The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หลักสูตรรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี2_66

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Anocha Utumsakulrat, 2024-03-17 13:03:29

หลักสูตรรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี2_66

หลักสูตรรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี2_66

หลักสูตรรายวิชา (Course Development) รหัสวิชา ว 21102 รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี2 จำนวน 1.5 หน่วยกิต 3คาบ/ สัปดาห์ ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2566 จัดทำโดย นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ


ก คำนำ หลักสูตรรายวิชาฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเตรียมการในการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี2 รหัสวิชา ว 21102 โดยครูผู้สอนได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตามสาระและ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ และจัดทำคำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา กำหนดเวลาเรียน น้ำหนักคะแนน กำหนดทักษะกระบวนการในการเรียนการสอนตลอดจนการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน ของครู ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้และยกระดับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของผู้เรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ต่อไป นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์ ชื่อผู้จัดทำ


ข สารบัญ หน้า คำนำ ก สารบัญ ข 1. หลักการและจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 1 หลักการ 1 จุดหมาย 1 2. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 2 3. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 2 4. วิสัยทัศน์ของโรงเรียน 3 พันธกิจ 3เป้าประสงค์ 3 5. การกำหนดโครงการสอน 4 คำอธิบายรายวิชา (ดูรายละเอียดจากหลักสูตร) 4 สาระ/มาตรฐาน/ตัวชี้วัด (แกนกลาง) 4 มาตรฐานการเรียนรู้ (ดูรายละเอียดจากหลักสูตร) 4 ตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ (ดูรายละเอียดจากหลักสูตร) 4 6. ตารางโครงสร้างรายวิชา 5 7. การกำหนดโครงการสอนและกิจกรรมตลอดภาคเรียน 6 8. แผนการวัดผลและภาระงาน 7 แผนการวัดผล 8 การกำหนดภาระงานนักเรียน 8


1 1. หลักการและจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความ สมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตาม ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อ การศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ หลักการ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหลักการที่สำคัญ ดังนี้ 1. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ เป็น เป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทย ควบคู่กับความเป็นสากล 2. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมี คุณภาพ 3. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ให้ สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น 4. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัด การเรียนรู้ 5. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 6. เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ครอบคลุมทุก กลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์ จุดหมาย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อจบการศึกษาขั้น พื้นฐาน ดังนี้ 1. มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตาม หลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต 3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย 4. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตาม ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


2 5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิต สาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข 2. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้ 1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษา ถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและ ประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหา ความขัดแย้งต่างๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้ วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม 2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่าง สร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อ การตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เผชิญได้อย่าง ถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการ เปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่างๆ ไปใช้ในการดำเนิน ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการ สร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลการจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่างๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบ ต่อตนเองและผู้อื่น 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่างๆ และมี ทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การ แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม 3. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถ อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้ 1. รักชาติ ศาสน์กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง


3 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ 4. วิสัยทัศน์ของโรงเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม เป็นโรงเรียนส่งเสริมทักษะการคิด เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ คู่คุณธรรม บนพื้นฐานความเป็นไทยและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พันธกิจ 1) จัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 2) พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา 3) การบริหารจัดการสถานศึกษา 4) พัฒนาชุมชน สังคม ธำรงสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป้าประสงค์ 1) ผู้เรียนมีคุณสมบัติตามมาตรฐานนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม 10 ข้อ ได้แก่ ทดแทนบุญคุณ บิดามารดา มาโรงเรียนเช้า เข้าห้องเรียนเสมอ พบเจอครูเคารพ คบหาเพื่อนดี สามัคคีหมู่คณะ ละเลิกสิ่งชั่ว ประพฤติตัวดี มีน้ำใจ ให้เกียรติกัน และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร 2) ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสืบสาน อนุรักษ์ ประเพณี และวัฒนธรรมไทย 3) ผู้เรียนนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต 4) ผู้เรียนมีความเป็นเลิศทางวิชาการ สื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษา ล้ำหน้าทางความคิด ผลิตผลงาน สร้างสรรค์ และร่วมกันรับผิดชอบสังคม 5) ผู้เรียนมีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง จิตใจร่าเริงแจ่มใส มีสุขภาพจิตที่ดี ปลอดจากสิ่งเสพติด อบายมุข และโรคเอดส์ 6) ครูออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสติปัญญา ตามศักยภาพ 7) ครูและบุคลากรมีความรู้และจริยธรรม มีศักยภาพในหน้าที่ของตน 8) สถานศึกษามีสภาพแวดล้อมและการบริการที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 9) สถานศึกษามีการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ 10) มีการประสานงานกับคณะกรรมการสถานศึกษาฯ สมาคมศิษย์เก่า เครือข่ายผู้ปกครอง และ หน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการพัฒนาโรงเรียน


4 5. การกำหนดโครงการสอน/คำอธิบายรายวิชา โครงการสอนรายวิชา รหัสวิชา ว21102 รายวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี2 จำนวน 1.5 หน่วยกิต 3 คาบ/ สัปดาห์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 สาระ/มาตรฐาน/ตัวชี้วัด (แกนกลาง) สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของ สสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค หลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร การเกิดสารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจธรรมชาติของแรงในชีวิตประจำวัน ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุ ลักษณะการ เคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ของวัตถุ รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ มาตรฐาน ว 2.3 เข้าใจความหมายของพลังงาน การเปลี่ยนแปลงและการถ่ายโอนพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสสารและพลังงาน พลังงานในชีวิตประจำวัน ธรรมชาติของคลื่น ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ เสียง แสง และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ สาระที่ 3 วิทยาศาสตร์โลก และอวกาศ มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของระบบโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลง ภายในโลกและบนผิวโลกธรณีพิบัติภัย กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศโลก รวมทั้งผลต่อ สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม คำอธิบายรายวิชา (ดูรายละเอียดจากหลักสูตร) ศึกษาวิเคราะห์ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงของสสาร การถ่ายโอนความร้อน ลมฟ้าอากาศรอบตัว มนุษย์กับการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ ทั้งนี้โดยใช้ โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การสืบค้นข้อมูลและการอภิปรายและ วิเคราะห์สาเหตุหรือปัจจัยที่ส่งผลต่อ ปัญหาหรือความต้องการ รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง กับปัญหา ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา โดยวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกข้อมูลที่จำเป็นนำเสนอแนว ทางการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจ วางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา ทดสอบ ประเมินผล และระบุข้อบกพร่อง ที่ เกิดขึ้น พร้อมทั้งหำแนวทางการปรับปรุงแก้ไข เพื่อแก้ปัญหา และใช้เทคโนโลยีได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และ ปลอดภัย เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ การแก้ปัญหา การนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม


5 มาตรฐานการเรียนรู้ (ดูรายละเอียดจากหลักสูตร) มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของ สสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค หลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร การเกิดสารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจธรรมชาติของแรงในชีวิตประจำวัน ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุ ลักษณะการ เคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ของวัตถุ รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ มาตรฐาน ว 2.3 เข้าใจความหมายของพลังงาน การเปลี่ยนแปลงและการถ่ายโอนพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสสารและพลังงาน พลังงานในชีวิตประจำวัน ธรรมชาติของคลื่น ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ เสียง แสง และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของระบบโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลง ภายในโลกและบนผิวโลกธรณีพิบัติภัย กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศโลก รวมทั้งผลต่อ สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม รหัสตัวชี้วัดระหว่างทาง จำนวน 14 ตัวชี้วัด ว 2.1 ม.1/1 ว 2.1 ม.1/2 ว 2.1 ม.1/6 ว 2.1 ม.1/8 ว 2.1 ม.1/9 ว 2.1 ม.1/11 ว 2.2 ม.1/1 ว 2.3 ม.1/2 ว 2.3 ม.1/3 ว 2.3 ม.1/5 ว 2.3 ม.1/6 ว 3.2 ม.1/2 ว 3.2 ม.1/4 ว 3.2 ม.1/6 รหัสตัวชี้วัดปลายทาง จำนวน 11 ตัวชี้วัด ว 2.1 ม.1/3 ว 2.1 ม.1/4 ว 2.1 ม.1/5 ว 2.1 ม.1/7 ว 2.1 ม.1/10 ว 2.3 ม.1/4 ว 2.3 ม.1/7 ว 3.2 ม.1/1 ว 3.2 ม.1/3 ว 3.2 ม.1/5 ว 3.2 ม.1/7 6. ตารางโครงสร้างรายวิชา ชื่อหน่วย การเรียน รหัสตัวชี้วัด ระหว่างทาง วัดและ ประเมินผล ระหว่างทาง รหัสตัวชี้วัด ปลายทาง วิธีวัดและ ประเมินผล ปลายทาง (ชิ้นงาน/ภาระงาน) เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน หน่วยที่ 1 พลังงาน ความ ร้อน ว 2.1 ม.1/1-2 ว 2.1 ม.1/6 ว 2.1 ม.1/8-9 ว 2.1 ม.1/11 ว 2.2 ม.1/1 -ตอบคำถาม -แบบฝึกหัด/ ใบงาน -กิจกรรม/การ ทดลอง ว 2.1 ม.1/3-5 ว 2.1 ม.1/7 ว 2.1 ม.1/10 ว 2.3 ม.1/4 ว 2.3 ม.1/7 - แบบทดสอบ ประจำ หน่วย - mindmapping - ใบกิจกรรม / 29 15 5 5


6 ว 2.3 ม.1/2-3 ว 2.3 ม.1/5-6 แบบฝึกหัด -ชิ้นงานจำลอง อนุภาค 5 สอบกลางภาค 1 20 หน่วยที่ 2 กระบวนการ เปลี่ยนแปลง ลมฟ้าอากาศ ว 3.2 ม.1/2 ว 3.2 ม.1/4 ว 3.2 ม.1/6 -ตอบคำถาม -แบบฝึกหัด/ ใบงาน -กิจกรรม/การ ทดลอง ว 3.2 ม.1/1 ว 3.2 ม.1/3 ว 3.2 ม.1/5 ว 3.2 ม.1/7 - แบบทดสอบ ประจำหน่วย - mindmapping -แบบฝึกหัด - สืบค้นข้อมูลและ นำเสนอหน้าชั้น เรียน 29 10 5 5 10 สอบปลายภาค 1 20 จิตพิสัย - - รวม 60 100 อัตราส่วนคะแนน คะแนนเก็บระหว่างภาค : คะแนนปลายภาค = 80 : 20 K : P : A = 40 : 60 : …-.. รวม 100 คะแนน คะแนนเก็บก่อนสอบกลางภาค = 30 คะแนน สอบกลางภาค = 20 คะแนน คะแนนเก็บก่อนสอบปลายภาค = 30 คะแนน คุณลักษณะ / จิตพิสัย = - คะแนน สอบปลายภาค = 20. คะแนน รวม 100 คะแนน 7. การกำหนดโครงการสอนและกิจกรรมตลอดภาคเรียน สัปดาห์/ แผนการ เรียนรู้ที่ หน่วยการเรียนรู้/เนื้อหา ตัวชี้วัด/ ผลการเรียนรู้ กิจกรรม / กระบวนการเรียนรู้ เวลา (ชั่วโมง) 1-4 ความร้อน กับการ หน่วยพลังงานความร้อน -แบบจำลองอนุภาคของ สสาร ว 2.1 ม.1/9 ม.1/10 ว 2.3 ม.1/1 , 1/2 ,1/3 ,1/4 ,1/5 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ -การสร้างแบบจำลอง -การทดลอง 19


7 เปลี่ยนแปลง ของสสาร -ความร้อนกับการ เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของ สสาร -ความร้อนกับการขยายตัว หรือหดตัวของสสาร ความร้อนกับการเปลี่ยน สถานะของสสาร -การคิดคำนวณ -การจำแนกประเภท 5-7 การถ่ายโอน ความร้อน หน่วยพลังงานความร้อน -การถ่ายโอนความร้อนใน ชีวิตประจำวัน -สมดุลความร้อน ว 2.3 ม.1/5 ,1/6 1/7 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ -การสร้างแบบจำลอง -การทดลอง -การคิดคำนวณ -การจำแนกประเภท 14 8-14 ลมฟ้า อากาศ รอบตัว หน่วย กระบวนการ เปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ -บรรยากาศ -อุณหภูมิอากาศ -ความกดอากาศและลม -ความชื้น -เมฆและฝน -การพยากรณ์อากาศ ว 3.2 ม.1/1 ,1/2, 1/3,1/4 , 1/5 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ -การสร้างแบบจำลอง -การทดลอง -การหาความสัมพันธ์ -การจำแนกประเภท -การคิดคำนวณ 20 15-16 มนุษย์และ การ เปลี่ยนแปลง ลมฟ้า อากาศ หน่วย กระบวนการ เปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ -พายุ -การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โลก ว 3.2 ม.1/3,1/6 , 1/7 กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ -การสร้างแบบจำลอง -การทดลอง -การหาความสัมพันธ์ -การจำแนกประเภท -การคิดคำนวณ 7 8. แผนการวัดผลและภาระงาน แนวการวัดผล อัตราส่วน คะแนนระหว่างภาค : คะแนนปลายภาค = 80 : 20 อัตราส่วน คะแนน K : P : A = 40 : 60 : .....-.......


8 แผนการวัดผล การประเมิน คะแนน วิธีวัด ชนิดของเครื่องมือ ตัวชี้วัด/ผลการ เรียนรู้ข้อที่ เวลาที่ใช้ (นาที/ครั้ง) ก่อนกลางภาค 30 สืบค้นข้อมูล อภิปรายกลุ่ม ชุดกิจกรรม พลังงานความร้อน ว 2.1 ม.1/10 ว 2.3 ม.1/1 , 1/2 ,1/3 ,1/4 ,1/5 , 1/6 1,7 50 นาที/ครั้ง กลางภาค 20 สอบ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ ว 2.1 ม.1/10 ว 2.2 ม.1/1 ว 2.3 ม.1/1 , 1/2 ,1/3 ,1/4 , 1/5 1/6 1,7 60 นาที/ครั้ง หลังกลางภาค 30 สืบค้นข้อมูล อภิปรายกลุ่ม ชุดกิจกรรม กระบวนการ เปลี่ยนแปลงลมฟ้า อากาศ ว 3.2 ม.1/1 ,1/2, 1/3 1/4 , 1/5 1/6 , 1/7 50 นาที/ครั้ง คุณลักษณะ / จิตพิสัย - - - - ตลอด ภาคเรียน ปลายภาค 20 สอบ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ ว 3.2 ม.1/1 ,1/2, 1/3 1/4 , 1/5 1/6 , 1/7 60 นาที/ครั้ง รวม 100 คะแนน การกำหนดภาระงานนักเรียน ในการเรียนรายวิชา วิทยาศาสตร์ 2 ได้กำหนดให้นักเรียนทำกิจกรรม/ ปฏิบัติงาน(ชิ้นงาน) 5 ชิ้น ดังนี้ ที่ ชื่องาน ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ข้อที่ ประเภทงาน กำหนดส่ง กลุ่ม เดี่ยว วัน/เดือน/ปี 1 รายงานกิจกรรม แบบจำลอง อนุภาคของสสารในแต่ละ สถานะเป็นอย่างไร ว 2.1 ม.1/9, ม.1/10 √ ธ.ค 66 2 รายงานกิจกรรม ปัจจัย ว 2.3 ม.1/1 ม.1/2 √ ธ.ค 66


9 ใดบ้างที่มีผลต่อการ เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ของสสาร 3 รายงานกิจกรรม ความร้อน ส่งผลต่อสารแต่ละสถานะ อย่างไร ว 2.3 ม.1/3 ม.1/4 √ ธ.ค 66 4 รายงานกิจกรรม ความร้อน ทำให้สสารเปลี่ยนสถานะได้ อย่างไร ว 2.3 ม.1/1 ม.1/2 √ ธ.ค 66 5 รายงานกิจกรรม ความร้อน ถ่ายโอนผ่านของแข็งได้ อย่างไร ว 2.3 ม.1/6 √ ม.ค 67 6 รายงานกิจกรรม การถ่าย โอนความร้อนของของเหลว และแก๊สเป็นอย่างไร ว 2.3 ม.1/6 √ ม.ค 67 7 รายงานกิจกรรม การถ่าย โอนความร้อน ว 2.3 ม.1/6 ม.1/7 √ ม.ค 67 8 รายงานกิจกรรม บรรยากาศ ของโลกเป็นอย่างไร ว 3.2 ม.1/1 √ ก.พ 67 9 รายงานกิจกรรม อุณหภูมิ อากาศเปลี่ยนแปลงอย่างไร ว 3.2 ม.1/1 ม.1/2 √ ก.พ 67 10 รายงานกิจกรรม อากาศมี แรงกระทำต่อวัตถุอย่างไร ว 3.2 ม.1/1 ม.1/2 √ ก.พ 67 11 รายงานกิจกรรม เหตุใดลม จึงเคลื่อนที่เร็วต่างกัน ว 3.2 ม.1/1 ม.1/2 √ ก.พ 67 12 รายงานกิจกรรม ปัจจัยที่มี ผลต่อความชื้นสัมพัทธ์มี อะไรบ้าง ว 3.2 ม.1/1 ม.1/2 √ ก.พ 67 13 รายงานกิจกรรม การ พยากรณ์อากาศทำได้ อย่างไร ว 3.2 ม.1/4 ม.1/5 √ ก.พ 67 14 รายงานกิจกรรม คำ พยากรณ์อากาศมีประโยชน์ ว 3.2 ม.1/4 ม.1/5 √ ก.พ 67


10 อย่างไร 15 รายงานกิจกรรม พายุฝนฟ้า คะนองและพายุหมุน เขตร้อนเกิดขึ้นได้อย่างไร ว 3.2 ม.1/3 √ มี.ค 67 16 รายงานกิจกรรม ภูมิอากาศ เปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ ว 3.2 ม.1/6 ม.1/7 √ มี.ค 67 หากนักเรียนขาดส่งงาน 4 ชิ้น จะได้รับผลการเรียน “ร” ในรายวิชานี้ ลงชื่อ........................................ครูผู้สอน ลงชื่อ...........................................หัวหน้ากลุ่มสาระฯ ( นางสาวอโนชาอุทุมสกุลรัตน์) (นางกณิการ์พัฒรากุล) ลงชื่อ........................................... (นายไวยวุฒิ ธนบัตร) รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ลงชื่อ ........................................................ (นางสาวสุภาพร เทพสวัสดิ์) ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม


Click to View FlipBook Version