The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kinjongin940114.k88, 2021-11-05 04:02:43

E-BOOK "ป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น"

E-book (3)

E-BOOK
ป้องกัน

SSM7
การตั้งครรภ์
ในวัยรุ่น

Teen Pregnancy Prevention

ภาคสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยบูรพา

Social Service Management

ภาคสังคมวิทยา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา

คำนำ

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) นี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาสหกิจศึกษาการจัดการ
บริการสังคม รหัสวิชา 26347160 จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับ
ก า ร ป้ อ ง กั น ก า ร ตั้ ง ค ร ร ภ์ ใ น วั ย รุ่ น ซึ่ ง มี เ นื้ อ ห า ร ะ ย ะ ช่ ว ง ก่ อ น มี เ พ ศ สั ม พั น ธ์
ระยะระหว่างการตั้งครรภ์ ระยะหลังการตั้งครรภ์ วิธีการจัดการกับปัญหาทาง
จิตใจและทางร่างกายจากการตั้งครรภ์ไม่พร้อม รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน
การให้ความช่ วยเหลือเมื่อเกิดการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม คณะผู้จัดทำได้เลือกหัวข้อนี้
ในการทำเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เนื่องมาจากปัจจุบันข้อมูลเกี่ยวกับ
การป้องกันในวัยรุ่นมีเนื้อหาที่ไม่น่าสนใจ เนื่องจากเนื้อหามีความเป็นทางการ
มากเกินไป ทางเราจึงจัดทำ หนังสื ออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) การตั้ งครรภ์ใน
วัยรุ่น และเพิ่มเนื้อที่น่าสนใจในปัจจุบัน จึงทำให้กลุ่มเป้าเข้าถึงได้ง่าย และทำให้
ผู้อ่านที่อ่าน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) เล่มนี้ได้รับความรู้ และสามารถนำ
ไปใช้ ในชี วิตประจำวันได้

คณะผู้จัดทำรายงาน ขอขอบพระคุณอาจารย์สาขาวิชาการจัดการบริการสังคม
ทุกท่าน ที่ได้กรุณาเสียสละเวลาในการเตรียมความพร้อม ติดตามนิเทศการปฏิบัติงาน
ให้แก่นักศึกษาที่ออกไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และขอขอบคุณสำนักงานส่งเสริมและ
สนับสนุนวิชาการ 2 ชลบุรี ที่ได้เอื้ออำนวยสถานที่ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพใน
ครั้งนี้ ตลอดจนการสอนการปฏิบัติงานต่าง ๆ ที่จะเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้กับผู้ฝึก
ประสบการณ์ จนกระทั่งการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
และผู้ฝึกประสบการณ์จะนำความรู้ที่ได้นั้นไปใช้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และหากผิด
พลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

คณะผู้จัดทำ

สารบัญ

ระยะช่วงก่อนมีเพศสัมพันธ์ ระยะช่ วงก่อนมีเพศสั มพันธ์
การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย........................................................................................1
1 ขั้นตอนการใส่ถุงยางอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องก่อนมีเพศสัมพันธ์.........2
ข้อควรรู้เกี่ยวกับถุงยางอนามัย..........................................................................................3
เครื่องมือการคุมกำเนิด.........................................................................................................4
ประเภทยาคุมฉุกเฉิน..............................................................................................................5
การฝังยาคุมกำเนิด............................................................................................................6-9
การฉีดยาคุมกำเนิด...............................................................................................................10
ประเภทห่วงคุมกำเนิด....................................................................................................11-12
การนับหน้า 7 หลัง 7.............................................................................................................13

ระยะระหว่างการตั้งครรภ์ ระยะช่ วงระหว่างการตั้งครรภ์
การปรึกษา....................................................................................................................14
2 การตัดสินใจในกรณีการยุติการตั้งครรภ์...................................................15-17
วิธีการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์......................................................................18

ระย ะหลังการตั้งครรภ์ ระยะหลังการตั้งครรภ์
ในกรณีไม่พร้อมดูแลบุตร.............................................................................19
3 ภาวะหลังคลอดทางด้านอารมณ์.............................................................20
การดูแลสภาพจิตใจหลังจากตัดสินใจไม่รับเลี้ยงบุตร......................21
คู่มือช่ วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม.................................................22
การปฏิบัติตัวเมื่อตั้งครรภ์ในวัยเรียน.....................................................23
กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการคุ้มครองเด็กที่ตั้งครรภ์ในวัยเรียน......24
รณรงค์เกี่ยวกับการไม่ตั้งครรภ์เมื่อไม่พร้อม......................................25
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง....................................................................................26

บทนำ

วัยรุ่นเป็นช่ วงที่มีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ เพื่อเจริญเติบโตไปสู่วัยผู้ใหญ่ มีการเปลี่ยนแปลง
ด้านร่างกาย สติปัญญา รู้จักคิดอย่างมีเหตุผล สามารถแสดงความคิดเห็น ร่วมกับผู้อื่นได้ใน
ขณะเดียวกันวัยรุ่นก็มีจิตนาการดีกว่าวัยที่ผ่านมา อารมณ์จะรุนแรงขึ้น แสดงความรู้สึกอย่าง
เ ปิ ด เ ผ ย เ ชื่ อ มั่ น ใ น ต น เ อ ง ต้ อ ง ก า ร ตั ด สิ น ใ จ แ ล ะ รั บ ผิ ด ช อ บ ด้ ว ย ตั ว เ อ ง ต้ อ ง ก า ร อิ ส ร ะ
ดั งนั้ นกลุ่ มเพื่อน จึ งมีบทบาทสำคั ญ ในการแลกเปลี่ ยนความคิ ดเห็ น และการเรี ยนรู้
การปรับตัวในสั งคม การเลือกแสดงพฤติกรรม ให้เหมาะสมกับบทบาท เลือกเลียนแบบจาก
บุคคลที่ตนนิยมมาเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ซึ่ งการพัฒนาการของวัยรุ่นดังกล่าวนี้ ส่งผลให้
วัยรุ่นมีแรงขับดันทางเพศสูง มีความสนใจอยากรู้อยากทดลอง และสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้
อย่างสมบูรณ์

ปัจจุบันปัญหาวัยรุ่น ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรเป็นปัญหาใหญ่มากสำหรับประเทศไทย ขณะนี้
ประเทศไทยมีวัยรุ่นตั้งครรภ์ ถือเป็นอันดับ 2 ในประเทศแถบอาเซี ยน เรื่องนี้เป็นประเด็นที่สังคม
หลายฝ่ายกำลังให้ความสนใจและเร่งทำการป้องกันแก้ไข โดยเฉพาะเมื่อเกิดปัญหาแล้ว การแก้ไข
นั้นเป็นเรื่องที่ครอบครัวทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย จะต้องร่วมมือกันรับผิดชอบเยียวยาแก้ไขและ
หาทางออกที่เหมาะสม โดยมุ่งเน้นประโยชน์สูงสุดสำหรับเด็ก ทั้งเด็กหญิงที่กำลังตั้งครรภ์และ
เด็กชายที่ร่วมการก่อกำเนิดทารก รวมทั้งเด็กที่กำลังคลอดออกมา ยังจำเป็นต้องเติบโตและพัฒนา
ในฐานะที่เป็นเด็กและเยาวชน

การตั้งครรภ์ในวัยเรียนเนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ระวัง หรือไม่ตั้งใจได้เพิ่มมากขึ้น และ
นำมาซึ่ งปัญหามากมาย นับตั้งแต่ปัญหาการทำแท้งของวัยรุ่นทั้งที่ไปใช้บริการคลินิก และที่กินยา
เองสูง ซึ่ งปัจจุบันสูงถึงกว่าปีละแสนราย การตั้งท้องและทำแท้งยังนำมาซึ่ งผลกระทบต่อการเรียน
รวมไปถึงบางรายที่มิได้ทำแท้ง ก็ต้องเริ่มชี วิตการเป็นแม่ตั้งแต่วัยรุ่นที่ยังขาดความพร้อม และ
สร้างปัญหาทั้งแม่และเด็ก สำหรับวัยรุ่นที่คิดว่าจะไม่มีการตั้งท้องเพราะอุปกรณ์คุมกำเนิดนั้น
จากงานวิจัยพบว่า แม้การใช้ ถุงยางอนามัยเองก็มีโอกาสพลาดได้สูงถึง 20% หรือ 1 ใน 5 ครั้ง
ที่มีเพศสัมพันธ์ที่ใช้ถุงยางอนามัยก็ยังมีโอกาสพลาดและตั้งท้องได้ เนื่องจากคุณภาพของถุงยาง
เสื่อมหรือการใช้ไม่ถูกต้อง ส่วนการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดก็มีโอกาสพลาดได้สูงถึง 5%

จากปัญหาและความสำคัญดังกล่าวข้างต้น คณะผู้จัดทำที่เป็นนักศึกษา ภาควิชาสังคมศึกษา
สาขาการจัดการบริการสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จึงจัดทำ
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สื่อการเรียนรู้ เรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เพื่อเป็นข้อมูลแนะแนว
ทางในการคุมกำเนิดที่ถูกต้องอย่างเป็นปัจจุบันที่สุด และวิธีการจัดการกับปัญหาทางจิตใจและ
ทางร่างกายจากการตั้งครรภ์ไม่พร้อม รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ความช่ วยเหลือ
เมื่อเกิดการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม

ระยะช่วงก่อนมีเพศสัมพันธ์

1

หน้า 1

ระยะช่วงก่อนมีเพศสัมพันธ์



1.1. การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

เพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย หมายถึง การปฏิบัติตนทางเพศที่ไม่เสี่ยงต่อการติดโรคทาง
เพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ หรือการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ

จุดมุ่งหมายสำคัญของการมีเพศสัมพันธ์ คือ การดำรงรักษาเผ่าพันธุ์มนุษย์ไม่ให้สูญหาย
ไปจากโลก นอกจากนี้เพศสัมพันธ์ยังเป็นวิธีการแสดงความรักระหว่างมนุษย์ด้วยภาษากาย
ซึ่ งถือว่าเป็นเรื่องปกติตามธรรมชาติ ถ้าการแสดงออกต่อกันนั้นมีความเหมาะสมถูกต้อง
และถึงเวลาอันควร

สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งไม่ควรมองข้ามจากการมีเพศสัมพันธ์ คือ เรื่องความ
ปลอดภัย เพราะในปัจจุบันพบว่า การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดปัญหาชี วิต
และสุขภาพหลายลักษณะ ได้แก่ การติดโรคทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ การตั้งครรภ์
โดยไม่พึงประสงค์ ปัญหาสุขภาพจิต และปัญหาสั งคม ทั้ งที่เป็นผลกระทบโดยตรง
และโดยอ้อม ซึ่ งการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยจะช่ วยป้องกันปัญหาที่กล่าวมา ส่งผลให้
คนเราดำรงชี วิตได้เป็นปกติสุข

2.2. การใส่ถุงยางอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องก่อนมีเพศสัมพันธ์



คุมกำเนิด ป้องกันการติดเชื้ อ ลดการบาดเจ็บจาก ช่ วยเพิ่มอรรถรส
จากการมีเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์ ทางเพศได้
หน้าที่ของถุงยางอนามัย
คื อการป้องกั นไม่ให้อสุ จิ นอกเหนือจากการป้องการ ถุ งยางอนามัยมีส่ วนผสม ถุงยางอนามัยในปัจจุบันมีให้
เล็ ดลอดเข้าไปในบริเวณ การตั้ งครรภ์ แล้ ว ถุ งยาง ข อ ง ส า ร ห ล่ อ ลื่ น ใ น ป ริ ม า ณ เลือกใช้งานได้หลายรูปแบบ ทั้ง
ช่ องคลอดได้ ซึ่ งการสวม อนามัยยังช่ วยลดโอกาสการ ที่ พ อ เ ห ม า ะ เ มื่ อ ใ ช้ ข ณ ะ มี ผิวเรียบ ผิวไม่เรียบ ผิวขรุขระ
ถุ งยางอนามัยขณะมีเพศ ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ เพศสัมพันธ์จะทำให้ลดโอกาส มีสี มีกลิ่น ให้เลือกใช้งานได้ตาม
สัมพันธ์จะช่ วยให้มีโอกาส เช่น โรคเอดส์ กามโรค หนองใน บาดเจ็บของอีกฝ่ายได้ ทั้งนี้ รสนิยมของผู้ใช้ งาน จึงทำให้
คุมกำเนิดได้มากขึ้น เมื่อมี ซิฟิลิส เป็นต้น เพราะการติด ถุงยางอนามัยสามารถใช้ ร่วม ช่วยเพิ่มอรรถรสในระหว่างการ
การสวมถุ งยางอนามัยที่ เชื้ อทางเพศสั มพันธ์ส่ วนใหญ่ กับสารหล่อลื่นได้อีกด้วย มีเพศสัมพันธ์ได้
ถู กวิ ธี เกิดจากการสัมผัสกันโดยตรง
ของสารคัดหลั่ง และอวัยวะเพศ ทุ ก ค น ทั้ ง เ พ ศ ห ญิง แ ล ะ เ พ ศ
ดังนั้ นควรสวมถุงยาง ทำให้มีโอกาสได้รับเชื้อโรคหรือ ชายควรมีความรู้ และความ
ตลอดเวลาที่ มีเพศสั มพันธ์ เชื้ อไวรัสได้ง่าย เข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการใส่
แ ล ะ สั ง เ ก ต ใ ห้ ดี ก่ อ น ว่ า ถุงยางอนามัยให้ถูกวิธี ทั้ งนี้
ถุงยางอนามัยที่สวมอยู่นั้น เมื่อต้ องใช้ งานจริงจะทำให้
รั่ ว ห รื อ ชำ รุ ด ห รื อ ไ ม่ ไม่เกิ ดปัญหาการใช้ ถุ งยาง
อ น า มั ย ที่ ผิ ด วิ ธี แ ล ะ ส่ ง ผ ล
ใ ห้ ก า ร ป้ อ ง กั น ข ณ ะ มี เ พ ศ
สัมพันธ์ที่ไม่ได้ผล

หน้า 2

ขั้นตอน การใส่ถุงยางอนามัย
อย่างถูกวิธีและปลอดภัย

เลือกขนาดถุงยางที่เหมาะสม ถ้าใหญ่ไป ก็หลวมหลุด ไม่มีประสิทธิภาพ
ถ้าเล็กไป ก็อาจมีการฉีกขาดได้

ซองไม่ขาด และไม่หมดอายุ เรื่องนี้สำคัญ ควรดูวันหมดอายุก่อนซื้ อ
ให้ดี เพื่อคุณภาพที่คาดหวังไว้

ใส่เมื่ออวัยวะเพศแข็งตัวเต็มที่ และใส่ตั้งแต่มีการสอดใส่ครั้งแรก เพราะ
น้ำอสุจิบางส่ วนรวมถึงเชื้ อโรคจะออกมาได้ตั้ งแต่ก่อนมีการหลั่ งน้ำอสุจิ

ฉีกซองด้วยมือ อย่าตัดด้วยกรรไกรเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นถุงยางอาจขาด และ
เสียหายทันที

บีบกระเปาะตรงปลายบน ก่อนรูดลงไปที่อวัยวะเพศชาย เพื่อให้เป็นส่วนที่
กักเก็บน้ำอสุจิ

ฉีกซองถุงยางอนามัยออกมาแล้วเลือกด้านที่ถูกต้อง โดยเลือกด้านที่มีกระเปาะ
ไว้ด้านนอก เพื่อรูดลงได้ง่าย หากพลาดสลับด้านไปแล้ว ควรทิ้งถุงยางอนามัย
ชิ้นนั้น เพราะน้ำอสุจิที่ออกมาตอนแรกอาจทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้

เมื่อสวมถุงยางอนามัยแล้วรูดถุงยางอนามัยลงมาจนสุด เพื่อป้องกันการหลุด
ออกในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์

ในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์ในครั้งต่อไป ควรทิ้งถุงยางอนามัยอันเก่าแล้วเปลี่ยนอันใหม่
เนื่องจากประสิทธิภาพของการป้องกันเชื้อโรคจะลดลง


เมื่อเสร็จกิจแล้ว ควรเอากระดาษทิชชูรวบทิ้งขยะ อย่าให้น้ำอสุจิหกเลอะ เพราะ
อาจทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้

อย่าเอาอวัยวะเพศไปสัมผัสกันอีก เพราะเชื้ออสุจิยังคงมีชีวิตอยู่บนพื้นผิวของ
อวัยวะเพศชาย

หน้า 3

ข้อควรรู้เกี่ยวกับถุงยางอนามัย



ขนาดของถุงยางอนามัย

ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขปี พ.ศ. 2535 เรื่องคุณภาพของถุงยางอนามัยที่ทำจากยาง
ธรรมชาติมีอยู่ 13 ขนาด คือตั้งแต่ 44-56 มิลลิเมตร โดยวัดจากความกว้างของถุงยางที่คลี่แบนราบกับพื้น
แต่โดยทั่วไปจะมีจำหน่ายเพียง 2 ขนาดคือ 49 และ 52 มิลลิเมตร การวัดขนาดให้เหมาะสมกับถุงยางอนามัย
ให้วัดรอบวงของอวัยวะเพศขณะแข็งตัวเต็มที่เป็นหน่วยมิลลิเมตร และนำไปหารด้วย 2 จะได้เป็นขนาดของ
ถุงยางอนามัยที่เหมาะสม

ห้ามใช้น้ำมันหรือโลชั่นเป็นสารหล่อลื่น



การใช้สารหล่อลื่นอื่น ๆ เช่น น้ำมันมะพร้าว โลชั่น เบบี้ออยส์ วาสลีน
สบู่เหลว ที่ไม่ใช่เจลหล่อลื่นจะทำให้ถุงยางอนามัยเกิดการฉีกขาดได้ง่ายในขณะ
มีเพศสัมพันธ์ ซึ่ งจะส่งผลเสียต่อการใช้ถุงยางอนามัยได้ ดังนั้นควรใช้สารหล่อ
ลื่นที่มีส่ วนผสมของซิ ลิโคนเท่านั้น

ถุงยางอนามัยมีวันหมดอายุ



สำหรับใครที่ได้รับถุงยางอนามัยแจกฟรี หรือถุงยางอนามัยมีถุงยางอนามัยที่ซื้อ
มาแล้วเก็บไว้เป็นเวลานาน ควรตรวจสอบวันหมดอายุก่อนนำมาใช้งานทุกครั้ง
เนื่องจากสารหล่อลื่นที่อยู่ในซองถุงยางอนามัยนั้นอาจเสื่อมสภาพหรือหมดอายุไปแล้ว
เมื่อนำมาใช้ อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือถุงยางอนามัยชำรุ ดได้

บีบไล่อากาศที่ปลายถุงยางก่อนใส่ทุกครั้ง



ก่อนสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งควรบีบไล่อากาศออกก่อน เพราะ อากาศที่อยู่
บริเวณปลายถุงยางอาจจะทำให้ถุงยางอนามัยแตกหรือฉีกขาดได้ง่าย

สวมถุงยางอนามัยให้ถูกด้าน กระเปาะ
ส่วนหัว
เมื่อฉีกถุงยางอนามัยออกมาจากซองแล้ว ให้หันด้านที่มีกระเปาะตรงส่วน
หัวออกด้านนอก และสวมลงบนอวัยวะเพศที่แข็งตัวอยู่ ถ้าสวมถูกด้านจะสามารถรูด ส่วนที่
ถุงยางอนามัยลงได้ง่าย ต้องรูดลง

สรุป การมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น ควรป้องกันตัวเองและผู้อื่นด้วยการใช้ถุงยางอนามัย
จะช่วยลดปัญหาที่ตามมาภายหลัง ทั้งการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร และการติดโรคทาง
เพศสัมพันธ์ ดังนั้นการป้องกันจึงเริ่มจากการเปลี่ยนทัศนคติต่อการใช้ถุงยางอนามัย
ตั้งแต่ตอนที่ไปซื้อมาใช้ก็ไม่ควรเขินอายเพราะกลัวว่าจะถูกล้อเลียน หรือการยืดอกพก
ถุงไว้กับตัวเองตลอดเวลา ก็ไม่ควรมองว่าเป็นเรื่องที่ผิดปกติ ตลอดจนถึงการใช้งานที่
ถูกวิธีก็เป็นอีกสิ่งจำเป็นที่ทุกคนควรรู้และเข้าใจก่อนการมีเพศสัมพันธ์

หน้า 4

เครื่องมือการคุมกำเนิด

ยาเม็ดคุมกำเนิด



การคุมกำเนิดสามารถทำได้หลายวิธี แต่สำหรับวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ
การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด เป็นยาที่ใช้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์แบบชั่วคราว แบ่งออก
เป็น 2 ชนิด คือ ชนิดฮอร์โมนเดี่ยวที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
(progesterone) เพียงอย่างเดียว และชนิดฮอร์โมนรวม (combined pills) ซึ่งในแต่
ละเม็ดมีตัวยาสำคัญเป็นฮอร์โมนในกลุ่มเอสโตรเจน (estrogens) ผสมกับฮอร์โมนใน
กลุ่มโพรเจสติน (progestins) มีกลไกหลักที่สำคัญและมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกัน
การตั้งครรภ์ โดยการออกฤทธิ์ยับยั้งการตกไข่




ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดแผง 21 เม็ดกับ 28 เม็ด
ต่างกันอย่างไร?

ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมแผงละ 21 เม็ด ทุกเม็ดจะมีตัวยาทั้งหมด

1 (ไม่มีเม็ดแป้ง) รับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวัน วันละ 1 เม็ด จนหมดแผง

แล้วหยุด 7 วันก่อนเริ่มแผงใหม่ หลังหยุดยาประมาณ 1-3 วันจะเริ่มมีประจำเดือน

ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมแผงละ 28 เม็ด โดยทั่วไปมีตัวยาฮอร์โมนจำนวน 21

2 เม็ดและไม่มีตัวยาหรือเรียกว่า "เม็ดแป้ง" อีก 7 เม็ด รับประทานยาในเวลาเดียวกันทุก
วัน วันละ 1 เม็ด จนหมดแผงแล้วขึ้นแผงใหม่ต่อเนื่องกันไป ช่วงที่รับประทานเม็ดแป้งไป
ประมาณ 1-3 เม็ดจะเริ่มมีประจำเดือนมา

เริ่มต้นรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดชนิด
ฮอร์โมนรวมได้เมื่อไร?



เมื่อเริ่มรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมเป็นครั้งแรกแนะนำให้เริ่มในวันแรกที่มี
ประจำเดือนหรือไม่เกินวันที่ 5 นับตั้งแต่วันแรกที่มีประจำเดือนโดยไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการคุม
กำเนิดอย่างอื่นร่วมด้วยเมื่อมีเพศสัมพันธ์

ผู้ที่เริ่มรับประทานยาเป็นครั้งแรกเกินวันที่ 5 นับตั้งแต่วันแรกที่มีประจำเดือน แนะนำให้หลีก
เลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลา 7 วัน หรือหากจะมีเพศสัมพันธ์ให้ใช้วิธีการคุมกำเนิดอย่างอื่น
ร่วมด้วย เช่น การใช้ถุงยางอนามัย

หน้า 5

ประเภทยาคุมฉุกเฉิน

ยาคุมฉุกเฉินใช้อย่างไร ?

วิธีการรับประทานที่ถูกต้องคือ รับประทานเม็ดแรกให้เร็วที่สุด ภายหลังมี
เพศสัมพันธ์แบบที่ไม่ได้ป้องกันภายใน 72 ชั่วโมง และรับประทานเม็ดที่ 2 หลัง
จากเม็ดที่ 1 ภายใน 12 ชั่วโมง และไม่แนะนำให้รับประทานยาเกิน 4 เม็ด หรือ 2
กล่องต่อเดือน สามารถรับประทานยาคุมฉุกเฉิน 2 เม็ด พร้อมกันในครั้งเดียวได้
โดยที่ประสิทธิภาพและความปลอดภัยไม่แตกต่างจากการแบ่งรับประทานเป็น
2 ครั้ง แต่อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้ง่ายขึ้น

ทั้งนี้สำหรับในประเทศไทยจะมียาคุมกำเนิดฉุกเฉินจำหน่ายลักษณะเป็น
กล่อง โดย 1 กล่องจะมี 1 แผง แต่ละแผงมียาคุมฉุกเฉิน 2 เม็ด โดยในแต่ละเม็ด
ประกอบไปด้วยยาที่เป็นฮอร์โมนขนาดสูง ลีโวนอร์เจสเตรล (levonorgestrel)
เม็ดละ 750 กรัม

ผลข้างเคียงของยาคุมฉุกเฉิน



- ประจำเดือนมาไม่ปกติ
- คลื่นไส้ อาเจียน และรู้สึกพะอืดพะอม
- ปวดศีรษะ
- ปวดท้อง มีอาการปวดท้องคล้ายกับตอนมีประจำเดือนได้
- เสี่ยงตั้งครรภ์นอกมดลูก

ก่อนใช้ยาทุกครั้งควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร นอกจากนี้หากหลังจาก
รับประทานยาไปแล้วเกิดอาการผิดปกติ โดยเฉพาะหากมีเลือดออกทางช่อง
คลอด หรือประจำเดือนขาดหายไป รวมถึงสงสัยว่าตั้งครรภ์ ควรรีบพบแพทย์
เพื่อวินิจฉัยภาวะผิดปกติ

** ถึงแม้ยาคุมฉุกเฉินจะมีประสิทธิภาพดีในการป้องกันการตั้งครรภ์
แต่ไม่แนะนำให้ใช้ ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินแทนการคุมกำเนิดปกติ

แม้ยาจะปลอดภัยก็ตาม เพราะขนาดของฮอร์โมนที่สูง ผลข้างเคียงของยา
ดังนั้นควรเลือกใช้ในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น **

หน้า 6

การฝังยาคุมกำเนิด

เป็นวิธีคุมกำเนิดแบบชั่ วคราวที่มีประสิทธิภาพสูง
โดยใช้ หลอดยาขนาดเล็กฝังเข้าไปใต้ผิวหนังบริเวณ
ใต้ท้องแขนของแขนท่อนบน ภายในแท่งหรือหลอด
จะบรรจุฮอร์โมนโปรเจสติน (Progestin) เอาไว้
เมื่อฝังเอาไว้เรียบร้อยก็จะค่อย ๆ ปล่อยฮอร์โมน
ชนิดนี้เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งจะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์
ได้เป็นเวลา 3-5 ปี แล้วแต่ชนิดของยา

ยาฝังคุมกำเนิดป้องกันการตั้ง การฝังยาคุมกำเนิดฟรี สำหรับ
ครรภ์ได้อย่างไร เยาวชนที่อายุไม่ถึง 20 ปี

ยาฝังคุมกำเนิด ประกอบด้วยฮอร์โมนโปรเจสติน ขอรับบริการได้ที่สถานบริการ หรือโรงพยาบาลทั่ว
(Progestin) บรรจุอยู่ในหลอดขนาดเล็ก หน้าที่หลักของ ประเทศ ตั้งแต่อายุ 10 ปี หรือตั้งแต่ที่มีประจำเดือน
ฮอร์โมนโปรเจสตินที่ค่อย ๆ ปล่อยออกมาจากแท่งสู่กระแส
เลือด คือ ทำให้ฟองไข่ไม่พัฒนาและไม่เกิดการตกไข่ เมื่อไม่ ซึ่งวิธีนี้เด็กอายุไม่ถึง 20 ปี สามารถขอรับบริการได้ฟรี
เกิดการตกไข่ที่พร้อมปฏิสนธิกับเชื้ออสุจิ ก็จะไม่สามารถเกิด ตาม พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัย
การตั้งครรภ์ได้ รุ่น พ.ศ. 2559 ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 29
กรกฎาคม พ.ศ. 2559 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
นอกจากนั้น ฮอร์โมนโปรเจสตินที่ปล่อยออกมายังทำให้ สายด่วน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
เมือกที่ปากมดลูกเหนียวข้น ซึ่งทำให้อสุจิผ่านเข้าไปยังมดลูก โทร. 1330
เพื่อปฏิสนธิกับไข่ได้ยาก รวมไปถึงยังทำให้เยื่อบุผนังหมดลูก
บาง ซึ่งทำให้ไข่ที่ถูกผสมแล้วไม่สามารถเกาะที่ผนังมดลูก *ทั้งนี้ในกรณีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี หากจะเข้ารับการฝัง
ได้ดี ยาคุมกำเนิดหรือวิธีคุมกำเนิดอื่น ๆ จำเป็นต้องมีผู้ปกครอง
เซ็นยินยอมด้วย
ยาฝังคุมกำเนิดจะเริ่มออกฤทธิ์เมื่อใด
สามารถใช้ยาฝังคุมกำเนิด
ยาฝังคุมกำเนิดสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ในทันที หลังจากที่คลอดบุตรได้หรือไม่
หากฝังเอาไว้ในช่วง 5 วันแรกของการมีประจำเดือน แต่
หากฝังยาเอาไว้ในวันถัดไปหรือวันอื่น ๆ ของรอบประจำ

เดือน จะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้หลังฝังยาคุม
กำเนิด 7 วันขึ้นไป ซึ่งในระหว่างนี้ควรใช้วิธีคุมกำเนิดอื่น ๆ ผู้ที่คลอดบุตร โดยส่วนใหญ่แนะนำให้ใช้ยาฝังคุมกำเนิด
เช่น ใช้ถุงยางอนามัย เป็นต้น หลังคลอด 3 สัปดาห์ และหากฝังยาคุมกำเนิดก่อนหรือ
วันที่ 21 หลังจากคลอด จะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้

ในทันที แต่หากฝังยาคุมกำเนิดหลังจากวันที่ 21 หลังจากที่
คลอดบุตร อาจจำเป็นต้องใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมเป็น
เวลา 7 วัน เช่น ใช้ถุงยางอนามัย หรือฉีดยาคุมกำเนิด
เป็นต้น

* นอกจากนั้น คุณแม่ที่กำลังให้นมบุตรยังสามารถใช้ยาฝังคุม
กำเนิดได้อย่างปลอดภัย
* ผู้ที่แท้งบุตรหรือมีการทำแท้งก็สามารถใช้ยาฝังคุมกำเนิดได้
ตามปกติ ซึ่งจะป้องกันการตั้งครรภ์ได้ทันที

หน้า 7

วิธีฝั งยาคุมกำเนิด

ผู้ที่จะฝังยาคุมกำเนิด ควรรับการฝังยา
ในช่วง 5 วันแรกของรอบเดือน เพื่อให้แน่ใจ
ว่าไม่ได้กำลังตั้งครรภ์และยาที่ฝังจะมีผลในทันที
ซึ่งเมื่อตัดสินใจจะฝังยาคุมกำเนิดแล้ว สามารถ
ติดต่อขอรับบริการกับทางโรงพยาบาลที่สะดวก
ได้ทันที โดยขั้นตอนในการฝังยาจะใช้เวลาเพียง
ไม่กี่นาทีเท่านั้น

ขั้นตอนในการฝั งยาคุม

- ขั้นแรกแพทย์จะทำความสะอาดผิวหนังด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อแล้วฉีดยาชาเฉพาะที่ไปที่บริเวณใต้ท้อง
แขนที่จะฝังยาเข้าไป
- จากนั้นจะใช้เข็มเปิดแผลและสอดใส่แท่งที่มีหลอดยาเข้าไปในเข็ม เมื่อหลอดยาเข้าไปใต้ผิวหนัง
เรียบร้อยแล้วก็จะนำเข็มและแท่งนำหลอดยาออกมา
- ทำการปิดแผลด้วยพลาสเตอร์เล็ก ๆ ตามด้วยผ้าพันแผลพันทับอีกชั้นหนึ่ง
- แพทย์จะให้ยาแก้ปวดกลับไปรับประทานหากมีอาการปวดแผล
- แพทย์ผู้ที่ทำการฝังยาจะลองจับบริเวณที่ฝังเพื่อตรวจสอบตำแหน่งของยาที่ฝังเข้าไป หรือหาก
มีความจำเป็นอาจต้องทำอัลตราซาวด์หรือเอกซเรย์เพื่อยืนยันว่ายาฝังคุมกำเนิดได้ถูกฝังเอาไว้
อย่างถูกต้อง
- เมื่อผ่านไป 24 ชั่วโมง ผู้เข้ารับการฝังยาคุมกำเนิดสามารถนำผ้าพันแผลออกได้ แต่ยังคงเหลือ
พลาสเตอร์ปิดแผลเอาไว้และควรดูแลพลาสเตอร์ให้สะอาด เป็นเวลา 3-5 วัน แล้วจึงนำออกได้

เมื่อใดที่ควรนำยาฝั งคุมกำเนิดออก



ยาฝังคุมกำเนิดจะมีอายุการใช้งาน 3-5 ปี ขึ้นอยู่กับชนิด ซึ่งเมื่อครบกำหนดก็
ควรนำออกแล้วทำการฝังเข้าไปใหม่เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ หรือ
สำหรับผู้ที่ฝังยาแล้วหากมีอาการปวดไมเกรน อาการของโรคหัวใจหรือโรคหลอด
เลือดในสมอง ความดันโลหิตสูง ดีซ่าน หรือเกิดภาวะซึมเศร้า แพทย์อาจแนะนำให้
นำยาฝังคุมกำเนิดออก ผู้ที่ต้องการนำออกก็สามารถติดต่อโรงพยาบาลได้ทันที
ขั้นตอนการนำออกใช้เวลาไม่นาน
วิธีนำยาฝังคุมกำเนิดออก

แพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณที่ฝังยา จากนั้นจะกรีดแผลขนาดเล็กแล้วดัน
หลอดยาหรือใช้อุปกรณ์ช่วยคีบหลอดยาออกมาจากรอยแผลที่กรีดเอาไว้ เมื่อนำ
ออกมาได้เรียบร้อยแล้วแพทย์ก็จะทำแผล

หน้า 8

ข้อดีและข้อเสียของ
ยาฝังคุมกำเนิด

ข้อดี


ข้อเสีย

เมื่อฝังยาคุมกำเนิดไปแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใช้วิธี ในขั้นตอนฝังยาหรือนำยาออกจะต้องฉีดยาชา
อื่นในการป้องกันการตั้งครรภ์ ตลอดระยะเวลา เฉพาะที่
3 หรือ 5 ปี (ขึ้นอยู่กับชนิดของยา) เมื่อฝังยาฝังคุมกำเนิดอาจทำให้ประจำเดือนมา
ไม่ต้องกังวลเรื่องการตั้งครรภ์ หรือปัญหาการ ไม่ปกติ ซึ่งเป็นอาการปกติของปีแรกที่ฝังยา
ลืมรับประทานยาคุมกำเนิด บางคนอาจมีประจำเดือนที่มากขึ้นหรือมาถี่ขึ้น
หลังจากที่แท้งบุตร ทำแท้ง คลอดบุตร หรือ โดยเฉพาะในช่วงปีแรกที่เริ่มฝังยา
ระหว่างที่ให้นมบุตร สามารถฝังยาคุมกำเนิดได้ บางคนอาจมีประจำเดือนมาไม่ตรงเวลาหรือ
ทันทีและไม่เป็นอันตราย มาน้อย ซึ่งพบว่า 1 ใน 5 ของผู้ที่ฝังยาคุมกำเนิด
ยาฝังคุมกำเนิดไม่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน จะไม่มีเลือดออกมาเมื่อมีประจำเดือน
หรือการมีเพศสัมพันธ์ ยาฝังคุมกำเนิดไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อ
หากต้องการมีบุตรหรือต้องการหยุดใช้ ก็ ทางเพศสัมพันธ์ (Sexually Transmitted
สามารถนำออกได้อย่างง่ายดาย นอกจากนั้น Infection: STI) ได้
ยังสามารถมีบุตรได้เร็วกว่าการฉีดยาคุม
เนื่องจากฮอร์โมนกระจายออกในปริมาณน้อย ดังนั้น เมื่อเพศสัมพันธ์ยังคงมีความเสี่ยงในการ
และไม่มีการสะสมในร่างกาย ติดเชื้อดังกล่าวอยู่ จึงควรต้องมีการป้องกัน เช่น ใส่
ในช่วงปีแรกที่ใช้ยาฝังคุมกำเนิด มีส่วนช่วยลด ถุงยางอนามัย เป็นต้น
อาการปวดประจำเดือนและช่วยให้ผู้ที่ประจำ
เดือนมามากมีประจำเดือนลดลง
ใช้ได้กับผู้ที่ไม่สามารถใช้ยาคุมกำเนิดแบบเม็ด
ซึ่งมีเอสโทรเจน (Oestrogen) เป็นส่วน
ประกอบ
มีส่วนช่วยยับยั้งการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน
เพราะยาฝังคุมกำเนิดทำให้เมือกที่คอมดลูก
(Cervix) ข้นขึ้น ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้แบคทีเรีย
เข้าไปสู่มดลูกได้

หน้า 9

ผลข้างเคียงของยาฝังคุมกำเนิด

ยาชนิดที่มีผลกระทบหรือรบกวน
การใช้ยาฝังคุมกำเนิด



ยาบางชนิดสามารถทำให้ยาฝังคุมกำเนิดมีประสิทธิภาพลดลง ได้แก่
ยาปฏิชีวนะ เช่น ยาไรฟาบิวติน (Rifabutin) หรือยาไรแฟมพิซิน (Rifampicin)
ยารักษาโรคเอดส์หรือเอชไอวี (HIV)
ยารักษาโรคลมชัก (Epilepsy)

หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาเหล่านี้ช่วงระยะสั้น ควรใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นเพิ่ม เช่น ถุงยางอนามัย
หรือฉีดยาคุมกำเนิดในระหว่างหรือหลังจาก 28 วันที่ใช้ยาข้างต้น แต่หากต้องใช้ยาเหล่านี้ในระยะยาว
อาจต้องพิจารณาใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นแทน *ก่อนใช้ยาข้างต้นหรือต้องเข้ารับการรักษาใด ๆ ควร
แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเสมอว่ากำลังใช้ยาฝังคุมกำเนิด

ผลข้างเคียงของ
ยาฝังคุมกำเนิด

ผลข้างเคียงที่พบบ่อย คือ ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะมีเลือดออกทางช่องคลอดเมื่อใด บางคนเมื่อเวลาผ่านไป อาการ
ดังกล่าวจะหายไปเอง ส่วนบางคนจะพบว่ามีอาการปวดท้องประจำเดือนน้อยลง หรือบางคนจะพบว่าทำให้ประจำเดือนขาดได้
ผลข้างเคียงอื่น ๆ ได้แก่

อารมณ์แปรปรวน
มีภาวะซึมเศร้า
ปวดศีรษะ
ปวดท้อง
คลื่นไส้
สิวขึ้น
มีอาการกดเจ็บที่เต้านม
บวมน้ำ
บางคนจะพบว่ามีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นเพราะยาฝังคุมกำเนิดหรือไม่
ยาฝังคุมกำเนิดอาจมีปฏิกิริยาต่อยาชนิดอื่น ๆ
ผลข้างเคียงเหล่านี้มักจะหยุดไปเองหลังผ่านช่วงเดือนแรก ๆ ที่ฝังยาไป แต่หากพบว่ามีอาการต่อไป หรือมีอาการปวดศีรษะอย่าง
รุนแรง รวมไปถึงหากพบว่ามีผลข้างเคียงอื่น ๆ เกิดขึ้น ควรไปพบแพทย์

ยาฝังคุมกำเนิด
มีความเสี่ยงอะไรหรือไม่

การฝังยาคุมกำเนิดจะมีความเสี่ยงในขั้นตอนการฝังยาหรือการนำยาออก ซึ่งอาจทำให้
เกิดการติดเชื้อ แต่มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก เพียง 2% ของผู้ที่ใช้ยาฝังคุมกำเนิดเท่านั้น
ทั้งยังสามารถรักษาได้ด้วยการทำความสะอาดบริเวณที่ฝังยาคุมกำเนิดและรักษาด้วยยา
ปฏิชีวนะ อีกกรณีที่พบได้ยาก คือ ผู้ที่ตั้งครรภ์ขณะที่ใช้ยาฝังคุมกำเนิดอยู่ โดยจะเพิ่มความ
เสี่ยงเล็กน้อยให้เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก

หน้า 10

การฉีดยาคุมกำเนิด



วิธีการฉีดยาคุมกำเนิด

ระยะเวลาในการคุมกำเนิดจะขึ้นอยู่กับชนิดของยาฉีดที่นำมาใช้
ซึ่งจะมีระยะตั้งแต่ 1-3 เดือน ถ้าเป็นยาฉีดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน
โปรเจสตินอย่างเดียว ตัว Depo-Provera® ขนาด 150 มิลลิกรัม
จะต้องใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุกๆ 3เดือน โดยไม่เกี่ยวกับน้ำหนักตัว
ของสตรีที่มารับการฉีดแต่อย่างใด (ในต่างประเทศจะมีขนาด 104
มิลลิกรัม ที่ใช้สำหรับฉีดเข้าใต้ผิวหนังด้วย) แต่ถ้าเป็นตัวยา
Norethisterone Enanthate (Noristerat®) ขนาด 200 มิลลิกรัม


จะใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุกๆ 2 เดือน ส่วนยาฉีดคุมกำเนิดชนิด

ฮอร์โมนรวม ตัว Cyclofem® จะต้องฉีดทุกๆ 1 เดือน ซึ่งยาในกลุ่มนี้
จะทำให้มีประจำเดือนมาทุกเดือน

ฉีดยาคุมกำเนิดได้เมื่อไหร่ ? ประโยชน์ของการฉีดยาคุมกำเนิด

วันที่ฉีดยาคุมกำเนิดจะต้องเริ่มฉีดยาภายใน 5 วันแรก ลดอาการเครียดก่อนมีประจำเดือน
ของการมีประจำเดือน (เหมือนกับการรับประทานยา ลดอุบัติการณ์ของภาวะโลหิตจาง
เม็ดคุมกำเนิด) ส่วนสตรีหลังคลอดบุตร สามารถฉีดยา ลดภาวะซีดและอาการปวดประจำเดือนเนื่องจาก
ได้ทันทีหลังการคลอดหรือเริ่มฉีดยา DMPA หลังคลอด ทำให้ไม่มีประจำเดือนหรือประจำเดือนมาน้อย
ประมาณ 4-6 สัปดาห์ ส่วนสตรีแท้งบุตรให้ฉีดได้ทันที ลดโอกาสในการเกิดการตั้งครรภ์หรือท้องนอก
หลังการแท้งหรือเมื่อตรวจติดตาม เมื่อถึงกำหนดฉีดยา มดลูกได้
ในครั้งหน้าก็ต้องไปฉีดยาให้ตรงเวลาตามที่แพทย์นัด ลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
โดยไม่ต้องรอให้มีประจำเดือนมา





ผลข้างเคียงของยาฉีดคุมกำเนิด

ประจำเดือนเปลี่ยนแปลง
การหลั่งน้ำนมแม่
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
ภาวะกระดูกบาง

หน้า 11

ประเภทห่วงคุมกำเนิด

ห่วงคุมกำเนิดคืออะไร

ห่วงคุมกำเนิด หรือ ห่วงอนามัย หรือห่วงอนามัยคุมกำเนิด (IUD) เป็นเครื่องมือชิ้นเล็ก ๆ
ที่จะถูกสอดเข้าไปในมดลูกของผู้หญิง เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ถือเป็นการคุมกำเนิดที่มี
ประสิทธิภาพมากที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับผู้หญิง ซึ่งใช้งานได้นาน และผู้หญิงสามารถตั้ง
ครรภ์ได้ทันทีที่เอาห่วงออก

โดยทั่วไปห่วงคุมกำเนิดแบ่งเป็นสองชนิด
• ห่วงคุมกำเนิดแบบเคลือบทองแดง
• ห่วงคุมกำเนิดแบบฮอร์โมน ซึ่งจะปล่อยฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนเข้าสู่มดลูกของคุณอย่าง
ช้า ๆ

ห่วงคุมกำเนิดทำงานอย่างไร

ห่วงคุมกำเนิดป้องกันการผสมพันธ์ุของไข่ โดยทองแดงหรือฮอร์โมนจากห่วง จะเปลี่ยนเส้นทางของ
สเปิร์มที่เคลื่อนที่เข้าสู่ไข่ หรือบางครั้งก็หยุดยั้งไม่ให้ไข่มีการฝังตัวที่ผนังมดลูก

ห่วงคุมกำเนิดมีข้อดีอย่างไร

ห่วงคุมกำเนิดมีข้อดีหลายอย่าง ได้แก่
• เป็นวิธีการคุมกำเนิดในระยะยาว ที่สามารถใช้งานได้ 3 ปี หรือมากกว่านั้น
• คุณสามารถตั้งครรภ์ได้ทันทีที่ต้องการ เมื่อเอาห่วงออก
• เป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพมากถึง 99%
• เอาออกได้ง่ายเมื่อคุณไม่ต้องการคุมกำเนิดแล้ว
• ไม่ส่งผลเสียต่อการให้นมบุตร
• ไม่ทำความรำคาญให้แก่คู่รักของคุณ
• ไม่มีข้อพิสูจน์ถึงความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง
• ห่วงแบบเคลือบทองแดงไม่มีส่วนประกอบของฮอร์โมน
• ห่วงแบบเคลือบทองแดง สามารถทำหน้าที่เสมือนยาคุมฉุกเฉินได้
• ไม่มีผลข้างเคียง เนื่องจากปล่อยฮอร์โมนออกมาเพียงเล็กน้อยมาก

หน้า 12

ความเสี่ยงของการใช้
ห่วงคุมกำเนิด

ความเสี่ยงของการใช้ห่วงคุมกำเนิด

มีความเป็นไปได้เล็กน้อยที่จะเกิดการติดเชื้อ (ราว 1%) ในขณะที่ใส่ห่วงคุมกำเนิด
มีความเสี่ยงเล็กน้อยที่จะเกิดความเสียหายต่อมดลูก (ราว 1 ใน 1,000)
มีโอกาสในการตั้งครรภ์ แต่ก็เป็นไปได้ยากมาก
อาจเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก
ห่วงแบบเคลือบทองแดงอาจทำให้เลือดออกมากขึ้น หรือปวดท้องหนักมากในระหว่าง
มีประจำเดือน
ทองแดงอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ได้
ห่วงแบบฮอร์โมนอาจทำให้เกิดปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ เช่น ประจำเดือน
น้อยกว่าปกติ หรือมีมากกว่ากว่าปกติ
อาจมีโอกาสที่ห่วงคุมกำเนิด จะหลุดออกมาได้เอง (ราว 5%)




ใครสามารถใช้ได้บ้าง ใครที่ไม่ควรใช้ห่วงคุมกำเนิด

ห่วงคุมกำเนิดเหมาะสำหรับผู้หญิงแทบทุก ผู้หญิงควรรักษาอาการติดเชื้อใดๆ ก็ตาม
คน ทั้งวัยรุ่นและหญิงสาวที่ยังไม่เคยมีบุตร ที่มี ก่อนการใช้ห่วงคุมกำเนิด ห่วงคุมกำเนิด
ห่วงแบบฮอร์โมนยังเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ แบบเคลือบทองแดง ไม่เหมาะสำหรับผู้หญิงที่
หญิงที่ประจำเดือนมามากอีกด้วย ปกติมีเลือดประจำเดือนออกมาก หรือมี
อาการปวดท้ องอย่างหนั กในช่ วงมีประจำ

เดือน เนื่องจากมันอาจทำให้อาการพวกนี้แย่
ลงได้




ช่วงเวลาในการใส่ห่วงคุมกำเนิด ควรดูแลห่วงคุมกำเนิดอย่างไร

ในระหว่างมีประจำเดือน หรือหลังจากเพิ่งหมด หมอของคุณจะสามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมใน
ประจำเดือน เรื่องนี้ได้ เมื่อใส่ห่วงคุมกำเนิดให้คุณ และคุณควร
หกสัปดาห์หลังคลอดบุตร กลับไปให้หมอตรวจดู หลังจากใส่ห่วงไปแล้ว
ในระหว่างที่มีการผ่าตัดเพื่อทำแท้ง 6สัปดาห์ เพื่อให้มั่นใจว่าห่วงอยู่ในที่ทางที่เหมาะ
หลังการร่วมเพศที่ไม่มีการป้องกัน (ใช้ห่วงแบบ สม ไม่เลื่อนหลุด หรือมีปัญหาอื่นใด หลังจากนั้น
เคลือบทองแดง) เป็นการคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน โปรดปรึกษาหมอเพิ่มเติมในเรื่องนี้
อย่างหนึ่ง

หน้า 13

การนับหน้า 7 หลัง 7

หน้า 7 หลัง 7 คือ การคุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติ หรือ
Fertility Awareness Method: FAM โดยใช้ช่วงเวลาที่ไข่ตก
ไปแล้ว จนถึงก่อนไข่โต เรียกได้ว่าเป็นช่วงที่มดลูกไม่เหมาะ
สำหรับการตั้งครรภ์
ระยะปลอดภัยนี้อยู่ในช่ วง
• หน้า 7 คือ 7 วัน “ก่อน” วันที่ประจำเดือนมา
• หลัง 7 คือ 7 วัน “หลังจากวันแรก” ที่มีประจำเดือน

วิธีการนับ หน้า 7 หลัง 7

หน้า 7 หลัง 7 เป็นระยะที่ค่อนข้างปลอดภัยสำหรับ
ก า ร มี เ พ ศ สั ม พั น ธ์ โ ด ย ที่ ไ ม่ ต้ อ ง ใ ช้ อุ ป ก ร ณ์ ป้ อ ง กั น ห รื อ
อุปกรณ์คุมกำเนิด เพื่อลดความเสี่ยงสำหรับการตั้งครรภ์
ไม่พึงประสงค์
ตัวอย่าง เช่น ประจำเดือนในรอบนี้ จะมาในวันที่ 8 9 10 11
การนับระยะปลอดภัยหน้า 7 คือ ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 – 7
และการนับระยะปลอดภัยหลัง 7 คือ นับจากวันที่ 8 – 14

ดังนั้นจากตัวอย่างที่กล่าวมา ระยะปลอดภัยของ
การมีเพศสัมพันธ์ คือ วันที่ 1 – 14 วิธีการนี้สามารถใช้ได้
กับสุภาพสตรีที่มี

**รอบเดือนที่มาปกติสม่ำเสมอเท่านั้น** หากมีความคาด
เคลื่อนแม้แต่เพียงวันเดียวก็มีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ได้

คุมกำเนิดแบบนับหน้า 7 หลัง 7 ทำให้ไม่ท้องจริงหรือ ?
การนับระยะปลอดภัยแบบหน้า 7 หลัง 7 เป็นวิธีที่ไม่

สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100% เนื่องจากยังมีปัจจัย
อื่น ๆ ซึ่งร่างกายผู้หญิงในแต่ละคนจะมีวันไข่ตกที่ไม่เหมือน
กัน หากในช่วง หน้า 7 หลัง 7 เป็นช่วงที่ไข่ตก ก็ย่อมมีโอกาส
ปฏิสนธิและเกิดการตั้งครรภ์ขึ้นได้อย่างแน่นอน นอกจากนี้
แล้ว การนับระยะปลอดภัยก็ยังถือว่าไม่เหมาะสำหรับการ
นำมาใช้ในวัยรุ่น เพราะเป็นช่วงวัยที่เจริญพันธุ์ เนื่องจากจะ
มีไข่ตกบ่อยกว่าวัยอื่น ๆ จึงทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์มีสูง

ระยะระหว่างการตั้งครรภ์

2

หน้า 14

ระยะช่วงระหว่างการตั้งครรภ์

"การปรึกษา คนรู้ใจ

คุยกับสามีอย่างจริงจัง เรื่องการวางแผนที่จะมีลูก เพื่อเตรียมวางแผน
ทางการเงิน ค่าฝากครรภ์ ค่าคลอด และค่าเลี้ยงดูบุตร ในตอนที่ไม่สามารถไปทำงาน
ได้ในช่วงแรกๆ ที่คอลด บางครั้งการมีลูกเมื่อไม่พร้อมและสามีไม่พร้อมก็เป็นสาเหตุ
ที่ทำให้หลาย ๆ คู่แยกทางจากกัน แม่ลูกอ่อนจำเป็นต้องเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว
สร้างความเครียดและภาระให้กับตัวเอง และการดำเนินชีวิต ปัญหานี้ที่ทำให้บางคน
ตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ อันเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการดูแล และการสูญเสียรายได้
จากงานประจำที่ทำอยู่ เนื่องจากต้องออกจากงานมาเลี้ยงบุตร

" การปรึกษา พ่อแม่
พ่อและแม่เป็นที่ปรึกษาที่ดี หากผู้ตั้งครรภ์ไม่รู้ว่าจะรับมืออย่างไรให้ปรึกษา
พ่อแม่ก่อน อาจได้รับคำตอบที่ดีต่อตัวผู้ตั้งครรภ์ แต่ซึ่งผู้ตั้งครรภ์และคู่รักควรเป็น
ผู้ตัดสินใจต่อการจัดการและรับมือกับภาวะที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง โดยคำนึงถึงตนเอง
และคู่รักเป็นหลัก

" การปรึกษาแพทย์
เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงพร้อมต่อการตั้งครรภ์ สามารถให้กำเนิดลูกน้อยที่มีสุขภาพดี
คุณแม่คลอดได้ปลอดภัย จึงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือเป็นคุณแม่
แต่ในกรณียุติการตั้งครรภ์ หมอก็จะสามารถให้คำปรึกษาที่ดีต่อตัวผู้ตั้งครรภ์ได้

หน้า 15

การตัดสินใจในกรณีการยุติการตั้งครรภ์

ผู้ประสบภาวะท้องไม่พร้อมควรคำนึงถึงความคิดด้านบวกและลบที่มีต่อประเด็นต่าง ๆ
โดยไม่จำเป็นต้องตอบคำถามทุกคำถามทันที ทั้งนี้ ควรปรึกษาคู่รักของตนให้ละเอียด
ถี่ถ้วน เพื่อให้แน่ใจว่าต่างยินดีจะเลี้ยงเด็กที่เกิดมาหรือไม่ก่อนพูดคุยหรือปรึกษากับ
ครอบครัวของแต่ละฝ่ายต่อไป อย่างไรก็ตาม ผู้ประสบภาวะท้องไม่พร้อมที่อายุยังน้อย
อาจได้รับแรงกดดันจากครอบครัวให้เลี้ยงเด็กเองหรือยกให้คนอื่นเลี้ยง ซึ่งผู้ประสบภาวะ
ท้องไม่พร้อมและคู่รักควรเป็นผู้ตัดสินใจต่อการจัดการและรับมือกับภาวะที่เกิดขึ้นด้วย
ตนเอง โดยสามารถตัดสินใจจัดการกับภาวะท้องไม่พร้อมได้ ดังนี้

เลี้ยงทารกที่เกิดมา ยุติการตั้งครรภ์

ผู้ตั้งครรภ์ที่ตัดสินใจให้กำเนิดและเลี้ยงทารกเอง วิธียุติการตั้งครรภ์สำหรับผู้ที่ประสบภาวะท้อง
ต้องเข้าใจและยอมรับบทบาทหน้าที่ของการเป็นแม่ ไม่พร้อม ประกอบด้วยการทำแท้งด้วยอุปกรณ์
เ นื่ อ ง จ า ก ผู้ ตั้ ง ค ร ร ภ์ ต้ อ ง มี ฐ า น ะ ท า ง ก า ร เ งิ น แ ล ะ ทางการแพทย์และการใช้ยาทำแท้ง โดยผู้ตั้งครรภ์
ความรับผิดชอบในการเลี้ยงดูบุตรให้เติบโตขึ้นมา ควรเข้ารับยุติการตั้งครรภ์จากแพทย์อย่างถูก
มีคุณภาพ โดยต้องเข้าใจเรื่องการดูแลทารก การ กฎหมาย ไม่ควรทำแท้งตามคลินิกทำแท้งเถื่อน
เลี้ยงดูบุตร และการให้การศึกษาแก่บุตร อย่างไร หรือซื้อยาทำแท้งมาใช้เอง เนื่องจากอาจได้รับผล
ก็ตาม เบื้องต้น ผู้ตั้งครรภ์ควรปฏิบัติตน ดังนี้ ข้างเคียง เช่น เลือดออกมาก หรือติดเชื้อ ซึ่งเป็น
อันตรายถึงชีวิต ผู้ตั้งครรภ์ควรปรึกษาสูติแพทย์ที่
1. เริ่มฝากครรภ์และไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ โรงพยาบาลเมื่อเริ่มตั้งครรภ์ โดยแพทย์หลายฝ่าย
2. รับการตรวจคัดกรองโรคเป็นประจำ จะร่วมกันพิจารณาภาวะทางจิตใจของผู้ป่วย รวม
3. ค้นข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพครรภ์ ทั้งในด้านการ ทั้งข้อกฎหมาย เพื่อประกอบการยุติการตั้งครรภ์ที่
เปลี่ยนแปลงทางร่างกายและอารมณ์ เพื่อเตรียมพร้อม ปลอดภัย ทั้งนี้ การยุติการตั้งครรภ์ที่ถูกต้องตาม
และดูแลสุขภาพครรภ์ได้อย่างเหมาะสม กฎหมายในประเทศไทยนั้น จะทำได้โดยพิจารณา
4. วางแผนเกี่ยวกับหน้าที่การงาน ฐานะทางการเงิน และ เป็นกรณี ๆ ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์
ความรับผิดชอบต่อเรื่องต่าง ๆ ร่วมกับคู่รัก การปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการ
5. ดูแลสุขภาพตัวเองให้แข็งแรง โดยรับประทานอาหารที่ แพทย์ตามมาตรา 305 แห่ง ประมวลกฎหมาย
มีประโยชน์และอาหารที่มีกรดโฟลิคหรือยาโฟลิคเพื่อ อาญา พ.ศ. 2548 ระบุว่า สตรีมีครรภ์ที่สามารถยุ
เสริมสร้างสุขภาพทารกในครรภ์ให้แข็งแรงสมบูรณ์ ติการต้ังครรภ์ได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ
6. รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ทางร่างกายหรือจิตใจ หรือการตั้งครรภ์จากการ
7. ออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ ล่วงละเมิดทางเพศหรือข่มขืนกระทำชำเรา ทั้งนี้
อย่างเหมาะสม การยุติการตั้งครรภ์ควรทำตั้งแต่อายุครรภ์ยังไม่
8. เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งงดสูบบุหรี่และ มาก เนื่องจากการยุติการตั้งครรภ์เมื่ออายุครรภ์
ใช้สารเสพติดต่าง ๆ มากกว่า 12 สัปดาห์ ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อ
สุขภาพได้

หน้า 16

การตัดสินใจในกรณีการยุติการตั้งครรภ์

การยุติการตั้งครรภ์ (ทำแท้ง) ที่ถูกต้องกฎหมาย

ประเทศต่าง ๆ กำหนดเกณฑ์ในการยุติการตั้งครรภ์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย อันเนื่องมาจากเหตุต่าง ๆ
7 ข้อดังต่อไปนี้

1. ด้านชีวิตของผู้หญิง หากการตั้งครรภ์นั้นทำให้ผู้หญิงเสียชีวิตได้
2. ด้านสุขภาพกายของผู้หญิงอันเนื่องมาจากการตั้งครรภ์
3. ด้านสุขภาพทางใจของผู้หญิงอันเนื่องมาจากการตั้งครรภ์
4. การตั้งครรภ์นั้นเป็นการตั้งครรภ์จากการข่มขืน หรือการท้องร่วมสายเลือด
5. ด้านสุขภาพที่ไม่ดีหรือมีความพิการของตัวอ่อนในครรภ์
6. ด้านเศรษฐกิจและสังคม ที่ทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้
7. ด้านความต้องการของผู้หญิง ที่ตัดสินใจเองว่าจะต้องการตั้งครรภ์ต่อไปหรือไม่

สำหรับประเทศไทย เปิดโอกาสให้มีการยุติการตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้องเช่นกัน ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญา 305
(1) (2) และมาตรา 276, 277, 282 , 283 และ 284 โดย ในมาตรา 305 ประกอบด้วย 2 วรรคที่เกี่ยวข้อง ที่กล่าวว่า
การยุติการตั้งครรภ์สามารถทำได้
วรรคแรก คือ

1) การตั้งครรภ์ที่ครรภ์นั้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพมารดา โดย "สุขภาพ" ตามนิยามขององค์การอนามัย
รวมถึงสุขภาพกายและใจ ซึ่งภายใต้ข้อบังคับแพทย์สภา ระบุว่า ในกรณีสุขภาพทางจิต แพทย์สามารถ ให้การวินิจฉัยได้เลย โดยที่
ไม่ต้องปรึกษาจิตแพทย์

2) กรณีที่ทารกในครรภ์มีความพิการรุนแรง ซึ่งภายใต้ข้อบังคับแพทย์สภา ระบุว่า ความรุนแรงนั้นส่งผลกระทบ
ต่อสุขภาพจิตของมารดาด้วยเช่นเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ การยุติการตั้งครรภ์ของผู้หญิงที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์แล้ว
พบว่ามีความผิดปกติก็สามารถทำได้
วรรคที่ 2 คือ
การตั้งครรภ์นั้นเกิดจากความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอีก 5 มาตรา ดังต่อไปนี้คือ

มาตรา 276 ว่าด้วยการถูกข่มขืนกระทำชำเรา
มาตรา 277 ว่าด้วยการทำให้เด็กอายุน้อยกว่า 15 ปีตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นการสมยอมหรือไม่ก็ตาม
มาตรา 282 , 283, 284 ว่าด้วยการล่อลวงผู้อื่นมาทำอนาจาร สนองความใคร่ โดยใช้อุบายล่อลวง บังคับข่มขู่ แม้ว่า
ในท้ายที่สุดอาจจะเกิดการสมยอมกันก็ตาม แต่ถ้ามาจากด้วยสาเหตุข้างต้นก็ถือว่าเป็นการตั้งครรภ์ที่เกิดจากความผิดทางอาญา

โดยสรุป

ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 305 (1) (2) และมาตรา 276, 277, 282 , 283 และ 284
ประเทศไทยกำหนดให้ผู้หญิงสามารถยุติการตั้งครรภ์โดยแพทย์ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้

1. การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพทางกายของผู้หญิง
2. การตั้งครรภ์นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพทางใจของผู้หญิง
3. ตัวอ่อนในครรภ์มีความพิการ
4. การตั้งครรภ์ที่เกิดจากการข่มขืนกระทำชำเรา
5. การตั้งครรภ์ในเด็กหญิงที่อายุไม่เกิน 15 ปี
6. การตั้งครรภ์มาจากเหตุล่อลวง บังคับ หรือข่มขู่ เพื่อทำอนาจารสนองความใคร่

หน้า 17

การยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย



การดูดเนื้อรกจากโพรงมดลูก

การดูดเนื้อรกจากโพรงมดลูก (MANUAL VACUUM ASPIRATION : MVA)
วิธีการที่สามารถทำได้จนถึงอายุครรภ์ประมาณ 10 - 12 สัปดาห์ อุปกรณ์ที่ใช้งานดังกล่าวมีลักษณะเป็น
หลอดพลาสติกขนาดต่าง ๆ ประกอบคู่กับกระบอกดูดสุญญากาศเมื่อแพร่สอดหลอดพลาสติกเข้าไปใน
โพรงมดลูกสามารถดูชิ้นงานออกจากกรงมดลูกได้ซื้อสามารถทำให้เกิดการแท้งสมบูรณ์ได้เกือบร้อยละ
100

ซึ่งในไทยมีความพยายามที่จะยกเลิกวิธีการยุติการตั้งครรภ์ด้วยการขุดมดลูกหรือการใช้อุปกรณ์
ทางการแพทย์เพื่อนำเอาอีกเนื้อเยื่อของมดลูกออกมาและแทนที่ด้วยการดูดเนื้อโลกจากโพรงมดลูกแทน

การใช้ยายุติการตั้งครรภ์

ยาที่ใช้ในการยุติการตั้งครรภ์ที่ใช้กันในปัจจุบันและได้รับการยอมรับโดยองค์การอนามัยโลก
คือ MIFEPRISTONE และ MISOPROSTOL วิธีการยุติการตั้งครรภ์ด้วยยา
แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ

การใช้ยา MIFEPRISTONE ร่วมกับ MISOPROSTOL ในช่วงอายุครรภ์ก่อน 9 สัปดาห์
การใช้ยาสองขนาดนี้ที่อายุเก้าถึง 14 สัปดาห์ ทำให้เกิดการแท้งสมบูรณ์ถึงร้อยละ 97
การใช้ยา MISOPROSTOL เพียงอย่างเดียวในกรณีที่อายุครรภ์อยู่ในช่วง 12 ถึง 20 สัปดาห์
สามารถทำให้เกิดการแท้งสมบูรณ์ได้มากกว่าร้อยละ 80 ขึ้นไปวิธีการนี้มีข้อกำหนดให้ใช้
ในโรงพยาบาลสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลเท่านั้น

ภาวะแทรกซ้อนของการยุติการตั้งครรภ์

การยุติการตั้งครรภ์หากกระทำขึ้นโดยถูกกฎหมายจะมีความปลอดภัยและมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นน้อยมาก
อย่างไรก็ตาม ภาวะแทรกซ้อนยังคงเกิดขึ้นในบางคราว:

ปฏิกิริยาต่อยาที่เลือกใช้
ภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคการวางยาสลบ
การฉีกขาดของปากมดลูก
การทำแท้งไม่สมบูรณ์
อาการเลือดออก
มดลูกทะลุหรือฉีกขาด
การติดเชื้อและการยึดเกาะภายในมดลูก

สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ที่ไหน

การประเมินนั้นอยู่ภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์สองท่าน หากนายแพทย์ทั้งสองท่านเห็นว่าการยุติการตั้งครรภ์
เป็นไปโดยสุจริตหรือกระทำไปเพื่อผลประโยชน์ของฝ่ายหญิงหรือตัวอ่อนในครรภ์ ก็สามารถกยุติการตั้งครรภ์ได้
สามารถเข้าร่วมกับคลินิกดังต่อไปนี้เพื่อขอรับความช่ วยเหลือหรือคำแนะนำได้
1. สมาคมวางแผนครอบครัว โทรศัพท์ 2575 4477
(http://www.famplan.org.hk)
2. ศูนย์สุขภาพแม่และเด็ก กระทรวงสาธารณสุข
(http://www.fhs.gov.hk/english/centre_det/maternal/maternal.html)
3. โรงพยาบาลเอกชน

หน้า 18

วิธีการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์

การดูแลสุขภาพคุณแม่ตั้งครรภ์ อาหารบำรุงครรภ์ควรเป็นอาหารที่มีส่วนประกอบของธาตุ
เหล็ก เนื่องจากคุณแม่ตั้งครรภ์จะเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจางสูง อาหารที่ช่วยบรรเทาอาการแน่น
ท้อง เช่น น้ำขิง และยังช่วยเร่งการผลิตน้ำนมได้เป็นอย่างดี ผักผลไม้ โดยเฉพาะผักสีเขียว, ผักสี
ส้ม เพราะมีประโยชน์ให้ลูกน้อยเจริญเติบโตอย่างสมวัยและช่วยให้สุขภาพของคุณแม่แข็งแรง
อีกด้วย อาหารเร่งน้ำนม เช่น แกงเลียง ยำหัวปลีและผัดขิง เป็นต้น การเดิน, การนั่ง, การนอน,
ต้องระมัดระวังมากขึ้น การนอนคว่ำในช่วงไตรมาสแรกอาจไม่ได้ส่งผลอะไร แต่เมื่ออายุครรภ์
มากขึ้น ท้องเริ่มใหญ่ขึ้นควรนอนตะแคงด้านซ้าย เพราะจะช่วยพยุงท้องได้ดีและช่วยให้คุณแม่
หายใจได้สะดวกมากขึ้น การทานยาจะต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เพราะยาบางชนิดอาจส่ง
ผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์ได้

ผิวแตกลาย เป็นผลข้างเคียงจากการที่ท้องคุณแม่ขยายใหญ่ขึ้นอย่าง
รวดเร็ว การป้องกันโดยทาครีมบำรุงผิวที่มีส่วนผสมของมอยเจอไรเซอร์
อาจช่วยลดรอยแตกลายได้บ้าง อึดอัด แน่นท้อง สามารถบรรเทาได้ด้วยการ
ทานอาหารให้น้อยลงแต่แบ่งเป็นหลายมื้อๆ

การออกกำลังกาย เป็นสิ่งจำเป็น เพราะส่งเสริมให้กล้ามเนื้อต่างๆ
แข็งแรงขึ้นและช่วยให้คุณแม่นอนหลับสบายวันละประมาณ 7-9 ชั่วโมง
ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี ท้องไม่ผูก การพักผ่อน ให้มากกว่าปกติและควร
ได้พักผ่อนในช่วงกลางวันด้วย การแต่งกาย ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวม ไม่
รัดรูป, ปรับขนาดยกทรงให้พอเหมาะกับเต้านมที่เพิ่มขนาดขึ้น
รองเท้าควรใส่ไม่มีส้น

ลูกในครรภ์ แบ่งเป็น 3 ไตรมาส ไตรมาสที่ 1 (1-3 เดือน) เมื่ออายุ 3 เดือน ขนาด
ทารกตัวยาว 10-12 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 15 กรัม เป็นช่วงที่ไข่เข้าไปฝังตัว
อยู่ที่ผนังมดลูกแล้ว และกำลังเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อน โดยมีรกและสายสะดือนำ
อาหารส่งไปถึงทารก ซึ่งเมื่อทารกมีอายุครรภ์ได้ 3 เดือน เขาจะมีอวัยวะครบถ้วน
หัวใจเต้นประมาณ 120-160 ครั้ง/นาที แต่คุณแม่จะยังไม่รู้สึกว่าลูกดิ้น ไตรมาสที่ 2
(4-6 เดือน) เมื่ออายุ 6 เดือน ขนาดตัวยาว 30 เซนติเมตร น้ำหนัก 600 กรัม เป็น
ช่วงที่ทารกเริ่มขยับตัวมากขึ้น มีการหลับตื่น สามารถลืมตา กลืนน้ำได้ มีขนขึ้นตาม
ร่างกาย สมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วแต่การทำงานของปอดยังไม่ค่อยดี
ช่วงนี้คุณแม่จะรู้สึกว่าลูกดิ้น ไตรมาสที่ 3 (7-9 เดือน) เมื่ออายุ 9 เดือน ขนาดตัว
ยาว 50 เซนติเมตร น้ำหนัก 2,800 – 3,000 กรัม เป็นช่วงที่ทารกเริ่มเจริญเติบโต
เต็มที่และสามารถหายใจได้เอง ระยะนี้เด็กจะเริ่มกลับตัว เอาหัวลงสู่ช่องคลอด
เพื่อเตรียมพร้อมคลอดต่อไป

ระยะหลังการตั้งครรภ์

3

หน้า 19

ระยะหลังการตั้งครรภ์

กรณีไม่พร้อมดูแลบุตร

การปฏิบัติตนเมื่อไม่พร้อมดูแลบุตรหลังคลอด ในกรณีที่พบว่าทางเลือกคือไม่สามารถเลี้ยงดูบุตร
ได้เมื่อคลอดบุตรมีความชัดเจนว่าไม่สามารถเลี้ยงดูเองได้ และต้องการยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรม
ของผู้อื่น ให้ทางโรงพยาบาลจะประสานงานกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ประจำจังหวัด หรือองค์กรเอกชนที่ให้บริการด้านนี้ ความเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย และสภาพจิตใจ
ไม่ได้เกิดในขณะตั้งครรภ์เพียงอย่างเดียว แต่เกิดกับภาวะหลังคลอดด้วย ซึ่งหนึ่งในสาเหตุหลัก ๆ คือ
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนในร่างกายของแม่ลดต่ำลงหลังคลอด
บุตรในช่วงระยะเวลาพักฟื้ นราว 5-6 สัปดาห์นี้ คุณแม่ควรทำความเข้าใจและเตรียมพร้อมรับมือกับ
ความเปลี่ยนแปลงนี้ เพื่อให้ร่างกายและสภาพจิตใจค่อย ๆ กลับคืนสู่สภาพปกติ

ภาวะหลังคลอดทางด้านร่างกาย

หลังจากคลอดบุตรประมาณ 6 สัปดาห์แรก จะเป็นช่วงภาวะหลังคลอดที่ร่างกายของคุณแม่เกิด
ความเปลี่ยนแปลงและกำลังปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติ โดยความเปลี่ยนแปลงที่มักเกิดขึ้นในช่วงนี้
ได้แก่
• น้ำคาวปลา คือ เนื้อเยื่อและเลือดที่ไหลออกมาจากโพรงมดลูกหลังการคลอด น้ำคาวปลาจะถูก
ขับออกมาจากมดลูกโดย 3-4 วันแรกหลังคลอดจะมีน้ำคาวปลาเยอะมากและเป็นสีแดงสด คุณแม่
ต้องใส่ผ้าอนามัยและเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ ระยะเวลาในการมีน้ำคาวปลาจะแตกต่างกันไปตั้งแต่
2-6 สัปดาห์ แต่โดยทั่วไปจะมีประมาณ 3 สัปดาห์
• เต้านมคัดตึงบวม อาการนี้เป็นเรื่องปกติของภาวะหลังคลอด อาจทำให้คุณแม่มีอาการเจ็บเต้านม
และครั่นเนื้อ ครั่นตัว เหมือนไม่สบาย หากประสบปัญหานี้แนะนำให้ประคบอุ่นประมาณ 10 นาที
นวดคลึงหัวนม พร้อมทั้งให้ลูกดูดนมบ่อย ๆ ทุก 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้น้ำนมระบายออกได้มากที่สุด
• ผมร่วงหลังคลอด เมื่อคลอดบุตรแล้วระดับฮอร์โมนจึงเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดอาการผม
ร่วงมากกว่าปกติ ซึ่งไม่ใช่อาการผิดปกติแต่อย่างใด โดยทั่วไปอาการผมร่วงนี้จะหายไปเองภายใน
6-12 เดือน พร้อมกับรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กให้เพียงพอ ผักที่มีสีเขียวเข้ม รวมถึงอาหาร
ทะเลที่มีสังกะสีสูงจะช่วยเสริมสร้างเส้นผมได้
• ท้องผูก อาจเกิดจากภาวะริดสีดวงทวาร หรืออาการเจ็บแผลจากการคลอดบุตรจนทำให้คุณแม่ไม่
อยากถ่ายอุจจาระ ซึ่งอาจส่งผลให้ท้องผูกตามมาได้ ดังนั้น คุณแม่จึงควรเน้นกินอาหารที่มีเส้นใยสูง
อย่างผัก ผลไม้ หรือธัญพืช และดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อช่วยให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้นหากทำตามแล้วแต่
อาการยังไม่ดีขึ้นให้ปรึกษาแพทย์
• กลั้นปัสสาวะไม่ได้ เนื่องจากการคลอดอาจทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานของคุณแม่ยืดออก โดย
เฉพาะผู้ที่ใช้เวลาคลอดบุตรนานกว่าปกติ จะเกิดภาวะนี้สูงเมื่อมีการไอ จาม หรือหัวเราะ จะทำให้
เกิดปัสสาวะเล็ดออกมาได้ แต่ภาวะนี้จะค่อย ๆ หาย และกลับมาเป็นปกติได้ประมาณ 3 สัปดาห์หรือ
นานกว่านี้ ในระหว่างนี้ แนะนำให้คุณแม่หลังคลอดใส่ผ้าอนามัย และหมั่นบริหารกล้ามเนื้ออุ้ง
เชิงกรานเป็นประจำ ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีการใช้เลเซอร์กระชับช่องคลอดหรือมินิรีแพร์ รักษา
อาการปัสสาวะเล็ดได้
• ผิวแตกลาย คุณแม่หลังคลอดร้อยละ 90 จะมีผิวหน้าท้องแตกลาย เกิดจากการขยายขนาดของ
ผิวหนังอย่างรวดเร็วขณะตั้งครรภ์ พอหลังจากคลอดบุตรออกมาแล้ว ริ้วลอยดังกล่าวก็ยังคงอยู่ แต่
จะค่อยๆ จางลงเมื่อเวลาผ่านไป หรือจะใช้ครีมทาผิวหรือทาแก้ท้องลายนวดบริเวณหน้าท้องที่แตก
ลาย ก็จะช่วยลดเลือนริ้วลอยได้

หน้า 20

ภาวะหลังคลอด
ทางด้านอารมณ์

นอกจากความเปลี่ยนแปลงที่เกินทางด้านร่างกายแล้ว ยังเกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์และ
สภาพจิตใจด้วย ดังนี้

ภาวะเศร้าหลังคลอด (Postpartum blue) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน โดย
เฉพาะคุณแม่มือใหม่ที่ยังปรับตัวหลังคลอดไม่ค่อยได้ ซึ่งภาวะนี้จะมีอาการหงุดหงิด เศร้า เสียใจ
อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ร่างกายอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ มีความกังวลเรื่องลูกระยะเวลาของ
อาการนี้อาจอยู่ประมาณ 5 วันหลัง คลอด และจะหายไปเองภายใน 2 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับคุณแม่
แต่ละรายในช่วงที่คุณแม่หลังคลอดมีอาการ อาศัยเพียงแค่กำลังใจและการดูแลเอาใจใส่อย่าง
ใกล้ชิดจากคนรอบข้าง ก็จะช่วยให้อาการดีขึ้นโดยไม่ต้องทำการรักษา
โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression) เกิดจากความผิดปกติของอารมณ์หลังคลอด
ระดับปานกลางจนถึงรุนแรงโดยมีอาการเช่น นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ร้องไห้บ่อย อ่อนไหวง่าย
บางครั้งหงุดหงิด ความผูกพันกับลูกหายไป บางครั้งเกิดอยากทำร้ายตัวเอง ทำร้ายลูกเป็นต้น
โดยระยะอาการมีตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไปจนถึงหลายเดือน หรือเป็นปี ซึ่งผู้ที่มีแนวโน้มที่จะเป็น
กับโรคซึมเศร้าหลังคลอด ต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ด้วยการเข้ารับการบำบัดโดยนัก
จิตวิทยาคลินิก เพื่อทำความเข้าใจกับอาการต่าง ๆ ที่คุณแม่กำลังเผชิญอยู่รวมทั้งแรงสนับสนุน
และการดูแลเอาใจใส่ จากครอบครัวก็จะช่ วยให้อาการดีขึ้น

ทั้งหมดนี้คือภาวะหลังคลอดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ คุณแม่ควร
สังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเองอยู่เสมอ ทั้งทางร่างกาย
และอารมณ์ หากคุณแม่หลังคลอดคนใดมีอาการผิดปกติ หรือ
เป็นนานเกินไป ควรปรึกษาแพทย์ทันที

หน้า 21

การดูแลสภาพจิตใจ
หลังจากตัดสินใจ
ไม่รับเลี้ยงบุตร

การดูแลสภาพจิตใจคุณแม่หลังคลอดบุตรและตัดสินใจไม่รับเลี้ยงบุตรเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่าง
มาก เพราะหลังคลอดบุตรจะมีภาวะหลังคลอดทางด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ การดูแลสภาพ
จิตใจจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากไม่ควรละเลย

การระบุภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเบื้องต้น เคล็ดลับในการป้องกัน

• สูญเสียความสนใจในกิจกรรมเกือบทั้งหมด • มีความคาดหวังที่ขึ้นอยู่กับความเป็นจริงของการเป็น
(รวมถึงสูญเสียความสนใจในบุตรของตนด้วย) ผู้ ป ก ค ร อ ง เ พื่ อ ช่ ว ย จั ด ก า ร ชี วิ ต ห ลั ง จ า ก ก า ร ค ล อ ด
• ไม่อยากอาหาร • สร้างการสนทนาที่มีประสิทธิภาพกับคู่ครองและสมาชิก
• มีปัญหาการนอน คนอื่น ๆ ในครอบครัว เพื่อการพัฒนาความเข้าใจและ
• เหนื่อยล้าหรือไม่มีแรงตลอดเวลา การสนับสนุน
• ไม่มีสมาธิหรือตัดสินใจลำบาก • พักผ่อนและนอนหลับอย่างเพียงพอ เช่น จัดให้มีความ
• รู้สึกผิด ไร้ค่า และไร้ความหวัง ช่ วยเหลือด้านงานบ้านและการดูแลตัวเองหลังการคลอด
• มีความวิตกกังวลและโมโหง่ายมากเกินไป • หาเวลาพักผ่อนและทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เช่น ไปเดิน
เล่นหรือโทรหาเพื่อน
หากมีอาการดังกล่าวมากกว่า 2 สัปดาห์ ให้ติดต่อ • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ไม่สูบบุหรี่และหลีกเลี่ยง
ผู้เชี่ ยวชาญ เพื่อขอความช่ วยเหลือทันทีที่เป็นไปได้ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

วิธีการขอความช่วยเหลือ บริการรับปรึกษา / สายด่วน

• หากผู้เป็นแม่ทรมานกับปัญหาด้านอารมณ์หลังคลอด - สมาคมสะมาริตันส์ Befrienders Hong Kong 02389 2222
ควรติดต่อศูนย์สุขภาพแม่และเด็กในแถบที่อยู่อาศัย - บริการป้องกันการฆ่าตัวตาย 02382 0000
• ปรึกษาแพทย์ ครอบครัว สำหรับการประเมินและ - สายด่วนกรมประชาสงเคราะห์ 24 ชั่วโมง 02343 2255
การจัดการเบื้องต้น - สายด่วนข้อมูลบริการอนามัยครอบครัว 24 ชั่วโมง
• พบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิกภาคเอกชน 02112 9900
สำหรับการประเมินและการรักษาอย่างมืออาชี พ - สายด่วนนมแม่บริการอนามัยครอบครัว 03618 7450
• เข้าพบนักสังคมสงเคราะห์หรือที่ปรึกษาสำหรับ - สายด่วนข้อมูลสุขศึกษา 0 2833 0111
การประเมินหรือการส่งต่อ - สายด่วน 1667 ของกรมสุขภาพจิต เป็นบริการให้คำปรึกษา
เกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ เปิดตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ใด ๆ ในการใช้บริการ
- สายด่วน 1667 ของกรมสุขภาพจิต เป็นบริการให้คำปรึกษา
เกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ เปิดตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ใด ๆ ในการใช้บริการ

หน้า 22

คู่มือช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม

ประเด็นการประเมินในระยะหลังคลอด สำหรับผู้ประสบปัญหาท้องไม่พร้อมที่ตั้งครรภ์ต่อ
ศูนย์พึ่งได้ในโรงพยาบาล
1. การวางแผนก่อนออกจากโรงพยาบาล
2. ประเมินปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่-ลูก
3. ประเมินทางสภาพทางจิต สังคม เป็น ระยะ ๆ
4. ประเมินความพร้อมของครอบครัว ความสามารถในการเลี้ยงดูเด็ก
5. ประเมินความเสี่ยงการทอดทิ้งบุตร
6. ประเมินความพร้อมการแจ้งเกิด
7. ประเมินทักษะและการปรับตัวทางสังคม

ในกรณีที่พบว่าทางเลือกคือไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรได้ ทางเลือกต่อไปคือ ให้ทารกที่เกิดมา
อ ยู่ ใ น ค ว า ม ดู แ ล ข อ ง ส ถ า น ส ง เ ค ร า ะ ห์ ทั้ ง ดำ เ นิ น ง า น โ ด ย ภ า ค รั ฐ แ ล ะ ภ า ค เ อ ก ช น เ ช่ น
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ซึ่ งทางเลือกนี้เป็นไปได้ทั้งการฝาก
เลี้ยงชั่ วคราว หรือ ยกมอบให้สถานสงเคราะห์ ซึ่ งการฝากเลี้ยงชั่ วคราว หากแม่เด็กและ
ครอบครัวมีความพร้อมก็ สามารถขอรับกลั บมาเลี้ ยงดู เองได้ ในกรณี ยกมอบให้สถาน
สงเคราะห์ ทางสถานสงเคราะห์จะประสานงานกับสำนักงานพัฒนาสั งคมและความมั่นคง
ของมนุษย์จังหวัด เพื่อติดต่อจัดหาครอบครัวบุญธรรมต่อไป

ในกรณีที่ หลั งคลอด ผู้หญิงที่ คลอดบุตรมีความชั ดเจนว่ าไม่สามารถเลี้ ยงดู เองได้
และต้องการยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น ให้ทางโรงพยาบาลจะประสานงานกับ
สำนักงานพัฒนาสั งคมและความมั่นคงของมนุษย์ประจำจังหวัด หรือองค์กรเอกชนที่ให้
บ ริ ก า ร ด้ า น นี้ ไ ด้ แ ก่ ส ห ทั ย มู ล นิ ธิ มู ล นิ ธิ ม ว ล มิ ต ร เ ด็ ก มู ล นิ ธิ ส ง เ ค ร า ะ ห์ เ ด็ ก พั ท ย า
และมูลนิธิสงเคราะห์เด็กสภากาชาดไทย

หน้า 23

การปฏิบัติตัว
เมื่อตั้งครรภ์ในวัยเรียน

หากทราบแน่ชัดแล้วว่าตนเองท้อง สิ่งแรกที่ควรตระหนักคือ ไม่ควร
แบกรับปัญหาไว้เพียงคนเดียว เนื่องจากไม่ได้ช่วยให้ทุกอย่างดีขึ้น และ
ทำให้เครียดและอาจตัดสินใจเลือกแก้ปัญหาด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง

- พูดคุยกับพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ที่ไว้วางใจ เป็นปกติที่ในช่วงแรก
พ่อแม่อาจตกใจ ผิดหวัง หรือต่อว่า ทว่าสุดท้ายแล้วพ่อแม่ก็คือคนที่
ปรารถนาดีและพร้อมช่ วยเหลือเราที่สุด

- พูดคุยกับคนรักหรือผู้ชายที่เป็นพ่อของเด็ก หากอีกฝ่ายรับผิด
ชอบ อาจช่วยให้กำหนดแนวทางการแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น เช่น ร่วมกัน
วางแผนเลี้ยงดูลูกในอนาคต ทั้งนี้ หากอีกฝ่ายปฏิเสธความรับผิดชอบ
ควรตั้งสติและเข้มแข็งเข้าไว้ เพราะยังมีพ่อแม่และคนในครอบครัวที่คอย
เป็นห่วงและเป็นที่พึงพาให้เราได้เสมอ

- ในช่วงแรกที่พบว่าตั้งครรภ์ วัยรุ่นบางคนอาจไม่กล้าระบายให้คน
ใกล้ชิดฟัง แนะนำให้ใช้บริการปรึกษาทางโทรศัพท์ของหน่วยงานในสังกัด
กรมสุขภาพจิตที่หมายเลข 1323 ซึ่งพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง
หรือสายด่วนเรื่องเพศจากภาคีเครือข่ายของ สสส. หมายเลข 1663 และ
1300 ศูนย์ช่วยเหลือพิเศษ กระทรวงพม.

วัยรุ่นที่ท้องก่อนวัยอันควรบางรายอาจตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยวิธีการทำแท้ง
ซึ่งถือเป็นความผิดทางอาญาฐานทำให้แท้งลูก นอกจากนั้น การซื้อยาทำแท้งมา
รับประทานเองหรือทำแท้งตามคลินิกเถื่อนอาจเสี่ยงเกิดผลข้างเคียงร้ายแรง
เช่น ตกเลือด ติดเชื้อ มดลูกทะลุ ซึ่งล้วนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ทั้งนี้ ข้อบังคับ
แพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการ
แพทย์ตามมาตรา 305 แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2548 กำหนดว่าแพทย์
สามารถทำแท้งให้สตรีมีครรภ์ได้โดยไม่ผิดกฎหมายใน 2 กรณีเท่านั้น คือ
หญิงตั้งครรภ์มีปัญหาสุขภาพทางกายหรือทางจิต หรือการตั้งครรภ์จากการถูก
ล่วงละเมิดทางเพศหรือข่มขืนกระทำชำเรา

หน้า 24

กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการคุ้มครองเด็ก
ที่ตั้งครรภ์ในวัยเรียน

ปัจจุบันประเทศไทยมีพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
พ.ศ. 2559 ซึ่งสิทธิประโยชน์ที่วัยรุ่นได้รับจาก พ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้แก่

ได้รับความรู้เรื่องเพศศึกษาอย่างเหมาะสมกับวัยและนำไปปรับใช้ได้จริงจากสถานศึกษา
วัยรุ่นตั้งครรภ์มีสิทธิ์ได้รับคำปรึกษา ตลอดจนความช่วยเหลือและคุ้มครองเพื่อให้ตนเอง
ปลอดภัย
วัยรุ่นตั้งครรภ์สามารถเรียนต่อได้โดยไม่ต้องพักการเรียนหรือถูกบังคับให้ย้ายโรงเรียน
วัยรุ่นสามารถใช้บริการคลินิกสุขภาพทางเพศได้ โดยข้อมูลทุกอย่างจะถูกเก็บเป็นความลับ
และตัดสินใจได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องรับการยินยอมจากผู้ปกครอง
วัยรุ่นที่คลอดบุตรแล้วจะได้รับการสนับสนุนให้เลี้ยงดูบุตรอย่างมีคุณภาพ

ปัจจัยที่ส่งผลให้ท้องก่อนวัยอันควร

ละเลยการคุมกำเนิดหรือขาดความรู้ด้านการคุมกำเนิดที่ถูกต้อง เช่น รับประทานยา
คุมกำเนิดผิดวิธี
แรงกดดันจากสังคมรอบตัว ส่งผลให้ต้องแต่งงานและตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
รายได้ไม่เพียงพอให้ซื้อถุงยางอนามัยหรือยาคุมกำเนิด
อยู่ในสถานการณ์ที่ไม่อาจปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน เช่น ถูกฝ่ายชาย
บังคับโดยใช้อารมณ์หรือความรุนแรง ถูกข่มขืนกระทำชำเรา เป็นต้น

หน้า 25

รณรงค์เกี่ยวกับการไม่ตั้งครรภ์
เมื่อไม่พร้อม

กรมอนามัย ร่วมกับเอกชน รณรงค์สังคมไทยหยุดท้องไม่พร้อม สนับสนุนการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ เนื่องใน
วันคุมกำเนิดโลก

สำหรับในวันคุมกำเนิดโลก ปี 2563 สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย ร่วมกับ ไบเออร์ ไทย จัดกิจกรรม
รณรงค์ลดปัญหาการท้องไม่พร้อมในวัยรุ่น โดยจัดให้มีกิจกรรม Facebook Live ผ่าน Facebook “Young Love"
รักเป็น ปลอดภัย” ในวันที่ 24 กันยายน 2563 ได้รับเกียรติจากแพทย์หญิงวรมา เกษมพิพัฒน์ชัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
สาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เป็นวิทยากร และดำเนินรายการโดยคุณกวาง อริศรา
เจ้าของเพจ Deerlong (เดียร์ลอง) เพื่อส่งเสริมให้เกิดความรู้เรื่องการคุมกำเนิดที่เหมาะสมในกลุ่มวัยรุ่นและวัย
ทำงาน สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถคลิกเข้าไปรับชมวิดีโอ และสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่
facebook.com/younglovethailand และ Line@YoungLove

แพทย์หญิง วรมา เกษมพิพัฒน์ชัย โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ กล่าวถึงทางเลือกของการคุมกำเนิดในสังคมยุคปัจจุบัน
ควรมีการเน้นย้ำเรื่องการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย (safe sex) โดยต้องปลอดภัยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
และการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ เพราะฉะนั้นวิธีการคุมกำเนิดที่ดีที่สุด คือการใช้ วิธีคุมกำเนิด 2 วิธี
(dual protection) โดยใช้ถุงยางอนามัยร่วมกับวิธีอื่นอีก 1 วิธี การคุมกำเนิดวิธีอื่น ๆ ได้แก่ ยาฝังคุมกำเนิด การใส่
ห่วงคุมกำเนิด แผ่นแปะคุมกำเนิด ยาฉีดคุมกำเนิด และยาเม็ดคุมกำเนิดที่เรารู้จักกันดี ซึ่งวิธีคุมกำเนิดแต่ละวิธีก็มี
ข้อดี ข้อเสีย สามารถเลือกนำมาใช้ได้ตามความเหมาะสมของแต่ละคน ซึ่งสิ่งที่สำคัญคือมีช่องทางการเข้าถึงข้อมูล
และบริการรับการปรึกษาวิธีการคุมกำเนิดต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง

แม้ว่าสถานการณ์ท้องไม่พร้อมในวัยรุ่นจะมีแนวโน้มพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ทุกภาคส่วนจำเป็น
ต้องร่วมมือกันป้องกันปัญหาทางสังคมที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะการสร้างความตระหนักรู้เรื่องปัญหาที่เป็นผลตามมา
จากการท้องไม่พร้อม การเป็นคุณแม่วัยใสอาจส่งผลกระทบต่อการเรียน รวมถึงสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจของคุณ
แม่ที่อายุน้อยอีกด้วย นอกจากนี้ ยังเล็งเห็นความสำคัญในการสนับสนุนให้วัยรุ่นสามารถปรึกษาเรื่องการคุมกำเนิด
กับผู้ปกครองหรือเภสัชกรได้อย่างเปิดเผยมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่เป็นเรื่องน่าอาย แต่เป็นการทำเพื่ออนาคตของตัวเอง

การรับมือกับสภาพจิตใจระหว่างการตั้งครรภ์ในวัยเรียน




- มีการจัดบริการช่วยเหลือและสนับสนุนด้านสุขภาพจิต
แก่สตรีวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

- มีการให้ความรู้ถึงวิธีจัดการกับความเครียด
- ได้รับความช่วยเหลือจากครอบครัวด้านกำลังใจและ

คนที่คอยรับฟัง

หน้า 26

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

WEBSITE WEBSITE WEBSITE
กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงานกองทุนสนับสนุน
การสร้างเสริมสุขภาพ

WEBSITE WEBSITE
WEBSITE
กระทรวงการพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย

บรรณานุกรม

กรมอนามัยร่วมกับไบเออร์ไทย รณรงค์สังคมไทยหยุดท้องไม่พร้อม สนับสนุนการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพในวันคุมกำเนิดโลก (2563). [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก : https://www.bayer.com/th/th/thailand-bayer-thai-join- the-campaign-to-prevent-unintended-pregnancies
(วันที่ค้นข้อมูล : 12 กันยายน 2564).

พระราชท้องก่อนวัยอันควร ปัญหาหนักใจที่แก้ไขและรับมือได้. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.pobpad.com/ท้องก่อนวัยอันควร-ปัญหา
(วันที่ค้นข้อมูล : 12 กันยายน 2564).

พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559. (2559). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=1516
(วันที่ค้นข้อมูล : 13 กันยายน 2564).

ภาวะหลังคลอด ที่คุณแม่ควรทำความเข้าใจและเตรียมพร้อมรับมือ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://www.nakornthon.com/article/detail/ภาวะหลังคลอดที่คุณแม่ควรทำความเข้าใจและเตรียมพร้อมรับมือ
(วันที่ค้นข้อมูล : 15 กันยายน 2564).

วันคุมกำเนิดโลก "กรมอนามัย" ร่วมเอกชน รณรงค์ "หยุดท้องไม่พร้อม". (2563). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1937583
(วันที่ค้นข้อมูล : 12 กันยายน 2564).

วิธีใส่ถุงยางอนามัยที่ถูกต้อง. (2562). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://pri.moph.go.th/index.php/services/people/healthknowledge/25-
teens/36-howto
(วันที่ค้นข้อมูล : 15 กันยายน 2564).

ยาคุมฉุกเฉิน…ควรใช้เมื่อฉุกเฉิน. (2563). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/ยาคุมฉุกเฉิน
(วันที่ค้นข้อมูล : 15 กันยายน 2564).

ยาคุมฉุกเฉิน” รู้ก่อนใช้ ปลอดภัยกว่า. (2563). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.phyathai.com/article_detail/2796/th/“ยาคุมฉุกเฉิน”รู้ก่อน
ใช้_ปลอดภัยกว่า
(วันที่ค้นข้อมูล : 15 กันยายน 2564).

ยาคุมกำเนิดชนิดฝัง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/547/ยาคุมกำเนิดชนิดฝัง/
(วันที่ค้นข้อมูล : 15 กันยายน 2564).

:ยุติการตั้งครรภ์ด้วยการใช้ยาอย่างปลอดภัย อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับ ‘ผู้หญิงท้องไม่พร้อม’. (2559). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :

https://ilaw.or.th/node/4297
(วันที่ค้นข้อมูล : 15 กันยายน 2564).

ห่วงอนามัย ทางเลือกการคุมกำเนิดสำหรับผู้หญิง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.pobpad.com/ห่วงอนามัย-ทางเลือกการค
(วันที่ค้นข้อมูล : 15 กันยายน 2564).

หน้า 7 หลัง 7 นับยังไงไม่ให้พลาด?. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.primefertilitycenter.com/หน้า-7-หลัง-7-นับอย่างไร/
(วันที่ค้นข้อมูล : 15 กันยายน 2564).

E-Book คู่มือช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม. (2557). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
http://phdb.moph.go.th/main/upload/ebook/web/20190911104399/mobile/index.html#p=1
(วันที่ค้นข้อมูล : 15 กันยายน 2564).

Original Content By SiPH. (2562). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/130-birth-control-pill
(วันที่ค้นข้อมูล : 15 กันยายน 2564).

9 ข้อมูลที่สำคัญที่ต้องรู้หากเลือกยุติตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย. (2564). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.rsathai.org/contents/13376
(วันที่ค้นข้อมูล : 15 กันยายน 2564).

10 ขั้นตอน ใช้ถุงยางอนามัยปลอดภัย ในวันวาเลนไทน์. (2563). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=1412
(วันที่ค้นข้อมูล : 15 กันยายน 2564).

คณะผู้จัดทำ

ที่ปรึกษา




นางสุดารัตน์ ทฤษฏิคุณ นักพัฒนาสังคมชำนาญการพิเศษ

นายณัฐวุฒิ สินธาราศิริกุลชัย นักพัฒนาสังคมชำนาญการพิเศษ

นางสาววกุล ภคสกุลกาญจน์ นักพัฒนาสังคมชำนาญการ

ฝ่ายข้อมูล, เรียบเรียงและออกแบบ

นางสาว พุทธิดา เยาวรักษ์ 61020165

นางสาว อารยา สุจิวัฒน์ 61020182

นางสาว นธภร กุลธรรุ่งเรือง 61020480

นาวสาว นัฐธกานต์ การูมอ 61020481

นางสาว ปัทมาพร ญาณเพิ่ม 61020487

x

จัดทำโดย

นิสิตฝึกงาน ภาคสังคมวิทยา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยบูรพา

สนับสนุนโดย

สำนักงานส่งเสริมเเละสนับสนุนวิชาการ 2 ชลบุรี


Click to View FlipBook Version