The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ชุดที่ 3 หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Anocha Utumsakulrat, 2024-05-14 10:17:49

ชุดที่ 3 หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

ชุดที่ 3 หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

สารบัญ หน้า บทนำ................................................................................................................................ คำชี้แจงการใช้ชุดกิจกรรม................................................................................................ ก แบบประเมินตนเองก่อนเรียน........................................................................................... ข หน่วยการเรียนรู้เรื่อง หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต .......................................... 1 ขั้นพัฒนาปัญญา 1 เซลล์ ……………………………........................................................................... 1 -กิจกรรม ร่วม กัน คิด 1 .......................................... 4 -กิจกรรมที่ 1 โลกใต้กล้องจุลทรรศน์เป็นอย่างไร ……………… 5 โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ ………………………………………………….. 9 -กิจกรรมที่ 2 เซลล์พืช และเซลล์สัตว์แตกต่างอย่างไร………… 10 -กิจกรรม ร่วม กัน คิด 2 ……………………………………………… 14 -แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนเรื่องเซลล์ ……………………………….. 16 การลำเลียงสารเข้าออกเซลล์............................................................. 19 -กิจกรรมที่ 3 อนุภาคของสารมีการเคลื่อนที่อย่างไร………….. 20 -กิจกรรม ร่วม กัน คิด 3 ……………………………………………… 21 -กิจกรรมที่ 4 น้ำเคลื่อนที่ผ่านเยื่อเลือกผ่านได้อย่างไร……….. 22 -กิจกรรม ร่วม กัน คิด 4 ……………………………………………… 23 -แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนการลำเลียงสารเข้าออกเซลล์………… 25 ขั้นนำปัญญาพัฒนาความคิด 26 -กิจกรรม เพราะเหตุใดน้ำหนักของไข่ไก่จึงเปลี่ยนแปลง……… 26 ขั้นนำปัญญาพัฒนาตนเอง 28 -กิจกรรม ตรวจสอบตนเอง …………………………..………………… 28 แบบประเมินตนเองหลังเรียน............................................................................................ 29 อ้างอิง............................................................................................................................ 33


บทนำ ชุดกิจกรรมที่ผู้เรียนจะได้ศึกษานี้เรียกว่าชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตเป็นสื่อวิทยาศาสตร์ที่เน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิด แก้ปัญหาอย่างมีระบบ พบคำตอบของปัญหาหรือสถานการณ์นั้นด้วยตนเอง ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ด้วยตนเอง ได้คิดและลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ และ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนักเรียน ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการเนื้อหาส่วนใหญ่เน้นการให้นักเรียนสามารถ นำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันเพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาได้ด้วยตนเองจึงได้เรียบเรียง เนื้อหาให้กระชับและน่าสนใจและนอกจากนี้ยังได้แทรกรูปภาพและคำถามชวนคิดไว้ตลอดทำให้ไม่เบื่อในการ อ่านและทำกิจกรรม ผู้จัดทำชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารชุดนี้จะมี ประโยชน์ในการเรียนรู้เนื้อหาตามหลักสูตร ผู้เรียนมีความรู้และความสามารถในการสืบค้น การจัดระบบสิ่งที่ เรียนรู้ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ ได้เป็นอย่างดีสามารถนำความรู้ที่ได้จากการ เรียนรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ และเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจใช้เป็นแนวทาง ในการจัดกระบวนการ เรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ต่อไป ........................................... ( นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์ ) ผู้จัดทำชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์


1. สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การลาเลียงสารเข้าและออก จากเซลล์ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสัตว์และมนุษย์ที่ทางานสัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ของพืชที่ทางานสัมพันธ์กัน รวมทั้งนาความรู้ไปใช้ ประโยชน์ 2. มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด เรื่องหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ชุดนี้ ใช้เวลา 12 ชั่วโมง มาตรฐานการเรียนรู้ /ตัวชี้วัด ว 1.2 ม.1/1, ม.1/2, ม.1/4,ม.1/5 3. วิธีเรียนรู้จากชุดกิจกรรมนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนักเรียนควรปฏิบัติตามคำชี้แจง ต่อไปนี้ ตามลำดับ 1. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สองภาษาตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ เรื่อง หน่วยพื้นฐานของ สิ่งมีชีวิต ชุดนี้ ใช้เวลาในการศึกษา 12 ชั่วโมง 2. ให้นักเรียนจัดกลุ่ม ๆ ละประมาณ 6 คน 3. ให้นักเรียนศึกษามาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัดของชุดการเรียน 4. ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมในชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ โดยใช้ รูปแบบการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการตามขั้นตอนดังนี้ 1. ขั้นพัฒนาปัญญา 2. ขั้นนำปัญญาพัฒนาความคิด 3. ขั้นนำปัญญาพัฒนาตนเอง 4. สาระสำคัญ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีเซลล์เป็นส่วนประกอบ บางชนิดประกอบด้วยเซลล์ 1 เซลล์ บางชนิดประกอบด้วย เซลล์หลายเซลล์ เซลล์ของสิ่งมีชีวิตจะมีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจึงต้องใช้กล้อง จุลทรรศน์ใช้แสงเป็นเครื่องมือช่วยในการศึกษาเซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีโครงสร้างพื้นฐานเหมือน กัน คือ มีเยื่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาซึม และนิวเคลียสซึ่งโครงสร้างพื้นฐานนี้จะทำหน้าที่แตกต่างกันไป แต่เซลล์พืช มีโครงสร้างบางอย่างที่ไม่พบในเซลล์สัตว์ ได้แก่ผนังเซลล์และคลอโรพลาสต์เซลล์มีรูปร่างลักษณะที่หลากหลาย เพื่อให้เหมาะสมกับหน้าที่ของเซลล์นั้น ๆ โดยเซลล์ชนิดเดียวกันหรือหลายชนิดจะทำงานร่วมกันเป็นเนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อหลายชนิดรวมกันเป็นอวัยวะ อวัยวะทำงานร่วมกันจัดเป็นระบบอวัยวะ และระบบอวัยวะทุกระบบ ทำงานร่วมกันจนเป็นสิ่งมีชีวิต *** ขอให้นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างมีความสุข *** คำชี้แจงการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ เรื่อง หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ก


คำชี้แจง : ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว ใช้เวลา 20 นาที 1. จากวัตถุที่กำหนดให้ เมื่อสังเกตวัตถุนี้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ใช้แสง ภาพที่เห็นจะมีลักษณะอย่างไร แบบประเมินตนเองก่อนเรียน ข


2. จากแผนภาพ ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง ก. หมายเลข 1 หมายถึง เยื่อหุ้มเซลล์ และ หมายเลข 8 หมายถึง สิ่งมีชีวิต ข. หมายเลข 2 หมายถึง เยื่อเลือกผ่าน และ หมายเลข 7 หมายถึง ระบบเนื้อเยื่อ ค. หมายเลข 3 หมายถึง สารพันธุกรรม และ หมายเลข 4 หมายถึง คลอโรพลาสต์ ง. หมายเลข 5 หมายถึง คลอโรฟิลล์ และ หมายเลข 6 หมายถึง แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 3. จากแผนภาพต่อไปนี้ ข้อใดถูกต้อง


ก. 1 คือ เยื่อหุ้มเซลล์ และ 2 คือ ผนังเซลล์ ข. 1 คือ เยื่อหุ้มเซลล์ และ 2 คือ คลอโรพลาสต์ ค. 2 คือ คลอโรพลาสต์ และ 3 คือ แวคิวโอล ง. 2 คือ คลอโรพลาสต์ และ 3 คือ เยื่อหุ้มเซลล์ 4. ถ้านำเซลล์จากส่วน A และส่วน B ของต้นไม้ตัวอย่างดังภาพ มาส่องภายใต้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสง โครงสร้างใดที่พบมากในเซลล์จากส่วน A และพบน้อยหรือไม่พบเลยในส่วน B ก. ไมโทคอนเดรีย ข. คลอโรพลาสต์ ค. ผนังเซลล์ ง. นิวเคลียส 5. นักวิทยาศาสตร์วิจัยเกี่ยวกับการสะสมแป้งของข้าวสายพันธุ์ใหม่ โดยการศึกษาโครงสร้างของเซลล์เมล็ดข้าว หลักฐานในข้อใดที่บ่งชี้ว่าเมล็ดข้าวดังกล่าวน่าจะมีการสะสมแป้งได้ดีที่สุด ก. พบผนังเซลล์หนาล้อมรอบเซลล์ ข. พบนิวเคลียสขนาดใหญ่จนเกือบเต็มเซลล์ ค. พบแวคิวโอลขนาดใหญ่กระจายทั่วทั้งเซลล์ ง. พบคลอโรพลาสต์จำนวนมากอยู่ภายในเซลล์ 6. การจัดระบบของสิ่งมีชีวิตในข้อใด เรียงลำดับจากใหญ่ไปเล็กได้ถูกต้อง ก. ระบบหมุนเวียนเลือด หัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ข. เซลล์ลำไส้ใหญ่ เนื้อเยื่อลำไส้ใหญ่ ลำไส้ใหญ่ ระบบย่อยอาหาร ค. เซลล์ประสาท สมอง เนื้อเยื่อสมอง ระบบประสาท ง. ระบบหายใจ เนื้อเยื่อปอด ปอด เซลล์ปอด 7. ข้อใดอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่างกับหน้าที่ของเซลล์ได้ถูกต้อง ก. เซลล์คุม มีผนังเซลล์หนาบางไม่เท่ากัน เพื่อให้สามารถปิดเปิดปากใบได้ ข. เซลล์เม็ดเลือดแดง มีรูปร่างกลมแบน เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการแลกเปลี่ยนแก๊ส ค. เซลล์ประสาท มีเส้นใยเป็นแขนงยาว เพื่อช่วยให้กระแสประสาทเคลื่อนที่เร็วขึ้น ง. เซลล์เนื้อเยื่อลำเลียง มีลักษณะเป็นท่อกลวงยาว เพื่อสร้างความแข็งแรงแก่เซลล์ 8. สถานการณ์ใดเป็นผลมาจากการแพร่ ก. สวมเสื้อคลุมให้ร่างกายอบอุ่นเมื่ออากาศเย็น ข. ได้กลิ่นหอมของดอกไม้ในสวน ค. ใช้พัดโบกไปมา เพื่อให้เหงื่อแห้งเร็วขึ้น ง. น้ำค้างระเหยจากบริเวณยอดหญ้า


9. สารละลายน้ำตาล 1% และ สารละลายน้ำตาล 5% บรรจุอยู่ในภาชนะใบเดียวกัน โดยมีเยื่อเลือกผ่านกั้นอยู่ ระหว่างสารละลายทั้งสอง ดังภาพ จากภาพ ข้อความใดแสดงถึงกระบวนการออสโมซิส ก. การเคลื่อนที่ของน้ำตาลจากสารละลายน้ำตาล 1% ไปยังสารละลายน้ำตาล 5% ข. การเคลื่อนที่ของน้ำตาลจากสารละลายน้ำตาล 5% ไปยังสารละลายน้ำตาล 1% ค. การเคลื่อนที่ของน้ำ จากสารละลายน้ำตาล 1% ไปยังสารละลายน้ำตาล 5% ง. การเคลื่อนที่ของน้ำ จากสารละลายน้ำตาล 5% ไปยังสารละลายน้ำตาล 1% 10. เมื่อเริ่มต้นจัดชุดการทดลองได้ผลดังภาพ หากวางชุดการทดลองนี้ต่อไปอีก 5 นาที ของเหลวในหลอดแก้ว และบีกเกอร์จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ระดับของเหลวในหลอดแก้ว ระดับของเหลวในบีกเกอร์ ก. สูงขึ้น ต่ำลง ข. ต่ำลง สูงขึ้น ค. เท่าเดิม เท่าเดิม ง. ต่ำลง ต่ำลง คะแนนเต็ม 10 คะแนน ได้ ........... คะแนน


หน่วยที่ 3 หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต เวลา 12 ชั่วโมง สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีเซลล์เป็นส่วนประกอบ บางชนิดประกอบด้วยเซลล์1 เซลล์ บางชนิด ประกอบด้วยซลล์หลายเซลล์เซลล์ของสิ่งมีชีวิตจะมีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจึงต้อง ใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเป็นเครื่องมือช่วยในการศึกษาเซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีโครงสร้างพื้นฐานเหมือนกัน คือ มีเยื่อหุ้มเซลล์ไซโทพลาซึม และนิวเคลียสซึ่งโครงสร้างพื้นฐานนี้จะทำหน้าที่แตกต่างกันไป แต่เซลล์พืชมี โครงสร้างบางอย่างที่ไม่พบในเซลล์สัตว์ได้แก่ผนังเซลล์และคลอโรพลาสต์ เซลล์มีรูปร่างลักษณะที่หลากหลายเพื่อให้เหมาะสมกับหน้าที่ของเซลล์นั้น ๆ โดยเซลล์ชนิดเดียวกัน หรือหลายชนิดจะทำงานร่วมกันเป็นเนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อหลายชนิดรวมกันเป็นอวัยวะ อวัยวะทำงานร่วมกันจัดเป็น ระบบอวัยวะ และระบบอวัยวะทุกระบบทำงานร่วมกันจนเป็นสิ่งมีชีวิต นักเรียนคิดว่าในน้ำมีสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่เรามองไม่เห็นหรือไม่ เช่นอะไรบ้าง………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. จากที่เรียนมาแล้วว่าธาตุประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดที่แสดงสมบัติของธาตุเรียกว่า อะตอม นักเรียนคิดว่า สิ่งมีชีวิตจะมีหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดที่แสดงสมบัติของการมีชีวิตหรือไม่ หน่วยย่อยที่เล็กที่สุดนั้น เรียกว่าอะไร และมีรูปร่างลักษณะอย่างไร ขั้นพัฒนาปัญญา กิจกรรม ฝึกอ่าน : ฝึกคิด 1. เซลล์ จากภาพ นักเรียนสังเกตเห็นสิ่งมีชีวิตอะไรบ้าง 1


นักเรียนคิดว่าสิ่งที่อยู่ภายในวงกลม 3 วงนี้คืออะไร เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตในภาพอย่างไร …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 1. สิ่งมีชีวิตในภาพมีกี่กลุ่ม อะไรบ้าง …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 2. ถ้าต้องการสังเกตครีบปลาให้ชัดเจนยิ่งขึ้นจะใช้เครื่องมืออะไร …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… โครงสร้างโดยทั่วไปของกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงธรรมดา ดังนี้ คือ 1. ส่วนฐาน (base) คือส่วนฐานที่วางติดกับโต๊ะ มีหลอดไฟฟ้าติดอยู่ที่ฐานกล้องพร้อมสวิทช์ปิดเปิด 2. ส่วนแขน (arm) คือส่วนที่ยึดติดระหว่างลำกล้องกับส่วนฐาน 3. ลำกล้อง (body tube) มีเลนส์ใกล้ตาติดอยู่ด้านบน ส่วนด้านล่างติดกับแผ่นหมุน ซึ่งมีเลนส์ใกล้วัตถุติด อยู่ บางกล้องมีปริซึมติดอยู่เพื่อหักเหแสงจากเลนส์ใกล้วัตถุให้ผ่านเลนส์ใกล้ตา เราสามารถใช้กล้องจุลทรรศน์ในการศึกษาสิ่งที่เรามองด้วยตาเปล่าไม่ เห็น เช่น เซลล์กล้องจุลทรรศน์มีหลายแบบ โดยแบบที่ใช้ในบทเรียน นี้ เป็นกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง นักเรียนจะได้ศึกษาส่วนประกอบ และวิธีการใช้งานกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง ทบทวนความรู้ก่อนเรียน 1 2


4. แผ่นหมุน (revolving nosepiece) คือแผ่นกลมหมุนได้ มีเลนส์ใกล้วัตถุติดอยู่เพื่อหมุนเปลี่ยนกาลัง ขยายของเลนส์ตามความต้องการ 5. เลนส์ใกล้วัตถุ (objective lens) คือเลนส์ที่ติดอยู่บนแผ่นหมุน ตามปกติจะมี 3 หรือ 4 อัน แต่ละอันจะ มีตัวเลขแสดงกำลังขยายกำกับไว้ เช่น x4, x10, x40 หรือ x100 เป็นต้น ในกรณีที่ใช้เลนส์ใกล้วัตถุกาลัง ขยาย x100 ต้องใช้น้ำมันเป็นตัวกลางระหว่างเลนส์และวัตถุจึงจะเห็น 6. เลนส์ใกล้ตา (eyepiece lens) คือเลนส์ชุดที่อยู่ส่วนบนสุดของกล้อง มีตัวเลขบอกกำลังขยายอยู่ ทางด้านบน เช่น x5, x10, หรือ x15 เป็นต้น บางกล้องมีเลนส์ใกล้ตาอันเดียว (monocular) บางกล้องมี เลนส์ใกล้ตา 2 อัน (binocular) เลนส์ชุดนี้ขยายภาพที่เกิดจากเลนส์ใกล้วัตถุ ภาพที่เห็นมีขนาดขยาย เป็น ภาพเสมือนหัวกลับ และกลับซ้ายเป็นขวากับวัตถุ 7. วงล้อปรับภาพ (adjustment wheel) สำหรับปรับระยะห่างระหว่างวัตถุกับเลนส์ใกล้วัตถุ เพื่อปรับ ภาพให้เห็นชัด ซึ่งระยะห่างที่ทาให้เห็นภาพชัด เรียกว่า ระยะการทำงานของกล้อง (working distance) หรือระยะโฟกัสของกล้อง วงล้อดังกล่าวมี 2 ชนิด คือ ชนิดปรับภาพหยาบ (coarse adjustment wheel) ใช้ปรับระยะห่างระหว่างวัตถุกับเลนส์ใกล้วัตถุชนิดกำลังขยาย 10 เท่าลงมา และชนิดปรับภาพละเอียด (fine adjustment wheel) ใช้ปรับภาพให้ชัด เมื่อใช้เลนส์ใกล้วัตถุกำลังขยายสูง 40 เท่าขึ้นไป 8. แท่นวางวัตถุ (stage) มีช่องตรงกลางสำหรับให้แสงผ่าน และใช้วางสไลด์แก้ว เป็นอุปกรณ์ที่เคลื่อนที่ได้ (mechanical stage) ด้วยการหมุนปุ่มบังคับ อุปกรณ์ดังกล่าวมีคลิปเกาะสไลด์ และมีสเกลบอกตำแหน่ง ของสไลด์บนแท่นวางวัตถุ ฉะนั้นอุปกรณ์นี้จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเลื่อนสไลด์ไปทางขวา ซ้าย หน้า และหลังได้ในขณะที่ตามองภาพในกล้อง ช่วยให้หาภาพได้รวดเร็ว และมีสเกลบอกตำแหน่งของวัตถุ บนสไลด์ 9. คอนเดนเซอร์ (condenser) คือชุดของเลนส์ที่ทำหน้าที่รวมแสงให้มีความเข้มมากที่สุด เพื่อส่องวัตถุบน สไลด์แก้วให้สว่างที่สุด มีปุ่มปรับความสูงต่ำของ condenser 10. ไอริสไดอะแฟรม (iris diaphragm) เป็นม่านปรับรูเปิดเพื่อให้แสงผ่านเข้า condenser และมีปุ่มสาหรับ ปรับ iris diaphragm ให้แสงผ่านเข้ามากน้อยตามต้องการ 11. แหล่งกำเนิดแสง (light source) เป็นหลอดไฟฟ้าให้แสงสว่างติดอยู่ที่ฐานกล้อง มีสวิทช์เปิดปิด และมี สเกลปรับปริมาณแสงสว่าง การใช้กล้องจุลทรรศน์ 1. การจับกล้องและเคลื่อนย้ายกล้อง ต้องใช้มือหนึ่งจับที่แขนและอีกมือหนึ่งรองที่ฐานของกล้อง 2. ตั้งลำกล้องให้ตรง 3. เปิดไฟเพื่อให้แสงเข้าลำกล้องได้เต็มที่ 4. หมุนเลนส์ใกล้วัตถุ ให้เลนส์ที่มีกำลังขยายต่ำสุดอยู่ในตำแหน่งแนวของลำกล้อง 5. นำสไลด์ที่จะศึกษามาวางบนแท่นวางวัตถุ โดยปรับให้อยู่กลางบริเวณที่แสงผ่าน 6. ค่อยๆหมุนปุ่มปรับภาพหยาบให้กล้องเลื่อนขึ้นช้าๆเพื่อหาระยะภาพ แต่ต้องระวังไม่ให้เลนส์ใกล้วัตถุ กระทบกับสไลด์ตัวอย่าง เพราะจะทำให้เลนส์แตกได้ 7. ปรับภาพให้ชัดเจนขึ้นด้วยปุ่มปรับภาพละเอียด ถ้าวัตถุที่ศึกษาไม่อยู่ตรงกลางให้เลื่อนสไลด์ให้มาอยู่ตรง กลาง 3


8. ถ้าต้องการให้ภาพขยายใหญ่ขึ้นให้หมุนเลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายสูงกว่าเดิมมาอยู่ในตำแหน่งแนวของลำ กล้อง จากนั้นปรับภาพให้ชัดเจนด้วยปุ่มปรับภาพละเอียดเท่านั้น ห้ามปรับภาพด้วยปุ่มปรับภาพหยาบ เพราะจะทำให้ระยะของภาพ หรือจุดโฟกัสของภาพเปลี่ยนไป 9. บันทึกกำลังขยายโดยหาได้จากผลคูณของกำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุกับกำลังขยายของเลนส์ใกล้ตา คำสั่ง จงเติมส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์ให้ครบถ้วนและสมบูรณ์ ร่วม กัน คิด1 4


กิจกรรมที่ 1 โลกใต้กล้องจุลทรรศน์เป็นอย่างไร จุดประสงค์: 1. สังเกตและอภิปราย เพื่อระบุส่วนประกอบและบรรยายหน้าที่แต่ละส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์ใช้แสง 2. ฝึกปฏิบัติการใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเพื่อสังเกตเซลล์ 3. สังเกตเซลล์และนำเสนอหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับลักษณะของเซลล์ วัสดุและอุปกรณ์ รายการ ปริมาณ/กลุ่ม 1. กล้องจุลทรรศน์ใช้แสง 1 กล้อง 2. แว่นขยาย 1 อัน 3. สไลด์ 1 แผ่น 4. สไลด์ถาวรของเนื้อเยื่อพืช เช่น ลำต้น ใบ 1 แผ่น 5. สไลด์ถาวรของเนื้อเยื่อสัตว์ เช่น ลำไส้เล็ก กล้ามเนื้อ 1 แผ่น 6. สไลด์ถาวรของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น พารามีเซียม 1 แผ่น 7. ปากกา 1 ด้าม 8. เทปใส 1 ม้วน 9. กระดาษขาว ขนาด 1 cm x 1 cm 1- 2 แผ่น กำลังขยายของภาพที่เห็นภายใต้กล้องจุลทรรศน์ คำนวณได้จากผลคูณกำลังขยาย ของเลนส์ใกล้วัตถุกับกำลังขยายของเลนส์ใกล้ตา วิธีการทดลอง ตอนที่ 1 1. สังเกตส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์ใช้แสงและร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับหน้าที่ของส่วนประกอบ ต่างๆ 2. อ่านวิธีการใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงจากข้อมูลในหนังสือเรียน 3. เขียนตัวอักษรขนาดเล็กบนกระดาษที่ตัดไว้ วางกระดาษบนสไลด์และปิดด้วยเทปใส สังเกตตัว อักษรบนสไลด์และบันทึกผลให้มีขนาดใกล้เคียงกับขนาดตัวอักษรบนสไลด์ • ควรใช้จานหมุนในการเปลี่ยนกำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุและหมุน ให้เข้าที่ตรงกับลำกล้องหรือตำแหน่งส่อง และปรับระยะภาพโดยเริ่ม จากกำลังขยายต่ำก่อนเสมอ • เมื่อใช้เลนส์ใกล้วัตถุกำลังขยายขนาด 40 เท่า ไม่ควรปรับระยะภาพ ด้วยปุ่มปรับภาพหยาบเพราะอาจทำให้เลนส์ใกล้วัตถุกระแทกสไลด์ • ควรปรับเลนส์ใกล้วัตถุให้เป็นเลนส์ที่มีกำลังขยายต่ำสุดก่อนนำสไลด์ ออก กำลังขยายของกล้องจุลทรรศน์= กำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ x กำลังขยายของเลนส์ใกล้ตา 5


4. สังเกตตัวอักษรโดยใช้แว่นขยาย บันทึกผลโดยการวาดภาพและเขียนบรรยายลักษณะของภาพ 5. สังเกตตัวอักษรโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงซึ่งใช้เลนส์ใกล้วัตถุกำลังขยาย 4 เท่า จากนั้นปรับเป็น กำลังขยาย 4 เท่า จากนั้นปรับเป็นกำลังขยาย 10 เท่า และ 40 เท่าตามลำดับ สังเกตและบันทึกผล โดยการวาดภาพและเขียนบรรยายลักษณะของภาพ พร้อมระบุกำลังขยายของกล้องที่ใช้ 6. เปลี่ยนให้เลนส์ใกล้วัตถุกำลังขยาย 4 เท่า อยู่ตรงกับวัตถุแล้วเลื่อนสไลด์ที่มีตัวอักษรไปทางซ้าย ขวา บน และล่าง สังเกตการเปลี่ยนตำแหน่งของภาพและบันทึกผลโดยการวาดภาพและเขียนบรรยาย ลักษณะของภาพ ผลการทำกิจกรรม ตอนที่ 1 1. ภาพที่สังเกตได้จากแว่นขยาย ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….. ก่อนสังเกตด้วยแว่นขยาย หลังสังเกตด้วยแว่นขยาย 2. ภาพที่สังเกตได้หลังจากใช้เลนส์ใกล้วัตถุขนาด 4X 10X และ 40X ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….. ก่อนสังเกตด้วย กล้องจุลทรรศน์ใช้แสง กำลังขยาย 40 เท่า กำลังขยาย 100 เท่า กำลังขยาย 400 เท่า หลังสังเกตด้วยกล้องจุลทรรศน์ใช้แสง 3. ภาพที่สังเกตได้จากการเลื่อนแท่นวางสไลด์ไปทางซ้าย ขวา บน และล่าง ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….. ก่อนเลื่อนสไลด์ เมื่อเลื่อนสไลด์ไปทางซ้าย เมื่อเลื่อนสไลด์ขึ้นบน น น 6


เมื่อเลื่อนสไลด์ไปทางขวา เมื่อเลื่อนสไลด์ลงล่าง คำถามท้ายกิจกรรม 1. แว่นขยายมีส่วนประกอบและหน้าที่เหมือนหรือแตกต่างจากกล้องจุลทรรศน์อย่างไร .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. 2. ภาพอักษรที่สังเกตจากกล้องจุลทรรศน์มีลักษณะแตกต่างจากแว่นขยายอย่างไร .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. 3. เมื่อปรับกำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุให้สูงขึ้น ภาพที่เห็นเป็นอย่างไร .............................................................................................................................................................................. 4. เมื่อเลื่อนวัตถุไปทางซ้าย ขวา บน และล่าง ภาพที่เห็นจากกล้องจุลทรรศน์จะเปลี่ยนตำแหน่งไปอย่างไร .............................................................................................................................................................................. 5. เมื่อพบปัญหาขณะใช้กล้องจุลทรรศน์ เช่น ไม่เห็นภาพ ภาพไม่ชัดเจน ภาพที่เห็นมืดหรือสว่างเกินไป จะมี วิธีการแก้ไขอย่างไร .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. 6. จากกิจกรรม สรุปได้ว่าอย่างไร .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. วิธีการทดลอง ตอนที่ 2 เซลล์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ 1. ใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงสังเกตลักษณะของเซลล์พืชจากสไลด์ถาวรของเนื้อเยื่อพืช โดยใช้เลนส์ใกล้วัตถุ กำลังขยาย 10 เท่าสังเกตและบันทึกผลโดยการวาดภาพ 2. ทำซ้ำข้อ 1 โดยใช้สไลด์ถาวรของเนื้อเยื่อสัตว์ และสไลด์ถาวรของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว 7


3. นำภาพที่บันทึกได้มาจัดแสดงและร่วมอภิปรายเปรียบเทียบลักษณะที่พบของเซลล์พืชเซลล์สัตว์ และ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ผลการทำกิจกรรม ตอนที่ 2 1. ภาพที่นักเรียนสังเกตได้จากการทำกิจกรรม ภาพวาดจากสไลด์ถาวรของเนื้อเยื่อพืช ภาพวาดจากสไลด์ถาวรของเนื้อเยื่อสัตว์ ภาพวาดจากสไลด์ถาวรของพารามีเซียม 2. ลักษณะร่วมกันของเซลล์ของสิ่งมีชีวิต .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. คำถามท้ายกิจกรรม 1.รูปร่างลักษณะของภาพที่สังเกตได้จากสไลด์ถาวรของเนื้อเยื่อพืช เนื้อเยื่อสัตว์ และสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวมี รูปร่างลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. 2. สิ่งที่นักเรียนสังเกตได้ ส่วนใดที่เป็นเซลล์และมีลักษณะอย่างไร .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. 3. จากกิจกรรม สรุปได้ว่าอย่างไร .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. 4. จากกิจกรรมทั้ง 2 ตอน สรุปได้ว่าอย่างไร .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. 8


นักเรียนคิดว่าเซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีรูปร่างลักษณะและโครงสร้างแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… คำสั่ง เขียนเครื่องหมาย หน้าข้อสิ่งที่ประกอบด้วยเซลล์ ผักกาด น้ำตาล ไส้เดือนดิน หนอน โปรตีน ดอกกุหลาบ ปลากัด เมล็ดแตงโม ทราย พารามีเซียม อธิบายเพิ่มเติม : …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ทบทวนความรู้ก่อนเรียน 2 2. โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ ภาพ เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ภาพที่นักเรียนเห็นมีลักษณะอย่างไร ………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………… นักเรียนคิดว่าภาพใดเป็นเซลล์พืช ภาพใดเป็นเซลล์สัตว์ ………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………… 9


กิจกรรมที่ 2 เซลล์พืช และเซลล์สัตว์แตกต่างอย่างไร จุดประสงค์: สังเกตและรวบรวมหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อบรรยายและเปรียบเทียบรูปร่างลักษณะและโครงสร้าง ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ วัสดุและอุปกรณ์ วิธีการทดลอง ตอนที่ 1 หัวหอมแดง 1. หยดน้ำลงบนสไลด์ 1-2 หยด 2. ใช้ปากคีบลอกเยื่อด้านในของหัวหอมแดงออก ตัดเป็นชิ้นเล็กๆแล้วค่อยๆวางบนหยดน้ำบนสไลด์เพื่อ ไม่ให้เกิดฟองอากาศระวังไม่ให้เนื้อเยื่อพับซ้อนกัน และหยดสารละลายไอโอดีน 1 หยด บนเยื่อหัว หอมแดง รายการ ปริมาณ/กลุ่ม 1. สารละลายไอโอดีน ความเข้มข้น 1% 1 ขวด 2. น้ำเกลือ ความเข้มข้น 0.85% 50 cm3 3. กระดาษเยื่อ 1 ม้วน 4. สาหร่ายหางกระรอก 1 ช่อ 5. หัวหอมแดงหรือหัวหอมใหญ่ 1 หัว 6. น้ำ 100 100 cm3 7. ปากคีบ 1 อัน 8. ก้านสำลี 1 อัน 9. หลอดหยด 1 อัน 10. เข็มเขี่ย 1 อัน 11. ใบมีดโกน 1 เล่ม 12. สไลด์และกระจกปิดสไลด์ 3 ชุด 13. กล้องจุลทรรศน์ใช้แสง 1 กล้อง เซลล์พืช และเซลล์สัตว์มีรูปร่างลักษณะเหมือนหรือแตกต่างกัน หรือไม่ และโครงสร้างภายในของเซลล์ประกอบด้วยอะไรบ้าง …………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………… 10


3. วางกระจกปิดสไลด์ทำมุมประมาณ 45 องศา กับสไลด์ด้านหนึ่ง ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ของมือซ้ายจับ ขอบกระจก แล้วเลื่อนกระจกปิดสไลด์ไปสัมผัสกับขอบด้านนอกของหยดน้ำ มือขวาจับเข็มเขี่ยรองรับ กระจกปิดสไลด์ไว้ แล้วค่อยๆลดเข็มเขี่ยลงจนกระจกปิดสไลด์ปิดลงบนสไลด์สนิท ระวังอย่าให้มี ฟองอากาศ ใช้กระดาษเยื่อแตะด้านข้างๆกระจกปิดสไลด์เพื่อซับของเหลวส่วนเกินออก 4. นำสไลด์ตัวอย่างไปสังเกตด้วยกล้องจุลทรรศน์ใช้แสงกำลังขยายต่างๆบันทึกผลโดยการวาดภาพหรือ ถ่ายภาพ 5. ระบุโครงสร้างของเซลล์ที่พบจากการสังเกต สาหร่ายหางกระรอก 1. หยดน้ำลงบนสไลด์ 1 หยด 2. ใช้ปากคีบเด็ดใบสาหร่ายหางกระรอกบริเวณใกล้ส่วนยอด 1 ใบ วางบนหยดน้ำบนแผ่นสไลด์ปิดด้วย กระจกปิดสไลด์ 3. นำสไลด์ตัวอย่างไปสังเกตด้วยกล้องจุลทรรศน์ใช้แสงกำลังขยายต่างๆบันทึกผลโดยการวาดภาพหรือ ถ่ายภาพ 4. ระบุโครงสร้างของเซลล์ที่พบจากการสังเกต ผลการทำกิจกรรม ตอนที่ 1 เซลล์พืช เซลล์เยื่อหอมแดง เซลล์สาหร่ายหางกระรอก .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. คำถามท้ายกิจกรรม 1. เซลล์พืชทั้ง 2 ชนิด มีรูปร่างลักษณะเป็นอย่างไร และมีโครงสร้างอะไรบ้าง .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. 2. เซลล์พืชทั้ง 2 ชนิด เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. 11


3. จากกิจกรรม สรุปได้ว่าอย่างไร .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. วิธีการทดลอง ตอนที่ 2 เยื่อบุข้างแก้ม 1. หยดน้ำเกลือความเข้มข้น 0.85% ลงบนสไลด์ 1 หยด 2. ใช้ก้านสำลีที่สะอาดขูดเบาๆที่ด้านในของกระพุ้งแก้ม แล้วนำไปแตะลงบนหยดน้ำเกลือบนสไลด์ 3. หยดสารละลายไอโอดีน 1 หยด บนสไลด์แล้วปิดด้วยกระจกปิดสไลด์ 4. นำสไลด์ตัวอย่างไปสังเกตด้วยกล้องจุลทรรศน์ใช้แสงกำลังขยายต่างๆบันทึกผลโดยการวาดภาพหรือ ถ่ายภาพ 5. ระบุโครงสร้างของเซลล์ที่พบจากการสังเกต ผลการทำกิจกรรมตอนที่ 2 เซลล์สัตว์ เซลล์เยื่อบุข้างแก้ม คำถามท้ายกิจกรรม 1. เซลล์สัตว์มีรูปร่างลักษณะเป็นอย่างไร และมีโครงสร้างอะไรบ้าง .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. 2. จากกิจกรรม สรุปได้ว่าอย่างไร .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. 3. จากกิจกรรมทั้ง 2 ตอน สรุปได้ว่าอย่างไร .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. ส่วนประกอบของเซลล์ เซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีส่วนประกอบคล้ายกับบ้านที่อยู่อาศัยที่โครงสร้างประกอบด้วย อิฐ ไม้ กระจก แบ่งเป็นห้อง ๆ และเป็นส่วนต่าง ๆ ที่แกตละห้องแต่ละส่วนก็เพื่อประโยชน์ต่างกัน จึงทำให้บ้านเป็นหน่วย อาศัยที่สมบูรณ์ เช่นเดียวกับ เซลล์ทุกชนิดจะประกอบด้วยโครงสร้างหรือส่วนประกอบที่ทำให้เซลล์ 1 เซลล์ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เซลล์จะประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐาน ดังนี้ …………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………… 12


ผนังเซลล์ ผนังเซลล์ (Cell wall) มีลักษณะเป็นผนังหนาอยู่ด้านนอกสุดของเซลล์ เราจะพบผนังเซลล์เฉพาะในเซลล์ ของพืชเท่านั้น โครงสร้างนี้ทำหน้าที่ป้องกันส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ภายในเซลล์ และช่วยรักษารูปทรงของเซลล์ให้คง อยู่ ผนังเซลล์ประกอบด้วยสาร เซลลูโลส ลิกนิน เพกทิน โปรตีน และสารประกอบอื่น ๆ เช่น คิวทิน และซูเบอ ริน จึงทำให้ผนังเซลล์มีความแข็งแรงมาก เยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane) มีลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ ห่อหุ้มส่วนต่าง ๆ ของเซลล์ ทำหน้าที่เหมือน ยามประตู คือ คอยควบคุมการผ่านเข้าออกของสารระหว่างภายในเซลล์และภายนอกเซลล์ มีสมบัติเป็นเยื่อ เลือกผ่าน (Semi - permeable membrane) คือ ยอมให้สารบางชนิดเท่านั้นผ่านเข้าออกได้ เยื่อหุ้มเซลล์ สามารถยืดและหดได้ แต่ถ้าได้รับแรงดันมาก ๆ เยื่อหุ้มเซลล์จะขาดและทำให้เซลล์ตายได้ ไซโทพลาซึม ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ประกอบด้วยสารประกอบทางเคมีและโครงสร้างต่างๆมากมาย ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ กิจกรรมส่วนใหญ่ภายในเซลล์เรียกว่า ไซโทพลาซึม (Cytoplasm) ส่วนที่เป็นออร์แกเนลล์ มีหลายชนิดและทำ หน้าที่ต่าง ๆ กัน เช่น ทำหน้าที่เก็บสะสมอาหาร ทำลายสิ่งที่เป็นของเสียออร์แกเนลล์ที่พบเฉพาะในเซลล์พืช ได้แก่ คลอโรพลาสต์และแวคิวโอล ส่วนออร์แกเนลล์ที่พบเฉพาะในเซลล์สัตว์ คือ เซนทริโอล ส่วนออร์แกเนลล์ ที่พบได้ทั้งในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ เช่น ร่างแหเอนโดพลาซึมกอลจิบอดีและไมโทคอนเดรีย 1) ร่างแหเอนโดพลาซึม (Endoplasmic reticulum) ลักษณะเป็นร่างแห ร่างแหเอนโดพลาซึม แบ่ง ออกเป็น 2 ชนิด คือ ร่างแหเอนโดพลาซึมที่มีไรโบโซม (Rough endoplasmic reticulum) และแบบที่ไม่มีไร โบโซม (Smooth endoplasmic reticulum) โดยแบบที่มีไรโบโซมเกาะอยู่เป็นแหล่งสร้างโปรตีนหน้าที่หลัก ของร่างแหเอนโดพลาสซึมชนิดนี้ จึงเป็นการสังเคราะห์โปรตีนและเอนไซม์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ควบคุมการ ลำเลียงสารระหว่างนิวเคลียสกับไซโทพลาสซึมด้วย 2) กอลจิบอดี (Golgi body) ประกอบด้วยถุงเยื่อบาง ๆ เรียงซ้อนกัน ทำหน้าที่เก็บสารที่ร่างแหเอนโด พลาซึมสร้างขึ้น 3) ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) มีลักษณะเป็นก้อนกลม ๆ มีผนังหุ้มหนาที่ประกอบด้วยเยื่อ 2 ชั้น ทำ หน้าที่เป็นแหล่งสร้างพลังงานให้แก่เซลล์ โดยกระบวนการหายใจระดับเซลล์ 4) คลอโรพลาสต์ (Chloroplast) มีลักษณะเป็นก้อนภายในมีรงควัตถุสีเขียวชื่อ คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) คลอโรพลาสต์จึงเป็นแหล่งสังเคราะห์ด้วยแสงในเซลล์พืช 13


5) แวคิวโอล (Vacuole) มีลักษณะเป็นถุงมีเยื่อบาง ๆ หุ้มใช้ในการสะสมน้ำ ของเหลวหรืออาหาร และทำ หน้าที่ขับถ่ายของเหลวออกจากเซลล์ นิวเคลียส เซลล์ทุกเซลล์ต้องมีนิวเคลียส เพราะมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์และการถ่ายทอดลักษณะทาง พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต เพราะในนิวเคลียสมีสารพันธุกรรมที่เรียกว่า ดีเอ็นเอ (DNA = Deoxyribonucleic acid) อยู่บนโครโมโซมในนิวเคลียส นิวเคลียสของเซลล์ทั่วๆไปจะมีลักษณะเป็นก้อนค่อนข้างกลมมีเยื่อหุ้มเซลล์ ในลักษณะนี้เรียกว่า ยูคาริ โอติกเซลล์ (Eukaryotic cell) ส่วนสิ่งมีชีวิตบางชนิด เช่น แบคทีเรีย นิวเคลียสไม่มีเยื่อห้ม ดังนั้น DNA จึง กระจายอยู่ภายในไซโทพลาสซึม เซลล์ในลักษณะนี้เรียกว่า โปรคาริโอติกเซลล์ (Prokaryotic Cell) เซลล์สัตว์มีรูปร่างหลายลักษณะ เซลล์บางชนิด อาจมีรูปร่างกลมรี บางชนิดมีรูปร่างยาวเป็น เส้น หรือรูปร่างอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับชนิดและหน้าที่ของเซลล์ เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดง มีรูปร่างค่อนข้างกลม ตรงกลาง เว้าทั้งสองข้าง เซลล์ประสาทมีรูปร่างหลายแบบ เช่น กลม รี เป็นแฉก เซลล์กล้ามเนื้อ เรียบที่อวัยวะภายใน มีรูปร่างเรียวยาว แหลม หัวแหลมท้าย เป็นต้น เซลล์ประสาท เซลล์เม็ดเลือด เซลล์สเปิร์ม ภาพ เซลล์ต่างๆของสัตว์ 1. การจัดระบบชองเซลล์ไปเป็นร่างกายของสิ่งชีวิตลำดับจากหน่วยที่เล็กที่สุดไปเป็นหน่วยที่ใหญ่ที่สุดอย่างไร ............................................................................................................................................................................. 2. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการระบบของร่างกายมนุษย์และนำสิ่งต่อไปนี้มาเรียงลำดับความสำคัญตาม การจัดระบบของสิ่งมีชีวิตจากหน่วยที่เล็กที่สุดจนเป็นหน่วยที่ใหญ่ที่สุด เนื้อเยื่อประสาท สมอง ระบบ ประสาท เซลล์ประสาท มนุษย์ ............................................................................................................................................................................... ร่วม กัน คิด 2 เซลล์จากส่วนต่าง ๆ ของสัตว์ ดังภาพข้างต้น มีรูปร่างสัมพันธ์กับหน้าที่ของเซลล์ อย่างไร ................................................................................................................................... ................................................................................................................................... ................................................................................................................................... ................................................................................................................................... ................................................................................................................................... 14


3. จงเขียนผังมโนทัศน์ สิ่งที่ได้เรียนรู้จากบทเรียนเรื่องการศึกษาเซลล์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ 15


1. จงเรียงลำดับขั้นตอนการใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงอย่างถูกวิธี ………..1.นำสไลด์ที่จะศึกษาวางบนแท่นวางวัตถุ เลื่อนให้วัตถุอยู่กึ่งกลางบริเวณที่แสงผ่าน มองด้านข้างตามแนว ระดับแท่นวางวัตถุ ค่อยๆหมุนปุ่มปรับภาพหยาบ เลื่อนให้แท่นวางวัตถุอยู่ในระดับสูงสุด ………..2.หากต้องการศึกษาภาพโดยใช้กำลังขยายสูงขึ้น ให้หมุนจานหมุนเพื่อเลื่อนเลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยาย สูงขึ้น (10X มาแทนที่กำลังขยาย 4X) จากนั้นปรับภาพให้ชัดเจนขึ้นโดยการหมุนปุ่มปรับภาพละเอียด ………..3.เมื่อต้องการเก็บกล้องจุลทรรศน์ใช้แสง หมุนจานหมุนให้เลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายต่ำสุดตรงกับลำ กล้องเลื่อนแท่นวางวัตถุให้อยู่ในตำแหน่งต่ำสุด ปิดสวิตซ์ไฟ ทำความสะอาดเลนส์ด้วยกระดาษเช็ดเลนส์ เก็บสายไฟและวางกล้องจุลทรรศน์ในชั้นวางให้เรียบร้อย ………..4.มองผ่านเลนส์ใกล้ตาพร้อมกับหมุนปุ่มปรับภาพหยาบช้าๆให้เลนส์ใกล้วัตถุขยับห่างออกจากวัตถุทีละ น้อยจนมองเห็นวัตถุ แล้วปรับภาพให้ชัดเจนขึ้นโดยการหมุนปุ่มปรับภาพละเอียด ปรับไดอะแฟรมเมื่อ ต้องการปรับความเข้มของแสงที่เข้าสู่ลำกล้อง ………..5.ตรวจสอบให้เลนส์ใกล้วัตถุกำลังขยายต่ำสุด (4X) อยู่ตรงกับกล้อง และแท่นวางวัตถุอยู่ที่ตำแหน่งต่ำสุด เปิดสวิตซ์ไฟ ปรับความเข้มของแสง ปรับระยะห่างของเลนส์ใกล้ตา 2. ถ้านักเรียนใช้กล้องจุลทรรศน์ในการศึกษาเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยใช้เลนส์ใกล้วัตถุ 4X เลนส์ตา 10X พบว่า ภาพเซลล์เม็ดเลือดแดงชัดเจนแล้ว แต่ต้องการขยายขนาดของเซลล์เม็ดเลือดแดงให้ใหญ่ขึ้นนักเรียนจึงปรับ เลนส์ใกล้วัตถุไปที่ 10X พบว่าภาพเซลล์เม็ดเลือดแดงที่สังเกตเห็นใต้กล้องนั้นขยายใหญ่ขึ้นแต่ภาพกลับไม่ชัดเจน นักเรียนจะมีวิธีการปรับภาพอย่างไร เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 3. จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้ และเขียนเครื่องหมาย √ หน้าข้อความที่ถูกและ × หน้าข้อความที่ผิด ………..3.1 หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดคือเซลล์ ………..3.2 เซลล์ทุกเซลล์มีขนาดและรูปร่างเหมือนกัน ………..3.3 เซลล์ทุกเซลล์มีเยื่อหุ้มเซลล์ นิวเคลียส และไซโทพลาซึม ………..3.4 เซลล์สัตว์มีเยื่อหุ้มเซลล์ และเซลล์พืชไม่มีมีเยื่อหุ้มเซลล์มีแต่ผนังเซลล์ ………..3.5 ภายในนิวเคลียส มีสารพันธุกรรม ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะและกระบวนการต่างๆของสิ่งมีชีวิต ………..3.6 ผนังเซลล์มีหน้าที่ควบคุมการผ่านเข้าและออกของสาร ………..3.7 เซลล์แต่ละชนิดมีรูปร่างเฉพาะตามหน้าที่ของเซลล์ แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนเรื่องเซลล์ 16


4. ระบุส่วนประกอบของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์จากภาพ 5. เขียนอธิบายลักษณะและหน้าที่ของส่วนประกอบของเซลล์ต่อไปนี้ ชื่อส่วนประกอบ ลักษณะ หน้าที่ ผนังเซลล์ อยู่ด้านนอกสุดของเซลล์พืช ช่วยให้เซลล์พืชคงรูป ให้ความแข็งแรง เยื่อหุ้มเซลล์ เป็นเยื่อบางๆ มีสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน ประกอบด้วยลิพิดและโปรตีน ห่อหุ้มเซลล์ ควบคุมปริมาณและชนิดของ สารที่ผ่านเข้าและออกจากเซลล์ ไซโทพลาซึม นิวเคลียส แวคิวโอล ไมโทคอนเดรีย คลอโรพลาสต์ 17


6. เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์โดยใช้แผนภาพต่อไปนี้ ส่วนที่หมือน กันให้เขียนไว้ตรงกลางที่วงกลมทับซ้อนกัน ส่วนที่แตกต่างกันให้เขียนลงในส่วนของวงกลมที่ไม่ทับซ้อน 7. นำอักษรหน้าภาพไปเติมให้ตรงกับหน้าที่ของเซลล์เหล่านั้น ก เซลล์เม็ดเลือด ข เซลล์เยื่อบุภายในลำไส้เล็ก ค เซลล์สเปิร์ม ง เซลล์คุม จ เซลล์ขนราก ฉ เซลล์ในเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำ ……………..7.1 เซลล์ใดช่วยเพิ่มพื้นที่ในการดูดน้ำและธาตุอาหาร ……………..7.2 เซลล์ใดช่วยเพิ่มพื้นที่ในการดูดซึมสารอาหารและของเหลวต่าง ๆ ภายในท่อทางเดินอาหารเข้าสู่ กระแสเลือด ……………..7.3 เซลล์ใดทำหน้าที่เป็นเซลล์สืบพันธุ์ มีโครงสร้างที่ช่วยแหวกว่ายผ่านส่วนต่างๆไปยังเซลล์ไข่ ……………..7.4 เซลล์ใดทำหน้าที่ลำเลียงแก๊สออกซิเจนไปยังเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย 8. เซลล์ในภาพเป็นเซลล์พืชหรือเซลล์สัตว์ เพราะเหตุใด 18


ภาพที่ 1 เป็น.......................... เพราะ................................................................................................................... ภาพที่ 2 เป็น.......................... เพราะ................................................................................................................... ภาพที่ 3 เป็น.......................... เพราะ.................................................................................................................... 9. ถ้าเปรียบเทียบเซลล์เป็นเมืองหนึ่ง โครงสร้างของเซลล์ที่นักเรียนรู้จัก จะเปรียบเทียบได้กับส่วนที่ใดของเมือง ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. เขียนเครื่องหมาย หน้าคำตอบที่ถูกต้อง เยื่อหุ้มเซลล์สามารถพบได้ทั้งในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ เซลล์มีขนาดเล็กกว่าอนุภาคของน้ำตาล เยื่อหุ้มเซลล์ยอมให้สารทุกชนิดผ่านได้ 3. การลำเลียงสารเข้าออกเซลล์ น้ำกระเจี๊ยบเป็นเครื่องดื่มที่มีสีแดงให้รสเปรี้ยว สามารถ เตรียมได้โดยนำกลีบเลี้ยงที่อยู่ติดกับผลกระเจี๊ยบมาแช่ใน น้ำร้อน สังเกตได้ว่าน้ำบริเวณใกล้กับกลีบเลี้ยงกระเจี๊ยบ จะค่อย ๆ มีสีแดง จนในที่สุดน้ำมีสีแดงทั่วทั้งแก้ว การ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้เกี่ยวข้องกับการที่อนุภาคสารสี แดงเคลื่อนที่ออกจากเซลล์ของกลีบเลี้ยงกระเจี๊ยบไปจน ทั่วทั้งแก้ว ทบทวนความรู้ก่อนเรียน 2 19


กิจกรรมที่ 3 อนุภาคของสารมีการเคลื่อนที่อย่างไร จุดประสงค์: สังเกตและอธิบายการเคลื่อนที่ของอนุภาคด่างทับทิมในน้ำ อุปกรณ์ รายการ ปริมาณ/กลุ่ม 1. บีกเกอร์ ขนาด 50 cm3 2. น้ำ 3. ช้อนตักสาร 4. เกล็ดด่างทับทิม 1 ใบ 30 cm3 1 อัน 2-3 เกล็ด วิธีการทดลอง 1. สังเกตลักษณะ ขนาดและสีของเกล็ดด่างทับทิม บันทึกผล 2. ใส่เกล็ดด่างทับทิม 2-3 เกล็ด ลงในน้ำ 30 cm3 3. สังเกตและบันทึกการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มใส่เกล็ดด่างทับทิมจนครบเวลา 10 นาทีโดย การวาดภาพและเขียนบรรยาย ผลการทำกิจกรรม เริ่มต้น 5 นาที 10 นาที ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………….……….. คำถามท้ายการทดลอง 1. เมื่อใส่เกล็ดด่างทับทิมลงในน้ำ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรตั้งแต่เริ่มต้นจนครบเวลาที่กำหนด ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 2. การกระจายของสีด่างทับทิมมีทิศทางใดบ้าง ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 3. ถ้าวางบีกเกอร์ที่มีเกล็ดด่างทับทิมต่อไปอีก 2 ชั่วโมง สารละลายในบีกเกอร์มีลักษณะอย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 4. จากกิจกรรมสรุปได้ว่าอย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 20


1.เมื่อสังเกตเห็นน้ำมีสีม่วงสม่ำเสมอทั่วกันทั้งภาชนะ อนุภาคด่างทับทิมมีการเคลื่อนที่หรือไม่ ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 2. การที่เยื่อหุ้มเซลล์ไม่ยอมให้สารทุกชนิดผ่านเข้าออกเซลล์ได้อย่างอิสระ มีความสำคัญอย่างไรต่อสิ่งมีชีวิต ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 3. นักเรียนมีประสบการณ์เกี่ยวกับการแพร่ของสารในชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง อธิบายพร้อมยกตัวอย่าง ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… การแพร่เกิดขึ้นเมื่อมีความแตกต่างของความเข้มข้นของสารละลายระหว่างสองบริเวณ โดยมีทิศ ทางการเคลื่อนที่ของตัวละลายจากบริเวณที่มีความเข้มข้นมากไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นน้อย จนความเข้มข้น ของสารละลายโดยเฉลี่ยเท่ากันทุกบริเวณ เรียกว่าเกิดสมดุลของการแพร่ การแพร่นอกจากแพร่ในตัวกลางที่เป็น ของเหลวดังกิจกรรมแล้ว การแพร่สามารถแพร่ผ่านตัวกลางที่เป็นแก๊สได้ เช่น การแพร่ของน้ำมันหอมระเหยหรือ กลิ่นดอกไม้กลิ่นอาหารผ่านอากาศ เป็นต้นซึ่งเซลล์ของสิ่งมีชีวิตก็มีการแพร่ของสารเข้าออกเซลล์เช่นเดียว กัน เช่น การแพร่ออกของแก๊สออกซิเจนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์บริเวณถุงลมปอด การแพร่เข้าออกของแก๊ส ออกซิเจนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์บริเวณปากใบ เป็นต้น เขียนลูกศรแสดงทิศทางการแพร่ของแก๊สออกซิเจน เมื่อเราวางผักสดทิ้งไว้สักครู่ ใบผักจะค่อย ๆ เหี่ยวลง และ เมื่อเวลาผ่านไป ใบและก้านผักจะเหี่ยวมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่เมื่อเรานำผักนั้นไปแช่ในน้ำสักครู่หนึ่ง ใบและก้านผักจะ ค่อย ๆ เต่งขึ้น จนกระทั่งกลับมาสดเหมือนเดิม การ เปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร ทบทวนความรู้ก่อนเรียน 3 ร่วม กัน คิด 3 21


กิจกรรมที่ 4 น้ำเคลื่อนที่ผ่านเยื่อเลือกผ่านได้อย่างไร จุดประสงค์: สังเกต และอธิบายกระบวนการเคลื่อนที่ของน้ำผ่านเยื่อเลือกผ่าน อุปกรณ์ รายการ ปริมาณ/กลุ่ม 1. น้ำเปล่า 2. สารละลายน้ำตาลทราย ความเข้มข้น 20% 3. เซลโลเฟน (กว้าง 15 cm x ยาว 15 cm) 4. ยางรัดของ 5. ปากกาเคมี 6. บีกเกอร์ขนาด 100 cm3 7. หลอดแก้ว (เส้นผ่านศูนย์กลาง .5 cm ยาว 20 cm) 8. ขาตั้งพร้อมที่หนีบ 50 cm3 30 cm3 1 แผ่น 1 เส้น 1 ด้าม 1 ใบ 1 หลอด 1 ชุด วิธีการทดลอง 1. นำเซลโลเฟนชุบน้ำให้เปียก แล้วบุลงในบีกเกอร์เปล่าจากนั้นนำสารละลายน้ำตาลทรายปริมาตร 30 cm3 เทลงในเซลโลเฟนที่อยู่ในบีกเกอร์ 2. นำหลอดแก้วจุ่มลงในสารละลายน้ำตาลทรายแล้วรวบขอบแต่ละด้านของเซลโลเฟนเข้าด้วยกันให้ เป็นถุงใช้ยางรัดปากถุงให้แน่น โดยพยายามอย่าให้เกิดฟองอากาศในหลอดแก้วและในถุงเซลโลเฟน 3. ยึดหลอดแก้วกับขาตั้งให้ตั้งตรง จากนั้นทำเครื่องหมายแสดงระดับสารละลายน้ำตาลทรายใน หลอดแก้ว 4. ใส่น้ำลงในบีกเกอร์ประมาณ 50 cm3 ค่อยๆลดระดับ ถุงเซลโลเฟนลงในบีกเกอร์ โดยให้ยางรัดปาก ถุงเซลโลเฟนอยู่เหนือระดับน้ำในบีกเกอร์เล็กน้อย ผลการทำกิจกรรม ตารางแสดงระดับของเหลวในหลอดแก้วที่เวลาต่าง ๆ เวลาที่ผ่านไป (นาที) ความสูงของระดับของเหลวในหลอดแก้ว (cm) 5 10 15 20 25 30 22


คำถามท้ายกิจกรรม 1. หลังจากตั้งชุดการทดลองทิ้งไว้ 30 นาที ระดับของเหลวในหลอดแก้วมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 2. ในกิจกรรมนี้มีการเคลื่อนที่ของสารใด และเคลื่อนที่อย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 3. เขียนแผนภาพแสดงการเคลื่อนที่ของสารในชุดการทดลองได้อย่างไร 4. จากกิจกรรมสรุปได้ว่าอย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 1.ถ้าเซลล์พืชแช่อยู่ในสารละลายที่มีความเข้มข้นมากกว่า เท่ากับ และน้อยกว่าสารละลายภายในเซลล์ รูปร่าง ของเซลล์พืชจะมีการเปลี่ยนแปลงเหมือนหรือแตกต่างจากเซลล์สัตว์อย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 2. ยกตัวอย่างออสโมซิสของสารในชีวิตประจำวันที่นักเรียนเคยพบเห็น ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 3. เพราะเหตุใด เมื่อนำผักที่เริ่มเหี่ยวไปแช่น้ำ ผักจึงเต่งขึ้น ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ร่วม กัน คิด 4 ออสโมซิสเกิดขึ้นได้อย่างไร ………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………… 23


4. เขียนผังมโนทัศน์สรุปองค์ความรู้ในบทเรียนการล าเลียงสารเข้าออกเซลล์ 5. สิ่งมีชีวิตนำสารเข้าและออกจากเซลล์ได้อย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 6. การแพร่และออสโมซิสมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตอย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 24


จงเขียนลูกศรแสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของน้ำลงบนภาพ และวาดภาพแสดงรูปร่างลักษณะของเซลล์ 1. เมื่อแช่เซลล์ในสารละลายที่มีความเข้มข้นน้อยกว่าสารละลายภายในเซลล์ เขียนลูกศรแสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของน ้า รูปร่างและลักษณะของเซลล์ 2. เมื่อแช่เม็ดเลือดแดงในสารละลายที่มีความเข้มข้นเท่ากับสารละลายภายในเซลล์ เขียนลูกศรแสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของน ้า รูปร่างและลักษณะของเซลล์ 3. เมื่อแช่เม็ดเลือดแดงในสารละลายที่มีความเข้มข้นมากกว่าสารละลายภายในเซลล์ เขียนลูกศรแสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของน ้า รูปร่างและลักษณะของเซลล์ แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนการล าเลียงสารเข้าออกเซลล์ 25


คิดแบบนักวิทย์ กิจกรรม เพราะเหตุใดน้ำหนักของไข่ไก่จึงเปลี่ยนแปลง (ดูจากคลิป) จุดประสงค์ ทดลองและอธิบายการเปลี่ยนแปลงของไข่ไก่ในสารละลายชนิดต่าง ๆ วิธีการดำเนินกิจกรรม 1. ไข่ไก่แช่ในบีกเกอร์ที่มีน้ำส้มสายชูเป็นเวลา 2 วัน จากนั้นค่อยๆถูเปลือกไข่ที่เหลืออยู่ระวังอย่างให้เยื่อหุ้มไข่ ไก่ขาด ชั่งน้ำหนักไข่ไก่และบันทึกผล 2. นำไข่ไก่จากข้อ1 .ใส่ในบีกเกอร์เติมน้ำเชื่อมเข้มข้นที่เคี่ยวจนเหนียวให้ท่วมไข่ไก่ ทิ้งไว้เป้นระยะเวลา 2 วัน สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ชั่งน้ำหนักไข่ไก่และบันทึกผล 3. นำไข่ไก่จากข้อ2 .ใส่ในบีกเกอร์เติมน้ำเปล่าให้ท่วมไข่ไก่ ทิ้งไว้เป้นระยะเวลา 2 วัน สังเกตการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้น ชั่งน้ำหนักไข่ไก่และบันทึกผล ตัวอย่างผลการทำกิจกรรม ข้อมูล ไข่ไก่เมื่อแช่ด้วย น้ำส้มสายชู 2 วัน ไข่ไก่เมื่อแช่ด้วยสารละลายที่ต้องการศึกษา น้ำตาลทรายเข้มข้น น้ำ ลักษณะ ทรงกลมค่อนข้างรี มีสี เหลืองใส ไม่มีเปลือกแข็ง ทรงกลมค่อนข้างรี มีสี เหลืองใส ผิวค่อนข้างเหี่ยว ทรงกลมค่อนข้างรี มีสี เหลืองใส ผิวค่อนข้างเต่ง น้ำหนัก 88.86 กรัม (ขึ้นอยู่กับไข่ไก่ ที่นำมาศึกษา) 66.33 กรัม (ขึ้นอยู่กับไข่ ไก่ที่นำมาศึกษา) 79.01 กรัม (ขึ้นอยู่กับ ไข่ไก่ที่นำมาศึกษา) คำถามท้ายกิจกรรม 1.น้ำหนักไข่ไก่มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร เมื่อแช่ในสารละลายตัวอย่างต่าง ๆ …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….. ขั้นน ำปัญญำพัฒนำควำมคิด กิจกรรม ฝึกท า : ฝึกสร้าง 26


2. สารตัวอย่างใดที่ทำให้ไข่ไก่มีน้ำหนักลดลงและเพิ่มขึ้น …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….. 3. การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของไข่ไก่เกิดขึ้นจากกระบวนการใด ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….. 4. จากกิจกรรม สรุปได้ว่าอย่างไร …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….. สิ่งมีชีวิตมีการลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์โดย กระบวนการแพร่ตลอดเวลาเช่น การแพร่ของแก๊สออกซิเจน และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างเซลล์เม็ดเลือดแดงและ ถุงลมภายในปอด การแพร่ของแก๊สออกซิเจน และแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์บริเวณปากใบ 27


ตรวจสอบตนเอง เขียนเครื่องหมาย ในช่องว่างหน้าทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ได้ทำในบทเรียนนี้ การสังเกต การวัด การจำแนกประเภท การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเปซ และสเปซกับเวลา การใช้จำนวน การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล การลงความเห็นจากข้อมูล การพยากรณ์ การตั้งสมมติฐาน การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ การกำหนดและควบคุมตัวแปร การทดลอง การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป การสร้างแบบจำลอง กิจกรรม คิดดี ผลงำนดี มีควำมส ุข ขั้นน ำปัญญำพัฒนำตนเอง 28


คำชี้แจง : ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว ใช้เวลา 20 นาที 1. จากวัตถุที่กำหนดให้ เมื่อสังเกตวัตถุนี้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ใช้แสง ภาพที่เห็นจะมีลักษณะอย่างไร แบบประเมินตนเองหลังเรียน 29


2. จากแผนภาพ ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง ก. หมายเลข 1 หมายถึง เยื่อหุ้มเซลล์ และ หมายเลข 8 หมายถึง สิ่งมีชีวิต ข. หมายเลข 2 หมายถึง เยื่อเลือกผ่าน และ หมายเลข 7 หมายถึง ระบบเนื้อเยื่อ ค. หมายเลข 3 หมายถึง สารพันธุกรรม และ หมายเลข 4 หมายถึง คลอโรพลาสต์ ง. หมายเลข 5 หมายถึง คลอโรฟิลล์ และ หมายเลข 6 หมายถึง แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 3. จากแผนภาพต่อไปนี้ ข้อใดถูกต้อง 30


ก. 1 คือ เยื่อหุ้มเซลล์ และ 2 คือ ผนังเซลล์ ข. 1 คือ เยื่อหุ้มเซลล์ และ 2 คือ คลอโรพลาสต์ ค. 2 คือ คลอโรพลาสต์ และ 3 คือ แวคิวโอล ง. 2 คือ คลอโรพลาสต์ และ 3 คือ เยื่อหุ้มเซลล์ 4. ถ้านำเซลล์จากส่วน A และส่วน B ของต้นไม้ตัวอย่างดังภาพ มาส่องภายใต้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสง โครงสร้างใดที่พบมากในเซลล์จากส่วน A และพบน้อยหรือไม่พบเลยในส่วน B ก. ไมโทคอนเดรีย ข. คลอโรพลาสต์ ค. ผนังเซลล์ ง. นิวเคลียส 5. นักวิทยาศาสตร์วิจัยเกี่ยวกับการสะสมแป้งของข้าวสายพันธุ์ใหม่ โดยการศึกษาโครงสร้างของเซลล์เมล็ดข้าว หลักฐานในข้อใดที่บ่งชี้ว่าเมล็ดข้าวดังกล่าวน่าจะมีการสะสมแป้งได้ดีที่สุด ก. พบผนังเซลล์หนาล้อมรอบเซลล์ ข. พบนิวเคลียสขนาดใหญ่จนเกือบเต็มเซลล์ ค. พบแวคิวโอลขนาดใหญ่กระจายทั่วทั้งเซลล์ ง. พบคลอโรพลาสต์จำนวนมากอยู่ภายในเซลล์ 6. การจัดระบบของสิ่งมีชีวิตในข้อใด เรียงลำดับจากใหญ่ไปเล็กได้ถูกต้อง ก. ระบบหมุนเวียนเลือด หัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ข. เซลล์ลำไส้ใหญ่ เนื้อเยื่อลำไส้ใหญ่ ลำไส้ใหญ่ ระบบย่อยอาหาร ค. เซลล์ประสาท สมอง เนื้อเยื่อสมอง ระบบประสาท ง. ระบบหายใจ เนื้อเยื่อปอด ปอด เซลล์ปอด 7. ข้อใดอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่างกับหน้าที่ของเซลล์ได้ถูกต้อง ก. เซลล์คุม มีผนังเซลล์หนาบางไม่เท่ากัน เพื่อให้สามารถปิดเปิดปากใบได้ ข. เซลล์เม็ดเลือดแดง มีรูปร่างกลมแบน เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการแลกเปลี่ยนแก๊ส ค. เซลล์ประสาท มีเส้นใยเป็นแขนงยาว เพื่อช่วยให้กระแสประสาทเคลื่อนที่เร็วขึ้น ง. เซลล์เนื้อเยื่อลำเลียง มีลักษณะเป็นท่อกลวงยาว เพื่อสร้างความแข็งแรงแก่เซลล์ 8. สถานการณ์ใดเป็นผลมาจากการแพร่ ก. สวมเสื้อคลุมให้ร่างกายอบอุ่นเมื่ออากาศเย็น ข. ได้กลิ่นหอมของดอกไม้ในสวน ค. ใช้พัดโบกไปมา เพื่อให้เหงื่อแห้งเร็วขึ้น ง. น้ำค้างระเหยจากบริเวณยอดหญ้า 31


9. สารละลายน้ำตาล 1% และ สารละลายน้ำตาล 5% บรรจุอยู่ในภาชนะใบเดียวกัน โดยมีเยื่อเลือกผ่านกั้นอยู่ ระหว่างสารละลายทั้งสอง ดังภาพ จากภาพ ข้อความใดแสดงถึงกระบวนการออสโมซิส ก. การเคลื่อนที่ของน้ำตาลจากสารละลายน้ำตาล 1% ไปยังสารละลายน้ำตาล 5% ข. การเคลื่อนที่ของน้ำตาลจากสารละลายน้ำตาล 5% ไปยังสารละลายน้ำตาล 1% ค. การเคลื่อนที่ของน้ำ จากสารละลายน้ำตาล 1% ไปยังสารละลายน้ำตาล 5% ง. การเคลื่อนที่ของน้ำ จากสารละลายน้ำตาล 5% ไปยังสารละลายน้ำตาล 1% 10. เมื่อเริ่มต้นจัดชุดการทดลองได้ผลดังภาพ หากวางชุดการทดลองนี้ต่อไปอีก 5 นาที ของเหลวในหลอดแก้ว และบีกเกอร์จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ระดับของเหลวในหลอดแก้ว ระดับของเหลวในบีกเกอร์ ก. สูงขึ้น ต่ำลง ข. ต่ำลง สูงขึ้น ค. เท่าเดิม เท่าเดิม ง. ต่ำลง ต่ำลง คะแนนเต็ม 10 คะแนน ได้ ........... คะแนน 32


เอกสารอ้างอิง ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะ และ คณะ . (2551). สื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างทักษะตามมาตรฐานและ ตัวชี้วัดชั้นปีกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ.นิยมวิทยา. ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ,สถาบัน. คู่มือครู รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์1 ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1. (2553). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, (2553). สถาบัน.หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ 1 ชั้น มัธยมศึกษา ปีที่ 1 เล่ม 1 .กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, (2561). สถาบัน.หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ เล่ม1 ชั้น มัธยมศึกษา ปีที่ 1 เล่ม 1 .กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.


Click to View FlipBook Version