The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทความวิจัยนางสาวปรารถนา สมรฤทธิ์ 126 ทัศนศิลป์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ปรารถนา สมรฤทธิ์, 2024-02-10 08:41:25

บทความวิจัยนางสาวปรารถนา สมรฤทธิ์ 126 ทัศนศิลป์

บทความวิจัยนางสาวปรารถนา สมรฤทธิ์ 126 ทัศนศิลป์

1 การพัฒนาทักษะในรายวิชาทัศนศิลป์ เรื่อง การระบายสี Oli Pastel สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning SKILL DEVELOPMENT IN THE VISUAL ARTS SUBJECT: OLI PASTEL PAINTING FOR 4TH GRADE STUDENTS USING THE ACTIVE LEARNING TEACHING MODEL ปรารถนา สมรฤทธิ์¹ PRATTHANA SAMORNRIT บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะในรายวิชาทัศนศิลป์ ก่อนเรียน และหลังเรียน เรื่อง การระบายสี Oli Pastel สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบ การสอนแบบ Active Learning (2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะในรายวิชาทัศนศิลป์ ก่อนเรียนและหลัง เรียน เรื่อง การระบายสี Oli Pastel สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอน แบบ Active Learning (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การระบายสี Oli Pastel สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learningประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 จำนวนนักเรียน 34 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิชัยได้แก่ แผนการจัดการ เรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Active Learning แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และสถิติ ttest ________________________________ ¹ นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ; Master Student of Program in Visual Arts, Faculty of Education, Udon Thani Rajabhat University, Thailand


2 ผลการวิจัยพบว่า (1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอน ในรายวิชาทัศนศิลป์ เรื่อง การระบายสี Oli Pastel สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ รูปแบบการสอนแบบ Active Learning มีคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินความสามารถในการปฏิบัติ ทักษะ และการสังเกตพฤติกรรมจากกิจกรรมในแต่ละแผน เท่ากับ 132.65 คิดเป็นร้อยละ 78.03 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 3.91 และมีคะแนนเฉลี่ยจากคะแนนจากการทดสอบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เท่ากับ 25.03 คิดเป็นร้อยละ 83.43 ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 3.23 นั่นคือ (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการ สอนในรายวิชาทัศนศิลป์ เรื่อง การระบายสี Oli Pastel สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ รูปแบบการสอนแบบ Active Learning มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 78.03/83.43 (2) การเปรียบเทียบ ทักษะในรายวิชาทัศนศิลป์ ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การระบายสี Oli Pastel สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning มีคะแนนเฉลี่ยทดสอบก่อนเรียน เท่ากับ 14.97 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 2.01 คิดเป็นร้อยละ 49.90 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 25.03 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 3.23 คิดเปีนร้อยละ 83.43 เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง คะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 (3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียน การสอนในรายวิชาทัศนศิลป์ เรื่อง การระบายสี Oli Pastel สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( X ) เท่ากับ 4.48 ABSTRACT The objectives of this research are (1) to compare skills in the visual arts subject; Before class and after class on Oli Pastel coloring for Grade 4 students using the Active Learning teaching model (2) to compare skills in the visual arts subject. Before class and after class on coloring Oli Pastel for Grade 4 students using the Active Learning teaching model (3) to study student satisfaction. That has to do with organizing learning activities on Oli Pastel coloring for 4th grade students using the Active Learning teaching model. The population and sample group are 4th grade students in the 1st semester of the 2023 academic year. Udon Thani Kindergarten Udon Thani Primary Educational Service Area Office, Area 1, number of students, 34, were obtained by random sampling. Tools used in Vichai include: Learning management plan according to the


3 Active Learning teaching model. Academic achievement test. and satisfaction questionnaire Statistics used are percentage, mean, standard deviation, and t-test statistics. The results of the research found that (1) the efficiency of the learning management plan according to the teaching model in the visual arts subject, Oli Pastel painting, for 4th grade students using the Active Learning teaching model had an average score. From the assessment of ability to practice skills and observation of behavior from activities in each plan was equal to 132.65, calculated as 78.03 percent, standard deviation equal to 3.91, and the average score from scores from the academic achievement test after studying with the learning activity plan was equal to 25.03, calculated as percent. 83.43 standard deviation equals 3.23, that is, (1) learning activity plan according to the teaching model in the visual arts subject, Oli Pastel painting, for Grade 4 students using the Active teaching model. Learning efficiency is equal to 78.03/83.43 (2) Comparison of skills in the visual arts subject. Before class and after class on the subject of Oli Pastel coloring for Grade 4 students using the Active Learning teaching model, the pretest mean score was 14.97, the standard deviation was 2.01, or 49.90 percent. The posttest mean score was 49.90%. equal to 25.03, standard deviation equal to 3.23, accounting for 83.43 percent. When comparing the pre-study and post-study test scores, it was found that the post-study scores were higher than before, with statistical significance at the .01 level (3) Satisfaction of Students towards organizing learning activities according to the teaching model in the visual arts subject, Oli Pastel painting, for Grade 4 students using the Active Learning teaching model. Overall, the students were satisfied. Satisfied at a high level with a mean ( X ) equal to 4.48 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ศิลปะมีบทบาทที่สำคัญและส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนให้พัฒนาอย่างเต็ม ศักยภาพ โดยเฉพาะการแสดงออกทางด้านอารมณ์ความรู้สึก ทางด้านจิตใจ จินตนาการความคิด สร้างสรรค์ และยังช่วยปลูกฝังระเบียบวินัยและความรับผิดชอบในการทำงาน ซึ่งสะท้อนถึงทักษะชีวิต ความเป็นอยู่ในสังคมปัจจุบัน โดยครูผู้สอนที่อยู่ในศตวรรษที่ 21 ต้องคำนึงถึงพัฒนาการทั้งด้าน ร่างกายและด้านสติปัญญา วิธีการจัดการเรียนรู้ความต้องการ และศักยภาพของนักเรียนเป็นระยะ ๆ


4 อย่างสม่ำเสมอ การจัดการเรียนการสอนในแต่ละช่วงชั้น ต้องใช้รูปแบบการสอนและกระบวนการที่ หลากหลาย มุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริงและ การบูรณาการกับรายวิชาอื่น ๆ ซึ่งกิจกรรม ทางทัศนศิลป์ที่ส่งเสริมจินตนาการของนักเรียนจะช่วยกล่อมเกลา เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของ นักเรียนให้มีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย รู้จักเลือกวิธีการปฏิบัติที่มีประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ปลูกฝังบุคลิกภาพที่ดีให้เกิดขึ้นกับนักเรียนตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก เพื่อนำไปสู่การเป็น พลเมืองที่มีคุณภาพในอนาคต การสอนวิชาทัศนศิลป์มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะทำให้นักเรียนได้ ถ่ายทอดจินตนาการของตนเองออกมาในรูปแบบที่ผู้อื่นเข้าใจง่าย เป็นการฝึกทักษะให้มีการเชื่อมโยง สัมพันธ์กับวิชาอื่น ๆ เป็นการวางรากฐานทางความคิดของนักเรียนให้เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักการคิดอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ ช่วยให้พัฒนาบุคลิกภาพ พัฒนาจิตใจ และรสนิยม (ณัฐวรรณ เฉลิมสุข, 2560 : ออนไลน์) การเรียนรู้วิชาทัศนศิลป์ เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนเกิด ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการทางศิลปะ สามารถชื่นชมความงาม มีสุนทรียภาพ มีผลต่อคุณภาพ ชีวิตของมนุษย์ ช่วยพัฒนานักเรียนทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม นำไปสู่การ พัฒนาสิ่งแวดล้อมรอบตัว นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง ซึ่งเป็นรากฐานในการศึกษาต่อหรือ ประกอบอาชีพในอนาคต (กรมวิชาการ, 2551 : 35) เมื่อเด็กได้เรียนวิชาทัศนศิลป์ จะช่วยเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีให้แก่เด็ก ช่วยให้เด็กพัฒนา ความคิด สร้างสรรค์ กิจกรรมการเรียนรู้วิชาทัศนศิลป์ สามารถช่วยสร้างจิตสำนึกการเห็นคุณค่าของ ศิลปะ ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม รวมทั้งยังช่วยปลูกฝังให้เด็กมีความรัก ความเมตตา ความรับผิดชอบ และมีพื้นฐานรสนิยมที่ดีจาก ทัศนะดังกล่าวจะเห็นได้ว่า วิชาศิลปะมีความสำคัญในการช่วยพัฒนา คุณภาพของนักเรียนในทุกด้าน ส่งผลดีทักษะและการเรียนรู้ของนักเรียน วิชาทัศนศิลป์ถือว่ามีความ เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา ซึ่ง ผู้สอนมักจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ถ่ายทอด ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้วยกิจกรรมการ วาดภาพระบายสี การระบายสีมีหลายวิธีการ เช่น การระบาย การสลัด การแต้ม ฯลฯ ด้วยสีชนิด ต่าง ๆ ซึ่งสีถือว่าเป็นองค์ประกอบหลักในการสร้างงานศิลปะให้เกิดความสวยงาม ส่งผลต่ออารมณ์ ความรู้สึก ความคิด และให้ความแตกต่างระหว่างรูปกับพื้น หรือรูปทรงกับพื้นที่ว่าง ช่วยให้เกิด ความรู้สึกเคลื่อนไหวด้วยการนำสายตาของผู้ดู ช่วยดึงดูดความสนใจให้ความเป็นมิติแก่รูปทรง ให้ ความลึกในภาพการระบายสีช่วยให้เด็กได้ผ่อนคลาย มีสมาธิจดจ่อกับงานระบายสี เด็กจะรู้สึกมี ความสุข มีชีวิตชีวา เป็นการเสริมสร้างสมาธิไปในตัว การระบายสีช่วยให้เด็กไม่ต้องรีบเร่งมาก ช่วยให้ มีช่องว่างในการทำ สิ่งต่าง ๆ ให้ช้าลง สร้างความสมดุลให้กับสมองทั้งสองซีก รู้จักแก้ปัญหานำไปใช้ ในชีวิตประจำวัน และบูรณาการความรู้ใช้กับสาระการเรียนรู้อื่น ๆ การฝึกระบายสี จะช่วยให้นักเรียน สามารถเลือกใช้สีให้เหมาะสมกับภาพ และทำให้สีถ่ายทอดความรู้สึกได้ (รงค์ ประภาสะโนบล, 2552 : 65)


5 การระบายสี Oli Pastel ในรายวิชาทัศนศิลป์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ทักษะการระบาย สีมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการสร้างงานศิลปะ เป็นหนึ่งกิจกรรมที่จะช่วยพัฒนาทักษะดังกล่าวได้ ดียิ่งขึ้น และช่วยให้นักเรียนได้เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถ เชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการ เรียนรู้ ที่มีครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำ กระตุ้น หรืออำนวยความสะดวก ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น โดย กระบวนการคิดขั้นสูง กล่าวคือ ผู้เรียนมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประเมินค่าจากสิ่งที่ได้รับ จากกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความหมายและนำไปใช้ในสถานการณ์ฃอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สถาพร พฤฑฒิกุล, 2558) จากการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาทัศนศิลป์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลอุรธานี ได้สังเกตและประเมินตรวจชิ้นงานพบว่า นักเรียนมีปัญหาในด้านการใช้สี ส่วนมากจะเป็นการระบายสีบอกระยะใกล้ไกลของภาพ โดยใช้สีที่ เข้มไปหาสีที่อ่อนกว่า หรือจากสีที่อ่อนไปหาสีที่เข้มกว่า การระบายสียังไม่กลมกลืนและเรียบเนียนเข้า หากัน นักเรียนไม่กล้าติดสินใจเกิดความลังเลและความกังวลใจ ในการเลือกใช้สีมาระบายสีให้เกิดสีที่ อ่อนหรือสีที่เข้ม ซึ่งเห็นได้จากผลงานการระบายสีของนักเรียนเมื่อภาค เรียนที่ 1 ว่า นักเรียนจำนวน มากยังมีความบกพร่องในเรื่อง การระบายสีให้เกิดน้ำหนัก ซึ่งสอดคล้องกับสภาพ ปัญหาการจัดการ เรียนการสอนวิชาศิลปะของ ชนิกานต์ หูตาชัย (2563 : 34) กล่าวว่า นักเรียนยังขาดทักษะความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง การวาดภาพโดยใช้เทคนิคของแสงเงาและน้ำหนักวรรณะสี โดยดูจากการที่ นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานการวาดภาพระบายสีแล้วไม่ค่อยมีการใช้เทคนิคน้ำหนักแสงเงา และวรรณะ สีในการสร้างสรรค์ผลงาน และมีนักเรียนบางส่วนที่สร้างสรรค์ผลงานการวาดภาพระบายสีแล้วมีการ ใช้เทคนิคน้ำหนัก แสงเงา ในการสร้างสรรค์ผลงานไม่ถูกต้องตามหลักการของการใช้เทคนิคน้ำหนัก แสงเงาและวรรณะสี ทำให้ผลงานการวาดภาพระบายสีที่ออกมาไม่ค่อยมีความสวยงาม จากสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยเห็นว่า จำเป็นต้องพัฒนาทักษะความสามารถในการระบายสี ที่เหมาะสมและจำเป็นอย่างยิ่งในการเสริมประสิทธิภาพ และความสามารถทางการเรียนวิชาศิลปะ และทักษะการการไล่น้ำหนักตามวงจรสีได้เป็นอย่างดี เพราะการฝึกทักษะจะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ และฝึกฝนการระบายสีอย่างเป็นลำดับก่อน-หลัง ตามขั้นตอนที่เหมาะสมและต่อเนื่อง รูปแบบการจัด กิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถ เชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการ เรียนรู้ ผู้วิจัยจึงพิจารณาเลือกรูปแบบการสอนแบบ Active Learning สำหรับนักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งมีเนื้อหาที่มีความจำเป็นต้องเรียนรู้ เพื่อที่นักเรียนจะได้มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการ ระบายสีถึงเทคนิคกระบวนการที่ถูกต้อง ส่งผลให้เกิดทักษะพื้นฐานในการนำเทคนิคการ ระบายสีไปใช้ ในการเรียนในระดับที่สูงขึ้นต่อไป


6 ปัจจุบันผู้วิจัยได้รับมอบหมายให้สอนในรายวิชาทัศนศิลป์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งนักเรียนใน ระดับชั้นดังกล่าว เป็นนักเรียนที่ผ่านการเรียนเรื่อง ทัศนธาตุและวรรณะ แต่เนื่องจากการจัดการเรียน การสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 นั้นพบว่ามีนักเรียนส่วนใหญ่ยังขาดทักษะในการสร้างสรรค์ ผลงาน ที่นำความรู้เรื่อง ทัศนธาตุและวรรณะสี มาใช้ในงานทัศนศิลป์ได้ ซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียน การสอนวิชาทัศนศิลป์ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/9 จะดำเนินการต่อไปได้ นักเรียนจะต้องมี ความรู้ความเข้าใจในเรื่อง ทัศนธาตุและวรรณะสี เพราะเนื้อหาจะเชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน ผู้วิจัยได้ เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ PLC กับครูในระดับชั้นก็พบว่าในห้องอื่น ๆ ก็เจอปัญหาเดียวกัน จึงได้ ข้อสรุปร่วมกันว่า ต้องแก้ไขปัญหาในเรื่องดังกล่าว และคำนึงถึงความสำคัญในการจัดการเรียนรู้ที่เน้น นักเรียนเป็นสำคัญในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ จากปัญหาและความสำคัญดังกล่าว การเรียนการ สอนทัศนศิลป์จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดการเรียนการสอน ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ โดย ใช้การสอนที่เหมาะสม มีการพัฒนาความสามารถการระบายสีได้ และสามารถวัดผลการเรียนรู้ได้จริง ด้วยแบบประเมินที่หลากหลายตามสภาพจริง ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้เลือกใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning เพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียน เรื่อง การระบายสี Oli Pastel เพื่อเป็นแนวทางใน การพัฒนาการเรียนการสอนในรายวิชาทัศนศิลป์ให้มีประสิทธิภาพต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้ กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1. เพื่อพัฒนาทักษะในรายวิชาทัศนศิลป์เรื่อง การระบายสี Oli Pastel สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะในรายวิชาทัศนศิลป์ ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การระบายสี Oli Pastel สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การระบายสี Oli Pastel สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning สมมติฐานของการวิจัย 1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/9 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เรื่อง การระบายสี Oli Pastel สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning กลุ่มสาระการ เรียนรู้ศิลปะ มีทักษะในรายวิชาทัศนศิลป์สูงกว่าก่อนเรียน


7 2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/9 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เรื่อง การระบายสี Oli Pastel สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning มีความพึง พอใจ อยู่ในระดับมาก ขอบเขตของการวิจัย 1. กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 จำนวน 12 ห้อง จำนวนนักเรียน 484 คน 2. กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/9 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 จำนวนนักเรียน 34 คน 3. ตัวแปรที่ศึกษา 3.1 ตัวแปรต้น คือ การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning 3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ 3.2.1 ทักษะในรายวิชาทัศนศิลป์ 3.2.2 ความพึงพอใจของนักเรียน 4. เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย เนื้อหาที่ผู้วิจัยนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งนี้คือวิชาทัศนศิลป์ เรื่อง การระบายสี Oli Pastel ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) โดย แบ่งเนื้อหาตามกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 5 เรื่อง รวมทั้งหมด 10 ชั่วโมง มีรายละเอียดดังนี้ 4.1 เส้น จำนวน 2 ชั่วโมง 4.2 สี จำนวน 1 ชั่วโมง 4.3 รูปร่าง รูปทรง จำนวน 2 ชั่วโมง 4.4 พื้นผิว จำนวน 1 ชั่วโมง 4.5 พื้นที่ว่าง จำนวน 1 ชั่วโมง


8 4.6 การผสมสี จำนวน 1 ชั่วโมง 4.7 การเลือกใช้วรรณะสีในงานทัศนศิลป์ จำนวน 2 ชั่วโมง 5. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในปีการศึกษา 2566 วิชา ทัศนศิลป์ เรื่อง การระบายสี Oli Pastal ตามแผนการจัดการเรียนรู้ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จำนวน 7 แผน ใช้เวลา 10 ชั่วโมง เป็นจำนวน 10 สัปดาห์ วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียน อนุบาลอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 จำนวน 12 ห้อง จำนวน นักเรียน 484 คน 2. กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/9 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 จำนวนนักเรียน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. ประเภทของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1. แผนการจัดการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning 2. แบบทดสอบเปรียบเทียบทักษะในรายวิชาทัศนศิลป์ ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การระบายสี Oli Pastel 3. แบบสอบถามความพึงพอใจ 2. การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือ การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีรายละเอียด ดังนี้ 2.1แผนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการ เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning มีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้ 1. ศึกษาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 2. ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551


9 3. ศึกษามาตรฐานการเรียนรู้ของกลุ่มสาระศิลปะ ช่วงชั้นที่ 4 (ป.4-ป.6) 4. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ การสอนแบบ Active Learning 5. ศึกษารายละเอียดของเนื้อหาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร 6. วิเคราะห์เนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้ เรื่อง การระบายสี Oli Pastel 7. วางแผนการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การระบายสี Oli Pastel ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งใช้ในการจัดการเรียนการสอน 10 ชั่วโมง ซึ่งมีสาระการเรียนรู้ ดังต่อไปนี ตารางที่ 1 เนื้อหาของการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอน แบบ Active Learning แผนการจัดการ เรียนรู้ที่ เรื่อง เวลา (ชั่วโมง) 1 เส้น 2 2 สี 1 3 รูปร่าง รูปทรง 2 4 พื้นผิว 1 5 พื้นที่ว่าง 1 6 การผสมสี 1 7 การเลือกใช้วรรณะสีในงานทศนศิลป์ 2 รวม 10 8. สร้างแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง การระบายสี Oli Pastel ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning โดยแต่ละแผนประกอบด้วย 8.1 จุดประสงค์การเรียนรู้ (1) ด้านพุทธิพิสัย (2) ด้านทักษะพิสัย (3) ด้านจิตพิสัย 8.2 สาระการเรียนรู้ 8.3 กิจกรรมการเรียนรู้ 8.4 แหล่งการเรียนรู้ 8.5 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้


10 8.6 บันทึกผลการจัดการเรียนรู้ 9. นำแผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนเรื่อง การระบายสี Oli Pastel ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning ที่ผ่านการพิจารณา เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณาประเมินคุณภาพ ความเหมาะสม ความชัดเจน ความเป็นไปได้ของ การนำไปใช้และพิจารณาความสอดคล้องของจุดประสงค์ เนื้อหาสาระของแต่ละแผนกรจัดการเรียนรู้ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน 10. ผู้เชี่ยวชาญประเมินให้คะแนนคุณภาพและความเหมาะสมของแผนแต่ละแผน ด้วยแบบประเมินชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และผู้วิจัยได้นำคะแนนผลการประเมินมาหา ค่าเฉลี่ย เพื่อเทียบกับเกณฑ์คุณภาพ ดังนี้ ไพศาล วรคำ (2559, น. 252) ระดับความเหมาะสมมากที่สุด ให้ 5 คะแนน ระดับความเหมาะสมมาก ให้ 4 คะแนน ระดับความเหมาะสมปานกลาง ให้ 3 คะแนน ระดับความเหมาะสมน้อย ให้ 2 คะแนน ระดับความเหมาะสมน้อยที่สุด ให้ 1 คะแนน เกณฑ์การแปลผล 4.51 – 5.00 หมายถึง ความเหมาะสมมากที่สุด 3.51 – 4.50 หมายถึง ความเหมาะสมมาก 2.51– 3.50 หมายถึง ความเหมาะสมปานกลาง 1.51– 2.50 หมายถึง ความเหมาะสมน้อย 1.00 – 1.50 หมายถึง ความเหมาะสมน้อยที่สุด ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้พิจารณาค่าเฉลี่ยความเหมาะสมตั้งแต่ 3.51 คะแนนขึ้นไป ปรากฎผลการประเมิน ได้ค่าเฉลี่ย ความเห็นผู้เชี่ยวชาญเท่ากับ 4.51 ส่วนเยี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.16 ซึ่งอยู่ใน ระดับเหมาะสมมากที่สุด แล้วนำไปทดลองใช้ กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 11. นำผลการประเมินที่ผู้เชี่ยวชาญประเมินแล้วนำไปปรับปรุงแก้ไขแล้วเสนอ อาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อพิจารณาความถูกต้องอีกครั้ง และจัดพิมพ์เป็นฉบับร่างเพื่อนำไปทดลองกับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 1/2566 โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง และยังไม่เคยเรียนเนื้อหานี้มาก่อน คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 34 คน เพื่อทดลอง กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning ทดลองกิจกรรมการเรียนรู้เสร็จ เเล้วนำส่วนที่บกพร่องของแผนการจัดการเรียนรู้มาปรับปรุง


11 12. นำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การระบายสี Oli Pastel ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning ที่ปรับปรุงแก้ไขมาจัดพิมพ์ฉบับ สมบูรณ์ ไปใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 4/9 ปีการศึกษา 1/2566 โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุดรธานี เขต 1ต่อไป 2.2 แบบทดสอบทักษะในรายวิชาทัศนศิลป์ แบบทดสอบทักษะทางการเรียนวิชาทัศนศิลป์เรื่อง การระบายสี Oli Pastel ที่ ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีลักษณะเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบมี 4 ตัวเลือก ในการสร้างแบบทดสอบทักษะใน รายวิชาทัศนศิลป์.ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างตามลำดับขั้นตอน ดังนี้ 1. ศึกษาเอกสารหลักสูตร ได้แก่ คู่มือครู คู่มือวัดและประเมินผลวิชาทัศนศิลป์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 การสร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตรเอกสารที่เกี่ยวข้องเทคนิคการเขียน ข้อสอบ การสร้างแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 2. ศึกษาคำอธิบายรายวิชา วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ สาระที่ 1 สาระทัศนศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดังที่กล่าวมาข้างต้น นำมาสร้างแบบทสอบเพื่อ ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ 3. ศึกษาวิธีการสร้างแบบทดสอบทักษะในรายวิชาทัศนศิลป์ 4. กำหนดจำนวนข้อสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ที่เขียนทั้งหมดและต้องการใช้ จริง แล้วเขียนข้อสอบให้สอดกล้องกับเนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละข้อ 5. นำแบบทดสอบที่สร้างขึ้นเสนอต่อหัวหน้ากลุ่มสาระ เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสม และให้ข้อเสนอแนะในด้านความเหมาะสมของเนื้อหากับจุดประสงค์การเรียนรู้ แล้วนำมา ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ 6. นำแบบทดทักษะในรายวิชาทัศนศิลป์ ที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้กับนักเรียน กลุ่มเป้าหมายชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 4/9 โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี ต่อไป 2.3 การศึกษาความพึงพอใจ ในการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การ ระบายสี Oli Pastel ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning โดยผู้วิจัย ได้กำหนดลำดับ ดังต่อไปนี้ 1. ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวิธีการสร้างแบบวัดความพึงพอใจในการเรียนรู้ 2. ศึกษาวิธีสร้างแบบวัดความพึงพอใจ จากหนังสือการวิจัยทางการศึกษา (ไพศาล วรคำ, น. 256)


12 3. สร้างแบบวัดความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่ามี 5 ระดับ ตามวิธีของ ลิเคอร์ท (ไพศาล วรคำ, น. 252) จำนวน 15 ข้อ โดยกำหนดระดับความพึงพอใจ ดังนี้ พึงพอใจมากที่สุด ให้ 5 คะแนน พึงพอใจมาก ให้ 4 คะแนน พึงพอใจปานกลาง ให้ 3 คะแนน พึงพอใจน้อย ให้ 2 คะแนน พึงพอใจน้อยที่สุด ให้ 1 คะแนน โดยกำหนดระดับความพึงพอใจเมื่อเทียบกับเกณฑ์คะแนนเฉลี่ย ตามเงื่อน ไขค่าเฉลี่ยระดับ คะแนนเฉลี่ย แปลผล 4.51 – 5.00 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด 3.51 – 4.50 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก 2.51 – 3.50 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ ป่านกลาง 1.51 – 2.50 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ น้อย 1.00 – 1.50 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ น้อยที่สุด 4. นำแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนนำเสนอผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบ ความเที่ยงตรงของแบบวัดความพึงพอใจในการเรียน จำนวน 3 คน 5. จากนั้นนำผลคะแนนผลการประเมินความเที่ยงตรงของผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์ หาค่าเฉลี่ยเพื่อเทียบกับเกณฑ์และพบว่าข้อคำถามแบบวัดความพึงพอใจทั้ง 15 ข้อ มีค่า IC ผ่าน เกณฑ์ทุกข้อ ซึ่งมีค่า IC อยู่ระหว่าง 3.46 – 4.84 โดยพิจารณาปรับปรุงแก้ไขข้อคำถามบางรายการให้ ชัดเจนเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อนำไปทดลองใช้กับนักเรียนกลุ่มที่ทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/9 โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี จำนวน 34 คน และนำผลการทดลองมา หาคุณภาพของแบบสอบถาม 6. นำผลการทดลองที่ใช้แบบวัดความพึงพอใจในการเรียน มาวิเคราะห์หาค่าอำนาจ จำแนกโดยใช้สูตรสหสัมพันธ์อย่างง่ายโดยวิธี Item Total Correlation ของเพียร์สัน ไพศาล วรคำ (2559, น. 309) พบว่า ค่าอำนาจจำแนก เข้าเกณฑ์ทุกข้อและคัดเลือกข้อที่มีค่าอำนาจจำแนกสูงไว้ใช้ จำนวน 15 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 – 0.47 และนำคะแนนของแบบวัดทั้ง 14 ข้อ ที่คัด ไว้มาคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟา ตามวิธีการ ของคอนบาค พบว่า มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.68 7. จัดพิมพ์แบบวัดความพึงพอใจเพื่อนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างจริงต่อไป


13 การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้ 1. แบบแผนการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทคลองเบื้องต้น แบบกลุ่มเดี่ยววัดผลก่อนและ หลังการทดลอง (One Group pretest-Posttest Disign) ดังตารางที่ 4 ตารางที่ 2 แบบแผนการวิจัย การสุ่ม กลุ่มทดลอง ทดสอบก่อน สิ่งทดลอง ทดสอบหลัง – E O1 X O2 เมื่อ X แทน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง 5 แผน O1 แทน การทดสอบก่อนการทดลอง O2 แทน การทดสอบหลังการทดลอง E แทน กลุ่มทดลอง 2. ระยะเวลในการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้ ได้ดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 5 แผน 10 ชั่วโมง ไม่รวมเวลาทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 3. ขั้นดำเนินการวิจัย 3.1 ทดสอบก่อนเรียน ด้วยแบบทดสอบทักษะในรายวิชาทัศนศิลป์ จำนวน 30 ข้อ ตรวจ ให้คะแนน ตอบถูกให้ 1 ตอบผิดให้ 0 และเก็บบันทึกคะแนนไว้ 3.2 ก่อนทำการทดลอง ผู้วิจัยชี้แจงหลักการและเหตุผลในรายละเอียดขั้นตอน และการ ปฏิบัติ ให้กับนักเรียนตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/9 โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี ภาค เรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 จำนวน 34 คน รับทราบ 3.3 ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนเรื่อง การระบายสี Oli Pastel โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อเตรียมจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนและเก็บผลการเรียนระหว่างเรียน ทีละแผน โดยเก็บจากแบบทดสอบ 3.4 หลังสิ้นสุดการทดลอง ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังเรียน (Post Test) โดยใช้แบบทดสอบ ทักษะในรายวิชาทัศนศิลป์ ชุดเดียวกับแบบทคสอบก่อนเรียน


14 การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1. วิเคราะห์หาค่าประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง การระบายสี Oli Pastel ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ให้มี ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 โดยวิเคราะห์ตามสูตรการหาค่า E1/E2 2. วิเคราะห์การเปรียบเทียบทักษะในรายวิชาทัศนศิลป์ ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การ ระบายสี Oli Pastel ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning จาก คะแนนวัดทักษะในรายวิชาทัศนศิลป์ ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยวิเคราะห์จากค่า t–test 3. วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การระบายสี Oli Pastel ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning ด้วยค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐานและร้อยละ ของคะแนนที่ได้จากนักเรียนกลุ่มตัวอย่างทุกคน ที่เป็นคะแนนความ พึงพอใจ โดยรวมทุกข้อและรายข้อ เพื่อมาเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้ ระดับคะแนนเฉลี่ย แปลความหมาย 4.51 – 5.00 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด 3.51 – 4.50 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก 2.51 – 3.50 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ ป่านกลาง 1.51 – 2.50 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ น้อย 1.00 – 1.50 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ น้อยที่สุด สรุปผลการวิจัย 1. ผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรีขนรู้ตามรูปแบบการเรียน การสอนในรายวิชาทัศนศิลป์ เรื่อง การระบายสี Oli Pastel สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning มีคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินความสามารถในการ ปฏิบัติทักษะและการสังเกตพฤติกรรมจากกิจกรรมในแต่ละแผน เท่ากับ 132.65 คิดเป็นร้อยละ 78.03 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 3.91 และมีคะแนนเฉลี่ยจากคะแนนจากการทดสอบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เท่ากับ 25.03 คิดเป็นร้อยละ 83.43 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 3.23 นั่นคือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการ เรียนการสอนในรายวิชาทัศนศิลป์ เรื่อง การระบายสี Oli Pastel สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning เท่ากับ 78.03/83.43 2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า คะแนนทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียน ตามรูปแบบการเรียนการสอนในรายวิชาทัศนศิลป์ เรื่อง การระบายสี Oli Pastel สำหรับนักเรียนชั้น


15 ประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning มีคะแนนเฉลี่ยทคสอบก่อนเรียน เท่ากับ 14.97 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 2.01 คิดเป็นร้อยละ 49.90 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 25.03 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 3.23 คิดเปีนร้อยละ 83.43 เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง คะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 3. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบ การเรียนการสอนในรายวิชาทัศนศิลป์ เรื่อง การระบายสี Oli Pastel สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ใน ระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( X ) เท่ากับ 4.48 อภิปรายผลการวิจัย จากผลการวิจัยสามารถอภิปรายผลได้คังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรีขนรู้ตามรูปแบบการเรียน การสอนในรายวิชาทัศนศิลป์ เรื่อง การระบายสี Oli Pastel สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning มีคะแนนเฉลี่ยจากการประเมินความสามารถในการ ปฏิบัติทักษะและการสังเกตพฤติกรรมจากกิจกรรมในแต่ละแผน เท่ากับ 132.65 คิดเป็นร้อยละ 78.03 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 3.91 และมีคะแนนเฉลี่ยจากคะแนนจากการทดสอบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เท่ากับ 25.03 คิดเป็นร้อยละ 83.43 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 3.23 นั่นคือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการ เรียนการสอนในรายวิชาทัศนศิลป์ เรื่อง การระบายสี Oli Pastel สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 78.03/83.43 สอดคล้องกับงานวิจัยของ วชิรา วงษ์พันธ์ุ (2555 : 10) การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ พัฒนาทักษะการระบายสี Oil Pastels ด้วยเทคนิคระบายสี 5 เทคนิค ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม ปีการศึกษา 2555 และมีประสิทธิผลแบบ E1/E2 ตามเกณฑ์ 80/80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาประสิทธิภาพแบบ E1/E2 ตามเกณฑ์ 80/80 ผลการวิจัยพบว่าการ พัฒนาทักษะ การระบายสี Oil Pastels ด้วยเทคนิคระบายสี 5 เทคนิค ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม ปีการศึกษา 2555 มีประสิทธิผลแบบ E1/E2 มีค่า 89.11/89.41 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน คือ หลังจากฝึกระบายสี Oil Pastels ด้วยเทคนิค 5 เทคนิค นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีกรศึกษา 2555 มีทักษะการระบายสี Oil Pastels ดีมากกว่าก่อน เรียน


16 ซึ่งนักวิจัยหลายท่านที่กล่าวมาล้วนมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นจากเกณฑ์ที่กำหนด แสดงว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning เรื่อง การระบายสี Oli Pastel ที่ผู้วิจัยจัดกระบวนการเรียนรู้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning ทำให้มีประสิทธิภาพตาม กระบวนการสูงกว่าเกณฑ์และมีประสิทธิภาพ ผลลัพธ์สอดคล้องกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ปรากฎเช่นนี้อาจ เนื่องมาจาก กิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning ที่ได้รับการออกแบบตาม แผนการจัดการเรียนรู้นั้นเป็นกระบวนการสอนที่กระตุ้นการเรียนรู้และ กระบวนการ จัดการของ ผู้เรียน โดยจัดกิจกรรมที่พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์เป็นหลัก เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพการคิด แก้ปัญหา และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ตามขั้นตอน ทั้งในส่วนที่เป็นการปฏิบัติองค์ประกอบย่อย ก็ จำแนกเป็นลำดับขั้นตอนทีละองค์ประกอบย่อยจนเข้าใจ และนำมาหลอมรวมชื่อมโยงเป็นสาระสำคัญ หรือความคิดรวบยอดในภาพรวม จึงส่งผลให้เกิดความความเข้าใจทางปัญญาและความสามารถใน การปฏิบัติทักษะ จนบรรลุผลทั้งการเรียนรู้ ด้านกระบวนการและด้านผลลัพธ์ สอดคล้องกับคำกล่าวของ กมลวรรณ ตังธนกานนท์ (2559, น. 17) ได้กล่าวไว้ว่า ข้อดีของ การวัดและประเมินผลทักษะปฏิบัติ เมื่อเปรียบเทียบกับการวัดเละประเมินผลการเรียนรู้แบบดั้งเดิม การวัดและการประเมินผลทักษะปฏิบัติมีข้อดีดังนี้ 1) การวัดและประเมินผลทักษะการปฏิบัติทำให้ เป้าหมายการเรียนรู้ชัดเจนขึ้นเนื่องจากการวัดและประเมินทักษะการปฏิบัตินั้น ผู้ประเมินจะจัด สถานการณ์หรือกำหนดงานที่ชัดเจนให้ผู้เรียนหรือผู้รับการประเมินปฏิบัติ ทำให้ผู้ประเมินต้องศึกษา และทำความเข้าใจเป้าหมายการเรียนรู้หรือเป้าหมายของการปฏิบัติงาน ซึ่งอาจมีความชับซ้อนและ เป็นนามธรรมล้วน สรุปออกมาให้เป็นงานที่ผู้เรียน หรือผู้รับการประเมินต้องปฏิบัติ ซึ่งมีลักษณะเป็น รูปธรรมมากขึ้น 2) การวัดและประเมินผลทักษะปฏิบัติ สามารถประเมินความสามารถในการปฏิบัติ ได้จริงของผู้เรียน หรือผู้รับการประเมิน ผลลัพธ์สำคัญที่คาดหวังของการจัดการศึกษา คือ ความสามารถในการใช้ความรู้ ที่ได้เรียนมาในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหาจริง ดังนั้น การวัดและ ประเมินผลการปฏิบัติ ซึ่งเน้นการประเมินความสามารถในการปฏิบัติได้จริ งจึงตอบสนองผลลัพธ์ ดังกล่าวในการจัดการศึกษาได้ 3) การวัดและประเมินทักษะการปฏิบัติ สอดคล้องกับทฤษฎีการ เรียนรู้แนวใหม่ ทฤษฎีการเรียนรู้แนวใหม่มักจะให้ความสำคัญกับการที่ผู้เรียน สามารถใช้ความรู้ที่มี อยู่เดิมมาสร้างความรู้ใหม่ และให้ความสำคัญกับการกระตุ้นให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้า และสืบสอบ เรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ ผ่านกิจกรรม ซึ่งมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายคลึงกับสภาพจริง ซึ่งการกำหนดงาน สำหรับวัดและประเมินผล ทักษะการปฏิบัติงานหลายประเภทก็ให้ผู้เรียน ได้ค้นคว้าหรือสอบความรู้ ต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน 4) กรวัดและประเมินผลทักษะปฏิบัติ ทำให้ครูผู้สอนสามารถบูรณาการ การ พัฒนาความรู้ทักษะ และความสามรถของผู้เรียนเข้าด้วยกันได้ เนื่องจากงานการวัดและประเมินผล การปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงงานหรืองานที่ใช้ระยะเวลาปฏิบัตินาน มักจะเป็นงานที่ กำหนดให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะและความสามารถหลาย ๆ ด้าน 5) การวัดและประเมินผลทักษะปฏิบัติ


17 เชื่อมโยงกับการเรียนการสอน มากกว่าการวัดและประเมินผลแบบประเพณีนิยม ซึ่งใช้เพียงการสอบ วัดด้วยแบบวัดข้อเขียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการเรียนการสอนในยุดปฏิรูปการศึกษา ซึ่งเน้นให้ ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการฝึกปฏิบัติ และประเมินผลการจัดการเรียนการสอน ด้วยวิธีที่หลากหลาย มากกว่าการสอบวัดด้วยแบบสอบข้อเขียน 6) การวัดและประเมินผลทักษะปฏิบัติ ช่วยขยายขอบเขต ของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เนื่องจากงานสำหรับการวัดและประเมินทักษะการ ปฏิบัติมีหลายรูปแบบ ทำให้ผู้เรียนแสดงความสามารถและทักษะที่หลากหลายมากขึ้น ส่งผลให้การ วัดและประเมินผลการเรียนรู้ขยายขอบเขตมากขึ้นด้วย 2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า คะแนนทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียน ตามรูปแบบการเรียนการสอนในรายวิชาทัศนศิลป์ เรื่อง การระบายสี Oli Pastel สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning มีคะแนนเฉลี่ยทคสอบก่อนเรียน เท่ากับ 14.97 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 2.01 คิดเป็นร้อยละ 49.90 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 25.03 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 3.23 คิดเปีนร้อยละ 83.43 เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง คะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/9 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนแบบ Active Learning เรื่อง การระบายสี Oli Paste กลุ่มสาระการรูปแบบเรียนรู้ศิลปะ มีผลสัมฤทธิ์หลัง เรียนสูงกว่าก่อนเรียน จะเห็นได้ว่าก่อนเรียนในการสอนแบบ Active Learning นั้น นักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 ขาดทักษะการระบายสี Oli Paste ซึ่งส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยตาม ธรรมชาติ วิชาศิลปะหรือสาระทัศนศิลป์แล้วนั้น เป็นวิชาที่ลงมือปฏิบัติ ความรู้ความจำ ความเข้าใจใน ทฤษฎี เป็นส่วนหนึ่งในการลงมือปฏิบัติที่สามารถวัดได้จากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากผลสัมฤทธิ์ที่วัดก่อนเรียนในการสอนแบบ Active Learning นั้น พบว่า ผู้เรียนยังมีผลสัมฤทธิ์ต่ำ จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 14.97 คิดเป็นร้อยละ 49.90 เมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้ ตามการสอนแบบ Active Learning เรื่อง การระบายสี Oli Paste แล้วนั้น ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดโดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 25.03 คิดเป็นร้อยละ 83.43 3. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชา ทัศนศิลป์ เรื่อง การระบายสี Oli Pastel สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการ สอนแบบ Active Learning โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( X ) เท่ากับ 4.48 ซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนแบบ Active Learning เรื่อง การ ระบายสี Oli Pastel ที่ปรากฏเช่นนี้ อาจเนื่องมาจากผู้เรียนได้รับโอกาสในการเรียนและปฏิบัติ กิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการ และความสนใจในกิจกรรมของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้บาง ทักษะต้องใช้ความพยายามสูง และความสามารถส่วนตัวจึงจะเรียนได้สำเร็จ แต่กระบวนการเรียนรู้


18 โดยภาพรวม นักเรียนเรียนรู้ตามกระบวนการอย่างผ่อนคลาย เริ่มจากการเรียนรู้จากตัวอย่างหรือ ส่วนย่อย ๆ ของการแยกองค์ประกอบก่อน เพื่อให้เข้าใจและสามารถปฏิบัติกิจกรรมตามทักษะต่างๆ ได้ ประกอบกับธรรมชาติ วิชาศิลปะสนับสนุนให้ผู้เรียนเรียนรู้ปฏิบัติด้วยตนเอง และให้ใช้ความ พยายามในการปฏิบัติกิจกรรม เพื่อความสวยงามและถูกต้องตามหลักวิชา ซึ่งปรากฎให้เห็นผลทันทีที่ ปฏิบัติได้ เหตุผลอีกประการหนึ่งได้แก่ การที่ผู้เรียนได้รับโอกาสในการฝึกปฏิบัติทักษะกับครูผู้สอน เป็นประจำ อาจส่งผลให้นักเรียนมีความสามารถที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงเป็นเหตุจูงใจให้ผู้เรียนเกิด ความกระตือรือร้น และมีแรงจูงใจที่กระทำหรือปฏิบัติ เพื่อเพิ่มความสามารถในทักษะต่างๆ มาก ยิ่งขึ้น ส่งผลให้ผู้เรียนรู้สึกดีและมีความพึงพอใจในการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนแบบ Active Learning ผู้วิจัยเองมีความพอใจอย่างมาก ที่ผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับ มนตรี ศิริจันทร์ชื่น (2554) ทำการวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการสอนนักศึกษากลุ่ม ใหญ่ในรายวิชา Gsoc 2101 ชุมชนกับการพัฒนาโดยใช้ การสอนแบบ Active learning และการใช้ บทเรียนแบบ e - learning มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ เพื่อสร้างบทเรียน e - learning ในรายวิชา Gsoc 2101 ชุมชนกับการพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาผสสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ เปรียบเทียบผลการเรียนของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา GรoC 2101 ชุมชนกับการพัฒนา และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่เรียนรายวิชา Gรoc 2101 ชุมชนกับการพัฒนา และ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษากับนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอนโดยกำหนด โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา Gsoc 2101ชุมชนกับ การพัฒนาที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 3 หมู่เรียน ประมาณ 112 คนผลการวิจัยพบว่า1)การสร้างสื่อการสอนแบบ e - learning รายวิซา Gsoc 2101ชุมชนกับการ พัฒนาสำหรับนักศึกษา โดยผ่านระบบ e - learning ของมหาวิทยาลัยพบว่าประสิทธิภาพของ นวัตกรรมค่า E1/E2 มีค่าเท่ากับ58.65/61.44 แสดงว่านวัตกรรมสื่อบทเรียน e - Learning รายวิชา Gsoc2101 ชุมชนกับการพัฒนาที่อาจารย์ผู้สอนสร้างขึ้นในระบv e - learning ยังไม่ผ่านเกณฑ์ที่ กำหนดไว้ที่ 80/80 ซึ่งจะต้องมีการพัฒนานวัตกรรม ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น 2)การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนในระบบการสอนแบบ Active learning และจัดการสอนแบบกลุ่ม ใหญ่โดยใช้สื่อบทเรียน e - เearning รายวิชา GรoC 2101 ชุมชนกับการพัฒนาพบว่ามีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสูงขึ้น เฉลี่ยสูงขึ้น ร้อยละ 23.50 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 05 และ3)ผลการศึกษา ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนพบว่าความพึงพอใจ อยู่ในเกณฑ์ดีในด้านการจัดการเรียน การสอนเนื้อหาการเรียนรู้ สื่อการสอน e - learning ในความสัมพันธ์กับเพื่อน การพัฒนาตนเอง และ ปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์ผู้สอน โดย มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.89 ถึง 4.11


19 ข้อเสนอแนะของการวิจัย จากการการพัฒนาทักษะในรายวิชาทัศนศิลป์ เรื่อง การระบายสี Oli Pastel สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning นั้น ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะที่อาจ เป็นประ โยชน์ต่อการปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และวิจัยในครั้งต่อไป ดังต่อไปนี้ 1. ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้ 1.1 ผู้สอนควรทำการสำรวจความต้องการของนักเรียน เกี่ยวกับเนื้อหาของการวาดภาพ ระบายสีหรือเรื่องที่อยู่ในความสนใจของนักเรียน และเพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียน การสอนเพื่อการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 1.2 ก่อนดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูผู้สอนควรศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้ใน รูปแบบการสอนแบบ Active Learning ให้ละเอียด เพื่อให้เกิดความเข้าใจในขั้นตอนในการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ 1.3 ควรปรับปรุงกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนแบบ Active Learning ให้มี ความหลากหลายยิ่งขึ้นเพื่อให้นักเรียนมีแรงจูงใจ สนุกสนาน สนใจเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนมาก ยิ่งขึ้น 1.4 ก่อนจะนำการสอนในรูปแบบการสอนแบบ Active Learning ไปใช้ในการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ นั้นครูผู้สอนควรคำนึงถึงความรู้พื้นฐานของนักเรียนที่แตกต่างกัน ครูควรวัด พื้นฐานการเรียนรู้ของนักเรียน และจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อปรับพื้นฐานก่อน 1.5 ผู้สอนควรดูแล ตรวจสอบและช่วยเหลือผู้เรียนในทุกขั้นตอนโดยเฉพาะการสาธิตและ ลงมือปฏิบัติงาน ว่าถูกต้องหรือไม่ เพราะผู้เรียนมีพื้นฐานการวาดภาพระบายสีแตกต่างกัน ทำให้ กิจกรรมไม่ต่อเนื่อง 1.6 ในแต่ละกิจกรรมผู้สอนควรเปิดโอกาสให้นักเรียนแต่ละคน ได้แสดงความคิดเห็นข้อ ค้นพบใหม่ ๆ เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นความรู้เบื้องต้นให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติร่วมกัน อย่างถูกต้อง และทำกิจกรรมได้ตรงกับกระบวนการ 1.7 เนื่องจากการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนในรายวิชาทัศนศิลป์ เรื่อง การระบายสี Oli Pastel สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning อาจทำให้ละเลยพื้นฐานการเรียนรู้ ด้านข้อเท็จจริง หลักกการ และทฤษฎีในสาขาวิชา ดังนั้นควรสอดแทรกความรู้เข้าไป เพื่อไม่ให้ส่งผลให้ผู้เรียนไม่ได้รับข้อมูลครบถ้วน


20 2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรมีการศึกษากับตัวแปรอื่น ๆ ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนในรายวิชาทัศนศิลป์ เรื่อง การระบายสี Oli Pastel สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning ในระดับชั้นที่สูงขึ้น 2.2 ควรมีวิจัยที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง การระบายสี Oli Pastel สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะ ทางการเรียนรู้ของผู้เรียนให้สูงขึ้น 2.3 ควรมีการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนรู้ทักษะความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้การจัด กิจกรรมการเรียนรู้ทักษะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning ทั้งนี้เพื่อพัฒนาทักษะทางความคิดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น 2.4 ควรมีการวิจัยผลการจัดการเรียนรู้โดยการจัดกิจกรรมการในรูปแบบการสอนแบบ Active Learning ควบคู่กับการศึกษาความคงทน ในการเรียนรู้ของผู้เรียนกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะหรือกลุ่มสาระการเรีขนรู้อื่น ทั้งนี้เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัติและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ ผู้เรียนให้สูงขึ้น 2.5 ผู้สอนควรพิจารณาพื้นฐานความรู้ของผู้เรียน เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกเนื้อหา สื่อ และเป็นแนวทางในการพัฒนาความสามารถของนักเรียน ไปพร้อมกับรูปแบบการเรียนการสอนใน รูปแบบการสอนแบบ Active Learning หรือสอดคล้องกับรูปแบบการเรียนการสอนในรูปแบบด้าน อื่น ๆ


21 เอกสารอ้างอิง กรมวิชาการ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. ชนิกานต์ หูตาชัย. (2563). การพัฒนาความสามารถด้านการวาดภาพเชิงสร้างสรรค์ โดยการ จัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม. ณัฐวรรณ เฉลิมสุข. (2560). การสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์: ส่งเสริมจินตนาการเรียนรู้. (2017): ฉบับ ภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. ไพศาล วรคำ. (2559). การวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์. รงค์ ประภาสะโนบล. (2552). ทัศนศิลป์ ป.1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาการคิดวิเคราะห์ เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีงาม. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาคุณภาพ วิชาการ (พว.). วชิรา วงษ์พันธ์ุ. (2555). การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทักษะการระบายสี Oil Pastels ด้วย เทคนิคระบายสี 5 เทคนิค ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอัสสัมชัญแผนก ประถม ปีการศึกษา 2555. ทินกร ปนีทอง: งานวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนวังไกลกังวล ในพระ บรมราชูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2564. สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). การจัดการเรียนรู้ด้วย Active Learning เพื่อการแก้ปัญหาอย่าง สร้างสรรค์. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (2019): มกราคม – มิถุนายน.


Click to View FlipBook Version