The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หลักสูตรรายวิชาและแผนการจัดการเรียนรู้ว21101

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Anocha Utumsakulrat, 2024-05-14 03:33:07

หลักสูตรรายวิชาและแผนการจัดการเรียนรู้ว21101

หลักสูตรรายวิชาและแผนการจัดการเรียนรู้ว21101

หลักสูตรรายวิชา (Course Development) รหัสวิชา ว21101 รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี1 จำนวน 1.5 หน่วยกิต 3 คาบ/ สัปดาห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จัดทำโดย นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์ ตำแหน่ง ครูวิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ


คำนำ หลักสูตรรายวิชาฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเตรียมการในการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี1 รหัสวิชา ว 21101 โดยครูผู้สอนได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตามสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ และจัดทำคำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา กำหนดเวลาเรียน น้ำหนักคะแนน กำหนดทักษะกระบวนการในการเรียนการสอนตลอดจน การวัดและประเมินผลการเรียนการสอนของครู ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้และยกระดับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของผู้เรียนโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 ต่อไป นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์ ชื่อผู้จัดทำ


สารบัญ หน้า คำนำ 1. หลักการและจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 1 หลักการ 1 จุดหมาย 1 2. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 2 3. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 2 4. วิสัยทัศน์ของโรงเรียน 3 พันธกิจ 3 เป้าประสงค์ 3 5. การกำหนดโครงการสอน 3 คำอธิบายรายวิชา (ดูรายละเอียดจากหลักสูตร) 4 สาระ/มาตรฐาน/ตัวชี้วัด (แกนกลาง) 4 มาตรฐานการเรียนรู้ (ดูรายละเอียดจากหลักสูตร) 4 ตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ (ดูรายละเอียดจากหลักสูตร) 5 6. ตารางโครงสร้างรายวิชา 6 7. การกำหนดโครงการสอนและกิจกรรมตลอดภาคเรียน 8 8. แผนการวัดผลและภาระงาน 8 แนวการวัดผล 8 แผนการวัดผล 9 การกำหนดภาระงานนักเรียน 9


1 1. หลักการและจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มี ความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการ ปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจต คติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบน พื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ หลักการ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหลักการที่สำคัญ ดังนี้ 1. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ เป็น เป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทย ควบคู่กับความเป็นสากล 2. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมี คุณภาพ 3. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ให้ สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น 4. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัด การเรียนรู้ 5. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 6. เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ครอบคลุมทุก กลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์ จุดหมาย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อจบ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้ 1. มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตาม หลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต 3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย 4. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครอง ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิต สาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข


2 2. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้ 1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษา ถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและ ประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลด ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการ เลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม 2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่าง สร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศ เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เผชิญได้ อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการ เปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่างๆ ไปใช้ในการ ดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคม ด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่างๆ อย่างเหมาะสม การ ปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่างๆ และมี ทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การ แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม 3. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้ 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ


3 4. วิสัยทัศน์ของโรงเรียน โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียน บนพื้นฐานความหลากหลาย สู่เป้าหมายการเป็น องค์กรนวัตกรรม พันธกิจ 1) จัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้ดำรงชีวิตตามนวัตกรรมตามความถนัด มีทักษะ อาชีพและทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีพ ตามหลักสัปปายนวัตวิถี 2) พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นมืออาชีพ มีสมรรถนะด้านภาษา การใช้เทคโนโลยี ดิจิทัล และมีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ 3) การบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน ใน การพัฒนาการศึกษา 4) จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ และการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 5) จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้สถานศึกษาเป็นพื้นที่ปลอดภัย เพื่อ มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป้าประสงค์ 1) ผู้เรียนมีความรักในสถาบันหลักของสังคม และสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครอง ระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความเป็นพลเมืองดีของชาติและพลโลกที่ดี 2) ผู้เรียนที่มีทักษะชีวิต รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง มีภูมิคุ้มกันต่อสถานการณ์ความมั่นคง และภัยพิบัติ ใหม่ 3) ผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพตามแนวทางพหุปัญญา เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นนักนวัตกร มีสมรรถนะและทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 นำไปสู่การสร้าง ความสามารถ ในการแข่งขัน 5. การกำหนดโครงการสอน/คำอธิบายรายวิชา โครงการสอนรายวิชา รหัสวิชา.... ว 21101 ...รายวิชา....วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี..1....... จำนวน....1.5.... หน่วยกิต ....3..... คาบ/ สัปดาห์ภาคเรียนที่ ...1... ปีการศึกษา …2567….. สาระ/มาตรฐาน/ตัวชี้วัด (แกนกลาง) สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ


4 มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิตหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตการลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่างๆของสัตว์และมนุษย์ที่ทำงานสัมพันธ์กันความสัมพันธ์ของ โครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะต่างๆของพืชที่ทางานสัมพันธ์กัน รวมทั้งนาความรู้ไปใช้ประโยชน์ สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสมบัติของสสารองค์ประกอบของสสารความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสสารกับ โครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคหลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสารการเกิด สารละลายและการเกิดปฏิกิริยาเคมี สาระที่ 4 เทคโนโลยี มาตรฐาน ว 4.1 เข้าใจแนวคิดหลักของเทคโนโลยีเพื่อการดารงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว ใช้ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน อย่างมีความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมโดย คำนึงถึงผลกระทบต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็น ขั้นตอนและเป็นระบบใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้การทางานและการแก้ปัญหาได้ อย่างมีประสิทธิภาพรู้เท่าทันและมีจริยธรรม คำอธิบายรายวิชา (ดูรายละเอียดจากหลักสูตร) การศึกษาวิเคราะห์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สมบัติของสารบริสุทธิ์ การจำแนกและองค์ประกอบ ของสารบริสุทธิ์ เซลล์ โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ การลำเลียงสารเข้าออกจากเซลล์ การสืบพันธุ์และขยายพันธุ์พืช ดอก การสังเคราะห์ด้วยแสง กรลำเลียงน้ำ ธาตุอาหาร และอาหารของพืช ทั้งนี้โดยใช้ โดยใช้การสืบเสาะหา ความรู้ การสำรวจตรวจสอบ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การ สืบค้นข้อมูลและการอภิปราย และวิเคราะห์สาเหตุหรือปัจจัยที่ส่งผลต่อ ปัญหาหรือความต้องการ รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง กับปัญหา ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา โดยวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และ ตัดสินใจเลือกข้อมูลที่ จำเป็น นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจ วางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา ทดสอบ ประเมินผล และระบุข้อบกพร่อง ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งหำแนวทางการปรับปรุงแก้ไข เพื่อแก้ปัญหา และ ใช้เทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัย เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการ ตัดสินใจ การแก้ปัญหา การนาความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่ำ นิยมที่เหมาะสม มาตรฐานการเรียนรู้ (ดูรายละเอียดจากหลักสูตร) สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสัตว์และมนุษย์ที่ทำงานสัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์ ของโครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ของพืชที่ทางานสัมพันธ์กัน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ


5 มาตรฐาน ว 2.1เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสสารกับ โครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค หลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร การเกิด สารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี ตัวชี้วัด หรือผลการเรียนรู้ (ดูรายละเอียดจากหลักสูตร) ว 1.2 ม.1/1 เปรียบเทียบรูปร่าง ลักษณะ และโครงสร้างของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ รวมทั้งบรรยายหน้าที่ของ ผนังเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาซึม นิวเคลียส แวคิวโอล ไมโทคอนเดรีย และคลอโรพลาสต์ ว 1.2 ม.1/2 ใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงศึกษาเซลล์ และโครงสร้างต่าง ๆ ภายในเซลล์ ว 1.2 ม.1/3 อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่าง กับการทำหน้าที่ของเซลล์ ว 1.2 ม.1/4 อธิบายการจัดระบบของสิ่งมีชีวิต โดยเริ่มจากเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ ระบบอวัยวะ จนเป็น สิ่งมีชีวิต ว 1.2 ม.1/5 อธิบายกระบวนการแพร่และออสโมซิสจากหลักฐานเชิงประจักษ์ และยกตัวอย่างการแพร่ และ ออสโมซิสในชีวิตประจำวัน ว 1.2 ม.1/6 ระบุปัจจัยที่จำเป็นในการสังเคราะห์ด้วยแสงและผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์ด้วยแสง โดย ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ว 1.2 ม.1/7 อธิบายความสำคัญของการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ว 1.2 ม.1/8 ตระหนักในคุณค่าของพืชที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยการร่วมกันปลูกและดูแลรักษา ต้นไม้ในโรงเรียนและชุมชน ว 1.2 ม.1/9 บรรยายลักษณะและหน้าที่ของไซเล็มและโฟลเอ็ม ว 1.2 ม.1/10 เขียนแผนภาพที่บรรยายทิศทางการลำเลียงสารในไซเล็ม และโฟลเอ็มของพืช ว 1.2 ม.1/11 อธิบายการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ และไม่อาศัยเพศของพืชดอก ว 1.2 ม.1/12 อธิบายลักษณะโครงสร้างของดอกที่มีส่วนทำให้เกิดการถ่ายเรณู รวมทั้งบรรยาย การปฏิสนธิ ของพืชดอก การเกิดผลและเมล็ด การกระจายเมล็ด และการงอกของเมล็ด ว 1.2 ม.1/13 ตระหนักถึงความสำคัญของสัตว์ที่ช่วยในการถ่ายเรณูของพืชดอก โดยการไม่ทำลายชีวิตของ สัตว์ที่ช่วยในการถ่ายเรณู ว 1.2 ม.1/14 อธิบายความสำคัญของธาตุอาหารบางชนิดที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของพืช ว 1.2 ม.1/15 เลือกใช้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารเหมาะสมกับพืชในสถานการณ์ที่กำหนด ว 1.2 ม.1/16 เลือกวิธีการขยายพันธุ์พืชให้เหมาะสมกับความต้องการของมนุษย์ โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับการ สืบพันธุ์ของพืช ว 1.2 ม.1/17 อธิบายความสำคัญของเทคโนโลยี การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชในการใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ ว 1.2 ม.1/18 ตระหนักถึงประโยชน์ของการขยายพันธุ์พืช โดยการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ว 2.1 ม.1/1 อธิบายสมบัติทางกายภาพบางประการของธาตุโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ โดยใช้หลักฐานเชิง ประจักษ์ที่ได้จากการสังเกตและการทดสอบ และใช้สารสนเทศที่ได้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งจัดกลุ่มธาตุเป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ ว 2.1 ม.1/2 วิเคราะห์ผลจากการใช้ธาตุโลหะ อโลหะ กึ่งโลหะ และธาตุกัมมันตรังสี ที่มีต่อสิ่งมีชีวิต สิ่งแวดล้อมเศรษฐกิจและสังคม จากข้อมูลที่รวบรวมได้ ว 2.1 ม.1/3 ตระหนักถึงคุณค่าของการใช้ธาตุโลหะ อโลหะ กึ่งโลหะ ธาตุกัมมันตรังสี โดยเสนอแนวทางการใช้ ธาตุอย่างปลอดภัย คุ้มค่า ว 2.1 ม.1/4 เปรียบเทียบจุดเดือด จุดหลอมเหลวของสารบริสุทธิ์และสารผสม โดยการวัดอุณหภูมิ เขียนกราฟ


6 แปลความหมายข้อมูลจากกราฟ หรือสารสนเทศ ว 2.1 ม.1/5 อธิบายและเปรียบเทียบความหนาแน่นของสารบริสุทธิ์และสารผสม ว 2.1 ม.1/6 ใช้เครื่องมือเพื่อวัดมวลและปริมาตรของสารบริสุทธิ์และสารผสม ว 2.1 ม.1/7 อธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอะตอม ธาตุ และสารประกอบ โดยใช้แบบจำลองและ สารสนเทศ ว 2.1 ม.1/8 อธิบายโครงสร้างอะตอมที่ประกอบด้วยโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน โดยใช้แบบจำลอง ว 2.1 ม.1/9 อธิบายและเปรียบเทียบการจัดเรียงอนุภาค แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค และการเคลื่อนที่ของ อนุภาคของสสารชนิดเดียวกันในสถานะของแข็ง ของเหลว และแก๊ส โดยใช้แบบจำลอง ว 2.1 ม.1/10 อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะของสสาร โดยใช้หลักฐาน เชิงประจักษ์และแบบจำลอง ว 4.1 ม.1/2 ระบุปัญหาหรือความต้องการในชีวิตประจำวัน รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง กับปัญหา ว 4.1 ม.1/3 ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกข้อมูลที่จำเป็น นำเสนอ แนวทางการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจ วางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา ว 4.1 ม.1/4 ทดสอบ ประเมินผล และระบุข้อบกพร่อง ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไข และ นำเสนอผลการแก้ปัญหา ว 4.2 ม.1/3 รวบรวมข้อมูลปฐมภูมิประมวลผล ประเมินผล นำเสนอข้อมูล และสารสนเทศตามวัตถุประสงค์ โดยใช้ซอฟต์แวร์หรือบริการบนอินเทอร์เน็ตที่หลากหลาย ว 4.2 ม.1/4 ใช้เทคโนโลยีในการสร้าง จัดเก็บ เรียกใช้ข้อมูล ตามวัตถุประสงค์ รวมตัวชี้วัด 33 ตัวชี้วัด รหัสตัวชี้วัดระหว่างทาง จำนวน 19 ตัวชี้วัด ว 1.2 ม.1/2 ว 1.2 ม.1/4 ว 1.2 ม.1/6 ว 1.2 ม.1/7 ว 1.2 ม.1/10 ว 1.2 ม.1/11 ว 1.2 ม.1/12 ว 1.2 ม.1/13 ว 1.2 ม.1/14 ว 1.2 ม.1/16 ว 1.2 ม.1/17 ว 2.1 ม.1/1 ว 2.1 ม.1/2 ว 2.1 ม.1/6 ว 2.1 ม.1/8 ว 2.1 ม.1/9 ว 4.1 ม.1/2 ว 4.1 ม.1/3 ว 4.1 ม.1/4 รหัสตัวชี้วัดปลายทาง จำนวน 14 ตัวชี้วัด ว 1.2 ม.1/1 ว 1.2 ม.1/3 ว 1.2 ม.1/5 ว 1.2 ม.1/8 ว 1.2 ม.1/9 ว 1.2 ม.1/15 ว 1.2 ม.1/18 ว 2.1 ม.1/3 ว 2.1 ม.1/4 ว 2.1 ม.1/5 ว 2.1 ม.1/7 ว 2.1 ม.1/10 ว 4.2 ม.1/3 ว 4.2 ม.1/4 6. ตารางโครงสร้างรายวิชา ชื่อหน่วย การเรียน รหัสตัวชี้วัด ระหว่างทาง วัดและ ประเมินผล ระหว่างทาง รหัสตัวชี้วัด ปลายทาง วิธีวัดและประเมินผล ปลายทาง (ชิ้นงาน/ภาระงาน) เวลา (ชั่วโมง) น้ำหนัก คะแนน


7 หน่วยที่ 1 เรียนรู้ วิทยาศาสตร์ อย่างไร ว 4.1 ม.1/2 ว 4.1 ม.1/3 ว 4.1 ม.1/4 -ตอบคำถาม -ชุดกิจกรรม / แบบฝึกหัด/ใบ งาน -กิจกรรม/การ ทดลอง ว 4.2 ม.1/3 ว 4.2 ม.1/4 -แบบทดสอบประจำหน่วย -ชุดกิจกรรม / ใบกิจกรรม / แบบฝึกหัด/ชิ้นงาน /การ นำเสนอหน้าชั้นเรียน 9 5 5 หน่วยที่ 2 สารบริสุทธิ์ ว 2.1 ม.1/1 ว 2.1 ม.1/2 ว 2.1 ม.1/6 ว 2.1 ม.1/8 ว 2.1 ม.1/9 -ตอบคำถาม -ชุดกิจกรรม / แบบฝึกหัด/ใบ งาน -กิจกรรม/การ ทดลอง ว 2.1 ม.1/3 ว 2.1 ม.1/4 ว 2.1 ม.1/5 ว 2.1 ม.1/7 ว 2.1 ม.1/10 - แบบทดสอบประจำหน่วย - mind mapping - ชุดกิจกรรม / ใบกิจกรรม /แบบฝึกหัด /ชิ้นงาน 18 5 5 10 สอบกลางภาค 1 20 หน่วยที่ 3 หน่วย พื้นฐานของ สิ่งมีชีวิต ว 1.2 ม.1/2 ว 1.2 ม.1/4 -ตอบคำถาม -ชุดกิจกรรม / แบบฝึกหัด/ใบ งาน -กิจกรรม/การ ทดลอง ว 1.2 ม.1/1 ว 1.2 ม.1/3 ว 1.2 ม.1/5 - แบบทดสอบประจำหน่วย - ชุดกิจกรรม /ใบกิจกรรม /แบบฝึกหัด /ชิ้นงาน / การนำเสนอหน้าชั้นเรียน 12 5 5 หน่วยที่ 4 การ ดำรงชีวิต ของพืช ว 1.2 ม.1/6 ว 1.2 ม.1/7 ว 1.2 ม.1/10 ว 1.2 ม.1/11 ว 1.2 ม.1/12 ว 1.2 ม.1/13 ว 1.2 ม.1/14 ว 1.2 ม.1/16 ว 1.2 ม.1/17 -ตอบคำถาม -ชุดกิจกรรม / แบบฝึกหัด/ใบ งาน -กิจกรรม/การ ทดลอง ว 1.2 ม.1/8 ว 1.2 ม.1/9 ว 1.2 ม.1/15 ว 1.2 ม.1/18 - แบบทดสอบประจำหน่วย - mind mapping - ชุดกิจกรรม /ใบกิจกรรม /แบบฝึกหัด /ชิ้นงาน / การนำเสนอหน้าชั้นเรียน 21 5 5 10 สอบปลายภาค 1 20 จิตพิสัย - - รวม 60 100 อัตราส่วนคะแนน คะแนนเก็บระหว่างภาค : คะแนนปลายภาค = 80 : 20 K : P : A = 40 : 60 : ….. 7


8 รวม 100 คะแนน คะแนนเก็บก่อนสอบกลางภาค = 30 คะแนน สอบกลางภาค = 20 คะแนน คะแนนเก็บก่อนสอบปลายภาค = 30 คะแนน คุณลักษณะ / จิตพิสัย = - คะแนน สอบปลายภาค = 20 คะแนน รวม 100 คะแนน 7. การกำหนดโครงการสอนและกิจกรรมตลอดภาคเรียน สัปดาห์/ แผนการ เรียนรู้ที่ หน่วยการเรียนรู้/ เนื้อหา ตัวชี้วัด/ ผลการเรียนรู้ กิจกรรม / กระบวนการเรียนรู้ เวลา (ชั่วโมง) 1-3 เราจะเรียนรู้ วิทยาศาสตร์อย่างไร ว 4.1 ม.1/2,1/3,1/4 ว 4.2 ม.1/3,1/4 รูปแบบการเรียนรู้แบบโยนิโส มนสิการตามขั้นตอนดังนี้ 1. ขั้นพัฒนาปัญญา 2. ขั้นนำปัญญาพัฒนาความคิด 3. ขั้นนำปัญญาพัฒนาตนเอง 9 4-9 สมบัติของสารและการ จำแนกสาร ว2.1 ม.1/1,1/2,1/3 1/4, 1/5,1/6,1/7 1/8,1/9,1/10 รูปแบบการเรียนรู้แบบโยนิโส มนสิการตามขั้นตอนดังนี้ 1. ขั้นพัฒนาปัญญา 2. ขั้นนำปัญญาพัฒนาความคิด 3. ขั้นนำปัญญาพัฒนาตนเอง 18 10-13 หน่วยพื้นฐานของ สิ่งมีชีวิต ว1.2 ม.1/1,1/2,1/4 รูปแบบการเรียนรู้แบบโยนิโส มนสิการตามขั้นตอนดังนี้ 1. ขั้นพัฒนาปัญญา 2. ขั้นนำปัญญาพัฒนาความคิด 3. ขั้นนำปัญญาพัฒนาตนเอง 12 14-20 การดำรงชีวิตของพืช ว1.2 ม. 1/6, 1/7 1/8,1/9,1/10, 1/11 1/12, 1/13, 1/14, 1/15, 1/16, 1/17, 1/18 รูปแบบการเรียนรู้แบบโยนิโส มนสิการตามขั้นตอนดังนี้ 1. ขั้นพัฒนาปัญญา 2. ขั้นนำปัญญาพัฒนาความคิด 3. ขั้นนำปัญญาพัฒนาตนเอง 21 8. แผนการวัดผลและภาระงาน แนวการวัดผล อัตราส่วน คะแนนระหว่างภาค : คะแนนปลายภาค = ...80.... : ....20..... อัตราส่วน คะแนน K : P : A = ....40... : ...60... : ............ แผนการวัดผล


9 การประเมิน คะแนน วิธีวัด ชนิดของเครื่องมือ ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ ข้อที่ เวลาที่ใช้ (นาที/ครั้ง) ก่อนกลางภาค 30 1.สืบค้นข้อมูล 2.อภิปรายกลุ่ม ชุดกิจกรรม วิทยาศาสตร์ ว 4.1 ม.1/2,1/3 1/4 ว 4.2 ม.1/3,ม.1/4 ว 2.1, ม.1/1,1/2 1/3,1/4, /5,1/6,1/7 1/8,1/9,1/10 50 นาที/ครั้ง กลางภาค 20 สอบ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ ว 4.1 ม.1/2,1/3 1/4 ว 4.2 ม.1/3,ม.1/4 ว 2.1, ม.1/1,1/2 1/3,1/4, /5,1/6,1/7 1/8,1/9,1/10 60 นาที/ครั้ง หลังกลางภาค 30 1.สืบค้นข้อมูล 2.อภิปรายกลุ่ม ชุดกิจกรรม วิทยาศาสตร์ ว1.2 ม.1/1,1/2,1/4 1/5,1/6,1/7,1/8,1/9 1/10,1/11, 1/12, 1/13,1/14, 1/15, 1/16,1/17, 1/18 50 นาที/ครั้ง คุณลักษณะ / จิตพิสัย - - - - ตลอด ภาคเรียน ปลายภาค 20 สอบ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ ว1.2 ม.1/1,1/2,1/4 1/5,1/6,1/7,1/8,1/9 1/10,1/11, 1/12, 1/13,1/14, 1/15, 1/16,1/17, 1/18 60 นาที/ครั้ง รวม 100 คะแนน การกำหนดภาระงานนักเรียน ในการเรียนรายวิชา..วิทยาศาสตร์..1..ได้กำหนดให้นักเรียนทำกิจกรรม/ ปฏิบัติงาน(ชิ้นงาน)….22....ชิ้น ดังนี้ ที่ ชื่องาน ตัวชี้วัด/ผลการ เรียนรู้ข้อที่ ประเภทงาน กำหนดส่ง กลุ่ม เดี่ยว วัน/เดือน/ปี 1 รายงานการทดลอง 1 น้ำสีเคลื่อนที่ อย่างไร ว 4.1 ม.1/2,1/3 1/4 10 มิ.ย. 67 2 จรวดกระดาษ ว 4.2 ม.1/3,ม.1/4 14 มิ.ย. 67 3 รายงานการทดลอง 2 จุดเดือดของ สาร ว 2.1, ม.1/1,1/2 1/3,1/4, 1/5,1/6 1/7,1/8,1/9,1/10 21 มิ.ย. 67


10 4 รายงานการทดลอง 3 จุดหลอมเหลว ของสาร ว 2.1, ม.1/1,1/2 1/3,1/4, 1/5,1/6 1/7,1/8,1/9,1/10 21 มิ.ย. 67 5 รายงานการทดลอง 4 ความหนาแน่น ว2.1 ม.1/1,1/2 1/3,1/4, 1/5,1/6 1/7,1/8,1/9,1/10 5 ก.ค. 67 6 รายงานการทดลอง 5 องค์ประกอบ สารบริสุทธ์ ว2.1 ม.1/1,1/2 1/3,1/4, 1/5,1/6 1/7,1/8,1/9,1/10 12 ก.ค. 67 7 รายงานการทดลอง 6 โครงสร้าง อะตอม ว2.1 ม.1/1,1/2 1/3,1/4, 1/5,1/6 1/7,1/8,1/9,1/10 14 ก.ค. 67 8 รายงานการทดลอง 7 จำแนกธาตุ ว2.1 ม.1/1,1/2 1/3,1/4, 1/5,1/6 1/7,1/8,1/9,1/10 9 ส.ค. 67 9 รายงานการทดลอง 8 โลกใต้กล้อง จุลทรรศน์ ว1.2 ม.1/1,1/2 1/4 16 ส.ค. 67 10 รายงานการทดลอง 9 เซลล์พืชเซลล์ สัตว์ ว1.2 ม.1/1,1/2 1/4 23 ส.ค. 67 11 รายงานการทดลอง 10 อนุภาคของ สารมีการเคลื่อนที่อย่างไร ว1.2 ม.1/1,1/2 1/4 30 ส.ค. 67 12 รายงานการทดลอง 11 น้ำเคลื่อนที่ ผ่านเยื่อเลือกผ่านอย่างไร ว1.2 ม.1/1,1/2 1/4 6 ก.ย. 67 13 รายงานการทดลอง 12 การถ่าย ละอองเรณูเกิดได้อย่างไร ว1.2 ม. 1/5,1/6 1/7,1/8,1/9,1/10 1/11, 1/12, 1/13 1/14, 1/15, 1/16 1/17, 1/18 13 ก.ย. 67 14 รายงานการทดลอง 13 เมล็ดงอกได้ อย่างไร ว1.2 ม. 1/5,1/6 1/7,1/8,1/9,1/10 1/11, 1/12, 1/13 1/14, 1/15, 1/16 1/17, 1/18 16 ก.ย. 67 15 รายงานการทดลอง 14 การขยายพันธ์ พืช ว1.2 ม. 1/5,1/6 1/7,1/8,1/9,1/10 1/11, 1/12, 1/13 1/14, 1/15, 1/16 16 ก.ย. 67


11 1/17, 1/18 16 รายงานการทดลอง 15 ปัจจัยสร้าง อาหารของพืช ว1.2 ม. 1/5,1/6 1/7,1/8,1/9,1/10 1/11, 1/12, 1/13 1/14, 1/15, 1/16 1/17, 1/18 16 ก.ย. 67 17 รายงานการทดลอง 16 การ สังเคราะห์ด้วยแสง ว1.2 ม. 1/5,1/6 1/7,1/8,1/9,1/10 1/11, 1/12, 1/13 1/14, 1/15, 1/16 1/17, 1/18 17 ก.ย. 67 18 รายงานการทดลอง 17 ปัจจัยการ สร้างอาหารของพืช ว1.2 ม. 1/5,1/6 1/7,1/8,1/9,1/10 1/11, 1/12, 1/13 1/14, 1/15, 1/16 1/17, 1/18 17 ก.ย. 67 19 รายงานการทดลอง 18 ผลผลิตจาก การสร้างอาหารของพืช ว1.2 ม. 1/5,1/6 1/7,1/8,1/9,1/10 1/11, 1/12, 1/13 1/14, 1/15, 1/16 1/17, 1/18 17 ก.ย. 67 20 รายงานการทดลอง 19 ธาตุอาหาร ของพืช ว1.2 ม. 1/5,1/6 1/7,1/8,1/9,1/10 1/11, 1/12, 1/13 1/14, 1/15, 1/16 1/17, 1/18 17 ก.ย. 67 21 รายงานการทดลอง 20 การลำเลียง อาหารของพืช ว1.2 ม. 1/5,1/6 1/7,1/8,1/9,1/10 1/11, 1/12, 1/13 1/14, 1/15, 1/16 1/17, 1/18 17 ก.ย. 67 22 ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 18 ก.ย. 67 หากนักเรียนขาดส่งงาน...-...ชิ้น หรือขาดส่งชิ้นงานที่ ...22.. จะได้รับผลการเรียน “ร” ในรายวิชานี้ ลงชื่อ........................................ครูผู้สอน ลงชื่อ...........................................หัวหน้ากลุ่มสาระฯ (นางสาวอโนชาอุทุมสกุลรัตน์) (นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์)


12 ลงชื่อ........................................... ลงชื่อ........................................... ( นางกณิการ์พัฒรากุล) (นายไวยวุฒิ ธนบัตร) หัวหน้างานนิเทศ รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ (นางสาวสุภาพร เทพสวัสดิ์) ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม


แผนการจัดการเรียนรู้ รหัสวิชา ว21101 รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี1 จำนวน 1.5 หน่วยกิต 3 คาบ/ สัปดาห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จัดทำโดย นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์ ตำแหน่ง ครูวิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ


คำนำ แผนการจัดการเรียนรู้เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนรายวิชารายวิชา พื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รหัสวิชา ว21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ มีการจัดกิจกรรมและการวัดผลประเมินผลที่หลากหลายสอดคล้องกับสาระ และมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ จำนวน 4 หน่วย คือ หน่วยที่ 1 เราจะเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร หน่วยที่ 2 สมบัติของสารและการจำแนกสาร หน่วยที่ 3 หน่วย พื้นฐานของสิ่งมีชีวิต และหน่วยที่ 4 การดำรงชีวิตของพืช แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ เล่มนี้ ส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม เน้นกระบวนการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ส่งเสริมให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้ทั้งในและ ต่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ในเชิงบูรณาการด้วยวิธีการที่หลากหลาย สร้างสถานการณ์การเรียนรู้ทั้งในและนอก ห้องเรียน โดยครูมีบทบาทหน้าที่ในการเอื้ออำนวยความสะดวกให้แก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพตาม สาระ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด รวมทั้งพัฒนานักเรียนให้มีสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ตามที่หลักสูตรกำหนด เพื่อให้นักเรียนสามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมไทยและสังคมโลกได้ อย่างมีความสุขการปฏิบัติงานมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนได้อย่างเป็นระบบ ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณภาพ และ สถานศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาอย่างแท้จริง หวังเป็นอย่างยิ่งว่าแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ม. 1 เล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการน ำไป ประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของนักเรียนต่อไป ...................................................... (นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์)


สารบัญ หน้า หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เราจะเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร 1 - 9 แผนการเรียนรู้ที่ 1 เราจะเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สมบัติของสารและการจำแนกสาร 10- 26 แผนการเรียนรู้ที่ 2 สมบัติของสารบริสุทธิ์ 10 แผนการเรียนรู้ที่ 3 การจำแนกและองค์ประกอบของสารบริสุทธิ์ 18 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต 27 - 43 แผนการเรียนรู้ที่ 4 เซลล์ 27 แผนการเรียนรู้ที่ 5 การลำเลียงสารเข้าออกเซลล์ 37 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การดำรงชีวิตของพืช 44 - 69 แผนการเรียนรู้ที่ 6 การสืบพันธุ์และการขยายพันธุ์พืชดอก 44 แผนการเรียนรู้ที่ 7 การสังเคราะห์ด้วยแสง 53 แผนการเรียนรู้ที่ 8 การลำเลียงน้ำ ธาตุอาหาร และอาหารของพืช 62 เครื่องมือวัดและประเมินผล 70


1 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ที่…………...1..............เรื่อง.......................เราจะเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร............................ รายวิชา…..วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี…1...รหัสวิชา….........ว 21101 ..............ชั้นมัธยมศึกษาปีที่….....1........ กลุ่มสาระการเรียนรู้..วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.. ปีการศึกษา… 2567...ภาคเรียนที่..1...เวลา...9...ชั่วโมง… ผู้สอน.........................นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์........................................................................................ 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้(รายวิชาพื้นฐานมีทั้งมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด รายวิชาเพิ่มเติมมีเฉพาะมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้) 1.1 มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด สาระที่ 4 เทคโนโลยี มาตรฐาน ว 4.1 เข้าใจแนวคิดหลักของเทคโนโลยีเพื่อการดารงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็ว ใช้ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนางานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เลือกใช้เทคโนโลยีอย่าง เหมาะสมโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม ตัวชี้วัดระหว่างทางว 4.1 ม.1/2 ม.1/3 ม.1/4 ว 4.1 ม.1/2 ระบุปัญหาหรือความต้องการในชีวิตประจำวัน รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและ แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ว 4.1 ม.1/3 ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกข้อมูลที่ จำเป็น นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจ วางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา ว 4.1 ม.1/4 ทดสอบ ประเมินผล และระบุข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งหาแนวทางการ ปรับปรุงแก้ไขและนำเสนอผลการแก้ปัญหา มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็น ขั้นตอนและเป็นระบบใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้การทางานและการแก้ปัญหาได้ อย่างมีประสิทธิภาพรู้เท่าทันและมีจริยธรรม ตัวชี้วัดปลายทาง ว 4.2 ม.1/3, ม.1/4 ว 4.2 ม.1/3 รวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ ประมวลผล ประเมินผล นำเสนอข้อมูล และสารสนเทศ ตามวัตถุประสงค์โดยใช้ซอฟต์แวร์ หรือบริการบนอินเทอร์เน็ตที่หลากหลาย ว 4.2 ม.1/4 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย ใช้สื่อและแหล่งข้อมูลตามข้อกำหนดและ ข้อตกลง 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด (หลอมจากตัวชี้วัดที่ใช้ในหน่วยการเรียนรู้นี้เขียนเป็นแบบความเรียง) องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องนับแต่อดีตยุคโบราณ จนกระทั่งปัจจุบัน วิทยาศาสตร์เป็นความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วยหลักฐานและความเป็นเหตุเป็นผลทาง วิทยาศาสตร์ ความเชื่อ หรือเรื่องราวที่เล่าต่อๆ กันมา โดยไม่สามารถอธิบายได้ด้วยหลักการและเหตุผลทาง วิทยาศาสตร์ไม่จัดเป็นวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์เป็นจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกและ ตอบสนองความต้องการในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ วิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของ


2 ทุกคนจึงจำเป็นต้องเรียนรู้วิทยาศาสตร์แม้มิได้ประกอบอาชีพเป็นนักวิทยาศาสตร์ก็ตาม เพื่อให้สามารถ ดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและมีส่วนร่วมในสังคมปัจจุบันได้อย่างภาคภูมิ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการที่กระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็น กระบวนการที่ประกอบด้วย การสังเกตและระบุปัญหา การตั้งสมมุติฐาน การวางแผน การสำรวจ หรือการ ทดลอง รวมทั้งการเก็บข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างคำอธิบาย การสรุปผลและการสื่อสาร โดยขั้นตอน ต่าง ๆ ดังกล่าวสามารถเพิ่มเติม ลดทอนสลับลำดับ ตามความเหมาะสม ในการทำงานเพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ และครอบคลุมต้องอาศัยทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันประกอบด้วย 14 ทักษะ ได้แก่ การสังเกตการวัด การจำแนกประเภท การหา ความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเปซและสเปซกับเวลา การใช้จำนวน การจัดกระทำ และ สื่อความหมายข้อมูล การลงความเห็นจากข้อมูล การพยากรณ์ การตั้งสมมุติฐาน การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ การกำหนด และควบคุมตัวแปร การทดลอง การตีความหมายของข้อมูลและลงข้อสรุป และการสร้างแบบจำลอง 3. สาระการเรียนรู้ 3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง/สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม (รายวิชาเพิ่มเติม) สาระการเรียนรู้แกนกลาง • การแก้ปัญหาจำเป็นต้องสืบค้น รวบรวมข้อมูล ความรู้จากศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่ การออกแบบแนวทางการแก้ปัญหา • การวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกข้อมูลที่จำเป็น โดยคำนึงถึงเงื่อนไข และทรัพยากรที่มี อยู่ ช่วยให้ได้แนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม • การออกแบบแนวทางการแก้ปัญหาทำได้หลากหลายวิธี เช่น การร่างภาพ การเขียนแผนภาพ การ เขียนผังงาน • การกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการทำงานก่อนดำเนินการแก้ปัญหาจะช่วยให้ทำงานสำเร็จได้ ตามเป้าหมายและลดข้อผิดพลาดของการทำงานที่อาจเกิดขึ้น • การทดสอบ และประเมินผลเป็นการตรวจสอบชิ้นงานหรือวิธีการว่าสามารถแก้ปัญหาได้ตาม วัตถุประสงค์ภายใต้กรอบของปัญหา เพื่อหาข้อบกพร่อง และดำเนินการปรับปรุง โดยอาจทดสอบซ้ำเพื่อให้ สามารถแก้ปัญหาได้ • การนำเสนอผลงานเป็นการถ่ายทอดแนวคิดเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการทำงานและ ชิ้นงานหรือวิธีการที่ได้ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเขียนรายงาน การทำแผ่นนำเสนอผลงาน การจัด นิทรรศการ การนำเสนอผ่านสื่อออนไลน์ • การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ประมวลผล สร้างทางเลือก ประเมินผล จะทำให้ได้ สารสนเทศเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาหรือการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ • การประมวลผลเป็นกำรกระทำกับข้อมูล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีความหมายและมีประโยชน์ต่อการ นำไปใช้งาน สามารถทำได้หลายวิธี เช่น คำนวณอัตราส่วน คำนวณค่าเฉลี่ย • การใช้ซอฟต์แวร์หรือบริการบนอินเทอร์เน็ต ที่หลากหลายในการรวบรวม ประมวลผล สร้าง ทางเลือก ประเมินผล นำเสนอ จะช่วยให้แก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ • ตัวอย่างปัญหา เน้นการบูรณาการกับวิชาอื่น เช่น ต้มไข่ให้ตรงกับพฤติกรรมการบริโภค ค่าดัชนีมวล กายของคนในท้องถิ่น การสร้างกราฟผลกำรทดลองและวิเคราะห์แนวโน้ม • ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย เช่น การปกป้องความเป็นส่วนตัวและอัตลักษณ์ • การจัดการอัตลักษณ์ เช่น การตั้งรหัสผ่าน การปกป้องข้อมูลส่วนตัว


3 • การพิจารณาความเหมาะสมของเนื้อหา เช่น ละเมิดความเป็นส่วนตัวผู้อื่น อนาจาร วิจารณ์ผู้อื่น อย่างหยาบคาย • ข้อตกลง ข้อกำหนดในการใช้สื่อหรือแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น Creative commons 3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น (ถ้าในคำอธิบายรายวิชาพูดถึงหลักสูตรท้องถิ่นให้ใส่ลงไปด้วย ...............................................................-........................................................................................... 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. นักเรียนบอกความความสำคัญและความหมายของวิทยาศาสตร์ได้(K) 2. นักเรียนอธิบายเหตุผลที่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีข้อมูลหรือหลักฐานได้(K) 3. นักเรียนตั้งคำถามจากสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวันได้(P) 4. นักเรียนสืบค้นเรื่องที่สนใจจากแหล่งเรียนรู้ต่างกันได้(P) 5. นักเรียนเห็นคุณค่าของการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน (A) 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์(เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ 7. ด้านคุณลักษณะของผู้เรียนตามหลักสูตรมาตรฐานสากล 1. เป็นเลิศวิชาการ 2. สื่อสารสองภาษา 3. ล้ำหน้าทางความคิด 4. ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ 5. ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก 8. ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 คือการเรียนรู้ 3R X 8C 2L R1 –Reading (อ่านออก) R2-(W) Ringting (เขียนได้) R3- (A) Rithmetics (คิดเลขเป็น) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ไขปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information, and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning) ความมีเมตตา (วินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion) 9. บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


4 1. หลักความพอประมาณ : กำหนดจำนวนสมาชิกในกลุ่มให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในห้องเรียนคือ ประมาณกลุ่มละ 4 – 6 คน 2. หลักความมีเหตุผล : ให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานและเกิดทักษะการปฏิบัติ, นักเรียนเกิดความ ภาคภูมิใจในผลงานของตนและสิ่งที่เรียนรู้ 3. หลักภูมิคุ้มกัน : ให้นักเรียนเกิดทักษะการทำงานกลุ่ม และกล้าแสดงออก , นักเรียนรู้จักการวาง แผนการทำงานและมอบหมายงานให้สมาชิกภายในกลุ่มได้เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคล 4. เงื่อนไขความรู้ : การวางแผนงานที่จะทำก่อนแล้วค่อยลงมือทำอย่างระมัดระวัง 5. เงื่อนไขคุณธรรม : อดทนที่จะทำงาน และมีความขยันที่จะทำงานให้ออกมาได้ดีที่สุด , มีวินัยในการ ทำงาน 10. ชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด ตัวชี้วัด ชิ้นงาน ภาระงาน ว 4.1 ม.1/2 - แบบบันทึกการค้นหาเรื่องราว เกี่ยวกับ “ จันทรุปราคา ความเชื่อ เกี่ยวกับราหูอมจันทร์ของคนสมัย โบราณ” - การอภิ ป รายความ เชื่อเกี่ยวกับ จันทรุปราคา เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถหา หลักฐานมาพิสูจน์หรืออธิบายได้ ไม่ จัดเป็นวิทยาศาสตร์ ว 4.1 ม.1/3 - ชุดกิจกรรมฯร่วมกันคิด 1 เรื่องตัว แปร (ระบุตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และ ตัวแปรควบคุม) - ชุดกิจกรรมฯร่วมกันคิด 2 เรื่องทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ - ศึกษา / อภิปรายตามรายละเอียดใน ชุดกิจกรรม - อภิปรายสรุปเกี่ยวกับทักษะกระบวน การทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จะ ช่วยให้การสร้างความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ว 4.1 ม.1/4 - รายงานกิจกรรม น้ำสีเคลื่อนที่ อย่างไร -อภิปราย เรื่อง การพัฒนาทักษะกระ บวนการทางวิทยาศาสตร์ให้ดียิ่งขึ้น นักเรียนคิดว่าควรทำอย่างไร ว 4.2 ม.1/3 - ประดิษฐ์จรวดกระดาษของใครบินได้ นานที่สุด -สืบค้นและอภิปรายว่าจรวดกระดาษ ลักษณะแบบใดที่น่าจะร่อนอยู่ในอากาศ ให้นานที่สุด ว 4.2 ม.1/4 - รายงานกิจกรรม จรวดกระดาษของ ใครบินได้นานที่สุด - แข่งขันการร่อนจรวด - จัดแสดงผลงานจรวดรวมทั้งเวลาเฉลี่ย ที่จรวดแต่ละชิ้นใช้ในเวลาเคลื่อนที่ 11. การวัดประเมินผล 11.1การวัดและประเมินผลชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด วิธีการ 1.การสังเกตการณ์ 2.การใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ร่องรอยบ่งชี้ 3.การวัดประเมินการปฏิบัติ เครื่องมือ


5 1. แบบสังเกตการณ์ 2. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 3. แบบวัดประเมินการปฏิบัติ เกณฑ์ 1.การประเมินผลตามสภาพจริง (Rubrics) 2.การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน ผ่าน 1 รายการถือว่า ไม่ผ่าน 11.2การวัดและประเมินผลระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ประเมินจากแผนการจัดการเรียนรู้ของ หน่วยการเรียนรู้นี้) สิ่งที่ต้องการวัด วิธีวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมิน 1. ความรู้เกี่ยวกับ - ความสำคัญและความหมาย ของวิทยาศาสตร์ - กระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ - ทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ -การสอบถาม ซักถาม ความคิดเห็น ยกตัวอย่างการใช้ ประโยชน์จาก วิทยาศาสตร์ในชีวิต ประจำวัน -การตรวจผลงาน นักเรียน - แบบประเมินการ อภิปรายแสดงความ คิดเห็น - แบบประเมินการ ตรวจผลงานผู้เรียน - นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้คะแนน ประเมินผลงาน 13 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 2.ทักษะกระบวนการคิด และ ทักษะกระบวนการกลุ่ม - การอภิปรายแสดง ความคิดเห็นระบุ ทักษะกระบวน การทางวิทยาศาสตร์ที่ ได้ปฏิบัติจากกิจกรรม - สังเกตพฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม - แบบประเมินการ อภิปรายแสดงความ คิดเห็น - แบบประเมิน พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม -นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่า ผ่านเกณฑ์ 3. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และสมรรถนะผู้เรียน - มีวินัยในการทำงานกลุ่ม - นักเรียนเห็นความสำคัญ ของการทำงานร่วมกับผู้อื่นและ การทำงานในระบบกลุ่ม - ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกัน และกันมีความเสียสละและ อดทน - นักเรียนมีการเห็นคุณค่าใน ตนเอง (Self-esteem) - สังเกตค่านิยมในการ ทำงานร่วมกับผู้อื่น และการทำงานใน ระบบกลุ่ม อภิปราย แสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับผลการ ทดลอง - แบบประเมิน คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ - แบบประเมิน สมรรถนะผู้เรียน -แบบทดสอบ Rubin’s Self Esteem Scale - นักเรียนได้คะแนน ประเมินคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ 26 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้คะแนน การประเมินสมรรถนะ 29 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์


6 12. กิจกรรมการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ 1-2 (สัปดาห์ที่ 1) 1. ขั้นตั้งประเด็นปัญหา/สมมติฐาน (Hypothesis Formulation) 1.1 นำเข้าสู่หน่วยที่ 1 เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร โดยให้นักเรียนศึกษาภาพนำหน่วยในหนังสือเรียน หรือนำข้อมูลเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ให้นักเรียนศึกษา พร้อมให้นักเรียนร่วมกับยกตัวอย่าง ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่นักเรียนรู้จัก 1.2 ครูใช้คำถามนำหน่วยกระตุ้นความสนใจของนักเรียนว่าวิทยาศาสตร์คืออะไร เราสามารถเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ได้อย่างไร โดยให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นต่อคำถามดังกล่าวเพื่อสร้างความสนใจและมีส่วนร่วม ต่อสิ่งที่นักเรียนกำลังจะได้เรียนรู้ ครูไม่เฉลยคำตอบโดยชี้แจงว่านักเรียนจะได้เรียนรู้จากหน่วยการเรียน ที่ 1 เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร 1.3 ครูและนักเรียนร่วมกันค้นคว้าเกี่ยวกับความเชื่อของคนสมัยก่อนในเรื่องสุริยุปราคาหรือ ราหูอมดวง อาทิตย์ และให้นักเรียนตอบคำถามระหว่างเรียน 1.4 ครูนำสนทนา ซักถาม เกี่ยวกับการที่นักเรียนได้ค้นคว้าเกี่ยวกับการเกิดสุริยุปราคามาแล้ว ให้ นักเรียนลองเขียนแผนภาพการเกิดสุริยุปราคาโดยแสดงตำแหน่งของ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และโลกดังนี้ 1.5 ครูตั้งประเด็นคำถามเพื่อกระตุ้นความสนใจให้นักเรียนคิดว่าวิทยาศาสตร์คืออะไร นักเรียนสามารถ แสดงความคิดเห็นได้โดยอิสระ 1.6 นักเรียนอ่านเนื้อหาในหนังสือเรียน/ชุดกิจกรรมเกี่ยวกับความสำคัญและความหมายของ วิทยาศาสตร์ และตอบคำถามระหว่างเรียน - ยกตัวอย่างสิ่งที่เป็นวิทยาศาสตร์มา 2 ตัวอย่าง แนวคำตอบ ตอบได้หลากหลายคำตอบ เช่น การมองเห็นสิ่งต่าง ๆ (เรามองเห็นได้เพราะแสงจาก วัตถุสะท้อนเข้าตาเรา) รถยนต์เคลื่อนที่ได้เพราะอาศัยเครื่องยนต์ และน้ำมันในการขับเคลื่อน การรับประทาน อาหาร (มนุษย์ต้องการสารอาหารเพื่อการดำรงชีวิตเราจึงต้องรับประทานอาหาร) - ยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวันมา 2 ตัวอย่าง แนวคำตอบ ตอบได้หลากหลายคำตอบเช่น การเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะกับเพศและวัย และได้รับสารอาหารครบถ้วน อาศัยความรู้ทางด้านสารอาหารที่จำเป็น การใช้โทรศัพท์เพื่อการสื่อสารอาศัย เทคโนโลยีทางการสื่อสารช่วย 1.7 นักเรียนร่วมกันอภิปรายคำตอบของคำถามระหว่างเรียน เพื่อให้นักเรียนเข้าใจความหมายของ วิทยาศาสตร์และความสำคัญของวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า วิทยาศาสตร์เป็นความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วยหลักฐานและ ความเป็นเหตุเป็นผลทางวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์มิใช่ความรู้เกี่ยวกับความจริงของธรรมชาติเพียงอย่างเดียว


7 แต่ยังครอบคลุมไปถึงการเรียนรู้และทำความเข้าใจความรู้นั้นอย่างเป็นระบบและเป็นเหตุเป็นผล วิทยาศาสตร์ มีประโยชน์และเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ 1.8 ครูถามคำถามเพื่อสร้างความสนใจว่าการสร้างความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำได้อย่างไร หรือนัก วิทยาศาสตร์ทำงานอย่างไร ชั่วโมงที่ 3 (สัปดาห์ที่ 1) 2. ขั้นสืบค้นความรู้(Searching for Information) 2.1 ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายในประเด็นดังต่อไปนี้ • กิจกรรมนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร (กระบวนการทำงานของนักวิทยาศาสตร์) • การทำกิจกรรมมีขั้นตอนโดยสรุปอย่างไร (อ่านข้อมูลการทำงานของนักวิทยาศาสตร์ และวาด แผนผังกระบวนการทำงานของนักวิทยาศาสตร์) 2.2 ให้นักเรียนตอบคำถามท้ายกิจกรรมจากนั้นให้ตัวแทน 3-4 คนนำเสนอแผนผังกระบวนการทำงาน ของนักวิทยาศาสตร์ 2.3 ให้นักเรียนอ่านเนื้อหาในหนังสือเรียนเกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จากนั้นตอบคำถาม ระหว่างเรียน 2.4 นักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปเกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า กระบวน การที่ใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การสังเกตและระบุ ปัญหา การตั้งสมมติฐานการวางแผน การสำรวจ หรือการทดลอง รวมทั้งการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และสร้างคำอธิบาย การสรุปผลและการสื่อสาร โดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สามารถเพิ่มเติม ลดทอน สลับลำดับได้ ตามความเหมาะสม ชั่วโมงที่ 4-5 (สัปดาห์ที่ 2) 3. ขั้นสรุปองค์ความรู้(Knowledge Formation) 3.1 นำเข้าสู่การเรียนรู้ในหัวข้อต่อไปนี้ว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องอาศัยทักษะกระ บวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 3.2 นักเรียนระดมสมองทำกิจกรรมการเคลื่อนที่ของน้ำสี และวิเคราะห์การใช้ทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์) 3.3 นักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมมีขั้นตอนโดยสรุปดังนี้(สังเกตการเคลื่อนที่ของน้ำสีเมื่อนำแก้วน้ำร้อน ประกบลงบนแก้วน้ำเย็น จากนั้นพยากรณ์ว่าเมื่อนำแก้วน้ำเย็นประกบลงบนแก้วน้ำร้อนจะเกิดอะไรขึ้น จากนั้นนำแก้วน้ำเย็นประกบลง บนแก้วน้ำร้อน) ชั่วโมงที่ 6-7 (สัปดาห์ที่ 6-7) 4. ขั้นการสื่อสารและนำเสนอ (Effective Communication) 4.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมจรวดกระดาษของใครบินได้นานที่สุด ตามรูปแบบ วิธีการและขั้นตอน ที่กำหนดในชุดกิจกรรม 4.2 นักเรียนตรวจสอบความเรียบร้อยของจรวดกระดาษและนำเสนอผลงาน แข่งขันการร่อนจรวด โดย ร่วมกันตกลงกติกาการแข่งขัน และวิธีการสังเกตว่าจรวดใดอยู่ในอากาศได้นานที่สุด จากนั้นแข่งขันร่อนจรวด 3 ครั้ง บันทึกเวลาที่จรวดอยู่ในอากาศทั้ง 3 ครั้งและหาค่าเฉลี่ยข้อตกลงร่วมกันในการสังเกตว่าจรวดใดอยู่ใน อากาศได้นานที่สุด


8 4.3 ร่วมกันอภิปรายและลงข้อสรุป เกี่ยวกับลักษณะร่วมกันของจรวดกระดาษที่สามารถร่อนอยู่ใน อากาศได้นานที่สุด - จรวดรูปร่างค่อนข้างแบนจะร่อนอยู่ในอากาศในนานกว่าจรวดรูปร่างอื่นๆ 5. ขั้นการบริการสังคมและสาธารณะ (Public Service) นักเรียนร่วมกันเมื่อศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในหนังสือเรียนแล้ว จากกิจกรรม นักเรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ใดบ้างในขั้นตอนใด - ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้แก่ การสังเกต การวัด การจำแนก ประเภท การหา ความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับมิติและมิติกับเวลาการคำนวณ การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล การลง ความเห็นจากข้อมูล การพยากรณ์ การตั้งสมมติฐาน การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ การกำหนดและ ควบคุมตัวแปร การทดลอง การตีความหมายของข้อมูลและลงข้อสรุปและการสร้างแบบจำลอง 13. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ 13.1สื่อการเรียนรู้ 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เรื่องเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร 2) หนังสือแบบเรียน 3) สื่อเพาเวอร์พอยต์ 13.2แหล่งเรียนรู้ 1) อินเตอร์เน็ต 2) ห้องสมุด 14. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ ผลการสอน รายละเอียด 1. ด้านความรู้: - ความหมายและความสำคัญของ วิทยาศาสตร์ - กระบวนการทำงานของนักวิทยาศาสตร์ - ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ - ตระหนักถึงคุณค่าของความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ในการดำรงชีวิตทำความเข้าใจ กระบวนการและทักษะที่ใช้ในการสร้างองค์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ................................................................................ ...................................................................................... ...................................................................................... ..................................................................................... 2. ด้านกระบวนการ : - ทักษะกระบวนการคิด - ทักษะกระบวนการกลุ่ม ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 3. ด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม อันพึงประสงค์: - มีวินัย - ใฝ่เรียนรู้ - อยู่อย่างพอเพียง - รักความเป็นไทย ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ............................................................................... . ..................................................................................... .....................................................................................


9 4. ปัญหาการสอน ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 5. วิธีแก้ปัญหา ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ลงชื่อ........................................ครูผู้สอน ลงชื่อ...........................................หัวหน้ากลุ่มสาระฯ ( นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์) ( นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์) ลงชื่อ........................................... (นายไวยวุฒิ ธนบัตร) รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ลงชื่อ ........................................................ (นางสาวสุภาพร เทพสวัสดิ) ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม


10 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 หน่วยการเรียนรู้ที่…………...2..............เรื่อง................................สมบัติของสารบริสุทธิ์…………......................... รายวิชา…..วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี…1...รหัสวิชา….........ว 21101 ..............ชั้นมัธยมศึกษาปีที่….....1........ กลุ่มสาระการเรียนรู้..วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.. ปีการศึกษา… 2567...ภาคเรียนที่..1...เวลา...9...ชั่วโมง…… ผู้สอน.........................นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์......................................................................................... 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้(รายวิชาพื้นฐานมีทั้งมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด รายวิชาเพิ่มเติมมีเฉพาะมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้) 1.1 มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติ ของสสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค หลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของ สสาร การเกิดสารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี ตัวชี้วัดระหว่างทางว 2.1 ม.1/6 ม.1/9 ว 2.1 ม.1/6 ใช้เครื่องมือเพื่อวัดมวลและปริมาตรของสารบริสุทธิ์และสารผสม ว 2.1 ม.1/9 อธิบายและเปรียบเทียบการจัดเรียงอนุภาค แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค และ การเคลื่อนที่ของอนุภาคของสสารชนิดเดียวกันในสถานะของแข็ง ของเหลว และแก๊ส โดยใช้แบบจำลอง ตัวชี้วัดปลายทาง ว 2.1 ม.1/4 ม.1/5 ม.1/10 ว 2.1 ม.1/4 เปรียบเทียบจุดเดือด จุดหลอมเหลวของสารบริสุทธิ์และสารผสม โดยการวัด อุณหภูมิ เขียนกราฟ แปลความหมายข้อมูลจากกราฟ หรือสารสนเทศ ว 2.1 ม.1/5 อธิบายและเปรียบเทียบความหนาแน่นของสารบริสุทธิ์และสารผสม ว 2.1 ม.1/10 อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานความร้อนกับการเปลี่ยนสถานะของสสาร โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และแบบจำลอง 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด (หลอมจากตัวชี้วัดที่ใช้ในหน่วยการเรียนรู้นี้เขียนเป็นแบบความเรียง) สารบริสุทธิ์ประกอบด้วยสารเพียงชนิดเดียว ส่วนสารผสมประกอบด้วยสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป สาร บริสุทธิ์แต่ละชนิดมีสมบัติบางประการที่เป็นค่าเฉพาะตัว มีค่าคงที่ เช่น จุดเดือด จุดหลอมเหลว และความ หนาแน่น แต่สารผสมมีจุดเดือด จุดหลอมเหลว และความหนาแน่นไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับชนิดและสัดส่วนของสาร ที่ผสมอยู่ด้วยกัน 3. สาระการเรียนรู้ 3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง/สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม (รายวิชาเพิ่มเติม) สาระการเรียนรู้แกนกลาง • สารบริสุทธิ์ประกอบด้วยสารเพียงชนิดเดียวส่วนสารผสมประกอบด้วยสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป สาร บริสุทธิ์แต่ละชนิดมีสมบัติบางประการที่เป็นค่าเฉพาะตัว เช่น จุดเดือดและจุดหลอมเหลวคงที่ แต่สารผสมมีจุด เดือดและจุดหลอมเหลวไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับชนิดและสัดส่วนของสารที่ผสมอยู่ด้วยกัน • สารบริสุทธิ์แต่ละชนิดมีความหนาแน่น หรือมวลต่อหนึ่งหน่วยปริมาตรคงที่ เป็นค่าเฉพาะของสาร นั้น ณ สถานะและอุณหภูมิหนึ่งแต่สารผสมมีความหนาแน่นไม่คงที่ขึ้นอยู่กับชนิดและสัดส่วนของสารที่ผสมอยู่ ด้วยกัน


11 3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น (ถ้าในคำอธิบายรายวิชาพูดถึงหลักสูตรท้องถิ่นให้ใส่ลงไปด้วย ...............................................................-........................................................................................... 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. นักเรียนอธิบายและเปรียบเทียบ จุดเดือด จุดหลอมเหลวของสารบริสุทธิ์ และสารผสม (K) 2. นักเรียนคำนวณ อธิบายและเปรียบเทียบ ความหนาแน่นของสารบริสุทธิ์ และสารผสม (P) 3. นักเรียนใช้เครื่องมือเพื่อวัดมวลและปริมาตรของสารบริสุทธิ์และสารผสม (P) 4. นักเรียนเห็นคุณค่าของการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน (A) 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์(เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ 7. ด้านคุณลักษณะของผู้เรียนตามหลักสูตรมาตรฐานสากล 1. เป็นเลิศวิชาการ 2. สื่อสารสองภาษา 3. ล้ำหน้าทางความคิด 4. ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ 5. ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก 8. ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 คือการเรียนรู้ 3R X 8C 2L R1 –Reading (อ่านออก) R2-(W) Ringting (เขียนได้) R3- (A) Rithmetics (คิดเลขเป็น) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ไขปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information, and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning) ความมีเมตตา (วินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion) 9. บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1. หลักความพอประมาณ : กำหนดจำนวนสมาชิกในกลุ่มให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในห้องเรียนคือ ประมาณกลุ่มละ 4 – 6 คน


12 2. หลักความมีเหตุผล : ให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานและเกิดทักษะการปฏิบัติ, นักเรียนเกิดความ ภาคภูมิใจในผลงานของตนและสิ่งที่เรียนรู้ 3. หลักภูมิคุ้มกัน : ให้นักเรียนเกิดทักษะการทำงานกลุ่ม และกล้าแสดงออก , นักเรียนรู้จักการวาง แผนการทำงานและมอบหมายงานให้สมาชิกภายในกลุ่มได้เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคล 4. เงื่อนไขความรู้ : การวางแผนงานที่จะทำก่อนแล้วค่อยลงมือทำอย่างระมัดระวัง 5. เงื่อนไขคุณธรรม : อดทนที่จะทำงาน และมีความขยันที่จะทำงานให้ออกมาได้ดีที่สุด , มีวินัยในการ ทำงาน 10. ชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด ตัวชี้วัด ชิ้นงาน ภาระงาน ว 2.1 ม.1/4 - รายงานกิจกรรม จุดเดือดของสาร บริสุทธิ์และสารผสมเป็นอย่างไร - รายงานกิจกรรม จุดหลอมเหลว ของสารบริสุทธิ์และสารผสมเป็น อย่างไร - อภิปรายคำตอบเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าอุณหภูมิ ขณะเดือดของน้ำกลั่นและสารละลายโซเดียมคลอ ไรด์เป็นอย่างไร - อภิปรายเปรียบเทียบช่วงอุณหภูมิที่หลอมเหลว และจุดหลอมเหลวของสารบริสุทธิ์และสารผสม - อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับประโยชน์จากการนำ ความรู้เรื่องจุดเดือดและจุดหลอมเหลวมาใช้ใน ชีวิตประจำวัน ว 2.1 ม.1/5 - รายงานกิจกรรม ความหนาแน่น ของสารบริสุทธิ์และสารผสมเป็น อย่างไร - ผังมโนทัศน์ การสรุปองค์ความรู้ใน บทเรียนสมบัติของสารบริสุทธิ์ - แบบฝึกหัดคำนวณความหนาแน่น - แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน 11. การวัดประเมินผล 11.1การวัดและประเมินผลชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด วิธีการ 1.การสังเกตการณ์ 2.การใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ร่องรอยบ่งชี้ 3.การวัดประเมินการปฏิบัติ เครื่องมือ 1. แบบสังเกตการณ์ 2. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 3. แบบวัดประเมินการปฏิบัติ เกณฑ์ 1.การประเมินผลตามสภาพจริง (Rubrics) 2.การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน ผ่าน 1 รายการถือว่า ไม่ผ่าน 11.2การวัดและประเมินผลระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ประเมินจากแผนการจัดการเรียนรู้ของ หน่วยการเรียนรู้นี้)


13 สิ่งที่ต้องการวัด วิธีวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมิน 1. ความรู้เกี่ยวกับ - สมบัติบางประการของ บริสุทธิ์และสารผสม - กระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ - ทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ -การสอบถาม ซักถาม ความคิดเห็น ยกตัวอย่างการนำ ความรู้เรื่องจุดเดือด และจุดหลอมเหลวมา ใช้ในชีวิตประจำวัน -การตรวจผลงาน นักเรียน - แบบประเมินการ อภิปรายแสดงความ คิดเห็น - แบบประเมินการ ตรวจผลงานผู้เรียน - นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้คะแนน ประเมินผลงาน 13 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 2.ทักษะกระบวนการคิด และ ทักษะกระบวนการกลุ่ม - การอภิปรายแสดง ความคิดเห็นระบุ ทักษะกระบวน การทางวิทยาศาสตร์ที่ ได้ปฏิบัติจากกิจกรรม - สังเกตพฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม - แบบประเมินการ อภิปรายแสดงความ คิดเห็น - แบบประเมิน พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม -นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่า ผ่านเกณฑ์ 3. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และสมรรถนะผู้เรียน - มีวินัยในการทำงานกลุ่ม - นักเรียนเห็นความสำคัญ ของการทำงานร่วมกับผู้อื่นและ การทำงานในระบบกลุ่ม - ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกัน และกันมีความเสียสละและ อดทน - นักเรียนมีการเห็นคุณค่าใน ตนเอง (Self-esteem) - สังเกตค่านิยมในการ ทำงานร่วมกับผู้อื่น และการทำงานใน ระบบกลุ่ม อภิปราย แสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับผลการ ทดลอง - แบบประเมิน คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ - แบบประเมิน สมรรถนะผู้เรียน -แบบทดสอบ Rubin’s Self Esteem Scale - นักเรียนได้คะแนน ประเมินคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ 26 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้คะแนน การประเมินสมรรถนะ 29 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 12. กิจกรรมการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ 1-2 (สัปดาห์ที่ 4) 1. ขั้นตั้งประเด็นปัญหา/สมมติฐาน (Hypothesis Formulation) 1.1 ครูใช้คำถามเชื่อมโยงเข้าสู่สมบัติของสารบริสุทธิ์ว่า นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับสารบริสุทธิ์หรือไม่ สาร บริสุทธิ์แตกต่างจากสารผสมอย่างไร และสารบริสุทธิ์มีสมบัติอย่างไร 1.2 ครูให้นักเรียนดูภาพในหนังสือเรียน หรือสื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวกับทองคำแท่งและทองรูปพรรณ โดยครูใช้ คำถามให้นักเรียนอภิปรายว่า ทองคำแท่งและทองรูปพรรณเหมือนหรือต่างกันอย่างไร จากนั้นให้นักเรียน ตรวจสอบคำตอบของตนเอง โดยอ่านเนื้อหานำบทและนำอภิปรายโดยอาจใช้คำถามต่อไปนี้


14 - เพราะเหตุใด ทองคำแท่งจึงเป็นสารบริสุทธิ์และทองรูปพรรณจึงเป็นสารผสม (ทองคำแท่งเป็นสาร บริสุทธิ์ เนื่องจากเป็นทองคำ 100% ไม่มีส่วนผสมของโลหะชนิดอื่น ๆ แต่ทองรูปพรรณมีโลหะชนิดอื่นผสมอยู่ เช่น เงิน ทองแดง) - ทองคำแท่งและทองรูปพรรณมีสมบัติต่างกันอย่างไร (ทองคำแท่ง มีความเหนียวสามารถยืดขยาย ตีหรือรีดแผ่ไปได้ทุกทิศทางมีความอ่อนตัวมากกว่าโลหะชนิดอื่น ๆ ทำให้ไม่สามารถประดิษฐ์เป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามที่ต้องการได้ ส่วนทองรูปพรรณมีส่วนผสมของโลหะอื่นทำให้มีสมบัติแข็งและคงรูปดีขึ้นสามารถประดิษฐ์ เป็นเครื่องประดับได้ง่ายขึ้น) 1.3 ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบของสารผสมและสารบริสุทธิ์ โดยใช้คำถามต่อไปนี้ - สารผสมและสารบริสุทธิ์มีองค์ประกอบแตกต่างกันอย่างไร (สารผสมเป็นสารที่มีองค์ประกอบ ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป เช่น ทองรูปพรรณ เป็นสารผสมระหว่างทองคำและโลหะอื่น น้ำเกลือ เป็นสารผสม ระหว่างน้ำและเกลือ ส่วนสารบริสุทธิ์เป็นสารที่มีองค์ประกอบเพียงชนิดเดียว เช่น ทองคำแท่ง น้ำกลั่น กลูโคส) 1.4 ครูนำเข้าสู่กิจกรรมที่ 2.1 จุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารผสมเป็นอย่างไร โดยชี้แจงว่านักเรียนจะ ได้เรียนสมบัติเกี่ยวกับจุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารผสม ต่อไป ชั่วโมงที่ 3-5 (สัปดาห์ที่ 4-5) 2. ขั้นสืบค้นความรู้(Searching for Information) 2.1 ครูให้นักเรียนอ่านวิธีการดำเนินกิจกรรมในหนังสือเรียนครูอธิบายเพิ่มเติมในประเด็นที่นักเรียนยัง ตอบไม่ครบถ้วน 2.2 นักเรียนทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ ครูสังเกตวิธีการจัดอุปกรณ์ การวัดอุณหภูมิ และการบันทึกผล การสังเกตของนักเรียนทุกกลุ่ม เพื่อให้คำแนะนำหากเกิดข้อผิดพลาดในขณะทำกิจกรรม รวมทั้งนำข้อมูลที่ควร จะปรับปรุงและแก้ไขมาใช้ประกอบการอภิปรายหลังทำกิจกรรม 2.3 นักเรียนนำข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำกลั่นและสารละลายโซเดียมคลอไรด์มา เขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับเวลา ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น เขียนลงในกระดาษกราฟ 2.4 นักเรียนอ่านเนื้อหาในหนังสือ ร่วมกันอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับจุดเดือดของสารบริสุทธิ์และ สารผสม ตามประเด็นดังนี้ • สารบริสุทธิ์และสารผสมที่ใช้ในกิจกรรมนี้คือสารใด (น้ำกลั่นและสารละลายโซเดียมคลอไรด์) • จุดเดือดของน้ำกลั่นและสารละลายโซเดียมคลอไรด์แตกต่างกันเพราะเหตุใด • สารบริสุทธิ์และสารผสมจะมีจุดเดือดเช่นเดียวกับน้ำกลั่นและสารละลายโซเดียมคลอไรด์หรือไม่ ครูเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับจุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารผสมเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าสารบริสุทธิ์มีจุด เดือดคงที่และสารผสมมีจุดเดือดไม่คงที่ เช่น น้ำกลั่นเป็นสารบริสุทธิ์ มีองค์ประกอบเพียงชนิดเดียว จุดเดือด คงที่ สารบริสุทธิ์อื่น ๆ ก็มีจุดเดือดคงที่เช่นเดียวกับน้ำกลั่น เช่น ปรอทมีจุดเดือด 356.7 °C กลีเซอรอลมีจุด เดือด 290 °C ส่วนสารละลายโซเดียมคลอไรด์เป็นสารผสม ประกอบด้วยน้ำกลั่นกับโซเดียมคลอไรด์ มี องค์ประกอบมากกว่า 1 ชนิด ขณะเดือดอัตราส่วนผสมระหว่างน้ำกลั่นกับโซเดียมคลอไรด์จะเปลี่ยนแปลงไป ไม่คงที่ จุดเดือดจึงไม่คงที่ สารผสมอื่น ๆ ก็มีจุดเดือดไม่คงที่เช่นกัน เช่นน้ำเชื่อม สารละลายเอทานอล 2.5 ครูและนักเรียนร่วมสนทนาเกี่ยวกับสารบริสุทธิ์มีจุดเดือดคงที่ ในขณะที่สารผสมมีจุดเดือดไม่คงที่ ครูอาจใช้คำถามนำต่อไปว่าจุดหลอมเหลวของสารบริสุทธิ์และสารผสมจะเป็นอย่างไร เพราะเหตุใด เพื่อ เชื่อมโยงเข้าสู่กิจกรรมที่ 2.2 จุดหลอมเหลวของสารบริสุทธิ์และสารผสมเป็นอย่างไร


15 2.6 ครูให้นักเรียนชมวีดิทัศน์หรือชมการสาธิตของครู และอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า การหาจุด หลอมเหลวของของแข็งทำโดยบดของแข็งให้ละเอียด บรรจุในหลอดแคปปิลลารีปริมาณเล็กน้อยผูกกับ เทอร์โมมิเตอร์แล้วให้ความร้อนผ่านน้ำ เมื่อหาจุดหลอมเหลวของแนฟทาลีนและสารผสมของกรดเบนโซอิก ในแนฟทาลีนที่มีอัตราส่วนผสมต่าง ๆ จะได้ผลตามที่แสดงในหนังสือเรียน 2.7 นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการนำเสนอและตอบคำถามท้ายกิจกรรม จากนั้นครู และนักเรียนร่วมกันอภิปรายคำตอบร่วมกันเพื่อให้นักเรียนสรุปได้ว่า จุดหลอมเหลวของแนฟทาลีนทั้ง 3 ครั้งมี ค่าใกล้เคียงกัน แนฟทาลีนซึ่งเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ได้หลอมเหลวจนหมดที่อุณหภูมิเดียวกัน และมีช่วงอุณหภูมิที่ หลอมเหลวค่อนข้างแคบ ส่วนกรดเบนโซอิกในแนฟทาลีนมีช่วงอุณหภูมิที่หลอมเหลวค่อนข้างกว้าง และจุด หลอมเหลวไม่คงที่ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของสารผสมนั้น ๆ ชั่วโมงที่ 6-8 (สัปดาห์ที่ 5-6) 3. ขั้นสรุปองค์ความรู้(Knowledge Formation) 3.1 นักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปเกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า กระบวน การที่ใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การสังเกตและระบุ ปัญหา การตั้งสมมติฐานการวางแผน การสำรวจ หรือการทดลอง รวมทั้งการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และสร้างคำอธิบาย การสรุปผลและการสื่อสาร 3.2 นักเรียนอภิปรายร่วมกัน โดยให้พิจารณาตาราง 2.1 จุดเดือดของน้ำที่ความดันต่าง ๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่า จุดเดือดของสารขึ้นอยู่กับความดันบรรยากาศ โดยความดันบรรยากาศ คือ น้ำหนักของอากาศที่กดลงบนพื้น โลกในแนวตั้งฉากต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ 3.3 นักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับประโยชน์จากการนำความรู้เรื่องจุดเดือดและจุดหลอมเหลวมาใช้ใน ชีวิตประจำวัน ครูถามคำถามเพิ่มเติมว่า จุดเดือดและจุดหลอมเหลวเป็นสมบัติซึ่งสามารถใช้จำแนกสารบริสุทธิ์ และสารผสมแล้ว สารทั้งสองประเภทนี้ยังมีสมบัติอื่นอีกหรือไม่ที่สามารถนำมาจำแนกสารบริสุทธิ์และสารผสม นักเรียนจะได้ศึกษาในรายละเอียดเรื่องถัดไป 3.4 กระตุ้นความสนใจเกี่ยวกับเรื่องความหนาแน่นของสารโดยให้ดูวีดิทัศน์เกี่ยวกับการนำของเหลวชนิด ต่าง ๆที่ไม่ผสมเป็นเนื้อเดียวกันแล้วมาเทรวมกัน 3.5 นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้คำถาม ดังนี้ • นักเรียนคิดว่าความหนาแน่นคืออะไร (นักเรียนสามารถตอบได้ตามความเข้าใจของนักเรียนเอง โดยครูยังไม่ต้องเฉลยว่าความหนาแน่นคืออะไร) • ความหนาแน่นมีความเกี่ยวข้องกับเรือดำน้ำอย่างไร(การที่เรือดำน้ำสามารถดำลงสู่ทะเลลึกได้นั้น ต้องทำให้เรือดำน้ำทั้งลำมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ และหากต้องการให้เรือลอยขึ้นสู่ผิวน้ำต้องทำให้เรือมี ความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ) • ความหนาแน่นของวัตถุหาได้อย่างไร (นักเรียนสามารถตอบได้ตามความเข้าใจของนักเรียนเอง โดยครูยังไม่ต้องเฉลยว่าความหนาแน่นของวัตถุหาได้อย่างไร) 3.6 นักเรียนอ่านทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง ทะเลสาปเดดซี (Dead Sea) และร่วมกันอภิปรายถึง ความหมายของความหนาแน่นหน่วยความหนาแน่น วิธีการคำนวณความหนาแน่นของสาร จากเรื่องดังกล่าว ครูให้นักเรียนอภิปรายตัวอย่างโจทย์เกี่ยวกับการคำนวณความหนาแน่นของสารและตอบคำถามชวนคิด 3.7 ครูอธิบายว่าในกิจกรรมนี้นักเรียนจะได้ทดลองชั่งมวล และหาปริมาตรของวัตถุ เพื่อนำมา คำนวณหาความหนาแน่นของสาร และทบทวนวิธีการใช้เครื่องชั่งมวล


16 3.8 นักเรียนอ่านเกร็ดน่ารู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการหาปริมาตรของสารโดยใช้ถ้วยยูรีกา ครูสุ่ม ให้ตัวแทนนักเรียนแต่ละกลุ่มอธิบายถึงวิธีการใช้ถ้วยยูรีกา เพื่อประเมินความเข้าใจการใช้ถ้วยยูรีกา 3.9 ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนร่วมกันในการทดลองกิจกรรมที่ 2.3 ความหนาแน่นของสารบริสุทธิ์ เป็นอย่างไร และคำนวณความหนาแน่นของสารแต่ละชนิดตามที่หนังสือเรียนกำหนด รวมทั้งออกแบบตาราง บันทึกผลการทำกิจกรรมและวิธีการคำนวณ 3.10 นักเรียนทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ และสังเกตความถูกต้องในการใช้เครื่องมือ ได้แก่ การใช้ เครื่องชั่ง ถ้วยยูรีกาและกระบอกตวง พร้อมทั้งให้คำแนะนำเพิ่มเติมเมื่อพบว่านักเรียนปฏิบัติไม่ถูกต้อง 3.11 นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการทำกิจกรรม โดยนำผลการทำกิจกรรมมาเขียนในตารางบันทึก ผลการทำกิจกรรมที่ติดหน้าห้องเรียนเพื่อเปรียบเทียบข้อมูลของแต่ละกลุ่ม 3.12 นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการนำเสนอและตอบคำถามท้ายกิจกรรมตอนที่ 1 เพื่อให้นักเรียนสรุปได้ว่า ค่าความหนาแน่นเฉลี่ยของเหล็กก้อนที่ 1 และ 2 ที่มีขนาดแตกต่างกัน ของทุกกลุ่มมี ค่าเท่ากันหรือใกล้เคียงกันส่วนค่าความหนาแน่นเฉลี่ยของทองแดงก้อนที่ 1 และ 2 ที่มีขนาดแตกต่างกัน ของ ทุกกลุ่มก็มีค่าเท่ากันหรือใกล้เคียงกันเช่นกัน เนื่องจากก้อนเหล็กและก้อนทองแดงเป็นสารบริสุทธิ์ที่มีความ หนาแน่นเป็นค่าเฉพาะตัวของสารนั้น ณ สถานะอุณหภูมิ และความดันหนึ่ง ชั่วโมงที่ 9 (สัปดาห์ที่ 6) 4. ขั้นการสื่อสารและนำเสนอ (Effective Communication) 4.1 ครูเชื่อมโยงความรู้ของนักเรียนที่ได้จากการอภิปรายกิจกรรมทั้ง 3 กิจกรรม 4.2 นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า โดยส่วนใหญ่แล้วสารชนิดเดียวกัน เมื่อมีสถานะต่างกัน ที่อุณหภูมิและความดันเดียวกัน ของแข็งจะมีความหนาแน่นมากกว่าของเหลวและแก๊ส เนื่องจากสารใน สถานะของแข็งอนุภาคจะเรียงชิดติดกันมากกว่าของเหลวและแก๊ส แต่ในบางกรณีน้ำแข็งกับน้ำ พบว่า น้ำแข็ง ซึ่งเป็นของแข็งจะมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำซึ่งเป็นของเหลวสารต่างชนิดกัน สารในสถานะของแข็งไม่ จำเป็นต้องมากกว่าของเหลว แต่อย่างไรก็ตามสารในสถานะของแข็งและของเหลวจะมีความหนาแน่นมากกว่า แก๊ส 5. ขั้นการบริการสังคมและสาธารณะ (Public Service) 5.1 นักเรียนร่วมกันเขียนผังมโนทัศน์ การสรุปองค์ความรู้ในบทเรียนสมบัติของสารบริสุทธิ์ 5.2 วิเคราะห์และอธิบายแผนผังการจำแนกประเภทพลาสติกโดยใช้สมบัติเกี่ยวกับจุดเดือดจุดหลอม เหลว ความหนาแน่น และสมบัติอื่นๆ เป็นเกณฑ์ 13. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ 13.1สื่อการเรียนรู้ 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 2) หนังสือแบบเรียน 3) สื่อเพาเวอร์พอยต์ 13.2แหล่งเรียนรู้ 1) อินเตอร์เน็ต 2) ห้องสมุด 14. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ ผลการสอน รายละเอียด 1. ด้านความรู้: - บอกความแตกต่างของสารบริสุทธิ์และสาร ผสม ได้ ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ......................................................................................


17 - อธิบายและเปรียบเทียบ จุดเดือด จุด หลอมเหลวของสารบริสุทธิ์และสารผสม - คำนวณ อธิบายและเปรียบเทียบ ความหนา แน่นของสารบริสุทธิ์และสารผสม - การใช้เครื่องมือเพื่อวัดมวลและปริมาตร ของสารบริสุทธิ์และสารผสม ................................................................................ ...................................................................................... ...................................................................................... ..................................................................................... 2. ด้านกระบวนการ : - ทักษะกระบวนการคิด - ทักษะกระบวนการกลุ่ม ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 3. ด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม อันพึงประสงค์: - มีวินัย - ใฝ่เรียนรู้ - อยู่อย่างพอเพียง - รักความเป็นไทย ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ............................................................................... ...................................................................................... 4. ปัญหาการสอน ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 5. วิธีแก้ปัญหา ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ลงชื่อ........................................ครูผู้สอน ลงชื่อ...........................................หัวหน้ากลุ่มสาระฯ ( นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์) ( นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์) ลงชื่อ........................................... (นายไวยวุฒิ ธนบัตร) รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ลงชื่อ ........................................................ (นางสาวสุภาพร เทพสวัสดิ) ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม


18 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 หน่วยการเรียนรู้ที่…………...2..............เรื่อง.............การจำแนกและองค์ประกอบของสารบริสุทธิ์.............. รายวิชา…..วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี…1...รหัสวิชา….........ว 21101 ..............ชั้นมัธยมศึกษาปีที่….....1........ กลุ่มสาระการเรียนรู้..วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.. ปีการศึกษา… 2567...ภาคเรียนที่..1...เวลา...9...ชั่วโมง…… ผู้สอน.........................นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์......................................................................................... 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้(รายวิชาพื้นฐานมีทั้งมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด รายวิชาเพิ่มเติมมีเฉพาะมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้) 1.1 มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ว2.1ม.1/1,1/2,1/3,1/7 1/8,1/9,1/10 สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติ ของสสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค หลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของ สสาร การเกิดสารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี ตัวชี้วัดระหว่างทางว 2.1 ม.1/1 ม.1/2 ม.1/8 ว 2.1 ม.1/1 อธิบายสมบัติทางกายภาพบางประการของธาตุโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ โดยใช้ หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้จากการสังเกตและการทดสอบ และใช้สารสนเทศที่ได้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้ง จัดกลุ่มธาตุเป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ ว 2.1 ม.1/2 วิเคราะห์ผลจากการใช้ธาตุโลหะ อโลหะ กึ่งโลหะ และธาตุกัมมันตรังสี ที่มีต่อ สิ่งมีชีวิต สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม จากข้อมูลที่รวบรวมได้ ว 2.1 ม.1/8 อธิบายโครงสร้างอะตอมที่ประกอบด้วยโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน โดยใช้ แบบจำลอง ตัวชี้วัดปลายทาง ว 2.1 ม.1/3 ม.1/7 ว 2.1 ม.1/3 ตระหนักถึงคุณค่าของการใช้ธาตุโลหะ อโลหะ กึ่งโลหะ ธาตุกัมมันตรังสี โดยเสนอ แนวทางการใช้ธาตุอย่างปลอดภัย คุ้มค่า ว 2.1 ม.1/7 อธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอะตอม ธาตุ และสารประกอบ โดยใช้ แบบจำลองและสารสนเทศ 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด (หลอมจากตัวชี้วัดที่ใช้ในหน่วยการเรียนรู้นี้เขียนเป็นแบบความเรียง) สารบริสุทธิ์สามารถแบ่งออกเป็นธาตุและสารประกอบ ธาตุมีองค์ประกอบเพียงชนิดเดียวและไม่ สามารถแยกสลายเป็นสารอื่นได้ด้วยวิธีทางเคมี ส่วนสารประกอบธาตุองค์ประกอบตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปรวมตัว กันทางเคมีในอัตราส่วนคงที่มีสมบัติแตกต่างจากธาตุที่เป็นองค์ประกอบ สามารถแยกองค์ประกอบของ สารประกอบออกจากกันได้ด้วยวิธีทางเคมีโดยธาตุแต่ละชนิดประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กที่สุดเรียกว่าอะตอม อะตอมประกอบด้วยโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอนซึ่งโปรตอนและนิวตรอนรวมกันตรงกลางอะตอม เรียกว่า นิวเคลียส ส่วนอิเล็กตรอนเคลื่อนที่รอบนิวเคลียส อะตอมของแต่ละธาตุแตกต่างกันที่จำนวนโปรตอน ธาตุแต่ละชนิดมีสมบัติเฉพาะตัว นักวิทยาศาสตร์ใช้สมบัติทางกายภาพของธาตุเพื่อจำแนกธาตุเป็นโลหะ อโลหะและกึ่งโลหะ ธาตุบางชนิดเป็นธาตุกัมมันตรังสี ซึ่งธาตุโลหะ อโลหะ กึ่งโลหะและธาตุกัมมันตรังสีใช้ ประโยชน์ได้แตกต่างกันการนำธาตุมาใช้อาจมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม 3. สาระการเรียนรู้


19 3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง/สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม (รายวิชาเพิ่มเติม) สาระการเรียนรู้แกนกลาง • ธาตุแต่ละชนิดมีสมบัติเฉพาะตัวและมีสมบัติทางกายภาพบางประการเหมือนกันและบางประการ ต่างกัน ซึ่งสามารถนำมาจัดกลุ่มธาตุเป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ ธาตุโลหะมีจุดเดือด จุดหลอมเหลวสูง มี ผิวมันวาว นำความร้อนนำไฟฟ้า ดึงเป็นเส้นหรือตีเป็นแผ่นบาง ๆ ได้ และมีความหนาแน่นทั้งสูงและต่ำ ธาตุ อโลหะมีจุดเดือด จุดหลอมเหลวต่ำ มีผิวไม่มันวาวไม่นำความร้อน ไม่นำไฟฟ้า เปราะ แตกหักง่าย และมีความ หนาแน่นต่ำ ธาตุกึ่งโลหะมีสมบัติบางประการเหมือนโลหะ และสมบัติบางประการเหมือนอโลหะ • ธาตุโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ ที่สามารถแผ่รังสีได้ จัดเป็นธาตุกัมมันตรังสี • ธาตุมีทั้งประโยชน์และโทษ การใช้ธาตุโลหะ อโลหะ กึ่งโลหะ ธาตุกัมมันตรังสี ควรคำนึงถึง ผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม • สารบริสุทธิ์แบ่งออกเป็นธาตุและสารประกอบ ธาตุประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กที่สุดที่ยังแสดงสมบัติ ของธาตุนั้นเรียกว่า อะตอม ธาตุแต่ละชนิดประกอบด้วยอะตอมเพียงชนิดเดียวและไม่สามารถแยกสลายเป็น สารอื่นได้ด้วยวิธีทางเคมี ธาตุเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ธาตุ สารประกอบเกิดจากอะตอมของธาตุตั้งแต่ ๒ ชนิด ขึ้นไปรวมตัวกันทางเคมีในอัตราส่วนคงที่ มีสมบัติแตกต่างจากธาตุที่เป็นองค์ประกอบ สามารถแยกเป็นธาตุได้ ด้วยวิธีทางเคมี ธาตุและสารประกอบสามารถเขียนแทนได้ด้วยสูตรเคมี • อะตอมประกอบด้วยโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน โปรตอนมีประจุไฟฟ้าบวก ธาตุชนิดเดียว กันมีจำนวนโปรตอนเท่ากันและเป็นค่าเฉพาะของธาตุนั้น นิวตรอนเป็นกลางทางไฟฟ้า ส่วนอิเล็กตรอนมีประจุ ไฟฟ้าลบ เมื่ออะตอมมีจำนวนโปรตอนเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอนจะเป็นกลางทางไฟฟ้า โปรตอนและนิวตรอน รวมกันตรงกลางอะตอมเรียกว่า นิวเคลียสส่วนอิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่ในที่ว่างรอบนิวเคลียส 3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น (ถ้าในคำอธิบายรายวิชาพูดถึงหลักสูตรท้องถิ่นให้ใส่ลงไปด้วย ...............................................................-........................................................................................... 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. นักเรียนอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอะตอม ธาตุและสารประกอบ (K) 2. นักเรียนอธิบายโครงสร้างอะตอมที่ประกอบด้วยโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน (K) 3. นักเรียนอธิบายสมบัติทางกายภาพบางประการของธาตุโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ รวมทั้งจัดกลุ่มธาตุ เป็นโลหะ อโลหะและกึ่งโลหะ (K) 4. นักเรียนวิเคราะห์และสรุปผลจากการใช้ธาตุโลหะ อโลหะ กึ่งโลหะ และธาตุกัมมันตรังสี(P) 5. นักเรียนนำเสนอแนวทางการใช้ธาตุอย่างปลอดภัย คุ้มค่า (A) 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์(เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้


20 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ 7. ด้านคุณลักษณะของผู้เรียนตามหลักสูตรมาตรฐานสากล 1. เป็นเลิศวิชาการ 2. สื่อสารสองภาษา 3. ล้ำหน้าทางความคิด 4. ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ 5. ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก 8. ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 คือการเรียนรู้ 3R X 8C 2L R1 –Reading (อ่านออก) R2-(W) Ringting (เขียนได้) R3- (A) Rithmetics (คิดเลขเป็น) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ไขปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information, and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning) ความมีเมตตา (วินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion) 9. บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1. หลักความพอประมาณ : กำหนดจำนวนสมาชิกในกลุ่มให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในห้องเรียนคือ ประมาณกลุ่มละ 4 – 6 คน 2. หลักความมีเหตุผล : ให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานและเกิดทักษะการปฏิบัติ, นักเรียนเกิดความ ภาคภูมิใจในผลงานของตนและสิ่งที่เรียนรู้ 3. หลักภูมิคุ้มกัน : ให้นักเรียนเกิดทักษะการทำงานกลุ่ม และกล้าแสดงออก , นักเรียนรู้จักการวาง แผนการทำงานและมอบหมายงานให้สมาชิกภายในกลุ่มได้เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคล 4. เงื่อนไขความรู้ : การวางแผนงานที่จะทำก่อนแล้วค่อยลงมือทำอย่างระมัดระวัง 5. เงื่อนไขคุณธรรม : อดทนที่จะทำงาน และมีความขยันที่จะทำงานให้ออกมาได้ดีที่สุด , มีวินัยในการ ทำงาน 10. ชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด ตัวชี้วัด ชิ้นงาน ภาระงาน ว 2.1 ม.1/7, ม.1/8 - รายงานกิจกรรม สารบริสุทธิ์มี องค์ประกอบอะไรบ้าง - รายงานกิจกรรม โครงสร้างอะตอม เป็นอย่างไร - อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอะตอม ธาตุ และสารประกอบ โดยใช้แผนภาพหรือสารสนเทศ - อธิบายโครงสร้างอะตอมโดยใช้แบบจำลอง ว 2.1 ม.1/1 ม.1/2 ม.1/3 - รายงานกิจกรรม เราจำแนกธาตุได้ อย่างไร - อธิบายสมบัติทางกายภาพบางประการ ของธาตุโลหะ อโลหะและกึ่งโลหะ โดยใช้ หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้จากการ สังเกต ทดสอบ และใช้สารสนเทศที่ได้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ


21 - จัดกลุ่มธาตุเป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ - วิเคราะห์และสรุปผลจากการใช้ธาตุโลหะ อโลหะ กึ่งโลหะ และธาตุกัมมันตรังสี - อภิปรายนำเสนอแนวทางการใช้ธาตุอย่าง ปลอดภัย 11. การวัดประเมินผล 11.1การวัดและประเมินผลชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด วิธีการ 1.การสังเกตการณ์ 2.การใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ร่องรอยบ่งชี้ 3.การวัดประเมินการปฏิบัติ เครื่องมือ 1. แบบสังเกตการณ์ 2. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 3. แบบวัดประเมินการปฏิบัติ เกณฑ์ 1.การประเมินผลตามสภาพจริง (Rubrics) 2.การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน ผ่าน 1 รายการถือว่า ไม่ผ่าน 11.2การวัดและประเมินผลระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ประเมินจากแผนการจัดการเรียนรู้ของ หน่วยการเรียนรู้นี้) สิ่งที่ต้องการวัด วิธีวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมิน 1. ความรู้เกี่ยวกับ - ประเภทของสารบริสุทธิ์ - องค์ประกอบของสาร บริสุทธิ์ - โครงสร้างอะตอม - การจำแนกธาตุและการใช้ ประโยชน์ -การสอบถาม ซักถาม ความคิดเห็น ยกตัวอย่างการนำ ความรู้เรื่องการจำแนก ธาตุมาใช้ประโยชน์ใน ชีวิตประจำวัน -การตรวจผลงาน นักเรียน - แบบประเมินการ อภิปรายแสดง ความ คิดเห็น - แบบประเมินการ ตรวจผลงานผู้เรียน - นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้คะแนน ประเมินผลงาน 13 คะแนนขึ้นไป หรือร้อย ละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 2.ทักษะกระบวนการคิด และทักษะกระบวนการกลุ่ม - การอภิปรายแสดง ความคิดเห็นระบุ ทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ที่ได้ ปฏิบัติจากกิจกรรม - สังเกตพฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม - แบบประเมินการ อภิปรายแสดง ความคิดเห็น - แบบประเมิน พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม -นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 3. คุณลักษณะที่พึง ประสงค์ - สังเกตค่านิยมในการ ทำงานร่วมกับผู้อื่นและ - แบบประเมิน คุณลักษณะอันพึง - นักเรียนได้คะแนน ประเมินคุณลักษณะ


22 และสมรรถนะผู้เรียน - มีวินัยในการทำงานกลุ่ม - นักเรียนเห็นความสำคัญ ของการทำงานร่วมกับผู้อื่น และการทำงานในระบบกลุ่ม - ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกัน และกันมีความเสียสละและ อดทน - นักเรียนมีการเห็นคุณค่า ในตนเอง (Self-esteem) การทำงานในระบบ กลุ่ม อภิปราย แสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับผลการ ทดลอง ประสงค์ - แบบประเมิน สมรรถนะผู้เรียน -แบบทดสอบ Rubin’s Self Esteem Scale อันพึงประสงค์ 26 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้คะแนน การประเมินสมรรถนะ 29 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 12. กิจกรรมการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ 10 (สัปดาห์ที่ 7) 1. ขั้นตั้งประเด็นปัญหา/สมมติฐาน (Hypothesis Formulation) 1.1 ครูให้นักเรียนดูภาพเพชรกับแกรไฟต์ ในหนังสือเรียน อภิปรายโดยอาจใช้คำถามต่อไปนี้ • เพชรกับแกรไฟต์มีลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร (เพชรและแกรไฟต์เป็นของแข็ง เหมือนกัน เพชรและแกรไฟต์มีลักษณะแตกต่างกัน คือ เพชรโปร่งใสและมีความแข็ง แต่แกรไฟต์ ทึบแสงและเปราะ) • อนุภาคที่เล็กที่สุดของเพชรและแกรไฟต์เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร (อนุภาคที่เล็กที่สุดของ เพชรและแกรไฟต์เหมือนกัน แต่มีการจัดเรียงตัวของอนุภาคแตกต่างกัน) • สารบริสุทธิ์อื่น ๆ ยังมีอีกหรือไม่ และจะจำแนกสารบริสุทธิ์เหล่านั้นได้อย่างไร (นักเรียนตอบตาม ความเข้าใจ เช่น น้ำตาล น้ำ เกลือแกง) 1.2 ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมทบทวนความรู้ก่อนเรียน 1.3 ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับสารบริสุทธิ์และสารผสม โดยนำตัวอย่างสารผสมจากกิจกรรมทบทวน ความรู้ก่อนเรียน เช่นพริกกับเกลือ น้ำปลา น้ำเกลือ ให้นักเรียนพิจารณาว่าจะแยกสารผสมออกจากกันได้ อย่างไร (การร่อน การระเหยแห้งการตกผลึก) และให้นักเรียนพิจารณาว่าสารบริสุทธ์ เช่น เกลือแกง น้ำ น้ำตาล จะแยกต่อไปได้อีกหรือไม่ อย่างไร (สารบริสุทธิ์แยกต่อไปด้วยวิธีการที่ใช้กับสารผสมไม่ได้) 1.4 ครูนำเข้าสู่กิจกรรมที่ 2.4 สารบริสุทธิ์มีองค์ประกอบอะไรบ้าง โดยร่วมกันอภิปรายในประเด็น ดังต่อไปนี้ • กิจกรรมนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร (การแยกองค์ประกอบของสารบริสุทธิ์) • สารบริสุทธิ์ที่ใช้เป็นสารตัวอย่างในกิจกรรมนี้คือสารใด (สารบริสุทธิ์คือน้ำ) • จุดประสงค์ของกิจกรรมนี้เป็นอย่างไร (จุดประสงค์เพื่อแยกน้ำด้วยไฟฟ้า และอธิบายผลที่ได้จาก การแยกน้ำด้วยไฟฟ้า) • กิจกรรมนี้มีวิธีการดำเนินกิจกรรมโดยสรุปอย่างไร (เติมน้ำและเบคกิ้งโซดาในเครื่องแยกน้ำด้วย ไฟฟ้า ต่อวงจรเครื่องแยกน้ำด้วยไฟฟ้ากับแบตเตอรี่ สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทดสอบสารที่เกิดขึ้นจาก การแยกน้ำด้วยไฟฟ้าจากขั้วบวกและขั้วลบโดยใช้ธูปที่ลุกเป็นเปลว บันทึกผล ทำซ้ำการแยกน้ำด้วยไฟฟ้าและ ทดสอบสารที่เกิดขึ้นจากขั้วบวกและขั้วลบโดยใช้ธูปที่เป็นถ่านแดง บันทึกผล)


23 • ข้อควรระวังในการทำกิจกรรมมีหรือไม่อย่างไร (1.ควรใช้ไฟแช็กด้วยความระมัดระวัง อย่าให้เปลว ไฟเข้าใกล้สิ่งที่อาจเป็นเชื้อเพลิง เช่น เส้นผม เสื้อผ้า กระดาษ 2.ทดสอบสารที่เก็บได้ในหลอดทั้งสองด้วยความ ระมัดระวังเนื่องจากสารเหล่านั้นอาจทำให้เกิดเสียงหรือเกิดเปลวไฟ) ชั่วโมงที่ 11-12 (สัปดาห์ที่ 7) 2. ขั้นสืบค้นความรู้(Searching for Information) 2.1 ครูให้นักเรียนอ่านวิธีการดำเนินกิจกรรมในหนังสือเรียนครูอธิบายเพิ่มเติมในประเด็นที่นักเรียนยัง ตอบไม่ครบถ้วน 2.2 ครูให้นักเรียนวางแผนการทำงานร่วมกัน พร้อมทั้งออกแบบตารางบันทึกผลให้เรียบร้อยก่อนทำ กิจกรรม และตรวจสอบการออกแบบตารางบันทึกผลของนักเรียนแต่ละกลุ่ม โดยอาจให้บางกลุ่มนำเสนอ แล้ว ครูให้คำแนะนำปรับแก้ตารางตามความเหมาะสม 2.3 ครูอาจมอบหมายให้นักเรียนบันทึกผลการทดสอบแก๊สเป็นภาพเคลื่อนไหวโดยใช้โทรศัพท์มือถือ ประกอบกับการบันทึกผลในตารางที่นักเรียนออกแบบ 2.4 นักเรียนทำกิจกรรมตามวิธีการในหนังสือเรียน โดยครูสังเกตการเปลี่ยนแปลงเมื่อใช้เครื่องแยกน้ำ ด้วยไฟฟ้า การเก็บสารจากหลอดแก้วและการทดสอบสารเพื่อให้คำแนะนำนักเรียน รวมทั้งนำข้อมูลมาใช้ ประกอบการอภิปรายหลังกิจกรรมเน้นให้นักเรียนทำการทดสอบสารและสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่าง ละเอียด และวิเคราะห์ชนิดของสารที่เก็บได้จากขั้วบวกและขั้วลบจากสมบัติของสาร 2.5 นักเรียนร่วมกันอภิปรายผลจากการทำกิจกรรมและเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า สารบริสุทธิ์เมื่อได้รับ พลังงานอาจแยกสลายให้องค์ประกอบย่อยมากกว่า 1 ชนิด เช่น น้ำมีองค์ประกอบย่อย 2 ชนิดคือออกซิเจน และไฮโดรเจนรวมตัวกัน สารบริสุทธิ์ที่มีองค์ประกอบย่อยมากกว่า 1 ชนิดเรียกว่า สารประกอบ (compound) ส่วนสารบริสุทธิ์ที่มีองค์ประกอบย่อยเพียงชนิดเดียว เรียกว่า ธาตุ (element) 2.6 ร่วมกันอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับองค์ประกอบของสารบริสุทธิ์ ตามประเด็น ดังนี้ • สารบริสุทธิ์ที่มีองค์ประกอบมากกว่า 1 ชนิด ในอัตราส่วนคงที่ เป็น สารประกอบ • สารบริสุทธิ์ที่มีองค์ประกอบเพียง 1 ชนิด เป็น ธาตุ • อะตอม เป็น องค์ประกอบของธาตุและสารประกอบ อะตอมคืออนุภาคที่เล็กที่สุดของธาตุ 2.7 ครูให้นักเรียนสืบค้นจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับชื่อธาตุอื่น ๆ และนำเสนอชื่อธาตุ และที่มา ของชื่อธาตุ เช่น ที่มาจากชื่อนักวิทยาศาสตร์ ประเทศ ลักษณะของธาตุในภาษาละติน และครูอาจเสนอแนะ การอ่านออกเสียงชื่อธาตุที่นักเรียนสนใจที่มาจากภาษาอังกฤษหรือละติน เช่น โครเมียม โพแทสเซียม กำมะถัน (Sulphur ซัล-เฟอร์) ทองแดง (copperคอป-เปอร์) โดยใช้แหล่งเรียนรู้ เช่น ราชบัณฑิตยสถาน http://www.royin.go.th/?page_id=637 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/E /134/2.PDF หรือพจนานุกรมต่าง ๆ 2.8 ครูเชื่อมโยงไปสู่การเรียนเรื่องต่อไปว่า อะตอมของธาตุต่าง ๆ มีองค์ประกอบที่แยกย่อยลงไปอีก ซึ่ง นักเรียนจะได้เรียนรู้จากแบบจำลองโครงสร้างอะตอมของธาตุต่าง ๆ ชั่วโมงที่ 13-15 (สัปดาห์ที่ 8) 3. ขั้นสรุปองค์ความรู้(Knowledge Formation) 3.1 ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับอะตอม โดยใช้คำถาม เช่น อะตอมคืออะไร สารชนิดใดบ้างที่ประกอบไป ด้วยอะตอม แล้วอธิบายเพิ่มเติมว่าอะตอมมีองค์ประกอบแยกย่อยลงไปอีก นักวิทยาศาสตร์สร้างแบบจำลอง อะตอมเพื่อใช้ในการอธิบายโครงสร้างภายในของอะตอม


24 3.2 ให้นักเรียนอ่านเนื้อหาในหนังสือเรียน ดูวีดิทัศน์ที่แสดงโครงสร้างอะตอม แล้วร่วมกันอภิปราย เพื่อให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับโครงสร้างอะตอม ตามประเด็น ดังนี้ • อะตอมของธาตุแต่ละชนิดประกอบด้วยอนุภาคอะไรบ้าง • โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน มีจำนวน การเรียงตัวและประจุไฟฟ้า เหมือนหรือแตกต่างกัน อย่างไร 3.3 นักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปสิ่งที่เรียนรู้จากการทำกิจกรรมและการอ่านเรื่องโครงสร้างอะตอม โดยใช้คำถาม เช่น อะตอมประกอบด้วยอนุภาคอะไรบ้าง อะตอมของแต่ละธาตุเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร นิวเคลียสประกอบด้วยอนุภาคอะไรบ้าง ครูอาจวาดแบบจำลองอะตอมของธาตุต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนระบุชนิด และจำนวนของอนุภาคในแบบจำลอง 3.4 ครูเชื่อมโยงไปสู่การเรียนเรื่องต่อไปว่า แม้จะมีธาตุแตกต่างกันถึง 118 ชนิด แต่นักวิทยาศาสตร์ สามารถจัดธาตุเป็นหมวดหมู่ใหญ่ ๆ การจัดหมวดหมู่ธาตุยังสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์จากธาตุและ สารประกอบอีกด้วย นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจำแนกธาตุและการนำธาตุและสารประกอบไปใช้ในเรื่อง ต่อไป ชั่วโมงที่ 16-17 (สัปดาห์ที่ 9) 4. ขั้นการสื่อสารและนำเสนอ (Effective Communication) 4.1 ให้นักเรียนอ่านเนื้อหาในหนังสือเรียนเรื่องการจำแนกธาตุเป็น โลหะ อโลหะ กึ่งโลหะ และเรื่องธาตุ กัมมันตรังสี แล้วร่วมกันอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการจำแนกธาตุ ตามประเด็น ดังนี้ • ธาตุจำแนกได้อย่างไรบ้าง ใช้สมบัติใดบ้างเป็นเกณฑ์ในการจำแนก (ธาตุสามารถจำแนกได้เป็น โลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ โดยใช้สมบัติทางกายภาพเป็นเกณฑ์ ได้แก่ ความมันวาว การนำไฟฟ้าและนำความ ร้อน จุดเดือดและจุดหลอมเหลว ความเหนียว นอกจากนี้สามารถจำแนกธาตุกัมมันตรังสี โดยใช้สมบัติการแผ่ รังสีเป็นเกณฑ์) • ธาตุแต่ละกลุ่มมีสมบัติอย่างไร มีธาตุใดบ้างเป็นตัวแทนในแต่ละกลุ่ม (ธาตุโลหะมีพื้นผิวมันวาว นำ ไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดี จุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง ไม่เปราะ เหนียว เช่น อะลูมิเนียม ทองแดง สังกะสี ธาตุอโลหะมีพื้นผิวด้าน ไม่มันวาว นำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ไม่ดี จุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่ำ เปราะ ไม่ เหนียว เช่น โบรมีน กำมะถัน คาร์บอน ธาตุกึ่งโลหะมีสมบัติบางอย่างเหมือนโลหะและสมบัติบางอย่างเหมือน อโลหะ นำไฟฟ้าได้ดีกว่าอโลหะ อโลหะ แต่ไม่ดีเท่าโลหะ เช่น พลวง โบรอน ซิลิคอนส่วนธาตุกัมมันตรังสีแผ่ รังสีได้เช่น เรดอน พอโลเนียม) 4.2 ร่วมกันอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ธาตุ ตามประเด็น ดังนี้ • ธาตุโลหะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง (ธาตุโลหะใช้ในเครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า ภาชนะหุงต้ม • ธาตุอโลหะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง (ธาตุอโลหะเป็นองค์ประกอบของปุ๋ย) • ธาตุกึ่งโลหะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง (ธาตุกึ่งโลหะใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นสารกึ่ง ตัวนำ แบตเตอรี่รถยนต์ แผงเซลล์แสงอาทิตย์ แผ่นซีดี) • ธาตุกัมมันตรังสีนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง (ธาตุกัมมันตรังสีใช้ในการแพทย์ การเกษตร อุตสาหกรรม เช่นการรักษาโรคมะเร็ง การฉายรังสีอาหาร การตรวจสอบรอยร้าวในโลหะ) • ธาตุโลหะ อโลหะ กึ่งโลหะ และธาตุกัมมันตรังสีอาจก่ออันตรายได้อย่างไรบ้าง (โลหะบางชนิดที่ใช้ ในอุตสาหกรรมอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตับ หัวใจ ไต ธาตุกึ่งโลหะบางชนิดเป็นพิษต่อร่างกาย เช่น สารหนู ซิลิคอน) ชั่วโมงที่ 18 (สัปดาห์ที่ 9)


25 5. ขั้นการบริการสังคมและสาธารณะ (Public Service) 5.1 สืบค้นการใช้ประโยชนจากธาตุโลหะ อโลหะ กึ่งโลหะและธาตุกัมมันตรังสี อย่างละ 1 ชนิด วิเคราะห์ผลจากการใช้ธาตุเปล่านั้นที่มีต่อสิ่งมีชีวิต สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม นำเสนอผลการวิเคราะห์ ในรูปแบบต่าง ๆ ที่น่าสนใจ เช่น การ์ตูน อินโฟกราฟิก ผังมโนทัศน์ บทความ 13. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ 12.1สื่อการเรียนรู้ 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 2) หนังสือแบบเรียน 3) สื่อเพาเวอร์พอยต์ 12.2แหล่งเรียนรู้ 1) อินเตอร์เน็ต 2) ห้องสมุด 14. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ ผลการสอน รายละเอียด 1. ด้านความรู้: - บอกประเภทของสารบริสุทธิ์ - บอกองค์ประกอบของสารบริสุทธิ์ - โครงสร้างอะตอม - การจำแนกธาตุและการใช้ประโยชน์ ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ................................................................................ ...................................................................................... ...................................................................................... ..................................................................................... 2. ด้านกระบวนการ : - ทักษะกระบวนการคิด - ทักษะกระบวนการกลุ่ม ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 3. ด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม อันพึงประสงค์: - มีวินัย - ใฝ่เรียนรู้ - อยู่อย่างพอเพียง - รักความเป็นไทย ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ............................................................................... ...................................................................................... ............................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 4. ปัญหาการสอน ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ......................................................................................


26 5. วิธีแก้ปัญหา ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ลงชื่อ........................................ครูผู้สอน ลงชื่อ...........................................หัวหน้ากลุ่มสาระฯ ( นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์) ( นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์) ลงชื่อ........................................... (นายไวยวุฒิ ธนบัตร) รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ลงชื่อ ........................................................ (นางสาวสุภาพร เทพสวัสดิ) ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม


27 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ที่…………...3....หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต..........เรื่อง.............เซลล์.............. รายวิชา…..วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี…1...รหัสวิชา….........ว 21101 ..............ชั้นมัธยมศึกษาปีที่….....1........ กลุ่มสาระการเรียนรู้..วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.. ปีการศึกษา… 2567...ภาคเรียนที่..1...เวลา...9...ชั่วโมง…… ผู้สอน.........................นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์......................................................................................... 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้(รายวิชาพื้นฐานมีทั้งมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด รายวิชาเพิ่มเติมมีเฉพาะมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้) 1.1 มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ว 1.2 ม.1/1, ม.1/2, ม.1/4 สาระที่ ๑ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การลำเลียงสารเข้า และออกจากเซลล์ ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสัตว์และมนุษย์ที่ทำงาน สัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ของพืชที่ทำงานสัมพันธ์กัน รวมทั้งนำ ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ตัวชี้วัดระหว่างทาง ว 1.2 ม.1/2 ใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงศึกษาเซลล์และโครงสร้างต่าง ๆ ภายในเซลล์ ว 1.2 ม.1/4 อธิบายการจัดระบบของสิ่งมีชีวิต โดยเริ่มจากเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ ระบบอวัยวะ จนเป็นสิ่งมีชีวิต ตัวชี้วัดปลายทาง ว 1.2 ม.1/1 เปรียบเทียบรูปร่าง ลักษณะ และโครงสร้างของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ รวมทั้ง บรรยายหน้าที่ของผนังเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาซึม นิวเคลียส แวคิวโอล ไมโทคอนเดรียและคลอโรพลาสต์ 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด (หลอมจากตัวชี้วัดที่ใช้ในหน่วยการเรียนรู้นี้เขียนเป็นแบบความเรียง) สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีเซลล์เป็นส่วนประกอบ บางชนิดประกอบด้วยเซลล์ 1 เซลล์ บางชนิด ประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ เซลล์ของสิ่งมีชีวิตจะมีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจึง ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเป็นเครื่องมือช่วยในการศึกษาเซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีโครงสร้างพื้นฐานเหมือน กัน คือ มีเยื่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาซึม และนิวเคลียสซึ่งโครงสร้างพื้นฐานนี้จะทำหน้าที่แตกต่างกันไป แต่เซลล์ พืชมีโครงสร้างบางอย่างที่ไม่พบในเซลล์สัตว์ ได้แก่ผนังเซลล์และคลอโรพลาสต์เซลล์มีรูปร่างลักษณะที่ หลากหลายเพื่อให้เหมาะสมกับหน้าที่ของเซลล์นั้น ๆ โดยเซลล์ชนิดเดียวกันหรือหลายชนิดจะทำงานร่วมกัน เป็นเนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อหลายชนิดรวมกันเป็นอวัยวะ อวัยวะทำงานร่วมกันจัดเป็นระบบอวัยวะ และระบบอวัยวะ ทุกระบบทำงานร่วมกันจนเป็นสิ่งมีชีวิต 3. สาระการเรียนรู้ 3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง/สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม (รายวิชาเพิ่มเติม) สาระการเรียนรู้แกนกลาง • เซลล์เป็นหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตบางชนิดมีเซลล์เพียงเซลล์เดียว เช่น อะมีบา พารามีเซียม ยีสต์ บางชนิดมีหลายเซลล์ เช่น พืช สัตว์ • โครงสร้างพื้นฐานที่พบทั้งในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ และสามารถสังเกตได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ใช้ แสง ได้แก่ เยื่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาซึม และนิวเคลียส โครงสร้างที่พบในเซลล์พืชแต่ไม่พบในเซลล์สัตว์ ได้แก่ ผนังเซลล์และคลอโรพลาสต์


28 • โครงสร้างต่าง ๆ ของเซลล์มีหน้าที่แตกต่างกัน - ผนังเซลล์ ทำหน้าที่ให้ความแข็งแรงแก่เซลล์ - เยื่อหุ้มเซลล์ ทำหน้าที่ห่อหุ้มเซลล์และควบคุมการลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ - นิวเคลียส ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ - ไซโทพลาซึม มีออร์แกเนลล์ที่ทำหน้าที่แตกต่างกัน - แวคิวโอล ทำหน้าที่เก็บน้ำและสารต่าง ๆ - ไมโทคอนเดรีย ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงานแก่เซลล์ - คลอโรพลาสต์ เป็นแหล่งที่เกิดการสังเคราะห์ด้วยแสง • พืชและสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์มีการจัดระบบ โดยเริ่มจากเซลล์ไปเป็นเนื้อเยื่อ อวัยวะ ระบบ อวัยวะ และสิ่งมีชีวิตตามลำดับ เซลล์หลายเซลล์มารวมกันเป็นเนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อหลายชนิดมารวมกันและ ทำงานร่วมกันเป็นอวัยวะ อวัยวะต่าง ๆ ทำงานร่วมกันเป็นระบบอวัยวะ ระบบอวัยวะทุกระบบทำงานร่วมกัน เป็นสิ่งมีชีวิต 3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น (ถ้าในคำอธิบายรายวิชาพูดถึงหลักสูตรท้องถิ่นให้ใส่ลงไปด้วย ...............................................................-........................................................................................... 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. นักเรียนใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงศึกษาเซลล์และโครงสร้างต่าง ๆ ภายในเซลล์(P) 2. นักเรียนเปรียบเทียบรูปร่าง ลักษณะ และโครงสร้างของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ รวมทั้งบรรยายหน้าที่ ของผนังเซลล์เยื่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาซึม นิวเคลียส แวคิวโอล ไมโทคอนเดรีย และคลอโรพลาสต์(K) 3. นักเรียนอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่างกับการทำหน้าที่ของเซลล์(K) 4. นักเรียนอธิบายการจัดระบบของสิ่งมีชีวิต โดยเริ่มจากเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ ระบบอวัยวะ จนเป็น สิ่งมีชีวิต(K) 5. นักเรียนเห็นคุณค่าของการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน (A) 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์(เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ 7. ด้านคุณลักษณะของผู้เรียนตามหลักสูตรมาตรฐานสากล 1. เป็นเลิศวิชาการ 2. สื่อสารสองภาษา 3. ล้ำหน้าทางความคิด 4. ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ 5. ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก 8. ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 คือการเรียนรู้ 3R X 8C 2L R1 –Reading (อ่านออก) R2-(W) Ringting (เขียนได้) R3- (A) Rithmetics (คิดเลขเป็น)


29 ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ไขปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information, and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning) ความมีเมตตา (วินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion) 9. บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1. หลักความพอประมาณ : กำหนดจำนวนสมาชิกในกลุ่มให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในห้องเรียนคือ ประมาณกลุ่มละ 4 – 6 คน 2. หลักความมีเหตุผล : ให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานและเกิดทักษะการปฏิบัติ, นักเรียนเกิดความ ภาคภูมิใจในผลงานของตนและสิ่งที่เรียนรู้ 3. หลักภูมิคุ้มกัน : ให้นักเรียนเกิดทักษะการทำงานกลุ่ม และกล้าแสดงออก , นักเรียนรู้จักการวาง แผนการทำงานและมอบหมายงานให้สมาชิกภายในกลุ่มได้เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคล 4. เงื่อนไขความรู้ : การวางแผนงานที่จะทำก่อนแล้วค่อยลงมือทำอย่างระมัดระวัง 5. เงื่อนไขคุณธรรม : อดทนที่จะทำงาน และมีความขยันที่จะทำงานให้ออกมาได้ดีที่สุด , มีวินัยในการ ทำงาน 10. ชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด ตัวชี้วัด ชิ้นงาน ภาระงาน ว 1.2 ม.1/1 ม.1/2 -รายงานกิจกรรมที่ 3.1 โลกใต้กล้อง จุลทรรศน์เป็นอย่างไร -รายงานกิจกรรมที่ 3.2 เซลล์พืชและ เซลล์ สัตว์แตกต่างกันอย่างไร - ใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงสังเกตสไลด์ถาวรของ เนื้อเยื่อพืชเนื้อเยื่อสัตว์ และสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว - วาดภาพเซลล์และโครงสร้างภายในเซลล์ตามที่ สังเกตเห็นโดยการใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสง ว 1.2 ม.1/4 - เขียนแผนภาพแสดงการจัดระบบ ของสิ่งมีชีวิต โดยแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างเซลล์ เนื้อเยื่ออวัยวะ ระบบ อวัยวะและสิ่งมีชีวิต - อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่างกับการทำ หน้าที่ของเซลล์ เช่นเซลล์ประสาท เซลล์คุม เซลล์เม็ดเลือดแดง 11. การวัดประเมินผล 11.1การวัดและประเมินผลชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด วิธีการ 1.การสังเกตการณ์


30 2.การใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ร่องรอยบ่งชี้ 3.การวัดประเมินการปฏิบัติ เครื่องมือ 1. แบบสังเกตการณ์ 2. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 3. แบบวัดประเมินการปฏิบัติ เกณฑ์ 1.การประเมินผลตามสภาพจริง (Rubrics) 2.การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน ผ่าน 1 รายการถือว่า ไม่ผ่าน 11.2 การวัดและประเมินผลระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ประเมินจากแผนการจัดการเรียนรู้ของ หน่วยการเรียนรู้นี้) สิ่งที่ต้องการวัด วิธีวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมิน 1. ความรู้เกี่ยวกับ - ใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสง สังเกตสไลด์ถาวรของเนื้อเยื่อ พืชเนื้อเยื่อสัตว์ และสิ่งมีชีวิต เซลล์เดียว - เซลล์และโครงสร้างภายใน เซลล์ - ความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่าง กับการทำหน้าที่ของเซลล์ เช่น เซลล์ประสาท เซลล์คุมเซลล์เม็ด เลือดแดง -การสอบถาม ซักถาม ความคิดเห็น -การตรวจผลงาน นักเรียน - แบบประเมินการ อภิปรายแสดงความ คิดเห็น - แบบประเมินการ ตรวจผลงานผู้เรียน - นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้คะแนน ประเมินผลงาน 13 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 2.ทักษะกระบวนการคิด และ ทักษะกระบวนการกลุ่ม - การอภิปรายแสดง ความคิดเห็นระบุ ทักษะกระบวน การทางวิทยาศาสตร์ที่ ได้ปฏิบัติจากกิจกรรม - สังเกตพฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม - แบบประเมินการ อภิปรายแสดงความ คิดเห็น - แบบประเมิน พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม -นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่า ผ่านเกณฑ์ 3. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และสมรรถนะผู้เรียน - มีวินัยในการทำงานกลุ่ม - นักเรียนเห็นความสำคัญ ของการทำงานร่วมกับผู้อื่นและ การทำงานในระบบกลุ่ม - ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกัน และกันมีความเสียสละและ อดทน - สังเกตค่านิยมในการ ทำงานร่วมกับผู้อื่น และการทำงานใน ระบบกลุ่ม อภิปราย แสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับผลการ ทดลอง - แบบประเมิน คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ - แบบประเมิน สมรรถนะผู้เรียน -แบบทดสอบ Rubin’s Self Esteem Scale - นักเรียนได้คะแนน ประเมินคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ 26 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้คะแนน การประเมินสมรรถนะ 29 คะแนนขึ้นไป


31 - นักเรียนมีการเห็นคุณค่าใน ตนเอง (Self-esteem) หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 12. กิจกรรมการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ 1 (สัปดาห์ที่ 10) 1. ขั้นตั้งประเด็นปัญหา/สมมติฐาน (Hypothesis Formulation) 1.1 ครูให้นักเรียนดูภาพในหนังสือเรียน ร่วมกันอภิปรายและตอบคำถามดังต่อไปนี้ • นักเรียนสังเกตเห็นสิ่งมีชีวิตอะไรบ้าง (เป็ดใบบัว) • นักเรียนคิดว่าในน้ำมีสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่เรามองไม่เห็นหรือไม่ เช่นอะไรบ้าง (นักเรียนสามารถตอบ ได้ตามความเข้าใจของตนเองแต่ครูควรอธิบายเพิ่มเติมว่าในแหล่งน้ำทุกที่จะมีสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอาศัยอยู่ เช่น พารามีเซียม สาหร่ายบางชนิด) • นักเรียนคิดว่าสิ่งที่อยู่ภายในวงกลม 3 วงนี้คืออะไร เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตในภาพอย่างไร (นักเรียนสามารถตอบได้ตามความเข้าใจของตนเอง แต่ครูอธิบายเพิ่มเติมว่า ภายในวงกลม 2 วง ด้านบน คือ ส่วนประกอบย่อย ๆของพืชและสัตว์ เรียกว่า เซลล์ ส่วนวงกลมด้านล่างเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวคือ พารามี เซียม) 1.2 ครูเชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียน โดยใช้คำถามว่าจากที่เรียนมาแล้วว่าธาตุประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เล็ก ที่สุดที่แสดงสมบัติของธาตุเรียกว่า อะตอม นักเรียนคิดว่า สิ่งมีชีวิตจะมีหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดที่แสดง สมบัติของการมีชีวิตหรือไม่ หน่วยย่อยที่เล็กที่สุดนั้นเรียกว่าอะไร และมีรูปร่างลักษณะอย่างไร 1.3 ครูให้นักเรียนสังเกตภาพจากหนังสือเรียนซึ่งเป็นภาพเลือดที่กำลังแข็งตัวภายใต้กล้องจุลทรรศน์ที่มี กำลังขยายสูงและอ่านเนื้อหานำบท จากนั้นอภิปรายโดยใช้คำถามต่อไปนี้ • เลือดที่กำลังแข็งตัวประกอบด้วยอะไรบ้าง(เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว และ เส้นใยไฟบริน) • รูปร่างลักษณะของเซลล์แต่ละชนิดมีความเหมือนหรือต่างกันหรือไม่อย่างไร (ต่างกันโดยเซลล์เม็ด เลือดแดง มีลักษณะเป็นทรงกลมสีแดง เว้าส่วนกลาง เซลล์เม็ดเลือดขาวมีลักษณะเป็นทรงกลมสีขาว ส่วน ไฟบรินเป็นสารประกอบประเภทโปรตีน) • เซลล์แต่ละชนิดมีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร (เซลล์เม็ดเลือดแดงทำหน้าที่ลำเลียงแก๊สไปยังส่วน ต่าง ๆ ของร่างกาย เซลล์เม็ดเลือดขาวทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรค) • เราสามารถสังเกตลักษณะของเซลล์เหล่านั้นได้โดยวิธีการใด (สามารถสังเกตได้โดยใช้กล้อง จุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูง)


Click to View FlipBook Version