The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

อิทธิพลของภาษาต่างประเทศ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 2, 2021-11-14 12:38:48

อิทธิพลของภาษาต่างประเทศ

อิทธิพลของภาษาต่างประเทศ

อิทธิพลของ
ภาษาต่าง
ประเทศ

อิทธิพลของภาษาต่าง
ประเทศ

การยืมคําภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย ทําให้ภาษาไทยมีคําใช้
มากขึ้น เป็นการแสดง ให้เห็นว่าคนไทยมีความเปิดกว้าง เรียบง่าย
และยืดหยุ่น สามารถนําคําภาษาอื่นมาใช้ได้โดย ไม่ต้องมาคิดสร้างคํา
ใหม่ โดยการยืมคําภาษาต่างประเทศมาใช้ เกิดจากการติดต่อระหว่าง
ประเทศ ทั้งทางการทูต การค้า และการแลกเปลี่ยนหรือถ่ายทอด
วิทยาการต่างๆ รวมทั้งการ ถ่ายทอดวัฒนธรรมและศาสนา ส่งผลให้
ภาษาไทยมีคํายืมจากภาษาต่างประเทศหลากหลายภาษา ได้แก่ภาษา
บาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร ภาษาจีน คําชวา คํามลายู คําภาษา
อังกฤษ คําฝรั่งเศส คําโปรตุเกส คําภาษาอาหรับ เป็นต้น

การยืมคำจากภาษาบาลี
และสันสกฤต

คำยืมจากภาษาบาลีและสันสกฤตที่นำมาใช้ในภาษาไทย สามารถแบ่ง

เป็นประเภทได้ดังต่อไปนี้
1. ใช้เป็นคำราชาศัพท์ คำราชาศัพท์หมายรวมถึงคำที่คนทั่วไป ใช้กับ

พระสงฆ์
2.ใช้เป็นศัพท์เฉพาะทางศาสนา
3. ใช้ในการเขียนวรรณคดี ร้อยแก้วและร้อยกรอง
4. ใช้ในภาษามาตรฐานหรือใช้เป็นคำสุภาพ
5. ใช้เป็นศัพท์บัญญัติ หรือศัพท์เฉพาะทางวิชาการ
6. ใช้เป็นคำสามัญ คือคำที่ทั่วไปในชีวิตประจำวัน
7. ใช้เป็นชื่อเฉพาะ ชื่อวัน เดือน ดวงดาวและกลุ่มดาวบนท้องฟ้า

เทพเจ้าทั้งชายและหญิง ตลอดจนชื่อบุคคลในประวัติศาสตร์ ตำนาน

และเทพนิยายต่างๆ ชื่อสถานที่และอื่นๆ

การยืมคำจากภาษาอาหรับ

คำยืมจากภาษาอาหรับที่นำมาใช้ในภาษาไทย มีคำที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
อยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่เป็นคำศัพท์ที่ใช้ในทางศาสนาอิสลาม และได้เข้ามา
ปะปนในภาษาไทยโดยผ่านทางมลายู
เช่น กะลาสี กาแฟ การบูร โกหร่าน ฝิ่ น มรสุม หญ้าฝรั่น อัตลัต อำพัน

การยืมคำจากภาษาเขมร

คำยืมจากภาษาเขมรที่นำมาใช้ในภาษาไทย มีลักษณะดังต่อไปนี้
1) มักใช้เป็นคำราชาศัพท์ เช่น เสวย เขนย ถวาย ขนง โปรด ตรัส
2) คำเขมรที่ใช้ในคำสามัญทั่วไป เช่น กระบือ กระบาล (กบาล) โตนด

โขมด จมูก เสนียด เพนียด ตำบล ถนน จังหวัด ทำเนียบ ลำเนา ชุมนุม

ชมรม ฯลฯ
3) คำเขมรที่เป็นคำโดดคล้ายกับภาษาไทย จนเราเองลืมไป คิดว่าเป็น

คำไทยเพราะความใกล้ชิด ใช้กันมาตั้งแต่ก่อนเราเกิด แต่มีที่สังเกตได้
ว่าเป็นคำเขมร ต้องแปลความหมายก่อนจึงจะเข้าใจ เช่น แข (ดวง
จันทร์) บาย (ข้าว) เมิล (มอง) ศก (ผม) ฯลฯ

การยืมคำจากภาษาจีน

ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ชาวจีนเข้ามาค้าขาย แลกเปลี่ยนศิลปะ รวม

ถึงย้ายมาตั้งถิ่นฐานในสยาม จึงเลี่ยงไม่ได้ที่ภาษาจีนจะเข้ามาปะปนกับ

ภาษาไทย จนมีคำศัพท์จากภาษาจีนที่เราใช้กันจนติดปากและยากที่จะหา

คำอื่นมาแปลได้ มีลักษณะดังต่อไปนี้
1) เป็นชื่ออาหารการกิน เช่น ก๋วยเตี๋ยว เต้าทึง แป๊ะซะ เฉาก๊วย จับฉ่าย

เป็นต้น
2) เป็นคำที่เกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ที่เรารับมาจากชาวจีน เช่น ตะหลิว

ตึก เก้าอี้ เก๋ง ฮวงซุ้ย
3) เป็นคำที่เกี่ยวกับการค้า เช่น เจ๊ง หุ้น ห้าง โสหุ้ย เป็นต้น
4)เป็นคำที่ใช้วรรณยุกต์ตรี จัตวา เป็นส่วนมาก เช่น ก๋วยจั๊บ กุ๊ย เก๊

เก๊ก ก๋ง ตุ๋น เป็นต้น

การยืมคำจากภาษาอังกฤษ

เป็นภาษาที่ได้จากการติดต่อค้าขายและการทูต จนภาษาอังกฤษเข้า
มามีอิทธิพลต่อชีวิตของคนไทยมากขึ้น ทั้งในด้านการพูด และการ
เขียนสื่อสารในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในปัจจุบันคนไทยศึกษาความรู้
และวิทยาการต่างๆ จากตำราภาษาอังกฤษ และสนใจเรียนรู้ภาษา
อังกฤษกันมากขึ้น เรารับภาษาอังกฤษมาใช้ในรูปแบบของการทับศัพท์
เท่านั้น ตัวอย่างคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีใช้ในภาษาไทย
กราฟ การ์ตูน กลูโคส กัปตัน แก๊ส กุ๊ก เกียร์ แก๊ง แกลลอน คริสต์มาส
ไดนาโม ไดโนเสาร์ ครีม คลอรีน คอนกรีต คลินิก คอนเสิร์ต
คอมพิวเตอร์ คุกกี้ เคเบิล เครดิต แคปซูล เคาน์เตอร์ แคลอรี โควตา
ชอล์ก ช็อกโกเลต เช็ค

การยืมคำจากภาษาทมิฬ

มาจากความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับทมิฬเป็นเวลาช้านานก่อนสมัย
สุโขทัย จึงสันนิษฐานว่าภาษาทมิฬได้เข้ามาปะปนในภาษาไทยโดยผ่าน
ทางลังกา เพราะไทยนับถือพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ และการค้าขาย
ซึ่งทมิฬในสมัยโบราณเคยเข้ามาค้าขายกับประเทศต่าง ๆ ทางแถบ
เอเชีย เช่น ชวา มลายู เขมร มอญ ไทย จึงได้หยิบยืมภาษาใช้กันเป็น
ธรรมดา ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือ ศิลาจารึกภาษาทมิฬ ที่
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช
เช่น กะหรี่ กานพลู กำมะหยี่ จงกลนี จระนำ เจียระไน ตะกั่ว ประวะหล่ำ
ยี่หร่า สาเก อาจาด อินทผลัม

การยืมคำจากภาษาเปอร์เซีย

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์มีว่า "พวกแขกเทศ" คือชาวต่าง

ประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหรับ และ
เปอร์เซีย ได้เข้ามาติดต่อกับไทยในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

แล้ว มีทั้งพ่อค้าและข้าราชการด้วยเหตุนี้คำเปอร์เซียจึงปนอยู่ในภาษา
ไทยจำนวนหนึ่ง ตั้งแต่สมัยนั้นเป็นต้นมาตัวอย่างคำจากภาษาเปอร์เซีย
เช่น กากี กุหลาบ สนม ภาษี ตาด ตรา ส่าน องุ่น มัสยิด บัดกรี

การยืมคำจากภาษาชาว-มลายู

ภาษาชวา ปัจจุบันเรียกว่าภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาตระกูลคำติดต่อ
ตระกูลเดียวกับภาษามลายู ภาษาชวาที่ไทยยืมมาใช้ส่วนมากเป็นภาษาเขียน
ซึ่งรับมาจากวรรณคดีเรื่อง ดาหลังและอิเหนาเป็นส่วนใหญ่ ถ้อยคำภาษา
เหล่านี้ใช้สื่อสารในวรรณคดี และในบทร้อยกรองต่าง ๆ มากกว่าคำที่นำมา
ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน
เช่น บุหรง บุกลัน ระตู ระเด่น ยิหวา หรัด สังคาตา อสัญแดหวา

การยืมคำจากภาษาญี่ปุ่น

คำยืมภาษาญี่ปุ่นส่วนมากจะนำมาใช้เรียกอาหาร กีฬา หรือเครื่องแต่ง
กาย ซึ่งคำที่ยืมมาจะออกเสียงต่างจากต้นฉบับเล็กน้อยเพื่อให้ง่ายต่อการ
ออกเสียง โดยญี่ปุ่นเริ่มติดต่อกับไทยอย่างเป็นทางการในรัชสมัยสมเด็จ
พระเอกาทศรถ จากการสัมพันธ์มาเป็นเวลานานนี้เองเป็นเหตุให้ภาษา
ญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งเข้ามามีที่ใช้อยู่ในภาษาไทย
ตัวอย่างเช่น เกอิชา กิโมโน คาราเต้ สึนามิ เคนโต้ ยิวยิตสู

และยังมีคำที่มาจากภาษา
อื่นๆ ในภาษาไทย

ภาษาโปรตุเกส เช่น สบู่ กัมปะโด ปิ่ นโต กะละแม กะละมัง จับปิ้ ง
เลหลัง บาทหลวง ปัง เหรียญ

ภาษาฝรั่งเศส เช่น กงสุล กาสิโน กิโยติน แชมเปญ ออเดิร์ฟ คูปอง
เปตอง ปาร์เกต์ คาเฟ่ ครัวซองท์ บุฟเฟต์

ภาษาพม่า เช่น หม่อง กะปิ ส่วย
ภาษามอญ เช่น มะ เม้ย เปิงมาง ประเคน

อิทธิพลของภาษาต่าง
ประเทศที่มีต่อภาษาไทย

1. คำมีพยางค์มากขึ้น
- คำสองพยางค์ เช่น บิดา มารดา เชษฐา วิฬาร์ เป็นต้น
- คำสามพยางค์ เช่นโทรเลข โทรศัพท์ พาหนะ บริบูรณ์ เป็นต้น
- คำมากกว่าสามพยางค์ เช่น กัลปาวสาน สาธารณะ อุทกภัย เป็นต้น
2.มีคำควบกล้ำใช้มากขึ้น เช่น บาตร ศาสตร์ ปราชญ์ เป็นต้น
3.คำไวพจน์ใช้มากขึ้น
4.ซึ่งสะดวกและสามารถเลือกใช้คำได้เหมาะสมตามความต้องการและ

วัตถุประสงค์ เช่น นก บุหรง ปักษา เป็นต้น
5.มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา เคเบิล ดีเซล โฟกัส เป็นต้น
6.ทำให้โครงสร้างของภาษาเปลี่ยนไป เช่น
- ใช้คำ สำนวน หรือประโยคภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ

สมาชิก

พรณิชา ไทยนิยม เลขที่3
รัชพล รัตนกิตยากุล เลขที่7
นวนันท์ ประเสริฐสังข์ เลขที่10
จิณณพัต ครองยุทธ เลขที่15

ณัชชา โสฬส เลขที่17
ธญาดา มณีโชติ เลขที่19
พฤนท์ โทปุรินทร์ เลขที่22
อรปรียา มีกุญชร เลขที่26
กฤติน วรมณีจินดา เลขที่33

มัธยมศึกษา 6/2


Click to View FlipBook Version