The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เล่มสรุปกิจกรรมพัฒนาสื่อ2564.doc

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Anocha Utumsakulrat, 2022-09-27 00:04:18

เล่มสรุปกิจกรรมพัฒนาสื่อวิจัย2564

เล่มสรุปกิจกรรมพัฒนาสื่อ2564.doc

บันทกึ ขอ้ ความ

ส่วนราชการ โรงเรยี นสุวรรณารามวิทยาคม

ท่ี ........................................................... วันท่ี 17 มถิ นุ ายน 2565

เรื่อง รายงานผลการดำเนนิ กิจกรรมสง่ เสริมให้ครูพัฒนาสอ่ื นวตั กรรมและวจิ ัยในช้นั เรียน

เรยี น ผอู้ ำนวยการโรงเรยี นสุวรรณารามวิทยาคม
ส่งิ ทีส่ ่งมาด้วย 1. รายงานสรุปผลการดำเนนิ กิจกรรมสง่ เสริมใหค้ รูศกึ ษาและพฒั นางานวิจัย จำนวน 1 ฉบับ

ข้าพเจ้านางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์ ตำแหน่ง ครู โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคมได้รับ
มอบหมายให้เป็นผรู้ ับผดิ ชอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ครูพัฒนาสื่อนวตั กรรมการเรียนการสอนและพัฒนา
งานวิจัย ประจำปีการศึกษา 2564 โดยมีงบประมาณที่ได้รับในการจัดสรร 29,000 บาท บัดน้ี การจัด
กิจกรรม ไดด้ ำเนนิ กจิ กรรมเสรจ็ ส้ิน สำเร็จลลุ ่วงตามวัตถุประสงคท์ ่วี างไว้ ซ่ึงมีผลการดำเนินงาน ดังน้ี

1. งานพัฒนาส่ือนวัตกรรมและวิจัย ไดด้ ำเนินการรวบรวมและจัดทำเอกสารรายงานผลการ
ดำเนินกิจกรรมสง่ เสริมให้ครศู ึกษาและพัฒนางานวิจัย จำนวน 1 เล่ม เพื่อเสนอผลการดำเนินจัดกจิ กรรม โดย
มผี ลการจดั กิจกรรมดงั นี้

1.1 ในปีการศึกษา 2564 ครูมีการจัดทำวิจัยในช้ันเรียน จำนวน 71 เรื่อง คิดเป็น
ร้อยละ 98.61 ของจำนวนครูท้ังหมด 72 คน

1.2 การจดั ทำวิจัยในช้ันเรยี นของครแู บ่งเปน็ ประเภท ดงั นี้
- วิจยั เพ่อื แก้ปญั หาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 71 เร่ือง
คิดเป็นร้อยละ 87.32
- วจิ ัยเพ่ือแก้ปัญหาพฤติกรรมและพัฒนาคุณลกั ษณะอนั พึงประสงค์ จำนวน 9 เรื่อง
คิดเปน็ รอ้ ยละ 12.67
2. คัดสรรครูผู้มีการจัดการเรียนการสอนและรายงานวิจัยดีเด่น 3 อันดับ แยกตามตำแหน่ง
วิทยฐานะ โดยใหค้ รผู ้ไู ด้รับการคัดเลอื กจะไดร้ ับเกยี รตบิ ัตรรวมท้ังสนิ้ จำนวน 9 คน
3. ค่าเฉลี่ยคะแนนการประเมินผลการบริหารโครงการ/กิจกรรม เท่ากับ 4.62 ผลการ
ประเมนิ การบริหารโครงการ/กจิ กรรมในระดับดมี าก
ขา้ พเจ้า จึงขอรายงานผลการดำเนินโครงการ ซึ่งมรี ายละเอียดดงั กลา่ วข้างต้น และ
รายละเอยี ดอืน่ ๆ ตามเอกสารดังแนบ

จงึ เรียนมาเพื่อโปรดทราบและพจิ ารณา

ลงชื่อ…………………………..…………
(นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์)
หัวหน้างานวิจัยสื่อนวตั กรรมฯ

ความเหน็ ของผู้บริหาร ลงช่อื ................................................
................................................................................. (นางรพพี ร คำบญุ มา)
.................................................................................
รองผอู้ ำนวยการกลุ่มบรหิ ารวิชาการ
.................................................................................
ความเหน็ ของผบู้ รหิ าร ลงชอื่ ................................................
................................................................................. (นายสรุ ิยันต์ เหลา่ มะลกึ )
.................................................................................
................................................................................. ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวทิ ยาคม

คำนำ

รายงานผลการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมให้ครูพัฒนาวิจัยสื่อนวัตกรรม ประจำปีการศึกษา
2564 การดำเนินงานตามกิจกรรมมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ครูคิดค้น สร้างสรรค์ พัฒนาสื่อและ
นวัตกรรมการ เรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย ทันสมยั และเพียงพอต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย
การดำเนินงาน ตามกิจกรรมนี้ได้เสร็จสิ้นการดำเนินงานแล้ว คณะผู้รับผิดชอบการดำเนินงานจึงจัดทำ
รายงานผลการ ดำเนินงานต่อผู้เกี่ยวข้อง ดังรายละเอียดที่ปรากฏในข้อมูลการรายงานผลการดำเนิน
กิจกรรมส่งเสริมให้ครูพัฒนาสื่อนวัตกรรมประจำปกี ารศึกษา 2564

คณะผ้จู ัดทำ
งานวิจยั พัฒนาสอ่ื นวัตกรรม

การเรียนการสอน

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ หน้า
1.1 หลักการและเหตุผล
1
1.2 วตั ถปุ ระสงค์ 1
1.3 เปา้ หมาย 1
1.4 งบประมาณ 1
2
1.5 การตดิ ตามและประเมนิ ผล 2
1.6 ผลท่ีไดร้ ับจากกจิ กรรม 3
21
บทที่ 2 ความรู้และเอกสารทีเ่ กีย่ วข้อง 22
บทที่ 3 วธิ ดี ำเนินงานกิจกรรม 24
บทท่ี 4 ผลการประเมนิ กิจกรรม

บทท่ี 5 สรุป อภปิ ราย และข้อเสนอแนะ

ภาคผนวก ปฏิทินการตดิ ตามการพัฒนาสอื่ วจิ ัย ปีการศึกษา 2564

- บันทึกข้อความสรุปผลการตดิ ตามการสง่ แบบรายงานการ
- จดั ทำสื่อการสอนของครู

- ทำเนยี บรายงานการวจิ ยั ปฏิบตั กิ ารในชน้ั เรียน
-
รายช่อื ครูผูไ้ ดร้ บั การคดั เลอื กงานวิจยั และนวัตกรรม ประจำปี
2564

บทท่ี 1
บทนำ

1.1 หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2542 กำหนดให้ครใู ชก้ ารวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
ท่เี หมาะสมแกผ่ ู้เรียนในแตล่ ะระดบั การศกึ ษา มุ่งเนน้ ใหผ้ ู้เรียนเกิดการเรยี นรแู้ ละมีความรอบรู้ และในการ

จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กิจกรรมหนึ่งท่ีสำคัญคือ ครูผู้สอนต้องรู้จักนักเรียนเป็น
รายบุคคล รคู้ วามตอ้ งการ ความสามารถ จดุ เด่นและจุดดอ้ ย เพ่อื พัฒนาผูเ้ รียนทุกคนไดเ้ ตม็ ตามศักยภาพ
รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหน่ึงของกระบวนการเรียนรู้ ฝึกทักษะให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ ใช้

ขอ้ มลู ประกอบการตัดสนิ ใจ
งานวิจัยทคี่ รูทำขึ้นเป็นงานวจิ ัยเพ่ือทดลองจดั กิจกรรม ทดลองสอนโดยใชส้ ่อื ที่ตนสรา้ งขึ้น แลว้

นำไปทดลองใช้สอนกบั นักเรียนในชัน้ เรียนเพ่ือเก็บข้อมูลท่เี ปน็ ข้อสรุปไดว้ ่าส่ือที่ตนสร้างขึ้นใช้ได้ดีเพยี งใด
ในการพฒั นาคุณภาพการเรียนการสอน ดังน้นั อาจกล่าวได้ว่าเป็นสง่ิ จำเป็นที่ครตู ้องมีบทบาทมากกวา่ เดิม
คือวิจัยควบคู่กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ตลอดเวลา ครูจึงต้องกลายเป็นครูนักวิจัยอย่าง

หลกี เล่ียงไม่ได้
จากเหตุผลและความจำเปน็ ดงั กล่าว โรงเรียนสุวรรณารามวทิ ยาคมจงึ มีการส่งเสริมใหค้ รูผลติ และ

พัฒนาสื่อการสอนอย่างต่อเน่ือง โดยมีการจัดงบประมาณสนับสนุนครู เพื่อให้ครูสามารถผลิตส่ือและ
นวตั กรรมทางการศกึ ษาท่ีมีประสทิ ธิภาพมากยิ่งข้ึน

1.2 วตั ถุประสงค์
1. เพือ่ ส่งเสริมให้ครูสร้างและพัฒนาสือ่ /นวัตกรรมในการจัดการเรยี นการสอน

2. เพ่ือสง่ เสริมให้ครูมีการศกึ ษาวจิ ยั และพฒั นาการจัดการเรยี นรู้
3. เพอ่ื สง่ เสริมให้ครูมีโอกาสนำเสนอผลงานวิจยั ในชน้ั เรยี นและแลกเปลย่ี นเรยี นรู้

1.3 เป้าหมาย
เชิงปริมาณ

ครู ร้อยละ 100 มกี ารศกึ ษาวจิ ัยและพัฒนาการจดั การเรียนรู้ในวชิ าทตี่ นเองรบั ผิดชอบ
เชิงคุณภาพ
ครูสามารถแก้ปัญหาชัน้ เรียนและพัฒนาการจัดการเรียนรูข้ องตนเองให้มปี ระสทิ ธิภาพมากยิ่งขนึ้

โดยใชก้ ารศึกษาวจิ ยั เพอื่ พัฒนาการจดั การเรยี นร้ใู นวชิ าท่ีตนเองรับผดิ ชอบ

1.4 งบประมาณ รายละเอยี ดดงั น้ี

รายละเอียดการใช้งบประมาณ งบประมาณ จำแนกตามรายจ่าย
ค่าใช้สอย คา่ ตอบแทน ค่าวสั ดุ
1. กจิ กรรมส่งเสรมิ ใหค้ รูศึกษาและ 23,600 23,600
พัฒนางานวิจัย คา่ วสั ดุอุปกรณส์ ำหรับจัดทำ/ 5,400
5,400
เอกสารสรปุ รายงานวิจยั ในชน้ั เรยี น
2. งานนิทรรศการเปิดโลกผลงานวิจัยและ
นวตั กรรมของขา้ ราชการครแู ละบคุ ลากร

ทางการศกึ ษา ปกี ารศึกษา 2564

2

งบประมาณท้ังกิจกรรม รวม ……29,000…….บาท
เงนิ งบประมาณ (งบอดุ หนุน)

1.5 การติดตามและประเมนิ ผล

ตัวช้ีวัดความสำเรจ็ ของแตล่ ะกิจกรรม การประเมินผล เคร่อื งมือทใ่ี ช้

1. ครูมีการสร้างส่ือนวัตกรรมเพ่ือการ 1.นเิ ทศการสอน 1.แบบนเิ ทศแผนการ

จัดการเรียนรู้ในวิชาท่ีตนเองรับผิดชอบร้อย 2.รายงานการใช้สอ่ื นวตั กรรม จดั การเรยี นรู้

ละ 100 3. รายงานวิจัยในชนั้ เรียน 2.แบบรายงานการใช้สื่อ

2. ครูมีวิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ใน นวัตกรรม

วิชาท่ีตนเองรับผิดชอบร้อยละ 98.61 3.แบบประเมินงานวจิ ัยใน

ชั้นเรยี น

1.6 ผลทไี่ ดร้ บั จากกจิ กรรม

ครูสามารถแก้ปัญหาชั้นเรยี นและพัฒนาการจัดการเรียนรขู้ องตนเองให้มปี ระสทิ ธิภาพมากยิง่ ข้นึ
โดยใชก้ ารศึกษาวิจัยเพ่ือพัฒนาการจดั การเรยี นร้ใู นวิชาท่ตี นเองรับผิดชอบ

บทที่ 2
ความรู้และเอกสารท่ีเกย่ี วขอ้ ง

ความร้แู ละเอกสารท่เี ก่ียวข้อง

ภายหลงั จากการใช้พระราชบัญญัตกิ ารศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ครูผสู้ อนในทกุ ระดบั การศกึ ษาตา่ ง
ต่ืนตัว ขานรบั กับกระแสการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ท้ังการปฏิรูปการศึกษาและการปฏิรูปกระบวนการ
เรียนรู้ แนวคดิ ในเชิงบวกมีการปรับเปลย่ี นเจตคติ การปฏิบตั ิตนเพอ่ื เตรยี มตัวไปสู่ความเปน็ “ครูนกั วิจยั ” มาก
ยิ่งขึ้น ซ่ึงเป็นผลให้บทบาทของครูผู้สอน ผู้เรียน ตลอดจนกระบวนการเรียนการสอนแปรเปล่ียนไปตาม
เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกในยุคปัจจุบันทั้งทาง ด้านเศรษฐกิจ
ข่าวสาร และสังคม ก่อให้เกิดสรรพวิทยาการในแขนงต่าง ๆ ท่ีเกิดข้ึนใหม่มากมาย ดังนั้น ครูผู้สอนจึง
จำเปน็ ตอ้ งอาศัย “กลยุทธ์” หรอื “ยทุ ธศาสตร์” ในการพัฒนาคุณภาพด้านการเรยี นการสอน เพือ่ ให้ผู้เรียนมี
ความรู้ความสามารถเต็มตามศักยภาพ ด่ังคำขวัญท่ีว่า เป็นคนเก่ง ดี และมีความสุข ตามความคาดหวังของ
หลักสูตรสังคม และประเทศชาติ

แนวความคิดหนึ่งท่ีเอ้ือต่อการพัฒนาระบบการจดั การเรียนการสอน ก็คอื สอนดีต้องมีการวิจยั ในช้ัน
เรียน โดยเฉพาะพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หมวด 4 พ.ศ. 2542 ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการวิจัย
และแนวการจัดการศึกษา มาตรา 24(5) การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานท่ีเกีย่ วข้อง
ดำเนินการดัง ข้อ 5 คือ ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และ
อำนวยให้ผเู้ รยี นเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมท้ังกำหนดใหผ้ ู้สอนสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหน่ึงของ
กระบวนการเรียนรู้ ท้ังนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกัน จากสื่อการเรียนการสอนและแหล่ง
วิทยาการต่าง ๆ และในมาตรา 30 ระบุให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนท่ีมีประสิทธิภาพ
รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพ่ือพัฒนาการเรียนรู้ท่ีเหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา
เพราะฉะน้ัน การวิจัยในช้ันเรียนจึงเป็นส่ิงท่ีจำเป็นและสำคัญ ท่ีจะต้องทำควบคู่ไปกับการพัฒนาการเรียนรู้
ดว้ ยเหตุผลดังกล่าว การวจิ ัยในชั้นเรียนก็จะเป็นประโยชน์แก่ผู้เรียนและผู้สอนในยุคของการปฏิรูปการศึกษา
ไทย

2.1 การวจิ ัยในชน้ั เรยี นคืออะไร
จากการศึกษาเอกสารท่ีเก่ียวข้อง พบว่า คำที่ใช้ในการวิจัยในชั้นเรียน มีหลายคำได้แก่ 1) การวิจัย

ปฏิบัติการ (action research) 2) การวิจัยในช้ันเรียน (classroom research) 3) การวิจัยของครู (teacher
research) 4) การวิจัยปฏิบัติการในช้ันเรียน (classroom action research) 5) การวิจัยการเรียนการสอน
(learning research) ในที่น้ีผู้เขยี นขอใช้ค าว่า การวจิ ัยในช้ันเรียน เพราะเป็นคำท่ีใช้กันแพร่หลายและเป็นที่
รู้จักของครูและบุคลากรทางการศึกษา การวิจยั ในชน้ั เรียนได้มีนักวชิ าการ นักวิจัยให้ความหมายไว้หลายท่าน
ดังนี้

อุทุมพร จามรมาน (2537, หน้า 9) ให้ความหมายของการวจิ ัยปฏิบตั ิการในชนั้ เรยี นไว้วา่ เป็นการวจิ ัย
ทท่ี ำโดยครู ของครู เพื่อครู เป็นการวิจัยท่ีครผู ู้ดึงปัญหาในการเรยี นการสอนออกมาและครูผู้ซ่ึงแสวงหาขอ้ มูล
เพ่อื แก้ปญั หาดังกล่าวด้วยกระบวนการท่ีเช่ือถอื ได้ ผลการวิจยั คือคำตอบที่ครูจะเปน็ ผู้นำไปใช้ในการแกป้ ัญหา
ของชั้นเรยี น

ทิศนา แขมมณี (2540, หน้า 14) ให้ความหมายของการวิจัยปฏิบัติการในช้ันเรียนว่า หมายถึงการ

4

วิจั ยใน บริ บทขอ งชั้ น เรี ยน และ มุ่ งน ำผลก ารวิ จัย ไปใช้ ใน การพั ฒ น าก ารเรีย น ก าร สอ น ขอ งตน เป็น ก ารน ำ
กระบวนการวจิ ยั ไปใช้ในการพัฒนาครูให้ไปสคู่ วามเปน็ เลศิ และมีความเปน็ อสิ ระทางวชิ าการ

สุวิมล ว่องวาณิช (2544, หน้า 11) ได้สังเคราะห์นิยามเก่ียวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนแล้ว
สรุปว่าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนคือการวิจัยท่ีทำโดยครูผู้สอนในห้องเรียนเพ่ือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นใน
ห้องเรียน และนำผลมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอนเพ่ือใหเ้ กิดประโยชนส์ ูงสุดกับผู้เรียน เป็นการวิจยั ที่
ต้องทำอยา่ งรวดเร็ว น าผลไปใช้ทันทีและสะทอ้ นข้อมูลเกี่ยวกบั การปฏิบตั ิงานต่าง ๆ ของตนเองใหท้ ั้งตนเอง
และกลุ่มเพ่ือนร่วมงานในโรงเรยี นไดม้ ีโอกาสอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในแนวทางท่ีได้ปฏิบัติ และนำ
ผลทเ่ี กดิ ข้ึนเพ่ือพฒั นาการเรยี นการสอนต่อไป

กรมวิชาการ (2542, หนา้ 7) กล่าวว่าการวิจัยปฏบิ ัติการในช้ันเรียน หมายถึง กระบวนการทีค่ รูศึกษา
ค้นคว้าเพ่ือแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนการสอนท่ีตนรับผิดชอบ จุดเน้นของการวิจัยในชั้นเรียน คือ การ
แก้ปัญหาหรือพัฒนากระบวนการเรยี นการสอนอย่างเป็นระบบ ดังน้ันการวิจัยในช้ันเรียนเป็นการศึกษาและ
วิจยั ควบคู่กบั การจัดการเรยี นการสอนเพื่อแก้ปญั หาหรือพัฒนาการสอนของตนเอง เพ่ือเผยแพร่ผลการวิจัยให้
เกิดประโยชน์ต่อผอู้ น่ื ตอ่ ไป

ครุรักษ์ ภิรมย์รักษ์ (2544, หน้า 4) กล่าวว่าการวิจัยในชั้นเรียนเป็นบทบาทของครูในการแสวงหา
วธิ ีการแก้ปัญหาต่าง ๆ ท่ีเกิดข้ึนในบริบทของชั้นเรียนโดยทำพร้อม ๆ กันไปกับการจัดกจิ กรรมการเรียนการ
สอนตามปกติ ด้วยกระบวนการท่ีเรียบง่ายและเช่ือถือได้ เพ่ือนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มี
ประสิทธภิ าพและเกิดประโยชน์สงู สดุ ตอ่ ผเู้ รียน

จากความหมายของการวิจัยในชั้นเรียน สรุปได้ว่า การวิจัยในชั้นเรียนหมายถึง กระบวนการศึกษา
ค้นคว้าหาความรู้จริงเก่ียวกับกระบวนการเรียนการสอนของครู โดยมีวัตถุประสงค์เพ่ือ แก้ปัญหาหรือ
พฒั นาการเรยี นรู้ของผเู้ รียน โดยดำเนินการควบคไู่ ปกับการสอนในชัน้ เรยี น

2.2 ความสำคญั ของวจิ ยั ช้นั เรียน
การวิจัยชั้นเรียน (Classroom Research) เป็นวิจัยทางการศึกษารูปแบบหน่ึงท่ีมุ่งค้นหาคำตอบ

คำอธิบาย แนวทางการแก้ไขสถานการณ์ปัญหาท่ีเกิดข้ึนในชั้นเรียน และการลงมือปฏิบัติของครูเพ่ือแก้ไข
ปญั หาหรือพัฒนาผู้เรียนในดา้ นผลสัมฤทธิ์ คุณลักษณะ พฤติกรรม และทักษะกระบวนการ มีการดำเนินการ
อย่างเป็นระบบต่อเนื่อง และเชื่อถือได้พร้อมทั้งมีการแลกเปล่ียนเรียนรู้ผลการวิจัยท่ีได้อย่างสร้างสรรค์เพ่ือ
สร้างชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ (Professional Learning Community) ครูที่ทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการ
สอน จงึ อาจเรยี กไดว้ ่าเป็น “ครูนักวิจัย”การวิจยั ชัน้ เรียนมีเป้าหมายสูงสุดที่การพัฒนาคุณภาพผู้เรยี น และผล
พลอยได้คอื การพฒั นาตนเองของครผู ู้สอน สรปุ ความสำคญั ของการวจิ ัยไดด้ งั นี้

1. ชว่ ยพัฒนาผู้เรยี นดา้ นผลสมั ฤทธิ์ ทกั ษะกระบวนการ และคณุ ลกั ษณะท่ีพงึ ประสงค์
2. ช่วยทำให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
(Continuous Quality Improvement)ทเ่ี ป็นประโยชน์ทั้งตวั ผเู้ รียนและผสู้ อน โดยเกิดการเปลี่ยนแปลงผา่ น
กระบวนการวิจัย
3. ช่วยให้ครูมีวิถีชีวิตการทำงานอย่างเป็นระบบ เห็นภาพของงานตลอดแนว มีการตัดสินใจที่มี
คณุ ภาพ ชว่ ยพัฒนาไปส่คู วามเป็นครูมอื อาชีพ(Professional Teacher)
4. เป็นการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Professional LearningCommunity)ที่เกิดจากการ
แลกเปล่ยี นเรยี นรู้องค์ความรขู้ องการวิจัย
5. นำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมคุณภาพ (Quality Culture) ภายในองค์กรที่มีความรู้เป็นฐานของการ

5

พฒั นา (Knowledge-based development)

2.3 ความจำเป็นทค่ี รตู อ้ งทำวจิ ยั
เหตผุ ลเชิงนโยบาย กฎหมาย และระเบยี บ ที่ครูต้องทำวจิ ยั มีดังน้ี

1. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับท่ี 3) พ.ศ. 2553
กำหนดใหค้ รูตอ้ งทำวจิ ยั เพ่ือพฒั นาการจัดการเรียนการสอน (มาตราที่ 30) และให้ครใู ชก้ ารวิจยั เป็นกจิ กรรม
การเรียนรูข้ องนักเรยี นและครู (มาตราท่ี 24 (5))

2. มาตรฐานวิชาชีพครู คุรุสภากำหนดให้ผู้ที่จะปฏิบัติงานในวิชาชีพครูต้องมีมาตรฐานความรู้ด้าน
“การวิจัยทางการศึกษา” เป็นหนึ่งในมาตรฐานความรู้ของครู (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา) สาระความรู้

และในมาตรฐานความรู้ “การวิจัยทางการศึกษา” น้ี ครอบคลุม ”การวิจัยในช้ันเรียน”“การฝึกปฏิบัติการ
วิจัย” และ“การใช้กระบวนการวิจัยในการแก้ปัญหา” ด้วยและครูต้องมีสมรรถนะ “สามารถทำวิจัยเพื่อ
พฒั นาการเรียนการสอนและพัฒนาผเู้ รยี น”

3. มาตรฐานของหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาว่าต้องให้บัณฑิตผ่านการปฏิบัติการสอนใน
สถานศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผา่ นเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนดังคณะกรรมการครุ ุสภากำหนดไว้ท้ัง

(1) การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน และ (2) การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ ซ่ึงการ
ปฏิบัติการสอนดังกล่าว กำหนดให้ต้องฝึกทักษะและมีสมรรถนะในด้าน “การทำวิจัยในโรงเรียนเพื่อพัฒนา
ผู้เรยี น”

4. มาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอก สำนกั งานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศกึ ษา
(สมศ.) องค์การมหาชนกำหนดมาตรฐานคุณภาพครูในด้านการจัดการเรียนการสอนท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

อยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพไว้ว่า ในการปฏิบตั ิงานสอนน้ัน ครูจะตอ้ งทำกจิ กรรม 7 กจิ กรรม ดงั น้ี
1) การวิเคราะห์หลักสูตร
2) การวเิ คราะหผ์ เู้ รยี นเปน็ รายบุคคล

3) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทห่ี ลากหลาย
4) การใช้เทคโนโลยีเปน็ แหล่งและส่ือการเรยี นรขู้ องตนเองและนกั เรียน

5) การวัดและประเมนิ ผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านเนน้ องค์รวมและเน้นพฒั นาการ
6) การใช้ผลการประเมนิ เพอ่ื แกไ้ ข ปรบั ปรุงและพฒั นาการจดั การเรยี นการสอนเพอื่ พฒั นา
ผูเ้ รยี นใหเ้ ต็มศักยภาพ

7) การใช้การวิจยั ปฏิบตั กิ ารในการพัฒนานวัตกรรมเพือ่ พัฒนาการเรยี นรู้ของนกั เรยี นและ
การสอนของตนเอง

5. มาตรฐานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา (สำนักทดสอบทางการศึกษา, 2559)
โดยเฉพาะมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนท่ีเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่มีจุดเน้นหนึ่งท่ีให้ผู้เรียน
ได้เรยี นรู้โดยใชก้ ระบวนการวจิ ยั อย่างเปน็ รปู ธรรมและต่อเนื่อง รวมทง้ั การตรวจสอบและประเมนิ ความร้คู วาม

เขา้ ใจของผูเ้ รียนอยา่ งเปน็ ระบบ และมปี ระสิทธิภาพ โดยประเมินผ้เู รียนจากสภาพจริงมขี ัน้ ตอนตรวจสอบและ
ประเมินอย่างเป็นระบบใช้เครื่องมือและวิธีการวัดและประเมินผลท่ีเหมาะสมกับเป้าหมาย และการจัดการ

เรยี นการสอน นกั เรยี นและผ้มู สี ว่ นเก่ียวข้องมีสว่ นร่วมในการวัดและประเมินผล ตลอดจนใหข้ อ้ มูลยอ้ นกลบั แก่
ผเู้ รียนและผูเ้ รยี นนำไปใช้พฒั นาตนเอง

6

2.4 กระบวนการวจิ ยั
ครูนักวิจัยทุกคนควรทราบถึงกระบวนการวิจัย ซึ่งเป็นวิธีการสร้างความรู้ท่ีมีลักษณะสำคัญคือ ใช้

ระเบียบวธิ ีการทางวทิ ยาศาสตร์ (Scientific Method) ซึ่งมีขน้ั ตอนสำคัญ ดังต่อไปนี้
1. กำหนดปัญหาวจิ ัยหรือหัวข้อวจิ ยั (a research topic)
2. กำหนดวตั ถุประสงค์ของการวิจัย (research purposes)
3. กำหนดขอบเขตการวจิ ัย และ/หรอื สมมติฐาน (research framework/research hypothesis)
4. ออกแบบการวจิ ัย (research design)
4.1 ออกแบบการไดม้ าซ่ึงกลุ่มตัวอย่าง/กลมุ่ เปา้ หมาย (sampling techniques)
4.2 ออกแบบเครอื่ งมือวิจัย (research tool)
4.3 ออกแบบการวิเคราะหข์ อ้ มลู (data analysis)
5. เก็บรวบรวมข้อมูล (data collection)
6. วิเคราะหข์ ้อมลู และการแปลผล (data analysis and data interpretation)
7. เขียนรายงาน (reporting the findings)
8. ตีพิมพ์เผยแพร่ (publishing) ในการจัดการเรียนรู้ของครูสามารถใช้กระบวนการวิจัยร่วมได้

(Teaching as Researching) โดยมเี ปา้ หมายเพ่ือปรับปรุงพฒั นาท้ังต่อนักเรยี นและต่อตัวครูเอง ดังจะเห็นได้
จากตัวอย่างกระบวนการจัดการเรียนรู้ดงั ตอ่ ไปน้ี

กระบวนการจัดการเรยี นรู้ท่ีใชก้ ระบวนการวจิ ัยเป็นฐาน
เมือ่ พิจารณาในระบบการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการ จะพบวา่ ครูผู้สอนสามารถดำเนินการวิจัย
รว่ มกนั กับขั้นตอนการดำเนินการจัดการเรยี นการสอนในปกตไิ ด้ ดังแผนภาพที่ 1

แผนภาพที่ 1 ระบบการเรยี นการสอนทเี่ นน้ กระบวนการร่วมกบั การทำวิจยั
(พมิ พ์พนั ธ์ เดชะคุปต์ และพะเยาว์ ยินดสี ขุ , 2549)

กระบวนการจัดการเรยี นรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) (พิมพพ์ ันธ์ เดชะคปุ ต์,2558)
1. ระบุคำถาม

1.1 สงั เกตส่ิงเรา้ เพือ่ เกิดความสงสัย

1.2 ตงั้ คำถามสำคญั /คำถามหลัก 7
1.3 คาดคะเนคำตอบ/ตง้ั สมมติฐาน

2. แสวงหาสารสนเทศ
2.1 วางแผนเพ่อื รวบรวมขอ้ มูล

2.2 รวบรวมข้อมลู ท้ังหมดดว้ ยการทดลอง หรือวิธีเก็บขอ้ มูลต่างๆ
2.3 วเิ คราะห์และสอื่ ความหมายข้อมูล
3. สร้างความรู้

3.1 อภิปรายเพอื่ สร้างคำอธบิ ายด้วยตัวนักเรยี นเอง
3.2 เชอ่ื มโยงความรู้สู่คำอธบิ ายท่ีถูกตอ้ งโดยครู

4. ส่ือสาร
4.1 เขยี นเพ่อื เสนอความร้ทู ่ีได้จากการสร้างด้วยตนเอง
4.2 นำเสนอดว้ ยวาจาหน้าช้นั เรยี นหรอื ในสถานที่ตา่ งๆ

5. ตอบแทนสงั คม
5.1 นำความรไู้ ปใชห้ รอื ประยุกต์ความร้ไู ปใช้ในสถานการณ์ใหม่

5.2 สร้างผลงานหรอื ภาระงานเพ่ือบริการสงั คม
กระบวนการเรียนรู้ 5 ข้นั ตอนเปน็ วธิ ีการทางวทิ ยาศาสตร์ (Scientific Method) รว่ มกับทกั ษะการ
ส่ือสาร และทักษะการประยุกต์ความรู้ ไดผ้ ลงานไปตอบแทนสงั คมเป็นการสร้างคณุ ลักษณะอันพึงประสงค์

ให้กับผูเ้ รียน

2.5 ข้ันตอนการดำเนินงานวิจัยชั้นเรียน
การออกแบบการวจิ ัยชนั้ เรยี นสำหรบั ครนู ักวจิ ยั มกี ิจกรรม 8 ขนั้ ตอนทค่ี วรใหค้ วามสำคัญ ดัง

แผนภาพท่ี 2

แผนภาพที่ 2 ลำดับขน้ั ตอนการดำเนินงานวจิ ยั ชัน้ เรียน

ขนั้ ตอนที่ 1 การกำหนดปัญหาวิจยั
สภาพทีเ่ ปน็ ปญั หาการจัดการเรียนการสอนเกดิ ขึ้นมากมายและเกิดขึ้นตลอดเวลาในขณะสอน หาก

เราลองจำแนกแยกปญั หาออกมาแลว้ จะพบวา่ มลี ักษณะต่างๆกนั ดังน้ี
ลกั ษณะท่ี 1 ปญั หาเกย่ี วกับการเรียนร้ขู องผู้เรียน ปัญหาลักษณะน้ีเกีย่ วขอ้ งกับผลสมั ฤทธท์ิ างการ

เรยี นของผู้เรยี น เช่น อ่านไมอ่ อก เขยี นไมเ่ ป็นไมเ่ ขา้ ใจเนื้อหา เรยี นชา้ บวกเลขไม่ได้ เป็นต้น

ลกั ษณะท่ี 2 ปญั หาเกย่ี วกบั ทักษะการปฏบิ ตั งิ านของผู้เรยี น เช่นการใช้คอมพวิ เตอร์ การเล่นกฬี า
การเลน่ ดนตรี เป็นตน้ ปญั หาลกั ษณะน้ีอาจสง่ ผลใหผ้ ูเ้ รยี นขาดทักษะท่จี ำเปน็ ได้

ลักษณะท่ี 3 ปัญหาเกี่ยวกบั คุณลกั ษณะท่ีพึงประสงค์ของผู้เรียนหรืออาจเรยี กได้วา่ เป็นพฤติกรรมที่ไม่

8

พงึ ประสงค์ ผลกระทบของปัญหาลักษณะน้ีอาจส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนและคุณลักษณะของผู้เรียน
ในอนาคตได้

การเลอื กปญั หามาทำวิจยั
ปัญหาเหล่านั้นจะต้องเปน็ ปัญหาท่ีอาจส่งผลกระทบต่อผเู้ รยี นในด้านการเรียนรู้ ทกั ษะการปฏิบัติและ
คณุ ลักษณะท่ีพึงประสงค์อย่างใดอย่างหน่ึงปัญหาเป็นชอ่ งว่างระหว่างการปฏิบัติจรงิ และจุดมงุ่ หมายของการ
จัดการเรยี นการสอนหรือสภาวะท่ีไมพ่ ึงประสงค์ที่คณุ ครูต้องการหาวิธีแก้ไขและพฒั นา ปัญหาการวิจัยจะตอ้ ง
มคี วามลึกซ้ึงและใช้กระบวนการท่ีเป็นระบบในการแก้ไขปัญหา ลักษณะของปัญหาในชั้นเรียนควรมีลักษณะ
ดังต่อไปนี้
1. ตอ้ งเป็นปญั หาทีค่ ุพบจรงิ ๆ ในการจดั การเรยี นการสอน
2. ต้องมีความชัดเจนและแน่ใจว่าเป็นปัญหาท่ีแท้จริง อาจตรวจสอบด้วยวิธีการหลายๆอย่างเพ่ือ
ยืนยันสภาพปัญหาท่ีเกิดข้ึน เช่นสอบถามจากนักเรียนโดยตรง เพ่ือนนักเรียน เพื่อนครู ผู้ปกครอง หรือใช้
แบบสอบถาม เป็นตน้
3. ปัญหาต้องไม่เกิดจากการตัดสินตามความคิดของตัวผู้สอนเอง ควรระบุปัญหาท่ีเป็นพฤติกรรมท่ี
แสดงออกของนักเรียนแล้ววิจัยว่าเป็นเพราะเหตุใด ตัวอย่างเช่น นักเรียนไม่ส่งการบ้าน ปัญหาวิจัยท่ีคุณครู
ควรระบุคอื นักเรยี นมีพฤติกรรมไมส่ ่งการบ้าน แล้วคุณครูคอ่ ยวเิ คราะห์ต่อไปว่าเหตุใดนักเรียนถึงมพี ฤติกรรม
เช่นน้ัน
4. ต้องสอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ และศักยภาพในการทำวิจัยของครู ศักยภาพในที่นี้
หมายถึงความสามารถในการทำวิจัยหรือควบคุมงานวิจัยในชั้นเรียน ครูอาจจะแก้ไขปัญหาหรือไม่ได้เป็นผู้

แก้ไขปญั หาเดก็ ดว้ ยตนเอง แตส่ ามารถทาให้ผูอ้ ืน่ มาชว่ ยในการแก้ไขปญั หา ลกั ษณะเชน่ นี้ถือว่าครูมีศักยภาพท่ี

จะควบคุมงานวิจัยเช่นกัน การวิจัยจึงต้องเป็นความร่วมมือ (Collaborative) ระหว่างผู้ท่ีเห็นความสาคัญใน

การพัฒนานักเรียนหรือผู้ท่ีมีส่วนได้ส่วนเสียกับนักเรียน เช่น ผู้บริหาร นักเรียน ผู้ปกครอง เพ่ือนครูหรือ

นกั วิชาการและผูเ้ ช่ยี วชาญ เป็นต้น

5. ต้องมีความสัมพันธ์หรือเป็นต้นเหตุของปัญหาอ่ืนๆ ในการเลือกปัญหาวิจัยน้ัน ครูจะต้องมีข้อมูล

ของสภาพปญั หาทเ่ี กิดข้นึ และแน่นอนว่ามีหลายปัญหาด้วยกัน การเลือกปัญหาใดปญั หาหนงึ่ น้นั การพิจารณา

ความเชื่อมโยงและเป็นเหตุเป็นผลกับปัญหาอ่ืนจะช่วยให้ครูเลือกปัญหาที่มาแก้ไขได้อย่างถูกต้องและตรง

ประเด็น และต้องวิเคราะห์ว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างปัญหาหรือไม่ และถ้ามีแล้วปัญหาสัมพันธ์กันอย่างไร

และปัญหาได้รับอิทธิพลจากปัญหาใด ส่งผลกระทบต่อปัญหาอ่ืนอย่างไร เมื่อเราทราบความสัมพันธ์ท่ีเกิดขึ้น

ครูต้องเลือกปัญหาท่ีก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆมาแก้ไข เพราะเม่ือแก้ไขสาเร็จแล้วนอกจากจะเป็นการขจัดปัญหา

น้นั แล้วผลที่ตามมาคอื ปัญหาอ่ืนๆ ก็จะถูกตัดวงจรการเกิดด้วย เรยี กว่ายิงกระสุนนัดเดียวได้นกหลายตัวเลย

ทเี ดียว

การวเิ คราะหส์ ภาพปัญหาของผ้เู รยี น การวเิ คราะห์สภาพปัญหาของผเู้ รียน เป็นสิ่งสาคัญและจาเป็น

สาหรับครูในการตัดสินใจว่าจะเลือกปัญหาใดมาทาวิจัย เพื่อให้เกิดความเข้าใจ เข้าถงึ และสามารถแก้ปัญหาท่ี

เกดิ ขน้ึ ไดต้ รงจุด การวเิ คราะห์สภาพปญั หาจึงเป็นการตีวงของปัญหาให้แคบและมีความชัดเจนขึ้น สวุ ิมล วอ่ ง

วาณิช (2547) ได้เสนอแนวทางในการวิเคราะห์สภาพของปัญหาผู้เรียนโดยตั้งคาถามให้คุณครูตอบเกี่ยวกับ

สภาพปญั หาท่เี กิดขน้ึ ดังน้ี

9

1. สภาพปญั หาหรือปรากฏการณ์ทเี่ กดิ ข้ึนคืออะไร

2. ปัญหาท่เี กดิ ขน้ึ เปน็ ของใคร

3. ปญั หานสี้ ่งผลกระทบตอ่ ใครบา้ ง

4. เม่อื เปรียบเทียบกบั ปัญหาอื่นทเี่ กิดพรอ้ มกนั ปัญหาใดสาคัญกวา่

5. ปัญหาท่ีเกิดขนึ้ อย่างหลากหลายนนั้ เชอ่ื มโยงกนั อยา่ งไร

6. ใครคอื ผทู้ ี่มีสว่ นรับผิดชอบตอ่ ปัญหานั้น

เมอ่ื คณุ ครูสามารถตอบคาถามได้ทั้ง 6 ข้อแล้วอาจเขียนบันทึกไว้คาตอบท่ีได้นา่ จะเป็นแนวทางหน่ึงที่

ช่วยให้เข้าใจสภาพปัญหาได้ดียิ่งข้ึนและสามารถเลือกปัญหามาทาวิจัยได้ คุณครูต้องฝึกปฏิบัติเป็นประจา

ชว่ งแรกอาจเกิดความลาบากในการวิเคราะหบ์ ้าง คุณครูอาจขอคาปรึกษาจากเพื่อนครูหรือผู้เช่ยี วชาญได้ เม่ือ

ฝึกฝนวิเคราะห์สภาพปัญหาบ่อยคร้ังแล้วความชานาญก็จะเกิดข้ึน เมื่อเจอปัญหาครั้งต่อไปจะเกิดความ

เช่ือมโยงโดยอตั โนมัตแิ ละทาใหเ้ ข้าใจสภาพปัญหาได้งา่ ยย่ิงข้นึ

การตงั้ คำถามการวจิ ัย
เม่ือคุณครูได้ปัญหามาทำวิจัยแล้ว ส่ิงท่ีต้องคิดต่อไปก็คือการตั้งคำถามการวิจัย คำถามการวิจัยเป็น
ประโยคหรือขอ้ ความทเี่ ขยี นขนึ้ มาเพ่อื ค้นหาคำตอบในปรากฏการณ์ของปญั หาท่เี กดิ ข้ึนนนั่ เอง คำถามการวจิ ัย
สามารถชี้ทิศทางหรือแนวทางในการวิจัยได้ กล่าวคือคำถามการวิจัยมีความสำคัญในเชิงหลักการกำหนด
กระบวนการและระเบียบวธิ ีวิจยั ในการทำวิจัยทา้ ยสุดแล้วผู้วิจัยจะต้องตอบคำถามการวิจัยให้ครบงานวิจัยจึง
จะถือว่าประสบผลสำเร็จ การตั้งคำถามการวิจัยในช้ันเรียนจะต้องมีความจำเพาะเจาะจงสังเกตได้ สามารถ
สำรวจและกระทำการวิจยั ได้ คำถามท่ีใชใ้ นการวจิ ัยในช้ันเรยี นอาจแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ตามแนวคดิ ของ สวุ มิ ล
ว่องวาณชิ (2547) ดังนี้
คำถามระดับท่ี 1 เป็นคำถามระดับพื้นฐาน เป็นคำถามที่มีความมุ่งหมายตอบว่า ใคร ทำอะไร และ
ได้ผลย่างไร และเม่ือพิจารณาคำถามการวิจัยประเภทน้ี เป็นคำถามที่สังเกตผลจากกระบวนการวิจัยที่ไม่มี
ความซับซ้อนอะไรตัวอยา่ งคำถามวิจยั เช่น “ใครเป็นผู้ทไี่ ดร้ บั การยอมรับในชั้นเรยี นมากที่สุด” “เด็กชายแดง
มพี ฤติกรรมก้าวรา้ วอย่างไรบา้ ง”
คำถามระดบั ท่ี 2 เป็นคำถามท่ีมีความลึกซ้ึงและซับซ้อนกว่าคำถามเบอ้ื งต้น เป็นการศกึ ษาความรู้สึก
ของผ้รู ่วมวจิ ยั ในชนั้ เรียนต่อปรากฏการณ์ทเ่ี กดิ ขน้ึ เช่น “นกั เรยี นมคี วามรู้สกึ อย่างไรต่อการประเมินตนเอง”
การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา

วิธกี ารแก้ไขปญั หาในชนั้ เรยี นทพี่ บบอ่ ย คือ การสร้างนวตั กรรมท้ังท่ีเป็นวสั ดุ อปุ กรณ์ ชุดฝึก วิธกี าร

สอน และวิธีการปรับพฤตกิ รรมวธิ ีการแกไ้ ขปัญหาท่ีนามาใชจ้ ะตอ้ งมีความเหมาะสมสามารถแกไ้ ขปัญหาได้

อย่างแทจ้ รงิ

ขั้นตอนท่ี 2 การต้ังวัตถปุ ระสงค์และชือ่ เรอ่ื งวิจัย

วั ต ถุ ป ร ะ ส ง ค์ ก า ร วิ จั ย เป็ น ข้ อ ค ว าม ที่ แ ส ด ง ว่ าเร าต้ อ ง ก าร จ ะ ท ำ อ ะ ไร เพื่ อ ต อ บ ค ำ ถ าม ก า ร วิ จั ย
วตั ถุประสงคก์ ารวิจยั จงึ ต้องเขียนตามลำดบั และเปน็ ขัน้ ตอน

การเขยี นวัตถุประสงคต์ อ้ งสอดคล้องกับคาถามการวิจัยวตั ถปุ ระสงคก์ ารวิจัย ครอบคลุมตัวแปรและ

ประเด็นท่ีตอ้ งการศึกษาไมค่ วรแยกย่อยจนเกินไปมคี วามชดั เจนและช้ใี ห้เหน็ ความสมั พันธข์ องตัวแปรการเขียน

วตั ถปุ ระสงค์การวจิ ยั ที่ดีจะต้อง SMART ไดแ้ ก่ มีความเฉพาะเจาะจง (Specific) สามารถวดั ได้ Measurable)

10

ดาเนินการให้สาเร็จได้(Attainable) ตรงกับสภาพความเปน็ จรงิ (Realistic) และแสดงถงึ ชว่ งเวลา (Time -
Bound)

การต้ังชอ่ื เร่ืองวิจยั
ชื่อเรื่องวิจัยเปรียบเสมือนหน้าตาหรือรูปร่างภายนอกท่ีคนจะเห็นจากงานวิจัยของครูเป็นลาดับแรก

การเขียนช่อื เรื่องการวิจัยในช้ันเรียนจะต้องอิงวตั ถุประสงค์และเน้ือหาท่ีทา มีลักษณะเขียนเป็นประโยคบอก
เลา่ และแสดงใหเ้ หน็ ถึงความสัมพันธ์ของตัวแปร ใช้ภาษาที่ชัดเจน ไม่ฟุ่มเฟือยไม่ซ้าซ้อนกัน ไม่กว้างหรือแคบ

เกินไปจนไม่ได้สาระ การตั้งชื่อเร่ืองวิจัยจะต้องประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ จุดมุ่งหมาย ตัวแปร
กลมุ่ เป้าหมายและวิธีการ/นวัตกรรมที่นามาศึกษาหรอื แก้ไขปัญหาโดยมีรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบ

ดังนี้
1. จุดมุ่งหมายการวิจยั

การกาหนดจดุ ม่งุ หมายการวิจัยควรระบุว่าต้องการจะทาอะไรโดยอาจจะอิงจากวตั ถุประสงค์ของการ
วจิ ัยก็ได้ จุดมุ่งหมายในการวิจัยท่ีพบบ่อยในงานวจิ ัยในช้ันเรียนประกอบด้วยคาหลักต่อไปน้ีคือ การแกไ้ ขการ

พัฒนาการแก้ปัญหา การศกึ ษา การเปรียบเทียบ เปน็ ตน้
2. ตวั แปร
ในการวจิ ยั มกั จะมกี ารกลา่ วถึง“ตวั แปร” อยเู่ สมอ ซ่ึงความหมายของตัวแปรคอื คณุ ลกั ษณะท่ี

สามารถแปรค่าไดห้ ลายคา่ คุณลกั ษณะนั้นอาจจะเป็นวัตถุ ส่ิงของ เหตุการณ์ หรอื สถานท่ี เปน็ ตน้ หรืออาจจะ
กล่าวได้วา่ เปน็ ส่ิงที่เรามุง่ สนใจศกึ ษาอยนู่ ่ันเอง เช่นผลสมั ฤทธิท์ างการเรียนความสามารถในการอ่านออกเสยี ง
ของนักเรยี น โดยคณุ ครอู าจจะสนใจศกึ ษาตัวแปรเพยี งตัวเดยี วหรือมากกว่า 1 ตัวแปรก็ได้ ขนึ้ อยกู่ บั ปัญหา
การวิจยั ดงั นั้นจึงอาจกลา่ วได้ว่าการวิจัยในชนั้ เรียนเปน็ กระบวนการศึกษาตวั แปรนั่นเอง ตวั แปรมีการจัดแบง่
ไว้หลายประเภท ในที่นี้จะแบ่งประเภทตามความสัมพันธ์ของตัวแปร ซง่ึ เป็นแบบทรี่ จู้ กั กนั โดยทัว่ ไปในการวจิ ยั
ชนั้ เรยี นดังน้ี

1) ตัวแปรตน้ หรือตวั แปรอิสระ (Independent Variable) เปน็ ตัวแปรทีม่ ีอทิ ธพิ ลหรือ
ส่งผลตอ่ ตัวแปรอ่นื
2) ตัวแปรตาม (Dependent Variable) เป็นตัวแปรผลท่ีเกิดข้ึนจากการส่งผลของตัว

แปรอิสระ
3) ตัวแปรแทรกซ้อน (Extraneous Variable) เป็นตัวแปรอิสระท่ไี ม่ต้องการศึกษาหรือ

ไม่ได้เลือกมาศึกษาผล ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อผลการวิจัยหากคุณครูไม่ได้ควบคุมหรือกาจัด
ออกไป

4) ตัวแปรแทรกสอด (Intervening Variable) เป็นตัวแปรท่ีสอดเข้ามาคั่นกลางระหว่าง
ตวั แปรอิสระและตัวแปรตาม โดยทีอ่ าจจะได้รบั อทิ ธพิ ลจากตัวแปรอิสระก่อนแล้วจึงส่งผลต่อ

ตวั แปรตาม ตวั แปรแทรกสอดผู้วิจัยมิได้คานึงถึงไว้ล่วงหน้า แตถ่ ้าควบคุมหรือออกแบบการ
วจิ ยั ใหด้ ผี ู้วจิ ัยอาจนาตวั แปรแทรกสอดมาอธบิ ายได้

11

3. กล่มุ เป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มนกั เรยี นทค่ี รูทาวิจยั เพื่อพฒั นา ส่งเสริมและแกป้ ัญหา การวจิ ยั เชิงวิชาการอาจ
เรียกว่า กลุ่มตัวอย่าง การใช้คาว่ากลุ่มเป้าหมายเนื่องจากลักษณะของการวิจัยในชั้นเรียนเป็นการส่งเสริม
พัฒนาและแก้ไขสภาพปัญหาท่ีเกิดขึ้นกับผู้เรยี นของครูผู้สอนภายในห้องเรียนของตนไม่ต้องอาศัยการอา้ งอิง
จากกล่มุ ตวั อยา่ งไปสปู่ ระชากร นอกจากน้กี ารทาวจิ ยั ในช้นั เรียนยังเป็นการทาวจิ ัยแบบรว่ มมอื ทค่ี รผู ู้วิจยั ถือว่า
ผู้เรยี นเปน็ ผ้รู ่วมวิจัยมิใช่กลมุ่ ตัวอย่าง
4. วิธีการหรือนวัตกรรมที่นามาศึกษาหรือแก้ไขปัญหา
เป็นการระบุว่าเราจะใช้วิธีการใด หรือนวัตกรรมอะไรมาส่งเสริมพัฒนา หรือแก้ไขปัญหา ในงานวิจัย
ในช้ันเรียนท่ีพบบ่อยคือสอ่ื การสอน วิธีการจดั การเรียนรู้ และวิธีการปรับพฤตกิ รรมกล่าวโดยสรปุ หลักการต้ัง
ชื่อเรื่องวิจัยจะต้องประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ จุดมุ่งหมาย ตัวแปร กลุ่มเป้าหมาย และวิธีการ/
นวัตกรรมท่ีนามาใช้
ข้ันตอนที่ 3 การพัฒนานวตั กรรม
สาหรับช้ันเรียนของครูนักวิจยั ท่ีตอ้ งใช้หรือพัฒนานวตั กรรมข้ึนมาใช้ในการแก้ไขปัญหาผูเ้ รยี นหรือการ
พัฒนาการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างย่ิงนวัตกรรมการเรียนรู้ท่ีเป็นการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาตัวกระตุ้น
หรือส่อื การเรยี นรู้ และ/หรือการปรับเปลี่ยนหรือพฒั นากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนทสี่ ร้างสรรค์ข้ึนใหม่ ไม่มี
ใครเคยทามาก่อน เพื่อทาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ผ่านระบบประสาทสัมผัส ระบบประสาทมอเตอร์ ระบบ
สมองเกีย่ วกบั ความจา ความรู้สกึ และอารมณ์ ยงั ผลให้เกดิ ปัญญาและจติ ปัญญาซ่งึ สามารถนาไปประยกุ ต์ใช้ใน
ชีวติ ประจาวนั และการทางานตา่ งๆ ให้สาเร็จลุลว่ งไปได้
ประเภทของการใช้นวัตกรรมการศกึ ษา
พระราชบัญญตั ิการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ไดม้ ีบทบัญญัติทเ่ี กี่ยวข้องกบั เทคโนโลยีการศึกษาและ
นวัตกรรมการศกึ ษาไวห้ ลายมาตรา มาตราท่ีสาคัญ คอื มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการ
ผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยี
เพื่อการศึกษา เพ่ือให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทยและในมาตรา 22
“การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมี
ความสาคัญท่ีสุด กระบวนการจัดการศึกษาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสาคัญท่ีสุด กระบวนการจัดการ
ศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ” การดาเนินการปฏิรูป
การศึกษาให้สาเร็จได้ตามท่ีระบุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ดังกล่าว จาเป็นต้อง
ทาการศกึ ษาวิจยั และพัฒนานวัตกรรมการศึกษาใหมๆ่ ท่ีจะเข้ามาชว่ ยแก้ไขปญั หาทางการศกึ ษาท้ังในรูปแบบ
ของการศึกษาวิจยั การทดลองและการประเมนิ ผลนวัตกรรมหรอื เทคโนโลยีที่นามาใช้ว่ามคี วามเหมาะสมมาก
น้อยเพยี งใด นวตั กรรมท่ีนามาใชท้ งั้ ท่ีผ่านมาแลว้ และท่จี ะมีในอนาคตมีหลายประเภทขนึ้ อยูก่ บั การประยกุ ตใ์ ช้
นวัตกรรมในด้านต่างๆ ในที่น้ีจะขอกล่าวคือ นวัตกรรม 5 ประเภท คือ (1) นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร (2)
นวัตกรรมการเรียนการสอน (3) นวัตกรรมสื่อการสอน (4) นวตั กรรมการประเมนิ ผล และ (5) นวตั กรรม

การบริหารจัดการ ดงั รายละเอียดตอ่ ไปนี้ 12

1. นวัตกรรมทางดา้ นหลักสตู ร

นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับ

สภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น เนื่องจากหลักสูตรจะต้องมีการ

เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

และของโลก นอกจากน้ีการพัฒนาหลักสูตรยังมีความจาเป็นท่จี ะตอ้ งอยบู่ นฐานของแนวคิดทฤษฎีและปรชั ญา

ทางการจัดการสัมมนาอีกด้วย การพัฒนาหลักสูตรตามหลักการและวิธีการดังกล่าวต้องอาศัยแนวคิดและ

วิธีการใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมการศึกษาเข้ามาช่วยเหลือจัดการให้เป็นไปในทิศทางท่ีต้องการ นวัตกรรม

ทางด้านหลักสูตรในประเทศไทย ได้แก่ การพฒั นาหลกั สตู รดงั ต่อไปน้ี

1) หลักสูตรบูรณาการ เป็นการบูรณาการสว่ นประกอบของหลักสูตรเข้าด้วยกันทางด้านวิทยาการใน

สาขาต่างๆ การศึกษาทางด้านจริยธรรมและสังคม โดยมุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนดี สามารถใช้ประโยชน์จากองค์

ความรู้ในสาขาต่างๆ ให้สอดคล้องกบั สภาพสงั คมอย่างมจี ริยธรรม

2) หลักสูตรรายบุคคล เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการศึกษาตามอัตภาพ เพื่อตอบสนอง

แนวความคิดในการจดั การศกึ ษารายบคุ คล ซงึ่ จะต้องออกแบบระบบเพ่ือรองรับความกา้ วหน้าของเทคโนโลยี

ดา้ นต่างๆ

3) หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ เป็นหลักสูตรท่ีมุ่งเน้น กระบวนการในการจัดกิจกรรมและ

ประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพ่ือนาไปสู่ความสาเร็จ เช่น กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในบทเรียน

ประสบการณก์ ารเรยี นรจู้ ากการสืบค้นดว้ ยตนเอง เปน็ ตน้

4) หลักสูตรท้องถ่ิน เป็นการพัฒนาหลักสูตรท่ีตอ้ งการกระจายการบรหิ ารจัดการออกสู่ทอ้ งถนิ่ เพ่อื ให้

สอดคล้องกับศลิ ปวัฒนธรรมสง่ิ แวดลอ้ มและความเป็นอย่ขู องประชาชนท่ีมีอยู่ในแต่ละทอ้ งถน่ิ แทนท่ีหลักสูตร

ในแบบเดิมทีใ่ ช้วธิ ีการรวมศนู ย์การพฒั นาอยู่ในส่วนกลาง

2. นวัตกรรมการเรียนการสอน

เปน็ การใชว้ ิธีระบบในการปรบั ปรุงและคดิ คน้ พฒั นาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรยี น

รายบุคคล การจัดการเรยี นรู้แบบเน้นผูเ้ รยี นเป็นศูนยก์ ลาง การเรยี นรู้แบบมีสว่ นรว่ ม การเรยี นรู้แบบแก้ปญั หา

การเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) การพัฒนาวิธีจัดการเรียนรู้จาเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ

เข้ามาจดั การและสนบั สนนุ การเรยี นการสอน ตวั อยา่ งนวตั กรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน ไดแ้ ก่ การสอนแบบ

โมดูล (Module Teaching) การสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์ (Group Process Teaching) การสอนซ่อมเสริม

(Remedial Teaching) การสอนโดยเพ่ือนสอนเพ่ือน (Peers Teaching)การเรียนแบบศูนย์การเรียน

(Learning Center) การสอนแบบบูรณาการ (Integrative Techniques)การสอนแบบสืบสวนสอบสวน

(Inquiry Method) การสอนโดยใช้ชุดการเรียนการสอน (Instructional Package) การสอนโดยให้ทางบ้าน

ดแู ลการฝกึ ปฏิบัติ (Home Training) การจัดการเรียนรู้แบบใชโ้ ครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning)

การเรยี นผา่ นเครอื ข่ายคอมพวิ เตอรแ์ ละอนิ เทอรเ์ น็ต เปน็ ตน้

3. นวัตกรรมสือ่ การสอน 13

เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยี

โทรคมนาคม ทาให้นักการศึกษาพยายามนาศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่าน้ีมาใช้ในการผลิตส่ือการเรียนการ

สอนใหม่ๆ จานวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเองการเรียนเป็นกล่มุ และการเรียนแบบมวลชน ตลอดจนสื่อท่ี

ใชเ้ พอื่ สนับสนุนการฝึกอบรม ผา่ นเครอื ข่ายคอมพวิ เตอร์ ตัวอยา่ งนวตั กรรมสื่อการสอน ได้แก่

- คอมพิวเตอร์ชว่ ยสอน (CAI)

- มลั ติมีเดยี (Multimedia)

- การประชุมทางไกล (Teleconference)

- ชดุ การสอน (Instructional Module)

- วดี ที ศั น์แบบมีปฏสิ มั พันธ์ (Interactive Video)

- การออกแบบสิง่ แวดล้อมการเรียนรู้โดยใชเ้ ทคโนโลยี (Learning Environment Design)

4. นวตั กรรมทางด้านการประเมินผล

เป็นนวัตกรรมท่ีใช้เป็นเครือ่ งมือเพ่ือการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและทาไดอ้ ย่าง

รวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มา

สนับสนนุ การวดั ผล ประเมนิ ผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์ ตัวอยา่ ง นวตั กรรมทางด้านการประเมนิ ผล ได้แก่

- การพัฒนาคลงั ขอ้ สอบ (items bank)

- การสรา้ งแบบสอบวนิ ิจฉัยทางปัญญา (Cognitive diagnostic test)

- การทดสอบทางคอมพิวเตอรแ์ บบปรับเหมาะ (Computerized Adaptive Testing)

- การใชค้ อมพิวเตอร์ในการตัดเกรด

- ฯลฯ

5. นวตั กรรมการบริหารจดั การ

เป็นการใช้นวัตกรรมท่เี ก่ยี วข้องกบั การใชส้ ารสนเทศมาช่วยในการบรหิ ารจัดการ เพ่ือการ

ตัดสนิ ใจของผ้บู รหิ ารการศึกษาใหม้ ีความรวดเร็วทนั เหตุการณ์ ทันตอ่ การเปลย่ี นแปลงของโลกนวัตกรรม

การศึกษาที่นามาใช้ทางด้านการบริหารจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษา

เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์และบุคลากร ในสถานศึกษา ด้านการเงิน บัญชี

พสั ดุ และครุภัณฑ์ ฐานขอ้ มูลเหล่านี้ต้องการออกระบบทส่ี มบรู ณ์มีความปลอดภยั ของข้อมูลสูง นอกจากน้ียังมี

ความเกยี่ วข้องกบั สารสนเทศภายนอกหนว่ ยงาน เชน่ ระเบยี บปฏิบัติ กฎหมาย พระราชบัญญตั ิ ทีเ่ ก่ียวกบั การ

จดั การศึกษา ซึ่งจะต้องมีการอบรม เก็บรักษาและออกแบบระบบการสืบคน้ ท่ีดีพอซ่ึงผู้บริหารสามารถสืบค้น

ขอ้ มูลมาใช้งานได้ทันทีตลอดเวลา การใช้นวัตกรรมแตล่ ะดา้ นอาจมีการผสมผสานท่ีซ้อนทับกนั ในบางเรือ่ ง ซึ่ง

จาเป็นต้องมีการพัฒนาร่วมกันไปพร้อมๆ กันหลายด้าน การพัฒนาฐานข้อมูลอาจต้องทาเป็นกลุ่มเพื่อให้

สามารถนามาใช้รว่ มกันได้อยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ

ข้นั ตอนในการหาประสิทธภิ าพของนวตั กรรมการเรียนการสอน

14

นวตั กรรมท่คี รูนกั วิจยั สร้างขน้ึ มีขนั้ ตอนในการหาประสทิ ธิภาพอยา่ งงา่ ยๆ ดังน้ี
1. การหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมเบ้ืองต้น ควรให้ผูเ้ ชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอนใน

วิชานั้นๆ ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาและการสื่อความหมาย โดยนานวัตกรรมที่สร้างข้ึน พร้อมแบบ
ประเมินท่ีมีแนวทางหรอื ประเด็นในการพจิ ารณาคุณภาพใหผ้ ้เู ชี่ยวชาญประเมินคณุ ภาพ

2. นาข้อมูลที่ได้จากข้อ 1 ซ่ึงเป็นข้อแนะนาจากผู้เชี่ยวชาญมาพิจารณาปรับปรุง แก้ไขหลัง
จาก นั้นจึงนานวัตกรรมท่ีสร้างขึ้นไปทดลองกับผู้เรียนกลุ่มเล็กๆ อาจเป็น 1 คน 3 คน 5 คน หรือ 10 คน
แล้วแต่ความเหมาะสม โดยให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมหรือฝึกปฏิบัติตามข้ันตอนทรี่ ะบุไว้แล้วมีการเก็บคะแนน
ระหว่างปฏิบัตแิ ละคะแนนหลงั การทดลองใช้นวัตกรรม เพือ่ หาประสิทธิภาพของนวัตกรรมตามหลกั การ

3. นาผลการทดลองใชน้ วตั กรรมจากผ้เู รียนกลุ่มเล็กตามข้อ 2 มาปรับปรงุ ข้อบกพรอ่ งอกี ครั้ง
หน่งึ ก่อนนาไปใชจ้ รงิ กบั กลุ่มนักเรยี นท่สี อน

การพสิ จู น์ประสทิ ธภิ าพของนวัตกรรมการเรียนการสอน
การหาประสิทธิภาพนวัตกรรมโดยทั่วไปจะใช้ทดลองกบั ผู้เรียนกลุ่มหนึ่งตามความเหมาะสม

ซ่งึ สามารถใชว้ ิธีการหาประสิทธภิ าพได้ดังต่อไปนี้
1. วิธีบรรยายเปรียบเทียบสภาพก่อนและหลังการใช้นวัตกรรมจากการทดลองใช้กับกลุ่ม

เล็กๆ โดยมีการบันทึกหรือเก็บข้อมูลที่ได้จากการวัดผลผู้เรียนด้วยเครื่องมือต่างๆ ท้ังก่อนและหลังการใช้
นวัตกรรมแล้วจงึ นาข้อมูลเหลา่ น้ันมาประกอบการบรรยายเชิงคณุ ภาพเพื่อแสดงใหเ้ ห็นว่าหลงั การใช้นวัตกรรม
แลว้ ผู้เรียนมีการพัฒนาเพมิ่ ข้นึ เปน็ ที่นา่ พอใจมากน้อยเพียงใด

2. วิธีนิยามตัวบ่งช้ีที่แสดงผลลัพธ์ที่ต้องการ แล้วเปรียบเทียบข้อมูลก่อนใช้กับหลังใช้
นวัตกรรม เช่น กาหนดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ (ว 306) เร่ือง พลังงานไฟฟ้า ไว้เป็นร้อยละ
60 แสดงว่าหลังจากใช้นวัตกรรมแล้วนักเรียนทุกคนทเ่ี ป็นกลุ่มทดลองจะต้องผ่านเกณฑ์ท่ีกาหนดไว้คือร้อยละ
60 จงึ จะถอื วา่ นวตั กรรมนัน้ มปี ระสทิ ธิภาพ

3. วิธีคานวณหาอัตราส่วนระหว่างร้อยละของจานวนนักเรียนที่สอบแบบทดสอบอิงเกณฑ์
ผ่านเกณฑ์ทกี่ าหนดไว้ (P1) ต่อ รอ้ ยละของคะแนนเตม็ ที่กาหนดเกณฑก์ ารผา่ นไว้ (P2) เช่น P1 : P2 = 80 : 60
หมายความว่ากาหนดเกณฑ์การผ่านไว้แล้ว ต้องมีจานวนผู้เรียน 80% ของจานวนผู้เรียนท้ังหมดผ่านเกณฑ์
(P1) และตอ้ งผ่าน 60% ของจานวนคะแนนเต็ม (P2) จงึ จะมปี ระสทิ ธภิ าพ

4.วิธีหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมโดยใช้สูตร E1 / E2 การหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม
โดยวิธีน้ี ผู้สร้างนวัตกรรมจะต้องกำหนด E1 และ E2 ไว้ล่วงหน้าก่อนทดลองนวัตกรรม เช่น 80/80 หรือ
90/90 โดยทว่ั ไปนิยมกำหนดเกณฑ์อยู่ในชว่ ง 70% - 90% ทัง้ นี้แลว้ แตค่ วามเหมาะสมของนวตั กรรมและการ
วัดความสามารถของผู้เรียนโดยที่ E1 คือ ค่าเฉล่ียร้อยละของคะแนนเต็มระหว่างการปฏิบัติจากการใช้
นวัตกรรม (Process) E2 คือ คา่ เฉลี่ยรอ้ ยละของคะแนนเตม็ หลังการใช้นวตั กรรม (Outcome)

ขน้ั ตอนท่ี 4 การเลอื กประเภทของการวิจยั
ในช้นั เรียนครสู ามารถนำประเภทของการวิจยั (Research Type) มาใช้ในชนั้ เรียนได้หลากหลายแบบ

ตามเปา้ หมายของการคน้ หาคำตอบเกีย่ วกับตวั แปรตา่ งๆ ของผู้เรียนเพื่อนำมาใช้บรรยาย อธิบาย ทำนาย และ

15

ควบคุม ซึง่ แตล่ ะประเภทมลี กั ษณะสำคัญรว่ มกันคือ มีระเบียบวิธกี ารทเี่ ป็นขนั้ ตอน กระบวนการท่ีทำ
อย่างเป็นระบบ ทำอย่างต่อเนื่อง ตรวจสอบยืนยันผลได้ มีความน่าเชื่อถือ หรือท่ีเรียกว่าใช้ “วิธีการทาง
วิทยาศาสตร์ (Scientific Method)”
ข้ันตอนท่ี 5 การกำหนดตวั อย่าง (Sampling Design)

ประเภทของการสุม่ (ใช้ความนา่ จะเป็น/มีวตั ถุประสงคเ์ พ่ือนำผลการวจิ ัยไปอนมุ านถึงประชากร)
1. การสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เป็นวิธีท่ีประชากรแต่ละหน่วยมีโอกาสถูกสุ่มมา
เปน็ กลุ่มตวั อย่างเท่าๆ กัน ประชากรจะต้องกำหนดเฉพาะลงไปวา่ เป็นกลมุ่ ใด การสมุ่ แบบน้ีจะต้องกำหนดเลข
ลำดบั ใหก้ บั ประชากรแตล่ ะหนว่ ย
2. การสุ่มอย่างเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) วิธีนี้เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยการอ่าน
ข้ามทีละ n คน โดยจะต้องสุม่ เลขเร่มิ ตน้ ใหไ้ ดเ้ สียก่อน ซึ่งวธิ นี ี้จะคล้ายกับการสุม่ อยา่ งง่าย
3. การสุ่มแบบแบ่งช้ัน (Stratified Random Sampling) เป็นวิธีท่ีผู้วิจัยสามารถแบ่งประชากร
ออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้แน่นอน มีประโยชน์ช่วยให้ผวู้ ิจัยมีความมั่นใจวา่ คุณลกั ษณะหรือตัวแปรท่ีสนใจศึกษาท่ี
อย่ใู นประชากรนั้น กม็ อี ยู่ในกลุ่มตัวอย่างในสัดส่วนที่เทา่ กัน
4. การสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster (Area) Random Sampling) เป็นวิธีท่ีผู้วิจัยใช้ในการแบ่ง
ประชากรออกเป็นกลุ่มตามเขตพ้ืนที่ (area) ซึ่งในแต่ละเขตพื้นท่ีจะมีประชากรที่มีคุณลักษณะท่ีต้องการ
กระจายกันอยู่อย่างเท่าเทียมกัน แล้วสุ่มกลุ่มมาจำนวนหนงึ่ ด้วยวิธีการสุ่มทเ่ี หมาะสม
5. การสุ่มแบบหลายขน้ั ตอน (Multi - Stage Sampling) มวี ิธีการสมุ่ 4 แบบท่ีอธิบายไว้แล้ว คือ การ
สุ่มอย่างงา่ ย การสุ่มอย่างมีระบบ การสุม่ แบบแบง่ ชัน้ และการสุ่มแบบแบ่งกลมุ่ ในการทำวิจัยจรงิ ๆ เราอาจจะ
ใช้วิธีการสุ่มท่ีซับซ้อนมากกว่าน้ี โดยหลักแลว้ จะต้องพิจารณาวิธีการสุม่ ทั้ง 4 แบบน้ีมาใช้ให้ไดป้ ระโยชน์สูงสุด
เพ่อื ใหไ้ ด้กลุม่ ตัวอย่างที่ผู้วจิ ัยตอ้ งการอย่างแท้จริง
ประเภทของการเลือก (ไม่ใช้ความน่าจะเป็น/ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพ่ือนำผลการวิจัยไปอนุมานถึง
ประชากร ผลการวิจยั ขึน้ อยู่กับบริบททีศ่ ึกษาเทา่ นั้น มักใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ)
1. การเลือกตัวอย่างแบบสะดวกสบาย (Convenience หรือAccidental Sampling) เป็นการเลือก
แบบไม่มีกฎเกณฑ์ อาศัยความสะดวกของผู้วิจัยเป็นหลัก กลุ่มตัวอย่างจะเป็นใครก็ได้ท่ีให้ความร่วมมือกับ
ผู้วิจยั ในการใหข้ อ้ มลู บางอย่าง
2. การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive หรือ Judgmental Sampling) เป็นการเลือกกลุ่ม
ตัวอย่างที่จะเป็นใครก็ได้ที่มีลักษณะตามความต้องการของผู้วิจัย โดยอาจจะกำหนดเป็นคุณลักษณะ
เฉพาะเจาะจงลงไป
3. การเลือกตัวอย่างแบบโควตา (Quota Sampling) เป็นการเลือกตัวอย่างโดยกำหนดคุณลักษณะ
และสดั ส่วนทต่ี อ้ งการไว้ลว่ งหนา้
4. การเลือกตัวอย่างแบบลูกโซ่ (Snowball Sampling) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยอาศัยการ
แนะนำของหนว่ ยตัวอย่างท่ีไดเ้ ก็บข้อมลู ไปแลว้
สาหรบั งานวิจัยชั้นเรยี น ไม่นิยมศึกษากบั กล่มุ ตวั อยา่ งท่ไี ดจ้ ากการสุ่มเนื่องจากเป็นงานวจิ ัยท่ีเน้น

การพฒั นาผู้เรียนขณะทที่ าวจิ ยั ดงั นน้ั นักเรียนท่นี ามาใช้ในการวจิ ัยคือ นักเรยี นทเ่ี ปน็ “กลุ่มเป้าหมาย” ของ

การพัฒนา

ขนั้ ตอนที่ 6 การออกแบบเคร่ืองมอื วิจัย

16

สาหรับการวจิ ยั เพอ่ื พฒั นาการเรียนการสอน เคร่ืองมือวจิ ัยทใ่ี ช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจะสอดคล้อง

กับลักษณะการประเมินตามสภาพจริงใช้เคร่ืองมือท่ีหลากหลาย ได้แก่ แบบทดสอบ แบบสังเกตพฤติกรรม

แบบสมั ภาษณ์ แบบประเมินคุณภาพการปฏบิ ตั ิงาน ผลงานนักเรียน ฯลฯ

การสรา้ งเครอ่ื งมอื และตรวจสอบคณุ ภาพเครอ่ื งมอื วิจยั
หลกั เกณฑ์การพจิ ารณาการเลอื กเครอื่ งมือ/วธิ กี ารเก็บข้อมูล (สุวมิ ล ว่องวาณชิ , 2545) มีดงั น้ี
1. กลมุ่ ผูท้ ่ีถกู วดั /ทดสอบ/ประเมิน
2. พฤตกิ รรมหรือลกั ษณะท่มี ่งุ วัด
3. จำนวนผใู้ ห้ข้อมูล
4. ลกั ษณะข้อมูลที่ตอ้ งการใชใ้ นการวจิ ัย
5. ช่วงเวลาในการทำวจิ ยั
6. ประเดน็ วิจยั
สง่ิ สำคัญท่ีเกีย่ วข้องกับการสรา้ งและตรวจสอบคณุ ภาพเคร่อื งมอื วิจัย
1. การนิยามตัวแปรที่ต้องการวัด อาจเป็นการนิยามตามทฤษฎีหรือการนิยามเชิงปฏิบัติการามเชิง
ปฏบิ ตั ิการท่เี ฉพาะนำมาใช้ในการวิจยั คร้ังนนั้ ๆ
2. การเขียนชือ่ เคร่ืองมอื วจิ ยั ใหส้ อดคลอ้ งกบั ลกั ษณะของข้อมูลทต่ี อ้ งการ
3. ขั้นตอนการสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย อาจแสดงเป็นลำดับข้อ หรือแผนภาพ (Flow Chart)
แสดงแตล่ ะขนั้ ทีเ่ กีย่ วโยงกนั
4. การตรวจสอบคุณภาพของเคร่ืองมอื วิจัย คุณลักษณะสำคญั ของเครือ่ งมือคือตอ้ งเชื่อถอื ไดแ้ ละให้
ข้อมูลทถ่ี ูกตอ้ ง แบ่งเปน็ 2 ระยะ ดังน้ี
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือก่อนนำไปใช้ เป็นการตรวจสอบความตรง (Validity) ท่ีนิยมใช้ดัชนี
IOC (index of item-objective congruence) เป็นความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) พิจารณาเป็น
รายข้อโดยผู้เช่ียวชาญ จำนวนอย่างน้อย 3 ท่าน ค่า IOC แต่ละข้อต้องได้ 0.5 ข้ึนไป นอกจากนี้ต้องดูความ
เปน็ ปรนยั ของขอ้ ความว่าเข้าใจไดต้ รงกันหรือไม่ สำหรบั ครูในโรงเรยี นอาจกำหนดผเู้ ชย่ี วชาญภายในโรงเรียนที่
มีความรู้ความเช่ียวชาญในเนื้อหาและเครอ่ื งมอื ท่ีใชว้ ัดผลได้
การตรวจสอบคุณภาพเคร่ืองมือหลังนำไปทดลองใช้ (pilot study) เป็นการตรวจสอบความเที่ยง/
ความเชื่อมั่น (Reliability) ของเครื่องมือท้ังฉบับ ด้วยการนำไปทดลองใช้ (Try out) กับกลุ่มอ่ืนท่ีไม่ใช่
กลุ่มเป้าหมายแต่มีลกั ษณะท่ีใกล้เคียงกัน จำนวนอย่างนอ้ ย 30 คน สำหรับแบบทดสอบจำเป็นต้องมคี วามยาก
ง่าย และอำนาจจำแนกของขอ้ สอบรายขอ้ ด้วย
หมายเหตุ หากมีการยืมเคร่ืองมือนั้นจากหน่วยงานอื่นหรือจากนักวิจัยอ่ืน ต้องมีการแสดงหลักฐาน
การขออนุญาตการใช้เครือ่ งมือ และควรมีการตรวจสอบคุณภาพของเคร่ืองมือซ้ำอีกคร้ังว่ามีความเหมาะสมที่
จะนำมาใช้ในงานวจิ ัยของตนมากนอ้ ยเพียงใด
เกณฑ์พจิ ารณาคณุ ภาพเคร่อื งมอื วจิ ยั
ความตรงเชิงเนอ้ื หา ใช้ค่า IOC รายขอ้ ควรได้ 0.5 ขึน้ ไปค่าความเท่ยี ง/ความเชื่อม่นั (Reliability) ท้ัง
ฉบับ ควรได้ 0.7 ขึ้นไปการตรวจสอบคุณภาพของเครอ่ื งมือวิจัยประเภท แบบทดสอบ แบบวัด แบบประเมิน
โดยอาศัยผเู้ ช่ยี วชาญ สงิ่ ท่ตี อ้ งจดั เตรียมมีดงั น้ี
1. เค้าโครงการวิจัย (ช่ือเร่ืองวิจัย ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขต
นยิ ามศัพท์ ประโยชน์ กรอบแนวคดิ การวิจัย วิธดี ำเนินการวิจัย เปน็ ต้น)
2. คำอธิบายเกี่ยวกบั การตรวจสอบวา่ ตอ้ งการให้ผู้เชยี่ วชาญทำอะไร อย่างไร

17

3. ตารางโครงสรา้ งเน้ือหา (table of specification) และตารางแสดงวา่ ข้อคำถามแต่ละขอ้ มุ่งวดั ตัว
แปรใด

การเกบ็ รวบรวมข้อมลู ของการวจิ ยั ช้ันเรียน
การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นอีกข้ันตอนหนึ่งซ่ึงมีความสำคัญในการวิจัย เพราะถ้าเก็บข้อมูลได้ถูกต้อง
สมบูรณ์จะทำให้ผลการวิจัยมีความถูกต้องและมีความน่าเช่ือถือได้มากเช่นกัน ซ่ึงแนวทางการเก็บรวบรวม
ขอ้ มูลมีดังตอ่ ไปน้ี
1. บันทึกการทำงาน (Field Note) เป็นการเขียนบันทึกส่ิงต่างๆที่พบเห็นขณะจัดการเรียนการสอน
ตามท่ีกำหนดไว้ในแผนการวิจยั บนั ทกึ น้ีเป็นหลกั ฐานที่ดกี ว่าและชดั เจนกว่าการจำในสมอง
2. บนั ทึกเหตุการณ์ (Logs) เป็นการเขียนบันทกึ เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นตามลำดับกอ่ นหลังอย่างเป็น
ระบบ
3. บันทึกความเห็น (Journals) เมื่อคุณครูได้พูดคุยกับเพื่อนครูหรือผู้ท่ีเกี่ยวข้องอ่ืนๆก็สามารถเขียน
สรุปความคดิ เหน็ นัน้ ไวไ้ ด้เช่นกนั
4. บันทึกประจำวัน (Diaries) เป็นการเขียนบันทึกความคิดเห็นของตนเองต่องานที่ทำว่าเป็นอย่างไร
คณุ ครูควรบันทกึ ประจำวันใหไ้ ดม้ ากท่สี ดุ เทา่ ท่จี ะทำได้
5. การบอกเล่า (Verbal Report) หรือการรายงานด้วยการพูด เป็นกระบวนการคิดท่ีมีเสียงดัง
(Think around) คือ เม่ือคุณครูขอให้ใครสักคนทำในบางสิ่งบางอย่าง คุณครูก็จะเล่าสิ่งนั้นให้เขาฟัง การทำ
อย่างนี้จะทำให้คุณครูเองและผู้ท่ีฟังระมัดระวังตัวมากขึน้ ท้ังในการอธิบายหรือให้ข้อเสนอแนะ น่ันหมายถึง
ตอ้ งคิดอย่างรอบคอบก่อนพูดออกมาน่ันเอง เมื่อได้มีการบอกเล่าแล้วคุณครกู ็อาจนำไปบันทึกความเห็นหรือ
บันทกึ ประจำวนั ดว้ ยก็ได้
6. การสังเกตการสอน (Observation) คุณครูสามารถทำได้ตลอดเวลา แต่ต้องทำอย่างรัดกุมชัดเจน
ควรระบุให้ชัดวา่ ตอ้ งสงั เกตอะไร
7. แบบสอบถาม (Questionnaires) ไม่ควรมีคำถามยาวมากเกินไป เพราะนักเรียนจะเบื่อ คำถาม
ง่ายๆส้นั ๆ เพียง 1-2 คำถาม อาจได้ขอ้ มูลจากนกั เรียนมากมาย
8. การสัมภาษณ์ (Interview) อาจเป็นเรื่องงา่ ยที่สดุ ในการเกบ็ ขอ้ มูลก็ได้ ไม่ต้องเปน็ ทางการมาก แต่
จะเป็นการดีหากคุณครูมีการเตรียมคำถามไว้ล่วงหน้า วิธีการคือ คุณครูอาจใช้เวลาสัก 10 นาที พูดคุยกับ
นกั เรยี นกลุ่มเลก็ ๆเกี่ยวกบั ความเปลี่ยนแปลงท่คี รูทำขน้ึ ในชั้นเรยี น
9. กรณีศึกษา (Case Studies) เป็นการดูนักเรียนเป็นรายบุคคล ค้นหาศักยภาพท่ีนักเรียนมี หรือ
คน้ หาวิธกี ารแก้ปญั หาหรอื พัฒนาใหน้ ักเรียนได้รบั การพฒั นาตามศักยภาพมากทีส่ ุด

ขนั้ ตอนท่ี 7 การเลือกวิธกี ารวเิ คราะห์ข้อมูล
ส่งิ สำคัญที่ต้องพิจารณาคือ ข้อมูลท่ีเก็บรวบรวมมาน้ันเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ (ตัวเลข) หรือขอ้ มูลเชิง

คุณภาพ (คำสมั ภาษณ์ ผลการสังเกต) เม่อื แยกได้แล้วก็ดำเนินการวิเคราะห์เพ่อื ตอบวตั ถุประสงค์ของการวจิ ัย
หรอื รายงานผลแต่ละส่วนของการพฒั นาผู้เรยี นให้สอดคล้องกับลกั ษณะขอ้ มูล

สถิติที่ใช้สำหรบั ขอ้ มลู เชงิ ปรมิ าณ
กลุ่มท่ี 1 สถิติบรรยาย (Descriptive Statistics) เช่น คา่ เฉล่ีย ความเบ่ียงเบนมาตรฐาน ความถ่ี ร้อย
ละ สถติ วิ ดั ความสมั พนั ธ์ เป็นสถิติพ้ืนฐานท่ตี อ้ งใชก้ บั การวิจัยเกือบทุกเรือ่ ง
กลุ่มที่ 2 สถิติอ้างอิง (Inferential Statistics) หรือสถิติอนุมาน เป็นสถิติที่ใช้สรุปค่าสถิติไปยัง
ค่าพารามิเตอร์ ใช้ในกรณีทำการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง โดยมากจะใช้ในการทดสอบสมมุติฐานท่ีนักวิจัยต้ังไว้

(Hypothesis Testing) หรือ การทดสอบความมีนยั สำคญั ทางสถติ ิ (Test of Significance) 18

หลักการเลือกสถิติให้เหมาะสม

1. วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพ่ือบรรยายข้อมูล (กรณีทำกับประชากรทั้งหมดใช้สถิติบรรยาย) หรือ

สรุปอ้างอิงจากกลุ่มตัวอย่างไปยังค่าประชากร (กรณีทำการวิจัยกับกลุ่มตัวอยา่ งต้องใช้สถิติบรรยายและสถิติ

อ้างอิง)

2. จำนวนกลุม่ ตัวอย่างท่ีใช้มกี ี่กลุม่

3. ข้อมูลทเี่ ก็บรวบรวมมาอยู่ในระดบั ใด นามบญั ญัติ เรยี งอันดับ อนั ตรภาค อัตราสว่ น

4. ตวั แปรทีใ่ ชม้ ีกตี่ ัวแปร

การนำเสนอขอ้ มูลเชิงปรมิ าณ

1. การนำเสนอโดยใชก้ ราฟแสดงแนวโน้ม

2. การนำเสนอการเปรียบเทียบข้อมลู โดยใชแ้ ผนภูมแิ บบตา่ งๆ

การวเิ คราะหข์ อ้ มูลเชิงคุณภาพ

โดยธรรมชาตลิ ักษณะของข้อมูลเชงิ คณุ ภาพท่ีวเิ คราะหแ์ ลว้ จะอยู่ในลกั ษณะคำบรรยาย จากขอ้ มูลท่ี

รวบรวมมาในรูปของคำบอกเล่า การสัมภาษณ์ บันทึกจากการสงั เกตของครู หรอื บันทกึ ของผเู้ รียน เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 8 การเขียนรายงานวจิ ยั
การรายงานผลการวิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอองค์ความรู้ให้เป็นระบบ ชัดเจนและเช่ือถือได้

สำหรับการวิจัยชนั้ เรียน (Classroom Research) มีหลกั การสำคัญคอื การแสดงหลกั ฐานหรอื ขอ้ มลู ประกอบ
เพ่ือใหเ้ ห็นท่ีมาของการสรุปผลการวจิ ัย ตัวอย่างหวั ขอ้ ท่ีเขยี นในรายงาน

2.6 การเผยแพรแ่ ละใชป้ ระโยชน์ผลงานวิจัยในช้ันเรียน
1. การเขยี นรายงานการวจิ ัย
รายงานการวิจัยเป็นการนำเสนอความรู้ ข้อค้นพบออกสู่สาธารณชน ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดประ

โยชน์ในวงกว้างแล้ว ยังแสดงถึงความรู้ ความสามารถเชิงวิชาการของครูโดยทั่วไปพบว่า มีการเขียนใน 2
รูปแบบ คือ

1.1 รายงานวิจัยแบบไม่เป็นทางการ ซึ่งเหมาะกับครูนักวิจัยในระยะเร่ิมต้นท่ียังมที ักษะในการวิจยั ไม่
มาก มุ่งเสนอข้อคน้ พบตามสภาพจริงทเ่ี กิดขึ้นมากกวา่ การยึดรูปแบบการเขียนรายงานวิจัยทีเ่ ป็นสากล ไม่เน้น
คำศัพท์ทางวิชาการ ประกอบด้วยประเดน็ สำคญั เช่น ช่อื เรอ่ื ง ช่ือผู้วจิ ัย ความเปน็ มาและความสำคญั ของปัญ

หาวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย ประโยชน์ท่ีได้รับจากการวิจัย ตัวแปรในการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย การ
วิเคราะห์ข้อมูล และผลการวิจยั การนำเสนองานวิจัยช้ันเรียนแบบไม่เป็นทางการ มีข้อดีในแง่ความต้องการใช้

ผลการวิจัยอย่างรวดเร็ว มงุ่ น าเสนอภาพความมีชีวติ ชีวาของชั้นเรียนจากผลการแกป้ ัญหาของครู อย่างไรก็ดี
ในการนำเสนอรายงานวิจัยแบบไม่เป็นทางการนี้มักพบจุดอ่อนที่ไม่แสดงหลักฐาน ข้ันตอนกระบวนการวิจัย
อย่างชัดเจน เพื่อยืนยันข้อสรุปจากการวิจัย อาจส่งผลต่อความน่าเช่ือถือและการนำผลวิจัยไปใช้ หากครูมี

ทักษะความชำนาญมากขึ้น ควรเขียนรายงานวิจัยในรูปแบบเป็นทางการ เพ่ือให้ ถูกต้องตามหลักการ เป็น
สากลในกลุ่มวิชาชีพมากข้ึนยกระดบั เปน็ งานวจิ ัยเชงิ วชิ าการไดเ้ ช่นกนั

1.2 รายงานวิจัยแบบเป็นทางการ มีลักษณะเหมือนรายงานวิจัยเชิงวิชาการทั่วๆ ไป ท่ีใช้กันในหมู่
นักวจิ ยั มักนำเสนอในรปู 5 บท คือ

บทที่ 1 บทนำ

- ความเปน็ มาและความสำคญั ของปญั หาวิจยั

19

- วตั ถปุ ระสงคก์ ารวิจยั
- ขอบเขตการวิจัย
- กล่มุ ประชากร/กลุ่มตวั อยา่ ง
- เน้ือหา
- ตวั แปร
- ระยะเวลา
- ประโยชนท์ ่ไี ดร้ ับจากการวจิ ัย
บทที่ 2 เอกสารท่ีเกยี่ วขอ้ งกบั การวจิ ัย
- แนวคดิ ทฤษฎที ่ีเก่ียวข้อง
- กรอบแนวคดิ ในการวิจัย
บทท่ี 3 วธิ ีดำเนนิ การวจิ ัย
- รปู แบบการวิจัย
- ขนั้ ตอนการดำเนินการ
- เครอื่ งมือการวิจยั
- การเกบ็ รวบรวมข้อมูล
- วิธีวิเคราะห์ขอ้ มูล
บทท่ี 4 ผลการวเิ คราะหข์ ้อมูล
บทท่ี 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
- สรุปผลการวจิ ัย
- อภิปรายผลการวิจยั
- ขอ้ เสนอแนะ
บรรณานกุ รม
ภาคผนวก
โดยสรปุ หลกั การเขียนรายงานการวจิ ัยท่ีดี ครนู ักวิจัยควรตระหนักถึงความสอดคล้องเช่ือมโยงกันของ
เน้ือหาสาระ แสดงหลักฐานท่สี ะท้อนการแสวงหาความรู้ เป็นกระบวนการ เป็นระบบ สาระท่นี ำเสนอจะต้อง
เป็นข้อเท็จจริง ไม่บิดเบือน ตรงไปตรงมา ตอบค าถามการวิจัยตรงตามวัตถุประสงค์การวิจัย โดยใช้ภาษาที่
อ่านเข้าใจได้ง่าย ไมว่ กวน ชัดเจน ก่อให้เกดิ สารสนเทศท่ีมีคุณค่าต่อการน าไปใช้ปรับปรุงหรือพฒั นาผู้เรยี นได้
แท้จริง
2. คุณภาพของงานวจิ ัยในชน้ั เรียน
คณุ ภาพของงานวิจัยในช้ันเรียนอยู่ท่ีกระบวนการวิจัยและคุณค่าของข้อค้นพบโดยมุ่งด าเนินงานให้
สอดคล้องกับสภาพการเรียนการสอนตามธรรมชาติจริง โดยไม่มุ่งควบคุมสถานการณ์ห้องเรียน และมีเป้า
หมายต่างจากวิจัยเชิงวิชาการ (Academic Research) ดังนั้นการประเมินคุณภาพงานวิจัยในช้ันเรียนจึงไม่
เหมาะสมในการนำมาตรฐานการวิจัยเชิงวิชาการมาใชต้ ัดสินประเมิน อย่างไรก็ดีงานวจิ ยั ช้ันเรียนท่ีมีมาตรฐาน
ควรมีลกั ษณะสำคญั สรุปได้ดังนี้
2.1 สร้าง ผลิตความรู้ใหก้ ับสาขาวิชา
2.2 มีความเหมาะสมในแง่การแสวงหาความรู้ โดยมคี ำถามการวจิ ัยนำไปสู่การวางแผนออกแบบเพื่อ
หาคำตอบ
2.3 วิธกี ารรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะหข์ ้อมลู เป็นไปอยา่ งมปี ระสทิ ธิผล

20

2.4 คุณค่าของการศกึ ษาค้นควา้ น าไปสู่การปรบั ปรุงการปฏิบตั ิทางการศกึ ษา
(คณุ คา่ ภายนอก) และมจี รรยาของการวจิ ยั (คุณค่าภายใน)

2.5 สามารถสรุปผลโดยรวมให้ เปน็ ทเ่ี ข้าใจได้ โดยมีความสมดุลระหว่างคุณภาพของเทคนิควิธีการ
คณุ ค่าการศึกษาคน้ ควา้ กบั ข้อผดิ พลาดท่ีเกดิ ขน้ึ และคำนงึ ถึงการใช้ความรูเ้ ชงิ ทฤษฎีมาอธบิ ายข้อมูล

บทที่ 3
วธิ ีดำเนินงานกิจกรรม

กจิ กรรมส่งเสรมิ ให้ครศู ึกษาและพัฒนางานวิจัย ปกี ารศึกษา 2564 จดั ขึ้นท่โี รงเรยี นสวุ รรณาราม
วิทยาคม โดยมีขนั้ ตอนดำเนนิ งานต่าง ๆ ดังน้ี

3.1 ขนั้ ตอนการดำเนนิ กจิ กรรม
ขน้ั เตรียมงาน (PLAN)

1. กำหนดจุดมุ่งหมายการพัฒนางานวิจัยส่ือและนวัตกรรม ให้การวิจัยในช้ันเรียนเป็นการพัฒนา
ทางเลือกในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพได้อย่างเหมาะสมเกิดประสิทธิผล มีประสิทธิภาพท่ีสุดในชั้น
เรยี น

2. กำหนดวิธีการหาข้อมูล ศึกษาปัญหาอุปสรรค และประเด็นท่ีต้องพัฒนา ได้แก่ การเข้าเยี่ยมช้ัน
เรียน การสงั เกต ปรึกษาหารือ ประเมนิ ผลงานทางวิชาการของโรงเรียน

3. เครื่องมือท่ีใช้ในการประเมินงานวิจัยในชั้นเรียน ได้แก่ แบบนิเทศแผนการจัดการเรียนรู้แบบ
รายงานการใช้สื่อนวตั กรรม แบบประเมนิ งานวิจัยในช้ันเรยี น แบบบันทึกการส่งงานวิจยั

4. ประชุมกรรมการเพื่อวางแผนการดำเนนิ งาน
ขัน้ ดำเนนิ การ (DO)

1. สำรวจปญั หาที่พบในการจดั การเรียนรู้ และแนวทางการพัฒนาการจดั การเรยี นรขู้ องครู
2. ครูดำเนนิ การแก้ปญั หาในชั้นเรียนโดยใชก้ ารวิจัยในใชเ้ รียน
3. ติดตามผลการดำเนนิ การ
4. ครูจัดทำรายงานวิจัยในชั้นเรียน
ขน้ั ตรวจสอบ ( CHECK)
1. ประเมินจากแบบบนั ทึกผลการการรายสอื่ นวตั กรรม
2. สรปุ รายงานผลการดำเนนิ งานการสร้างส่ือนวตั กรรมและวิจยั ในช้ันเรียนโดยหวั หนา้ กลุ่มสาระ ฯ
ของแตล่ ะกลมุ่ สาระ ฯ
ข้ันรายงาน (ACTION)
1. สรุปรายงานผลการดาเนินงาน

2. นำผลการประเมนิ มาปรับปรงุ พัฒนาตอ่ ไป

บทท่ี 4
ผลการประเมินกิจกรรม

4.1 การประเมนิ กิจกรรม

รายการประเมิน ระดบั คะแนน
5 4321

1. ดา้ นสภาพแวดลอ้ มของกิจกรรม/กิจกรรม

1.1 กจิ กรรม/กจิ กรรมสอดคล้องกับวิสยั ทัศนข์ องโรงเรียน 

1.2 กิจกรรม/กิจกรรมสอดคลอ้ งกบั นโยบาย เป้าหมายของโรงเรียน 
1.3 กจิ กรรม/กิจกรรมสอดคล้องกบั มาตรฐานคุณภาพการศกึ ษา 
2. ดา้ นความพอเพียงของทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินกจิ กรรม

2.1 ความเหมาะสมของงบประมาณ 
2.2 ความพอเพยี งของวัสดุ อุปกรณ์ 

2.3 ความเหมาะสมของสถานท่ี ท่ีใช้ดำเนนิ งาน 

2.4 ความพึงพอใจของบุคลากร 
2.5 ความร่วมมอื ของบคุ ลากรในการดำเนินงาน 
3. ดา้ นความเหมาะสมของกระบวนการจัดกจิ กรรม/กิจกรรม

3.1 ความเหมาะสมของระยะเวลาดำเนนิ งานแต่ละกิจกรรม 

3.2 วิธกี าร/กิจกรรมทปี่ ฏบิ ตั ใิ นแต่ละขนั้ ตอนสอดคลอ้ งกับเป้าหมาย 
4. ดา้ นความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเปา้ หมายในการจัดกจิ กรรม

4.1 ปฏิบตั ิกจิ กรรมได้ครบถว้ นตามลำดบั ทก่ี ำหนด 

4.2 ผลการดำเนินงานบรรลตุ ามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม/กิจกรรม 
4.3 ผลการดำเนินงานบรรลุตามเปา้ หมายทต่ี งั้ ไว้ 

รวม 40 20

รวม (ผลรวมทกุ ชอ่ ง) 60

คา่ เฉลี่ยคะแนนการประเมินผลการบริหารโครงการ (คะแนนผลรวม ÷ 13) = 4.62

คะแนนเฉล่ีย 4.00 - 5.00 แสดงวา่ การดาเนินงานอย่ใู นระดบั ดมี าก

คะแนนเฉล่ีย 3.00 - 3.99 แสดงวา่ การดาเนินงานอยใู่ นระดบั ดี

คะแนนเฉลย่ี 2.00 - 2.99 แสดงวา่ การดาเนนิ งานอย่ใู นระดับ พอใช้

คะแนนเฉลีย่ 1.50 - 1.99 แสดงวา่ การดาเนินงานอยู่ในระดบั ควรปรับปรุง

คะแนนเฉลี่ย 1.00 - 1.49 แสดงวา่ การดาเนินงานอยู่ในระดบั ควรปรบั ปรุงเรง่ ดว่ น

สรุปผลการประเมินกจิ กรรม/กิจกรรม

 ระดับดมี าก  ระดบั ดี  ระดบั พอใช้  ระดับปรบั ปรงุ

4.2. สรุปผลการประเมนิ

ผลการประเมินกิจกรรมหลังการดำเนินงานโดยรวมเฉลี่ยทุกด้านอยูใ่ นระดับ…ดีมาก….และมีคะแนน

เฉลยี่ ในแต่ละด้านดังนีค้ อื

1) การดำเนินงานตามวัตถุประสงค์

- ตรงตามวตั ถปุ ระสงค์ รอ้ ยละ…100….. 23
2) ผลการปฏบิ ัติงาน
ร้อยละ
……เปน็ ไปตามแผนทก่ี ำหนด………………. 0
3) การใชจ้ ่ายงบประมาณ 0
0
…………………………………………………………………………………………..

จำนวนและรอ้ ยละของคา่ ใชจ้ ่ายงบประมาณ

ท่ี รายการคา่ ใช้จา่ ย จำนวนเงนิ
ทต่ี ัง้ ไว้ ทใี่ ชไ้ ป
1 กิจกรรมส่งเสริมใหค้ รศู ึกษาและพฒั นางานวจิ ัย 23,600 -
ค่าวสั ดอุ ุปกรณ์สำหรบั จัดทำ/เอกสารสรุป
รายงานวจิ ยั ในชน้ั เรียน 5,400 -

2 งานนทิ รรศการเปิดโลกผลงานวิจยั และ
นวัตกรรมของข้าราชการครแู ละบุคลากร
ทางการศกึ ษา ปกี ารศึกษา 2564

รวม - -
การดำเนนิ การเบกิ จ่ายเงิน
( ) ตรงตามท่ปี ระมาณการไว้
( ) ไม่ตรง ตามท่ปี ระมาณการไว้
(  ) ไม่ได้ใช้เงินตามท่ปี ระมาณการไว้

4) การประเมินผลกจิ กรรม ร้อยละ …100……..

5) ผลสำเร็จของการปฏิบตั งิ าน
- ผลสำเร็จของการปฏบิ ตั งิ าน ร้อยละ…100………

บทที่ 5
สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ

การดำเนนิ งาน โครงการวิจัยส่ือนวตั กรรม ปกี ารศึกษา 2564 โดยมีผลการดำเนนิ งาน ดังนี้

5.1 สรุป อภิปรายผลและขอ้ เสนอแนะ
สรปุ ผลการประเมนิ
ผลการประเมินกจิ กรรมหลังการดำเนินงานโดยรวมเฉลี่ยทกุ ดา้ นอยใู่ นระดบั ดมี าก และมี

ค่าเฉลย่ี ในแต่ละด้านดังน้ีคือ
1.ดา้ นประสิทธผิ ล
1.1 เชิงปรมิ าณ
1) ครูโรงเรียนสวุ รรณารามวิทยาคมร้อยละ 98.61 นำปัญหาท่ีพบในช้นั เรียนมาหาวิธีการ

แกไ้ ขปัญหาอย่างมีระบบผ่านกระบวนการทำวิจยั ในช้ันเรียน มีการพัฒนากระบวนการจดั การเรยี นรูข้ องตนเอง
เพอ่ื ใหเ้ กดิ ประสิทธภิ าพสงู สุด และตอบสนองตอ่ ความแตกตา่ งระหว่างบคุ คลของผูเ้ รยี น มีการออกแบบการวัด
และประเมนิ ผลผู้เรียนด้วยวิธกี ารท่ีหลากหลายและเหมาะสมกับผู้เรยี นมากขน้ึ

2) นักเรยี นโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ร้อยละ 100 มีคณุ ภาพตามศกั ยภาพ
1.2 เชิงคุณภาพ

1) ครูมีความรู้เข้าใจให้ความสำคัญต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน และนำผลการทำวิจัยในชั้น
เรยี น มาปรบั ปรงุ การเรียนการสอนใหม้ ปี ระสิทธภิ าพมากขึ้น

2) นกั เรียนได้รบั ความประสบการณ์ท่ีดจี ากครูและมผี ลการเรยี นดขี น้ึ
5.2 ปัญหาและอุปสรรค

1) มผี เู้ ช่ียวชาญในการตรวจผลงานวิจยั ในชน้ั เรียนของครูน้อย
2) ไม่สามารถดำเนินงาน การประกวดวิจัยส่ือนวัตกรรม ในงานนิทรรศการเปิดโลกผลงาน
วิจัยและนวัตกรรมของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564 เน่ืองจาก
สถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรคตดิ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) จงึ ดังกล่าวได้

5.3 แนวทางในการแกไ้ ข
1) ควรมกี ารกำหนดเวลาทแ่ี นช่ ัดในการส่งผลงาน
2) ควรมีการแต่งตง้ั คณะกรรมการผเู้ ช่ียวชาญในการตรวจผลงานวิจัยในช้ันเรียน ในแต่ละ

กลมุ่ สาระการเรยี นรู้ก่อนส่งมายังกลุ่มงานพัฒนาวจิ ัย สอ่ื นวตั กรรมเทคโนโลยีทางการศกึ ษา
5.4 ขอ้ เสนอสำหรับการดำเนนิ การกจิ กรรม

( ) ควรดำเนนิ การตอ่ เนื่องจากเกี่ยวข้องโดยตรงกับการพฒั นาครู สหู่ อ้ งเรียน
( ) ควรดำเนนิ การต่อแตต่ อ้ งปรับปรงุ ………………………………………………
( ) ยกเลิกการดำเนินงานในปีตอ่ ไปเน่ืองจาก.........................................
( ) อน่ื ๆ……………………………

เอกสารอา้ งองิ

ขจิต ฝอยทอง. (2544). “การวจิ ัยในชั้นเรียน : ทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจ”. , วารสารวชิ าการ, 3,(11)7.
คณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา, สำนักงาน. (2547). วิจยั แผน่ เดียว : เส้นทางสู่คุณภาพการอาชวี ศกึ ษา .

กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยและพฒั นาการอาชีวศกึ ษา.
ครรุ ักษ์ ภิรมยร์ กั ษ.์ (2543). เรียนรแู้ ละฝกึ ปฏิบัติการวิจัยในช้ันเรียน. ชลบรุ :ี งามช่าง.
ทศิ นา แขมมณ.ี (2538) . เส้นทางสู่งานวิจยั ในช้ันเรยี น. กรงุ เทพมหานคร : บพิธการพมิ พ์.
เทคนคิ นราธิวาส, วทิ ยาลัย. (2545). เอกสารประกอบการฝึกอบรมเชิงปฏิบัตกิ าร “การวิจยั ในชนั้ เรียน.

วิทยาลัยเทคนิคนราธวิ าส. (สำเนา).
พิมพนั ธ์ เดชะคุปต์ และ พะเยาว์ ยนิ ดสี ุข. (2549). ทกั ษะ 5C เพ่อื การพฒั นาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการ

เรยี นการสอนแบบบรู ณาการ.พิมพ์ครัง้ ที่ 3 กรงุ เทพมหานคร: โรงพิมพแ์ หง่ จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลัย.
รัตนา แสงบวั เผอื่ น. (2550). การวจิ ยั ในชั้นเรยี น ไมย่ ากอยา่ งท่ีคดิ . วารสารวิชาการ 10 ,(7)86-88.
วชิ าการ กระทรวงศกึ ษาธกิ าร. (2542).การวิจยั เพ่อื พัฒนาการเรียนรู้. กรงุ เทพมหานคร:การศาสนา.
สวุ มิ ล วอ่ งวาณิช. (2548). การวจิ ัยปฏบิ ัตกิ ารในชน้ั เรยี น. พมิ พ์ครง้ั ที่ 8. กรงุ เทพมหานคร : จฬุ าลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.
ศึกษาธิการ, กระทรวง, กรมวชิ าการ. (2543). การวจิ ัยในช้นั เรียน. กรุงเทพฯ : การศาสนา.
อนงคพ์ ร สถิตย์ภาคกี ุล. (2543). “5 คำถามนา่ รกู้ ับการวจิ ัยในชน้ั เรียน” .วารสารวิชาการ, 4,(7)63-64.
อุทุมพร จามรมาน.(2537). การวิจัยของคร.ู กรงุ เทพมหานคร : ฟันน่ี

ภาคผนวก

- ปฏิทนิ การติดตามการพัฒนาส่อื วิจยั ปกี ารศึกษา 2564
- บันทึกข้อความสรปุ ผลการตดิ ตามการส่งแบบรายงานการจัดทำสอื่ การสอน

ของครู

- ทำเนยี บรายงานการวิจัยปฏิบตั ิการในช้นั เรียน
- รายช่ือครผู ้ไู ด้รับการคัดเลือกงานวิจยั และนวตั กรรม ประจำปี 2564

ปฏทิ ินการติดตามการพัฒนาส่อื วิจยั ปกี ารศกึ ษา 2564



บนั ทกึ ข้อความสรุปผลการติดตามการส่งแบบรายงานการจดั ทำส่อื การสอนของครู







ทำเนียบรายงานการวจิ ยั ปฏบิ ตั ิการในช้นั เรยี น

ทำเนียบรายงานการวิจยั ปฏิบัตกิ ารในชัน้ เรียน
โรงเรยี นสวุ รรณารามวทิ ยาคม ปกี ารศึกษา 2564

ลำดบั ช่ืองานวจิ ัย ผู้วจิ ยั

ท่ี

1. กลมุ่ สาระการเรียนรูภ้ าษาไทย

1 การพัฒนาชุดการเรยี นด้วยตนเอง วชิ าวรรณคดไี ทย เร่ืองมหาชาตหิ รอื มหา นางสาวเกศนิ ี เท่ยี งชุดติ
เวสสันดรชาดก ของนกั เรยี นชนั้ มัธยมศกึ ษาปีที่ 4 โรงเรยี นสุวรรณารามวิทยาคม

2 การพฒั นาทกั ษะการอ่านเชงิ วเิ คราะห์โดยใชช้ ุดฝึก สำหรบั นกั เรียนช้ัน นางสาวอมรา ขอดสนั เทียะ
มธั ยมศกึ ษาปีที่ 6 โรงเรียนสุวรรณารามวทิ ยาคม

3 การพฒั นาแบบฝึกทกั ษะวชิ าภาษาไทยเร่อื งการสร้างคำ(คำประสม) ของนักเรยี น นางสาวรัชนี คตกฤษณ์
ช้ันมัธยมศึกษาปที ่ี 5 โรงเรยี นสุวรรณารามวทิ ยาคม

4 การพัฒนาความสามารถในการอา่ นจับใจความของนักเรยี นช้ันมธั ยมศึกษาปที ี่ 3 นางสาวปนดั ดา หงษ์ทอง
โดยใชว้ ธิ สี อนแบบ SQ3R รวมกับเทคนคิ ผงั ความคิด

การพัฒนาทักษะการอ่านจบั ใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคแผนที่ความคิด (Mind นายเชาวฒั น์ ดีดอม

5 Mapping) ของนักเรียนระดบั ชัน้ มัธยมศึกษาปที ่ี 2 โรงเรียนสวุ รรณาราม

วิทยาคม

การศกึ ษาผลการใช้แบบฝกึ เพอ่ื พัฒนาผลสมั ฤทธ์ิทางการเรยี นวชิ าภาษาไทยเรือ่ ง นางสาวนันทิดา กรับทอง

6 การสรา้ งคำในภาษาไทยของนักเรียนช้นั มัธยมศึกษาปที ่ี 1 โรงเรยี นสวุ รรณาราม

วิทยาคม

7 การศกึ ษาพฤติกรรม เรอ่ื ง นกั เรียนไม่สง่ งาน/ไมส่ ง่ การบ้านชองนักเรยี นช้ัน นางสาวมาลนิ ี ศรไี ชยแสง
มัธยมศึกษาปที ่ี 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศกึ ษา 2564

8 การแกไ้ ขปัญหาการอ่านจับใจความ โดยใช้การจัดการเรียนร้แู บบ KWKH PLUS นายธชั นนท์ วัชรโชติเสน่ห์ธาดา
ของนักเรยี นระดบั ชัน้ มัธยมศกึ ษาปที ่ี 3 โรงเรยี นสุวรรณารามวทิ ยาคม

2. กลมุ่ สาระการเรียนรู้คณติ ศาสตร์

1 การเปรียบเทยี บคะแนนสอบย่อยของนักเรียนชัน้ มัธยมศกึ ษาปีที่ 4 ห้อง 2 ท่ีได้ นายอิทธกิ ร ภสู่ าระ

จากการเรยี นแบบปกติกบั การเรยี นแบบหอ้ งเรยี นกลับด้าน

2 การศกึ ษาเปรยี บเทียบผลการสอบกอ่ นเรียนและการสอนหลังเรยี นโดยใช้ชุด นายธรี ะ ล้ีศิริสรรพ์

เอกสารประกอบการเรียนเรอ่ื งลำดบั และอนุกรม ของนักเรยี นชนั้ มัธยมศึกษาปที ่ี

5 โรงเรยี นสุวรรณารามวทิ ยาคม

3 การเปรยี บเทยี บผลสัมฤทธ์ิทางการเรยี นรู้ระหวา่ งสอนโดยใช้ทกั ษะ/กระบวนการ นายสรณ ปัทมพรหม

แกป้ ญั หา กบั การสอนปกตใิ นวชิ าคณิตศาสตร์ 6 เรอื่ ง สถิต ของนักเรยี นชั้น

มธั ยมศึกษาปที ่ี 6 โรงเรยี นสุวรรณาราม

4 การแกป้ ญั หาการเรยี นวชิ าคณติ ศาสตร์ เร่ืองการเขยี นจำนวนเตม็ ให้อยู่ในรูปเลข นางสาวชลธริ า เมอื งใจ

ยกกำลัง ของนกั เรียนช้ันมธั ยมศกึ ษาปีท่ี 1 โรงเรียนสุวรรณารามวทิ ยาคม โดย

การ สอนซอ่ มเสรมิ ด้วยชุดการเรียน

5 ศกึ ษาผลสัมฤทธทิ์ างการเรียนวชิ าคณติ ศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัว นางจติ ติมา ยศเรอื งสา

แปร โดยวิธีการจดั การเรยี นรดู้ ว้ ยเทคนิค KWDL ของนกั เรียนชั้นมธั ยมศกึ ษาปีท่ี

3

ลำดบั ชอ่ื งานวิจัย ผวู้ ิจัย

ท่ี

6 การศึกษาเปรยี บเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ชดุ เอกสารประกอบการ นางสาวอรนุช เทพอคั รพงศ์

เรยี น เรือ่ งกราฟและความสมั พนั ธเ์ ชิงเส้น ของนักเรียนชัน้ มธั ยมศกึ ษาปที ่ี 6

โรงเรยี น สวุ รรณารามวิทยาคม

7 การศึกษาเปรยี บเทยี บผลสมั ฤทธิ์ทางการเรยี นโดยใช้ชดุ เอกสารประกอบการ นายชวลติ สงิ ห์โต

เรียน เร่อื งลำดบั และอนุกรม ของนกั เรียนระดบั ชั้นมัธยมศกึ ษาปีที่ 5 โรงเรยี น

สวุ รรณารามวิทยาคม

8 การพัฒนาผลสัมฤทธ์ทิ างการเรยี นดว้ ยแบบฝึกทกั ษะ เรอื่ งเรขาคณติ วิเคราะห์ นางสาววราภรณ์ แซ่ตนั

(ภาคตัดกรวย) ของนกั เรยี นช้ันมัธยมศกึ ษาปที ่ี 4

9 การศกึ ษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติทีม่ ีตอ่ วิชาคณิตศาสตร์ นายฑนันชัย คชเคล่อื น

เรอื่ ง เสน้ ขนาน โดยการเรียนแบบรว่ มมอื เทคนิคกลมุ่ แข่งขนั (TGT) ของนกั เรยี น

ชนั้ มัธยมศกึ ษาปที ี่ 2 โรงเรียนสวุ รรณารามวทิ ยาคม

10 การศึกษาผลสมั ฤทธ์ิทางการเรียนคณิตศาสตรข์ องนกั เรยี นชัน้ มธั ยมศึกษาปที ี่ 2 นางสาวกมลนทั ธ์ แกล้วทนงค์

เร่อื ง ทฤษฎีบทพีทาโกรสั ดว้ ยชุดแบบฝกึ ทักษะ

3. กลุม่ สาระการเรยี นรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

1 การพฒั นาทักษะการคิดวเิ คราะห์และผลสัมฤทธ์ิทางการเรยี น เร่ืองโลกและ นางกณกิ าร์ พัฒรากลุ

การเปลี่ยนแปลง ของนกั เรยี นช้ันมัธยมศึกษาปที ี่ 2 ดว้ ยวธิ ีการจัดกจิ กรรม

การเรยี นรูแ้ บบทำนาย สังเกต อธิบาย ร่วมกับการใช้ชดุ กิจกรรมการเรียนรู้

เร่อื งโลกและการเปลยี่ นแปลง

2 การศึกษาพฤติกรรมเรื่องการไมส่ ่งงาน/การบ้าน ของนักเรยี นชัน้ มัธยมศกึ ษาปที ี่ นายประภสั ผลหมู่

4/3 ปีการศึกษา 2564

3 การพฒั นาทกั ษะการคดิ ขั้นสูงและผลสัมฤทธทิ์ างการเรยี น เรือ่ ง การเกดิ ลมฟ้า นางสมศรี คงสวุ รรณ

อากาศและภูมิอากาศ ของนกั เรยี นชัน้ มธั ยมศึกษาปที ี่ 6 ดว้ ยวธิ กี ารจัดกิจกรรม

การเรียนร้แู บบทำนาย สงั เกต อธบิ าย ร่วมกับการใช้ชดุ กิจกรรมการเกดิ ลมฟา้

อากาศและภูมอิ ากาศ

4 การศึกษาผลสัมฤทธขิ์ องการใช้ชุดการเรยี นรู้เรอ่ื งวงจรไฟฟ้า สำหรับนกั เรียน นายสุรจกั ร์ิ แก้วม่วง

ชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 3 โรงเรียนสวุ รรณารามวิทยาคม

5 การพฒั นาผลสัมฤทธท์ิ างการเรยี นวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับช้ันมัธยมศกึ ษา นางกนกวรรณ แกว้ ม่วง

ปที ่ี 2/5 ท่มี รี ะดับผลการเรยี นต่ำกวา่ เกณฑ์โดยใช้ชดุ กจิ กรรม เร่ืองงานและกำลัง

6 รายงานการศึกษาผลสมั ฤทธิ์และการเหน็ คุณค่าในตนเองของนกั เรยี นที่ได้รบั การ นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์

จดั การเรยี นรโู้ ดยใชช้ ุดกจิ กรรมวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดแบบโยนโิ สมนสกิ าร

สำหรับนักเรยี นช้ันมัธยมศกึ ษาปที ี่ 6 โรงเรียนสวุ รรณารามวทิ ยาคม

7 การพัฒนาทกั ษะการคดิ โดยใชแ้ บบฝกึ ทกั ษะวิเคราะห์ เรื่องพลังงานไฟฟา้ นางสาวชุตมิ า รอดสุด

รายวชิ า ว23102 ชนั้ มธั ยมศกึ ษาปีท่ี 3 โรงเรียนสุวรรณารามวทิ ยาคม

8 การศกึ ษาผลของการใช้สอ่ื ผสมในการจัดการเรียนการสอน เรื่องระบบประสาท นายธงวุฒิ จันทร์เพชร

และอวัยวะรับความรสู้ ึก รายวชิ าชวี วทิ ยา 4 (สาระเพม่ิ เตมิ ) ชนั้ มธั ยมศึกษาปีท่ี

5 ทม่ี ีตอ่ ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนและความสามารถในการคิดวเิ คราะห์ของนกั

เรียน ในสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรคติดเชื้อไวรสั โคโรนา 2019

ลำดบั ชอ่ื งานวจิ ัย ผู้วจิ ัย

ท่ี

9 การศกึ ษาผลสัมฤทธท์ิ างการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรือ่ งความชน้ื ในอากาศ ดว้ ย นางสาวหทัยรตั น์ มะโต

วธิ ีการสอนวิเคราะหโ์ จทยด์ ้วยเทคนคิ KWDL สำหรบั นกั เรียนระดบั ช้ันมธั ยม

ศกึ ษาปีที่ 1 ปกี ารศกึ ษา 2564 โรงเรยี นสุวรรณารามวทิ ยาคม

10 การพัฒนาผลสัมฤทธทิ์ างการเรยี น รายวิชาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ เรื่อง นายวารตุ ขำเจริญ

การแกป้ ญั หาดว้ ยความรทู้ างดาราศาสตร์ ด้วยกจิ กรรมสะเต็มศึกษา ของนัก

เรยี นช้ันมธั ยมศกึ ษาปที ี่ 6/2 ปกี ารศกึ ษา 2564 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม

11 การพฒั นาทักษะการคดิ วิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรอื่ งโมเมนตัมและ นายศริ ิชัย พงษพ์ ฤษพรรณ์

การชน ของนักเรยี นชน้ั มธั ยมศึกษาปีที่ 4 ดว้ ยแบบฝกึ ทกั ษะการแก้ปญั หาโจทย์

ในการเรียนรู้ วิชาฟิสิกส์ 2 เรอ่ื งโมเมนตมั และการชน

12 การพฒั นาผลสมั ฤทธท์ิ างการเรยี นวชิ าฟิสิกส์ 6 ด้วยการจดั กจิ กรรมการเรียน นายชเู กยี รติ นลิ โคตร

แบบผสมผสานผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ของนกั เรียนช้ันมธั ยมศกึ ษาปีท่ี 6/1

ปกี ารศกึ ษา 2564

13 การพฒั นาการเรียนการสอนวิชาการออกแบบและเทคโนโลยสี ำหรับนกั เรียน นางสาวพรศรี เจริญวัย

ชัน้ มธั ยมศึกษาปีที่ 3 โดยใชเ้ ทคนิคการสตรมี มิง่ (Streaming)

14 การรายงานการศึกษาผลสัมฤทธ์ิและการเหน็ คุณคา่ ในตนเองของนักเรยี นท่ีไดร้ ับ นางสาวขวัญหล้า เกตุฉิม

การจัดการเรียนรบู้ นเวบ็ แบบผสมผสานด้วยแอปพลิเคชนั Google Classroom

วชิ าการออกแบบและเทคโนโลยี 1 เร่อื งความรู้และทกั ษะพืน้ ฐาน

15 การพฒั นาบทเรียนออนไลน์ เร่ืองการกำหนดกรอบของปญั หาสำหรับนักเรยี นช้ัน นางสาวกาญจนา คงทน

มัธยมศกึ ษาปีท่ี 2 โรงเรยี นสุวรรณารามวทิ ยาคม

16 การพฒั นาบทเรียนออนไลน์โดยใช้ Google Site เรื่องการออกแบบและ นายอรรถพล ภูทอง

เทคโนโลยี 2ของนักเรียนชั้นมัธยมศกึ ษาปที ี่ 5/2 โรงเรียนสุวรรณารามวทิ ยาคม

สำนักงานเขตพ้นื ทกี่ ารศึกษามัธยมศกึ ษากรงุ เทพมหานคร เขต 1

17 การพัฒนาบทเรยี นออนไลน์ โดยใช้ Google Classroom เรื่อง พนื้ ฐานโปร นางสาวรัศมี กลุ สวุ รรณ

แกรมAdobe Photoshop CS6 สำหรบั นกั เรยี นชน้ั มัธยมศึกษาปที ่ี 3 โรงเรียน

สวุ รรณารามวทิ ยาคม

4. กลมุ่ สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวฒั นธรรม

1 การศกึ ษาผลสมั ฤทธท์ิ างการเรยี น เรอ่ื งกฎหมายแพง่ โดยใช้วิธีการสอนแบบ4
MAT ของนักเรียนชัน้ มัธยมศกึ ษาปที ่ี 4 โรงเรยี นสุวรรณารามวิทยาคม เขต นางสาวณฐั รินีย์ สมนึก

บางกอกน้อย จงั หวัดกรุงเทพมหานคร

2 รายงานการวจิ ยั เรื่องการเพ่ิมผลสัมฤทธิท์ างการเรียน เรือ่ ง การปฏิบัตติ นเป็น

พลเมืองดตี ามวถิ ปี ระชาธปิ ไตย โดยใช้สอื่ ประสมของนกั เรยี น ชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี นางสาววานิดา เสน่หา

1/2 ปกี ารศึกษา 2564

3 รายงานการวจิ ัยเร่ืองการศึกษาผลการสอนโดยใช้กระบวนการเรียนการสอนแบบ

Story Line ทม่ี ีผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาประวัติศาสตร์ 2 ของ นางสาวฐมน ม่วงนาพูล

นกั เรยี นช้ันมธั ยมศึกษาปีท่ี 6

4 การเปรยี บเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน วชิ าสงั คมศึกษา 4 สาระเศรษฐศาสตร์ นายอนศุ ักด์ิ ตริ สถิตย์
เรอ่ื งเศรษฐกิจพอพยี ง ของนักเรยี นระดับชน้ั มธั ยมศกึ ษาปีที่ 2 ระหวา่ งการเรยี น

ลำดับ ชอื่ งานวิจยั ผวู้ ิจยั
ท่ี

โดยใช้แบบฝึกทกั ษะและรปู แบบปกติ

5 รายงานการวจิ ัย เรือ่ ง การเปรียบเทียบผลสมั ฤทธิ์ทางการเรยี นวชิ าภมู ศิ าสตร์ นางสาวภรณี สืบเครือ
เรอ่ื ง ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอ้ มของนักเรียนชน้ั มัธยมศึกษาปที ี่ 5

ระหว่างการสอนโดยใช้แบบฝึกทกั ษะกบั การสอนปกติ

6 ผลการจัดการเรยี นรโู้ ดยใชว้ ิธีการทางประวตั ศิ าสตร์ ท่ีมีต่อความสามารถในการ
ประเมินหลกั ฐานทางประวัตศิ าสตร์และความสามารถในการคดิ สังเคราะหข์ อง นางสาววิมลมาศ ฟบู ินทร์
นักเรียนชนั้ มธั ยมศึกษาปที ี่ 5

7 -ไมม่ ี- นายสมานชยั รดิ จนั ดี

8 การปรบั เปลย่ี นพฤติกรรมการเรียนใหม้ วี ินัยและมคี วามรับผิดชอบ ของนักเรยี น นายปรัชญานันท์ พนั ธเสน
ช้นั มธั ยมศกึ ษาปที ่ี1/2 โรงเรยี นสวุ รรณารามวทิ ยาคม

9 รายงานการวิจยั เร่ือง การพัฒนาผลสัมฤทธท์ิ างการเรียน โดยใชส้ ื่อการสอน

ออนไลน์ GOOGLE SITE สาระหนา้ ที่พลเมอื ง สำหรับนกั เรยี นช้นั มธั ยมศึกษาปที ี่ นางสาวสภุ าวดี พงประสทิ ธิ์
3 โรงเรียนสวุ รรณารามวิทยาคม

10 การมวี นิ ัยในตนเองตอ่ การเรยี น มีความขยนั อดทนใฝ่ตอ่ ผลสัมฤทธด์ิ า้ นการเรียน นายอรรถกิตติ์ มเี งนิ
มีความรับผิดชอบตอ่ การเรยี นและการส่งงานช้นั มัธยมศึกษาปที ่ี 3/2

รายงานการวจิ ัย เร่ือง การพัฒนาผลสมั ฤทธิท์ างการเรียนวชิ าสังคมศึกษา 6 (ส23104)
11 เศรษฐศาสตร์เบ้ืองตน้ ของนกั เรยี นช้นั มธั ยมศึกษาปีท่ี 3/4 ภาคเรยี นท่ี 2 ปี นางสาวกานดา รว่ มเกตุ

การศกึ ษา 2564 โรงเรยี นสุวรรณารามวิทยาคม โดยใชแ้ บบฝกึ พัฒนาทักษะ

5. กลมุ่ สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

1 การพัฒนาทักษะการจำการผันรูปธรรมดาของคำกริยาโดยการใชเ้ กมจับคู่ นางสาววไิ ลวรรณ บญุ เพิ่ม

คำศัพท์กริยาเป็นการชว่ ยจำของนักเรยี นระดบั ช้ันมัธยมศกึ ษาปีท่ี 6/5 โรงเรยี น

สุวรรณารามวิทยาคม

2 การพฒั นาผลสัมฤทธิท์ างการเรยี นรายวิชาภาษาอังกฤษ 6 อ23102 นางสาวกนกวรรณ พมิ พศ์ รวงษ์

เรอ่ื ง Active voice & Passive voice โดยใชเ้ กม Fun Fun Fun Active
& Passive voice (Wordwall) ของนักเรยี นชนั้ มธั ยมศกึ ษาปีที่ 3

โรงเรียนสวุ รรณารามวิทยาคม ปกี ารศึกษา 2564

3 การใชแ้ บบฝึกพัฒนาทกั ษะการอา่ นเพือ่ ความเขา้ ใจ เพอ่ื แก้ปัญหาการอา่ น นายธนกฤต พมิ พ์ทอง

ภาษาองั กฤษ เพ่ือความเข้าใจสำหรบั นกั เรยี นระดบั ชั้นมัธยมศึกษาปที ี่ 5/5
โรงเรยี นสวุ รรณารามวทิ ยาคม
4 การพฒั นาทักษะการเรยี นรคู้ ำศพั ท์ Synonym และ Antonym ด้วยกิจกรรม นางสาวสุอาภา กระปุกทอง
เกม Fun card ของนกั เรยี นระดับชน้ั มัธยมศึกษาปีท่ี 6 โรงเรยี นสุวรรณาราม

วิทยาคม

5 การพัฒนาทักษะการอ่านโดยใชช้ ดุ ฝกึ อ่าน เร่อื ง A Christmas Carol นางสาวสุภาวรรณ ลืนภูเขยี ว

ในรายวิชาวรรณกรรมภาษาองั กฤษเบื้องตน้ 2 อ31208 ของนกั เรยี นระดับชน้ั
มัธยมศึกษาปที ่ี 4

6 การพฒั นาทักษะการพูดสอื่ สารภาษาองั กฤษของนักเรยี นชน้ั มัธยมศึกษาปีท่ี 1/1 นายปิยวชั สกี นั หา

ลำดบั ชื่องานวจิ ัย ผู้วจิ ยั

ท่ี

ทจ่ี ดั การเรียนร้โู ดยใช้เทคนิค Communitive language teaching ท่เี นน้ กระ
บวนการ Active learning

7 การพัฒนาผลสมั ฤทธ์ิทางการเรียนวชิ าภาษาองั กฤษ โดยใช้วิธกี ารเรียน นายเปรมณัช สถติ ย์ม่นั วิวัฒน์

การสอนแบบกระบวนการเรยี นรแู้ บบใช้กิจกรรมจก๊ิ ซอว์เป็นฐาน (Activity
Jigsaw-based learning) ชน้ั มัธยมศึกษาปีท่ี 5/6 เร่ืองพฒั นาการอ่าน
ภาษาองั กฤษ วิชาภาษาองั กฤษรอบรู้ 2 (อ23204)

8 การพฒั นาผลสมั ฤทธทิ์ างการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้วธิ ีการเรียนการสอน นางสาวชชั ชฌาฌญี า ชวาลปัญญาวงศ์

แบบเพือ่ นชว่ ยเพอื่ น ช้ันมัธยมศกึ ษาปีท่ี 5 เรือ่ งการพฒั นาทักษะการฟงั และการ
พูด

9 การพฒั นาทกั ษะการอา่ นตัวอักษรคนั จิภาษาญ่ีปุ่นโดยใช้โปรแกรม นางสาวฐติ ิรัตน์ ชเู กตุ

Baamboozle ของนกั เรยี นชนั้ มัธยมศึกษาปที ี่ 4 โรงเรยี นสุวรรณารามวทิ ยาคม

10 การพฒั นาความสามารถการเขียนตวั อกั ษรจนี และการจำภาษาจีนของนักเรยี น นางสาวภคั พร ตง้ั รุง่ กาญจนา

ชั้นมัธยมศึกษาปที ่ี 4/6 โดยใชแ้ บบทดสอบ HSK1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียน
สุวรรณารามวิทยาคม

11 การพฒั นาทกั ษะการอ่านโดยใชแ้ บบฝึกทักษะการอ่านของนกั เรียน ช้ันมัธยม นายฉัตรอรุณ ดังเสนาะ
ศกึ ษาปีท่ี 3 โรงเรยี นสุวรรณารามวิทยาคม

12 การพัฒนาความสามารถในการใช้ Past Simple Tense โดยชดุ กิจกรรมการ นายอนุวฒั น์ สขุ ใจมุข

เรียนรูด้ ้วยตนเอง สำหรบั นักเรยี นชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 2/2 โรงเรยี นสวุ รรณาราม
วิทยาคม

6. กลมุ่ สาระการเรียนรู้ศิลปะ

การสร้างชุดแบฝึกหัดออนไลน์ ( Liveworksheets ) เพอ่ื แกไ้ ขปัญหาการไม่สง่ นางสาวรงั ษิยา ชูขนั ธ์
1. งานของนกั เรียนชัน้ มธั ยมศึกษาปที ี่ 4/4 โรงเรยี นสุวรรณารามวิทยาคม

ภาคเรียนที่ 2 ปกี ารศึกษา 2564

การสง่ เสริมการเรียนรู้ เร่อื งทัศนศิลป์ท้องถิ่นไทยโดยใชเ้ กมส์ ทัศนศิลป์ท้องถนิ่ นางสุภัทรา อินตะ๊ คำ
2. ไทย 4 ภาคสำหรบั นกั เรียนชัน้ มธั ยมศกึ ษาปีที่ 1 โรงเรยี นสวุ รรณาราม

วิทยาคม

3. การพฒั นาทักษะการเรียนรปฏบิ ัติฆ้องวงใหญ่ ของนักเรียนระดบั ชน้ั มัธยมศึกษา นายเอกนรนิ ทร์ ชง่ั จตั ตรุ ตั น์
ปที ี่ 3

4. การอา่ นตวั โน้ตสากลเบื้องต้นของนกั เรยี นช้นั มธั ยมศึกษาปีท่ี 2 รายวชิ า ศิลปะ 2 วา่ ทีร่ อ้ ยตรที วีศักด์ิ ยิ้มแยม้
โรงเรยี นสุวรรณารามวิทยาคม

7. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

1 การพัฒนาผลสมั ฤทธท์ิ างการเรยี นของนกั เรียนโดยใช้สื่อมัลตมิ ีเดยี เร่ือง ซอ่ มได้ นางสาวนงนุช ภิญโญทรพั ย์
ใช้นาน ช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรยี นสวุ รรณารามวทิ ยาคม

สำรวจทัศนคตขิ องนักเรียนระดบั ชน้ั มัธยมศึกษาปที ี่ 4 ในการใชส้ ือ่ ประกอบการ นางสาวจุรยี พ์ ร ดว้ งชอุ่ม
2 เรียนการสอนวิชาการงานอาชีพ ง 31102 มตี อ่ นักเรยี นในยคุ โควิด 2019

กรณีศกึ ษาเฉพาะในโรงเรียนสุวรรณารามวทิ ยาคม

ลำดบั ชือ่ งานวิจัย ผวู้ ิจัย
นางสาวรงุ่ ทวิ า วงคษ์ า
ท่ี
นางสาวปานตะวัน คนั ธะเนตร
การพัฒนาผลสัมฤทธ์ทิ างการเรยี นวิชาการงานอาชีพ 6 เร่ืองการเย็บพวงกุญแจ
นางสาวบุปผา กาลพฒั น์
3 จากผา้ สักหลาดของนักเรียนระดบั ชั้นมธั ยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสวุ รรณาราม นางสาวชลสิ า ชำนาญวารี
นางสาวกัลยา ทองโชติ
วิทยาคม โดยวิดิโอช่วยสอน “ตุ๊กตาผา้ สักหลาด” นายนันทกรณ์ หนดู ี

4 ความพึงพอใจในการใช้ Google Classroom ประกอบการสอนวชิ า การงาน นางสาวหทัยรัตน์ ทบั เปรม
อาชีพ รหสั วชิ า ง22101 นางสาวสุจิรดาห์ โพธ์เิ ทศ

8. กลุ่มสาระการเรยี นรูส้ ุขศึกษาและพลศกึ ษา

1. การคิดวเิ คราะหแ์ ละการเลอื่ กรบั ประทานอาหารที่เหมาะสมของนักเรยี นชน้ั
มธั ยมศกึ ษาปีท่ี 1 โรงเรยี นสวุ รรณารามวทิ ยาคม

2. การพฒั นาส่อื วีดที ศั นเ์ พ่ือการเรียนรู้ตามแนวคดิ Flipped Classroom เรอื่ ง
กตกิ ากฬี าบาสเกตบอลสำหรบั นักเรยี นช้ันมธั ยมศึกษาปีที่ 2/6

3. การพฒั นาความคล่องแคลว่ วอ่ งไวโดยใช้บนั ไดลงิ ในกฬี าวอลเลย์บอล ของ
นักเรยี นช้นั มัธยมศึกษาปที ี่ 2 โรงเรียนสวุ รรณารามวทิ ยาคม

4. การพัฒนาความคล่องแคลว่ ว่องไวโดยใชบ้ ันไดลงิ ในกีฬาแบดมินตนั ของ
นักเรียนชนั้ มัธยมศกึ ษาปที ่ี 5 โรงเรียนสวุ รรณารามวิทยาคม

9. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

1 ระดบั ความเครียดและสาเหตุของความเครียดในขณะที่เรยี นแบบออนไลน์
ของนกั เรยี นช้นั มธั ยมศกึ ษาปที ่ี 3/3 ปกี ารศกึ ษา 2564

การปรับพฤตกิ รรมความรับผดิ ชอบของนกั เรียนในการเรียนวิชาแนะแนว
2 ระดบั ชัน้ มธั ยมศึกษาปที ี่ 2 โดยใช้วธิ ีการสอนแบบรว่ มแรงรว่ มใจและการ

เสริมแรง

*****************

สรปุ ผลการส่งรายงานการวิจยั ปฏบิ ัตกิ ารในชัน้ เรียน
โรงเรียนสวุ รรณารามวิทยาคม ปีการศึกษา 2564

กลุ่มสาระการเรยี นรู้ จำนวนครู จำนวนครู ร้อยละของครู
ท้งั หมด ที่สง่ งานวิจัย ที่สง่ งานวิจัย
1. ภาษาไทย
2. คณิตศาสตร์ 8 8 100
3. วทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4. สงั คมฯ 10 10 100
5. ภาษาตา่ งประเทศ 17 17 100
6. ศลิ ปะ
7. การงานอาชีพฯ 11 10 90.91
8. สขุ ศึกษาฯ 12 12 100
9. กจิ กรรมพฒั นาผ้เู รียน
4 4 100
รวม 4 4 100
4 4 100

2 2 100
72 71

จากตารางพบวา่ จำนวนครูทง้ั หมด 72 คน จำนวนครทู ่ีส่งงานวจิ ัยปฏิบตั ิการในชนั้ เรียน 71
คิดเป็น 98.61%

รายช่อื ครผู ้ไู ด้รบั การคัดเลอื กงานวจิ ยั และนวตั กรรม ประจำปี 2564

รายชอ่ื ครูผู้ไดร้ บั การคัดเลอื ก งานวิจยั และนวตั กรรม ประจำปี 2564

ครู วิทยะฐานะ ครชู ำนาญการพิเศษ รางวัล
ท่ี ชื่อ - นามสกุล รางวลั ชนะเลิศ
1 นางสาวขวัญหล้า เกตฉุ ิม รางวลั รองชนะเลิศ อันดบั 1
2 นางสาวอโนชา อุทมุ สกุลรัตน์ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2
3 นางสมศรี คงสุวรรณ
รางวัล
ครู วิทยะฐานะ ครชู ำนาญการ รางวัลชนะเลศิ
ท่ี ชอ่ื - นามสกุล รางวลั รองชนะเลศิ อนั ดับ 1
1 นางสาวปนัดดา หงษ์ทอง รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2
2 นางสาวภรณี สืบเครอื
3 นายธรี ะ ล้ศี ริ สิ รรพ์ รางวัล
รางวลั ชนะเลศิ
ครู วิทยะฐานะ - รางวัลรองชนะเลศิ อันดบั 1
ท่ี ช่ือ - นามสกลุ รางวัลรองชนะเลศิ อันดับ 2
1 นายฑนันชัย คชเคลื่อน
2 นางสาวสภุ าวดี พงประสทิ ธิ์
3 นายนันทกรณ์ หนดู ี


Click to View FlipBook Version