การศึกษาเรียนรู้ด้านโครงสร้างของดอกลีลาวดี
จัดทำโดย
นางสาวกรรณิกา รัตนาวิวัฒน์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 336 เลขที่1
แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
เสนอ
นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์
ครูชำนาญการ กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ประกอบรายวิชาชีววิทยา 4 (ว 30244)
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
คำนำ
จุดประสงค์ในการจัดทำ แมกกาซีนเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา
ชีววิทยาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาโครงสร้าง
ของดอกลีลาวดี และแบ่งปันความรู้ให้ผู้อ่านมีความรู้เกี่ยวกับ
โครงสร้างของดอกลีลาวดีเพิ่มมากขึ้น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ รู้จักโครงสร้างภายนอกและภายในของดอก
ลีลาวดี รวมทั้งสามารถระบุตำแหน่งโครงสร้างดอกลีลาวดีได้
อย่างถูกต้อง
ประโยชน์ที่ได้รับจากแม็กกาซีน ทำให้เข้าใจภาพรวมทั้งหมด
ของโครงสร้างดอกลีลาวดี และสามารถทบทวนความรู้ความ
เข้าใจของผู้จัดทำด้วย
สารบัญ
หน้ า เรื่อง
1 ข้อมูลทั่วไปของลีลาวดี
3
4 ข้อมูลเบื้องต้นของโครงสร้างดอกลีลาวดี
6 ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ของดอกลีลาวดี
ภาพประกอบข้อมูลทางพฤษศาสตร์
9 ของดอกลีลาวดี
ภาพถ่ายให้เห็นโครงสร้างโดยรวมทั้งหมด
10 ของสัณฐานภายนอก
ภาพถ่ายให้เห็นโครงสร้างโดยรวมทั้งหมด
11 ของสัณฐานภายใน
12 บรรณานุกรม
ภาคผนวก
หน้าที่ 1
ข้อมูลทั่วไปของ
"ลีลาวดี"
ชื่อทั่วไป ลีลาวดี (FRANGIPANI , PAGODA TREE)
ชื่อวิทยาศาสตร์ PLUMERIA PUDICA JACQ.
ชื่อวงศ์ APOCYNACEAE
ถิ่นกำเนิด มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา
การขยายพันธุ์ ปักชำ เพาะเมล็ด เปลี่ยนยอด ติดตา
การปลูกเลี้ยง ดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี น้ำปานกลาง แสงแดดมาก
ลำต้น แตกกิ่งก้านสาขาและพุ่มใบ
สวยงาม มีน้ำยางสีขาวข้น เป็นไม้
ผลัดที่สลัดใบในฤดูแล้ง ก่อนที่จะ
ผลิดอกและผลิใบรุ่นใหม่
ราก มีรสขมเมา เป็นยาถ่าย แก้โรค
หนองใน โรคไข้ข้ออักเสบ ขับลม
กิ่ง กิ่งที่ยังไม่แก่จะมีสีเขียวอ่อนนุ่ม
ส่วนกิ่งแก่มีสีเทามีรอยตะปุ่มตะป่ำ
ใบ เป็นใบเดี่ยว มีการเรียงตัวแบบ
สลับ โดยทั่วไปใบจะหนาเหนียว
แข็งและมีสีตั้งแต่สีเขียวอ่อนถึงสี
เขียวเข้ม มีเส้นกลางใบแตกสาขา
ออกไปคล้ายขนนก
ดอก เป็นช่อดอกใหญ่สวยงาม ใน
หนึ่งช่อจะมีดอกบานพร้อมกัน 10–
30 ดอก
หน้าที่ 2
ข้อมูลทั่วไปของ "ดอกลีลาวดี"
ประโยชน์
ต้นใช้ปรุงเป็นยารักษาโรคลำไส้พิการของม้า
ใบแห้งชงน้ำร้อนดื่มรักษาโรคหอบหืด
ใบสดลนไฟประคบร้อนแก้ปวดบวม
เปลือกรากเป็นยารักษาโรคหนองใน ยาถ่าย แก้โรคไขข้ออักเสบ
ขับลม
เปลือกต้นต้มเป็นยาถ่ายขับระดูแก้ไข้แก้โรคโกโนเรียหรือผสมกับ
น้ำมันมะพร้าว, ข้าว, มันเนยเป็นยาแก้ท้องเดิน ยาถ่าย ขับปัสสาวะ
ดอกใช้ทำธูป ใช้ผสมกับพลูเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้มาลาเรีย
เนื้อไม้เป็นยาแก้ไอ ยาถ่าย ขับพยาธิ ยางจากต้น เป็นยาถ่าย รักษา
โรคไขข้ออักเสบ ใช้ผสมกับไม้จันทน์และการบูรเป็นยาแก้คัน แก้
ปวดฟัน
หน้าที่ 3
ข้อมูลเบื้องต้นของ
โครงสร้างดอกลีลาวดี
เป็นดอกสมบูรณ์เพศ เป็นดอกครบส่วน
มีเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียในดอก เป็นดอกไม้ที่มี ส่วนประกอบ
เดียวกัน ครบทั้ง 4 ส่วนคือ กลีบเลี้ยง กลีบ
ดอก เกสร เพศผู้ และเกสรเพศเมีย
เป็นดอกช่อ อยู่ภายในดอกเดียวกัน
คือ ดอกที่ประกอบด้วยดอกย่อยหลายๆ
ดอกอยู่บนหนึ่งก้านดอก แต่ละดอกมีด
อกย่อย มีก้านดอกย่อย ที่โคนก้านดอก
ย่อยมีใบประดับ รองรับด้วยก้านดอก
ย่อยอยู่บนช่อดอก
ตำแหน่งรังไข่ ดอกที่มีรังไข่กึ่งใต้วงกลีบ
EPIGYNOUS
สมมาตรครึ่งซีก คือ ดอกที่มีส่วนประกอบของดอกมีขนาดไม่เท่ากัน
การจัดระเบียบของดอกไม่เป็นรัศมี ถ้าผ่าเป็นสองซีก
ให้เหมือนกันจะสามารถผ่าได้เพียงแนวเดียวเท่านั้น
หน้าที่ 4
ข้อมูลทางพฤษศาสตร์
ของดอกลีลาวดี
ลำต้น ไม้พุ่ม สูง 2-2.5 เมตร เรือนยอดรูปไข่ แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม
กว้าง ผิวสีเขียวอมเทา บริเวณแผลที่ก้านใบหลุดร่วงจะมีปุ่มนูน ทุก
ส่วนของลำต้นมีน้ำยางสีขาว
ใบ ใบเดี่ยว การเรียงของใบร่างแหแบบขนนก ใบรูปใบหอก ปลาย
ใบติ่งแหลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ เนื้อใบคล้ายเยื่อ ใบเรียง
แบบวงรอบ ด้านบนแผ่นใบเกลี้ยง ใบด้านบนสีเขียวเข้ม ท้องใบสี
เขียว ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ใบแก่สีเขียวเข้ม ใบกว้างประมาณ 8-10
เซนติเมตร ยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร
ก้านดอก เป็นส่วนล่างสุดของดอกที่ติดต่อกับลำต้นหรือกิ่ง หรือ
เป็นส่วนก้านช่อดอก
ฐานรองดอก อยู่บริเวณปลายสุดของก้านดอก แผ่ออกไปทำ
หน้าที่รองรับส่วนต่างๆ ของดอก
กลีบเลี้ยง มีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ
หน้าที่ 5
ข้อมูลทางพฤษศาสตร์
ของดอกลีลาวดี
กลีบดอก ลักษณะบางกว่ากลีบเลี้ยง มี 5 แฉก มีหลายสีเชื่อมติด
กันเป็นหลอด ดอกช่อแยกแขนง ดอกสมมาตรด้านข้าง หรือ
สมมาตรครึ่งซีก
เกสรตัวผู้ มี 5 อัน
เกสรตัวเมีย มี 1 อัน มีเมือกเหนียวเพื่อคอยดักละอองเรณู ก้าน
ยอดเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรมีขนาดใหญ่
รังไข่ อยู่บริเวณกึ่งใต้วงกลีบ มีขนาดเล็ก
ผล ผลแห้งแก่แตก ฝักแบบถั่ว แตกตามรอยประสาน ผลอ่อนสี
เขียว ผลสุกสีแดง ผลแก่สีแดงถึงดำ ผลกว้างประมาณ 2-3
เซนติเมตร
เมล็ด มีลักษณะแบน มีเมล็ดประมาณ 25-100 เมล็ดต่อฝัก
เมล็ดมีปีกติดด้านใดด้านหนึ่งของเมล็ด
หน้าที่ 6
ภาพประกอบข้อมูลทางพฤษศาสตร์
ของดอกลีลาวดี
วงกลีบดอก วงกลีบเลี้ยง
COROLLA TUBE CALYX
กลีบดอก
COROLLA LOBE
หน้าที่ 7
ภาพประกอบข้อมูลทางพฤษศาสตร์
ของดอกลีลาวดี
ฐานรองดอก ก้านดอก
ก้านดอกย่อย
หน้าที่ 8
ภาพประกอบข้อมูลทางพฤษศาสตร์
ของดอกลีลาวดี
อับละอองเรณู เกสรตัวผู้
เกสรตัวเมีย
หน้าที่ 9
ภาพถ่ายให้เห็นโครงสร้างโดยรวมทั้งหมด
ของสัณฐานภายนอก (รูปถ่ายจริง)
กลีบดอก วงกลีบดอก
วงกลีบเลี้ยง ฐานรองดอก
ก้านดอก ก้านดอกย่อย
หน้าที่ 10
ภาพถ่ายให้เห็นโครงสร้างโดยรวมทั้งหมด
ของสัณฐานภายใน (รูปถ่ายจริง)
อับเรณู ANTHER
ยอดเกสรตัวเมีย STIGMA
รังไข่ OVARY
ออวุล OVULE
ก้านเกสรเพศเมีย
STYLE
หน้าที่ 11
บรรณานุกรม
- https://shorturl.asia/KlTUh
- https://shorturl.asia/thO9a
- https://shorturl.asia/T9M3N
- เอกสารการเรียนการสอนวิชาชีววิทยาระดับชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 5 ชื่อ บทที่2สืบพันธุ์พืชดอก_65_ครูวิชัย
หน้าที่ 12
ผภนาวคก
อธิบายเกี่ยวกับข้อมูลเบื่องต้น ศึกษาโครงสร้างภายนอกของ
ของลีลาวดี ( หน้าที่ 1) ดอกลีลาวดี ( หน้าที่ 9 )
ศึกษาโครงสร้างภายในของดอก คริปวีดิโอ การศึกษาเรียนรู้ด้าน
ลีลาวดี ( หน้าที่ 10 ) โครงสร้างของดอกลีลาวดี
URL : HTTPS://YOUTU.BE/EQWI_JRMSDO
- เสร็จสิ้น -