The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การนับเวลาแบบประวัติศาสตร์ไทย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by facebook user, 2022-11-26 09:03:47

การนับเวลาแบบไทย

การนับเวลาแบบประวัติศาสตร์ไทย

การนับเวลาแบบไทย

สารบัญ หน้า
ความสำคัญของเวลา 1
การนับเวลาแบบไทยในประวัติศาสตร์ไทย 2
-พุทธศักราช
-มหาศักราช 2-3
-จุลศักราช 4-5
-รัตนโกสินทร์ศก 6-7
8-9

ความสำคัญของเวลา
ในการศึกษาประวัติศาสตร์จะมีความเกี่ยวข้องกับเวลา เพราะ
ประวัติศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวในอดีตของมนุษย์ โดย
ศึกษาว่ามนุษย์มีวิถีชีวิตอย่างไร มีความคิดอะไร มีผลงานใดบ้าง
และการสร้างสรรค์ผลงานนั้นได้มีผลกระทบต่อพัฒนาการของ
มนุษย์ในอดีตและปัจจุบันอย่างไร จึงอาจกล่าวได้ว่าการดำเนิน
ชีวิตด้านต่าง ๆ ของมนุษย์อยู่ภายใต้เงื่อนไขของเวลามาโดย
ตลอด แต่การที่มนุษย์สามารถสื่อสารกันได้เรื่องเวลาก็เพราะ
มนุษย์มีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับระบบการบอกเวลาตรงกัน

ในสมัยประวัติศาสตร์ไทยที่มีระยะเวลาหลายร้อยปี และเกิด
เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญมากมาย นักประวัติศาสตร์
จึงได้กำหนดช่วงเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ขึ้นเพื่อให้
ง่ายแก่การจดจำ เพื่อให้เข้าใจเหตุการณ์ตรงกัน และเพื่อให้รู้
ลักษณะเด่นของยุคสมัยทางประวัติศาสตร์นั้น ๆ ตลอดจนให้
ความสำคัญต่อปีศักราช โดยกำหนดเวลาเป็นพุทธศักราช
(พ.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.) เป็นต้น



การใช้พุทธศักราชมาสู่ดินแดนประเทศไทยพร้อมกับพระพุทธศาสนาจากอินเดีย
โดยสันนิษฐานว่า คงเริ่มตั้งแต่เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งแคว้นมคธ
ส่งพระเถระเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในภูมิภาคนี้ แต่การกำหนดให้ใช้
พุทธศักราชอย่างเป็นทางการของประเทศไทยมาเริ่มในสมัยรัชกาลที่ 6 แห่งกรุง
รัตนโกสินทร์นี้เอง โดยใน พ.ศ.2455 ทรงประกาศเลิกใช้รัตนโกสินทร์ศกที่เริ่มใช้
ในรัชกาลก่อนให้ใช้พุทธศักราชแทนแต่ยังคงให้ขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน เช่น
เดียวกับรัตนโกสินทร์ศก
ในพ.ศ.2484 จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้เปลี่ยนวันขึ้น
ปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 มกราคม ให้เหมือนกับนานาประเทศที่เจริญแล้ว ประเทศไทย
จึงขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 มกราคม ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน การเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ที่
เริ่มใน พ.ศ.2484 ทำให้ พ.ศ.2483 เหลือจำนวนเดือนเพียง 9 เดือนคือจากเดือน
เมษายนพ.ศ.2483 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2483 วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2484 จึง
เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ตามแบบสากลเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ในพ.ศ.2484
จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวัน
ที่ 1 มกราคม ให้เหมือนกับนานาประเทศที่เจริญแล้ว ประเทศไทยจึงขึ้นปีใหม่ในวัน
ที่ 1 มกราคม ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน การเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ที่เริ่มใน
พ.ศ.2484 ทำให้ พ.ศ.2483 เหลือจำนวนเดือนเพียง 9 เดือนคือจากเดือนเมษายน
พ.ศ.2483 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2483 วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2484 จึงเป็นการเริ่ม
ต้นปีใหม่ตามแบบสากลเป็นครั้งแรกของประเทศไทย

2. มหาศักราช (ม.ศ.) ผู้ตั้ง คือ พระเจ้ากนิษกะ กษัตริย์ผู้
ยิ่งใหญ่ของพวกกุษาณะ อันเป็นชนชาติที่เข้าไปครอบ
ครองอินเดียทางตะวันตกเฉียงเหนือ ตั้งแต่ช่วงต้นพุทธ
ศตวรรษที่ 6 เมื่อขึ้นเสวยราชย์แล้ว พระเจ้ากนิษกะได้ตั้ง
มหาศักราชขึ้นใน พ.ศ. 622 มหาศักราช 1 ตรงกับ
พ.ศ.622 มหาศักราชจึงน้อยกว่าพุทธศักราช 622-1 =
621 ปี จึงใช้จำนวน 621 นี้เป็นเกณฑ์ในการบวกลบ เพื่อ
เปลี่ยนศักราชระหว่างมหาศักราชกับพุทธศักราชคือ พ.ศ.
= ม.ศ. + 621 และ ม.ศ. = พ.ศ. – 621 ไทยไม่ได้รับมหา
ศักราชจากอินเดียโดยตรง แต่รับจากเขมรซึ่งรับมาจาก
อินเดียอีกทอดหนึ่ง มหาศักราชใช้ในการคำนวณทาง
โหราศาสตร์ และใช้ระบุเวลาในจารึก ตำนาน โดยเฉพาะที่
ทำขึ้นก่อนสมัยสุโขทัยและในสมัยสุโขทัย การระบุมหา
ศักราชและจารึกในตำนาน มักบอกเพียงว่าเป็นศักราชใด
หรือศก คือ ปีใด ไม่ได้ใส่คำว่ามหาศักราชไว้อย่างชัดเจน
ทั้งนี้เพราะสมัยนั้นมหาศักราชเป็นศักราชสำคัญ เพียงแต่
เอ่ยว่าศักราชที่เท่าไรก็เป็นที่ทราบกันว่า ปีที่เอ่ยถึงนั้นเป็น
มหาศักราช

แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ เข้า การใช้ศักราชเปลี่ยนแปลงไป คนชั้น
หลังที่อ่านหลักฐานทางประวัติศาสตร์เหล่านั้น จึงอาจเกิดปัญหาไม่
แน่ใจว่า ปีที่ระบุไว้ลอยๆ นั้นเป็นศักราชแบบไหนแน่ แต่ถ้ามีความรู้พื้น
ฐานเกี่ยวกับเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่กล่าวถึง และรู้จักเปรียบเทียบ
ตรวจสอบตามสมควร ก็จะแก้ปัญหาดังกล่าวได้ เช่น จารึกหลักที่ 1 หรือ
จารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ด้านที่ 4 มีข้อความกล่าวถึงกำเนิดตัว
หนังสือไทยว่า “...เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี 1205 ศกปีมะแม พ่อขุน
รามคำแหงหาใคร่ใจในใจแลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึงมีเพื่อขุนผู้
นั้นใส่ไว้...” สมัยนั้นไทยใช้ทั้งมหาศักราชกับพุทธศักราช แต่พ่อขุน
รามคำแหงมหาราชครองราชย์อยู่ระหว่าง พ.ศ. 1822 - 1841 เมื่อไม่ใช่
พุทธศักราชก็น่าจะเป็นมหาศักราช การเทียบเปลี่ยน ม.ศ.1205 เป็น
พ.ศ. ได้ 1205 + 621 = พ.ศ.1826 ซึ่งอยู่ในช่วงรัชสมัยพ่อขุน
รามคำแหงมหาราช จึงสรุปได้ว่า 1205 ศก คือ ม.ศ. 1205

3.จุลศักราช (จ.ศ.)ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.1182 โดยพระเจ้าโพพาสอระหัน
กษัตริย์พม่า จุลศักราช 1 ตรงกับ พ.ศ. 1182 จุลศักราชจึงน้อย
กว่าพุทธศักราช 1181 ปี การเทียบเปลี่ยนจุลศักราชกับพุทธศักราช
คือ พ.ศ. = จ.ศ. + 1181 และ จ.ศ. = พ.ศ. – 1181 ในสมัย
โบราณ การนับวันขึ้นปีใหม่ของจุลศักราชใช้แบบจันทรคติ จึงไม่
สามารถระบุวันที่แน่นอนได้ โดยกฎคัมภีร์สุริยยาตรระบุว่า วันขึ้นปี
ใหม่อยู่ระหว่างขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 ถึง 5 ค่ำ เดือน 6 ในปัจจุบันนี้เพื่อ
ความสะดวกจึงกำหนดจุลศักราชขึ้นปีใหม่กลางเดือนเมษายน
เทศกาลเนื่องในการขึ้นจุลศักราชใหม่ เรียกว่า "สงกรานต์" มี 3 วัน
คือวันที่ 13 เมษายน เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์" วันที่ 14 เมษายน
เรียกว่า "วันเนา" และวันที่ 15 เมษายน เรียกว่า "เถลิงศก หรือวันขึ้น
ปีใหม่"

ไทยใช้จุลศักราชในการคำนวณทางโหราศาสตร์ ใช้บอกปีใน
จารึก ตำนาน จดหมายเหตุ พระราชพงศาวดาร และเอกสาร
ราชการ จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
จึงเลิกใช้และใช้รัตนโกสินทร์ศกแทน การเรียกศกตามเลข
ท้ายปี ในระบบการเรียกศกตามเลขท้ายปีจุลศักราช
นิยมเรียกด้วยศัพท์บาลี ดังนี้
1. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 1 เรียก "เอกศก"
2. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 2 เรียก "โทศก"
3. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 3 เรียก "ตรีศก"
4. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 4 เรียก "จัตวาศก"
5. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 5 เรียก "เบญจศก"
6. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 6 เรียก "ฉศก"
7. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 7 เรียก "สัปตศก"
8. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 8 เรียก "อัฐศก"
9. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 9 เรียก "นพศก"
10. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 0 เรียก "สัมฤทธิศก"

4.รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ) เป็นศักราชที่พระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2432 โดยให้นับปีที่พระบาท
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อปีขาล พ.ศ. 2325 เป็น ร.ศ. 1 และให้เริ่มใช้ศักราชนี้ในราชการ
ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ร.ศ. 108 โดยให้นับเดือนเมษายนเป็นเดือน
แรกของปี เดือนมีนาคมเป็นเดือนสุดท้ายของปี

รัตนโกสินทร์ศกจึงขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน ร.ศ. 1 ตรงกับ
พ.ศ. 2325 รัตนโกสินทร์ศกจึงน้อยกว่าพุทธศักราช 2324 ปี การ
เทียบเปลี่ยนรัตนโกสินทร์ศกกับพุทธศักราช คือ พ.ศ. = ร.ศ. + 2324
และ ร.ศ. = พ.ศ. – 2324 ประเทศไทยใช้รัตนโกสินทร์ศกมาถึง
ร.ศ. 131 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ก็ทรง
ประกาศให้เลิกใช้รัตนโกสินทร์ศก เปลี่ยนเป็นพุทธศักราชแทน แต่ยัง
คงให้ขึ้นปีใหม่ ในวันที่ 1 เมษายนเหมือนเดิม จนถึงพ.ศ. 2484
จอมพล ป. พิบูลสงครามจึงเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม


Click to View FlipBook Version