โครงงาน เรื่อง สบู่กากชาเขียวดอกอัญชัน ผู้จัดทำโครงงาน นางสาวภิญญาพัชญ์ อ้วนคำ เลขที่ 19ก นางสาวเขมนิจ คมขำ เลขที่ 12ข นางสาวธนพร เสมอบุตร เลขที่ 16ข นางสาวพัฒน์ณิชา ปราชพิพัฒน์ เลขที่ 17ข ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5 เสนอ อาจารย์นฤมล คำนนท์ โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์ ว30298 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย
โครงงาน เรื่อง สบู่กากชาเขียวดอกอัญชัน ผู้จัดทำโครงงาน 1. นางสาวภิญญาพัชญ์ อ้วนคำ เลขที่19ก 2. นางสาวเขมนิจ คมขำ เลขที่12ข 3. นางสาวธนพร เสมอบุตร เลขที่16ข 4. นางสาวพัฒน์ณิชา ปราชพิพัฒน์ เลขที่17ข ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5 เสนอ อาจารย์นฤมล คำนนท์ โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์ ว30298 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย
หัวข้อเรื่อง : สบู่กากชาเขียวดอกอัญชัน ชื่อผู้จัดทำ : นางสาวภิญญาพัชญ์ อ้วนคำ นางสาวเขมนิจ คมขำ นางสาวธนพร เสมอบุตร นางสาวพัฒน์ณิชา ปราชพิพัฒน์ ที่ปรึกษา : อาจารย์นฤมล คำนนท์ ปีการศึกษา 2566 บทคัดย่อ โครงงานสบู่กากชาเขียวอัญชัน จัดทำขึ้นเพื่อช่วยลดปริมาณกากชาเขียวที่ไม่ สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้อีก นอกจากจะทิ้งให้เสียเปล่า ผู้จัดทำจึงเล็งเห็น ว่ากากชาเขียวมีสรรพคุณมากและสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ และดอกอัญชัน ที่เป็นสมุนไพรพื้นบ้านผู้จัดทำจึงเล็งเห็นคุณค่าของดอกอัญชันและเพิ่มมูลค่าให้กับดอก อัญชัน ผู้จัดทำจึงได้นำมารวมกับสบู่ที่มีสารตั้งต้นเป็นเบสกลีเซอรีนไว้ใช้ในการผลิตสบู่ ซึ่งกากชาเขียวมีสารแอนติออกซิแดนท์สูง หรือสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยลดการเกิดริ้ว รอย ป้องกัน การแก่เร็ว มีสารแทนนิน ที่ช่วยลดอาการอักเสบ และยังมีสรรพคุณในการ ดูดซับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆอีก ด้วย ทั้งนี้ผู้จัดทำยังสนใจในสรรพคุณของดอก อัญชันมีคุณสมบัติที่เด่นที่สุดอย่างสารแอนโธไซยานิน ซึ่งประสิทธิภาพในการต้าน อนุมูลอิสระ ช่วยในการสร้างคอลลาเจนในชั้นผิวหนัง ช่วยเรื่องความแห้งกร้านของผิว ช่วยลดกระบวนการสร้างเม็ดสีที่ผิดปกติบนผิว โดยการลดการทำงานของเอมไซม์ที่ ทำให้ผิวแก่ก่อนวัยให้ลดน้อยลง
คำนำ การทำโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง สบู่กากชาเขียวดอกอัญชัน นี้จัดทำขึ้นเพื่อแสดง ให้เห็นคุณค่าของกากชาเขียวและดอกอัญชันที่มีประโยชน์มากมายหลายอย่างโดย โครงงานจะบอกถึงประโยชน์ วิธีการทำสบู่กากชาเขียวดอกอัญชัน โดยทำเป็น ผลิตภัณฑ์ หากมีข้อผิดพลาดประการใดก็ขออภัย ณ ที่นี้และยินดีรับคำแนะนำ คำติชม เพื่อ ปรับปรุงโครงงานให้สำเร็จสมบูรณ์ คณะผู้จัดทำ
กิตติกรรมประกาศ โครงงานสามารถบรรลุ สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก ผู้ปกครอง อาจารย์ และเพื่อนๆผู้จัดทำ ขอขอบคุณความกรุณาจากอาจารย์นฤมล คำนนท์ อาจราย์ที่ปรึกษา โครงงานที่ให้ความช่วยเหลือ แแนะนำในการศึกษาโครงงาน ขอขอบพระคุณ คุณพ่อ คุณแม่ ของคณะผู้จัดทำและอาจารย์ที่ช่วยในการหาวัสดุ อุปกรณ์ ในการทำสบู่กากชา เขียวดอกอัญชันครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีจึงขอกราบพระคุณเป็นอย่างสูง คณะผู้จัดทำ
สารบัญ เรื่อง หน้า บทที่ 1 บทนำ 1 - ที่มาและความสำคัญ 1 - วัตถุประสงค์ในการศึกษาโครงงาน 1 - ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า 1 - ตัวแปรการศึกษา 1 - สมมติฐานการศึกษาค้นคว้า 2 - ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน 2 - นิยามคำศัพท์เฉพาะ 2 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 3 - เบสกลีเซอรีน 4 - กากชาเขียว 6 - ดอกอัญชัน 8 - น้ำมันหอมระเหย 10 - วิตามินอี 11 - น้ำมันมะพร้าว 12 - งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 13 บทที่ 3 อุปกรณ์และวิธีการดำเนินงาน 14 - สถานที่ทำการ 14 - วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา 14 - วิธีการศึกษาการทดลอง 14 - 15
บทที่ 1 1 บทนำ ที่มาและความสำคัญ ผู้จัดทำได้ตระหนักถึงปัญหากากชาเขียวที่เหลือทิ้งจำนวนมากหลังจากการชงเครื่องดื่ม ผู้ จัดทำจึงเล็งเห็นว่ากากชาเขียวนั้นมีสารแอนติออกซิแดนท์สูง หรือสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วย ลดการเกิดริ้วรอย ป้องกันการแก่เร็ว มีสารแทนนิน ที่ช่วยลดอาการอักเสบ และยังมีสรรพคุณ ในการดูดซับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆอีกด้วย ทั้งนี้ผู้จัดทำยังสนใจในสรรพคุณของดอกอัญชัน มีคุณสมบัติที่เด่นที่สุดอย่าง สารแอนโธไซยานิน ซึ่งประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วย ในการสร้างคอลลาเจนในชั้นผิวหนัง ช่วยเรื่องความแห้งกร้านของผิวช่วยลดกระบวนการสร้าง เม็ดสีที่ผิดปกติบนผิว โดยการลดการทำงานของเอมไซม์ที่ทำให้ผิวแก่ก่อนวัยให้ลดน้อยลง และอัญชันยังเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่หาได้ง่าย ผู้จัดทำจึงได้จัดทำโครงงานสบู่กากชาเขียว อัญชันขึ้น เพื่อลดประมาณขยะเหลือทิ้ง และเพื่มมูลค่าให้กับสมุนไพรพื้นบ้าน 1. วัตถุประสงค์ในการศึกษาโครงงาน - เพื่อศึกษาการทำสบู่จากพืชสมุนไพร และของที่ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ให้เกิดคุณค่ามาก ที่สุด - เพื่อลดประมาณขยะกากชาเขียว - เพื่อนนำไปต่อยอดค้าขายสร้างอาชีพให้ชุมชน - เพื่อลดรายจ่ายในการซื้อสบู่ตามท้องตลาด 2. ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า การศึกษาการทำสบู่กากชาเขียวดอกอัญชันในครั้งนี้ ศึกษาเฉพาะการนำอัญชันสมุนไพร พื้นบ้านที่มีประโยชน์และสรรพคุณมากมาย และยังสามารถลดปริมาณขยะกากชาเขียวที่เหลือ ทิ้งมาเพิ่มมูลค่า กำหนดเวลาที่ใช้ในการศึกษา คือ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี 3. ตัวแปรการศึกษา ตัวแปรต้น : กากชาเขียว กลีเซอรีน ดอกอัญชัน กลิ่นมะลิสังเคราะห์ น้ำเปล่า น้ำมันมะพร้าว วิตามินอี ตัวแปรตาม : สบู่สมุนไพรจากกากชาเขียวดอกอัญชัน ตัวแปรควบคุม : ปริมาณกากชาเขียว ชนิดของชาเขียว ปริมาณกลีเซอรีน ปริมาณน้ อัญชัน ปริมาณของกลิ่นมะลิสังเคราะห์ ปริมาณร้ำมันมะพร้าว ปริมาณวิตามินอี
4. สมมติฐานการศึกษาค้นคว้า 2 ถ้าเราทำสบู่กากชาเขียวดอกอัญชันได้สำเร็จ ก็จะทำให้ดอกอัญชัน และกากชาเขียว นั้นมีมูลค่าที่มากขึ้น ลดขยะในชุมชน และเพิ่มอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการตัดสินใจ 5. ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน - ได้ศึกษาเรียนรู้วิธีการทำสบู่ - ได้ความรู้สรรพคุณเกี่ยวกับดอกอัญชัน - ลดขยะเหลือทิ้งจากกากชาเขียว - ได้เพิ่มมูลค่าให้กับสมุนไพรพื้นบ้าน - ได้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด 6. นิยามคำศัพท์เฉพาะ 1. กลิ่นสังเคราะห์ หมายถึง กลิ่นที่สกัดโดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 2. ผลิตภัณฑ์ หมายถึง สิ่งที่นำเสนอเพื่อตอบสนองข้อสงสัย และความต้องการ
บทที่ 2 3 ทบทวนเอกสาร และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การจัดทำโครงงานสบู่ล้างมือกากชาเขียว ( Green Tea Soap) และสบู่ล้างมือจากดอก อัญชันในครั้งนี้เพื่อนำกากชาเขียวที่เป็นขยะมา ทำให้เกิดประโยชน์และนำสมุนไพรมาเพิ่ม มูลค่า ผู้จัดทำได้ทำการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทความวิชาการ โดยมีการนำเสนอเป็นลำดับ ดังนี้ 2.1 เบสกลีเซอรีน 2.2 กากชาเขียว 2.3 ดอกอัญชัน 2.4 น้ำมันหอมระเหย 2.5 วิตามินอี 2.6 น้ำมันมะพร้าว 2.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 เบสกลีเซอรีน 4 รูปที่2.1เบสกลีเซอรีน ที่มา :https://www.siamsoap.net กลีเซอรีน เป็นของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีความหนืด และมีรสหวาน โดยปกติมาจาก น้ำมัน ของพืช ซึ่งโดยทั่วไปคือ น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม กลีเซอรีนสามารถละลายได้ดี ในแอลกอฮอล์และ น้ แต่ไม่ละลายในไขมัน ด้วยคุณสมบัติที่สามารถละลายในแอลกอฮอล์ และน้ำได้ จึงนำไปใช้ประโยชน์ อย่างกว้างขวาง ซึ่งกลีเซอรีนบริสุทธิ์สามารถนำไปประยุกต์ ใช้ได้ในหลายรูปแบบ เช่น ใช้เป็นส่วนผสม หรือเป็นตัวช่วยใน กระบวนการผลิตเครื่องส อางค์ ผลิตภัณฑ์ในห้องน้ำและสุขอนามัยส่วนบุคคล อาหาร ยาสีฟัน ยาสระผม และนิยมใช้ใน อุตสาหกรรมสบู่ เพราะกลีเซอรีนเป็นส่วนช่วยหล่อลื่นเหมือนมอยซ์เจอร์ไรเซอร์เพื่อปกป้องผิว ไม่ให้แห้งและทำให้รู้สึกว่าผิวมีความชุ่มชื้น อ่อนโยนต่อผิว ไม่ทำให้อุดตันรูขุมขน รวมทั้ง ปลอดภัยต่อผิวหนังการที่กลีเซอรีนเป็นสารที่ไม่มีพิษในทุกๆรูปแบบของการประยุกต์ใช้ ไม่ว่า จะ ใช้เป็นสารตั้งต้นหรือสารเติมแต่ง ทำให้กลีเซอรีนเป็นสารเคมีที่ได้รับความสนใจและนำไป ใช้ประโยชน์ ทางการแพทย์ด้วยการทำยาเหน็บทวาร ใช้เป็นยาระบาย และยังสามารถใช้เป็น ยาเฉพาะที่สำหรับปัญหา ทางผิวหนังหลายชนิด รวมถึงโรคผิวหนัง ผื่น แผลไฟลวก แผลกดทับ และบาดแผลจากของมีคม กลีเซอรีน ถูกใช้เพื่อรักษาโรคเหงือกได้ด้วย เนื่องจากกลีเซอรีน สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เกี่ยวข้องได้กลีเซอรีน ถูก ใช้งานอย่างกว้างขวางเป็น สารละลาย(Solvent) สารเพิ่มความหวาน(Sweetener) เครื่องสำอาง(Cosmetics and Personal Care Products) สบู่เหลว (Liquid Soaps) ลูกอม(Candy) สุรา(Liqueurs) หมึก (Inks) และสาร หล่อลื่น(Lubricants) เพื่อให้ยืดหยุ่น (Pliable) สารป้องกันการแข็งตัว (Antifreeze Mixtures) เป็นส่วนผสม อาหาร (Food and Beverage Ingredients ) อาหาร สัตว์ (Animal feed) สารปฏิชีวนะ (Antibiotics) ยา (Pharmaceuticals) สารให้ความชุ่มชื้น (Moisturizers) น้ำมันไฮดรอลิกส์ (Hydraulic Fluids) และสารตั้งต้น ทางปีโตรเคมี ต่างๆ(Polyether Polyols, Propylene Glycol, Epichlorohydrin และอื่นๆ)
2.1.2 ประโยชน์ของเบสกลีเซอรีน 5 1. ใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมต่างๆ เนื่องจากสามารถละลายได้ดีในน้ และ แอลกอฮอล์ 2. สำหรับอุตสาหกรรมเคมีใช้สำหรับเป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารประกอบโพลิออล (Polyol) สําหรับผลิตโฟม 3. กลีเซอรีน กลีเซอรอล ที่มีความเข้มข้นมากกว่าร้อยละ 55 จะมีรสหวานสามารถใช้เป็นสาร ทดแทน น้ำตาลได้ 4. กลีเซอรีน กลีเซอรอล ที่เป็นสารจำพวก Hydroscopic มีคุณสมบัติดูดซับความชื้นใน บรรยากาศได้ ดี จึงนิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความนุ่ม ความ ยืดหยุ่น และเป็นครีม เช่น อุตสาหกรรมพลาสติกเพื่อให้มีความอ่อนตัว และยืดหยุ่นได้ดี 5. ใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เพื่อทำหน้าที่เป็น Thickening Agent หรือ Bodying Agent เพราะ สามารถให้ความหนืดได้ดี 6. ใช้เป็นส่วนผสมสำหรับผลิตภัณฑ์เพื่อรักษาความชุ่มชื้น เช่น น้ำยาบ้วนปาก ยาสีฟัน สบู่ เป็นต้น 7. ใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ยา อาหาร และเครื่องดื่ม เช่น เป็นสารทดแทนน้ำตาล เป็นต้น 8. โมโนกลีเซอไรด์ใช้เป็นสารอิมัลชั่น และสารเพิ่มความคงตัว 9. ใช้ฉีดพ่นหรือเคลือบผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเพื่อรักษาความสด ป้องกันการระเหยของน้ เช่น ใช้ พ่นใบยาสูบ 10. ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับเป็นสารอิมัลชันในผลิตภัณฑ์ครีม และ เป็นสาร ที่ทำหน้ารักษาความชุ่มชื้นทั้งในส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ และแก่ผิว
2.2 ชาเขียว 6 รูปที่2.2 ชาเขียว ที่มาhttps://medthai.com ชาเขียว (Green Tea) คือ ชาที่ได้มาจากต้นชา ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia Sinensis ซึ่ง ชาชนิดนี้ จะไม่ผ่านขั้นตอนการหมักเลย เตรียมได้โดยการนำใบชาสดมาผ่านความร้อนเพื่อ ทำให้ใบชาแห้งอย่างรวดเร็ว ซึ่งวิธีการก็คือเมื่อเก็บใบชามาแล้วก็นำมาทำให้แห้งอย่าง รวดเร็วในหม้อทองแดงโดยใช้ความร้อนไม่สูงเกินไป และใช้มือคลึงเบา ๆ ก่อนแห้ง หรืออบ ไอน้ำในระยะเวลาสั้น ๆ แล้วนำไปอบแห้งเพื่อยับยั้งการทำงานเอนไซม์ (ความร้อนจะช่วย ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ทำให้ไม่เกิดการสลายตัว) จึงได้ใบชาที่แห้งแต่ยังสดอยู่ และมีสี ที่ ค่อนข้างเขียว จึงเรียกกันว่า “ชาเขียว” และการที่ใบชาที่ได้นั้นไม่ผ่านขั้นตอนการหมัก จึง ทำให้ใบชามี สารประกอบฟีนอล (Phenolic Compound) หลงเหลืออยู่มากกว่าในอู่หลงและ ชาด (สองชนิดนี้คือชาที่ผ่านการ หมัก) จึงทำให้ชาเขียวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาทั้ง สอง โดยชาเขียวจะมีสาร EGCG ประมาณ 35-50% ส่วนชาอู่หลงมีประมาณ 8-20% และชา ดำจะมี EGCG อยู่เพียง 10% ชาเขียวที่มีคุณภาพจะได้จากใบชาคู่ที่หนึ่งและใบชาคู่ที่สองที่เก็บจากยอด (ชาวจีน เรียกว่า “ปู่อี๋”) ส่วนใบชาคู่ที่สามและสี่จากยอดจะให้ชาชั้นสอง (ชาวจีนเรียกว่า “อันเคย”) ส่วนใบชาคู่ที่ห้าและหกจากปลาย ยอดจะเป็นชาชั้นเลว (ชาวจีนเรียกว่า “ก้อง”) สำหรับสี กลิ่น และรสชาติของชานั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณของสารคาเทชินที่มีอยู่ในชา โดยฤดูการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว จะมีผลต่อระดับของสารคาเทชิน ซึ่งในใบชาฤดู ใบไม้ผลิจะมีสารคาเทชิน ประมาณ 12-13% ในขณะที่ชาในฤดูร้อนจะมีสารคาเทชินประมาณ 13-14% ใบชา อ่อนจะมี สารคาเทชินมากกว่าใบชาแก่ สารสำคัญที่พบได้ในชาเขียว จะประกอบไปด้วย กรดอะมิโน วิตามินบี วิตามินซี วิตามินอี สารใน กลุ่ม Xanthine Alkaloids คือ กาเฟอีน (Caffeine) และธิโอฟิลลีน (Theophylline) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นการ ทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และสารใน กลุ่มฟลาโวนอยด์ ที่เรียกว่า คาเทชิน (Catechins) โดยเรา สามารถแยกสารคาเทชินออกได้ เป็น 5 ชนิด คือ Gallocatechin (GC), Epicatechin (EC), epigallocatechin (EGC), Epicatechin Gallate (ECG), และ Epigallocatechin Gallate (EGCG) โดยคาเทชินที่พบได้ มากและมีฤทธิ์ ทรงพลังที่สุดในชาเขียว คือสารอีพิกัลโลคาเทชินกัลเลต (Epigallocatechin Gallate - EGCG) ซึ่งมีความสำคัญ ในการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลักษณะของสีน้ำชา ถ้าชงชาจากใบชาจะให้น้ำชาออกสีเหลืองอ่อนไปจนถึงสีเขียวอ่อน (ถ้าเป็นชา เขียวผง หรือชามัตฉะ จะให้น้ำชาสีเขียวสด) ส่วนกลิ่นของน้ำชานั้น ถ้าเป็นชาเขียว ของจีนจะให้กลิ่นเขียวสดชื่น มีกลิ่นคล้ายกลิ่นถั่วปนอยู่ แต่ถ้าเป็นชาเขียวของญี่ปุ่นจะให้กลิ่น เขียวสดค่อนข้างมาก มีกลิ่นของสาหร่าย และ อาจมีกลิ่นคล้ายกับโชยุปนอยู่ด้วย
2.2.2 ประโยชน์ของชาเขียว 7 1. สาร Epigallocatechin Gallate (EGCG) ที่พบได้มากในชาเขียว มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการขับ (EGCO) ที่พบได้ สารพิษในร่างกาย สามารถกวาดล้างอนุมูลอิสระที่เป็นตัว กัดกร่อน DNA ในกระแสเลือดลงได้ จึงส่งผล ในการช่วยป้องกันความเสื่อมของเซลล์และ อวัยวะต่างๆ ได้ 2. สารต้านอนุมูลอิสระในชาเขียวสามารถช่วยชะลอความแก่ชราและช่วยคงความอ่อนเยาว์ ได้ 3. การดื่มชาเขียวนอกจากจะดื่มเพื่อแก้กระหายแล้ว ในชาเขียวยังมีกาเฟอีน (Caffeine) และ ธิโอฟิลลีน (Theophylline) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วน กลาง ที่ช่วยแก้อาการง่วง นอนและทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า 4. วรนันท์ ศุภพิพัฒน์ ( 2548) กล่าวว่าการดื่มชาเขียวจะช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานและ ไขมันได้ จึง ส่งผลต่อการควบคุมน้ำหนักของร่างกาย การดื่มชาเขียวสามารถช่วยลดระดับ คอเลสเตอรอลโดยรวมได้ และยังช่วยลดระดับไขมันเลว (LDL) เพิ่มไขมันดี (HDL) ที่เป็น ประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนั้นการดื่มชา เขียวจึงสามารถช่วยลดความอ้วนได้ 5. สาร EGCG ในชาเขียวสามารถช่วยกำจัดไขมันคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด จึงส่งผล ช่วยลดความเสี่ยง ของการเกิดโรคความดันโลหิตสูงจากการอุดตันของไขมันในหลอด เลือดได้ 6. ชาเขียวช่วยลดและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จึงช่วยในการป้องกันและชะลอการเกิด โรคเบาหวาน ได้ เพราะสาร Catechins ในชาเขียวมีประสิทธิภาพในการจำกัดการ ทำงานของ Amylase Enzyme ทำให้ ไม่สามารถดูดซึมน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่ร่างกายได้ ส่ง ผลทำให้น้ำตาลในเลือดไม่สูงขึ้น 7. ชาเขียวมีฤทธิ์ต่อต้านและยับยั้งการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ จากข้อมูลในปัจจุบันได้ แนะนำว่าการ บริโภคอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสามารถช่วยลดการเกิดโรคหัวใจ เพราะสารต้านอนุมูลอิสระจะ ไปยับยั้งขบวนการออกซิเดชั่นของไขมัน อันจะนำไปสู่การลด การเกิดของหลอดเลือดแข็งตัว (Antherosclerosis) และลดความเสี่ยงของการเกิดโรค หัวใจได้ในที่สุด 8. สาร EGCG ในชาเขียวสามารถช่วยยับยั้งการก่อตัวแบบผิดปกติของก้อนเลือด ซึ่งเป็น สาเหตุของอาการ หัวใจวายและลมชักได้ 9. สารไทอะนีน (Theanine) เป็นกรดอะมิโนที่ทำให้ชาเขียวมีรสกลมกล่อม สามารถช่วย ควบคุมการ ทํางานของสมองและลดความดันโลหิตได้ 10. สารประกอบหลัก (EGCG) ที่พบในชาเขียวมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อเอช ไอวีได้ชาเขียว เข้มข้นสามารถช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเอชไอวีจับตัวกับเซลล์เม็ดเลือด ขาวชนิดที่มีความสำคัญต่อ ภูมิคุ้มกันในร่างกายของเรา (T Cells) ซึ่งเป็นด่านแรกที่ทำให้ มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีได้ 11. ชาเขียวยังช่วยป้องกันฟันผุได้ด้วย เพราะชาเขียวมีความสามารถในการทำลายแบคทีเรีย สามารถ ป้องกันอาหารเป็นพิษ และยังช่วยฆ่าแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดคราบพลัคในช่องปาก ได้อีกด้วย
2.3 ดอกอัญชัน 8 รูปที่2.3 ดอกอัญชัน ที่มา https://www.pobpad.com ดอกอัญชัน ดอกสีขาว ฟ้า และม่วง ดอกออกเดี่ยว ๆ รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ออกเป็น คู่ตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตรกลีบคลุมรูปกลม ปลายเว้าเป็นแอ่ง ตรงกลางมีสีเหลือง มีทั้งดอกซ้อนและดอกลา ดอกชั้นเดียวกลีบขั้นนอกมี ขนาดใหญ่กลางกลีบสีเหลือง ส่วนกลีบชั้นในขนาดเล็กแต่ดอกซ้อนกลีบดอกมีขนาดเท่ากัน ซ้อนเวียนเป็นเกลียว ออกดอกเกือบตลอดปี ผลแห้งแตก เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร เมล็ดรูปไต สีด มี 5-10 เมล็ด ดอก ใช้ปลูกผมทำให้ผมดกด เงางามมากขึ้น เพราะดอกอัญชันมีสารที “แอนโทไซยา นิน” (Anthocyanin) ซึ่งช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดี มากขึ้น นำมาคั้นนำใช้หุงข้าวได้ด้วย ช่วยให้ข้าวที่หุงมีสีสันที่สวยงาม เมล็ด เป็นยาระบาย ราก บำรุงตาแก้ตาฟาง ถูฟันแก้ปวดฟัน ตาแฉะ และปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ นำรากมาถู กับน้ำฝนใช้หยอดหู และหยอดตา
2.3.2 ประโยชน์ของดอกอัญชัน 9 1. บำรุงสายตา ป้องกันอาการตาฝ้าฟาง ตาแฉะ และป้องกันโรคต้อกระจก 2. ช่วยลดน้ำตาลในเลือด เหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน 3. เพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย 4. ขับปัสสาวะ และเป็นยาระบายอ่อน ๆ 5. มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต่อต้านโรคมะเร็งได้ 6. ชะลอริ้วรอย และดูแลผิวพรรณให้เต่งตึง กระชับ 7. ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคไขมันอุดตันเส้นเลือด 8. บำรุงผมให้เงางาม ดกด มักเป็นส่วนประกอบของยาสระผม หรือครีมบำรุงผม 9. ช่วยสลายลิ่มเลือด 10. ช่วยให้ระบบโลหิตไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น
2.4 น้ำมันหอมระเหย 10 รูปที่2.4 น้ำมันหอมระเหย ที่มา https://www.botanicessence.com/essential oil/ น้ำมันหอมระเหย จะมีลักษณะไม่เหมือนกับน้ำมันที่ต้องการกรดไขมันไปทำสบู่ แต่ น้ำมันหอม ระเหยนี้จะมีลักษณะคล้ายน้ำมากกว่าน้ำมัน จะสามารถระเหยได้ง่ายเมื่อสัมผัส อากาศ เราสามารถสกัดน้ำมัน หอมระเหยจากส่วนต่างๆของพืช เช่น ใบ ผล ดอก กลีบดอก เปลือก ลำต้น ราก เป็นต้น และมีวิธีการสกัดออกมา หลายวิธี เช่น สกัดด้วยการกลั่น สกัดด้วย วิธีการปิดอัด สกัดด้วยสารละลาย สกัดด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เป็น ต้น แต่ละวิธีล้วนใช้ ปริมาณส่วนต่างๆ ของพืชจำนวนมาก ดังนั้นน้ำมันหอมระเหยแท้ๆจึงมีราคาแพง ผู้ผลิตสบู่ โดยมากมักไม่ใช้น้ำมันหอมระเหยแบบแท้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ที่หอมมากๆ และติดตัวไปตลบ อบอวลนั่นล้วนเป็น กลิ่นสังเคราะห์แทบทั้งสิ้น 2.4.1 ประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหย 1. ช่วยดับกลิ่นบนผ้า 2. เพิ่มความหอมให้ผ้า 3. ช่วยกำจัดแมลง 4. หรือลดกลิ่นอับในตู้เย็น
2.5 วิตามินอี 11 รูปที่2.5 วิตามินอี ที่มา https://hipowershot.com วิตามินอี (Vitamin E) คือ สารอาหารที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระ และยัง ช่วยบำรุงสมอง ดวงตา ผิงหนัง และเซลล์ในร่างกายของเราอีกด้วย วิตามินอีสามารถพบได้ ทั่วไปในอาหาร เช่น ในถั่วอัลมอนด์ มะเขือเทศ ผักโขม และน้ำมันมะกอก การขาดวิตามินอี สามารถส่งผลให้เกิดอาการปวดประสาท ปัญหาด้านสายตา และการแท้งบุตร แต่ในขณะ เดียวกัน การได้รับวิตามินอีในปริมาณที่มากเกินไป สามารถส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ ได้ เช่น อาการตกเลือด เป็นต้น ดังนั้น เราจึงควรทำความเข้าใจว่าบุคคลกลุ่มใดบ้างที่ควรจะ ระวังการรับประทานอาหารเสริมวิตามินอีเป็นพิเศษ หรือควรปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจรับ ประทาน 2.5.1ประโยชน์ของวิตามินอี 1.วิตามินอีช่วยบำรุง สมอง ดวงตา ผิวพรรณ และเซลล์เม็ดเลือดแดง 2.วิตามินอีช่วยปกป้องและเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว 3. วิตามินอีมีสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งสามารถช่วยปกป้องเซลล์จากอนุมูลอิสระ หรือโมเลกุลที่ เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคมะเร็ง อัลไซเมอร์ และโรคหัวใจ 4. วิตามินอีอาจช่วยชะลอโรคอัลไซเมอร์ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในระยะแรกและระยะกลาง 5. วิตามินอีสำคัญต่อระบบสืบพันธุ์ งานวิจัยพบว่า ปัญหา เช่น การแท้งบุตร และ ภาวะการ คลอดก่อนกำหนด อาจเกี่ยวข้องกับการขาดวิตามินอี
2.6 น้ำมันมะพร้าว 12 รูปที่2.6 น้ำมันมะพร้าว ที่มา https://missicecream.com น้ำมันมะพร้าว (Coconut Oil) คือ น้ำมันที่ได้จากการสกัดแยกน้ำมันจากเนื้อผลของ มะพร้าว (Cocos nucifera L.) โดยองค์ประกอบหลักของน้ำมันมะพร้าวคือกรดไขมันอิ่มตัว (เกิน 90% ของปริมาณกรดไขมันทั้งหมด) ซึ่งกรดไขมันเหล่านี้จะมีขนาดโมเลกุลปานกลาง (Medium chain fatty acid) อย่างเช่น กรดลอริก (Lauric acid) เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะ ถูกเผาผลาญได้ดี จึงถูกสะสมในเนื้อเยื่อไขมันได้น้อยกว่ากรดไขมันที่มีขนาดโมเลกุลยาว 2.6.1 ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าว 1. ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญไขมัน 2. ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง 3. ช่วยให้กระดูกแข็งแรง 4. ช่วยบำรุงรักษาเส้นผมให้นุ่ม เงางาม 5. ช่วยรักษาอาการผิดปกติทางผิวหนัง 6. กลั้วปากขจัดเชื้อโรคในลำคอ 7. มีความสามารถในการเสริมภูมิคุ้มกัน 8. ไม่ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ 9. บำรุงผิวหน้าและผิวพรรณ 10. เช็ดเครื่องสำอาง สะอาดหมดจด
2.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 13 มันธนา ศรีสวัสดิ์ (2550) ศึกษาการพัฒนาสบู่ก้อนล้างมือผสมน้ำมันหอมระเหยและการ ทดสอบใน อาสาสมัคร ในปี 2550 จากการทดลองหาอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมของสบู่ก้อน พบว่า สามารถผลิตสบู่ก้อนที่มี สูตรเหมาะสมมีค่า pH 6.52 และมีความคงตัว จากการทดสอบ กับอาสาสมัครเพศหญิงจำนวน 33 คน พบว่าสบู่ ก้อนล้างมือผสมน้ำมันหอมระเหยที่พัฒนาขึ้น สามารถลดเชื้อแบคทีเรียได้ และทำให้ล้างมือแล้วรู้สึกสะอาด งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับสบู่ก้อนสมุนไพร สุมนต์ทิพย์ ศรีคณะ (2549) ศึกษาการ พัฒนาตำรับสบู่จากสมุนไพรไทยในการ ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ ผิวหนัง โดยใช้สารสกัดสมุนไพร ได้แก่ น้ำมันหอมระเหยมะกรูด น้ำมันหอมระเหย ตะไคร้ น้ำมันหอมระเหย เปลือกส้ม สารสกัด เปลือกมังคุด สารสกัดทองพันชั่ง และน้ำคั้นผลมะกรูด โดยศึกษาการยับยั้งแบคทีเรีย 5 สาย พันธุ์ คือ Bacillus Subtilis, Escherichia coli, Pseudomonas Aeruginosa, StaphylocCocus Aureus และ StaphylococusEpidermidis จากการทดลอง พบว่าสารสกัด สมุนไพรเดียวไม่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแต่ เมื่อนำสารสกัดสมุนไพรมาผสมกัน สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ ดังนั้นจึงผสมสบู่และพบว่าสบู่สูตรสมุนไพรที่มีส่วนผสมของ น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้ดีกว่าสบู่สมุนไพรที่ มี สารสกัดน้ำมันหอมระเหยเป็นส่วนผสม
บทที่ 3 14 อุปกรณ์และวิธีการดำเนินงาน 1. สถานที่ทำการ - โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย 2. วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา 1. อัญชัน 2. กากชาเขียว 3. เบสกรีเซอรีน 4. กลิ่นมะลิสังเคราะห์ 5. น้ำเปล่า 6. วิตามินอี 7. น้ำมันมะพร้าว 8. บีกเกอร์ 9. แท่งแก้วคนสาร 10.ตะเกียงแอลกอฮอล์ 11.แม่พิมพ์ 3. วิธีการศึกษาการทดลอง 1. จุดตะเกียงแอลกอฮอล์ ตั้งบีกเกอร์และนำน้ำใส่ลงในบีกเกอร์ปริมาณ 150 ml ใส่อัญชัน ลงไปปริมาณหนึ่ง ต้มจนได้สีที่ต้องการ นำมาพักไว้
2. ละลายเบสกลีเซอรีนปริมาณ 200 ml. 15 3. นำกากชาเขียวปริมาณหนึ่ง กลิ่นมะลิสังเคราะห์ และใส่น้ำอัญชันลงในบีกเกอร์กลีเซอรีน 4. ผสมให้เข้ากันดี จากนั้นเทลงในแม่พิมพ์ช่องละ 100 ml ใส่วิตามินอี และน้ำมันมะพร้าว ในแต่ละช่อง และรอสบู่เซ็ทตัว 5. เมื่อสบู่เซ็ตตัวแล้ว จึงแกะออกมาจากแม่พิมพ์บรรจุใส่บรรจุภัณฑ์ให้เรียบร้อย
16 บทที่4 ผลการดำเนินงาน วัน/เดือน/ปี การดำเนินงาน 24/08/66 ศึกษาข้อมูลและสรรพคุณของกากชาเขียว 24/08/66 ศึกษาข้อมูลและสรรพคุณของดอกอัญชัญ 24/08/66 ศึกษาหาข้อมูลและสรรพคุณของกรีเซอรีนและ ประสิทธิภาพของสบู่ 26/08/66 หาซื้ออุปกรณ์ทำสบู่ 28/08/66 ลงมือทำสบู่ 29/08/66 ตรวจสอบและทดลองใช้สบู่
17 บทที่5 สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะนำ จากการศึกษาการทำสบู่กากชาเขียวดอกอัญชันสรุปได้ว่าสบู่ที่มีส่วนประกอบของเบสกลี เซอรีน กากชาเขียวและดอกอัญชันที่เป็นสมุนไพรจากธรรมชาติ พบว่าเป็นที่น่าพอใจสำหรับ กลุ่มผู้ทดลองเป็นอย่างมากเพราะเต็มไปด้วยคุณค่าที่ดีและไม่มีผลข้างเคียงใดต่อสุขภาพของ กลุ่มผู้ทดลองและสะดวกในการอุปโภคอีกด้วยรวมถึงผู้ทดลองมีความสนใจใน กากชาเขียว และดอกอัญชัน อย่างมาก ข้อเสนอแนะ 1.ควรระมัดระวังในการทำงานทุกขั้นตอน 2.ควรจัดทำรูปเเบบของสบู่ให้หลากหลายและน่าสนใจ