The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ยุทธศาสตร์งานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพและการอนุรักษ์พันธุกรรม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by jankmutt, 2022-09-12 23:38:04

เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาวิชาการ ประจำปี 2565

ยุทธศาสตร์งานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพและการอนุรักษ์พันธุกรรม

Keywords: สทช,กรมวิชาการเกษตร

ววิ ัฒนาการเชิงโมเลกลุ และดเี อน็ เอบารโ์ ค้ดเพอื่ การจัดจำแนกพชื ผักพ้ืนเมืองภาคใต้วงศ์ขิง
Molecular Phylogeny and DNA Barcodes for Identification of Southern Indigenous Vegetables

in Zingiberaceae
ธรี ภัทร เหลืองศภุ บลู ย์1, อภิญญา วงศเ์ ปย้ี 1 และ กัญญาภรณ์ พิพิธแสงจนั ทร์1

บทคัดย่อ

ภาคใต้ของประเทศไทยมีการนำพืชวงศ์ขิงมาใช้ประโยชน์ในหลากหลายรูปแบบท้ังใช้บริโภคเป็นผักสด
พืชเครื่องเทศในการประกอบอาหาร และพืชสมุนไพร การระบชุ นิดพืชจากวตั ถุดิบที่ไดจ้ ากพชื วงศข์ ิงทำได้ยากหากใช้
ลักษณะสัณฐานวิทยาเพียงอย่างเดียว ดีเอ็นเอบาร์โค้ดบริเวณ ITS matK rbcL และ trnH-psbA ถูกนำมาทดสอบ
ประสิทธิภาพและวิเคราะห์วิวัฒนาการเชิงโมเลกุลของดีเอ็นเอบาร์โค้ดแต่ละบริเวณเพ่ือการระบุชนิดและความ
หลากหลายของพชื วงศ์ขิงบริเวณภาคใต้ของไทย จากผลการศึกษาพบว่าบริเวณ ITS เป็นบรเิ วณท่ีมีประสิทธิภาพมาก
ที่สุดในการระบุชนิดของพืชวงศ์ขิง สามารถระบุชนิดได้ทั้งหมดจำนวน 6 ชนิด ได้แก่ Alpinia zerumbet (Pers.)
Burtt & R. M. Sm. (ปุดนา) Amomum kravanh Pierre ex Gagnep. (กระวาน) Amomum villosum Lour. (เร่ว)
Etlingera elatior (Jack) R.M. Smith. (ดาหลา) Kaempferia galangal L. (เปราะหอม) และ Zingiber zerumbet
(L.) Sm. (กระทือ) รองลงมาคือบริเวณ matK สามารถระบุชนิด กระวาน ดาหลา เปราะหอม และกระทือ ในขณะท่ี
บริเวณ rbcL และ trnH-psbA มีประสิทธิภาพต่ำโดยระบุชนิดไดเ้ พียง 2 ชนิดเทา่ น้นั ได้แก่ กระทือ และดาหลา และ
กระวาน และดาหลา ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าสกุล Amomum มีความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการเป็นแบบ
polyphyletic กับสกุล Alpinia และ Etlingera โดยในการศึกษานี้ช้ีให้เห็นว่าดีเอ็นเอบาร์โค้ดบริเวณนิวเคลียสมี
ประสทิ ธิภาพที่โดดเดน่ และเหมาะสมสำหรับใช้การจัดจำแนกชนดิ พืชวงศข์ ิงได้ดกี วา่ ดีเอ็นเอบารโ์ ค้ดบริเวณคลอโรพลาสต์

คำนำ

พชื วงศ์ขิง (Zingiberaceae) จัดเปน็ พืชใบเลี้ยงเด่ียวและเปน็ พืชลม้ ลุกหลายฤดู โดยเป็นพืชวงศห์ นึ่งทีม่ ีความ
หลากหลายทางชีวภาพสูง ในประเทศไทยมีรายงานไว้ประมาณ 30 สกุล และมากกว่า 300 ชนิด (Larsen and
Larsen, 2006) โดยพืชวงศ์ขิงมีการนำมาใช้ประโยชน์ท่ีหลากหลายท้งั เป็นอาหารและสมุนไพรท่ีมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ
สำหรับพ้ืนที่ภาคใตข้ องประเทศไทยพืชวงศ์ขงิ หลายชนิดนยิ มปลกู เพื่อการใช้ประโยชน์ในวิถีชีวิตและเป็นอัตลักษณ์ใน
ภูมิปัญญาของแต่ละทางถิ่นท่ีแตกต่างกันไปตามความเชื่อ ศาสนา และวัฒนธรรม (Use et al., 2016) การระบุชนิด
ของพืชวงศ์ขิงที่มีการใช้ประโยชน์ในพ้ืนที่ภาคใต้จากลักษณะทางสัณฐานวิทยาและจากคำบอกในช่ือท้องถิ่นบางคร้ัง
อาจกอ่ ให้เกิดความสับสนและยากในการจดั จำแนกชนิดได้อยา่ งถูกต้อง วิธีการทางอณูชวี โมเลกุลด้วยการระบุชนิดพืช
จากดีเอ็นเอบาร์โค้ดบริเวณนิวเคลียสและคลอโรพลาสต์เป็นวิธกี ารท่ีนิยมนำมาใช้ในการจัดจำแนกพืชดอกหลายชนิด
(Kress et al., 2005) ซ่ึงการใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาร่วมกับข้อมูลทางอณูวิทยาที่บริเวณดีเอ็นเอบาร์โค้ดที่
เหมาะสมจะช่วยให้สามารถจัดจำแนกชนิดพืชวงศ์ขิงได้อย่างถูกต้อง ในการศึกษาน้ีมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษา
ววิ ัฒนาการเชิงโมเลกุลและทดสอบประสิทธิภาพของดีเอ็นบารโ์ ค้ดท่ีเหมาะสมในการจัดจำแนกพืชผกั พ้ืนเมืองวงศ์ขิง
ทางภาคใต้ของประเทศไทย และเปน็ ฐานข้อมลู ในการระบชุ นดิ พืชวงศ์ขิงเพ่อื การนำมาใชป้ ระโยชน์ทีถ่ กู ตอ้ ง

1 สำนกั วจิ ยั พฒั นาเทคโนโลยชี ีวภาพ กรมวชิ าการเกษตร 48
ยทุ ธศาสตร์งานวิจัยดา้ นเทคโนโลยีชวี ภาพและการอนุรกั ษพ์ นั ธกุ รรม

วิธีการ

การเกบ็ ตัวอย่างและการศึกษาลกั ษณะทางพฤกศาสตร์
เก็บตัวอย่างผักพ้ืนเมืองวงศ์ขิง (Zigiberaceae) จากแหล่งชุมชนที่มีการใช้ประโยชน์เป็นอาหารจากจังหวัด

ต่างๆ ทางภาคใต้ของประเทศไทย จากนั้นนำตัวอย่างท่ีได้มาศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและเปรียบเทียบกับรูป
วธิ านของพชื แตล่ ะชนิดเพอื่ ใชป้ ระกอบการทดสอบประสิทธิภาพในการจัดจำแนกโดยใชด้ เี อน็ บารโ์ คด้ (ตารางที่ 1)

ตารางที่ 1 ชนิดและแหล่งเก็บตวั อย่างพืชผักพื้นเมอื งภาคใต้วงศข์ ิง

รหสั ชื่อวิทยาศาสตร์ ชอื่ ทอ้ งถิน่ แหล่งเก็บตวั อยา่ ง
GB86 Alpinia zerumbet (Pers.) ปุดนา ขา่ คม ต.เชียรใหญ่ อ.เชยี รใหญ่ จ.นครศรธี รรมราช

B.L.Burtt & R.M.Sm. ปดุ นา ขา่ คม ต.นำ้ จืดนอ้ ย อ.กระบุรี จ.ระนอง
GB87 Alpinia zerumbet (Pers.)
กระทือ กระทือปา่ ต.นาเหนอื อ.อา่ วลึก จ.กระบี่
B.L.Burtt & R.M.Sm.
GB96 Zingiber zerumbet (L.) กระทือ กระทอื ป่า ต.พรดุ นิ นา อ.คลองทอ่ ม จ.กระบ่ี

Smith ดาหลา กาหลา กะลา ต.โคกเคียน อ.ตะก่ัวปา่ จ.พังงา
GB97 Zingiber zerumbet (L.) ปดุ กะลา
ดาหลา กาหลา กะลา ต.ตากแดด อ.เมืองพงั งา จ.พังงา
Smith ปดุ กะลา
GB107 Etlingera elatior (Jack) เปราะหอม ตูบหมูบ ต.คลองพา อ.ทา่ ชนะ จ.สรุ าษฎรธ์ านี
เปราะหอม ตบู หมบู ต.ปากหมาก อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี
R.M.Sm. เร่ว ต.ตากแดด อ.เมอื งพังงา จ.พงั งา
GB108 Etlingera elatior (Jack) เรว่ ต.รมณยี ์ อ.กะปง จ.พังงา
กระวาน ต.หงษ์เจรญิ อ.ทา่ แซะ จ.ชมุ พร
R.M.Sm.
GB117 Kaempferia galangal L. กระวาน ต.บา้ นนา อ.เมืองชุมพร จ.ชุมพร
GB118 Kaempferia galangal L.

GB120 Amomum villosum Lour.
GB121 Amomum villosum Lour.
GB126 Amomum kravanh Pierre

ex Gagnep.
GB127 Amomum kravanh Pierre

ex Gagnep.

การสกดั จีโนมิกสด์ ีเอ็นเอ การเพม่ิ ปริมาณดเี อน็ เอด้วยเทคนิคพซี ีอาร์ และการหาลำดบั นวิ คลีโอไทด์
นำตัวอย่างพืชวงศ์ขิงมาสกัดจีโนมิกส์ดีเอ็นเอด้วยวิธี CTAB ดัดแปลงจากวิธีของ Cuberson และคณะ

(2002) จากน้ันนำมาเพม่ิ ปรมิ าณดีเอ็นเอที่บริเวณดีเอ็นเอบาร์โคด้ 4 บริเวณ ได้แก่ 1) Internal transcribed spacer
(ITS) 2) Maturase K (matK) 3) Ribulose-bisphosphate carboxylase (rbcL) และ 4) trnH–psbA intergenic
spacer (trnH–psbA) สำหรบั ปฏิกิริยาลกู โซพ่ ีซีอาร์ ปริมาตร 10 ไมโครลิตร ประกอบดว้ ย ดีเอน็ เอต้นแบบ (50 นาโน
กรัม/ไมโครลิตร) 2 ไมโครลิตร 5X PCR buffer 2 ไมโครลิตร 25 มิลลิโมลาร์ MgCl2 1 ไมโครลิตร 2 มิลลิโมลาร์
dNTP 1 ไมโครลิตร ไพรเมอร์ (20 ไมโครโมลาร์) อย่างละ 0.5 ไมโครลิตร และ Pfu DNA polymerase ยี่ห้อ
Vivantis (5 unit) 0.1 ไมโครลิตร โดยใช้คู่ไพรเมอร์สำหรับบริเวณดีเอ็นเอบาร์โค้ดแต่ละตำแหน่งตามวิธีของ
Luangsuphabool et al. (2022).

ยุทธศาสตรง์ านวจิ ยั ดา้ นเทคโนโลยชี วี ภาพและการอนรุ กั ษ์พนั ธกุ รรม 49

การวิเคราะหว์ วิ ฒั นาการชาติพันธรุ์ ะดับโมเลกลุ และประสิทธิภาพในการระบชุ นิด
นำลำดับนิวคลีโอไทด์ของดีเอ็นเอบาร์โค้ดแต่ละตำแหน่งมาจัดเรียง (DNA sequence alignment) ด้วย

MUSCLE ปรับเรียงใหม่อีกคร้ังด้วยโปรแกรม MEGA 11 (Tamura et al., 2021) จากนั้นนำชุดข้อมูลของดีเอ็นเอ
บาร์โค้ดแต่ละบริเวณมาวิเคราะห์หา nucleotide substitution model ของชุดข้อมูลแต่ละบริเวณด้วยโปรแกรม
jModelTest v.2.1.4 รว่ มกับ Akaike Information Criterion (AIC) โดยชุดข้อมูลของดีเอ็นเอบาร์โคด้ และโมเดลท่ีดี
ที่สุดที่ถูกเลือกของแต่ละบริเวณจะถูกนำมาวิเคราะห์วิวัฒนาการชาติพันธุ์ระดับ โมเลกุลด้วยวิธี Maximum
likelihood (ML) ด้วยโปรแกรม RAxML-HPC2 v.8.2.12 บน CipresWeb Portal (https://www.phylo.org) และ
ทดสอบความเช่ือม่ันด้วยค่า Bootstrap จำนวน 1,000 ซ้ำ และผลการวิเคราะห์จะถูกแสดงโดยโปรแกรม FigTree
v.1.4.4 จากนั้นวิเคราะห์ผลการจัดกลุ่มทางวิวัฒนาการและประสิทธิภาพในการจัดจำแนกชนิดพืชวงศ์ขิงกับแผนภูมิ
วิวัฒนาการชาตพิ นั ธ์รุ ะดับโมเลกลุ แตล่ ะบริเวณร่วมกบั ข้อมูลทางสัณฐานวทิ ยา

สรุปผลและวจิ ารณ์

จากการเก็บรวบรวมตัวอย่างพืชผักพื้นเมืองวงศ์ขิง (Zigiberaceae) จากแหล่งต่างๆ ได้ท้ังหมดจำนวน 12
ตัวอย่าง จากจังหวัดทางภาคใต้ จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ กระบ่ี นครศรีธรรมราช ชุมพร พังงา ระนอง และสุราษฎร์
ธานี และนำมาศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาเพือ่ ระบุชนิดเบื้องต้น พบว่า สามารถระบุชนิดได้จำนวน 6 ชนดิ ใน 5
สกุล ได้แก่ Alpinia zerumbet (ปุดนา) Amomum kravanh (กระวาน) Amomum villosum (เร่ว) Etlingera
elatior (ดาหลา) Kaempferia galangal (เปราะหอม) และ Zingiber zerumbet (กระทือ) (ตาราง 1 และภาพที่ 1)

ภาพที่ 1 ความหลากหลายของพชื ผักพืน้ เมอื งวงศข์ ิง (Zingiberaceae) 50
(A) Alpinia zerumbet, (B) Amomum kravanh, (C) Etlingera elatior,
D) Amomum villosum, E) Zingiber zerumbet and F) Kaempferia galangal.
สเกลบาร์ = 10 ซ.ม.

ยทุ ธศาสตร์งานวิจยั ดา้ นเทคโนโลยีชีวภาพและการอนุรกั ษพ์ นั ธกุ รรม

ภาพที่ 2 ววิ ฒั นาการเชิงโมเลกุลของพืชผักพ้ืนเมืองภาคใต้วงศ์โดยใช้ maximum likelihood ข
bootstrap ≥70% จะถกู แสดงบนก่ิง

ยุทธศาสตร์งานวิจยั ดา้ นเทคโนโลยีชีวภาพและการอนุรักษ์พนั

ของดีเอ็นเอบารโ์ ค้ดแตล่ ะบริเวณ ได้แก่ ITS (A), matK (B), rbcL(C) และ trnH-psbA (D) ซึ่งค่า

นธกุ รรม 51

ผลการศึกษาประสิทธิภาพของดเี อ็นเอบาร์โค้ดในการระบุชนิดของผักพนื้ เมอื งภาคใต้วงศข์ ิงโดยการนำข้อมูล
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา (ภาพที่ 1) มาวิเคราะห์ร่วมกับวิวัฒนาการชาติพันธ์ุระดับโมเลกุล (Molecular
phylogeny) ของดีเอ็นเอบาร์โค้ดแต่ละบริเวณ พบว่า บริเวณ ITS เป็นบริเวณที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการระบุ
ชนิดของพืชวงศ์ขงิ และมีค่าความเชื่อมนั่ (Bootstrap) สงู ถึง 100 เปอรเ์ ซน็ ต์ โดยสามารถระบชุ นดิ พชื วงศข์ ิงได้จำนวน
6 ชนิด ได้แก่ A. zerumbet (ปุดนา) A. kravanh (กระวาน) A. villosum (เร่ว) E. elatior (ดาหลา) K. galangal
(เปราะหอม) และ Z. zerumbet (กระทือ) (ภาพที่ 2A) รองลงมาเป็นบริเวณ matK สามารถระบุชนิดได้จำนวน
4 ชนิด มีค่าความเช่ือม่ันอยู่ในช่วงระหว่าง 89-98 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ A. kravanh (กระวาน) E. elatior (ดาหลา)
K. galangal (เปราะหอม) และ Z. zerumbet (กระทือ) โดยดีเอ็นเอบาร์โค้ดบริเวณน้ีไม่มีประสิทธิภาพในการจัด
จำแนกและระบุชนิดระหวา่ ง A. zerumbet (ปุดนา) และ A. villosum (เรว่ ) (ภาพท่ี 2B)

ส่วนบริเวณ rbcL สามารถระบุชนิดได้จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ E. elatior (ดาหลา) และ Z. zerumbet
(กระทือ) ท่ีมีค่าความเช่ือม่ัน 98 และ 100 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ (ภาพที่ 2C) และท่ีบริเวณ trnH-psbA มี
ประสิทธิภาพในการระบุชนิดของ A. kravanh (กระวาน) และ E. elatior (ดาหลา) เท่าน้นั และยังพบวา่ trnH-psbA
เป็นอีกบริเวณท่ีไม่มีประสิทธิภาพในการจัดจำแนกและระบุชนิดระหว่าง A. zerumbet (ปุดนา) และ A. villosum
(เร่ว) ได้ (ภาพท่ี 2D) และจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการพบว่าดีเอ็นเอบาร์โค้ดบริเวณ ITS matK
และ rbcL สามารถใช้จัดกลุ่มความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการระหว่างสกุลของ Etlingera Kaempferia และ Zingiber
ได้ ในขณะที่ดีเอ็นเอบาร์โค้ดท้ัง 4 บริเวณ ไม่สามารถจัดกลุ่มความสัมพันธ์ระหว่างสกุล Alpinia และ Amomum
โดยสกุล Amomum มีความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการเป็นแบบ polyphyletic และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสกุล
Alpinia และ Etlingera (ภาพท่ี 2A-D) ซ่ึงจากผลการศึกษาน้ีชี้ให้เป็นว่าบริเวณดีเอ็นเอบาร์โค้ดท่ีอยู่นิวเคลียสยีนมี
ประสิทธิภาพในการระบุชนิดของพืชวงศ์ขิงได้ดีท่ีสุด โดยสอดคล้องกับรายงานการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าดีเอ็น
บาร์โค้ดบริเวณ นิวเคลียสโดยเฉพาะบริเวณ ITS มีประสิทธิภาพในการระบุชนิดและมีความแปรผันทางพันธุกรรม
ระหว่างชนิดได้สูงกว่ายีนบริเวณคลอโรพลาสต์ โดยสามารถใช้ในการจำแนกความแตกต่างในระดับสกุลระดับชนิด
และระดับสายพันธุ์ของพืชชนิดต่างๆ เช่นในพืชสกุล Curcuma ดีเอ็นเอบารโ์ ค้ดบรเิ วณ ITS2 มีอัตราความถูกต้องใน
การจัดจำแนกชนิดประมาณ 46.7 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่าเมื่อเทียบกับดีเอ็นบาร์บริเวณคลอโรพลาสต์
(matK, rbcL, trnH-psbA และ trnL-F) (Chen et al., 2015) ซึ่งดีเอ็นเอบาร์โค้ดแต่ละบริเวณมีความเหมาะสม
มีประสิทธิภาพในการจำแนกและระบุชนิดพันธุ์ได้ได้แตกต่างกัน ดังนั้น ในอนาคตควรมีการศึกษาดีเอ็นเอบาร์โค้ดใน
บริเวณอื่นๆ ร่วมกับการใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยา เพื่อช่วยให้สามารถระบุ ชนิดพันธุ์ได้อย่างถูกต้องและ
มปี ระสทิ ธภิ าพมากข้ึน ตลอดจนเพมิ่ ความเขา้ ใจในความสัมพนั ธท์ างววิ ฒั นาการระดบั โมเลกลุ ของพชื วงศ์ขิงอกี ดว้ ย

ยุทธศาสตร์งานวจิ ยั ด้านเทคโนโลยชี ีวภาพและการอนรุ ักษพ์ นั ธุกรรม 52

การนำไปใช้ประโยชน์

ด้านวิชาการ : กรมวิชาการเกษตร นักวิจัย นักวิชาการ ท้ังหน่วยงานภาครัฐและเอกชน มีฐานข้อมูลลำดับ
นิวคลีโอไทด์สำหรับใช้เป็นดีเอ็นเออ้างอิงในการระบุชนิดพันธุ์พืชวงศ์ขิงจากวัตถุดิบได้อย่างถูกต้อง และอีกท้ังเป็นองค์
ความรู้ในการต่อยอดการศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของพืชวงศ์ขิงสกุลต่างๆ ใน
ประเทศไทยต่อไป

เอกสารอา้ งองิ

Chen, J., Zhao, J., Erickson, D.L., Xia, N. and Kress, W.J. 2015. Testing DNA barcodes in closely
related species of Curcuma (Zingiberaceae) from Myanmar and China. Molecular Ecology
Resources 15(2): 337 – 348.

Cubero, O.F. and Crespo, A. 2002. Isolation of nucleic acids from lichens. In Protocols in
Lichenology. Culturing, Biochemistry, Ecophysiology and Use in Biomonitoring. (ed. I. Kranner,
R. P. Beckett and A. K. Varma), pp. 381 – 392. Berlin: Springer.

Kress, W.J., Wurdack, K.J., Zimmer, E.A., Weigt, L.A. and Janzen, D.H. 2005. Use of DNA barcodes to
identify flowering plants. PNAS 102(23): 8369 – 8374.

Larsen, K. and Larsen, S. S. 2006. Gingers of Thailand. Chiang Mai, Thailand: Queen Sirikit Botanic
Garden.

Luangsuphabool, T., Wongpia, A., Sangkasa-ad, P., Nan, T.N, Pipithsangchan, K. and Thammasiri, K.
2022. Molecular phylogeny and DNA barcode regions efficacy for identification of the
cultivar of Capsicum annuum L. in Thailand. Acta Horticulturae 1339: 419 – 428.

Tamura, K., Stecher, G. and Kumar, S. 2021. MEGA11: Molecular Evolutionary Genetics Analysis
Version 11, Molecular Biology and Evolution 38(7): 3022 – 3027.

Use, H., Leeratiwong, C., Maneenoon, K. and Sawangchote, P. 2016. Ethnobotanical study in Ko Hong
Hill, Songkhla Province. Thai Journal of Botany 8(2): 157 – 180.

ยุทธศาสตรง์ านวจิ ยั ดา้ นเทคโนโลยชี วี ภาพและการอนุรักษพ์ นั ธุกรรม 53

ชุดตรวจดีเอน็ เอคัดกรองการปนของตน้ กลา้ และคดั เลือกต้นพ่อแม่พนั ธุ์ปาล์มน้ำมัน
Seedling Contamination Screening and Selection of Oil Palm Parental by Using DNA Test Kit

ประสาน สืบสขุ 1 กุหลาบ คงทอง1 รงุ่ นภา พิทกั ษ์ตันสกุล1
อรรตั น์ วงศศ์ รี2 ขนิษฐา วงศ์วฒั นารัตน์1 สวุ มิ ล กลศกึ 3 ดนัย นาคประเสริฐ1

บทคัดยอ่

การจำแนกลักษณะความหนาของกะลาปาล์มน้ำมันในระยะต้นกล้าโดยวิธีการตรวจดีเอ็นเอ โดยใช้เทคนิค
Real-time PCR จำเป็นต้องใช้เครื่องมือและสารเคมีที่มีราคาแพง งานวิจัยน้ีจึงได้พัฒนาชุดตรวจดีเอ็นเออย่างง่าย
เพ่ือใช้จำแนกลักษณะความหนาของกะลาปาล์มน้ำมันในระยะต้นกล้า โดยใช้หลักการ Nucleic Acid Lateral Flow
สำหรับใช้ตรวจคัดกรองการปนของต้นท่ีมีลักษณะกะลาแบบ dura ในแปลงเพาะกล้า และคัดเลือกต้นพ่อพันธุ์ที่มี
ลักษณะกะลาแบบ pisifera ในข้ันตอนการปรับปรุงพันธ์ุปาล์มน้ำมัน ดำเนินการวิจัยท่ีสำนักวิจัยพัฒ นา
เทคโนโลยีชีวภาพ และศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี ระหว่างเดือนตุลาคม 2560 ถึง เดือนธันวาคม 2562
จากการตรวจสอบลำดับเบสของยนี MADS-box ซง่ึ เป็นยีนที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความหนาของกะลา พบการเปล่ียน
ลำดับเบสแบบสนิปส์ที่ตำแหน่ง 274 (A/T) มีความสัมพันธ์กับลักษณะความหนากะลาในประชากรปาล์มน้ำมันกลุ่ม
พนั ธุ์ Deli Tanzania และลูกผสมสุราษฎร์ธานี 7 จึงนำไปพัฒนาเปน็ ชดุ ตรวจดเี อน็ เออยา่ งง่าย การทดสอบความใชไ้ ด้
ของวิธีวิเคราะห์ พบว่าให้ผลการตรวจท่ีมีความจำเพาะ ความถูกต้อง ความแม่นยำ 100 เปอร์เซ็นต์ และมี
ประสิทธิภาพเทียบเท่ากับเทคนิค Real-time PCR ซ่ึงเป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ โดยไม่จำเป็นต้องใช้
เคร่ืองมือและสารเคมีที่มีราคาแพง สามารถใช้ควบคุมคุณภาพการผลิตพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสม tenera ให้สูงข้ึน
ลดการปนของต้นท่ีมีลักษณะกะลาแบบ dura ในแปลงผลิตต้นกล้าพันธุ์ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 7 ก่อนจำหน่าย
เกษตรกรได้ต้นพันธุ์ดีไปปลูก ส่งผลให้ผลผลิตสูงข้ึน และใช้เป็นเคร่ืองหมายดีเอ็นเอเพ่ือคัดเลือกพ่อพันธุ์ที่มีลักษณะ
กะลาแบบ pisifera ตั้งแต่ระยะต้นกล้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ลดพื้นท่ีปลูก ระยะเวลา แรงงาน และลด
ค่าใช้จ่ายในข้ันตอนการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ตลอดจนประสบผลสำเร็จในการนำผลงานวิจัยสู่บุคคลเป้าหมาย
เพ่ือใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเกษตรไปขยายผล โดยมีการจัดอบรมวิธีการใช้ชุดตรวจดีเอ็นเอตรวจลักษณะกะลา
ปาลม์ น้ำมันในระยะต้นกล้าให้กับเจ้าหน้าท่ี ศนู ย์วิจัยปาลม์ น้ำมันสุราษฏร์ธานี ศูนย์วจิ ัยปาลม์ น้ำมันกระบ่ี สำนักวิจัย
และพฒั นาการเกษตรเขตที่ 7 และศูนยว์ จิ ยั พืชสวนชมุ พร

1 สำนักวิจัยพฒั นาเทคโนโลยีชวี ภาพ (Biotechnology Research and Development Office) 54
2 สถาบันวจิ ัยพชื ไร่และพชื ทดแทนพลังงาน (Field and Renewable Energy Crops Research Institute)
3 ศูนยว์ ิจยั ปาลม์ นำ้ มันสรุ าษฎรธ์ านี (Suratthani Oil Palm Research Center)

ยทุ ธศาสตร์งานวจิ ยั ดา้ นเทคโนโลยีชีวภาพและการอนุรักษพ์ นั ธุกรรม

คำนำ

ปาล์มนำ้ มันเป็นพชื ชนดิ หน่ึงที่มีความสำคญั อย่างมากสำหรับอตุ สาหกรรมนำ้ มันพืช เพราะสามารถนำมาสกัด
เป็นนำ้ มนั เพอ่ื บริโภคและผลิตไบโอดเี ซลเพื่อใชเ้ ปน็ พลังงานทดแทน การปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดจี ะทำให้ประสิทธิภาพ
การเพ่ิมผลผลิตมากขน้ึ ปัจจัยหนึ่งท่ีเก่ียวขอ้ งกับผลผลิตของปาล์มน้ำมัน คือลักษณะของผลปาล์มที่เป็นผลมาจากยีน
ควบคุมลักษณะความหนาของกะลา สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 แบบ ตามลักษณะผลได้แก่ 1) ดูรา (dura) เป็น
พนั ธท์ุ ี่ลักษณะผลมกี ะลาหนา 2-8 มิลลิเมตร มเี ปลือกนอกบาง 35-60% ของน้ำหนักผล และมยี ีนควบคุมลกั ษณะผล
เปน็ แบบยนี เด่น (homozygous dominance) พันธุ์กลุ่มน้ีนิยมปลกู เป็นต้นแม่พนั ธ์ุ 2) พิสิเฟอรา (pisifera) เปน็ พันธ์ุ
ท่ีลักษณะผลไม่มีกะลาและมียีนควบคุมลักษณะผลเป็นแบบยีนด้อย (homozygous recessive) พันธ์ุน้ีมีข้อเสียคือ
ช่อดอกตัวเมียมักเป็นหมัน ซ่ึงทำให้ผลฝ่อ ทะลายเล็ก เน่ืองจากผลไม่พัฒนา ผลผลิตทะลายต่ำมาก ไม่ใช้ปลูกเป็น
การค้า แต่ใช้เป็นพ่อพันธ์ุ และ 3) เทเนอรา (tenera) ลักษณะผลมีกะลาบาง 0.5-4 มิลลิเมตร มีช้ันเปลือกนอกมาก
60-90% ของน้ำหนกั ผล และมียีนควบคมุ ลักษณะผลเป็นแบบพนั ธทุ์ าง (heterozygous) พันธุ์นี้เกิดจากการผสมขา้ ม
ระหว่าง dura และ pisifera และเป็นพันธุ์นิยมปลูกเป็นการค้าเนื่องจากให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันท่ีสูงกว่าชนิดอ่ืน
(กรมวิชาการเกษตร, 2547) จะเหน็ ได้ว่าลกั ษณะความหนาของกะลาปาล์มน้ำมนั เป็นผลมาจากยนี ควบคมุ ความหนา
ของกะลา (SHELL gene) ซ่ึงยีนนี้แสดงออกได้ต้องอาศัย MADS-box gene ซ่งึ เป็น transcription factor ที่ควบคุม
การแสดงออกของยีนใหเ้ ป็นไปอยา่ งปกติ (Singh et al. 2013)

การผลิตต้นกล้าปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีนั้น แม้จะมกี ระบวนการผลติ ท่ีเข้มงวดและรดั กุม มกี ารควบคุมการผสม
เกสรของต้นพ่อ-แม่พันธุ์ เพ่ือสร้างลูกผสมท่ีมีลักษณะผลแบบ tenera ซึ่งให้ผลผลิตน้ำมันสูง แต่บางคร้ังใน
กระบวนการควบคุมการผสมเกสรอาจจะเกิดความผดิ พลาดได้ อาจเกดิ การปนของปาลม์ น้ำมันท่ไี มต่ ้องการได้ ทำให้ได้
ตน้ กลา้ ปาล์มน้ำมนั ที่มผี ลแบบ dura ลกั ษณะกะลาหนาปนอยู่ เมือ่ นำไปปลกู ทำให้ผลผลติ ต่ำ (ผลผลิตทะลายสดลดลง
15-35 แมว้ ่ากรมวิชาการเกษตรสามารถตรวจสอบพันธ์แุ ละชนิดของต้นกล้าปาล์มได้ โดยใช้เทคโนโลยี TaqMan SNP
Genotyping แต่ต้องอาศัยเทคนิค Real-time PCR ซ่ึงต้องใช้เครื่องมือ สารเคมีราคาแพง และต้องการบุคลกร
ท่ีมีความชำนาญในการตรวจวิเคราะห์ ดังน้ันงานวิจัยการพัฒนาเทคนิคการตรวจสอบพันธ์ุและชนิดของต้นกล้า
โดย “การพัฒนาชุดตรวจดีเอ็นเออย่างง่าย” ซ่ึงเป็นวิธีการที่ให้ผลการตรวจวิเคราะห์ที่มีความจำเพาะ ความถูกต้อง
ความแม่นยำสูงและมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับเทคนิค Real-time PCR นอกจากน้ันเทคนิคนี้ยังใช้งานได้ง่าย และ
รวดเรว็ โดยไมจ่ ำเป็นตอ้ งใช้เครือ่ งมือและสารเคมีท่ีมีราคาแพง

วธิ ีการ

1. การพัฒนาชุดตรวจสอบปาลม์ นำ้ มนั ลูกผสมชนิดเทเนอราโดยใช้เทคนคิ Nucleic acid Lateral Flow
โคลนยีน MADS-box จากปาล์มนำ้ มนั กลมุ่ พันธ์ุ Deli Tanzania และพันธ์ุลูกผสมสุราษฎร์ธานี 7 ตรวจสอบ

การเปลี่ยนแปลงลำดับของดีเอ็นเอบนยนี MADS-box ท่ีเกี่ยวขอ้ งกับลักษณะผลและความหนาของกะลาปาล์มน้ำมัน
3 กลุ่มพันธุ์ ประกอบด้วย กลุ่มพันธ์ุ Deli Tanzania และพันธุล์ ูกผสมสุราษฎร์ธานี 7 เพอื่ หาตำแหน่งของลำดบั ดีเอ็นเอ
ที่มีการเปลี่ยนแปลงลำดับเบสแบบสนิปส์ นำไปใช้ออกแบบไพรเมอร์และโพรบให้ที่สัมพันธ์กับลักษณะผลและความ
หนาของกะลาในปาลม์ นำ้ มัน และใชก้ ับแผน่ ตรวจ NALF โดยออกแบบไพรเมอร์แต่ละเส้นจะต้องตอ่ ดว้ ยเบสที่คู่สมกับ

ยทุ ธศาสตรง์ านวจิ ยั ด้านเทคโนโลยชี วี ภาพและการอนุรกั ษ์พนั ธกุ รรม 55

ไพรเมอร์ท่ีติดฉลากด้วยสารที่สามารถจับกับ aniti-FAM antibody และ anti-DIG antibody) ที่อยู่บนแผ่นตรวจ
NALF ท่ีออกแบบไว้ การเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอเพื่อใช้ตรวจลักษณะความหนากะลาของปาล์มน้ำมันโดยใช้แผ่นตรวจ
NALF โดยเตรียมส่วนผสมปฏิกิรยิ าพีซีอาร์แบบผสมรวมท่ีประกอบด้วยเอนไซม์ และสารเคมีต่าง ๆ ทีจ่ ำเปน็ ต้องใช้ไว้
ในหลอดเดียวกันเปน็ master mix ให้ผู้ท่นี ำชดุ ตรวจสอบไปใช้สามารถใชง้ านไดส้ ะดวก ไม่จำเปน็ ต้องเตรียมส่วนผสม
ของปฏิกริ ิยาพซี ีอาร์ดว้ ยตัวเอง การตรวจดเี อน็ เอด้วยแผน่ ตรวจ NALF โดยนำผลผลิตพซี อี าร์ทเ่ี พ่ิมปรมิ าณไดผ้ สมรวม
กับสารละลาย NALF buffer หยอดตัวอย่างของแผน่ ตรวจ NALF รอเวลาประมาณ 2-5 นาที จะเกดิ แถบสี

2. การทดสอบความใชไ้ ด้ของชุดตรวจสอบปาลม์ นำ้ มันลูกผสมชนดิ เทเนอรา
เปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการตรวจความหนาของกะลาระหว่างการใช้ชุดตรวจดีเอ็นเออย่างง่ายกับ

การใช้เทคนิค Real-time PCR โดยใช้เทคโนโลยี TaqMan SNP genotyping ซ่ึงเป็นวิธีมาตรฐานท่ีใช้ใน
หอ้ งปฏบิ ัติการ ทดสอบความใช้ได้ของชุดตรวจสอบดีเอ็นเออย่างงา่ ยในเชิงคุณภาพ โดยใช้ตัวอย่างดีเอ็นเอของปาล์ม
น้ำมันที่มีลักษณะความหนาของกะลาแบบ dura pisifera และ tenera นำไปทดสอบความถูกต้อง (accuracy) ของ
วธิ ตี รวจวเิ คราะห์ท่ีวัดได้ว่ามคี ่าใกล้เคยี งกบั คา่ ทแ่ี ทจ้ รงิ มากนอ้ ยเทา่ ไร

3. การใช้ชดุ ตรวจดีเอ็นเออย่างงา่ ยตรวจจำแนกลกั ษณะความหนาของกะลาปาล์มนำ้ มนั
นำชุดตรวจสอบดีเอ็นเออย่างง่ายไปใช้ตรวจลักษณะความหนาของกะลาปาล์มน้ำมันลูกผสมพันธ์ุสุราษฎร์

ธานี 7 ท่ีเกิดจากการผสมกันระหว่าง Deli dura กับ Tanzania pisifera จากแปลงผลิตต้นกล้าของศูนย์วิจัยปาล์ม
น้ำมันกระบี่

4. การนำผลงานวิจยั สู่กลุ่มเป้าหมายเพอ่ื ใช้ประโยชนใ์ นการพัฒนาการเกษตร
ขยายผลการใช้ประโยชน์ชุดตรวจดีเอน็ เอตรวจคัดกรองการปนของต้นกล้าและคัดเลือกต้นพ่อแม่พันธ์ุปาล์ม

น้ำมนั ให้กบั เจ้าหนา้ ท่ขี องรฐั ศนู ย์วิจยั ปาล์มน้ำมันสุราษฎรธ์ านี ศูนย์วจิ ัยปาล์มน้ำมันกระบ่ี สำนักวิจยั และพัฒนาการ
เกษตรเขตที่ 7 และ ศนู ยว์ ิจัยพืชสวนชมุ พร

สรุปผลและวจิ ารณ์

1. การพัฒนาชดุ ตรวจสอบปาลม์ น้ำมันลูกผสมชนิดเทเนอราโดยใชเ้ ทคนิค Nucleic acid Lateral Flow
การจำแนกลักษณะความหนาของกะลาปาล์มน้ำมันในระยะต้นกล้าโดยวิธีการตรวจดีเอ็นเอ โดยใช้เทคนิค

Real-time PCR จำเปน็ ต้องใชเ้ ครอื่ งมือและสารเคมที ีม่ รี าคาแพง งานวิจัยนีจ้ งึ ไดพ้ ัฒนาชุดตรวจดเี อ็นเอเพ่อื ใชจ้ ำแนก
ลักษณะความหนาของกะลาปาล์มน้ำมันในระยะต้นกล้า โดยใช้ หลักการ Nucleic Acid Lateral Flow เพื่อใช้ตรวจ
คัดกรองการปนของต้นที่มีลักษณะกะลาแบบดูราในแปลงเพาะกล้า และคัดเลือกต้นพ่อพันธ์ุที่มีลักษณะกะลาแบบ
พิสิเฟอราในขั้นตอนการปรับปรุงพันธ์ุปาล์มน้ำมัน จากการตรวจสอบลำดับเบสของยีน MADS-box ซ่ึงเป็นยีนที่
เกย่ี วข้องกับลักษณะความหนาของกะลา พบการเปลย่ี นลำดับเบสแบบสนิปส์ท่ตี ำแหน่ง 274 (A/T) มีความสัมพนั ธก์ ับ
ลกั ษณะความหนากะลาในประชากรปาล์มน้ำมันกลุ่มพนั ธ์ุ Deli Tanzania และลูกผสมสุราษฎรธ์ านี 7 จึงนำไปพัฒนา
เป็นชุดตรวจดีเอ็นเอ พบว่าให้ผลการตรวจที่มีความจำเพาะ ความถูกต้อง 100 เปอร์เซ็นต์ และมีประสิทธิภาพ
เทยี บเท่ากบั เทคนิค Real-time PCR ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการ โดยไมจ่ ำเปน็ ต้องใชเ้ ครอื่ งมือและสารเคมี

ยุทธศาสตรง์ านวจิ ยั ด้านเทคโนโลยชี ีวภาพและการอนุรักษ์พนั ธกุ รรม 56

ที่มีราคาแพง สามารถใช้ควบคุมคุณภาพการผลิตพันธ์ุปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอราให้สูงข้ึน ลดการปนของต้นท่ีมี
ลักษณะกะลาแบบดูราในแปลงผลิตต้นกล้าพันธ์ุลูกผสมสุราษฎร์ธานี 7 ก่อนจำหน่าย เกษตรกรได้ต้นพันธ์ุดีไปปลูก
สง่ ผลให้ผลผลติ สูงขน้ึ และใชเ้ ปน็ เครอ่ื งหมายดเี อน็ เอเพ่ือคดั เลอื กพ่อพนั ธท์ุ ่มี ีลักษณะกะลาแบบพสิ ิเฟอรา ต้ังแต่ระยะ
ต้นกล้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ลดพื้นที่ปลูก ระยะเวลา แรงงาน และลดค่าใช้จ่ายในข้ันตอนการปรับปรุงพันธุ์
ปาลม์ น้ำมนั

2. การทดสอบความใช้ไดข้ องชุดตรวจสอบปาล์มนำ้ มนั ลกู ผสมชนิดเทเนอรา
การพัฒนาชุดตรวจดีเอ็นเอเพื่อใช้จำแนกลักษณะความหนาของกะลาปาล์มน้ำมันในระยะต้นกล้าที่ได้

ดำเนินการไปแล้ว งานวิจัยน้ีจึงทำการทดสอบความใช้ได้ของชุดตรวจสอบ พบว่าให้ผลการตรวจท่ีมีความจำเพาะ
ความถูกต้อง 100 เปอร์เซ็นต์ และมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับเทคนิค Real-time PCR ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานใน
ห้องปฏบิ ัติการ โดยไม่จำเป็นต้องใชเ้ คร่ืองมือและสารเคมีที่มีราคาแพง สามารถใช้ควบคุมคณุ ภาพการผลิตพันธ์ุปาล์ม
น้ำมันลูกผสมเทเนอราให้สูงข้ึน ลดการปนของต้นที่มีลักษณะกะลาแบบดูราในแปลงผลิตต้นกล้าพันธุ์ลูกผสม
สรุ าษฎร์ธานี 7 กอ่ นจำหน่าย เกษตรกรไดต้ น้ พันธ์ุดไี ปปลกู สง่ ผลใหผ้ ลผลิตสงู ขึ้น

3. การใชช้ ดุ ตรวจดีเอน็ เออย่างงา่ ยตรวจจำแนกลักษณะความหนาของกะลาปาล์มน้ำมนั
ผลจากการนำชุดตรวจสอบดีเอ็นเออย่างง่ายไปใช้ตรวจคัดกรองการปนของต้น dura ในแปลงผลิตต้นกล้า

ปาล์มน้ำมันลูกผสมพันธ์ุสุราษฎร์ธานี 7 อายุ 8-12 เดือน ของศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันกระบี่ มีประชากรต้นกล้าทั้งหมด
655 ต้น พบการปนของต้นกล้าท่ีมีลักษณะกะลาแบบ dura ร้อยละ 4.54 ของจำนวนที่ตรวจคัดกรองท้ังหมด 66 ต้น
ซึ่งอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยมาตรฐานการปนของต้น dura ตามคำแนะนำไม่ควรเกิน 5 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้
เพื่อยืนยันผลตรวจของชุดตรวจดีเอ็นเออย่างง่าย จึงได้นำดีเอ็นเอของต้นกล้าท่ีตรวจพบลักษณะกะลาแบบ dura ไป
ตรวจยืนยันผลด้วยเทคนิค Real-time PCR พบว่าให้ผลตรวจตรงกันท้ังสองวิธี ได้มีรายงานการตรวจการปนของต้น
ปาล์มน้ำมนั ชนิด dura และ pisifera ในแปลงปลกู และแปลงผลติ ตน้ กล้าในประเทศมาเลเซีย ตรวจพบการปนของต้น
dura และ pisifera ร้อยละ 9.2 และ 1.5 ตามลำดับ จากตัวอย่างทตี่ รวจท้ังหมด 10,224 ตัวอยา่ ง (Ooi et al, 2016)
การตรวจคดั กรองตน้ dura หลงั จากการตรวจคัดกรองหากพบต้น dura ก็สามารถคดั ออกได้ ซ่งึ จะทำให้ต้นกล้าปาล์ม
มันชุดท่ีผลิตขึ้นดังกล่าวมีคุณภาพที่ดีย่ิงขึ้น เป็นการยกระดับคุณภาพกระบวนการผลิตพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสม
tenera ให้สูงขึ้น เกษตรกรได้พันธ์ุปาล์มที่ได้มาตรฐานตรงตามพันธ์ุ มีความเชื่อม่ันในคุณภาพของต้นกล้า ส่งผลให้
ผลผลิตปาล์มนำ้ มันและนำ้ มนั ปาล์มสูงข้ึนดว้ ย

4. การนำผลงานวิจัยสูก่ ล่มุ เป้าหมายเพ่อื ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเกษตร
ได้มีการถ่ายทอดผลงานวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมายไปใช้ประโยชน์เพ่ือพัฒนาการเกษตร ประจำปีงบประมาณ

2565 เร่ือง ชดุ ตรวจดีเอ็นเอคดั กรองการปนของต้นกล้าและคัดเลือกตน้ พอ่ แม่พันธป์ุ าลม์ นำ้ มัน โดยการจดั อบรมเร่อื ง
วิธีการใช้ชดุ ตรวจดีเอ็นเอตรวจลักษณะกะลาปาลม์ นำ้ มนั ในระยะต้นกล้า ณ ห้องประชุม และห้องปฏบิ ตั ิการ ศนู ยว์ ิจัย
ปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี ตำบล ท่าอุแทอำเภอ กาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในวันที่ 11 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2565
มีผู้เข้าอบรมท้ังหมด 19 คน โดยมีรูปการอบรมภาคบรรยายเพ่ือให้ผู้เข้าอบรมได้เกิดความรแู้ ละความเข้าใจ และการ
อบรมภาคปฏิบัตเิ พ่ือให้ผู้เข้าร่วมการอบรมสามารถใชง้ านชุดตรวจสอบเองได้ โดยกิจกรรมภาคบรรยาย ประกอบด้วย

ยุทธศาสตรง์ านวจิ ยั ดา้ นเทคโนโลยชี ีวภาพและการอนรุ ักษพ์ นั ธกุ รรม 57

หลกั การทำงานของชุดตรวจดเี อ็นเอ วิธีการใชช้ ุดตรวจดีเอ็นเอ การสกัดดีเอ็นเอจากใบของต้นกล้าปาล์มนำ้ มัน วิธกี าร
เก็บรักษาชุดตรวจสอบ และกิจกรรมภาคปฏิบัติการ ประกอบด้วย การสาธิตการใช้ชุดตรวจดีเอ็นเอ ปฏิบัติการใช้ชุด
ตรวจดีเอ็นเอตรวจคัดกรองการปนของลักษณะกะลาดูราในแปลงเพาะกล้า และปฏิบัติการใช้ชุดตรวจดีเอ็นเอตรวจ
คดั เลอื กตน้ พ่อแม่พนั ธปุ์ าล์มน้ำมนั และมีการจดั แสดงโปสเตอร์ เรื่อง การพัฒนาชุดตรวจดีเอ็นเออย่างง่ายเพ่อื ใช้ตรวจ
ลักษณะกะละปาล์มนำ้ มันในระยะตน้ กล้า พรอ้ มท้ังแสดงตัวอยา่ งชดุ ตรวจท่ีให้ผลการตรวจสอบกะลาในลกั ษณะต่างๆ

การนำไปใชป้ ระโยชน์

1. หนว่ ยงานท่ีผลติ ตน้ กลา้ ปาลม์ น้ำมันท้ังภาครัฐ และภาคเอกชน สามารถนำชดุ ตรวจดีเอ็นเออย่างงา่ ยไปใช้
ตรวจต้นกล้าปาล์มน้ำมันชนิดลูกผสม tenera เพ่ือคัดกรองการปนของต้น dura ในแปลงเพาะกล้า และยกระดับ
คณุ ภาพกระบวนการผลติ พันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสม tenera ให้สูงขน้ึ ส่งผลให้เกษตรกรไดร้ ับต้นกลา้ ปาลม์ ลกู ผสมชนิด
tenera ที่ดีมีมาตรฐานตรงตามพันธุ์ และเพิ่มความเช่ือมั่นในคุณภาพของต้นกล้า และใช้ได้กับหน่วยงานที่มีเครื่องมือ
ระดบั พนื้ ฐานสามารถนำชดุ ตรวจดีเอน็ เอไปใช้ได้โดยมีข้นั ตอนการตรวจที่ไมย่ งุ่ ยาก

2. นักปรับปรงุ พันธ์ุปาล์มน้ำมันสามารถนำชุดตรวจสอบดีเอ็นเออย่างง่ายไปใช้ในข้ันตอนการปรับปรุงพันธ์ุ
ปาล์มน้ำมันโดยคัดเลือกต้นพ่อพันธุ์ท่ีมีลักษณะกะลาแบบ pisifera ได้ตั้งแต่ระยะต้นกล้า ทำให้ช่วยลดพื้นท่ีปลูก
ระยะเวลา แรงงาน และคา่ ใชจ้ ่ายในการดูแลรกั ษา

3. เป็นประโยชน์ในทางเศรษฐกิจของประเทศที่สามารถทดแทนการนำเข้าเคร่ืองมือและสารเคมีที่มีราคา
แพงจากตา่ งประเทศ

เอกสารอ้างองิ

กรมวิชาการเกษตร. 2547. เอกสารวชิ าการปาล์มน้ำมัน. โรงพมิ พด์ อกเบี้ย กรงุ เทพฯ. 188 หนา้
Ooi, L. Low, E. Abdullah, M. Nookiah, R. Sambanthamurthi, R. and Singh. R. 2016. Non-tenera

Contamination and the Economic Impact of SHELL Genetic Testing in the Malaysian
Independent Oil Palm Industry. Front. Plant Sci. 7:771.
Singh, R. E.T. Low, L.C. Ooi, M. Ong-Abdullah, N.C. Ting, J. Nagappan, R. Nookiah, M.D. Amiruddin, R.
Rosli, M.A. Manaf, K.L. Chan, M.A. Halim, N. Halim, N. Azizi, N. Lakey, S.W. Smith, M.A.
Budiman, M. Hogan, B. Bacher, A.V. Brunt, C. Wang, J.M. Ordway, R. Sambanthamurthi
and R.A. Martienssen. 2013. The oil palm SHELL gene control oil yield and encodes a
homologue of SEEDSTICK. Nature 500 (7462): 340 – 344.

ยทุ ธศาสตรง์ านวจิ ยั ด้านเทคโนโลยชี ีวภาพและการอนรุ กั ษ์พนั ธุกรรม 58

การเพิ่มศักยภาพการผลิตเห็ดขอนขาวสายพนั ธ์ลุ กู ผสม-1 ของกรมวิชาการเกษตร
Potential Production Enhancement of Lentinus squarrosulus Hybrid-1

of the Department of Agriculture

รชั ฎาภรณ์ ทองเหม1 จิตรา กติ ติโมรากลุ 1 อนสุ รณ์ วัฒนกลุ 1 ภรณี สวา่ งศรี1
วราพร ไชยมา1 และ รงั สมิ นั ต์ุ ธีรวงศภ์ ิญโญ1

บทคัดย่อ

เห็ดขอนขาวสายพันธ์ุลูกผสม-1 เกิดจากการปรับปรุงพันธ์ุด้วยวิธีการ Di-mon mating ซึ่งมีลักษณะดี คือ
เสน้ ใยเจริญเร็ว ใหผ้ ลผลติ สูง ออกดอกเร็วและพรอ้ มกัน อย่างไรก็ตามเหด็ ขอนขาวสายพันธ์ลุ ูกผสม-1 ท่พี ัฒนาได้จาก
การปรบั ปรงุ พนั ธ์ุ จำเป็นต้องมคี วามสามารถในการปรับตวั ให้เหมาะสมกับสภาพแวดลอ้ มและสภาพภมู ิอากาศ จึงตอ้ ง
มีการขยายผลและประเมินการยอมรับของสายพันธุ์ลูกผสม-1 ให้แก่เกษตรกรผู้เพาะเห็ดในพ้ืนที่อ่ืนๆ โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อสร้างการรับร้แู ละเครือข่ายการใช้สายพันธุเ์ ห็ดของกรมวิชาการเกษตร สนับสนนุ ให้เกษตรกรมีทางเลือกในการใช้สาย
พันธุ์เห็ดขอนขาวท่ีมีศกั ยภาพ กลุ่มวิจัยและพัฒนาเห็ด จึงได้ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีเห็ดขอนขาวลูกผสม-1 ของ
กรมวิชาการเกษตรโดยการอบรมให้แก่เกษตรกร จำนวน 67 ราย ผลการประเมินความพึงพอใจจากแบบสอบถาม
พบว่าเกษตรกรมีความพึงพอใจด้านการยอมรับและการนำเทคโนโลยีไปใช้ คิดเป็นร้อยละ 89.07 นอกจากน้ียัง
คัดเลือกเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายเพ่ือเป็นฟาร์มต้นแบบสำหรับสร้างเครือข่ายขยายผลสายพันธุ์เห็ดขอนขาวลูกผสม-1
จำนวน 5 ราย ผลการทดสอบประสิทธิภาพการให้ผลผลิตของเห็ดขอนขาวลูกผสม-1 เปรียบเทียบกับเห็ดขอนขาว-3
ซ่ึงเป็นสายพันธุ์เดิมและเห็ดสายพันธุ์ทางการค้าในฟาร์มต้นแบบ 5 ราย ในพ้ืนท่ี อ.เมือง และ อ.กุดบาก จ.สกลนคร
เพาะเลี้ยง 1 รอบการผลิตเก็บผลผลิตดอกเห็ดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่พฤษภาคม-กรกฎาคม 2565 พบว่าเห็ด
ขอนขาวลูกผสม-1 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 119.36 กรัม/ถุง สูงกว่าเห็ดขอนขาว-3 (สายพันธ์ุเดิม) และเห็ดขอนขาวสาย
พันธทุ์ างการค้าซ่ึงให้ผลผลิต 112.82 และ 115.45 กรัม/ถุง ผลการสมั ภาษณ์ฟารม์ ต้นแบบพบว่าส่วนใหญ่มีความพึง
พอใจการใช้สายพันธ์ุเห็ดขอนขาวลูกผสม-1 มากที่สุด เนื่องจากผลผลิตสูง เห็ดออกดอกพร้อมกัน สีดอกเข้ม มีเกล็ด
บนหมวกดอกชัดเจน ซึ่งมีลักษณะเป็นไปตามความต้องการของตลาดและมคี วามทนต่อแมลงศัตรเู ห็ดมากกว่าเห็ดขอน
ขาวสายพันธ์ทุ างการค้า ผลการประเมนิ ความพึงพอใจของกลมุ่ เป้าหมายดา้ นการยอมรบั และการนำสายพนั ธุ์เห็ดขอน
ขาวลกู ผสม-1 ไปใชป้ ระโยชน์ พบว่ากลมุ่ เป้าหมายมคี วามสนใจที่จะนำสายพนั ธุ์ใหมไ่ ปใช้ คิดเปน็ รอ้ ยละ 96.67 ดังนนั้
เหด็ ขอนขาวลูกผสม-1 เป็นสายพันธุ์ทางเลือกที่ดีให้กับเกษตรกร สามารถเพิ่มรายได้ 783-1,308 บาท/โรงเรือน/รอบ
การผลติ เมื่อเปรียบเทียบกบั เหด็ ขอนขาวทางการค้าและเห็ดขอนขาวสายพันธเ์ุ ดิม

1 สำนกั วจิ ยั พัฒนาเทคโนโลยชี ีวภาพ กรมวิชาการเกษตร 59
ยุทธศาสตรง์ านวจิ ยั ดา้ นเทคโนโลยชี วี ภาพและการอนุรักษ์พนั ธุกรรม

คำนำ

เห็ดขอนขาว เป็นเห็ดเศรษฐกิจชนิดหน่ึงของไทยท่ีมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง เป็นท่ีนิยมของผู้บริโภค ทุกภาค
ของประเทศไทยโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนอื และภาคเหนือ มีการพัฒนาการเพาะเห็ดขอนขาวเพ่ือการค้าโดย
จำหน่ายดอกสดหรือแปรรูปเป็นขนมอบกรอบ มีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับเห็ดชนิดอ่ืนๆที่สามารถเพาะได้ใน
ถงุ พลาสติก ด้วยเปน็ เห็ดท่ีเพาะยากจงึ ขายได้ราคาดี เฉลีย่ กิโลกรัมละ 80–120 บาท เหด็ ขอนขาวแต่ละชนิดมีลักษณะ
ประจำพันธ์ุที่แตกต่างกัน แต่การผลิตเพ่ือการค้าสายพันธ์ุที่ใช้โดยท่ัวไปมีความแปรปรวนทางพันธุกรรมค่อนข้างสูง
ส่งผลให้ผลผลิตที่ได้ไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรต้องเปลี่ยนสายพันธุใหม่ทุก 2-3 ปี การปรับปรุงพันธ์ุเห็ดขอนขาวจึงมี
ความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เพ่ือให้ได้สายพันธุ์ใหม่ท่ีมีคุณภาพดีกวา่ สายพันธ์ุเดิม เพิ่มทางเลือกจากความหลากหลาย
ของสายพันธ์ุ สนบั สนนุ ให้บรกิ ารแก่เกษตรกรผู้เพาะเห็ดและตอบสนองตอ่ ความตอ้ งการของผ้บู ริโภค

โดยในปี 2561 กรมวิชาการเกษตร ได้เร่ิมทำการปรับปรุงพันธุ์ “เห็ดขอนขาวสายพันธล์ุ ูกผสม-1” ด้วยวธิ ีการ
ผสมพันธุ์ข้ามระหว่างเส้นใยนิวเคลียสคู่ของเห็ดขอนขาวสายพันธ์ุ L3 (สายพันธ์ุแม่) ซ่ึงเป็นสายพันธ์ุเดิมของกรม
วิชาการเกษตรกับเส้นใยนิวเคลียสเดี่ยวของเห็ดขอนขาว L28 (สายพนั ธุ์พ่อ) ซ่งึ มีลกั ษณะดี ดังน้ี 1) ให้ผลผลิตสูง 2) ออก
ดอกเร็วและพร้อมกัน 3) เส้นใยเจริญเร็ว ซ่ึงจะช่วยร่นระยะเวลาการบ่มเส้นใยในถุงอาหาร โดยสามารถสร้างคู่ผสม
จำนวน 20 คู่ผสม ท่ีสามารถเข้าคู่กันได้ (รัชฎาภรณ์และสุวลักษณ์, 2561) เม่ือนำไปเพาะทดสอบประสิทธิภาพการ
ให้ผลผลิตและคุณภาพในฟาร์มเกษตรกร 2 แห่งในจังหวัดบุรีรัมย์ พบวา่ เกษตรกรมีความพึงพอใจและยอมรับการใช้เห็ด
ขอนขาวสายพันธุ์ลูกผสม-1 มากท่ีสุด โดยให้ผลผลิตที่มีความสม่ำเสมอกว่าสายพันธุ์เดิม (รชั ฎาภรณ์และคณะ, 2563)
อย่างไรก็ตามเห็ดขอนขาวสายพันธ์ุลูกผสม-1 ท่ีพัฒนาได้จากการปรับปรุงพันธ์ุ จำเป็นต้องมีความสามารถในการ
ปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ จึงต้องมีการขยายผลและประเมินการยอมรับของสายพันธ์ุ
ลูกผสม-1 ให้แก่เกษตรกรผู้เพาะเห็ดในพื้นท่ีอ่ืน เพื่อสร้างการรับรู้และเครือข่ายการใช้สายพันธุ์เห็ดของกรมวิชาการเกษตร
สนับสนุนให้เกษตรกรมีทางเลือกในการใช้สายพันธ์ุเห็ดขอนขาวที่มีศักยภาพ เกษตรกรมีรายได้เพ่ิมจากการเพาะเห็ด
ขอนขาวสายพันธุใ์ หม่ และสร้างความมน่ั คงในอาชีพ

วธิ ีการ

1. ถ่ายทอดเทคโนโลยีเห็ดขอนขาวลูกผสม-1 ให้แก่เกษตรกรผู้เพาะเห็ดขอนขาว เกษตรกรผู้เพาะชนิดอื่น และ
เกษตรกรรายใหม่ จำนวน 67 ราย ผ่านการอบรม หลักสูตรการเพาะเห็ดเศรษฐกิจแบบครบวงจร โดยร่วมจัดกับศูนย์
ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเน่ืองมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร ในหัวข้อเรื่อง “การเพิ่มศักยภาพการผลิตเห็ด
ขอนขาวสายพันธุ์ลูกผสม-1 ของกรมวิชาการเกษตร” ประเมินความรู้และความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมอบรมจาก
ข้อสอบและแบบสอบถาม และคัดเลอื กกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเป็นฟาร์มต้นแบบสำหรับสร้างเครือข่ายขยายผลสายพันธุ์
เหด็ ขอนขาวลูกผสม-1

2. ทดสอบประสิทธิภาพการให้ผลผลติ ของเห็ดขอนขาวลูกผสม-1 ในฟาร์มต้นแบบ 5 ราย เปรยี บเทยี บกับเห็ด
ขอนขาว-3 ซ่ึงเป็นสายพันธเ์ุ ดิมของกรมวิชาการเกษตรและเห็ดขอนขาวสายพันธุท์ างการคา้ เพาะทดสอบ 1 รอบการ
ผลิต เก็บผลผลิตหลังเปิดดอกเป็นระยะเวลา 3 เดือน บันทึกผลผลิตเป็นแบบน้ำหนักสด (กรัม/ถุง) ลักษณะทาง
สณั ฐานวทิ ยาต่าง ๆ ไดแ้ ก่ รปู รา่ งของดอกเหด็ และสีดอกเห็ด

ยุทธศาสตรง์ านวจิ ยั ด้านเทคโนโลยชี ีวภาพและการอนรุ กั ษพ์ นั ธกุ รรม 60

3. ประเมินผลความพึงพอใจของเห็ดขอนขาวลูกผสม-1 โดยใช้ 1) แบบประเมินการยอมรับเทคโนโลยีและ
ความพึงพอใจของผูเ้ ขา้ รับการอบรม และ 2) แบบประเมินการยอมรบั เทคโนโลยีของฟาร์มตน้ แบบ

ผลและวจิ ารณ์

1. ถ่ายทอดเทคโนโลยีเหด็ ขอนขาวลูกผสม-1 และคัดเลือกฟาร์มต้นแบบ
ผลดำเนินการถา่ ยทอดเทคโนโลยีเห็ดขอนขาวลกู ผสม-1 ผา่ นการอบรม หลักสตู รการเพาะเห็ดเศรษฐกจิ แบบ

ครบวงจร โดยร่วมจัดกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเน่ืองมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร ในหัวข้อเรื่อง
“การเพ่ิมศักยภาพการผลิตเห็ดขอนขาวสายพันธ์ุลูกผสม-1 ของกรมวิชาการเกษตร” ระหวา่ งวันที่ 23-25 กุมภาพันธ์
2565 โดยมีรูปแบบกิจกรรม บรรยายแนะนำเห็ดขอนขาวสายพันธ์ุลูกผสมของกรมวิชาการเกษตรและวิธีการเพาะ
การจดั แสดงลกั ษณะประจำพันธ์ุของเห็ดขอนขาวลูกผสมในรูปแบบโปสเตอร์ พร้อมทั้งแสดงตัวอย่างเชือ้ เหด็ บรสิ ุทธ์ใิ น
อาหารวุน้ พี ดี เอ เช้ือเห็ดขยายบนเมล็ดข้าวฟ่าง และเชอื้ เพาะในถงุ อาหารเพาะขี้เลือ่ ย มผี ู้เข้าอบรมทั้งหมด 67 ราย
(ภาพที่ 1) ผลการประเมินความรจู้ ากการทำข้อสอบของผู้เข้าร่วมอบรม เร่ืองการเพิ่มศักยภาพการผลิตเห็ดขอนขาว
สายพันธ์ุลูกผสม-1 ของกรมวิชาการเกษตร พบว่าก่อนการอบรมผู้เข้าอบรมมีคะแนนเฉล่ีย คิดเป็นร้อยละ 69.05
และหลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 86.11 คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเป็นฟาร์มต้นแบบสำหรับสร้าง
เครือข่ายขยายผลสายพันธุ์เห็ดขอนขาวลูกผสม-1 จำนวน 5 ราย ได้แก่ เกษตรกรในพื้นท่ี อ.เมือง และ อ.กุดบาก
จ.สกลนคร จำนวน 3 ราย วิสาหกิจชุมชนธุรกิจเกษตรครบวงจร (IAC) อ.กุดบาก จ.สกลนคร จำนวน 1 ราย และ
เจา้ หน้าท่ีผปู้ ฏิบตั ิงาน กิจกรรมเพาะเห็ด ศนู ย์ศึกษาการพัฒนาภพู านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สกลนคร จำนวน
1 ราย

ภาพที่ 1 ถ่ายทอดเทคโนโลยีเห็ดขอนขาวลูกผสม-1 เรื่องการเพิ่มศักยภาพการผลิตเห็ดขอนขาวสายพันธ์ุ
ลกู ผสม-1 ของกรมวชิ าการเกษตร ผ่านการอบรมหลักสูตรการเพาะเห็ดเศรษฐกิจแบบครบวงจร

2. ทดสอบประสิทธภิ าพการให้ผลผลติ ของเหด็ ขอนขาวลกู ผสม-1 ในฟารม์ ตน้ แบบ 5 ราย
ผลการทดสอบประสิทธิภาพการให้ผลผลติ ของเห็ดขอนขาวลกู ผสม-1 เปรียบเทียบกับเห็ดขอนขาว-3 ซึ่งเป็น

สายพันธุ์เดิมของกรมวิชาการเกษตรและเห็ดขอนขาวสายพันธุ์ทางการค้าในฟาร์มต้นแบบ 5 ราย (ภาพที่ 2)
เพาะเล้ียง 1 รอบการผลิต ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2565 เก็บผลผลิตเป็นระยะเวลา 3 เดือนหลังเปิดดอก
เปรียบเทยี บผลผลิตระหว่างสายพันธล์ุ ูกผสม-1 เห็ดขอนขาว-3 และเห็ดขอนขาวสายพันธ์ุการค้า คดิ เป็นน้ำหนักเฉลี่ย
พบว่า เห็ดขอนขาวลูกผสม-1 ให้ผลผลิตอยู่ระหว่าง 101.33 -160 กรัม/ถุง เห็ดขอนขาว-3 ให้ผลผลิต 77.76 –

ยทุ ธศาสตรง์ านวจิ ยั ดา้ นเทคโนโลยีชวี ภาพและการอนุรกั ษพ์ นั ธกุ รรม 61

156.67 กรัม/ถุง และเห็ดขอนขาวสายพันธุ์การค้าให้ผลผลิต 67.00 – 180 กรัม/ถุง (ตารางท่ี 1) เมื่อเปรียบเปรียบ
ผลผลิตเฉลี่ยของทุกฟาร์มต้นแบบ พบว่าเห็ดขอนขาวลูกผสม-1 ให้ผลผลิตมากท่ีสุด 119.36 กรัม/ถุง รองลงมา คือ
เหด็ ขอนขาวสายพนั ธ์ทุ างการคา้ 115.45.81 กรัม/ถงุ และเห็ดขอนขาว-3 112.82 กรัม/ถุง ตามลำดบั

จากผลการศึกษาพบว่า เห็ดขอนขาวลูกผสม-1 ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงกว่าเห็ดขอนขาว-3 (สายพันธ์ุเดิม) 6.54
กรัม/ถุง และสูงกว่าสายพันธ์ุทางการค้าเฉล่ีย 3.92 กรัม/ถุง โดยท่ัวไปเกษตรกรท่ีเพาะเห็ดขอนขาวเพ่ือผลิตดอก
จำหนา่ ยจะเพาะเห็ดอย่างน้อย 2,000 กอ้ น/โรงเรอื น/รอบการผลิต ดังน้นั หากเกษตรกรใช้สายพันธุ์เห็ดลูกผสม-1 จะ
สามารถเพ่ิมผลผลิตได้ 13.08 และ 7.83 กิโลกรัม/โรงเรือน/รอบการผลิต โดยราคาจำหน่ายเห็ดขอนขาว 100 บาท/
กิโลกรัม สง่ ผลให้เกษตรกรมรี ายไดเ้ พิม่ ข้ึน 1,308 และ 783 บาท/โรงเรือน/รอบการผลิต เม่ือเปรียบเทียบกับเห็ดขอน
ขาวสายพันธ์ุเดิม และสายพนั ธุ์ทางการค้า ตามลำดบั

ภาพท่ี 2 ฟารม์ ตน้ แบบทดสอบประสทิ ธิภาพการให้ผลผลติ ของเห็ดขอนขาวลกู ผสม-1 จำนวน 5 ราย

ยทุ ธศาสตรง์ านวจิ ยั ด้านเทคโนโลยีชวี ภาพและการอนุรกั ษ์พนั ธุกรรม 62

ตารางที่ 1 ผลผลิตเห็ดขอนขาวแตล่ ะสายพันธุ์ในฟารม์ ต้นแบบ 5 ราย เกบ็ ผลผลิตระหว่างเดือนพฤษภาคม
ถึงกรกฎาคม 2565

ฟาร์มตน้ แบบ เหด็ ขอนขาว ผลผลิตเฉล่ยี (กรัม/ถุง) เห็ดขอนขาวสายพนั ธ์ุ

รายท่ี 1 ลกู ผสม-1 เหด็ ขอนขาว-3 ทางการคา้
รายท่ี 2
รายท่ี 3 105.83 (สายพันธเ์ุ ดิม) 67.00
รายที่ 4 160.00 180.00
รายท่ี 5 101.33 115.67 142.00
107.00 156.67 82.00
เฉลีย่ 122.65 79.67 106.23
119.36 77.76 115.45
134.35
112.82

3. ผลประเมนิ ผลความพึงพอใจของเห็ดขอนขาวลูกผสม-1
ผลการประเมินการยอมรับเทคโนโลยีและความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม เรื่อง การเพิ่มศักยภาพ

การผลิตเห็ดขอนขาวสายพันธ์ุลูกผสม-1 ของกรมวิชาการเกษตร จำนวน 67 คน ประกอบด้วย 4 หัวข้อหลัก
1.) ด้านเนื้อหาผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจ คิดเป็นร้อยละ 93.48 2.) ด้านการนำเสนอข้อมูล ผู้เข้าอบรมมีความ
พึงพอใจ คิดเป็นร้อยละ 92.98 3.) ประโยชน์ท่ีได้รับ ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจ คิดเป็นร้อยละ 91.57 และ
4.) ด้านการยอมรบั และการนำเทคโนโลยีไปใช้ ผู้เขา้ อบรมมีความพงึ พอใจ คิดเปน็ ร้อยละ 89.07

ผลการแบบประเมินการยอมรับเทคโนโลยีการนำผลงานวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมายเพื่อใช้ประโยชน์ในการ
พัฒนาการเกษตรของฟาร์มต้นแบบ จำนวน 5 ราย ประกอบด้วย 2 หัวข้อหลัก ประกอบด้วย 1) ความพึงพอใจด้าน
ประโยชน์ที่ได้รับ ได้แก่ 1.1) เน้ือหามีสาระและประโยชน์ สามารถนำไปประยุกต์ในการใช้งาน คิดเป็นร้อยละ 96.67
และ 1.2) สิ่งท่ีเกษตรกรได้รับตรงตามความคาดหวังของเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 80.00 2.) ความพึงพอใจด้านการ
ยอมรบั และการนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ 2.1) ลดต้นทุนการผลิตได้ คิดเป็นร้อยละ 86.67 2.2) เพ่ิมผลผลิตได้
คิดเป็นรอ้ ยละ 93.33 2.3) ได้ผลผลิตที่มีคณุ ภาพมากข้ึน คิดเป็นรอ้ ยละ 86.67 2.4) มีความหลากหลายของสายพันธุ์
คิดเปน็ ร้อยละ 90.00 2.5) สามารถนำความร้ไู ปเผยแพร่และถา่ ยทอดตอ่ ได้ คิดเป็นร้อยละ 93.33 และ 2.6) เกษตรกร
มีความสนใจทีจ่ ะนำสายพันธ์ใุ หม่ไปใช้ คิดเปน็ รอ้ ยละ 96.67

ผลการสัมภาษณ์เกษตรกรต้นแบบ ไดแ้ ก่ เกษตรกร วสิ าหกิจชุมชนและเจา้ หน้าทผ่ี ู้ปฏบิ ัติงาน ศูนย์ศึกษาการ
พัฒนาภูพานฯ จังหวัดสกลนคร 5 ราย พบว่า ทุกรายยอมรับการใช้เห็ดขอนขาวลูกผสม-1 และสายพันธ์ุเดิมในการ
เพาะเพื่อผลิตดอกจำหน่าย แต่ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจเห็ดขอนขาวลูกผสม-1 มากท่ีสุด เน่ืองจากเห็ดจะออกดอก
พร้อมกันและให้ผลผลิตดี ข้อดีของการออกดอกพร้อมกันคือ ทำให้ลดเวลาในการดูแลและช่วยให้ประหยัดแรงงานใน
การเก็บผลผลิต ลักษณะดอกเห็ดสีดอกเข้ม มีเกล็ดบนหมวกดอกชัดเจนซ่ึงมีลักษณะเป็นไปตามความต้องการของ
ตลาด (ภาพที่ 3) นอกจากน้ียังพบว่าเห็ดขอนขาวลูกผสม-1 ทนต่อแมลงศัตรูเห็ดมากกว่าเห็ดขอนขาวสายพันธ์ุทาง
การค้า สำหรับสายพันธ์ุเห็ดขอนขาวท่ีเกษตรกรพึงพอใจ รองลงมาจากเห็ดขอนขาวลูกผสม-1 ได้แก่ เห็ดขอนขาว-3
ซึ่งเป็นสายพันธเุ์ ดมิ เน่อื งจากเหด็ สายพนั ธน์ุ ้ีมลี กั ษณะการออกดอกแบบทยอยออกดอกซึ่งขอ้ ดีของการทยอยออกดอก
นั้นทำใหเ้ กษตรกรมรี ายได้หมนุ เวียนจากการเก็บผลผลิตไปจำหนา่ ยเกอื บทกุ วัน

ยุทธศาสตรง์ านวจิ ยั ด้านเทคโนโลยชี ีวภาพและการอนุรักษพ์ นั ธุกรรม 63

ภาพที่ 3 เห็ดขอนขาวสายพันธ์ุต่างๆ A) เห็ดขอนขาวลูกผสม-1 B) เห็ดขอนขาว-3 (สายพันธุ์เดิม) และ C) เห็ดขอน
ขาวสายพนั ธ์ุทางการคา้

สรุปผลการทดลอง

1. ถ่ายทอดเทคโนโลยีเห็ดขอนขาวลูกผสม-1 ให้แก่เกษตรกรผู้เพาะเห็ดขอนขาว เกษตรกรผู้เพาะชนิดอ่ืน และ
เกษตรกรรายใหม่ จำนวน 67 ราย คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 5 ราย เพื่อเป็นฟาร์มต้นแบบสำหรับสร้างเครือข่าย
ขยายผลสายพันธุ์เห็ดขอนขาวลูกผสม-1

2. ผลทดสอบประสิทธิภาพการให้ผลผลิตของเห็ดขอนขาวลูกผสมในฟาร์มต้นแบบ 5 ราย พบว่า เห็ดขอน
ขาวลูกผสม-1 ให้ผลผลิตเฉลี่ยมากที่สุด 119.36 กรัม/ถุง รองลงมาคือ เห็ดขอนขาวสายพันธุ์ทางการค้า 115.45.81
กรมั /ถุง และเหด็ ขอนขาว-3 112.82 กรมั /ถงุ ตามลำดบั

3. ผลประเมนิ ผลความพึงพอใจของเห็ดขอนขาวลูกผสม-1 ด้านการยอมรับและการนำเทคโนโลยีไปใช้ ผ้เู ข้า
อบรมมคี วามพงึ พอใจ คิดเป็นร้อยละ 89.07

4. ผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายด้านการยอมรับและการนำสายพนั ธ์เุ ห็ดขอนขาวลูกผสม-1
ไปใช้ประโยชน์ พบว่ากลุ่มเปา้ หมายมีความสนใจที่จะนำสายพนั ธุ์ใหม่ไปใช้ คดิ เป็นร้อยละ 96.67

การนำไปใชป้ ระโยชน์

1. ขยายผลเห็ดขอนขาวลูกผสมของกรมวิชาการเกษตรไปยังเกษตรกรในพื้นท่ีอื่นๆ โดยบูรณาการร่วมกับ
หน่วยงานที่อยู่ในพื้นท่ี ได้แก่ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตต่างๆ ศูนย์ศึกษาและศูนย์เครือข่ายโครงการอัน
เนอ่ื งมาจากพระราชดำริ โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนาเหด็ สำนักวิจยั พัฒนาเทคโนโลยชี ีวภาพจะสนบั สนุนแม่เช้ือเห็ดขอน
ขาวสายพันธ์ุลูกผสมบนอาหารเล้ียงเช้ือ พี ดี เอ หรือเชื้อเห็ดขยายบนเมล็ดข้าวฟ่างให้แก่หน่วยงานดังกล่าว เพื่อให้
หน่วยงานทีอ่ ย่ใู นพน้ื ทใี่ ชเ้ ปน็ เชือ้ เพาะในถุงอาหารเพาะขเี้ ลือ่ ยสนับสนนุ แก่เกษตรกรในสว่ นภมู ิภาคตอ่ ไป

2. กรมวิชาการเกษตรใช้เป็นสายพันธุ์ที่ให้บริการแก่ เกษตรกร ผู้ประกอบการหรือผู้ที่สนใจ เพื่อใช้เป็น
ทางเลอื กในการเพาะสรา้ งรายได้หรอื ผลติ เป็นเชอื้ เห็ดขยายจำหนา่ ยตอ่ ไป

3. นักวิจัยจากหน่วยงานวิจัยและสถาบันต่างๆ นำสายพันธุ์เห็ดขอนขาวลูกผสมที่ได้ไปต่อยอด เพ่ือสร้าง
นวัตกรรมอน่ื ๆทห่ี น่วยงานนน้ั ๆมศี กั ยภาพในการดำเนินงาน

ยทุ ธศาสตรง์ านวจิ ยั ด้านเทคโนโลยีชวี ภาพและการอนุรักษพ์ นั ธุกรรม 64

คำขอบคุณ

ขอขอบคุณ นายประหยัด ยุพิน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสกลนคร นางสาวศิริรัตน์
เถ่ือนสมบัติ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสกลนคร นางสาวประพิศ ฤาแก้วมา
เจ้าหน้าท่ีผู้ปฏิบัติงานกิจกรรมเพาะเห็ด ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร
นางสาวสุภาพ ก้องเวหา และนางสาวจีรนันท์ สรหงส์ วิสาหกจิ ชุมชนธุรกจิ เกษตรครบวงจร (IAC) นางณิชนนั ทน์ อุ้ยสีแคน
นางแกว้ มณี คำชมพู นางประภาศรี ไชยเทพ และนางวรรทนา ศรีเภาร์ เกษตรกรท่ีเข้ารว่ มโครงการการนำผลงานวจิ ัย
สู่กลุ่มเป้าหมายเพื่อใชป้ ระโยชน์ในการพฒั นาการเกษตร ประจำปงี บประมาณ 2565

เอกสารอ้างอิง

รัชฎาภรณ์ ทองเหม และ สุวลักษณ์ ชัยชูโชติ. 2561. การปรับปรุงพันธ์ุเห็ดขอนขาวลูกผสมสายพันธ์ุใหม่. รายงาน
วจิ ยั ฉบับสมบูรณโ์ ครงการ การเพิม่ ประสทิ ธภิ าพ การผลิตเหด็ เศรษฐกจิ . กรมวิชาการเกษตร. กรงุ เทพ.

รัชฎาภรณ์ ทองเหม, สวุ ลักษณ์ ชัยชูโชติ และจิตรา กิตตโิ มรากุล. 2563. ศึกษาประสิทธภิ าพการให้ผลผลิต และ
คุณภาพของเห็ดขอนขาวลูกผสมในฟาร์มเกษตรกร. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการการเพ่ิม
ประสทิ ธิภาพการผลติ เห็ดเศรษฐกิจ. กรมวิชาการเกษตร. กรงุ เทพ.

ยทุ ธศาสตร์งานวจิ ยั ดา้ นเทคโนโลยชี ีวภาพและการอนรุ กั ษพ์ นั ธกุ รรม 65

การใช้ประโยชนเ์ หด็ เปา๋ ฮื้อสายพันธดุ์ ี กรมวิชาการเกษตร
The Utilization of Abalone Mushroom Highbred Strain from Department of Agriculture

อนุสรณ์ วัฒนกุล1

บทคัดยอ่

การใช้ประโยชน์เห็ดเป๋าฮื้อสายพันธุด์ ี กรมวิชาการเกษตร มีวัตถุประสงค์เพ่ือไปขยายผลการใช้สายพันธ์ุเห็ด
ของกรมวชิ าการเกษตร ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มข้ึนจากการผลิตเห็ดโดยใช้สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงหรอื สายพันธท์ุ ี่
ตรงตามความตอ้ งการของผู้บริโภค ส่งผลให้คณุ ภาพชีวิตดขี ้นึ มีความม่ันคงในอาชีพ โดยดำเนินการคัดเลือกฟารม์ เห็ด
เพือ่ ทดสอบสายพนั ธเ์ุ หด็ จำนวน 12 ราย ผลติ แม่เชื้อเหด็ เป๋าฮ้ือบริสุทธิ์ จำนวน 150 ขวด และผลิตเชอื้ ขยาย (spawn)
จำนวน 350 ขวด ให้แก่เกษตรกรท่ีเข้าร่วมโครงการจัดทำเอกสารเผยแพร่ เรื่องเห็ดเป๋าฮื้อ จำนวน 1,500 เล่ม หลังเพาะ
ทดสอบผลผลิตในฟาร์มเกษตรกร 12 ราย ได้ทำแบบประเมินความพึงพอใจและการยอมรับเทคโนโลยี พบว่ามีผู้
ประสงค์จะใช้สายพันธุ์เห็ดเป๋าฮื้อของกรมวิชาการเกษตรต่อไปในอนาคต คิดเป็น 91.67 เปอร์เซ็นต์ โดยมีทั้งผู้ท่ีมี
ความประสงค์จะเพาะเห็ดเป๋าฮื้อเพียงสายพันธุ์เดียว และผู้ที่มีความประสงค์จะเพาะเห็ดเป๋าฮ้ือมากกว่า 1 สายพันธุ์
พรอ้ มกัน เน่อื งดว้ ยระยะเวลาการเกิดดอก การพกั ตวั ของแต่ละสายพันธุจ์ ะมีความแตกตา่ งกัน มีการเหลอ่ื มเวลากันใน
การใหผ้ ลผลติ ทำให้สามารถเกบ็ ผลผลิตได้ทกุ วนั ก่อใหเ้ กดิ รายได้อย่างสม่ำเสมอ

คำนำ

เห็ดเป๋าฮื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ Pleurotus cystidiosus O.K. Mill. ชื่อสามัญ เป๋าฮื้อ หอยโข่งทะเล หรือ
Abalone mushroom ช่ื อ พ้ อ ง Pleurotus abalonus Y.H. Han, K.M. Chen & S. Cheng, P. cystidiosus
subsp. abalonus (Y.H. Han, K.M. Chen & S. Cheng) O. Hilber ex O. Hilber จัดอยู่ในวงศ์ Pleurotaceae
เห็ดเป๋าฮ้ือมคี วามใกลช้ ิดกับเห็ดนางรมหรือเห็ดสกลุ Pleurotus จึงมลี ักษณะภายนอกคล้ายคลึงกนั แตกต่างกนั ตรงสี
และความแน่นของเนื้อดอก เห็ดเป๋าฮือ้ จึงถูกจัดเป็นสปีชีสใ์ หม่ของเห็ดสกุลนางรม (Pleurotus sp.) ที่มีการสร้างสปอร์
แบบไม่ใช้เพศ (asexual spore) ในสภาพธรรมชาติขึ้นอยู่บนต้นไม้หรือก่ิงไม้ท่ีตายแล้ว เป็นเห็ดท่ีเจริญได้ดีในสภาพ
อากาศคอ่ นข้างร้อน หรือมอี ณุ หภมู สิ งู

ประเทศไทยมีการเพาะเห็ดเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม มีเห็ดหลากหลายชนิดออกมาให้ประชาชนได้
บริโภค สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก ในกระบวนการผลิตเห็ดปัจจัยทางด้านเช้ือพันธุ์เป็นปัจจัยที่สำคัญ
ปัจจัยหน่ึงท่ีจะนำไปสกู่ ารผลิตเห็ดอย่างมปี ระสทิ ธภิ าพ ไดผ้ ลผลติ เพิ่มขึ้น มีคุณภาพตามท่ตี ลาดและผู้บริโภคต้องการ
เกษตรกร ผู้เพาะเห็ดยังมีความสนใจสายพันธ์ุเห็ดท่ีนอกจากให้ผลผลิตสูงแล้ว ต้องมีลักษณะหลากหลายมากขึ้น
เพื่อให้เกิดส่วนแบ่งทางการตลาด สายพันธ์ุเห็ดเป๋าฮ้ือจากกรมวิชาการเกษตรเริ่มต้นจาก พรรณีและคณะ (2543) ได้
คัดเลือกสายพันธุ์เห็ดเป๋าฮ้ือจากศูนย์รวบรวมเชื้อพันธุ์เห็ดแห่งประเทศไทย ได้ 3 สายพันธุ์ คือ No.10 No.11 และ

1 สำนกั วิจัยพฒั นาเทคโนโลยชี ีวภาพ กรมวิชาการเกษตร 66
ยทุ ธศาสตรง์ านวจิ ยั ด้านเทคโนโลยีชีวภาพและการอนุรกั ษพ์ นั ธุกรรม

No.12 ที่ให้ผลผลิตเฉล่ียสูงกวา่ สายพันธ์ุอื่นๆ และใช้ทั้ง 3 สายพันธ์ุน้ีเป็นสายพันธ์แุ นะนำแก่เกษตรกรผู้เพาะเหด็ ซ่ึง
ในปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรให้บริการเชื้อพันธ์ุเห็ดเป๋าฮ้ือ จำนวน 3 สายพันธ์ุ คือ เห็ดเป๋าฮื้อ-1 เห็ดเป๋าฮื้อ-2 และ
เห็ดเป๋าฮ้ือ-3 ซึ่งเป็นสายพันธ์ุเห็ดเป๋าฮื้อที่มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ แต่ปัจจุบันสายพันธุ์เห็ดเป๋าฮ้ือที่เพาะใน
ฟาร์มเกษตรกรมีความหลากหลายมากขึ้น อาจเกิดจากการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม และยังพบว่าเห็ดเป๋าฮ้ือ
สามารถเกิดดอกในสภาพธรรมชาติของประเทศไทยได้ ซง่ึ ในปี 2560-2563 กรมวิชาการเกษตรไดท้ ำการทดลองเพาะ
เห็ดเปา๋ ฮ้ือที่พบในธรรมชาติทง้ั 2 สายพันธุ์ โดยเพาะทดสอบเปรียบเทียบกบั เห็ดเป๋าฮอื้ ที่เก็บรวบรวมไวท้ ี่ศนู ยร์ วบรวม
เชื้อพันธุ์เห็ดแห่งประเทศไทย 15 สายพันธุ์ รวมท้ังสิ้น 17 สายพันธุ์ โดยเร่ิมต้นในปี 2560-2561 อนุสรณ์และคณะ
(2561) ได้เพาะทดสอบในโรงเรือนของกรมวิชาการเกษตร เมื่อคัดเลือก สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตและมีลักษณะดอก
ค่อนข้างดีในเบ้ืองตน้ แล้วจำนวน 5 สายพันธ์ุ ตอ่ มาในปี 2562-2563 อนุสรณ์และคณะ (2563) จงึ ได้เพาะทดสอบใน
โรงเรอื นของกรมวิชาการเกษตรอีกครงั้ และนำไปเพาะทดสอบในฟาร์มเกษตรกรอีกจำนวน 2 ฟาร์ม พบว่ามีสายพันธุ์
เหด็ ที่ให้ผลผลิตดีและมีลักษณะดอกตรงตามความต้องการของตลาด ซึง่ ก็คือสายพันธ์ุเห็ดเป๋าฮ้ือที่แนะนำให้เกษตรกร
นำไปเพาะเพอ่ื สร้างอาชพี โดยให้ช่ือว่า เห็ดเปา๋ ฮ้ือ-4 จากนั้นนำไปขยายผลและประเมินการยอมรบั ของสายพันธุเ์ หด็ ท่ี
คัดเลือกมาได้จากผู้เพาะ ตลอดจนสร้างเครือข่ายการใช้สายพันธ์ุเห็ดของกรมวิชาการเกษตร ทำให้เกษตรกรมีรายได้
เพ่ิมข้ึนจากการผลิตเห็ดโดยใช้สายพันธ์ุที่ให้ผลผลิตสูงหรือสายพันธ์ุที่ตรงตา มความต้องการของผู้บริโภค ส่งผลให้
คุณภาพชวี ิตดขี ึน้ มีความมัน่ คงในอาชพี

วธิ ีการ

1. คัดเลือกเกษตรกรผ้ผู ลิตเช้ือเห็ด และ เกษตรกรผเู้ พาะเหด็ เป๋าฮอ้ื หรอื เหด็ สกลุ นางรม อยา่ งนอ้ ย 10 ราย

2. การผลิตแม่เชอ้ื เห็ดเปา๋ ฮื้อบรสิ ทุ ธ์ิ
ย้ายเล้ียงเส้นใยเห็ดเป๋าฮ้ือสายพันธ์ุ เห็ดเป๋าฮื้อ-2 เห็ดเป๋าฮ้ือ-3 และเห็ดเป๋าฮื้อ-4 บนอาหาร PDA ในจานเล้ียง

เช้ือ นำไปบ่มเลี้ยงเส้นใยที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 วนั จงึ ใช้ที่เจาะจกุ คอรค์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
5 มม. ตัดส่วนของเส้นใยพร้อมท้ังอาหารวุ้นบริเวณขอบโคโลนี ออกเป็นช้ินกลมแต่ละชิ้นท่ีได้นี้ คือ เช้ือท่ีใช้สำหรับ
ปลกู เชอื้ (inoculate) ในขา้ วฟ่างน่ึงฆ่าเชือ้

3. การผลติ เช้ือขยาย (spawn)
เตรียมข้าวฟ่างต้มใส่ในขวดแก้ว จากน้ันนำไปน่ึงฆ่าเช้ือที่ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางน้ิว ท่ีอุณหภูมิ 121

องศาเซลเซยี ส นาน 30 นาที เมอื่ ข้าวฟา่ งเย็นลง ตัดชิ้นวุน้ เชอื้ พันธ์ุเหด็ เป๋าฮ้ือและถ่ายเชอื้ ลงในขวดข้าวฟา่ ง บ่มเลยี้ งที่
อณุ หภมู ิ 30 องศาเซลเซียส จำนวนอย่างนอ้ ย 300 ขวด

4. การขยายผลการใชป้ ระโยชน์จากสายพันธ์เุ ห็ดเปา๋ ฮอ้ื สแู่ ปลงเกษตร
โดยนำเชอื้ ขยายเหด็ เปา๋ ฮอื้ ไปขยายผลในแปลงเกษตรกรตน้ แบบ 2 กลุม่ ได้แก่
4.1 เกษตรกรผผู้ ลติ เชื้อเห็ด จำนวนอย่างน้อย 3 ราย
4.2 เกษตรกรผูเ้ พาะเหด็ สกุลนางรม อยา่ งน้อย 7 ราย

ยุทธศาสตร์งานวจิ ยั ด้านเทคโนโลยชี วี ภาพและการอนรุ ักษ์พนั ธุกรรม 67

เกษตรกรทำแปลง/โรงเรือนต้นแบบด้วยตนเอง ตามคำแนะนำการผลิตของกรมวิชาการเกษตร ส่วนสูตร
อาหารเพาะเป็นสูตรที่เกษตรกรใช้อยู่ในปัจจุบันของแต่ละฟาร์ม ซง่ึ ประกอบดว้ ยวัสดุหลักคอื ขี้เลื่อยไม้ยางพารา รำ ดีเกลือ
ปูนขาว และอาหารเสริมอืน่ ๆ หลังนึง่ ฆ่าเชื้อพกั ก้อนเห็ดให้เย็น หยอดเช้ือเห็ดขยายบนเมล็ดขา้ วฟ่างลงในถุงอาหารเพาะ
ประมาณ 15-20 เมล็ด/ถุงอาหารเพาะ บม่ เช้อื ท่อี ุณหภูมิหอ้ ง โดยใชส้ ายพันธุ์เหด็ เปา๋ ฮือ้ -4 เป็นสายพนั ธ์ุทดสอบ และ
ใช้สายพันธุ์เหด็ เปา๋ ฮ้ือ-2 เหด็ เป๋าฮ้อื -3 หรอื สายพันธข์ุ องเกษตรกร เป็นสายพันธุ์เปรียบเทยี บ

5. การจัดทำเอกสารเผยแพร่
จดั ทำเอกสารเผยแพรเ่ กี่ยวกับการเพาะเหด็ เปา๋ ฮ้ือ

สรุปผลและวจิ ารณ์

1. คัดเลอื กเกษตรกรผู้ผลิตเช้อื เห็ดและเกษตรกรผู้เพาะเห็ดเป๋าฮือ้ หรอื เหด็ สกุลนางรม
ขยายผลการใชป้ ระโยชน์จากสายพนั ธ์เุ ห็ดเป๋าฮ้ือส่แู ปลงเกษตรกร จำนวน 12 ราย ดงั น้ี
1) คุณปราโมทย์ ไทยทัตกุล จ.เพชรบุรี 2) คุณฐิติรัตน์ พ่วงโพธิ์ทอง ฟาร์มเห็ดโพธ์ิทอง จ.นนทบุรี

3) คุณบผุ า ฑาวุธ จ.กำแพงเพชร 4) คุณนงลกั ษณ์ นาคะเสถียร จ.เชยี งใหม่ 5) คุณมนต์นรินทร์ เรอื งจิตต์ จ.ลำปาง
6) คุณมนู จงเจียมจิตต์ จ.ระยอง 7) คุณกาญจนากร รอดแป้น จ.ราชบุรี 8) คุณประยุทธ์ ดวงวงค์ จ.ระยอง
9) คุณมยุรี มัตสยะวนิชกูล จ.ราชบุรี 10) คุณกนิษฐา สิงตะนะ จ.ลำปาง 11) คุณพงษ์ศักดิ์ ละไมพิศ กรุงเทพฯ
12) คณุ พิรญาณ์ จนั ทร์เขยี ว จ.เชียงใหม่

2. การผลิตแม่เช้ือเห็ดเปา๋ ฮื้อบรสิ ทุ ธิ์
ทำการผลิตเช้ือบริสุทธ์ิเห็ดเป๋าฮ้ือสายพันธ์ุดี ตามคำแนะนำการผลิตของกรมวิชาการเกษตรสำหรับการ

นำไปใชผ้ ลติ เชอ้ื ขยาย จำนวน 150 ขวด

3. การผลติ เชือ้ ขยาย (spawn)
ทำการผลติ เช้อื ขยายเห็ดเป๋าฮอ้ื สายพนั ธ์ดุ ี ตามคำแนะนำการผลติ ของกรมวิชาการเกษตรสำหรบั การนำไปใช้

หยอดเช้อื เหด็ เปา๋ ฮื้อในถุงอาหารเพาะ จำนวน 350 ขวด

4. การขยายผลการใชป้ ระโยชนจ์ ากสายพนั ธเุ์ ห็ดเปา๋ ฮอ้ื สแู่ ปลงเกษตร
4.1 ความพงึ พอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มกี ารนำผลงานวจิ ยั ไปใช้ประโยชน์
ดำเนินการประเมินในรูปแบบของการสัมภาษณ์จากแบบสอบถามพร้อมท้ังวิเคราะห์ผลความพึงพอใจและ

การยอมรับเทคโนโลยีท่ีถ่ายทอดสู่กลุ่มเป้าหมายน้ัน สายพันธุ์เห็ดเป๋าฮ้ือของกรมวิชาการเกษตรแต่ละสายพันธ์ุจะมี
จำนวนผู้มีความประสงค์ในการเพาะไม่เท่ากัน เนื่องด้วยแต่ละพื้นท่ีมีความต้องการสายพันธ์ุเห็ดที่แตกต่างกัน
การเลอื กชนดิ เห็ดที่จะนำไปเพาะจงึ ให้เกษตรกรเปน็ ผู้คัดเลอื กจากสายพันธ์เุ ห็ดท่ีกรมวชิ าการเกษตรมอี ยู่ ซ่ึงมลี ักษณะ
ที่แตกต่างกันในแต่ละสายพันธุ์ โดยใช้สายพันธ์ุเห็ดเป๋าฮ้ือ-4 เป็นสายพันธุ์หลัก และใช้สายพันธ์ุเห็ดเป๋าฮ้ือ-2 เห็ด
เป๋าฮ้ือ-3 และสายพันธุ์ของเกษตรกรเป็นสายพันธ์ุเปรียบเทียบน้ัน โดยมีจำนวนผู้เพาะเห็ดเป๋าฮ้ือในแต่ละสายพันธ์ุ
ดงั นี้ เหด็ เป๋าฮอ้ื -2 จำนวน 4 ราย เหด็ เป๋าฮอ้ื -3 จำนวน 10 ราย และเหด็ เปา๋ ฮอ้ื -4 จำนวน 12 ราย (ภาพที่ 1)

ยุทธศาสตรง์ านวจิ ยั ด้านเทคโนโลยชี ีวภาพและการอนุรักษพ์ นั ธกุ รรม 68

จากการสอบถามถึงความพึงพอใจในแต่ละด้านของผู้เพาะเห็ดเป๋าฮ้ือแต่ละสายพันธุ์ จากผู้เพาะเห็ดเป๋าฮื้อ
จำนวน 12 ราย พบว่า มีผู้ประสงค์จะใช้สายพนั ธ์ุเห็ดเป๋าฮื้อของกรมวชิ าการเกษตรต่อไปในในอนาคต คดิ เป็น 91.67
เปอร์เซน็ ต์ โดยแบง่ ยอ่ ยไดด้ ังน้ี

1) เป๋าฮ้ือ-2 มีเกษตรกร จำนวน 1 ราย ท่ีมีความประสงค์จะเพาะต่อไปในอนาคต เน่ืองด้วยเส้นใยเห็ด
เจริญเติบโตไดเ้ ร็ว การปนเปือ้ นนอ้ ย เมื่อเทียบกบั สายพันธ์ุเปา๋ ฮ้อื -4

2) เป๋าฮื้อ-3 มีเกษตรกร จำนวน 9 ราย ที่มีความประสงค์จะเพาะต่อไปในอนาคต เนื่องด้วยลักษณะและสี
ของดอกเหด็ สวย ออกดอกเร็ว ผู้บรโิ ภครจู้ กั มานานและเปน็ ที่นิยม และโรงงานเหด็ เปา๋ ฮื้อกระปอ๋ งมคี วามตอ้ งการ

3) เปา๋ ฮ้ือ-4 มเี กษตรกร จำนวน 8 ราย ทีม่ ีความประสงคจ์ ะเพาะต่อไปในอนาคต เนือ่ งด้วยลักษณะดอกเนอ้ื
แน่น นำ้ หนกั ดี ผลผลติ ค่อนขา้ งสูงในบางพน้ื ท่ี ผบู้ รโิ ภคเรมิ่ รู้จกั

ทั้งนี้ จะเห็นว่ามีผู้เพาะเห็ดเป๋าฮื้อหลายรายที่มีความประสงค์จะเพาะเห็ดเป๋าฮื้อมากกว่า 1 สายพันธ์ุ
พรอ้ มกัน เน่ืองด้วยระยะเวลาการเกิดดอก การพักตัว ของแต่ละสายพันธุ์จะมีความแตกต่างกัน มีการเหล่ือมเวลากัน
ในการให้ผลผลิต ทำใหส้ ามารถเกบ็ ผลผลิตไดท้ กุ วัน กอ่ ใหเ้ กดิ รายได้อย่างสมำ่ เสมอ

4.2 ผลลพั ธข์ องกลุม่ เปา้ หมายจากการนำผลงานวจิ ยั ไปใช้ เม่อื เปรียบเทียบกบั ก่อนนำไปใช้
1) ในบางพ้ืนที่เห็ดเป๋าฮ้ือสายพันธุ์ใหม่ ให้ผลผลิตดีกว่าสายพันธุ์เดิม ซึ่งทำให้มีรายได้จากการขายผลผลิตที่

มากข้นึ เพิม่ ขนึ้ ด้วย
2) จากเดิมผู้ผลิตเห็ดเห็ดเป๋าฮ้ือจะเพาะเพียงสายพันธ์ุเดียว ทำให้ช่วงระยะเวลาที่เห็ดพักตัวจะไม่มีผลผลิต

จำหน่าย เม่ือมีสายพันธุ์ใหม่ท่ีมีระยะเวลาการเกิดดอก การพักตัว ความแตกต่างจากสายพันธุ์เดิมท่ีเพาะอยู่ ทำให้มี
การเหลื่อมเวลากันในการให้ผลผลติ จงึ สามารถเกบ็ ผลผลิตได้ทุกวนั ก่อให้เกดิ รายไดอ้ ย่างสมำ่ เสมอ

3) เกษตรกรมีสายพนั ธุ์ใหมท่ ี่แตกต่างจากสายพันธ์เุ ดิม เพิ่มความหลากหลายของลกั ษณะดอกเห็ดในตลาด

4.3 ขอ้ เสนอแนะ/แนวทางการขยายผลงานวิจยั สูก่ ลมุ่ เปา้ หมาย
จากการสอบถามความพงึ พอใจของกลุ่มเป้าหมายมขี ้อเสนอแนะจากเกษตรกรผเู้ พาะเห็ด ดงั น้ี
1) ตอ้ งการสายพนั ธทุ์ หี่ ลากหลาย
2) ต้องการสายพนั ธ์ุท่ีเส้นใยเจริญเตบิ โตเร็ว
3) ต้องการลกั ษณะดอกกลม ขอบดอกเรยี บ
4) ตอ้ งการดอกเห็ดทีม่ ีลักษณะกา้ นยาวและอวบ เนอื้ แนน่
5) ต้องการดอกเห็ดท่มี สี คี รีม สไี มเ่ ข้มจนเกนิ ไป
6) ตอ้ งการสายพนั ธทุ์ ี่ดอกเห็ดมีความกรอบ เน่ืองด้วยภัตตาคารชอบดอกท่มี ีความกรอบเมื่อปรงุ เป็นอาหารแลว้
7) เปา๋ ฮอ้ื -3 ตอ้ งปรบั ปรุงใหม้ นี ำ้ หนักดีขึน้
8) ควรหาวัสดุเพาะที่เหมาะกบั เห็ดเป๋าฮื้อ ทีจ่ ะทำให้เกิดดอกไดด้ ี ระยะพกั ตวั สน้ั
9) ดอกเห็ดเปา๋ ฮอื้ ถกู แมลงปกี แขง็ สีดำ ขนาด 2-3 มลิ ลเิ มตร เข้าทำลาย

ยุทธศาสตรง์ านวจิ ยั ดา้ นเทคโนโลยีชวี ภาพและการอนุรกั ษ์พนั ธกุ รรม 69

ฟาร์มเพาะเห็ด จ.เพชรบุรี ฟาร์มเพาะเห็ด จ.ราชบุรี

ภาพท่ี 1 ตัวอยา่ งฟาร์มเพาะเหด็ ท่รี บั ถ่ายทอดการใช้ประโยชน์จากเชื้อเห็ดเปา๋ ฮอ้ื สายพันธุ์ดี

5. การจัดทำเอกสารเผยแพร่
จดั ทำเอกสารเผยแพรเ่ กี่ยวกับการเพาะเห็ดเปา๋ ฮ้ือ จำนวน 1 เรือ่ ง คอื เห็ดเป๋าฮื้อ (ภาพท่ี 2)

ภาพที่ 2 การจดั ทำเอกสารเผยแพร่เร่ือง เหด็ เป๋าฮอื้

เอกสารอ้างอิง

ดำเกิง ป้องพาล และปรีชา รัตนัง. 2545. การเพาะเลี้ยงเห็ดเศรษฐกิจ. เอกสารประกอบการฝึกอบรมโครงการเพาะ
เห็ดแบบยั่งยืน, 16-20 กันยายน 2545 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดย สาขาพืชผัก
มหาวทิ ยาลัยแม่โจ้ ร่วมกบั สำนกั งานเทศบาล ตำบลเวยี งฝาง อำเภอฝาง จงั หวัดเชียงใหม่. เชยี งใหม่.

พรรณี บุตรธนู สุวลักษณ์ ชัยชูโชติ และประไพ ศรี พิทักษ์ไพรวัน. 2543. การคัดเลือกสายพันธุ์เห็ดเป๋าฮ้ือ
ท่ีเหมาะสมตอ่ การให้ผลผลิต. เห็ดไทย 2543: 61-78.

อนุสรณ์ วัฒนกุล กรกช จันทร และ วราพร ไชยมา. 2561. การคัดเลือกและประเมินสายพันธุ์เห็ดเป๋าฮื้อเพื่อการใช้
ประโยชน.์ รายงานผลงานเรอ่ื งเต็มการทดลองท่ีส้นิ สดุ ปี 2561 กรมวิชาการเกษตร.

อนุสรณ์ วฒั นกลุ กรกช จนั ทร รัชฎาภรณ์ ทองเหม และสวุ ลักษณ์ ชยั ชโู ชติ. 2563. ศกึ ษาประสิทธิภาพการให้ผลผลิต
และคุณภาพของเห็ดเป๋าฮ้ือสายพันธุ์ดีในฟาร์มเกษตรกร. รายงานผลงานเรื่องเต็มการทดลองที่ส้ินสุด
ปี 2563 กรมวิชาการเกษตร.

อุทัยวรรณ แสงวณิช พูนพิไล สุวรรณฤทธิ์ อัจฉรา พยัพพานนท์ เจนนิเฟอร์ เหลืองสะอาด อนงค์ จันทร์ศรีกุล และ
บารมี สกลรักษ์. 2556. บัญชีรายชื่อทรัพย์สินชีวภาพเห็ด. สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ
(องคก์ ารมหาชน) กรงุ เทพฯ. 374 หน้า.

ยทุ ธศาสตรง์ านวจิ ยั ดา้ นเทคโนโลยชี วี ภาพและการอนรุ กั ษพ์ นั ธุกรรม 70




Click to View FlipBook Version