The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

-ส่งเสริมให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีอยู่ภายใต้การดูแลของสภาวิชาชีพบัญชีเพื่อเป็นศูนย์รวมและส่งเสริมความเป็นปึกแผ่น
-ให้ความรู้และพัฒนาส่งเสริมมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพมีคุณภาพ มาตรฐาน และมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ ตลอดจนเพื่อให้มีการควบคุมจรรยาบรรณการประกอบวิชาชีพ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by legal.dbd.15, 2019-10-10 02:31:00

พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.๒๕๔๗

-ส่งเสริมให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีอยู่ภายใต้การดูแลของสภาวิชาชีพบัญชีเพื่อเป็นศูนย์รวมและส่งเสริมความเป็นปึกแผ่น
-ให้ความรู้และพัฒนาส่งเสริมมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพมีคุณภาพ มาตรฐาน และมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ ตลอดจนเพื่อให้มีการควบคุมจรรยาบรรณการประกอบวิชาชีพ

พระราชบญั ญตั ิ
วิชาชพี บญั ชี
พ.ศ. ๒๕๔๗

ภูมพิ ลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วนั ท่ี ๑๒ ตลุ าคม พ.ศ. ๒๕๔๗

เปน็ ปที ี่ ๕๙ ในรัชกาลปจั จบุ นั

พระบาทสมเด็จพระปรมนิ ทรมหาภมู พิ ลอดุลยเดช มพี ระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศวา่
โดยทเ่ี ปน็ การสมควรให้มกี ฎหมายว่าดว้ ยวชิ าชีพบัญชี
พระราชบัญญัติน้ีมีบทบัญญัติบางประการเก่ียวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซ่ึงมาตรา ๒๙
ประกอบกับมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติ
แหง่ กฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติข้ึนไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา
ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินเ้ี รยี กวา่ “พระราชบัญญตั ิวิชาชพี บญั ชี พ.ศ. ๒๕๔๗”

มาตรา ๒ พระราชบัญญตั ินีใ้ หใ้ ช้บังคบั ต้ังแตว่ ันถดั จากวันประกาศในราชกิจจานเุ บกษาเปน็ ตน้ ไป

มาตรา ๓ ใหย้ กเลิกพระราชบัญญตั ผิ สู้ อบบญั ชี พ.ศ. ๒๕๐๕

มาตรา ๔ ในพระราชบญั ญัตนิ ้ี
“วิชาชีพบัญชี” หมายความว่า วิชาชีพในด้านการทําบัญชี ด้านการสอบบัญชี ด้านการบัญชีบริหาร ด้าน
การวางระบบบัญชี ด้านการบัญชีภาษีอากร ด้านการศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชี และบริการเกี่ยวกับการบัญชีด้าน
อน่ื ตามทกี่ าํ หนดโดยกฎกระทรวง
“ผู้ทาํ บัญช”ี หมายความวา่ ผู้ทาํ บัญชตี ามกฎหมายว่าดว้ ยการบัญชี
“การประชมุ ใหญ”่ หมายความว่า การประชมุ ใหญส่ ามัญหรอื การประชมุ ใหญ่วิสามญั
“สมาชกิ ” หมายความว่า สมาชกิ สภาวิชาชพี บัญชี
“รฐั มนตร”ี หมายความวา่ รัฐมนตรผี ู้รักษาการตามพระราชบญั ญัตนิ ี้

มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอํานาจออก
กฎกระทรวงเพ่อื ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

กฎกระทรวงนนั้ เมอื่ ไดป้ ระกาศในราชกิจจานุเบกษาแลว้ ให้ใชบ้ ังคับได้
[ดูกฎกระทรวงกําหนดหลักประกนั ความรบั ผดิ ตอ่ บคุ คลทส่ี ามของผู้ประกอบวิชาชพี บญั ชี พ.ศ. 2553]

-๒-

หมวด ๑
สภาวิชาชีพบัญชี

มาตรา ๖ ให้มีสภาวิชาชีพบัญชี มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนา
วิชาชีพบัญชี

มาตรา ๗ สภาวชิ าชพี บญั ชมี ีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ส่งเสริมการศึกษา การอบรม และการวิจัยเก่ยี วกับวิชาชีพบญั ชี
(๒) ส่งเสรมิ ความสามัคคแี ละผดุงเกยี รติของสมาชิก จัดสวสั ดิการและการสงเคราะหร์ ะหว่างสมาชิก
(๓) กาํ หนดมาตรฐานการบญั ชี มาตรฐานการสอบบัญชี และมาตรฐานอ่ืนทีเ่ ก่ยี วกบั วชิ าชพี บญั ชี
(๔) กาํ หนดจรรยาบรรณผ้ปู ระกอบวิชาชีพบญั ชี
(๕) รับข้ึนทะเบียนการประกอบวิชาชีพบัญชี ออกใบอนุญาต พักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาตผู้ประกอบ
วชิ าชพี บญั ชี
(๖) รับรองปริญญาหรือประกาศนียบัตรในวิชาการบัญชีของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เพื่อประโยชน์
ในการรับสมคั รเป็นสมาชิก
(๗) รับรองความร้คู วามชาํ นาญในการประกอบวิชาชีพบญั ชี
(๘) รับรองหลักสูตรการฝึกอบรมเป็นผู้ชํานาญการและการศึกษาต่อเน่ืองในด้านต่าง ๆ ของผู้ประกอบ
วชิ าชพี บัญชี
(๙) ควบคุมความประพฤติและการดําเนินงานของสมาชิกและผู้ขึ้นทะเบียนอันเก่ียวกับการประกอบ
วชิ าชีพบญั ชีให้ถกู ต้องตามจรรยาบรรณแหง่ วิชาชีพบญั ชี
(๑๐) ช่วยเหลือ แนะนํา เผยแพร่ และให้บรกิ ารวิชาการแกป่ ระชาชนเกี่ยวกับวิชาชพี บญั ชี
(๑๑) ออกข้อบงั คับสภาวิชาชพี บัญชี
(๑๒) เปน็ ตัวแทนของผปู้ ระกอบวชิ าชพี บัญชี
(๑๓) ให้คาํ ปรกึ ษาและเสนอแนะตอ่ รฐั บาลเก่ยี วกับนโยบายและปัญหาของวชิ าชพี บัญชี
(๑๔) ดําเนินการอื่นเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และอํานาจหน้าที่ของสภาวิชาชีพบัญชีตาม
พระราชบญั ญัติน้ี

มาตรา ๘ สภาวิชาชพี บญั ชีอาจมรี ายได้ ดังตอ่ ไปนี้
(๑) คา่ บาํ รุงสมาชกิ และคา่ ธรรมเนยี มตามพระราชบัญญตั ินี้
(๒) เงนิ อุดหนนุ จากงบประมาณแผน่ ดิน
(๓) ผลประโยชนจ์ ากการจัดการทรัพยส์ ินและการดําเนินกจิ การของสภาวิชาชพี บัญชี
(๔) เงนิ และทรพั ยส์ นิ ซงึ่ มีผใู้ หแ้ กส่ ภาวิชาชีพบัญชี
(๕) ดอกผลของเงินและทรัพย์สินตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔)

มาตรา ๙ ภายใต้บังคับบทบัญญัติหมวด ๕ การควบคุมการประกอบวิชาชีพด้านการสอบบัญชี และ
หมวด ๖ การควบคุมการประกอบวิชาชีพด้านการทําบัญชี ในกรณีท่ีการประกอบวิชาชีพบัญชีด้านใดมีผลกระทบต่อ
ประโยชน์ได้เสียของประชาชน หรือเพื่อประโยชน์ที่จะให้มีการคุ้มครองประชาชนและพัฒนาหรือจัดระเบียบการ

-๓-

ประกอบวิชาชีพบัญชีด้านใด จะตราพระราชกฤษฎีกากําหนดให้การประกอบวิชาชีพบัญชีด้านนั้นต้องได้รับ
ใบอนญุ าตหรอื ตอ้ งขึ้นทะเบยี นไวก้ บั สภาวชิ าชพี บญั ชีก็ได้

มาตรา ๑๐ เม่ือมีพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๙ ใช้บังคับสําหรับวิชาชีพบัญชีด้านใด ห้ามมิให้ผู้ใด
ประกอบวิชาชีพบญั ชีด้านนั้น เว้นแต่ได้รับใบอนญุ าตหรือขึน้ ทะเบียนกบั สภาวชิ าชีพบัญชี

การขอรับใบอนุญาต การอนุญาต การออกใบอนุญาต และการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีตาม
วรรคหนึ่ง ใหเ้ ปน็ ไปตามแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงอื่ นไขทก่ี าํ หนดในข้อบังคบั สภาวิชาชพี บัญชี

ในการขึ้นทะเบียนประกอบวิชาชีพบัญชี สภาวิชาชีพบัญชีจะกําหนดให้ผู้ขึ้นทะเบียนซึ่งมิได้เป็น
สมาชิกต้องเสียค่าธรรมเนียมเป็นรายปีก็ได้ แต่จะกําหนดค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้สูงกว่าค่าบํารุงสมาชิกและ
คา่ ธรรมเนียมใบอนุญาตท่ีเรียกเก็บจากสมาชกิ สภาวิชาชีพบญั ชเี ป็นรายปีไมไ่ ด้

มาตรา ๑๑ นิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้บริการด้านการสอบบัญชีหรือด้านการทําบัญชีหรือ
ให้บริการวิชาชีพบัญชีด้านอื่นตามท่ีกําหนดโดยพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๙ ต้องจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี
ตามเง่อื นไข ดงั ต่อไปนี้

(๑) นิติบุคคลนั้นต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลท่ีสาม ทั้งนี้ ตามประเภท
จํานวน หลกั เกณฑ์ และวิธกี ารทีก่ ําหนดโดยกฎกระทรวง

[ดกู ฎกระทรวงกาํ หนดหลักประกันความรับผิดต่อบคุ คลทสี่ ามของผู้ประกอบวิชาชพี บัญชี พ.ศ. 2553]
(๒) ในกรณีประกอบกิจการให้บริการการสอบบัญชี บุคคลซึ่งมีอํานาจลงนามผูกพันนิติบุคคลในการ
ให้บริการการสอบบัญชตี ้องเปน็ ผ้ไู ดร้ บั ใบอนุญาตให้เปน็ ผู้สอบบญั ชีรบั อนุญาต
การกําหนดหลักประกันตามวรรคหนึ่ง (๑) ให้คํานึงถึงขนาดและรายได้ของนิติบุคคลน้ัน และให้นํา
ความเหน็ ของหนว่ ยงานท่เี ก่ียวข้องและสภาวชิ าชีพบัญชีมาพิจารณาประกอบด้วย
ในกรณที ผี่ ูส้ อบบญั ชตี อ้ งรับผดิ ชอบต่อบุคคลท่ีสาม ให้นิติบุคคลซ่ึงผู้สอบบัญชีนั้นสังกัดอยู่ร่วมรับผิดด้วย
อย่างลูกหน้ีร่วม และในกรณีที่ยังไม่สามารถชําระค่าเสียหายได้ครบจํานวน ให้หุ้นส่วนหรือกรรมการผู้มีอํานาจลงนาม
ผูกพันนิติบุคคล หรือผู้แทนนิติบุคคลใดซ่ึงต้องรับผิดชอบในการดําเนินการของนิติบุคคลนั้น ต้องร่วมรับผิดจนครบ
จํานวน เวน้ แตพ่ สิ ูจน์ได้วา่ ตนมิไดม้ สี ่วนร้เู ห็นหรือยินยอมในการกระทาํ ผิดทีต่ อ้ งรบั ผิด

หมวด ๒
สมาชิกสภาวิชาชีพบญั ชี

มาตรา ๑๒ สมาชกิ สภาวิชาชีพบัญชมี ีส่ีประเภท ดังนี้
(๑) สมาชกิ สามญั
(๒) สมาชิกวสิ ามญั
(๓) สมาชิกสมทบ
(๔) สมาชิกกิตติมศกั ด์ิ

มาตรา ๑๓ สมาชกิ สามัญตอ้ งเป็นผู้มคี ณุ สมบัตแิ ละไม่มีลกั ษณะตอ้ งหา้ ม ดังตอ่ ไปน้ี
(๑) มอี ายไุ มต่ ํา่ กวา่ ยี่สิบปบี ริบูรณ์
(๒) มีสัญชาติไทย

-๔-

(๓) สําเร็จการศึกษาวิชาการบัญชีไม่ต่ํากว่าระดับปริญญาตรี หรือได้รับประกาศนียบัตร หรือวุฒิอื่น
เทียบเท่าปริญญาตรีสาขาวิชาชีพการบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีรับรอง หรือสําเร็จการศึกษาสาขาอ่ืนตามท่ีสภาวิชาชีพ
บญั ชกี ําหนด

(๔) ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจรรยาบรรณอันนํามาซึ่งความเส่ือมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพบัญชีตามท่ีกําหนด
ในขอ้ บงั คับสภาวิชาชพี บญั ชี

(๕) ไม่เคยต้องโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกในคดีที่เป็นการประพฤติผิดจรรยาบรรณอัน
จะนาํ มาซ่งึ ความเส่ือมเสียเกยี รติศกั ด์แิ หง่ วิชาชพี ตามท่กี าํ หนดในข้อบงั คบั สภาวิชาชพี บัญชี

(๖) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นโรคตามท่ีกําหนดในข้อบังคับสภา
วชิ าชีพบัญชี

มาตรา ๑๔ สมาชิกวิสามัญและสมาชิกสมทบต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย และต้องมีคุณสมบัติและไม่มี
ลักษณะตอ้ งห้ามตามทก่ี าํ หนดในขอ้ บังคับสภาวิชาชีพบญั ชี

ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับผู้ซึ่งไม่มีสัญชาติไทยแต่มีสัญชาติของประเทศซึ่งยินยอมให้ผู้มีสัญชาติไทย
ประกอบอาชีพสอบบัญชใี นประเทศนัน้ ได้ และประสงคจ์ ะสมัครเข้าเปน็ สมาชิกวสิ ามัญ แต่ผู้น้ันจะต้องมีคุณสมบัติและ
ไม่มีลกั ษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ (๑) (๓) (๔) (๕) และ (๖)

มาตรา ๑๕ สมาชิกกิตติมศักด์ิ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเชิญเป็นสมาชิกตามมติของคณะกรรมการสภา
วิชาชีพบัญชี

มาตรา ๑๖ สมาชิกสามญั มสี ทิ ธแิ ละหน้าที่ ดงั ตอ่ ไปน้ี
(๑) แสดงความคดิ เหน็ ในการประชมุ ใหญ่
(๒) ออกเสียงลงคะแนนในการประชมุ ใหญ่
(๓) เลือกตั้ง รับเลือกตั้ง หรือรับแต่งตั้ง เป็นกรรมการหรือดํารงตําแหน่งอ่ืนอันเกี่ยวกับกิจการของสภา
วชิ าชพี บญั ชตี ามพระราชบัญญัตินี้
(๔) ชาํ ระคา่ บํารงุ สมาชกิ หรอื คา่ ธรรมเนียมตามที่กาํ หนดในข้อบงั คับสภาวชิ าชพี บญั ชี
(๕) ผดุงไวซ้ ึ่งเกยี รตศิ กั ดิ์แหง่ วิชาชพี บญั ชแี ละปฏิบัติตนตามบทบัญญตั แิ หง่ พระราชบญั ญตั นิ ี้
(๖) สทิ ธิและหน้าทอี่ ืน่ ตามทส่ี ภาวชิ าชพี บัญชกี ําหนด
สมาชิกวสิ ามญั สมาชิกสมทบ และสมาชกิ กติ ตมิ ศกั ดิ์ มีสทิ ธิและหน้าที่ตาม (๑) (๔) (๕) และ (๖)

มาตรา ๑๗ สมาชกิ ภาพของสมาชิกสน้ิ สดุ ลง เมอ่ื
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓ หรือมาตรา ๑๔ หรือคณะกรรมการสภา
วชิ าชพี บญั ชีมีมตเิ พิกถอนสาํ หรับกรณีสมาชกิ กติ ตมิ ศักด์ิ
(๔) ไมช่ ําระค่าบาํ รุงสมาชกิ โดยไมม่ ีเหตอุ ันสมควรตามทีก่ าํ หนดในข้อบังคับสภาวชิ าชีพบญั ชี

มาตรา ๑๘ ใหม้ ีการประชุมใหญส่ ามญั สภาวชิ าชพี บญั ชีอยา่ งน้อยปลี ะหนง่ึ ครงั้
การประชมุ ใหญ่อ่ืนนอกจากการประชุมใหญส่ ามญั เรียกวา่ การประชุมใหญ่วิสามญั

-๕-

มาตรา ๑๙ สมาชิกสามัญอาจขอให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการท่ีกําหนดใน
ขอ้ บังคับสภาวิชาชีพบญั ชี ในการนี้ นายกสภาวิชาชีพบัญชีตอ้ งเรียกประชุมใหญ่วสิ ามัญภายในสามสิบวันนับแต่วันท่ีได้
รับคําขอ

มาตรา ๒๐ ในการประชุมใหญ่ ต้องมีสมาชิกสามัญมาประชุมไม่น้อยกว่าสองร้อยคนจึงเป็นองค์
ประชุม

การประชุมใหญ่ครั้งใด เมื่อล่วงพ้นเวลาที่กําหนดไว้เป็นเวลาสามสิบนาทีแล้วมีสมาชิกสามัญมาประชุม
ไม่ครบองค์ประชุมตามวรรคหนึ่ง และการประชุมนั้นได้เรียกประชุมตามมาตรา ๑๙ ให้งดการประชุมครั้งนั้น แต่ถ้า
คณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีเป็นผู้จัดให้มีการประชุม ให้เลื่อนการประชุมน้ันออกไป โดยให้นายกสภาวิชาชีพบัญชี
เรียกประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่งภายในสามสิบวันและในการประชุมใหญ่ครั้งนี้ ให้องค์ประชุมประกอบด้วยสมาชิก
สามัญเทา่ ทม่ี าประชมุ

มาตรา ๒๑ ในการประชุมใหญ่ ให้นายกสภาวิชาชีพบัญชีเป็นประธานในท่ีประชุม ในกรณีท่ีนายกสภา
วิชาชีพบัญชีไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าท่ีได้หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ ให้อุปนายกสภาวิชาชีพบัญชีคนท่ี
หน่ึงหรือคนที่สองตามลําดับเป็นประธานในที่ประชุม ถ้านายกสภาวิชาชีพบัญชีและอุปนายกสภาวิชาชีพบัญชีไม่อยู่ใน
ท่ีประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าท่ีได้หรือไม่ปฏิบัติหน้าท่ี ให้สมาชิกสามัญท่ีมาประชุมเลือกสมาชิกสามัญคนหนึ่งทํา
หน้าที่เปน็ ประธานในที่ประชุม

หมวด ๓
คณะกรรมการสภาวชิ าชีพบัญชี

มาตรา ๒๒ ใหม้ ีคณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี ประกอบดว้ ย
(๑) นายกสภาวิชาชพี บญั ชี ซงึ่ ท่ปี ระชุมใหญเ่ ลอื กต้งั จากสมาชกิ สามัญ
(๒) กรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ ประธานคณะกรรมการวิชาชีพบัญชีทุกด้าน ประธานคณะกรรมการ
กําหนดมาตรฐานการบัญชี และประธานคณะกรรมการจรรยาบรรณ
(๓) กรรมการผทู้ รงคณุ วุฒิ ซึ่งนายกสภาวิชาชีพบญั ชีและกรรมการโดยตําแหน่งตาม (๒) มีมติแต่งตั้งจาก
ผู้ทรงคุณวุฒิเกีย่ วกบั วชิ าการบัญชีสองคน และผ้ทู รงคณุ วฒุ ิทางด้านกฎหมายหน่งึ คน
(๔) กรรมการซึ่งท่ีประชุมใหญ่เลอื กตงั้ จากสมาชกิ สามญั มจี าํ นวนไมเ่ กินหา้ คน
ให้เลขาธิการสภาวิชาชีพบัญชีเป็นกรรมการและเลขานุการ และจะให้มีผู้ช่วยเลขานุการก็ได้ตามความ
จําเป็นและตามมตขิ องคณะกรรมการสภาวิชาชพี บญั ชี
คุณสมบตั ิและลกั ษณะตอ้ งหา้ มของนายกสภาวิชาชพี บัญชี กรรมการตาม (๓) และ (๔) และหลักเกณฑ์และ
วธิ ีการเลือกตงั้ นายกสภาวชิ าชพี บญั ชี และกรรมการตาม (๔) ให้เปน็ ไปตามขอ้ บังคับสภาวชิ าชีพบัญชี

มาตรา ๒๓ นายกสภาวิชาชีพบัญชี และกรรมการตามมาตรา ๒๒ (๓) และ (๔) มีวาระการดํารง
ตําแหน่งคราวละสามปี

ในกรณีท่ีนายกสภาวิชาชีพบัญชี หรือกรรมการตามมาตรา ๒๒ (๓) และ (๔) พ้นจากตําแหน่งก่อนครบ
วาระ หรือในกรณที ่ีท่ีประชมุ ใหญ่เลือกตั้งกรรมการตามมาตรา ๒๒ (๔) เพิ่มข้ึนในระหว่างที่กรรมการซึ่งเลือกตั้งไว้แล้ว

-๖-

ยังมีวาระอยู่ในตําแหน่ง ให้ผู้ได้รับเลือกตั้งหรือแต่งต้ังแทนตําแหน่งที่ว่างหรือเป็นกรรมการเพ่ิมขึ้น อยู่ในตําแหน่ง
เทา่ กบั วาระทีเ่ หลืออยขู่ องกรรมการซงึ่ ไดเ้ ลือกต้ังหรอื แต่งตัง้ ไว้แล้ว

เมื่อครบกําหนดตามวาระในวรรคหน่ึง หากยังมิได้มีการเลือกต้ังนายกสภาวิชาชีพบัญชีหรือยังมิได้มีการ
แต่งตั้งกรรมการตามมาตรา ๒๒ (๓) หรือยังมิได้มีการเลือกต้ังกรรมการตามมาตรา ๒๒ (๔) ขึ้นใหม่ ให้นายกสภา
วิชาชพี บญั ชีหรอื กรรมการซึง่ พน้ จากตาํ แหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตําแหน่งเพ่ือดําเนินงานต่อไปจนกว่านายกสภาวิชาชีพ
บญั ชหี รอื กรรมการซ่งึ ไดร้ ับเลอื กต้งั หรอื แตง่ ตง้ั ใหมเ่ ข้ารบั หนา้ ที่

นายกสภาวิชาชีพบัญชีหรือกรรมการซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระ อาจได้รับเลือกตั้งหรือแต่งต้ังอีกได้ แต่
นายกสภาวิชาชพี บัญชีจะดํารงตาํ แหนง่ เกนิ สองวาระติดตอ่ กันไมไ่ ด้

มาตรา ๒๔ นอกจากการพน้ จากตาํ แหน่งตามวาระ ให้นายกสภาวิชาชีพบญั ชแี ละกรรมการตามมาตรา ๒๒
(๓) และ (๔) พน้ จากตาํ แหนง่ เมือ่

(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) พน้ จากสมาชิกภาพของสมาชกิ สภาวิชาชีพบัญชี
(๔) ขาดคณุ สมบัติหรอื มีลักษณะตอ้ งหา้ มตามขอ้ บังคับสภาวชิ าชพี บญั ชี
(๕) รฐั มนตรีมคี ําสัง่ ใหพ้ น้ จากตําแหน่งตามมาตรา ๖๓

มาตรา ๒๕ ให้นายกสภาวิชาชีพบัญชีเลือกกรรมการเพ่ือแต่งต้ังให้ดํารงตําแหน่งอุปนายกตามจํานวนที่
คณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีกําหนด ตําแหน่งเลขาธิการ เหรัญญิก และนายทะเบียน ตําแหน่งละหนึ่งคน และ
ตาํ แหนง่ อนื่ ตามทคี่ ณะกรรมการสภาวชิ าชพี บญั ชกี ําหนดตามความจําเปน็

การปฏิบัติหน้าท่ี อํานาจหน้าที่ และการพ้นจากตําแหน่งของผู้ดํารงตําแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไป
ตามข้อบงั คบั สภาวชิ าชีพบญั ชี

มาตรา ๒๖ การประชมุ คณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหน่ึงของ
จํานวนกรรมการทงั้ หมด จึงจะเป็นองค์ประชุม

มติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหน่ึงมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้
ประธานในทปี่ ระชุมออกเสยี งเพิม่ ขึน้ อกี เสยี งหน่งึ เป็นเสียงช้ีขาด

มาตรา ๒๗ คณะกรรมการสภาวิชาชพี บญั ชี จะแตง่ ตั้งคณะอนกุ รรมการเพือ่ พิจารณาหรือปฏิบัติการตามที่
มอบหมายก็ได้

ใหน้ ําความในมาตรา ๒๖ มาใชบ้ ังคับแกก่ ารประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม

มาตรา ๒๘ ให้คณะกรรมการสภาวชิ าชีพบญั ชีมอี าํ นาจหนา้ ท่ี ดงั ต่อไปนี้
(๑) บริหารกิจการของสภาวิชาชพี บัญชใี ห้เปน็ ไปตามวัตถุประสงค์
(๒) กระทาํ กจิ การทอ่ี ยใู่ นอํานาจหนา้ ทข่ี องสภาวิชาชีพบัญชตี ามพระราชบญั ญัตนิ ้ี
(๓) เสนอร่างขอ้ บังคับสภาวิชาชพี บญั ชีในกจิ การต่าง ๆ ที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ต่อท่ีประชุมใหญ่
สภาวิชาชีพบญั ชี
(๔) จัดใหม้ กี ารประชมุ ใหญ่
(๕) ออกระเบียบเพอื่ ปฏิบัติการใหเ้ ป็นไปตามพระราชบญั ญัตนิ ี้

-๗-

มาตรา ๒๙ สมาชิกสามัญไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคนจะเข้าช่ือเสนอร่างข้อบังคับตามมาตรา ๒๘ (๓) ต่อ
สภาวิชาชีพบัญชีด้วยกไ็ ด้

ให้คณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีจัดให้มีการประชุมใหญ่เพื่อพิจารณาร่างข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี
ตามวรรคหน่ึงโดยไมช่ กั ช้า

มาตรา ๓๐ วิธีการเสนอและการพิจารณารา่ งข้อบังคับ ใหเ้ ปน็ ไปตามขอ้ บังคบั สภาวชิ าชีพบญั ชี
ร่างข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชีเก่ียวกับค่าบํารุงสมาชิกหรือค่าธรรมเนียม หรือร่างข้อบังคับตามมาตรา
๒๒ วรรคสาม มาตรา ๔๓ วรรคหน่ึง และมาตรา ๔๔ วรรคสอง ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกํากับดูแล
การประกอบวชิ าชีพบัญชีก่อน
ร่างข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชีซ่ึงสภาวิชาชีพบัญชีอนุมัติ หรือคณะกรรมการกํากับดูแลการประกอบ
วิชาชีพบัญชีให้ความเห็นชอบตามวรรคสองแล้ว แล้วแต่กรณี เมื่อนายกสภาวิชาชีพบัญชีลงนามและประกาศ
ในราชกจิ จานุเบกษาแลว้ ให้ใชบ้ งั คับได้

มาตรา ๓๑ ในกิจการท่ีเก่ียวกับบุคคลภายนอก ให้นายกสภาวิชาชีพบัญชีมีอํานาจกระทําการแทนสภา
วิชาชพี บญั ชี ในการน้ี นายกสภาวิชาชพี บัญชจี ะมอบหมายเป็นหนังสอื ใหก้ รรมการอน่ื กระทําการแทนตนเฉพาะในกิจการ
ใดกไ็ ด้

มาตรา ๓๒ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและส่งเสริมการประกอบวิชาชีพบัญชีด้านต่าง ๆ ให้มี
คณะกรรมการวิชาชีพบัญชีของแต่ละด้าน ประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการอื่นมีจํานวนตามท่ี
คณะกรรมการสภาวชิ าชีพบัญชกี ําหนด

ประธานกรรมการวชิ าชีพบญั ชดี ้านต่าง ๆ ใหม้ าจากการเลือกต้งั ของสมาชิกสามญั โดยท่ีประชุมใหญ่สภา
วชิ าชพี บัญชี

คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของประธานกรรมการหรือกรรมการวิชาชีพบัญชีตามวรรคหนึ่ง
การแต่งตั้งหรือการเลือกตั้ง การดํารงตําแหน่ง การพ้นจากตําแหน่ง อํานาจหน้าที่ และการดําเนินการอื่นของ
ประธานกรรมการหรอื กรรมการวิชาชีพบญั ชี ให้เป็นไปตามข้อบงั คับสภาวิชาชีพบญั ชี

หมวด ๔
คณะกรรมการกําหนดมาตรฐานการบญั ชี

มาตรา ๓๓ ให้มีคณะกรรมการกําหนดมาตรฐานการบญั ชีประกอบดว้ ยผทู้ รงคุณวุฒิซ่ึงคณะกรรมการสภา
วิชาชีพบัญชีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความชํานาญและประสบการณ์เกี่ยวกับการบัญชี มีจํานวนไม่น้อยกว่าเจ็ดคน
แต่ไม่เกินสิบเอ็ดคน และผู้แทนกรมการประกันภัย ผู้แทนกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ผู้แทนกรมสรรพากร ผู้แทน
ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้แทนสํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้แทนสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และ
ตลาดหลกั ทรัพย์ เป็นกรรมการ

กรรมการผทู้ รงคุณวุฒมิ วี าระการดํารงตาํ แหน่งคราวละสามปี
ให้กรรมการตามวรรคหน่ึงเลือกกรรมการคนหน่ึงเป็นประธานกรรมการ และเลือกกรรมการอีกคนหน่ึง
เป็นเลขานกุ าร

-๘-

คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การคัดเลือก และการพ้นจากตําแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ใหเ้ ปน็ ไปตามข้อบังคบั สภาวชิ าชพี บญั ชี

มาตรา ๓๔ ให้คณะกรรมการกําหนดมาตรฐานการบัญชีมีอํานาจหน้าท่ีกําหนดและปรับปรุงมาตรฐาน
การบญั ชี เพอื่ ใชเ้ ป็นมาตรฐานในการจดั ทําบญั ชตี ามกฎหมายวา่ ดว้ ยการบัญชีและกฎหมายอ่ืน

มาตรฐานการบัญชตี อ้ งจัดทําขึน้ เป็นภาษาไทย
มาตรฐานการบัญชีที่คณะกรรมการกําหนดมาตรฐานการบัญชีกําหนดและปรับปรุงเม่ือได้รับความ
เหน็ ชอบจากคณะกรรมการกาํ กบั ดูแลการประกอบวิชาชพี บัญชี และประกาศในราชกจิ จานเุ บกษาแลว้ ใหใ้ ช้บังคบั ได้
เม่ือได้รับแจ้งจากผู้ทําบัญชี ผู้มีหน้าท่ีจัดทําบัญชี ผู้ใช้ข้อมูลทางการเงิน กรมการประกันภัย กรมพัฒนา
ธุรกิจการค้า กรมสรรพากร ธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน สํานักงานคณะกรรมการกํากับ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรอื หน่วยงานอนื่ ใด ว่ามีปัญหาเกย่ี วกบั การปฏบิ ตั ติ ามมาตรฐานการบัญชีที่กําหนดไว้
ซ่ึงอาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือการปฏิบัติตามมาตรฐานดังกล่าวทําให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศ
หรือเปน็ อุปสรรคต่อการประกอบกิจการ คณะกรรมการกําหนดมาตรฐานการบัญชีต้องดําเนินการตรวจสอบและรับฟัง
ความคิดเห็นของผทู้ ่เี ก่ยี วขอ้ ง และกําหนด ปรับปรงุ หรือพัฒนามาตรฐานการบญั ชีโดยพลนั

มาตรา ๓๕ คณะกรรมการกําหนดมาตรฐานการบัญชีอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพ่ือพิจารณาหรือ
ปฏบิ ตั ิการอย่างใดตามท่มี อบหมายได้

มาตรา ๓๖ ใหน้ ําความในมาตรา ๒๖ มาใช้บังคบั กบั การประชมุ คณะกรรมการกําหนดมาตรฐานการบัญชี
และคณะอนกุ รรมการซง่ึ คณะกรรมการกําหนดมาตรฐานการบัญชีแตง่ ต้งั โดยอนุโลม

หมวด ๕
การควบคมุ การประกอบวชิ าชพี ด้านการสอบบญั ชี

มาตรา ๓๗ ในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีการสอบบัญชี หรือให้เอกสารใดต้องมีผู้สอบบัญชี
ลงลายมือชื่อรับรองหรือแสดงความเห็น ห้ามมิให้ผู้ใดลงลายมือช่ือรับรองการสอบบัญชี รับรองเอกสาร หรือแสดง
ความเหน็ ในฐานะผู้สอบบัญชี เว้นแตเ่ ป็นผู้สอบบัญชีรบั อนญุ าต หรอื เป็นการกระทาํ ในอํานาจหน้าทีท่ างราชการ

มาตรา ๓๘ ผู้ใดจะเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต้องได้รับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี
การขอรับใบอนุญาต การอนุญาต และการออกใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตให้เป็นไปตามแบบ
และหลกั เกณฑท์ ก่ี าํ หนดในข้อบังคับสภาวชิ าชพี บญั ชี
เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วและใบอนุญาตนั้นมิได้ถูกพักใช้หรือถูกเพิกถอนให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ไดร้ ับยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตต่ออธิบดกี รมสรรพากรในการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามประมวลรัษฎากร

มาตรา ๓๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังตอ่ ไปนี้

(๑) เป็นสมาชิกสามัญหรอื สมาชิกวสิ ามญั ตามมาตรา ๑๔ วรรคสอง แตใ่ นกรณีเป็นสมาชิกวิสามัญซึ่งเป็น
คนตา่ งด้าวต้องเปน็ ผู้มคี วามรภู้ าษาไทยดพี อทจ่ี ะสามารถสอบบญั ชีและจดั ทาํ รายงานเป็นภาษาไทยได้ และมีภูมิลําเนา

-๙-

ในประเทศไทย และเม่ือได้รับใบอนุญาตแล้วต้องได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการทํางานของคนต่างด้าวด้วย
จึงจะปฏิบัติงานเปน็ ผู้สอบบญั ชีรับอนญุ าตได้

(๒) ผ่านการทดสอบหรือฝึกอบรมหรือฝึกงานหรือเคยปฏิบัติงานเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชีมาแล้วตามที่
กําหนดในขอ้ บงั คบั สภาวิชาชีพบัญชี

(๓) ไม่เคยต้องคาํ พพิ ากษาถงึ ทสี่ ุดใหจ้ ําคุก เนื่องจากกระทาํ ความผดิ ตามมาตรา ๒๖๙ มาตรา ๓๒๓ หรือ
ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์เว้นแต่ความผิดฐานทําให้เสียทรัพย์และความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา
ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี กฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชี หรือกฎหมายว่าด้วยการกําหนดความผิดเก่ียวกับ
ห้างหุ้นสว่ นจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจํากัด บริษัทจํากัด สมาคม และมูลนิธิ เฉพาะที่เก่ียวกับการรับรองงบการเงินหรือ
บัญชีอ่ืนใดอันไม่ถูกต้องหรือทํารายงานเท็จ หรือความผิดตามหมวด ๕ และหมวด ๖ แห่งพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่
ต้องคําพิพากษาหรือพ้นโทษมาแล้วไมน่ ้อยกว่าหา้ ปี

(๔) ไม่เปน็ บุคคลลม้ ละลาย
(๕) มีคุณสมบตั แิ ละไม่มลี กั ษณะตอ้ งหา้ มอ่ืนตามทีก่ ําหนดในข้อบงั คับสภาวชิ าชีพบัญชี

มาตรา ๔๐ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตอาจขอรับใบอนุญาตอีกได้เมื่อพ้นห้าปี
นับแต่วันท่ีถูกส่ังเพิกถอนใบอนุญาต แต่เม่ือคณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีได้พิจารณาคําขอรับใบอนุญาตและปฏิเสธ
การออกใบอนุญาต ผู้นั้นจะยื่นคําขอรับใบอนุญาตได้อีกเม่ือส้ินระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันท่ีคณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี
ปฏิเสธการออกใบอนญุ าต ถ้าคณะกรรมการสภาวิชาชพี บัญชปี ฏิเสธการออกใบอนุญาตเป็นครัง้ ที่สองแล้ว ผู้น้ันเป็นอัน
หมดสิทธิขอรบั ใบอนญุ าตอีกต่อไป

มาตรา ๔๑ ใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตไม่มีอายุ แต่ผู้รับใบอนุญาตต้องชาํ ระค่าธรรมเนียม
ใบอนุญาตตามทส่ี ภาวิชาชีพบญั ชกี าํ หนด

ใบอนุญาตเป็นผ้สู อบบัญชรี ับอนญุ าตสิน้ ผล เมือ่ ผู้รบั ใบอนญุ าต
(๑) ตาย
(๒) พน้ จากสมาชกิ ภาพของสมาชิกสภาวชิ าชีพบัญชี
(๓) ขาดคณุ สมบัติหรือมลี กั ษณะต้องหา้ มตามมาตรา ๓๙
(๔) ถกู เพกิ ถอนใบอนุญาตเนอื่ งจากประพฤตผิ ดิ จรรยาบรรณ
(๕) ไม่ชําระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและไม่ได้รับการผ่อนผันตามท่ีคณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี
กาํ หนด
(๖) ไม่เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรที่สภาวิชาชีพบัญชีกําหนดให้ครบถ้วนตามมาตรา ๔๓ และสภา
วิชาชีพบญั ชีไมไ่ ด้มคี ําส่ังพกั ใชใ้ บอนุญาต

มาตรา ๔๒ เมื่อสภาวิชาชีพบัญชีได้รับคําขอรับใบอนุญาตแล้วเห็นว่าผู้ยื่นคําขอมีคุณสมบัติและ
ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๙ ให้สภาวิชาชีพบัญชีพิจารณาออกใบอนุญาตให้ผู้ย่ืนคําขอโดยเร็ว ซ่ึงต้องไม่เกิน
เก้าสบิ วันนับแต่วันที่ได้รบั คําขอ

ในกรณีท่ีสภาวิชาชีพบัญชีไม่ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ย่ืนคําขอ สภาวิชาชีพบัญชีต้องแสดงเหตุผลของการ
ไมอ่ อกใบอนญุ าตไวโ้ ดยชดั แจ้ง ในกรณีเช่นนผ้ี ยู้ ืน่ คําขอมสี ิทธิอทุ ธรณก์ ารไม่ออกใบอนญุ าตต่อคณะกรรมการกาํ กับดูแลการ
ประกอบวชิ าชพี บัญชีตามหลักเกณฑ์และวธิ กี ารทค่ี ณะกรรมการกํากบั ดูแลการประกอบวชิ าชีพบัญชกี าํ หนด

- ๑๐ -

มาตรา ๔๓ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตมีหน้าที่ต้องเข้ารับการฝึกอบรมหรือเข้าร่วมประชุมสัมมนา
ตามหลกั เกณฑ์ และวิธีการทกี่ าํ หนดในขอ้ บงั คบั สภาวิชาชพี บญั ชี

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง สภาวิชาชีพบัญชีจะมีคําสั่งพักใช้ใบอนุญาตของ
ผู้นั้นไวจ้ นกว่าผนู้ น้ั จะได้ปฏิบัตติ ามกไ็ ด้

หมวด ๖
การควบคุมการประกอบวิชาชีพด้านการทาํ บญั ชี

มาตรา ๔๔ หา้ มมิใหผ้ ใู้ ดประกอบวชิ าชพี เปน็ ผ้ทู าํ บญั ชี เว้นแต่เปน็ สมาชกิ สภาวชิ าชีพบัญชีหรอื ขึ้น
ทะเบียนไว้กบั สภาวชิ าชีพบัญชี

หลักเกณฑ์ วิธกี าร และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนตามวรรคหนง่ึ ใหเ้ ปน็ ไปตามขอ้ บงั คับสภาวชิ าชพี บญั ชี

มาตรา ๔๕ ผทู้ าํ บญั ชที ี่จะขนึ้ ทะเบียนกับสภาวชิ าชีพบัญชีต้องมคี ณุ สมบัติและไม่มลี ักษณะต้องห้าม
ดงั ตอ่ ไปนี้

(๑) มีภูมลิ ําเนาหรือถ่ินทอ่ี ยู่ในราชอาณาจกั ร
(๒) มคี วามรูภ้ าษาไทยเพยี งพอที่จะทําบัญชีเป็นภาษาไทยได้
(๓) ไม่เคยต้องคาํ พิพากษาถึงท่ีสุดให้จาํ คุก เนื่องจากกระทาํ ความผิดตามฐานความผิดหรือกฎหมาย

ท่ีกําหนดในมาตรา ๓๙ (๓) เวน้ แต่ต้องคาํ พิพากษาหรอื พน้ โทษมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี
(๔) มีคณุ วฒุ กิ ารศกึ ษาตามท่กี ําหนดในข้อบงั คบั สภาวชิ าชีพบญั ชี
(๕) ไมม่ ีลักษณะต้องหา้ มอืน่ ตามท่กี าํ หนดในข้อบังคบั สภาวิชาชพี บัญชี

หมวด ๗
จรรยาบรรณของผปู้ ระกอบวิชาชพี บัญชี

มาตรา ๔๖ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีหรือผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม
จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี และต้องปฏิบัติหน้าท่ีของตนตามมาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี
หรือมาตรฐานอ่นื ใดท่ีเกี่ยวข้องที่กําหนดตามพระราชบญั ญัตนิ ี้

บุคคลตามวรรคหนึ่งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณหรือมาตรฐานที่กําหนดตามพระราชบัญญัติน้ี ให้ถือ
วา่ ผู้น้นั ประพฤตผิ ิดจรรยาบรรณ

มาตรา ๔๗ ให้สภาวิชาชีพบัญชีจัดทําจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีข้ึนเป็นภาษาไทย และ
อยา่ งน้อยตอ้ งประกอบดว้ ยข้อกาํ หนดในเร่ืองดงั ต่อไปน้ี

(๑) ความโปร่งใส ความเป็นอิสระ ความเทย่ี งธรรม และความซอ่ื สัตยส์ ุจริต
(๒) ความรู้ความสามารถและมาตรฐานในการปฏบิ ัติงาน
(๓) ความรับผิดชอบตอ่ ผ้รู บั บรกิ ารและการรักษาความลับ
(๔) ความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ผู้เป็นหุ้นส่วน หรือบุคคลหรือนิติบุคคลท่ีผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีปฏิบัติ
หนา้ ทีใ่ ห้

- ๑๑ -

มาตรา ๔๘ ข้อความใดในสัญญาจ้างสอบบัญชีที่กําหนดให้มีผลเป็นการจํากัดหรือปฏิเสธความ
รบั ผิดชอบของผสู้ อบบัญชรี ับอนุญาต ข้อความนัน้ เป็นโมฆะ

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจะรายงานผลการสอบบัญชีโดยระบุข้อความใดอันแสดงว่าตนไม่รับผิดชอบในผล
การตรวจสอบ หรอื แสดงความไม่ชัดเจนในผลการตรวจสอบเพราะเหตุที่ตนมิได้ปฏิบัติหน้าท่ีโดยครบถ้วนที่พึงคาดหวังได้
จากผูส้ อบบญั ชรี ับอนญุ าตหรือโดยครบถ้วนตามมาตรฐานการสอบบญั ชีมไิ ด้

การกระทาํ ตามวรรคสองถอื วา่ เป็นการพฤติผิดจรรยาบรรณ

มาตรา ๔๙ โทษการประพฤติผิดจรรยาบรรณ มดี งั ตอ่ ไปนี้
(๑) ตกั เตอื นเป็นหนังสือ
(๒) ภาคทณั ฑ์
(๓) พักใช้ใบอนุญาต พักการขึ้นทะเบียน หรือห้ามการประกอบวิชาชีพบัญชีด้านที่ประพฤติผิด
จรรยาบรรณโดยมกี ําหนดเวลา แต่ไมเ่ กินสามปี
(๔) เพิกถอนใบอนญุ าต เพกิ ถอนการข้นึ ทะเบยี นหรือสั่งให้พ้นจากการเป็นสมาชกิ สภาวิชาชพี บัญชี

มาตรา ๕๐ ให้มีคณะกรรมการจรรยาบรรณ มีจํานวนไม่น้อยกว่าเก้าคนแต่ไม่เกินสิบห้าคน ซึ่งคณะกรรมการ
สภาวิชาชีพบัญชีแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่สภาวิชาชีพบัญชีจากผู้ซึ่งมีความเที่ยงธรรมและมี
ความซื่อสตั ยส์ ุจริตเป็นทีป่ ระจกั ษ์ และมีคุณสมบตั แิ ละไมม่ ลี กั ษณะต้องหา้ ม ดงั ตอ่ ไปน้ี

(๑) เป็นสมาชิกสามัญ
(๒) ประกอบวชิ าชีพบญั ชมี าแลว้ ไมน่ ้อยกว่าระยะเวลาตามทีก่ ําหนดในข้อบงั คับสภาวชิ าชีพบัญชี
(๓) ไมเ่ คยถูกลงโทษฐานประพฤติผิดจรรยาบรรณผปู้ ระกอบวิชาชีพบัญชี
(๔) ไม่ดาํ รงตําแหนง่ นายกสภาวิชาชพี บัญชหี รือเป็นกรรมการหรอื อนุกรรมการอืน่ ตามพระราชบญั ญตั ิน้ี
ในกรณีที่เป็นการสมควรให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานอ่ืนของรัฐและคณะกรรมการจรรยาบรรณได้
วินิจฉัยเร่ืองเกี่ยวกับการประพฤติผิดจรรยาบรรณโดยมีมาตรฐานเดียวกัน ให้คณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีโดยความ
เห็นชอบของที่ประชุมใหญ่สภาวิชาชีพบัญชีขอให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานอ่ืนของรัฐท่ีกฎหมายกําหนดให้มีหน้าที่
ดูแลเร่ืองจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีแต่งต้ังผู้แทนของตนเพ่ือเป็นกรรมการจรรยาบรรณตามวรรคหนึ่งได้
ในกรณีนไ้ี มใ่ หน้ าํ ความในวรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) มาใชบ้ งั คบั
ให้คณะกรรมการจรรยาบรรณเลือกกรรมการจรรยาบรรณด้วยกันคนหนึ่ง เป็นประธานกรรมการ และ
จะใหม้ ผี ดู้ าํ รงตาํ แหน่งอนื่ ตามท่คี ณะกรรมการจรรยาบรรณกําหนดก็ได้

มาตรา ๕๑ ให้กรรมการจรรยาบรรณมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสามปี และอาจได้รับการแต่งต้ัง
อีกได้ แต่จะดาํ รงตาํ แหน่งเกินสองวาระตดิ ตอ่ กนั ไม่ได้

ให้กรรมการจรรยาบรรณซึ่งพ้นจากตําแหน่งตามวาระปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่ากรรมการ
จรรยาบรรณใหมจ่ ะเขา้ รับหน้าท่ี

มาตรา ๕๒ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ ให้กรรมการจรรยาบรรณพ้นจากตาํ แหน่ง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ขาดคุณสมบัตหิ รือมลี กั ษณะตอ้ งหา้ มตามมาตรา ๕๐

- ๑๒ -

(๔) ที่ประชุมใหญ่สภาวชิ าชพี บัญชมี ีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียงไม่นอ้ ยกวา่ สองในสามของจํานวนสมาชิก
สามัญทีม่ าประชมุ แต่ตอ้ งไม่นอ้ ยกวา่ สองรอ้ ยคะแนนเสยี ง

ในกรณีที่ตําแหน่งว่างลงก่อนครบวาระ ให้คณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีแต่งตั้งกรรมการจรรยาบรรณ
แทนตําแหน่งที่ว่างไปพลางก่อน และให้กรรมการจรรยาบรรณซึ่งได้รับแต่งตั้งปฏิบัติหน้าที่ได้จนถึงการประชุมใหญ่
คราวต่อไป

มาตรา ๕๓ เมื่อมีผู้กล่าวหาหรือปรากฏต่อคณะกรรมการจรรยาบรรณว่าผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีหรือ
ผซู้ ึง่ ขน้ึ ทะเบยี นไวก้ ับสภาวชิ าชพี บญั ชีผ้ใู ดประพฤติผดิ จรรยาบรรณ ใหค้ ณะกรรมการจรรยาบรรณดําเนินการสอบสวน
พิจารณาโดยเร็ว

สิทธิการกล่าวหาตามวรรคหนึ่ง สิ้นสุดลงเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ได้รับความเสียหายหรือผู้กล่าวหา
รู้เรื่องการประพฤติผิดจรรยาบรรณและรู้ตัวผู้ประพฤติผิดจรรยาบรรณ ทั้งน้ี ไม่เกินสามปีนับแต่วันท่ีมีการประพฤติผิด
จรรยาบรรณน้นั

การยื่นคาํ กล่าวหา การสอบสวน และการพิจารณาเรื่องจรรยาบรรณใหเ้ ปน็ ไปตามทกี่ าํ หนดในข้อบงั คบั สภา
วิชาชพี บัญชี

ในการดําเนินการสอบสวนของคณะกรรมการจรรยาบรรณ คณะกรรมการจรรยาบรรณจะแต่งตั้ง
คณะอนุกรรมการเพ่ือดําเนินการแทนก็ได้ โดยประกอบด้วยกรรมการจรรยาบรรณอย่างน้อยหน่ึงคนและอนุกรรมการอ่ืนซ่ึง
คณะกรรมการจรรยาบรรณแตง่ ตัง้ จากผ้ซู ึง่ มคี ุณสมบัติและไมม่ ีลักษณะตอ้ งห้ามตามมาตรา ๕๐ (๑) (๓) และ (๔) ตาม
จํานวนทเ่ี หน็ สมควร

คณะกรรมการจรรยาบรรณและคณะอนุกรรมการมีอํานาจเรียกบุคคลท่ีเกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคําหรือช้ีแจง
ข้อเท็จจริงหรือทําคําชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งบัญชี ทะเบียน เอกสาร หรือหลักฐานใด เพื่อตรวจสอบหรือประกอบ
การพิจารณา เพอ่ื ประโยชน์แกก่ ารสอบสวนกไ็ ด้

เมื่อคณะอนุกรรมการทําการสอบสวนเสร็จแล้ว ให้เสนอเรื่องพร้อมทั้งความเห็นต่อคณะกรรมการ
จรรยาบรรณเพ่ือพิจารณา

การถอนเรื่องการกล่าวหาที่ได้ยื่นหรือแจ้งไว้แล้วนั้น ไม่เป็นเหตุให้ระงับการดําเนินการตาม
พระราชบญั ญตั นิ ี้

มาตรา ๕๔ เม่ือคณะกรรมการจรรยาบรรณพิจารณาจากผลการสอบสวนแล้วมีมติว่าผู้ใดประพฤติผิด
จรรยาบรรณ ใหม้ ีคาํ ส่งั ลงโทษผูน้ ั้นตามมาตรา ๔๙

ในกรณีที่คณะกรรมการจรรยาบรรณมีมติว่าผู้ถูกกล่าวหามิได้ประพฤติผิดจรรยาบรรณให้สั่ง
ยกคํากลา่ วหา

การออกคําสั่งลงโทษตามวรรคหนึ่งหรือการออกคําสั่งยกคํากล่าวหาตามวรรคสอง ให้แจ้งคําสั่ง
ให้ผ้กู ล่าวหาและผู้ถกู กลา่ วหาทราบเป็นหนงั สอื โดยเรว็

มาตรา ๕๕ ผู้กล่าวหาหรือผู้ซ่ึงถูกคณะกรรมการจรรยาบรรณสั่งลงโทษมีสิทธิอุทธรณ์คําส่ังตามมาตรา
๕๔ ต่อคณะกรรมการกํากับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันท่ีได้รับคําสั่ง ตามหลักเกณฑ์
และวิธีการท่ีคณะกรรมการกาํ กับดูแลการประกอบวชิ าชพี บญั ชกี าํ หนด

คาํ วนิ ิจฉยั ของคณะกรรมการกํากับดูแลการประกอบวิชาชพี บัญชใี ห้เปน็ ทีส่ ดุ

- ๑๓ -

การอุทธรณ์คําสั่งไม่เป็นการทุเลาการปฏิบัติตามคําสั่งลงโทษ เว้นแต่คณะกรรมการกํากับดูแล
การประกอบวชิ าชพี บัญชีจะส่งั เป็นอย่างอืน่

มาตรา ๕๖ ในการปฏิบัติหน้าท่ีตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการจรรยาบรรณและอนุกรรมการ
จรรยาบรรณท่คี ณะกรรมการจรรยาบรรณแตง่ ตงั้ เปน็ เจา้ พนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา ๕๗ กรรมการจรรยาบรรณหรอื อนกุ รรมการจรรยาบรรณผู้ใดมีส่วนได้เสียเป็นการส่วนตัวในเร่ืองที่
ปรึกษาหารือเรือ่ งหนงึ่ เรอ่ื งใด หา้ มมใิ ห้เข้ารว่ มพิจารณา ปรึกษาหารอื หรอื ลงคะแนนเสยี งในเรอื่ งน้นั

มาตรา ๕๘ ให้นําความในมาตรา ๒๖ มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะกรรมการจรรยาบรรณและ
คณะอนุกรรมการจรรยาบรรณโดยอนุโลม

หมวด ๘
การกาํ กบั ดูแล

มาตรา ๕๙ ใหม้ คี ณะกรรมการกาํ กบั ดแู ลการประกอบวิชาชพี บัญชี ประกอบดว้ ย
(๑) ปลดั ประทรวงพาณชิ ย์เป็นประธานกรรมการ
(๒) กรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ อธิบดีกรมการประกันภัย อธิบดีกรมสรรพากร ผู้ว่าการตรวจเงิน
แผ่นดิน ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
นายกสภาวิชาชีพบัญชี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานสมาคมธนาคารไทย และประธาน
กรรมการหอการค้าไทย
(๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับวิชาการบัญชี
สองคน และผู้ทรงคุณวุฒทิ างดา้ นกฎหมายหน่งึ คน
ให้อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่กรมพัฒนา
ธุรกิจการค้าเป็นผชู้ ว่ ยเลขานุการตามความจาํ เปน็
ให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าทําหน้าที่ธุรการและสนับสนุนการดําเนินงานของคณะกรรมการกํากับดูแล
การประกอบวิชาชพี บัญชี ตามทคี่ ณะกรรมการกาํ กับดแู ลการประกอบวชิ าชพี บัญชมี อบหมาย
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม (๓) มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละสามปี และอาจได้รับการแต่งตั้ง
อกี ได้ แตจ่ ะดาํ รงตาํ แหนง่ เกนิ สองวาระตดิ ต่อกนั ไม่ได้

มาตรา ๖๐ ให้คณะกรรมการกํากบั ดูแลการประกอบวชิ าชีพบญั ชีมอี าํ นาจหนา้ ท่ี ดังตอ่ ไปน้ี
(๑) กํากับดูแลการดําเนินกิจการของสภาวิชาชีพบัญชีให้เป็นไปตามกฎหมายและสอดคล้องกับ
วตั ถุประสงค์ของสภาวิชาชีพบัญชี
(๒) เสนอแนะให้มกี ารตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๙
(๓) ให้ความเห็นชอบข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชีตามมาตรา ๓๐ วรรคสอง และมาตรฐานการบัญชี
ตามมาตรา ๓๔ วรรคสาม
(๔) พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามมาตรา ๔๒ วรรคสอง
(๕) พิจารณาอุทธรณ์ของผู้กล่าวหาหรือผู้ซึ่งถูกคณะกรรมการจรรยาบรรณส่ังลงโทษตามมาตรา ๕๕
วรรคหนึ่ง

- ๑๔ -

(๖) แต่งต้ังคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการกํากับดูแล
การประกอบวิชาชพี บญั ชี

มาตรา ๖๑ ในการดําเนินการของคณะกรรมการกํากับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชีตามมาตรา ๖๐ (๑)
ให้คณะกรรมการกาํ กับดแู ลการประกอบวิชาชพี บัญชมี ีอาํ นาจดงั ต่อไปน้ีดว้ ย

(๑) สอบสวนข้อเท็จจรงิ เกี่ยวกบั การดําเนินงานของสภาวชิ าชีพบัญชี
(๒) สั่งเป็นหนังสือให้สมาชิก กรรมการ หรืออนุกรรมการอื่นใดของสภาวิชาชีพบัญชีหรือบุคคลใดช้ีแจง
ข้อเท็จจริงเกยี่ วกบั กิจการของสภาวิชาชีพบัญชี
(๓) สั่งเป็นหนังสือให้สภาวิชาชีพบัญชี คณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ระงับ
แกไ้ ข หรอื วางมาตรการแกไ้ ขการกระทาํ อนั เปน็ การขดั ต่อกฎหมาย วตั ถปุ ระสงค์ หรือขอ้ บงั คับสภาวชิ าชพี บัญชี

มาตรา ๖๒ ให้นําความในมาตรา ๒๖ มาใช้บังคับกับการประชุมคณะกรรมการกํากับดูแลการประกอบ
วิชาชีพบัญชี และคณะอนกุ รรมการ ซึ่งคณะกรรมการกํากบั ดูแลการประกอบวชิ าชีพบัญชแี ต่งตงั้ โดยอนุโลม

มาตรา ๖๓ เมื่อปรากฏว่านายกสภาวิชาชีพบัญชี กรรมการ หรืออนุกรรมการตามพระราชบัญญัติน้ีผู้ใด
ไม่ปฏิบัติตามคําส่ังของคณะกรรมการกํากับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี หรือกระทําการอันเป็นการเสื่อมเสียอย่าง
ร้ายแรงแก่สภาวิชาชีพบัญชี ให้คณะกรรมการกํากับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชีทําการสอบสวนโดยเร็ว และเสนอ
ผลการพิจารณาเพือ่ ใหร้ ัฐมนตรีมคี ําสง่ั ใหน้ ายกสภาวิชาชพี บญั ชี กรรมการ หรอื อนกุ รรมการผู้นนั้ พ้นจากตําแหน่ง

คําสง่ั ของรฐั มนตรีให้เป็นท่ีสุด
ในกรณีท่ีกรรมการโดยตาํ แหน่งตามมาตรา ๒๒ (๒) ผู้ใดถูกส่ังให้พ้นจากตําแหน่งตามวรรคหนึ่ง
ใหก้ รรมการผู้นัน้ พ้นจากตาํ แหน่งตามมาตรา ๒๒ (๒) ดว้ ย

มาตรา ๖๔ ในกรณีที่รัฐมนตรีมีคําส่ังตามมาตรา ๖๓ อันเป็นผลให้จํานวนกรรมการของคณะกรรมการ
สภาวิชาชีพบัญชีเหลือไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการที่พึงมี ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งสมาชิกสามัญเท่าจํานวน
กรรมการที่จะมีได้ตามมาตรา ๒๒ เป็นกรรมการชั่วคราวแทนกรรมการที่พ้นจากตําแหน่งในวันเดียวกันกับวันท่ี
รัฐมนตรีมีคําสั่งให้กรรมการพ้นจากตําแหน่ง

ใหม้ ีการเลอื กต้ังหรอื แตง่ ตัง้ กรรมการใหม่ตามมาตรา ๒๒ ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรี
มีคําส่ังแต่งตงั้ กรรมการชัว่ คราว เวน้ แตม่ วี าระเหลืออยู่ไม่ถึงหน่ึงร้อยแปดสิบวัน รัฐมนตรีจะส่ังให้ไม่มีการเลือกต้ังก็ได้ และ
ใหผ้ ้ซู ่ึงไดร้ บั เลอื กตงั้ หรือแต่งต้ังเป็นกรรมการแทนอยู่ในตาํ แหน่งเพียงเทา่ วาระท่ีเหลืออยขู่ องผูซ้ ึ่งตนแทน

ใหก้ รรมการชั่วคราวซง่ึ รัฐมนตรีแต่งต้ังพน้ จากตาํ แหนง่ เมื่อกรรมการใหม่เขา้ รบั หนา้ ทแี่ ล้ว

หมวด ๙
บทกําหนดโทษ

มาตรา ๖๕ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๐ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหม่ืนบาท หรือ
ท้ังจาํ ทัง้ ปรบั

มาตรา ๖๖ นติ ิบคุ คลใดฝ่าฝืนหรอื ไม่ปฏบิ ัตติ ามมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาทและ
ปรบั อกี ไมเ่ กนิ วนั ละหนง่ึ หม่นื บาทจนกวา่ จะได้ปฏิบตั ใิ ห้ถกู ต้อง

- ๑๕ -

มาตรา ๖๗ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๗ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือ
ท้ังจําทัง้ ปรบั

มาตรา ๖๘ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตผู้ใดถูกส่ังพักใช้ใบอนุญาตตามมาตรา ๔๓ ทําการสอบบัญชี
ในระหวา่ งนน้ั ต้องระวางโทษจาํ คุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมนื่ บาท หรอื ท้งั จาํ ทั้งปรบั

มาตรา ๖๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๔ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือ
ทั้งจาํ ทง้ั ปรับ

มาตรา ๗๐ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีหรือผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชีผู้ใดถูกลงโทษประพฤติผิด
จรรยาบรรณตามมาตรา ๔๙ (๓) หรือ (๔) ทําการประกอบวิชาชีพบัญชีในระหว่างนั้น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน
สามปี หรือปรับไม่เกนิ หกหมน่ื บาท หรอื ทัง้ จําท้ังปรับ

มาตรา ๗๑ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการจรรยาบรรณตามมาตรา ๕๓ วรรคห้า หรือคําสั่ง
ของคณะกรรมการกํากับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชีตามมาตรา ๖๑ (๒) หรือ (๓) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน
หน่งึ เดือน หรอื ปรับไมเ่ กินหน่งึ พันบาท หรือทงั้ จําทั้งปรบั

มาตรา ๗๒๑ ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทําความผิดของนิติบุคคลนั้น
เกิดจากการสั่งการหรือการกระทาํ ของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดาํ เนินงานของ
นิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทําการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทําการ
จนเป็นเหตุใหน้ ติ ิบุคคลนน้ั กระทําความผิด ผ้นู ้นั ตอ้ งรบั โทษตามท่ีบัญญัติไวส้ าํ หรับความผิดน้ัน ๆ ด้วย

บทเฉพาะกาล

มาตรา ๗๓ ให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ. ๒๕๐๕ ในวันก่อนวันที่
พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตจะสิ้นอายุหรือ
ถูกเพิกถอนตามพระราชบัญญตั ินี้

มาตรา ๗๔ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย
ทําหน้าที่คณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีจนกว่าคณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้จะเข้ารับ
หน้าท่ี และให้ถือว่านายกสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยเป็นนายกสภาวิชาชีพบัญชี
จนกว่าจะมีการเลือกตั้งนายกสภาวิชาชีพบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ แต่ต้องไม่เกินหน่ึงร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่
พระราชบญั ญัตนิ ้ใี ชบ้ งั คับ

มาตรา ๗๕ ในระหว่างที่สภาวิชาชีพบัญชียังมีสมาชิกไม่ถึงห้าร้อยคน ให้คณะกรรมการกํากับดูแล
การประกอบวชิ าชพี บัญชีทําหนา้ ท่สี ภาวิชาชพี บญั ชีเพอ่ื อนุมัตหิ รอื ใหค้ วามเห็นชอบขอ้ บงั คบั ของสภาวิชาชพี บัญชี

                                                           

๑ แกไ้ ขเพ่ิมเติมโดยพระราชบัญญัตแิ ก้ไขเพ่มิ เติมบทบัญญัตแิ ห่งกฎหมายทเ่ี ก่ียวกับความรับผิดในทางอาญาของผแู้ ทนนติ ิบุคคล พ.ศ.
๒๕๖๐

- ๑๖ -

มาตรา ๗๖ ให้บรรดากฎกระทรวง ข้อบังคับ หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี
พ.ศ. ๒๕๐๕ มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีกฎกระทรวง ข้อบังคับ หรือประกาศตามพระราชบัญญัตินี้ในเร่ืองเดียวกัน
ออกใช้บังคบั

ในกรณที ี่มีปญั หาไม่อาจปฏิบตั ิตามกฎกระทรวง ข้อบังคับ หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติผู้สอบ
บญั ชี พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้ในเร่อื งใด ให้คณะกรรมการกํากับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชีกําหนดวิธีปฏิบัติหรือยกเว้นการ
ปฏิบัตใิ นเร่อื งนนั้ ขึน้ เป็นการเฉพาะหรอื เปน็ การทั่วไปได้

มาตรา ๗๗ ในวาระเรมิ่ แรกทย่ี ังมไิ ด้มีการกําหนดมาตรฐานการบัญชตี ามพระราชบัญญตั ินี้ คณะกรรมการกํากับ
ดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชีจะกําหนดให้ใช้มาตรฐานการบัญชีที่สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่ง
ประเทศไทยได้กําหนดข้ึนและใช้กันแพร่หลายอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นมาตรฐานการบัญชีตาม
พระราชบัญญัติน้ีไปพลางก่อนก็ได้

มาตรา ๗๘ นิติบุคคลใดให้บริการการสอบบัญชีหรือการทําบัญชีอยู่แล้วก่อนวันท่ีพระราชบัญญัตินี้ใช้
บังคับ ให้ยื่นขอจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชีภายในหนึ่งปีนับแต่วันท่ีพระราชบัญญัติน้ีใช้บังคับตามเงื่อนไข
ดงั ตอ่ ไปนี้

(๑) นิติบุคคลนั้นต้องจัดให้มีหลักประกันตามมาตรา ๑๑ (๑) ให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาตามท่ี
กาํ หนดในกฎกระทรวงซง่ึ ต้องไมเ่ กินกวา่ สามปี

(๒) ดําเนินการให้ถูกต้องตามมาตรา ๑๑ (๒) ให้ครบถ้วนภายในสามปีนับแต่วันท่ีพระราชบัญญัติน้ีใช้
บงั คบั

ผรู้ ับสนองพระบรมราชโองการ
พนั ตํารวจโท ทกั ษณิ ชินวตั ร

นายกรฐั มนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เน่ืองจากในปัจจุบันน้ีการประกอบวิชาชีพบัญชีได้
ขยายครอบคลุมออกไปหลายด้านไม่ว่าการทําบัญชี การสอบบัญชี การบัญชีบริหาร การวางระบบบัญชี การบัญชีภาษี
อากร การศกึ ษาและเทคโนโลยีการบญั ชี หรือบรกิ ารดา้ นอ่นื ซึ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับกิจกรรมในทางธุรกิจต่าง ๆ
อย่างกว้างขวาง สมควรส่งเสริมให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีอยู่ภายใต้การดูแลของสภาวิชาชีพบัญชีเดียวกันเพื่อเป็นศูนย์
รวมและส่งเสริมความเป็นปึกแผ่น รวมท้ังให้ความรู้และพัฒนาส่งเสริมมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ เพื่อให้ผู้ประกอบ
วิชาชีพมีคุณภาพและมาตรฐานและมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ ตลอดจนเพ่ือให้มีการควบคุมจรรยาบรรณการประกอบ
วชิ าชพี จงึ จําเปน็ ตอ้ งตราพระราชบัญญัตนิ ี้


Click to View FlipBook Version