The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้เคมี4_66

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Anocha Utumsakulrat, 2023-05-25 10:33:48

หลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้เคมี4_66

หลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้เคมี4_66

0 [DOCUMENT TITLE] [Document subtitle] [DATE] [COMPANY NAME] [Company address]


1 หลักสูตรรายวิชา (Course Development) รหัสวิชา ว30224 รายวิชา เคมี 4 จำนวน 1.5 หน่วยกิต 3 คาบ/ สัปดาห์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จัดทำโดย นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์ ตำแหน่ง ครูวิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ


คำนำ หลักสูตรรายวิชาฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเตรียมการในการจัดการเรียนรู้รายวิชาเคมี 4 รหัสวิชา ว 30224 โดยครูผู้สอนได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตามสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ และจัดทำคำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา กำหนดเวลาเรียน น้ำหนักคะแนน กำหนดทักษะกระบวนการในการเรียนการสอนตลอดจนการวัดและประเมินผลการเรียนการสอนของครู ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้และยกระดับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของผู้เรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 ต่อไป นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์ ชื่อผู้จัดทำ


ส ารบัญ หน้า คำนำ 1. หลักการและจุดมุ่งหมายข อ งหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 1 หลักการ 1 จุดหมาย 1 2. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 2 3. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 2 4. วิสัยทัศน์ของโรงเรียน 3 พันธกิจ 3 เป้าประสงค์ 3 5. การกำหนด โ ครงการสอน 4 คำอธิบายรายวิชา (ดูรายละเอียดจากหลักสูตร) 4 สาระ/มาตรฐาน/ตัวชี้วัด (แกนกลาง) 4 มาตรฐานการเรียนรู้ (ดูรายละเอียดจากหลักสูตร) 4 ตัวชี้วัด หรือผลการ เรียนรู้ (ดูรายละเอี ยดจากหลักสูตร) 4 6. ตารางโครงสร้างรายวิ ช า 5 7. การกำหนดโครงการสอนและกิจกรรมตลอดภาคเรียน 6 8. แผนการวัดผลและภาระงาน 7 แนวการวัดผล 7 แผนการวัดผล 7 การกำหนดภาระงานนักเรียน 7


1 1. หลักการและจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มี ความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลกยึดมั่นในการ ปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐาน ความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ หลักการ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหลักการที่สำคัญ ดังนี้ 1. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ เป็น เป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทย ควบคู่กับความเป็นสากล 2. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมี คุณภาพ 3. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ให้ สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น 4. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้เวลาและการจัด การเรียนรู้ 5. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 6. เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ครอบคลุมทุก กลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์ จุดหมาย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อจบการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ดังนี้ 1. มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตาม หลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต 3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย 4. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครอง ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิต สาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข


2 2. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้ 1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษา ถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและ ประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลด ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการ เลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม 2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่าง สร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศ เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เผชิญได้ อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการ เปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่างๆ ไปใช้ในการ ดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคม ด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่างๆ อย่างเหมาะสม การ ปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่างๆ และมี ทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การ แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม 3. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ


3 4. วิสัยทัศน์ของโรงเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม มุ่งเน้นพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพก้าวสู่วิถีใหม่ บนพื้นฐานการใช้ เทคโนโลยี พันธกิจ 1) จัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 2) พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา 3) การบริหารจัดการสถานศึกษา 4) การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน สังคม ธำรงสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป้าประสงค์ 1) ผู้เรียนมีคุณสมบัติตามมาตรฐานนักเรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม 10 ข้อ ได้แก่ ทดแทน บุญคุณบิดามารดา มาโรงเรียนเช้า เข้าห้องเรียนเสมอ พบเจอครูเคารพ คบหาเพื่อนดี สามัคคีหมู่คณะ ละ เลิกสิ่งชั่ว ประพฤติตัวดี มีน้ำใจ ให้เกียรติกัน และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร 2) ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสืบสาน อนุรักษ์ ประเพณี และวัฒนธรรมไทย 3) ผู้เรียนนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต 4) ผู้เรียนมีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง จิตใจร่าเริงแจ่มใส มีสุขภาพจิตที่ดี ปลอดจากสิ่งเสพติด อบายมุข และโรคเอดส์ 5) ผู้เรียนมีความเป็นเลิศทางวิชาการ สื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษา ล้ำหน้าทางความคิด ผลิตผลงาน สร้างสรรค์ และร่วมกันรับผิดชอบสังคม 6) ครูออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทาง สติปัญญาตามศักยภาพ 7) ครูและบุคลากรมีความรู้และจริยธรรม มีศักยภาพในหน้าที่ของตน 8) สถานศึกษามีสภาพแวดล้อมและการบริการที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 9) สถานศึกษามีการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ 10) มีการประสานงานกับคณะกรรมการสถานศึกษาฯ สมาคมศิษย์เก่า เครือข่ายผู้ปกครอง และ หน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการพัฒนาโรงเรียน


4 5. การกำหนดโครงการสอน/คำอธิบายรายวิชา โครงการสอนรายวิชา รหัสวิชา ว 30224 รายวิช เคมี4 จำนวน 1.5 หน่วยกิต 3 คาบ/ สัปดาห์ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 สาระ/มาตรฐาน/ตัวชี้วัด (แกนกลาง) - คำอธิบายรายวิชา (ดูรายละเอียดจากหลักสูตร) วิเคราะห์ ทดลองและอภิปราย พันธะของคาร์บอน ประเภทของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน โครงสร้าง สมบัติการเกิดปฏิกิริยา การนาไปใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอโดรคาร์บอนประเภทแอลเคน แอ ลคีนและแอลไคน์ และอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน กรดอินทรีย์ แอลกอฮอล์ เอสเทอร์ แอลดีไฮด์ คีโตน เอมีน และเอไมน์ ความสำคัญต่อการดำรงชีวิต สมบัติ โครงสร้าง การเกิดปฏิกิริยาของคาร์โบไฮดเดรต ไขมันและ น้ำมัน โปรตีน กรดนิวคลิอิก เอนไซม์ และฮอร์โมน พอลิเมอร์ ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน ผลิตภัณฑ์จากพอลิ เมอร์ และการนาไปใช้ประโยชน์ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์จากพอลิเมอร์สังเคราะห์ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูล บันทึก จัดกลุ่มข้อมูลและการอภิปรายเพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถนาเสนอสื่อสารสิ่งที่ เรียนรู้ มีความ สามารถในการตัดสินใจ เห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจาวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ ใฝ่ เรียนรู้และมีจิตสาธารณะคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม มาตรฐานการเรียนรู้ (ดูรายละเอียดจากหลักสูตร) สาระเคมี 1 : เข้าใจโครงสร้างอะตอม การจัดเรียงธาตุในตารางธาตุสมบัติของธาตุ พันธะเคมีและ สมบัติของสาร แก๊สและสมบัติของแก๊ส ประเภทและสมบัติของ สารประกอบอินทรีย์และพอลิเมอร์ รวมทั้งการ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ผลการเรียนรู้ 1. สืบค้นข้อมูลและนำเสนอตัวอย่างสารประกอบอินทรีย์ที่มีพันธะเดี่ยว พันธะคู่ หรือพันธะสาม ที่พบ ในชีวิตประจำวัน 2. เขียนสูตรโครงสร้างลิวอิส สูตรโครงสร้างแบบย่อ และสูตรโครงสร้างแบบเส้นของสารประกอบ อินทรีย์ 3. วิเคราะห์โครงสร้าง และระบุประเภทของสารประกอบอินทรีย์จากหมู่ฟังก์ชัน 4. เขียนสูตรโครงสร้างและเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ประเภทต่าง ๆ ที่มีหมู่ฟังก์ชันไม่เกิน 1 หมู่ ตามระบบ IUPAC 5. เขียนไอโซเมอร์โครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์ประเภทต่าง ๆ


5 6. วิเคราะห์ และเปรียบเทียบจุดเดือดและการละลายในน้ำของสารประกอบอินทรีย์ที่มีหมู่ฟังก์ชัน ขนาดโมเลกุล หรือโครงสร้างต่างกัน 7. ระบุประเภทของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนและเขียนผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาการเผาไหม้ ปฏิกิริยา กับโบรมีน หรือปฏิกิริยากับโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต 8 เขียนสมการเคมีและอธิบายการเกิดปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน ปฏิกิริยาการสังเคราะห์เอไมด์ ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส และปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชัน 9. ทดสอบปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส และปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชัน 10. สืบค้นข้อมูล และนำเสนอตัวอย่างการนำสารประกอบอินทรีย์ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและ อุตสาหกรรม 11. ระบุประเภทของปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์จากโครงสร้างของมอนอเมอร์หรือพอลิเมอร์ 12. วิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและสมบัติของพอลิเมอร์ รวมทั้ง การ นำไปใช้ประโยชน์ 13. ทดสอบ และระบุประเภทของพลาสติกและผลิตภัณฑ์ยาง รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์ 14. อธิบายผลของการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง และการสังเคราะห์พอลิเมอร์ที่มีต่อสมบัติของพอลิเมอร์ 15. สืบค้นข้อมูล และนำเสนอตัวอย่างผลกระทบจากการใช้และการกำจัดผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์และ แนวทางแก้ไข รวมทั้งหมด 15 ผลการเรียนรู้ 6. ตารางโครงสร้างรายวิชา ลำดับ ที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ ตัวชี้วัด หรือ ผลการเรียนรู้ วิธีการประเมิน เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน 1 เคมีอินทรีย์ 1-10 1. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 2. สืบค้นข้อมูล/อภิปราย กลุ่ม 30 10 40 สอบกลางภาค 1 20 2 พอลิเมอร์ 11-15 1. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 2. รายงาน 3.สืบค้นข้อมูล/อภิปรายกลุ่ม 10 5 5 20 สอบปลายภาค 1 20 รวม 60 100 อัตราส่วนคะแนน คะแนนเก็บระหว่างภาค : คะแนนปลายภาค = 80 : 20 K : P : A = 40 : 60 : ….. รวม 100 คะแนน


6 คะแนนเก็บก่อนสอบกลางภาค = 30 คะแนน สอบกลางภาค = 20 คะแนน คะแนนเก็บก่อนสอบปลายภาค = 30 คะแนน คุณลักษณะ / จิตพิสัย = - คะแนน สอบปลายภาค = 20 คะแนน รวม 100 คะแนน 7. การกำหนดโครงการสอนและกิจกรรมตลอดภาคเรียน สัปดาห์/ แผนการ เรียนรู้ที่ หน่วยการเรียนรู้/ เนื้อหา ผลการเรียนรู้ กิจกรรม / กระบวนการเรียนรู้ เวลา (ชั่วโมง) 1 เคมีอินทรีย์ เรื่อง รู้จักสารอินทรีย์ 1-4 รูปแบบการเรียนรู้แบบโยนิโส มนสิการตามขั้นตอนดังนี้ 1. ขั้นพัฒนาปัญญา 2. ขั้นนำปัญญาพัฒนาความคิด 3. ขั้นนำปัญญาพัฒนาตนเอง 14 2 เคมีอินทรีย์ เรื่อง ฉันคือ สารประกอบ ไฮโดรคาร์บอน 3,5,6,7 รูปแบบการเรียนรู้แบบโยนิโส มนสิการตามขั้นตอนดังนี้ 1. ขั้นพัฒนาปัญญา 2. ขั้นนำปัญญาพัฒนาความคิด 3. ขั้นนำปัญญาพัฒนาตนเอง 12 3-4 เคมีอินทรีย์เรื่อง สารประกอบอินทรีย์ที่มี ธาตุออกซิเจนเป็น องค์ประกอบ 5,6,10 รูปแบบการเรียนรู้แบบโยนิโส มนสิการตามขั้นตอนดังนี้ 1. ขั้นพัฒนาปัญญา 2. ขั้นนำปัญญาพัฒนาความคิด 3. ขั้นนำปัญญาพัฒนาตนเอง 10 5 เคมีอินทรีย์เรื่อง สารประกอบอินทรีย์ที่มี ธาตุไนโตรเจนเป็น องค์ประกอบ 5,6,8,9,10 รูปแบบการเรียนรู้แบบโยนิโส มนสิการตามขั้นตอนดังนี้ 1. ขั้นพัฒนาปัญญา 2. ขั้นนำปัญญาพัฒนาความคิด 3. ขั้นนำปัญญาพัฒนาตนเอง 4 6-8 การเกิดพอลิเมอร์ 11-13 รูปแบบการเรียนรู้แบบโยนิโส มนสิการตามขั้นตอนดังนี้ 1. ขั้นพัฒนาปัญญา 10


7 2. ขั้นนำปัญญาพัฒนาความคิด 3. ขั้นนำปัญญาพัฒนาตนเอง 9-12 การปรับปรุงสมบัติของ พอลิเมอร์ 14-15 รูปแบบการเรียนรู้แบบโยนิโส มนสิการตามขั้นตอนดังนี้ 1. ขั้นพัฒนาปัญญา 2. ขั้นนำปัญญาพัฒนาความคิด 3. ขั้นนำปัญญาพัฒนาตนเอง 10 8. แผนการวัดผลและภาระงาน แนวการวัดผล อัตราส่วน คะแนนระหว่างภาค : คะแนนปลายภาค = ...80.... : ....20..... อัตราส่วน คะแนน K : P : A = ....40... : ...60... : ............ แผนการวัดผล การประเมิน คะแนน วิธีวัด ชนิดของเครื่องมือ ตัวชี้วัด/ผลการ เรียนรู้ข้อที่ เวลาที่ใช้ (นาที/ครั้ง) ก่อนกลางภาค 40 1.สืบค้นข้อมูล 2.อภิปรายกลุ่ม ชุดกิจกรรม วิทยาศาสตร์ 1-10 50 นาที/ครั้ง กลางภาค 20 สอบ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ 1-10 60 นาที/ครั้ง หลังกลางภาค 20 1.สืบค้นข้อมูล 2.อภิปรายกลุ่ม ชุดกิจกรรม วิทยาศาสตร์ 11-15 50 นาที/ครั้ง คุณลักษณะ / จิตพิสัย - - - - ตลอด ภาคเรียน ปลายภาค 20 สอบ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ 11-15 60 นาที/ครั้ง รวม 100 คะแนน การกำหนดภาระงานนักเรียน ในการเรียนรายวิชา.เคมี..4..ได้กำหนดให้นักเรียนทำกิจกรรม/ ปฏิบัติงาน (ชิ้นงาน)….17....ชิ้น ดังนี้ ที่ ชื่องาน ตัวชี้วัด/ผล การเรียนรู้ข้อที่ ประเภทงาน กำหนดส่ง กลุ่ม เดี่ยว วัน/เดือน/ปี 1 สืบค้นข้อมูลสารประกอบอินทรีย์ที่พบใน ชีวิตประจำวัน 1-5 พ.ค 66 2 เขียนโครงการทำระบบก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ และขยะอินทรีย์ 1 พ.ค 66 รายงานผลการทดลอง เรื่อง สมบัติบางประการ ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน 3,6 พ.ค 66 4 สืบค้นข้อมูลจุดเดือดและจุดหลอมเหลวของแอ ลเคน 7 พ.ค 66 5 เขียนโครงการลดโลกร้อนในโรงเรียน 7 พ.ค 66


8 6 รายงานผลการทดลอง เรื่อง การละลายได้ในน้ำ ของแอลกอฮอล์ 5-6 พ.ค 66 7 เขียนโครงการสำรวจสารฟีนอลในพืชสมุนไพร ที่นักเรียนสนใจ 10 มิ.ย 66 8 รายงานผลการทดลอง เรื่อง ปฏิกิริยาของเอส เทอร์ 8-9 มิ.ย 66 9 รายงานการค้นคว้ากระบวนการหมักกับกรด อินทรีย์พร้อมระบุแหล่งที่มาแล้วบันทึกข้อมูล 10 มิ.ย 66 10 คำขวัญหรือข้อความ พร้อมวาดภาพประกอบ เกี่ยวกับคุณค่าวิถีชีวิตไทยกับการบริโภคของหมัก ดองอย่างปลอดภัย 10 มิ.ย 66 11 ผังความคิดสรุปองค์ความรู้ เรื่อง พอลิเมอร์ 8-11 ก.ค 66 12 ผังความคิดสรุปองค์ความรู้ เรื่อง การแก้ปัญหา ขยะ จากพอลิเมอร์ 11 ก.ค 66 13 รายงานการทดลองเรื่องเรื่อง ความหนาแน่นและ โครงสร้างของพอลิเมอร์ 11 ก.ค 66 14 รายงานผลการทดลอง เรื่อง การทดสอบการ เปลี่ยนแปลงของพอลิเมอร์เมื่อได้รับความร้อน 12 ส.ค 66 15 รายงานการลองเรื่อง สมบัติของโคพอลิเมอร์ 14 ส.ค 66 16 รายงานการสืบค้นข้อมูล นำเสนอผลกระทบจาก การใช้และการกำจัดผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ และ แนวทางแก้ไข 15 ก.ย 66 17 แบบฝึกหัดท้ายบท 8-14 ก.ย 66 หากนักเรียนขาดส่งงาน...-...ชิ้น หรือขาดส่งชิ้นงานที่ ...17.. จะได้รับผลการเรียน “ร” ในรายวิชานี้ ลงชื่อ........................................ครูผู้สอน ลงชื่อ...........................................หัวหน้ากลุ่มสาระฯ ( นางสาวอโนชาอุทุมสกุลรัตน์) (นางกณิการ์พัฒรากุล) ลงชื่อ........................................... ลงชื่อ........................................... (นางสาวพรศรี เจริญวัย) (นางวันวิศาข์ ผลหมู่) หัวหน้างานนิเทศ รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ (นายสุริยันต์ เหล่ามะลึก) ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม


แผนการจัดการเรียนรู้ รหัสวิชา ว30224 รายวิชาเคมี 4 จำนวน 1.5 หน่วยกิต 3 คาบ/ สัปดาห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จัดทำโดย นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์ ตำแหน่ง ครูวิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ


คำนำ แผนการจัดการเรียนรู้เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนรายวิชารายวิชา เพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 รหัสวิชา ว30224 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ มี การจัดกิจกรรมและการวัดผลประเมินผลที่หลากหลายสอดคล้องกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ จำนวน 2 หน่วย คือ หน่วยที่ 1 เคมีอินทรีย์และ หน่วยที่ 2 พอลิเมอร์ แผนการจัดการเรียนรู้เล่มนี้ส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งเป็นรายบุคคลและ รายกลุ่ม เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ส่งเสริมให้ นักเรียนเชื่อมโยงความรู้ทั้งในและต่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ในเชิงบูรณาการด้วยวิธีการที่หลากหลาย สร้าง สถานการณ์การเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน โดยครูมีบทบาทหน้าที่ในการเอื้ออำนวยความสะดวกให้แก่ นักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพตามสาระ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด รวมทั้งพัฒนานักเรียนให้มี สมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่หลักสูตรกำหนด เพื่อให้นักเรียนสามารถดำรงชีวิตอยู่ ร่วมกับผู้อื่นในสังคมไทยและสังคมโลกได้อย่างมีความสุขการปฏิบัติงานมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนได้อย่างเป็น ระบบ ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณภาพ และสถานศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาอย่างแท้จริง หวังเป็นอย่างยิ่งว่าแผนการจัดการเรียนรู้เล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการ เรียนรู้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของนักเรียนต่อไป ...................................................... (นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์)


สารบัญ หน้า หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เคมีอินทรีย์ 1 - 30 แผนการเรียนรู้ที่1 แผนการเรียนรู้ที่2 แผนการเรียนรู้ที่3 แผนการเรียนรู้ที่4 แผนการเรียนรู้ที่5 รู้จักสารอินทรีย์ ฉันคือสารประกอบไฮโดรคาร์บอน สารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ ตอนที่ 1 สารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ ตอนที่ 2 เคมีอินทรีย์เรื่อง สารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ 1 7 13 19 25 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 พอลิเมอร์ 30 - 49 แผนการเรียนรู้ที่6 การเกิดพอลิเมอร์ 30 แผนการเรียนรู้ที่7 แผนการเรียนรู้ที่8 แผนการเรียนรู้ที่9 โครงสร้างและสมบัติของพอลิเมอร์ การปรับปรุงสมบัติของพอลิเมอร์ การแก้ปัญหาขยะจากพอลิเมอร์ 35 40 45 เครื่องมือวัดและ ประเมินผล 50


1 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ที่….1....เคมีอินทรีย์...........เรื่อง....รู้จักสารอินทรีย์........…………………………….…........................ รายวิชา……..............เคมี…4........ ............รหัสวิชา…..............ว 30224......................ชั้นมัธยมศึกษาปีที่....6..... กลุ่มสาระการเรียนรู้..วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.. ปีการศึกษา… 2566...ภาคเรียนที่..1...เวลา...14..ชั่วโมง…… ผู้สอน.........................นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์......................................................................................... 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้(รายวิชาพื้นฐานมีทั้งมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด รายวิชาเพิ่มเติมมีเฉพาะมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้) 1.1 มาตรฐานการเรียนรู้ สาระเคมี 1 : เข้าใจโครงสร้างอะตอม การจัดเรียงธาตุในตารางธาตุ สมบัติของธาตุ พันธะเคมีและ สมบัติของสาร แก๊สและสมบัติของแก๊ส ประเภทและสมบัติของ สารประกอบอินทรีย์และพอลิเมอร์ รวมทั้งการ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 1.2 ผลการเรียนรู้ 1. สืบค้นข้อมูลและนำเสนอตัวอย่างสารประกอบอินทรีย์ที่มีพันธะเดี่ยว พันธะคู่ หรือพันธะสาม ที่พบ ในชีวิตประจำวัน 2. เขียนสูตรโครงสร้างลิวอิส สูตรโครงสร้างแบบย่อ และสูตรโครงสร้างแบบเส้นของสารประกอบ อินทรีย์ 3. วิเคราะห์โครงสร้าง และระบุประเภทของสารประกอบอินทรีย์จากหมู่ฟังก์ชัน 4. เขียนสูตรโครงสร้างและเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ประเภทต่าง ๆ ที่มีหมู่ฟังก์ชันไม่เกิน 1 หมู่ ตามระบบ IUPAC 5. เขียนไอโซเมอร์โครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์ประเภทต่าง ๆ 6. เขียนสูตรโครงสร้างและเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ประเภทต่าง ๆ ที่มีหมู่ฟังก์ชันไม่เกิน 1 หมู่ ตามระบบ IUPAC 7. เขียนไอโซเมอร์โครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์ประเภทต่าง ๆ 8. วิเคราะห์และเปรียบเทียบจุดเดือดและการละลายในน้ำของสารประกอบอินทรีย์ที่มีหมู่ฟังก์ชัน ขนาดโมเลกุล หรือโครงสร้างต่างกัน 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด (หลอมจากผลการเรียนรู้ที่ใช้ในหน่วยการเรียนรู้นี้เขียนเป็นแบบความ เรียง) สารประกอบอินทรีย์เป็นสารประกอบของคาร์บอน ส่วนใหญ่พบในสิ่งมีชีวิต มีโครงสร้างหลากหลาย และแบ่งได้หลายประเภท เนื่องจากธาตุคาร์บอนสามารถเกิดพันธะโคเวเลนต์กับธาตุคาร์บอนด้วยพันธะเดี่ยว พันธะคู่ พันธะสาม นอกจากนี้ยังสามารถเกิดพันธะโคเวเลนต์กับธาตุอื่น ๆ ได้อีกด้วยและมีการนำสารประ กอบอินทรีย์ไปใช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย โครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์แสดงได้ด้วยสูตรโครงสร้างลิว อิส สูตรโครงสร้างแบบย่อ หรือสูตรโครงสร้างแบบเส้น 3. สาระการเรียนรู้ 3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง/สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม (รายวิชาเพิ่มเติม) - สารประกอบอินทรีย์เป็นสารประกอบของคาร์บอนส่วนใหญ่พบในสิ่งมีชีวิต มีโครงสร้างหลากหลาย และแบ่งได้หลายประเภท เนื่องจากธาตุคาร์บอนสามารถเกิดพันธะโคเวเลนต์กับธาตุคาร์บอนด้วย


2 พันธะเดี่ยวพันธะคู่ พันธะสาม นอกจากนี้ยังสามารถเกิดพันธะโคเวเลนต์กับธาตุอื่น ๆ ได้อีกด้วย และ มีการนำสารประกอบอินทรีย์ไปใช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย - โครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์แสดงได้ด้วยสูตรโครงสร้างลิวอิส สูตรโครงสร้างแบบย่อ หรือ สูตรโครงสร้างแบบเส้น 3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น (ถ้าในคำอธิบายรายวิชาพูดถึงหลักสูตรท้องถิ่นให้ใส่ลงไปด้วย ...............................................................-........................................................................................... 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายการเกิดพันธะเคมีของคาร์บอนในสารประกอบอินทรีย์ได้(K) 2. สืบค้นข้อมูลและนำเสนอตัวอย่างสารประกอบอินทรีย์ที่มีพันธะเดี่ยว พันธะคู่ หรือพันธะสาม ที่พบใน ชีวิตประจำวันได้ (P) 3. เขียนสูตรโมเลกุล สูตรโครงสร้างลิวอิส สูตรโครงสร้างแบบย่อ และสูตรโครงสร้างแบบเส้นพันธะของ สารประกอบอินทรีย์ได้ 4. วิเคราะห์โครงสร้างและระบุประเภทของสารประกอบอินทรีย์จากหมู่ฟังก์ชันได้(K) 5. มีจิตวิทยาศาสตร์ด้านความรอบคอบ จากรายงานการทดลองและการทำแบบฝึกหัด (A) 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์(เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ 7. ด้านคุณลักษณะของผู้เรียนตามหลักสูตรมาตรฐานสากล 1. เป็นเลิศวิชาการ 2. สื่อสารสองภาษา 3. ล้ำหน้าทางความคิด 4. ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ 5. ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก 8. ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 คือการเรียนรู้ 3R X 8C 2L R1 –Reading (อ่านออก) R2-(W) Ringting (เขียนได้) R3- (A) Rithmetics (คิดเลขเป็น) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ไขปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information, and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning) ความมีเมตตา (วินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion)


3 9. บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1. หลักความพอประมาณ : กำหนดจำนวนสมาชิกในกลุ่มให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในห้องเรียนคือ ประมาณกลุ่มละ 4 – 6 คน 2. หลักความมีเหตุผล : ให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานและเกิดทักษะการปฏิบัติ, เลือกใช้สารเคมีได้อย่าง คุ้มค่า 3. หลักภูมิคุ้มกัน : ให้นักเรียนเกิดทักษะการทำงานกลุ่ม และกล้าแสดงออก 4. เงื่อนไขความรู้ : การวางแผนงานที่จะทำก่อนแล้วค่อยลงมือทำอย่างระมัดระวัง , เขียนสมการการ เปลี่ยนแปลงจากการทดลอง 5. เงื่อนไขคุณธรรม : อดทนที่จะทำงาน และมีความขยันที่จะทำงานให้ออกมาได้ดีที่สุด , มีวินัยในการทำ การทดลอง 10. ชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด ผลการเรียนรู้ ชิ้นงาน ภาระงาน 1-2 - รายงานผลการทดลอง เรื่อง การจัด ตั ว ข อ งค าร์บ อ น ใน ส ารป ระ ก อ บ ไฮโดรคาร์บอน - ก ารอ ภิ ป ร า ยผ ล ก า ร ท ดล อ ง เปรียบเทียบการจัดตัวของคาร์บอนใน สารประกอบไฮโดรคาร์บอน 3-5 - รายงานผลการทดลอง เรื่อง สมบัติ บางประการของเอทานอลและกรดแอซี ติก - วิเคราะห์สมบัติที่แตกต่างกันของเอทา นอลและกรดแอซีติก 11. การวัดประเมินผล 10.1การวัดและประเมินผลชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด วิธีการ 1.การสังเกตการณ์ 2.การใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ร่องรอยบ่งชี้ 3.การวัดประเมินการปฏิบัติ เครื่องมือ 1. แบบสังเกตการณ์ 2. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 3. แบบวัดประเมินการปฏิบัติ เกณฑ์ 1.การประเมินผลตามสภาพจริง (Rubrics) 2.การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน ผ่าน 1 รายการถือว่า ไม่ผ่าน 10.2 การวัดและประเมินผลระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ประเมินจากแผนการจัดการเรียนรู้ของ หน่วยการเรียนรู้นี้) สิ่งที่ต้องการวัด วิธีวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมิน 1. ความรู้เกี่ยวกับ - สารประกอบอินทรีย์ - สูตรโครงสร้างของสาร -การสอบถาม ซักถาม ความคิดเห็น -การตอบคำถาม -การตรวจผลงาน - แบบประเมินการ อภิปรายแสดงความ คิดเห็น - นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์


4 ประกอบอินทรีย์ - การเขียนไอโซเมอร์ นักเรียน - แบบประเมินการ ตรวจผลงานนักเรียน - นักเรียนได้คะแนน ประเมินผลงาน 13 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 2.ทักษะกระบวนการคิด และ ทักษะกระบวนการกลุ่ม - การอภิปรายแสดง ความคิดเห็น - สังเกตพฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม - แบบประเมินการ อภิปรายแสดงความ คิดเห็น - แบบประเมิน พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม -นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่า ผ่านเกณฑ์ 3. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และสมรรถนะผู้เรียน - มีวินัยในการทำงานกลุ่ม - นักเรียนเห็นความสำคัญ ของการทำงานร่วมกับผู้อื่นและ การทำงานในระบบกลุ่ม - ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกัน และกันมีความเสียสละและ อดทน - นักเรียนมีการเห็นคุณค่าใน ตนเอง (Self-esteem) - สังเกตค่านิยมในการ ทำงานร่วมกับผู้อื่น และการทำงานใน ระบบกลุ่ม อภิปราย แสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับผลการ ทดลอง - แบบประเมิน คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ - แบบประเมิน สมรรถนะผู้เรียน -แบบทดสอบ Rubin’s Self Esteem Scale - นักเรียนได้คะแนน ประเมินคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ 26 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้คะแนน การประเมินสมรรถนะ 29 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 12. กิจกรรมการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ 1-3 1. ขั้นตั้งประเด็นปัญหา/สมมติฐาน (Hypothesis Formulation) 1.1 ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับการแบ่งประเภทของสารที่พบในชีวิตประจำวัน ความหมายของสารอนินทรีย์ สารอินทรีย์และเคมีอินทรีย์ เพื่อให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับเคมีอินทรีย์ว่าเป็นวิชาที่ ศึกษาเกี่ยวกับ สารประกอบของคาร์บอน ยกเว้น สารประกอบ อนินทรีย์ของคาร์บอนบางชนิด เช่น สารประกอบออกไซด์ คาร์บอเนต และไฮโดรเจนคาร์บอเนต 1.2 นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง รู้จักสารอินทรีย์ใช้เวลาประมาณ 15 นาที 1.3 นักเรียนศึกษาการเกิดพันธะของคาร์บอนและสูตรโครงสร้าง ตามรายละเอียดในชุดกิจกรรม หลังจากนั้นทำกิจกรรมร่วมกันคิด 1และ 2 ตามลำดับ ชั่วโมงที่ 4-6 2. ขั้นสืบค้นความรู้(Searching for Information) 2.1 แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4- 5 คน แต่ละกลุ่มมีนักเรียนเก่ง ปานกลาง อ่อน คละกัน ให้นักเรียนทำการทดลองที่ 1 เรื่อง การจัดตัวของคาร์บอนในสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ในชุดกิจกรรม พร้อมทั้งให้สมาชิกกำหนดหน้าที่กันเองในกุล่ม เช่น คนที่ 1 อ่านขั้นตอนการทดลองและบอกวิธีการทดลองตามลำดับ


5 คนที่ 2 ดำเนินการทดลอง จัดเตรียมอุปกรณ์ คนที่ 3 รับอุปกรณ์สารเคมี สำหรับการทดลอง คนที่ 4 บันทึกข้อมูล ผลการทดลอง 2.2 หลังเสร็จการทดลองให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานาเสนอหน้าชั้นเรียน 2.3 ให้นักเรียนให้นักเรียนแต่ละกลุ่มวิเคราะห์ อภิปรายผลการทดลอง ตามแนวคำถาม - เมื่อต่อคาร์บอน 5 อะตอมด้วยพันธะเดี่ยวทั้งหมดจะได้กี่ไอโซเมอร์ และแต่ละไอโซเมอร์มี สูตร โครงสร้างเป็นอย่างไร - ถ้าต่อแบบจำลองโดยใช้คาร์บอน 5 อะตอมเช่นเดียวกันแต่เปลี่ยนพันธะเดี่ยวเป็นพันธะคู่ 1 พันธะจะต่อได้กี่ไอโซเมอร์และแต่ละไอโซเมอร์มีสูตรโครงสร้างเป็นอย่างไร 2.4 ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลการทดลอง หลังจากนั้นทำกิจกรรมร่วมกันคิด 3 2.5 ครูอธิบายความหมายของหมู่ฟังก์ชันเพื่อโยงเข้าสู่การทดลองการทดลองที่ 2 เรื่อง สมบัติบาง ประการของเอทานอลและกรดแอซีติกในชุดกิจกรรมพร้อมทั้งให้สมาชิกกำหนดหน้าที่กันเองในกุล่ม เช่น คนที่ 1 อ่านขั้นตอนการทดลองและบอกวิธีการทดลองตามลำดับ คนที่ 2 ดำเนินการทดลอง จัดเตรียมอุปกรณ์ คนที่ 3 รับอุปกรณ์ สารเคมี สำหรับการทดลอง คนที่ 4 บันทึกข้อมูล ผลการทดลอง 2.6 นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและสรุปผลการทดลองโดยใช้ชุดกิจกรรมประกอบ ชั่วโมงที่ 7-9 3. ขั้นสรุปองค์ความรู้(Knowledge Formation) 3.1 ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปถึงสารอินทรีย์ 3.2 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษา อภิปราย ทำกิจกรรมร่วม กัน คิด 4 3.3 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปราย ตรวจความถูกต้อง ตอบคำถามข้อสงสัยต่าง ๆ 3.4 ให้นักเรียนช่วยกันเฉลยคำตอบพร้อมทั้งให้เหตุผล ชั่วโมงที่ 10-14 4. ขั้นการสื่อสารและนำเสนอ (Effective Communication) 4.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรม ปฏิบัติการ ฝึกทำ : ฝึกสร้าง สืบค้นข้อมูลสารอินทรีย์ (เฉพาะสารบริสุทธิ์) ที่สนใจมา 1 ชนิด ตามรายละเอียดในชุดกิจกรรม 4.2 นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนบรรยายเป็นข้อความ เรื่อง สารอินทรีย์ของคาร์บอน เพื่อสรุปความรู้ ที่ได้จากผังมโนทัศน์ 5. ขั้นการบริการสังคมและสาธารณะ (Public Service) 5.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาค้นคว้าการทำระบบก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์และ ขยะอินทรีย์ พร้อมระบุแหล่งที่มาแล้วบันทึกข้อมูล 5.2 นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนโครงการทำระบบก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์และขยะอินทรีย์ในโรงเรียน ของนักเรียนพร้อมระบุรายละเอียด 13. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ 13.1สื่อการเรียนรู้ - ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดโยนิโสมนสิการ เรื่อง เคมีอินทรีย์ เล่มที่ 1 เรื่องรู้จัก สารอินทรีย์


6 - สื่อ ppt 13.2แหล่งเรียนรู้ 1) อินเตอร์เน็ต 2) ห้องสมุด 14. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ ผลการสอน รายละเอียด 1. ด้านความรู้: - สารประกอบอินทรีย์ - สูตรโครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์ - การเขียนไอโซเมอร์ ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 2. ด้านกระบวนการ : - ทักษะกระบวนการคิด - ทักษะกระบวนการกลุ่ม ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 3. ด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม อันพึงประสงค์: - มีวินัย - ใฝ่เรียนรู้ - อยู่อย่างพอเพียง - รักความเป็นไทย ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 4. ปัญหาการสอน ....................................................................... ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 5. วิธีแก้ปัญหา ....................................................................... ....................................................................... ....................................................................... ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ลงชื่อ........................................ครูผู้สอน ลงชื่อ...........................................หัวหน้ากลุ่มสาระฯ (.นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์..) (นางกณิการ์ พัฒรากุล) ลงชื่อ........................................... (นางวันวิศาข์ ผลหมู่) รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ลงชื่อ ........................................................ (นายสุริยันต์ เหล่ามะลึก) ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม


7 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 หน่วยการเรียนรู้ที่…………...1....................เรื่อง....................ฉันคือสารประกอบไฮโดรคาร์บอน.......................... รายวิชา……..............เคมี…4........ ............รหัสวิชา…..............ว 30224......................ชั้นมัธยมศึกษาปีที่....6..... กลุ่มสาระการเรียนรู้..วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.. ปีการศึกษา… 2566...ภาคเรียนที่..1...เวลา...12..ชั่วโมง…… ผู้สอน.........................นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์......................................................................................... 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้(รายวิชาพื้นฐานมีทั้งมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด รายวิชาเพิ่มเติมมีเฉพาะมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้) 1.1 มาตรฐานการเรียนรู้ สาระเคมี 1 : เข้าใจโครงสร้างอะตอม การจัดเรียงธาตุในตารางธาตุ สมบัติของธาตุ พันธะเคมีและ สมบัติของสาร แก๊สและสมบัติของแก๊ส ประเภทและสมบัติของ สารประกอบอินทรีย์และพอลิเมอร์รวมทั้งการ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 1.2 ผลการเรียนรู้ 6. วิเคราะห์ และเปรียบเทียบจุดเดือดและการละลายในน้ำของสารประกอบอินทรีย์ที่มีหมู่ฟังก์ชัน ขนาดโมเลกุล หรือโครงสร้างต่างกัน 7. ระบุประเภทของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนและเขียนผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาการเผาไหม้ ปฏิกิริยา กับโบรมีน หรือปฏิกิริยากับโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด (หลอมจากตัวชี้วัดที่ใช้ในหน่วยการเรียนรู้นี้เขียนเป็นแบบความเรียง) สารประกอบไฮโดรคาร์บอน หมายถึงสารประกอบอินทรีย์ที่มีเฉพาะธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็น องค์ประกอบ ในธรรมชาติพบสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเกิดในแหล่งต่าง ๆ เช่น ยางไม้ ถ่านหิน ปิโตรเลียม เช่น CH4 , C2H6 , C2H4 สารประกอบไฮโดรคาร์บอนเป็นสารอินทรีย์ประเภทหนึ่งซึ่งประกอบด้วยธาตุคาร์บอน และไฮโดรเจน เป็นหลัก ได้แก่ แอลเคน แอลคีน และแอลไคน์ 3. สาระการเรียนรู้ 3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง/สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม (รายวิชาเพิ่มเติม) - สารประกอบอินทรีย์ประเภทแอลเคน แอลคีน แอลไคน์ อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน เป็น สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งเมื่อเกิดปฏิกิริยาการเผาไหม้ปฏิกิริยากับโบรมีนและปฏิกิริยา กับโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต จะให้ผลของปฏิกิริยาต่างกัน จึงสามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการ จำแนกประเภทของสารประกอบไฮโดรควร์บอนได้ 3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น (ถ้าในคำอธิบายรายวิชาพูดถึงหลักสูตรท้องถิ่นให้ใส่ลงไปด้วย ...............................................................-........................................................................................... 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. วิเคราะห์และเปรียบเทียบจุดเดือดและการละลายในน้ำของสารประกอบอินทรีย์ที่มีหมู่ฟังก์ชัน ขนาด โมเลกุล หรือโครงสร้างต่างกันได้(K) 2. ระบุประเภทของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนจากปฏิกิริยาการเผาไหม้ ปฏิกิริยากับโบรมีนหรือปฏิกิริยา กับโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต และเขียนสมการเคมีแสดงปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นได้(K)


8 3. สืบค้นข้อมูลและนำเสนอตัวอย่างการนำสารประกอบอินทรีย์ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและ อุตสาหกรรมได้(P) 4. เกิดจิตวิทยาศาสตร์ด้านความใจกว้าง จากการทำงานเป็นทีม(A) 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์(เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ 7. ด้านคุณลักษณะของผู้เรียนตามหลักสูตรมาตรฐานสากล 1. เป็นเลิศวิชาการ 2. สื่อสารสองภาษา 3. ล้ำหน้าทางความคิด 4. ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ 5. ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก 8. ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 คือการเรียนรู้ 3R X 8C 2L R1 –Reading (อ่านออก) R2-(W) Ringting (เขียนได้) R3- (A) Rithmetics (คิดเลขเป็น) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ไขปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information, and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning) ความมีเมตตา (วินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion) 9. บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1. หลักความพอประมาณ : กำหนดจำนวนสมาชิกในกลุ่มให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในห้องเรียนคือ ประมาณกลุ่มละ 4 – 6 คน 2. หลักความมีเหตุผล : ให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานและเกิดทักษะการปฏิบัติ 3. หลักภูมิคุ้มกัน : ให้นักเรียนเกิดทักษะการทำงานกลุ่ม และกล้าแสดงออก 4. เงื่อนไขความรู้ : การวางแผนงานที่จะทำก่อนแล้วค่อยลงมือทำอย่างระมัดระวัง , เขียนสมการการ เปลี่ยนแปลงจากการทดลอง 5. เงื่อนไขคุณธรรม : อดทนที่จะทำงาน และมีความขยันที่จะทำงานให้ออกมาได้ดีที่สุด , มีวินัยในการทำ แบบฝึกหัด


9 10. ชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด ผลการ เรียนรู้ ชิ้นงาน ภาระงาน 6-7 - รายงานการทดลอง เรื่อง สมบัติบาง ประการของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน - ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กิจกรรม ร่วมกันคิด 1 - ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กิจกรรมร่วมกัน คิด 2 - ค้นคว้าสืบค้นข้อมูลเรื่องประโยชน์ของ แอลคีน พร้อมระบุแหล่งที่มาแล้วบันทึก ข้อมูล 7 - โครงการลดโลกร้อนในโรงเรียน - ศึกษาค้นคว้า เรื่องก๊าซเรือนกระจก ที่เชื่อว่า เป็นสาเหตุ ของโลกร้อน พร้อมระบุแหล่งที่มา แล้วบันทึกข้อมูล 11. การวัดประเมินผล 11.1การวัดและประเมินผลชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด วิธีการ 1.การสังเกตการณ์ 2.การใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ร่องรอยบ่งชี้ 3.การวัดประเมินการปฏิบัติ เครื่องมือ 1. แบบสังเกตการณ์ 2. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 3. แบบวัดประเมินการปฏิบัติ เกณฑ์ 1.การประเมินผลตามสภาพจริง (Rubrics) 2.การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน ผ่าน 1 รายการถือว่า ไม่ผ่าน 11.2การวัดและประเมินผลระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ประเมินจากแผนการจัดการเรียนรู้ของ หน่วยการเรียนรู้นี้) สิ่งที่ต้องการวัด วิธีวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมิน 1. ความรู้เกี่ยวกับ - การเขียนสูตรทั่วไป สูตร โมเลกุลและสูตร โครงสร้าง - การเรียกชื่อสารประกอบ ไฮโดรคาร์บอนแต่ละประเภท - สมบัติของสารประกอบ ไฮโดรคาร์บอน -การสอบถาม ซักถาม ความคิดเห็น -การตอบคำถาม -การตรวจผลงาน นักเรียน - แบบประเมินการ อภิปรายแสดงความ คิดเห็น - แบบประเมินการ ตรวจผลงานนักเรียน - นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้คะแนน ประเมินผลงาน 13 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80


10 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 2.ทักษะกระบวนการคิด และ ทักษะกระบวนการกลุ่ม - การอภิปรายแสดง ความคิดเห็น - สังเกตพฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม - แบบประเมินการ อภิปรายแสดงความ คิดเห็น - แบบประเมิน พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม -นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่า ผ่านเกณฑ์ 3. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และสมรรถนะผู้เรียน - มีวินัยในการทำงานกลุ่ม - นักเรียนเห็นความสำคัญ ของการทำงานร่วมกับผู้อื่นและ การทำงานในระบบกลุ่ม - ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกัน และกันมีความเสียสละและ อดทน - นักเรียนมีการเห็นคุณค่าใน ตนเอง (Self-esteem) - สังเกตค่านิยมในการ ทำงานร่วมกับผู้อื่น และการทำงานใน ระบบกลุ่ม อภิปราย แสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับผลการ ทดลอง - แบบประเมิน คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ - แบบประเมิน สมรรถนะผู้เรียน -แบบทดสอบ Rubin’s Self Esteem Scale - นักเรียนได้คะแนน ประเมินคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ 26 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้คะแนน การประเมินสมรรถนะ 29 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 12. กิจกรรมการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ 1-2 1. ขั้นตั้งประเด็นปัญหา/สมมติฐาน (Hypothesis Formulation) 1.1 ครูทบทวนเกี่ยวกับการเกิดไอโซเมอร์และความหมายของไอโซเมอร์ของสารสารประกอบ ไฮโดรคาร์บอน โดยใช้คำถามรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่อง สมบัติบางประการของ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนและประเภทของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน 1.2 ครูให้นักเรียนดู สื่อ power point ถึงการหมู่ฟังก์ชันที่แตกต่างกันของโมเลกุลของเอทานอล และกรดแอซีติก และนำอภิปรายถึงส่วนที่มีหน้าที่ในการทำปฏิกิริยาที่แตกต่างกัน ตามโครงสร้าง 1.3 ครูชี้นำให้เห็นถึงข้อแตกต่างดังกล่าว เพื่อน าไปสู่การทดลองเกี่ยวกับสมบัติบางประการของ ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีจำนวนอะตอมของคาร์บอนเท่ากันแต่มีพันธะในโมเลกุลที่แตกต่างกัน โดยศึกษาจากปฏิกิริยาของเฮกเซน (C6H14) เฮกซีน (C6H12) และเบนซีน (C6H6) ซึ่งเป็นสารที่มีคาร์บอนใน โมเลกุล 6 อะตอม ชั่วโมงที่ 3-6 2. ขั้นสืบค้นความรู้(Searching for Information) 2.1 ให้นักเรียนแบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4- 5 คน แต่ละกลุ่มมีนักเรียนเก่ง ปานกลาง อ่อน คละกัน (เตรียมไว้ในคบปฐมนิเทศ) ศึกษาตามรายละเอียดในชุดกิจกรรม การทดลอง เรื่อง สมบัติบางประการของ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน พร้อมทั้งให้สมาชิกกำหนดหน้าที่กันเองในกลุ่ม เช่น คนที่ 1 อ่านขั้นตอนการทดลองและบอกวิธีการทดลองตามลำดับ คนที่ 2 จัดเตรียมอุปกรณ์รับอุปกรณ์ สำหรับการทดลอง คนที่ 3 ดำเนินการทดลอง


11 คนที่ 4 ดำเนินการทดลอง คนที่ 5 บันทึกข้อมูลต่าง ๆ ประกอบการทดลอง ผลการทดลอง อภิปราย สรุปผลการทดลอง 2.2 นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลการทดลองหน้าชั้นเรียน (โดยบันทึกข้อมูลในแบบ บันทึกผลการทดลองรายกลุ่ม เพื่อเปรียบเทียบให้ทุกกลุ่มเห็น) 2.3 นักเรียนให้นักเรียนแต่ละกลุ่มวิเคราะห์อภิปรายผลการทดลอง ตามแนวคำถามที่ครูตั้งให้ต่อไปนี้ - จากผลการทดลองและข้อมูลเพิ่มเติม สมบัติของเฮกเซน เฮกซีนและเบนซีนเหมือนกันหรือ แตกต่างกันหรือไม่ เพราะเหตุใด 2.4 ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายถึง (โดยใช้สื่อ power point เรื่อง สมบัติบางประการของสารประ กอบไฮโดรคาร์บอน เพื่อให้ได้ข้อสรุป ชั่วโมงที่ 7-9 3. ขั้นสรุปองค์ความรู้(Knowledge Formation) 3.1 ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายถึง (โดยใช้สื่อ power point) การเรียกชื่อ และการเกิดปฎิกิริยาเคมี สารประกอบไฮโดรคาร์บอนประเภทต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อสรุป 3.2 นักเรียนระดมสมองฝึกทำกิจกรรมร่วมกันคิด 2 3.3 นักเรียนและครูร่วมกันเฉลยกิจกรรมร่วมกันคิด 2 ชั่วโมงที่ 10-11 4. ขั้นการสื่อสารและนำเสนอ (Effective Communication) 4.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรม ปฏิบัติการ ฝึกทำ : ฝึกสร้าง (สืบค้นข้อมูล ของมีเทน) 4.2 นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันทำกิจกรรม ปฏิบัติการ คิดดี ผลงานดี มีความสุข(ศึกษาค้นคว้า เรื่อง ก๊าซเรือนกระจก ที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุ ของโลกร้อน พร้อมระบุแหล่งที่มาแล้วบันทึกข้อมูล) 4.3 นำเสนอหน้าชั้นเรียน ชั่วโมงที่ 12 5. ขั้นการบริการสังคมและสาธารณะ (Public Service) 5.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนโครงการลดโลกร้อนในโรงเรียนของ นักเรียนพร้อมระบุรายละเอียดตาม รายละเอียดในชุดกิจกรรม 5.2 นำเสนอหน้าชั้นเรียน 13. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ 13.1สื่อการเรียนรู้ - ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดโยนิโสมนสิการ หน่วยเคมีอินทรีย์ เล่มที่ 2 เรื่องฉันคือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน - สื่อ power point 13.2แหล่งเรียนรู้ 1) อินเตอร์เน็ต 2) ห้องสมุด


12 14. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ ผลการสอน รายละเอียด 1. ด้านความรู้: - การเขียนสูตรทั่วไป สูตรโมเลกุลและสูตร โครงสร้าง - การเรียกชื่อสารประกอบไฮโดรคาร์บอนแต่ ละประเภท - สมบัติของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ............................................................................................... 2. ด้านกระบวนการ : - ทักษะกระบวนการคิด - ทักษะกระบวนการกลุ่ม ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 3. ด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม อันพึงประสงค์: - มีวินัย - ใฝ่เรียนรู้ - อยู่อย่างพอเพียง - รักความเป็นไทย ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ............................................................................................... 4. ปัญหาการสอน ....................................................................... ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 5. วิธีแก้ปัญหา ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ลงชื่อ........................................ครูผู้สอน ลงชื่อ...........................................หัวหน้ากลุ่มสาระฯ (.นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์..) (นางกณิการ์ พัฒรากุล) ลงชื่อ........................................... (นางวันวิศาข์ ผลหมู่) รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ลงชื่อ ........................................................ (นายสุริยันต์ เหล่ามะลึก) ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม


13 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 หน่วยการเรียนรู้ที่….1.....เรื่อง.....สารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ ตอนที่ 1...... รายวิชา……..............เคมี…4........ ............รหัสวิชา…..............ว 30224......................ชั้นมัธยมศึกษาปีที่....6..... กลุ่มสาระการเรียนรู้..วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.. ปีการศึกษา… 2566...ภาคเรียนที่..1...เวลา...6..ชั่วโมง…… ผู้สอน.........................นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์......................................................................................... 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้(รายวิชาพื้นฐานมีทั้งมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด รายวิชาเพิ่มเติมมีเฉพาะมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้) 1.1 มาตรฐานการเรียนรู้ 1.1 มาตรฐานการเรียนรู้ สาระเคมี 1 : เข้าใจโครงสร้างอะตอม การจัดเรียงธาตุในตารางธาตุ สมบัติของธาตุ พันธะเคมีและ สมบัติของสาร แก๊สและสมบัติของแก๊ส ประเภทและสมบัติของ สารประกอบอินทรีย์และพอลิเมอร์ รวมทั้งการ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 1.2 ผลการเรียนรู้ 6. วิเคราะห์ และเปรียบเทียบจุดเดือดและการละลายในน้ำของสารประกอบอินทรีย์ที่มีหมู่ฟังก์ชัน ขนาดโมเลกุล หรือโครงสร้างต่างกัน 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด (หลอมจากตัวชี้วัดที่ใช้ในหน่วยการเรียนรู้นี้เขียนเป็นแบบความเรียง) สารประกอบอินทรีย์ที่มีคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน เป็นองค์ประกอบ มีหลายชนิด เช่น แอลกอฮอล์ ฟีนอล อีเทอร์ แอลดีไฮด์ คีโตน กรดคาร์บอกซิลิก และเอสเทอร์ แอลกอฮอล์ที่รู้จักและคุ้นเคยกันอย่างดี ได้แก่ เมทานอล (CH3OH) และเอทานอล (C2H5OH) สารประกอบอินทรีย์พวกหนึ่ง ลักษณะเป็นของเหลวใส กลิ่นฉุน ระเหยง่าย จุดไฟติด เตรียมได้ด้วยวิธีการหมัก สารประเภทน้ำตาล หรือแป้งผสมยีสต์ เมื่อดื่มจะทำให้เกิดอาการมึนเมา ใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรม และ การแพทย์ ฟีนอล เป็นสารประกอบอะโรมาติคที่ผลิตได้จากสารประกอบอะโรมาติคชนิดอื่นๆ เช่น เบนซีน โทลู อีน เป็นสารที่ถูกนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตผลิตภัณฑ์เคมีหลายชนิด อาทิ สีย้อม สารเคมีกำจัดวัชพืช และศัตรูพืช ยาในทางการแพทย์ อีเทอร์ เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีสูตรทั่วไปเป็น ROR’ มีสูตรโมเลกุลเหมือนแอลกอฮอล์และฟีนอล จึงเป็นไอโซเมอร์โครงสร้างกับแอลกอฮอล์และฟีนอล ประโยชน์ ใช้เป็นตัวทำละลายสารอินทรีย์ แอลดีไฮด์ (Aldehyde) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่หมู่ฟังก์ชันเป็นหมู่คาร์บอกซาลดีไฮด์ (Carboxaldehyde : หรือ –CHO) ใช้เป็นสารปรุงแต่งรสและกลิ่นของอาหาร ใช้ดองสัตว์เพื่อไม่ให้เน่าเปื่อย คีโตน (ketone) เป็นสารอินทรีย์ที่มีหมู่ฟังก์ชันเรียกว่า หมู่คาร์บอนิล (Carbony : หรือ –CO –) แอซิโตน ที่เตรียมในอุตสาหกรรมได้จากการออกซิไดส์ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลายที่มีประโยชน์ ใช้ทำ พลาสติกลูไซด์ ทำสีย้อมผ้า และช่วยทำให้เครื่องแก้วแห้งเร็วเนื่องจากระเหยง่าย ไอของแอซิโตนเป็นโทษแก่ ร่างกาย ทำให้เกิดอาการมึนงง และหมดสติได้ 3. สาระการเรียนรู้ 3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง/สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม (รายวิชาเพิ่มเติม) -


14 3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น (ถ้าในคำอธิบายรายวิชาพูดถึงหลักสูตรท้องถิ่นให้ใส่ลงไปด้วย ...............................................................-........................................................................................... 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. ระบุประเภทของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนจากปฏิกิริยาการเผาไหม้ ปฏิกิริยากับโบรมีนหรือ ปฏิกิริยากับโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต และเขียนสมการเคมีแสดงปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นได้(K) 2. ทดลองหาการละลายได้ในน้ำของแอลกอฮอล์บางชนิดและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนอะตอม ของคาร์บอนกับการละลายได้ในน้ำของแอลกอฮอล์ได้(P) 2. เขียนสมการเคมีและอธิบาย ปฏิกิริยาการสังเคราะห์แอลดีไฮด์ ได้(P) 3. เปรียบเทียบจุดเดือดของสารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุออกซิเจนเป็นองค์ประกอบกับจุดเดือดของ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนได้(K) 4. มีจิตวิทยาศาสตร์ด้านความซื่อสัตย์ จากการทำการทดลอง(A) 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์(เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ 7. ด้านคุณลักษณะของผู้เรียนตามหลักสูตรมาตรฐานสากล 1. เป็นเลิศวิชาการ 2. สื่อสารสองภาษา 3. ล้ำหน้าทางความคิด 4. ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ 5. ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก 8. ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 คือการเรียนรู้ 3R X 8C 2L R1 –Reading (อ่านออก) R2-(W) Ringting (เขียนได้) R3- (A) Rithmetics (คิดเลขเป็น) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ไขปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information, and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning) ความมีเมตตา (วินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion) 9. บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1. หลักความพอประมาณ : กำหนดจำนวนสมาชิกในกลุ่มให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในห้องเรียนคือ ประมาณกลุ่มละ 4 – 6 คน 2. หลักความมีเหตุผล : ให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานและเกิดทักษะการปฏิบัติ


15 3. หลักภูมิคุ้มกัน : ให้นักเรียนเกิดทักษะการทำงานกลุ่ม และกล้าแสดงออก 4. เงื่อนไขความรู้ : การวางแผนงานที่จะทำก่อนแล้วค่อยลงมือทำอย่างระมัดระวัง , เขียนสมการการ เปลี่ยนแปลงจากการทดลอง 5. เงื่อนไขคุณธรรม : อดทนที่จะทำงาน และมีความขยันที่จะทำงานให้ออกมาได้ดีที่สุด , มีวินัยในการทำ แบบฝึกหัด 10. ชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด ผลการ เรียนรู้ ชิ้นงาน ภาระงาน 6 - ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กิจกรรม ร่วมกันคิด 1 - ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กิจกรรมร่วมกัน คิด 2 - โครงการสำรวจสารฟีนอลในพืชสมุนไพร - ค้นคว้าสืบค้นข้อมูลเรื่องโทษของการดื่มสุรา พร้อมระบุแหล่งที่มาแล้วบันทึกข้อมูล - ค้นคว้าสืบค้นข้อมูลเรื่องผลกระทบของฟี นอลต่อคนและสัตว์พร้อมระบุแหล่งที่มาแล้ว บันทึกข้อมูล - ตอบคำถามงานวิจัยเรื่อง การศึกษา สารประกอบฟีนอลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ของพืชท้องถิ่นที่ 11. การวัดประเมินผล 11.1การวัดและประเมินผลชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด วิธีการ 1.การสังเกตการณ์ 2.การใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ร่องรอยบ่งชี้ 3.การวัดประเมินการปฏิบัติ เครื่องมือ 1. แบบสังเกตการณ์ 2. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 3. แบบวัดประเมินการปฏิบัติ เกณฑ์ 1.การประเมินผลตามสภาพจริง (Rubrics) 2.การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน ผ่าน 1 รายการถือว่า ไม่ผ่าน 11.2การวัดและประเมินผลระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ประเมินจากแผนการจัดการเรียนรู้ของ หน่วยการเรียนรู้นี้) สิ่งที่ต้องการวัด วิธีวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมิน 1. ความรู้เกี่ยวกับ - การเขียนสูตรทั่วไป สูตร โมเลกุลและสูตร โครงสร้าง ของ แอลกอฮอล์ ฟีนอล อีเทอร์ แอลดีไฮด์ คีโตน - การเรียกชื่อของ แอลกอฮอล์ -การสอบถาม ซักถาม ความคิดเห็น -การตอบคำถาม -การตรวจผลงาน นักเรียน - แบบประเมินการ อภิปรายแสดงความ คิดเห็น - แบบประเมินการ ตรวจผลงานนักเรียน - นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้คะแนน ประเมินผลงาน


16 ฟีนอล อีเทอร์ แอลดีไฮด์ คีโตน - สมบัติของ แอลกอฮอล์ ฟี นอล อีเทอร์ แอลดีไฮด์ คีโตน 13 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 2.ทักษะกระบวนการคิด และ ทักษะกระบวนการกลุ่ม - การอภิปรายแสดง ความคิดเห็น - สังเกตพฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม - แบบประเมินการ อภิปรายแสดงความ คิดเห็น - แบบประเมิน พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม -นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่า ผ่านเกณฑ์ 3. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และสมรรถนะผู้เรียน - มีวินัยในการทำงานกลุ่ม - นักเรียนเห็นความสำคัญ ของการทำงานร่วมกับผู้อื่นและ การทำงานในระบบกลุ่ม - ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกัน และกันมีความเสียสละและ อดทน - นักเรียนมีการเห็นคุณค่าใน ตนเอง (Self-esteem) - สังเกตค่านิยมในการ ทำงานร่วมกับผู้อื่น และการทำงานใน ระบบกลุ่ม อภิปราย แสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับผลการ ทดลอง - แบบประเมิน คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ - แบบประเมิน สมรรถนะผู้เรียน -แบบทดสอบ Rubin’s Self Esteem Scale - นักเรียนได้คะแนน ประเมินคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ 26 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้คะแนน การประเมินสมรรถนะ 29 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 12. กิจกรรมการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ 1 -2 1. ขั้นตั้งประเด็นปัญหา/สมมติฐาน (Hypothesis Formulation) 1.1 ครูให้นักเรียนดูสูตรโครงสร้างของ แอลกอฮอล์ฟีนอล อีเทอร์แอลดีไฮด์ และคีโตน ว่ามีส่วนใดบ้างที่ เหมือนกันและต่างกัน (มีองค์ซิเจนเป็นองค์ประกอบเหมือนกัน ต่างกันที่หมู่อื่นๆที่เป็นองค์ประกอบ) 1.2 ครูสรุปว่าสารทั้ง 3 ชนิดมีกลุ่มอะตอมที่แสดงสมบัติเฉพาะที่เรียกว่า หมู่ฟังก์ชันที่ประกอบด้วย ออกซิเจนเหมือนกัน ซึ่งเราจะศึกษาถึงสมบัติ การเรียกชื่อ และประโยชน์ของแอลกอฮอล์ฟีนอลและ เอสเทอร์แอลดีไฮด์ และคีโตน ตามลำดับ 2. ขั้นสืบค้นความรู้(Searching for Information) 2.1 ให้นักเรียนแบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4- 5 คน แต่ละกลุ่มมีนักเรียนเก่ง ปานกลาง อ่อน คละกัน (เตรียมไว้ในคาบปฐมนิเทศ) ศึกษาตามรายละเอียดในชุดกิจกรรม สืบค้นข้อมูลเรื่องโทษของการดื่มสุรา 2.2 นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลการสืบค้นหน้าชั้นเรียน 2.3 ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายถึง (โดยใช้สื่อ power point) การเรียกชื่อและสมบัติบางประการของ แอลกอฮอล์ ฟีนอล อีเทอร์ แอลดีไฮด์ และคีโตน เพื่อให้ได้ข้อสรุป ชั่วโมงที่ 3-4 3. ขั้นสรุปองค์ความรู้(Knowledge Formation) 3.1 นักเรียนระดมสมองฝึกทำกิจกรรมร่วมกันคิด 1 ระบุว่าสารประกอบอินทรีย์ต่อไปนี้เป็นแอลกอฮอล์ อีเทอร์ หรือฟีนอล


17 3.2 นักเรียนและครูร่วมกันเฉลยกิจกรรมร่วมกันคิด 1 3.3 นักเรียนระดมสมองฝึกทำกิจกรรมร่วมกันคิด 2 บอกได้ว่าสารประกอบอินทรีย์ต่อไปนี้ เป็นแอลดี ไฮด์หรือคีโตน 3.4 นักเรียนและครูร่วมกันเฉลยกิจกรรมร่วมกันคิด 2 ชั่วโมงที่ 5 4. ขั้นการสื่อสารและนำเสนอ (Effective Communication) 4.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรม ปฏิบัติการ ฝึกทำ : ฝึกสร้าง (อ่านงานวิจัย จากตัวอย่าง งานวิจัย เรื่อง การศึกษาสารประกอบฟีนอลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของพืชท้องถิ่นที่คัดเลือก แล้วตอบคำถาม) 4.2 นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันทำกิจกรรม ปฏิบัติการ คิดดี ผลงานดี มีความสุข (ให้นักเรียนแต่ละ กลุ่มศึกษาค้นคว้างานวิจัยเกี่ยวพืชสมุนไพรไทยกับสารฟีนอลพร้อมระบุแหล่งที่มาแล้วบันทึกข้อมูล) 4.3 นำเสนอหน้าชั้นเรียน ชั่วโมงที่ 6 5. ขั้นการบริการสังคมและสาธารณะ (Public Service) 5.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนโครงการสำรวจสารฟีนอลในพืชสมุนไพร ที่นักเรียนสนใจพร้อมระบุ รายละเอียดตามรายละเอียดในชุดกิจกรรม 5.2 นำเสนอหน้าชั้นเรียน 13. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ 12.1สื่อการเรียนรู้ - ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดโยนิโสมนสิการ หน่วยเคมีอินทรีย์ เล่มที่ 3 เรื่องสารประกอบ อินทรีย์ที่มีธาตุออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ ตอนที่ 1 - สื่อ power point 12.2แหล่งเรียนรู้ 1) อินเตอร์เน็ต 2) ห้องสมุด 14. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ ผลการสอน รายละเอียด 1. ด้านความรู้: - การเขียนสูตรทั่วไป สูตรโมเลกุลและสูตร โครงสร้าง ของ แอลกอฮอล์ฟีนอล อีเทอร์ แอลดีไฮด์ คีโตน - การเรียกชื่อของ แอลกอฮอล์ ฟีนอล อีเทอร์ แอลดีไฮด์ คีโตน - สมบัติของ แอลกอฮอล์ ฟีนอล อีเทอร์ แอล ดีไฮด์ คีโตน ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... 2. ด้านกระบวนการ : - ทักษะกระบวนการคิด - ทักษะกระบวนการกลุ่ม ............................................................................................... ............................................................................................... ...............................................................................................


18 3. ด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม อันพึงประสงค์: - มีวินัย - ใฝ่เรียนรู้ - อยู่อย่างพอเพียง - รักความเป็นไทย ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... 4. ปัญหาการสอน ....................................................................... ....................................................................... ....................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... 5. วิธีแก้ปัญหา ....................................................................... ....................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ลงชื่อ........................................ครูผู้สอน ลงชื่อ...........................................หัวหน้ากลุ่มสาระฯ (.นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์..) (นางกณิการ์ พัฒรากุล) ลงชื่อ........................................... (นางวันวิศาข์ ผลหมู่) รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ลงชื่อ ........................................................ (นายสุริยันต์ เหล่ามะลึก) ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม


19 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ที่….1.....เรื่อง.....สารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ ตอนที่ 2...... รายวิชา……..............เคมี…4........ ............รหัสวิชา…..............ว 30224......................ชั้นมัธยมศึกษาปีที่....6..... กลุ่มสาระการเรียนรู้..วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.. ปีการศึกษา… 2566...ภาคเรียนที่..1...เวลา...4..ชั่วโมง…… ผู้สอน.........................นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์......................................................................................... 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้(รายวิชาพื้นฐานมีทั้งมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด รายวิชาเพิ่มเติมมีเฉพาะมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้) 1.1 มาตรฐานการเรียนรู้ สาระเคมี 1 : เข้าใจโครงสร้างอะตอม การจัดเรียงธาตุในตารางธาตุ สมบัติของธาตุ พันธะ เคมีและสมบัติของสาร แก๊สและสมบัติของแก๊ส ประเภทและสมบัติของ สารประกอบอินทรีย์และพอลิเมอร์ รวมทั้งการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 1.2 ผลการเรียนรู้ 6. วิเคราะห์ และเปรียบเทียบจุดเดือดและการละลายในน้ำของสารประกอบอินทรีย์ที่มีหมู่ฟังก์ชัน ขนาดโมเลกุล หรือโครงสร้างต่างกัน 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด (หลอมจากตัวชี้วัดที่ใช้ในหน่วยการเรียนรู้นี้เขียนเป็นแบบความเรียง) สารประกอบอินทรีย์ที่มีคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน เป็นองค์ประกอบ มีหลายชนิด เช่น แอลกอฮอล์ฟีนอล อีเทอร์ แอลดีไฮด์ คีโตน กรดคาร์บอกซิลิก และเอสเทอร์ กรดคาร์บอกซาลิกทำปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์ได้เอสเทอร์กับน้ำ เรียกว่าปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน เอส เทอร์ไม่มีพันธะไฮโดรเจนจุดเดือดจึงต่ำกว่ากรดคาร์บอกซาลิก เมื่อโมเลกุลของเอสเทอร์ใหญ่ขึ้นจุดเดือดจะ เพิ่มขึ้นแต่ความสามารถในการละลายจะลดลงเมื่อเอสเทอร์ทำปฏิกิริยากับน้ำย้อนกลับไปเป็นกรดอะติกกับ แอลกอฮอล์เรียกว่าปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส 3. สาระการเรียนรู้ 3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง/สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม (รายวิชาเพิ่มเติม) - 3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น (ถ้าในคำอธิบายรายวิชาพูดถึงหลักสูตรท้องถิ่นให้ใส่ลงไปด้วย ...............................................................-........................................................................................... 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายและทดสอบปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส และปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชันได้(K) 2. ระบุ ลงความเห็นจากข้อมูล และการจำแนกประเภท จากการทดลองได้(K) 3. ให้ความร่วมมือ มีการทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (A) 4. สืบค้นข้อมูลและนำเสนอตัวอย่างการนำสารประกอบอินทรีย์ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและ อุตสาหกรรม(P) 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี


20 6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์(เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ 7. ด้านคุณลักษณะของผู้เรียนตามหลักสูตรมาตรฐานสากล 1. เป็นเลิศวิชาการ 2. สื่อสารสองภาษา 3. ล้ำหน้าทางความคิด 4. ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ 5. ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก 8. ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 คือการเรียนรู้ 3R X 8C 2L R1 –Reading (อ่านออก) R2-(W) Ringting (เขียนได้) R3- (A) Rithmetics (คิดเลขเป็น) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ไขปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information, and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning) ความมีเมตตา (วินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion) 9. บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1. หลักความพอประมาณ : กำหนดจำนวนสมาชิกในกลุ่มให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในห้องเรียนคือ ประมาณกลุ่มละ 4 – 6 คน 2. หลักความมีเหตุผล : ให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานและเกิดทักษะการปฏิบัติ 3. หลักภูมิคุ้มกัน : ให้นักเรียนเกิดทักษะการทำงานกลุ่ม และกล้าแสดงออก 4. เงื่อนไขความรู้ : การวางแผนงานที่จะทำก่อนแล้วค่อยลงมือทำอย่างระมัดระวัง , เขียนสมการการ เปลี่ยนแปลงจากการทดลอง 5. เงื่อนไขคุณธรรม : อดทนที่จะทำงาน และมีความขยันที่จะทำงานให้ออกมาได้ดีที่สุด , มีวินัยในการทำ แบบฝึกหัด 10. ชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด ผลการ เรียนรู้ ชิ้นงาน ภาระงาน 6 - รายงานการทดลอง เรื่อง ปฏิกิริยาระหว่าง กรดคาร์บอกซิลิกกับแอลกอฮอล์ - รายงานการทดลอง เรื่อง ปฏิกิริยาของเอส เทอร์ - ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กิจกรรมร่วมกันคิด 1 - ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กิจกรรมร่วมกันคิด 2 - ค้นคว้าสืบค้นข้อมูลเรื่องทางด้านวิทยา ศาสตร์ และการประยุกต์ใช้ความรู้ทาง เคมี ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน (นํ้าหอม ทำจากอะไร ?) พร้อมระบุ แหล่งที่มาแล้วบันทึกข้อมูล - ค้นคว้าสืบค้นข้อมูลเรื่องกระบวนการ หมักกับกรดอินทรีย์ พร้อมระบุแหล่งที่มาแล้วบันทึกข้อมูล


21 11. การวัดประเมินผล 11.1การวัดและประเมินผลชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด วิธีการ 1.การสังเกตการณ์ 2.การใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ร่องรอยบ่งชี้ 3.การวัดประเมินการปฏิบัติ เครื่องมือ 1. แบบสังเกตการณ์ 2. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 3. แบบวัดประเมินการปฏิบัติ เกณฑ์ 1.การประเมินผลตามสภาพจริง (Rubrics) 2.การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน ผ่าน 1 รายการถือว่า ไม่ผ่าน 11.2การวัดและประเมินผลระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ประเมินจากแผนการจัดการเรียนรู้ของ หน่วยการเรียนรู้นี้) สิ่งที่ต้องการวัด วิธีวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมิน 1. ความรู้เกี่ยวกับ - การเขียนสูตรทั่วไป สูตร โมเลกุลและสูตร โครงสร้าง ของ กรดคาร์บอกซิลิก และเอส เทอร์ - การเรียกชื่อของ กรดคาร์บอก ซิลิก และเอสเทอร์ - สมบัติของ กรดคาร์บอกซิลิก และเอสเทอร์ -การสอบถาม ซักถาม ความคิดเห็น -การตอบคำถาม -การตรวจผลงาน นักเรียน - แบบประเมินการ อภิปรายแสดงความ คิดเห็น - แบบประเมินการ ตรวจผลงานนักเรียน - นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้คะแนน ประเมินผลงาน 13 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 2.ทักษะกระบวนการคิด และ ทักษะกระบวนการกลุ่ม - การอภิปรายแสดง ความคิดเห็น - สังเกตพฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม - แบบประเมินการ อภิปรายแสดงความ คิดเห็น - แบบประเมิน พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม -นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่า ผ่านเกณฑ์ 3. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และสมรรถนะผู้เรียน - มีวินัยในการทำงานกลุ่ม - นักเรียนเห็นความสำคัญ ของการทำงานร่วมกับผู้อื่นและ การทำงานในระบบกลุ่ม - ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกัน - สังเกตค่านิยมในการ ทำงานร่วมกับผู้อื่น และการทำงานใน ระบบกลุ่ม อภิปราย แสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับผลการ ทดลอง - แบบประเมิน คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ - แบบประเมิน สมรรถนะผู้เรียน -แบบทดสอบ Rubin’s Self - นักเรียนได้คะแนน ประเมินคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ 26 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้คะแนน


22 และกันมีความเสียสละและ อดทน - นักเรียนมีการเห็นคุณค่าใน ตนเอง (Self-esteem) Esteem Scale การประเมินสมรรถนะ 29 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 12. กิจกรรมการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ 1-2 1. ขั้นตั้งประเด็นปัญหา/สมมติฐาน (Hypothesis Formulation) 1.1 ครูให้นักเรียนดูสูตรโครงสร้างของ กรดคาร์บอกซิลิก และเอสเทอร์ ว่ามีส่วนใดบ้างที่เหมือนกันและ ต่างกัน (มีองค์ซิเจนเป็นองค์ประกอบเหมือนกัน ต่างกันที่หมู่อื่นๆที่เป็นองค์ประกอบ) 1.2 ครูสรุปว่าสารทั้ง 2 ชนิดมีกลุ่มอะตอมที่แสดงสมบัติเฉพาะที่เรียกว่า หมู่ฟังก์ชันที่ประกอบด้วย ออกซิเจนเหมือนกัน ซึ่งเราจะศึกษาถึงสมบัติ การเรียกชื่อ และประโยชน์ของกรดคาร์บอกซิลิก และเอสเทอร์ ตามลำดับ 2. ขั้นสืบค้นความรู้(Searching for Information) 2.1 ให้นักเรียนแบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4- 5 คน แต่ละกลุ่มมีนักเรียนเก่ง ปานกลาง อ่อน คละกัน (เตรียมไว้ในคบปฐมนิเทศ) ศึกษาตามรายละเอียดในชุดกิจกรรม การทดลอง เรื่อง ปฏิกิริยาระหว่างกรดคาร์ บอกซิลิกกับแอลกอฮอล์ พร้อมทั้งให้สมาชิกกำหนดหน้าที่กันเองในกลุ่ม เช่น คนที่ 1 อ่านขั้นตอนการทดลองและบอกวิธีการทดลองตามลำดับ คนที่ 2 จัดเตรียมอุปกรณ์รับอุปกรณ์สำหรับการทดลอง คนที่ 3 ดำเนินการทดลอง คนที่ 4 ดำเนินการทดลอง คนที่ 5 บันทึกข้อมูลต่าง ๆ ประกอบการทดลอง ผลการทดลอง อภิปราย สรุปผลการทดลอง 2.2 นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลการทดลองหน้าชั้นเรียน (โดยบันทึกข้อมูลในแบบ บันทึกผลการทดลองรายกลุ่ม เพื่อเปรียบเทียบให้ทุกกลุ่มเห็น) 2.3 ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายถึง (โดยใช้สื่อ power point) การเรียกชื่อและสมบัติบางประการของ แอลกอฮอล์ ฟีนอล อีเทอร์ แอลดีไฮด์ และคีโตน เพื่อให้ได้ข้อสรุป 2.4 ให้นักเรียนแบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4- 5 คน แต่ละกลุ่มมีนักเรียนเก่ง ปานกลาง อ่อน คละกัน (เตรียมไว้ในคบปฐมนิเทศ) ศึกษาตามรายละเอียดในชุดกิจกรรม การทดลอง เรื่อง ปฏิกิริยาของเอสเทอร์พร้อม ทั้งให้สมาชิกกำหนดหน้าที่กันเองในกลุ่ม เช่น คนที่ 1 อ่านขั้นตอนการทดลองและบอกวิธีการทดลองตามลำดับ คนที่ 2 จัดเตรียมอุปกรณ์รับอุปกรณ์ สำหรับการทดลอง คนที่ 3 ดำเนินการทดลอง คนที่ 4 ดำเนินการทดลอง คนที่ 5 บันทึกข้อมูลต่าง ๆ ประกอบการทดลอง ผลการทดลอง อภิปราย สรุปผลการทดลอง 2.5 ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับ การเขียนสูตรทั่วไป สูตรโมเลกุลและสูตร โครงสร้าง ของ การเรียกชื่อและสมบัติของ กรดคาร์บอกซิลิก และเอสเทอร์ ชั่วโมงที่ 3 3. ขั้นสรุปองค์ความรู้(Knowledge Formation)


23 3.1 นักเรียนระดมสมองฝึกทำกิจกรรมร่วมกันคิด 1 และ 2 3.2 นักเรียนและครูร่วมกันเฉลยกิจกรรมร่วมกันคิด 1 และ 2 ชั่วโมงที่ 4 4. ขั้นการสื่อสารและนำเสนอ (Effective Communication) 4.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรม ปฏิบัติการ ฝึกทำ : ฝึกสร้าง (สืบค้นข้อมูล ทางด้านวิทยาศาสตร์ และการประยุกต์ใช้ความรู้ทางเคมี ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน : นํ้าหอม ทำจากอะไร พร้อมระบุ แหล่งที่มาแล้วบันทึกข้อมูล) 4.2 นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันทำกิจกรรม ปฏิบัติการ คิดดี ผลงานดี มีความสุข (ให้นักเรียนแต่ละ กลุ่มศึกษาค้นคว้ากระบวนการหมักกับกรดอินทรีย์พร้อมระบุแหล่งที่มาแล้วบันทึกข้อมูล) 4.3 นำเสนอหน้าชั้นเรียน 5. ขั้นการบริการสังคมและสาธารณะ (Public Service) 5.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนความหมายของการหมัก น้ำหมักชีวภาพ ที่ได้ค้นคว้าพร้อมระบุรายละเอียด ตามรายละเอียดในชุดกิจกรรม 5.2 นำเสนอหน้าชั้นเรียน 13. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ 13.1สื่อการเรียนรู้ - ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดโยนิโสมนสิการ หน่วยเคมีอินทรีย์เล่มที่ 4 เรื่องสารประกอบ อินทรีย์ที่มีธาตุออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ ตอนที่ 2 - สื่อ power point 13.2แหล่งเรียนรู้ 1) อินเตอร์เน็ต 2) ห้องสมุด 14. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ ผลการสอน รายละเอียด 1. ด้านความรู้: - การเขียนสูตรทั่วไป สูตรโมเลกุลและสูตร โครงสร้าง ของ กรดคาร์บอกซิลิก และเอส เทอร์ - การเรียกชื่อของ กรดคาร์บอกซิลิก และเอส เทอร์ - สมบัติของ กรดคาร์บอกซิลิก และเอสเทอร์ ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... 2. ด้านกระบวนการ : - ทักษะกระบวนการคิด - ทักษะกระบวนการกลุ่ม 3. ด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม อันพึงประสงค์: ............................................................................................... ...............................................................................................


24 - มีวินัย - ใฝ่เรียนรู้ - อยู่อย่างพอเพียง - รักความเป็นไทย ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... 4. ปัญหาการสอน ....................................................................... ....................................................................... ....................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... 5. วิธีแก้ปัญหา ....................................................................... ....................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ลงชื่อ........................................ครูผู้สอน ลงชื่อ...........................................หัวหน้ากลุ่มสาระฯ (.นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์..) (นางกณิการ์ พัฒรากุล) ลงชื่อ........................................... (นางวันวิศาข์ ผลหมู่) รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ลงชื่อ ........................................................ (นายสุริยันต์ เหล่ามะลึก) ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม


25 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 หน่วยการเรียนรู้ที่.1..เรื่อง...เคมีอินทรีย์เรื่อง สารประกอบอินทรีย์ที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ...... รายวิชา……..............เคมี…4........ ............รหัสวิชา…..............ว 30224......................ชั้นมัธยมศึกษาปีที่....6..... กลุ่มสาระการเรียนรู้..วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.. ปีการศึกษา… 2566...ภาคเรียนที่..1...เวลา...4..ชั่วโมง…… ผู้สอน.........................นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์......................................................................................... 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้(รายวิชาพื้นฐานมีทั้งมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด รายวิชาเพิ่มเติมมีเฉพาะมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้) 1.1 มาตรฐานการเรียนรู้ สาระเคมี 1 : เข้าใจโครงสร้างอะตอม การจัดเรียงธาตุในตารางธาตุ สมบัติของธาตุ พันธะเคมีและ สมบัติของสาร แก๊สและสมบัติของแก๊ส ประเภทและสมบัติของ สารประกอบอินทรีย์และพอลิเมอร์ รวมทั้งการ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 1.2 ผลการเรียนรู้ 6. วิเคราะห์ และเปรียบเทียบจุดเดือดและการละลายในน้ำของสารประกอบอินทรีย์ที่มีหมู่ฟังก์ชัน ขนาดโมเลกุล หรือโครงสร้างต่างกัน 8 เขียนสมการเคมีและอธิบายการเกิดปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน ปฏิกิริยาการสังเคราะห์เอไมด์ ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส และปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชัน 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด (หลอมจากตัวชี้วัดที่ใช้ในหน่วยการเรียนรู้นี้เขียนเป็นแบบความเรียง) เอมีนเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ ซึ่งเกิดจากหมู่แอริลเข้าแทนที่ไฮโดรเจน ในโมเลกุลของแอมโมเนีย การเรียกชื่อเอมีนขึ้นต้นด้วยจำนวนคาร์บอนอะตอมลงท้ายด้วย –านามีน จุดเดือดต่ำ กว่าแอลกอฮอล์แต่สูงกว่าแอลเคน เพราะเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว และสามารถละลายน้ำได้แล้วได้สมบัติเป็นเบส เมื่อทำปฏิกิริยากับกรดอนินทรีย์ได้เกลือเอมีน ตัวอย่างของเอ มีนได้แก่ มอร์ฟีนในฝิ่น ใช้เป็นยาแก้ปวด โคดิอีนจากฝิ่นใช้เป็นยาแก้ไอ นิโคตินในใบยาสูบใช้ทำบุหรี่ แอมเฟตา มีนใช้ผลิตยาบ้า เอไมด์เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ ซึ่งเกิดจากหมู่อะมิโนเข้าแทนที่หมู่ไฮดร อกซิล การเรียกชื่อเอมีนขึ้นต้นด้วยจำนวนคาร์บอนอะตอมลงท้ายด้วย –านาไมด์ จุดเดือดสูงกว่าเอมีน เพราะ เป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว และสามารถละลายน้ำได้แล้วได้สมบัติเป็นกลาง ตัวอย่างของเอไมด์ได้แก่ อะเซตามิโนเฟน ใช้ทำยาพาราเซตามอลหรือไทลินอล ยูเรียใช้ผลิตปุ๋ยและเป็นวัตถุดิบผลิตพลาสติก 3. สาระการเรียนรู้ 3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง/สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม (รายวิชาเพิ่มเติม) - 3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น (ถ้าในคำอธิบายรายวิชาพูดถึงหลักสูตรท้องถิ่นให้ใส่ลงไปด้วย ...............................................................-........................................................................................... 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ประเภทเอมีนได้(K) 2. ระบุสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของสารประกอบอินทรีย์ประเภทเอมีนได้(K) 3. สืบค้นและนำเสนอประโยชน์และโทษของสารประกอบอินทรีย์ประเภทเอมีนได้(K)


26 4.ให้ความร่วมมือ มีการทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (A) 4. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 5. คุณลักษณะอันพึงประสงค์(เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ 6. ด้านคุณลักษณะของผู้เรียนตามหลักสูตรมาตรฐานสากล 1. เป็นเลิศวิชาการ 2. สื่อสารสองภาษา 3. ล้ำหน้าทางความคิด 4. ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ 5. ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก 7. ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 คือการเรียนรู้ 3R X 8C 2L R1 –Reading (อ่านออก) R2-(W) Ringting (เขียนได้) R3- (A) Rithmetics (คิดเลขเป็น) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ไขปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information, and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning) ความมีเมตตา (วินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion) 8. บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1. หลักความพอประมาณ : กำหนดจำนวนสมาชิกในกลุ่มให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในห้องเรียนคือ ประมาณกลุ่มละ 4 – 6 คน 2. หลักความมีเหตุผล : ให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานและเกิดทักษะการปฏิบัติ 3. หลักภูมิคุ้มกัน : ให้นักเรียนเกิดทักษะการทำงานกลุ่ม และกล้าแสดงออก 4. เงื่อนไขความรู้ : การวางแผนงานที่จะทำก่อนแล้วค่อยลงมือทำอย่างระมัดระวัง , เขียนสมการการ เปลี่ยนแปลงจากการทดลอง 5. เงื่อนไขคุณธรรม : อดทนที่จะทำงาน และมีความขยันที่จะทำงานให้ออกมาได้ดีที่สุด , มีวินัยในการทำ แบบฝึกหัด 9. ชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด ผลการ เรียนรู้ ชิ้นงาน ภาระงาน 6,8,10 - คำขวัญหรือข้อความ พร้อมวาด ภาพประกอบเกี่ยวกับคุณค่าวิถีชีวิตไทยกับ - วิเคราะห์สถานการณ์ผลงานวิจัย และตอบ คำถาม พร้อมระบุแหล่งที่มาแล้วบันทึกข้อมูล


27 การบริโภคของหมักดองอย่างปลอดภัย 10. การวัดประเมินผล 10.1การวัดและประเมินผลชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด วิธีการ 1.การสังเกตการณ์ 2.การใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ร่องรอยบ่งชี้ 3.การวัดประเมินการปฏิบัติ เครื่องมือ 1. แบบสังเกตการณ์ 2. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 3. แบบวัดประเมินการปฏิบัติ เกณฑ์ 1.การประเมินผลตามสภาพจริง (Rubrics) 2.การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน ผ่าน 1 รายการถือว่า ไม่ผ่าน 10.2 การวัดและประเมินผลระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ประเมินจากแผนการจัดการเรียนรู้ของ หน่วยการเรียนรู้นี้) สิ่งที่ต้องการวัด วิธีวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมิน 1. ความรู้เกี่ยวกับ - การเขียนสูตรทั่วไป สูตร โมเลกุลและสูตร โครงสร้าง ของ สารประกอบเอมีน เอไมด์ - การเรียกชื่อของ สารประกอบ เอมีน เอไมด์ - สมบัติของ สารประกอบเอมีน เอไมด์ -การสอบถาม ซักถาม ความคิดเห็น -การตอบคำถาม -การตรวจผลงาน นักเรียน - แบบประเมินการ อภิปรายแสดงความ คิดเห็น - แบบประเมินการ ตรวจผลงานนักเรียน - นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้คะแนน ประเมินผลงาน 13 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 2.ทักษะกระบวนการคิด และ ทักษะกระบวนการกลุ่ม - การอภิปรายแสดง ความคิดเห็น - สังเกตพฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม - แบบประเมินการ อภิปรายแสดงความ คิดเห็น - แบบประเมิน พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม -นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่า ผ่านเกณฑ์ 3. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และสมรรถนะผู้เรียน - มีวินัยในการทำงานกลุ่ม - นักเรียนเห็นความสำคัญ ของการทำงานร่วมกับผู้อื่นและ การทำงานในระบบกลุ่ม - ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกัน - สังเกตค่านิยมในการ ทำงานร่วมกับผู้อื่น และการทำงานใน ระบบกลุ่ม อภิปราย แสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับผลการ ทดลอง - แบบประเมิน คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ - แบบประเมิน สมรรถนะผู้เรียน -แบบทดสอบ Rubin’s Self - นักเรียนได้คะแนน ประเมินคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ 26 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้คะแนน


28 และกันมีความเสียสละและ อดทน - นักเรียนมีการเห็นคุณค่าใน ตนเอง (Self-esteem) Esteem Scale การประเมินสมรรถนะ 29 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 11. กิจกรรมการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ 1-2 1. ขั้นตั้งประเด็นปัญหา/สมมติฐาน (Hypothesis Formulation) 1.1 ครูให้นักเรียนดูสูตรโครงสร้างของ สารประกอบเอมีน เอไมด์ ว่ามีส่วนใดบ้างที่เหมือนกันและ ต่างกัน (มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบเหมือนกัน ต่างกันที่หมู่อื่นๆที่เป็นองค์ประกอบ) 1.2 ครูสรุปว่าสารทั้ง 2 ชนิดมีกลุ่มอะตอมที่แสดงสมบัติเฉพาะที่เรียกว่า หมู่ฟังก์ชันที่ประกอบด้วย ไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบเหมือนกัน ซึ่งเราจะศึกษาถึงสมบัติ การเรียกชื่อ และประโยชน์ของสารประกอบเอ มีน เอไมด์ตามลำดับ 2. ขั้นสืบค้นความรู้(Searching for Information) 2.1 ครูให้นักเรียนดูคลิปวีดีโอเรื่องสารประกอบเอมีน เอไมด์และ ศึกษาตามรายละเอียดในชุดกิจกรรม 3. ขั้นสรุปองค์ความรู้(Knowledge Formation) 3.1 ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายถึง (โดยใช้สื่อ power point) การเรียกชื่อและสมบัติบางประการ ของสารประกอบเอมีน เอไมด์เพื่อให้ได้ข้อสรุป ชั่วโมงที่ 3-4 4. ขั้นการสื่อสารและนำเสนอ (Effective Communication) 4.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรม ปฏิบัติการ ฝึกทำ : ฝึกสร้าง (ผลงานวิจัยนักเรียนโรงเรียนเฉลิม ขวัญ สุดเจ๋ง คว้ารางวัลชนะเลิศระดับภาค แก้ปัญหาข้าวไทย “การศึกษาประสิทธิภาพบรรจุภัณฑ์ข้าวจาก เปลือกหน่อไม้ไผ่ตงด้วยน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรในการไล่แมลงทำลายข้าว”) 4.2 นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันฝึกวิเคราะห์สถานการณ์แล้วตอบคำถาม โดยนักเรียนร่วมกันตั้งคำถาม เกี่ยวกับตัวอย่างงานวิจัยที่หามาเพื่อถามเพื่อนๆ ไม่น้อยกว่าด้านละ 3 ข้อ ดังนี้ 1) ด้านความรู้ทางวิทยาศาสตร์ 2) ด้านปฏิบัติการและทักษะทางวิทยาศาสตร์ 3) ด้านค่านิยมต่อภูมิปัญญาไทยทางวิทยาศาสตร์ 4.3 นำเสนอหน้าชั้นเรียน 5. ขั้นการบริการสังคมและสาธารณะ (Public Service) 5.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มการศึกษาบทบาทของเชื้อจุลินทรีย์ต่อการสร้างสารประกอบเอมีนที่พบใน กระบวนการหมักแหนม และการสลายสารประกอบเอมีนโดยแลคติคแอซิดแบคทีเรีย ที่ได้ค้นคว้าพร้อมระบุ รายละเอียดตามรายละเอียดในชุดกิจกรรม 5.2 นำเสนอหน้าชั้นเรียน 12. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ 12.1สื่อการเรียนรู้ - ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดโยนิโสมนสิการ หน่วยเคมีอินทรีย์ เล่มที่ 5 เรื่องสารประกอบ อินทรีย์ที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ - สื่อ power point


29 12.2แหล่งเรียนรู้ 1) อินเตอร์เน็ต 2) ห้องสมุด 13. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ ผลการสอน รายละเอียด 1. ด้านความรู้: - การเขียนสูตรทั่วไป สูตรโมเลกุลและสูตร โครงสร้าง ของ สารประกอบเอมีน เอไมด์ - การเรียกชื่อของ สารประกอบเอมีน เอไมด์ - สมบัติของ สารประกอบเอมีน เอไมด์ ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... 2. ด้านกระบวนการ : - ทักษะกระบวนการคิด - ทักษะกระบวนการกลุ่ม ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... 3. ด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม อันพึงประสงค์: - มีวินัย - ใฝ่เรียนรู้ - อยู่อย่างพอเพียง - รักความเป็นไทย ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... 4. ปัญหาการสอน ....................................................................... ....................................................................... ....................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... 5. วิธีแก้ปัญหา ....................................................................... ....................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ลงชื่อ........................................ครูผู้สอน ลงชื่อ...........................................หัวหน้ากลุ่มสาระฯ (.นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์..) (นางกณิการ์ พัฒรากุล) ลงชื่อ........................................... (นางวันวิศาข์ ผลหมู่) รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ลงชื่อ ........................................................ (นายสุริยันต์ เหล่ามะลึก) ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม


30 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 หน่วยการเรียนรู้ที่……….….2……….....เรื่อง……….พอลิเมอร์…………..(การเกิดพอลิเมอร์)..................................... รายวิชา……..............เคมี…4........ ............รหัสวิชา…..............ว 30224......................ชั้นมัธยมศึกษาปีที่....6..... กลุ่มสาระการเรียนรู้..วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.. ปีการศึกษา… 2566...ภาคเรียนที่..1...เวลา...4..ชั่วโมง…… ผู้สอน.........................นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์......................................................................................... 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้(รายวิชาพื้นฐานมีทั้งมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด รายวิชาเพิ่มเติมมีเฉพาะมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้) 1.1 มาตรฐานการเรียนรู้ สาระเคมี1 : เข้าใจโครงสร้างอะตอม การจัดเรียงธาตุในตารางธาตุ สมบัติของธาตุ พันธะเคมีและ สมบัติของสาร แก๊สและสมบัติของแก๊ส ประเภทและสมบัติของ สารประกอบอินทรีย์และพอลิเมอร์ รวมทั้งการ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 1.2 ผลการเรียนรู้ 11. ระบุประเภทของปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์จากโครงสร้างของมอนอเมอร์หรือพอลิเมอร์ 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด (หลอมจากตัวชี้วัดที่ใช้ในหน่วยการเรียนรู้นี้เขียนเป็นแบบความเรียง) พอลิเมอร์เป็นสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ ได้จากปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์ของโมเลกุลขนาดเล็กที่ เรียกว่า มอนอเมอร์ สมบัติทางกายภาพของพอลิเมอร์จึงต่างจากมอนอเมอร์ที่เป็นสารตั้งต้น พอลิเมอร์มีทั้งพอ ลิเมอร์ธรรมชาติและพอลิเมอร์สังเคราะห์ พอลิเมอร์อาจเกิดจากปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์แบบเติมหรือแบบ ควบแน่น ขึ้นอยู่กับหมู่ฟังก์ชันที่ทำปฏิกิริยา 3. สาระการเรียนรู้ 3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง/สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม (รายวิชาเพิ่มเติม) พอลิเมอร์เป็นสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ซึ่งประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า มอนอเมอร์เชื่อมต่อกัน ด้วยพันธะโคเวเลนต์ โดยมีทั้งพอลิเมอร์ธรรมชาติและพอลิเมอร์สังเคราะห์ปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์ อาจเป็น ปฏิกิริยาแบบควบแน่นหรือปฏิกิริยาแบบเติม ขึ้นอยู่กับหมู่ฟังก์ชันและโครงสร้างของมอนอเมอร์ 3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น (ถ้าในคำอธิบายรายวิชาพูดถึงหลักสูตรท้องถิ่นให้ใส่ลงไปด้วย ...............................................................-........................................................................................... 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. ระบุมอนอเมอร์ของพอลิเมอร์ได้(K) 2. เขียนประเภทของปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์จากโครงสร้างของมอนอเมอร์หรือพอลิเมอร์ได้(P) 3. ใช้วิจารณญาณและความใจกว้าง จากการร่วมอภิปรายได้(A) 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์(เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน


31 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ 7. ด้านคุณลักษณะของผู้เรียนตามหลักสูตรมาตรฐานสากล 1. เป็นเลิศวิชาการ 2. สื่อสารสองภาษา 3. ล้ำหน้าทางความคิด 4. ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ 5. ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก 8. ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 คือการเรียนรู้ 3R X 8C 2L R1 –Reading (อ่านออก) R2-(W) Ringting (เขียนได้) R3- (A) Rithmetics (คิดเลขเป็น) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ไขปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information, and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning) ความมีเมตตา (วินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion) 9. บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1. หลักความพอประมาณ : กำหนดจำนวนสมาชิกในกลุ่มให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในห้องเรียนคือ ประมาณกลุ่มละ 4 – 6 คน 2. หลักความมีเหตุผล : ให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานและเกิดทักษะการปฏิบัติ 3. หลักภูมิคุ้มกัน : ให้นักเรียนเกิดทักษะการทำงานกลุ่ม และกล้าแสดงออก 4. เงื่อนไขความรู้ : การวางแผนงานที่จะทำก่อนแล้วค่อยลงมือทำอย่างระมัดระวัง , เขียนสมการการ เปลี่ยนแปลงจากการทดลอง 5. เงื่อนไขคุณธรรม : อดทนที่จะทำงาน และมีความขยันที่จะทำงานให้ออกมาได้ดีที่สุด , มีวินัยในการทำ แบบฝึกหัด 10. ชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด ผลการ เรียนรู้ ชิ้นงาน ภาระงาน 11 - - ตอบคำถามเกี่ยวกับความหมายของมอนอเมอร์และพอลิ เมอร์ - ตอบคำถามเกี่ยวกับประเภทของปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์ 11. การวัดประเมินผล 11.1การวัดและประเมินผลชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด วิธีการ 1.การสังเกตการณ์ 2.การใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ร่องรอยบ่งชี้ 3.การวัดประเมินการปฏิบัติ เครื่องมือ 1. แบบสังเกตการณ์ 2. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 3. แบบวัดประเมินการปฏิบัติ


32 เกณฑ์ 1.การประเมินผลตามสภาพจริง (Rubrics) 2.การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน ผ่าน 1 รายการถือว่า ไม่ผ่าน 11.2การวัดและประเมินผลระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ประเมินจากแผนการจัดการเรียนรู้ของ หน่วยการเรียนรู้นี้) สิ่งที่ต้องการวัด วิธีวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมิน 1. ความรู้เกี่ยวกับ - ความหมายของมอนอ เมอร์และพอลิเมอร์ ประเภทของปฏิกิริยาการ เกิดพอลิเมอร์ -การสอบถาม ซักถาม ความ คิดเห็น -การตอบคำถาม -การตรวจผลงาน นักเรียน - แบบประเมินการ อภิปรายแสดงความ คิดเห็น - แบบประเมินการ ตรวจผลงานนักเรียน - นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อย ละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ -นักเรียนได้คะแนน ประ เมิน ผลงาน 13 คะแนนขึ้นไป หรือร้อย ละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 2.ทักษะกระบวนการคิด และทักษะกระบวนการ กลุ่ม - การอภิปราย แสดงความคิดเห็น - สังเกตพฤติกรรม การทำงานกลุ่ม - แบบประเมินการ อภิปรายแสดงความ คิดเห็น - แบบประเมิน พฤติกรรมการทำงาน กลุ่ม -นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 3. คุณลักษณะที่พึง ประสงค์ และสมรรถนะผู้เรียน - มีวินัยในการทำงาน กลุ่ม - นักเรียนเห็น ความสำคัญของการ ทำงานร่วมกับผู้อื่นและ การทำงานในระบบกลุ่ม - ยอมรับความคิดเห็น ซึ่งกันและกันมีความ เสียสละและอดทน - นักเรียนมีการเห็น คุณค่าในตนเอง (Selfesteem) - สังเกตค่านิยมใน การทำงานร่วมกับ ผู้อื่นและการทำงาน ในระบบกลุ่ม อภิปราย แสดง ความคิดเห็น เกี่ยวกับผลการ ทดลอง - แบบประเมิน คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ - แบบประเมิน สมรรถนะผู้เรียน -แบบทดสอบ Rubin’s Self Esteem Scale - นักเรียนได้คะแนน ประเมินคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ 26 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้คะแนน การประเมินสมรรถนะ 29 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 12. กิจกรรมการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ 1 1. ขั้นตั้งประเด็นปัญหา/สมมติฐาน (Hypothesis Formulation)


33 1.1 ครูให้นักเรียนยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ที่รู้จัก ซึ่งส่วนใหญ่น่าจะเป็นพลาสติก จากนั้นอธิบายว่า ผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ที่พบเห็นส่วนใหญ่เป็นพลาสติก แต่บางชนิดอาจไม่เป็นพลาสติก เช่นยาง กาว เจล จากนั้น อธิบายความหมายของพอลิเมอร์และมอนอเมอร์ ตามรายละเอียดในชุดกิจกรรม 1.2 ครูยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์สังเคราะห์และพอลิเมอร์ธรรมชาติตามรายละเอียดในชุดกิจกรรม 1.3 ครูอธิบายว่า พอลิเมอร์และมอนอเมอร์มีสมบัติทางกายภาพบางประการที่แตกต่างกันเช่น สถานะ จุด หลอมเหลว สภาพการละลายได้ในน้ำ 1.4 ครูใช้คำถามนำว่า มอนอเมอร์เกิดเป็นพอลิเมอร์ได้อย่างไร จากนั้นครูให้ความรู้เกี่ยวกับความหมาย และการแบ่งประเภทของปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์ 1.5 ครูอธิบายปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์แบบเติมเชื่อมโยงกับปฏิกิริยาการเติมของแอลคีนโดยยกตัว อย่างปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์แบบเติมของเอทิลีน ตามรายละเอียดในชุดกิจกรรม จากนั้นให้นักเรียน พิจารณาตัวอย่างพอลิเมอร์ที่เตรียมจากปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์แบบเติม และการเรียกชื่อมอนอเมอร์และพอ ลิเมอร์ตามรายละเอียดในชุดกิจกรรม ชั่วโมงที่ 2 2. ขั้นสืบค้นความรู้(Searching for Information) 2.1 สมาชิกกลุ่มร่วมกันค้นเรื่อง พอลิเมอร์ที่ได้จากปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์แบบเติม มีสมบัติและ นำไปใช้เป็นผลิตภัณฑ์ที่พบในชีวิตประจำมีอะไรบ้าง 2.2 ให้ตัวแทนกลุ่มออกมาเล่าถึงสิ่งที่ค้นพบ ครูอธิบายเพิ่มเติมว่าปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์แบบ ควบแน่นเชื่อมโยงกับปฏิกิริยาการเกิดเอไมด์โดยใช้ตัวอย่างปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์ของไนลอน 6,6 ตาม รายละเอียดในชุดกิจกรรม 2.3 ให้แต่ละกลุ่ม พิจารณาตัวอย่างพอลิเอสเทอร์และพอลิเอไมด์ที่เตรียมจากปฏิกิริยาการเกิดพอลิ เมอร์แบบควบแน่นตามรายละเอียดในชุดกิจกรรม ชั่วโมงที่ 4 3. ขั้นสรุปองค์ความรู้(Knowledge Formation) - ใช้เทคนิคการสอนแบบ ระดมสมอง (Brainstorming) 3.1 ให้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูล และถ่ายทอดความรู้ให้เพื่อนในกลุ่ม 3.2 ครูชี้ให้เห็นว่า พอลิเมอร์ที่ได้จากปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์แบบควบแน่น มีสมบัติและนำไปใช้ เป็นผลิตภัณฑ์ที่พบในชีวิตประจำวันได้หลากหลาย 4. ขั้นการสื่อสารและนำเสนอ (Effective Communication) 4.1 ครูให้นักเรียนตอบคำถามชวนคิด เพื่อให้ได้ข้อสรุปดังนี้ แอซิดคลอไรด์ (acid chloride) มีหมู่ฟังก์ชันเป็น COCl และมีความว่องไวในการเกิด ปฏิกิริยาเคมี สามารถใช้แทนกรดคาร์บอกซิลิกในการสังเคราะห์พอลิเอไมด์ เช่นเคฟลาร์ (Kevlar) ซึ่งเป็นพอลิเมอร์ที่ใช้ทำเส้นใยที่มีความเหนียว และทนความร้อนสูงนำไปทำเสื้อกันกระสุน เขียนโครงสร้างเคฟลาร์และผลิตภัณฑ์พลอยได้จากปฏิกิริยาเคมีต่อไปนี้ 5. ขั้นการบริการสังคมและสาธารณะ (Public Service)


34 5.1 ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด เพื่อทบทวนความรู้และเฉลยร่วมกัน 13. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ 12.1สื่อการเรียนรู้ - ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดโยนิโสมนสิการ เรื่องพอลิเมอร์ ตอนที่ 1 - สื่อ power point 12.2แหล่งเรียนรู้ 1) อินเตอร์เน็ต 2) ห้องสมุด 14. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ ผลการสอน รายละเอียด 1. ด้านความรู้: - ความหมายของมอนอเมอร์และพอลิเมอร์ ประเภทของปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์ ............................................................................................... ............................................................................................... .............................................................................................. 2. ด้านกระบวนการ : - ทักษะกระบวนการคิด - ทักษะกระบวนการกลุ่ม ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... 3. ด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม อันพึงประสงค์: - มีวินัย - ใฝ่เรียนรู้ - อยู่อย่างพอเพียง - รักความเป็นไทย ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... 4. ปัญหาการสอน ....................................................................... ....................................................................... ....................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... 5. วิธีแก้ปัญหา ....................................................................... ....................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ............................................................................................... ลงชื่อ........................................ครูผู้สอน ลงชื่อ...........................................หัวหน้ากลุ่มสาระฯ (.นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์..) (นางกณิการ์ พัฒรากุล) ลงชื่อ........................................... (นางวันวิศาข์ ผลหมู่) รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ลงชื่อ ........................................................ (นายสุริยันต์ เหล่ามะลึก) ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม


35 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 หน่วยการเรียนรู้ที่………..2……….....เรื่อง……….พอลิเมอร์…..(โครงสร้างและสมบัติของพอลิเมอร์)....................... รายวิชา……..............เคมี…4........ ............รหัสวิชา…..............ว 30224......................ชั้นมัธยมศึกษาปีที่....6..... กลุ่มสาระการเรียนรู้..วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.. ปีการศึกษา… 2566...ภาคเรียนที่..1...เวลา...6..ชั่วโมง…… ผู้สอน.........................นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์......................................................................................... 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้(รายวิชาพื้นฐานมีทั้งมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด รายวิชาเพิ่มเติมมีเฉพาะมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้) 1.1 มาตรฐานการเรียนรู้ สาระเคมี 1 : เข้าใจโครงสร้างอะตอม การจัดเรียงธาตุในตารางธาตุ สมบัติของธาตุ พันธะเคมีและ สมบัติของสาร แก๊สและสมบัติของแก๊ส ประเภทและสมบัติของ สารประกอบอินทรีย์และพอลิเมอร์ รวมทั้งการ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 1.2 ผลการเรียนรู้ 12. วิเคราะห์ และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและสมบัติของพอลิเมอร์ รวมทั้ง การนำ ไปใช้ประโยชน์ 13. ทดสอบ และระบุประเภทของพลาสติกและผลิตภัณฑ์ยาง รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์ 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด (หลอมจากตัวชี้วัดที่ใช้ในหน่วยการเรียนรู้นี้เขียนเป็นแบบความเรียง) พอลิเมอร์อาจมีโครงสร้างเป็นแบบเส้น แบบกิ่ง แบบร่างแห ทั้งนี้ขึ้นกับลักษณะการเชื่อมต่อกันของ มอนอเมอร์ ซึ่งส่งผลตอ่ สมบัติของพอลิเมอร์เมอร์ และการนำไปใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันโดย พอลิเมอร์เทอร์มอพลาสติกมีโครงสร้างเป็นแบบเส้นหรือแบบกิ่ง เป็นพอลิเมอร์ที่สามารถนำมาหลอมขึ้นรูปใหม่ ได้ สำหรับพอลิเมอร์เทอร์มอเซตส่วนใหญ่มีโครงสร้างแบบร่างแห เป็นพอลิเมอร์ที่ไม่หลอมเหลวเมื่อได้รับความ ร้อน แต่เกิดการสลายตัวหรือไหม้เมื่อได้รับความร้อนสูงจึงไม่สามารถนำมาหลอมขึ้นรูปใหม่ได้ 3. สาระการเรียนรู้ 3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง/สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม (รายวิชาเพิ่มเติม) พอลิเมอร์มีโครงสร้างต่างกันอาจเป็นโครงสร้างแบบเส้น แบบกิ่ง หรือแบบร่างแห ขึ้นอยู่กับชนิด ของมอนอเมอร์และภาวะของปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์ ซึ่งโครงสร้างของพอลิเมอร์ส่งผลต่อจุดหลอมเหลว ความหนาแน่น ความเปราะความเหนียว ความยืดหยุ่น จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย 3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น (ถ้าในคำอธิบายรายวิชาพูดถึงหลักสูตรท้องถิ่นให้ใส่ลงไปด้วย ...............................................................-........................................................................................... 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายผลของการปรับปรุงสมบัติของพอลิเมอร์โดยการเติมสารเติมแต่ง การปรับเปลี่ยนโครงสร้าง ของพอลิเมอร์ การสังเคราะห์โคพอลิเมอร์ และการสังเคราะห์พอลิเมอร์นำไฟฟ้า(K) 2. เปรียบเทียบสมบัติของโคพอลิเมอร์กับโฮโมพอลิเมอร์และโคพอลิเมอร์แบบสลับกับแบบบล็อก(K) 3. เกิดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา ในการทำกิจกรรม(P) 4. เห็นคุณค่าของการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน(A) 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต


Click to View FlipBook Version