ลักษณะที่ 10 ความผิดเกี่ยวกับชีวิตเเละร่ายกาย
หมวด 2
ค ว า ม ผิ ด ต่ อ ร่ า ง ก า ย
น า ย พ ง ศ์ ภั ค ก ร ร ณ ม ร ก ต มหาวิทยาลัยทักษิณ
ร หั ส นิ สิ ต 6 3 1 0 8 7 0 4 7 วิทยาเขตสงขลา
คำนำ
รายงานฉบับนี้เป็นข้อมูลในรายวิชาอาญา 2 ภาคความผิด
โดยมีจุดประสงค์จัดทำเพื่อให้ผู้จัดทำได้ฝึกการศึกษาค้นคว้าใน
เรื่องในวิชาอาญา 2 และนำสิ่งที่ได้ศึกษาค้นคว้ามาสร้างเป็น
ชิ้นงานเก็บไว้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนของตนเองและ
ผู้อื่นต่อไป
ทั้งนี้ เนื้อหาได้รวบรวมมาจากหนังสือแบบเรียน…และจาก
หนังสือต่างๆ ขอขอบพระคุณอาจารย์…อย่างสูงที่กรุณาตรวจ
ให้คำแนะนำเพื่อแก้ไข ให้ข้อเสนอแนะตลอดการทำงาน ผู้จัดทำ
หวังว่ารายงานฉบับนี้คงมีประโยชน์ต่อผู้ที่นำไปใช้ให้เกิดผล
ตามความคาดหวัง
นายพงศ์ภัค กรรณมรกต
รหัสนิสิต 631087047
คณะผู้จัดทำ
สารบัญ 1
สารบัญ หน้า
ความผิดต่อร่างกาย ๒๙๕
ความผิดตามมาตรา ๒๙๖ 1
ความผิดตามมาตรา
๒๙๗ 2-7
ความผิดตามมาตรา ๒๙๘ 8-10
ความผิดตามมาตรา ๒๙๙ 11-16
ความผิดตามมาตรา ๓oo 17-19
บรรณนานุกรม 20-23
24-26
27
ความผิดต่อร่างกาย 2
ความผิดต่อร่ายกาย คือ สําหรับความผิดต่อร่างกายนั้น ในส่วน
ของการกระทําผิดก็คือการทําร้ายร่างกายนั่นเอง โดยหากจะสรุป
เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย กฎหมายอาญาได้บัญญัติถึงกรณีกระทําโดย
เจตนาไว้ ๓ กรณี คือ กรณีที่หนึ่ง คือ อันตรายสาหัส, กรณีที่สอง
อันตรายแก่กายหรือจิตใจ หรือจะเรียกง่าย ๆ ว่า “บาดเจ็บ” ก็ย่อม
ได้ และกรณีที่สาม ไม่ได้รับบาดเจ็บหรือได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย
(ความผิดลหุโทษ*) ส่วนกรณีกระทําโดยประมาท มีเพียง ๒ กรณี
คือ กรณีที่หนึ่ง ประมาทเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส และกรณีที่
สอง ประมาท เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ (ความผิด
ลหุโทษ*)
สำหรับความผิดต่อร่างกายก็จะมีมาตรา 3
๒๙๕-๓oo
ความผิดตามมาตรา ๒๙๕
มาตรา ๒๙๕ ผู้ใดทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย
หรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือ
ทั้งจำทั้งปรับ
ความผิดตามมาตรา ๒๙๕
องคป์ระกอบภายนอก
(๑) ทำร้าย
(๒) ผู้อื่น
(๓) จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่น
องค์ประกอบภายใน เจตนาธรรมดา
คำอธิบายมาตรา ๒๙๕ 4
องค์ประกอบของมาตรานี้คือ (๑) องค์ประกอบข้อ (๑) และข้อ (๒) ขอ
อธิบายรวมกันไปคำว่า“ ทำร้ายผู้อื่นไม่หมายความถึง“ ใช้กำลังประทุษร้าย”
ตามที่นิยามไว้ในมาตรา ๑ (๖) แต่หมายความถึงการกระทำต่อร่างกายหรือ
จิตใจของผู้อื่นในทางให้เจ็บหรือแตกหักเสียหายจะมีอาวุธหรือไม่ก็ตามและไม่ว่า
จะกระทำโดยถูกต้องเนื้อตัวของผู้เสียหายหรือไม่ก็ตามเช่นหลอกให้เขาเสียใจจน
วิกลจริตไปเป็นตัวอย่างคำว่า“ ผู้อื่น” นี้หมายความอย่างเดียวกับที่อธิบายไว้ใน
มาตรา ๒๘๘
(๒) คำว่า“ จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น” คำว่า“
อันตรายแก่กาย” หมายถึง“ บาดเจ็บ” ตามกฎหมายลักษณะอาญาเดิมฉะนั้น
แนวคำพิพากษาฎีกาเก่า ๆ ที่พิพากษาตามกฎหมายลักษณะอาญาเดิมว่า
บาดแผลอย่างไรเป็น“ บาดเจ็บ” ก็ยังใช้ได้และพอสรุปได้ดังนี้คือถ้าถึงหนังขาด
ทะลุเข้าไปในเนื้อก็เป็น“ บาดเจ็บ” แต่การกระทำให้เป็นแผลบวมช้ำเป็นรอยพอง
หนังแตกหรือบวมเป่งอย่างมากเช่นเนื้อแตกปริก็ถือว่าเป็นการทำให้“ บาดเจ็บ”
เหมือนกันมิฉะนั้นบุคคลที่ฉลาดอาจใช้วัตถุทำด้วยยางแข็งตีตอนที่มีเนื้อมากและ
ไม่มีกระดูกเช่นหน้าท้องซึ่งแม้แผลจะไม่แตก แต่ก็ควรถือว่า“ เป็นอันตรายแก่
กาย” (คือบาดเจ็บเดิม) เหมือนกัน คำว่า“ อันตรายแก่จิตใจ” เป็นการกระทำให้
เกิดผลต่อร่างกายของผู้เสียหายด้วยหรือไม่ก็ได้ เช่น ทำร้ายจนทำให้เขา
ปราศจากสติสัมปชัญญะหรือสลบไปเป็นเวลานานแม้จะไม่ปรากฎบาดแผล
เป็นต้น
คำอธิบายมาตรา ๒๙๕ 5
(ต่อ)
(๓) ผู้กระทำต้องมีเจตนาเจตนาในที่นี้หมายถึงเจตนาทำร้ายเท่านั้นไม่ถึงกับจะ
ต้องมีเจตนาให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นด้วย ตัวอย่าง ก. ชก ข.
ข. ล้มลงศีรษะถูกพื้นถนนศีรษะจึงแตก แม้ ก. จะมีเจตนาเพียงชก ข. โดยไม่มี
เจตนาจะให้ ข. ถึงกับศีรษะแตก แต่การที่ ข. ศีรษะแตกเป็นผลธรรมดาของ
การชก ก. ก็ย่อมผิดตามมาตรานี้
อนึ่งความผิดฐานทำร้ายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจนี้เป็น
ความผิดที่มีลักษณะพิเศษเป็นข้อยกเว้นจากหลักธรรมดา กล่าวคือ เป็นกรณีที่
เจตนาของผู้กระทำไม่จำต้องคลุมถึงผลและถ้าผลของการกระทำไม่เกิดขึ้น
ความผิดก็ไม่สำเร็จปัญหามีว่าการพยายามกระทำความผิดมีได้หรือไม่เพราะใน
เรื่องพยายามต้องพิจารณาว่าผู้กระทำมีเจตนาให้เกิดผลอันใดขึ้นและเมื่อลงมือ
แล้วไม่เกิดผลสมดังเจตนา เพราะกระทำไปไม่ตลอดหรือกระทำไปตลอดแล้วแต่
การกระทำนั้นไม่บรรลุผลจึงจะถือว่าพยายามกระทำความผิด (ดูมาตรา ๘๐)
ผู้สอนเห็นว่าความผิดฐานทำร้ายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจนี้
อาจมีพยายามกระทำความผิด ตามความหมายของหรือจิตใจก็ได้ไม่มีก็ได้แล้ว
แต่ว่าผู้กระทำได้มีเจตนาที่จะให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจจากการกระ
ทำร้ายของตนหรือไม่ถ้าผู้กระทำมีเจตนาจะให้เกิดอันตรายดังกล่าวขึ้น แต่
กระทำไปไม่ตลอดหรือกระทำไปตลอดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผลผู้
กระทำก็มีผิดฐานพยายามกระทำความผิดตามมาตรา ๒๙๔ ตัวอย่างเช่นก. มี
เจตนาจะฟันศีรษะข. ให้แตกก. จึงเอามีดฟันข. แต่ข. หลบทันก. มีผิดฐาน
พยายามกระทำผิดตามมาตรา ๒๙๕ เพราะ ก. มีเจตนาจะให้ ข. รับอันตรายแก่
กายแล้ว
ในกรณีที่ผู้กระทำ มีอำนาจทำได้ตามกฎหมายลายลักษณ์อักษรหรือ
กฎหมายจารีตประเพณีผู้กระทำก็ไม่มีความผิดตามมาตรานี้ เช่น นายแพทย์
เฉือนเนื้อร้ายออกจากร่างกายของคนไข้โดยคนไข้ยินยอม เป็นต้น
ตัวอย่างฎีกาที่เกี่ยวข้อง 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5053/2555
จำเลยที่ 1 มาขอไม่ให้ผู้เสียหายยื่นซองสอบราคาโดยจำเลยที่ 2 ก็อยู่
ในบริเวณนั้น แต่ผู้เสียหายคงยืนยันจะยื่นซองสอบราคา จากนั้นจำเลยที่
1 เดินมาพูดกับผู้เสียหายว่า "ไอ้น้อยมึงแน่หรือ" และตบหน้าผู้เสียหายที่
บริเวณเบ้าตาขวาเป็นเหตุให้ผู้เสียหายตกจากเก้าอี้ล้มลงที่พื้น แล้วจำเลย
ที่ 2 กับพวกเข้าสมทบกับจำเลยที่ 1 รุมทำร้ายผู้เสียหาย โดยระหว่างนั้น
จำเลยที่ 1 พูดในเชิงข่มขู่ผู้เสียหายว่า "ไอ้น้อยมึงเก่งจริงมึงยื่นเลย"
พฤติการณ์แห่งคดีบ่งชี้โดยแจ้งชัดว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกรุมทำร้ายผู้
เสียหายเพื่อเป็นการข่มขู่มิให้ผู้เสียหายยื่นซองสอบราคาจ้างเหมางานที่
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพี่ชายต่างบิดาของจำเลยที่ 2 ขอไม่ให้ผู้เสียหายยื่นใน
วันเกิดเหตุ ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295, 309
วรรคแรก ประกอบมาตรา 83 แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ยื่นซองสอบราคาในวัน
เกิดเหตุตามที่จำเลยที่ 2 อ้างก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 2 ร่วมใช้กำลัง
ประทุษร้ายต่อผู้เสียหายเพื่อให้จำยอมไม่เข้าร่วมในการเสนอราคาตาม
ประกาศสอบราคาจ้างเหมาในเหตุคดีนี้จนผู้เสียหายต้องเข้ารับการรักษา
พยาบาลจากแพทย์ที่โรงพยาบาลและไม่กล้ายื่นซองสอบราคาภายใน
กำหนด ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิด
เกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 6 อีกฐาน
หนึ่งด้วย
ตัวอย่างฎีกาที่เกี่ยวข้อง 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11466/2554
จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งหกและขู่ผู้เสียหายทั้งหกจนผู้เสีย
หายทั้งหกหาเงินมาให้จำเลยคนละ 1,000 บาท แม้จำเลยจะปักใจเชื่อ
โดยสุจริตว่า ผู้เสียหายทั้งหกลักเงินจำเลยไป จำเลยก็ชอบที่จะใช้สิทธิ
ตามกฎหมายโดยไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่ผู้เสียหายทั้งหก
ได้ในทันที จำเลยหามีสิทธิตามกฎหมายที่จะดำเนินการได้ด้วยตนเองไม่
ทั้งวิธีการที่จำเลยทำเป็นสิ่งที่ผิดต่อกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึง
เป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายและกรรโชกอันเป็นกรรมเดียวผิด
กฎหมายหลายบท
ความผิดตามมาตรา ๒๙๖ 8
มาตรา ๒๙๖ ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ถ้าความผิด
นั้น มีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา
๒๘๙ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่น
บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๙๖ เป็นเหตุเพิ่มโทษของมาตรา ๒๙๕ โดยมีองค์ประกอบดังต่อไป)
(๑) กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย (คือการกระทำที่เข้าองค์ประกอบ
ภายนอกและองค์ประกอบภายในของมาตรา ๒๙๕ ทุกข้อ)
(๒) มีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๘๙
คำอธิบายมาตรา ๒๙๖ 9
มาตรานี้เป็นเหตุเพิ่มโทษให้หนักขึ้นของมาตรา ๒๙๕ ซึ่งหมายความ
ว่าการกระทำนอกจากจะต้องเข้าองค์ประกอบภายนอกและองค์ประกอบ
ภายในของมาตรา ๒๙๕ ทุกประการแล้วยังได้มีเหตุฉกรรจ์ตามมาตรา ๒๘๙
เพิ่มขึ้นอีกให้ดูคำอธิบายมาตรา ๒๘๙ ประกอบเช่นทำร้ายร่างกายบุพการี
หรือทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำหน้าที่เป็นตัวอย่าง
ตัวอย่างฎีกาที่เกี่ยวข้อง 10
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6020/2559
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ร่วมเดินทางไปกับพวกไปที่เกิดเหตุโดยทราบมา
ก่อนแล้วว่าพวกของจำเลยที่ 1 จะไปทำร้ายผู้เสียหาย และหลังเกิดเหตุก็
หลบหนีไปด้วยกัน ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะร่วมทำร้าย
ผู้เสียหายกับพวกซึ่งมีการคิดไตร่ตรองไว้ก่อนแล้ว จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มี
เจตนาเพียงต้องการทำร้ายผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเท่านั้น แต่เมื่อ
ผลการกระทำของพวกจำเลยที่ 1 ไม่ทำให้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บ แต่
พลาดไปถูกผู้ตายจนเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 จึงต้อง
รับผลแห่งการกระทำนั้น จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานร่วมกันพยายาม
ทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตาม ป.อ. มาตรา 296 ประกอบ
มาตรา 80 และฐานทำร้ายผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและไม่มีเจตนาฆ่า แต่
เป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายโดยพลาด ตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรค
สอง ประกอบมาตรา 60 อันเป็นความผิดหลายอย่างซึ่งรวมอยู่ในความ
ผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้
ก่อนโดยพลาดตามที่โจทก์ฟ้อง และเป็นความผิดได้ในตัว ศาลฎีกา
สามารถลงโทษในความผิดดังกล่าวตามที่ได้ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา
192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215 และ 225
ความผิดตามมาตรา ๒๙๗ 11
มาตรา ๒๙๗ ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย จนเป็นเหตุให้ผู้
ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือน
ถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
อันตรายสาหัสนั้น คือ
(๑) ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท
(๒) เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์
(๓) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้วหรืออวัยวะอื่นใด
(๔) หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว
(๕) แท้งลูก
(๖) จิตพิการอย่างติดตัว
(๗) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต
(๘) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน
หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน
ความผิดตามมาตรา ๒๙๗ 12
วรรคแรก
องค์ประกอบภายนอก
(๑) กระทำร้ายร่างกาย (คือการกระทำที่เข้าองค์ประกอบของมาตรา ๒๙๕
ทั้งภายนอกภายในทุกประการ
(๒) จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส
องค์ประกอบภายใน เจตนาธรรมดา
วรรคสอง
บัญญัติลักษณะของอันตรายสาหัสไว้ในอนุมาตราต่างๆ ดังต่อไปนี้
(๑) ตาบอดหูหนวกลิ้นขาดหรือเสียฆานประสาท
(๒) เสียอวัยวะสืบพันธุ์หรือความสามารถสืบพันธุ์
(๓) เสียแขนขามือเท้านิ้วหรืออวัยวะอื่นใด
(๔) หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว
(๕) แท้งลูก
(๖) จิตพิการอย่างติดตัว
(๗) ทุพพลภาพหรือเจ็บป่วยเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต
(๘) ทุพพลภาพหรือเจ็บป่วยด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันหรือจน
ประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน
คำอธิบายมาตรา ๒๙๗ 13
การกระทำความผิดตามมาตรานี้ผู้กระทำจะมีเจตนาให้เกิดอันตรายสาหัสขึ้น
หรือไม่ไม่สำคัญถ้าผู้กระทำมีเจตนาทำร้ายและผลของการกระทำร้ายอันเป็นผล
ธรรมดา (ดูมาตรา ๖๓) ทำให้เกิดอันตรายสาหัสผู้กระทำก็มีความผิดตาม
มาตรานี้
คำว่า“ รับอันตรายสาหัส” เดิมเรียกว่า“ บาดเจ็บสาหัส” บทนิยามนี้จะต้อง
นำไปใช้ความผิดอื่น ๆ ด้วย เช่น ชิงทรัพย์ตามมาตรา ๓๓๙ ปล้นทรัพย์ตา
มาตรา ๓๔o
อนุมาตรา (๑) คำว่า“ ตาบอด” หมายถึงตาที่มองอะไรไม่เห็นแม้ว่าจะ
ตาบอดข้างเดียว“ หูหนวก” หมายความถึงหูที่ไม่สามารถฟังเสียงได้แม้จะฟังไม่
ได้ข้างเดียว“ เสียฆานประสาท” หมายถึงเสียประสาทที่ได้ดมกลิ่นปอมในการก
ทมอนุมาตรา
อนุมาตรา (๒)“ เสียอวัยวะสืบพันธุ์” หมายความถึงทำให้อวัยวะสืบพันธุ์ใช้
สืบพันธุ์ไม่ได้แม้จะไม่ถึงขาดหายไม่ว่าจะเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของสตรีหรือบุรุษ
ส่วนทำให้“ เสียความสามารถสืบพันธุ์” หมายถึงทำให้ชายหญิงไม่สามารถ
สืบพันธุ์ได้แม้ยังสามารถจะร่วมประเวณีได้ เช่น ทำร้ายหญิงจนต้องตัดมดลูก
ออก เป็นต้น
อนุมาตรา (๓) คำว่า“ เสีย” ไม่หมายความเฉพาะขาดหายเท่านั้น แต่
หมายความถึงทำให้ใช้อย่างแขนขา ฯลฯ ไม่ได้เช่นฟันจนเอ็นที่แขนขาดยกแขน
ไม่ได้แม้จะยังมีแขนเป็นต้น“ อวัยวะอื่นใด” หมายความถึงอวัยวะทุกชนิดรวมทั้ง
ที่อยู่ภายในร่างกายด้วยเช่นตับไต แต่ไม่หมายถึงส่วนของร่างกายซึ่งแยกออก
จากร่างกายได้โดยไม่กระทบกระทั่งต่อความเป็นอยู่ของชีวิตของบุคคลนั้น ๆ
เช่น ผม ฟัน เล็บ
14คำอธิบายมาตรา ๒๙๗ (ต่อ)
อนุมาตรา (๔)“ หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว” นี้มีความหมายอย่าง“ ถึงรูป
หน้าเสียโฉมติดตัว” ตามกฎหมายลักษณะอาญาเดิม ฉะนั้นแนวคำ
พิพากษาฎีกาซึ่งพิพากษาตามกฎหมายลักษณะอาญาเดิมยังใช้ได้ซึ่งสรุป
ได้ว่าจะเรียกว่าเสียโฉมต้องเสียรูปหน้าหมดงาม หรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่ง
ก็คือ ต้องทำให้เสียความงามแห่งใบหน้าจนหน้าเกลียด แต่ไม่ถึงกับ
ใบหน้าต้องเปลี่ยนรูปหรือผิดไป ทั้งนี้ คือจะต้องพิจารณาดูใบหน้าในระยะ
ที่ห่างพอสมควร
อนุมาตรา (๕) ที่จะเป็นความผิดตามอนุมาตรานี้ผู้กระทำมีเจตนา
ทำร้ายแท้งลูกก็เป็นความผิดตามมาตรา ๓๐๓ ความหมายของ“ แท้งลูก”
ดูคำอธิบายความผิดตามมาตรา ๓๐๑
อนุมาตรา (๖) คำว่า“ จิตพิการอย่างติดตัว” หมายถึงการทำให้เป็น
โรคจิตหรือจิตฟันเฟือนอย่างติดตัว
อนุมาตรา (๗)“ ทุพพลภาพ” หมายถึงร่างกายหรือจิตใจไม่สม
ประกอบเช่นยืนนั่งเดินหรือนอนอย่างปกติไม่ได้ส่วน“ ป่วยเจ็บเรื้อรัง”
หมายถึงความป่วยเจ็บที่เป็นต่อเนื่องกันออกไป
อนุมาตรา (๘) คำว่า“ จนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า
ยี่สิบวัน” นั้นต้องพิจารณาดูว่าผู้เสียหายมีอาชีพปกติอย่างไรบาดแผล
อย่างเดียวกันสำหรับผู้มีอาชีพหนึ่งอาจเป็น“ อันตรายสาหัส” สำหรับผู้มี
อาชีพอีกอย่างหนึ่งอาจไม่ใช่“ อันตรายสาหัส” ก็ได้ทั้งนี้แล้วแต่อาชีพปกติ
ของผู้ถูกทำร้ายตัวอย่างเช่นบาดแผลที่มือซ้ายอาจทำให้ผู้มีอาชีพทางแจว
เรือจ้างประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้ แต่ถ้าผู้ถูกกระทำเป็นเสมียนซึ่ง
มีหน้าที่เขียนหนังสือด้วยมือขวาก็ถือว่าไม่ได้เป็นการประกอบกรณียกิจ
ตามปกติไม่ได้
คำอธิบายมาตรา ๒๙๗ (ต่อ) 15
มีข้อควรสังเกต ว่าความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนได้รับอันตรายสาหัสตาม
มาตรานี้ต่างกับความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนได้รับอันตรายแก่กายหรือ
จิตใจตามมาตรา ๒๙๕ กล่าวคือไม่มีการพยายามกระทำความผิดตัวอย่าง ก.
ใช้มีดฟันข. ถูก ข. แขนขาด ก. ผิดตามมาตรานี้ แต่ถ้า ก. ฟัน ข. ไม่ถูก ก.
ไม่ผิดฐานพยายามกระทำความผิดตามมาตรานี้ แต่ผิดฐานพยายามกระทำ
ความผิดตามมาตรา ๒๙๕ เท่านั้น ทั้งนี้เพราะมาตรา ๒๙๗ เป็นเหตุเพิ่ม
โทษหนักขึ้นของการกระทำความผิดตามมาตรา ๒๙๕ เท่านั้นและจะเป็น
ความผิดก็ต่อเมื่อ ผลคืออันตรายสาหัสเกิดขึ้น แม้ผู้กระทำจะมีเจตนาเพียง
ทำร้ายร่างกาย ไม่ได้มีเจตนาจะให้อันตรายสาหัสเกิดขึ้น แต่ถ้าผลไม่เกิดขึ้น
ก็ไม่มีการพยายามกระทำความผิด เเม้ผู้กระทำจะได้มีเจตนาที่จะให้อันตราย
สาหัสเกิดขึ้น
ตัวอย่างฎีกาที่เกี่ยวข้อง 16
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10072/2554
ก่อนเกิดเหตุจำเลยนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของ บ. ไปยังที่เกิดเหตุ
ขณะที่ บ. ใช้ไม้ตีศีรษะผู้เสียหาย จำเลยก็ยืนอยู่ข้างๆ บ. ในลักษณะที่
พร้อมจะช่วยเหลือให้การกระทำของ บ. สัมฤทธิ์ผล เมื่อพิเคราะห์ว่า
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่ดูแลรักษาสวัสดิภาพของประชาชน
แต่กลับเข้าสมทบให้กำลังใจ บ. ให้เข้าทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ผู้เสีย
หายได้รับอันตรายสาหัส นอกจากนี้ยังได้ความว่า หลังจากที่ บ. ตีผู้เสีย
หายแล้ว แทนที่จำเลยจะเข้าจับกุม บ. ไปดำเนินคดี จำเลยกลับกล่าวหนุน
ให้ บ. ทำร้ายผู้เสียหายซ้ำอีก พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลย
เป็นตัวการร่วมกับ บ. ทำร้ายผู้เสียหายเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตราย
สาหัส
ความผิดตามมาตรา ๒๙๘ 17
มาตรา ๒๙๘ ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา ๒๙๗ ถ้าความผิด
นั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๘๙
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึง
สองแสนบาท
มาตรา ๒๙๘ เป็นเหตุเพิ่มโทษของมาตรา ๒๙๗
องค์ประกอบภายนอก
(๑) การกระทำความผิดตามมาตรา ๒๙๗ (๒) ความผิดนั้นมีลักษณะ
ประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๙๘
องค์ประกอบภายใน เจตนาธรรมดาและมูลเหตุชักจูงใจดังที่บัญญัติไว้ใน
มาตรา ๒๙๗ และมาตรา ๒๘๙ แต่แทนที่จะเป็นเรื่อง“ ฆ่า” ก็เป็นเรื่อง
ทำร้ายร่างกาย เท่านั้น
คำอธิบายมาตรา ๒๙๘ 18
ให้เทียบดูคำอธิบายมาตรา ๒๙๗ เพราะมาตรานี้เป็น แต่เพิ่มโทษของ
มาตรา ๒๙๗ เท่านั้น
ตัวอย่างฎีกาที่เกี่ยวข้อง 19
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294-2495/2562
จำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ได้เข้าไปร่วมทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมตามที่วางแผน
กันไว้ โดยอยู่ที่รถจักรยานยนต์ซึ่งจอดอยู่ด้านหลังรถยนต์ของโจทก์ร่วมซึ่ง
เป็นระยะที่ใกล้ชิดกับสถานที่เกิดเหตุ อยู่ในลักษณะที่อาจเข้าไปช่วยเหลือ
ให้การกระทำความผิดสำเร็จ มีลักษณะแบ่งหน้าที่กันทำ แต่การที่พวกของ
จำเลยใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วม เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าอย่าง
กะทันหันโดยจำเลยที่ 1 และที่ 3 มิได้คบคิดนัดหมายมาก่อน จึงถือไม่ได้ว่า
จำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าโจทก์ร่วม
โดยไตร่ตรองไว้ก่อน แต่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องรับผลแห่งการกระทำของ
พวกด้วย จำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงเป็นตัวการกระทำความผิดฐานทำร้ายจน
เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมรับอันตรายสาหัสโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตาม ป.อ. มาตรา
298 อันเป็นความผิดหลายอย่างซึ่งรวมอยู่ในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น
โดยไตร่ตรองไว้ก่อน และเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลฎีกาลงโทษในความ
ผิดดังกล่าวตามที่พิจารณาได้ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225 แม้โจทก์ไม่ได้ฎีกาขอให้ลงโทษก็ตาม
เพราะการปรับบทลงโทษเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบ
เรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม
ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่เมื่อโจทก์ฎีกาขอให้
ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ฐานร่วมกันทำร้ายจนเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมรับ
อันตรายสาหัสตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเท่านั้น จึงไม่อาจกำหนดโทษให้สูง
ขึ้นในความผิดฐานร่วมกันทำร้ายจนเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมรับอันตรายสาหัส
โดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตาม ป.อ. มาตรา 298 เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำ
เลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
ความผิดตามมาตรา ๒๙๙ 20
มาตรา ๒๙๙ ผู้ใดเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลแต่
สามคนขึ้นไป และบุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เข้าร่วมใน
การนั้นหรือไม่รับอันตรายสาหัส โดยการกระทำในการชุลมุนต่อสู้
นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่น
บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าผู้ที่เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้นั้นแสดงได้ว่า ได้กระทำไปเพื่อ
ห้ามการชุลมุนต่อสู้นั้น หรือเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้
นั้นไม่ต้องรับโทษ
องค์ประกอบภายนอก
(๑) เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้
(๒) ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป
(๓) บุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้นั้นหรือ
ไม่รับอันตรายสาหัสโดยการชุลมุนต่อสู้นั้น
องค์ประกอบภายใน เจตนาธรรมดา
คำอธิบายมาตรา ๒๙๙ 21
สำหรับการกระทำให้เทียบดูมาตรา ๒๙๔ เพราะมาตรา ๒๙๔ เป็นกรณี
เข้ารวมชุลมุนในการต่อสู้และมีความตายเกิดขึ้นส่วนมาตรานี้เป็นกรณี
อันตรายสาหัสเกิดขึ้นอย่างไรเป็น“ รับอันตรายสาหัส” ให้เทียบดูคำอธิบาย
มาตรา ๒๙๗“ อันตรายสาหัส” จะต้องเป็นผลซึ่งตามธรรมดาย่อมเกิดจาก
การชุลมุนต่อสู้ (ดูมาตรา ๖๓)
การเขียนฟ้อง
ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคล
ตั้งแต่ ๓ คนขึ้นไปและจำเลยที่ ๔ ได้รับอันตรายสาหัสตามรายงานชันสูตร
บาดแผลท้ายฟ้องศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องไม่ได้กล่าวบรรยายว่าบาดเจ็บ
สาหัสอย่างไรและรายงานชันสูตรบาดแผลท้ายฟ้องก็ไม่ปรากฎการอันเข้า
เกณฑ์อันตรายสาหัสตามมาตรา ๒๙๗ ที่มีข้อความว่ารักษาเกินกว่า ๒๐
วันก็ฟังไม่ได้ว่าเป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญาฟ้องของ
โจทก์จึงขาดความละเอียดที่เกี่ยวกับการกระทำผิดจำเลยไม่อาจเข้าใจข้อหา
ได้ดีว่าอะไรเป็นอันตรายสาหัสประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๘๕ ข้อ ๕ (ฎีกาที่ ๔๔๔/๒๕๐๒ น. ๕๗๖)
22
คำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับความผิด
มาตรา ๒๙๙ บัญญัติเอาผิดแก่ผู้ที่เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้กันระหว่าง
บุคคลตั้งแต่ ๓ คนขึ้นไปทำให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งได้รับอันตรายบาดเจ็บ
สาหัสเว้นแต่การเข้าไปห้ามหรือเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายโดยไม่
ปรากฏว่าผู้ใดเป็นตัวการทำให้เกิดอันตรายดังกล่าวนั้นถ้าปรากฏว่าผู้ใดเป็น
ตัวการกระทำโดยลงมือกระทำเองก็ดีหรือใช้ให้เขากระทำก็ดีผู้กระทำย่อมมี
ความผิดตามกรรมของตนอีกโสดหนึ่ง (ฎีกาที่ ๑๐๑๔/๒๕๐๘ น. ๑๖๔๕)
ตัวอย่างฎีกาที่เกี่ยวข้อง 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3610/2562
ความผิดฐานเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป
และบุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เข้าร่วมในการนั้นหรือไม่รับอันตราย
สาหัส เป็นกรณีที่กฎหมายมุ่งประสงค์จะลงโทษผู้ที่เข้าร่วมในการต่อสู้
ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป ท่ามกลางความชุลมุนหรือสับสนวุ่นวาย
โดยไม่ทราบว่าผู้ใดหรือฝ่ายใดเป็นผู้ทำร้าย การที่จำเลยที่ 1 กับพวกฝ่าย
หนึ่ง กับจำเลยที่ 2 กับพวกอีกฝ่ายหนึ่ง สมัครใจวิวาทต่อสู้กัน ไม่ว่าจะเกิด
การชุลมุนหรือไม่ การกระทำของจำเลยที่ 2 ย่อมไม่เป็นความผิดฐานดัง
กล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8737/2553
ความผิดฐานเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป
และบุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เข้าร่วมในการนั้นหรือไม่รับอันตราย
สาหัส โดยการกระทำในการชุลมุนต่อสู้นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายมุ่งประสงค์
จะลงโทษผู้ที่เข้าร่วมในการต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป
ท่ามกลางความชุลมุนหรือสับสนวุ่นวาย โดยไม่ทราบว่าผู้ใดหรือฝ่ายใดเป็น
ผู้ทำร้าย คดีนี้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ฝ่ายหนึ่ง กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5
อีกฝ่ายหนึ่งสมัครใจวิวาทต่อสู้กัน ไม่ว่าจะเกิดการชุลมุนหรือไม่ จำเลยที่ 2
ถึงที่ 5 ย่อมมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้ได้
รับอันตรายแก่กาย ส่วนจำเลยที่ 1 มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายจำเลยที่ 2
เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ที่ศาลล่างทั้งสองฟังว่าจำเลยทั้งห้ามีความ
ผิดฐานเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้นั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา
ความผิดตามมาตรา ๓oo 24
มาตรา ๓๐๐ ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็น
เหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี
หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
องค์ประกอบภายนอก
(๑) กระทำด้วยประการใด ๆ
(๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส
องค์ประกอบภายใน โดยประมาท.
คำอธิบายมาตรา ๓oo 25
ให้เทียบดูคำอธิบายมาตรา ๒๙๑ ความผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาท
. อย่างไรเป็นการกระทำโดยประมาทให้ดูมาตรา ๕๙ วรรคสี่และคำ
บรรยายอาญา ๑ ประกอบอย่างไรเป็น“ อันตรายสาหัส” ดูคำอธิบาย
มาตรา ๒๙๗ หน้า ๓๕๑
ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลต้องเป็นไปตามมาตรา ๖๓ คือ
ต้องเป็นผลซึ่งตามธรรมดาย่อมจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ เพราะ
มาตรานี้เป็นเหตุเพิ่มโทษให้หนักขึ้นของมาตรา ๓๙๐
ตัวอย่างฎีกาที่เกี่ยวข้อง 26
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7147/2562
แม้โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยเฉพาะความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่น
ถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 291 แต่โจทก์ก็บรรยายฟ้องว่า การกระ
ทำของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้ร้องได้รับอันตรายสาหัส ผู้ร้องจึงเป็นผู้เสียหายมี
สิทธิเรียกร้องทางแพ่งฐานมูลละเมิดเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหม
ทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ร่างกายโดยอาศัยมูลคดีอาญาตาม
ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 และแม้คดีส่วนแพ่งของผู้ร้องจะขาดอายุความ
เนื่องจากไม่มีการฟ้องร้องดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในข้อหาประมาทเป็น
เหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 300 ภายในอายุความ
สิบปีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสอง
ตามที่จำเลยฎีกาก็ตาม แต่ ป.วิ.อ. มาตรา 40 ก็บัญญัติว่า คำพิพากษา
ส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพ่ง ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ในคำ
ให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ การที่ศาลชั้นต้นหยิบยกเอาอายุ
ความมาเป็นเหตุยกคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบ ต้องห้ามตาม ป.พ.พ.
มาตรา 193/29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และถือว่าเป็นข้อที่มิได้
ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยว
กับความสงบเรียบร้อยที่จำเลยสามารถหยิบยกขึ้นในชั้นฎีกาได้
บรรณนานุกรม 27
ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์.2556.กฎหมายอาญาภาคความผิด 2-3
(พิมพ์ครั้งที่ 11).กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์