The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การนับเวลาแบบไทย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by facebook user, 2022-12-18 09:43:49

การนับเวลาแบบไทย

การนับเวลาแบบไทย

การนับเวลาแบบไทย

สารบัญ หน้า
การนับเวลาในรอบวัน 1
การนับยามกลางคืน 2
การบอกวัน เดือน ขึ้นแรม
การนับปีนักษัตร 3-4
ศักราชและการเทียบศักราช 5
ทศวรรษ ศตวรรษ สหัสวรรษ 6-7
8

การนับเวลาในรอบวัน
โมง หมายถึง วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางวัน ถ้าเป็น
เวลาก่อนเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๗ นาฬิกา ถึง ๑๑ นาฬิกา เรียกว่า โมง
เช้า ถึง ๕ โมงเช้า ถ้าเป็น ๑๒ นาฬิกา นิยมเรียกว่า เที่ยงวัน ถ้า
หลังเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๑๓ นาฬิกา ถึง ๑๗ นาฬิกา เรียกว่า บ่ายโมง
ถึง บ่าย ๕ โมง ถ้า ๑๘ นาฬิกา นิยมเรียกว่า ๖ โมงเย็น หรือ ยํ่าคํ่า

การนับยามกลางคืน
ตั้งแต่ย่ำค่ำ คือ 18 นาฬิกา ถึง 3 ทุ่ม (21 นาฬิกา) เป็นยามที่ 1.
หลังจาก 21 นาฬิกา หรือ 3 ทุ่ม ไปถึง 24 นาฬิกา หรือ เที่ยงคืน
เราเรียกว่า ยาม 2 หรือ 2 ยาม หลัง 24 นาฬิกา ไปถึงตี 3 (3
นาฬิกา) เราเรียกว่า ยาม 3. และหลังจากตี 3 ไปจนย่ำรุ่ง หรือ 6
นาฬิกา เราเรียกว่า ยาม 4 ซึ่งเป็นยามสุดท้ายของคืน

การบอกวัน เดือน ขึ้นแรม

เป็นการนับวันเดือนปีทางจันทรคติ ประกอบด้วย เลข ๓ ตําแหน่ง ดังนี้ ๑. เลขตํา

แหน่งที่ ๑ หมายถึงวัน มี ๗ เลข คือ

๑ หมายถึง วันอาทิตย์ ๒ หมายถึง วันจันทร์

๓ หมายถึง วันอังคาร ๔ หมายถึง วันพุธ

๕ หมายถึง วันพฤหัสบดี ๖ หมายถึง วันศุกร์

๗ หมายถึง วันเสาร์

๒. เลขตําแหน่งที่ ๒ หมายถึง ข้างขึ้น เขียนไว้บนเครื่องหมาย ฯ ส่วนข้างแรม

เขียนไว้ใต้เครื่องหมาย ฯ มีเลขตั้งแต่ ๑ - ๑๕ ๓. เลขตําแหน่งที่ ๓ หมายถึง เดือน

ทางจันทรคติ มีเลขตั้งแต่ ๑ - ๑๒ คือ เดือนไทย

๑.เรียกว่า อ้าย ๒.เรียกว่า ยี

๓ เรียกว่า สาม ๔ เรียกว่า สี่

๕ เรียกว่า ห้า ๖ เรียกว่า หก

๗ เรียกว่า เจ็ด ๘ เรียกว่า แปด

๙ เรียกว่า เก้า ๑๐ เรียกว่า สิบ

๑๑ เรียกว่า สิบเอ็ด ๑๒ เรียกว่า สิบสอง

เดือนสากล

๑.เรียกว่า มกราคม ๒.เรียกว่า กุมภาพันธ์ ๓ เรียกว่า มีนาคม

๔ เรียกว่า เมษายน ๕ เรียกว่า พฤษภาคม ๖ เรียกว่า มิถุนายน

๗ เรียกว่า กรกฎาคม ๘ เรียกว่า สิงหาคม ๙ เรียกว่า กันยายน

๑๐ เรียกว่า ตุลาคม ๑๑ เรียกว่า พฤศจิกายน ๑๒ เรียกว่า ธันวาคม

หลักการอ่านวันเดือนปีแบบไทย มีลักษณะดังนี้

๑. ตัวเลขด้านซ้ายแทนวัน ๒. ตัวเลขด้านขวาแทนเดือน ๓. ตัวเลขด้านบน

เครื่องหมาย ฯ แทนข้างขึ้น ๔. ตัวเลขด้านล่างเครื่องหมาย ฯ แทนข้างแรม

ตัวอย่างการอ่านเดือน

การนับปีนักษัตร คำว่า นักษัตร (อ่านว่า นัก-สัด)
หมายถึง ชื่อรอบเวลา กำหนด ๑๒ ปี เป็น ๑ รอบ เรียกว่า
๑๒ นักษัตร โดยกำหนดให้สัตว์เป็นเครื่องหมายในปีนั้น
ๆ คือ ปีชวด มีหนูเป็นเครื่องหมาย ปีฉลู มีวัวเป็น
เครื่องหมาย ปีขาล มีเสือเป็นเครื่องหมาย ปีเถาะ มี
กระต่ายเป็นเครื่องหมาย ปีมะโรง มีงูใหญ่เป็น
เครื่องหมาย ปีมะเส็ง มีงูเล็กเป็นเครื่องหมาย ปีมะเมีย มี
ม้าเป็นเครื่องหมาย ปีมะแม มีแพะเป็นเครื่องหมาย ปีวอก
มีลิงเป็นเครื่องหมาย ปีระกา มีไก่เป็นเครื่องหมาย ปีจอ มี
หมาเป็นเครื่องหมาย ปีกุน มีหมูเป็นเครื่องหมาย วิธีการ
คำนวณว่าพุทธศักราชใด ตรงกับปีนักษัตรใดนั้น ให้เอาปี
พุทธศักราชตั้ง หารด้วย ๑๒ แล้วเอาเศษมาเทียบดังต่อไป
นี้ เศษ ๑ ปี ตรงกับปีมะเมีย เศษ ๒ ปี ตรงกับปีมะแม เศษ
๓ ปี ตรงกับปีวอก เศษ ๔ ปี ตรงกับปีระกา เศษ ๕ ปี ตรง
กับปีจอ เศษ ๖ ปี ตรงกับปีกุน เศษ ๗ ปี ตรงกับปีชวด
เศษ ๘ ปี ตรงกับปีฉลู เศษ ๙ ปี ตรงกับปีขาล เศษ ๑๐ ปี
ตรงกับปีเถาะ เศษ ๑๑ ปี ตรงกับปีมะโรง และถ้าลงตัวไม่
เหลือเศษ ก็จะเป็นปีมะเส็ง

ศักราชและการเทียบศักราช
ศักราช หมายถึง อายุเวลาซึ่งกำหนดตั้งขึ้นเป็นทางการ เริ่มแต่จุดใดจุด
หนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นที่หมายเหตุการณ์สำคัญ เรียงลำดับกันเป็นปีๆศักราช
ที่นิยมใช้กันและที่สามารถพบในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้แก่
พุทธศักราช (พ.ศ.) เริ่มนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธ์
ปรินิพพานซึ่งแต่เดิมนับเอาวันเพ็ญเดือนหก เป็นวันเปลี่ยนศักราช ต่อ
มาเปลี่ยนแปลงให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายนแทน ต่อมาในสมัยพระบาทสม
เด็จพระอนันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยน
วันขึ้นปีใหม่ โดยเริ่มนับตามแบบสากล คือ วันที่ 1 มกราคม ตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2483.เป็นต้นมา
คริสต์ ศักราช (ค.ศ.) เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเยซูเกิด เป็นค.ศ. 1 ซึ่งใน
ขณะนั้นได้มีการใช้ พุทธศักราชเป็นเวลาถึง 543 ปีแล้ว การคำนวณ
เดือนของ ค.ศ. จะเป็นแบบสุริยคติ ดังนั้นวันขึ้น ปีใหม่ของค.ศ. จะเริ่ม
ในวันที่ 1 มกราคมของทุกปี
มหาศักราช (ม.ศ.) เริ่มนับเมื่อพระระเจ้ากนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะ
กษัตริย์ผู้ครอง คันธาระราฐของอินเดียทรงคิดค้นขึ้น ภายหลังได้เผย
แพร่เข้าสู่บริเวณสุวรรณภูมิและประเทศไทย ผ่านทางพวกพราหมณ์
และพ่อค้าอินเดียที่เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายในดินแดนแถบนี้
จุลศักราช (จ.ศ.) เริ่มนับเมื่อ พ.ศ. ผ่านมาได้ 1,181 ปี โดยนับเอาวันที่
พระเถระพม่ารูปหนึ่งนามว่า "บุพโสระหัน" ลึกออกจากการเป็นพระ เพื่อ
ชิงราชบัลลังก์ในสมัยพุกามอาณาจักรการนับเดือน ปี ของ จ.ศ. จะเป็น
แบบจันทรคติ โดยถือวันขึ้น1ค่ำเดือน5เป็นวันขึ้นปีใหม่

รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เมื่อ พ.ศ. ผ่านมาได้ 2,325 ปี ซึ่งพระบาท
สมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงพระกรุณาโปรด
เกล้าฯ ให้บัญญัติขึ้น โดยเริ่มนับวันที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
จุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ทรงสร้างกรุงเทพมหานคร เป็น ร.ศ. 1
และวันเริ่มต้นปี คือ วันที่ 1 เมษายน ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่6)ได้ยกเลิกการใช้ร.ศ.
ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) เป็นศักราชทางศาสนาอิสลาม เริ่มนับเมื่อท่าน
นบีมุฮัมหมัด กระทำฮิจเราะห์ (Higra แปลว่า การอพยพโยกย้าย) คือ
อพยพจากเมืองเมกกะ ไปอยู่ที่เมืองเมดินะ เป็นปีเริ่มต้นของศักราช
อิสลาม
การเปรียบเทียบศักราชสามารถกระทำได้ง่ายๆ โดยนำตัวเลขผลต่าง
ของอายุศักราชแต่ละศักราชมาบวกหรือลบศักราขที่เราต้องการ ตาม
หลักเกณฑ์ ดังนี้
ม.ศ. + 621 = พ.ศ. พ.ศ. - 621 = ม.ศ.
จ.ศ. + 1181 = พ.ศ. พ.ศ. - 1181 = จ.ศ.
ร.ศ. + 2324 = พ.ศ. พ.ศ. - 2324 = ร.ศ.
ค.ศ. + 543 = พ.ศ. พ.ศ. - 543 = ค.ศ.
ฮ.ศ. + 621 = ค.ศ. ค.ศ. - 621 = ฮ.ศ.
ฮ.ศ. + 1164 = พ.ศ. พ.ศ. - 1164 = ฮ.ศ.
ปัจจุบันศักราชที่ใช้กันมาก คือ คริสต์ศักราชและพุทธศักราช เมื่อ
เปรียบเทียบศักราช ทั้งสองต้องใช้ 543 บวกหรือลบแล้วแต่กรณี ถ้า
เทียบได้คล่องจะทำให้เราเข้าใจประวัติศาสตร์ไทย หรือสากลได้ง่ายขึ้น

ทศวรรษ ศตวรรษ สหัสวรรษ ทศวรรษ
หมายถึง ช่วงเวลา 10 ปี มีหลักการนับ คือ เริ่มนับตั้งแต่ปีที่ขึ้นต้น
ด้วยเลข 0 เป็นปีแรกของทศวรรษ และนับไปสิ้นสุดที่เลข 9 นิยมใช้
ทศวรรษในการบอกช่วงเวลาทางคริสต์ศักราช เช่น ทศวรรษที่ 1970
เป็นช่วงเวลา ค.ศ. 1970 – 1971 ศตวรรษ หมายถึง ช่วงเวลา 100 ปี
มีหลักการนับ คือ เริ่มนับตั้งแต่ปีที่ขึ้นต้นด้วยเลข 0 เป็นปีแรกของ
ทศวรรษ จนถึง 100 เช่น พุทธศตวรรษที่ 1 หมายถึง ช่วงเวลา
ระหว่าง พ.ศ. 1-100 คริสต์ศตวรรษที่ 20 หมายถึง ช่วงเวลาระหว่าง
ค.ศ. 1901 – 2000 สหัสวรรษ หมายถึง ช่วงเวลา 1,000 ปี มีหลัก
การนับ คือ เริ่มนับตั้งแต่ปีที่ขึ้นด้วยเลข 1 เป็นปีแรกของสหัสวรรษ
จนถึง 1,000 เช่น สหัสวรรษที่ 1 หมายถึง ช่วงเวลาระหว่าง ค.ศ. 1-
1000 หรือ พุทธสหัสวรรษที่ 4 เป็นช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 3001 –
4000


Click to View FlipBook Version