การล้างจมูกเด็กป่วย
ที่มีน้ำมูกคั่งค้าง
Cont ents
สาเหตุการเกิดน้ำมูก
อาการแทรกซ้อนของภาวะน้ำมูกคั่งค้าง
การล้างจมูก และ ประโยชน์ของการล้างจมูก
อุปกรณ์ ขั้นตอนการล้างจมูก และขั้นตอนการ
ทำความสะอาดอุปกรณ์หลังล้างจมูก
สาเหตุการเกิดน้ำมูก
เยื่อบุจมูกบวม มีการอักเสบเนื้อเยื่อชั้นใต้เยื่อบุจมูก
ส่งผลให้มีการหลั่งของน้ำมูกมากขึ้น
ระยะแรก น้ำมูกลักษณะใส ต่อไปเป็นเหนียวข้นและเหลือง
ทำให้มีอาการคัดจมูกและจาม
อาการแทรกซ้อน
ของภาวะน้ำมูกคั่งค้าง
ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ ส่งผลให้ป่วย
-โรคหลอดลมอักเสบและปอดอักเสบ
เกิดอาการหายใจเร็ว หอบเหนื่อย หายใจลำบาก
ระบบหายใจล้มเหลวเสียชีวิตได้
ลักษณะสีของน้ำมูก
สีขาวขุ่น -โพรงจมูกบวมจากการอักเสบ
สีเหลือง - ติดเชื้อในโพรงจมูกและไซนัส
สีเขียว - ติดเชื้อในจมูกรุนแรงขึ้น
การดูแลรักษาภาวะน้ำมูกคั่งค้างในเด็ก
คือ การล้างจมูก
การล้างจมูกคือ การทำความสะอาดโพรงจมูก โดยการใส่น้ำ
เกลือความเข้มข้น 0.9% เข้าไปชะล้างมูก คราบมูกหรือหนอง
ในโพรงจมูกให้สะอาด
ภาพตัดขวางโพรงจมูก
แสดงเส้นทางน้ำไหล.....ขณะล้างจมูก
ประโยชน์ของการล้างจมูก
-ช่วยขับเอาน้ำมูกเหนียวข้นที่เด็กไม่สามารถขับออกมาได้เอง
-ป้องกันการลุกลามของเชื้อโรคจากจมูกและโพรงไซนัสเข้าสู่ปอด
-ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นแก่เยื่อบุจมูก บรรเทาอาการคัดแน่นจมูก
-ช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองและลดการอักเสบในจมูก
- ทำให้เยื่อบุจมูกยุบบวมทำให้หายใจโล่งขึ้น
อุปกรณ์ในการล้างจมูก
3. จุกล้างจมูก
1. น้ำเกลือ 0.9 %NSS
2. กระบอกฉีดยา 4. แก้วสะอาด
ขั้นตอนการล้างจมูก
1. ผู้ดูแลเด็กล้างมือด้วยน้ำสบู่ให้สะอาดก่อนปฏิบัติทุกครั้ง
2. เทน้ำเกลือใส่แก้ว ประมาณ 200 ซีซี วางในน้ำร้อน พออุ่นๆ
3. เด็กเล็กใช้ผ้าห่อตัวไว้ เด็กโตต้องให้ความร่วมมือ
4. ให้เด็กก้มหน้าเล็กน้อย หรืออยู่ในท่าศีรษะตรง
5. วิธีฉีดน้ำเกลือเข้าไปในจมูก สอดปลายกระบอกฉีดยาเข้าไปในรูจมูก
ข้างที่จะล้าง โดยวางปลายกระบอกฉีดยาชิดรูจมูกด้านบน
6. ให้เด็กอ้าปากร้องคำว่า “อา”หรือหายใจทางปาก
7. ฉีดน้ำเกลือเข้าไปในจมูก ครั้งละ 10 ซีซี จนน้ำเกลือและน้ำมูกไหลย้อนออกมา
ทางจมูกอีกข้าง ทำสลับข้างซ้ำๆ จนใช้น้ำเกลือหมดประมาณ 200 ซีซี
หรือจนสีน้ำเกลือที่ออกมาใส
การทำความสะอาดอุปกรณ์หลังล้างจมูก
• ล้างอุปกรณ์ที่ใช้ด้วยน้ำสบู่หรือน้ำยาล้างจาน
แล้วล้างออกด้วยน้ำประปาจนสะอาด
ผึ่งลมหรือแดดให้แห้ง
• กระบอกฉีดยา ควรตั้งคว่ำลงในตะแกรง
หรือแก้วสะอาดที่ไม่มีน้ำขัง
ข้อควรระวังในการล้างจมูกเด็กเล็ก
1.ผู้ดูแลต้องล้างมือให้สะอาด ก่อนล้างจมูกให้เด็ก เพื่อลดการติดเชื้อ
2.น้ำเกลือที่ใช้เหลือควรเททิ้ง ห้ามนำกลับมาใช้ใหม่หรือเทกลับขวดเดิม
3.ห้ามใช้น้ำประปาล้างจมูก เพราะทำให้เยื่อบุจมูกบวม เนื่องจากความเข้มข้น
ไม่เหมาะสมกับเซลล์ของร่างกาย
4.น้ำเกลือที่ใช้ล้างจมูกไม่ควรแช่ตู้เย็น อาจทำให้ปวดในโพรงจมูกและไซนัสได้
5.ระยะเวลาที่เหมาะสม ควรล้างตอนเช้าก่อนอาหาร หรือตอนเย็นหลัง
รับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลัก….อาเจียน
อาการผิดปกติ
ที่ต้องรีบมาพบแพทย์ก่อนนัด
มีน้ำมูกมาก เหนียวข้นเหลือง หายใจเร็วขึ้น
หายใจลำบาก กระสับกระส่าย
รับประทานอาหารน้อยลง อ่อนเพลีย ซึมลง
การดูแลเบื้องต้นเมื่อเกิด
ความเสี่ยงจากการล้างจมูก
เช่น เลือดกำเดาไหล ใช้ความเย็นประคบ
บริเวณหน้าผาก หยุดล้างจมูกชั่วคราว
Thank
You
มีข้อสงสัยเรื่องการล้างจมูก
โทร 081-6276391
ตลอดเวลา