The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หลักสูตรรและแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี1

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Anocha Utumsakulrat, 2023-09-17 06:06:10

หลักสูตรรและแผนการจัดการเรียนรู้าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี1

หลักสูตรรและแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี1

34 ทั้งเซลล์พืช และเซลล์สัตว์มีโครงสร้างพื้นฐานเหมือนกัน นักเรียนจะได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่าง ลักษณะของเซลล์กับหน้าที่ของเซลล์ต่อไป ชั่วโมงที่ 7 (สัปดาห์ที่ 12) 4. ขั้นการสื่อสารและนำเสนอ (Effective Communication) 4.1 ให้นักเรียนอ่านเนื้อหาในหนังสือ ตอบคำถามระหว่างเรียน และร่วมกันอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า รูปร่างลักษณะของเซลล์มีความสัมพันธ์กับหน้าที่ของเซลล์นั้น ๆ โดยอาจใช้คำถามดังนี้ • ตัวอย่างเซลล์สัตว์มีอะไรบ้าง (เซลล์ประสาท เซลล์เม็ดเลือดแดง และเซลล์สเปิร์ม) • เซลล์สัตว์แต่ละชนิดมีรูปร่างลักษณะอย่างไร (เซลล์ประสาทมีรูปร่างลักษณะเป็นเส้นยาว มีก้อน กลมอยู่บริเวณค่อนไปทางส่วนปลาย มีแขนงเป็นเส้นยาว เซลล์เม็ดเลือดแดงมีรูปร่างลักษณะกลม ส่วนกลาง เซลล์ทั้งสองด้านเว้าเข้าหากันทำให้แบน ส่วนเซลล์สเปิร์มมีรูปร่างลักษณะกลม มีหางยาวเรียว) • รูปร่างลักษณะของเซลล์สัตว์แต่ละชนิดสัมพันธ์กับหน้าที่อย่างไร (เซลล์ประสาทมีแขนงเป็นเส้น ยาว เพื่อนำกระแสประสาทไปยังเซลล์อื่นที่อยู่ไกลออกไป เซลล์เม็ดเลือดแดงมีรูปร่างกลมแบน เพื่อให้เคลื่อนที่ ไปในหลอดเลือดได้ง่ายมีลักษณะเว้ากลางเซลล์ทั้งสองด้านเพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่ในการลำเลียงออกซิเจน ส่วน เซลล์สเปิร์มมีหางเพื่อช่วยในการเคลื่อนที่ไปหาเซลล์ไข่) • ตัวอย่างเซลล์พืชมีอะไรบ้าง (เซลล์ขนราก เซลล์ในเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำ เซลล์คุม) • เซลล์พืชแต่ละชนิดมีรูปร่างลักษณะอย่างไร (เซลล์ขนรากมีผนังเซลล์ด้านที่สัมผัสกับดินยื่นยาว ออกมาเป็นหลอดคล้ายเส้นขนเล็ก ๆ เซลล์ในเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำมีรูปร่าง เป็นท่อกลวงยาว และเซลล์คุมมี รูปร่างลักษณะคล้ายเมล็ดถั่วหรือรูปไต) • รูปร่างลักษณะของเซลล์พืชแต่ละชนิดสัมพันธ์กับหน้าที่อย่างไร (เซลล์ขนรากมีรูปร่างลักษณะ คล้ายเส้นขนเล็กๆยื่นยาวออกมาเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดน้ำและธาตุอาหาร เซลล์ในเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำ มี ลักษณะเป็นท่อกลวงยาวเพื่อใช้ในการลำเลียงน้ำจากรากไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช และเซลล์คุมมีรูปร่างคล้าย เมล็ดถั่วหรือรูปไต มีผนังเซลล์หนาบางไม่เท่ากัน ทำหน้าที่ควบคุมการปิดเปิดปากใบ 4.2 สรุปข้อมูลเพื่อเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับการจัดระบบภายในของสิ่งมีชีวิตว่า สิ่งมีชีวิตประกอบด้วย เซลล์เป็นหน่วยพื้นฐานบางชนิดมีเซลล์เดียว บางชนิดมีหลายเซลล์ มีการจัดระบบของเซลล์อย่างไรจนเป็น อวัยวะและร่างกายของสิ่งมีชีวิต ชั่วโมงที่ 8 (สัปดาห์ที่ 12) 5. ขั้นการบริการสังคมและสาธารณะ (Public Service) 5.1 นักเรียนอ่านหนังสือเรียน ตอบคำถามระหว่างเรียน และร่วมกันอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าสิ่งมี ชีวิตหลายเซลล์ทั้งพืชและสัตว์ประกอบด้วยเซลล์ที่มีการจัดระบบเป็นเนื้อเยื่อ อวัยวะ ทำงานร่วมกันเป็น ระบบอวัยวะต่าง ๆ จนเป็นสิ่งมีชีวิตโดยครูอาจใช้คำถามดังต่อไปนี้ • การจัดระบบภายในของสิ่งมีชีวิต เรียงลำดับจากหน่วยเล็กไปหาหน่วยใหญ่อย่างไร เซลล์→ เนื้อเยื่อ → อวัยวะ → ระบบอวัยวะ → สิ่งมีชีวิต 5.2 นักเรียนร่วมกันสรุปหัวข้อเรื่องการศึกษาเซลล์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ จากนั้นนักเรียนทำกิจกรรม ตรวจสอบตนเองเพื่อสรุปองค์ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากบทเรียน ด้วยการเขียนบรรยาย วาดภาพ หรือเขียนผังมโน ทัศน์ สิ่งที่ได้เรียนรู้จากบทเรียนเรื่องการศึกษาเซลล์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ 13. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ 12.1สื่อการเรียนรู้ 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 2) หนังสือแบบเรียน 3) สื่อเพาเวอร์พอยต์


35 12.2แหล่งเรียนรู้ 1) อินเตอร์เน็ต 2) ห้องสมุด 14. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ ผลการสอน รายละเอียด 1. ด้านความรู้: - การใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงศึกษาเซลล์ และโครงสร้างต่าง ๆ ภายในเซลล์ - เปรียบเทียบรูปร่าง ลักษณะ และโครงสร้าง ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ รวมทั้งบรรยาย หน้าที่ของผนังเซลล์เยื่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาซึม นิวเคลียส แวคิวโอล ไมโทคอนเดรีย และคลอ โรพลาสต์ - อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่างกับการ ทำหน้าที่ของเซลล์ - อธิบายการจัดระบบของสิ่งมีชีวิต โดยเริ่ม จากเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ ระบบอวัยวะ จน เป็นสิ่งมีชีวิต ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ................................................................................ ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ................................................................................ ...................................................................................... ..................................................................................... 2. ด้านกระบวนการ : - ทักษะกระบวนการคิด - ทักษะกระบวนการกลุ่ม ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 3. ด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม อันพึงประสงค์: - มีวินัย - ใฝ่เรียนรู้ - อยู่อย่างพอเพียง - รักความเป็นไทย ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ............................................................................... ...................................................................................... 4. ปัญหาการสอน ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ......................................................................................


36 5. วิธีแก้ปัญหา ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ลงชื่อ........................................ครูผู้สอน ลงชื่อ...........................................หัวหน้ากลุ่มสาระฯ (.นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์..) (นางกณิการ์ พัฒรากุล) ลงชื่อ........................................... (นางวันวิศาข์ ผลหมู่) รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ลงชื่อ ........................................................ (นายสุริยันต์ เหล่ามะลึก) ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม


37 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 หน่วยการเรียนรู้ที่…….3....หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต..........เรื่อง.............การลำเลียงสารเข้าออกเซลล์.............. รายวิชา…..วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี…1...รหัสวิชา….........ว 21101 ..............ชั้นมัธยมศึกษาปีที่….....1........ กลุ่มสาระการเรียนรู้..วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.. ปีการศึกษา… 2566...ภาคเรียนที่..1...เวลา...9...ชั่วโมง…… ผู้สอน.........................นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์......................................................................................... 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้(รายวิชาพื้นฐานมีทั้งมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด รายวิชาเพิ่มเติมมีเฉพาะมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้) 1.1 มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ว 1.2 ม.1/5 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การลำเลียงสารเข้าและ ออกจากเซลล์ ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสัตว์และมนุษย์ที่ทำงานสัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ของพืชที่ทำงานสัมพันธ์กัน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ ประโยชน์ ตัวชี้วัด ว 1.2 ม.1/5 อธิบายกระบวนการแพร่และออสโมซิสจากหลักฐานเชิงประจักษ์ และยกตัวอย่าง การแพร่และออสโมซิสในชีวิตประจำวัน 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด (หลอมจากตัวชี้วัดที่ใช้ในหน่วยการเรียนรู้นี้เขียนเป็นแบบความเรียง) เซลล์มีกระบวนการต่าง ๆ ในการนำสารเข้าออกเซลล์การนำสารเข้าและออกจากเซลล์มีหลายวิธี เช่น การแพร่เป็นวิธีการที่สารจะเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารมากไปสู่บริเวณทีมี่ความเข้มข้น ของสารน้อย ส่วนการออสโมซิสเป็นการแพร่ของน้ำผ่านเยื่อหุ้มเซลล์จากด้านที่มีความเข้มข้นของสารละลาย ต่ำไปยังด้านที่มีความเข้มข้นของสารละลายสูงกว่า 3. สาระการเรียนรู้ 3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง/สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม (รายวิชาเพิ่มเติม) สาระการเรียนรู้แกนกลาง เซลล์มีการนำสารเข้าสู่เซลล์ เพื่อใช้ในกระบวนการต่าง ๆ ของเซลล์ และมีการขจัดสารบางอย่างที่ เซลล์ไม่ต้องการออกนอกเซลล์การนำสารเข้าและออกจากเซลล์มีหลายวิธี เช่น การแพร่เป็นการเคลื่อนที่ของ สารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารสูงไปสู่บริเวณที่มีความเข้มข้นของสารต่ำ ส่วนออสโมซิส เป็นการแพร่ ของน้ำ ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ จากด้านที่มีความเข้มข้นของสารละลายต่ำไปยังด้านที่มีความเข้มข้นของสารละลาย สูงกว่า 3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น (ถ้าในคำอธิบายรายวิชาพูดถึงหลักสูตรท้องถิ่นให้ใส่ลงไปด้วย ...............................................................-........................................................................................... 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. นักเรียนอธิบายกระบวนการแพร่และการออสโมซิสจากหลักฐานเชิงประจักษ์(K) 2. นักเรียนยกตัวอย่างการแพร่และการออสโมซิสที่พบในชีวิตประจำวัน (P) 3. เห็นคุณค่าของการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน (A)


38 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์(เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ 7. ด้านคุณลักษณะของผู้เรียนตามหลักสูตรมาตรฐานสากล 1. เป็นเลิศวิชาการ 2. สื่อสารสองภาษา 3. ล้ำหน้าทางความคิด 4. ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ 5. ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก 8. ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 คือการเรียนรู้ 3R X 8C 2L R1 –Reading (อ่านออก) R2-(W) Ringting (เขียนได้) R3- (A) Rithmetics (คิดเลขเป็น) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ไขปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information, and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning) ความมีเมตตา (วินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion) 9. บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1. หลักความพอประมาณ : กำหนดจำนวนสมาชิกในกลุ่มให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในห้องเรียนคือ ประมาณกลุ่มละ 4 – 6 คน 2. หลักความมีเหตุผล : ให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานและเกิดทักษะการปฏิบัติ, นักเรียนเกิดความ ภาคภูมิใจในผลงานของตนและสิ่งที่เรียนรู้ 3. หลักภูมิคุ้มกัน : ให้นักเรียนเกิดทักษะการทำงานกลุ่ม และกล้าแสดงออก , นักเรียนรู้จักการวาง แผนการทำงานและมอบหมายงานให้สมาชิกภายในกลุ่มได้เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคล 4. เงื่อนไขความรู้ : การวางแผนงานที่จะทำก่อนแล้วค่อยลงมือทำอย่างระมัดระวัง 5. เงื่อนไขคุณธรรม : อดทนที่จะทำงาน และมีความขยันที่จะทำงานให้ออกมาได้ดีที่สุด , มีวินัยในการ ทำงาน 10. ชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด ตัวชี้วัด ชิ้นงาน ภาระงาน ว 1.2 ม.1/5 -รายงานกิจกรรมที่ 3.3 อนุภาคของ - อธิบายกระบวนการแพร่


39 สารมีการเคลื่อนที่อย่างไร -รายงานกิจกรรมที่ 3.4 น้ำเคลื่อนที่ ผ่านเยื่อเลือกผ่านได้อย่างไร - อธิบายกระบวนการออสโมซิส - ยกตัวอย่างการแพร่และการออสโมซิสใน ชีวิตประจำวัน 11. การวัดประเมินผล 11.1การวัดและประเมินผลชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด วิธีการ 1.การสังเกตการณ์ 2.การใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ร่องรอยบ่งชี้ 3.การวัดประเมินการปฏิบัติ เครื่องมือ 1. แบบสังเกตการณ์ 2. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 3. แบบวัดประเมินการปฏิบัติ เกณฑ์ 1.การประเมินผลตามสภาพจริง (Rubrics) 2.การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน ผ่าน 1 รายการถือว่า ไม่ผ่าน 11.2 การวัดและประเมินผลระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ประเมินจากแผนการจัดการเรียนรู้ของ หน่วยการเรียนรู้นี้) สิ่งที่ต้องการวัด วิธีวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมิน 1. ความรู้เกี่ยวกับ - การนำสารเข้าสู่เซลล์ เพื่อใช้ในกระบวนการต่าง ๆ ของเซลล์ และขจัดสาร บางอย่างที่เซลล์ไม่ต้องการ ออกนอกเซลล์ - การแพร่เป็นการ เคลื่อนที่ของสารจากบริเวณ ที่มีความเข้มข้นของสารสูง ไปสู่บริเวณที่มีความเข้มข้น ของสารต่ำ - การออสโมซิสเป็นการแพร่ ของน้ำผ่านเยื่อหุ้มเซลล์จาก ด้านที่มีความเข้มข้นของสาร ละลายต่ำไปยังด้านที่มีความ เข้มข้นของสารละลายสูง กว่า -การสอบถาม ซักถาม ความ คิดเห็น -การตรวจผลงานนักเรียน - แบบประเมินการ อภิปรายแสดง ความ คิดเห็น - แบบประเมินการ ตรวจผลงานผู้เรียน - นักเรียนได้ คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้ คะแนน ประเมินผลงาน 13 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 2.ทักษะกระบวนการคิด และทักษะกระบวนการกลุ่ม - การอภิปรายแสดง ความคิดเห็นระบุทักษะ - แบบประเมินการ อภิปรายแสดง -นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป


40 กระบวน การทางวิทยาศาสตร์ที่ได้ปฏิบัติ จากกิจกรรม - สังเกตพฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม ความ คิดเห็น - แบบประเมิน พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 3. คุณลักษณะที่พึง ประสงค์ และสมรรถนะผู้เรียน - มีวินัยในการทำงานกลุ่ม - นักเรียนเห็นความสำคัญ ของการทำงานร่วมกับผู้อื่น และการทำงานในระบบกลุ่ม - ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกัน และกันมีความเสียสละและ อดทน - นักเรียนมีการเห็นคุณค่า ในตนเอง (Self-esteem) - สังเกตค่านิยมในการ ทำงานร่วมกับผู้อื่นและการ ทำงานในระบบกลุ่ม อภิปราย แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับผลการทดลอง - แบบประเมิน คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ - แบบประเมิน สมรรถนะผู้เรียน -แบบทดสอบ Rubin’s Self Esteem Scale - นักเรียนได้ คะแนน ประเมินคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ 26 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้ คะแนน การประเมิน สมรรถนะ 29 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 12. กิจกรรมการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ 9 (สัปดาห์ที่12) 1. ขั้นตั้งประเด็นปัญหา/สมมติฐาน (Hypothesis Formulation) 1.1 ครูให้นักเรียนดูภาพการชงน้ำกระเจี๊ยบ อ่านเนื้อหานำบท จากนั้นอภิปรายโดยอาจใช้ คำถามนำ ดังนี้ • สีแดงมาจากไหน (สารสีแดงมาจากกลีบเลี้ยงกระเจี๊ยบ) • ทำไมน้ำในแก้วจึงมีสีแดง (เพราะสารสีแดงจากกลีบเลี้ยงกระเจี๊ยบละลายออกมาผสมกับน้ำใน แก้ว) • น้ำกระเจี๊ยบเมื่อตั้งทิ้งไว้สักพักทำไมน้ำทั้งแก้วจึงมีสีแดง (นักเรียนสามารถตอบได้ตามความเข้าใจ ของตนเอง) 1.2 ครูตรวจสอบความรู้เดิมของนักเรียนเกี่ยวกับการแพร่โดยให้ทำกิจกรรม รู้อะไรบ้างก่อนเรียน นักเรียนสามารถเขียนได้ตามความเข้าใจของนักเรียน ครูไม่เฉลยคำตอบแต่นำข้อมูลจากการตรวจสอบความ รู้เดิมของนักเรียนไปใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ว่าควรเน้นย้ำ หรืออธิบายเรื่องใดเป็นพิเศษเมื่อนักเรียน เรียนจบเรื่องนี้แล้ว นักเรียนจะมีความรู้ความเข้าใจครบถ้วน ตามจุดประสงค์ของบทเรียน 1.3 ครูนำเข้าสู่กิจกรรมที่ 3.3 อนุภาคของสารมีการเคลื่อนที่อย่างไร โดยแจ้งว่านักเรียนจะได้เรียนรู้ เกี่ยวกับการแพร่และกระบวนการแพร่ของสารต่อไป ชั่วโมงที่ 10 (สัปดาห์ที่13)


41 2. ขั้นสืบค้นความรู้(Searching for Information) 2.1 ครูให้นักเรียนเข้าสู่กิจกรรมที่ 3.3 อนุภาคของสารมีการเคลื่อนที่อย่างไร ตามรายละเอียดใน แบบเรียน 2.2 นักเรียนทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ ครูสังเกตวิธีการจัดอุปกรณ์ การสังเกตการเคลื่อนที่ของอนุภาค ด่างทับทิมและการบันทึกผลการสังเกตของนักเรียนทุกกลุ่ม เพื่อให้ข้อแนะนำถ้าเกิดข้อผิดพลาดขณะทำ กิจกรรม โดยอาจจะให้นักเรียนบันทึกภาพหรือบันทึกวีดิโอเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการอธิบายและนำเสนอ รวมทั้งนำ ข้อมูลที่ควรปรับปรุงและแก้ไขมาใช้ประกอบการอภิปรายหลังการทำกิจกรรม 2.3 นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการทำกิจกรรม รวบรวมข้อมูลนำเสนอโดยใช้โปรแกรมพาวเวอร์พอยด์ แสดงรูปหรือวีดิโอการทำกิจกรรม 2.4 ให้นักเรียนตอบคำถามท้ายกิจกรรม และร่วมกันอภิปรายคำตอบเพื่อให้นักเรียนสรุปได้ว่า เมื่อหย่อน เกล็ดด่างทับทิมลงในน้ำ เกล็ดด่างทับทิมจะค่อย ๆ ละลายเห็นเป็นเส้นสีม่วง และจมลงก้นบีกเกอร์ บริเวณก้น บีกเกอร์จะเห็นสีม่วงเข้มล้อมรอบเกล็ดด่างทับทิม จากนั้นสีม่วงเข้มรอบเกล็ดด่างทับทิมจะค่อย ๆ เคลื่อนที่ จากบริเวณก้นบีกเกอร์ไปสู่บริเวณอื่นของบีกเกอร์ จนสีม่วงกระจายทั่วทั้งบีกเกอร์ และจะเห็นสีม่วงอ่อนจางลง กว่าเดิม 2.5 ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย สรุปเนื้อหาทั้งหมดที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมและการศึกษาเพิ่มเติม จากหนังสือเรียน เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าการแพร่เกิดขึ้นเมื่อมีความแตกต่างของความเข้มข้นของสารละลาย ระหว่างสองบริเวณ โดยมีทิศทางการเคลื่อนที่ของตัวละลายจากบริเวณที่มีความเข้มข้นมากไปยังบริเวณที่มี ความเข้มข้นน้อย จนความเข้มข้นของสารละลายโดยเฉลี่ยเท่ากันทุกบริเวณ เรียกว่าเกิดสมดุลของการแพร่ การแพร่นอกจากแพร่ในตัวกลางที่เป็นของเหลวดังกิจกรรมแล้ว การแพร่สามารถแพร่ผ่านตัวกลางที่เป็นแก๊ส ได้ เช่น การแพร่ของน้ำมันหอมระเหยหรือกลิ่นดอกไม้กลิ่นอาหารผ่านอากาศ เป็นต้นซึ่งเซลล์ของสิ่งมีชีวิตก็มี การแพร่ของสารเข้าออกเซลล์เช่นเดียวกันเช่นการแพร่เข้าออกของแก๊สออกซิเจนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ บริเวณถุงลมปอด การแพร่เข้าออกของแก๊สออกซิเจนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์บริเวณปากใบ เป็นต้น 2.6 ครูเชื่อมโยงไปสู่การเรียนเรื่องต่อไป โดยกล่าวว่า การแพร่มีกระบวนการดังที่เรียนมาแล้ว ซึ่งใช้ใน การนำสารที่มีขนาดเล็กเช่น แก๊สออกซิเจน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เข้าและออกจากเซลล์ ถ้าร่างกาย ต้องการนำน้ำเข้าและออกจากเซลล์จะมีกระบวนการอย่างไร นักเรียนจะได้ศึกษาในเรื่องต่อไป ชั่วโมงที่ 11 (สัปดาห์ที่ 13) 3. ขั้นสรุปองค์ความรู้(Knowledge Formation) 3.1 ครูนำนักเรียนเข้าสู่กิจกรรมที่ 3.4 น้ำเคลื่อนที่ผ่านเยื่อเลือกผ่านได้อย่างไร ซึ่งอาจใช้คำถามว่า นอกจากการแพร่ของสารเข้าออกเซลล์ เช่น การแพร่ของแก๊สออกซิเจนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว เซลล์มีการลำเลียงสารอื่น ๆ เช่นน้ำ เข้าและออกจากเซลล์หรือไม่ และเซลล์จะมีวิธีการในการลำเลียงน้ำเข้า และออกจากเซลล์อย่างไร 3.2 ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมตามแผนทีวางแผนไว้ ครูสังเกตุวิธีการจัดชุดอุปกรณ์การเทสารละลาย น้ำตาลลงในเซลโลเฟน การมัดปากถุงเซลโลเฟน เตือนให้นักเรียนทำเครื่องหมายแสดงระดับของเหลวใน หลอดแก้วก่อนที่จะใส่น้ำลงในบีกเกอร์ และการบันทึกผลการเปลี่ยนแปลงของของเหลวในหลอดแก้ว เพื่อ่ให้ ข้อแนะนำหากเกิดข้อผิดพลาดในขณะทำกิจกรรม รวมทั้งนำข้อมูลที่ควรจะปรับปรุงและแก้ไขมาใช้ ประกอบการอภิปรายหลังทำกิจกรรม


42 3.3 ร่วมกันอภิปรายคำตอบเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า น้ำเคลื่อนที่ผ่านเซลโลเฟนเข้าไปภายในถุงที่บรรจุ สารละลายน้ำตาลได้ แต่สารละลายน้ำตาลไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านเซลโลเฟนออกมานอกถุงที่บรรจุอยู่ได้ โดย อาจใช้คำถามดังต่อไปนี้ • ระดับของเหลวในหลอดแก้วมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร (ระดับของเหลวในหลอดแก้วสูงขึ้น) • เพราะเหตุใดระดับของเหลวในหลอดแก้วจึงสูงขึ้น (ระดับของเหลวในหลอดแก้วสูงขึ้นเพราะน้ำ เคลื่อนที่เข้าไปในถุงเซลโลเฟน ผสมกับสารละลายน้ำตาล ทำให้มีปริมาณสารละลายมากขึ้น ของเหลวใน หลอดแก้วจึงสูงขึ้น) ชั่วโมงที่ 12 (สัปดาห์ที่ 13) 4. ขั้นการสื่อสารและนำเสนอ (Effective Communication) 4.1 ให้นักเรียนอ่านเนื้อหาในหนังสือ ตอบคำถามระหว่างเรียน และร่วมกันอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า ออสโมซิส เป็นการเคลื่อนที่สุทธิของโมเลกุลน้ำจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารละลายต่ำ (มีโมเลกุล ของน้ำมาก) ผ่านเยื่อเลือกผ่านไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารละลายสูง (มีโมเลกุลของน้ำน้อย) 4.2 ให้นักเรียนทำกิจกรรมตรวจสอบตนเอง เพื่อสรุปองค์ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากบทเรียน โดยการเขียน บรรยาย วาดภาพหรือเขียนผังมโนทัศน์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากบทเรียนเรื่อง การลำเลียงสารเข้าออกเซลล์ 5. ขั้นการบริการสังคมและสาธารณะ (Public Service) 5.1 ให้นักเรียนนำเสนอผลงาน โดยการอภิปรายภายในกลุ่ม อภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน หรือติดแสดง ผลงานบนผนังห้องเรียนและให้นักเรียนในห้องร่วมชมผลงานและแสดงความคิดเห็น จากนั้นครูและนักเรียน อภิปรายสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากบทเรียนร่วมกัน 5.2 เชื่อมโยงองค์ความรู้ที่ได้จากหน่วยการเรียนรู้นี้ไปยังหน่วยที่ 4 การดำรงชีวิตของพืช โดยครูอาจให้ แนวคิดว่า สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีเซลล์เป็นหน่วยพื้นฐาน เซลล์แต่ละชนิดมีโครงสร้างและหน้าที่แตกต่างกัน และ เซลล์มีการลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์เพื่อการดำรงชีวิต แล้วพืชซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการ ดำรงชีวิตของนักเรียนนั้นมีกระบวนการในการดำรงชีวิตอย่างไร 5.3 ร่วมกันเฉลยแบบฝึกหัดท้ายบท 12. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ 12.1สื่อการเรียนรู้ 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 2) หนังสือแบบเรียน 3) สื่อเพาเวอร์พอยต์ 12.2แหล่งเรียนรู้ 1) อินเตอร์เน็ต 2) ห้องสมุด 13. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ ผลการสอน รายละเอียด 1. ด้านความรู้: - การนำสารเข้าสู่เซลล์ และขจัดสาร บางอย่างที่เซลล์ไม่ต้องการออกนอกเซลล์ - การแพร่ของสาร - การออสโมซิส ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ..................................................................................... ..................................................................................... 2. ด้านกระบวนการ : - ทักษะกระบวนการคิด ...................................................................................... ......................................................................................


43 - ทักษะกระบวนการกลุ่ม ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 3. ด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม อันพึงประสงค์: - มีวินัย - ใฝ่เรียนรู้ - อยู่อย่างพอเพียง - รักความเป็นไทย ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ............................................................................... ...................................................................................... 4. ปัญหาการสอน ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 5. วิธีแก้ปัญหา ....................................................................... ....................................................................... . ...................................................................................... ..................................................................................... ...................................................................................... ลงชื่อ........................................ครูผู้สอน ลงชื่อ...........................................หัวหน้ากลุ่มสาระฯ (.นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์..) (นางกณิการ์ พัฒรากุล) ลงชื่อ........................................... (นางวันวิศาข์ ผลหมู่) รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ลงชื่อ ........................................................ (นายสุริยันต์ เหล่ามะลึก) ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม


44 แผนการจัดการเรียนรู้ที่6 หน่วยการเรียนรู้ที่…….4……..การดำรงชีวิตของพืช..........เรื่อง...การสืบพันธุ์และการขยายพันธุ์พืชดอก.... รายวิชา…..วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี…1...รหัสวิชา….........ว 21101 ..............ชั้นมัธยมศึกษาปีที่….....1........ กลุ่มสาระการเรียนรู้..วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.. ปีการศึกษา… 2566...ภาคเรียนที่..1...เวลา...9...ชั่วโมง…… ผู้สอน.........................นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์......................................................................................... 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้(รายวิชาพื้นฐานมีทั้งมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด รายวิชาเพิ่มเติมมีเฉพาะมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้) 1.1 มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ว 1.2 ม.1/11 ม.1/12 ม.1/13 ม.1/16 ม.1/17 ม.1/18 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การลำเลียงสารเข้า และออกจากเซลล์ ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสัตว์และมนุษย์ที่ทำงาน สัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ของพืชที่ทำงานสัมพันธ์กัน รวมทั้งนำ ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ตัวชี้วัด ว 1.2 ม. 1/11 อธิบายการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ และไม่อาศัยเพศของพืชดอก ว 1.2 ม. 1/12 อธิบายลักษณะโครงสร้างของดอกที่มีส่วนทำให้เกิดการถ่ายเรณู รวมทั้งบรรยายการ ปฏิสนธิของพืชดอก การเกิดผลและเมล็ด การกระจายเมล็ด และการงอกของเมล็ด ว 1.2 ม. 1/13 ตระหนักถึงความสำคัญของสัตว์ที่ช่วยในการถ่ายเรณูของพืชดอก โดยการไม่ทำลาย ชีวิตของสัตว์ที่ช่วยในการถ่ายเรณู ว 1.2 ม. 1/16 เลือกวิธีการขยายพันธุ์พืชให้เหมาะสมกับความต้องการของมนุษย์ โดยใช้ความรู้ เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของพืช ว 1.2 ม. 1/17 อธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชในการใช้ประโยชน์ด้าน ต่าง ๆ ว 1.2 ม. 1/18 ตระหนักถึงประโยชน์ของการขยายพันธุ์พืช โดยการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด (หลอมจากตัวชี้วัดที่ใช้ในหน่วยการเรียนรู้นี้เขียนเป็นแบบความเรียง) พืชดอกทุกชนิดสามารถสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศได้นอกจากนั้นบางชนิดยังพบการสืบพันธุ์แบบไม่ อาศัยเพศด้วยการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอกเกิดขึ้นที่ดอก โดยทั่วไปดอกประกอบด้วย กลีบเลี้ยง กลีบ ดอก เกสรเพศผู้ และเกสรเพศเมีย ภายในอับเรณูของเกสรเพศผู้มีเรณูทำหน้าที่สร้างสเปิร์ม ภายในออวุลของ เกสรเพศเมียมีถุงเอ็มบริโอทำหน้าที่สร้างเซลล์ไข่ ซึ่งต้องมีการถ่ายเรณูจากอับเรณูไปยังยอดเกสรเพศเมีย นำไปสู่การปฏิสนธิระหว่างสเปิร์มกับเซลล์ไข่ และระหว่างสเปิร์มกับโพลาร์นิวคลีไอในถุงเอ็มบริโอ หลังการ ปฏิสนธิจะได้ไซโกตและเอนโดสเปิร์ม ไซโกตจะพัฒนาต่อไปเป็นเอ็มบริโอ โดยมีเอนโดสเปิร์มเป็นอาหารสะสม สำหรับเลี้ยงเอ็มบริโอ ส่วนออวุลพัฒนาไปเป็นเมล็ด และรังไข่พัฒนาไปเป็นผล ผลและเมล็ดเมื่อเจริญเติบโต เต็มที่จะกระจายออกจากต้นโดยวิธีการต่าง ๆ เมื่อเมล็ดไปตกในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะงอกเป็นต้นใหม่ ส่วนการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เป็นการสืบพันธุ์ที่พืชต้นใหม่พัฒนาและเจริญเติบโตมาจากเนื้อเยื่อส่วน ต่าง ๆ ของพืชต้นเดิมมนุษย์นำความรู้เรื่องการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศของพืชมาใช้ในการ ขยายพันธุ์พืช ซึ่งการเลือกวิธีการขยายพันธุ์พืชควรเลือกให้เหมาะสมกับชนิดพืชและความต้องการของมนุษย์


45 3. สาระการเรียนรู้ 3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง/สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม (รายวิชาเพิ่มเติม) สาระการเรียนรู้แกนกลาง • พืชดอกทุกชนิดสามารถสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศได้ และบางชนิดสามารถสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศได้ • การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเป็นการสืบพันธุ์ที่มีการผสมกันของสเปิร์มกับเซลล์ไข่ การสืบพันธุ์แบบ อาศัยเพศของพืชดอกเกิดขึ้นที่ดอก โดยภายในอับเรณูของส่วนเกสรเพศผู้มีเรณู ซึ่งทำหน้าที่สร้างสเปิร์ม ภายในออวุลของส่วนเกสรเพศเมียมีถุงเอ็มบริโอ ทำหน้าที่สร้างเซลล์ไข่ • การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เป็นการสืบพันธุ์ที่พืชต้นใหม่ไม่ได้เกิดจากการปฏิสนธิระหว่างสเปิร์ม กับเซลล์ไข่ แต่เกิดจากส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ มีการเจริญเติบโตและพัฒนาขึ้นมาเป็นต้นใหม่ ได้ • การถ่ายเรณู คือ การเคลื่อนย้ายของเรณูจากอับเรณูไปยังยอดเกสรเพศเมีย ซึ่งเกี่ยวข้องกับลักษณะ และโครงสร้างของดอก เช่น สีของกลีบดอก ตำแหน่งของเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย โดยมีสิ่งที่ช่วยในการ ถ่ายเรณู เช่น แมลง ลม • การถ่ายเรณูจะนำไปสู่การปฏิสนธิ ซึ่งจะเกิดขึ้นที่ถุงเอ็มบริโอภายในออวุล หลังการปฏิสนธิจะได้ไซ โกต และเอนโดสเปิร์ม ไซโกตจะพัฒนาต่อไปเป็นเอ็มบริโอ ออวุลพัฒนาไปเป็นเมล็ด และรังไข่พัฒนาไปเป็นผล • ผลและเมล็ดมีการกระจายออกจากต้นเดิม โดยวิธีการต่าง ๆ เมื่อเมล็ดไปตกในสภาพแวดล้อมที่ เหมาะสมจะเกิดการงอกของเมล็ด โดยเอ็มบริโอภายในเมล็ดจะเจริญออกมา โดยระยะแรกจะอาศัยอาหารที่ สะสมภายในเมล็ด จนกระทั่งใบแท้พัฒนา จนสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้เต็มที่ และสร้างอาหารได้เอง ตามปกติ • มนุษย์สามารถนำความรู้เรื่องการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ มาใช้ในการขยายพันธุ์เพื่อ เพิ่มจำนวนพืช เช่น การใช้เมล็ดที่ได้จากการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศมาเพาะเลี้ยง วิธีการนี้จะได้พืชในปริมาณ มาก แต่อาจมีลักษณะที่แตกต่างไปจากพ่อแม่ ส่วนการตอนกิ่ง การปักชำการต่อกิ่ง การติดตา การทาบกิ่ง การ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นการนำความรู้เรื่องการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืชมาใช้ในการขยายพันธุ์เพื่อให้ได้ พืชที่มีลักษณะเหมือนต้นเดิม ซึ่งการขยายพันธุ์แต่ละวิธี มีขั้นตอนแตกต่างกัน จึงควรเลือกให้เหมาะสมกับ ความต้องการของมนุษย์ โดยต้องคำนึงถึงชนิดของพืชและลักษณะการสืบพันธุ์ของพืช • เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เป็นการนำความรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ของพืชมาใช้ในการเพิ่มจำนวนพืช และทำให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ในหลอดทดลอง ซึ่งจะได้พืชจำนวนมาก ในระยะเวลาสั้น และสามารถนำเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาประยุกต์เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ปรับปรุงพันธุ์พืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ การผลิตยาและสารสำคัญในพืช และอื่น ๆ 3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น (ถ้าในคำอธิบายรายวิชาพูดถึงหลักสูตรท้องถิ่นให้ใส่ลงไปด้วย ...............................................................-........................................................................................... 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. นักเรียนอธิบายการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศของพืชดอก(K) 2. นักเรียนอธิบายลักษณะโครงสร้างของดอกที่มีส่วนทำให้เกิดการถ่ายเรณู รวมทั้งบรรยายการปฏิสนธิ ของพืชดอกการเกิดผลและเมล็ด การกระจายเมล็ด และการงอกของเมล็ด(K) 3. นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของสัตว์ที่ช่วยในการถ่ายเรณูของพืชดอก โดยการไม่ทำลายชีวิตของ สัตว์ที่ช่วยในการถ่ายเรณู(A)


46 4. นักเรียนเลือกวิธีการขยายพันธุ์พืชให้เหมาะสมกับชนิดของพืชและความต้องการของมนุษย์ และเสนอ แนวทางการนำความรู้เรื่องการขยายพันธุ์พืชไปใช้ในชีวิตประจำวัน (P) 5. นักเรียนอธิบายความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชในการขยายพันธุ์พืชเพื่อใช้ ประโยชน์ด้านต่าง ๆ (K) 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์(เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. รักชาติ ศาสน์กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ 7. ด้านคุณลักษณะของผู้เรียนตามหลักสูตรมาตรฐานสากล 1. เป็นเลิศวิชาการ 2. สื่อสารสองภาษา 3. ล้ำหน้าทางความคิด 4. ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ 5. ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก 8. ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 คือการเรียนรู้ 3R X 8C 2L R1 –Reading (อ่านออก) R2-(W) Ringting (เขียนได้) R3- (A) Rithmetics (คิดเลขเป็น) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ไขปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information, and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning) ความมีเมตตา (วินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion) 9. บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1. หลักความพอประมาณ : กำหนดจำนวนสมาชิกในกลุ่มให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในห้องเรียนคือ ประมาณกลุ่มละ 4 – 6 คน 2. หลักความมีเหตุผล : ให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานและเกิดทักษะการปฏิบัติ, นักเรียนเกิดความ ภาคภูมิใจในผลงานของตนและสิ่งที่เรียนรู้ 3. หลักภูมิคุ้มกัน : ให้นักเรียนเกิดทักษะการทำงานกลุ่ม และกล้าแสดงออก , นักเรียนรู้จักการวาง แผนการทำงานและมอบหมายงานให้สมาชิกภายในกลุ่มได้เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคล 4. เงื่อนไขความรู้ : การวางแผนงานที่จะทำก่อนแล้วค่อยลงมือทำอย่างระมัดระวัง


47 5. เงื่อนไขคุณธรรม : อดทนที่จะทำงาน และมีความขยันที่จะทำงานให้ออกมาได้ดีที่สุด , มีวินัยในการ ทำงาน 10. ชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด ตัวชี้วัด ชิ้นงาน ภาระงาน ว 1.2 ม.1/11 ว 1.2 ม.1/12 ว 1.2 ม.1/13 -รายงานกิจกรรมที่ 4.1การถ่าย เรณูเกิดขึ้นได้อย่างไร -รายงานกิจกรรมที่ 4.2 เมล็ดงอก ได้อย่างไร - อธิบายการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและไม่อาศัย เพศของพืชดอก - อธิบายลักษณะโครงสร้างของดอกที่มีส่วนทำให้ เกิดการถ่ายเรณู รวมทั้งบรรยายการปฏิสนธิ ของพืชดอก การเกิดผลและเมล็ด การ กระจาย เมล็ด และการงอกของเมล็ด ว 1.2 ม.1/16 ว 1.2 ม. 1/17 ว 1.2 ม. 1/18 กิ จกรร ม ที่ 4 .3 เลื อ ก วิธี ก าร ขยายพันธุ์พืชอย่างไรให้เหมาะสม - บอกความสำคัญของการขยายพันธุ์พืช - อธิบ ายความสำคัญ ของเทคโน โลยีการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชในการใช้ประโยชน์ด้าน ต่าง ๆ 11. การวัดประเมินผล 11.1การวัดและประเมินผลชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด วิธีการ 1.การสังเกตการณ์ 2.การใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ร่องรอยบ่งชี้ 3.การวัดประเมินการปฏิบัติ เครื่องมือ 1. แบบสังเกตการณ์ 2. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 3. แบบวัดประเมินการปฏิบัติ เกณฑ์ 1.การประเมินผลตามสภาพจริง (Rubrics) 2.การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน ผ่าน 1 รายการถือว่า ไม่ผ่าน 11.2 การวัดและประเมินผลระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ประเมินจากแผนการจัดการเรียนรู้ของ หน่วยการเรียนรู้นี้) สิ่งที่ต้องการวัด วิธีวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมิน 1. ความรู้เกี่ยวกับ - การสืบพันธุ์แบบอาศัย เพศและไม่อาศัยเพศของพืช ดอก - ลักษณะโครงสร้างของ ดอกที่มีส่วนทำให้เกิดการ ถ่ายเรณู รวมทั้งบรรยายการ -การสอบถาม ซักถาม ความ คิดเห็น -การตรวจผลงานนักเรียน - แบบประเมินการ อภิปรายแสดง ความ คิดเห็น - แบบประเมินการ ตรวจผลงานผู้เรียน - นักเรียนได้ คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้ คะแนน


48 ปฏิสนธิของพืชดอกการ เกิดผลและเมล็ด การ กระจายเมล็ด และการงอก ของเมล็ด - วิธีการขยายพันธุ์พืชให้ เหมาะสมกับชนิดของพืช และความต้องการของ มนุษย์ -การใช้เทคโนโลยีเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อพืชในการขยายพันธุ์ พืช ประเมินผลงาน 13 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 2.ทักษะกระบวนการคิด และทักษะกระบวนการกลุ่ม - การอภิปรายแสดง ความคิดเห็นระบุทักษะ กระบวน การทางวิทยาศาสตร์ที่ได้ปฏิบัติ จากกิจกรรม - สังเกตพฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม - แบบประเมินการ อภิปรายแสดง ความ คิดเห็น - แบบประเมิน พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม -นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 3. คุณลักษณะที่พึง ประสงค์ และสมรรถนะผู้เรียน - มีวินัยในการทำงานกลุ่ม - นักเรียนเห็นความสำคัญ ของการทำงานร่วมกับผู้อื่น และการทำงานในระบบกลุ่ม - ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกัน และกันมีความเสียสละและ อดทน - นักเรียนมีการเห็นคุณค่า ในตนเอง (Self-esteem) - สังเกตค่านิยมในการ ทำงานร่วมกับผู้อื่นและการ ทำงานในระบบกลุ่ม อภิปราย แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับผลการทดลอง - แบบประเมิน คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ - แบบประเมิน สมรรถนะผู้เรียน -แบบทดสอบ Rubin’s Self Esteem Scale - นักเรียนได้ คะแนน ประเมินคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ 26 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้ คะแนน การประเมิน สมรรถนะ 29 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 12. กิจกรรมการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ 1 (สัปดาห์ที่14) 1. ขั้นตั้งประเด็นปัญหา/สมมติฐาน (Hypothesis Formulation) 1.1 ครูให้นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างจากภาพในหนังสือเรียน(สังเกตเห็นอุโมงค์ที่มืด มีหลอดไฟให้แสง


49 สว่าง มีชั้นวางและมีพืชอยู่บนชั้น) 1.2 ครูตั้งคำถามในประเด็นต่อไปนี้ • นักเรียนคิดว่า การปลูกพืชในอุโมงค์ดังภาพ พืชจะเจริญเติบโตได้หรือไม่ เพราะเหตุใด (นักเรียน ตอบตามความเข้าใจ เช่น พืชเจริญเติบโตไม่ได้เพราะไม่มีดิน ไม่มีแสงอาทิตย์ หรือพืชเจริญเติบโตได้ เพราะ สามารถปลูกพืชแบบไม่ใช้ดินได้และสามารถใช้แสงไฟฟ้าแทนแสงอาทิตย์ได้) • นักเรียนคิดว่าต้องทำอย่างไรบ้าง ให้อุโมงค์ใต้ดินมีสภาพแวดล้อมที่สามารถปลูกพืชได้ (ต้องศึกษา ความต้องการของพืช ปรับพื้นที่ วางระบบน้ำ ระบบไฟ และระบบระบายอากาศให้เหมาะสมต่อการเจริญ เติบโตของพืช) 1.3 ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยใช้คำถามว่านักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของพืชดอกหรือไม่ 1.4 ครูให้นักเรียนดูวีดิทัศน์ ที่เกี่ยวกับปัญหาการเพิ่มจำนวนของผักตบชวาในแหล่งน้ำของประเทศไทย และร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนของผักตบชวา โดยอาจใช้คำถามดังนี้ • นักเรียนคิดว่าผักตบชวาที่แพร่พันธุ์เต็มผืนน้ำส่งผลกระทบต่อสิ่งใดบ้าง อย่างไร (นักเรียนตอบ ตามความเข้าใจ เช่น ก่อให้เกิดปัญหาการจราจรทางน้ำ ทำให้น้ำเน่าเสียซึ่งส่งผลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ) • ผักตบชวาเพิ่มจำนวนได้อย่างไรบ้าง (นักเรียนตอบตามความเข้าใจ เช่น เพิ่มโดยการสืบพันธุ์แบบ อาศัยเพศและแบบไม่อาศัยเพศ) • พืชชนิดใดบ้าง ที่สามารถเพิ่มจำนวนได้แบบเดียวกับผักตบชวา และเพิ่มจำนวนอย่างไร (นักเรียน ตอบตามความเข้าใจ เช่น บัวสาย) 1.5 นักเรียนทำกิจกรรมทบทวนความรู้ก่อนเรียน ชั่วโมงที่ 2-3 (สัปดาห์ที่ 14) 2. ขั้นสืบค้นความรู้(Searching for Information) 2.1 ครูให้นักเรียนทบทวนความรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบของดอก และหน้าที่ของแต่ละส่วนประกอบ โดย อาจนำดอกพืชมาให้ดูและสังเกตส่วนประกอบแต่ละส่วน เพื่อให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเรณูกับถุงเอ็มบริโออยู่คน ละส่วนกัน ครูใช้คำถามเพื่อให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ ดังนี้ • ส่วนใดของดอกที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอก เพราะเหตุใด (ส่วน เกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย เพราะว่าเกสรเพศผู้เป็นส่วนที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ และเกสรเพศเมียเป็นส่วน ที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย) • การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชมีขั้นตอนอย่างไร (การถ่ายเรณู และการผสมกันของเซลล์ สืบพันธุ์เพศผู้และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย) • การถ่ายเรณูเกิดขึ้นได้อย่างไร มีสิ่งใดบ้างที่ช่วยในการถ่ายเรณู (นักเรียนตอบตามความเข้าใจ) 2.2 ร่วมกันอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชจะเกิดขึ้นที่ดอก ส่วนของ ดอกที่ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ คือ เรณู ซึ่งอยู่ในอับเรณูของเกสรเพศผู้ และส่วนที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ เพศเมีย คือ ถุงเอ็มบริโอ ซึ่งอยู่ในออวุลของเกสรเพศเมีย การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศต้องมีการผสมกันของ เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียจึงต้องมีการเคลื่อนย้ายเรณูจากอับเรณูไปยังยอดเกสรเพศเมีย เรณูจากอับเรณูจะไปตกบนยอดเกสรเพศเมียได้อย่างไรนั้นจะได้ทราบจากการทำกิจกรรมที่ 4.1 2.3 นักเรียนในกลุ่มสังเกตดอกพืชทีละชนิดไปพร้อมกันทั้งกลุ่ม เพื่อให้มีการลงความเห็นกันในกลุ่ม และ บันทึกผล ครูสังเกตการบันทึกผลของนักเรียน ให้ข้อแนะนำถ้าเกิดข้อผิดพลาดหรือบันทึกผลไม่ครบถ้วน เพื่อ นำข้อมูลที่ควรจะปรับปรุงและแก้ไขมาใช้ประกอบการอภิปรายหลังทำกิจกรรม


50 2.4 นักเรียนรวบรวมข้อมูลเรื่องการถ่ายเรณูของพืชดอก เช่น การชมวีดิทัศน์ และบันทึกข้อมูล เช่น ความจำเพาะของลักษณะดอกของพืช และสิ่งที่ช่วยในถ่ายเรณูสิ่งที่พืชใช้ในการดึงดูดสัตว์มาถ่ายเรณูและสิ่ง ที่สัตว์ได้รับจากการถ่ายเรณู 2.5 นักเรียนนำข้อมูลวิธีการถ่ายเรณูของพืชดอกแต่ละชนิด มานำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเขียน แผนภาพ หรือการทำภาพเคลื่อนไหวโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป หรือแอปพลิเคชัน สำหรับจัดทำงานนำเสนอ 2.6 ร่วมกันอภิปรายคำตอบเพื่อให้นักเรียนสรุปได้ว่าวิธีการถ่ายเรณูของพืชดอกแต่ละชนิดเกี่ยวข้องกับ ลักษณะต่าง ๆ ของดอกพืช ทั้งรูปร่าง ขนาด สี กลิ่น ตำแหน่งของเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย ซึ่งจะสัมพันธ์ กับสิ่งที่ช่วยในการถ่ายเรณู เช่น สัตว์ลม น้ำ ชั่วโมงที่ 4 (สัปดาห์ที่ 15) 3. ขั้นสรุปองค์ความรู้(Knowledge Formation) 3.1 ครูเชื่อมโยงความรู้ของนักเรียนที่ได้จากเรื่องวิธีการถ่ายเรณูของพืชดอก และตรวจสอบความรู้เดิมใน เรื่องการปฏิสนธิของพืชดอก โดยอาจใช้คำถามดังนี้ • การถ่ายเรณู เรณูจะไปตกที่ส่วนใดของเกสรเพศเมีย (ยอดเกสรเพศเมีย) • หลังจากถ่ายเรณูแล้ว เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ที่อยู่ในเรณูจะเข้าไปผสมกับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียได้ อย่างไร (นักเรียนตอบตามความเข้าใจ) 3.2 ครูให้นักเรียนให้นักเรียนอ่านจับใจความและสรุปเนื้อหาจากหนังสือเรียนเกี่ยวกับการปฏิสนธิของ พืชดอก จากนั้นซักถาม โดยอาจใช้คำถามดังต่อไปนี้ • ไซโกตเกิดขึ้นได้อย่างไร (ไซโกต เกิดจากการปฏิสนธิของสเปิร์มกับเซลล์ไข่) • ไซโกตมีความสำคัญอย่างไร (ไซโกตเป็นเซลล์ที่จะพัฒนาไปเป็นเอ็มบริโอ ซึ่งเป็นส่วนที่มีลักษณะ คล้ายต้นอ่อนอยู่ในเมล็ด) • เอนโดสเปิร์มเกิดขึ้นได้อย่างไร และสำคัญอย่างไร (เอนโดสเปิร์มเกิดจากการปฏิสนธิของสเปิร์มกับ โพลาร์นิวคลีไอมีความสำคัญเพราะเป็นแหล่งสะสมอาหารในเมล็ด) • ผล และเมล็ดพัฒนามาจากส่วนใด (ผลพัฒนามาจากรังไข่ เมล็ดพัฒนามาจากออวุล) 3.3 นักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปเนื้อหาทั้งหมดที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรมและการอ่านเพิ่มเติม โดยอาจให้นักเรียนวาดภาพขั้นตอนตั้งแต่การถ่ายเรณูจนถึงการปฏิสนธิของพืชดอก เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า การ สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอกเกิดขึ้นที่ดอก มีการถ่ายเรณูจากอับเรณูไปยังยอดเกสรเพศเมียโดยมีสิ่ง ต่าง ๆ ช่วยในการถ่ายเรณูจากนั้นสเปิร์มในเรณูจะเข้าไปปฏิสนธิกับเซลล์ไข่และโพลาร์นิวคลีไอในถุงเอ็มบริโอ ได้ไซโกตและเอนโดสเปิร์ม ส่วนออวุลจะพัฒนาและเจริญเติบโตไปเป็นเมล็ด รังไข่จะพัฒนาและเจริญเติบโต เป็นผล 3.4 ครูและนักเรียนร่วมสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับการถ่ายเรณูของพืชซึ่งเป็นกระบวนการที่นำไปสู่การ ปฏิสนธิของพืชดอก ทำให้เกิดไซโกตและเอนโดสเปิร์ม ส่วนออวุลจะเจริญเติบโตเป็นเมล็ด และรังไข่จะ เจริญเติบโตเป็นผลห่อหุ้มเมล็ด ครูอาจใช้คำถามต่อไปว่าเมล็ดพืชมีส่วนประกอบใดบ้าง เมล็ดพืชงอกได้อย่างไร เมล็ดมีความสำคัญต่อพืชอย่างไรเพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่กิจกรรมที่ 4.2 เมล็ดงอกได้อย่างไร ชั่วโมงที่ 5-6 (สัปดาห์ที่ 15) 4. ขั้นการสื่อสารและนำเสนอ (Effective Communication) 4.1 นักเรียนทำกิจกรรมตามขั้นตอน โดยครูเน้นย้ำในเรื่องการใช้ใบมีดโกนผ่าเมล็ดด้วยความระมัดระวัง สังเกตการร่วมมือกันภายในกลุ่ม การสืบค้นข้อมูลเรื่องส่วนประกอบและหน้าที่ของแต่ละส่วนประกอบของ


51 เมล็ดจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ และเน้นให้นักเรียนบันทึกผลการสังเกตโดยการวาดภาพส่วนประกอบของเมล็ด 4.2 นักเรียนนำเสนอข้อมูลส่วนประกอบและหน้าที่ของแต่ละส่วนประกอบของเมล็ด โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น นำแผนภาพไปติดที่ผนังห้องเรียน และให้เพื่อนร่วมชั้นเรียนศึกษาข้อมูล จากนั้นร่วมกันอภิปราย เปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากการทำกิจกรรมของแต่ละกลุ่ม ถ้ามีข้อมูลใดคลาดเคลื่อน ควรอภิปรายเพื่อแก้ไขให้ ถูกต้อง ชั่วโมงที่ 7-8 (สัปดาห์ที่ 16) 5. ขั้นการบริการสังคมและสาธารณะ (Public Service) 5.1 นักเรียนตอบคำถามท้ายกิจกรรม และร่วมกันอภิปรายคำตอบเพื่อให้นักเรียนสรุปได้ว่าเมล็ดถั่วแดง และเมล็ดข้าวโพดมีส่วนประกอบแตกต่างกัน ส่วนประกอบต่าง ๆ ของเมล็ดทำหน้าที่แตกต่างกัน 5.2 นักเรียนอ่านเนื้อหาในหนังสือ ร่วมกันอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับส่วนประกอบ และหน้าที่ของ แต่ละส่วนประกอบของเมล็ด เพื่อลงข้อสรุปว่าเมล็ดพืชแต่ละชนิดมีลักษณะและส่วนประกอบบางอย่าง แตกต่างกัน บางอย่างเหมือนกัน ซึ่งโดยทั่วไปเมล็ดพืชประกอบด้วย เปลือกหุ้มเมล็ดที่เป็นส่วนห่อหุ้ม ส่วนประกอบอื่น ๆ ของเมล็ด เอ็มบริโอที่เป็นต้นอ่อนภายในเมล็ด และเอนโดสเปิร์มเป็นอาหารสะสมภายใน เมล็ด 5.3 ครูอาจใช้คำถามต่อไปว่า ทำอย่างไรเมล็ดจึงจะงอก และเมื่อเมล็ดงอกจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่กิจกรรมที่ 4.2 เมล็ดงอกได้อย่างไร ตอนที่ 2 5.4 นักเรียนวางแผนการเพาะเมล็ดเพื่อสังเกตการงอกร่วมกัน ออกแบบตารางบันทึกผลการเปลี่ยนแปลง ของเมล็ดขณะงอกให้เรียบร้อยก่อนทำกิจกรรม ครูตรวจสอบการออกแบบวิธีการเพาะเมล็ดของนักเรียนว่ามี ปัจจัยใดบ้างที่เกี่ยวกับการงอกของเมล็ด ตรวจสอบตารางบันทึกผลของนักเรียน และให้คำแนะนำปรับแก้ตาม ความเหมาะสม 5.5 นักเรียนตอบคำถามท้ายกิจกรรม และร่วมกันอภิปรายคำตอบเพื่อให้นักเรียนสรุปได้ว่าเมล็ดจะงอก ได้ต้องอยู่ในสภาพที่มีน้ำหรือความชื้น มีแก๊สออกซิเจน และมีอุณหภูมิที่เหมาะสม ในขณะงอกเมล็ดพืชที่มี ส่วนประกอบแตกต่างกัน จะมีการเปลี่ยนแปลงขณะงอกที่แตกต่างกัน 13. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ 12.1สื่อการเรียนรู้ 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 2) หนังสือแบบเรียน 3) สื่อเพาเวอร์พอยต์ 12.2แหล่งเรียนรู้ 1) อินเตอร์เน็ต 2) ห้องสมุด 14. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ ผลการสอน รายละเอียด 1. ด้านความรู้: - การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ ของพืชดอก - ลักษณะโครงสร้างของดอกที่มีส่วนทำให้เกิด การถ่ายเรณู รวมทั้งบรรยายการปฏิสนธิของพืช ดอกการเกิดผลและเมล็ด การกระจายเมล็ด และ การงอกของเมล็ด - วิธีการขยายพันธุ์พืชให้เหมาะสมกับชนิดของ ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ..................................................................................... ...................................................................................... .....................................................................................


52 พืชและความต้องการของมนุษย์ -การใช้เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชในการ ขยายพันธุ์พืช ..................................................................................... ..................................................................................... 2. ด้านกระบวนการ : - ทักษะกระบวนการคิด - ทักษะกระบวนการกลุ่ม ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 3. ด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม อันพึงประสงค์: - มีวินัย - ใฝ่เรียนรู้ - อยู่อย่างพอเพียง - รักความเป็นไทย ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ............................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 4. ปัญหาการสอน ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 5. วิธีแก้ปัญหา ....................................................................... ....................................................................... . ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ..................................................................................... ...................................................................................... ลงชื่อ........................................ครูผู้สอน ลงชื่อ...........................................หัวหน้ากลุ่มสาระฯ (.นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์..) (นางกณิการ์ พัฒรากุล) ลงชื่อ........................................... (นางวันวิศาข์ ผลหมู่) รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ลงชื่อ ........................................................ (นายสุริยันต์ เหล่ามะลึก) ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม


53 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 หน่วยการเรียนรู้ที่…….4……..การดำรงชีวิตของพืช..........เรื่อง...การสังเคราะห์ด้วยแสง.... รายวิชา…..วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี…1...รหัสวิชา….........ว 21101 ..............ชั้นมัธยมศึกษาปีที่….....1........ กลุ่มสาระการเรียนรู้..วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.. ปีการศึกษา… 2566...ภาคเรียนที่..1...เวลา...9...ชั่วโมง…… ผู้สอน.........................นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์......................................................................................... 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้(รายวิชาพื้นฐานมีทั้งมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด รายวิชาเพิ่มเติมมีเฉพาะมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้) 1.1 มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ว 1.2 ม.1/6 ม.1/7 ม.1/8 สาระที่1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การลำเลียงสารเข้า และออกจากเซลล์ ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสัตว์และมนุษย์ที่ทำงาน สัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ของพืชที่ทำงานสัมพันธ์กัน รวมทั้งนำ ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ตัวชี้วัด ว 1.2 ม. 1/6 ระบุปัจจัยที่จำเป็นในการสังเคราะห์ด้วยแสงและผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์ ด้วยแสง โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ว 1.2 ม. 1/7 อธิบายความสำคัญของการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ว 1.2 ม. 1/8 ตระหนักในคุณค่าของพืชที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยการร่วมกันปลูกและดูแล รักษาต้นไม้ในโรงเรียนและชุมชน 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด (หลอมจากตัวชี้วัดที่ใช้ในหน่วยการเรียนรู้นี้เขียนเป็นแบบความเรียง) กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเกิดขึ้นในคลอโรพลาสต์ เป็นกระบวนการที่นำพลังงานแสง มาเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำให้เป็นน้ำตาล พืชจะเปลี่ยนน้ำตาลเป็นสารประกอบอินทรีย์อื่น ๆ และ เก็บสะสมในโครงสร้างต่าง ๆ ของพืช พืชจึงเป็นแหล่งอาหารและพลังงานที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น นอกจากนี้การสังเคราะห์ด้วยแสงยังเป็นกระบวนการผลิตแก๊สออกซิเจนออกสู่บรรยากาศ เพื่อให้สิ่งมีชีวิตชนิด อื่นนำไปใช้ในกระบวนการหายใจ 3. สาระการเรียนรู้ 3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง/สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม (รายวิชาเพิ่มเติม) สาระการเรียนรู้แกนกลาง • กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชที่เกิดขึ้นในคลอโรพลาสต์ จำเป็นต้องใช้แสง แก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ คลอโรฟิลล์ และน้ำ ผลผลิตที่ได้จาก การสังเคราะห์ด้วยแสง ได้แก่ น้ำตาลและแก๊ส ออกซิเจน • การสังเคราะห์ด้วยแสง เป็นกระบวนการที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิต เพราะเป็นกระบวนการเดียวที่สามารถ นำพลังงานแสงมาเปลี่ยนเป็นพลังงานในรูปสารประกอบอินทรีย์และเก็บสะสมในรูปแบบต่าง ๆ ในโครงสร้าง ของพืช พืชจึงเป็นแหล่งอาหารและพลังงานที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตอื่น นอกจากนี้กระบวนการสังเคราะห์ด้วย แสงยังเป็นกระบวนการหลักในการสร้างแก๊สออกซิเจนให้กับบรรยากาศเพื่อให้สิ่งมีชีวิตอื่น ใช้ในกระบวนการ หายใจ


54 3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น (ถ้าในคำอธิบายรายวิชาพูดถึงหลักสูตรท้องถิ่นให้ใส่ลงไปด้วย ...............................................................-........................................................................................... 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. นักเรียนอธิบายปัจจัยที่จำเป็นในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชและผลผลิตที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วย แสง (K) 2. นักเรียนสรุปความสำคัญของการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม (P) 3. นักเรียนตระหนักในคุณค่าของพืชที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยการร่วมกันปลูกและดูแลรักษา ต้นไม้ในโรงเรียนและชุมชน (A) 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์(เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ 7. ด้านคุณลักษณะของผู้เรียนตามหลักสูตรมาตรฐานสากล 1. เป็นเลิศวิชาการ 2. สื่อสารสองภาษา 3. ล้ำหน้าทางความคิด 4. ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ 5. ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก 8. ทักษะของคนในศตวรรษที่21 คือการเรียนรู้ 3R X 8C 2L R1 –Reading (อ่านออก) R2-(W) Ringting (เขียนได้) R3- (A) Rithmetics (คิดเลขเป็น) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ไขปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information, and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning) ความมีเมตตา (วินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion) 9. บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1. หลักความพอประมาณ : กำหนดจำนวนสมาชิกในกลุ่มให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในห้องเรียนคือ ประมาณกลุ่มละ 4 – 6 คน 2. หลักความมีเหตุผล : ให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานและเกิดทักษะการปฏิบัติ, นักเรียนเกิดความ ภาคภูมิใจในผลงานของตนและสิ่งที่เรียนรู้


55 3. หลักภูมิคุ้มกัน : ให้นักเรียนเกิดทักษะการทำงานกลุ่ม และกล้าแสดงออก , นักเรียนรู้จักการวาง แผนการทำงานและมอบหมายงานให้สมาชิกภายในกลุ่มได้เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคล 4. เงื่อนไขความรู้ : การวางแผนงานที่จะทำก่อนแล้วค่อยลงมือทำอย่างระมัดระวัง 5. เงื่อนไขคุณธรรม : อดทนที่จะทำงาน และมีความขยันที่จะทำงานให้ออกมาได้ดีที่สุด , มีวินัยในการ ทำงาน 10. ชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด ตัวชี้วัด ชิ้นงาน ภาระงาน ว 1.2 ม.1/6 ม.1/7, ม. 1/8 -รายงานกิจกรรมที่ 4.4 ปัจจัยใน การสร้างอาหารของพืชมีอะไรบ้าง -รายงานกิจกรรมที่ กิจกรรมที่ 4.5 การสังเคราะห์ด้วยแสงได้ผลผลิต ใดอีกบ้าง - อธิบายว่าแสงคลอโรฟิลล์ แก๊สคาร์บอน ไดออกไซด์เป็นปัจจัยที่จำเป็นในการสังเคราะห์ ด้วยแสงของพืช - อธิบายว่าน้ำตาลและแก๊สออกซิเจน เป็น ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์ด้วยแสง - อธิบายความสำคัญของการสังเคราะห์ ด้วยแสงของพืชต่อสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม - ร่วมปลูกและดูแลรักษาต้นไม้ในโรงเรียนและ ชุมชน 11. การวัดประเมินผล 11.1การวัดและประเมินผลชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด วิธีการ 1.การสังเกตการณ์ 2.การใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ร่องรอยบ่งชี้ 3.การวัดประเมินการปฏิบัติ เครื่องมือ 1. แบบสังเกตการณ์ 2. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 3. แบบวัดประเมินการปฏิบัติ เกณฑ์ 1.การประเมินผลตามสภาพจริง (Rubrics) 2.การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน ผ่าน 1 รายการถือว่า ไม่ผ่าน 11.2 การวัดและประเมินผลระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ประเมินจากแผนการจัดการเรียนรู้ของ หน่วยการเรียนรู้นี้) สิ่งที่ต้องการวัด วิธีวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมิน 1. ความรู้เกี่ยวกับ - ปัจจัยที่สำคัญในการ สังเคราะห์ด้วยแสงของพืช และผลผลิตที่ได้จากการ สังเคราะห์ด้วยแสง -การสอบถาม ซักถาม ความ คิดเห็น -การตรวจผลงานนักเรียน - แบบประเมินการ อภิปรายแสดง ความ คิดเห็น - แบบประเมินการ - นักเรียนได้ คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์


56 - ความสำคัญของ การสังเคราะห์ด้วยแสง ของพืชต่อสิ่งมีชีวิตและ สิ่งแวดล้อม -ตระหนักในคุณค่าของพืชที่ มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวด ล้อมโดยการร่วมกันปลูก และดูแลรักษาต้นไม้ใน โรงเรียนและชุมชน ตรวจผลงานผู้เรียน - นักเรียนได้ คะแนน ประเมินผลงาน 13 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 2.ทักษะกระบวนการคิด และทักษะกระบวนการกลุ่ม - การอภิปรายแสดง ความคิดเห็นระบุทักษะ กระบวน การทางวิทยาศาสตร์ที่ได้ปฏิบัติ จากกิจกรรม - สังเกตพฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม - แบบประเมินการ อภิปรายแสดง ความ คิดเห็น - แบบประเมิน พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม -นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 3. คุณลักษณะที่พึง ประสงค์ และสมรรถนะผู้เรียน - มีวินัยในการทำงานกลุ่ม - นักเรียนเห็นความสำคัญ ของการทำงานร่วมกับผู้อื่น และการทำงานในระบบกลุ่ม - ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกัน และกันมีความเสียสละและ อดทน - นักเรียนมีการเห็นคุณค่า ในตนเอง (Self-esteem) - สังเกตค่านิยมในการ ทำงานร่วมกับผู้อื่นและการ ทำงานในระบบกลุ่ม อภิปราย แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับผลการทดลอง - แบบประเมิน คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ - แบบประเมิน สมรรถนะผู้เรียน -แบบทดสอบ Rubin’s Self Esteem Scale - นักเรียนได้ คะแนน ประเมินคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ 26 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้ คะแนน การประเมิน สมรรถนะ 29 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 12. กิจกรรมการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ 9 (สัปดาห์ที่ 16) 1. ขั้นตั้งประเด็นปัญหา/สมมติฐาน (Hypothesis Formulation) 1.1 ครูใช้คำถามว่าหลังจากงอกออกจากเมล็ดแล้วพืชใช้อาหารจากแหล่งใดในการเจริญเติบโต


57 1.2 ครูให้นักเรียนสังเกต วีดิทัศน์ หรือสื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการงอกของเมล็ดพืชตั้งแต่เริ่มงอก จนใบแท้ เจริญเต็มที่ จากนั้นตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับอาหารของพืชโดยให้อ่านเนื้อหานำบท และ ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับอาหารของพืช โดยอาจใช้คำถามดังนี้ • ส่วนใดของเมล็ดที่เป็นอาหารสำหรับใช้ในการงอกของเมล็ด (เอนโดสเปิร์มหรือใบเลี้ยง) • ถ้าอาหารในเอนโดสเปิร์มหรือใบเลี้ยงหมดไป พืชจะนำอาหารจากที่ใดมาใช้ในการเจริญเติบโต (นักเรียนตอบตามความเข้าใจเช่น สร้างอาหารขึ้นมาใหม่ได้เอง) 1.3 นักเรียนทำกิจกรรมทบทวนความรู้ก่อนเรียน 1.4 ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับปัจจัยในการเจริญเติบโตของพืช และความสำคัญของโครงสร้างในเซลล์พืช โดยใช้คำถามต่อไปนี้ • ปัจจัยในการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของพืชมีอะไรบ้าง • โครงสร้างใดในเซลล์ของพืชมีหน้าที่ในการสร้างอาหารของพืช เพราะเหตุใด ชั่วโมงที่ 10-11 (สัปดาห์ที่ 17) 2. ขั้นสืบค้นความรู้(Searching for Information) 2.1 ครูร่วมกันอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าพืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องการ น้ำ แสง และอากาศในการ เจริญเติบโตและการดำรงชีวิต พืชมีคลอโรพลาสต์ซึ่งเป็นโครงสร้างในเซลล์ที่มีหน้าที่สร้างอาหาร ส่วนพืชจะ สร้างอาหารได้อย่างไรและใช้ปัจจัยใดบ้างในการสร้างอาหารนั้น จะได้ทราบจากการทำกิจกรรมที่ 4.4 2.2 นักเรียนอ่านวิธีการดำเนินกิจกรรมตอนที่ 1 ในหนังสือเรียน และร่วมกันอภิปรายในประเด็น ดังต่อไปนี้ • กิจกรรมนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร (ปัจจัยในการสร้างอาหารของพืช) • กิจกรรมนี้มีจุดประสงค์อะไร (นักเรียนตอบตามความคิดของตนเอง) • วิธีการดำเนินกิจกรรมโดยสรุปเป็นอย่างไร (นำต้นผักบุ้งไปวางในที่มืดเป็นเวลา 2 วัน หุ้ม ใบผักบุ้ง 1 ใบ ด้วยกระดาษทึบแสงสีดำ นำไปวางกลางแดด จากนั้นเด็ดใบผักบุ้งใบที่หุ้มด้วยกระดาษทึบแสงกับใบที่ ไม่ได้หุ้มมาสกัดคลอโรฟิลล์ออก แล้วทดสอบแป้งด้วยสารละลายไอโอดีน) • สังเกตได้อย่างไรว่าใบผักบุ้งมีการสร้างอาหาร (สังเกตสีของสารละลายไอโอดีนบนใบผักบุ้งที่ เปลี่ยนจากสีน้ำตาลเป็นสีน้ำเงินเข้มถึงดำ) 2.3 นำอภิปรายโดยการใช้คำถามเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ดังนี้ • สมมติฐานของการทดลองนี้ คืออะไร (ถ้าแสงเป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ดังนั้นเมื่อนำใบผักบุ้งที่ได้รับแสงไปทดสอบด้วยสารละลายไอโอดีน สีของสารละลายไอโอดีนจะเปลี่ยนจากสี น้ำตาลเป็นสีน้ำเงิน) • ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตัวแปรที่ต้องควบคุมของการทดลองนี้คืออะไร (ตัวแปรต้น คือ การได้รับ แสงของใบผักบุ้งตัวแปรตาม คือ การเปลี่ยนแปลงสีของสารละลายไอโอดีนเมื่อทดสอบกับใบผักบุ้ง ตัวแปรที่ ต้องควบคุม คือ ขนาดและอายุ ของใบผักบุ้ง บริเวณที่วางกระถางผักบุ้ง) • นิยามเชิงปฏิบัติการของการทดลองนี้คืออะไร (การสังเคราะห์ด้วยแสงของใบผักบุ้งตรวจสอบได้ จากแป้งที่เกิดขึ้นที่ใบ) 2.4 ร่วมกันอภิปรายเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากการทำกิจกรรม สาเหตุที่ทำให้ผลการทำกิจกรรม คลาดเคลื่อน เช่น สกัดคลอโรฟิลล์ออกไม่หมด ไม่ได้นำกระถางผักบุ้งไปไว้ในที่มืด หรือในวันที่ทำการทดลอง ไม่มีแสง หรือได้รับแสงน้อยไป 2.5 ร่วมกันอภิปรายคำตอบเพื่อให้นักเรียนสรุปได้ว่าแสงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการสร้างอาหารของพืช


58 2.6 ร่วมสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเรื่องแสงเป็นปัจจัยในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช และครูอาจใช้ คำถามต่อไปว่านอกจากแสงแล้วมีสิ่งใดอีกที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช เพื่อเชื่อมโยงกับกิจกรรม ตอนที่ 2 ชั่วโมงที่ 12-14 (สัปดาห์ที่ 17-18) 3. ขั้นสรุปองค์ความรู้(Knowledge Formation) 3.1 นักเรียนอ่านวิธีการดำเนินกิจกรรมตอนที่ 2 ในหนังสือเรียน และร่วมกันอภิปรายในประเด็น ดังต่อไปนี้ • กิจกรรมนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร (ปัจจัยสำหรับการสร้างอาหารของพืช) • กิจกรรมนี้มีจุดประสงค์อะไร (นักเรียนตอบตามความคิดของตนเอง) • วิธีการดำเนินกิจกรรมโดยสรุปเป็นอย่างไร • ใบชบาด่างส่วนที่มีสีเขียว แสดงว่าส่วนนี้มีสิ่งใดอยู่ในเซลล์ (มีคลอโรพลาสต์ที่มีคลอโรฟิลล์) • สังเกตได้อย่างไรว่าใบชบาด่างมีการสร้างอาหาร (สังเกตสีของสารละลายไอโอดีนบนใบชบาด่างจะ เปลี่ยนจากสีน้ำตาลเป็นสีน้ำเงินเข้มถึงดำ) 3.2 นักเรียนทำกิจกรรมตามขั้นตอน โดยครูสังเกตการบันทึกลักษณะของใบชบาด่างก่อนนำไปต้ม การ จัดและใช้อุปกรณ์สำหรับการสกัดคลอโรฟิลล์ออกจากใบ การทดสอบแป้ง ด้วยสารละลายไอโอดีนการสังเกต และการบันทึกผลการสังเกตของนักเรียนทุกกลุ่ม เพื่อให้ข้อแนะนำถ้าเกิดข้อผิดพลาดในขณะทำ รวมทั้งนำ ข้อมูลที่ควรจะปรับปรุงและแก้ไขมาใช้ประกอบการอภิปรายหลังการทำกิจกรรม 3.3 นำเสนอข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของสีของสารละลายไอโอดีนหลังจากทดสอบกับใบชบาด่างใน รูปแบบที่น่าสนใจ เช่น วาดภาพและระบายสีโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ 3.4 นักเรียนตอบคำถามท้ายกิจกรรม และร่วมกันอภิปรายคำตอบเพื่อให้นักเรียนสรุปได้ว่าส่วนที่มีสีเขียว ของพืชเป็นส่วนที่มีการสร้างอาหาร และสีเขียวที่พบในพืช เรียกว่า คลอโรฟิลล์ ซึ่งเป็นสารสีเขียวที่อยู่ในคลอ โรพลาสต์ 3.5 ร่วมสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเรื่องแสงและคลอโรฟิลล์เป็นปัจจัยสำคัญในการสังเคาะห์ด้วยแสง ของพืช ครูอาจใช้คำถามต่อไปว่า นอกจากแสงและคลอโรฟิลล์แล้วยังมีสิ่งใดอีกที่จำเป็นต้องใช้ในการ สังเคราะห์ด้วยแสงของพืช เพื่อเชื่อมโยงไปสู่กิจกรรมตอนที่ 3 3.6 นักเรียนอ่านวิธีการดำเนินกิจกรรมตอนที่ 3 ในหนังสือเรียน และร่วมกันอภิปรายในประเด็น ดังต่อไปนี้ • กิจกรรมนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร (ปัจจัยในการสร้างอาหารของพืช) • กิจกรรมนี้มีจุดประสงค์อะไร (นักเรียนตอบตามความคิดของตนเอง) • วิธีการดำเนินกิจกรรมโดยสรุปเป็นอย่างไร (อ่านวิธีการทดลองและวิเคราะห์ผลการทดลองจาก วิธีการทดลองหาปัจจัยในการสังเคราะห์ด้วยแสงที่กำหนดให้ และลงข้อสรุปว่าในการทดลองนี้มีสิ่งใดเป็น ปัจจัยในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช) 3.7 นักเรียนทำกิจกรรมตามขั้นตอน โดยสังเกตการร่วมกันวิเคราะห์วิธีการทดลอง การตั้งสมมติฐานการ ทดลอง นิยามเชิงปฏิบัติการ ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตัวแปรควบคุม และการวิเคราะห์ผลการทดลองเพื่อลง ข้อสรุปร่วมกัน 3.8 ร่วมกันอภิปรายคำตอบเพื่อให้นักเรียนสรุปได้ว่าแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการ สร้างอาหารของพืช ชั่วโมงที่ 15 (สัปดาห์ที่ 18)


59 4. ขั้นการสื่อสารและนำเสนอ (Effective Communication) 4.1 ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับปัจจัยในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าปัจจัยที่จำเป็นใน การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ได้แก่ แสง สารสีเขียวหรือคลอโรฟิลล์ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ สิ่งที่ สามารถระบุได้ว่ามีการสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดขึ้น คือ เมื่อทดสอบใบของพืชด้วยสารละลายไอโอดีน พบว่าสี ของสารละลายไอโอดีนจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเข้ม แสดงว่ามีแป้งเกิดขึ้นในใบพืชโดยแป้งเป็นสารที่เปลี่ยนมา จากน้ำตาลซึ่งเป็นผลผลิตชนิดแรกของการสังเคราะห์ด้วยแสง และครูควรเน้นย้ำกับนักเรียนในการอภิปราย หลังจากอ่านเนื้อเรื่องว่าผลผลิตชนิดแรกที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ น้ำตาล 4.2 ร่วมสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับปัจจัยในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชว่าประกอบด้วยแสง คลอโรฟิลล์แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ และการสังเคราะห์ด้วยแสงได้ผลผลิต คือ น้ำตาล และครูอาจใช้ คำถามต่อไปว่านอกจากน้ำตาลแล้ว ผลผลิตของการสังเคราะห์ด้วยแสงยังมีอะไรอีกบ้าง เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ กิจกรรมที่ 4.5 การสังเคราะห์ด้วยแสงได้ผลผลิตใดอีกบ้าง 4.3 นักเรียนอ่านวิธีการดำเนินกิจกรรมในหนังสือเรียน และร่วมกันอภิปรายในประเด็นดังต่อไปนี้ • กิจกรรมนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร (ผลผลิตจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช) • กิจกรรมนี้มีจุดประสงค์อะไร (นักเรียนตอบตามความคิดของตนเอง) • วิธีการดำเนินกิจกรรมโดยสรุปเป็นอย่างไร (นำสาหร่ายหางกระรอกบรรจุในกรวยแก้วแล้วนำไป คว่ำใส่ในบีกเกอร์ที่มีน้ำ ครอบก้านกรวยแก้วด้วยหลอดทดลองที่มีน้ำเต็ม ทำ 2 ชุด ชุดหนึ่งนำไปวางกลางแดด และอีกชุดนำไปวางในกล่องทึบ สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นในหลอดทดลองทั้ง 2 ชุด เมื่อครบ 90 นาที(ครูจัดชุด อุปกรณ์ไว้ล่วงหน้า) ยกหลอดทดลองขึ้นโดยใช้นิ้วปิดปากหลอดไว้และแหย่ธูปที่ติดไฟแต่ไม่มีเปลวไฟเข้าไปใน หลอดทดลอง) 5. ขั้นการบริการสังคมและสาธารณะ (Public Service) 5.1 นักเรียนนำผลการสังเกตที่บันทึกไว้มานำเสนอ ร่วมกันอภิปรายเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้ สาเหตุที่ทำ ให้ผลการทำกิจกรรมคลาดเคลื่อน เช่น ไม่สามารถสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของปลายธูปเมื่อทดสอบแก๊ส ออกซิเจนหรือเห็นผลการทดสอบไม่ชัดเจน ครูอาจถามคำถามเพิ่มเติม หรืออาจเปรียบเทียบผลจากกลุ่มอื่น หรืออาจเปิดวีดิทัศน์การทดลองที่คล้ายคลึงกันให้นักเรียนชม 5.2 นักเรียนร่วมกันอภิปรายคำตอบเพื่อให้นักเรียนสรุปได้ว่าชุดการทดลองที่วางกลางแดดมีฟองแก๊ส เกิดขึ้นในหลอดทดลอง เมื่อทดสอบสรุปได้ว่าแก๊สที่เกิดขึ้นคือแก๊สออกซิเจน ดังนั้นผลผลิตของการสังเคราะห์ ด้วยแสงของพืช คือ น้ำตาลและแก๊สออกซิเจน 5.3 ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่ากระบวนการสังเคราะห์ ด้วยแสงมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของพืชและสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นรวมทั้งต่อสิ่งแวดล้อมเพราะเป็น กระบวนการเดียวที่นำพลังงานแสงมาเปลี่ยนให้เป็นพลังงานเคมีเก็บไว้ในรูปของสารประกอบอินทรีย์ ที่เป็นอาหารให้กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก และเป็นกระบวนการที่มีการผลิตแก๊สออกซิเจนสำหรับให้พืชเอง และสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ ใช้ในการหายใจ รวมทั้งยังมีส่วนช่วยรักษาสมดุลของปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และแก๊สออกซิเจนในอากาศ ทำให้สิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ 13. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ 13.1สื่อการเรียนรู้ 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 2) หนังสือแบบเรียน 3) สื่อเพาเวอร์พอยต์ 13.2แหล่งเรียนรู้ 1) อินเตอร์เน็ต 2) ห้องสมุด


60 14. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ ผลการสอน รายละเอียด 1. ด้านความรู้: - ปัจจัยที่สำคัญในการสังเคราะห์ด้วยแสงของ พืชและผลผลิตที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสง - ความสำคัญของการสังเคราะห์ด้วยแสง ของพืชต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม -ตระหนักในคุณค่าของพืชที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและ สิ่งแวดล้อมโดยการร่วมกันปลูกและดูแลรักษา ต้นไม้ในโรงเรียนและชุมชน ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ..................................................................................... ...................................................................................... ..................................................................................... 2. ด้านกระบวนการ : - ทักษะกระบวนการคิด - ทักษะกระบวนการกลุ่ม ...................................................................................... ...................................................................................... 3. ด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม อันพึงประสงค์: - มีวินัย - ใฝ่เรียนรู้ - อยู่อย่างพอเพียง - รักความเป็นไทย ...................................................................................... ...................................................................................... ............................................................................... ...................................................................................... 4. ปัญหาการสอน ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 5. วิธีแก้ปัญหา ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ......................................................................................


61 ลงชื่อ........................................ครูผู้สอน ลงชื่อ...........................................หัวหน้ากลุ่มสาระฯ (.นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์..) (นางกณิการ์ พัฒรากุล) ลงชื่อ........................................... (นางวันวิศาข์ ผลหมู่) รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ลงชื่อ ........................................................ (นายสุริยันต์ เหล่ามะลึก) ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม


62 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 หน่วยการเรียนรู้ที่…….4……..การดำรงชีวิตของพืช......เรื่อง...การล าเลียงน ้า ธาตุอาหาร และอาหารของพืช.... รายวิชา…..วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี…1...รหัสวิชา….........ว 21101 ..............ชั้นมัธยมศึกษาปีที่….....1........ กลุ่มสาระการเรียนรู้..วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.. ปีการศึกษา… 2566...ภาคเรียนที่..1...เวลา...9...ชั่วโมง…… ผู้สอน.........................นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์......................................................................................... 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้(รายวิชาพื้นฐานมีทั้งมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด รายวิชาเพิ่มเติมมีเฉพาะมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้) 1.1 มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ว 1.2 ม.1/6 ม.1/7 ม.1/8 สาระที่ 1 วิทยาศาสตร์ชีวภาพ มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การลำเลียงสารเข้าและ ออกจากเซลล์ ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ของสัตว์และมนุษย์ที่ทำงานสัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ของพืชที่ทำงานสัมพันธ์กัน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ ประโยชน์ ตัวชี้วัด ว 1.2 ม. 1/9 บรรยายลักษณะและหน้าที่ของไซเล็มและโฟลเอ็ม ว 1.2 ม. 1/10 เขียนแผนภาพที่บรรยายทิศทางการลำเลียงสารในไซเล็มและโฟลเอ็มของพืช ว 1.2 ม. 1/14 อธิบายความสำคัญของธาตุอาหารบางชนิดที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการดำ รงชีวิตของพืช ว 1.2 ม. 1/15 เลือกใช้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารเหมาะสมกับพืชในสถานการณ์ที่กำหนด 2. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด (หลอมจากตัวชี้วัดที่ใช้ในหน่วยการเรียนรู้นี้เขียนเป็นแบบความเรียง) พืชต้องการอากาศ น้ำ แสง และธาตุอาหารในการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิต พืชดูดน้ำและธาตุ อาหารจากดินเข้าสู่รากและลำเลียงผ่านทางไซเล็มไปสู่ลำต้น ใบ และส่วนอื่น ๆ ของพืช เพื่อใช้ในการ สังเคราะห์ด้วยแสงรวมถึงกระบวนการอื่น ๆ และมีโฟลเอ็มลำเลียงอาหารที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงไปสู่ ส่วนต่าง ๆ ของพืช 3. สาระการเรียนรู้ 3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง/สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม (รายวิชาเพิ่มเติม) สาระการเรียนรู้แกนกลาง • พืชต้องการธาตุอาหารที่จำเป็นหลายชนิดในการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิต • พืชต้องการธาตุอาหารบางชนิดในปริมาณมาก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถัน ซึ่งในดินอาจมีไม่เพียงพอ สำหรับการเจริญเติบโตของพืช จึงต้องมีการให้ธาตุอาหาร ในรูปของปุ๋ยกับพืชอย่างเหมาะสม • พืชมีไซเล็มและโฟลเอ็ม ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อมีลักษณะคล้ายท่อ เรียงตัวกันเป็นกลุ่มเฉพาะที่โดยไซเล็มทำ หน้าที่ลำเลียงน้ำและธาตุอาหารมีทิศทางลำเลียงจากรากไปสู่ลำต้น ใบ และส่วนต่าง ๆ ของพืช เพื่อใช้ในการ สังเคราะห์ด้วยแสงรวมถึงกระบวนการอื่น ๆ ส่วนโฟลเอ็มทำหน้าที่ลำเลียงอาหารที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วย แสงมีทิศทางลำเลียงจากบริเวณที่มีการสังเคราะห์ด้วยแสงไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืช 3.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น (ถ้าในคำอธิบายรายวิชาพูดถึงหลักสูตรท้องถิ่นให้ใส่ลงไปด้วย ...............................................................-...........................................................................................


63 4. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. นักเรียนอธิบายความสำคัญของธาตุอาหารบางชนิดที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของพืช (K) 2. นักเรียนเลือกใช้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารเหมาะสมกับพืชในสถานการณ์ที่กำหนด (K) 3. นักเรียนบรรยายลักษณะและหน้าที่ของไซเล็มและโฟลเอ็ม (K) 4. นักเรียนเขียนแผนภาพที่อธิบายทิศทางการลำเลียงสารในไซเล็มและโฟลเอ็มของพืช (P) 5. นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการในการเรียน (A) 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์(เลือกเฉพาะข้อที่เกิดในหน่วยการเรียนรู้นี้) 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ 7. ด้านคุณลักษณะของผู้เรียนตามหลักสูตรมาตรฐานสากล 1. เป็นเลิศวิชาการ 2. สื่อสารสองภาษา 3. ล้ำหน้าทางความคิด 4. ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ 5. ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก 8. ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 คือการเรียนรู้ 3R X 8C 2L R1 –Reading (อ่านออก) R2-(W) Ringting (เขียนได้) R3- (A) Rithmetics (คิดเลขเป็น) ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ไขปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-cultural Understanding) ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information, and Media Literacy) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy) ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning) ความมีเมตตา (วินัย คุณธรรม จริยธรรม (Compassion) 9. บูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 1. หลักความพอประมาณ : กำหนดจำนวนสมาชิกในกลุ่มให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในห้องเรียนคือ ประมาณกลุ่มละ 4 – 6 คน 2. หลักความมีเหตุผล : ให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานและเกิดทักษะการปฏิบัติ, นักเรียนเกิดความ ภาคภูมิใจในผลงานของตนและสิ่งที่เรียนรู้


64 3. หลักภูมิคุ้มกัน : ให้นักเรียนเกิดทักษะการทำงานกลุ่ม และกล้าแสดงออก , นักเรียนรู้จักการวาง แผนการทำงานและมอบหมายงานให้สมาชิกภายในกลุ่มได้เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคล 4. เงื่อนไขความรู้ : การวางแผนงานที่จะทำก่อนแล้วค่อยลงมือทำอย่างระมัดระวัง 5. เงื่อนไขคุณธรรม : อดทนที่จะทำงาน และมีความขยันที่จะทำงานให้ออกมาได้ดีที่สุด , มีวินัยในการ ทำงาน 10. ชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด ตัวชี้วัด ชิ้นงาน ภาระงาน ว 1.2 ม. 1/9 ม.1/10 ม.1/14 ม.1/15 -รายงานกิจกรรมที่ 4.6 ธาตุอาหาร พืชสำคัญต่อพืชอย่างไร -รายงานกิจกรรมที่ 4.7 พืชลำเลียง น้ำและธาตุอาหารอย่างไร -เขียนแผนภาพที่บรรยายทิศางการ ลำเลียงสารในไซเล็มและโฟลเอ็ม ของพืช - อธิบายความสำคัญของธาตุอาหารบาง ชนิดที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช และผลจากการขาดธาตุอาหารนั้น - บอกวิธีการแก้ไขอาการผิดปกติของพืชที่เกิด จากการขาดธาตุอาหารพืชโดยการเลือกใช้ปุ๋ยที่ เหมาะสม 11. การวัดประเมินผล 11.1การวัดและประเมินผลชิ้นงาน/ภาระงานรวบยอด วิธีการ 1.การสังเกตการณ์ 2.การใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ร่องรอยบ่งชี้ 3.การวัดประเมินการปฏิบัติ เครื่องมือ 1. แบบสังเกตการณ์ 2. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 3. แบบวัดประเมินการปฏิบัติ เกณฑ์ 1.การประเมินผลตามสภาพจริง (Rubrics) 2.การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน ผ่าน 1 รายการถือว่า ไม่ผ่าน 11.2 การวัดและประเมินผลระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (ประเมินจากแผนการจัดการเรียนรู้ของ หน่วยการเรียนรู้นี้) สิ่งที่ต้องการวัด วิธีวัดผล เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมิน 1. ความรู้เกี่ยวกับ - ธาตุอาหารบางชนิดที่มี ผลต่อการเจริญเติบโต และการดำรงชีวิตของ พืช - เลือกใช้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหาร เหมาะสมกับพืชในสถานการณ์ ที่กำหนด -การสอบถาม ซักถาม ความ คิดเห็น -การตรวจผลงานนักเรียน - แบบประเมินการ อภิปรายแสดง ความ คิดเห็น - แบบประเมินการ ตรวจผลงานผู้เรียน - นักเรียนได้ คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้ คะแนน ประเมินผลงาน


65 -หน้าที่ของไซเล็มและ โฟลเอ็ม - ทิศทางการลำเลียงสาร ในไซเล็มและโฟลเอ็มของพืช 13 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 2.ทักษะกระบวนการคิด และ ทักษะกระบวนการกลุ่ม - การอภิปรายแสดง ความคิดเห็นระบุทักษะ กระบวน การทางวิทยาศาสตร์ที่ได้ ปฏิบัติจากกิจกรรม - สังเกตพฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม - แบบประเมินการ อภิปรายแสดง ความ คิดเห็น - แบบประเมิน พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม -นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 3. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และสมรรถนะผู้เรียน - มีวินัยในการทำงานกลุ่ม - นักเรียนเห็นความสำคัญ ของการทำงานร่วมกับผู้อื่นและ การทำงานในระบบกลุ่ม - ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกัน และกันมีความเสียสละและ อดทน - นักเรียนมีการเห็นคุณค่าใน ตนเอง (Self-esteem) - สังเกตค่านิยมในการ ทำงานร่วมกับผู้อื่นและการ ทำงานในระบบกลุ่ม อภิปราย แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับผลการทดลอง - แบบประเมิน คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ - แบบประเมิน สมรรถนะผู้เรียน -แบบทดสอบ Rubin’s Self Esteem Scale - นักเรียนได้ คะแนน ประเมินคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ 26 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ - นักเรียนได้ คะแนน การประเมิน สมรรถนะ 29 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 12. กิจกรรมการเรียนรู้ ชั่วโมงที่ 16 (สัปดาห์ที่19) 1. ขั้นตั้งประเด็นปัญหา/สมมติฐาน (Hypothesis Formulation) 1.1 ครูเชื่อมโยงเนื้อหา การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช เข้าสู่บทเรียนนี้ โดยอาจใช้คำถามว่า พืชใช้สิ่ง ใดบ้างในการสังเคราะห์ด้วยแสง และได้สิ่งเหล่านั้นจากแหล่งใด (แสงจากดวงอาทิตย์ คลอโรฟิลล์ในเซลล์พืช แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศ และน้ำจากดิน) 1.2 ครูให้นักเรียนสังเกต วีดิทัศน์ หรือสื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวกับเกี่ยวกับขนรากของพืช พร้อมทั้งให้นักเรียน อ่านเนื้อหานำบท จากนั้นร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการลำเลียงในพืช โดยอาจใช้คำถามดังนี้ • พืชได้รับน้ำ ธาตุอาหารและอาหารจากแหล่งใด(นักเรียนตอบตามความเข้าใจ เช่น พืชจะดูดน้ำ และธาตุอาหารจากดิน และได้รับอาหารโดยการสร้างขึ้นเอง) • พืชนำน้ำจากดิน และอาหารที่สร้างขึ้นที่ใบไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช ได้อย่างไร (นักเรียนตอบตาม


66 ความเข้าใจ เช่น ลำเลียงผ่านลำต้น) 1.3 นักเรียนทำกิจกรรมทบทวนความรู้ก่อนเรียน 1.4 ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช โดยนำใบพืชที่ปกติและใบพืชที่มีอาการ ผิดปกติที่เกิดจากการขาดธาตุอาหารมาให้นักเรียนดูและ ใช้คำถามต่อไปนี้ • ส่วนที่สังเคราะห์ด้วยแสงของพืชต้องมีสิ่งใดในเซลล์ • ใบพืชที่มีอาการซีดเหลืองจะสังเคราะห์ด้วยแสงได้ดีหรือไม่ • อาการซีดเหลืองของใบ เกิดเพราะอะไร และจะแก้ปัญหาได้อย่างไร ชั่วโมงที่ 17 (สัปดาห์ที่ 19) 2. ขั้นสืบค้นความรู้(Searching for Information) 2.1 ร่วมกันอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าพืชต้องการ น้ำ แสง แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และคลอโรฟิลล์ใน การสังเคราะห์ด้วยแสงแล้วได้ผลผลิตเป็นน้ำตาลซึ่งเป็นอาหารของพืช นอกจากนี้พืชยังต้องการธาตุอาหารเพื่อ ใช้เป็นองค์ประกอบของน้ำตาลและสารต่าง ๆ ที่พืชสร้างขึ้น แล้วพืชจะใช้น้ำตาลและสารเหล่านั้นเพื่อให้การ เจริญเติบโตเป็นไปอย่างปกติธาตุอาหารของพืชมีอะไรบ้าง แต่ละชนิดมีความสำคัญอย่างไรต่อพืช จะได้ทราบ จากการทำกิจกรรมที่ 4.6 2.2 นักเรียนอ่านวิธีการดำเนินกิจกรรม ในหนังสือเรียน และร่วมกันอภิปรายในประเด็นดังต่อไปนี้ • กิจกรรมนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร (ธาตุอาหารของพืช และอาการผิดปกติของพืชที่เกิดจากการขาดธาตุ อาหารพืช) • กิจกรรมนี้มีจุดประสงค์อะไร (นักเรียนตอบตามความคิดของตนเอง) • วิธีการดำเนินกิจกรรมโดยสรุปเป็นอย่างไร (อ่านและอภิปรายความสำคัญของธาตุอาหาร และ แนวทางการแก้ปัญหาการขาดธาตุอาหาร จากนั้นรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธาตุอาหารของพืชและวิธีแก้ปัญหา จากการขาดธาตุอาหารของพืช) • นักเรียนเลือกใช้เทคโนโลยีใดในการนำเสนอผลงานได้บ้าง (Microsoft powerpoint แอปพลิเคชั่นต่าง ๆ) 2.3 นักเรียนนำข้อมูลเกี่ยวกับชนิดและความสำคัญของธาตุอาหารพืชแต่ละชนิด รวมทั้งการแก้ปัญหาการ ขาดธาตุอาหารของพืช มานำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตาราง หรือแผนภาพพร้อมคำอธิบาย 2.4 ร่วมกันอภิปรายเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากการทำกิจกรรม และสาเหตุที่ทำให้ผลการทำกิจกรรม คลาดเคลื่อน เช่นนักเรียนสืบค้นข้อมูลและได้ข้อมูลว่า ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชมีเพียง 16 ธาตุ ซึ่งปัจจุบันมี การเพิ่มเป็น 17 ธาตุแล้ว 2.5 ร่วมกันอภิปรายคำตอบเพื่อให้นักเรียนสรุปได้ว่าในดินมีธาตุอาหารที่พืชใช้ในการเจริญเติบโตและ ดำรงชีวิต ธาตุอาหารที่พืชขาดไม่ได้มี 17 ชนิด ถ้าพืชขาดธาตุอาหารพืชจะแสดงอาการผิดปกติควรแก้ไข้โดย การวิเคราะห์ดินเพื่อหาชนิดและปริมาณของธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช และเพื่อหาสาเหตุว่าดินขาดธาตุ อาหารหรือมีธาตุอาหารแต่อยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้ วิเคราะห์เนื้อเยื่อพืช เพื่อประเมินระดับความ ขาดธาตุอาหารของพืช ซึ่งถ้าดินขาดธาตุอาหารของพืชสามารถทำการเพิ่มธาตุอาหารของพืชในดินโดยการใส่ ปุ๋ย 2.6 ให้นักเรียนอ่านเนื้อหาในหนังสือและร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับธาตุอาหารของพืช เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า ธาตุอาหารในดินมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ถ้าพืชขาดธาตุอาหารพืชจะแสดงอาการผิดปกติ จึง จำเป็นต้องให้พืชได้รับธาตุอาหารของพืชอย่างเพียงพอ ถ้าในดินไม่มีหรือมีธาตุอาหารของพืชน้อยต้องเพิ่มธาตุ อาหารลงในดินในปริมาณที่เหมาะสม


67 ชั่วโมงที่ 18 (สัปดาห์ที่ 19) 3. ขั้นสรุปองค์ความรู้(Knowledge Formation) 3.1 ร่วมสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับธาตุอาหารของพืช ว่าพืชดูดธาตุอาหารจากดินเพื่อใช้ในการ เจริญเติบโตให้เป็นไปอย่างปกติ และครูอาจใช้คำถามต่อไปว่า พืชนำธาตุอาหารไปใช้ประโยชน์ในส่วนต่าง ๆ ของต้นได้อย่างไร เพื่อเชื่อมโยงกับเนื้อหาเรื่องการลำเลียงในพืช 3.2 นักเรียนอ่านวิธีการดำเนินกิจกรรม 4.7 ในหนังสือเรียน และร่วมกันอภิปรายในประเด็นต่อไปนี้ • กิจกรรมนี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร (การลำเลียงน้ำและธาตุอาหารในพืช) • กิจกรรมนี้มีจุดประสงค์อะไร (นักเรียนตอบตามความคิดของตนเอง) • วิธีการดำเนินกิจกรรมโดยสรุปเป็นอย่างไร (สังเกตลักษณะภายนอกของต้นเทียนที่ยังมีราก นำต้น เทียนไปแช่น้ำสีสังเกตและเขียนแผนภาพทิศทางการลำเลียงน้ำสีในรากและลำต้นเทียน ตัดรากและลำต้น เทียนที่ผ่านการแช่น้ำสีตามยาวและตามขวางหนาประมาณ 0.5 เซนติเมตร สังเกตการติดสีของเนื้อเยื่อ ตัด รากและลำต้นเทียนที่ผ่านการแช่น้ำสีตามยาวและตามขวางบาง ๆ แช่เนื้อเยื่อในสารละลายซาฟรานินทำสไลด์ สดเนื้อเยื่อ และสังเกตเนื้อเยื่อภายใต้กล้องจุลทรรศน์ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการลำเลียงน้ำและธาตุอาหาร ของพืช) 3.3 ครูสาธิตการตัดเนื้อเยื่อรากและลำต้นตามยาวและตามขวางแบบบาง เพื่อให้นักเรียนทำได้อย่าง ถูกต้องและปลอดภัย 3.4 นักเรียนทำกิจกรรมตามขั้นตอน โดยครูสังเกตการตัดเนื้อเยื่อพืช การเตรียมสไลด์ การใช้กล้อง จุลทรรศน์ การสืบค้นข้อมูล การสังเกตและการบันทึกผลการสังเกตของนักเรียนทุกกลุ่ม เพื่อให้ข้อแนะนำถ้า เกิดข้อผิดพลาดขณะทำกิจกรรมรวมทั้งนำข้อมูลที่ควรจะปรับปรุงและแก้ไขมาใช้ประกอบการอภิปรายหลัง การทำกิจกรรม 3.5 นักเรียนนำข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะเนื้อเยื่อและทิศทางการเคลื่อนที่ของน้ำและธาตุอาหารในพืชมา นำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เช่น นำเสนอโดยใช้โปรแกรมหรือแอปพลิเคชั่นที่ทันสมัย ชั่วโมงที่ 19 (สัปดาห์ที่ 20) 4. ขั้นการสื่อสารและนำเสนอ (Effective Communication) 4.1 ร่วมกันอภิปรายเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากการทำกิจกรรม และอภิปรายถึงสาเหตุที่ผลการทำ กิจกรรมคลาดเคลื่อนเช่น ไม่เห็นการเคลื่อนที่ของน้ำสี อาจเนื่องจากต้นเทียนยังสดเกินไปจึงดูดน้ำสีได้น้อย หรือดูดได้ช้า หรือไม่สามารถตัดเนื้อเยื่อบริเวณปลายรากได้เนื่องจากรากเกิดความเสียหาย หรือไม่เห็นการติด สีในเนื้อเยื่อเนื่องจากไม่ได้แช่เนื้อเยื่อในสารละลายซาฟรานิน 4.2 นักเรียนตอบคำถามท้ายกิจกรรม และร่วมกันอภิปรายคำตอบเพื่อให้นักเรียนสรุปได้ว่าน้ำสีเคลื่อนที่ เข้าสู่รากต้นเทียนและเคลื่อนต่อเนื่องขึ้นไปยังส่วนต่าง ๆ ของต้น เนื่องจากรากและลำต้นมีกลุ่มเซลล์หรือ เนื้อเยื่อที่เรียงต่อกันเป็นท่อ ซึ่งเป็นช่องทางสำหรับการลำเลียงน้ำสีไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของต้นเทียน 4.3 นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการลำเลียงสารในพืช เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าน้ำเข้าสู่รากพืชโดยการ ออสโมซิส ส่วนธาตุอาหารเข้าสู่รากพืชโดยการแพร่หรือการลำเลียงแบบต้องใช้พลังงาน พืชมีไซเล็มทำหน้าที่ ลำเลียงน้ำและธาตุอาหารจากรากขึ้นไปสู่ทุกส่วนของพืช และมีโฟลเอ็มทำหน้าที่ลำเลียงอาหารที่พืชสร้างขึ้น ที่บริเวณที่มีสีเขียวไปสู่ทุกส่วนของพืช ชั่วโมงที่ 20 (สัปดาห์ที่ 20) 5. ขั้นการบริการสังคมและสาธารณะ (Public Service)


68 5.1 นักเรียนทำกิจกรรมเสริมนอกเวลาเรียน โดยให้ออกแบบสวนแนวตั้งในโรงเรียน โดยเลือกชนิดพืช วัสดุปลูกภาชนะที่ใช้ปลูก การดูแลรักษา และบอกประโยชน์ของสวนแนวตั้งของตนเอง 5.2 ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเรื่องในบทเรียนการลำเลียงน้ำ ธาตุอาหาร และอาหารของพืช จากนั้น ให้นักเรียนทำกิจกรรมตรวจสอบตนเอง เพื่อสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากบทเรียน โดยการเขียนบรรยาย วาดภาพ หรือเขียนผังมโนทัศน์สิ่งที่ได้ได้เรียนรู้จากบทเรียนนี้ ให้นักเรียนนำเสนอผลงาน โดยอาจออกแบบให้นักเรียน นำเสนอและอภิปรายภายในกลุ่ม หรืออภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน หรือติดแสดงผลงานบนผนังห้องเรียน และ ให้นักเรียนร่วมพิจารณาผลงาน จากนั้นครูและนักเรียนอภิปรายสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากบทเรียนร่วมกัน 13. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ 13.1สื่อการเรียนรู้ 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ 2) หนังสือแบบเรียน 3) สื่อเพาเวอร์พอยต์ 13.2แหล่งเรียนรู้ 1) อินเตอร์เน็ต 2) ห้องสมุด 14. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ ผลการสอน รายละเอียด 1. ด้านความรู้: 1. ความรู้เกี่ยวกับ - ธาตุอาหารบางชนิดที่มีผลต่อการเจริญเติบโต และการดำรงชีวิตของพืช - เลือกใช้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารเหมาะสมกับพืชใน สถานการณ์ที่กำหนด-หน้าที่ของไซเล็มและ โฟลเอ็ม - ทิศทางการลำเลียงสารในไซเล็มและโฟลเอ็ม ของพืช ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ..................................................................................... ...................................................................................... ..................................................................................... 2. ด้านกระบวนการ : - ทักษะกระบวนการคิด - ทักษะกระบวนการกลุ่ม ...................................................................................... ...................................................................................... 3. ด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม อันพึงประสงค์: - มีวินัย - ใฝ่เรียนรู้ - อยู่อย่างพอเพียง - รักความเป็นไทย ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... 4. ปัญหาการสอน ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ......................................................................................


69 ...................................................................................... 5. วิธีแก้ปัญหา ....................................................................... ....................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ...................................................................................... ลงชื่อ........................................ครูผู้สอน ลงชื่อ...........................................หัวหน้ากลุ่มสาระฯ (.นางสาวอโนชา...อุทุมสกุลรัตน์..) (นางกณิการ์ พัฒรากุล) ลงชื่อ........................................... (นางวันวิศาข์ ผลหมู่) รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ลงชื่อ ........................................................ (นายสุริยันต์ เหล่ามะลึก) ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม


70 เครื่องมือวัดและประเมินผล


71 แบบประเมินการอภิปรายแสดงความคิดเห็น วิชา .......................................................................................................... ชั้น ……………………………… หน่วยการเรียนรู้ที่ ..............................กิจกรรม ……………………………………………………………………….… คำชี้แจง : ให้ประเมินจากการสังเกตการร่วมอภิปรายในระหว่างเรียน และการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม โดยให้ระดับคะแนนลงในตารางที่ตรงกับพฤติกรรมของผู้เรียน เกณฑ์การให้คะแนน 3 = ดี 2 = พอใช้ 1 = ต้องปรับปรุง เลขที่ ชื่อ-นามสกุล รายการประเมิน รวม 15 คะแน น สรุปผลการ ประเมิน การแสดงความ คิดเห็น ยอมรับฟังความ คิดเห็นของผู้อื่น ตรงประเด็ น สมเหตุสมผล มีความเชื่อมั่นใน การแสดงออก คะแนน ที่ทำได้ ผ่าน ไม่ ผ่าน ลงชื่อ ................................................................................. ผู้ประเมิน เกณฑ์การประเมิน : นักเรียนได้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป ถือว่าผ่านเกณฑ์


72 แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คำชี้แจง : ให้สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในระหว่างเรียนและนอกเวลาเรียน แล้วขีด ✓ ลงในช่องที่ตรง กับระดับคะแนน คุณลักษณะอันพึง ประสงค์ด้าน รายการที่ประเมิน ระดับคะแนน 3 2 1 1. มีวินัย 3.1 ตรงต่อเวลา 3.2 ปฏิบัติงานเรียบร้อยเหมาะสม 3.3 ปฏิบัติตามข้อตกลง 2. ใฝ่เรียนรู้ 4.1 กระตือรือร้นในการแสวงหาข้อมูล 4.2 มีการจดบันทึกความรู้อย่างเป็นระบบ 4.3 สรุปความรู้ได้อย่างมีเหตุผล 3. อยู่อย่างพอเพียง 5.1 ใช้วัสดุ สิ่งของ เครื่องใช้ อย่างประหยัด 5.2 ใช้อุปกรณ์การเรียนอย่างประหยัดและรู้คุณค่า 5.3 ใช้จ่ายอย่างประหยัดและมีการเก็บออม 4. รักความเป็นไทย 7.1 มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย 7.2 เห็นคุณค่าและปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมไทย ลงชื่อ ................................................................................. ผู้ประเมิน ........................./........................./............................. เกณฑ์การให้คะแนน : - พฤติกรรมที่ปฏิบัติชัดเจนและสม่ำเสมอ ให้ 3 คะแนน - พฤติกรรมที่ปฏิบัติชัดเจนและบ่อยครั้ง ให้ 2 คะแนน - พฤติกรรมที่ปฏิบัติบางครั้ง ให้ 1 คะแนน


73 แบบประเมินผลงานผู้เรียน ชื่อ - นามสกุล .................................................................................. ชั้น …………………........ หน่วยการเรียนรู้ที่ ................................ กิจกรรม ……………….………………...................... คำชี้แจง: ให้ผู้ประเมินขีด ✓ ลงในช่องที่ตรงกับระดับคะแนน ประเด็นที่ประเมิน ผู้ประเมิน ตนเอง เพื่อน ครู 4 3 2 1 4 3 2 1 4 3 2 1 1. ตรงจุดประสงค์ที่กำหนด 2. มีความถูกต้องสมบูรณ์ 3. มีความคิดสร้างสรรค์ 4. มีความเป็นระเบียบ รวม รวมทุกรายการ เฉลี่ย ผู้ประเมิน ...........................................................(ตนเอง) ผู้ประเมิน .......................................................... (เพื่อน) ผู้ประเมิน ................................................................ (ครู)


74 เกณฑ์การให้คะแนนผลงาน ประเด็นที่ประเมิน คะแนน 4 3 2 1 1. ผลงานตรงกับ จุดประสงค์ที่กำหนด ผลงานสอดคล้อง กับจุดประสงค์ ทุกประเด็น ผลงานสอดคล้อง กับจุดประสงค์ เป็นส่วนใหญ่ ผลงานสอดคล้อง กับจุดประสงค์ บางประเด็น ผลงานไม่ สอดคล้องกับ จุดประสงค์ 2. ผลงานมีความถูกต้อง สมบูรณ์ เนื้อหาสาระของ ผลงานถูกต้อง ครบถ้วน เนื้อหาสาระของ ผลงานถูกต้อง เป็นส่วนใหญ่ เนื้อหาสาระของ ผลงานถูกต้องเป็น บางประเด็น เนื้อหาสาระของ ผลงานไม่ถูกต้อง เป็นส่วนใหญ่ 3. ผลงานมีความคิด สร้างสรรค์ ผลงานแสดงออก ถึงความคิด สร้างสรรค์ แปลกใหม่ และเป็นระบบ ผลงานมีแนวคิด แปลกใหม่แต่ยัง ไม่เป็นระบบ ผลงานมีความ น่าสนใจ แต่ยัง ไม่ มีแนวคิดแปลก ใหม่ ผลงานไม่แสดง แนวคิดใหม่ 4. ผลงานมีความเป็น ระเบียบ ผลงานมีความเป็น ระเบียบแสดงออก ถึงความประณีต ผลงานส่วนใหญ่มี ความเป็น ระเบียบแต่ยังมี ข้อบกพร่อง เล็กน้อย ผลงานมีความ เป็นระเบียบแต่มี ข้อบกพร่อง บางส่วน ผลงานส่วนใหญ่ ไม่เป็นระเบียบ และมีข้อ บกพร่องมาก เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ นักเรียนได้คะแนน 13 คะแนนขึ้นไป หรือร้อยละ 80 ถือว่าผ่านเกณฑ์


75 แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม กลุ่ม .......................................................................................................... สมาชิกในกลุ่ม 1. ...................................................................... 2. ...................................................................... 3. ...................................................................... 4. ...................................................................... 5. ...................................................................... 6. ...................................................................... คำชี้แจง: ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย ✓ ในช่องที่ตรงกับความเป็นจริง พฤติกรรมที่สังเกต คะแนน 3 2 1 1. มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น 2. มีความกระตือรือร้นในการทำงาน 3. รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย 4. มีขั้นตอนในการทำงานอย่างเป็นระบบ 5. ใช้เวลาในการทำงานอย่างเหมาะสม รวม เกณฑ์การให้คะแนน พฤติกรรมที่ทำเป็นประจำ ให้ 3 คะแนน พฤติกรรมที่ทำเป็นบางครั้ง ให้ 2 คะแนน พฤติกรรมที่ทำน้อยครั้ง ให้ 1 คะแนน เกณฑ์การให้คะแนน ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ 13-15 ดี 8-12 ปานกลาง 5-7 ปรับปรุง


76 แบบประเมินสมรรถนะผู้เรียน 5 ด้าน คำชี้แจง : ให้สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในระหว่างเรียนและนอกเวลาเรียน แล้วขีด ✓ ลงในช่องที่ตรง กับระดับคะแนน สมรรถนะที่ประเมิน ระดับคะแนน 3 2 1 1. ความสามารถในการสื่อสาร 1.1 มีความสามารถในการรับ – ส่งสาร 1.2 มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความเข้าใจของตนเอง โดยใช้ภาษาอย่างเหมาะสม 1.3 ใช้วิธีการสื่อสารที่เหมาะสม 2. ความสามารถในการคิด 2.1 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์เพื่อการสร้างองค์ความรู้ 2.2 มีความสามารถในการคิดเป็นระบบ เพื่อการสร้างองค์ความรู้ 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 3.1 แก้ปัญหาโดยใช้เหตุผล 3.2 แสวงหาความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหา 3.3 ตัดสินใจโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 4.1 ทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความสัมพันธ์อันดี 4.2 มีวิธีแก้ไขความขัดแย้งอย่างเหมาะสม 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 5.1 เลือกใช้ข้อมูลในการพัฒนาตนเองอย่างเหมาะสม 5.2 เลือกใช้ข้อมูลในการทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเหมาะสม ลงชื่อ ................................................................................. ผู้ประเมิน ......................../........................./............................. เกณฑ์การให้คะแนน : - พฤติกรรมที่ปฏิบัติชัดเจนและสม่ำเสมอ ให้ 3 คะแนน - พฤติกรรมที่ปฏิบัติชัดเจนและบ่อยครั้ง ให้ 2 คะแนน - พฤติกรรมที่ปฏิบัติบางครั้ง ให้ 1 คะแนน


77 แบบทดสอบ Rubin’s Self Esteem Scale คำชี้แจง แบบสอบถามทั้งหมดมี3 ตอน โปรดอ่านคำชี้แจงแต่ละตอนอย่างถี่ถ้วน คำตอบไม่มีการตัดสิน ว่าถูกหรือผิดเพราะเป็นความรู้สึกของคนแต่ละคนไม่จำเป็นจะต้องเหมือนกับผู้อื่นโปรดตอบทุก ๆข้อ ตอนที่1 โปรดอ่านแต่ละประโยคอย่างระมัดระวัง ถ้าประโยคไหนเหมือนตัวคุณเองก็ตอบว่า ใช่ ถ้าเห็นว่าไม่เหมือนก็ตอบว่า ไม่ใช่ โดยกาเครื่องหมาย X ทับคำตอบนั้น 1. ฉันทำสิ่งที่ไม่ดีมามาก ใช่ ไม่ใช่ 2. ฉันเป็นคนไม่เชื่อฟังเวลาที่อยู่บ้าน ใช่ ไม่ใช่ 3. ฉันเคยได้รับความลำบากเสมอ ใช่ ไม่ใช่ 4. ฉันคิดไปในด้านอกุศลเสมอ ใช่ ไม่ใช่ 5. ฉันเป็นคนที่ไว้ใจได้ ใช่ ไม่ใช่ 6. ฉันเป็นคนเรียนดี ใช่ ไม่ใช่ 7. ฉันเป็นคนฉลาด ใช่ ไม่ใช่ 8. ฉันไม่ค่อยจะรู้เรื่องอะไรเลย ใช่ ไม่ใช่ 9. ฉันเป็นนักอ่านที่ดี ใช่ ไม่ใช่ 10. ฉันเรียนอะไรแล้วก็ลืมหมด ใช่ ไม่ใช่ 11. ฉันเป็นคนหน้าตาดี ใช่ ไม่ใช่ 12. ฉันมีหน้าตาแจ่มใสเสมอ ใช่ ไม่ใช่ 13. ฉันมีรูปร่างไม่ดี ใช่ ไม่ใช่ 14. ฉันเป็นคนแข็งแรง ใช่ ไม่ใช่ 15. ฉันเป็นผู้นำในการเล่นและการกีฬา ใช่ ไม่ใช่ 16. ฉันร้องไห้เก่ง ใช่ ไม่ใช่ 17. ฉันเป็นคนชอบวิตกกังวล ใช่ ไม่ใช่ 18. ฉันหวาดหลัวบ่อย ๆ ใช่ ไม่ใช่ 19. ฉันจะว้าวุ่นใจเมื่อมีคนเรียกฉัน ใช่ ไม่ใช่ 20. ฉันเป็นคนขี้ตกใจ ใช่ ไม่ใช่ 21. คนมักเลือกฉันในการเล่นเกมต่าง ๆ ใช่ ไม่ใช่ 22. ฉันเป็นคนสุดท้ายที่ได้รับเลือกให้เล่นเกม ใช่ ไม่ใช่ 23. ฉันลำบากใจที่จะเป็นเพื่อนกับใคร ใช่ ไม่ใช่ 24. ฉันมีเพื่อนมาก ใช่ ไม่ใช่ 25. ฉันเป็นคนที่ถูกลืม ใช่ ไม่ใช่ 26. ฉันเป็นคนที่มีความสุข ใช่ ไม่ใช่ 27. ฉันเป็นคนที่มีความสุข ใช่ ไม่ใช่ 28. ฉันพอใจในสภาพตัวเองขณะนี้ ใช่ ไม่ใช่ 29. ฉันอยากเป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่ตัวฉันตอนนี้ ใช่ ไม่ใช่ 30. ฉันเป็นคนร่าเริง ใช่ ไม่ใช่


78 ตอนที่2 โปรดอ่านแต่ละข้อต่อไปนี้อย่างระมัดระวัง แล้วเลือกทำเครื่องหมาย ¡ ล้อมรอบ ข้อ ก. หรือ ข. หรือ ค. หรือ ง.ตามที่คุณเห็นว่าตรงกับความรู้สึกของคุณมากที่สุดเพียงข้อเดียว ก. เห็นด้วยอย่างยิ่ง ข. เห็นด้วย ค. ไม่เห็นด้วย ง. ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 31. ฉันเป็นคนมีคุณค่าทัดเทียมกับผู้อื่น ก ข ค ง 32. ฉันเป็นคนมีคุณสมบัติที่ดีหลายอย่าง ก ข ค ง 33. ฉันรู้สึกว่าฉันทำอะไรไม่สำเร็จเลย ก ข ค ง 34. ฉันมีความสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้ดีเท่าผู้อื่น ก ข ค ง 35. ฉันมีความภาคภูมิใจในตนเองน้อยเหลือเกิน ก ข ค ง 36. ฉันคิดถึงตัวเองในทางที่ดี ก ข ค ง 37. โดยทั่วไปแล้วฉันมีความพอใจในตัวเอง ก ข ค ง 38. ฉันหวังว่าฉันสามารถนับถือตัวเองได้มากกว่านี้ ก ข ค ง 39. ขณะนี้ฉันรู้สึกว่าตนเองเป็นคนไร้ประโยชน์ ก ข ค ง 40. บางครั้งฉันคิดว่าฉันไม่มีอะไรดีเลย ก ข ค ง ตอนที่3 โปรดอ่านข้อความต่อไปนี้ตามลำดับอย่างถี่ถ้วน แล้วทำเครื่องหมาย ล้อมรอบ ตัวเลข 1 หรือ 2 หรือ 3 หรือ 4 หรือ 5 ซึ่งตรงกับรู้สึกของคุณมากที่สุดเพียงข้อเดียว 1. ไม่เคยเลย 2. ไม่บ่อยนัก 3. บางครั้ง 4. บ่อยครั้ง 5. ตลอดมา 41. ฉันเป็นเพื่อนกับทุก ๆ คน 1 2 3 4 5 42. ฉันมีความสุข 1 2 3 4 5 43. ฉันมีความกรุณา 1 2 3 4 5 44. ฉันเป็นคนกล้า 1 2 3 4 5 45. ฉันเป็นคนซื่อสัตย์ 1 2 3 4 5 46. คนทั่ว ๆ ไปชอบฉัน 1 2 3 4 5 47. ฉันเป็นคนที่ไว้ใจได้ 1 2 3 4 5 48. ฉันเป็นคนดี 1 2 3 4 5 49. ฉันภาคภูมิใจในตัวฉัน 1 2 3 4 5 50. ฉันเป็นคนเกียจคร้าน 1 2 3 4 5 51. ฉันให้ความร่วมมือกับทุกคนเสมอ 1 2 3 4 5 52. ฉันเป็นคนร่าเริงแจ่มใส 1 2 3 4 5 53. ฉันเป็นคนมีความคิด 1 2 3 4 5 54. ฉันเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป 1 2 3 4 5 55. ฉันเป็นคนอ่อนโยน 1 2 3 4 5 56. ฉันเป็นคนขี้อิจฉา 1 2 3 4 5 57. ฉันเป็นคนที่ไม่ดื้อดึง 1 2 3 4 5 58. ฉันเป็นคนสุภาพ 1 2 3 4 5 59. ฉันเป็นคนขี้อาย 1 2 3 4 5 60. ฉันเป็นคนสะอาด 1 2 3 4 5


79 61. ฉันเป็นคนที่มีประโยชน์ต่อผู้อื่น 1 2 3 4 5 62. ฉันเป็นคนมีความกตัญญู 1 2 3 4 5 การตรวจและการแปลผลแบบทดสอบ (Rubin’s Self Esteem Scale) แบบทดสอบนี้เป็นแบบวัดที่ให้รายงานตัวเองประกอบด้วยข้อความ 62 ข้อ แบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่1 เป็นข้อความเกี่ยวกับอัตมโนทัศน์(Self Concept) จำนวน 30 ข้อ เป็นแบบเลือกรับหรือปฏิเสธ ตอบโดยกาเครื่องหมาย (กากบาท) ลงกับคำว่า “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” ข้อละเครื่องหมาย ในแต่ละข้อมีการตรวจให้คะแนนแตกต่างกันตามลักษณะของข้อความ ดังนี้ เมื่อข้อความมีลักษณะทางบวก ถ้าตอบ “ใช่” ได้2 คะแนน ถ้าตอบ “ไม่ใช่” ได้1 คะแนน ได้แก่ข้อ 5, 6, 7, 9, 11, 12, 14, 15, 21, 24, 26, 28 และ 30 เมื่อข้อความมีลักษณะทางลบ ถ้าตอบ “ใช่” ได้1 คะแนน ถ้าตอบ “ไม่ใช่” ได้2 คะแนน ได้แก่ข้อ 1, 2, 3, 4, 8, 10, 13, 16, 17, 18, 19, 20, 22, 23, 25, 27 และ 29 ตอนที่2 เป็นแบบวัดความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง (Self – Esteem Scale) จำนวน 10 ข้อ เป็นแบบ rating scale 4 ระดับ (ก - ง) ตอบโดยการทำเครื่องหมาย (วงกลม) ล้อมรอบตัวอักษร ที่แสดงว่า “เห็นด้วยอย่างยิ่ง” “เห็นด้วย” “ไม่เห็นด้วย” หรือ “ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง” ข้อละ 1 เครื่องหมาย ในแต่ละข้อมีการตรวจให้คะแนนแตกต่างกันตามลักษณะของข้อความ ดังนี้ เมื่อข้อความมีลักษณะทางบวก ถ้าตอบ “ก” หรือ “ข” ได้2 คะแนน ถ้าตอบ “ค” หรือ “ง” ได้1 คะแนน ได้แก่ข้อ 31, 32, 34, 36 และ 37 เมื่อข้อความมีลักษณะทางลบ ถ้าตอบ “ก” หรือ “ข” ได้1 คะแนน ถ้าตอบ “ค” หรือ “ง” ได้2 คะแนน ได้แก่ข้อ 33, 35, 38, 39 และ 40 ตอนที่3 เป็นการประเมินอัตมโนทัศน์(Self Concept Rating) จำนวน 22 ข้อ เป็นแบบ rating scale 5 ระดับ (1-5) ให้ตอบโดยการทำเครื่องหมาย (วงกลม) ล้อมรอบตัวอักษรที่แสดงว่า “ไม่เคยเลย” “ไม่บ่อยนัก” “บางครั้ง” หรือ “ตลอดมา” และในแต่ละข้อมีการตรวจให้คะแนนแตกต่างกันตามลักษณะ ของข้อความ ดังนี้ เมื่อข้อความมีลักษณะทางบวก ถ้าตอบ “1” จะได้1 คะแนน ถ้าตอบ “2” จะได้2 คะแนน ถ้าตอบ “3” จะได้3 คะแนน


80 ถ้าตอบ “4” จะได้4 คะแนน ถ้าตอบ “5” จะได้5 คะแนน ได้แก่ข้อ 41, 42, 43, 44, 45, 46, 47, 48, 49, 51, 52, 53, 54, 55, 57, 58, 60, 61 และ 62 เมื่อข้อความมีลักษณะทางลบ ถ้าตอบ “1” จะได้5 คะแนน ถ้าตอบ “2” จะได้4 คะแนน ถ้าตอบ “3” จะได้3 คะแนน ถ้าตอบ “4” จะได้2 คะแนน ถ้าตอบ “5” จะได้1 คะแนน การคิดคะแนนรวม คะแนนรวมคิดโดยการรวมคะแนนทั้ง 62 ข้อ ของผู้ตอบแบบทดสอบเข้าด้วยกัน เป็นคะแนนความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของผู้ตอบแบบทดสอบแต่ละคนซึ่งมีช่วงคะแนนโดยทฤษฎี (Theoretical Range of Scores) ตั้งแต่62 – 190 ในการแบ่งระดับของคะแนนความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง มีเกณฑ์การแบ่งต่อไปนี้ ถ้าได้คะแนนตั้งแต่159 - 190 ถือว่าเป็นผู้ที่มีความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง ในระดับสูง ถ้าได้คะแนนตั้งแต่95 - 158 ถือว่าเป็นผู้ที่มีความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง ในระดับปานกลาง ถ้าได้คะแนนตั้งแต่62 - 94 ถือว่าเป็นผู้ที่มีความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง ในระดับต่ำ ที่มา : คู่มือ พัฒนาทักษะการดำเนินชีวิต ระดับมัธยมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ


Click to View FlipBook Version