The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

4.ชุดกิจกรรมกระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ บทที่ 2 มนุษย์และการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Anocha Utumsakulrat, 2023-10-12 22:33:01

4.ชุดกิจกรรมกระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ บทที่ 2 มนุษย์และการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ

4.ชุดกิจกรรมกระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ บทที่ 2 มนุษย์และการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ

บทนำ ชุดกิจกรรมที่ผู้เรียนจะได้ศึกษานี้เรียกว่าชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ หน่วยกระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ บทที่ 2 มนุษย์และการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ เป็นสื่อ วิทยาศาสตร์ที่เน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีระบบ พบคำตอบของปัญหาหรือ สถานการณ์นั้นด้วยตนเอง ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้คิดและลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ และ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนักเรียน ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการเนื้อหาส่วนใหญ่เน้นการให้นักเรียนสามารถ นำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันเพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาได้ด้วยตนเองจึงได้เรียบเรียง เนื้อหาให้กระชับและน่าสนใจและนอกจากนี้ยังได้แทรกรูปภาพและคำถามชวนคิดไว้ตลอดทำให้ไม่เบื่อในการ อ่านและทำกิจกรรม ผู้จัดทำชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารชุดนี้จะมี ประโยชน์ในการเรียนรู้เนื้อหาตามหลักสูตร ผู้เรียนมีความรู้และความสามารถในการสืบค้น การจัดระบบสิ่งที่ เรียนรู้ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ ได้เป็นอย่างดีสามารถนำความรู้ที่ได้จากการ เรียนรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ และเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจใช้เป็นแนวทาง ในการจัดกระบวนการ เรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้ต่อไป ........................................... ( นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์ ) ผู้จัดทำชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์


สารบัญ หน้า บทนำ................................................................................................................................ สารบัญ............................................................................................................................. คำชี้แจงการใช้ชุดกิจกรรม................................................................................................ ก แบบประเมินตนเองก่อนเรียน........................................................................................... ข หน่วยกระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศบทที่ 2 มนุษย์และการเปลี่ยนแปลงฯ........ 1 ขั้นพัฒนาปัญญา กิจกรรม ฝึกอ่าน : ฝึกคิด 1 เรื่องที่ 1 พายุ..................................................................................................... 1 -ทบทวนความรู้ก่อนเรียน 1………………………………………………………….. 1 -กิจกรรม สืบเสาะ ค้นหา 1 เรื่องพายุฝนฟ้าคะนองและพายุหมุนเขต… 2 ร้อนเกิดขึ้นได้อย่างไร………………………………………………………………….. -ร่วม กัน คิด 1…………………………………………………………………………… 7 เรื่องที่ 2 การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอากาศอากาศโลก......................................... 8 -ทบทวนความรู้ก่อนเรียน 2………………………………………………………….. 8 -กิจกรรม สืบเสาะ ค้นหา 2 เรื่องภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่…….. 8 -ร่วม กัน คิด 2…………………………………………………………………………… 13 ขั้นนำปัญญาพัฒนาความคิด กิจกรรม ฝึกทำ : ฝึกสร้าง 14 ขั้นนำปัญญาพัฒนาตนเอง กิจกรรม คิดดี ผลงานดี มีความสุข 15 แบบประเมินตนเองหลังเรียน............................................................................................ 18 อ้างอิง............................................................................................................................ 21


1. สาระที่3 วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของระบบโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลงภาย ในโลกและบนผิวโลก ธรณีพิบัติภัย กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศโลก รวมทั้ง ผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม 2. มาตรฐานการเรียนรู้ /ตัวชี้วัด ว 3.2 ม.1/1 ,1/2, 1/3,1/4 , 1/5, 1/6, 1/7 3. วิธีเรียนรู้จากชุดกิจกรรมนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนักเรียนควรปฏิบัติตาม คำชี้แจงต่อไปนี้ 1. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สองภาษาตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ เรื่อง มนุษย์และการ เปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ ชุดนี้ ใช้เวลา 7 ชั่วโมง 2. ให้นักเรียนจัดกลุ่ม ๆ ละประมาณ 6 คน 3. ให้นักเรียนศึกษามาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัดของชุดการเรียน 4. ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมในชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ โดยใช้ รูปแบบการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการตามขั้นตอนดังนี้ 1. ขั้นพัฒนาปัญญา 2. ขั้นนำปัญญาพัฒนาความคิด 3. ขั้นนำปัญญาพัฒนาตนเอง 4. สาระสำคัญ ลมฟ้าอากาศมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาเมื่อองค์ประกอบของลมฟ้าอากาศมีการเปลี่ยนแปลงไป บางครั้งการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศจะเกิดอย่างรุนแรงซึ่งส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างมาก สำหรับประเทศไทยพบการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศได้แก่ พายุฝนฟ้าคะนองและพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งพายุทั้ง สองมีกระบวนการเกิดและผลกระทบทั้งเหมือนและแตกต่างกัน ลมฟ้าอากาศเป็นสภาวะของอากาศที่เกิดขึ้นใน พื้นที่หนึ่ง ๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ดังที่กล่าวมา ภูมิอากาศเป็นลักษณะลมฟ้าอากาศโดย เฉลี่ยของพื้นที่หนึ่ง ๆ ในแต่ละช่วงเวลา มีการเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศมีทั้งปัจจัยทางธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศแม้ไม่ได้เกิดขึ้นอย่าง รวดเร็วเหมือนดังการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ แต่ก็ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม อย่างมาก มนุษย์จำเป็นต้องเรียนรู้สถานการณ์ ผลกระทบ และแนวทางในการปฏิบัติตนภายใต้การ เปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เพื่อให้มนุษย์และสิ่งแวดล้อมดำรงอยู่ได้อย่าง ปลอดภัยและยั่งยืน *** ขอให้นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างมีความสุข *** คำชี้แจงการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ หน่วยกระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ บทที่ 2 มนุษย์และการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ ก


คำชี้แจง : ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ ใช้เวลา 10 นาที 1. เราใช้เกณฑ์ในข้อใดจำแนกชนิดของพายุหมุนเขตร้อน ก. บริเวณท้องถิ่นที่เกิด ข. ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง ค. ความเร็วในการเคลื่อนที่ของพายุ ง. ความกว้างของรัศมีการพัดรอบศูนย์กลาง 2. จากภาพ ข้อความใดแสดงกระบวนการในวัฏจักรคาร์บอนได้ถูกต้อง ก. A คือกระบวนการหายใจ ข. B คือการสังเคราะห์ด้วยแสง ค. C คือกระบวนการหายใจ ง. D คือการสังเคราะห์ด้วยแสง 3. พิจารณาข้อความต่อไปนี้ A. อุณหภูมิอากาศส่งผลต่อการเกิดเมฆ B. ปริมาณเมฆปกคลุมส่งผลต่ออุณหภูมิอากาศ C. ไอน้ำในอากาศที่รวมตัวกันอย่างหนาแน่นเกิดเป็นเมฆ ข้อความใดถูกต้อง ก. A และB ข. A และC ค. B และ C ง. A B และC 4. จากภาพ อัตราเร็วลมในบริเวณใดมีค่าน้อยที่สุด ก. 1 ข. 2 ค. 3 ง. 4 5. เหตุการณ์ใดไม่ได้เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ก. การกัดเซาะชายฝั่งเพิ่มมากขึ้น ข. จำนวนวันที่ฝนตกหนักมีเพิ่มขึ้น ค. กลางวันมีความยาวนานขึ้น ง. ดอกไม้บางพื้นที่บานเร็วขึ้น ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 6-7 ช่วงเวลาการหลอมเหลวของน้ำแข็งในทะเลอาร์กติก ทะเลอาร์กติกบางส่วนปกคลุมด้วยน้ำแข็งตลอด ทั้งปี อย่างไรก็ตามน้ำแข็งดังกล่าวจะมีการหลอมเหลวและแข็งตัวขึ้นอยู่กับฤดูกาล ศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็ง แบบประเมินตนเองก่อนเรียน ข


แห่งชาติสหรัฐเก็บข้อมูลการหลอมเหลวของน้ำแข็งในทะเลอาร์กติก โดยวันที่น้ำแข็งเริ่มต้นการหลอมเหลวและ สิ้นสุดการหลอมเหลวในแต่ละปี แสดงได้ดังกราฟ 6. จากข้อมูลในสถานการณ์ที่กำหนดให้ สามารถลงข้อสรุปต่อไปนี้ ได้หรือไม่ได้ จงเขียนวงกลมล้อมรอบคำว่า “ได้”หรือ “ไม่ได้” ในแต่ละข้อสรุป ข้อสรุป ได้หรือไม่ได้ 6.1 ระยะเวลาการหลอมเหลวของน้ำแข็งในแต่ละปียาวนานขึ้น ได้/ไม่ได้ 6.2 ปริมาณน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกลดลง ได้/ไม่ได้ 7. ปริมาณน้ำแข็งปกคลุมบริเวณทะเลอาร์กติก ในเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2522 และ 2558 ควรเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน ปีพ.ศ. 2522 และ 2558 ตามลำดับ เพราะเหตุใด …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………


8. การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการหลอมเหลวของน้ำ แข็งขั้วโลก มีหลากหลายวิธี เช่น การใช้ดาวเทียม การเก็บ ข้อมูลจากสถานที่จริง การติดตั้งสถานีตรวจวัด ข้อสรุปใดถูกต้อง ก. การเก็บข้อมูลเพื่อศึกษาการหลอมเหลวของน้ำแข็งขั้วโลก ควรเก็บข้อมูลจากบริเวณขั้วโลกก็ เพียงพอ ข. การเก็บข้อมูลไม่จำเป็นต้องใช้นักวิทยาศาสตร์เท่านั้น บุคลากรในท้องถิ่นสามารถเก็บข้อมูลได้ ค. การเก็บข้อมูลจากดาวเทียมก็ให้ข้อมูลที่ครบถ้วนเพียงพอ ไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลด้วยวิธีการอื่น ง. ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของน้ำแข็งขั้วโลกแตกต่างกันไปในแต่ละฤดู จึงควรเปลี่ยน วิธีการตรวจวัดองค์ประกอบลมฟ้าอากาศทุกฤดู คะแนนเต็ม 8 คะแนน ได้ ........... คะแนน


กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ บทที่ 2 มนุษย์และการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ เวลา 7 ชั่วโมง ภาพที่ 1 พายุหมุนเขตร้อนในซีกโลกใต้ และพายุฝนฟ้าคะนอง ที่มา หนังสือแบบเรียนวิทยาศาสตร์ ม.1 เล่ม 2 สสวท เขียนเครื่องหมาย หน้าข้อที่ถูกต้อง ความชื้นอากาศ คือ น้ำในอากาศที่อยู่ในสถานะของเหลว น้ำระเหยได้เมื่ออุณหภูมิของน้ำถึงจุดเดือดเท่านั้น บรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ เมื่อระดับความสูงจากพื้นดินมากขึ้นอุณหภูมิอากาศจะลดลง อากาศเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำไปยังบริเวณที่มีความกดอากาศสูง บริเวณความกดอากาศสูง อุณหภูมิอากาศมีค่าต่ำ ขั้นพัฒนาปัญญา กิจกรรม ฝึกอ่าน : ฝึกคิด ทบทวนความรู้ก่อนเรียน1 ภาพนำเรื่องคือภาพพายุหมุนเขตร้อนในซีกโลกใต้ ซึ่งมีทิศทางการหมุนของพายุตามเข็มนาฬิกา และ ภาพพายุฝนฟ้าคะนองขณะเกิดฟ้าแลบ เรื่องที่ 1 พายุ 1


กิจกรรมที่ 1 พายุฝนฟ้าคะนองและพายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นได้อย่างไร จุดประสงค์: รวบรวมข้อมูล เพื่ออธิบายและเปรียบเทียบกระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง และพายุหมุนเขตร้อน วัสดุและอุปกรณ์ - วิธีการทดลอง 1. อ่านข้อความการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองต่อไปนี้ “อากาศร้อน น้ำระเหยกลายเป็นไอน้ำได้มาก อากาศร้อนขึ้น จะลอยตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วถึงระดับที่อุณหภูมิอากาศต่ำไอน้ำเกิดการควบแน่นเป็นละอองน้ำปริมาณมหาศาล เกิดเป็นเมฆขนาดใหญ่ และฝนตกหนัก” วิเคราะห์และวาดภาพอธิบายการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองจากข้อความ ดังกล่าว 2. สังเกตภาพพายุหมุนเขตร้อนด้านล่าง วิเคราะห์และเขียนอธิบายเกี่ยวกับพายุหมุนเขตร้อนจากภาพในประ เด็นต่างๆ เช่น แหล่งที่เกิด อัตราเร็วลม ลักษณะรูปร่าง 3. รวบรวมข้อมูลกระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและพายุหมุนเขตร้อนจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ 4. นำข้อมูลการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง พายุหมุนเขตร้อน มาจัดกระทำในรูปแบบต่างๆที่น่าสนใจ และนำเสนอ ต่อชั้นเรียน ผลการทำกิจกรรม ข้อ 1 ภาพวาดอธิบายการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ข้อ 2 อธิบายการเกิดพายุหมุนเขตร้อน จากภาพ ………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………. 2 กิจกรรม สืบเสาะ ค้นหา 1


คำถามท้ายกิจกรรม 1. กระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและพายุหมุนเขตร้อนที่สร้างขึ้นเหมือนและแตกต่างจากที่ได้รวบรวมมา อย่างไร กระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองที่สร้างขึ้นเหมือนกับข้อมูลที่ได้รวบรวมมาคือ มีการรวมตัวกันของ ละอองน้ำและผลึกน้ำแข็งในแนวตั้งจนทำให้เมฆมีขนาดใหญ่ขึ้น จากนั้นจึงเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและแตกต่างกันคือจากข้อมูลที่รวบรวมมพบว่าพายุฝนฟ้าคะนองมีขั้น การเกิด 3 ระยะ คือ ระยะเจริญเติบโต ระยะเจริญเติบโตเต็มที่ และระยะสลายตัว เกิดการพัดขึ้นและลงของ กระแสอากาศเนื่องจากความแตกต่างของอุณหภูมิทำให้เกิด สภาพอากาศรุนแรง เช่น ลมกระโชก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่าฝนตกหนัก และลูกเห็บตก กระบวนการเกิดพายุหมุนเขตร้อนที่สร้างขึ้นเหมือนกับข้อมูลที่ได้รวบรวมมาคือเกิดจากการระเหยของ น้ำในมหาสมุทรและมีการเคลื่อนที่ของอากาศเข้าสู่ศูนย์กลาง และแตกต่างกันคือการเกิดพายุหมุนเขตร้อนจาก ข้อมูลที่รวบรวมมาพบว่า ส่วนใหญ่ก่อตัวในมหาสมุทร และจะเคลื่อนที่ไปตามแนวความกดอากาศต่ำ เนื่องจาก อากาศร้อนชื้นมีไอน้ำอยู่เป็นจำนวนมากจึงช่วยหล่อเลี้ยงให้พายุมีความรุนแรง แต่เมื่อพายุเคลื่อนตัวเข้าสู่ แผ่นดินก็จะเริ่มอ่อนกำลังลง เนื่องจากไม่มีไอน้ำในอากาศมาหล่อเลี้ยงพายุได้เพียงพอ 2. พายุฝนฟ้าคะนองและพายุหมุนเขตร้อนมีกระบวนการเกิดและผลกระทบเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………..…………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………..…………………………………… ………………………………………………………………………………..………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………..…………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………..…………………………………… 3. จากกิจกรรมสรุปได้ว่าอย่างไร …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………….……………………………………………………………………………………… …………………………..………………………………………..…………………………………………………………………………………… ……………………..………………………………………..………………………………………………………………………………………… ………………..………………………………………..……………………………………………………………………………………………… …………..………………………………………..…………………………………………………………………………………………………… …………………..………………………….…………………………………………………………………………………………..……………… ………….…………………………………………………………………………………………..………………………….……………………… …………………………………………………………………..………………………….…………………………………………………………… ……………………………..………………………….………………………………………………………………………………………………… ……………………………..………………………….………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………… …………………………..………………………………………..…………………………………………………………………….……………… 3


• พายุฝนฟ้าคะนอง (Thunderstorm) เกิดขึ้นได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทยแต่มักจะเกิดได้บ่อย ฟ้าผ่าฟ้าแลบและฟ้าร้องเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการถ่ายเทประจุไฟฟ้าจำนวนมาก ระหว่างวัตถุที่มีประจุไฟฟ้าซึ่งอาจเกิดขึ้นระหว่างพื้นโลกกับก้อนเฆมหรือระหว่างก้อนเฆมกับพื้นดินหมือนกับ หลักการที่ว่าถ้าเอาวัตถุต่างชนิดมาถูกันจะเกิดอำนาจของไฟฟ้าขึ้น ในวัตถุทั้งสองนั้น ซึ่งการที่ประจุเคลื่อนที่ จากก้อนเมฆไปสู่ผิวโลกจะเรียกว่า ฟ้าผ่า ถ้าประจุเคลื่อนที่จากก้อนเมฆไปยังก้อนเมฆเรียกว่า ฟ้าแลบ และ ในขณะที่ประจุไฟฟ้าแหวกผ่านไปในอากาศด้วยอัตราเร็วสูงมันจะผลักดันให้อากาศ แยกออกจากกัน แล้ว อากาศก็กลับเข้ามาแทนที่โดยฉับพลันทันที ทำให้เกิดเสียงดังลั่นขึ้น เราเรียกว่า ฟ้าร้อง ฟ้าแลบและฟ้าร้องในพายุเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันแต่มนุษย์เรามองเห็นฟ้าแลบก่อนต่อมาจึงได้ยินฟ้าร้อง ทั้งนี้ เพราะเหตุว่าแสงมีความเร็วมากกว่าเสียง แสงมีอัตราเร็ว 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที ส่วนเสียงมี อัตราเร็วประมาณ 1/3 กิโลเมตรต่อวินาทีเท่านั้น ระยะเจริญเติบโต อากาศที่มีอุณหภูมิและความชื้น สูงลอยตัวขึ้น ทำให้มีอาการ ลดลงของอุณหภูมิตามความสูง และไอน้ำในอากาศเกิดการ ควบแน่นเป็นละอองน้ำอย่าง ต่อเนื่อง เกิดเป็นเมฆขนาดใหญ่ ระยะเจริญเติบโตเต็มที่ ยอดของเมฆ ปะทะกั บ รอยต่อของชั้นโทนโพส เฟี ยร์และชั้น สตราโตส เฟี ยร์ ทำให้ไม่สามารถ ลอยตัวสูงขึ้นไปได้อีกยอด เมฆ จึงเกิด การแผ่ออ ก ด้านข้างในแนวราบ ต่อมา เกิดฝนตกหนักลมแรง เกิด ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า และอาจ เกิดลูกเห็บตก ระยะสลายตัว ฝนค่อยๆหมดไป ทำให้ลมที่พัดลงสู่พื้นโลกมี อัตราเร็วลดลงเมฆเริ่มสลายตัว พายุฤดูร้อน คือ พายุฟ้าคะนอง (Thunderstorms) ที่มีความรุนแรง เกิดในช่วงฤดูร้อน 4


• พายุหมุนเขตร้อนพายุหมุนเขตร้อน เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่สามารถทำความเสียหายได้รุนแรงและ เป็นบริเวณกว้างมีลักษณะเด่น คือ มีศูนย์กลางหรือที่เรียกว่าตาพายุเป็นบริเวณที่มีลมสงบ อากาศโปร่งใส โดย อาจมีเมฆและฝนบ้างเล็กน้อยล้อมรอบด้วยพื้นที่บริเวณกว้างรัศมีหลายร้อยกิโลเมตร ซึ่งปรากฏฝนตกหนัก ดังนั้น ในบริเวณที่พายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนที่ผ่าน ครั้งแรกจะปรากฏลักษณะอากาศโปร่งใส เมื่อ ด้านหน้าของพายุหมุนเขตร้อนมาถึงจะ ปรากฏลมแรง ฝนตกหนักและมีพายุฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและ อาจปรากฏพายุทอร์นาโด ในขณะตาพายุมาถึง อากาศจะโปร่งใสอีกครั้ง และเมื่อด้านหลังของพายุหมุนมาถึง อากาศจะเลวร้ายลงอีกครั้งและรุนแรงกว่าครั้งแรกลมพายุเกิดจากบริเวณ 2 บริเวณมีอุณหภูมิแตกต่างกันมาก เป็นผลทำให้ความกดอากาศต่างกันมาก อากาศจะไหลเร็วขึ้น ถ้าลมพายุพัดวนรอบจุดศูนย์กลาง เราเรียกลม พายุชนิดนี้ว่า พายุหมุน ตาราง ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางของพายุหมุนเขตร้อน ประเภท ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง (km/hr) 1. พายุดีเปรสชัน ไม่เกิน 63 2. พายุโซนร้อน 63 - 118 3. พายุไต้ฝุ่น มากกว่า 118 ฟ้าแลบ เกิดจาก การแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าภายในก้อนเมฆ หรือระหว่างก้อนเมฆ ฟ้าผ่า เกิดจาก การแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าระหว่างเมฆคิวมูโลนิมบัสกับพื้นโลก ฟ้าร้อง เกิดจาก การขยายตัวอย่างรวดเร็วของอากาศเกิดเป็นเสียงดัง เนื่องจากเมื่อเกิดฟ้าแลบหรือ ฟ้าผ่าอากาศโดยรอบจะมีอุณหภูมิสูงมาก และอาจสูงถึง 30,000 องศาเซลเซียส 5


จากตารางพายุไต้ฝุ่น จะมีชื่อเรียกแตกต่างไปตามแหล่งที่เกิด เช่น - เกิดในทะเลจีนใต้เรียกว่า ไต้ฝุ่น - เกิดในอ่าวเม็กซิโก เหนือแถบมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรแปซิฟิกและทะเล แคริบเบียน เรียกว่า เฮอริเคน - เกิดในแถบทวีปออสเตรเลีย เรียกว่า วิลลี่ - วิลลี่ - เกิดในอ่าวเบงกอล และมหาสมุทรอินเดีย เรียกว่า ไซโคลน ภาพ การชื่อเรียกพายุหมุนเขตร้อนที่แตกต่างกันในแต่ละบริเวณ • พายุในซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้แตกต่างกันอย่างไร พายุที่เกิดในซีกโลกเหนือจะหมุนทวนเข็มนาฬิกา ส่วนในซีกโลกใต้จะหมุนตามเข็มนาฬิกาเหตุที่ทำให้ พายุหมุนแตกต่างกันนี้เป็นผลจาก "แรงคอริออลิส" (Coriolis Force) แรงเสมือนที่เกิดขึ้นจากการที่โลก หมุนรอบตนเองจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก ส่งผลให้ลมในซีกโลกเหนือเบนไปทางขวา ในขณะที่ลมใน ซีกโลกใต้เบนไปทางซ้าย ในขณะที่ตำแหน่งไม่เกิน 5 องศาเหนือและใต้จะไม่เกิดพายุ เนื่องจากอยู่ใกล้บริเวณ เส้นศูนย์สูตรมากจึงไม่มีแรงคอริออลิส พายุเฮอริเคนแมททิว เกิดในมหาสมุทรแอตแลนติก 6


พายุไซโคลนวินสตัน เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ 1. พายุฝนฟ้าคะนองในระยะใดส่งผลกระทบมากที่สุด เพราะเหตุใด .............................................................................................................................................................................. 2. เหตุใดอากาศที่มีความชื้นเมื่อลอยตัวสูงขึ้นสู่บริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า จึงเกิดการควบแน่นเป็นละอองน้ำ .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. 3. พายุลดกำลังลงหรือ สลายตัวเมื่อเคลื่อนที่เข้าสู่แผ่นดินหรือบริเวณอุณหภูมิต่ำกว่า 26-27 องศาเซลเซียส ได้ อย่างไร .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. 4. บริเวณขั้วโลกเกิดพายุหมุนเขตร้อนได้หรือไม่เพราะเหตุใด164 .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. 5. พายุฝนฟ้าคะนองและพายุหมุนเขตร้อน พายุชนิดใดก่อให้เกิดความเสียหายมากกว่ากัน เพราะเหตุใด .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. ร่วม กัน คิด 1 7


จับคู่ข้อความที่มีความสัมพันธ์กัน o ปรากฏการณ์เรือนกระจก 1. อุณหภูมิอากาศปัจจุบัน o แก๊สเรือนกระจก 2. องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต o ลมฟ้าอากาศ 3. ส่งผลให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น o คาร์บอน 4. คาร์บอนไดออกไซด์ , ไอน้ำ กิจกรรมที่ 2 ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ จุดประสงค์: วิเคราะห์ และอภิปรายข้อมูลภูมิอากาศ พร้อมทั้งอธิบายผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม วัสดุและอุปกรณ์ - วิธีการดำเนินกิจกรรม 1. จากกราฟวิเคราะห์ข้อมูลและอภิปรายในประเด็นต่อไปนี้ • การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศภาคพื้นผิวเฉลี่ยของโลกตั้งแต่ปีพ.ศ. 2444 – 2558 • การเปลี่ยนแปลงปริมาณหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ยของโลกตั้งแต่ปีพ.ศ. 2444 – 2558 เรื่องที่ 2 การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ภาพนำเรื่อง คือ ภาพหมีขั้วโลกที่อยู่บนแผ่นน้ำแข็งโดยน้ำแข็งขั้วโลกมี การหลอมเหลวและมีปริมาณลดน้อยลงทุกปีเนื่องจากการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศโลก ภาพที่ 2 หมีขั้วโลกได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ที่มา หนังสือแบบเรียนวิทยาศาสตร์ ม.1 เล่ม 2 สสวท ทบทวนความรู้ก่อนเรียน 2 8 กิจกรรม สืบเสาะ ค้นหา 1


• การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 – 2558 2. อภิปรายสรุปร่วมกันในประเด็นภูมิอากาศโลกมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไร และภูมิอากาศลักษณะ ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมอย่างไร 9


คำถามท้ายกิจกรรม 1. อุณหภูมิอากาศเฉลี่ยของโลกมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงช่วงปีพ.ศ. 2443 - 2483 อุณหภูมิอากาศผิวพื้นต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ช่วง พ.ศ. 2483 - ก่อนพ.ศ. 2523 มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอากาศไม่แน่นอน บางช่วงอุณหภูมิสูงกว่าค่าเฉลี่ย บางช่วง อุณหภูมิต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และหลัง พ.ศ. 2523 อุณหภูมิสูงกว่าค่าเฉลี่ยมาตลอดและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 2. ปริมาณหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ยของโลกมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร มีการเปลี่ยนแปลง ช่วงก่อน พ.ศ. 2493 มีปริมาณหยาดน้ำฟ้าน้อยกว่าค่าเฉลี่ยแต่หลังจากนั้นปริมาณ หยาดน้ำฟ้ามีแนวโน้มสูงกว่าค่าเฉลี่ยจนถึงช่วง พ.ศ. 2523 - 2543 ปริมาณหยาดน้ำฟ้าน้อยกว่าค่าเฉลี่ยและ หลังจากปี พ.ศ. 2543 ปริมาณหยาดน้ำฟ้ามากกว่าค่าเฉลี่ย 3. อุณหภูมิอากาศเฉลี่ย ของประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไร .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. 4. ลักษณะภูมิอากาศดังกล่าวส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตใดบ้าง อย่างไร164 .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. 5. จากกิจกรรมสรุปได้ว่าอย่างไร .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. ➢ เอลนีโญ – ลานีญา ลานีญา (สเปน: La Niña) เป็นปรากฏการณ์บรรยากาศมหาสมุทรคู่กันซึ่งเกิดขึ้นคู่กับเอลนีโญอันเป็นส่วน หนึ่งของเอลนีโญ-ความผันแปรของระบบอากาศ ในซีกโลกใต้ในช่วงที่เกิดลานีญา อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเล ตลอดมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลางตะวันออกแถบเส้นศูนย์สูตรจะต่ำกว่าปกติ 3-5 °C ชื่อลานีญากำเนิดจาก ภาษาสเปน หมายถึง "เด็กหญิง" คล้ายกับเอลนีโญที่หมายถึง "เด็กชาย" ลานีญา หรือที่บางทีเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "แอนติเอลนีโญ" เป็นปรากฏการณ์ตรงกันข้ามกับเอลนีโญ ซึ่ง ปรากฏการณ์เอลนีโญนี้จะเป็นช่วงที่อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นอย่างน้อย 0.5 °C และผลกระทบของ ลานีญามักจะตรงกันข้ามกับของเอลนีโญ เอลนีโญเป็นปรากฏการณ์ที่มีชื่อเสียงเนื่องจากสามารถมีผลกระทบ ร้ายแรงต่อสภาพอากาศของทั้งชายฝั่งชิลีเปรูและออสเตรเลีย รวมทั้งอีกหลายประเทศ ลานีญามักเกิดขึ้นหลัง ปรากฏการณ์เอลนีโญรุนแรง ผลกระทบของลานีญาส่วนใหญ่จะตรงข้ามกับของเอลนีโญ ตัวอย่างเช่น เอลนี โญจะทำให้เกิดช่วงฝนตกในแถบสหรัฐอเมริกาตอนกลางตะวันตก ขณะที่ลานีญาจะทำ ให้ เกิ ด ช่ ว ง แห้งแล้งในพื้นที่เดียวกัน ส่วนอีกด้านหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก ลานีญาทำให้เกิดฝนตกหนัก สำหรับอินเดีย เอลนีโญมักเป็นสาเหตุของความกังวลเพราะผลของมันตรงกันข้ามกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเคยเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2552 แต่ลานีญา มักเป็นประโยชน์สำหรับฤดูมรสุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลัง แต่ลานีญาซึ่งปรากฏ ในมหาสมุทรแปซิฟิกยังอาจทำให้ฝนตกหนักในออสเตรเลีย ซึ่งเกิดเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่สุด ครั้งหนึ่งโดยพื้นที่ส่วนใหญ่ของรัฐควีนส์แลนด์จมอยู่ใต้น้ำจาก อุทกภัยอันเกิดจากสัดส่วนผิดปกติหรือถูกพายุ 10


หมุนเขตร้อนพัดถล่ม ซึ่งรวมไปถึงพายุหมุนเขตร้อนระดับ 5 ไซโคลนยาซี่ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความหายนะ แบบเดียวกันในบราซิลตะวันออกเฉียงใต้และมีส่วนทำให้เกิดฝนตกหนักและอุทกภัยตามมาในศรีลังกา จากปรากฏการณ์เอลนิโญ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนทิศทางของลมสินค้าหรือลมที่พัดจาก ทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือและลมที่พัดจากทิศตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้าหาแนวเส้นศูนย์สูตรในมหาสมุทรแปซิฟิก เปลี่ยนทิศทาง ทำให้กระแสน้ำอุ่นไหลย้อนกลับตามกระแส ส่งผลให้บริเวณที่เคยมีกระแสแห้งแล้งและมีอากาศ หนาวเย็นมาก่อนกลับมีฝนตกชุกกว่าเดิมและมีสภาพอบอุ่นขึ้นเมื่อเอลนิโญได้ผ่านพ้นไป กระแสน้ำอุ่นก็ไหล กลับคืนสู่สภาวะปกติในช่วงที่กระแสน้ำอุ่นไหลย้อนกลับจะดูดเอาน้ำทะเลที่อยู่ด้านล่าง ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า ไหลขึ้นมาแทนทำให้เกิดปรากฎการณ์ลานีญาขึ้น ส่งผลให้พื้นที่บริเวณ นั้นมีสภาพภูมิอากาศหนาวเย็นมากขึ้น โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกของมหาสมุทร แปซิฟิก ในแนวเส้นศูนย์สูตรต้องเผชิญกับความหนาวเย็น ผิดปกติทำให้ประเทศที่เพิ่งประสบกับภัยแห้งแล้งจากเอลนิโญเกิดฝนตกชุกกว่าปกติ และมีพายุก่อตัวขึ้นหลาย ครั้งสำหรับประเทศที่ได้รับผลกระทบจากลานีญามากที่สุด คือ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ตอนล่าง เนื่องจากอยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ตรงมหาสมุทรแปซิฟิก แต่สำหรับประเทศไทยจะได้รับอิทธิพลความชุ่มชื่นจากพายุ ฝน ที่ก่อตัวจากมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออกของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ซึ่งจะเคลื่อนเข้าไทยเป็นประจำ ประมาณ 3-4 ลูกต่อปี แต่เมื่อเกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ พายุก็เปลี่ยนทิศทางขึ้นเหนือ เข้าสู่ทะเลจีนใต้หมด ทำให้ประเทศไทยและที่อยู่แทบแหลมอินโดยจีนเกิดภาวะแห้งแล้งในปี 2540 และตอนต้นปี 2541 ➢ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอากาศของโลก ปัจจุบันโลกของเรามีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้อุณหภูมิของโลกเปลี่ยนไปนี้มีหลาย ประการไม่ว่าจะเป็นจากธรรมชาติหรือจากฝีมือมนุษย์แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อย่างเห็นได้ชัด น่าจะมาจากการกระทำของมนุษย์ทั้งอย่างตั้งใจและไม่ตั้งใจ แสงอาทิตย์เมื่อส่องผ่านบรรยากาศโลกจะเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานความร้อน ซึ่งความร้อนจะไม่ สามารถออกไปจากโลกได้ง่าย ความร้อนจะถูกดูดไว้ที่ผิวโลก ทำให้เกิดความร้อนเหมือนอยู่ในเรือนกระจก นักวิทยาศาสตร์ให้เหตุผลว่าปรากฏการณ์เช่น นี้จะทำให้โลกร้อนขึ้น เป็นผลทำให้น้ำแข็งขั้วโลกเหนือ ขั้วโลกใต้ละลายระดับน้ำทะเล จึงสูงขึ้น เกิดน้ำท่วมไปทั่วโลกได้ ภาวะโลกร้อน หมายถึง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ที่ทำให้อุณหภูมิ เฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น เราจึงเรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global Warming) กิจกรรมของมนุษย์ที่ทำให้เกิดภาวะ โลกร้อน คือ กิจกรรมที่ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ การเพิ่มปริมาณก๊าซ เรือนกระจกโดยตรง เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง และ การเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยทางอ้อม คือ การตัด ไม้ทำลายป่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก หมายถึง การที่ชั้นบรรยากาศของโลกกระทำตัวเสมือนกระจกที่ยอมให้ ปรากฎการณ์เอลนีโญและลานีญาส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร 11


รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุลงมายังผิวพื้นโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวที่โลกคายออกไปไม่ให้หลุด ออกนอกบรรยากาศ ทำให้โลกไม่เย็นจัดในเวลากลางคืน บรรยากาศเปรียบเสมือนผ้าห่มผืนใหญ่ที่คลุมโลกไว้ ก๊าซที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุลงมาได้แต่ไม่ยอมให้รังสีคลื่นยาวที่โลกคายออกไปหลุดออก นอกบรรยากาศ เรียกว่า ก๊าซเรือนกระจก ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทนและก๊าซไนตรัสออกไซด์ 1. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดจาก การเผาไหม้เชื้อเพลิง โรงงานอุตสาหกรรม และการตัดไม้ทำลายป่า 2. ก๊าซมีเทน เกิดจาก การย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ที่มีน้ำขัง เช่น นาข้าว 3. ก๊าซไนตรัสออกไซด์ เกิดจาก อุตสาหกรรมที่ใช้กรดไนตริกในกระบวนการผลิตและการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนใน การเกษตรกรรม สำหรับ บรรยากาศของโลกประกอบด้วยก๊าซไนโตรเจน 78% ก๊าซออกซิเจน 21% ก๊าซอาร์กอน 0.9% นอกนั้นเป็นไอน้ำ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนเล็กน้อย แม้ว่าไนโตรเจน ออกซิเจน และอาร์กอนจะเป็น องค์ประกอบหลักของบรรยากาศแต่ก็มิได้มีอิทธิพลต่ออุณหภูมิของโลก ในทางตรงกันข้ามก๊าซโมเลกุลใหญ่ เช่น ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ และมีเทน แม้จะมีอยู่ในบรรยากาศเพียงเล็กน้อยกลับมีความสามารถในการ ดูดกลืนรังสีอินฟราเรด และมีอิทธิพลทำให้อุณหภูมิของโลกอบอุ่น เราเรียกก๊าซพวกนี้ว่า "ก๊าซเรือนกระจก" (Greenhouse gas) เนื่องจากคุณสมบัติในการเก็บกักความร้อน หากปราศจากก๊าซเรือนกระจกแล้วพื้นผิวโลก จะมีอุณหภูมิเพียง -18 องศาเซลเซียส ซึ่งนั่นก็หมายความว่าน้ำทั้งหมดบนโลกนี้จะกลายเป็นน้ำแข็ง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ เนื่องจากถูกปลดปล่อยออกมามากถึงสามในสี่ ของปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ใช่ก๊าซพิษ พบได้ในชีวิตประจำ วันทั่วไปโดยมีการหมุนเวียนอยู่ในวัฏจักรคาร์บอน 12


พืชดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง และสร้างเป็น สารประกอบที่มีคาร์บอนไดออกไซด์เป็นองค์ประกอบ เช่น น้ำตาล แป้ง และนำไปเก็บไว้ตามส่วนต่างๆของพืช เมื่อสิ่งมีชีวิตอื่น เช่นมนุษย์และสัตว์ มากินพืช คาร์บอนจะถูกถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตดังกล่าว เมื่อสิ่งมีชีวิตตาย ลงและถูกย่อยสลาย คาร์บอนบางส่วนจะถูกปล่อยเข้าสู่บรรยากาศในรูปก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์บางส่วนจะ ถูกทับถมในรูปกลายเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเมื่อถูกนำมาใช้ก็สามารถสลายกลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในบรรยากาศต่อไป การหายใจของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ เช่นกันนอกจากนั้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศถูกดูดซับสะสมในมหาสมุทรและถูกปลดปล่อยสู่ บรรยากาศอีกด้วย ในธรรมชาติคาร์บอนมีการหมุนเวียนถ่ายทอดในสิ่งแวดล้อมเป็นวัฎจักรอย่างสมดุล 1. พื้นที่ที่นักเรียนอาศัยอยู่พบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศหรือไม่อย่างไร พบว่าอุณหภูมิอากาศมีแนวโน้มสูงขึ้น ระยะเวลาในฤดูหนาวสั้นลงและอุณหภูมิในฤดูหนาวที่สูงขึ้นฤดู ร้อนยาวนานขึ้นและมีอุณหภูมิสูงสุดเพิ่มขึ้น 2. เหตุใดพืชบางชนิดออกดอกได้ลดลง พืช บางชนิดออกดอกในช่วงที่อากาศค่อนข้างเย็นแต่ถ้าภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปทำ ให้ความหนาว เย็นมาช้าไป หรืออากาศไม่เย็นก็อาจทำให้พืชออกดอกไม่ได้หรือออกดอกได้ลดลงพืชบางชนิด ออกดอกในช่วง ที่อากาศค่อนข้างเย็นแต่ถ้าภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปทำ ให้ความหนาวเย็นมาช้าไป หรืออากาศไม่เย็นก็อาจทำ ให้พืชออกดอกไม่ได้หรือออกดอกได้ลดลง 3. การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศส่งผลต่อการระบาดของไข้เวสต์ไนล์อย่างไร .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. 4. คาร์บอนมีเส้นทางการหมุนเวียนในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง คาร์บอนถูกปลดปล่อยสู่บรรยากาศจากการหายใจของสิ่งมีชีวิต การปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ จากโรงงานออกสู่บรรยากาศ ต้นไม้ใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในการสังเคราะห์ด้วยแสง คาร์บอนส่วนหนึ่ง ละลายอยู่ในน้ำ ทะเล สิ่งมีชีวิตเมื่อตายลงคาร์บอนก็จะถูกฝังอยู่เมื่อเวลาผ่านไปจะเกิดเป็นน้ำมัน ถ่านหิน และ แก๊สธรรมชาติซึ่งมนุษย์นำมาใช้เป็นพลังงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เป็นเชื้อเพลิงในยานพาหนะ เชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าหรือโรงงานอุตสาหกรรมได้ 5. กิจกรรมใดบ้างที่ทำให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ถูกปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. 6. กิจกรรมใดบ้างที่ทำให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ถูกดึงออกจากชั้นบรรยากาศ .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. ร่วม กัน คิด 2 13


คิดแบบนักวิทย์ ขั้นน าปัญญาพัฒนาความคิด กิจกรรม ฝึกท า : ฝึกสร้าง ให้นักเรียนนำเสนอผังมโนทัศน์สรุปองค์ความรู้ในบทเรียน มนุษย์และการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ 14 พายุฝนฟ้าคะนอง พายุ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก สถานการณ์ที่เกิด สถานการณ์ที่เกิด ผลกระทบในด้านต่างๆ ภูมิอากาศโลก สูงขึ้น ได้แก่ ได้แก่ ได้แก่ ได้แก่ มี มี เช่น เช่น เช่น


จากสถานการณ์ “ปฏิบัติตนอย่างไรเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในโลกอนาคต” (10 คะแนน) จุดประสงค์ 1. ออกแบบนวัตกรรมที่ใช้ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก 2. เสนอแนวทางการปฏิบัติตนภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก วัสดุและอุปกรณ์ ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ผลการทำกิจกรรม เลือกออกแบบนวัตกรรมเพื่อรับมือกับผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก กิจกรรม คิดดี ผลงานดี มีความส ุข ขั้นน าปัญญาพัฒนาตนเอง ชื่อนวัตกรรม............................................................................... รูปชิ้นงาน 15


1. นวัตกรรมที่ช่วยลดปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนั้นลดปัจจัยด้านใด และลดปัจจัยได้อย่างไร .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. 2. นวัตกรรมที่ใช้ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกนั้นออกแบบเพื่อรับมือกับผลกระทบใด และใช้ประโยชน์ได้อย่างไร .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. 3. จากกิจกรรมสรุปแนวทางการปฏิบัติตนภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกได้ว่าอย่างไร .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. 16


เกณฑ์การประเมิน รายการประเมิน ดีมาก (5 คะแนน) ดี (3 คะแนน) พอใช้ (1 คะแนน) การนำเสนอแบบร่าง นำเสนอแนวทางใน การออกแบบนวัตกรรม เพื่อรับมือกับผลกระทบ ที่เกิดจากการเปลี่ยน แปลงภูมิอากาศโลก นำเสนอแนวทางในการ ออกแบบนวัตกรรมเพื่อ รับมือกับผลกระทบที่เกิด จากการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศโลกได้ถูกต้องแต่ อาจจะไม่ครบถ้วน นำเสนอแนวทางในการ ออกแบบนวัตกรรมเพื่อ รับมือกับผลกระทบที่เกิด จากการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศโลกได้ถูกต้อง บางส่วนและอาจมีแนวคิด คลาดเคลื่อน ประสิทธิภาพ นวัตกรรมเพื่อรับมือ กับผลกระทบที่เกิด จากการเปลี่ยน แปลงภูมิอากาศโลก อุปกรณ์ในการสร้าง นวัตกรรมเพื่อรับมือกับ ผลกระทบที่เกิดจากการ เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โลก อุปกรณ์ในการสร้าง นวัตกรรมเพื่อรับมือกับ ผลกระทบที่เกิดจากการ เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ได้เป็นส่วนใหญ่ อุปกรณ์ในการสร้าง นวัตกรรมเพื่อรับมือกับ ผลกระทบที่เกิดจากการ เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โลกได้บ้าง การปรับปรุงชิ้นงาน วิเคราะห์ข้อบกพร่องใน ชิ้นงานได้ พร้อมเสนอวิธี แก้ไขชิ้นงานโดยใช้ความ รู้เกี่ยวกับการเปลี่ยน แปลงภูมิอากาศโลกหรือ ความรู้วิทยาศาสตร์อื่นๆ ได้อย่างมีเหตุผลได้ด้วย ตนเอง วิเคราะห์ข้อบกพร่องใน ชิ้นงานได้ พร้อมเสนอ วิธีแก้ไขชิ้นงานโดยใช้ความรู้ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศโลกหรือความรู้ วิทยาศาสตร์อื่น ๆ ได้โดย การชี้แนะของครู วิเคราะห์ข้อบกพร่องใน ชิ้นงานได้ แต่ไม่นำเสนอ วิธีแก้ไขชิ้นงาน 17


คำชี้แจง : ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ ใช้เวลา 10 นาที 1. เราใช้เกณฑ์ในข้อใดจำแนกชนิดของพายุหมุนเขตร้อน ก. บริเวณท้องถิ่นที่เกิด ข. ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง ค. ความเร็วในการเคลื่อนที่ของพายุ ง. ความกว้างของรัศมีการพัดรอบศูนย์กลาง 2. จากภาพ ข้อความใดแสดงกระบวนการในวัฏจักรคาร์บอนได้ถูกต้อง ก. A คือกระบวนการหายใจ ข. B คือการสังเคราะห์ด้วยแสง ค. C คือกระบวนการหายใจ ง. D คือการสังเคราะห์ด้วยแสง 3. พิจารณาข้อความต่อไปนี้ A. อุณหภูมิอากาศส่งผลต่อการเกิดเมฆ B. ปริมาณเมฆปกคลุมส่งผลต่ออุณหภูมิอากาศ C. ไอน้ำในอากาศที่รวมตัวกันอย่างหนาแน่นเกิดเป็นเมฆ ข้อความใดถูกต้อง ก. A และB ข. A และC ค. B และ C ง. A B และC 4. จากภาพ อัตราเร็วลมในบริเวณใดมีค่าน้อยที่สุด ก. 1 ข. 2 ค. 3 ง. 4 5. เหตุการณ์ใดไม่ได้เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ก. การกัดเซาะชายฝั่งเพิ่มมากขึ้น ข. จำนวนวันที่ฝนตกหนักมีเพิ่มขึ้น ค. กลางวันมีความยาวนานขึ้น ง. ดอกไม้บางพื้นที่บานเร็วขึ้น ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 6-7 แบบประเมินตนเองหลังเรียน 18


ช่วงเวลาการหลอมเหลวของน้ำแข็งในทะเลอาร์กติก ทะเลอาร์กติกบางส่วนปกคลุมด้วยน้ำแข็งตลอด ทั้งปี อย่างไรก็ตามน้ำแข็งดังกล่าวจะมีการหลอมเหลวและแข็งตัวขึ้นอยู่กับฤดูกาล ศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็ง แห่งชาติสหรัฐเก็บข้อมูลการหลอมเหลวของน้ำแข็งในทะเลอาร์กติก โดยวันที่น้ำแข็งเริ่มต้นการหลอมเหลวและ สิ้นสุดการหลอมเหลวในแต่ละปี แสดงได้ดังกราฟ 6. จากข้อมูลในสถานการณ์ที่กำหนดให้ สามารถลงข้อสรุปต่อไปนี้ ได้หรือไม่ได้ จงเขียนวงกลมล้อมรอบคำว่า “ได้”หรือ “ไม่ได้” ในแต่ละข้อสรุป ข้อสรุป ได้หรือไม่ได้ 6.1 ระยะเวลาการหลอมเหลวของน้ำแข็งในแต่ละปียาวนานขึ้น ได้/ไม่ได้ 6.2 ปริมาณน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกลดลง ได้/ไม่ได้ 7. ปริมาณน้ำแข็งปกคลุมบริเวณทะเลอาร์กติก ในเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2522 และ 2558 ควรเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2522 และ 2558 ตามลำดับ เพราะเหตุใด …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….. 8. การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการหลอมเหลวของน้ำ แข็งขั้วโลก มีหลากหลายวิธี เช่น การใช้ดาวเทียม การเก็บ ข้อมูลจากสถานที่จริง การติดตั้งสถานีตรวจวัด ข้อสรุปใดถูกต้อง ปริมาณน้ำแข็งปกคลุมบริเวณทะเลอาร์กติก ในเดือนพฤษภาคม ปีพ.ศ. 2522 ควรมีปริมาณมากกว่าในเดือน กันยายน ปีพ.ศ. 2522 และปริมาณน้ำ แข็งปกคลุมบริเวณทะเลอารก์ติก ในเดือนพฤษภาคม ปีพ.ศ. 2558 ควรมี ปริมาณมากกว่าในเดือนกันยายน ปีพ.ศ. 2558 เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นของการหลอมเหลวของน้ำแข็ง อย่างไร ก็ตาม ปริมาณน้ำแข็งปกคลุมเดือนพฤษภาคม ปีพ.ศ. 2522 ควรมีปริมาณมากกว่า ปีพ.ศ. 2558 19


ก. การเก็บข้อมูลเพื่อศึกษาการหลอมเหลวของน้ำแข็งขั้วโลก ควรเก็บข้อมูลจากบริเวณขั้วโลกก็ เพียงพอ ข. การเก็บข้อมูลไม่จำเป็นต้องใช้นักวิทยาศาสตร์เท่านั้น บุคลากรในท้องถิ่นสามารถเก็บข้อมูลได้ ค. การเก็บข้อมูลจากดาวเทียมก็ให้ข้อมูลที่ครบถ้วนเพียงพอ ไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลด้วยวิธีการอื่น ง. ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของน้ำแข็งขั้วโลกแตกต่างกันไปในแต่ละฤดู จึงควรเปลี่ยน วิธีการตรวจวัดองค์ประกอบลมฟ้าอากาศทุกฤดู คะแนนเต็ม 8 คะแนน ได้........... คะแนน 20


เอกสารอ้างอิง ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะ และ คณะ . (2551). สื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างทักษะตามมาตรฐานและ ตัวชี้วัดชั้นปีกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ.นิยมวิทยา. ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ,สถาบัน. คู่มือครู รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์1 ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1. (2553). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, (2553). สถาบัน.หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ 1 ชั้น มัธยมศึกษา ปีที่ 1 เล่ม 1 .กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, (2561). สถาบัน.หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ เล่ม2 ชั้น มัธยมศึกษา ปีที่ 1 เล่ม 2 .กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.


Click to View FlipBook Version