป็นทั้งคุณค่าและ
ขวัญกำลังใจต่อการ ปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น ที่สำคัญคือยังสามารถลดอัตราการลาหยุดงานน้อยลง เมื่อ
เปรียบเทียบกับโรงเรียนแบบเก่ายังพบว่ามีความก้าวหน้าในการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ให้
สอดคล้องกับลักษณะผู้เรียนได้อย่าง เด่นชัดและรวดเร็วกว่าที่พบในโรงเรียนแบบเก่า มีความผูกพันที่จะ
สรา้ งการเปลีย่ นแปลงใหมๆ่ ให้ปรากฏอยา่ งเดน่ ชดั และยั่งยืน

13

3. ผลการศกึ ษาผลสมั ฤทธ์ทิ างการเรยี น ประจำปีการศึกษา 2563
การศึกษาผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียนของทัง้ 8 กลมุ่ สาระหลกั ใช้วธิ ีการเปรียบเทียบผลความกา้ วหน้า
ระหว่างปีการศึกษา 2562 กับปีการศึกษา 2563 ซึ่งพบว่า ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีผลความก้าวหน้า
เพิ่มขึ้น ตามลำดับ ผลการทดสอบระดับชาติ มีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นกว่าปีการศึกษา 2562 และสูงกว่า
ระดับประเทศเป็นที่น่าพอใจ ผลดีต่อผู้เรียนพบว่า PLC ส่งผลต่อผู้เรียนกล่าวคือ มีผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรยี นทสี่ งู ข้ึน ผลสมั ฤทธร์ิ ะดบั ชาตสิ ูงขึ้นอย่างเด่นชดั เมอื่ เทยี บกบั การบริหารจัดการแบบเดิม สุดท้ายคือมี
ความแตกต่างด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มนักเรียนลดลงชัดเจน กล่าวโดยสรุป คือ PLC มี
พัฒนาการมาจากกลยทุ ธร์ ะดับองค์กรที่มุ่งเน้นให้องค์กรมีการปรบั ตวั ต่อ กระแสการเปลีย่ นแปลงของสังคม
ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเริ่มพัฒนาจากแนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้และ ปรับประยุกต์ให้มีความ
สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและการเรียนรู้ร่วมกันในทางวิชาชีพ ที่มีหน้าที่งาน สำคัญคือความ
รบั ผิดชอบการเรียนรู้ของผู้เรียนรว่ มกันเป็นสำคัญการดำเนินการในรูปแบบ PLC พบวา่ เกดิ ผลดีทางวิชาชีพ
ครู และผู้เรียนทมี่ ่งุ พัฒนาการของผู้เรยี น เป็นสำคญั

4. ผลการศึกษาความพงึ พอใจของนักเรียน ท่ีมีต่อกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ของครูโรงเรยี นบ้านเปา

จากการใช้แบบสอบถามนักเรียน เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการ
สอนของครูผู้สอนทุกคนและพึงพอใจในการมีส่วนร่วมในการจัดทำสื่อนวัตกรรมร่วมกัน พบว่าในภาพรวม
ของครูทั้งโรงเรยี น นักเรียนจะมีความพงึ พอใจมาก

2.7 ผลสำเร็จที่ได้และการนำไปใช้
1. ครผู ู้นิเทศ (Buddy teacher )เป็นบคุ คลทม่ี ีความรูค้ วามสามารถเพียงพอทางด้านวชิ าการ รวม

ใจ ร่วมพลัง รว่ มมอื กนั ในโรงเรียนแบบมสี ่วนร่วมอยา่ งเป็นระบบด้วยกระบวนการ PLC เพ่อื การพฒั นาการ
เรียนรู้ของผ้เู รียนเป็นสำคัญ

2. การนิเทศภายในของสถานศึกษายึดหลักการนิเทศแบบกลั ยาณมิตร หรือเพ่ือนช่วยเพอ่ื น จงึ ทำ
ให้ครูในโรงเรียนเกิดความสบายใจในการปฏิบัติงานผ่านกระบวนการศึกษาบทเรียน (Lesson Study)
เพื่อนคู่หูเรียนรู้ (Peer) ระบบพี่เลี้ยงและโค้ช (Mentoring and Coaching) โดยใช้แพลตฟอร์มของชุมชน
การเรยี นรูเ้ ชงิ วชิ าชพี (Professional Learning Community: PLC) ในการแลกเปลย่ี น เรียนรู้ สะท้อนคิด
ว่าด้วยการเรียนรขู้ องนักเรยี นทชี่ ว่ ยให้ครเู องได้เรียนรจู้ ากช้ันเรียนของตนเอง

3. ผู้บริหารโรงเรียนให้ความสำคัญในกระบวนการนิเทศภายในของสถานศึกษา และเข้ามามี
บทบาทในการนิเทศอย่างจริงจัง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน เรียนรู้จากการเข้าสังเกตชั้นเรียน แลกเปลี่ยน
สะท้อนคดิ ร่วมกันกบั เพ่ือนครูไมจ่ ำกัดสาขาวิชา ช่วงวัย ทกุ คนคอื เพ่ือนเรียนรรู้ ว่ มกัน ทำให้ครูในโรงเรียน
เกดิ ความตระหนกั และเห็นความสำคญั

14

4. การได้รับความร่วมมือร่วมใจจากบุคลากร ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา
ศึกษานิเทศก์(ผู้เชี่ยวชาญ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงทำให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิภาพและ
ประสิทธผิ ลอยา่ งแท้จรงิ

บทเรียนทไี่ ดร้ บั
การนิเทศภายในด้วยบุคลากรภายในโรงเรียนเอง เป็นกระบวนการพัฒนาและแก้ปัญหาตรง

ประเด็นมากที่สุด ทั้งนี้ เพราะบุคลกรภายในจะมีความเข้าใจในบริบทของโรงเรียน และข้อจำกัดของเพื่อน
ร่วมงานเป็นอย่างดี โดยเฉพาะการนำกระบวนการ PLC และ SLC มาใช้ในกระบวนการนิเทศภายในแบบ
กัลยาณมิตร การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมพลังในห้องเรียน (Collaborative Learning) คือการเรียนรู้ที่เนน้
ให้มีการสื่อสารปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ มีการสร้างความเป็นเพื่อนร่วมงาน
(Collegiality) และชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (Professional Learning Community) คือการสร้าง
โรงเรียนที่ครูทุกคนมีความชำนาญและเชี่ยวชาญ โดยครูจะต้องเรียนรู้ และปรับปรุงวิธีการสอน ผ่าน
กระบวนการเรียนรู้จากการสอน (lesson study) โดยมีขน้ั ตอนหลกั 3 ขนั้ ตอนคอื

1 ออกแบบหลกั สูตร และการศึกษาวิจยั
2 ฝึกปฏบิ ัติ
3 ร่วมสังเกตการณ์ และการสะท้อนมุมมองเพื่อให้เพื่อนครูมาเรียนรู้กระบวนการสอน ซึ่งทำให้เกิด
การศกึ ษา และแบง่ ปนั ความรรู้ ่วมกัน

การเข้าร่วมเรียนรู้เพื่อการปฏิรูปของผู้ปกครองและคนในชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเป็นการเข้าไปเพื่อ
สร้างความสัมพนั ธ์ในการเรยี นรู้ซ่งึ กันและกันกับผู้ปกครองและชุมชน จนโรงเรยี นกบั ผู้ปกครองมีความเป็น
หนึ่งเดียวกัน โดยโรงเรียนต้องมีการแบง่ ปันขอ้ มูลให้กับผูป้ กครอง และคนชุมชน ว่าปัจจุบันโรงเรียนกำลงั
ดำเนนิ การเรื่องอะไรใดอยู่ นอกจากครูแลว้ ผูป้ กครอง และคนในชมุ ชน ตอ้ งเขา้ มาเรียนรู้ และสังเกตการณ์
เพ่อื ให้ทราบถงึ การทำงาน

ดงั นั้นกระบวนการพฒั นาจงึ สามารถดำเนนิ การได้อยา่ งมีประสิทธภิ าพและประสิทธผิ ล โรงเรยี นมี
ความเข้มแข็งทางด้านวิชาการ ซึ่งเป็นการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแนวทางการ
ปฏิรูป การศึกษา ทเ่ี น้นโรงเรยี นเป็นฐาน และสอดคล้องกับภารกิจการกระจายอำนาจอยา่ งแทจ้ ริง

การเผยแพร่ผลงาน
จากความสำเร็จของการดำเนินงานโรงเรียนบ้านเปา ได้มีการนำเสนอเผยแพร่ผลงาน ทั้งทาง

เครือข่ายอินเตอร์เน็ต เอกสารทางวิชาการ รวมถึงการร่วมจัดนิทรรศการเผยแพร่ในโอกาสต่าง ๆ และ
นอกจากนั้นยังมีโรงเรียนต่าง ๆ ได้นำรูปแบบการนิเทศภายในที่ทางโรงเรียนบ้านเปาพัฒนาขึ้น ไป
ประยุกต์ใช้ตามบริบทของแต่ละโรงเรียน ซึ่งถือว่ามีคุณค่าและส่งผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาใน
ภาพรวมของชาติตอ่ ไป

15

ตอนท่ี 3 ขอ้ มูลอ่ืนๆ
ภาคผนวก

16

การสง่ เสริมการนิเทศภายในของสถานศกึ ษาด้วยกระบวนการ PLC & SLC

17

การสง่ เสริมการนิเทศภายในของสถานศกึ ษาด้วยกระบวนการ PLC & SLC

18

การสง่ เสริมการนิเทศภายในของสถานศกึ ษาด้วยกระบวนการ PLC & SLC

19

กิจกรรม PLC ระดับช่วงช้นั

20

กิจกรรมการนิเทศภายในโดยครคู ู่พฒั นาหรอื ครูคเู่ รยี นร/ู้ ศึกษานเิ ทศก์(ผเู้ ชยี่ วชาญ)

21

กิจกรรมการนิเทศภายในโดยครคู ู่พฒั นาหรอื ครูคเู่ รยี นร/ู้ ศึกษานเิ ทศก์(ผเู้ ชยี่ วชาญ)

22

กจิ กรรมการนเิ ทศภายในโดยครคู ู่พฒั นาหรอื ครูคเู่ รียนรู้

23

กจิ กรรมการนเิ ทศภายในโดยครคู ู่พฒั นาหรอื ครูคเู่ รียนรู้

24

กจิ กรรมการนเิ ทศภายในโดยครคู ู่พฒั นาหรอื ครูคเู่ รียนรู้

25

กิจกรรมสะท้อนคดิ จากครคู ู่พัฒนาและศกึ ษานเิ ทศ (Mentoring and Coaching)

26

กิจกรรมการนิเทศภายในของสถานศกึ ษาแบบออนไลน์
ปรับเปล่ียนตามสถานการณ์โรคระบาด โควดิ 19

27

กจิ กรรม PLC กลมุ่ ใหญ/่ สะทอ้ นคดิ (After Action Review : AAR)

28

แผนการขบั เคลอ่ื นและดำเนินงานการนิเทศภายในสถานศกึ ษาด้วยกระบวนการ
PLC (Professional Learning Community) & SLC (School as Learning Community)

ปีการศกึ ษา 2564 โรงเรยี นบ้านเปา

แนวทางการดำเนินงาน กิจกรรม ระยะเวลา
1.แตง่ ต้งั คณะกรรมการขับเคลอื่ น แตง่ ต้งั คณะกรรมการขบั เคล่ือน กระบวนการ PLC & SLC เมษายน 2564
กระบวนการ PLC & SLC ประกอบด้วย พฤษภาคม 2564
1.ผอู้ ำนวยการสถานศึกษา
2.กำหนดแผนงานการขบั เคล่ือน 2.หวั หน้าฝ่ายวิชาการ/กลุ่มสาระ/หัวหนา้ สายช่วงช้นั มิถนุ ายน 2564-
กระบวนการ กระบวนการ PLC & 3.ครู มีนาคม 2565
SLC จัดทำแผนงานการขับเคล่ือนกระบวนการ กระบวนการ PLC
& SLC ประกอบดว้ ย
3.การขบั เคล่ือนกระบวนการ 1.สรา้ งทีมงาน กระบวนการ PLC ฿ SLC ทีส่ อดคล้องกับ
กระบวนการ PLC & SLC บริบทของสถานศึกษา
2.สรา้ งความรู้ ความเข้าใจ และแนวทางการปฏบิ ตั ิใหก้ ับ
บคุ ลากรในสถานศกึ ษา (พาดู พาคดิ พาทำ) กำหนดรูปแบบ
และกรอบการดำเนินงาน ตามกระบวนการ PLC & SLC (
MODEL TEACHER/BUDDY TEACHER )
3.สรา้ งเครือขา่ ยกบั หนว่ ยงานอน่ื (ระดับบคุ คล ระดับองค์กร
ระดับหน่วยงาน)
4.กำกับ ตดิ ตาม นเิ ทศ และประเมนิ ผล
5.สง่ เสรมิ สนบั สนุน และประสานงาน การพัฒนาข้าราชการ
ครแู ละบคุ ลากรทางการศึกษา
3.1 ขับเคลือ่ นกระบวนการ กระบวนการ PLC & SLC
ตามลำดับดงั น้ี
1) คน้ หาปญั หา
2) หาสาเหตุ
3) แนวทางแก้ไข
4) ออกแบบกจิ กรรมและ
5) นำส่กู ารปฏบิ ัติและการสะทอ้ นผล
3.2 สรุปรายงานผล และจดั กิจกรรมแลกเปลย่ี นเรยี นรู้

29

แนวทางการดำเนินงาน กจิ กรรม ระยะเวลา
มถิ นุ ายน 2564-
4.กำกบั ตดิ ตามนิเทศและ 4.1 จดั ทำแผนและเครือ่ งมือ กำกับ ตดิ ตาม นิเทศ และ มีนาคม 2565

ประเมินผล ประเมินผลการขบั เคล่ือนกระบวนการ PLC & SLC มีนาคม 2565

4.2 คณะกรรมการขับเคลือ่ นกระบวนการ PLC & SLC ระดับ มนี าคม 2565

สถานศึกษา ดำเนินการกำกับ ติดตาม นิเทศ และประเมนิ ผล

การขับเคลื่อนกระบวนการ PLC & SLC เพอื่ การจดั การ

เรยี นรู้

4.3 เรง่ รัด ตดิ ตาม และสนับสนุน ขา้ ราชการและบุคลากร

ทางการศึกษาทไี่ ม่ประสบความสำเรจ็ ในการขบั เคลอื่ น

กระบวนการ PLC & SLC

5.สรปุ รายงานผลการดำเนนิ การ 5.1 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รายงานผลการ

การขบั เคล่ือนกระบวนการ PLC & ดำเนนิ การตามกระบวนการ การขับเคลื่อนกระบวนการ

SLC PLC & SLC พร้อม รายบคุ คลต่อผู้บริหารสถานศึกษา

5.2 คณะกรรมการขบั เคลอื่ นกระบวนการ PLC & SLC สรปุ

และรายงานผลการติดตาม ในสถานศึกษา

5.3 สถานศึกษารายงานผลการขับเคลือ่ น PLC & SLC ต่อ

สำนกั งานเขตพืน้ ที่การศึกษาและผทู้ ่เี กี่ยวข้อง

6.กิจกรรมแลกเปลีย่ นเรียนรู้ ถอด 6.1 สถานศึกษาจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรยี นรู้ (Show &

บทเรยี น และยกย่องเชดิ ชูเกยี รติ Share) การขับเคลื่อนกระบวนการ PLC & SLC

การขบั เคลื่อนกระบวนการ PLC & 6.2 ยกย่องเชิดชเู กียรติข้าราชการครูและบุคลากรทางการ

SLC ศกึ ษา ทีม่ ีกระบวนการดำเนนิ การทดี่ ีสามารถเปน็ แบบอยา่ ง

ได้ และเผยแพร่

***
PLC: (Professional Learning Community) “ชมุ ชนการเรยี นรู้ทางวชิ าชีพ
SLC: (School as Learning Community ) โรงเรียนในฐานะชมุ ชนแห่งการเรียนรู้

30

ปฏิทนิ การขับเคลอ่ื นและดำเนนิ งาน การนเิ ทศภายในสถานศึกษาดว้ ยกระบวนการ

PLC (Professional Learning Community) & SLC (School as Learning Community)

สปั ดาห์ วัน เดือน ปี การดำเนนิ งาน ผู้รบั ผิดชอบ

1 9 เมษายน 2564 - ประชุมชแี้ จง สรา้ งความรู้ ความเข้าใจกับทีม - ผอู้ ำนวยการ

ดำเนนิ งาน เพอ่ื วางแผนการดำเนินงานในทีม/กลมุ่ ฝา่ ย - ทีมวชิ าการ

และคณะดำเนินงาน เพ่ือวางแผนการขบั เคลื่อนการ - คณะครูทกุ คน

ดำเนนิ งาน PLC & SLC (PLC ครั้งท่ี 1 )

- จดั ทำแผนงาน/โครงการการดำเนนิ งาน PLC/SLC

- แตง่ ต้ังคณะกรรมการดำเนินงาน PLC/SLC

- จัดทำโมเดลการขบั เคลื่อนการดำเนินงาน PLC/SLC

2 4 มิถุนายน 2564 - ทมี /กลมุ่ /แตล่ ะชว่ งชัน้ ดำเนนิ การ PLC ครั้งท่ี 2 - คณะกรรมการ

- คน้ หาปญั หา/ความต้องการ ขับเคล่ือนกระบวนการ

- วเิ คราะหป์ ญั หา/สาเหตุ PLCเช่ือมโยง SLC แต่

- รายงานการดำเนนิ งาน PLC ในโรงเรยี น ละช่วงชน้ั

3 11 มิถุนายน 2564 - ทีม/กลมุ่ /แตล่ ะช่วงชั้น ดำเนินการ PLC ครงั้ ท่ี 3 - คณะกรรมการ

- ร่วมกันหาแนวทางในการแก้ปญั หา ขบั เคล่ือนกระบวนการ

- ออกแบบกิจกรรม/สรา้ งนวตั กรรมในการแกป้ ัญหา PLCเช่ือมโยง SLC แต่

ละช่วงชั้น

4 18 มิถุนายน 2564 - ทมี /กลุ่ม/แต่ละชว่ งชัน้ ดำเนนิ การ PLC ครง้ั ที่ 4 - คณะกรรมการ

- รว่ มกันหาแนวทางในการแก้ปญั หา ขับเคล่ือนกระบวนการ

- ออกแบบกิจกรรม/สร้างนวตั กรรมในการแกป้ ัญหา PLCเชื่อมโยง SLC แต่

ละชว่ งชน้ั

5 25 มิถุนายน 2564 - ทมี /กลมุ่ /แต่ละช่วงชนั้ ดำเนินการ PLC ครง้ั ท่ี 5 - คณะกรรมการ

- นำสู่การปฏิบตั ิ/สังเกตการสอน/นิเทศ ขับเคล่ือนกระบวนการ

- แลกเปล่ียนความรู้ความคิด สะท้อนคิด (AAR) PLCเชื่อมโยง SLC แต่

- กจิ กรรมการแกป้ ัญหาและข้อเสนอแนะ ละชว่ งชั้น

- ทีมผู้เชย่ี วชาญ(ศน.)

สัปดาห์ วนั เดอื น ปี การดำเนินงาน 31
6 2 กรกฎาคม 2564 - ทมี /กลุม่ /แต่ละช่วงชนั้ ดำเนินการ PLC ครงั้ ท่ี 6
- รว่ มกันหาแนวทางในการแก้ปญั หา ผูร้ ับผดิ ชอบ
- ออกแบบกิจกรรม/สร้างนวัตกรรมในการแก้ปญั หา - คณะกรรมการ
ขับเคล่ือนกระบวนการ
7 22 กรกฎาคม 2564 - ทีม/กลุม่ /แต่ละช่วงชั้น ดำเนนิ การ PLC ครง้ั ท่ี 7 PLCเชื่อมโยง SLC แต่
- นำส่กู ารปฏิบัติ/สังเกตการสอน/นเิ ทศ ละชว่ งชน้ั
- แลกเปลี่ยนความรู้ความคิด สะท้อนคิด (AAR) - คณะกรรมการ
- กจิ กรรมการแกป้ ญั หาและข้อเสนอแนะ ขับเคล่ือนกระบวนการ
PLCเชื่อมโยง SLC แต่
8 13 สงิ หาคม 2564 - ทมี /กลมุ่ /แต่ละชว่ งชน้ั ดำเนนิ การ PLC ครั้งท่ี 8 ละช่วงชั้น
- รว่ มกันหาแนวทางในการแก้ปัญหา - ทีมผู้เชี่ยวชาญ(ศน.)
- ออกแบบกิจกรรม/สร้างนวัตกรรมในการแก้ปัญหา - คณะกรรมการ
ขบั เคล่ือนกระบวนการ
9 27 สิงหาคม 2564 - ทีม/กลุม่ /แต่ละช่วงชน้ั ดำเนนิ การ PLC ครั้งท่ี 9 PLCเชื่อมโยง SLC แต่
- นำสกู่ ารปฏบิ ัติ/สงั เกตการสอน/นิเทศ ละชว่ งชั้น
- แลกเปลีย่ นความรู้ความคิด สะท้อนคิด (AAR) - คณะกรรมการ
- กิจกรรมการแกป้ ญั หาและข้อเสนอแนะ ขบั เคลื่อนกระบวนการ
PLCเช่ือมโยง SLC แต่
10 10 กนั ยายน 2564 - ทีม/กลุ่ม/แต่ละช่วงชั้น ดำเนนิ การ PLC ครั้งที่ 10 ละชว่ งชั้น
- ร่วมกันหาแนวทางในการแก้ปญั หา - คณะกรรมการ
- ออกแบบกิจกรรม/สร้างนวตั กรรมในการแก้ปญั หา ขับเคลื่อนกระบวนการ
PLCเชื่อมโยง SLC แต่
11 24 กนั ยายน 2564 - ทมี /กลุ่ม/แตล่ ะช่วงช้นั ดำเนินการ PLC ครง้ั ที่ 11 ละช่วงชน้ั
- รว่ มกนั หาแนวทางในการแก้ปัญหา - คณะกรรมการ
- ออกแบบกิจกรรม/สร้างนวตั กรรมในการแกป้ ัญหา ขับเคล่ือนกระบวนการ
PLCเช่ือมโยง SLC แต่
12 8 ตุลาคม 2564 - ทีม/กลุ่ม/แตล่ ะชว่ งชั้น ดำเนนิ การ PLC ครง้ั ที่ 12 ละชว่ งชั้น
- นำสกู่ ารปฏบิ ัติ/สังเกตการสอน/นเิ ทศ - คณะกรรมการ
- แลกเปลย่ี นความรคู้ วามคิด สะท้อนคิด (AAR) ขบั เคลื่อนกระบวนการ
- กจิ กรรมการแกป้ ัญหาและข้อเสนอแนะ PLCเช่ือมโยง SLC แต่
ละชว่ งชนั้

สัปดาห์ วนั เดอื น ปี การดำเนินงาน 32
13 5 พฤศจิกายน 2564 - ทีม/กลมุ่ /แตล่ ะช่วงชั้น ดำเนินการ PLC ครั้งที่ 13
- รว่ มกันหาแนวทางในการแก้ปัญหา ผรู้ บั ผดิ ชอบ
- ออกแบบกิจกรรม/สรา้ งนวตั กรรมในการแก้ปัญหา - คณะกรรมการ
ขับเคล่ือนกระบวนการ
14 19 พฤศจิกายน 2564 - ทีม/กลุ่ม/แต่ละชว่ งชั้น ดำเนนิ การ PLC คร้ังที่ 14 PLCเช่ือมโยง SLC แต่
- รว่ มกนั หาแนวทางในการแก้ปญั หา ละชว่ งชัน้
- ออกแบบกิจกรรม/สร้างนวัตกรรมในการแก้ปญั หา - คณะกรรมการ
ขบั เคล่ือนกระบวนการ
15 10 ธนั วาคม 2564 - ทีม/กลุ่ม/แตล่ ะช่วงชั้น ดำเนินการ PLC ครง้ั ที่ 15 PLCเชื่อมโยง SLC แต่
- นำส่กู ารปฏบิ ัติ/สังเกตการสอน/นเิ ทศ ละชว่ งชน้ั
- แลกเปลี่ยนความร้คู วามคิด สะท้อนคิด (AAR) - คณะกรรมการ
- กจิ กรรมการแก้ปญั หาและข้อเสนอแนะ ขบั เคล่ือนกระบวนการ
PLCเช่ือมโยง SLC แต่
16 24 ธนั วาคม 2564 - ทีม/กลุ่ม/แตล่ ะชว่ งชน้ั ดำเนินการ PLC ครง้ั ท่ี 16 ละชว่ งชน้ั
- ร่วมกันหาแนวทางในการแก้ปัญหา - ทมี ผูเ้ ชย่ี วชาญ(ศน.)
- ออกแบบกิจกรรม/สรา้ งนวัตกรรมในการแกป้ ัญหา - คณะกรรมการ
ขับเคลื่อนกระบวนการ
17 14 มกราคม 2565 - ทีม/กลุ่ม/แตล่ ะชว่ งชั้น ดำเนินการ PLC ครัง้ ท่ี 17 PLCเช่ือมโยง SLC แต่
- ร่วมกันหาแนวทางในการแก้ปัญหา ละชว่ งชั้น
- ออกแบบกิจกรรม/สรา้ งนวตั กรรมในการแก้ปัญหา - คณะกรรมการ
ขับเคลื่อนกระบวนการ
18 28 มกราคม 2565 - ทมี /กลุม่ /แตล่ ะช่วงชนั้ ดำเนินการ PLC คร้ังท่ี 18 PLCเช่ือมโยง SLC แต่
- นำสูก่ ารปฏบิ ตั ิ/สงั เกตการสอน/นิเทศ ละชว่ งชนั้
- แลกเปลีย่ นความรู้ความคิด สะท้อนคิด (AAR) - คณะกรรมการ
- กิจกรรมการแกป้ ัญหาและข้อเสนอแนะ ขับเคลื่อนกระบวนการ
PLCเชื่อมโยง SLC แต่
19 11 กุมภาพนั ธ2์ 565 - ทีม/กลุ่ม/แต่ละช่วงชั้น ดำเนนิ การ PLC ครัง้ ที่ 19 ละช่วงชั้น
- รว่ มกันหาแนวทางในการแก้ปัญหา - ทมี ผูเ้ ชีย่ วชาญ(ศน.)
- ออกแบบกิจกรรม/สร้างนวัตกรรมในการแก้ปญั หา - คณะกรรมการ
ขับเคล่ือนกระบวนการ
PLCเชื่อมโยง SLC แต่
ละชว่ งชั้น

สปั ดาห์ วัน เดือน ปี การดำเนินงาน 33
20 25 กุมภาพนั ธ์ 2565 - ทมี /กล่มุ /แต่ละชว่ งชน้ั ดำเนินการ PLC ครง้ั ที่ 20
- ร่วมกันหาแนวทางในการแก้ปญั หา ผ้รู บั ผดิ ชอบ
- ออกแบบกิจกรรม/สร้างนวตั กรรมในการแกป้ ัญหา - คณะกรรมการ
ขบั เคลื่อนกระบวนการ
21 11 มีนาคม 2565 - ทีม/กล่มุ /แต่ละชว่ งช้ัน ดำเนินการ PLC ครงั้ ที่ 21 PLCเชื่อมโยง SLC แต่
- ร่วมกันหาแนวทางในการแก้ปัญหา ละชว่ งชัน้
- ออกแบบกิจกรรม/สรา้ งนวัตกรรมในการแก้ปญั หา - คณะกรรมการ
ขับเคลื่อนกระบวนการ
22 25 มีนาคม 2565 - ทีม/กลุ่ม/แตล่ ะชว่ งชั้น ดำเนินการ PLC ครั้งท่ี 22 PLCเช่ือมโยง SLC แต่
- นำสูก่ ารปฏิบตั ิ/สังเกตการสอน/นิเทศ ละช่วงชน้ั
- แลกเปลยี่ นความรูค้ วามคิด สะท้อนคิด (AAR) - คณะกรรมการ
- กจิ กรรมการแก้ปญั หาและข้อเสนอแนะ ขบั เคลื่อนกระบวนการ
PLCเชื่อมโยง SLC แต่
23 30 มนี าคม 2565 รายงานกิจกรรมโครงการ PLC เช่ือมโยง SLC ละชว่ งชน้ั
- ทีมผเู้ ชย่ี วชาญ(ศน.)
-คณะกรรมการ
ประเมนิ ผลกิจกรรม

34

บรรณานุกรม

กรมวิชาการ. หลักสตู รแกนกลางการศกึ ษาข้นั พื้นฐาน พุทธศกั ราช 2551.กรงุ เทพมหานคร : โรงพิมพ์
องคก์ ารรับสง่ สนิ คา้ และพัสดภุ ัณฑ์, 2551

นพิ นธ์ บรรพสาร.คมู่ อื การขับเคลื่อนกระบวนการชุมชนแหง่ การเรียนรูท้ างวิชาชพี .สำนักงานเขตพนื้ ท่ี
การศกึ ษาประถมศกึ ษาสกลนคร เขต 1: สกลนคร

ปยิ พจน์ ตุลาชม.การปฏริ ปู การศึกษาเพอื่ อนาคตการศึกษาไทยในบทบาทผู้บรหิ ารสถานศึกษา.
22 มิถนุ ายน 2012 1: กรงุ เทพฯ

พัชรนิ ทร์ ช่วยศริ ิ. (2554). การศกึ ษาการดาเนินงานนเิ ทศภายในของโรงเรยี นวัดประดู่ฉมิ พลี. สารนพิ นธ์
การศึกษามหาบัณฑิต (การบรหิ ารการศึกษา). กรุงเทพฯ :.16 หน้า

อรรถพล อนันตวรสกลุ . SLC (School as Learning Community : SLC) โรงเรยี นในฐานะชมุ ชนแห่ง

การเรียนรู้.คณะครุศาสตร์ จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลยั : กรุงเทพฯ


Click to View FlipBook Version