โครงงานคณิตศาสตร์ เรื่อง WIFI แรงด้วย Parabola จัดทำโดย 1. นายขวัญชัย ไกลถิ่น 2. นางสาวสุชาวดี สิทธิ 3. นางสาวหทัยกานต์ นภาวงศ์สกุล ครูที่ปรึกษา 1. นางสาวนภัสกร วงค์วุฒิ 2. นายศรัญญู ศรีสุข โรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย รายงานฉบับนี้เป็นส่วนประกอบของโครงงานคณิตศาสตร์ ประเภทบูรณาการความรู้ในคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เนื่องในงานศิลปะหัตกรรมนักเรียนครั้งที่ 71 ประจำปีการศึกษา 2566
ก ชื่่อโครงงาน WIFI แรงด้วย Parabola ผู้จัดทําโครงงาน 1. นายขวัญชัย ไกลถิ่น 2. นางสาวสุชาวดี สิทธิ 3. นางสาวหทัยกานต์ นภาวงศ์สกุล ครูที่ปรึกษาโครงงาน 1. นางสาว นภัสกร วงค์วุฒิ 2. นายศรัญญู ศรีสุข สถานศึกษา โรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม ปีการศึกษา 2566 บทคัดย่อ โครงงาน เรื่อง WIFI แรงด้วย Parabola มีวัตถุประสงค์1) เพื่อพัฒนาสัญญาณ WIFI ภายใน โรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคมได้ใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงโดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์เรื่อง พาราโบลา 2) นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคมมีความพึงพอใจต่อการใช้ WIFI เมื่อใช้เมื่อใช้จานกระจายและรับสัญญาณ วิธีการดำเนินงาน คิดหัวข้อในการทำโครงงานเริ่มจากการประชุมปัญหาที่พบเจอใน ชีวิตประจำวันและสิ่งที่ต้องการพัฒนา คือต้องการการกระจายสัญญาณอินเทอร์เนื่องด้วยเน็ตช้าและ ไม่เสถียร โดยทำการศึกษา เรื่อง พาราโบลา เส้นโค้งของพาราโบลามีความสามารถในการสะท้อนแสง หรือคลื่นสัญญาณที่เดินทางมาเป็นเส้นตรงให้มารวมกันที่จุดจุดเดียว หรือจุดโฟกัส ผลจากการสะท้อน มารวมกันทำให้แสงหรือสัญญาณที่ว่านั้นมีความเข้มสูงขึ้นมากจะทำให้รับสัญญาณได้ชัดเจน ทางผู้จัดทำได้ดำเนินการดังนี้ หาวัสดุที่พบเห็นในชีวิตประจำวันที่เป็นลักษณะเป็นพาราโบลานำมามา ห่อด้วยอลูมิเนียมฟรอยด์เพื่อเพิ่มสัญญาณให้แรงขึ้น นำเนินการหาจุดโฟกัสเพื่อนำตัวส่งสัญญาณและ ตัวรับสัญญาณไปติดตั้ง ผลการดำเนินงานพบว่า 1. สัญญาณ WIFI ภายในโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคมมีอัตราการ Download เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 13.75 Mb/s , Upload เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 16.68 Mb/s และ Latency ลดลงเฉลี่ย 3.67 ms 2. นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคมมีความพึงพอใจในการ ใช้ WIFI ภายในโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคมเมื่อใช้จานกระจายและรับสัญญาณ คิดเป็น ร้อยละ 94.96
ข กิตติกรรมประกาศ โครงงานเรื่อง WIFI แรงด้วย Parabola ประกอบด้วยการดำเนินงานหลายขั้นตอน นับตั้งแต่ การศึกษาหาข้อมูล การประดิษฐ์ การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดทำโครงงานเป็นรูปเล่ม จนกระทั้ง โครงงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ตลอดระยะเวลาดังกล่าวคณะผู้จัดทำโครงงานได้รับความช่วยเหลือ และคำแนะนำในด้านต่างๆ ตลอดจนได้รับกำลังใจจากบุคคลหลายท่าน คณะผู้จัดทำตระหนักและ ซาบซึ้งในความกรุณาจากทุกๆ ท่านเป็นอย่างยิ่ง ณ โอกาสนี้ ขอขอบคุณทุกๆท่าน ดังนี้ ขอขอบคุณ ผู้อำนวยการโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม นายสมเกียรติ สุขคำฟอง ที่ให้ความ อนุเคราะห์ และให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ขอขอบคุณ คุณครูนภัสกร วงค์วุฒิ และคุณครูศรัญญู ศรีสุข ครูที่ปรึกษาโครงงาน ผู้ให้ คำแนะนำและได้เมตตาให้ความช่วยเหลือในทุกๆด้าน ตลอดจนเอื้อเฟื้อห้องปฏิบัติการและเครื่องมือ ต่างๆ ในการทำโครงงานนนี้จบประสบความสำเร็จ ขอขอบคุณ คุณครูสมบูรณ์ ปรัชญาภูวดล ครูผู้สอนรายวิชาคอมพิวเตอร์ ที่ได้ให้ความรู้เรื่อง สัญญาณอินเตอร์เน็ตและให้ความอนุเคราะห์ในการทดสอบสัญญาณอินเตอร์เน็ต สุดท้ายนี้ขอขอบคุณคณะผู้จัดทำที่ร่วมกันทำโครงงานช่วยให้ข้อเสนอแนะ และร่วมกันสร้าง โครงงานนี้ขึ้นอย่างเต็มความสามารถ คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจไม่มากก็น้อยหาก ผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย คณะผู้จัดทำ
ค สารบัญ เรื่อง หน้า บทคัดย่อ ก กิตติกรรมประกาศ ข บทที่ 1 บทนำ ที่มาและความสำคัญ 1 จุดประสงค์ 2 ขอบเขตการศึกษา 2 เนื้อหาคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง 2 นิยามศัพท์เฉพาะ 2 ประโยชน์ที่ขาดว่าจะได้รับ 2 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง ขอบเขตของเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ 3 ขอบเขตเนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 8 บทที่ 3 วิธีการดำเนินการ ขั้นตอนการดำเนินงาน 10 วัสดุอุปกรณ์ 11 การออกแบบอุปกรณ์รับสัญญาณอินเตอร์เน็ต 11 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล 14 บทที่ 4 ผลดำเนินงาน 15 บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 17 บรรณานุกรม 18 ภาคผนวก ภาคผนวก ก ประวัติคณะผู้จัดทำ ภาคผนวก ข ผลจากการทดสอบความเร็ว ภาคผนวก ค แบบสอบถามความพึงพอใจ
ง สารบัญตาราง เรื่อง หน้า ตารางที่ 1 สรุปสมการพาราโบลา 7 ตารางที่ 2 การดำเนินงาน 10 ตารางที่ 3 วัสดุ/อุปกรณ์และงบประมาณ 11 ตารางที่ 4 การเก็บรวบรวมข้อมูลของอัตราการ Download – Upload และ Latency 15 ตารางที่ 5 แสดงระดับคุณภาพความพึงพอใจ 15
จ สารบัญรูปภาพ รูปภาพ หน้า รูปที่ 1 ภาคตัดกรวย (Conic Sections) 3 รูปที่ 2 การตัดกรวย 4 รูปที่ 3 คลื่นขนานวิ่งเข้าสู่กระจกแบบพาราโบลา ถูกรวมคลื่นไปยังจุดโฟกัส F 4 รูปที่ 4 ผิวโค้งพาราโบลอยด์(paraboloid) 5 รูปที่ 5 ส่วนประกอบของพาลาโบลา 5 รูปที่ 6 พาราโบลาหงายพาราโบลาซึ่งมีจุดยอดที่จุด (0,0) และแกนของรูปทับแกน y 6 รูปที่ 7 พาราโบลาเปิดขวาพาราโบลาซึ่งมีจุดยอดที่จุด (0,0) และแกนของรูปทับแกน x 6 รูปที่ 8 หุ้มวัสดุด้วยอลูมิเนียมฟรอยด์ 11 รูปที่ 9 ตัดท่อ PVC เพื่อต่อเป็นขาตั้งจานกระจายสัญญาณและจานรับสัญญาณ 11 รูปที่ 10 นำจานที่หุ้มด้วยอลูมิเนียมฟรอยด์มาติดกับขาตั้ง 12 รูปที่ 11 นำเราเตอร์และ High-Gain ไปติดตั้งที่จุดโฟกัส 13 รูปที่ 12 นำไปทดลองใช้และเก็บรวบรวมข้อมูล 13
1 บทที่ 1 บทนำ ที่มาและความสำคัญ ในปัจจุบันนี้ระบบอินเทอร์เน็ต ได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูลต่างๆ การติดต่อสื่อสาร หรือจะเป็นการอำนวยความสะดวกสบายในด้าน ต่างๆ การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการสนับสนุนการศึกษา เป็นการใช้อินเทอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสารเพื่อ การส่งการบ้าน นัดหมาย อธิบารายละเอียด รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของครูกับนักเรียน และ นักเรียนกับนักเรียนด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีระบบการเรียนการสอนด้วยระบบออนไลน์การเรียน ออนไลน์ค่อนข้างเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เพราะเป็นการเรียนที่สะดวกสามารถเรียนได้ในเวลาที่ ต้องการ และทั้งนี้อินเทอร์เน็ตนั้นยังสามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูลเสมือนเป็นห้องสมุดขนาด ใหญ่พร้อมทั้งมีข้อมูลที่ครอบคลุมมีทั้งภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว คณิตศาสตร์วิชารากฐานของวิทยาการหลายสาขาวิชาและมีบทบาทสำคัญต่อความเจริญ ทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและความเจริญในอีกหลาย ๆ ด้าน การเรียนวิชาคณิตศาสตร์คือการ เรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันเส้นโค้งของพาราโบลามีความสามารถในการสะท้อนแสงหรือ คลื่นสัญญาณที่เดินทางมาเป็นเส้นตรงให้มารวมกันที่จุดจุดเดียว หรือจุดโฟกัส ผลจากการสะท้อนมา รวมกันทำให้แสงหรือสัญญาณที่ว่านั้นมีความเข้มสูงขึ้นมากจะทำให้รับสัญญาณได้ชัดเจน โรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคมอยู่ในอำเภอเวียงแก่น เป็นอำเภอซึ่งตั้งอยู่ทางทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดเชียงราย มีลักษณะภูมิประเทศที่เป็นทั้งที่ราบลุ่มมีแม่น้ำงาวไหลผ่าน และเป็นภูเขาสลับซับซ้อน ทำให้การกระจายสัญญาณอินเทอร์ช้าและไม่เสถียร ทำให้การเรียนการ สอนไม่ราบรื่น ดังนั้นคณะผู้จัดทำสนใจที่ประดิษฐ์จานกระจายสัญญาณ และจานรับสัญญาณ WIFI โดยได้ นำความรู้เรื่อง พาราโบลา ในรายวิชาคณิตศาสตร์มาบูรณาการประยุกต์ใช้จึงจัดทำโครงงาน คณิตศาสตร์เรื่อง WIFI แรงด้วย Parabola เป็นความรู้ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมาใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุดในการเพิ่มสัญญาณ WIFI ภายในโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคมให้ดีขึ้น
2 จุดประสงค์ 1. เพื่อเพิ่มสัญญาณ WIFI ภายในโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคมได้ใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็ว สูง โดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์เรื่อง พาราโบลา 2. นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคมมีความพึงพอใจต่อการใช้ WIFI เมื่อใช้จานกระจายสัญญาณและจานรับสัญญาณ WIFI ขอบเขตการศึกษา 1. การประดิษฐ์จานขยายสัญญาณอินเตอร์เน็ตเป็นรูปทรงพาราโบลาตามหลักคณิตศาสตร์ เพื่อนำไปใช้ในการเพิ่มสัญญาณอินเตอร์เน็ตในอาคารหรือสถานที่นั้นๆให้มีสัญญาณอินเตอร์เ น็ตที่เร็วกว่าเดิม 2. ระยะเวลาในการทำโครงงาน (กรกฎาคม –สิงหาคม 2566) เนื้อหาทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง 1. พาราโบลา 2. จุดโฟกัส 3. สถิติ นิยามศัพท์เฉพาะ WIFI แรงด้วย PARABOLAคือ เครื่องมือกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ต WIFI และตัวรับ สัญญาณ WIFI มีลักษณะเป็นส่วนโค้งของพาราโบลา พาราโบลา(Parabola) คือ ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเส้นโค้ง โดยเส้นโค้งนี้ เกิดจากการตัดพื้นผิวของกรวยด้วยระนาบที่ขนานกับเส้นกำเนิดกรวย (generating line) ของพื้นผิว นั้น เส้นโค้งที่เกิดขึ้นนี้จึงเป็นเซตของจุดบนระนาบ จุดโฟกัส คือเซตของจุดทั้งหมดในระนาบซึ่งมีระยะห่างจากจุดที่กำหนดและเส้นที่กำหนด เท่ากัน จุดที่กำหนดนี้เรียกว่า จุดโฟกัส และเส้นที่กำหนดนี้เรียกว่าเส้นไดเรกตริกซ์ใช้สัญลักษณ์F เมื่อพาราโบลา ประโยน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.นำความรู้ทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ 2.มีอินเตอร์เน็ตที่เร็วมากยิ่งขึ้น 3.ได้ใช้เวลาว่างเพื่อศึกษาเรื่องพาราโบล่ามากขึ้นเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดทำโครงงาน
3 บทที่2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง การทําโครงงานคณิตศาสตรในครั้งนี้ จะกล่าวถึงหัวขอต่าง ๆ ดังนี้ 1. ขอบเขตของเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ - พาราโบลา - การสะท้อนแบบพาราโบลา - จุดโฟกัส - สถิติ 2.ขอบเขตของเนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง - สัญญาณอินเทอร์เน็ต WIFI - อลูมิเนียมฟอยล์ 1.ขอบเขตของเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ 1.1 พาราโบลา พาราโบลานั้นเป็นทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเส้นโค้ง โดยเส้นโค้งนี้เกิดจากการ ตัดพื้นผิวของกรวยด้วยระนาบที่ขนานกับเส้นกำเนิดกรวย (generating line) ของพื้นผิวนั้น เส้นโค้ง ที่เกิดขึ้นนี้จึงเป็นเซตของจุดบนระนาบ ทฤษฎีพาราโบลานี้สามารถมาประยุกต์ใช้กับสิ่งต่างๆ ใน ชีวิตประจำวันได้มากมาย เช่น การโยนวัตถุต่างๆ ขึ้นไปกลางอากาศ วิถีการเดินทางของวัตถุนั้นจะ ค่อยๆขึ้นและก็ตกลงมา ซึ่งวิถีนั้นก็มีลักษณะเป็นเส้นโค้งแบบพาราโบลาด้วย รูปที่ 1 ภาคตัดกรวย (Conic Sections)
4 จากภาพบน การตัดกรวย ที่แนวระนาบที่ต่างกันก็จะได้รูปของภาคตัดกรวยที่ต่างกัน ถ้า ระนาบตัดกรวยในแนวขนานกับเส้นขอบของกรวย หรือ เส้นกำเนิดกรวย จะเกิดเส้นโค้งที่เราเรียกว่า “พาราโบลา” แต่ถ้าระนาบตัดกรวยตัดในแนวอื่นๆ ก็จะเกิด วงกลม วงรีหรือไฮเปอร์โบลา รูปที่ 2 การตัดกรวย 1.2 กานสะท้อนแบบพาราโบลา รูปที่ 3 คลื่นขนานวิ่งเข้าสู่กระจกแบบพาราโบลา ถูกรวมคลื่นไปยังจุดโฟกัส F จานสะท้อนแบบพาราโบลา (อังกฤษ: parabolic reflector) คืออุปกรณ์สะท้อน หรือกระจก ที่ใช้สะสมหรือรวบรวมพลังงาน เช่น แสง เสียง หรือคลื่นวิทยุ รูปร่างของมันคล้ายกับพาราโบลอยด์ กลม (circular paraboloid) จานสะท้อนแบบพาราโบลาสามารถมีรูปร่างเป็นคลื่นระนาบตาม แนวแกน ไปจนถึงคลื่นทรงกลมที่ม้วนวนเข้าสู่จุดโฟกัส จานสะท้อนแบบพาราโบลาใช้ในการรวบรวมพลังงานจากที่ไกลๆ และนำพลังงานนั้นรวมเข้า ไปสู่จุดโฟกัส เมื่อนำหลักการสะท้อนมาดำเนินกลับทาง จานสะท้อนแบบพาราโบลาก็อาจนำมาใช้ ส่องพลังงานจากจุดกำเนิดที่อยู่ที่โฟกัสและส่งออกไปเป็นลำพลังงานแบบขนาน
5 รูปที่ 4 ผิวโค้งพาราโบลอยด์(paraboloid) การหมุนพาราโบลารอบแกนของรูป จะได้ผิวโค้งมีลักษณะรูปโคมไฟฉาย เรียกกันว่า ผิวโค้ง พาราโบลอยด์(paraboloid) ซึ่งมีคุณสมบัติทางแสงเป็นพิเศษ เมื่อวางจุดกำเนิดแสงสว่างไว้ตรงโฟกัส (ตรงจุด F) ของรูป แสงจะกระทบผิวโค้ง แล้วสะท้อนเป็นลำแสงขนานกับแกนของรูปไปจนถึงระยะ อนันต์และ ลำแสงที่ส่องมาไกลๆ เช่น จากดวงอาทิตย์เมื่อมากระทบผิวโค้งนี้ก็จะมารวมกันที่จุด โฟกัสพอดีนักดาราศาสตร์ได้ประดิษฐ์กล้องโทรทัศน์โดยใช้ผิวโค้งพาราโบลอยด์ เป็นผิวโค้งที่รับแสง 1.3 จุดโฟกัส พาราโบลา คือเซตของจุดบนพื้นระนาบซึ่งมีระยะห่างจากจุดคงที่ เท่ากับระยะที่ห่างจากเส้นคงที่ รูปที่ 5 ส่วนประกอบของพาลาโบลา จุดยอด หรือ จุดยอดพาราโบลา จุดยอดเป็นส่วนประกอบของพาราโบลา ใช้สัญลักษณ์ “V” แทนคำ ว่า Vertex เป็นจุดยอดที่พาราโบลาตัดกับแกนของพาราโบลา หรือจุดที่อยู่กึ่งกลางระหว่างจุดโฟกัส กับเส้นไดเรกตริกซ์ เส้นไดเรกตริกซ์ (Directrix) เส้นไดเรกตริกซ์ของพาราโบลา หรือเรียกกันว่า “เส้นคงที่” เป็น เส้นตรงที่อยู่คู่กับจุดโฟกัสใช้สำหรับกำหนดหรือบังคับเซตของจุดชุดหนึ่งให้เรียงต่อกันเป็นเส้นโค้ง พาราโบลาในระบบภาคตัดกรวย
6 เลตัสเรกตัม คือ ส่วนของเส้นตรงที่ลากผ่านจุดโฟกัส และมีจุดปลายทั้งสองอยู่บนพาราโบลา ปลายด้านหนึ่งคือ A และปลายอีกด้านคือ B จึงใช้สัญลักษณ์ว่า AB เป็นเส้นที่แสดงความกว้างของ พาราโบลา ณ จุดโฟกัส และเลตัสเรกตัมจะตั้งฉากกับแกนของพาราโบลาเสมอ จุดโฟกัส หรือจุดคงที่ ใช้สัญลักษณ์ F เมื่อพาราโบลาคือเซตของจุดทั้งหมดในระนาบซึ่งมีระยะห่าง จากจุดที่กำหนดและเส้นที่กำหนดเท่ากัน จุดที่กำหนดนี้เรียกว่า จุดโฟกัส และเส้นที่กำหนดนี้เรียกว่า เส้นไดเรกตริกซ์ จุดกำเนิด จากรูปกราฟพาราโบลา จุดกำเนิด คือ จุดที่แกน x และแกน y มีค่าเท่ากับ 0 หรือ จุดที่ทั้งสองแกนตัดกัน แกนของพาราโบลา พาราโบลาคือ เส้นตรงที่ลากผ่านจุดโฟกัสและไปตั้งฉากกับเส้นไดเรกตริกซ์ (Directrix) เราจะเรียกว่าแกนของพาราโบลา รูปแบบของพาราโบลาที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุด (0,0) รูปที่ 6 พาราโบลาหงายพาราโบลาซึ่งมีจุดยอดที่จุด (0,0) และแกนของรูปทับแกน y รูปที่ 7 พาราโบลาเปิดขวาพาราโบลาซึ่งมีจุดยอดที่จุด (0,0) และแกนของรูปทับแกน x
7 ตารางที่ 1 สรุปสมการพาราโบลาออกมาได้ดังนี้ X 2 = 4cy รูปสมการ y 2 = 4cx V(0, 0) จุดยอด V(0, 0) F(0, c) จุด Focos F(c, 0) y = -c สมการเส้นไดเรกตริกซ์ x = -c |4c| ความยาวเส้นลาตัสเรกตัม |4c| รูปหงาย (เปิดบน) ถ้า c > 0 รูปตะแคงขวา (เปิดขวา) รูปคว่ำ (เปิดล่าง) ถ้า c < 0 รูปตะแคงซ้าย (เปิดซ้าย) (-2c, c), (2c, c) จุดปลายเส้นลาตัสเรกตัม (c, -2c), (c, 2c) 1.4 สถิติ สถิติ(Statistic) หมายถึง 1. ตัวเลขแทนปริมาณจำนวนข้อมูล หรือข้อเท็จจริงของสิ่งต่าง ๆ ที่คนโดยทั่วไปต้องการ ศึกษาหาความรู้ 2. ค่าตัวเลขที่เกิดจากการคำนวณมาจากกลุ่มตัวอย่าง(Sample) หรือคิดมาจากนิยามทาง คณิตศาสตร์เช่นคำนวณหาค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน ค่าที่คำนวณได้เรียกว่าค่าสถิติ( A Statistic) ส่วนค่าสถิติทั้งหลายเรียกว่า ค่าสถิติหลาย ๆ ค่า (Statistics) 3. วิชาการแขนงหนึ่งที่จัดเป็นวิชาวิทยาศาสตร์และเป็นทั้งวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์และยังหมายรวมถึงระเบียบวิธีการสถิติอันประกอบไปด้วยขั้นตอน 4 ขั้นตอนที่ ใช้ในการศึกษาได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูล(Collection of Data) การนำเสนอข้อมูล(Presentation of Data) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of Data) การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of Data) สถิติเบื้องต้น ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลที่ไม่ได้แจกแจงความถี่ สามารถคำนวณได้จากสูตร ̅ = ∑ เมื่อ ̅ (เอ็กซ์บา) คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ∑ คือ ผลบวกของข้อมูลทุกค่า คือ จำนวนข้อมูลทั้งหมด
8 ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานเป็นค่าที่บ่งบอกถึงการกระจายข้อมูลเพื่อพิจารณาว่าค่าคะแนนแต่ ละตัวจะแตกต่างไปจากค่ากลางมากน้อยเพียงใด .. = √ ∑ ∫( − ̅) 2 เมื่อ .. คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือ ข้อมูล ( = 1,2,3, … , ) ̅ (เอ็กซ์บา) คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต คือ จำนวนข้อมูลทั้งหมด f คือ ความถี่ 2. ขอบเขตของเนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 2.1 Wi-Fi WiFi (wireless fidelity) เป็นกลุ่มโพรโทคอลเครือข่ายไร้สายที่อยู่ในมาตรฐาน IEEE 802.11 ซึ่งไวไฟมักถูกใช้งานในเครือข่ายอุปกรณ์ระยะไกล้เพื่อเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยไม่ใช้สาย อินเทอร์เน็ต โดยไวไฟ จะส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตในรูปแบบของคลื่นวิทยุผ่านอุปกรณ์กระจาย สัญญาณอินเทอร์เน็ต เช่น เราเตอร์ไร้สาย แอคเซสพอยต์ไร้สาย หรือผ่านร่างแหไวไฟ (Mesh WiFi) ไวไฟสามารถพบเห็นได้ในพื้นที่สาธารณา จะรับสัญญาณ WiFi จะต้องมี3 สิ่ง ประกอบกัน ได้แก่: แบนด์วิดท์เกตเวย์และเราเตอร์ ปัจจุบันเรายังสามารถสร้าง WiFi ด้วยฟังก์ชัน Hotspot Sharing ในสมาร์ทโฟนได้ การทำงาน WiFi การเชื่อมต่อแบบไร้สายนั้นเป็นการสื่อสารแบบสองทางระหว่างเราเตอร์ และอุปกรณ์ไคลเอนต์ทั้งสองเครื่องมีเครื่องส่งและเครื่องรับวิทยุเพื่อสื่อสารระหว่างกันโดยส่ง สัญญาณผ่านคลื่นความถี่วิทยุ (2.4 GHz หรือ 5 GHz) โดยปกติเราเตอร์WiFi จะเชื่อมต่อกับเต้ารับ อีเทอร์เน็ตหรือโมเด็ม DSL/เคเบิล/ดาวเทียม ผ่านสายเคเบิลเครือข่ายสำหรับการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต จากนั้นจะบรอดคาสต์ชื่อ WiFi (SSID) ไปยังอุปกรณ์โดยรอบ เมื่ออุปกรณ์ต้องการเข้าร่วมเครือข่ายไร้ สาย อุปกรณ์จะส่งสัญญาณเพื่อแจ้งให้เราเตอร์ทราบ เมื่อเราเตอร์ได้รับและยอมรับคำขอ การชื่อมต่อ จะถูกสร้างขึ้น
9 วิธีทดสอบความเร็ว (Wifi speed) Speedtest เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการตรวจสอบความเร็วเครือข่าย เราจะสามารถดูได้ทั้ง ความเร็วในการอัพโหลดและความเร็วของการดาวน์โหลด ซึ่งสามารถดูความเร็วได้แบบเรียลไทม์คือ เป็นความเร็ว ณ ปัจจุบันที่ได้รับจากผู้ให้บริการเครือข่าย 2.2 อลูมิเนียมฟอยล์เป็นการนำโลหะอลูมิเนียม แร่ที่สามารถพบได้มากภายในโลก ด้วยคุณสมบัติ ของอลูมิเนียมคือ มีความแข็งแรงในระดับหนึ่ง มีน้ำหนักที่เบา ขึ้นรูปได้ง่าย ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ สะท้อนรังสี และคลื่นสัญญาณได้ดี
10 บทที่3 วิธีการดำเนินการ การดําเนินงาน 1. ตารางที่ 2 การดำเนินงาน ที่ วัน/เดือน/ปี กิจกรรม การดำเนินการศึกษา ผู้รับผิดชอบ 1 1-4 กรกฎาคม 2566 คัดเลือกหัวข้อโครงงาน คณะผู้ศึกษาทุกคน 2 5-7 กรกฎาคม 2566 ส่งหัวข้อโครงงานปรึกษาครูที่ปรึกษา คณะผู้ศึกษาทุกคน 3 10 – 13 กรกฎาคม 2566 กำหนดแนวทางและขอบเขตของ การศึกษา ร่วมกับครูที่ปรึกษา คณะผู้ศึกษาทุกคนและ ครูที่ปรึกษา 4 18 – 27 กรกฎาคม 2566 ทบทวนความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ พาราโบล่า คณะผู้ศึกษาทุกคนและ ครูที่ปรึกษา 5 3-7 สิงหาคม 2566 ศึกษาความรู้เรื่องรูปแบบอุปกรณ์ที่ จะช่วยเพิ่มความเร็วอินเตอร์เน็ต คณะผู้ศึกษาทุกคนและ ครูที่ปรึกษา 6 8-10 สิงหาคม 2566 ศึกษาหาความรู้เรื่องจุดโฟกัสของ ฝาชีที่นำมาทำโครงงาน และศึกษาพาราโบลาเพิ่มเติม คณะผู้ศึกษาทุกคนและ ครูที่ปรึกษา 7 11-16 สิงหาคม 2566 สรุปการศึกษารวบรวมข้อค้นพบ ความรู้ ทฤษฎี หลักการ แนวคิด ระเบียบวิธี และ ผลลัพธ์จากการศึกษาต่อครูที่ปรึกษา เพื่อรับการวิพากษ์และแก้ไขจากครูที่ ปรึกษา คณะผู้ศึกษาทุกคนและ ครูที่ปรึกษา 8 17-18 สิงหาคม 2566 จัดพิมพ์รูปเล่มโครงงาน คณะผู้ศึกษาทุกคน 9 22-25 สิงหาคม 2566 จัดทำบอร์ดนำเสนอโครงงาน คณะผู้ศึกษาทุกคน
11 2. ตารางที่ 3 วัสดุ/อุปกรณ์ และงบประมาณ ลำดับ รายการ ราคา/หน่วย จำนวน รวมราคา 1 ฝาชีขนาด(เล็ก) 25 1 25 2 ฝาชี (ขนาดใหญ่) 65 1 65 3 อลูมิเนียมฟรอยด์ 55 1 55 4 High-Gain(ตัวรับ สัญญาณอินเทอร์เน็ต) 145 1 145 5 ขาตั้ง (ท่อ PVC) 45 1 45 5 ข้อต่อ PVC 25 3 75 6 สาย USB แบบUgreen 175 1 175 3. การออกแบบอุปกรณ์รับสัญญาณอินเตอร์เน็ต ผู้จัดทำได้หาวัสดุที่พบเห็นในชีวิตประจำวันที่มีลักษณะเป็นพาราโบลา (ฝาชี) รูปที่ 8 นำวัสดุนั้น (ฝาชี) มาหุ้มด้วยอลูมิเนียมฟรอยด์ ที่มีคุณสมบัติในการสะท้อนคลื่นสัญญาณไวไฟได้ดี รูปที่ 9 ตัดท่อ PVC เพื่อต่อเป็นขาตั้งจานกระจายสัญญาณและจานรับสัญญาณ
12 รูปที่ 10 นำจานที่หุ้มด้วยอลูมิเนียมฟรอยด์มาติดกับขาตั้ง คำนวณหาจุดโฟกัสเพื่อนำเราเตอร์และ High-Gain(ตัวรับสัญญาณอินเทอร์เน็ต) ไปติดตั้ง การคำนวณหาจุดโฟกัสของจานรับสัญญาณ ขนาดของจานรับสัญญาญ กว้าง 34 เซนติเมตร ,ยาว 34 เซนติเมตร และสูง 15 เซนติเมตร สมการมาตรฐาน คือ y 2 = 4cx พาลาโบลาของจานรับสัญญาณใบนี้จะเป็นรูปตะแคงเปิดขวา จะได้ x = 15 และ y = 34 2 = 17 แทนค่า x และ y ในสมการ y 2 = 4cx จะได้ (17)2 = 4c(15) 289 = 60c C = 289 60 C ≈ 4.82 ดังนั้น ควรติดตั้งตัวรับสัญญาณที่จุดโฟกัส คือ (4.82, 0) ห่างจากจุดยอดประมาณ 4.82 เซนติเมตร การคำนวณหาจุดโฟกัสของจานกระจายสัญญาณ ขนาดของจานกระจายสัญญาญ กว้าง 60 เซนติเมตร ,ยาว 60 เซนติเมตร และสูง 23.5 เซนติเมตร สมการมาตรฐาน คือ y 2 = 4cx พาลาโบลาของจานกระจายสัญญาณใบนี้จะเป็นรูปตะแคง เปิดขวา จะได้ x = 23.5 และ y = 60 2 = 30 แทนค่า x และ y ในสมการ y 2 = 4cx
13 จะได้ (30)2 = 4c(23.5) 900 = 94c C = 900 94 C ≈ 9.58 ดังนั้น ควรติดตั้งตัวกระจายสัญญาณที่จุดโฟกัส คือ (9.58, 0) ห่างจากจุดยอด ประมาณ 9.58 เซนติเมตร รูปที่ 11 นำเราเตอร์และ High-Gain ไปติดตั้งที่จุดโฟกัส รูปที่ 12 นำไปทดลองใช้และเก็บรวบรวมข้อมูล
14 4. เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล แบบสำรวจความพึงพอใจ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล 1. หาความพึงพอใจจากผู้ใช้ผลิตภัณฑ์จำนวน 50 คน เลือกประชากรแบบสุ่มโดยใช้แบบวัด ความพึงพอใจ 2. นำข้อมูลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วสรุปผล เกณฑ์การประเมิน คะแนน 4.50 – 5.00 ได้ระดับคุณภาพ 5 ดีเยี่ยม คะแนน 3.75 – 4.49 ได้ระดับคุณภาพ 4 ดีมาก คะแนน 3.00 – 3.74 ได้ระดับคุณภาพ 3 ดี คะแนน 2.50 – 2.99 ได้ระดับคุณภาพ 2 พอใช้ คะแนน 0.00 – 2.49 ได้ระดับคุณภาพ 1 ปรับปรุง สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลที่ไม่ได้แจกแจงความถี่ สามารถคำนวณได้จากสูตร ̅ = ∑ เมื่อ ̅ (เอ็กซ์บา) คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ∑ คือ ผลบวกของข้อมูลทุกค่า คือ จำนวนข้อมูลทั้งหมด ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานเป็นค่าที่บ่งบอกถึงการกระจายข้อมูลเพื่อพิจารณาว่าค่าคะแนนแต่ ละตัวจะแตกต่างไปจากค่ากลางมากน้อยเพียงใด .. = √ ∑ ∫( − ̅) 2 เมื่อ .. คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือ ข้อมูล ( = 1,2,3, … , ) ̅ (เอ็กซ์บา) คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต คือ จำนวนข้อมูลทั้งหมด f คือ ความถี่
15 บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน โครงงานคณิตศาสตร์เรื่อง WIFI แรงด้วย Parabola เป็นโครงงานคณิตศาสตร์ประเภท บูรณาการความรู้ในคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้สามารถสรุปผลการดำเนินการ ดังนี้ 1. ข้อมูลของอัตราการ Download – Upload และ Latency ตารางที่ 4 การเก็บรวบรวมข้อมูลของอัตราการ Download – Upload และ Latency สถานที่ ไม่ได้ใช้ตัวรับและตัวส่ง ใช้ตัวรับและตัวส่ง download upload latency download upload latency ห้องคณิตศาสตร์ 4.90 5.40 94.02 17.28 7.49 41.42 ห้องวิทยาศาสตร์ 10.28 0.92 15.26 25.77 7.22 50.74 โรงอาหาร 0.00 0.00 0.00 6.01 2.74 38.28 ห้องพละ 0.00 0.00 0.00 8.57 0.56 35.51 ห้องสมุด 56.34 36.62 20.97 102.40 82.84 9.16 ห้องสำนักงาน 68.26 48.48 13.92 102.10 89.97 9.75 หอพักนักเรียน 54.21 32.03 13.12 105.70 98.79 9.63 เฉลี่ย 38.80 24.69 31.46 52.55 41.37 27.78 จากตารางที่ 4 พบว่า สัญญาณ WIFI ภายในโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคมมีอัตราการ Download เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 13.75 Mb/s , Upload เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 16.68 Mb/s และ Latency ลดลง เฉลี่ย 3.67 ms 2. ความพึงพอใจของการใช้งานสัญญาณ WIFI จากประชากร 50 คน ตารางที่ 5 แสดงระดับคุณภาพความพึงพอใจ ที่ รายการ ค่าเฉลี่ยระดับ ความพึงพอใจ ระดับ คุณภาพ ส่วนเบี่ยงเบน มาตราฐาน 1 จุดที่ใช้งานสามารถใช้งานได้ตลอด 4.88 มากที่สุด 0.32 2 การเชื่อมต่อสัญญาณง่ายไม่ยุ่งยาก 4.52 มากที่สุด 0.50 3 สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องรวดเร็ว 4.76 มากที่สุด 0.35
16 ที่ รายการ ค่าเฉลี่ยระดับ ความพึงพอใจ ระดับ คุณภาพ ส่วนเบี่ยงเบน มาตราฐาน 4 เสถียรภาพของระบบเครือข่ายในการรับ ส่งและสื่อสารข้อมูล 4.66 มากที่สุด 0.42 5 ความพึงพอใจในภาพรวมในการใช้ บริการเครือข่าย 4.92 มากที่สุด 0.37 เฉลี่ย 4.75 มากที่สุด 0.38 จากตารางที่ 5 พบว่านักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคมมีความ พึงพอใจในการใช้WIFI ภายในโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม เมื่อใช้จานกระจายและรับสัญญาณ เฉลี่ย 4.79 อยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 94.96
17 บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ โครงงานคณิตศาสตร์ เรื่อง WIFI แรงด้วย Parabola เป็นโครงงานประเภทบูรณาการความรู้ ในคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้โดยใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ในเรื่อง พาราโบลา และสถิติเบื้องต้น มาใช้ในการออกแบบและการประดิษฐ์จานกระจายสัญญาณและรับสัญญาณ WIFI เพื่อเพิ่มสัญญาณ อินเทรอร์เน็ต WIFI ภายในโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคมได้ใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง สรุปผลการดำเนินงาน 1. สัญญาณ WIFI ภายในโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคมมีอัตราการ Download เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 13.75 Mb/s , Upload เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 16.68 Mb/s และ Latency ลดลงเฉลี่ย 3.67 ms 2. นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคมมีความพึงพอใจในการใช้ WIFI ภายในโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคมเมื่อใช้จานกระจายและรับสัญญาณ อยู่ในระดับ มากที่สุด คิด เป็นร้อยละ 94.96 อภิปรายผล จากผลการดำเนินการ สามารถอภิปรายผลได้ดังต่อไปนี้ 1. จากการดำเนินการออกและประดิษฐ์จานกระจายสัญญาณและรับสัญญาณ WIFI สามารถ เพิ่มสัญญาณอินเทอร์เน็ต WIFI ภายในโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคมได้จริง จากการทดสอบความเร็ว (Wifi speed) Speedtest เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการตรวจสอบความเร็วเครือข่าย สามารถดูได้ทั้ง ความเร็วในการอัพโหลดและความเร็วของการดาวน์โหลด ซึ่งสามารถดูความเร็วได้แบบเรียลไทม์คือ เป็นความเร็ว ณ ปัจจุบันที่ได้รับจากผู้ให้บริการเครือข่าย จากการทดสอบความเร็ว (Wifi speed) Speedtest มีอัตราการ Download เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 13.75 Mb/s , Upload เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 16.68 Mb/s และ Latency ลดลงเฉลี่ย 3.67 ms 2. นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคมมีความพึงพอใจในการใช้ WIFI ภายในโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคมเมื่อใช้จานกระจายและรับสัญญาณอยู่ในระดับ มากที่สุด คิด เป็นร้อยละ 94.96 โดยมีความพึงพอใจในภาพรวมในการใช้บริการเครือข่ายสูงสุด ค่าเฉลี่ยระดับความ พึงพอใจ 4.92 และการเชื่อมต่อสัญญาณง่ายไม่ยุ่งยากต่ำสุด มีค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจ 4.52 ข้อเสนอแนะ 1. สามารถหาวัสดุที่แข็งแรงในการประดิษฐ์ 2. สามารถพกพาได้ง่าย หรือสามารถนำไปใช้นอกสถานที่ได้ง่าย
18 บรรณานุกรม สิทธิพร ทรัพย์บัญญัติ. รวมสูตรคณิตศาสตร์ม.4-5-6. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ไอ. คิว. บุ๊คเซ็น เตอร์จำกัด. 25542 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงศึกษาธิการ. หนังสือเรียนรายวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.2562 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. หนังสือเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4-6. กรุงเทพมหานคร : สกสค.ลาดพร้าว.2555 นพพร ธนะชัยขันธ์.สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร : วิทยพัฒน์.(2552) เทพวี ชนะชาญมงคล. Perfect math สรุปเข้มคณิตศาสตร์ม.ปลาย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์Life Balance.2565 https://www.athometh.com/math/parabolic/สรุปพื้นฐาน “พาราโบลา” เบื้องต้นฉบับ เข้าใจง่าย/(18 กรกฎาคม 2566) https://th.wikipedia.org/พาลาโบลา/(10 กรกฎาคม 2566) https://www.tewfree.com/พาราโบลา (Parabola) คณิตศาสตร์ม.4/(18 กรกฎาคม 2566) https://th.wikipedia.org/จานสะท้อนแบบพาราโบลา/(20 กรกฎาคม 2566) https://www.slideserve.com/การสะท้อนของคลื่น/(20 กรกฎาคม 2566) https://www.tpe-trading.com/aluminium/อลูมิเนียมฟอยล์/(22 กรกฎาคม 2566)
ภาคผนวก ก ประวัติคณะผู้จัดทำ นายขวัญชัย ไกลถิ่น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม นางสาวสุชาวดี สิทธิ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม นางสาวหทัยกานต์ นภาวงศ์สกุล นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม ครูที่ปรึกษา นางสาวนภัสกร วงค์วุฒิ โรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม ครูที่ปรึกษา นายศรัญญู ศรีสุข โรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม
ภาคผนวก ข ผลจากการทดสอบความเร็ว (Wifi speed) Speedtest ทดสอบอัตรา Download, Upload และ Latency ห้องศูนย์คณิตศาสตร์ ห้องศูนย์วิทยาศาสตร์ ใช้จานกระจาย-รับ สัญญาณ ใช้จานกระจาย-รับ สัญญาณ
โรงอาหารโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม หน้าห้องพลศึกษา ใช้จานกระจาย-รับ สัญญาณ ใช้จานกระจาย-รับ สัญญาณ
ห้องสมุดโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม ห้องสำนักงานโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม ใช้จานกระจาย-รับ สัญญาณ ใช้จานกระจาย-รับ สัญญาณ
หอพักนักเรียนโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม ใช้จานกระจาย-รับ สัญญาณ
ภาคผนวก ค แบบสอบถามความพึงพอใจต่อระบบอินเทอร์เน็ต WIFI ของโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม ตอนที่1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 1. เพศ หญิง ชาย 2. อายุ 12-15 ปี 16-18 ปี 19-40 ปี 41 ปีขึ้นไป 3. วุฒิการศึกษาสูงสุด นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ตอนที่2 ระดับความพึงพอใจต่อระบบอินเทอร์เน็ต WIFI ของโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม ระดับความพึงพอใจ 5 = มากที่สุด 4 = มาก 3 = ดี2 = พอใช้และ 1 = ปรับปรุง ประเด็นการสำรวจความพึงพอใจ ระดับความพึงพอใจ 5 4 3 2 1 จุดที่ใช้งานสามารถใช้งานได้ตลอด การเชื่อมต่อสัญญาณง่ายไม่ยุ่งยาก สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องรวดเร็ว เสถียรภาพของระบบเครือข่ายในการรับ ส่ง และสื่อสารข้อมูล ความพึงพอใจในภาพรวมในการใช้บริการ เครือข่าย ตอนที่3 ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................