The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หนังสือการสัมมนา_บทที่-1

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Dhanita Doungwilai, 2022-01-07 00:59:13

หนังสือวิชาสัมมนา_บทที่ 1

หนังสือการสัมมนา_บทที่-1

บทที่ 1

การสมั มนา (Seminar)

ความสาคญั ของการสมั มนา

ปัจจุบันท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว องค์กรต่าง ๆ พยายาม ปรับตัว
เพ่ือให้สอดรับกับกระแสการเปลีย่ นแปลงท่ีกำลังเกิดข้ึนและจะเกิดในอนาคต ประการหนึ่งเพื่อมิให้
กลายเป็นองค์กรที่ล้าหลังก้าวไม่ทันโลก อีกประการหนึ่งเพื่อพัฒนาองค์กรให้ รุดหน้าก้าวทัน
กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความเปล่ียนแปลงและแนวโน้มของสังคมไทยใน
อนาคต ส่งผลให้องค์การต่าง ๆ มีการแข่งขันสูงขึ้น การพัฒนาบุคลากรเป็นปัจจัยสำคัญมากใน
การเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การ เพื่อเตรียมกำลังคนให้ทันกับการเปล่ียนแปลงทางเทคโนโลยีใน
กระบวนการผลิต การบรหิ ารจัดการ การบรหิ ารบุคลากร การเงิน การตลาด และการจดั องค์กร
ทางธุรกิจ เพ่ือให้มีความสามารถในการแข่งขันกับผู้อ่ืนทั้งในระดับประเทศและระดับโลก การเพิ่ม
ประสิทธิภาพขององค์การควรเตรียมกำลังคนให้ทันกับการเปล่ียนแปลงทางเทคโนโลยีใน
กระบวนการผลิตท้ังภาครฐั และเอกชน

บุคลากรจงึ มีความสำคัญอย่างยิง่ ต่อการพฒั นาองคก์ าร เพราะความสำเร็จในการดำเนินงาน
ขององค์การนน้ั ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของคนหรือบุคลากร หากองค์การใดมีบุคลากรซึ่งเพียบพร้อม
ไปด้วยความรู้ ทกั ษะ และความสามารถท่ีเหมาะสมตอ่ การปฏิบัติงานต่าง ๆ แลว้ การดำเนินงานก็
จะเป็นไปอย่างราบรื่น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจัดประชุมสัมมนาข้ึน เพื่อพัฒนาปรับปรุง
เพมิ่ พนู ความรู้ ทักษะและความสามารถของบคุ ลากร ให้สามารถปฏิบัติงานเพ่ือตอบสนองเป้าหมาย
และนโยบายการดำเนินงานขององค์การได้

การประชุมสัมมนา (Seminar) จึงเป็นรูปแบบหน่ึงของการฝึกอบรมบุคลากร เป็น
กระบวนการเรียนรู้ซึ่งถูกจัดข้ึนอย่างเป็นระบบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้มาซ่ึงความรู้ ทักษะ
ความสามารถ แนวคิดและประสบการณ์ ตลอดจนความตระหนักรู้และแรงจูงใจของบุคลากรใน
องค์การ โดยอาศัยการประชุมพบปะระหว่างผู้เข้าสัมมนากับวิทยากร เพ่ือเป็น หนทางในการหา
ข้อสรุปและนำข้อมูลท่ีได้จากการสัมมนาไปใช้แก้ไขพัฒนาคน พัฒนางาน และทรัพยากรอ่ืน ๆ ให้
สัมฤทธิผลตามเป้าหมาย ดังน้ันผู้จัดสัมมนาจึงจำเป็นต้องมีความรู้และความเข้าใจอย่างถูกต้อง
เกีย่ วกบั การจัดสมั มนา

2ผูช้ ่วยศาสตราจารย์ ดร. ดนติ า ดวงวไิ ล

ความหมายของการสมั มนา

“สัมมนา” มาจากคำว่า สำ + มน หรือ สำ + มนา เป็นศัพท์บญั ญัติมคี วามหมายว่า
การร่วมใจกัน (Meeting of Minds) เป็นการประชุมร่วมกันเพื่อขบคิดปัญหาโดยอาศัยการ
คน้ ควา้ หลักฐาน

พจนานกุ รมฉบบั ราชบญั ฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525 (2530 : 809–810) สัมมนา
หมายถงึ การประชุมเพอ่ื แลกเปล่ียนความรูแ้ ละความคิดเห็น เพือ่ หาข้อสรปุ ในเร่ืองใดเรอื่ งหน่ึง
ผลของการสัมมนาถือวา่ เปน็ เพยี งข้อเสนอแนะ ผู้ท่ีเกี่ยวข้องจะนำไปปฏิบัตติ ามหรือไม่กไ็ ด้

ฉัตรวรณุ ต้นนะรัตน์ (2530 : 340) การสมั มนา คือการอภปิ รายแบบ Panel ผสมกบั การ
อภิปรายแบบเปิดอภปิ รายท่ัวไป (The Open Forum Discussion) โดยปกติ แล้วจะมีผู้เชย่ี วชาญ
หรอื วทิ ยากรมาบรรยายให้ความร้กู อ่ นแลว้ ผ้อู ภปิ รายจึงเข้ากลุ่มย่อยอภปิ รายค้นคว้า ขอ้ เท็จจริง
ขณะท่เี ขา้ กลมุ่ นีผ้ อู้ ภปิ รายแต่ละคนจะแสดงความเห็นหรือทัศนคติของตน เม่อื แตล่ ะกลมุ่ ไดข้ ้อสรปุ
แลว้ กจ็ ะเสนอผลสรปุ น้นั ต่อท่ีประชมุ ใหญ่อีกครั้งหนงึ่ ถ้าทป่ี ระชมุ เหน็ ดว้ ยกจ็ ะเปน็ การสิน้ สดุ การ
สมั มนา ถ้าทป่ี ระชมุ ไมเ่ ห็นด้วยกจ็ ะเป็นการอภิปรายต่อไปจนกวา่ จะได้ผลสรปุ ท่นี ่าพอใจ

สมจิตร ชีวปรีชา (2531 : 106 – 107) การประชุมสัมมนา (Seminar) การอภิปราย
ประเภทน้ี ตามปกติแล้วมักจะกระทำอย่างมีระเบียบแบบแผนคือ มีคณะผู้ร่วมอภปิ รายเข้าประชุม
กลุ่มย่อยตามโอกาสต่าง ๆ การอภิปรายประเภทนี้ จึงต้องมีประธานท่ีประชุมเป็นผู้นำการอภิปราย
มเี ลขานกุ ารเป็นผบู้ ันทึกรายงานการอภิปราย การอภิปรายในลักษณะนี้มกั จะตอ้ งอภิปรายตามหวั ข้อ
เรื่อง หรือตามวาระที่กำหนดไว้ ผู้ร่วมอภิปรายจะปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเพื่อให้
ได้มตเิ ป็นขอ้ สรุปออกมา เพอ่ื นำไปตดั สินใจในเรื่องใดเร่ืองหนงึ่

Good (1987 : 526) การสัมมนา (Seminar) เป็นเทคนิคการสอนท่ีกลุ่มผู้เรียนศึกษา
เร่ืองที่ตนทำวิจัยหรือเป็นความรู้ระดับสูง ผู้เรียนจะเรียนรู้โดยการนำและดูแลของผู้สอน ด้วย
วธิ ีการอภิปรายงานวิจยั ท่ีเป็นหัวข้อเรื่องที่ผูส้ อนและผู้เรียนมีความสนใจรว่ มกนั และให้ดูความหมาย
ของคำว่า สัมมนา จากคำวา่ Collogium

Collogium เป็นการจัดชั้นเรียนระดับบัณฑิตศึกษา การเรียนเป็นการประชุมเรื่องที่ทำ
วิจัย กิจกรรมหลักของชั้นเรียนมุ่งสนองตอบต่อการวางแผน การแสวงหาลู่ทางทำให้วิจัยนี้สำเร็จ
ตลอดจนการประเมนิ ความก้าวหนา้ ของโครงการวจิ ยั น้ัน

กล่าวโดยสรุป จากความหมายของการสัมมนาดังที่มีผู้กล่าวไว้ข้างต้น การสัมมนา อาจ
เป็นทั้งวิธีการสอนและการประชุม ถ้าวิเคราะห์ลักษณะของการสัมมนาเป็นกิจกรรมที่แบ่งออกเป็น
2 วิธี คอื การประชมุ และวธิ ีการสอน (เกษกานดา สภุ าพจน์. ม.ป.ป. : 4)
ซงึ่ ทงั้ สองวธิ ีน้คี ล้ายคลงึ กนั ยดื หยุ่น เหมาะสมกบั สถานการณ์ และวตั ถุประสงค์ เป็นกระบวนการ
กลุ่ม รวมผู้สนใจที่มีความรู้ทางวิชาการใกล้เคียงกัน มาแสดงความคิดเห็น อภิปราย ถกเถียง
โตต้ อบพูดคยุ ปฏิสัมพนั ธ์ซ่ึงกันและกนั สร้างสรรค์ทัศนะใหม่ ๆ อันจะสามารถนำแนวความคิดนั้น
ๆ ไปใชใ้ ห้เกิดประโยชน์ได้

3ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร. ดนติ า ดวงวไิ ล

การประชุมสัมมนาของหน่วยงานหรือองค์การ มุ่งถึงผลประโยชน์ท่ีได้รับเพ่ือนำไปพัฒนา
ทรัพยากรในองค์การ ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะเป็นกลุ่มผู้รู้หรือผู้ที่ทำงานในหน่วยงาน ส่วนมากเป็น
ผเู้ ข้าร่วมสัมมนาจะเป็นผู้ท่ีทำงานในลักษณะเดียวกันหรือมีประสบการณ์ใกล้เคียงกันมาร่วมสัมมนา
และมุ่งในพิธกี ารประชุม

การสอนสัมมนา จะมุ่งไปสู่การเรียน การศึกษาค้นคว้า โดยวิธีการต่าง ๆ รวมทั้งการฝึก
ทักษะในเรือ่ งของการคิด วิเคราะหป์ ัญหา การเสนอแนวทางแก้ไข การแสดงออกของความคิดเห็น
ซึ่งอาจแสดงออกโดยการพูด สนทนา อภิปราย ฯลฯ ท่ีเกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชานั้น ๆ เพื่อให้ได้
ขอ้ สรุปของแนวทางที่มีความเป็นไปได้สูง ซ่ึงสามารถเป็นข้อมลู ท่ีอาจนำไปใช้ได้จริง ทั้งยังเพ่ือให้มี
ความรู้ ทักษะ ในเร่ืองของกระบวนการดำเนินการจัดสัมมนาทางวิชาการ โดยกลุ่มผู้เรียนจะต้อง
เป็นผ้ทู มี่ ีพื้นฐานความรู้เดยี วกัน โดยทัว่ ไปจะมผี ู้เช่ียวชาญหรือผทู้ รงคุณวฒุ ิเปน็ ผู้ใหค้ วามรูเ้ สริมหรือ
ให้คำแนะนำปรกึ ษา

ความมุ่งหมายของการสมั มนา

การประชุมสัมมนา เป็นกระบวนการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถในการทำงานเฉพาะอย่าง
เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) ความสามารถ (Ability) และเจตคติ
(Attitude) ของบุคลากร อนั จะช่วยปรับปรงุ ใหก้ ารปฏิบัติงานมี ประสทิ ธภิ าพสูงข้ึน เพอ่ื ให้การ
สัมมนาบรรลตุ ามวัตถปุ ระสงค์จึงมีความม่งุ หมายหลักอยู่ 5 ประการ ดงั ต่อไปน้ี

1. เพ่อื เพิม่ พนู ความรู้ (Knowledge) ให้มีความรู้ หลกั การ ทฤษฎี แนวคดิ ใน
เร่ืองท่ีไดจ้ ากการสัมมนาเพ่ือนำไปใชใ้ นการปฏิบตั งิ านให้มีประสิทธิภาพ

2. เพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจ (Understand) เป็นลักษณะที่ต่อเน่ืองจากความรู้
กล่าวคือ เมื่อรู้ในหลักการและทฤษฎีแล้วสามารถตีความ พิจารณา ตรวจสอบปัญหาหรอื ประเด็น
ต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ทันสมัย เหมาะสมกับเหตุการณ์ แปลความ ขยายความ และอธิบายให้คนอื่น
ทราบได้ รวมทง้ั สามารถนำไปประยุกต์ใชไ้ ด้

3. เพ่ือเพิ่มพูนทักษะ (Skill) ทักษะ คือ ความชำนาญหรือความคล่องแคล่วใน
การปฏิบัติอย่างใดอย่างหน่ึงได้โดยอัตโนมัติ เช่น การใช้เคร่ืองมือต่าง ๆ การขับรถ การสื่อสาร
การใช้เคร่ืองคอมพิวเตอร์ การดูแลรกั ษาความปลอดภยั ในการทำงาน การปกครองผ้ผู ู้ใต้บังคับบัญชา
การสมาคมกบั เพื่อนรว่ มงาน เปน็ ต้น

4. เพื่อเปล่ียนแปลงเจตคติ (Attitude) เจตคติหรือทัศนะ คือความรู้สึกท่ีดี
หรือไม่ดีต่อสิ่งต่าง ๆ การประชุมสัมมนามุ่งให้เกิดหรือเพ่ิมความรู้สึกที่ดี ๆ ต่อองค์การ ต่อ
ผู้บังคับบัญชา ต่อเพื่อนร่วมงาน และต่องานที่มีหน้าท่ีรับผิดชอบ เช่น ความจงรักภักดีต่อบริษัท
ความภาคภูมิใจต่อสถาบัน ความสามัคคีในหมู่คณะ ความรับผิดชอบตอ่ งาน ความเอาใจใส่ต่องาน
ความกระตือรือรน้ ในการปฏิบตั งิ าน เปน็ ต้น

4ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร. ดนติ า ดวงวไิ ล

5. เพ่ือความตระหนักในตนเอง (Self – Awareness) กล่าวคือ เพื่อให้เกิดการ
เรียนรู้เก่ียวกับตนเองอันจะทำให้เกิดความตระหนักในบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของ
ตนเอง ตระหนักในสิ่งท่ีตนปฏิบัติกับผลกระทบท่ีจะเกิดกับตนเองและเพ่ือนร่วมงาน อันได้แก่
ความเขา้ ใจในความแตกต่างระหวา่ งบุคคล การเขา้ ใจในทัศนะของ ผูอ้ ่นื เป็นต้น

ลกั ษณะทวั ่ ไปของการสมั มนา

จากคำนิยามของการการสัมมนาซึ่งมีผู้กล่าวไว้ในลักษณะต่าง ๆ การสัมมนาย่อมมี
วัตถุประสงค์เพ่ือพัฒนาบุคลากรและหน่วยงานเช่นเดียวกัน ดังน้ันอาจกล่าวโดยสรุปถึงลักษณะ
ทว่ั ไปของการสัมมนาได้ดงั นี้

1. มกี ารจัดกจิ กรรมท่ีคล้ายกับการประชมุ
2. รูปแบบการจัดสัมมนา จะมีการยืดหยุ่นผันแปรไปตามความเหมาะสมของ
วัตถุประสงค์ กจิ กรรมย่อยในกระบวนการสมั มนา จะมคี วามหลากหลาย ประกอบด้วยเทคนิคการ
อภิปรายหลายประเภท เป็นกิจกรรมทป่ี ระกอบดว้ ยกิจกรรมยอ่ ยหลาย ๆ กจิ กรรมเปน็ กิจกรรมใหญ่
3. องค์ความรู้หรือปัญหาที่นำมาเป็นหัวข้อจัดสัมมนา จะต้องเป็นองค์ความรู้และปัญหา
ทางวชิ าการ
4. การสัมมนา เป็นกระบวนการรวมผู้ท่ีสนใจในความรู้ทางวิชาการ ท่ีมีระดับใกล้เคียง
กนั หรือแตกตา่ งกนั มาสรา้ งสรรคอ์ งค์ความรู้ใหม่
5. การจัดสัมมนา จะอาศัยหลักกระบวนการกลุ่ม (Group Dynamic หรือ Group
Process) เขา้ มามีบทบาทในการจดั เพื่อใหเ้ กดิ ปฏิสมั พันธ์ระหว่างผ้เู ขา้ ร่วมสมั มนาด้วยกนั
6. เปน็ กิจกรรมที่เร่งเร้าให้ผเู้ ข้ารว่ มสัมมนา มีความกระตือรือรน้ ในการเข้ารว่ ม กจิ กรรม
ตลอดการสมั มนา
7. ผ้เู ข้ารว่ มสัมมนา ไมว่ า่ จะอยู่ในฐานะวิทยากรหรือผเู้ ขา้ ร่วมสมั มนา จะมีโอกาสพดู คุย
โต้ตอบซักถามแสดงความคิดเห็นต่อกนั ทุกคน และมปี ฏิสมั พันธซ์ ึ่งกันและกนั
8. ผูเ้ ข้าร่วมสัมมนาได้พฒั นาทกั ษะการพูด การฟัง การคิด และการนำเสนอ ความเชอื่
ทศั นคติ และความรู้อื่น ๆ ตลอดจนการเขียนรายงาน เป็นต้น
9. การสัมมนาจะมีผู้นำและผู้ตาม ในกระบวนการเรียนรู้ กล่าวคือ มีวิทยากรท่ีมีความรู้
ความสามารถ มีความเช่ียวชาญในเร่ืองท่ีพูด หรือผู้ดำเนินรายการ ดำเนินการสัมมนาให้บรรลุ
วัตถปุ ระสงค์ ขณะเดยี วกันผู้เขา้ ร่วมสัมมนาก็จะเป็นผ้ตู ามในการเรียนรู้ มกี ารแลกเปล่ียนการเรียนรู้
แบบ Learning by doing และ Individual learning ในระหว่างกระบวนการสมั มนานนั้ ด้วย
10. การจัดสัมมนา จะมีพัฒนาการผนั แปรไปตามวฒั นธรรมและประเพณีของแต่ละชนชาติ
จนถงึ การประสานความเหมาะสม เพ่ือผลประโยชนร์ ่วมกนั ในระดับนานาชาติ
11. ผลของการสัมมนา ไม่จำเป็นต้องออกมาในเชิงรูปธรรม ซึ่งเป็นองค์ความรู้หรือตอบ
คำถามหรือแก้ปัญหา หรือถือเป็นแนวทางต้องปฏิบัติ แต่จะเป็นผลที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้

5ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร. ดนติ า ดวงวไิ ล

(Process) มากกวา่ ตัวผลของการสัมมนา (Product) โดยตรง หมายความว่า ผลการสัมมนาจะได้
ในรูปของผู้ร่วมสัมมนา ได้มีการพัฒนากระบวนการฟัง การคิด การแลกเปล่ียนความคิดเห็นซ่ึงกัน
และกัน การทดสอบองค์ความรู้ การประเมินค่าความคิดเห็นจากผู้ร่วมสัมมนา เช่น การได้เรียนร้วู ่า
การคิดของผู้อนื่ และของตนเอง มีวิธีการคิดท่ีเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร รู้จักตนเองว่ามีภูมิ
ร้เู ป็นที่ยอมรับของบุคคลอื่นมากน้อย แค่ไหน ตนเองจะต้องพัฒนาความรู้ความสามารถด้านใด จึง
จะนำเสนอความรู้ ความคิด ความเช่อื และอ่นื ๆ ของตนเองให้ผูอ้ ่ืนไดร้ ับและความรู้เดิมสามารถ
กอ่ ใหเ้ กิดความรู้ใหม่อะไรบ้าง อยา่ งไร

12. การสัมมนาจะเป็นกระบวนการ หรือเคร่ืองมือในการหล่อหลอมให้เกิดความรู้ใหม่
จากการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น นำมาทดสอบประเมินคา่ ความรู้จากคนหน่ึง สู่อกี คนหน่ึง
ซ่ึงจะมคี ณุ ค่ามากมาย เป็นลกั ษณะการเผยแพรส่ ู่หลากหลายวงการอาชีพซึง่ จะทำให้ความรูเ้ หลา่ น้ัน
ได้ถกู นำไปใช้อยา่ งแพรห่ ลายมากข้ึนด้วย

ลักษณะของการสัมมนาจึงเป็นกิจกรรมที่สามารถนำไปพัฒนาองค์กร พัฒนาบุคลากร
ส่งเสริมการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล สร้างความสัมพันธอ์ ันดรี ะหว่างบุคลากรในหน่วยงาน และนอก
หน่วยงาน และยังเป็นการส่งเสริมการปกครองแบบประชาธปิ ไตยได้เปน็ อยา่ งดี

ประโยชนข์ องการสมั มนา

เมือ่ พจิ ารณาจากความมุ่งหมายของการสมั มนา จะเหน็ ไดว้ ่าการสมั มนาก่อให้เกิดประโยชน์
แก่ทกุ ฝา่ ย ดงั น้ี

1. ผู้จัดสัมมนา สามารถจัดการประชุมสัมมนาได้ถูกต้องตามขั้นตอนบรรลุตาม
วตั ถปุ ระสงค์ที่ตงั้ ไว้ และเกิดประสทิ ธภิ าพ

2. ผ้เู ข้าร่วมสัมมนา ซึง่ แบ่งเป็น 3 ระดบั ดังน้ี
2.1 ระดับองค์การหรือหน่วยงาน เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงาน

แก้ปัญหาต่าง ๆ ขององค์การ เพิ่มความสามารถในการรับรู้ข่าวสารในองค์การ ทำให้ก้าวหน้า
สามารถแข่งขันกบั ผู้อน่ื ได้

2.2 ระดับผู้บังคับบัญชา เพิ่มศักยภาพในการทำงานให้สูงขึ้น ลดภาระในการ
ปกครองบังคับบัญชา ลดเวลาในการสอนงานและการพัฒนาพนักงาน ช่วยให้พนักงานตระหนักใน
บทบาท หน้าท่ี และความรับผิดชอบของตน สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บังคับบัญชากับ
พนกั งาน

2.3 ระดับพนักงานหรือผู้เข้าร่วมสัมมนา เพิ่มพูนความรู้ ความสามารถแก่ตนเอง
แนวคิดจากการสัมมนาสามารถลดการทำงานที่ผิดพลาด ทำให้มีทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน
เพื่อนรว่ มงาน และองคก์ ารหรือสถาบัน และเพิ่มโอกาสความกา้ วหน้าในตำแหนง่ หน้าทก่ี ารงาน

3. สังคมโดยส่วนรวม ผลจากการประชุมสัมมนาหรือการจัดการเรียนการสอน
สัมมนา ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวชิ าการ การศึกษา ค้นคว้า ประมวลข้อเท็จจริงทางวิชาการ

6ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร. ดนติ า ดวงวไิ ล

ประเด็นใหม่ ๆ การเสนอเอกสารประกอบการสมั มนา สรปุ ผลรายงานการสัมมนาเพ่ือเป็นแนวทาง
ในการปรับปรุง แก้ปัญหา หรือสร้างสรรค์การทำงาน ท้ังน้ีย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมโดย
ส่วนรวม เมื่อทุกองค์การมีความรู้ ความสามารถ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการปฏิบัติตามบทบาท
หน้าท่ขี องตนเองใหด้ ีท่ีสดุ และรู้จกั ตระหนักในตนเองและผู้อืน่


Click to View FlipBook Version