The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ชุดที่ 3 การนำเสนอผลงาน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Anocha Utumsakulrat, 2023-10-12 10:05:45

ชุดที่ 3 การนำเสนอผลงาน

ชุดที่ 3 การนำเสนอผลงาน


ก ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์หน่วยที่ 3 การนำเสนอผลงาน ตามแนวคิดแบบโยนิโส มนสิการ จัดทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ความพึงพอใจทางการเรียนเคมี ส่งเสริมความสามารถทางการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1-3 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โดยในทุกกิจกรรมได้จัดลำดับขั้นตอนที่เน้นการเพิ่มพูน ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนจะได้รับการทดสอบก่อนเรียน และศึกษาเนื้อหาความรู้ที่ ส่งเสริมให้นักเรียนศึกษาและสืบค้น โดยมีความรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากในบทเรียน การตอบคำถาม การทำแบบฝึกหัด และทำกิจกรรมการทดลองตามขั้นตอนตลอดจนทำแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อ ประเมินตนเองหลังจากการเรียนรู้ในแต่ละกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 3 การนำเสนอผลงาน ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการจะทำให้ผู้เรียนมีความรู้และความสามารถในการสืบค้น การ จัดระบบสิ่งที่เรียนรู้ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ ได้เป็นอย่างดี สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ และเป็นประโยชน์สำหรับผู้ ที่สนใจใช้เป็นแนวทาง ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้ ต่อไป นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์ คำนำ


ข เรื่อง คำนำ สารบัญ ข้อแนะนำการเรียนรู้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ โครงสร้างชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบก่อนเรียน ขั้นที่ 1 การหาความรู้ปฏิบัติการ ฝึกอ่าน : ฝึกคิด - หัวข้อรายงาน - กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ - กิจกรรมร่วมกันค้น - กิจกรรม สืบเสาะ ค้นหา 1 เรื่อง สืบค้นข้อมูลรูปแบบการเขียนบรรณานุกรม - หัวข้อการนำเสนอด้วยโปสเตอร์ - กิจกรรม สืบเสาะ ค้นหา 2 เรื่อง การจัดทำและนำเสนอข้อมูลในโปสเตอร์ - ขั้นที่ 2 สร้างความรู้ปฏิบัติการ ฝึกทำ : ฝึกสร้าง - ฝึกทำ : ฝึกสร้างเรื่อง การนำ เสนอผลงานจากกิจกรรมการแก้ปัญหาโดย การบูรณาการความรู้ ขั้นที่ 3 ซึมซับความรู้ปฏิบัติการ คิดดี ผลงานดี มีความสุข - นักวิทย์ฯ คิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบทดสอบหลังเรียน บรรณานุกรม หน้า ก ข ค ง จ 1 1 2 4 6 10 10 13 13 14 15 15 17 21 สารบัญ


ค สำหรับนักเรียน จุดประสงค์ของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มุ่งหวังให้นักเรียนเป็นผู้มีความสามารถทางการจัดการความรู้ ทางวิทยาศาสตร์3 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านความรู้ความคิด 2. ด้านทักษะการจัดการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ 3. ด้านค่านิยมต่อตนเองเพื่อสังคม ซึ่งนักเรียนจะได้เสริมสร้างความสามารถดังกล่าวดังนี้1.การหาความรู้(Operation) จากกิจกรรมการ สืบเสาะ ค้นหา กิจกรรมร่วมกันคิด และกิจกรรมร่วมกันค้น 2.การสร้างความรู้(Combination) เป็นขั้นฝึกการ วิเคราะห์ประกอบด้วยการฝึกคิดแบบสืบสาวปัจจัยเหตุและแบบแยกแยะส่วนประกอบโดยใช้ ข้อความและ สถานการณ์ เพื่อพัฒนาตนเอง 3. การซึมซับความรู้(Assimilation) เป็นขั้นที่ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าข้อมูลจาก แหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น หนังสือ อินเตอร์เน็ต ฝึกคิดอย่างมีวิจารณญาณ ฝึกทักษะการเขียนเพื่อนำเสนอแก้ไข ปัญหาที่พบ ประกอบการตอบคำถามฝึกการวิเคราะห์จุดเด่น และจุดด้อยของผลงาน ตรวจสอบและปรับปรุง เพื่อสร้างชิ้นงานใหม่ต่อไปได้และข้อเสนอแนะกับผู้อ่านได้โดยในทุกกิจกรรมได้จัดลำดับขั้นตอนที่เน้นการ เพิ่มพูนประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นผู้มีความสามารถทางการจัดการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ดังนี้ 1. อ่าน และทำความเข้าใจในทุกขั้นตอนของกิจกรรมการเรียนรู้ 2.รักและสนใจตนเอง สร้างความรู้สึกที่ดีให้กับตนเอง ว่าตัวเราเป็นผู้มีความสามารถมีศักยภาพอยู่ในตัว และพร้อมที่จะเรียนรู้ทุกสิ่งที่สร้างสรรค์ 3. รู้สึกอิสระและแสดงออกอย่างเต็มความสามารถ 4. ฟัง คิด ถาม เขียน ปฏิบัติอย่างรอบคอบในทุกกิจกรรม ใช้เนื้อที่กระดาษที่จัดไว้สำหรับเขียนให้เต็ม โดยไม่ปล่อยให้เหลือเปล่า เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับตนเอง 5. ใช้เวลาในการเรียนรู้อย่างคุ้มค่า ใช้ทุกๆ นาทีทำให้ตนเองมีความสามารถเพิ่มมากขึ้น 6. ตระหนักตนเองอยู่เสมอว่าจะเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อนำมาพัฒนาตนเองและพัฒนาสังคม จุดเด่นของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์คือ การสร้างคุณค่าที่ดีให้กับสังคม จึงขอเชิญชวนนักเรียน มาร่วมกันเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ด้วยใจรัก และ พัฒนาตนให้เต็มขีดความสามารถ ขอส่งความปรารถนาดีให้แก่นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างมีความสุขพึ่งตนเองได้และเป็นผู้ มีความสามารถทางการจัดการความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อสังคม ยิ่งๆ ขึ้น สืบไป ข้อแนะนำการเรียนรู้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์


ง สาระสำคัญ การนำเสนอผลงานเป็นการสื่อสารเพื่อสรุปให้บุคคลอื่นได้รับทราบถึงผลการดำเนินการที่ผู้นำเสนอได้ ศึกษามา การนำเสนอสาระสำคัญของผลงานควรทำให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและใช้สื่อประกอบอย่าง เหมาะสมและมีคุณภาพ โดยทั่วไปการนำเสนอผลงานทางวิทยาศาสตร์อาจอยู่ในรูปของ รายงาน โปสเตอร์การบรรยาย บทความ หรือการแสดงชิ้นงาน ซึ่งการเข้าใจหลักการในการเตรียมการนำเสนอในแต่ละรูปแบบ เป็นการ ส่งเสริมให้การนำเสนอนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นในที่นี้จะกล่าวถึงหลักการเบื้องต้นในการเขียนรายงานการ เตรียมโปสเตอร์และการเตรียมการบรรยาย จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายจัดทำรายงานการแก้ปัญหาโดยการบูรณาการความรู้ (K) 2. นำเสนอผลงานโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (P) 3. เห็นคุณค่าทางวิทยาศาสตร์ ตั้งใจเรียนรู้และแสวงหาความรู้ (A) การจัดกระบวนการเรียนรู้ใช้รูปแบบการจัดการความรู้ทางวิทยาศาสตร์มี3 ขั้น คือ 1. การหาความรู้(Operation) 2. การสร้างความรู้(Combination) 3. การซึมซับความรู้(Assimilation) เวลาที่ใช้ 12 ชั่วโมง การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ นักเรียนประเมินผลตนเองโดยใช้แบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน-หลังเรียน โครงสร้างชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 3 การนำเสนอผลงาน


จ แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยที่ 3 เรื่องการนำเสนอผลงาน วิชาเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 เวลา 20 นาที คำชี้แจง 1. แบบทดสอบฉบับนี้เป็นแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อใช้เวลาในการสอบ 20 นาที 2. ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วทำเครื่องหมาย × ลงในกระดาษคำตอบ 1. ข้อใดคือความหมายของการนำเสนอข้อมูล ก. การสื่อสารเพื่อเสนอข้อมูล ข. การแสดงความคิดเห็น ค. การตัดสินใจในการดำเนินงาน ง. การแลกเปลี่ยนข้อมูล 2. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการนำเสนอข้อมูล ก. เพื่อให้ผู้รับการนำเสนอข้อมูลรับทราบความคิดเห็น ข. เพื่อให้ผู้รับการนำเสนอข้อมูลได้รับความรู้จากข้อมูลที่นำเสนอ ค. เพื่อบรรยายข้อมูลทางด้านวิชาการ ง. เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ 3. การจัดเรียงลำดับข้อใดจัดเป็นลำดับแรก ก. แสดงชื่อเรื่อง พร้อมชื่อของผู้นำเสนอ ข. แสดงวัตถุประสงค์ ค. แสดงหัวข้อในการนำเสนอ ง. แสดงเนื้อหาในการนำเสนอ 4. นิยาม หมายถึงอะไร ก. การกำหนด หรือการจำกัดความหมายที่แน่นอน ข. ศัพท์เฉพาะ ค. ศัพท์ปกติ ง. ความหมายของคำที่กำหนดตามพจนานุกรม 5. ข้อใดกล่าวถึงประโยชน์ของการ นิยามศัพท์เฉพาะ ได้ถูกต้องที่สุด ก. ช่วยให้นิยามศัพท์ได้ถูกต้องตามแบบพจนานุกรม ข. ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายของศัพท์ได้ตรงกับผู้ศึกษาค้นคว้ากำหนด ค. ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายของศัพท์ได้ตรงกับที่สารานุกรมกำหนด ง. ช่วยให้ผลการศึกษาค้นคว้าถูกต้อง ชัดเจนตามจุดมุ่งหมาย 6. ข้อใด หมายถึงประชากรในการศึกษาค้นคว้า ก. คน ข. คน สัตว์ ค. คน สัตว์ สิ่งของ ง. คน สัตว์ สิ่งของ และลักษณะทางจิตวิทยา 7. การศึกษาค้นคว้าตามข้อใดควรใช้กลุ่มตัวอย่างน้อย ก. การใช้แบบสอบถาม ข. การใช้แบบทดสอบ ค. การทดลอง และการสัมภาษณ์ ง. การสัมภาษณ์


ฉ 8. ข้อใดเป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยการสุ่ม ก. มงคล เลือกแบบบังเอิญ ข. ดนภัทร เจาะจงตามความสะดวก ค. ปรัชญา ใช้วิธีจับฉลาก ง. มารี ไม่อาศัยความน่าจะเป็น 9. ข้อใดเป็นความหมายของแบบสอบถาม ก. เครื่องมือที่ผู้ศึกษาค้นคว้าใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ข. คำถามที่กำหนดให้กลุ่มตัวอย่างตอบโดยกาเครื่องหมาย ค. การเขียนอธิบายตอบคำถามตามที่ผู้ถามกำหนด ง. ข้อเท็จจริง หรือความคิดเห็นของบุคคล 10. ข้อใดเป็นคำชี้แจงในการตอบแบบสอบถาม ก. เพศ ระดับการศึกษา อายุ อาชีพ ข. แจ้งจุดมุ่งหมาย อธิบายลักษณะ ตัวอย่างการตอบแบบสอบถาม ค. ตั้งคำถามแบบปลายปิด ง. ตั้งคำถามแบบปลายเปิด 11. ข้อใดกล่าวถึง ข้อคำถาม ได้ถูกต้อง ก. แบบปลายปิด ผู้เขียนอธิบายตอบด้วยตนเอง ข. แบบปลายเปิด จะมีคำตอบให้เลือกตอบ ค. ไม่สามารถสร้างคำถามแบบปลายเปิด กับปลายปิดให้อยู่ในแบบสอบถามชุดเดียวกันได้ ง. เป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะช่วยให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาค้นคว้า 12. การตั้งคำถามในแบบสอบถาม ควรให้สอดคล้องกับเรื่องใดมากที่สุด ก. นิยามศัพท์เฉพาะ ข. บรรณานุกรม ค. สมมุติฐาน ง. จุดมุ่งหมาย 13. ลักษณะของแบบสอบถาม ข้อใดถูกต้อง ก. ใช้คำอธิบาย ขยายความให้มากที่สุด ข. ควรเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ค. คำถามครอบคลุมประเด็นทั้งหมดของการศึกษาค้นคว้า ง. เลือกถามเฉพาะประเด็นที่มีความสำคัญ 14. แหล่งที่มาของข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า จะมีความน่าเชื่อถือได้มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับอะไร ก. ข้อมูล ข. ทฤษฏี ค. ผู้ศึกษาค้นคว้า ง. การตรวจสอบ 15. การตรวจสอบสถานที่เดียวกัน ผลออกมาเหมือนกัน ควรปฏิบัติอย่างไร ก. ผู้ศึกษาควรตรวจสอบในแหล่งสถานที่อื่นด้วย ข. ผู้ศึกษาไม่ต้องตรวจสอบแหล่งสถานที่อื่น ค. ถูกทั้งข้อ ก และข้อ ข ง. ผู้ศึกษาควรตรวจสอบในช่วงเวลาที่ต่างกันด้วย 16. เพราะเหตุใดจึงต้องมีการตรวจสอบผู้ศึกษา ก. เป็นหลักการที่ต้องปฏิบัติในการศึกษาค้นคว้า ข. สร้างความน่าเชื่อถือได้มากขึ้น ค. เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการตรวจสอบข้อมูล ง. การตรวจสอบทฤษฏีต้องตรวจสอบผู้ศึกษาก่อน


ช 17. ข้อใดเป็นการตรวจสอบทฤษฏี ก. การพิสูจน์ว่าข้อมูลที่ผู้ศึกษาค้นคว้ามา ถูกต้องหรือไม่ ข. การตรวจสอบในสถานที่เดียวกัน หรือต่างกัน มีผลเหมือนกัน หรือไม่ ค. การตรวจสอบว่าผู้ศึกษาใช้แนวคิดตีความข้อมูลต่างกันมากน้อยเพียงใด ง. การตรวจสอบจากบุคคลหลายคน 18. เพราะเหตุใด จึงต้องมีการรวบรวมข้อมูลเรื่องเดียวกัน ประกอบกับการซักถาม และศึกษาข้อมูล เพิ่มเติม จากแหล่งเอกสาร ก. ใช้ตรวจสอบว่าผู้ศึกษาใช้แนวคิด ทฤษฏีใดในการศึกษาค้นคว้า ข. เพื่อตรวจสอบผลการศึกษาเรื่องลักษณะเดียวกัน จากผู้ศึกษาหลายคน ค. ใช้ประกอบการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของข้อมูล ง. เพื่อพิสูจน์ว่าข้อมูลที่ผู้ศึกษาค้นคว้าได้มานั้นถูกต้อง หรือไม่ 19. ภาพประกอบ และตาราง จำเป็นต้องมีในรายงาน หรือไม่ ก. มี ข. ไม่มี ค. มี หรือไม่มีก็ได้ ง. ยังไม่สรุป 20. เมื่อมีภาพประกอบ และตารางในรายงาน ควรมีรายการใดประกอบ ก. ชื่อภาพ ข. ชื่อตาราง ค. การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล ง. ชื่อภาพ ชื่อตาราง และการอ้างอิง 21. ข้อใดเป็น “ส่วนนำ” ของรายงาน ก. บทนำ ข. สารบัญ ค. บรรณานุกรม ง. ประวัติย่อผู้รายงาน 22. ข้อใดถูกต้อง ก. บทที่ 5 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ข. บทที่ 4 ผลการศึกษาค้นคว้า ค. บทที่ 3 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ง. บทที่ 2 วิธีการศึกษาค้นคว้า 23. รายการใดที่ต้องสอดคล้องกับการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา ก. บรรณานุกรม ข. ภาคผนวก ค. อภิธานศัพท์ ง. ประวัติย่อผู้ทำรายงาน 24. เพราะเหตุใดจึงต้องเลือกใช้เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เหมาะสม ก. เป็นเทคนิคสำคัญในการใช้เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล ข. เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง และสรุปผลได้ตรงกับจุดประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า ค. เป็นหลักการสำคัญของการศึกษาค้นคว้าที่ต้องใช้เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล ง. เพื่อช่วยให้สามารถวิเคราะห์ พิจารณาเปรียบเทียบข้อมูลได้โดยสะดวกรวดเร็ว 25. แบบทดสอบใช้ให้กลุ่มตัวอย่างตอบได้ในรูปแบบใด ก. เขียนตอบ การคิด และการพูด ข. การพูด การปฏิบัติ และการคิด ค. เขียนตอบ การพูด และการปฏิบัติ ง. เขียนตอบ การคิด และการปฏิบัติ 26. เครื่องมือที่มีข้อคำถามให้กลุ่มตัวอย่างตอบ โดยกาเครื่องหมาย เขียนตอบ หรือสัมภาษณ์ นิยมถาม เกี่ยวกับ ข้อเท็จจริง และความคิดเห็น เป็นความหมายของอะไร ก. การสัมภาษณ์ ข. การสังเกต ค. แบบทดสอบ ง. แบบสอบถาม


ซ 27. การสังเกตการณ์ เป็นเครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล ที่เหมาะสมกับข้อใด ก. ข้อมูลส่วนตัว บุคลิกภาพ เจตคติ และความคิดเห็น ข. การเก็บรวบรวมข้อมูลที่สามารถสังเกต หรือวัดให้เป็นปริมาณได้ ค. การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับข้อเท็จจริง และความคิดเห็นของบุคคล ง. การศึกษาเหตุการณ์เพื่อให้เข้าใจลักษณะธรรมชาติ 28. การเริ่มต้นสัมภาษณ์ เพราะเหตุใดจึงควรสนทนาเรื่องที่คาดว่าผู้ให้สัมภาษณ์สนใจ ก. สร้างความคุ้นเคย ข. มารยาทในการสัมภาษณ์ ค. มนุษยสัมพันธ์ ง. หลักการสัมภาษณ์ 29. วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อใดถูกต้องที่สุด ก. กลุ่มตัวอย่างจะมีเท่ากับ หรือมากกว่าประชากรก็ได้ ข. กลุ่มตัวอย่างจะมีเท่ากับ หรือน้อยกว่าประชากรก็ได้ ค. ประชากรจะมีน้อยกว่ากลุ่มตัวอย่าง ง. ประชากรจะมีมากกว่ากลุ่มตัวอย่าง 30. สิ่งที่ควรกล่าวถึงเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้า คืออะไร ก. ลักษณะ เนื้อหา ส่วนประกอบ วิธีใช้ ข. เนื้อหา ส่วนประกอบ ประชากร ค. ส่วนประกอบ วิธีใช้ กลุ่มตัวอย่าง ง. กระบวนการสร้าง ประชากร กลุ่มตัวอย่าง คะแนนเต็ม 10 คะแนน ได้ ........... คะแนน


1 ขั้นที่1 การหาความรู้ Operation การนำเสนอผลงานเป็นการสื่อสาร เพื่อสรุปให้บุคคลอื่นได้รับทราบถึงผลการดำเนินการที่ผู้นำเสนอได้ ศึกษามา การนำเสนอสาระสำคัญของผลงานควรทำให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและใช้สื่อประกอบอย่าง เหมาะสมและมีคุณภาพ โดยทั่วไปการนำเสนอผลงานทางวิทยาศาสตร์อาจอยู่ในรูปของ รายงาน โปสเตอร์การบรรยาย บทความ หรือการแสดงชิ้นงาน ซึ่งการเข้าใจหลักการในการเตรียมการนำเสนอในแต่ละรูปแบบ เป็นการส่งเสริม ให้การนำเสนอนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น รายงานอาจประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือส่วนนำส่วนเนื้อหา และส่วนท้ายซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1) ส่วนนำ ปก ประกอบด้วยชื่อเรื่อง ผู้จัดทำ โรงเรียน ช่วงเวลาหรือปีที่จัดทำ บทคัดย่อ แสดงภาพรวมของงานและเป็นส่วนที่ช่วยให้ผู้อ่านสนใจที่จะศึกษาเนื้อหาบทคัดย่อระกอบ ด้วยชื่อเรื่อง สรุปย่อความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์สมมติฐานวิธีการดำเนินการและผลการดำเนินการ รวมทั้งอาจมีข้อเสนอแนะ ตัวอย่างดังรูป 1 เล่มที่ 3 การนำเสนอผลงาน เวลา 12 ชั่วโมง ปฏิบัติการ ฝึกอ่าน : ฝึกคิด รายงาน ในที่นี้จะกล่าวถึงหลักการเบื้องต้น ในการเขียนรายงานการเตรียม โปสเตอร์และการเตรียมการบรรยาย


2 บทคัดย่อ รูป 1 ตัวอย่างบทคัดย่อ จากบทคัดย่อที่กำหนดให้จงระบุ ชื่อเรื่อง ความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์สมมติฐาน วิธีดำเนินการ ผลการดำเนินการ ตรวจสอบความเข้าใจ การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษาและความสามารถในการคิดอยางมีเหตุผลของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนดวยกิจกรรมการเรียนรูโดยใชเทคนิค 4 MAT การวิจัยครั้งนี้มีความมุงหมาย เพื่อการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษา และความสามารถ ในการคิดอยางมีเหตุผล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 4 ที่เรียนดวยกิจกรรมการเรียนรูโดยใชเทคนิค 4 MATกลุมตัวอยางที่ใชในการศึกษาคนควาเปนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2552 โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร จํานวน 40 คน ไดมาจากการเลือกตัวอยา งแบบแบงกลุม (Cluster Random Sampling) ใชเวลาในการทดลอง 12 ชั่วโมง ดําเนินการวิจัยโดยใชแบบ แผนการทดลองแบบ One Group Pretest – Posttest Design การวิเคราะหขอมูลโดยใชสถิติ t-test dependent sample


3 …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… กิตติกรรมประกาศ แสดงข้อความขอบคุณบุคคลหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่ทำให้การดำเนินการสำเร็จ ลุล่วงและแหล่งทุน (ถ้ามี) สารบัญ ประกอบด้วยสารบัญเนื้อเรื่องซึ่งแสดงชื่อหัวข้อหลักๆของเนื้อหาและเลขหน้าและอาจมี สารบัญตารางหรือสารบัญภาพประกอบด้วย ผลของการวิจัยปรากฏวา 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษา ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรูโดยใช้ เทคนิค 4 MAT หลังเรียนสูงกวา กอนเรียนอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ความสามารถในการคิดอยางมีเหตุผล ของนักเรียนที่เรียนดวยกิจกรรมการเรียนรูโดยใช เทคนิค 4 MAT หลังเรียนสูงกวา กอนเรียนอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 บทคัดย่อส่วนใหญ่มีความยาว ประมาณ 1 หน้า


4 ให้นักเรียนศึกษาบทคัดย่องานวิจัยที่สนใจมา 1 เรื่อง พร้อมระบุแหล่งที่มา …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ร่วมกันค้น


5 2) ส่วนเนื้อหา โดยทั่วไปแบ่งออกเป็นบทซึ่งแต่ละบทมีรายละเอียดดังนี้ บทที่ 1 บทนำ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ สมมติฐาน(ถ้ามี) ขอบเขตของการดำเนินการ นิยามเชิงปฏิบัติการ โดยความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาควรระบุถึง ปัญหาและผลกระทบ รวมทั้งข้อจำกัดของแนวทางการแก้ไขปัญหาที่มีการศึกษาไว้ก่อนแล้ว หรือประเด็นที่ ยังไม่ได้มีการศึกษา บทที่ 2 ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ให้ข้อมูลเกี่ยวกับทฤษฎี หลักการ หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ซึ่งขยายความจากบทที่ 1 โดยมีข้อมูลและการอ้างอิง สนับสนุน พร้อมทั้งวิเคราะห์เปรียบเทียบผลงานวิจัยที่ ผ่านมา และแสดงความเห็นของผู้จัดทำ ในการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ โดยผู้จัดทำควรเขียนเรียบเรียงด้วย ข้อความของตนเองไม่ให้คัดลอกจากแหล่งอ้างอิงซึ่งอาจเขียนแบ่งเป็นหัวข้อตามความเหมาะสมของปริมาณ และหมวดหมู่ของข้อมูลที่จะนำเสนอ บทที่ 3 วิธีดำเนินการ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุและอุปกรณ์ วิธีการทดลองหรือวิธีการแก้ปัญหา และวิธีการ วิเคราะห์ข้อมูลร่วมด้วย ซึ่งผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจและดำเนินการตามได้ บทที่ 4 ผลการดำเนินการและการอภิปรายข้อมูล แสดงผลการทดลองหรือผลการแก้ปัญหาโดยอาจ นำเสนอในรูปแบบที่เหมาะสมเช่นตารางแผนภาพกราฟรวมทั้งวิเคราะห์และอภิปรายความ ความสัมพันธ์ ของข้อมูล แต่ละชุดให้เห็นว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่สอดคล้องหรือแตกต่างกับทฤษฎีหรืองานวิจัยที่ เกี่ยวข้องอย่างไร บทที่ 5 สรุปผลการดำเนินการและข้อเสนอแนะ เป็นการนำผลการดำเนินการทั้งหมดมาสรุปย่อเป็น ประเด็นตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินการ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนำผลการศึกษาไปใช้ ประโยชน์ หรือประเด็นที่ควรศึกษาเพิ่มเติมในอนาคต


6 3) ส่วนท้าย ประกอบด้วย บรรณานุกรม แสดงรายการเอกสารที่ใช้เป็นแหล่งข้อมูลประกอบ เช่น หนังสือเรียน ตำราบทความวิจัย เว็บไซต์ บรรณานุกรมมีรูปแบบการเขียนเฉพาะซึ่งอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละ สถาบันการศึกษาหรือหน่วยงาน อย่างไรก็ตามการเขียนบรรณานุกรมต้องใช้รูปแบบของแต่ละสถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานอย่างไรก็ตามการเขียนบรรณานุกรมต้องใช้รูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเล่ม และเรียงลำดับตาม ตัวอักษร โดยเขียนแยกระหว่างบรรณานุกรมภาษาไทยและภาษาอังกฤษตัวอย่างของการเขียนบรรณานุกรมของ สสวท. ดังแสดง เรื่อง สืบค้นข้อมูลรูปแบบการเขียนบรรณานุกรม จุดประสงค์ของกิจกรรม นำเสนอรูปแบบการเขียนบรรณานุกรม วิธีทำกิจกรรม 1. สืบค้นข้อมูลรูปแบบการเขียนบรรณานุกรมที่เป็นสากลหรือที่นิยมใช้ทั่วไป ในส่วนเนื้อหา จำนวนบทในรายงานอาจมีมากกว่าหรือน้อยกว่า 5 บท ก็ได้ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของเนื้อหา เช่น อาจรวม ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องไว้ในบทนำเป็น 1 บท ได้ ในส่วน ของผลการดำเนินการและการอภิปรายข้อมูล ถ้ามีข้อมูลจาก การดำเนินการที่มีประเด็นแตกต่างกันอาจเขียนแยกบทได้ ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลล่วงหน้า แล้วนำสิ่งที่ได้จาก การสืบค้นมาเสนอและร่วมกันอภิปรายในห้องเรียน


7 2. นำเสนอและอภิปรายร่วมกัน


8 ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้น …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………


9 …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………


10 การนำเสนอด้วยโปสเตอร์ การนำเสนอด้วยโปสเตอร์เป็นการนำเสนอผลงานในรูปแบบที่ใช้ภาพและ ข้อความเพื่อดึงความสนใจของผู้ชมซึ่งการนำเสนอโปสเตอร์ในการประชุมวิชาการนิยมเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้มีการ ซักถามด้วยรูปแบบของโปสเตอร์อาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละเวทีการนำเสนอการจัดทำและ การนำเสนอโปสเตอร์ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ 1) ศึกษารายละเอียดข้อกำหนดของแต่ละเวทีการนำเสนอ เช่นขนาดโปสเตอร์ รูปแบบระยะเวลาในการ นำเสนอ 2) แบ่งสัดส่วนส่วนเนื้อหาสาระให้ได้หัวข้อครบถ้วนและเหมาะสมกับพื้นที่ของโปสเตอร์เช่นการนำเสนอ ผลงานวิจัยอาจประกอบด้วยชื่อเรื่องงานวิจัยชื่อผู้วิจัยหน่วยงานที่สังกัดบทคัดย่อวัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการค้นการวิจัยสรุปผลและบรรณานุกรม 3) จัดเรียงเนื้อหาสาระให้มีลักษณะเป็นการเล่าเรื่องตามลำดับเพื่อให้ผู้ชม poster สามารถติดตามอ่านได้ ง่าย 4) ใช้ภาพแผนภูมิ แผนภาพหรือตาราง ที่สื่อความหมายได้ถูกต้องชัดเจนและน่าสนใจ มีขนาดที่เหมาะสม ไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป 5) ใช้ตัวอักษรที่เหมาะสมที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนและอ่านได้ง่าย ไม่ควรใช้รูปแบบของตัวอักษรมาก เกินกว่า 2 รูปแบบ และหลีกเลี่ยงการใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ภาษาอังกฤษทั้งหมดเพราะทำให้อ่านยาก 6) ใช้โทนสีของพื้นหลังที่เสริมให้ตัวอักษรและภาพเด่นชัด 7) ตรวจสอบการสะกดคำการใช้เครื่องหมายรวมทั้งการเว้นวรรคให้ถูกต้อง 8) เตรียมตัวในการพูดนำเสนอ โปสเตอร์ โดยเตรียมคำอธิบายและตอบคำถามรวมทั้งซักซ้อมการพูด 9) นำเสนอด้วยท่ายืนที่สุภาพและไม่บังโปสเตอร์พูดให้กระชับและพูดเฉพาะประเด็นหลักรวมทั้งสบตาและ แสดงความสนใจผู้ฟังตลอดเวลาที่นำเสนอ เรื่อง การจัดทำและนำเสนอข้อมูลในโปสเตอร์ จุดประสงค์ของกิจกรรม จัดทำและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่เหมาะสม วิธีทำกิจกรรม 1. พิจารณาข้อมูลทั้ง 3 ชุดต่อไปนี้และจัดทำข้อมูลแต่ละชุดในรูปแบบที่สื่อความหมายได้ชัดเจนและน่าสนใจ ชุดที่ 1 ข้อมูลการทดลองวัดความเข้มข้นของไอออนจากการแตกตัวของกรด การนำเสนอด้วยโปสเตอร์ กิจกรรม สืบเสาะ ค้นหา 2 กรดไฮโดรคลอริกและกรดไฮโดรฟลูออริกความเข้มข้นเริ่มต้น 1 mol/l กรดไฮโดรคลอริกแตกตัวให้ ไฮโดรเจนไอออนและคลอไรด์ไอออนความเข้มข้นอย่างละ 1 mol/l ส่วนกรดไฮโดรฟลูออริกแตกตัวให้ ไฮโดรเจนไอออนและคลอไรด์ไอออนความเข้มข้นอย่างละ 0.04 mol/l


11 ชุดที่ 2 ข้อมูลการทดลองหาปริมาตรของแก๊สไฮโดรเจนจำนวน 0.002 โมล ที่อุณหภูมิต่างๆ ณ ความ ดัน 1 บรรยากาศ อุณหภูมิ( ๐ c) ปริมาตร (ml) -100 30 -50 36 0 45 50 55 100 61 ชุดที่ 3 ข้อมูลวิธีการทดลองเพื่อศึกษาผลของความเข้มข้นของสารต่อภาวะสมดุล 2. นำเสนอข้อมูลที่จัดทำขึ้นและอภิปรายร่วมกัน ติดภาพชิ้นงาน …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… วิธีทดลอง 1. ใส่น้ำดอกอัญชันในหลอดทดลอง 3 หลอด หลอดละ 1.0 ml จากนั้นเติมไฮโดรคลอริก 0.02 mol/l หลอดละ 5 หยด 2. เติมสารละลายลงในหลอดทดลองในข้อหนึ่งดังนี้ หลอดที่ 1 เติมน้ำกลั่น 5 หยดผสมให้เข้ากันแล้วบันทึกสี หลอดที่ 2 เติม HCl 0.02 mol/L 5 หยด ผสมให้เข้ากัน แล้วบันทึกสี หลอดที่ 3 เติม NaOH 0.02 mol/L 5 หยด ผสมให้เข้ากัน แล้วบันทึกสี เปรียบเทียบสีของสารละลายหลอดที่ 2 และ 3 กับ หลอดที่ 1 3. สังเกตสีของสารละลายทั้ง 3 หลอดอีกครั้ง เมื่อเวลาผ่านไป 1 นาที 4.


12 …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… คำถามท้ายกิจกรรม 1. รูปแบบที่นำเสนอของนักเรียนแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… รูปแบบใดที่เหมาะสม เพราะเหตุใด …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………


13 เรื่อง การนำ เสนอผลงานจากกิจกรรมการแก้ปัญหาโดยการบูรณาการความรู้ จุดประสงค์ของกิจกรรม 1. จัดทำรายงาน 2. จัดทำสื่อประกอบการนำเสนอผลงานหรือชิ้นงานในรูปแบบโปสเตอร์หรือสไลด์ประกอบการบรรยาย 3. นำเสนอผลงานในรูปแบบของโปสเตอร์หรือการบรรยาย วิธีทำกิจกรรม 1. จัดทำรายงานของกิจกรรม การแก้ปัญหาโดยการบูรณาการความรู้ และส่งรายงาน 2. จัดทำโปสเตอร์หรือสไลด์ประกอบการบรรยายของกิจกรรม การแก้ปัญหาโดยการบูรณาการความรู้ 3. นำเสนอผลงานในรูปแบบของโปสเตอร์หรือการบรรยายและเปิดโอกาสให้มีการซักถามเพื่อแลกเปลี่ยน ความรู้ ภาพชิ้นงาน


14 เกณฑ์การให้คะแนนโปสเตอร์นำเสนอผลงานจากกิจกรรมการแก้ปัญหาโดยการบูรณาการความรู้ (โปสเตอร์นำเสนอผลงานจากกิจกรรมเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการในกิจกรรมที่ 3) สิ่งที่ต้องการประเมิน เกณฑ์การประเมิน ระดับ คุณภาพ ขนาดและองค์ประกอบ ของโปสเตอร์ ขนาดโปสเตอร์เป็นไปตามที่กำหนดและมีข้อมูลครบตาม หัวข้อที่กำหนด ดี ขนาดโปสเตอร์เป็นไปตามที่กำหนด แต่มีข้อมูลไม่ครบตาม หัวข้อที่กำหนดหรือมีข้อมูลครบตามหัวข้อที่กำหนด แต่ ขนาดโปสเตอร์ไม่เป็นไปตามที่กำหนด พอใช้ ขนาดโปสเตอร์ไม่เป็นไปตามที่กำหนดและมีข้อมูลไม่ครบ ตามหัวข้อที่กำหนด ต้องปรับปรุง เนื้อหาในโปสเตอร์ เนื้อหาส่วนใหญ่มีความถูกต้องและสมบูรณ์ ดี เนื้อหาส่วนใหญ่ไม่ถูกต้องและไม่สมบูรณ์ พอใช้ เนื้อหาส่วนใหญ่มีความถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์ ต้องปรับปรุง การใช้ภาษา ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและส่วนใหญ่สะกดคำได้ถูกต้อง ดี ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายแต่ส่วนใหญ่สะกดคำไม่ถูกต้อง พอใช้ ใช้ภาษาที่เข้าใจยาก วกวน และส่วนใหญ่สะกดคำ ไม่ถูกต้อง ต้องปรับปรุง การส่งโปสเตอร์ ส่งทันตามกำหนดเวลา ดี ส่งไม่ทันตามกำหนดเวลา ต้องปรับปรุง


15 นักวิทย์ฯ คิดอย่างมีวิจารณญาณ คำชี้แจง ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม อ่านข่าวที่กำหนดให้และเติมข้อความลงในช่องว่างให้ถูกต้องและสมบูรณ์ รอยเตอร์ - ผู้ชุมนุมประท้วงชาวพม่าหลายหมื่นคนตบเท้าลงถนนตามเมืองใหญ่ของประเทศเป็นวันที่ 9 เพื่อต่อต้านการรัฐประหารในวันนี้ (14) หลังค่ำคืนที่น่าหวาดกลัวที่ผู้อยู่อาศัยต้องรวมกลุ่มออกลาดตระเวน และ กองทัพได้ยกเลิกกฎหมายที่คุ้มครองเสรีภาพ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ร่วมเดินขบวนในเมืองย่างกุ้งถือป้ายเรียกร้องการปล่อยตัวอองซานซูจี ที่ ถูกควบคุมตัวนับตั้งแต่ทหารโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของเธอเมื่อวันที่ 1 ก.พ. ส่วนหนึ่งของการชุมนุมประท้วงบนท้องถนนครั้งใหญ่ที่สุดในรอบกว่าทศวรรษ ยังมีขบวนรถโดยสาร เคลื่อนตัวช้าๆ ไปพร้อมกับผู้ชุมนุม และบีบแตรรถเพื่อแสดงการประท้วง ที่กรุงเนปีดอ มีทั้งขบวนรถจักรยานยนต์และรถยนต์ร่วมการประท้วง ส่วนที่เมืองทวาย เมืองชายฝั่งทาง ตะวันออกเฉียงใต้ วงดนตรีรวมทีมตีกลองส่งเสียงขณะผู้ชุมนุมประท้วงเดินขบวนภายใต้แสงแดดร้อนระอุ และที่ เมืองวายหม่อ ทางเหนือสุดของรัฐกะฉิ่น บริเวณริมฝั่งแม่น้ำอิรวดี ฝูงชนถือธงเดินขบวนและร้องเพลงปฏิวัติ ผู้ชุมนุมประท้วงทั่วประเทศต่างชูภาพใบหน้าของอองซานซูจี โดยการควบคุมตัวซูจีจากข้อหานำเข้า วิทยุสื่อสารผิดกฎหมาย มีกำหนดสิ้นสุดลงในวันจันทร์นี้ (15) ด้านสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองระบุว่า นับตั้งแต่เกิดรัฐประหารมีคนถูกจับกุมตัวมากกว่า 384 คน โดยส่วนใหญ่เป็นการจับกุมในเวลากลางคืน “ขณะที่ประชาคมโลกกำลังประณามรัฐประหาร แต่มิน อ่อง หล่าย กำลังใช้เครื่องมือทุกอย่างที่มีสร้าง ความหวาดกลัวและการไร้ซึ่งเสถียรภาพ” นักเคลื่อนไหวจากกลุ่มสิทธิมนุษยชน Burma Campaign กล่าวทาง ทวิตเตอร์ ถึงผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพพม่า ผู้ชุมนุมประท้วงจำนวนมากในนครย่างกุ้งถือป้ายเรียกร้องให้ทางการหยุดลักพาตัวผู้คนในเวลากลางคืน ชาวเมืองได้รวมตัวกันในช่วงดึกของวันเสาร์ (13) ออกลาดตระเวนตามถนนสายต่างๆ ในนครย่างกุ้ง และเมือง มัณฑะเลย์ ด้วยหวาดกลัวว่าจะมีการบุกจับกุมตัว รวมถึงเหตุอาชญากรรม หลังรัฐบาลทหารสั่งปล่อยตัวผู้ต้องขัง นับหมื่นความวิตกกังวลเกี่ยวกับการก่ออาชญากรรมเพิ่มสูงขึ้นนับตั้งแต่วันศุกร์ (12) เมื่อรัฐบาลทหารประกาศว่า ขั้นที่3 ซึมซับความรู้ Assimlation ปฏิบัติการ คิดดี ผลงานดี มีความสุข พม่าประท้วงรัฐประหารวันที่ 9 ชาวเมืองจับกลุ่มลาดตระเวนหลังทหารปล่อยตัวนักโทษ คาดจงใจสร้างความรุนแรง : ที่มา ผู้จัดการออนไลน์วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564 15:21


16 จะปล่อยตัวผู้ต้องขังมากกว่า 23,000 คน โดยระบุว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวสอดคล้องกับการสร้างรัฐ ประชาธิปไตยใหม่ที่มีสันติภาพ การพัฒนา และระเบียบวินัย ภาพถ่ายที่ปรากฏบนสื่อสังคมออนไลน์ยิ่งทำให้เกิดกระแสข่าวลือหนักขึ้นไปอีกว่าอาชญากรกำลัง พยายามก่อความไม่สงบด้วยการวางเพลิงหรือวางยาพิษในน้ำ ติน มี้น ผู้อยู่อาศัยในย่านซานชวงของนครย่างกุ้ง เป็นหนึ่งในฝูงชนที่เข้าควบคุมตัวกลุ่มคน 4 คนที่ต้อง สงสัยว่าก่อเหตุโจมตีในละแวกใกล้เคียง “เราคิดว่าทหารจงใจก่อความรุนแรง โดยให้อาชญากรเหล่านี้แทรกตัวเข้าไปในการชุมนุมประท้วงอย่าง สันติ” ติน มี้น กล่าว ติน มี้น อ้างถึงการชุมนุมประท้วงสนับสนุนประชาธิปไตยในปี 2531 ที่ทหารถูกกล่าวหาอย่างกว้างขวาง ว่าปล่อยตัวอาชญากรเข้ามาในหมู่ประชาชนเพื่อก่อเหตุโจมตี และอ้างเรื่องความไม่สงบในเวลาต่อมา เพื่อสร้าง ความชอบธรรมในการขยายอำนาจของตน นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่ามีคนเห็นโดรนลอยอยู่เหนือกลุ่มคน โดยหนึ่งในผู้เห็นเหตุการณ์กล่าวว่า โดรน บินขึ้นๆ ลงๆ และถ่ายภาพฝูงชนที่กำลังไล่จับโจร ทั้งนี้ รอยเตอร์ไม่สามารถติดต่อรัฐบาลหรือกองทัพเพื่อขอความคิดเห็นได้ ในคืนวันเสาร์ (13) กองทัพได้ฟื้นกฎหมายที่กำหนดให้ประชาชนต้องรายงานผู้ที่มาเยี่ยมบ้านในตอน กลางคืน และอนุญาตให้กองกำลังความมั่นคงเข้าควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยและค้นทรัพย์สินส่วนตัวได้โดยไม่ต้อง ได้รับอนุมัติจากศาล และสั่งให้จับกุมตัวผู้สนับสนุนการชุมนุมประท้วง การรัฐประหารที่เกิดขึ้นเรียกเสียงประณามจากชาติตะวันตก โดยสหรัฐฯ ได้ประกาศมาตรการคว่ำ บาตรบางส่วนกับนายพลที่ปกครองประเทศ ขณะที่ประเทศต่างๆ กำลังพิจารณามาตรการอยู่เช่นกัน. คะแนนที่ได้…………….คะแนน ประเภทของข่าว ………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………. . พาดหัวข่าว ………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………. . เหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นในข่าว ………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………


17 แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยที่ 3 เรื่องการนำเสนอผลงาน วิชาเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 เวลา 20 นาที คำชี้แจง 1. แบบทดสอบฉบับนี้เป็นแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อใช้เวลาในการสอบ 20 นาที 2. ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วทำเครื่องหมาย × ลงในกระดาษคำตอบ 1. ข้อใดคือความหมายของการนำเสนอข้อมูล ก. การสื่อสารเพื่อเสนอข้อมูล ข. การแสดงความคิดเห็น ค. การตัดสินใจในการดำเนินงาน ง. การแลกเปลี่ยนข้อมูล 2. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการนำเสนอข้อมูล ก. เพื่อให้ผู้รับการนำเสนอข้อมูลรับทราบความคิดเห็น ข. เพื่อให้ผู้รับการนำเสนอข้อมูลได้รับความรู้จากข้อมูลที่นำเสนอ ค. เพื่อบรรยายข้อมูลทางด้านวิชาการ ง. เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ 3. การจัดเรียงลำดับข้อใดจัดเป็นลำดับแรก ก. แสดงชื่อเรื่อง พร้อมชื่อของผู้นำเสนอ ข. แสดงวัตถุประสงค์ ค. แสดงหัวข้อในการนำเสนอ ง. แสดงเนื้อหาในการนำเสนอ 4. นิยาม หมายถึงอะไร ก. การกำหนด หรือการจำกัดความหมายที่แน่นอน ข. ศัพท์เฉพาะ ค. ศัพท์ปกติ ง. ความหมายของคำที่กำหนดตามพจนานุกรม 5. ข้อใดกล่าวถึงประโยชน์ของการ นิยามศัพท์เฉพาะ ได้ถูกต้องที่สุด ก. ช่วยให้นิยามศัพท์ได้ถูกต้องตามแบบพจนานุกรม ข. ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายของศัพท์ได้ตรงกับผู้ศึกษาค้นคว้ากำหนด ค. ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายของศัพท์ได้ตรงกับที่สารานุกรมกำหนด ง. ช่วยให้ผลการศึกษาค้นคว้าถูกต้อง ชัดเจนตามจุดมุ่งหมาย 6. ข้อใด หมายถึงประชากรในการศึกษาค้นคว้า ก. คน ข. คน สัตว์ ค. คน สัตว์ สิ่งของ ง. คน สัตว์ สิ่งของ และลักษณะทางจิตวิทยา 7. การศึกษาค้นคว้าตามข้อใดควรใช้กลุ่มตัวอย่างน้อย ก. การใช้แบบสอบถาม ข. การใช้แบบทดสอบ ค. การทดลอง และการสัมภาษณ์ ง. การสัมภาษณ์


18 8. ข้อใดเป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยการสุ่ม ก. มงคล เลือกแบบบังเอิญ ข. ดนภัทร เจาะจงตามความสะดวก ค. ปรัชญา ใช้วิธีจับฉลาก ง. มารี ไม่อาศัยความน่าจะเป็น 9. ข้อใดเป็นความหมายของแบบสอบถาม ก. เครื่องมือที่ผู้ศึกษาค้นคว้าใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ข. คำถามที่กำหนดให้กลุ่มตัวอย่างตอบโดยกาเครื่องหมาย ค. การเขียนอธิบายตอบคำถามตามที่ผู้ถามกำหนด ง. ข้อเท็จจริง หรือความคิดเห็นของบุคคล 10. ข้อใดเป็นคำชี้แจงในการตอบแบบสอบถาม ก. เพศ ระดับการศึกษา อายุ อาชีพ ข. แจ้งจุดมุ่งหมาย อธิบายลักษณะ ตัวอย่างการตอบแบบสอบถาม ค. ตั้งคำถามแบบปลายปิด ง. ตั้งคำถามแบบปลายเปิด 11. ข้อใดกล่าวถึง ข้อคำถาม ได้ถูกต้อง ก. แบบปลายปิด ผู้เขียนอธิบายตอบด้วยตนเอง ข. แบบปลายเปิด จะมีคำตอบให้เลือกตอบ ค. ไม่สามารถสร้างคำถามแบบปลายเปิด กับปลายปิดให้อยู่ในแบบสอบถามชุดเดียวกันได้ ง. เป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะช่วยให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาค้นคว้า 12. การตั้งคำถามในแบบสอบถาม ควรให้สอดคล้องกับเรื่องใดมากที่สุด ก. นิยามศัพท์เฉพาะ ข. บรรณานุกรม ค. สมมุติฐาน ง. จุดมุ่งหมาย 13. ลักษณะของแบบสอบถาม ข้อใดถูกต้อง ก. ใช้คำอธิบาย ขยายความให้มากที่สุด ข. ควรเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ค. คำถามครอบคลุมประเด็นทั้งหมดของการศึกษาค้นคว้า ง. เลือกถามเฉพาะประเด็นที่มีความสำคัญ 14. แหล่งที่มาของข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า จะมีความน่าเชื่อถือได้มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับอะไร ก. ข้อมูล ข. ทฤษฏี ค. ผู้ศึกษาค้นคว้า ง. การตรวจสอบ 15. การตรวจสอบสถานที่เดียวกัน ผลออกมาเหมือนกัน ควรปฏิบัติอย่างไร ก. ผู้ศึกษาควรตรวจสอบในแหล่งสถานที่อื่นด้วย ข. ผู้ศึกษาไม่ต้องตรวจสอบแหล่งสถานที่อื่น ค. ถูกทั้งข้อ ก และข้อ ข ง. ผู้ศึกษาควรตรวจสอบในช่วงเวลาที่ต่างกันด้วย 16. เพราะเหตุใดจึงต้องมีการตรวจสอบผู้ศึกษา ก. เป็นหลักการที่ต้องปฏิบัติในการศึกษาค้นคว้า ข. สร้างความน่าเชื่อถือได้มากขึ้น ค. เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการตรวจสอบข้อมูล ง. การตรวจสอบทฤษฏีต้องตรวจสอบผู้ศึกษาก่อน


19 17. ข้อใดเป็นการตรวจสอบทฤษฏี ก. การพิสูจน์ว่าข้อมูลที่ผู้ศึกษาค้นคว้ามา ถูกต้องหรือไม่ ข. การตรวจสอบในสถานที่เดียวกัน หรือต่างกัน มีผลเหมือนกัน หรือไม่ ค. การตรวจสอบว่าผู้ศึกษาใช้แนวคิดตีความข้อมูลต่างกันมากน้อยเพียงใด ง. การตรวจสอบจากบุคคลหลายคน 18. เพราะเหตุใด จึงต้องมีการรวบรวมข้อมูลเรื่องเดียวกัน ประกอบกับการซักถาม และศึกษาข้อมูล เพิ่มเติม จากแหล่งเอกสาร ก. ใช้ตรวจสอบว่าผู้ศึกษาใช้แนวคิด ทฤษฏีใดในการศึกษาค้นคว้า ข. เพื่อตรวจสอบผลการศึกษาเรื่องลักษณะเดียวกัน จากผู้ศึกษาหลายคน ค. ใช้ประกอบการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของข้อมูล ง. เพื่อพิสูจน์ว่าข้อมูลที่ผู้ศึกษาค้นคว้าได้มานั้นถูกต้อง หรือไม่ 19. ภาพประกอบ และตาราง จำเป็นต้องมีในรายงาน หรือไม่ ก. มี ข. ไม่มี ค. มี หรือไม่มีก็ได้ ง. ยังไม่สรุป 20. เมื่อมีภาพประกอบ และตารางในรายงาน ควรมีรายการใดประกอบ ก. ชื่อภาพ ข. ชื่อตาราง ค. การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล ง. ชื่อภาพ ชื่อตาราง และการอ้างอิง 21. ข้อใดเป็น “ส่วนนำ” ของรายงาน ก. บทนำ ข. สารบัญ ค. บรรณานุกรม ง. ประวัติย่อผู้รายงาน 22. ข้อใดถูกต้อง ก. บทที่ 5 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ข. บทที่ 4 ผลการศึกษาค้นคว้า ค. บทที่ 3 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ง. บทที่ 2 วิธีการศึกษาค้นคว้า 23. รายการใดที่ต้องสอดคล้องกับการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา ก. บรรณานุกรม ข. ภาคผนวก ค. อภิธานศัพท์ ง. ประวัติย่อผู้ทำรายงาน 24. เพราะเหตุใดจึงต้องเลือกใช้เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เหมาะสม ก. เป็นเทคนิคสำคัญในการใช้เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล ข. เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง และสรุปผลได้ตรงกับจุดประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า ค. เป็นหลักการสำคัญของการศึกษาค้นคว้าที่ต้องใช้เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล ง. เพื่อช่วยให้สามารถวิเคราะห์ พิจารณาเปรียบเทียบข้อมูลได้โดยสะดวกรวดเร็ว 25. แบบทดสอบใช้ให้กลุ่มตัวอย่างตอบได้ในรูปแบบใด ก. เขียนตอบ การคิด และการพูด ข. การพูด การปฏิบัติ และการคิด ค. เขียนตอบ การพูด และการปฏิบัติ ง. เขียนตอบ การคิด และการปฏิบัติ 26. เครื่องมือที่มีข้อคำถามให้กลุ่มตัวอย่างตอบ โดยกาเครื่องหมาย เขียนตอบ หรือสัมภาษณ์ นิยมถาม เกี่ยวกับ ข้อเท็จจริง และความคิดเห็น เป็นความหมายของอะไร ก. การสัมภาษณ์ ข. การสังเกต ค. แบบทดสอบ ง. แบบสอบถาม


20 27. การสังเกตการณ์ เป็นเครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล ที่เหมาะสมกับข้อใด ก. ข้อมูลส่วนตัว บุคลิกภาพ เจตคติ และความคิดเห็น ข. การเก็บรวบรวมข้อมูลที่สามารถสังเกต หรือวัดให้เป็นปริมาณได้ ค. การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับข้อเท็จจริง และความคิดเห็นของบุคคล ง. การศึกษาเหตุการณ์เพื่อให้เข้าใจลักษณะธรรมชาติ 28. การเริ่มต้นสัมภาษณ์ เพราะเหตุใดจึงควรสนทนาเรื่องที่คาดว่าผู้ให้สัมภาษณ์สนใจ ก. สร้างความคุ้นเคย ข. มารยาทในการสัมภาษณ์ ค. มนุษยสัมพันธ์ ง. หลักการสัมภาษณ์ 29. วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อใดถูกต้องที่สุด ก. กลุ่มตัวอย่างจะมีเท่ากับ หรือมากกว่าประชากรก็ได้ ข. กลุ่มตัวอย่างจะมีเท่ากับ หรือน้อยกว่าประชากรก็ได้ ค. ประชากรจะมีน้อยกว่ากลุ่มตัวอย่าง ง. ประชากรจะมีมากกว่ากลุ่มตัวอย่าง 30. สิ่งที่ควรกล่าวถึงเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้า คืออะไร ก. ลักษณะ เนื้อหา ส่วนประกอบ วิธีใช้ ข. เนื้อหา ส่วนประกอบ ประชากร ค. ส่วนประกอบ วิธีใช้ กลุ่มตัวอย่าง ง. กระบวนการสร้าง ประชากร กลุ่มตัวอย่าง คะแนนเต็ม 10 คะแนน ได้ ........... คะแนน


21 บรรณานุกรม สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เล่ม 6.พิมพ์ครั้งที่ 1 ; กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี เคมี เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ผู้จัดการออนไลน์. (2564). พม่าประท้วงรัฐประหารวันที่ 9 ชาวเมืองจับกลุ่มลาดตระเวนหลังทหารปล่อยตัว นักโทษ คาดจงใจสร้างความรุนแรง. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์2564, จาก https://mgronline.com/indochina/detail/9640000014670


Click to View FlipBook Version