The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

จะทำให้เห็นภาพการเล่าเรื่องในหลวงรัชกาลที่ 9 ในมุมมองใหม่ การกลั่นกรองข้อมูลมหาศาลเป็นหนังสืออ่านง่ายขนาดถนัดมือ เป็นความตั้งใจของทีมงาน ‘สานต่อที่พ่อทำ’ ที่อยากถ่ายทอดแนวคิดการทรงงานของพระราชาให้เรียบง่ายที่สุด ไม่ใช่เพียงเพื่อชื่นชมพระองค์ในฐานะกษัตริย์ แต่มองเห็นหลักการทำงานและใช้ชีวิตของคนทำงานคนหนึ่ง ซึ่งผู้อ่านสามารถแกะรอยและลงมือปฏิบัติตามได้จริงทันที

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Siriwan Siripirom, 2019-11-29 00:10:00

The Visionary ถอดรหัสกษัตริย์ผู้มองเห็นอนาคต

จะทำให้เห็นภาพการเล่าเรื่องในหลวงรัชกาลที่ 9 ในมุมมองใหม่ การกลั่นกรองข้อมูลมหาศาลเป็นหนังสืออ่านง่ายขนาดถนัดมือ เป็นความตั้งใจของทีมงาน ‘สานต่อที่พ่อทำ’ ที่อยากถ่ายทอดแนวคิดการทรงงานของพระราชาให้เรียบง่ายที่สุด ไม่ใช่เพียงเพื่อชื่นชมพระองค์ในฐานะกษัตริย์ แต่มองเห็นหลักการทำงานและใช้ชีวิตของคนทำงานคนหนึ่ง ซึ่งผู้อ่านสามารถแกะรอยและลงมือปฏิบัติตามได้จริงทันที

พัฒนา

อีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่เกษตรกรชาวเขาต้องเผชิญมาโดยตลอดคือ
ถูกพอ่ ค้าคนกลางกดราคา เน่อื งจากสมัยนั้นการขนสง่ ผลผลิตลงจากดอย
นั้นยากล�ำบาก และบางคร้ังผลผลิตก็ล้นตลาดจนต้องยอมขายผลผลิต
ให้พอ่ คา้ คนกลางไปในราคาถกู จนไม่คุ้มทนุ
เพ่ือแก้ปัญหาความยากจนให้ถูกจุด โครงการหลวงจึงต้องรับซื้อ
ผลิต และจดั หาตลาดให้เกษตรกร
น่ันจึงเป็นที่มาของ ‘โรงงานดอยค�ำ’ หรือโรงงานหลวงอาหาร
ส�ำเร็จรูปแห่งแรก ท่ีต้ังอยู่บริเวณเชิงดอยอ่างขาง มีหน้าที่รับซ้ือผลผลิต
ใกล้พื้นที่ปลูก ท�ำให้สามารถขายได้ในราคายุติธรรมและคงความสดใหม่
ไว้ได้ และหากสินค้าล้นตลาดก็ยังสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
ได้อีกด้วย อย่างครั้งหนึ่งที่สตรอเบอร์รี่พันธุ์พื้นเมืองถูกกดราคาจาก
โรงงานอน่ื ๆ อยา่ งหนกั ทางโครงการหลวงจงึ รบั ซอ้ื มาเพอื่ แปรรปู เปน็ ซอส
และแยม แลกกับราคาท่ีสมเหตุสมผล โดยเจ้าหน้าท่ียังพยายามส่งเสริม
ใหช้ าวเขารวมกลมุ่ กนั เปน็ สหกรณเ์ พอื่ รวบรวมผลผลติ สง่ ใหโ้ รงงานไดอ้ ยา่ ง
ตอ่ เนอื่ งอกี ดว้ ย ถงึ จดุ นชี้ าวบา้ นเรม่ิ ปลกู พชื อนื่ ทดแทนการปลกู ฝน่ิ กนั หมด
แล้ว แตใ่ นหลวงไมท่ รงหยดุ อย่เู พียงเท่านี้

ห้ามจำ�หน่าย 151



เพราะการได้ช่วยเหลือประชาชนไม่น่าภูมิใจเท่ากับการท�ำให้
ชาวบ้านเหล่านี้สามารถยืนหยัดได้ด้วยตัวเอง เพราะน่ันแปลว่าพระองค์
ได้ช่วยพฒั นาชีวิตของชาวบา้ นใหด้ ีข้นึ ไดอ้ ย่างยั่งยืน
“เราต้องให้เขาช่วยตัวเอง เพราะถ้าคอยเลี้ยงดูอยู่จะเคยตัว”
ในหลวงรบั สั่งไวเ้ ชน่ นี้
นนั่ ทำ� ใหท้ กุ ๆ การชว่ ยเหลอื ของในหลวง ลว้ นแลว้ แตเ่ ปน็ การ
สร้างระบบและสร้างคนเพอ่ื ความย่งั ยืนในอนาคตท้ังสิน้

อาทิ ระบบยืมข้าวท่ีต้องกู้เมล็ดข้าวไปแล้วคืนพร้อมดอกเบ้ีย
เป็นข้าวเพิ่มเติม ก็พัฒนามาเป็นโครงการธนาคารข้าว ที่ชุมชนสามารถ
ร่วมกันดูแลและกู้ยืมข้าวไปปลูกกันได้ จนหลายหมู่บ้านหมดปัญหาข้าว
ขาดแคลนอย่างสนิ้ เชงิ
หรือการส่งเสริมให้ปลูกไม้ยืนต้นไปพร้อมกับไม้เศรษฐกิจ ที่ต้อง
เผชญิ กบั ความไมเ่ ขา้ ใจของชาวบา้ น เพราะไมย้ นื ตน้ ไมอ่ าจใหผ้ ลตอบแทน
เป็นรายได้ได้ทันทีเหมือนพืชเศรษฐกิจ แต่ทีมโครงการหลวงก็พยายาม

ห้ามจำ�หน่าย 153

ให้ข้อมูลว่าไม้ยืนต้นมีประโยชน์มาก เช่น เมื่อโตถึงระดับหน่ึงก็สามารถ
ลดิ กงิ่ เอาไปทำ� ฟนื ได้ ครนั้ ชาวบา้ นปลกู ไมย้ นื ตน้ มากเขา้ ปา่ กก็ ลบั มาเขยี ว
ขจี นำ�้ ทเ่ี คยแหง้ กไ็ หลรนิ อกี ครง้ั สดุ ทา้ ย ชาวบา้ นกไ็ ดป้ ระโยชนจ์ ากปา่ ปา่
ก็ได้ประโยชนจ์ ากชาวบา้ น พ่งึ พากนั ไดอ้ ยา่ งย่ังยนื
นอกจากนี้ ในหลวงยังทรงจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ และโรงเรียน
ข้ึนเพื่อดูแลสุขภาพและให้การศึกษาแก่ชาวบ้าน เพราะทรงตระหนักดีว่า
เม่ือครอบครัวท่ีดีและสภาพแวดล้อมท่ีดี ก่อให้เกิดสังคมที่ดีแล้ว การมี
สขุ ภาพทด่ี แี ละการศกึ ษาทด่ี ี ยอ่ มทำ� ใหค้ นรนุ่ ใหมเ่ ตบิ โตขนึ้ เปน็ กำ� ลงั สำ� คญั
ของประเทศไดใ้ นอนาคต
และที่ส�ำคัญคือ ความย่ังยืนน้ีได้ลบล้างความยากจนออกไป
จากสังคมชาวเขา และจะท�ำให้ชาวบ้านไม่กลับไปปลูกฝิ่นอีก
อย่างแนน่ อน

154 T H E V I S I O N A R Y ห้ามจำ�หน่าย

ตอ่ ยอด

เมื่อระบบท่ีเซ็ตไว้ให้ชาวบ้านเร่ิมอยู่ตัวทั้งพืชพันธุ์การเกษตรและ
โรงงานแปรรูปอาหาร สถานีต่อไปท่ีต้องพัฒนาคือตัวโครงการหลวงเอง
ทีต่ อ้ งดำ� เนินงานต่อไปได้อย่างย่ังยืน
ทีมงานโครงการหลวงจึงท�ำงานอย่างหนักเพ่ือต่อยอดกิจกรรม
โครงการหลวงใหก้ ว้างไกลและมีคุณภาพมากท่ีสดุ ท้งั ระบบการตรวจสอบ
สินค้าและการจัดเก็บพืชผักผลไม้ที่ได้มาตรฐานสากล รวมไปถึง
การประชาสัมพันธ์อย่างเป็นระบบ ท�ำให้ชื่อเสียงของสินค้าจาก
โครงการหลวงไดร้ บั การยอมรับทง้ั ในระดับชาติและระดบั นานาชาติ
อย่างถั่วแดงนั้นก็มีการเปลี่ยนชื่อใหม่ จากเดิมท่ีมีชื่อน่ากลัวว่า
ถวั่ ไตแดง กลายเปน็ ถวั่ แดงหลวง เพอ่ื ใหเ้ ขา้ ถงึ ประชาชนไดง้ า่ ยขนึ้ มกี ารนำ�
ไปออกโทรทัศน์สาธิตการท�ำเป็นเมนูต่างๆ และเชิญบรรดาส่ือมวลชน
มาชิม ท�ำให้ถ่วั แดงหลวงกลายเปน็ ที่รูจ้ กั ไปทัว่ ประเทศ
หรืออย่างเรื่องราวของสตรอเบอร์รี่ท่ีก็มีการพัฒนาสายพันธุ์
จากพนั ธพ์ุ นื้ เมอื งเดมิ ทผ่ี ลนมิ่ มาก เละงา่ ยเวลาขนสง่ ทางทมี โครงการหลวง
จึงคัดเลือกสายพันธุ์ต่างประเทศเข้ามาปลูกแทน จนได้สตรอเบอร์ร่ีพันธุ์

ห้ามจำ�หน่าย 155

สแี ดง ผิวแข็ง จนสง่ ไดส้ บาย แต่รสชาติกลบั เปร้ียวจนต้องจิ้มพรกิ เกลอื กนิ
เลยทเี ดยี ว
เวลาผา่ นไป 17 ปี ก็มกี ารพัฒนาสายพนั ธุส์ ตรอเบอรร์ ี่โดยใช้พนั ธุ์
ญี่ปุ่นเป็นต้นแบบ จนได้สตรอเบอร์รี่พระราชทานพันธุ์ 70 ท่ีมีรูปร่าง
เปน็ ทรงกรวย รสชาตหิ วาน กลนิ่ หอม เนอ้ื ผลแขง็ ขนสง่ สะดวก กแ็ ลว้ เสรจ็
ในช่วงเดยี วกับทใี่ นหลวงทรงมพี ระชนมพรรษาครบ 70 ปีพอดี
หลังจากนั้น ทีมโครงการหลวงก็ยังวิจัยพัฒนาพันธุ์สตรอเบอร์ร่ี
อย่างต่อเนื่องออกมาอีกหลายสายพันธุ์ ทั้งพันธุ์ 72, 60, 80 จนมาถึง
สายพันธุ์ล่าสุด คือ พันธุ์พระราชทาน 88 ที่มีขนาดผลใหญ่ สีแดงส้ม
ถงึ แดงสด เนอื้ แนน่ ละเอยี ด รสชาตหิ วานเปน็ พเิ ศษ และแทบไมม่ รี สเปรย้ี ว
ติดเลย
เรอื่ งนเ้ี ปน็ ขอ้ พสิ จู นถ์ งึ การพฒั นาอยา่ งไมห่ ยดุ ยงั้ ของทมี โครงการ-
หลวงได้เป็นอยา่ งดี

เปน็ เวลาเกอื บครงึ่ ศตวรรษแลว้ ทโ่ี ครงการหลวงไดพ้ ลกิ สถานการณ์
ในดินแดนท่ีเคยรายล้อมไปด้วยยาเสพติดให้กลายเป็นแหล่งผลิตพืชผัก
ผลไมเ้ มอื งหนาวรสชาตดิ ที สี่ ง่ ขายไปทว่ั ประเทศ พรอ้ มกบั ขยายศนู ยพ์ ฒั นา
ไปตามดอยต่างๆ รวมแลว้ 39 ศูนย์
ผลจากการด�ำเนินงานอย่างครบวงจรนี้เอง ท�ำให้ทุกวันน้ีชาวเขา

156 T H E V I S I O N A R Y ห้ามจำ�หน่าย

ต่างมีฐานะท่ีดีกว่าเดิม สามารถตัดฝิ่นออกไปจากวงจรชีวิตได้อย่างถาวร
และยังได้พืชผักสดสะอาด ผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ จากโครงการหลวง
ทเี่ ดนิ ทางจากดอยมาถงึ มือเราทกุ วนั อีกดว้ ย
บทสรุปการต่อสู้กับฝิ่นของในหลวงน่าจะสามารถสรุปได้จาก
บทสัมภาษณ์ของพระองค์กับส�ำนักข่าว BBC เมื่อครั้งเสด็จฯ ไปทรงงาน
ทีภ่ าคอสี านเมอ่ื ปี 2522 วา่
“เราไมไ่ ดต้ ่อสูก้ บั ประชาชน เราตอ่ สู้กับความอดอยากหิวโหยของ
ประชาชนต่างหาก”
จงมองหาศัตรูทแ่ี ท้จรงิ
และเม่อื พบแลว้ เรากจ็ ะรวู้ า่ ต้องแก้ปญั หาท่ีตรงไหน
ถึงตรงน้ี ส�ำหรับผู้ที่ชอบสตรอเบอร์รี่ เราก็หวังว่าคุณจะกิน
สตรอเบอรร์ ่ที ี่อย่ใู นมือไดอ้ ร่อยข้นึ กว่าเดมิ
และส�ำหรบั ผู้ที่ยังไมเ่ คยกนิ สตรอเบอรร์ ี่ของโครงการหลวง ทีป่ ลูก
บนยอดดอยในภาคเหนือ บนผืนดินของประเทศไทย ด้วยนึกเกรงว่า
คุณภาพจะสู้ของน�ำเข้าไม่ได้ เราก็หวังว่าคุณจะลองชิมความหวานหอม
ของมันดสู ักครั้ง
ให้รวู้ ่ารสชาตขิ องชัยชนะท่ยี งั่ ยนื นน้ั เป็นอย่างไร

ห้ามจำ�หน่าย 157



KEYS OF SUCCESS

� มองหาตน้ ตอทแี่ ทจ้ ริงของปญั หา
ตน้ เหตทุ แ่ี ท้ อาจไมใ่ ชส่ ง่ิ ทเี่ ราเหน็ ไดจ้ ากการมองสถานการณ์

เพยี งผวิ เผนิ
� คิดหนทางแกไ้ ขใหค้ รบทง้ั ระบบ
อดุ รอยรวั่ ให้หมด จะได้ไมต่ อ้ งวนกลับมาปวดหัวกบั เรอื่ งเดมิ ๆ
ซำ้� แล้วซ�้ำอกี
� เนน้ พัฒนาคุณภาพคน
ถ้าคนมีคุณภาพ อนาคตกม็ ีคณุ ภาพไปด้วยเปน็ เงาตามตวั

09

ออแกยจกาคกวคาวมาอมยจา�ำกเปน็

162 T H E V I S I O N A R Y ห้ามจำ�หน่าย

ห้ามจำ�หน่าย 163

ก่อนเริ่มบทนี้เราอยากให้ทุกคนลองนึกดู ว่าตอนน้ีเราก�ำลัง
อยากได้อะไรมากท่สี ุด
ถ้านึกได้แล้วอย่าเพง่ิ เอาไปบอกใคร ทดไวใ้ นใจกอ่ น
แล้วเอาค�ำตอบน้ันไปตอบในหลวงดู
ตลอด 70 ปีที่ทรงงาน ทุกคร้ังที่ในหลวงทรงลงพ้ืนท่ีเยี่ยมเยียน
ดทู กุ ขส์ ขุ ของชาวบา้ น คำ� ถามตดิ ปากของพระองคค์ อื “อยากไดอ้ ะไรทสี่ ดุ ”
อาจเพราะทรงเหน็ วา่ ไมม่ ใี ครรคู้ วามตอ้ งการของตนดไี ปกวา่ เจา้ ตวั
หมูบ่ า้ นนพ้ี ้นื ที่น้ขี าดแคลนอะไร ทุกคนยอ่ มรดู้ ีอยู่แกใ่ จ
แต่ความคิดนี้ก็เปลี่ยนไป เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงขับรถไปยังพื้นที่
ต่างๆ ในจังหวดั ประจวบครี ขี นั ธ์ ในปี 2495 และเกิดไปตดิ หล่มเขา้ ท่ีบ้าน
ห้วยคต ชาวบ้านก็ตอ้ งมาช่วยกันเขน็ จนสดุ ท้ายกข็ ึน้ มาได้
ทน่ี ่ัน ในหลวงทรงถามชาวบา้ นคนหนงึ่ ชอื่ ลงุ รวย ว่าคนทีน่ ีม่ อี ะไร
ใหช้ ว่ ยบา้ งมย้ั ลงุ รวยกบ็ อกวา่ อยากไดถ้ นน เพราะถนนไมด่ ที ำ� ใหช้ าวบา้ น
ทน่ี ต่ี อ้ งใชเ้ วลาเปน็ วนั กวา่ จะขนสง่ เอาผกั ไปขายทตี่ ลาดได้ แมต้ วั ตลาดจะ
อยไู่ ม่ไกลจากหมู่บ้านกต็ าม หลายครง้ั ผักกเ็ น่าเสยี ซะกลางทาง พระองค์

164 T H E V I S I O N A R Y ห้ามจำ�หน่าย

จงึ ใหต้ ำ� รวจตระเวนชายแดนมาสรา้ งถนนใหห้ มบู่ า้ นแหง่ นใี้ ช้ พระราชทาน
นามใหว้ า่ ‘ถนนหว้ ยมงคล’ ผลปรากฏวา่ สามารถรน่ ระยะเวลาเดนิ ทางของ
คนท่ีน่ีให้เหลือเพียงแค่ 20 นาทีเท่านั้น เปลี่ยนหมู่บ้านยากจนแห่งน้ี
ให้กลายเปน็ หม่บู า้ นทเี่ จริญทสี่ ุดในหวั หินภายในเวลาเพยี งไมน่ าน
แตแ่ ลว้ เรอ่ื งราวกก็ ลบั ตาลปตั ร เมอื่ หลงั จากวนั นน้ั กม็ นี ายทนุ เขา้ ไป
กว้านซื้อที่ดินในบริเวณน้ัน ท�ำให้ชาวบ้านหลายคนตัดสินใจขายท่ีดิน
เปล่ียนอาชีพจากเกษตรกรไปเป็นลูกจ้าง บางคนก็ออกจากพ้ืนท่ีไป หรือ
บางคนก็อพยพเข้าไปอยู่ในป่าลึกกว่าเดิม ท�ำให้พื้นที่ป่าต้นน้�ำปราณบุรี
ถูกบุกรกุ กลายเปน็ ผลเสยี ต่อสว่ นรวมมากกว่าเดมิ
ถนนทสี่ รา้ งขน้ึ เพอื่ ชว่ ยชาวบา้ น กลบั ทำ� ใหช้ าวบา้ นลำ� บากกวา่ เดมิ
แถมยงั สง่ ผลกระทบต่อเรอ่ื งอืน่ ๆ อกี มาก
นั่นท�ำให้ในหลวงรู้ว่าบางคร้ังส่ิงท่ีชาวบ้านอยากได้ อาจไม่ใช่
สิ่งจ�ำเป็นจริงๆ ส�ำหรับชวี ิตของชาวบา้ นกไ็ ด้
ทนี ี้กลบั มาทข่ี องที่เราทดไว้ในหัวต้ังแต่ตอนต้น
ส่ิงทเ่ี ราตอ้ งการ มันคอื สิง่ ท่ีชวี ิตเราต้องมจี ริงๆ หรือเปลา่ ?

ห้ามจำ�หน่าย 165

NEED or WANT

ถา้ ลองแยกแยะดดู ๆี เราจะพบว่าในชีวติ เราจะมีส่ิงที่เราตอ้ งมี กบั
สิง่ ทเ่ี ราต้องการ หรือ need กับ want แบ่งเปน็ กลุม่ ของสง่ิ ตา่ งๆ ได้ 4 กลมุ่
หนง่ึ สิ่งที่เราตอ้ งมี และเรากต็ อ้ งการ
สอง ส่งิ ทเ่ี ราไม่ต้องมี แต่เราตอ้ งการ
สาม สิ่งทเ่ี ราต้องมี แตเ่ ราไมต่ ้องการ
ส่ี สง่ิ ทีไ่ ม่ต้องมี และเราก็ไมต่ ้องการ
ตามทฤษฎแี ลว้ เราควรมองหาสงิ่ ทตี่ อ้ งมเี สยี กอ่ น แลว้ จงึ คอ่ ยมอง
หาสิ่งที่ต้องการ ด้วยความจ�ำเป็นที่ต่างกัน ซ่ึงสิ่งที่ต้องมีในชีวิตของ
แตล่ ะคนก็ต่างกนั ไปตามปจั จัยในชวี ติ ทไ่ี มเ่ หมือนกนั
แต่ความยากของหลักการน้ีคือเรามักสับสนระหว่างความต้องการ
กบั ความ ‘ต้องมี’ หลายครั้งทเ่ี รานกึ ไปวา่ สงิ่ ทเ่ี ราตอ้ งการคือของท่จี ำ� เป็น
แตค่ วามจริงกลับตรงกนั ขา้ ม
เมอื่ ในหลวงทรงเหน็ วา่ สง่ิ ทต่ี อ้ งมนี น้ั มกั ไมส่ มั พนั ธก์ บั สง่ิ ทช่ี าวบา้ น

166 T H E V I S I O N A R Y ห้ามจำ�หน่าย

ต้องการ พระองค์จึงพยายามแสดงให้ประชาชนเห็นความต่างระหว่าง
สองสิ่งน้ี
อย่างเช่นครั้งหนึ่งที่พระองค์เสด็จฯ ไปยังหมู่บ้านกะเหรี่ยงท่ีป่า
ละอู ชาวบ้านที่นเ่ี ล้ยี งชีพดว้ ยการทำ� ไรเ่ ลื่อนลอย ถางป่า ยา้ ยหลักแหล่ง
ไปเรื่อย คร้ันถามก็ได้ความว่าท่ีชาวบ้านไม่ท�ำไร่ท�ำนาบนที่ดินเดิมเพราะ
ท่ดี นิ เดิมมหี ญ้าข้นึ เตม็ ไมส่ ามารถถางได้ เพราะการจะถางหญา้ ได้จ�ำเป็น
ต้องมีรถแทรก็ เตอร์ และพวกเขาก็ไม่มีเงินพอซ้ือรถแทร็กเตอร์
ถ้าเจ้าหน้าท่ีอยากให้พวกชาวบ้านพัฒนามากกว่าน้ี ก็ต้องหา
รถแทรก็ เตอรม์ าให้ จะได้ถางหญ้าได้
ในหลวงทรงได้ยินก็ตรัสกลับไปว่า มันไม่ใช่ว่าเพราะเป็นคนจน
หรอกทที่ ำ� ใหถ้ อนหญา้ ไมไ่ ด้ เปน็ เพราะขเ้ี กยี จมากกวา่ ชาวบา้ นฟงั กไ็ ดแ้ ต่
หัวเราะแหะๆ
เพราะถา้ ถามว่ารถแทร็กเตอรช์ ว่ ยถางหญ้าได้มัย้ ก็ตอบเลยว่าได้
หรอื ถา้ ถามวา่ รถแทรก็ เตอรท์ ำ� ใหถ้ างหญา้ สะดวกมย้ั กต็ อบเลยวา่ ใช่

ห้ามจำ�หน่าย 167

แต่ถ้าถามว่ารถแทร็กเตอร์เป็นเคร่ืองมือเดียวท่ีถางหญ้าได้หรือ
กต็ อบได้เลยวา่ ไม่ใช่
ถ้ามรี ายไดเ้ พยี งพอจะซ้อื รถแทรก็ เตอร์ ซ้อื ไว้ก็สะดวกดี
แต่ตัวรถน้ันไม่ใช่สิ่งจ�ำเป็น ชีวิตของชาวบ้านไม่ได้ ‘ต้องมี’
รถแทรก็ เตอร์ เพยี งแค่ ‘ตอ้ งการ’ เทา่ นนั้

168 T H E V I S I O N A R Y ห้ามจำ�หน่าย

WHFAOTCYUOSUONNEED

ถา้ อยา่ งนั้นทีส่ ุดแลว้ ส่ิงทีค่ นเราต้องมีอันดบั หนึง่ คอื อะไร
เม่ือพิจารณาจากโครงการกว่า 4,000 โครงการที่ในหลวงทรงคิด
และท�ำ จะพบว่าส่วนใหญ่เกี่ยวกับการหาน้�ำและแก้ปัญหาดินท้ังน้ัน
โดยมเี ปา้ หมายสงู สุดเพอื่ ให้ประชาชนสามารถเพาะปลูกและเลย้ี งสตั ว์ได้
เพราะอาหารคือส่ิงจ�ำเปน็ พ้นื ฐานทีค่ นเราตอ้ งมี
ครั้นคนเรามีอาหารไว้บริโภคจนท้องอ่ิมแล้ว ก็จะมีก�ำลังและ
ความสขุ เพยี งพอสำ� หรบั ต่อยอดไปทำ� การงานอ่นื ๆ ไดอ้ ีกมาก
ในเมื่อรู้แล้วว่าปากท้องเป็นของจ�ำเป็นระดับคอขาดบาดตาย
ในหลวงจึงทรงทุ่มสรรพก�ำลังเพื่อศึกษาเรื่องการผลิตอาหารเป็นหลัก
สร้างความมน่ั คงทางอาหารให้ประชาชนผลิตอาหารไดด้ ้วยตวั เอง

พระองค์ถึงกับเปล่ียนสวนจิตรลดาท่ีเป็นบ้านของตัวเองให้กลาย
เป็นพ้ืนที่เกษตรขนาดย่อมเพื่อทดลองและวิจัยเพ่ือหาว่าวัตถุดิบอะไรคือ
อาหารที่ชาวบ้านจะสามารถผลิตได้ง่ายและยังมีคุณค่าทางสารอาหาร
ในปรมิ าณทพ่ี อดี

ห้ามจำ�หน่าย 169

ทรงลงมือปลูกข้าว ปรับปรุงดิน และยังท�ำบ่อเพาะเลี้ยงปลานิล
ที่ทรงรบั มาจากจกั รพรรดอิ ากฮิ โิ ตะแห่งญ่ีป่นุ รวมถึงทำ� ฟารม์ โคนม ด้วย
เหน็ วา่ เปน็ อาหารทีม่ ีคุณค่า
นอกจากนน้ั ยงั ทรงวางแผนตอ่ ไปดว้ ย วา่ หากนมโคทผ่ี ลติ มปี รมิ าณ
มากจนเกนิ ความตอ้ งการ กย็ งั นำ� มาแปรรปู เปน็ ผลติ ภณั ฑอ์ นื่ ๆ ไดอ้ กี มาก
ท้ังนมผง เนยแข็ง โยเกิร์ต ไปจนถึงนมอัดเม็ดจิตรลดาท่ีโด่งดังไปถึง
ต่างประเทศ
คร้ันทดลองเร่ืองอาหารแลว้ พระองคก์ ท็ รงต่อยอดไปถึงการสรา้ ง
ระบบสงั คมท่ีดี ดว้ ยความเชอื่ วา่ ถา้ คนรู้จักกัน ชว่ ยเหลือกัน พึง่ พาอาศยั
ซึ่งกนั และกัน เราก็จะสามารถใชช้ วี ติ ที่มีความสขุ ได้
ความสขุ คอื สง่ิ ทใ่ี นหลวงทรงเนน้ ยำ้� เสมอมา วา่ เปน็ เปา้ หมายสงู สดุ
ของโปรเจกต์ต่างๆ ท่ีพระองคท์ �ำ
แลว้ ความสขุ น้ันคอื อะไรกันเล่า?
“ความสุขนน้ั กค็ ือ ความสะดวก” ในหลวงตรัสไว้เชน่ น้ี

170 T H E V I S I O N A R Y ห้ามจำ�หน่าย

หลายครงั้ ทเ่ี ราตอ้ งการเงนิ มากๆ กเ็ พราะเชอื่ วา่ เงนิ จะชว่ ยอำ� นวย
ความสะดวกให้แก่ชีวิตเรา ไม่ว่าจะเร่ืองอาหาร เร่ืองท่ีอยู่อาศัย เส้ือผ้า
ยารักษาโรค แต่ความเป็นจริงก็คือไม่ใช่คนเราจะสามารถมีเงินเยอะๆ
กนั ไดท้ กุ คน ดงั นน้ั หากเราทำ� งานและอยรู่ ว่ มกนั ชว่ ยเหลอื กนั ระแวดระวงั
ภยั ให้กัน กจ็ ะกอ่ ให้เกิดความสะดวก นำ� มาซึง่ ความสุข
พระองค์ทดลองสร้างเมืองในฝันขึ้นท่ี ‘หุบกะพง’ พร้อมลอง
ออกแบบวิธีการด�ำเนินชวี ิต รวมไปถงึ จัดวางระบบต่างๆ เพื่อเปน็ ตน้ แบบ
จัดสรรแบ่งปันพื้นที่ให้เกษตรกรตัวอย่างกลุ่มหน่ึง ลองแบ่งที่ดินเพ่ือ
เพาะปลกู ตามแนวคิดของพระองค์ คือมสี ว่ นทเ่ี พาะปลกู ส่วนที่เป็นระบบ
ชลประทาน และส่วนอย่อู าศยั พรอ้ มท้ังแนะใหช้ าวบ้านรวมกลมุ่ กันเปน็
สหกรณ์ จะได้ชว่ ยเหลือซึ่งกนั และกัน
โปรเจกต์หุบกะพงประสบความส�ำเร็จพอประมาณ แต่ขยายผล
ไปถึงสังคมวงกว้างได้ไม่มากเท่าที่ควร อาจเพราะคนไทยยังไม่ค่อยเก็ต
คอนเซปตข์ องสหกรณ์สกั เทา่ ไหร่

ห้ามจำ�หน่าย 171

อกี 20 ปีตอ่ มา ในหลวงกเ็ สนอแนวคิด ‘ทฤษฎใี หม’่ ขน้ึ มาแทน
ทฤษฎใี หมน่ ม้ี คี วามคลา้ ยคลงึ กบั สหกรณห์ บุ กะพงอยบู่ า้ ง เนอื่ งจาก
พูดถึงเรื่องเกษตรกรรมและการอยู่เป็นชุมชนเหมือนกัน แต่ทฤษฎีใหม่จะ
เน้นการพ่ึงพาตัวเองของปัจเจกบุคคลแทนที่จะโฟกัสท่ีการช่วยเหลือกัน
เปน็ อันดับแรกแบบหุบกะพง
ด้วยความคิดที่ว่าถ้าหากทุกคนพึ่งตัวเองได้ การรวมกลุ่มก็จะ
เข้มแข็งเอง
ในหลวงทรงเรมิ่ ตน้ จากแปลงทดลองกอ่ น พระองคจ์ งึ เอาพน้ื ทเี่ ฉลย่ี
ทเ่ี กษตรกรไทยมคี อื 15 ไร่ มาแบง่ เปน็ พน้ื ทป่ี ลกู ขา้ ว โดยคำ� นวณใหป้ รมิ าณ
ข้าวเพยี งพอจะมีกนิ ทัง้ ป,ี พ้ืนทีป่ ลูกพืชผกั , พนื้ ทส่ี ระ สำ� รองน้�ำไว้ใชท้ ้ังปี
และสดุ ทา้ ยคอื แบง่ มาปลูกบา้ นและเลย้ี งสัตว์
ปรากฏวา่ การทดลองนน้ั ไดผ้ ลดมี าก นอกจากจะพอกนิ ในครอบครวั
เองแลว้ ยังเหลอื แจกให้โรงเรียน แถมยงั เหลอื พอเอาไปขายไดก้ ำ� ไรมาอีก
สองหม่นื บาท

172 T H E V I S I O N A R Y ห้ามจำ�หน่าย

ดูเผินๆ แล้วเหมือนว่าทฤษฎีใหม่จะเน้นไปที่การเกษตรเป็นหลัก
แต่ความจริงแล้วมันคือการจัดสรรส่ิงที่จ�ำเป็นต่อการด�ำรงชีวิตของปัจเจก
บคุ คลแตล่ ะคนตา่ งหาก
และเมื่อไหร่ท่ีหน่วยย่อยท่ีสุดของสังคมอย่างปัจเจกบุคคล
เข้มแข็ง อยู่ได้ด้วยตัวเองแล้ว การรวมกลุ่มเข้าด้วยกันก็จะเพ่ิมพลัง
ใหก้ ารท�ำงานอื่นๆ ไดอ้ ย่างแน่นอน

ห้ามจำ�หน่าย 173

NEBEADL&ANWCAENT

หลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ในหลวงทรงน�ำเสนอแนวคิด
ใหม่ ที่เหมือนจะสรุปแนวคิดที่พระองค์ได้จากการทรงงานตลอดชีวิต
ที่ผา่ นมา กลายเป็นหลักทฤษฎีชือ่ วา่ ‘ปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพียง’
แลว้ พอเพียงคืออะไร?

ใชช้ วี ติ อยา่ งพอเพยี ง อาจไมใ่ ชก่ ารทงิ้ ชวี ติ ทเ่ี คยมที เี่ คยเปน็ แลว้ ออก
ไปท�ำเกษตรเพื่อยังชีพเพียงอย่างเดียว แต่พูดง่ายๆ ว่าคือการพิจารณา
คัดเฟ้นหาว่าอะไรคือส่ิงที่ชีวิตเราต้องมี แล้วพัฒนามันให้เราอยู่ได้อย่าง
สะดวก ท่ีส�ำคัญคือ พ่ึงตัวเองให้มาก และละเว้นการเบียดเบียนซ่ึงผู้อื่น
และตัวเอง พัฒนาตอ่ เตมิ วิชาชีพและชีวิตไปตามโอกาสทมี่ ี
หลักการนี้ไม่ได้ครอบคลุมแต่ด้านการเกษตรเท่าน้ัน แต่ทรงตั้งใจ
ให้คนหันมาจัดการกับชีวิตของตัวเองอย่างเหมาะสม โดยทรงอธิบายว่า
ประเทศไทยนนั้ ตอ้ งการพฒั นา แตร่ ากฐานกลบั มปี ญั หาเพราะมวั แตส่ นใจ
ตวั เลขทางเศรษฐกจิ มากกว่าพื้นฐานอย่างการกินอยขู่ องคนในประเทศ
พระองค์ยกตัวอย่างง่ายๆ ว่าชาวนาในภาคอีสานท่ีปกติกิน

174 T H E V I S I O N A R Y ห้ามจำ�หน่าย

ข้าวเหนียว กลับตัดสินใจเลิกปลูกข้าวเหนียวเพ่ือมาปลูกข้าวหอมมะลิ
เพราะขายได้ พอขายข้าวหอมมะลิได้ก็ค่อยเอาเงินไปซ้ือข้าวเหนียวกิน
ซึ่งเป็นตรรกะท่ีแปลก ถ้าคิดจากพ้ืนฐานของการใช้ชีวิตแล้ว เราควรปลูก
ขา้ วเหนยี วใหต้ วั เองพอกนิ ตลอดทงั้ ปกี อ่ น แลว้ หากมที ดี่ นิ เหลอื กค็ อ่ ยปลกู
ข้าวหอมมะลเิ พอื่ ขาย นีจ่ ึงเรยี กว่าเหมาะสม
หรือลองมองกลับมาท่ีชีวติ คนที่ไม่ใช่เกษตรกรกันบา้ ง
ชวี ิตการงานของบางคนอาจจ�ำเป็นต้องมีรถ บางคนไม่จำ� เป็น
บางคนอาจจำ� เปน็ ตอ้ งมอี นิ เทอรเ์ นต็ แตบ่ างคนไมไ่ ดจ้ ำ� เปน็ ขนาดนนั้
บางคนอาจจำ� เปน็ ตอ้ งมเี สอื้ ผา้ สวยๆ ใหมๆ่ แตบ่ างคนกไ็ มไ่ ดจ้ ำ� เปน็
ต้องมขี นาดน้นั
เพราะความจ�ำเปน็ ของเราไมเ่ หมอื นกัน
เราคงตัดสินแทนคนอื่นไม่ได้ ว่าสิ่งท่ีเขาอยากได้มาครอบครอง
เปน็ สง่ิ ทตี่ อ้ งมี หรอื แคส่ ง่ิ ทต่ี อ้ งการ เราทำ� ไดแ้ คเ่ รมิ่ มองจากหนว่ ยทางสงั คม
ท่ีเลก็ ท่สี ุดก่อน
นั่นคือตวั เรา

ห้ามจำ�หน่าย 175

สง่ิ ท่เี ราตอ้ งการ มันกค็ อื สง่ิ ท่ตี ้องมจี รงิ หรือ?
ถ้าไม่ใช่ แล้วเรามีทรัพย์สินในมือเพียงพอจะฟุ่มเฟือยไปกับ
ความต้องการทไ่ี ม่ตอ้ งมไี ดม้ ากแค่ไหน
ถ้าพอจะมีใช้ได้ การตามใจความต้องการของตัวเองเสียบ้าง
ก็ไมม่ ีปญั หาอะไร
แต่ถ้าไม่มีพอจะใช้จ่ายตามความต้องการ แล้วยังซื้อของตามใจ
ตวั เอง น่ันแหละท่ีเรยี กวา่ ไมพ่ อเพยี ง
ดังทใ่ี นหลวงทรงเคยตอบไว้วา่
“...คนเราถา้ พอในความตอ้ งการ กม็ คี วามโลภนอ้ ยเมอื่ มคี วามโลภ
น้อย ก็เบียดเบยี นคนอ่ืนนอ้ ย ถา้ ทกุ ประเทศมีความคิด...ว่าท�ำอะไรตอ้ ง
พอเพยี ง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโตง่ ไมโ่ ลภอย่างมาก คนเรา
กอ็ ยู่เป็นสขุ ...”
“...พอเพียงน้ีอาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้อง
ไมไ่ ปเบียดเบียนคนอืน่ ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พดู จาก็พอเพียง
ทำ� อะไรกพ็ อเพยี ง ปฏบิ ตั ติ นก็พอเพียง...”

176 T H E V I S I O N A R Y ห้ามจำ�หน่าย

ถงึ ตรงนี้ อยากใหท้ กุ คนกลบั ไปนกึ ถงึ สง่ิ ทที่ ดไวใ้ นหวั ตง้ั แตต่ อนตน้
ของบท แล้วลองถามตวั เองดอู กี ที
ว่าถา้ หากในหลวงถามเราว่า “อยากได้อะไรท่สี ุด”
เราจะยังตอบเหมือนที่คิดไว้ตอนแรกอยหู่ รือเปล่า

ห้ามจำ�หน่าย 177



KEYS OF SUCCESS

� แยกส่ิงท่ตี ้องมี ออกจากสง่ิ ที่ตอ้ งการ
สงิ่ ทเ่ี ราคดิ วา่ จำ� เปน็ จรงิ ๆ อาจจะไมใ่ ชข่ นาดนน้ั

� ‘ต้องม’ี ตอ้ งมากอ่ น
สร้างความสะดวก ด้วยการเสาะหาของทชี่ ีวิตตอ้ งมี

� ช่ังตวงความอยากให้สมดลุ
ถา้ มีต้นทุนพอจะฟุ่มเฟอื ยได้ก็จัดไป แต่อยา่ เตมิ อาหารให้ความอยาก
จนชวี ิตล�ำบากนกั



“...เมื่อหลายปีมาแล้ว ตอนท่ีไปสหรัฐอเมริกา มีทีวีอเมริกัน
มาสัมภาษณ์ เขาถามว่า ‘ในรชั กาลของท่าน ท่านตอ้ งการอะไร จดุ หมาย
ต้องการอะไร อยากให้รัชกาลของท่านจารึกในประวัติศาสตร์อย่างไร’
กต็ อ้ งตอบเขาวา่ ความปรารถนาคอื วา่ รชั กาลนขี้ อไมจ่ ารกึ ในประวตั ศิ าสตร์
ไม่ให้มี
“เขาก็แปลกใจ แต่ท่านท้ังหลายคงไม่แปลกใจ เพราะอธิบายแล้ว
วา่ ถา้ มคี วามสงบ มคี วามเรยี บรอ้ ยของประเทศชาติ จะไมเ่ ปน็ ประวตั ศิ าสตร์
เราไม่ต้องการประวัติศาสตร์ เวลาไหนที่มีสงคราม มีความยุ่งยาก ตีกัน
นน่ั นะ่ เปน็ ประวตั ศิ าสตร์
“ฉะนนั้ ทตี่ ้องการก็คอื ตอ้ งการให้เมอื งไทยอยู่ไปอยา่ งสงบ ไมต่ อ้ ง
มีอะไรโลดโผนเท่าไหร่ ไม่ต้องมีชอื่ ไมต่ อ้ งดัง แล้วจะมีความสขุ และจะ
ย่ังยนื วนั ไหนทจ่ี ะดังเรากจ็ ะดังได้ เพราะว่าเราสงบ...”
พระราชด�ำรสั พระราชทานแกค่ ณะบคุ คลตา่ งๆ ที่เขา้ เฝา้ ฯ ถวาย
พระพรชยั มงคล เนอ่ื งในโอกาสวนั เฉลมิ พระชนมพรรษา ณ ศาลาดสุ ดิ าลยั
สวนจติ รลดา พระราชวงั ดสุ ติ ณ วนั ที่ 4 ธนั วาคม 2523

บรรณานุกรม

ผู้เอื้อเฟ้ือขอ้ มูล
- ม.จ.ภศี เดช รัชนี องค์ประธานมลู นธิ ิโครงการหลวง
- คุณเกรยี งศักดิ์ หงษโ์ ต อดีตอธบิ ดีกรมพัฒนาทดี่ นิ กระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์
- คุณชัยวัฒน์ สิทธิบศุ ย์ อดตี อธบิ ดีกรมพัฒนาที่ดนิ กระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์
- ดร.ณรงคช์ ัย พิพัฒนธ์ นวงศ์ ผู้อ�ำนวยการฝา่ ยตลาดและผปู้ ระสานงาน
ไม้ผลขนาดเล็ก มลู นิธโิ ครงการหลวง
- ว่าที่ ร.ท.ดิลก ศิรวิ ลั ลภ ลา่ มภาษายาวปี ระจำ� พระองค์
- คุณเทวิน จรรยาวงษ์ ช่างภาพสื่อมวลชนอิสระท่ีตามเสด็จฯ ถ่ายภาพ
ในหลวง ร.9
- คณุ ธรี พจน์ หะยีอาแว ล่ามภาษายาวีประจำ� พระองค์
- คุณประดับ กลัดเข็มเพชร อดีตผู้อ�ำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนา
ห้วยฮอ่ งไครอ้ ันเน่ืองมาจากพระราชดำ� ริ
- คุณประเสริฐ สมะลาภา อดตี ปลัดกรงุ เทพมหานคร
- คณุ ปราโมทย์ ไมก้ ลดั อดตี อธิบดีกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์
- คุณปานเทพ กล้าณรงค์ราญ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษ
เพอ่ื ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ
- พล.ต.พยงค์ สุขมา อดตี รองเจา้ กรมแผนท่ีทหาร

- คุณพัชรินทร์ เศวตสุทธิพันธ์ อดีตบรรณาธิการข่าวในพระราชส�ำนัก
ชอ่ ง 9 อสมท.
- ดร.พสิ ุทธ์ิ วจิ ารณส์ รณ์ ทป่ี รึกษากรมพฒั นาทด่ี นิ กระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์
- คุณมนัส ทรงแสง อดีตรองเลขาธิการส�ำนักงานคณะกรรมการ
โทรคมนาคมแห่งชาติ
- พล.ต.อ.วสษิ ฐ เดชกุญชร อดตี หวั หนา้ นายต�ำรวจราชสำ� นกั ประจ�ำ
- ดร.วรี ะชยั ณ นคร ทป่ี รกึ ษาดา้ นพฤกษศาสตรแ์ ละสงิ่ แวดลอ้ ม สำ� นกั งาน
ทรพั ย์สินสว่ นพระมหากษัตริย์
- คณุ ศรนี ติ ย์ บญุ ทอง อดตี รองเลขาธกิ ารคณะกรรมการพเิ ศษเพอื่ ประสาน
งานโครงการอันเน่อื งมาจากพระราชด�ำริ
- คุณสงคราม โพธิ์วไิ ล ผู้ถวายงานการใชก้ ล้องถา่ ยภาพ
- คุณสมลักษณ์ วงศ์งามข�ำ ที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงาน
ทรัพยส์ ินสว่ นพระมหากษตั รยิ ์
- ศ.ดร.สนั ทัด โรจนสนุ ทร อดีตนายกราชบณั ฑติ ยสภา
- รศ.ดร.สุธี อักษรกิตติ์ ผู้สนองพระราชด�ำริในโครงการระบบส่ือสาร
สายอากาศและอิเล็กทรอนิกส์
- ดร.สเุ มธ ตันติเวชกลุ เลขาธิการมลู นิธิชัยพัฒนา

หนังสือ
- 50 ปี โครงการสว่ นพระองค์ สวนจติ รลดา โดย โครงการสว่ นพระองค์
สวนจิตรลดา
- 70 ปี แก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธกิ ารสำ� นักพระราชวงั 3 กนั ยายน 2541
- 72 ปี แกว้ ขวญั วชั โรทยั เลขาธกิ ารสำ� นักพระราชวงั 3 กนั ยายน 2543
- 72 พรรษา บรมราชาธิราชเจ้านักรัฐศาสตร์ สมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์
จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลัย
- 84 พรรษาราชาผูพ้ ทิ กั ษ์ ปฏบิ ัตกิ ารใต้เบอ้ื งพระยคุ ลบาท โดย สำ� นกั งาน
ตำ� รวจแห่งชาติ
- การทรงงานของพอ่ ในความทรงจ�ำ โดย ปราโมทย์ ไมก้ ลัด
- ครองใจคน : หลากเหตผุ ลทค่ี นไทยรักในหลวง โดย อมติ า อริยอัชฌา
- งานช่างของในหลวง โดย มหาวิทยาลยั ศลิ ปากร
- จดหมายเหตุ สิทธิบัตรฝนหลวง โดย กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- เจ้านายเล็กๆ - ยุวกษัตริย์ พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าพ่ีนางเธอ
เจา้ ฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธวิ าสราชนครินทร์
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้านการสื่อสาร โดย
คณะกรรมการอ�ำนวยการจดั งานฉลองสริ ิราชสมบตั ิครบ 50 ปี
- ตามรอยพ่อ ก - ฮ โดย สวุ ัฒน์ อัศวไชยชาญ
- ตามเสด็จ จากทะเลสูท่ ีส่ งู 80 ชนั ษา โดย ม.จ.ภีศเดช รัชนี
- ใต้เบื้องพระยุคลบาท โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกลุ
- ท�ำเป็นธรรม โดย ทา่ นผูห้ ญงิ เกนหลง สนทิ วงศ์ ณ อยธุ ยา

- แนวพระราชด�ำริในมหานคร คลองลัดโพธ์ิและสะพานภูมิพล โดย
ส�ำนักงานทรพั ยส์ ินส่วนพระมหากษตั รยิ ์
- ในหลวงกับประชาชน 45 ปี สถานีวิทยุ อส. พระราชวังดุสิต โดย
สถานีวทิ ยุ อส. พระราชวงั ดุสติ
- ในหลวงของเรา โดย อคั รวฒั น์ โอสถานุเคราะห์
- บทความของนายขวญั แกว้ วชั โรทยั รองเลขาธกิ ารสำ� นกั พระราชวงั ฝา่ ย
กจิ กรรมพเิ ศษ บรรยายเฉลมิ พระเกยี รติ ในปีพุทธศกั ราช 2533 ถงึ 2552
- บันทกึ ความทรงจำ� “เร่ืองการสอื่ สารของในหลวง” โดย พล.ต.ต.สชุ าติ
เผือกสกนธ์
- ประทีปแห่งแผน่ ดนิ โดย มนญู มกุ ข์ประดษิ ฐ์
- ประมวลพระบรมราโชวาทและพระราชด�ำรัส ของพระบาทสมเด็จ
พระเจา้ อยหู่ วั พทุ ธศกั ราช 2493-2548 โดย คณะกรรมการกองทนุ บำ� เหนจ็
บำ� นาญขา้ ราชการ
- ประวัติศาสตร์ศูนย์การศึกษาพัฒนาอันเน่ืองมาจากพระราชด�ำริ โดย
ส�ำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเน่ืองมาจาก
พระราชดำ� ริ
- ปวงประชาสขุ ศานต์ พระปรีชาชาญนำ� วถิ ี โดย กรุงเทพมหานคร
- เป็นอยู่คอื โดย ท่านผูห้ ญิงเกนหลง สนทิ วงศ์ ณ อยธุ ยา
- พระคณุ ธ รกั ษา ประชาเปน็ สขุ ศานต์ โดย บรษิ ทั ควอลลเี ทค จำ� กดั (มหาชน)
- พระผู้ทรงเป็นครูเศรษฐศาสตร์ของแผ่นดิน โดย คณะวิทยาการจัดการ
สถาบนั ราชภัฏธนบุรี

- พระทรงเป็นพลังแผ่นดิน โดย สถาบันด�ำรงราชานุภาพ กระทรวง
มหาดไทย
- พระบรมครชู า่ ง โดย วิทยาลยั เทคโนโลยแี ละอาชวี ศกึ ษา
- พระบารมีปกเกล้าฯ ชาวอยธุ ยา โดย สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยธุ ยา
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัวกับคณะองคมนตรี โดย คณะองคมนตรี
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โดย ส�ำนักงานเสรมิ สร้างเอกลกั ษณ์ของชาติ สำ� นักนายกรัฐมนตรี
- พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หวั และโครงการหลวง โดย ม.จ.ภีศเดช รชั นี
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระผู้อยู่ในหัวใจของนักปกครอง โดย
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- พระมหากษตั รยิ น์ กั พัฒนาเพื่อประโยชน์สุขส่ปู วงประชา โดย สำ� นักงาน
คณะกรรมการพฒั นาการเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ
- พระวิรยิ ะบารมีปกเกลา้ ฯ ท่กี รุงเทพมหานคร โดย กรงุ เทพมหานคร
- พธิ เี ปดิ ทางคู่ขนานลอยฟา้ ถนนบรมราชชนนี โดย กรงุ เทพมหานคร
- เพญ็ พระพริ ยิ ะเกนิ จะรำ� พนั โดย สมาคมภาษาและหนงั สอื แหง่ ประเทศไทย
- แมอ่ ยากให้เธออยู่กับดนิ โดย ศ.ดร.สันทัด โรจนสุนทร และ ดร.พสิ ุทธิ์
วจิ ารสรณ์
- รอยพระยุคลบาท โดย พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร
- รอ้ ยเรอ่ื งเลา่ : เกรด็ การทรงงาน โดย สำ� นกั งานคณะกรรมการพเิ ศษเพ่ือ
ประสานงานโครงการอนั เน่อื งมาจากพระราชด�ำริ

- สถาบันพระมหากษัตริย์กบั มุสลมิ ในแผ่นดินไทย โดย ศนู ย์มสุ ลิมศึกษา
สถาบันเอเชียศกึ ษา จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลยั
- สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดย คณะกรรมการอ�ำนวยการ
“งานเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จ
พระศรนี ครินทราบรมราชชนน”ี
- สมเดจ็ พระศรนี ครนิ ทราบรมราชชนนี โดย โครงการไทยศกึ ษา ฝา่ ยวชิ าการ
จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั
- สะพานพระราม 8 โครงการแกไ้ ขปญั หาจราจรตามแนวพระราชดำ� ริ โดย
กรุงเทพมหานคร
- สายธาราแห่งพระมหากรณุ าธิคุณ โดย คณะกรรมการสภาวจิ ยั แหง่ ชาติ
- สายฝน เหนอื ปากนำ้� บางนรา โดย ชมุ ศักดิ์ นรารตั น์วงศ์
- สายร้งุ 100 ปี ชาตกาล ม.ร.ว.เทพฤทธ์ิ เทวกุล โดย กรมฝนหลวงและ
การบนิ เกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- สารานกุ รมพระราชกรณยี กจิ พระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ในรอบ 60 ปี
แหง่ การครองราชย์ โดย คณะกรรมการอำ� นวยการจดั งานฉลองสริ ริ าชสมบตั ิ
ครบ 60 ปี
- หลักธรรม หลักท�ำ ตามรอยพระยคุ ลบาท โดย ดร.สเุ มธ ตันตเิ วชกลุ
- อคั รมหาราชา ปนิ่ ฟา้ คมนาคม โดย กระทรวงคมนาคม

บทความ
- โครงการก่อสร้างทางอันเน่ืองมาจากพระราชด�ำริ โดย กรมทางหลวง
กระทรวงคมนาคม
- ในหลวงกบั ทนั ตกรรม โดย ศ.(พเิ ศษ) ทญ. ทา่ นผหู้ ญงิ เพช็ รา เตชะกมั พชุ
- บทพระราชทานสมั ภาษณ์ ของสมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ าฯ ในรายการ
‘พูดจาประสาชา่ ง’ สถานวี ทิ ยจุ ฬุ าฯ ระบบ FM 101.5
- พระบรมราชานุเคราะหช์ าวเขา โดย ม.จ.ภีศเดช รชั นี
- พระปรีชา ‘ในหลวง’ แก้จราจรก่อนจะเกิดจลาจล นิตยสารเนชั่นสุด
สปั ดาห์ วันท่ี 29 ธันวาคม 2538 - 4 มกราคม 2539
- พระมหากรุณาธิคณุ ของ พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หวั รชั กาลท่ี 9 ตอ่
ปวงชนชาวไทย โดย ดร. สเุ มธ ตนั ตเิ วชกุล
- พระอจั ฉรยิ ภาพดา้ นการสอ่ื สาร และหนงั สอื บนั ทกึ ความทรงจำ� เรอ่ื งการ
สอ่ื สารของในหลวง โดย พล.ต.ต.สชุ าติ เผอื กสกนธ์
- อาจารย์เมธา รชั ตะปตี ิ อดีตผอู้ �ำนวยการส�ำนกั งานปฏิบตั กิ ารฝนหลวง
เราเปน็ ฝนหลวงนะ จงภมู ใิ จ นติ ยสารผาสกุ ปที ี่ 31 ฉบบั ท่ี 164 กรกฎาคม
- กนั ยายน 2551
- ศจ.พนู เกษจำ� รสั อาจารยพ์ เิ ศษ แผนกถา่ ยภาพ วทิ ยาลยั เทคโนโลยแี ละ
อาชวี ศกึ ษา วทิ ยาเขตเพาะชา่ ง นติ ยสารสารคดี ฉบบั ท่ี 34 เดอื นธนั วาคม
2530
- สมเดจ็ พระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกมุ ารี ทรงสนทนาเรอื่ ง ‘พระ
ราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ’
วนั ที่ 12 พฤษภาคม 2538

ส่ือวิดิทัศน์
- สารคดชี ดุ ประพาสตน้ บนดอย โดยบริษัท พาโนราม่า เวลิ ดไ์ วด์ จำ� กดั
ร่วมกับ บริษทั อสมท.จ�ำกดั (มหาชน)
- สมั ภาษณ์ คุณวุฒิ สมุ ิตร อดตี รองราชเลขาธกิ าร จากรายการมรดกแหง่
ความทรงจำ� ในรัชกาลที่ 9 สถานีโทรทศั น์ Workpoint TV

ถอดรหัสกษตั ริยผ์ ู้มองเห็นอนาคต

พิมพ์ครงั้ ท่ี 1 ตลุ าคม 2560
จัดทำ� โดย ทมี งานสานต่อท่ีพอ่ ท�ำ
แยกสแี ละพมิ พ์
บริษัท ยูไนเตด็ โปรดกั ชน่ั เพรส จ�ำกดั
285 หมู่ 13 ซอยเพชรเกษม 93 ถนนเพชรเกษม ออ้ มนอ้ ย
กระทมุ่ แบน สมุทรสาคร 74130
โทรศพั ท์ 0-2813-8915




Click to View FlipBook Version