“คูการ์เจ้าภูผา” เป็นหนึ่งในรวมเรื่องสั้น อาถรรพ์ภาพวาดเสือด า ของ ก าพล นิรวรรณ ที่ ได้รับการพิจารณาและประกาศผล “Shortlist” ของผลงานรวมเรื่องสั้นที่ส่งเข้าประกวดรางวัล วรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจ าปีพุทธศักราช 2563 ซึ่งคูการ์เจ้าภู ผานั้นตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร BookMarx Vol.2 ปี 2561 ก่อนที่จะน ามาปรับปรุงและตีพิมพ์ใน หนังสือรวมเรื่องสั้นอีกครั้ง เมื่อเปิดเรื่องขึ้นมาของเรื่องสั้น “คูการ์เจ้า ภูผา” พบกับการเล่าเรื่องย้อนกลับไปยังเหตุการณ์ ในอดีตที่ “เกียว” หวนนึกถึงขณะที่ก าลังเดินทาง ไปร้านปีกไก่ทอดราดซอสพริกชิโป๊ตเล ซึ่งเป็นการ เฉลิมฉลองงานปฏิวัติเม็กซิกันที่จัดขึ้นเป็นประจ าปี ทว่าเหตุการณ์ที่เกียวนึกถึงนั้นดูจะไม่สอดคล้องกับ การเปิดเรื่องนัก เพราะเหมือนจะไม่มีความจ าเป็น ที่ผู้เขียนอย่าง ก าพล จะต้องพรรณนามากมาย เพียงเพราะเหตุการณ์งานเฉลิมฉลองกับการไปร้าน ปีกไก่ทอดเลย แน่นอนว่าจากข้อความข้างต้นนี้ เป็นการเล่าเรื่องแบบย้อนกลับ และการหวนนึกถึง เหตุการณ์ในอดีตก็ยิ่งย้อนเหตุการณ์ไปอีก ก่อนที่ ผู้เขียนจะกลับเข้ามาสู่แก่นเรื่องหลักของเรื่องนี้ เมื่อเรื่องด าเนินผ่านช่วงที่ตัวละครอย่าง เกียวหวนนึกถึง ก็ย้อนกลับเข้าสู่ขณะที่เขาก าลัง เดินไปยังร้านปีกไก่อีกครั้ง ในร้านนั้นเขาได้พบกับ เอล คูการ์เจ้าถิ่นประจ าร้าน ที่มีรูปร่างสูงใหญ่ และน่าจะเป็นคนที่บ้าอ านาจพอสมควร เรื่อง ด าเนินไประหว่างบทสนทนาของทั้งสองที่ชวนกัน คุยถึงเรื่องส่วนตัวของแต่ละฝ่าย ก่อนที่จะมี เจ้าหน้าที่ต ารวจเข้าตรวจค้นและจับกุมพนักงานใน ร้านไปจากการที่ร้านปีกไก่แห่งนี้เป็นแหล่งมั่วสุม ของยาเสพติด คูการ์นั้นพยายามหาหนทางเพื่อให้ ตัวเองหลุดพ้นจากการโดนจับกุมด้วยวิธีการโกหก จนเขารอดในที่สุด เนื้อเรื่องด าเนินมาจนจบ ทว่ากลวิธีการ เขียนของ ก าพล นั้นไม่แสดงปมขัดแย้งของตัว ละครเอาไว้ เหมือนอย่างที่ได้เคยใช้กลวิธีเช่นนี้ใน เรื่องสั้นอีกเรื่องอย่างคนธรรพ์แห่งภูบรรทัด ซึ่งวิธีนี้ เองอาจจะเป็นกลวิธีในการแต่งที่ ก าพล ก าลัง สนใจ ท าให้เรื่องสั้นของก าพลไม่ได้เป็นไปตามแบบ แผนของเรื่องสั้นอย่างในอดีต เรื่องทั้งหมดเกิดขึ้นเพียงเพราะวันนั้น (หน้า 211) สิรินทรา บุญค ่า 610113115025
การวางโครงเรื่องของผู้เขียนส าหรับเรื่องนี้ เป็นโครงเรื่องที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน แต่อาจจะท า ให้มีสับสนช่วงเวลาที่เกิดขึ้นได้เล็กน้อยเพราะเรื่อง มีการเล่าย้อนกลับไปในอดีต และย้อนกลับไปใน อดีตอีกครั้ง ส่วนการปิดเรื่องของผู้เขียนนั้นทิ้งท้าย ไว้ด้วยข้อความให้ชวนคิด ซึ่งเป็นข้อความที่สื่อไป ถึงแก่นเรื่องได้เป็นอย่างดี เพราะจากเนื้อเรื่องแล้ว ซึ่งที่ผู้เขียนแสดงทัศนะออกมานั้น ก็คงเป็นเรื่อง ของเอล คูการ์ที่จะแข็งแกร่ง ยิ่งใหญ่แค่ไหนแต่ สุดท้ายก็มีความกลัว ความอ่อนแอเป็นธรรมดา อย่างกับสิงโต-ปอดแหก ตัวละครที่ปรากฏในเรื่องที่ส าคัญ หนีไม่ พ้นตัวละคร เกียว และ เอล คูการ์ซึ่งเป็นที่มาของ ชื่อเรื่องนี้อีกด้วย ซึ่งก าพลได้อธิบายลักษณะของ ตัวละครเกียวไว้อย่างคร่าว ๆ จากการเล่าเรื่องผ่าน สรรพนามบุรุษที่ 3 ส่วนเอล คูการ์นั้นอย่างที่ได้ กล่าวไว้ข้างต้นว่าเขามีบทบาทกับการน าไปสู่แก่น ของเรื่อง โดยเฉพาะลักษณะนิสัยของเขาที่ถูกเล่า ผ่านมุมมองของผู้เล่าเรื่อง สังเกตได้ว่า คูการ์ ค่อนข้างเป็นคนที่บ้ายอ และหลงไปกับค ายกยอ ตนเอง เพราะจากข้อความที่ว่า เขาเติมค าใหญ่ค า โตให้มันเพราะพอจะเดาออกว่ามันเป็นคนบ้ายอ มิเช่นนั้นคงไม่เอาชื่อสิงโตภูเขามาเป็นฉายาให้ ตัวเอง (หน้า 218) นอกจากนี้ยังมีการแสดงให้เห็น ว่า คูการ์มีพวกพ้องของตนอยู่ไม่น้อย จากการที่ เขาเป็นผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น ทว่าเมื่อมีเรื่องของ กฎหมายเขามาเกี่ยวข้องเขาย่อมหวาดกลัวเป็น ธรรมดา ถึงแม้ว่าเขาจะยิ่งใหญ่แต่ทุกคนก็ต้องอยู่ ภายใต้กฎหมายบ้านเมืองนั้น ๆ เสมอ ซึ่งคูการ์ได้ พยายามเล่นละครตบตาต ารวจจนรอดจากการถูก จับกุมในที่สุด ร้านไก่แดง คงจะเป็นฉากที่ส าคัญของ เรื่องสั้นเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เพราะเหตุการณ์ ส าคัญของเรื่องล้วนแต่เกิดขึ้นในฉากนี้ทั้งสิ้น ตั้งแต่ ที่ตัวละครทั้งสองคุยกันไปจนถึงเหตุการณ์ทลาย แหล่งยาเสพติด จะเห็นได้ว่าร้านปีกไก่ทอดเป็น เพียง ฉากบังหน้า เท่านั้น เพราะแท้จริงแล้วสิ่งที่ ซ่อนเอาไว้ข้างหลังคือแหล่งซื้อขายยาเสพติด สิ่ง ผิดกฎหมายถูกซุกซ่อนเอาไว้และเมื่อถูกตรวจก็ไม่ เจอแม้กระทั่งของกลาง จับไปได้แต่คนที่เกี่ยวข้อง ในร้าน ส่วนคูการ์ที่เหมือนว่าจะเป็นคนที่เกี่ยวข้อง มากที่สุดก็หลุดรอดมาได้ ช่างเป็นที่น่าสังเกตให้แก่ ผู้อ่านว่า ก าพล ก าลังจะสื่ออะไร ถ้าไม่ใช่ การที่ ก าลังล้อเลียนข่าวของหน่วยงานรัฐที่ไปตรวจค้นสิ่ง ผิดกฎหมายแต่ไม่เจออะไรเลย นอกจากนี้ ยังมีจุดที่น่าสนใจในเรื่องการ ใช้สัญญะของผู้เขียนอย่าง ภาพเขียนพระแม่มารีย์ เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้วอาจจะสร้างความหงุดหงิด ใจให้แก่ผู้อ่านได้ว่าท าไมต ารวจถึงไม่ขยับภาพ เพราะหากเพียงขยับเล็กน้อยก็จะเจอของกลางชิ้น ส าคัญที่พวกเขาต้องการหาแล้ว แต่ก็เลือกที่จะ ปล่อยผ่าน ด้วยจุดนี้เองจึงท าให้คาดว่าก าพลก าลัง ต้องการสื่อถึงการใช้ศาสนาเป็นเครื่องก าบังเพื่อ กระท าความผิด สิ่งที่ท าให้มีความคิดเห็นเช่นนั้นอาจเป็น เพราะการที่ผู้เขียนจงใจให้ต ารวจไปจับภาพเขียน นั้นแล้วแต่กลับเพียงแค่ท าความเคารพเท่านั้น เพราะว่าชาวเม็กซิกันนับถือพระแม่มารีเป็นอย่าง มาก ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1945 พระสันตะปาปาปิ อุสที่สิบสองได้มีค าสั่งให้พระแม่มารีย์แห่งกัวดาลูป เป็น "ผู้อุปถัมภ์ของทุกทวีปอเมริกา" จึงท าให้ชาว เม็กซิกันนับถือเป็นอย่างมาก การใช้ศาสนาที่คน นับถือ เลื่อมใสบดบังความผิดนั้นจึงเป็นสิ่งที่คน ก าลังจ้องจะท าความผิดใช้ส่วนนี้เป็นเครื่องมือโดย ไม่สนใจเรื่องผิด-บาปใด ๆ เพราะการเล่นกับความ เชื่อเป็นเรื่องที่เปราะบางส าหรับคนที่จิตใจเลื่อมใส
ในสิ่งนั้น ๆ จนลืมคิดไปว่าคนอื่นที่ไม่ได้เลื่อมใสไป ด้วยอาจใช้จุดนี้ในการท าเรื่องไม่ดีอีกมากมายได้ มันเป็นเรื่องที่น่าสลดใจยิ่งนักเมื่อศาสนาต้องถูกท า ให้เสื่อมเสีย กลายเป็นเพียงเครื่องมือเพื่อกระท า ความผิดของคนบางกลุ่ม นอกจากเรื่องการใช้ศาสนาเป็นเครื่อง ก าบังแล้ว เมื่อพิจารณาจากว่าเรื่องสั้นเรื่องนี้ก าลัง ล้อเลียนสังคมออกมา ก็อาจตีความไปได้อีกนัยหนึ่ง ว่า พระแม่มารีย์ คือ ผู้ที่ไม่สามารถแตะต้องได้ ใน ที่นี้อาจจะหมายรวมไปถึงผู้ที่มีอ านาจภายหลังซ่อน อยู่ ที่จริงแล้วต ารวจอาจจะรู้ว่าข้างหลังนั้นมีสิ่งผิด กฎหมายอยู่แต่ก็ไม่สามารถท าอะไรได้ เพราะคนที่ กุมอ านาจใหญ่ของสิ่งผิดกฎหมายนี้อาจเป็นบุคคล ที่ไม่สามารถแตะต้องได้ การที่ต้องเล่นกับอ านาจ มืดนั้นเป็นสิ่งที่น่ากลัว ทั้งที่รู้ว่าเขากระท าผิด กฎหมายแต่ทว่าก็ไม่สามารถท าอะไรได้นอกจาก ท าความเคารพดังเดิม จากจุดนี้เองช่วยเสริมให้ นิสัยบ้ายอ อวดอ านาจ ท าตัวเป็นผู้ยิ่งใหญ่ของคู การ์มีน้ าหนักขึ้น เพราะการที่คูการ์กล้าที่จะ วางอ านาจกับคนอื่นและมั่นใจในการกระท าผิด ของตนเองในตอนแรกอาจเป็นเพราะได้รับการ สนับสนุนจากบุคคลข้างหลังที่มีอ านาจเป็นอย่าง มาก แต่เมื่ออยู่ในสถานการณ์คับขัน คูการ์จึงต้อง ดิ้นรนเอาตัวรอดให้ได้เพราะเขาไม่อาจอ้างไปถึง บุคคลปริศนานั้นได้ ค าว่า ป อ ด แ ห ก ก็คงไม่ห่างไกลจาก การกระท าของคูการ์นัก ซึ่งเมื่อมองในสัจธรรมของ ความเป็นจริงแล้วก็คงไม่ผู้ใดที่จะเอาอาการนี้ ออกไปจากตัวได้หมดสิ้น แม้จะมีอ านาจ บารมี อย่างล้นเหลือก็ตาม ซึ่งก็น าไปสู่แก่นเรื่องนี้ได้อย่าง สมบูรณ์ เมื่อพิจารณาเรื่องสั้นเรื่อง “คูการ์เจ้าภู ผา” ตลอดทั้งเรื่อง พบว่าฉากมีส่วนส าคัญในการ ด าเนินเรื่องพอสมควรถึงแม้ว่าฉากทะเลและงาน เฉลิมฉลองในตอนแรกไม่เกี่ยวข้องกับแก่นเรื่องนัก แต่ก็ช่วยสร้างความสับสนให้ผู้อ่านรู้สึกประหลาด ใจกับเหตุการณ์ในช่วงท้ายที่พลิกไปคนละทางกับ การเปิดเรื่อง ช่วยสร้างให้เกิดความสนุกมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าบางเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะรู้สึกชวนให้เกิด ความไม่สมจริงในการกระท าของตัวละครได้ สิ่งที่ ท าให้เรื่องนี้เกิดความน่าเบื่ออย่างบ้างอาจเป็น เพราะการด าเนินเรื่องที่ไม่มีปมขัดแย้ง ไม่มีจุดสุด ยอด และไม่มีจุดคลายปมที่น่าสนใจนัก ท าให้เรื่อง สั้นขาดความน่าอ่านลงไป แต่ถือได้ว่าเป็นกลวิธีที่ ฉีกจากแบบแผนของการเขียนเรื่องสั้นในแบบเดิม ๆ เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ในส่วนของตัวละครยัง น าไปสู่แก่นเรื่องและการตั้งชื่อเรื่องอีกด้วย และ แน่นอนว่าการที่ผู้เขียนใช้สัญญะแทนการเล่าเรื่อง ตรง ๆ อาจท าให้ผู้อ่านตีความสัญญะไปในทางที่ แตกต่างกันได้ แต่ก็ยังคงอยู่ในแนวเดียวกับสิ่งที่ ผู้เขียนยังต้องการจะสื่อเช่นเดิม ทัศนะที่แสดง ออกมาผ่านแก่นเรื่องนั้นอาจไม่ใช่สิ่งที่สะท้อน สังคมนัก แต่ทว่าสัญญะต่าง ๆ ภายในเรื่องต่างหาก ที่เป็นตัวสะท้อนสังคมออกมาได้อย่างร้ายกาจ ท า ให้ผู้อ่านต้องมีสงสัยว่าแท้จริงแล้วเรื่องนี้ไม่ได้ไกล จากตัวเราเลย ในโลกกว้างอันใหญ่ไพศาลของเรา มันก็ย่อมจะมีสิงโตปอดแหกอยู่บ้างเป็น ธรรมดา (หน้า 226)