The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานระบบดูแลม.1ห้อง5_5_บทปี_2566

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Anocha Utumsakulrat, 2023-09-18 12:14:24

รายงานระบบดูแลม.1ห้อง5_5_บทปี_2566

รายงานระบบดูแลม.1ห้อง5_5_บทปี_2566

รายงานผล การปฏิบัติงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา 2566 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 / 5 ครูที่ปรึกษา นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์ นางสาวศรัญญา โพธิกุดไสย โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1


คำนำ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ได้กำหนดจุดมุ่งหมายและหลักการจัด การศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรม ในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และ แนวการจัดการศึกษายังให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนทุกคน โดยยึดหลักว่าทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และ พัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตาม ศักยภาพ ดังนั้นในการจัดการศึกษาต้องเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ มีคุณธรรม และการจัดการศึกษาให้ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้ผู้เรียนสามารถคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็นและสามารถนำ ความรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข และในการที่จะพัฒนานักเรียนให้เป็นทรัพยากร มนุษย์ที่มีคุณค่า มีคุณภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ความสามารถมีคุณธรรม จริยธรรม นั้นจำเป็นต้องได้รับการส่งเสริม สนับสนุน ป้องกันและการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับ นักเรียน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุกคน โดยเฉพาะครูที่ปรึกษาซึ่งจะเป็นบุคคล ที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินการต่างๆ เหล่านี้ เพื่อการดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดด้วยความรัก เมตตา เอื้ออาทร เอาใจใส่ต่อศิษย์อย่างจริงใจ ซึ่งเพื่อให้นักเรียนได้เป็นบุคคลที่มีคุณค่าของสังคมต่อไป เอกสารฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอผลการคัดกรองนักเรียนรายบุคคลในระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 จำนวน 32 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียนจากระเบียน สะสม การสัมภาษณ์นักเรียนเป็นรายบุคคล การประเมินพฤติกรรม (SDQ) การประเมินความฉลาดทาง อารมณ์ (EQ) การประเมินพฤติกรรมด้านต่างๆ ของนักเรียนเป็นรายบุคคล การเยี่ยมบ้านนักเรียน โดย จะนำผลสรุปการคัดกรองนักเรียนเป็นรายบุคคลในครั้งนี้ เป็นข้อมูลและแนวทางในการดูแล ส่งเสริม สนับสนุน ป้องกันและช่วยเหลือนักเรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณค่าของสังคมในอนาคตต่อไป .................................................... (นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์) ครูที่ปรึกษานักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปี1/5 .................................................... (นางสาวศรัญญา โพธิกุดไสย) ครูที่ปรึกษานักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปี1/5 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม


สารบัญ บทที่ 1 บทนำ 1 ความสำคัญของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 1 วัตถุประสงค์ของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 1 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 1 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 2 ความหมายของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2 องค์ประกอบของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2 การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2 การคัดกรองนักเรียน 3 การส่งเสริมนักเรียน 3 การป้องกันและช่วยเหลือนักเรียน 4 การส่งต่อนักเรียน 4 บทที่ 3 วิธีดำเนินการ 6 สรุปผลการดำเนินการ 6 เครื่องมือที่ใช้ในการรายงานผล 6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 6 การเก็บรวบรวมข้อมูล 6 การวิเคราะห์ข้อมูล 6 บทที่ 4 ผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 8 บทที่ 5 สรุปผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 10 สรุปผลการวิเคราะห์ 11 ปัญหาที่พบและข้อเสนอแนะ 11 ภาคผนวก 12 ▪ รายงานการเยี่ยมบ้านนักเรียน ปีการศึกษา 2566 ▪ สรุปผลการประเมินพฤติกรรมนักเรียน (SDQ) ตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ▪ รายงานการประเมินความฉลาดทางอารมณ์ (EQ)


บทที่ 1 บทนำ ความสำคัญของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ได้กำหนดความมุ่งหมายและหลักการจัด การศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และ คุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และแนว การจัดการศึกษายังให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนทุกคน โดยยึดหลักว่าทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนา ตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตาม ศักยภาพ ดังนั้นในการจัดการศึกษาต้องเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ มีคุณธรรม และการจัดการศึกษาให้ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้ผู้เรียนสามารถคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็นและสามารถนำ ความรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข และในการที่จะพัฒนานักเรียนให้เป็นทรัพยากร มนุษย์ที่มีคุณค่า มีคุณภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสติปัญญา ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม นั้นจำเป็นต้องได้รับการส่งเสริม สนับสนุน ป้องกันและการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับ นักเรียน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุกคน โดยเฉพาะครูที่ปรึกษาซึ่งจะเป็นบุคคล ที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินการต่างๆ เหล่านี้ เพื่อการดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดด้วยความรัก เมตตา เอื้ออาทร เอาใจใส่ต่อศิษย์อย่างจริงใจ เพื่อให้นักเรียนได้เป็นบุคคลที่มีคุณค่าของสังคมต่อไป วัตถุประสงค์ของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 1. เพื่อให้ทราบนักเรียนกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มช่วยเหลือ 2. เพื่อให้นักเรียนกลุ่มต่างๆ ได้รับการดูแลช่วยเหลือ ส่งเสริม 3. เพื่อให้นักเรียนได้รับการดูแล เอาใจใส่อย่างจริงจัง ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ปัญหาของนักเรียนได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงและใกล้ชิด 2. ครูที่ปรึกษาสามารถทราบถึงปัญหาและหาวิธีในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียน 3. ได้มีการประสานงานระหว่างบ้านกับโรงเรียนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียน 4. เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างครูกับนักเรียน


บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง ความหมายของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นกระบวนการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมี ขั้นตอน พร้อมด้วยวิธีการและเครื่องมือการทำงานที่ชัดเจน โดยมีครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการ ดำเนินการดังกล่าว และมีการประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับครูที่เกี่ยวข้อง หรือบุคคลภายนอก รวมทั้งการสนับสนุนส่งเสริมจากโรงเรียน การดูแลช่วยเหลือนักเรียน หมายถึง การส่งเสริม การป้องกัน และการช่วยเหลือแก้ไขปัญหา โดยมีวิธีการและเครื่องมือสำหรับครูที่ปรึกษาและบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการดำเนินงานพัฒนา นักเรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และปลอดภัยจากสารเสพติด องค์ประกอบของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นกระบวนการดำเนินงานที่มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ คือ 1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2. การคัดกรองนักเรียน 3. การส่งเสริมนักเรียน 4. การป้องกันและช่วยเหลือนักเรียน 5. การส่งต่อนักเรียน ซึ่งแต่ละองค์ประกอบของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนดังกล่าว มีความสำคัญ มีวิธีการแล เครื่องมือที่แตกต่างกันไป แต่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันซึ่งเอื้อให้การดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ความสำคัญ นักเรียนแต่ละคนมีความแตกต่างและมีพื้นฐานความเป็นมาของชีวิตที่ไม่เหมือนกันซึ่งสามารถหล่อ หลอมให้เกิดพฤติกรรมหลากหลายรูปแบบทั้ง ด้านบวก ด้านลบ ดังนั้น การรู้ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับตัว นักเรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ครูที่ปรึกษามีความเข้าใจนักเรียนมากขึ้น สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อการคัดกรองนักเรียน เป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียนได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์มิใช่การใช้ความรู้สึกหรือการคาดเดาโดยเฉพาะในการแก้ไขปัญหานักเรียน ซึ่งจะ ทำให้ไม่เกิดข้อผิดพลาดต่อการช่วยเหลือนักเรียนหรือเกิดได้น้อยที่สุด ข้อมูลพื้นฐานของนักเรียน ในการคัดกรองนักเรียน ครูที่ปรึกษาควรมีข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนอย่างน้อย 3 ด้านใหญ่ๆ คือ ด้านความสามารถ แยกเป็น 1. ด้านการเรียน 2. ด้านความสามารถอื่นๆ ด้านสุขภาพ แยกเป็น 1. ด้านร่างกาย 2. ด้านจิตใจ – พฤติกรรม


ด้านครอบครัว แยกเป็น 1. ด้านเศรษฐกิจ 2. ด้านการคุ้มครองนักเรียน 3. ด้านอื่นๆ ที่ครูพบเพิ่มเติม ซึ่งมีความสำคัญหรือเกี่ยวข้องกับการดูแล ช่วยเหลือนักเรียน วิธีการและเครื่องมือในการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ควรใช้วิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย เพื่อให้ได้ข้อมูลนักเรียนที่ครอบคลุมทั้งด้าน ความสามารถ ด้านสุขภาพ และด้านครอบครัว ที่สำคัญ คือ 1. ระเบียนสะสม 2. แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ) หรือ 3. วิธีการและเครื่องมืออื่นๆ เช่นการสัมภาษณ์นักเรียน การศึกษาจากแฟ้มสะสม ผลงาน การเยี่ยมบ้านนักเรียน การศึกษาข้อมูลจากแบบบันทึกการตรวจสุขภาพ ด้วยตนเอง ซึ่งจัดทำโดยกรมอนามัย เป็นต้น 2. การคัดกรองนักเรียน ความสำคัญ การคัดกรองนักเรียน เป็นการพิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวนักเรียนเพื่อการจัดกลุ่มนักเรียน เป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มปกติ คือ นักเรียนที่ได้รับการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ตามเกณฑ์การคัดกรองของ โรงเรียนแล้ว อยู่ในเกณฑ์ของกลุ่มปกติ 2. กลุ่มเสี่ยง คือ นักเรียนที่จัดอยู่ในเกณฑ์ของกลุ่มเสี่ยง ซึ่งยังไม่มีปัญหาใดๆที่ต้องเร่ง แก้ไขทันที แต่มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นกลุ่มช่วยเหลือได้ ดังนั้นการเฝ้าระวัง การป้องกันจึงมีความสำคัญ มากสำหรับกลุ่มเสี่ยง 3. กลุ่มช่วยเหลือ/กลุ่มปัญหา คือ นักเรียนที่จัดอยู่ในเกณฑ์ของกลุ่มที่ต้องการความ ช่วยเหลือ แก้วไขปัญหาอย่างใกล้ชิด และสำหรับนักเรียนบางคนที่มีมากกว่า 1 ปัญหา ที่ต้องรับการ ช่วยเหลือ แต่มีบางเรื่องอยู่ในภาวะเสี่ยงก็จัดว่าเป็นกลุ่มช่วยเหลือ แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการคัดกรองนักเรียน ควรมีการประชุมครูเพื่อการพิจารณาเกณฑ์การจัดกลุ่มนักเรียนร่วมกัน เพื่อให้มีมาตรฐานหรือ แนวทางการคัดกรองนักเรียนที่เหมือนกัน เป็นที่ยอมรับของครูในโรงเรียน รวมทั้งให้การกำหนดเกณฑ์ว่า ความรุนแรงหรือความถี่ของพฤติกรรมเท่าใดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มช่วยเหลือ 3. การส่งเสริมนักเรียน ความสำคัญ การส่งเสริมนักเรียน เป็นการสนับสนุนให้นักเรียนทุกคนที่อยู่ในความดูแลของครูที่ปรึกษาไม่ว่าจะ เป็นนักเรียนกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง หรือกลุ่มช่วยเหลือ ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น มีความภาคภูมิใจในตนเอง ในด้านต่างๆ ซึ่งจะช่วยป้องกันมิให้นักเรียนที่อยู่ในกลุ่มปกติ หรือกลุ่มเสี่ยงกลายเป็นนักเรียนกลุ่มมีปัญหา หรือกลุ่มช่วยเหลือ และเป็นการช่วยเหลือให้นักเรียนกลุ่มเสี่ยงกลุ่มช่วยเหลือ/มีปัญหากลับมาเป็นนักเรียน กลุ่มปกติ และมีคุณภาพตามที่โรงเรียนหรือชุมชนคาดหวังต่อไป 3


วิธีการและเครื่องมือเพื่อการส่งเสริมนักเรียน การส่งเสริมนักเรียนมีหลายวิธีที่โรงเรียนสามารถพิจารณาดำเนินการได้ แต่มีกิจกรรมหลักสำคัญ ที่โรงเรียนต้องดำเนินการ คือ 1. การจัดกิจกรรมโฮมรูม 2. การจัดประชุมผู้ปกครองนักเรียน 4. การป้องกันและช่วยเหลือนักเรียน ความสำคัญ การดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูที่ปรึกษาควรให้ความเอาใจใส่กับนักเรียนทุกคนเท่าเทียมกัน แต่ สำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มช่วยเหลือ จะต้องให้ความดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและหาวิธี ช่วยเหลือ โดยไม่ปล่อยปละละเลยนักเรียนทั้งสองกลุ่ม จะต้องป้องกันและช่วยเหลือนักเรียนให้นักเรียน เติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพของสังคมต่อไป วิธีการและเครื่องมือเพื่อการป้องกันและช่วยเหลือนักเรียน การป้องกันและช่วยเหลือนักเรียนมีวิธีการดำเนินการ 2 ประการ ได้แก่ 1. การให้การปรึกษาเบื้องต้น 2. การจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหา 3. ข้อพึงระวังในการป้องกันและช่วยเหลือแก้ไขปัญหานักเรียน 1. การรักษาความลับ ❑ เรื่องราวของนักเรียนที่ต้องช่วยแก้ไข ไม่ควรนำไปเปิดเผย ❑ บันทึกข้อมูลการช่วยเหลือ ควรเก็บไว้ในที่ที่เหมาะสมและสะดวกในการใช้งาน ❑ การรายงานช่วยเหลือนักเรียน ควรรายงานในส่วนที่เปิดเผยได้ โดยให้เกียรติ และคำนึงถึงประโยชน์ของนักเรียนเป็นสำคัญ 2. การช่วยเหลือ ❑ การช่วยเหลือนักเรียนต้องพิจารณาสาเหตุของปัญหานั้นให้ครบถ้วนและหา วิธีการช่วยเหลือให้เหมาะสมกับสาเหตุนั้น ❑ ปัญหาที่เหมือนกันของนักเรียน ไม่จำเป็นต้องเกิดจากสาเหตุที่เหมือนกัน และ วิธีการช่วยเหลือที่ประสบความสำเร็จกับนักเรียนคนหนึ่งก็อาจไม่เหมาะสมกับนักเรียนอีกคนหนึ่ง ดังนั้น การช่วยเหลือจะต้องมีวิธีการที่เหมาะสมกับแต่ละปัญหาในนักเรียนแต่ละคน 5. การส่งต่อนักเรียน ความสำคัญ เป็นการช่วยเหลือนักเรียนโดยที่ครูที่ปรึกษาอาจไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทันทีก็อาจส่ง ต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อให้ปัญหาของนักเรียนได้รับการช่วยเหลือทันที ซึ่งการส่งต่อ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ 5.1 การส่งต่อภายใน ครูที่ปรึกษาส่งต่อไปยังครูที่สามารถช่วยเหลือนักเรียนได้ ซึ่งอาจ ขึ้นอยู่กับลักษณะของปัญหา เช่น ครูพยาบาล ครูแนะแนว ครูปกครอง ฯลฯ 5.2 การส่งต่อภายนอก ครูแนะแนวหรือฝ่ายปกครองเป็นผู้ดำเนินการส่งต่อไปยัง ผู้เชี่ยวชาญ 4


แผนภูมิแสดงกระบวนการดำเนินงานเพื่อช่วยเหลือแก้ไขปัญหานักเรียนของครูแนะแนว / ฝ่ายปกครอง (ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา : 2544,27 รับนักเรียนต่อจากครูที่ปรึกษา ให้การปรึกษา / ช่วยเหลือ พฤติกรรมนักเรียน ประชุมปรึกษารายกรณี ส่งต่อผู้เชี่ยวชาญ ไม่ดีขึ้น/ยากต่อการช่วยเหลือ ส่งกลับครูที่ปรึกษา ให้ดูแลช่วยเหลือต่อไป ดีขึ้น ดีขึ้น ไม่ดีขึ้น พฤติกรรมนักเรียน 5


บทที่ 3 วิธีดำเนินการ สรุปผลการดำเนินการ 1. ขั้นเตรียมการ 1.1 จัดเตรียมและสร้างเอกสารต่างๆ เช่น ระเบียนสะสม สมุดตรวจสุขภาพด้วยตนเอง แบบประเมินพฤติกรรม ฯลฯ เพื่อศึกษาและรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2. ขั้นดำเนินการ 2.1 ศึกษาและรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลในด้าน การเรียน ด้านสุขภาพ ด้าน ครอบครัว ด้านเศรษฐกิจและการคุ้มครองนักเรียน โดยศึกษาจากระเบียนสะสมและสัมภาษณ์นักเรียน เป็นรายบุคคล 2.2 ประเมินพฤติกรรมนักเรียน โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมเด็ก การสัมภาษณ์ใช้แบบ ประเมิน (SDQ) ของกรมสุขภาพจิตเพื่อศึกษาพฤติกรรมนักเรียนในด้านต่างๆ ดังนี้ คือ ด้านอารมณ์ ด้านความประพฤติ ด้านพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนและด้านสัมพันธภาพทางสังคม 2.3 คัดกรองนักเรียน เพื่อจัดกลุ่มนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มช่วยเหลือ โดยใช้แบบสรุปผลการคัดกรองนักเรียนเป็นรายบุคคล 2.4 ส่งเสริมนักเรียน โดยการจัดกิจกรรมโฮมรูมในช่วงเช้าหลังจากเข้าแถว 2.5 จัดกิจกรรมเพื่อป้องกันและช่วยเหลือแก้ปัญหานักเรียน 2.6 ส่งต่อนักเรียนที่ปัญหารุนแรง โดยส่งต่อไปยังฝ่ายปกครอง 3. ขั้นสรุปผล สรุปและจัดทำรายงานผลการดำเนินการ เครื่องมือที่ใช้ในการรายงานผล เครื่องมือที่ใช้ในการรายงานผลการดำเนินการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนห้อง ม. 1/5 เป็นแบบ รายงานผลดังนี้ 1. แบบสรุปผลการคัดกรองนักเรียนเป็นรายบุคคลด้านพฤติกรรมเด็ก (SDQ) 2. แบบสรุปผลการคัดกรองนักเรียนด้านการเรียน 3. แบบสรุปผลการคัดกรองนักเรียนด้านสุขภาพกาย 4. แบบสรุปผลการคัดกรองนักเรียนด้านเศรษฐกิจ 5. แบบสรุปผลการคัดกรองนักเรียนด้านการคุ้มครอง 6. แบบสรุปผลการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูที่ปรึกษา 7. แบบสรุปผลความสามารถพิเศษของนักเรียนเป็นรายบุคคล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1. ค่าร้อยละ (Percentage) การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล การคัดกรองนักเรียนเป็นรายบุคคลโดยการศึกษาจากระเบียนสะสม การ สัมภาษณ์นักเรียนเป็นรายบุคคล และการประเมินพฤติกรรมนักเรียนที่ใช้แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก จากนั้นบันทึกลงในแบบสรุปผลการคัดกรองนักเรียนเป็นรายบุคคลแล้วนำมาหาค่าร้อยละ


บทที่ 4 ผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคล ผลการวิเคราะห์ข้อมูล จากการที่ได้จัดกิจกรรมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคลในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 ปรากฏผลดังนี้ ตารางที่ 1 แสดงผลการคัดกรองนักเรียนเป็นรายบุคคลด้านการเรียน จำนวนนักเรียน ทั้งหมด ผลการคัดกรองนักเรียน กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา/ ช่วยเหลือ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ 32 17 53.13 8 25.0 7 21.88 จากตารางที่ 1 พบว่าผลการคัดกรองนักเรียนรายบุคคลด้านการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 นั้น นักเรียนมีผลการเรียนอยู่ในกลุ่มปกติทั้งหมด มีจำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 53.13 และ อยู่ใน กลุ่มเสี่ยง ทั้งหมดมีจำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 25.0 และ อยู่ในกลุ่มมีปัญหา ทั้งหมดมีจำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 21.88 ตารางที่ 2 แสดงผลการคัดกรองนักเรียนเป็นรายบุคคลด้านสุขภาพ จำนวนนักเรียน ทั้งหมด ผลการคัดกรองนักเรียน กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา/ ช่วยเหลือ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ 32 32 100 - - - - จากตารางที่ 2 พบว่าผลการคัดกรองนักเรียนรายบุคคลด้านสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1/5 นั้นส่วนใหญ่นักเรียนมีสุขภาพอยู่ในกลุ่มปกติ มีจำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ตารางที่ 3 แสดงผลการคัดกรองนักเรียนเป็นรายบุคคลด้านเศรษฐกิจ จำนวนนักเรียน ทั้งหมด ผลการคัดกรองนักเรียน กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา/ ช่วยเหลือ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ 32 29 90.63 - - 3 9.38 จากตารางที่ 3 พบว่าผลการคัดกรองนักเรียนรายบุคคลด้านเศรษฐกิจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1/5 นั้นส่วนใหญ่นักเรียนอยู่ในกลุ่มปกติ มีจำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 90.63 และอยู่ในกลุ่มเสี่ยง จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 9.38


ตารางที่4 แสดงผลการคัดกรองนักเรียนเป็นรายบุคคลด้านการคุ้มครอง จำนวนนักเรียน ทั้งหมด ผลการคัดกรองนักเรียน กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา/ ช่วยเหลือ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ 32 32 - - - - - จากตารางที่ 4 พบว่าผลการคัดกรองนักเรียนรายบุคคลด้านการคุ้มครองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 นั้น นักเรียนได้รับความคุ้มครองอยู่ในกลุ่มปกติมีจำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ตารางที่ 5 แสดงผลการคัดกรองนักเรียนเป็นรายบุคคลพฤติกรรมด้านอารมณ์ จำนวนนักเรียน ทั้งหมด ผลการคัดกรองนักเรียน กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา/ ช่วยเหลือ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ 32 30 90.91 2 9.09 - - จากตารางที่ 5 พบว่าผลการคัดกรองนักเรียนรายบุคคลพฤติกรรมด้านอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1/5 นั้น นักเรียนมีพฤติกรรมด้านอารมณ์อยู่ในกลุ่มมีปัญหา มีจำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 90.91 และ อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ทั้งหมดมีจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 9.09 ตารางที่ 6 แสดงผลการคัดกรองนักเรียนเป็นรายบุคคลพฤติกรรมด้านความประพฤติ จำนวนนักเรียน ทั้งหมด ผลการคัดกรองนักเรียน กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา/ ช่วยเหลือ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ 32 17 53.13 8 25.0 7 21.88 จากตารางที่ 6 พบว่าผลการคัดกรองนักเรียนรายบุคคลพฤติกรรมด้านความประพฤติของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่1/5 นั้นนักเรียนมีพฤติกรรมด้านความประพฤติอยู่ในนักเรียนมีผลการเรียนอยู่ในกลุ่มปกติ ทั้งหมด มีจำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 53.13 และ อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ทั้งหมดมีจำนวน 8 คน คิดเป็น ร้อยละ 25.0 และ อยู่ในกลุ่มมีปัญหา ทั้งหมดมีจำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 21.88 ตารางที่ 7 แสดงผลการคัดกรองนักเรียนเป็นรายบุคคลพฤติกรรมด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน จำนวนนักเรียน ทั้งหมด ผลการคัดกรองนักเรียน กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา/ ช่วยเหลือ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ 32 27 84.38 5 15.63 - - จากตารางที่ 7 พบว่าผลการคัดกรองนักเรียนรายบุคคลพฤติกรรมด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 นั้นนักเรียนทั้งหมดมีพฤติกรรมด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนอยู่ในกลุ่มมีปัญหา มี จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 84.38 และกลุ่มเสี่ยง ทั้งหมดมีจำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 15.63 8


ตารางที่ 8 แสดงผลการคัดกรองนักเรียนเป็นรายบุคคลพฤติกรรมด้านสัมพันธภาพทางสังคม จำนวนนักเรียน ทั้งหมด ผลการคัดกรองนักเรียน กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา/ ช่วยเหลือ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ 33 33 - - - - - จากตารางที่ 8 พบว่าผลการคัดกรองนักเรียนรายบุคคลพฤติกรรมด้านความสัมพันธภาพทางสังคมของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 นั้นนักเรียนทั้งหมดมีพฤติกรรมด้านสัมพันธภาพทางสังคมอยู่ในกลุ่มปกติ มีจำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 100 (เด็กมีจุดแข็ง คะแนนด้านสัมพันธภาพทางสังคมสูง เด็กที่ไม่มีจุด แข็ง คะแนนด้านสัมพันธภาพทางสังคมต่ำ) ตารางที่ 9 แสดงรายชื่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1/5 ที่มีความสามารถพิเศษ ที่ ชื่อ – สกุล ความสามารถพิเศษ หมายเหตุ 1 เด็กหญิงกันต์ฤทัยสมประสงค์ เครื่องดนตรียูโฟเนียม - 2 เด็กหญิงณิชชยา เทพนู เครื่องดนตรีเทรนเนอร์ - 3 เด็กหญิงฐิติพร สีเหลือง รำไทย - 4 เด็กชายวรชิต สุริยจันทร์ ฟุตซอล - 5 - 6 - 7 - 8 - จากตารางที่ 9 พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 มีความสามารถพิเศษในด้านต่าง ๆ 4 คน ตารางที่ 10 แสดงผลการดำเนินงานกับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง จำแนกตามลักษณะของปัญหา ลักษณะของปัญหา จำนวนนักเรียน กลุ่มเสี่ยง ช่วยเหลือได้ แล้ว อยู่ในระหว่าง การช่วยเหลือ ส่งต่อครู ด้านการเรียน 4 3 7 - ด้านสุขภาพกาย - - - - ด้านเศรษฐกิจ 3 - 3 แนะแนว ด้านการคุ้มครอง - - - - พฤติกรรมด้านอารมณ์ 2 1 1 - พฤติกรรมด้านความประพฤติ 15 10 5 - ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน 5 - 5 - ด้านสัมพันธภาพทางสังคม - - - - จากตารางที่ 10 พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 อยู่ในกลุ่มเสี่ยงด้านการเรียน จำนวน 4 คน คิด เป็นร้อยละ 12.5 เสี่ยงด้านเศรษฐกิจ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 9.38 ด้านอารมณ์ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 6.25 ด้านพฤติกรรมด้านความประพฤติจำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 46.88 ด้าน ความสัมพันธ์กับเพื่อน มีจำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 15.63 9


บทที่ 5 สรุปผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อทราบนักเรียนกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มมีปัญหา/กลุ่มช่วยเหลือ 2. เพื่อให้นักเรียนกลุ่มต่างๆ ได้รับการดูแลช่วยเหลือ ส่งเสริม 3. เพื่อให้นักเรียนได้รับการดูแล เอาใจใส่อย่างจริงจัง เครื่องมือที่ใช้ในการรายงานผล เครื่องมือที่ใช้ในการรายงานผลการดำเนินการจัดทำระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนห้อง ม.1/5 เป็นแบบรายงานผลดังนี้ 1. แบบสรุปผลการคัดกรองนักเรียนเป็นรายบุคคลด้านพฤติกรรมเด็ก (SDQ) 2. แบบสรุปผลการคัดกรองนักเรียนด้านการเรียน 3. แบบสรุปผลการคัดกรองนักเรียนด้านสุขภาพกาย 4. แบบสรุปผลการคัดกรองนักเรียนด้านเศรษฐกิจ 5. แบบสรุปผลการคัดกรองนักเรียนด้านการคุ้มครอง 6. แบบสรุปผลการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูที่ปรึกษา 7. แบบสรุปผลความสามารถพิเศษของนักเรียนเป็นรายบุคคล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1. ค่าร้อยละ (Percentage) การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล การคัดกรองนักเรียนเป็นรายบุคคลโดยการศึกษาจากระเบียนสะสม การ สัมภาษณ์นักเรียนเป็นรายบุคคล และการประเมินพฤติกรรมนักเรียนที่ใช้แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก จากนั้นบันทึกลงในแบบสรุปผลการคัดกรองนักเรียนเป็นรายบุคคลแล้วนำมาหาค่าร้อยละ การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลในการคัดกรองนักเรียนระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ทำการวิเคราะห์ ตามลำดับขั้นตอนดังนี้ 1. วิเคราะห์นักเรียนออกเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มมีปัญหา/ช่วยเหลือ ในด้านการ เรียน ด้านสุขภาพกาย ด้านเศรษฐกิจและการคุ้มครอง โดยศึกษาจากระเบียนสะสม แบบบันทึกสุขภาพ และจากการสัมภาษณ์นักเรียนเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งเสนอข้อมูลในรูปตารางประกอบคำบรรยาย 2. วิเคราะห์นักเรียนออกเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มมีปัญหา/ช่วยเหลือ ในด้าน พฤติกรรมในด้านอารมณ์ ด้านความประพฤติ/อยู่ไม่นิ่ง ด้านสัมพันธ์กับเพื่อน ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และความสามารถพิเศษ โดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ) ของกรมสุขภาพจิต พร้อมทั้งเสนอ ข้อมูลในรูปตารางประกอบคำบรรยาย


สรุปผลการวิเคราะห์ การคัดกรองนักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 ในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เมื่อวิเคราะห์แล้ว มีผลดังนี้ 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1/5 ทั้งหมดมีผลการเรียนอยู่ในกลุ่มปกติทั้งหมด มีจำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 81.82 และอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ทั้งหมดมีจำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 21.21 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 ทั้งหมดมีสุขภาพอยู่ในกลุ่มปกติอยู่ในกลุ่มปกติ มีจำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 100 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 ส่วนใหญ่มีเศรษฐกิจอยู่ในกลุ่มปกติ มีจำนวน 20 คน คิด เป็นร้อยละ 39.39 และอยู่ในกลุ่มเสี่ยง จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 34.21 4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 ทั้งหมดได้รับความคุ้มครองอยู่ในกลุ่มปกติมีจำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 100 5. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 ทั้งหมดมีพฤติกรรมด้านอารมณ์อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ทั้งหมด มี จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 100 6. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 ทั้งหมดมีพฤติกรรมด้านความประพฤติอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ทั้ง หมดมีจำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 100 7. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1/5 ทั้งหมดมีพฤติกรรมด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนอยู่ในกลุ่ม เสี่ยง ทั้งหมดมีจำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 100 8. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 ทั้งหมดมีพฤติกรรมด้านสัมพันธภาพทางสังคมอยู่ในกลุ่ม เสี่ยง ทั้งหมดมีจำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 100 9. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 มีความสามารถพิเศษในด้านต่าง ๆ ทั้งหมด มีจำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 21.21 10. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 อยู่ในกลุ่มเสี่ยงด้านการเรียน จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 12.5 เสี่ยงด้านเศรษฐกิจ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 9.38 ด้านอารมณ์ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 6.25 ด้านพฤติกรรมด้านความประพฤติจำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 46.88 ด้านความสัมพันธ์กับ เพื่อน มีจำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 15.63 ปัญหาที่พบและข้อเสนอแนะ จากสถานการรณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบในวงกว้าง โดยเฉพาะกับกลุ่มเด็ก นักเรียน ที่การพัฒนาการด้านต่างๆ ทั้งวิชาการ อารมณ์ และสังคมต้องหยุดชะงัก เพราะปัญหาความ เหลื่อมล้ำในสังคมที่มีมาช้านานจนเกิดภาวะสะสม ส่งผลให้การศึกษาทางไกลไม่สามารถตอบโจทย์การ เรียนรู้ของนักเรียนรายบุคคลได้ 11


ภาคผนวก • รายงานการเยี่ยมบ้านนักเรียน ปีการศึกษา 2566 • สรุปผลการประเมินพฤติกรรมนักเรียน (SDQ)ตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน • รายงานการประเมินความฉลาดทางอารมณ์ (EQ)


รายงานการเยี่ยมบ้านนักเรียน ปีการศึกษา 2566


บันทึกข้อความ ส่วนราชการ โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม วันที่ 15 เดือน กันยายน พ .ศ.2566 เรื่อง ส่งรายงานการเยี่ยมบ้านนักเรียน ปีการศึกษา 2566 เรียน ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. รายงานการเยี่ยมบ้านนักเรียน จำนวน 1 เล่ม ตามคำสั่งโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ที่087/2566 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 ได้มอบหมาย ให้ ข้าพเจ้า นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์และ นางสาวศรัญญา โพธิกุดไสย ปฏิบัติหน้าที่ครูประจำชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1/5 ประจำปีการศึกษา 2566 และกำหนดให้มีการเยี่ยมบ้านนักเรียน ในรอบที่ 1 ให้เสร็จ สิ้นภายในวันที่ 15 กันยายน 2566 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจที่ดี ระหว่าง ผู้ปกครองกับครูและโรงเรียน รวมถึงรับทราบถึงปัญหาของผู้เรียน เพื่อจะได้ดำเนินการดูแลช่วยเหลือต่อไป บัดนี้ ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว จึงขอส่งรายงานการเยี่ยมบ้านนักเรียน ดัง รายละเอียดตามเอกสารที่แนบมาพร้อมนี้ จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ (นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์) ( นางสาวศรัญญา โพธิกุดไสย) ครูประจำชั้นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 ครูประจำชั้นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม วันที่ 15 เดือน กันยายน พ .ศ.2566 วันที่ 15 เดือน กันยายน พ .ศ.2566 คำรับรอง/ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ หัวหน้าระดับชั้น คำรับรอง/ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ รองผู้อำนวยการ ............................................................................................. ............................................................................................ ลงชื่อ (นางสาวชลธิรา เมืองใจ) หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ........................................................................................... ........................................................................................... ลงชื่อ (นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์) ครูปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการ กลุ่มบริหารงานบุคคล คำรับรอง/ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ของผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม .................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................... ลงชื่อ (นายสุริยันต์เหล่ามะลึก) ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม


สรุปการเยี่ยมบ้านนักเรียนแบบออนไลน์ ประจำปีการศึกษา 2566 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 32 คน ชาย 17 คน หญิง 15 คน ชื่อครูที่ปรึกษา 1. นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์ 2. นางสาวศรัญญา โพธิกุดไสย แบบสรุปรายงานการเยี่ยมบ้านนักเรียน ม.1/5 ปีการศึกษา 2566 ระหว่างวันที่ 12 มิถุนายน 2566 ถึงวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 1. จำนวนนักเรียนทั้งหมด..........32....................... คน 2. จำนวนนักเรียนที่ออกเยี่ยมบ้าน........32...............คน คิดเป็นร้อยละ..........100................................... เป็นชาย...17....คน หญิง....14....คน 3. จำนวนนักเรียนที่ไม่ได้ออกเยี่ยมบ้าน.......-........คน คิดเป็นร้อยละ.......-............................. 4. สาเหตุที่ไม่ได้ออกเยี่ยมบ้าน (กรุณาระบุเป็นข้อ) ........................................-............................................. 5.สภาพความเป็นอยู่ของครอบครัว 5.1 นักเรียนอาศัยอยู่กับบิดาและมารดา จำนวน.....22..........คน 5.2 นักเรียนอาศัยอยู่กับบิดา จำนวน.....6.......คน 5.3 นักเรียนอาศัยอยู่กับมารดา จำนวน.....2.......คน 5.4 นักเรียนอาศัยอยู่กับผู้ปกครองที่ไม่ใช่มารดาและบิดา จำนวน....1......คน ๕.๕ นักเรียนอาศัยอยู่เพียงลำพัง จำนวน.....-..........คน 6. นักเรียนที่บิดาและมารดาเสียชีวิต จำนวน...1...คน คิดเป็นร้อยละ......3.12...... 7. นักเรียนที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต จำนวน...1...คน คิดเป็นร้อยละ......3.12...... 8. นักเรียนเสี่ยงหรือมีปัญหาด้านการเรียน จำนวน....3....คน คิดเป็นร้อยละ.....9.38....... 9. นักเรียนมีปัญหาด้านสุขภาพร่างกาย จำนวน...5......คน คิดเป็นร้อยละ......1.6............... 10. นักเรียนมีปัญหาด้านสุขภาพจิตใจ จำนวน...5......คน คิดเป็นร้อยละ......1.6............... 11. นักเรียนที่มีปัญหาด้านอื่น ๆ จำนวน.7...คน (โปรดระบุปัญหาที่พบ) ปัญหาชู้สาว 3 คน ยาเสพติด 2 คน หนีเรียน 2 คน 12. นักเรียนมีพฤติกรรมเสี่ยง (การใช้สารเสพติด ความรุนแรง การเดินทางมาโรงเรียน ด้านเพศ การติดเกม อื่นๆ) จำนวน...9......คน คิดเป็นร้อยละ.....28.12................ 13. นักเรียนที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพกายและจิตใจ จำนวน............คน 14. นักเรียนที่มีความเสี่ยงการใช้สารเสพติด จำนวน............คน 15. นักเรียนที่มีความเสี่ยงด้านความรุนแรง จำนวน............คน 16. นักเรียนที่มีความเสี่ยงด้านการเดินทางมาโรงเรียน จำนวน.........คน 17. นักเรียนที่มีความเสี่ยงด้านเพศ จำนวน..2.......คน 18. นักเรียนที่มีความเสี่ยงติดเกม จำนวน....5.....คน 19. นักเรียนที่มีความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ จำนวน...2......คน 20. นักเรียนที่มีความเสี่ยงด้านอื่น ๆ จำนวน...-......คน (โปรดระบุความเสี่ยง) 21. นักเรียนที่ต้องได้รับความช่วยเหลือเร่งด่วน จำนวน.....-.......คน 22. หน่วยงาน /สหวิชาชีพ/องค์กร ที่ร่วมเยี่ยมบ้าน................................ -.................................. …………… 23. การนำข้อมูลเยี่ยมบ้านนักเรียนไปใช้ประโยชน์ อย่างไร (กรุณาระบุเป็นข้อ) 1. ได้รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2. ได้เห็นสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ที่แท้จริง ของนักเรียน 3. สามารถช่วยเหลือนักเรียนได้ตามสภาพความเป็นจริงเพื่อการป้องกันและแก้ไข


4. มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างครูที่ปรึกษากับผู้ปกครอง 24. ข้อห่วงใยของผู้ปกครองที่มีต่อนักเรียน ปัญหาชู้สาว ยาเสพติด และ หนีเรียน 25. ปัญหา/อุปสรรค 1.นักเรียนไม่ได้แจ้งผู้ปกครองทราบว่าครูจะเข้าไปเยี่ยมบ้านทั้งที่ครูได้แจ้งนักเรียนไปแล้ว 2.ผู้ปกครองไปทำงานต่างจังหวัด 26. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ -


สรุปผลการประเมินพฤติกรรมนักเรียน (SDQ) ตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน


บันทึกข้อความ ส่วนราชการ โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม วันที่ 15 เดือน กันยายน พ .ศ.2566 เรื่อง ส่งรายงานผลการประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน (SDQ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 เรียน ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. รายงานผลการประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน (SDQ) จำนวน 1 ชุด ตามคำสั่งโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคมที่ 107/2566 ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2566 ได้มอบหมายให้ นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์ และ นางสาวศรัญญา โพธิกุดไสย ปฏิบัติหน้าที่ครูประจำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 ประจำปีการศึกษา 2566 ทำการประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน (SDQ) นักเรียน เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูล พื้นฐานในการคัดกรองนักเรียน ในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้รับการพัฒนาอย่างถูกต้องและ เหมาะสมตามสภาพจริงรายบุคคล บัดนี้ ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว จึงขอส่งรายงานผลการประเมินจุดแข็งและ จุดอ่อน (SDQ) ดังรายละเอียดตามเอกสารที่แนบมาพร้อมนี้ จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ (นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์) ( นางสาวศรัญญา โพธิกุดไสย) ครูประจำชั้นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 ครูประจำชั้นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม วันที่ 15 เดือน กันยายน พ .ศ.2566 วันที่ 15 เดือน กันยายน พ .ศ.2566 คำรับรอง/ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ หัวหน้าระดับชั้น คำรับรอง/ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ รองผู้อำนวยการ ............................................................................................. ............................................................................................ ลงชื่อ (นางสาวชลธิรา เมืองใจ) หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ........................................................................................... ........................................................................................... ลงชื่อ (นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์) ครูปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการ กลุ่มบริหารงานบุคคล คำรับรอง/ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ของผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม .................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................... ลงชื่อ (นายสุริยันต์เหล่ามะลึก) ผู้อำนวยการโรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม


การแปรผลคะแนน SDQ ระบบดูแล ช่วยเหลือนักเรียน


รายงานการประเมินความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ปีการศึกษา 2566


รายงานการประเมินความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) สรุป EQ ทั้ง 3 ด้าน รายงานการประเมินความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เลขที่ ห้อง ชื่อ - สกุล ด้านดี ด้านเก่ง ด้านสุข หมาย เหตุ 1.1 1.2 1.3 2.1 2.2 2.3 3.1 3.2 3.3 1 1/5 0 ปกติ ต่ำกว่าปกติ สูงกว่าปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ 2 1/5 0 ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ ปกติ 3 1/5 0 ปกติ ปกติ สูงกว่าปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ 4 1/5 0 ปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ 5 1/5 0 ปกติ ต่ำกว่าปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ 6 1/5 0 ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ 7 1/5 0 ปกติ ปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ต่ำกว่าปกติ ต่ำกว่าปกติ ต่ำกว่าปกติ ต่ำกว่าปกติ ต่ำกว่าปกติ 8 1/5 0 ปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ ปกติ ปกติ 9 1/5 0 ปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ 10 1/5 0 ปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ ปกติ 11 1/5 0 ปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ 12 1/5 0 ปกติ ปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ต่ำกว่าปกติ ต่ำกว่าปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ ปกติ 13 1/5 0 ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ ปกติ 14 1/5 0 ปกติ ต่ำกว่าปกติ ต่ำกว่าปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ต่ำกว่าปกติ 15 1/5 0 ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ 16 1/5 0 ปกติ ต่ำกว่าปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ 17 1/5 0 ปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ต่ำกว่าปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ 18 1/5 0 ปกติ สูงกว่าปกติ สูงกว่าปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ 19 1/5 0 ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ 20 1/5 0 ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ 21 1/5 0 สูงกว่าปกติ ปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ต่ำกว่าปกติ ต่ำกว่าปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ ปกติ 22 1/5 0 ต่ำกว่าปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ต่ำกว่าปกติ 23 1/5 0 ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ 24 1/5 0 ต่ำกว่าปกติ ปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ 25 1/5 0 ปกติ ปกติ ปกติ สูงกว่าปกติ ปกติ สูงกว่าปกติ สูงกว่าปกติ สูงกว่าปกติ ปกติ 26 1/5 0 ต่ำกว่าปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ 27 1/5 0 ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ 28 1/5 0 ปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ 29 1/5 0 ปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ 30 1/5 0 ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ 31 1/5 0 ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ 32 1/5 0 ปกติ สูงกว่าปกติ สูงกว่าปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ปกติ ต่ำกว่าปกติ


รายงานการประเมินความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 ประจำปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 .................................................... (นางสาวอโนชา อุทุมสกุลรัตน์ ) ครูที่ปรึกษานักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปี 1 /5 .................................................... (นางสาวศรัญญา โพธิกุดไสย) ครูที่ปรึกษานักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปี 1 /5 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม


Click to View FlipBook Version