The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หลักสูตรนวดไทยอย่างมืออาชีพ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Tanakornayo, 2024-02-03 01:37:13

หลักสูตรนวดไทยอย่างมืออาชีพ

หลักสูตรนวดไทยอย่างมืออาชีพ

MASSAGE Contact 0945975552 [email protected] โดย ธนากร จังอินทร์ นวดไทยอย่างมืออาชีพ หลักสูตร


หลักสูตรนวดไทยอย่างมืออาชีพ หลักและเหตุผล เมื่อกล่าวถึงการนวด นวดไทยเป็นภูมิปัญญาของไทยสมัยโบราณ ที่โด่งดังไปทั่วโลกอย่างหนึ่งของไทย มีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวภายในประเทศไทยหรือ คนไทยด้วยกัน ที่จะใช้นวดไทยในการ การรักษาเจ็บปวดกล้ามเนื้อ การนวดเพื่อความผ่อนคลาย ดังนั้น การส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง สำหรับการนวดไทย สำหรับผู้ที่ต้องการเป็นมืออาชีพในการนวดไทย กายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยา ข้อห้ามข้อควรระวังในการนวด จรรยาบรรณในวิชาชีพ ให้มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องของการนวดไทย เพื่อที่จะให้นวดไทยมีชื่อเสียงมากขึ้น วัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรม ได้ทราบและเข้าใจ ในหลักการนวดไทย อย่างมืออาชีพ 2. เพื่อให้ผู้ที่เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด หัวข้อการอบรม 1.ประวัติความเป็นมาของการนวดไทย 2.กายวิภาคศาตและสรีระวิทยา 3. ข้อห้ามข้อควรระวังในการนวด 4. จรรยาบรรณในวิชาชีพและมารยาท ผู้เข้าอบรบ 1. พนักงานนวด 50 คน ระยะเวลาอบรม 08:00 น - 16:00 น.


ประวัติความเป็นมาของนวดไทย นวดแผนไทยสันนิษฐานกันว่าเริ่มต้นที่ประเทศอินเดียในสมัยพุทธกาลโดยหมอชีวกโกมารภัจจ์ หมอประจำตัวของพระพุทธเจ้าได้นำศาสตร์การนวดคลึงหรือที่เรียกกันว่าการนวดแผนโบราณมาใช้ในการ รักษาและคาดว่าศาสตร์นี้ได้ถูกนำเข้ามายังประเทศไทยพร้อมกับการเผยแพร่พุทธศาสนาหลักฐานแรกที่พบว่า มีการพูดถึงการนวดในประเทศไทยก็คือในจารึกของพ่อขุนรามคำแหงที่ป่ามะม่วง จากนั้นในสมัยอยุธยา การนวดแผนไทยก็รุ่งเรืองมากยิ่งขึ้นมีการจัดตั้งกรมหมอนวดในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและยัง ปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุลาลูแบร์ในรัชสมัยของพระนเรศวรมหาราชหลังจากเหตุการณ์เสียกรุงศรีอยุธยา ให้พม่าถึงสองครั้งทำให้ตำรานวดถูกทำลายและเสียหายไปเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 1 จึงโปรดให้มีการรวบรวมตำรานวดขึ้นอีกครั้ง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดให้มีการนำมาจารึกลงบนศิลาและประดับไว้ให้ประชาชนได้อ่าน ได้ศึกษาที่วัดพระเชตุพนฯ เริ่มแรกนั้นการนวดมักจะเกิดขึ้นในหมู่คนใกล้ชิดอย่างเช่นคนในครอบครัว เพื่อนฝูง เพื่อบำบัดรักษาโรคที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของการไหลเวียนโลหิตได้เป็นอย่างดี ต่อมา การนวดแผนไทยได้รับการจดบันทึก ทำให้เกิดการส่งต่อและเผยแพร่อย่างเป็นแบบแผน กลายเป็นอีกหนึ่งศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก โดยเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2019 องค์การยูเนสโกได้ประกาศอย่างเป็นทางการให้ “การนวดไทย” เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมวลมนุษยชาติ


กายวิภาคศาตและสรีระวิทยา หัตถเวชกรรม หรือการนวด เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาโรคกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ตั้งแต่อดีตกาลมาจนถึงปัจจุบัน สืบทอดกันมาเป็นหลักวิชาหัตถเวชกรรมแผนไทย (นวดแบบราชสำนัก) เรียนเส้นพื้นฐาน จุดสัญญาณ และโรคที่เกิด จึงจำเป็นต้องรู้ระบบของโครงสร้างร่างกายและหน้าที่การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในรายวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาเป็นพื้นฐานที่สำคัญ ที่จะทำให้การเรียนและการฝึกปฏิบัติการรักษาโรคมีประสิทธิภาพและปลอดภัยยิ่งขึ้น ซึ่งประกอบด้วย ระบบผิวหนัง ระบบกล้ามเนื้อ ระบบกระดูกและข้อต่อ ระบบไหลเวียนเลือด ระบบประสาท ระบบย่อยอาหาร และระบบสืบพันธุ์ ผิวหนัง (ตโจ) จัดเป็นระบบปกคลุมร่างกายภายนอกทั่ว ๆ ไป ประกอบด้วย หนังกำพร้า หนังแท้ ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ และขน หน้าที่สำคัญของผิวหนัง คือ ห่อหุ้มร่างกาย ป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ขับเหงื่อ ขับไขมัน


ช่วยหล่อเลี้ยงผิวหนัง รักษาอุณหภูมิของร่างกาย นอกจากนี้ยังรับรู้สัมผัสต่าง ๆ ที่ผิวหนัง เช่น ความร้อน ความเย็น ความเจ็บปวด การสัมผัส และแรงกด โดยอาศัยตัวรับความรู้สึกของระบบประสาทที่อยู่ใต้ผิวหนัง การนวดมีผลทำให้การไหลเวียนของเลือดที่ผิวหนังดีขึ้น ทำให้อุณหภูมิที่ผิวหนังเพิ่มขึ้น มีผลกระตุ้นการขับเหงื่อและไขมัน ลดรอยแผลเป็นที่เกิดจากการผ่าตัด ทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นและกระชับกว่าเดิม กล้ามเนื้อ (มังสัง) ซึ่งยึดติดกับกระดูก หน้าที่ของกล้ามเนื้อ คือ ช่วยในการเคลื่อนไหวของทุกส่วนของร่างกาย โดยเกิดจากการหดตัวและการคลายตัวของกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวของร่างกาย ต้องอาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อลาย กระดูก และข้อต่อต่าง ๆ โดยมีสมองและไขสันหลังเป็นตัวสั่งการไปตามเส้นประสาทซึ่งสั่งการเคลื่อนไหวต่อไปยังกล้ามเนื้อ


การนวดทำให้กล้ามเนื้อที่ตึงแข็งเกร็งอ่อนนิ่มลง กล้ามเนื้อคลายตัว ผ่อนพัก ทำให้สารพิษที่คั่งค้างในกล้ามเนื้อไหลเวียนออกไปได้ ขณะเดียวกันเลือดก็นำสารอาหารใหม่ ๆ เข้ามาเลี้ยงกล้ามเนื้อได้ดี กล้ามเนื้อจึงมีประสิทธิภาพดีขึ้น กล้ามเนื้อมีการยืดหยุ่นที่ดีขึ้นด้วย ทำให้อาการปวดเมื่อยต่าง ๆ หายไป ผู้ป่วยหรือผู้มานวดจะรู้สึกตัวเบาสบายซึ่งนั่นเป็นผลดีที่ตามมา


กระดูก (อัฐิ) ประกอบเป็นโครงสร้างของร่างกายมีทั้งหมด 206 ชิ้น 1. กระดูกแกนกลาง ได้แก่ กระโหลกศีรษะ กระดูกสันหลัง กระดูกอก กระดูกซี่โครง 2. กระดูกรยางค์ ได้แก่ ● กระดูกแขน ประกอบด้วย กระดูกสะบัก กระดูกไหปลาร้า กระดูกต้นแขน กระดูกแขนด้านใน กระดูกแขนด้านนอก กระดูกข้อมือ กระดูกฝ่ามือ และกระดูกนิ้วมือ ● กระดูกขา ประกอบด้วย กระดูกเชิงกราน กระดูกต้นขา กระดูกสะบ้า กระดูกหน้าแข้ง กระดูกน่อง กระดูกข้อเท้า กระดูกฝ่าเท้า และกระดูกนิ้วเท้า


ข้อต่อ ข้อต่อเป็นส่วนที่ปลายกระดูกมาต่อกัน มีพังผืดหุ้มรอบข้อภายในมีน้ำไขข้อ (ลสิกา) มีปลายกล้ามเนื้อซึ่งเป็นเอ็นยึดเกาะเหนือและต่ำกว่าข้อต่อ ทำให้ข้อต่อมีการเคลื่อนไหวและป้องกันไม่ให้ข้อต่อหลุด หน้าที่ของกระดูก 1. เป็นโครงสร้างร่างกาย ทำให้ร่างคงรูปอยู่ได้ 2. เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อ เอ็น และพังผืด 3. ช่วยป้องกันอวัยวะภายในที่สำคัญ 4. ช่วยรับและกระจายน้ำหนักของร่างกาย 5. สร้างเม็ดเลือดให้ร่างกาย 6. เป็นแหล่งสะสมแคลเซียมและฟอสเฟต 7. การนวดเร่งการไหลเวียนเลือด ซึ่งสำคัญและจำเป็นต่อการติดของกระดูกที่หัก ทำให้กระดูกหักติดกันได้เร็วและดีขึ้น การนวดทำให้ข้อต่อมีการเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น ทำให้ระบบหมุนเวียนเลือดในข้อต่อดีขึ้น ไม่ทำให้ข้อต่อติด ระบบไหลเวียนโลหิต (โลหิตตัง) แบ่งเป็น 2 ระบบ คือ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ประกอบไปด้วยหัวใจ หลอดเลือด และเลือด เลือดมีจำนวนประมาณร้อยละ 7 – 8 ของน้ำหนักของร่างกาย มีหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำ และหลอดเลือดฝอย หลอดเลือดแดงคลำพบชีพจรที่อยู่ใกล้บริเวณผิวหนัง เมื่อหัวใจบีบตัวแรงดันจะถูกส่งออกมาตามผนังหลอดเลือดในลักษณะเป็นคลื่นตามอัตราการเต้นของหัวใจ ปกติจะมีค่าประมาณ 60 – 80 ครั้ง/นาที เฉลี่ยประมาณ 72 ครั้ง/นาที


ตำแหน่งที่คลำพบชีพจร 1. ข้อมือทางด้านนิ้วหัวแม่มือ 2. ขมับหน้าหู 3. บริเวณคอ 4. ขากรรไกรล่าง 5. ข้อศอกด้านหน้า 6. ขาหนีบ 7. ใต้ข้อพับเข่า


ระบบประสาท (มัตถเกมัตถลุงคัง) องค์ประกอบมี สมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาท ซึ่งยังแบ่งได้เป็น ระบบประสาทส่วนกลาง ระบบประสาทส่วนปลาย ระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบประสาท ทำหน้าที่ควบคุมประสานงานของร่างกายให้ตอบสนองและรับรู้การทำงานและดำรงชีวิต การนวดทำให้ระบบประสาทถูกกระตุ้น เกิดการผ่อนคลาย มีการฟื้นฟูระบบการทำงาน โดยเฉพาะอาการโรคของอัมพฤกษ์ อัมพาต เวลานวดต้องใช้ความระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดอาการชอกช้ำของเส้นประสาทที่อาจจะนำไปสู่โรคหมอทำ


ระบบย่อยอาหาร (อุทริยังและกรีสัง) ทำหน้าที่ในการย่อยอาหาร ดูดซึมอาหารที่ย่อยแล้วเข้าสู่ร่างกาย และขับถ่ายกากอาหารออกจากร่างกายในรูปอุจจาระ อวัยวะในระบบย่อยอาหาร ประกอบด้วย ปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ไส้ตรงและทวารหนัก นอกจากนี้ยังมีอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหาร ได้แก่ ลิ้น ฟัน ต่อมน้ำลาย ตับ ตับอ่อน และถุงน้ำดี อาหารจะผ่านเข้าสู่ร่างกายตั้งแต่ปากผ่านลงมาในหลอดอาหารมาที่กระเพาะอาหารและลำไส้ จนสุดท้ายกลายเป็นกากอาหารออกไปจากร่างกายทางทวารหนัก การนวดทำให้อวัยวะภายในช่องท้องมีการเคลื่อนไหว กระเพาะอาหารและลำไส้มีการบีบตัวทำให้การย่อยอาหาร การดูดซึมอาหารได้ดี ระบบขับถ่ายปกติ ลดอาการท้องผูก ตามโบราณเรียก เถาดานพรรดึก ระบบการย่อยอาหารเป็นระบบที่สำคัญในการหล่อเลี้ยงร่างกาย การนวดจึงเป็นวิธีหนึ่งที่กระตุ้นการทำงานของระบบการย่อยอาหาร แต่ต้องนวดด้วยการบรรจงแต่งรสมือ และไม่ควรนวดผู้ป่วยหลังรับประทานอาหารอิ่มใหม่ ๆ


ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ เป็นอวัยวะสำคัญในการดำรงเผ่าพันธุ์ และเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับฮอร์โมนในร่างกาย แบ่งออกเป็นอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย และอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง การนวดจะช่วยให้ระบบอวัยวะสืบพันธุ์มีการทำงานได้ดีขึ้น ในผู้หญิงจะทำให้ประจำเดือนมาตามปกติ ในผู้หญิงหลังคลอดบุตรทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น การนวดท้องในระบบนี้ต้องอาศัยความชำนาญการฝึกฝนเป็นพิเศษเพื่อความปลอดภัย


ข้อห้ามข้อควรระวังในการนวด 1.ก่อนจะไปนวดหากมีอาการไข้สูง มีอาการติดเชื้อภายในร่างกายควรงดเว้นการนวดโดยเด็ดขาด 2.หากมีแผลผ่าตัด หรือแผลจากอุบัติเหตุที่ยังไม่หายสนิทไม่ควรไปนวด เพราะอาจจะทำให้แผลเปิดได้ 3.หากมีโรคประจำตัว ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน ฯลฯ ไม่ควรนวด เพราะอาจจะทำให้อาการกำเริบและจะเป็นอันตรายต่อชีวิต 4.ผู้ป่วยโรคมะเร็งควรงดเว้นการนวด เพราะอาจจะเป็นการกระตุ้นทำให้มะเร็งลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง ได้ง่ายขึ้น 5.ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน และผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลังต้องหลีกเลี่ยงการนวด เพราะมีโอกาสที่จะทำให้เกิดกระดูกเปราะจนแตกหัก หรือหมอนรองกระดูกอาจจะเคลื่อนจนเกิดอันตรายตามมา 6.ผู้ป่วยโรคเลือดไม่แข็งตัว หากไปนวดอาจทำให้เกิดอาการเลือดออกใต้ผิวหนัง ตามอวัยวะต่าง ๆ เป็นสาเหตุให้เกิดอาการช็อกเนื่องจากเสียเลือดได้ 7.สตรีมีครรภ์ไม่ควรนวดไทย เพราะการบีบกดตามจุดต่าง ๆ อาจทำให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ สำหรับอาการปวดหลัง อาจจะต้องใช้บริการนวดสำหรับคนท้องโดยเฉพาะ ซึ่งจะต้องเป็นหมอนวดที่ได้รับการอบรมสำหรับการนวดคนท้อง และมีความชำนาญเท่านั้นจึงจะสามารถนวดได้


8.หากกำลังอยู่ในช่วงมีประจำเดือน ควรงดเว้นการนวดไทยเพราะเป็นการกระตุ้นระบบไหลเวียดเลือด อาจทำให้ประจำเดือนมามากผิดปรกติ 9.หากเพิ่งจะรับประทานอาหาร ควรเว้นอย่างน้อย 30 นาทีก่อนไปนวด จรรยาบรรณในวิชาชีพและมารยาท จริยธรรมของการนวด 1. ยึดถือสุขภาพและความปลอดภัยของผู้นวดเป็นเป้าหมายสูงสุด 2. ยึดมั่นความซื่อสัตย์ ไม่กระทำการเสื่อมเสียต่อการนวด 3. หมั่นศึกษาหาความรู้ในวิชานวด ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น 4. มีสติสัมปชัญญะ คือ ความนึกคิดที่ต้องการควบคุมสติให้ได้ -มีเมตตา คือ ความปรารถนาให้ผู้ถูกนวดเป็นสุข -มีกรุณา คือ ความสงสารต้องการทำให้ผู้ถูกนวดต้องพ้นทุกข์ -มีมุทิตา คือ ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี -มีอุเบกขา คือ การวางเฉยไม่ดีใจ ไม่เสียใจเมื่อผู้อื่นทำดี 5. เก็บรักษาความลับของผู้ถูกนวด 6. ไม่โอ้อวดยกตนข่มท่าน


7. ไม่หลอกลวง ลวนลามผู้ถูกนวด 8. ไม่มัวเมาในอบายมุขทั้งปวง จรรยาวิชาชีพสาขาการนวดไทย คุณธรรมของหมอนวด มี 10 ประการ ดังนี้ 1. มีเมตตาจิตแก่คนไข้ ไม่เลือกชั้นวรรณะ 2. มีความอ่อนน้อมถ่อมตน 3. มีความละอาย เกรงกลัวต่อบาป 4. มีความละเอียดรอบคอบสุขุม 5. ไม่โลภเห็นแก่ลาภของผู้ป่วยอย่างเดียว 6. ไม่โอ้อวดวิชาความรู้ 7. ไม่เป็นคนเกียจคร้าน เผอเรอ มักง่าย 8. ไม่ลุอำนาจแก่อคติ 4 9. ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งทีเป็นโลกธรรมแปด 10. ไม่มีสันดานชอบความมัวเมาในหมู่อบายมุข มารยาทของหมอนวด 1. แต่งกายสุภาพ รัดกุม 2. รักษาความสะอาดของมือและเครื่องมือ ทั้งก่อนและหลังนวด 3. ก่อนทำการนวด ควรสำรวมจิตใจให้เป็นสมาธิ ระลึกถึงคุณครูบาอาจารย์ 4. เวลานวดให้นั่งห่างผู้ถูกนวดพอสมควร ไม่ควรคร่อมหรือข้าม 5. ขณะทำการนวดไม่ควรก้มหน้า 6. ขณะทำการนวด ห้ามสูบบุหรี่ หรือรับประทานอาหาร 7, ขณะทำการนวด ควรระมัดระวังการพูดให้เหมาะสม 8. หยุดนวด เมื่อผู้ถูกนวดบอกให้พัก หรือเจ็บจนทนไม่ได้ 9. ไม่ทำการนวด เมื่อตนเองสุขภาพไม่แข็งแรง ไม่สบาย หรือมีไข้ 10. ไม่ควรนวดท้องของผู้ถูกนวด เมื่อรับประทานไม่ถึง 30 นาที 11. การนวดหากเกินความสามารถของตน ควรแนะนำหรือส่งต่อให้ผู้ที่มีความรู้ดีกว่า


MASSAGE โอมนะโม ชีวะโก สิระสา อะหัง กา รุณิโก สัพพะสัตตานัง โอสะถัง ทิพพะมันตัง ปะภาโส สุริยัน จัน ทัง โกมาระภัจโจ ปะกาเสสิ วันทา มิ ปัณฑิโต สุเมธะโส อะโรคะยา สุมะนาโหมิ (ให้ว่า ๓ จบ)


Click to View FlipBook Version