The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ชุดที่ 4 การดำรงชีวิตของพืช

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Anocha Utumsakulrat, 2023-04-28 12:46:34

ชุดที่ 4 การดำรงชีวิตของพืช

ชุดที่ 4 การดำรงชีวิตของพืช

ก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ชื่อ-สกุล..................................................ชั้น.........เลขที่........ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดโยนิโสมนสิการ หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี1 รหัส ว21101 สอนโดย นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์ ตำแหน่ง ครูวิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ ปีการศึกษา 2566


ก บทนำ ชุดกิจกรรมที่ผู้เรียนจะได้ศึกษานี้เรียกว่าชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช เป็นสื่อวิทยาศาสตร์ที่เน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิด แก้ปัญหาอย่างมีระบบ พบคำตอบของปัญหาหรือสถานการณ์นั้นด้วยตนเอง ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ด้วยตนเอง ได้คิดและลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ และ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนักเรียน ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการเนื้อหาส่วนใหญ่เน้นการให้นักเรียนสามารถ นำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันเพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาได้ด้วยตนเองจึงได้เรียบเรียง เนื้อหาให้กระชับและน่าสนใจและนอกจากนี้ยังได้แทรกรูปภาพและคำถามชวนคิดไว้ตลอดทำให้ไม่เบื่อในการ อ่านและทำกิจกรรม ผู้จัดทำชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารชุดนี้จะมี ประโยชน์ในการเรียนรู้เนื้อหาตามหลักสูตร ผู้เรียนมีความรู้และความสามารถในการสืบค้น การจัดระบบสิ่งที่ เรียนรู้ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ ได้เป็นอย่างดีสามารถนำความรู้ที่ได้จากการ เรียนรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ และเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจใช้เป็นแนวทาง ในการจัดกระบวนการ เรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ต่อไป ........................................... ( นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์ ) ผู้จัดทำชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์


ข สารบัญ เรื่อง หน้า บทนำ................................................................................................................... ............. ก สารบัญ................................................................................................................. ............. ข คำชี้แจงการใช้ชุดกิจกรรม................................................................................................ ง แบบประเมินตนเองก่อนเรียน........................................................................................... จ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช………………............................................. 1 ขั้นพัฒนาปัญญา 1 การสืบพันธุ์และการขยายพันธุ์พืชดอก........................................................... 1 -ทบทวนความรู้ก่อนเรียน 1……………………………………………………… 1 -การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ…………………………………………………………. 2 -กิจกรรมที่ 1 การถ่ายเรณูเกิดขึ้นได้อย่างไร ………………………………… 2 -การถ่ายละอองเรณู ……………………………………………………………… 7 -การปฏิสนธิ ……………………………………………………………………………. 8 -กิจกรรมที่ 2 เมล็ดงอกได้อย่างไร …….………………………………… 9 -กิจกรรม ร่วม กัน คิด 1 ....................................................... 13 -โครงสร้างของเมล็ด ………………………………………………………………… 14 -การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ…………………………………………………… 16 -เทคโนโลยีชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับพืช……………………………………………. 16 -กิจกรรม ร่วม กัน คิด 2 ....................................................... 18 -แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนเรื่องการสืบพันธุ์และการขยายพันธุ์พืชดอก.. 19 การสังเคราะห์ด้วยแสง ..................................................................................... 20 --ทบทวนความรู้ก่อนเรียน 2……………………………………………………….. 20 -กิจกรรมที่ 3 ปัจจัยในการสร้างอาหารของพืชมีอะไรบ้าง ……………… 21 -กิจกรรมที่ 4 การสังเคราะห์ด้วยแสงได้ผลผลิตใดอีกบ้าง ……………… 26 การลำเลียงน้ำ ธาตุอาหาร และอาหารของพืช ………………………………………... 27 -ธาตุอาหารของพืช…………………………………………………………………….. 28 -กิจกรรมที่ 5 ธาตุอาหารสำคัญต่อพืชอย่างไร………………………………. 29 -ทบทวนความรู้ก่อนเรียน 3…………………………………………………………. 30 -การลำเลียงในพืช……………………………………………………………………… 31 -ทบทวนความรู้ก่อนเรียน 4……………………………………………………….. 31 -กิจกรรมที่ 6 พืชลำเลียงน้ำและธาตุอาหารอย่างไร ……………………….. 32 -การทำงานของระบบการลำเลียงสารของพืช…………………………………. 36 -กิจกรรม ร่วม กัน คิด 3 ....................................................... 38


ค สารบัญ (ต่อ) เรื่อง หน้า ขั้นนำปัญญาพัฒนาความคิด 39 -กิจกรรม ทำอย่างไรให้พืชมีผลผลิตตามต้องการ …………………..……… 39 ขั้นนำปัญญาพัฒนาตนเอง 41 -กิจกรรม สืบค้นข่าว ………………………………..………………………… 41 แบบประเมินตนเองหลังเรียน........................................................................................... 42 อ้างอิง................................................................................................................................ 47


ง 1. สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การลาเลียงสารเข้าและออก จากเซลล์ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสัตว์และมนุษย์ที่ทางานสัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ของพืชที่ทางานสัมพันธ์กัน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ ประโยชน์ 2. มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด เรื่องหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ชุดนี้ ใช้เวลา 21 ชั่วโมง มาตรฐานการเรียนรู้ /ตัวชี้วัด ว 1.2 ม.1/6, ม.1/7, ม.1/8, ม.1/9, ม.1/10, ม.1/11, ม.1/12, ม.1/13, ม.1/14, ม.1/15, ม.1/16, ม.1/17, ม.1/18 3. วิธีเรียนรู้จากชุดกิจกรรมนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนักเรียนควรปฏิบัติตามคำชี้แจงต่อไปนี้ตาม ลำดับ 1. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สองภาษาตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ เรื่อง หน่วยพื้นฐานของ สิ่งมีชีวิต ชุดนี้ ใช้เวลาในการศึกษา 21 ชั่วโมง 2. ให้นักเรียนจัดกลุ่ม ๆ ละประมาณ 6 คน 3. ให้นักเรียนศึกษามาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัดของชุดการเรียน 4. ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมในชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ โดยใช้ รูปแบบการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการตามขั้นตอนดังนี้ 1. ขั้นพัฒนาปัญญา 2. ขั้นนำปัญญาพัฒนาความคิด 3. ขั้นนำปัญญาพัฒนาตนเอง 4. สาระสำคัญ พืชดอกทุกชนิดสามารถสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศได้ นอกจากนั้นบางชนิดยังพบการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัย เพศด้วยการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอกเกิดขึ้นที่ดอกโดยทั่วไปดอกประกอบด้วย กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรเพศผู้ และเกสรเพศเมีย ภายในอับเรณูของเกสรเพศผู้มีเรณูทำหน้าที่สร้างสเปิร์ม ภายในออวุลของเกสร เพศเมียมีถุงเอ็มบริโอทำหน้าที่สร้างเซลล์ไข่ ซึ่งต้องมีการถ่ายเรณู จากอับเรณูไปยังยอดเกสรเพศเมีย นำไปสู่ การปฏิสนธิระหว่างสเปิร์มกับเซลล์ไข่ และระหว่างสเปิร์มกับโพลาร์นิวคลีไอในถุงเอ็มบริโอ หลังการปฏิสนธิจะ ได้ไซโกตและเอนโดสเปิร์ม ไซโกตจะพัฒนาต่อไปเป็นเอ็มบริโอ โดยมีเอนโดสเปิร์มเป็นอาหารสะสมสำหรับ เลี้ยงเอ็มบริโอ ส่วนออวุลพัฒนาไปเป็นเมล็ด และรังไข่พัฒนาไปเป็นผล ผลและเมล็ดเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะ กระจายออกจากต้นโดยวิธีการต่าง ๆ เมื่อเมล็ดไปตกในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะงอกเป็นต้นใหม่ ส่วนการ สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เป็นการสืบพันธุ์ที่พืชต้นใหม่พัฒนาและเจริญเติบโตมาจากเนื้อเยื่อส่วน ต่าง ๆ ของ พืชต้นเดิม มนุษย์นำความรู้เรื่องการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศของพืชมาใช้ในการขยายพันธุ์พืช ซึ่ง การเลือกวิธีการขยายพันธุ์พืชควรเลือกให้เหมาะสมกับชนิดพืชและความต้องการของมนุษย์ *** ขอให้นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างมีความสุข *** คำชี้แจงการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช


จ คำชี้แจง : ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว ใช้เวลา 20 นาที 1. จากภาพ เขียน O ล้อมรอบคำว่า “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” ในแต่ละข้อความที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์แบบอาศัย เพศของพืชดอก ถ้าไม่ใช่ให้แก้ไขให้ถูกต้อง ข้อความ ใช่ หรือ ไม่ใช่ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ คือ ส่วน A ใช่ ไม่ใช่ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย คือส่วน B ใช่ ไม่ใช่ การปฏิสนธิเกิดขึ้นที่ส่วน C ใช่ ไม่ใช่ หลังจากเกิดการปฏิสนธิ ส่วน D จะพัฒนาไปเป็นเมล็ด ใช่ ไม่ใช่ ถ้าต้องการถ่ายเรณูให้กับพืชชนิดนี้ ต้องนำเรณูจากส่วน A ไปวางบนส่วน B ใช่ ไม่ใช่ 2. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอกมีขั้นตอนเรียงตามลำดับอย่างไร ก. การเกิดเมล็ด การถ่ายเรณูการปฏิสนธิ ข. การถ่ายเรณูการปฏิสนธิการเกิดเมล็ด ค. การปฏิสนธิการถ่ายเรณูการเกิดเมล็ด ง. การถ่ายเรณูการเกิดเมล็ด การปฏิสนธิ 3. ในการทดลองเพื่อศึกษาการเกิดเมล็ดโดยแบ่งพืชชนิดเดียวกันออกเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มปลูกห่างกัน ทดลองโดยเด็ดส่วนประกอบบางส่วนของดอกออกไปแต่บางส่วนยังคงไว้ ดังตาราง จากนั้นปล่อยให้เกิดการ ผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ กลุ่ม กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรเพศผู้ เกสรเพศเมีย 1 √ √ × √ 2 √ √ × × 3 × × √ × 4 × × √ √ เครื่องหมาย √ แสดงส่วนประกอบที่ยังคงอยู่ เครื่องหมาย × แสดงส่วนประกอบที่ถูกเด็ดออกไป ข้อความใดไม่ถูกต้อง ก. พืชกลุ่มที่ 1 ติดผล เพราะเกิดการถ่ายเรณูมาจากดอกของพืชกลุ่มอื่น ข. พืชกลุ่มที่ 2 ไม่ติดผล เพราะไม่มีกลีบดอกดึงดูดแมลงจึงไม่มีการถ่ายเรณู ค. พืชกลุ่มที่ 3 ไม่ติดผล เพราะไม่มีรังไข่ จึงไม่เกิดการปฏิสนธิ ง. กลุ่มที่ 4 ติดผล เพราะเกิดการถ่ายเรณูได้จากอับเรณูในดอกเดียวกัน แบบประเมินตนเองก่อนเรียน


ฉ อ่านข้อความแล้วตอบคำถามข้อ 4-5 บัวหลวงเป็นพืชน้ำที่มีประโยชน์หลายอย่าง ทั้งเพื่อเป็นไม้ประดับ และเพื่อนำส่วนต่าง ๆ มาใช้ ประโยชน์ เช่น นำไหลและเหง้ามาเป็นอาหาร ใช้ใบในการห่ออาหาร รวมทั้งยังมีการนำดีบัวหรือต้นอ่อนใน เมล็ดมาทำเป็นส่วนผสมของยาโบราณอีกด้วย 4. จากภาพ ข้อใดกล่าวถูกต้อง ก. ดีบัวเป็นส่วนหนึ่งของเอ็มบริโอ ข. ดีบัวเปลี่ยนแปลงมาจากผนังออวุล ค. ดีบัวเป็นแหล่งอาหารขณะเมล็ดงอก ง. ดีบัวเป็นส่วนที่จะงอกออกมาจากเมล็ดเป็นอับดับแรก 5. จากภาพ เขียน O ล้อมรอบคำว่า “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” ในแต่ละข้อความที่เกี่ยวข้องกับบัวหลวง ถ้าไม่ใช่ให้ แก้ไขให้ถูกต้อง ข้อความ ใช่ หรือ ไม่ใช่ ไหลเป็นส่วนของรากบัว ใช่ ไม่ใช่ บัวใช้ไหลในการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ใช่ ไม่ใช่ เมล็ดบัวสามารถกระจายไปได้โดยน้ำ ใช่ ไม่ใช่ 6. เมล็ดพืชชนิดหนึ่งสามารถงอกได้ดีที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เมื่อนำเมล็ดพืชชนิดนี้ใส่ในหลอดทดลองดัง ภาพเมล็ดในหลอดใดมีโอกาสงอกได้ ดีบัว ใบเลี้ยง


ช ก. หลอด A และ D ข. หลอด B และ C ค. หลอด B และ D ง. หลอด C และ E ข้อความต่อไปนี้ใช้ตอบคำถามข้อ 7 และ 8 “เนื้อและน้ำมะพร้าว เป็นอาหารสะสมในเมล็ด ซึ่งต้นอ่อนของมะพร้าวจะใช้เป็นแหล่งอาหารในขณะ งอก แต่มะพร้าวบางผลมีเนื้อและน้ำแตกต่างจากมะพร้าวทั่วไปโดยมีเนื้อฟู หนานุ่ม มีน้ำข้นเหนียว เรียกว่า มะพร้าวกะทิ ทำให้ต้นอ่อนของมะพร้าวกะทิไม่สามารถใช้เนื้อของมะพร้าวกะทิเป็นแหล่งอาหารสำหรับการ เจริญเติบโตได้ ในธรรมชาติจึงไม่มีต้นมะพร้าวที่เจริญจากเมล็ดของมะพร้าวกะทิ” 7. น้ำและเนื้อของมะพร้าว คือส่วนประกอบใดของเมล็ด ก. เอ็มบริโอ ข. รากแรกเกิด ค. เอนโดสเปิร์ม ง. เปลือกหุ้มเมล็ด 8. ถ้าต้องการขยายพันธุ์มะพร้าวกะทิ ควรใช้วิธีใด ก. ปักชำ ข. ตอนกิ่ง ค. เพาะเมล็ด ง. เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ภาพต่อไปนี้ใช้ตอบคำถามข้อ 9 – 10 9. จากภาพ และข้อมูลต่อไปนี้ ข้อใดถูกต้อง 1. สิ่งที่พืชใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ A และ D 2. ผลผลิตที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ B และ C 3. พืชลำเลียง C ผ่านไซเล็ม 4. พืชลำเลียง D ผ่านโฟลเอ็ม ก. ข้อ 1 และ 2 ข. ข้อ 1 และ 3 ค. ข้อ 2 และ 3 ง. ข้อ 3 และ 4


ซ 10. A B C D คืออะไร ตามลำดับ ก. น้ำตาล น้ำ แก๊สออกซิเจน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ข. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สออกซิเจน น้ำ น้ำตาล ค. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สออกซิเจน น้ำตาล น้ำ ง. แก๊สออกซิเจน น้ำตาล แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ ใช้สถานการณ์ต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 11-12 นักเรียนคนหนึ่งทดลองวางต้นพืชที่ปลูกในกระถางไว้ในที่มืด 2 วัน จากนั้นนำกระดาษทึบเจาะรูปดาว ไปปิดทับกับด้านบนและด้านล่างของใบ โดยให้ช่องที่เจาะเป้นรูปดาวอยุ่ด้านบนของใบ ดังภาพ นำต้นพืชไปวาง กลางแดด 3 ชั่วโมง จากนั้นเด็ดใบพืชมาสกัดคลอโรฟีลล์ออกแล้วทดสอบแป้งด้วยสารละลายไปโอดีน 11. หลังการทดสอบแป้งด้วยสารละลายไอโอดีน ส่วนใดบ้างที่สีของสารละลายไอโอดีนเปลี่ยนจากสีน้ำตาลเป็น สีน้ำเงินเข้ม ก. ส่วน A และ B ข. ส่วน A และ C ค. ส่วน B และ C ง. ส่วน B และ D 12. จุดประสงค์ของการทดลองนี้คือข้อใด ก. แป้ง เกิดขึ้นในระหว่างการสังเคราะห์ด้วยแสง ข. คลอโรฟิลล์และแสง จำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง ค. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ จำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง ง. ไอโอดีน ใช้ทดสอบแป้งในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ใช้สถานการณ์ในการทดลองของโจเซฟ พริสต์ลีย์ (Joseph Priestley) ตอบคำถามข้อ 13


ฌ 13. เขียน O ล้อมรอบคำว่า “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” ในแต่ละข้อความที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในภาพ ถ้าไม่ใช่ให้ แก้ไขให้ถูกต้อง ข้อความ ใช่ หรือ ไม่ใช่ เหตุที่หนูในภาพ b ตายเพราะในครอบแก้วไม่มีแก๊สออกซิเจน ใช่ ไม่ใช่ เหตุที่หนูในภาพ d ไม่ตายเพราะในครอบแก้วมีแก๊สออกซิเจน ใช่ ไม่ใช่ ภาพ c และ d มีการสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดขึ้น ใช่ ไม่ใช่ 14. เพราะเหตุใด เมื่อปลูกพืชในกระถางและเจริญเติบโตไปได้ระยะหนึ่ง จึงควรเปลี่ยนดินในกระถาง ก. เพราะรากพืชดูดน้ำไม่ได้ ข. เพราะดูแลรักษาพืชยากขึ้น ค. เพราะต้นพืชมีทรงไม่สวยงาม ง. เพราะดินเดิมมีธาตุอาหารน้อยลง ใช้ภาพและข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 15 ชาวสวนขยายพันธุ์ชะอมโดยใช้มีดควั่นส่วน A รอบกิ่งของชะอมออกยาวประมาณ 2 นิ้ว จากนั้นนำตุ้ม ตอนมาหุ้มส่วนที่ควั่นออก ไม่นานเปลือกต้นชะอมเหนือส่วนที่ควั่นออกมีรากงอกออกมา 15. ส่วน A มีเนื้อเยื่อลำเลียงชนิดใด และการควั่นส่วน A ออก ส่งผลอย่างไรต่อกิ่งที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ ก. ส่วน A มีไซเลม และการควั่นส่วน A ออกส่งผลให้ต้นชะอมลำเลียงน้ำจากรากขึ้นสู่ใบของกิ่งนี้ไม่ได้ ข. ส่วน A มีโฟลเอ็ม และการควั่นส่วน A ออกส่งผลให้ต้นชะอมลำเลียงน้ำจากใบไปสู่รากของต้นนี้ไม่ได้ ค. ส่วน A มีไซเล็ม และการควั่นส่วน A ออกส่งผลให้ต้นชะอมลำเลียงอาหารจากส่วนล่างรอยควั่นไปสู่ใบ ของกิ่งนี้ไม่ได้ ง. ส่วน A มีโฟลเอ็ม และการควั่นส่วน A ออกส่งผลให้ต้นชะอมลำเลียงอาหารจากใบของกิ่งนี้ไปสู่ส่วนล่าง รอยควั่นไม่ได้ คะแนนเต็ม 15 คะแนน ได้ ........... คะแนน


1 หน่วยที่ 4 การดำรงชีวิตของพืช เวลา 21 ชั่วโมง พืชดอกทุกชนิดสามารถสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศได้ นอกจากนั้นบางชนิดยังพบการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัย เพศด้วยการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอกเกิดขึ้นที่ดอกโดยทั่วไปดอกประกอบด้วย กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรเพศผู้ และเกสรเพศเมีย ภายในอับเรณูของเกสรเพศผู้มีเรณูทำหน้าที่สร้างสเปิร์ม ภายในออวุลของเกสร เพศเมียมีถุงเอ็มบริโอทำหน้าที่สร้างเซลล์ไข่ ซึ่งต้องมีการถ่ายเรณูจากอับเรณูไปยังยอดเกสรเพศเมีย นำไปสู่ การปฏิสนธิระหว่างสเปิร์มกับเซลล์ไข่ และระหว่างสเปิร์มกับโพลาร์นิวคลีไอในถุงเอ็มบริโอ หลังการปฏิสนธิจะ ได้ไซโกตและเอนโดสเปิร์ม ไซโกตจะพัฒนาต่อไปเป็นเอ็มบริโอ โดยมีเอนโดสเปิร์มเป็นอาหารสะสมสำหรับ เลี้ยงเอ็มบริโอ ส่วนออวุลพัฒนาไปเป็นเมล็ด และรังไข่พัฒนาไปเป็นผล ผลและเมล็ดเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะ กระจายออกจากต้นโดยวิธีการต่าง ๆ เมื่อเมล็ดไปตกในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะงอกเป็นต้นใหม่ ส่วนการ สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เป็นการสืบพันธุ์ที่พืชต้นใหม่พัฒนาและเจริญเติบโตมาจากเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของ พืชต้นเดิม มนุษย์นำความรู้เรื่องการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศของพืชมาใช้ในการขยายพันธุ์พืช ซึ่ง การเลือกวิธีการขยายพันธุ์พืชควรเลือกให้เหมาะสมกับชนิดพืชและความต้องการของมนุษย์ จากรูปโครงสร้างของดอก เขียนชื่อและหน้าที่ของส่วนประกอบของดอก ขั้นพัฒนาปัญญา กิจกรรม ฝึ กอ่าน : ฝึ กคิด 1. การสืบพันธุ์และการขยายพันธุ์พืชดอก ทบทวนความรู้ก่อนเรียน1


2 การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชมีขั้นตอนอย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………….………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………….……………………………………… การถ่ายเรณูเกิดขึ้นได้อย่างไร มีสิ่งใดบ้างที่ช่วยในการถ่ายเรณู …………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………… การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชจะเกิดขึ้นที่ดอก ส่วนของดอกที่ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ คือ เรณู ซึ่งอยู่ในอับเรณูของเกสรเพศผู้ และส่วนที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย คือ ถุงเอ็มบริโอ ซึ่งอยู่ในออวุล ของเกสรเพศเมีย การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศต้องมีการผสมกันของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย จึงต้องมีการเคลื่อนย้ายเรณูจากอับเรณูไปยังยอดเกสรเพศเมีย เรณูจากอับเรณูจะไปตกบนยอดเกสรเพศเมียได้ อย่างไรนั้นจะได้ทราบจากการทำกิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 การถ่ายเรณูเกิดขึ้นได้อย่างไร จุดประสงค์: สังเกต รวบรวมข้อมูล และอธิบายวิธีการถ่ายเรณูของพืชดอก วัสดุและอุปกรณ์ รายการ ปริมาณ/กลุ่ม 1. ดอกบัวหลวง 2 - 3 ดอก 2. ดอกกล้วยไม้ 2 - 3 ดอก 3. ดอกชบา 2 - 3 ดอก 4. ดอกแก้ว 2 - 3 ดอก 5. ดอกมะละกอ 3 ดอก 6. แว่นขยาย 2-3 อัน 7. ใบมีดโกน 2-3 อัน วิธีการทดลอง (ชมวีดิทัศน์เกี่ยวกับการถ่ายเรณูของพืชดอก ของ สสวท.) 1. สังเกตรูปร่างลักษณะ สี กลิ่น และเปรียบเทียบตำแหน่งของเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียของดอกพืช แต่ละชนิด วาดภาพและบรรยายสิ่งที่สังเกตได้ ส่วนใดของดอกที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอก เพราะเหตุใด ……………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………


3 2. ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับลักษณะของดอกที่ช่วยให้เกิดการถ่ายเรณู และคาดคะเนเกี่ยวกับปัจจัย ภายนอกที่ช่วยให้เกิดการถ่ายละอองเรณูและคาดคะเนเกี่ยวกับปัจจัยภายนอกที่ช่วยให้เกิดการถ่าย ละอองเรณูของดอกที่ศึกษา พร้อมทั้งบอกเหตุผล 3. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเกิดการถ่ายเรณูของพืชดอก 4. นำข้อมูลการถ่ายเรณูของพืชดอกที่ได้จากการรวบรวมเปรียบเทียบที่ได้จากการอภิปรายบันทึกผล ผลการทำกิจกรรม ตาราง บันทึกผลการสังเกตรูปร่างลักษณะ สี กลิ่น และตำแหน่งของเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียของดอกพืช ชื่อพืช รูปร่างลักษณะ กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรเพศผู้ เกสรเพศเมีย กลิ่น แก้ว ดอกเป็นช่อดอกมี ขนาดเล็ก ดอกตูม รูปทรงรียาว ประมาณ 1.5 cm ดอกบานมีกลีบ ดอกแยกจากกัน สีเขียว ขนาดเล็ก กลีบดอก สีขาว 5-6 กลีบ เกสรเพศผู้มี 10 อัน สั้น 5 อันยาว 5 อัน เรียงอยู่รอบเกสร เพศเมีย ความสูง ข อ งอั บ เร ณู ข อ ง เกสรเพศผู้อันยาว อยู่ในระดับเดียวกับ ยอดเกสรเพศเมีย เกสรเพศเมีย1 อัน ก้านเกสรเพศเมีย สีเขียว ยอดเกสร เพศเมียพองออก เป็นตุ่ม สีเหลือง เ ข้ ม ที่ ย อ ด มี ของเหลวเหนียว มี กลิ่น บัวหลวง ดอกเดี่ยวมีก้าน ดอกยาว ดอกตูมมี ข น าด ให ญ่ ป ระ มาณ 1 กำมือ เมื่อ ดอกบานจะเห็น เก ส รเพ ศผู้ แ ล ะ เกสรเพศ เมียชัดเจน ดอกบัวมีกลีบรวมมีจำ นวนมาก กลีบชั้นนอกมี สีเขียว ชั้นถัดเข้าไปด้าน ใน มี สี ข าว ห รือ ช ม พู (ขึ้นอยู่กับดอกที่สังเกต) กลีบดอกขนาดใหญ่ เกสรเพศผู้มีจำ นวน มากมี 2 แบบ แบบ ที่1 มีลักษณะคล้าย กลีบรวมแต่มีขนาด เล็กกว่าที่ปลายมี รยางค์สีขาวแบบที่ 2เรียงตัวถัดเข้าไป จากแบบแรกมีก้าน เกสรเพศผู้สั้นมีอับ เรณู สีเห ลืองยาว ป ร ะ ม า ณ 1 เซนติเมตรที่ปลายมี ร ย า ง ค์ สี ข า ว ตำแหน่งของอับเรณู อยู่บริเวณกึ่งกลาง ของฐานดอกนูน รังไข่มีจำนวนมาก ฝั งตั ว อ ยู่ ใน ฐาน ดอกนูนที่มีลักษณะ รูปถ้วยโผล่เฉพาะ ส่วน ยอดเกสรเพศเมีย ออกมาก้านเกสร เพ ศ เมี ยสั้น ยอ ด เกสรเพศเมียคล้าย จานขนาดเล็กมี ของเหลวเหนียว รังไข่เป็นรูปทรงรี มี กลิ่น กล้วยไม้ ดอกเป็นช่อ ดอก ตูมมีสีเขียวรูปร่าง คล้ายรองเท้าดอก บานสีม่วงแดง (สี ขึ้นกับดอกที่ สังเกต) ขนาดใหญ่ กลีบเลี้ยง มี 3 กลีบ รูปขอบ ขนาน ปลาย แหลม กลีบดอกมี 3 กลีบแยก จากกัน กลีบดอก1 กลีบมี ลักษณะ เกสรเพศผู้และเกสรเกสรเพศเมียเชื่อมติด กันเป็นโครงสร้างเรียกว่า เส้าเกสร ส่วนบน สุดเป็นอับเรณูที่มีฝาปิด ถัดจาก อับเรณูคือยอดเกสรเพศเมียที่มีลักษณะ เป็นแอ่ง มีของ เหลวเหนียวอยู่ในแอ่งมีรัง ไข่เชื่อมลงมาจาก ยอดเกสรเพศเมีย ไม่มี กลิ่น


4 กลีบแยกจากกัน ชัดเจน ด้านหลัง สีขาวด้าน หน้าสีม่วง (สีขึ้นกับ ดอกที่ สังเกต) แตกต่าง จากอีก 2 กลีบ เรียกว่า กลีบปาก ด้านหลัง กลีบดอก สี ขาวด้าน หน้าสีม่วง (สีขึ้นกับ ดอกที่ สังเกต) ชบา ดอกบานมีขนาด ใหญ่ กลีบดอก แยกจากกันมีก้าน ชูเกสรเพศผู้และ เกสรเพศเมียยื่น ออกมาจากกลาง ดอก เห็นชัดเจน กลีบเลี้ยง สีเขียวที่ ฐานกลีบ เชื่อมติด กันเป็น หลอด ปลายกลีบ แยกจาก กันเป็น 5 กลีบที่โคน หลอด กลีบมีริ้ว ประดับสี เขียว กลีบดอกมี ขนาดใหญ่ สีแดง ขาว ชมพู ส้ม (สีขึ้น อยู่ กับดอกที่ สังเกต) จำนวน 5 กลีบที่โคน เชื่อมกัน เล็กน้อย ก้านเกสรเพศผู้เชื่อม ติดกันเป็นหลอดห่อ หุ้มก้าน เกสรเพ ศ เมียไว้และ รังไข่ ที่ ปลายมีก้านเกสร เพศผู้อันเล็กๆ จำ นวนมากอับเรณูสี เหลืองเห็นชัดเจน เกสรเพสเมียมี 1 อัน รังไข่และก้าน เกสรเพศเมียถูก ก้านเกสรเพศผู้หุ้ม ไว้ ยอดเกสรเพศ เมี ย อ ยู่ สู งขึ้ น ไป จากอับเรณู ยอด เกสรเพศเมียแยก กันเป็น 5 แฉก มี รูป ร่างค่ อ น ข้ าง ก ล ม มี ข น เส้ น เล็กๆ เมื่อดอกบาน จะเห็นเกสรเพศ เมียชัดเจน ไม่มี กลิ่น มะละกอ (ดอก สมบูรณ์ เพศ) ดอกขนาด เล็ก มีรูปร่าง เป็นหลอดที่ ปลายกลีบ แยกจากกัน กลีบเลี้ยง มีขนาด เล็กมาก 5 กลีบ กลีบดอก สีเหลือง อมเขียว ที่โคนกลีบ เชื่อมติด กันเป็น หลอด ปลายกลีบ แยกจาก กัน5 กลีบ รูปร่างขอบ ขนาน เกสรเพศผู้จำนวน 5 อัน อับเรณูติด อยู่ บนหลอดกลีบดอก ระดับความสูงต่ำ กว่ายอดเกสรเพศ เมีย เกสรเพศเมียมีจำ นวน1 อัน รังไข่รูป ร่างรียาวก้านเกสร เพ ศ เมี ยสั้น ยอ ด เกสรเพศแยกเป็น 5 แฉกแต่ละแฉก จะแตกแขนงเล็กๆ มี กลิ่น


5 ปลาย แหลมกลีบ บิดเล็กน้อย มะละกอ (ดอก เพศผู้) ดอกขนาดเล็ก มี รูปร่างเป็นหลอดที่ ปลายกลีบแยก จากกัน กลีบเลี้ยง มีขนาด เล็กมาก 5 กลีบ กลีบดอก สีเหลือง อมเขียว ที่ โคนกลีบ เชื่อมติด กันเป็น หลอด ปลายกลีบ แยกจาก กัน5 กลีบ รูปร่างขอบ ขนาน ปลาย แหลม กลีบบิด เล็กน้อย เกสรเพศผู้จำนวน 5 อัน อับเรณูติด อยู่ บนหลอดกลีบดอก ไม่มี มี กลิ่น มะละกอ (ดอก เพศ เมีย) ดอกขนาดเล็ก มี รูปร่างเป็นหลอดที่ ป ล าย ก ลี บ แ ย ก จากกัน กลีบเลี้ยง มีขนาด เล็กมาก 5 กลีบ กลีบดอกสี เหลืองอม เขียว ที่ โคนกลีบ เชื่อม ติดกันเป็น หลอด ปลาย กลีบแยก จากกัน 5 กลีบรูป ร่างขอบ ขนาน ปลาย แหลม กลีบบิด เล็กน้อย ไม่มี เกสรเพศเมียมีจำ นวน 1 อันรังไข่รูป ร่างค่อนข้างกลม ก้านเกสรเพศเมีย สั้นยอดเกสรเพศ แยกเป็น 5 แฉก แต่ละแฉกจะแตก แขนงเล็กๆ มี กลิ่น


6 ผลการอภิปรายเกี่ยวกับสิ่งที่ช่วยในการถ่ายเรณูของพืชดอกแต่ละชนิด พืช สิ่งที่ช่วยในการถ่ายเรณู เหตุผล บัวหลวง สัตว์ เช่น นก แมลงต่าง ๆ ดอกบัวมีขนาดใหญ่ มีสีสัน มีกลิ่น มีอับเรณูอยู่ต่ำกว่ายอด เกสรเพศเมียในดอกเดียวกัน ลักษณะเช่นนี้สามารถใช้สีสัน และกลิ่นดึงดูดสัตว์ให้ช่วยถ่ายเรณูได้ ทั้งสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น นกและสัตว์ที่มีขนาดเล็ก เช่นแมลงต่าง ๆ กล้วยไม้ สัตว์ เช่น ผึ้ง และแมลงอื่น ๆ ดอกกล้วยไม้มีลักษณะที่ค่อนข้างจำเพาะ และมีกลีบปากที่ ปิดส่วนของเส้าเกสรไว้ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีสีสัน ไม่มี กลิ่น ลักษณะเช่นนี้เหมาะกับการถ่ายเรณูโดนสัตว์ที่มีขนาด ใกล้เคียงกับกลีบปาก เช่น ผึ้ง และแมลงอื่น ๆ ชบา สัตว์ เช่น ผึ้ง และแมลงอื่น ๆ และลม ดอกชบามีกลีบดอกขนาดใหญ่ มีสีสัน ไม่มีกลิ่น อับเรณูและ ยอดเกสรเพศเมียติดอยู่บนหลอดที่ยื่นออกมาจากส่วนอื่นๆ ของดอก และอับเรณูต่ำกว่ายอดเกสรเพศเมีย ลักษณะ เช่นนี้สามารถใช้สีสันดึงดูดสัตว์ให้ช่วยถ่ายเรณูได้ ส่วนใหญ่ จะเป็นสัตว์ขนาดเล็กต่าง ๆ ที่สามารถเกาะที่อับเรณูแล้ว สามารถเคลื่อนที่ต่อไปยังยอดเกสรเพศเมียได้หรืออาจมีการ ถ่ายเรณูข้ามไปยัง ดอกที่อยู่ตำแหน่ง ต่ำกว่าได้โดยลม แก้ว สัตว์ เช่น ผึ้ง และแมลงอื่น ๆ ดอกแก้วมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว มีกลิ่น อับเรณูอยู่ ล้อมรอบยอดเกสรเพศเมีย ลักษณะดอกเช่นนี้สามารถใช้ กลิ่นดึงดูดสัตว์ให้ช่วยถ่ายเรณูได้ โดยเฉพาะสัตว์ที่มีขนาด เล็ก เช่น แมลงต่าง ๆ มะละกอ สัตว์ เช่น ผึ้ง และแมลงอื่น ๆ ดอกมะละกอเป็นที่ดอกมีทั้งสมบูรณ์เพศและไม่สมบูรณ์ เพศ จำเป็นต้องมีสิ่งที่ช่วยในการถ่ายเรณูภายในดอก เดียวกัน และระหว่างดอก ซึ่งดอกมะละกอมีขนาดค่อน ข้างเล็ก ไม่มีสีสัน แต่มีกลิ่นที่ช่วยในการดึงดูดแมลงที่มี ขนาดเล็กได้ ผลการรวบรวมข้อมูล .............................................................................................................................................................. ................ .............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. ................................................. ................................................................................................................................................... ........................... คำถามท้ายกิจกรรม 1. ลักษณะต่าง ๆ ของดอกมีส่วนช่วยในการถ่ายเรณูของพืชดอกหรือไม่ อย่างไร คำตอบ ลักษณะต่าง ๆ ของดอกมีส่วนเกี่ยวข้องในการถ่ายเรณูของพืชดอก โดยถ้าส่วนของเกสรเพศผู้และ เกสรเพศเมียอยู่ในระดับเดียวกัน หรือ เกสรเพศผู้สูงกว่าเกสรเพศเมีย พืชชนิดนั้นก็มีโอกาสที่จะถ่ายเรณูได้เอง แต่ถ้าเกสรเพศผู้ต่ำกว่าเกสรเพศเมีย ก็จำเป็นต้องมีสิ่งที่ช่วยในการถ่ายเรณูเช่น ลม สัตว์


7 2. ปัจจัยภายนอกที่ช่วยในการถ่ายเรณูของพืชดอกมีอะไรบ้าง คำตอบ............................................................................................................................. .................................... .................................................................................................................................................... ......................... 3. วิธีการถ่ายเรณูจากการอภิปรายเหมือนหรือแตกต่างจากข้อมูลที่ได้จากการสืบค้น อย่างไร คำตอบ เหมือนกัน คือ ดอกของพืชแต่ละชนิดมีลักษณะรูปร่างที่แตกต่างกัน ซึ่งจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับวิธีการ ถ่ายเรณูของพืช เช่น ดอกที่มีกลิ่น มีสีสันสดใส จะมีสัตว์ช่วยในการถ่ายเรณู แตกต่างกัน คือนอกจากการมีกลีบ ดอกสีสันสดใสหรือมีกลิ่นช่วยในการดึงดูดสัตว์ให้มาช่วยถ่ายเรณูแล้ว พืชยังถ่ายเรณูโดยมีตัวกลางอย่างอื่นอีก เช่น ลม น้ำ 4. จากกิจกรรม สรุปได้ว่าอย่างไร คำตอบ............................................................................................................................. .................................... .............................................................................................................................................. ............................... ............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................. ................................................ การถ่ายละอองเรณู หรือการถ่ายละอองเกสร คือ วิธีการที่ละอองเกสรตัวผู้เคลื่อนที่ไป ตกลงบน ยอดเกสรตัวเมีย เพื่อให้เกิดการผสมพันธ์ในโอกาสต่อไป การถ่ายละอองเกสรมี 3 แบบ คือ 1. การถ่ายละอองเกสรในดอกเดียงกัน พืชที่มีดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ คือ มีเกสรตัวผู้และตัวเมีย อยู่ในดอกเดียวกันละอองเกสรตัวผู้สามารถร่วงหรือ ปลิวมาตกบนยอดเกสรตัวเมียได้พืชที่ถ่ายละอองเกสรใน ดอกเดียวกัน ได้แก่ ถั่ว มะเขือ ฝ้ายและพืชที่มีดอกสมบูรณ์เพศอื่น ๆ 2. การถ่ายละอองเกสรข้ามดอกในต้นเดียวกัน เกิดกับพืชที่มีดอกไม่สมบูรณ์ ละอองเกสรตัวผู้จะต้อง เคลื่อนที่ไปตกบนยอดเกสรตัวเมียของดอกหนึ่ง ในต้นเดียวกัน พืชที่ต้องถ่ายละอองเกสรแบบ นี้ ได้แก่ ฟักทอง แตงกวา และพืช ที่มีดอกไม่สมบูรณ์เพศอื่น ๆ 3. การถ่ายละอองเกสรข้างต้น เกิดกับพืชที่มีดอกตัวผู้หรือดอกตัวเมีย อยู่คนละต้น จึงต้องใช้ใน การถ่ายละอองเกสรข้ามต้นพืชที่มีดอกสมบูรณ์เพศ หรือพืชที่มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน ก็ อาจจะถ่ายละอองเกสรข้ามต้นได้ โดย อาศัยลมหรือสัตว์พาไป ขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2 ขั้นที่ 3 ละอองเรณูปลิวไปตก ละอองเรณูงอกหลอด ละอองเรณูไปผสมกับโอวุล บนยอดเกสรตัวเมีย ไปตามเกสรตัวเมีย เกิดการปฏิสนธิ ภาพการถ่ายละอองเรณู ที่มา:http://www.thaigoodview.com/library/sema/sukhothai/chutima_n/plant/sec03p04.html


8 การปฏิสนธิคือ เซลล์สืบพันธุ์ตัวผู้ (ละอองเรณู) ผสมกับเซลล์สืบพันธุ์ตัวเมีย (ไข่อ่อน) เมื่อเกิดการถ่าย ละอองรณูละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรตัวเมียและ ได้รับอาหารที่ยอดเกสรตัวเมียงอกหลอดไปตามเกสรตัว เมีย และเข้าไปผสม กับเซลล์ไข่ (ไข่อ่อน) ภายในรังไข่ การปฏิสนธิซ้อน เมื่อละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรเพศเมีย ทิวบ์นิวเคลียสของละอองเรณูแต่ละอันจะสร้างหลอด ละอองเรณูด้วยการงอกหลอดลงไปตามก้านเกสรเพศเมียผ่านทางรูไมโครไพล์ของออวุล ระยะนี้เจเนอเรทิฟ นิวเคลียสจะแบบนิวเคลียสแบบไมโทซิสได้ 2 สเปิร์มนิวเคลียส (sperm nucleus) สเปิร์มนิวเคลียสหนึ่งจะ ผสมกับเซลล์ไข่ได้ไซโกต ส่วนอีกสเปิร์มนิวเคลียสจะเข้าผสมกับเซลล์โพลาร์นิวคลีไอได้ เอนโดสเปิร์ม (endosperm) เรียกการผสม 2 ครั้งของสเปิร์มนิวเคลียสนี้ว่า การปฏิสนธิซ้อน (double fertilization) ภาพการปฏิสนธิซ้อนของพืชดอก ที่มา: http://happypa.wikispaces.com/การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของพืช การเปลี่ยนแปลงของดอกหลังการปฏิสนธิ หลังจากการปฏิสนธิยอดและก้านชูเกสรตัวเมียจะเหี่ยว ลง กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียก็จะแห้งแล้วร่วงหลุดไป ส่วนรังไข่และโอวุลจะมีการ เจริญเติบโตต่อไป โดยรังไข่จะเจริญกลายเป็นผล ส่วนโอวุลจะเจริญไปเป็นเมล็ด ซึ่งภายในเมล็ดจะเก็บต้น อ่อนและอาหารสะสมไว้ภายในเพื่อเกิดเป็นต้นใหม่ต่อไป นักเรียนทราบหรือไม่ว่าปัจจัยใดบ้างที่ ส่งผลต่อการงอกของเมล็ด


9 กิจกรรมที่2 เมล็ดงอกได้อย่างไร จุดประสงค์: 1. สังเกต รวบรวมข้อมูล และระบุส่วนประกอบและหน้าที่ของส่วนประกอบของเมล็ดพืช 2. รวบรวมข้อมูล และระบุปัจจัยในการงอกของเมล็ด 3. อภิปราย ลงมือปฏิบัติเพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงของเมล็ดขณะงอก วัสดุและอุปกรณ์ รายการ ปริมาณ/กลุ่ม 1. เมล็ดถั่วแดง 10 - 15 เมล็ด 2. เมล็ดข้าวโพด 10 - 15 เมล็ด 3. ใบมีดโกน เท่าจำนวนคนในกลุ่ม 4. แว่นขยาย 2 - 3 อัน 5. น้ำ วิธีการทดลอง ตอนที่ 1 1. สังเกตลักษณะภายนอก และภายในของเมล็ดถั่วแดงและเมล็ดข้าวโพดโดยใช้ใบมีดโกนผ่าเมล็ดตาม ยาวบันทึกผลโดยการวาดส่วนประกอบของเมล็ด 2. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับส่วนประกอบและหน้าที่ของแต่ละส่วนประกอบของเมล็ดถั่วแดงและเมล็ดข้าว โพดเปรียบเทียบส่วนประกอบของเมล็ดกับภาพวาดในเพิ่มเติมหรือแก้ไขภาพที่วาดไว้ให้ถูกต้อง และ ระบุส่วนประกอบของเมล็ด ผลการทำกิจกรรม ตอนที่ 1 ตาราง ผลการสังเกตลักษณะภายนอก และภายในของเมล็ดถั่วแดงและเมล็ดข้าวโพด เมล็ดพืช ลักษณะภายนอก ลักษณะภายใน ถั่วแดง ข้าวโพด


10 ตาราง ผลการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับส่วนประกอบและหน้าที่ของแต่ละส่วนประกอบของเมล็ดถั่ว แดงและเมล็ดข้าวโพด เมล็ดพืช ส่วนประกอบ หน้าที่ของส่วนประกอบ ถั่วแดง เปลือกหุ้มเมล็ด ห่อหุ้มส่วนประกอบอื่น ๆ ของเมล็ด เอ็มบริโอ ประกอบด้วย - รากแรกเกิด (radicle) - ต้นอ่อน (caulicle) - ใบเลี้ยง (cotyledon) - จะเจริญเติบโตต่อไปเป็นรากแก้ว - จะเจริญเติบโตเป็นต่อไปลำต้น - เป็นแหล่งอาหารของต้นอ่อนในขณะงอก ข้าวโพด เปลือกหุ้มเมล็ด ห่อหุ้มส่วนประกอบอื่น ๆ ของเมล็ด เอ็มบริโอ ประกอบด้วย - รากแรกเกิด (radicle) - ต้นอ่อน (caulicle) - ใบเลี้ยง (cotyledon) - จะเจริญเติบโตต่อไปเป็นรากแก้ว - จะเจริญเติบโตต่อไปเป็นลำต้น - สร้างเอนไซม์มาช่วยดึงอาหารจากเอนโดสเปิร์มมาใช้ ขณะงอก เอนโดสเปิร์ม เป็นแหล่งอาหารของต้นอ่อนในขณะงอก คำถามท้ายกิจกรรม ตอนที่ 1 1. 1.เมล็ดถั่วแดงและเมล็ดข้าวโพดมีส่วนประกอบเหมือนหรือแตกต่างกัน อย่างไร แนวคำตอบ เมล็ดถั่วแดงและเมล็ดข้าวโพดมีเปลือกหุ้มเมล็ด และเอ็มบริโอ เหมือนกัน แต่เมล็ดข้าว โพดมีเอนโดสเปิร์ม ซึ่งเมล็ดถั่วแดงไม่มี 2. ส่วนประกอบต่าง ๆ ของเมล็ดมีหน้าที่อย่างไร แนวคำตอบ - เปลือกหุ้มเมล็ดเป็นส่วนที่อยู่ชั้นนอกสุดทำหน้าที่ห่อหุ้มส่วนประกอบอื่น ๆ ของเมล็ด - เอ็มบริโอจะประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ รากแรกเกิด จะเจริญเติบโตเป็นรากแก้ว ต้นอ่อน จะเจริญ เป็นลำต้น และ ใบเลี้ยง ทำหน้าที่เป็นแหล่งอาหารให้แก่ต้นอ่อนขณะงอก - เอนโดสเปิร์มมีหน้าที่สะสมอาหารสำหรับต้นอ่อนที่กำลังงอก 3. จากกิจกรรมตอนที่ 1 สรุปได้ว่าอย่างไร ................................................................................................................................................................. .............................................................................................................. ................................................... ................................................................................................................................................................. ........................................................................................................ ......................................................... วิธีการทดลอง ตอนที่ 2 1. รวบรวมปัจจัยในการงอกของเมล็ด ออกแบบวิธีการเพาะเมล็ดและตารางบันทึกผลการเปลี่ยนแปลง ของเมล็ดแต่ละชนิดกำลังงอก


11 2. เพาะเมล็ดถั่วแดงและเมล็ดข้าวโพดตามวิธีที่ออกแบบสังเกตการเปลี่ยนแปลงของเมล็ดตั้งแต่เริ่มเพาะ จนต้นถั่วแดงและต้นข้าวโพดมีใบแท้แทงออกจากเมล็ด บันทึกผล ผลการทำกิจกรรม ตอนที่ 2 ตารางบันทึกผลเพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลงของเมล็ดถั่วแดงในแต่ละวัน วันที่ ภาพวาด/ภาพถ่าย การเปลี่ยนแปลง 1 2 3 4 5 6 11


12 7 ตารางบันทึกผลเพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลงของเมล็ดข้าวโพดในแต่ละวัน วันที่ ภาพวาด/ภาพถ่าย การเปลี่ยนแปลง 1 2 3 4 5 6 7


13 คำถามท้ายกิจกรรม ตอนที่ 2 1.ปัจจัยในการงอกของเมล็ดมีอะไรบ้าง และปัจจัยเหล่านั้นมีส่วนช่วยในการงอก อย่างไร แนวคำตอบ ปัจจัยในการงอกของเมล็ด ได้แก่ - น้ำหรือความชื้น ช่วยให้เมล็ดหยุดการพักตัวและพองขยายขนาดขึ้น เปลือกหุ้ม เมล็ดอ่อนตัวลงทำ ให้รากแรกเกิดงอกแทงออกจากเมล็ดได้ - แก๊สออกซิเจน เมล็ดใช้แก๊สออกซิเจนในกระบวนการสร้างพลังงานในการงอก - อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมจะส่งผลต่อกระบวนการทำงานภายในเซลล์ของเมล็ด 2. วิธีการเพาะเมล็ดของนักเรียน จัดให้มีปัจจัยใดบ้างที่ช่วยในการงอก เพราะเหตุใด ............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................................. 3. การเปลี่ยนแปลงขณะงอกของเมล็ดถั่วแดงและเมล็ดข้าวโพดเหมือนหรือแตกต่างกัน อย่างไร แนวคำตอบ การเปลี่ยนแปลงขณะงอกของเมล็ดถั่วแดงและเมล็ดข้าวโพดแตกต่างกัน โดยขณะที่ เมล็ดข้าวโพดงอก รากแรกเกิดแทงออกจากเมล็ดในเวลาไล่เลี่ยกันกับต้นอ่อน เมื่อใบแท้ใบแรกเจริญโผล่ขึ้นพ้น ดิน เมล็ดจะเหี่ยวและลีบไป ส่วนการงอกของเมล็ดถั่วแดงรากแรกเกิดจะงอกออกจากเมล็ดก่อนจากนั้นต้นอ่อน จะเจริญเติบโตและโผล่ออกจากเมล็ด ต้นอ่อนจะงอตัวดึงใบเลี้ยงและยอดอ่อนออกจากเปลือกหุ้มเมล็ด เมื่อต้น อ่อนส่วนใต้ใบเลี้ยงตั้งตรง ต้นอ่อนเหนือใบเลี้ยงยืดตัว ใบเลี้ยงจะกางออกทำให้เห็นใบแท้และยอดอ่อน 4. จากกิจกรรมตอนที่ 2 สรุปได้ว่าอย่างไร .............................................................................................................................................. ............................... ............................................................................................................................................................................. 5. จากกิจกรรมทั้ง 2 ตอน สรุปได้ว่าอย่างไร แนวคำตอบ เมล็ดจะงอกได้ต้องอยู่ในสภาพที่มีน้ำหรือความชื้น มีแก๊สออกซิเจน และมีอุณหภูมิที่ เหมาะสม ในขณะงอกเมล็ดจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเมล็ดพืชที่มีส่วนประกอบแตกต่างกัน เมื่อมีการงอกก็จะมี การเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกัน จากรูปโครงสร้างของเมล็ด เขียนชื่อและหน้าที่ของส่วนประกอบลักษณะภายนอก และภายในของเมล็ดถั่ว แดงและเมล็ดข้าวโพด เมล็ดถั่วแดง ลักษณะภายนอก ร่วม กัน คิด1


14 ลักษณะภายใน เมล็ดข้าวโพด ลักษณะภายนอก ลักษณะภายใน โครงสร้างของเมล็ด เมล็ดมีส่วนประกอบดังนี้ 1. เปลือกหุ้มเมล็ด เป็นส่วนที่อยู่นอกสุดทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้แก่เมล็ด ที่ด้านเว้าของเมล็ดจะมีรอย แผลเป็น ซึ่งเป็นส่วนที่เคยติดกับรังไข่ และมีรูไมโครไพล์อยู่บริเวณนี้ซึ่งรากแรกเกิดจะงอกออกทางรูไมโคร ไพล์นี้


15 2. เนื้อเมล็ด เป็นส่วนที่สะสมอาหารไว้เลี้ยงต้นอ่อน พืชใบเลี้ยงคู่ เนื้อเมล็ดคือ ใบเลี้ยง เช่น พืชตระกูลถั่ว พืชใบเลี้ยงเดี่ยว เนื้อเมล็ดคือ เอนโดสเปิร์ม เช่น ข้าวโพด ข้าว มะพร้าว 3. ต้นอ่อน ประกอบด้วย 1) ยอดแรกเกิด จะเจริญไปเป็นใบ 2) ใบเลี้ยง ทำหน้าที่สะสมอาหาร ถ้าใบเลี้ยงคู่จะมีใบหนาเพราะมีอาหารสะสมแต่ใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีใบบาง เพราะไม่มีอาหารจะสะสม แต่อาหารสะสม ของใบเลี้ยงเดี่ยวจะพบในเอนโดสเปิร์มที่อยู่ในเมล็ด 3) ส่วนของต้นอ่อนที่อยู่เหนือใบเลี้ยง จะเจริญเป็นลำต้นส่วนบน ใบ และ ดอก 4) ส่วนของต้นอ่อนที่อยู่ใต้ใบเลี้ยง จะเจริญเป็นลำต้นส่วนกลาง 5) รากแรกเกิด จะเป็นส่วนแรกที่งอกผ่านเมล็ดออกทางรูไมโครไพล์ออกมา ก่อนแล้วเจริญไปเป็นรากแก้ว รูปแสดงเมล็ดถั่วผ่าซีก รูปแสดงเมล็ดข้าวโพด ลักษณะการงอกของเมล็ด 1. การงอกที่ชูใบเลี้ยงขึ้นมาเหนือดิน (Epigeal germination)รากอ่อนงอกโผล่พ้นเมล็ดออกทางรูไมโคร โพล์(micropyle) เจริญสู่พื้นดินจากนั้น ไฮโปคอติล(hypocotyl) จะงอกและเจริญยึดยาวตามอย่างรวดเร็ว ดึง ส่วนของใบเลี้ยง (cotyldon) กับ เอปิคอติล(epicotyl) ขึ้นมาเหนือดิน เช่น การงอกของพืชในเลี้ยงคู่ต่าง ๆ รากแรกเกิด → ต้นอ่อนที่อยู่ใต้ใบเลี้ยง → ใบเลี้ยง → ยอดแรกเกิด ภาพการงอกแบบEpigeal germination ของถั่วเขียว


16 2. การงอกที่ฝังใบเลี้ยงไว้ใต้ดิน (Hypogeal germination) พบใน พืชใบเลี้ยงเดี่ยวพืชพวกนี้มีไฮโปคอติล (hypocotyl) สั้น เจริญช้า ส่วนเอปิคอติล (epicotyl) และยอดอ่อน (plumule) เจริญยืดยาวได้อย่างรวดเร็ว เช่น เมล็ดข้าว ข้าวโพด หญ้าฯลฯ การพักตัวของเมล็ด(Dormancy) หมายถึง สภาพที่เอมบริโอในเมล็ด สามารถคงสภาพและมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่เกิดการงอก รากแรกเกิด → ต้นอ่อนที่อยู่เหนือใบเลี้ยง → ยอดแรกเกิด ภาพการงอกแบบ Hypogeal germination ของเมล็ดข้าวโพด การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ 1. การปักชำ เป็นการขยายพันธุ์พืชโดยการตัดส่วนของพืชออกจากต้นเดิมมาปักลงในดินหรือทราย ทีมี ความชื้นสมควร แล้วรดน้ำทุกวัน จนเกิดรากแตก ออกมาปริมาณมากและแข็งแรงจึงนำไปปลูกลง ในดิน 2. การตอนกิ่ง คือ การทำให้กิ่งหรือต้นพืชเกิดรากขณะติดอยู่กับต้นแม่ จะทำให้ได้ต้นพืชใหม่ ที่มี ลักษณะทางสายพันธุ์ เหมือนกับต้นแม่ 3. การทาบกิ่ง คือ การนำต้นพืช 2 ต้นเป็นต้นเดียวกัน โดยส่วนของต้นตอที่นำมาทาบกิ่ง จะทำหน้าที่ เป็นระบบรากอาหารให้กับต้นพันธุ์ดี 4. การติดตา คือ การเชื่อมประสานส่วนของต้นพืชเข้าด้วยกัน เพื่อให้เจริญเป็นพืชต้น เดียวกัน โดยการ นำแผ่นตาจากกิ่งพันธุ์ดี ไปติดบนต้นตอ 5. การเสียบยอด การเชื่อมประสานเนื้อเยื่อของต้นพืช 2 ต้นเข้าด้วยกัน เพื่อให้เจริญเติบโต เป็นต้น เดียวกัน เทคโนโลยีชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับพืช 1.การขยายพันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์พืช เทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์พืช หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงพันธุกรรมของพืช เพื่อให้ได้ พันธุ์ใหม่ที่ดีกว่าเดิมในแง่ของผลผลิต ความต้านทานโรคและแมลง อายุเก็บเกี่ยว การเจริญเติบโต รูปทรงของ ต้น ซึ่งอาจทำได้หลายวิธีคือ 1.1 การผสมพันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์เป็นการผสมเกสรให้พืชแทนการปล่อยให้พืช ผสมเกสรเอง ตามธรรมชาติ โดยคัดเลือกพันธุ์พืชที่ต้องการ แล้วนำเกสรตัวผู้และตัวเมียมาผสมกันเพื่อให้ได้ลักษณะของ ลูกผสมที่ดีขึ้น


17 1.2 การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นวิธีการคัดเลือกพันธุ์วิธีหนึ่งที่นิยมใช้กับพืชที่มีปัญหาเรื่องการ ขยายพันธุ์หรือพืชที่มีปัญหาเรื่องโรคที่ติดมากับกิ่งพันธุ์ เช่น กล้วยไม้ขิง แครอท หลิวมันฝรั่ง ข้าว มะพร้าว ถั่ว มะเขือเทศ มะม่วง เป็นต้น จุดประสงค์หลักของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ คือ เพื่อให้ได้พืชที่มีความทนทานต่อ สภาพแวดล้อมที่กำหนด และพัฒนาลักษณะพันธุ์ให้ดีขึ้นเช่น มีภูมิคุ้มกันโรค ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช 1) นำชิ้นส่วนพืชที่ต้องการมาล้างน้ำให้สะอาด 2) ตกแต่งชิ้นส่วนพืช ตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก 3) นำชิ้นส่วนพืชจุ่มในแอลกอฮอล์ 95 % เพื่อลดแรงตึงผิวบริเวณนอกชิ้นส่วนพืช 4) นำชิ้นส่วนพืชมาเขย่าในสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เตรียมไว้นาน 10 – 15 นาที 5) ใช้ปากคีบคีบชิ้นส่วนพืช ล้างในน้ำกลั่นที่นึ่งฆ่าเชื้อ 3 ครั้ง 6) ตัดชิ้นส่วนพืชตามขนาดที่ต้องการแล้ววางบนอาหารสังเคราะห์ 7) ลงรายละเอียด เช่น ชนิดพืช วันเดือนปี หรือรหัส ในการทำการฆ่าเชื้อที่ติดมากับผิวพืช และการนำไปเลี้ยงบนอาหารทำในตู้ถ่ายเนื้อเยื่อ โดยตลอด ภาพแสดงขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช 1.3 พันธุวิศวกรรม กระบวนการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมด้วยการตัดต่อยีน และ เปลี่ยนยีนใน เซลล์ เพื่อให้ได้สิ่งมีชีวิตใหม่ที่มีสมบัติตามที่ต้องการ ข้อดีของพันธุวิศวกรรม ใช้เวลาน้อยกว่าวิธีการปรับปรุงพันธุ์ตามธรรมชาติหรือวิธีการดั้งเดิม ผลิตผลที่ได้จะมีคุณสมบัติตรง ตามความต้องการมากกว่า เนื่องจากใช้ยีนที่มีคุณสมบัติที่ต้องการโดยตรงไม่มีข้อจำกัดของแหล่งยีนที่จะนำมา ตัดต่ออาจเป็นยีนที่ได้มาจากการสังเคราะห์ขึ้นหรืออาจไม่เกี่ยวข้องกับสายพันธุ์เดิมเลยก็ได้ มารู้จักGMOs กันเถอะ การนำส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชมาเลี้ยงในอาหารวิทยาศาสตร์ที่ ปลอดเชื้อจุลินทรีย์และอยู่ในสภาวะที่เหมาะสม GMO ย่อมาจาก Genetically Modified Organis (หากมีs ข้างท้ายแสดงว่ามีหลายชนิด) คือสิ่งมีชีวิตที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรม โดยอาศัยเทคนิค ทางพันธุวิศวกรรม


18 2. การเพิ่มผลผลิตของพืช 2.1 การรักษาสภาพของดินให้คงสภาพที่ดีอยู่เสมอ 2.1.1 การปลูกพืชหมุนเวียนการปลูกพืชหมุนเวียน คือ การปลูกพืชต่างชนิดกันบนพื้นที่ เดียวกัน หมุนเวียนไป เพื่อให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ลดการระบาดของศัตรูพืชและช่วยให้ได้ผลผลิตมากขึ้น 2.1.2 การปลูกพืชแซมการปลูกพืชแซม คือ การปลูกพืชที่มีรากตื้นสลับกับพืชที่มีรากหยั่งลึก ลงบนพื้นที่ปลูก พืชแซมนี้มักมีขนาดเล็กโดยปลูกแซมอยู่ระหว่างแถว เช่น ปลูกสับปะรดแซมอยู่ระหว่างแถว ของยางพารารักษาความชุ่มชื้นและบรรเทาความร้อนในดิน 2.1.3 การปลูกพืชตามแนวระดับหรือแบบขั้นบันได การปลูกพืชตามแนวระดับหรือแบบ ขั้นบันได คือ การปลูกพืชในลักษณะนี้เป็นการปลูกพืชในลักษณะขวางความลาดเอียงของพื้นที่ ทำให้ช่วย ป้องกันการกัดเซาะพังทลายของดิน 1. การเพาะเมล็ด เหมือนหรือแตกต่างจากการขยายพันธุ์วิธีอื่น ๆ อย่างไร แนวคำตอบ การเพาะเมล็ดเป็นการขยายพันธุ์พืชที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืช ส่วน วิธีการอื่น ๆ เช่น การติดตา ตอนกิ่ง เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นการนำความรู้เรื่องการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของ พืชมาใช้ 2. การปักชำและการตอนกิ่ง แตกต่างจากการทาบกิ่ง การต่อกิ่ง และการติดตาอย่างไร แนวคำตอบ การปักชำและการตอนกิ่งเป็นการทำให้เนื้อเยื่อลำเลียงของกิ่งขาดออกจากกันแล้ว เนื้อเยื่อส่วนนั้นจะสร้างรากขึ้นมาใหม่ ทำให้ได้พืชต้นใหม่เพิ่มขึ้นจากเดิม ซึ่งแตกต่างจากการทาบกิ่ง การต่อกิ่ง และการติดตา ที่เป็นการทำให้เนื้อเยื่อของพืชต้นตอและกิ่งทาบ ตา หรือยอดที่นำมาเสียบประสานติดกัน ซึ่งทำ ให้พืชที่ต้องการเพิ่มจำนวนเจริญเติบโตอยู่บนพืชต้นอื่น สำหรับการทาบกิ่งเมื่อเนื้อเยื่อส่วนที่ทาบประสาน ติดกันดีแล้วสามารถตัดกิ่งใต้รอยทาบมาปลูกได้ 3. เพราะเหตุใด จึงนิยมขยายพันธุ์สับปะรดโดยการปักชำหน่อหรือจุก นวคำตอบ เพราะสับปะรดเป็นพืชที่มีเมล็ดน้อย เมล็ดงอกยาก และเจริญเติบโตจากเมล็ดช้าจึงไม่ เหมาะสำหรับการเพาะเมล็ด และเป็นพืชที่เนื้อไม้อ่อน มีใบซ้อนกันแน่นอยู่บนลำต้น ยากต่อการขยายพันธุ์โดย การติดตา ต่อกิ่ง ทาบกิ่ง ตอนกิ่ง ซึ่งจากลักษณะของต้นสับปะรดจะเห็นว่าหน่อหรือจุกนั้นเป็นส่วนของตาที่ สามารถแตกเป็นต้นใหม่ได้ การนำหน่อหรือจุกมาปักชำทำให้ได้ต้นใหม่ที่เจริญเติบโตได้เร็วและเป็นวิธีที่มี ประสิทธิภาพ ทำได้ง่ายและต้นที่ได้จะไม่กลายพันธุ์ 4. เพราะเหตุใดการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจึงได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. ............................... ............................................................................................................................................................................. ร่วม กัน คิด 2


19 5. จงเขียนผังมโนทัศน์ การสรุปองค์ความรู้ในบทเรียนการสืบพันธุ์และการขยายพันธุ์ของพืชดอก 1. พืชดอกมีการสืบพันธุ์แบบใดบ้าง แต่ละแบบมีวิธีอย่างไร แนวคำตอบ พืชดอกทุกชนิดมีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ และบางชนิดพบว่ามีการสืบพันธุ์แบบไม่ อาศัยเพศได้ด้วย การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเกิดขึ้นที่ดอก มีการปฏิสนธิของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเซลล์ สืบพันธุ์เพศเมีย ส่วนการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศไม่มีการปฏิสนธิ โดยพืชต้นใหม่จะเกิดจากการพัฒนาและ เจริญเติบโตของเนื้อเยื่อจากส่วนต่าง ๆ ของพืชต้นเดิม 2. การขยายพันธุ์พืชมีวิธีการ และประโยชน์อย่างไร แนวคำตอบ การขยายพันธุ์พืชมีหลายวิธี เช่น เพาะเมล็ด ปักชำ ติดตา ตอนกิ่ง ต่อกิ่ง ทาบกิ่ง เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อซึ่งแต่ละวิธีมีวิธีการที่แตกต่างกัน การขยายพันธุ์พืชมีประโยชน์ในการเพิ่มจำนวนพืชให้ได้ ลักษณะและจำนวนที่ต้องการ 3. เพราะเหตุใด เกษตรกรบางพื้นที่จึงเลี้ยงผึ้งไว้ในสวนผลไม้ ............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. ............................... 4. การฉีดสารกำจัดศัตรูพืชในพื้นที่การเกษตรส่งผลกระทบต่อการสืบพันธุ์ของพืชดอกหรือไม่ อย่างไร แนวคำตอบ ส่งผลกระทบต่อการสืบพันธุ์ของพืชดอก เนื่องจากสารกำจัดศัตรูพืชสามารถทำลายแมลง ที่เป็นพาหะของการถ่ายเรณูด้วย จึงทำให้ทำให้พืชมีโอกาสในการถ่ายเรณูและการปฏิสนธิน้อยลง ส่งผลให้ ผลผลิตน้อยลงไปด้วย แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน


20 5.หลอดเรณูมีความสำคัญอย่างไร .............................................................................................................................................. ............................... ............................................................................................................................................................................. 6. ไซโกตและเอ็มบริโอเกิดได้อย่างไร และเจริญอยู่ในส่วนใด ตามลำดับ ..................................................................................................................................................................... ........ ............................................................................................................................................................................. 7.ดอก ผล และเมล็ดของพืชเกี่ยวข้องกันหรือไม่อย่างไร แนวคำตอบ ดอก ผล และเมล็ดของพืชมีความเกี่ยวข้องกัน เพราะดอกมีส่วนประกอบที่ทำหน้าที่ สร้างเซลล์สืบพันธุ ์ของพืช หลังจากเกิดการปฏิสนธิขึ้นในดอก รังไข่จะพัฒนาไปเป็นผล และออวุลในรังไข่จะ พัฒนาไปเป็นเมล็ด จึงสังเกตได้ว่าบางส่วนของดอกของพืชจะกลายเป็นส่วนของผล เขียนเครื่องหมาย หน้าคำตอบที่ถูกต้อง พืชต้องการน้ำ อากาศ และแสงในการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโต รากมีหน้าที่ดูดอาหารจากดินแล้วส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช ใบมีหน้าที่สร้างอาหาร คลอโรฟิลล์เป็นออร์แกเนลล์ที่มีหน้าที่สร้างอาหารของพืช แป้งเป็นอาหารสะสมที่พืชสร้างขึ้น การทดสอบแป้งสามารถทำได้โดยใช้สารละลายไอโอดีน 2. การสังเคราะห์ด้วยแสง หลังจากงอกออกจากเมล็ด แล้วพืชใช้อาหารจากแหล่งใด ในการเจริญเติบโต ทบทวนความรู้ก่อนเรียน2


21 กิจกรรมที่ 3 ปัจจัยในการสร้างอาหารของพืชมีอะไรบ้าง จุดประสงค์: ทดลอง สังเกต และระบุปัจจัยในการสร้างอาหารของพืช อุปกรณ์ รายการ ปริมาณ/กลุ่ม 1. ต้นผักบุ้ง 2. ใบชบาด่าง 3. ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์ 4. หลอดหยด 5. บีกเกอร์ขนาด 250 cm3 6. หลอดทดลองขนาดใหญ่ 7. ที่จับหลอดทดลอง 8. ที่วางหลอดทดลอง 9. ปากคีบ 10. จานเพาะเชื้อ 11. กระดาษทึบแสงสีดำ (ขนาดขึ้นอยู่กับขนาดใบผักบุ้ง) 12. กระป๋องทราย 13. ไม้ขีดไฟ 14. สารละลายไอโอดีน 15. เอทานอล 16. น้ำเปล่า 1 กระถาง 1 ใบ 1 ชุด 1 อัน 1 ใบ 1 หลอด 1 อัน 1 อัน 1 อัน 1 ใบ 1 แผ่น 1 ใบ 1 กลัก - ประมาณ 20 cm3 - วิธีการทดลอง ตอนที่ 1 1. เพาะเมล็ดผักบุ้งในกระถาง ให้ผักบุ้งสูงประมาณ 20 cm จากนั้นนำต้นผักบุ้งไปไว้ ในที่มืดก่อน 2 วัน 2. นำกระดาษทึบแสงสีดำมาหุ้มใบผักบุ้งทั้งใบ จำนวน 1 ใบ 3. นำกระถางต้นผักบุ้งไปวางกลางแดด 3 ชั่วโมง ภาพใบที่หุ้มด้วยกระดาษทึบแสงสีดำ 4. เด็ดใบผักบุ้งที่ไม่ได้หุ้มด้วยกระดาษทึบแสงสีดำมา 1 ใบ และใบที่หุ้มด้วยกระดาษทึบแสงสีดำมา 1 ใบ ทำเครื่องหมายแสดงความแตกต่างใบพืชแต่ละใบ สังเกตลักษณะใบผักบุ้งทั้ง 2 ใบ 5. ทดสอบการสังเคราะห์ด้วยแสงของใบผักบุ้งตามขั้นตอนต่อไปนี้


22 5.1 ใส่น้ำ 150 ลูกบาศก์เซนติเมตรในบีกเกอร์ต้มจนเดือดใส่ใบผักบุ้งลงไปต้ม ต่อไปประมาณ 1 นาที ในบีกเกอร์จนเดือด ใส่ใบผักบุ้งลงไปต้ม ต่อไปประมาณ 1 นาที 5.2 คีบผักบุ้งขึ้นจากน้ำเดือดใส่ลงในหลอดทดลองขนาดใหญ่ใบละ 1 หลอดเติมแอลกอฮอล์ลงไปพอ ท่วมใบแช่หลอดทดลองในบีกเกอร์ที่มีน้ำต้มอยู่ต้มต่อไปอีกประมาณ 2 นาทีจนกระทั่งสีใบซีดสังเกตสีของ แอลกอฮอล์ในหลอดทดลองหยิบใบผักบุ้งจากหลอดทดลองจุ่มลงในน้ำเย็น 5.3 แบใบผักบุ้งบนกระจกนาฬิกาแล้วหยดสารละลายไอโอดีนบนใบผักบุ้งแต่ละใบเพื่อทดสอบแป้ง สังเกตและบันทึกผล ผลการทำกิจกรรม ตอนที่ 1 ใบผักบุ้งที่หุ้มด้วยกระดาษทึบแสง ใบผักบุ้งที่ไม่ได้หุ้มด้วยกระดาษทึบแสง ผลการทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีน คำถามท้ายกิจกรรม ตอนที่ 1 1. การเปลี่ยนแปลงของสีสารละลายไอโอดีนบนใบผักบุ้งทั้ง 2 ใบ เหมือนหรือแตกต่างกัน อย่างไร แนวคำตอบ เมื่อหยดสารละลายไอโอดีนบนใบผักบุ้งที่ไม่ได้หุ้มด้วยกระดาษทึบแสงสีดำ สีของ สารละลายไอโอดีนเปลี่ยนจากสีน้ำตาลเป็นสีน้ำเงินเข้มถึงสีดำ ส่วนใบผักบุ้งที่หุ้มด้วยกระดาษทึบแสง สีดำ สีของสารละลายไอโอดีนไม่มีการเปลี่ยนแปลง 2. การทดลองนี้ใบผักบุ้งใบใดที่มีแป้ง และใบใดไม่มีแป้ง ทราบได้อย่างไร และเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แนวคำตอบ ใบผักบุ้งที่ไม่ได้หุ้มด้วยกระดาษทึบแสงมีแป้ง ทราบได้จากการเปลี่ยนสีของสารละลาย ไอโอดีนเมื่อหยดลงบนใบ ส่วนใบผักบุ้งที่หุ้มด้วยกระดาษทึบแสงสีดำไม่มีแป้งเพราะสีของสารลาย ไอโอดีนบนใบไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าแสงเป็นสิ่งที่ทำให้ใบพืชสังเคราะห์ น้ำตาลขึ้น จากนั้นน้ำตาลจะเปลี่ยนไปเป็นแป้ง เมื่อไม่ได้รับแสงจึงไม่มีการสร้างน้ำตาล 3. เพราะเหตุใด ต้องนำต้นผักบุ้งไปไว้ในที่มืดก่อน 2 วัน …………………………………………………………………………………………………………………………………….………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………….…… 4. เพราะเหตุใดจึงต้องนำต้นผักบุ้งไปวางกลางแดด …………………………………………………………………………………………………………………………………….………… 5. จากกิจกรรมตอนที่1 สรุปได้ว่าอย่างไร …………………………………………………………………………………………….………………………………………………… 6. การทดลองนี้สิ่งใดเป็นตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม แนวคำตอบ ตัวแปรต้น คือ ………………………………………………………………………………………. ตัวแปรตาม คือ ………………………………………………………………………………………. ตัวแปรควบคุม คือ ขนาดและอายุของใบผักบุ้ง บริเวณที่วางกระถางผักบุ้ง


23 วิธีการทดลอง ตอนที่ 2 1. เด็ดใบชบาด่างจากต้นที่ได้รับแสงมาแล้วประมาณ 3 ชั่วโมง สังเกตุลักษณะของใบชบาด่าง 2. ทดสอบการสังเคราะห์ด้วยแสงของใบชบาด่างตามขั้นตอนต่อไปนี้ 2.1 ต้มใบชบาด่างลงในน้ำเดือด ประมาณ 5 นาที เพื่อทำให้เซลล์ใบชบาด่างตาย 2.2 เมื่อครบ 5 นาที สกัดคลอโรฟิลออกจากใบชบาด่างด้วยแอลกอฮอล์ โดยคีบใบชบาด่างขึ้นจากน้ำ เดือดใส่ลงในหลอดทดลองขนาดใหญ่ เติมแอลกอฮอล์ลงไปพอท่วมใบแช่หลอดทดลองในบีกเกอร์ที่มีน้ำต้มอยู่ ต้มต่อไปอีกประมาณ 2 นาทีจนกระทั่งสีใบซีดสังเกตสีของแอลกอฮอล์ในหลอดทดลองหยิบใบชบาด่างจาก หลอดทดลองจุ่มลงในน้ำเย็น พับใบชบาด่างไปมาเพื่อให้เส้นใบหัก 2.3 แบใบชบาด่างบนกระจกนาฬิกาแล้วหยดสารละลายไอโอดีนบนใบชบาด่างเพื่อทดสอบแป้งสังเกต และบันทึกผล ผลการทำกิจกรรม ตอนที่ 2 ใบชบาด่างก่อนต้มและก่อนทดสอบ ใบชบาด่างหลังต้มและทดสอบ ด้วยสารละลายไอโอดีน ด้วยสารละลายไอโอดีน คำถามท้ายกิจกรรม ตอนที่ 2 1. เมื่อหยดสารละลายไอโอดีนลงบนใบชบาด่าง เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไร แนวคำตอบ เมื่อหยดสารละลายไอโอดีนลงบนใบชบาด่าง ส่วนของใบชบาด่างที่เคยเป็นสีเขียวจะมี การเปลี่ยนแปลงสีของสารละลายไอโอดีนจากสีน้ำตาลเป็นสีน้ำเงินเข้มถึงสีดำ และตรงส่วนที่เคยเป็นสี ขาวของใบชบาด่างจะเห็นสีของสารละลายไอโอดีนจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง 2. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เป็นเพราะเหตุใด แนวคำตอบ เพราะใบชบาด่างส่วนที่เป็นสีเขียวนี้มีการสังเคราะห์ด้วยแสง จึงมีการสร้างน้ำตาลและ เปลี่ยนเป็นแป้งดังนั้นเมื่อทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีนสีของสารละลายไอโอดีนจึงเปลี่ยนเป็นสีน้ำ เงิน 3. จากกิจกรรมตอนที่ 2 สรุปได้ว่าอย่างไร ………………………………………………………………………………………………………………………………………………. 4. สมมติฐานของการทดลองนี้คืออะไร ………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………. 5. นิยามเชิงปฏิบัติการของการทดลองคืออะไร ………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………….


24 วิธีการทดลอง ตอนที่ 3 1. นำต้นชบาไปครอบด้วยกล่องทึบแสง หรือวางในที่มืดอย่างน้อย 48 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้มีการสังเคราะห์ด้วย แสง เมื่อวางต้นชบาในที่มืดครบ 48 ชั่วโมง ลือกใบชบาที่มีขนาดใกล้เคียงกัน 2 ใบมาทำการทดลอง ใส่ โซดาไฟในถ้วยพลาสติก20 กรัม นำถ้วยพลาสติกที่ใส่โซดาไฟใส่ในถุงพลาสติกใส แล้วใส่ใบชบา 1 ใบ ใน ถุงพลาสติกใสผูกปากถุงให้แน่น ใส่ใบชบาอีก 1 ใบ ในถุงพลาสติก เปล่าผูกปากถุงให้แน่น นำต้นชบาไป วางไว้กลางแดดนาน 2-3 ชั่วโมง เมื่อครบ 3 ชั่วโมงเด็ดใบชบา ทั้ง 2 ใบทำเครื่องหมายที่แตกต่าง สังเกตใบ ชบาทั้ง 2 ใบ ภาพแสดงการทดสอบปัจจัยจำเป็นต่อการสร้างอาหารของพืช 2. ทดสอบการสังเคราะห์ด้วยแสงของใบชบาตามขั้นตอนดังนี้ 2.1 ต้มใบชบาลงในน้ำเดือด ประมาณ 5 นาที เพื่อทำให้เซลล์ใบชบาตาย 2.2 เมื่อครบ 5 นาที สกัดคลอโรฟิลออกจากใบชบาด้วยแอลกอฮอล์ โดยคีบใบชบาขึ้นจากน้ำเดือดใส่ ลงในหลอดทดลองขนาดใหญ่ เติมแอลกอฮอล์ลงไปพอท่วมใบแช่หลอดทดลองในบีกเกอร์ที่มีน้ำต้มอยู่ต้มต่อไป อีกประมาณ 2 นาทีจนกระทั่งสีใบซีดสังเกตสีของแอลกอฮอล์ในหลอดทดลองหยิบใบชบาจากหลอดทดลองจุ่ม ลงในน้ำเย็นพับใบชบาไปมาเพื่อให้เส้นใบหัก 2.3 แบใบชบาบนกระจกนาฬิกาแล้วหยดสารละลายไอโอดีนจนทั่วใบชบาทั้งสองใบเพื่อทดสอบแป้ง สังเกตและบันทึกผล ผลการทำกิจกรรม ตอนที่ 3 สมมติฐานการทดลอง …………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… นิยามเชิงปฏิบัติการ ……………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ตัวแปรต้น ………………………………………………………………………………….....…………………………………………… ตัวแปรตาม ……………………………………………………………………………………………………..…………………………… ตัวแปรควบคุม ……………………………………………………………………………………………………..…………………………… ใบชบาที่อยู่ในถุงพลาสติกใสที่ไม่มีโซดาไฟ ใบชบาที่อยู่ในถุงพลาสติกใสที่มีโซดาไฟ หลังทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีน หลังทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีน ถุงพลาสติกใส ใบชบา ใบชบา ถุงพลาสติกใส โซดาไฟ


25 คำถามท้ายกิจกรรม ตอนที่ 3 1. การเปลี่ยนแปลงของสีสารละลายไอโอดีนบนใบชบาทั้ง 2 ใบ เหมือนหรือแตกต่างกัน อย่างไร แนวคำตอบ การเปลี่ยนแปลงของสีสารละลายไอโอดีนบนใบผักชบาทั้ง 2 ใบ แตกต่างกัน โดยสี ของสารละลายไอโอดีนที่หยดลงบนใบชบาในถุงพลาสติกที่ไม่มีซาดาไฟเปลี่ยนจากสีน้ำตาลเป็นสีน้ำ เงินเข้ม ส่วนสีสารละลายไอโอดีนที่หยดลงบนใบชบาที่อยู่ในถุงพลาสติกมีโซดาไฟไม่เปลี่ยนแปลง 2. การทดลองนี้ใบชบาใบใดบ้างที่มีแป้ง ใบชบาใบใดบ้างที่ไม่มีแป้ง ทราบได้อย่างไร เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แนวคำตอบ ใบชบาที่อยู่ในถุงพลาสติกไม่มีซาดาไฟมีแป้งเพราะสีสารละลายไอโอดีนเปลี่ยนจาก สีน้ำตาลเป็นสีน้ำเงินเข้ม ส่วนใบชบาที่อยู่ในถุงพลาสติกไม่มีโซดาไฟไม่มีแป้งเพราะสีสารละลาย ไอโอดีนไม่เปลี่ยนแปลง 3. เพราะเหตุใดจึงต้องใส่โซดาไฟในถุงพลาสติก ………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………. 4. กิจกรรมนี้จัดชุดทดลองเป็นกี่ชุดอะไรบ้าง แนวคำตอบ กิจกรรมนี้จัดชุดทดลองเป็น 2 ชุด ได้แก่ ใบชบาที่อยู่ในถุงพลาสติกไม่มีซาดาไฟ และใบชบาที่อยู่ในถุงพลาสติกมีโซดาไฟ 5. จากกิจกรรมตอนที่ 3 สรุปได้ว่าอย่างไร ………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………. 6. จากกิจกรรมทั้ง 3 ตอน สรุปได้ว่าอย่างไร ………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………….


26 กิจกรรมที่ 4 การสังเคราะห์ด้วยแสงได้ผลผลิตใดอีกบ้าง จุดประสงค์: ทดลอง และระบุผลผลิตของการสังเคราะห์ด้วยแสง วัสดอุปกรณ์ รายการ ปริมาณ/กลุ่ม 1. สาหร่ายหางกระรอก 2. บีกเกอร์ขนาด 1000 cm3 3. กรวยแก้ว 4. หลอดทดลอง ขนาด 10 cm3 5. ช้อนเบอร์1 6. กระป๋องทราย 7. ธูป 8. ไม้ขีดไฟ 9. ผงฟ 10. น้ำเปล่า 1 ช่อ 1 ใบ 1 อัน 1 หลอด 1 อัน 1 ใบ 1 ก้าน 1 กลัก 1 ช้อนเบอร์ 1 - วิธีการทดลอง 1. ใส่ต้นสาหร่ายหางกระรอกไว้ในกรวยแก้ว ก้านสั้นแล้วคว่ำลงในอ่างแก้วหรือบีกเกอร์ขนาด 2 ลิตร ซึ่ง มีน้ำและผงฟูจำนวน 1 ช้อนเบอร์ 1 อยู่ด้วยโดย ให้ปลายก้านกรวยแก้วจมอยู่ในน้ำ 2. ใส่น้ำจนเต็มหลอดทดลองที่มีขนาดใหญ่กว่าก้านกรวยแก้วเล็กน้อยคว่ำหลอดทดลองครอบก้านกรวย แก้วดังภาพระวังอย่าให้มีฟองอากาศเกิดขึ้นในหลอดทดลองนำอ่างนี้ไปตั้งไว้กลางแดดประมาณ 3-4 ชั่วโมงสังเกตและบันทึกผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในหลอดทดลอง 3. ค่อยๆ ยกหลอดทดลองให้สูงขึ้นเหนือกรวยแก้วแต่ปากหลอดทดลองยังอยู่ใต้ระดับน้ำใช้นิ้วอุดปาก หลอดทดลองไว้แล้วยกหลอดทดลองขึ้น ขณะเดียวกันรีบแหย่ธูปติดไฟแดงๆ ลงไปในหลอดทดลอง สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ภาพขั้นตอนการทดลองเรื่องผลผลิตที่เกิดจากการสังเคราะห์ด้วยแสง กิจกรรมนี้มีการใช้ไม้ขีดไฟ และการจุดธูป ควรระวังไม่ให้ปลายธูป ถูกร่างกาย และควรดับให้สนิทในกระป๋องทรายก่อนทิ้ง


27 ผลการทำกิจกรรม ตาราง ผลการสังเกตการเปลี่ยนแปลงในหลอดทดลอง ชุดการทดลอง ผลการสังเกต ชุดการทดลองที่วางกลางแดดจัด ชุดการทดลองที่วางไว้ในกล่องทึบแสง ตาราง ผลการสังเกตจากการแหย่ธูปที่ติดไฟแต่ไม่มีเปลวไฟลงในหลอดทดลอง คำถามท้ายกิจกรรม 1. เพราะเหตุใดจึงต้องใส่ผงฟูในบีกเกอร์ ……………………………………………………………………………………………………………………………………………….…… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………. 2. ชุดทดลองที่วางไว้กลางแดดจัดมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไร แนวคำตอบ คำตอบขึ้นอยู่กับผลการทำกิจกรรมของนักเรียน เช่น ชุดทดลองที่วางไว้กลางแดดจัดเกิด การเปลี่ยนแปลง คือ จะมีฟองแก๊สผุดขึ้นในหลอดทดลอง 3. ชุดทดลองที่วางไว้ในกล่องทึบมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไร แนวคำตอบ คำตอบขึ้นอยู่กับผลการทำกิจกรรมของนักเรียน เช่น ชุดทดลองที่วางไว้ในกล่องทึบแสงไม่ เกิดฟองแก๊สในหลอดทดลอง 4. สาหร่ายหางกระรอกในชุดทดลองที่ได้รับแสง มีการสังเคราะห์ด้วยแสงหรือไม่อย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………….…… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………….… 5. สิ่งที่เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์ด้วยแสงในกิจกรรมนี้คืออะไร ทราบได้อย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………….…… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………. 6. จากกิจกรรม สรุปได้ว่าอย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………….…… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………….…… พืชต้องการอากาศ น้ำ แสง และธาตุอาหารในการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิต พืชดูดน้ำและธาตุ อาหารจากดินเข้าสู่รากและลำเลียงผ่านทางไซเล็มไปสู่ลำต้น ใบ และส่วนอื่น ๆ ของพืช เพื่อใช้ในการสังเคราะห์ ด้วยแสงรวมถึงกระบวนการอื่น ๆ และมีโฟลเอ็มลำเลียงอาหารที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืช ชุดการทดลอง ผลการสังเกต ชุดการทดลองที่วางกลางแดดจัด ชุดการทดลองที่วางไว้ในกล่องทึบแสง 3. การลำเลียงน้ำ ธาตุอาหาร และอาหารของพืช


28 พืชได้รับน้ำ ธาตุอาหารและอาหารจากการดูดน้ำและธาตุอาหารจากดิน และได้รับอาหารโดยการ สร้างขึ้นเอง พืชนำน้ำจากดิน และอาหารที่สร้างขึ้นที่ใบไปยังส่วนต่างๆของพืชโดยการลำเลียงผ่านลำต้น สังเกต ได้ว่าเมล็ดที่เพิ่งงอกจะมีรากแรกเกิดงอกออกมาก่อน และที่บริเวณเหนือปลายรากมีขนรากจำนวนมาก ภาพ ดินและส่วนประกอบของดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืช ที่มา : หนังสือแบบเรียนวิทยาศาสตร์ ม.1 เล่ม 1 สสวท พืชต้องการธาตุอาหารในการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตเพราะธาตุอาหารเป็นองค์ประกอบของ โครงสร้างต่างๆของพืชและยังเป็นส่วนประกอบของสารที่ทำหน้าที่ในกระบวนการสำคัญเช่นการสังเคราะห์ด้วย แสงและการหายใจ ในดินมีธาตุอาหารหลายชนิดที่จำเป็นต่อพืชแต่ดินในแต่ละพื้นที่อาจมีชนิดและปริมาณของ ธาตุอาหารแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของอินทรีย์วัตถุและอนินทรีย์วัตถุที่เป็นส่วนประกอบของดิน รู้หรือไม่ว่าธาตุอาหารชนิดใดบ้างที่มีความจำเป็นต่อพืชและถ้าดินมีธาตุอาหารไม่เพียงพอต่อความ ต้องการของพืชควรแก้ไขอย่างไร พืชใช้สิ่งใดบ้างในการสังเคราะห์ด้วยแสง และได้สิ่งเหล่านั้นจากแหล่งใด …………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………….. 3.1 ธาตุอาหารของพืช นักเรียนทราบหรือไม่ว่าพืชลำเลียงน้ำและอาหารอย่างไร …………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………..


29 เขียน O ล้อมรอบคำที่เป็นส่วนประกอบของดิน น้ำ ไส้เดือนดิน ฮิวมัส อากาศ เศษขยะ ทราย รากเนื้อเยื่อหลายชั้น เนื้อเยื่อชั้นที่อยู่นอกสุดเรียกว่า เอพิเดอร์มิส (Epidermis) ซึ่งมักประกอบด้วย เซลล์เพียงชั้นเดียวเอพิเดอร์มิสมีลักษณะพิเศษคือ ผิวด้านนอกที่สัมผัสกับดินจะยื่นออกไป เรียกว่า ขนราก (Root hair) เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัสของราก ทำให้รากดูดน้ำได้มากขึ้น กิจกรรมที่ 5 ธาตุอาหารสำคัญต่อพืชอย่างไร จุดประสงค์: 1. รวบรวมข้อมูล อธิบายความสำคัญของธาตุอาหารของพืชที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิ ของพืช รวมทั้งการแก้ปัญหาการขาดธาตุอาหารของพืช 2. เสนอแนวทางการแก้ปัญหาการขาดแคลนธาตุอาหารของพืช แหล่งสืบค้นข้อมมูล สืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ต่อไปนี้ • หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 สสวท. • หนังสือ ธาตุอาหารพืช ของสำนักพิมพ์ต่าง ๆ • หนังสือหรือเอกสารที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ดิน การจัดการดิน การใช้ปุ๋ยสำหรับการปลูกพืช ทบทวนความรู้ก่อนเรียน3 ขนรากไม่ใช่เซลล์ เพราะ เป็นส่วนของผนังเซลล์ผิวรากที่ยื่นยาวออกไป ภาพ เมล็ดข้าวโพดที่กำลังงอกแสดงส่วนขนราก ที่มา: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2548). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชีวิตกับ สิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิตกับ กระบวนการดำรงชีวิต. : 52 ภาพ แสดงการเพิ่มพื้นที่ผิวในการสัมผัสน้ำและแร่ธาตุ ที่มา: ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะ และคณะ. (2545). สื่อการเรียนรู้และ เสริมสร้างทักษะตามมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 3. : 26


30 • เว็บไซต์ของกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ • แหล่งเรียนรู้ทางการเกษตรและการจัดการดิน เช่น กรมพัฒนาที่ดิน สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัด วิธีการทำกิจกรรม ให้นักเรียนรวบรวมข้อมูล อธิบายความสำคัญของธาตุอาหารของพืชที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการ ดำรงชีวิตของพืช รวมทั้งการแก้ปัญหาการขาดธาตุอาหารของพืช พร้อมเสนอแนวทางการแก้ปัญหาการขาด แคลนธาตุอาหารของพืช ผลการทำกิจกรรม ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………….……….. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………….……….. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………….……….. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………….……….. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………….……….. คำถามท้ายกิจกรรม 1. จากงานวิจัย ข้าวโพดขาดธาตุอาหารชนิดใดและส่งผลให้ข้าวโพดมีลักษณะอาการเป็นอย่างไร แนวคำตอบ จากงานวิจัย ข้าวโพดขาดธาตุไนโตรเจน ทำให้ใบเริ่มเหลืองจากปลายใบแล้วลามเข้าไปใน แผ่นใบคล้ายตัววีจากนั้นใบกลายเป็นสีน้ำตาลและเหี่ยวแห้ง ส่งผลให้ผลผลิตข้าวโพดลดลง 2. ข้าวโพดที่ปลูกสลับกับถั่วเหลืองให้ปริมาณผลผลิตเป็นอย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แนวคำตอบ ข้าวโพดที่ปลูกสลับกับถั่วเหลืองให้ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น เพราะดินมีปริมาณของธาตุ ไนโตรเจนเพิ่มขึ้นจากปมรากของถั่วเหลือง ทำให้ข้าวโพดที่ปลูกในปีหลัง ๆ ไม่มีอาการขาดธาตุไนโตรเจน ผลผลิตจึงเพิ่มขึ้น 3. พืชต้องการธาตุอาหารชนิดใดในปริมาณมาก และถ้าขาดธาตุอาหารเหล่านั้นจะมีผลอย่างไรต่อพืช ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………….……….. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………….……….. 4. ถ้าพืชขาดธาตุโพแทสเซียมจะมีแนวทางในการแก้ไขอย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………….……….. 5. จากกิจกรรมสรุปได้ว่าอย่างไร แนวคำตอบ ในดินมีธาตุอาหารที่พืชใช้ในการเจริญเติบโต และดำรงชีวิต ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชมี17 ชนิด ถ้าพืชขาดธาตุอาหาร พืชจะแสดงอาการผิดปกติการหาสาเหตุเพื่อแก้ปัญหาการขาดธาตุอาหารของพืช ต้องสังเกตลักษณะอาการ ร่วมกับการวิเคราะห์ดิน เพื่อหาชนิดและปริมาณของธาตุอาหารที่ขาดไปในดินหรือ


31 มีธาตุอาหารแต่อยู่ในรูปที่พืชนำมาใช้ไม่ได้เพื่อประเมินระดับความขาดแคลนธาตุอาหารถ้าพบว่าดินขาดธาตุ อาหารต้องทำการเพิ่มธาตุอาหารของพืชในดินโดยการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมกับความต้องการของพืช ภาพ ภาพรากสะสมอาหารและลำต้นมันสำปะหลัง ที่มา : หนังสือแบบเรียนวิทยาศาสตร์ ม.1 เล่ม 1 สสวท มันสำปะหลังเป็นพืชที่มีการสะสมแป้งไว้ที่รากมนุษย์สามารถนำมันสำปะหลังมาใช้ประโยชน์ได้อย่าง หลากหลายทั้งใช้สำหรับการบริโภคและในอุตสาหกรรมแป้งที่เก็บสะสมไว้ที่รากนี้เปลี่ยนแปลงมาจากน้ำตาลซึ่ง เป็นผลผลิตแรกของการสังเคราะห์ด้วยแสงซึ่งเกิดที่บริเวณใดของมันสำปะหลัง เคยสงสัยหรือไม่ว่ามันสำปะหลังมีการสังเคราะห์ด้วยแสงที่ใบแต่ส่งน้ำตาลไปเก็บไว้ที่รากได้อย่างไร 1. เขียนเครื่องหมาย หน้าข้อความที่กล่าวถูกต้อง สารจะแพร่จากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารมากไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารน้อยกว่า การแพร่เข้าและออกจากเซลล์ของสารเป็นการแพร่ผ่านเยื่อเลือกผ่าน ออสโมซิสเป็นการเคลื่อนที่ของน้ำจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารละลายมากไปยังบริเวณที่มี ความเข้มข้นของสารละลายน้อย 2. จากภาพ เขียน O ล้อมรอบส่วนที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ของพืช 3.2 การลำเลียงในพืช ทบทวนความรู้ก่อนเรียน4


32 กิจกรรมที่ 6 พืชลำเลียงน้ำและธาตุอาหารอย่างไร จุดประสงค์: สังเกตรวบรวมข้อมูลเขียนแผนภาพทิศทางการเคลื่อนที่ของน้ำ และบรรยายลักษณะและหน้าที่ ของเนื้อเยื่อท่อลำเลียงน้ำ อุปกรณ์ รายการ ปริมาณ/กลุ่ม 1. ต้นเทียน 2. แว่นขยาย 3. บีกเกอร์ขนาด 250 cm3 4. สไลด์ 5. กระจกปิดสไลด์ 6. กล้องจุลทรรศน์ 7. ใบมีดโกน 8. น้ำสีแดง 9. สารละลายซาฟรานิน 1 ต้น 2-3 อัน 1 ใบ 5-6 แผ่น 5-6 แผ่น 1 กล้อง 2 ใบ ประมาณ 150 cm3 10 cm3 วิธีการทดลอง 1. สังเกตลักษณะภายนอกของราก ลำต้นและใบของพืชที่ศึกษาด้วยแว่นขยาย 2. นำต้นพืชมาล้างรากและวางผึ่งลมไว้ ประมาณ 2 ชั่วโมง แล้วแช่รากในน้ำสีแดง สังเกตทิศทางในการ เคลื่อนที่ของน้ำสีแดงในต้นเทียนเป็นเวลา 1 ชั่วโมง 3. เมื่อครบ 1 ชั่วโมง ตัดลำต้นของพืชที่ศึกษาที่ผ่านการแช่น้ำสีตามขวางและตามยาวบางๆ แช่เนื้อเยื่อใน น้ำเปล่าจากนั้นย้ายไปแช่ในสารละลายซาฟรานิน เป็นเวลา 10 วินาที 4. นำเนื้อเยื่อไปวางบนหยดน้ำบนสไลด์ ปิดด้วยกระจกปิดสไลด์ แล้วสังเกตด้วยกล้องจุลทรรศน์ บันทึกผลโดย การวาดภาพหรือถ่ายรูป ผลการทำกิจกรรม ลักษณะของต้นเทียนก่อนแช่น้ำสีแดง พืชได้รับน้ำ และธาตุอาหารจากดิน พืชสามารถสร้างอาหารได้เองโดย กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงซึ่งเกิดขึ้นที่ โครงสร้างที่มีคลอโรฟิลล์ของพืช ส่วนพืชจะลำเลียงสารเหล่านี้ไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืชได้อย่างไร


33 ตาราง ผลการสังเกตรากและลำต้นของเทียนหลังแช่น้ำสีแดงด้วยแว่นขยาย สิ่งที่สังเกต ผลการสังเกตุ ลักษณะของต้น เนื้อเยื่อรากตัดตามยาว เนื้อเยื่อรากเทียนตัดตามขวาง เนื้อเยื่อลำต้นเทียนตัดตามยาว เนื้อเยื่อลำต้นเทียนตัดตามขวาง การตัดเนื้อเยื่อพืชต้องระวังใบมีดโกนบาด และระวังไม่ให้สไลด์หรือกระจกปิดสไลด์ แตกเนื่องจากอาจเกิดอันตรายเพราะเศษกระจกบาดได้


34 ตาราง ผลการสังเกตเนื้อเยื่อรากและลำต้นของต้นเทียนหลังแช่น้ำสีด้วยกล้องจุลทรรศน์ วิธีการตัด เนื้อเยื่อราก เนื้อเยื่อลำต้น ตัดตามยาว ตัดตามขวาง แผนภาพแสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของน้ำและธาตุอาหารในต้นเทียน คำถามท้ายกิจกรรม 1. น้ำสีเคลื่อนที่เข้าสู่พืชทางส่วนใด และมีทิศทางการเคลื่อนที่อย่างไร ทราบได้อย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………… 2. เมื่อสังเกตเนื้อเยื่อรากและลำต้นด้วยกล้องจุลทรรศน์ลักษณะเนื้อเยื่อของรากและลำต้นของต้นเทียนเป็น อย่างไร แนวคำตอบ เมื่อสังเกตด้วยกล้องจุลทรรศน์ลักษณะเนื้อเยื่อตัดตามขวางของรากเห็นกลุ่มเซลล์เรียงชิดติดกัน และแยกเป็นแฉกคล้ายรูปดาว เมื่อตัดตามยาวจะเหน็กลุ่มเซลล์เรียงต่อกันเป็นท่อ ลักษณะเนื้อเยื่อลำต้นของ ต้นเทียน เมื่อตัดตามขวางจะเห็นกลุ่มเซลล์ติดสีแดงเรียงเป็นกลุ่มๆ รอบลำต้น และเมื่อตัดตามยาวส่วนที่ติดสี แดงจะเห็นเป็นกลุ่มเซลล์เรียงต่อกันเป็นท่อไปสู่ส่วนยอดและแยกไปสู่ใบ


35 3. เพราะเหตุใดกิจกรรมนี้จึงใช้ต้นเทียน …………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 4. จากกิจกรรม สรุปได้อย่างไร …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………….… ……..…………………………………………………………………………………………………………………………………………………… การลำเลียงน้ำและอาหารของพืช ภาพ แสดงทิศทางการลำเลียงน้ำและอาหาร ระบบเนื้อเยื่อท่อล ำเลียงประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ท่อล ำเลียงน ้ำและแร่ธำตุ (xylem) กับท่อ ล ำเลียงอำหำร (phloem) น้ำตาลที่สร้างจากกระบวนการ สังเคราะห์ด้วยแสง น้ำตาลเคลื่อนลงมายังรากที่กำลัง เจริญเติบโตหรือขึ้นไปที่ตา ซึ่งกำลัง เจริญเติบโต พลังงานแสง ใบ ตา รับน้ำขึ้นไปตามไซเลม ลำเลียงอาหารในโฟลเอม คาร์บอนได ออกไซด์ น้ำและแร่ธาตุ จากดิน รากดูดน้ำและแร่ธาตุ


36 ภาพ แสดงภาคตัดขวางของลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่และใบเลี้ยงเดี่ยว ภาพ แสดงภาคตัดขวางของรากพืชใบเลี้ยงคู่และใบเลี้ยงเดี่ยว ภาพตัดตามขวางของลำต้น(ซ้าย) และราก(ขวา) การทำงานของระบบการลำเลียงสารของพืช ระบบลำเลียงของพืชมีหลักการทำงานอยู่ 2 ประการ คือ 1. ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุผ่านทางท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ (xylem) โดยลำเลียงจากรากขึ้นไปสู่ ใบ เพื่อนำน้ำและแร่ธาตุไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง 2. ลำเลียงอาหาร (น้ำตาลกลูโคส) ผ่านทางท่อลำเลียงอาหาร (phloem) โดยลำเลียงจากใบไปสู่ ส่วนต่างๆ ของพืช เพื่อใช้ในการสร้างพลังงานของพืช การลำเลียงสารของพืชมีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆ อีกหลายกระบวนการ ซึ่งต้องทำงาน ประสานกันเพื่อให้การลำเลียงสารของพืชเป็นไปตามเป้าหมาย ระบบลำเลียงของพืชเริ่มต้นที่ราก บริเวณขนราก (root hair) ซึ่งมีขนรากมากถึง 400 เส้นต่อพื้นที่ 1 ตารางมิลลิเมตร โดยขนรากจะดูดซึมน้ำโดยวิธีการที่เรียกว่า การออสโมซิส (osmosis) และ วิธีการแพร่แบบ อื่นๆ อีกหลายวิธี น้ำที่แพร่เข้ามาในพืชจะเคลื่อนที่ไปตามท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ (xylem) เพื่อลำเลียง ต่อไปยังส่วนต่างๆ ของพืช เมื่อน้ำและแร่ธาตุต่างๆ เคลื่อนที่ไปตามท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุและลำเลียงไป จนถึงใบ ใบก็จะนำน้ำและแร่ธาตุนี้ไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เมื่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ดำเนินไปเรื่อยๆ จนได้ผลิตภัณฑ์เป็นน้ำตาล น้ำตาลจะถูกลำเลียงผ่านทางท่อลำเลียงอาหาร (phloem) ไป ตามส่วนต่างๆ เพื่อเป็นอาหารของพืช และลำเลียงน้ำตาลบางส่วนไปเก็บสะสมไว้ที่ใบ ราก และลำต้น


37 การคายน้ำของพืช การคายน้ำของพืชมี 2 แบบ คือ 1. การคายน้ำในรูปของไอน้ำ เกิดขึ้นที่ปากใบหรือรูใบ 2. การคายน้ำในรูปของหยดน้ำ เกิดขึ้นที่ต่อมบริเวณขอบของใบ การคายน้ำ เป็นกระบวนการแพร่ของน้ำในรูปของไอน้ำออกทางปากใบ ซึ่งอยู่ระหว่างเซลล์คุม 2 เซลล์ ปากใบจะพบมากที่สุดทางด้านท้องใบ คือ ด้านล่างของใบที่ไม่ได้รับแสง การเปิดของปากใบ ปากใบจะเปิดเมื่อเซลล์คุมซึ่งคลอโรพลาสต์อยู่ภายในเซลล์ได้รับแสงสว่าง จึงเกิดการ สังเคราะห์ด้วยแสงขึ้น ได้น้ำตาลกลูโคสทำให้ความเข้มข้นของสารในเซลล์ข้างเคียง น้ำจากเซลล์ข้างเคียงจึง ออสโมซีสเข้าสู่เซลล์คุม ทำให้เซลล์คุมเต่ง ปากใบจึงเปิดกว้าง การคายน้ำในรูปของไอน้ำ การคายน้ำในรูปของหยดน้ำ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคายน้ำ 1.) แสงสว่าง ถ้ามีความเข้มข้นแสงมาก ปากใบจะเปิดได้กว้าง พืชจะคายน้ำได้มาก 2.) อุณหภูมิ เป็นปัจจัยทือิทธิพลควบคู่กับแสงสว่างเสมอ ถ้าอุณหภูมิในบรรยากาศสูงพืชจะคายน้ำได้มาก และรวดเร็ว ถ้านักเรียนนำถุงพลาสติกมาคลุม ใบไม้ในวันที่อากาศแจ่มใสเมื่อทิ้งไว้ สักครู่จะเห็นไอน้ำเกาะอยู่ภายใน ถุงพลาสติก ไอน้ำเหล่านี้มาจากส่วน ใดของใบ กัตเตชั่น (Guttation) หมายถึง กระบวนการที่พืชกำจัดน้ำออกมาในรูปของหยดน้ำ ทางรูเปิดเล็กๆ ตามปลายของเส้นใบ (รูเปิดเล็กๆ นี้เรียกว่า ไฮดาโธด (Hydathode) ซึ่งก็คือ Tracheid นั่นเอง) กระบวนการนี้จะเกิดเมื่อในอากาศมีความชื้นสูง เช่น ใน ตอนเช้าที่มีไอน้ำอิ่มตัวหรือหลังฝนตกใหม่ๆ กลไกที่ทำให้การเกิดคายน้ำออกเป็นหยดๆ คือ แรงดันราก (Root pressure) ดันให้น้ำออกมา ทางปลายใบ หรือขอบใบของพืชตระกูลหญ้าหรือตระกูล บอน ฯลฯ


38 3.) ความชื้นในบรรยากาศ ถ้าบรรยากาศมีความชื้นสูงจะคายน้ำได้น้อย พืชบางชนิดจะกำจัดน้ำออกมาในรูป ของหยดน้ำ ทางรูเปิดเล็กๆ ตามรูเปิดของเส้นใบ เรียกว่า การคายน้ำเป็นหยดหรือ กัตเตชัน ( guttation ) และถ้าในบรรยากาศมี ความชื้นน้อย พืชจะคายน้ำได้มากและรวดเร็ว 4.) ลม ลมจะพัดพาเอาความชื้นของพืชไปที่อื่น เป็นสาเหตุให้พืชสูญเสียน้ำมากขึ้น ในภาวะที่ลมสงบไอน้ำที่ ระเหยออกไปจะ คงอยูในบรรยากาศใกล้ๆ ใบ บรรยากาศจึงมีความชื้นสูงพืชจะคายน้ำได้ลดลง แต่ถ้าลม พัดแรงมากพืชจะปิดหรือหรี่แคบลง มีผลทำให้การคายน้ำลดลง 5.) ปริมาณน้ำในดิน ถ้าสภาพดินขาดน้ำ หรือปริมาณน้ำในดินน้อย พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้เพียงพอ ปากใบ ของพืชจะปิด หรือแคบหรี่ลง มีผลทำให้การคายน้ำลดลง 6.) โครงสร้างของใบ ตำแหน่ง จำนวน และการกระจายของปากใบ รวมถึงความหนาของคิวมิเคิล ( สาร เคลือบผิวใบ ) ลักษณะเหล่านี้มีผลต่อการคายน้ำของพืช 1.) ธาตุอาหารมีความสำคัญต่อพืชอย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 2.) พืชลำเลียงน้ำ ธาตุอาหาร และอาหารไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืชได้อย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 3.) ถ้าพืชไม่มีขนรากจะมีผลต่อการดูดน้ำและธาตุอาหารของพืชหรือไม่ อย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ร่วม กัน คิด 3


39 คิดแบบนักวิทย์ กิจกรรม ทำอย่างไรให้พืชมีผลผลิตตามต้องการ จุดประสงค์ สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ และเลือกใช้ธาตุอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของพืช ผลการทำสืบค้นข้อมูล พืช ธาตุอาหารที่จำเป็น ปริมาณที่ต้องการ ประโยชน์ของธาตุอาหาร ผักกาดหอม ไนโตรเจน มาก ช่วยให้เจริญเติบโตเร็ว ลำต้นและใบ อ่อนกรอบ ฟอสฟอรัส มาก ช่วยให้ต้นตั้งตัวได้เร็วขึ้นในช่วงแรก ของการเจริญเติบ โต และมีรสดีขึ้น โพแทสเซียม มาก ช่วยให้ใบบางกรอบ ไม่มีจุดบนใบ ใบ ห่อตัวได้ดีใบไม่เหี่ยวเฉา แคลเซียม มาก ช่วยให้ลำต้นแข็งแรง มะเขือเทศ ไนโตรเจน มาก ช่วยการเจริญเติบโตของต้น และใบ ทำให้สังเคราะห์ด้วยแสงได้ดี ช่วยใน การเจริญของดอก และการพัฒนา ของผล ฟอสฟอรัส น้อย ช่วยในการเจริญเติบโตของราก ช่วย ให้รากดูดน้ำและธาตุอาหารได้ดี โพแทสเซียม มาก ช่วยในการเจริญเติบโตของผล เนื้อเยื่อผลเหนียวช่วยเพิ่มขนาดผล ทนทานต่อโรค แคลเซียม มาก เพิ่มความแข็งแรงของโครงสร้างต้น รวมทั้งผลและช่วยให้พืชนำโพแทส เซียมไปใช้ได้ดีขึ้น ผลวิเคราะห์สถานการณ์สาเหตุที่ทำให้ผักกาดหอมเจริญเติบโตได้ดี แต่มะเขือเทศแสดงอาการผิดปกติ ผักกาดหอม ผักกำดหอมเป็ นพืชที่รับประทำนใบ ซึ่งเจริญเติบโตได้ดี น่ำจะเป็ นเพรำะดินที่ใช้ปลูกพืชมี ไนโตรเจน ในปริมำณที่เหมำะสมต่อกำรเจริญเติบโตของใบ เนื่องจำกไนโตรเจนมีส่วนช่วยในกำร เจริญเติบโตของใบพืช ท ำให้มีสีเขียวและสังเครำะห์ด้วยแสงได้ดี ขั้นน ำปัญญำพัฒนำควำมคิด กิจกรรม ฝึ กท า : ฝึ กสร้าง


40 มะเขือเทศ มะเขือเทศเป็นพืชที่นิยมรับประทำนผล สำเหตุที่แสดงอำกำรผิดปกติช่วงออกดอก และก้นผลเน่ำ น่ำจะเป็นเพรำะดินขำดธำตุอำหำรที่จ ำเป็นต่อกำรเจริญเติบโตของผล เช่น แคลเซียม โพแทสเซียม ซึ่งช่วงที่ มีดอกและสร้ำงผล ผลการทำกิจกรรม ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… คำถามท้ายกิจกรรม 1. เพราะเหตุใด ผักกาดหอมจึงเจริญเติบโตได้ดีแต่มะเขือเทศแสดงอาการผิดปกติ แนวคำตอบ การที่ผักกาดหอมเจริญเติบโตได้ดีแต่มะเขือเทศแสดงอาการผิดปกติน่าจะเป็นเพราะดินที่ใช้ปลูก พืชมีธาตุอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของใบในปริมาณที่พอเหมาะ เช่น โนโตรเจน ทำให้พืชกินใบ อย่างผักกาดหอมเจริญเติบโตได้ดีแต่พืชที่กินผลอย่างมะเขือเทศแสดงอาการผิดปกติช่วงออกดอก และมีผล ผิดปกติน่าจะเป็นเพราะดินขาดธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของผล เช่น แคลเซียม โพแทสเซียม 2. ถ้าต้องการปลูกมะเขือเทศ ให้ได้ผลผลิตที่ดีควรปรับปรุงดินอย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………


Click to View FlipBook Version