หนังสือเล่มเล ็ กเรื่องรําพระลอตามไก่สําหรับอ่านเพิ่มเติมความรู้รายวิชานาฏศิลป์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ นายธวัชชัย กันตังกุล รหัสนักศึกษา 6411120014 หนังสือเล่มเล ็ กเรื่องรําพระลอตามไก่เป็ นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชารําเดี่ยว,รําคู่สาขาวิชานาฏศิลป์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 2566
ก คํานํา หนังสือเล่มเล็ก เรื่อง รําพระลอตามไก่สําหรับอ่านเพิ่มเติมความรู้รายวิชานาฏศิลป์นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีทึ่6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชารําเดี่ยว , รําคู่สาขาวิชานาฏศิลป์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อในนักเรียนมีเอกสารที่ใช้ค้นหาความรู้เรื่องรําพระลอตามไก่เพื่อให้นักเรียนเข้าใจบทร้องและทํานองเพลงรําพระลอตามไก่เพื่อให้นักเรียนทราบถึงเครื่องแต่งกายรําพระลอตามไก่เพื่อให้นักเรียนทราบถึงฝึกปฏิบัติท่ารําพระลอตามไก่และจัดทําขึ้นเพื่อเป็นสื่อในการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมโดยมีการศึกษารายละเอียดจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่มีความน่าเชื่อถือแล้วนํามารวบรวมเป็นเอกสารประกอบการเรียนต่อไป สาระสําคัญของหนังสือเล่มเล็ก เรื่อง รําพระลอตามไก่ ประกอบด้วย ประวัติชุดการแสดงรําพระ ลอตามไก่ข้อแนะนําก่อนใช้หนังสือเล่มเล็ก จุดประสงค์สื่อการเรียนการสอน ประวัติชุดการแสดง บท ร้อง ลักษณะการแต่งกาย การอธิบายท่ารําพระลอตามไก่สรุป และคําถามทบทวน ขอขอบคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ธีรวัฒน์ช่างสาน อาจารย์ประจําวิชาการแสดงรําเดี่ยว รําคู่ที่ชี้แนะการพัฒนาเอกสารจนสมบูรณ์เป็นสื่อที่ดีมีประโยชน์และต่อท่ารําที่ถูกต้องตามแบบแผน จึง ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้นายธวัชชัย กันตังกุล 09/เมษายน/2566
ข สารบัญ หน้า คํานํา.............................................................................................................................................. ก สารบัญ........................................................................................................................................... ข สารบัญภาพ................................................................................................................................... ค ข้อแนะนําก่อนใช้หนังสือเล่มเล็ก.................................................................................................... 1 สาระของหนังสือ............................................................................................................................ 2 จุดประสงค์..................................................................................................................................... 2 สื่อการเรียนการสอน...................................................................................................................... 2 ประวัติชุดการแสดงรําพระลอตามไก่............................................................................................. 3 บทร้อง............................................................................................................................................ 4 ลักษณะการแต่งกาย....................................................................................................................... 7 อธิบายท่ารํา................................................................................................................................... 10 สรุป............................................................................................................................................... 47 คําถามทบทวน................................................................................................................................ 48 แบบฝึกหัดที่1 เรื่อง ประวัติชุดการแสดง....................................................................... 48 แบบฝึกหัตที่2 เรื่อง องค์ประกอบของการแสดง........................................................... 49 แบบฝึกหัดที่3 เรื่อง ท่ารํา.............................................................................................. 50 แบบทดสอบก่อน - หลังเรียน......................................................................................... 51 บรรณานุกรม.................................................................................................................................. 53 ภาคผนวก....................................................................................................................................... 55 ภาคผนวก ก. กระตาษคําตอบ....................................................................................................... 56 ภาคผนวก ข. เกณฑ์การให้คะแนน................................................................................................ 57 ภาคผนาก ค. ประวัติและประสบการณ์ผู้เขียน.............................................................................. 58
ค สารบัญภาพ ภาพที่หน้า 1 ภาพที่1 แสดงวงตนตรี.......................................................................................... 6 2 ภาพที่2 การแต่งกายพระลอ................................................................................. 7 3 ภาพที่3 การแต่งกายไก่แก้ว.................................................................................. 8 4 ภาพที่4 การแต่งกายของพระที่เลี้ยง (นายแก้ว-นายขวัญ)................................... 8 5 ภาพที่5 พระชรรค์................................................................................................ 9 6 ภาพที่6 ท่าเชิด 1.................................................................................................. 10 7 ภาพที่7 ท่าเชิด 2.................................................................................................. 10 8 ภาพที่8 ท่าเชิด 3.................................................................................................. 11 9 ภาพที่9 ท่าเชิด 4.................................................................................................. 11 10 ภาพที่10 ท่าเซิต 5............................................................................................. 12 11 ภาพที่11 ท่าเชีด 6............................................................................................. 12 12 ภาพที่12 ท่าเชิต 6............................................................................................. 13 13 ภาพที่13 ท่าเชิต 7............................................................................................ 13 14 ภาพที่14 ท่าท้าว ธ ผ่าด.................................................................................... 14 15 ภาพที่15 ท่าเหลือบเห็นไก่ตระการ.................................................................... 14 16 ภาพที่16 ท่าภูบาลบานหฤทัย............................................................................ 15 17 ภาพที่17 ท่งามหอใจพลูตา................................................................................ 15 18 ภาพที่18 ท่ามิทันทาธารธํารง............................................................................ 16 19 ภาพที่19 ทําทรงมกุฎภูษาสรรพ......................................................................... 16 20 ภาพที่20 ท่าจับหิชัยอาวุธราชพล....................................................................... 17 21 ภาพที่21 ท่าบัตตลงรุกไล.่.................................................................................. 17 22 ภาพที่22 ท่หวังใต้ไก่ตัวงาม................................................................................. 18 23 ภาพที่23 ท่าพี่เลี้ยงตามจอมราช......................................................................... 18 24 ภาพที่24 ท่าครั้นคราดไก่หยุดท่า......................................................................... 19 25 ภาพที่25 ท่าเห็น ธ ข้าไก่ขันเรียก........................................................................ 19 26 ภาพที่26 ทําไก่กระเหวียดตาด.ู........................................................................... 20 27 ภาพที่27 ท่าฎธรจะฟัน........................................................................................ 20 28 ภาพที่28 ท่าไก่ค่อยผันค่อยผาย.......................................................................... 21 29 ภาพที่29 ฬาระร่าย ระร่าย ส่ายคืนเดิน............................................................... 21 30 ภาพที่30 ท่าตําเนินหงลัยกย่าง............................................................................. 22 31 ภาพที่31 ครั้นเห็นห่างไก่หยุด............................................................................... 22 32 ภาพที่32 ท่าครั้นจะสุดแดนป่า............................................................................. 23 33 ภาพที่33 ท่าครั้นจะผ่าแตนบ้าน........................................................................... 23 34 ภาพที่34 ท่าใก่แกล้วคร้านมารยา......................................................................... 24 35 ภาพที่35 ท่าเห็นไก่ช้า ธ ก็สาว.............................................................................. 24
ง สารบัญภาพ ( ต่อ ) ภาพที่หน้า ภาพที่36 ท่าทางยืดยาวย่นสั้น.................................................................................. 25 ภาพที่37 ท่าเหย่าไยใย่ ใกล้กระชั้น.......................................................................... 25 ภาพที่38 ท่าไก่แกลัง ไก่แกลัง กระเจิงโผ................................................................. 26 ภาพที่39 ท่าไก่เลยไก่แก้ว......................................................................................... 26 ภาพที่40 ท่ากล้าแกล้วกายสิทธิ์ฤทธิ์มีสิง.................................................................. 27 ภาพที่41 ท่าเลี้ยวล่อลอราช..................................................................................... 27 ภาพที่42 ท่าฉลาดจริง.............................................................................................. 28 ภาพที่43 ท่าเพราพริ้งหงอนสร้อย............................................................................ 28 ภาพที่44 ท่าสวยสําอาง........................................................................................... 29 ภาพที่45 ท่าตนตรีรับครั้งที่1.................................................................................. 30 ภาพที่46 ท่าดนตรีรับครั้งที่1................................................................................... 31 ภาพที่47 ท่าทําทีแล่นผลา......................................................................................... 31 ภาพที่48 ท่าให้คว้าเหมาะ......................................................................................... 32 ภาพที่49 ท่าย่างเหยาะ.............................................................................................. 32 ภาพที่50 ท่ากรีดปีกไขร้หาง...................................................................................... 33 ภาพที่51 ท่าครั้นพระลอไส่กระชั้น............................................................................ 33 ภาพที่52 ท่ากั้นกาง................................................................................................... 34 ภาพที่53 ท่าไก่ขวัญหันห่าง....................................................................................... 34 ภาพที่54 ท่าราชา..................................................................................................... 35 ภาพที่55 ท่าดนตรีรับครั้งที่2.................................................................................. 36 ภาพที่56 ท่าตนตรีรับครั้งที่2.................................................................................. 36 ภาพที่57 ท่าฉับเฉียว................................................................................................ 37 ภาพที่58 ท่าเลี้ยวสัตฉวัดเฉวียน............................................................................... 37 ภาพที่59 ท่าวนเรียนหลบเวิ้ง.................................................................................... 38 ภาพที่60 ท่าเชิงพฤกษา............................................................................................ 38 ภาพที่61 ท่าเชิด 1.................................................................................................... 39 ภาพที่62 ท่าเชิต 2.................................................................................................... 39 ภาพที่63 ท่าเชิด 3................................................................................................... 40 ภาพที่64 ท่าเชิต 4................................................................................................... 40 ภาพที่65 ท่าเชิด 5................................................................................................... 41 ภาพที่66 ท่าเชิต 6................................................................................................... 41 ภาพที่67 ท่าเชิด 7................................................................................................... 42 ภาพที่68 ท่าเชิตฉิ่ง 1.............................................................................................. 42 ภาพที่69 ท่าชันเรื่อยเฉื่อยก้องห้องวนา................................................................... 43 ภาพที่70 ท่าทําท่าเยาะเย้ยภูมี................................................................................ 43
จ สารบัญภาพ ( ต่อ ) ภาพที่หน้า ภาพที่71 ท่ากราวรํา 1.......................................................................................... 44 ภาพที่72 ท่ากราวรํา 2.......................................................................................... 44 ภาพที่73 ท่ากราวรํา 3.......................................................................................... 45 ภาพที่74 ท่าเชิดจีน 1............................................................................................ 45 ภาพที่75 ท่าเชิตจีน 2............................................................................................ 46 ภาพที่76 ท่าเชิดจีน 3............................................................................................ 46
ฉ
1 ข้อแนะนําก่อนใช้หนังสือเล่มเล ็ ก 1. หนังสือฉบับนี้เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาเรียกว่าหนังสือเล่มเล็กเรื่อง รําพระลอตามไก่2. หนังสือเล่มเล็กเรื่อง รําพระลอตามไก่สําหรับอ่านเพิ่มเติมความรู้รายวิชานาฏศิลป์นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีทึ่6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ และผู้ที่สนใจ 3. นักเรียนต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง โดยไม่เปิดดูเฉลยก่อนและตรงต่อเวลา 4. นักเรียนใช้เอกสารประกอบการเรียน 1 เล่ม ต่อนักเรียน 1 คน และควรใช้เพื่อค้นหาความรู้5. พฤติกรรมการใช้หนังสือที่ดีก่อนใช้ผู้อ่าน ที่มีความสนใจที่จะศึกษาข้อมูลเรื่อง รําพระลอตาม ไก่ควรจะศึกษาความรู้ให้เป็นพื้นฐาน และระยะใช้ผู้อ่านจะได้ศึกษาความรู้และเทคนิคการร่ําฉุยฉาย พราหมณ์หลังใช้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจเกิดทักษะการอ่าน และสามารถปฏิบัติท่าตามคําธิบายได้อย่าง ถูกต้อง 6. หนังสือเล่มนี้ควรใช้4 - 5 ครั้งเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน
2 สาระของหนังสือ 1. ประวัติความเป็นมา รําพระลอตามไก่2. บทร้องและทํานองเพลงรําพระลอตามไก่3. เครื่องแต่งกายรําพระลอตามไก่4. การฝึกปฏิบัติท่ารํา รําพระลอตามไก่จุดประสงค์1. เพื่อในนักเรียนมีเอกสารที่ใช้ค้นหาความรู้เรื่อง รําพระลอตามไก่2. เพื่อให้นักเรียนเข้าใจบทร้องและทํานองเพลง รําพระลอตามไก่3. เพื่อให้นักเรียนทราบถึงเครื่องแต่งกายรําพระลอตามไก่4. เพื่อให้นักเรียนทราบถึงฝึกปฏิบัติท่ารํารําพระลอตามไก่สื่อการเรียนการสอน 1. คู่มือการใช้เอกสารประกอบการ 2. เอกสารประกอบการเรียน
3 พระลอตามไก่พระลอตามไก่เป็นชุดการแสดงรําคู่ที่มีความงดงามตามรูปแบบของการไล่ล่าตามจับไก่ของพระ ลอและตัวไก่แก้ว ที่ถูกลงเลขยันต์จากปู่เจ้าสมิงพรายให้มาหลอกล่อพระลอไปยังสวนขวัญเมืองสรอง เพื่อให้พบกับพระเพื่อน พระแพง การแสดงชุดนี้จะมีความสวยงามและสมจริงมากที่สุด หากผู้ปฏิบัติท่ารํา เข้าใจกระบวนการรําดียิ่งขึ้น จึงต้องศึกษา ประวัติชุดการแสดง บทร้อง ลักษณะการแต่งกาย เพราะจะ ทําให้เกิดความตระหนัก และเข้าใจแนวคิดตามหลักการประดิษฐ์ชุดการแสดง ดังนี้ประวัติชุดการแสดง พระลอตามไก่เป็นการแสดงตอนหนึ่งในเรื่องพระลอ บทพระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรม พระนราธิปประพันธ์พงศ์พระองค์ได้ทรงพระนิพนธ์ขึ้นจากกลอนลิลิตของเก่าที่นักปราชญ์ได้แต่งขึ้นไว้ใน สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เดิมเป็นนิทานพื้นบ้านทางภาคพายัพเขต ลานนาไทย ใช้แสดงแบบละคร พันทางซึ่งเป็นละครรําแบบผสม ปรับปรุงขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื้อเรื่องที่กล่าวถึงพระลอกษัตริย์ผู้ครองนครแมนสรวง มีพระมารดาชื่อ พระนางบุญเหลือ ครั้งหนึ่งได้สดับขับซอยอ โฉม พระเพื่อน พระแพง ซึ่งเป็นธิดาของท้าวพิชัยพิษณุกรแห่งเมืองสรอง เกิดความเสน่หาในความงามของ พระธิดาทั้งสอง ส่วนพระเพื่อน พระแพง เมื่อได้สดับยอโฉมพระลอก็เกิดความรักลุ่มหลงเช่นกัน จึงใช้ให้นางโรยกับนางรื่นสองพระพี่เลี้ยง ไปหาปู่เจ้าสมิงพรายให้ช่วยช่วย ปู่เจ้าสมิงพรายจึงได้ทําเวทมนต์ลงไก่แก้วแล้วบังคับให้ไก่แก้ว ไปหาพระลอเพื่อให้เกิดความลุ่มหลงติดตาม จนถึงเขตเมืองสรองพระลอจึงได้พบ กับพระเพื่อน พระแพง พระธิดาผู้เลอโฉมดังปรารถนา การรําแบ่งเป็นขั้นตอนต่าง ๆ คือ พระลอออกพบไก่แก้ว ไก่แก้วล่อพระลอให้ติดตามไปด้วยชั้น เชิงและลีลาต่าง ๆ พระลอกับพี่เลี้ยงไล่จับไก่แก้ว ไก่แก้วหาย พระลอกับพี่เลี้ยงติดตามหา องค์ประกอบ หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบเป็นสิ่งใหญ่หรือ ส่วนของสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องประกอบ ทําให้เกิดเป็นรูปขึ้นใหม่โดยเฉพาะ (ราชบัณฑิตยสภา, 2554). ประกอบด้วย ผู้แสดง เพลงและดนตรี เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ประกอบการแสดง และท่ารํา ดังนี้1. ผู้แสดง ผู้แสดง หมายถึง ผู้เล่นหรือผู้ร่วมในการละเล่นหรือการแสดงต่างๆ ให้คนดู(ราชบัณฑิตยสภา, 2554). ผู้แสดงที่ใช้ประกอบการรําพระลอตามไก่มีผู้แสดง 3 ฝ่าย ประกอบด้วยพระลอ ไก่แก้ว และตัว พระพี่เลี้ยง 1.1 พระลอ เป็นกษัตริย์แห่งเมืองแมนสรวง มีพระชายาชื่อนางลักษณวดีพระลอเป็นหนุ่ม รูปงามมากจนเป็นที่เลื่องลือ วิธีการคัดเลือกนักแสดงพระลอ จะคัดเลือกตามลักษณะของนักแสดงตัวพระ ซึ่งมีหลักการเลือกคือ ผู้ที่ลักษณะใบหน้ารูปไข่สวยงาม คมคาย เด่นสะดุดตา ท่าทางสะโอดสะองและผึ่ง ผาย ลําคอระหง ไหล่ลาดตรงช่วงอกใหญ่ขนาดลําตัวเรียวเอวเล็กกิ่วคอดตามลักษณะชายงามในวรรณคดี ไทย 1.2 ไก่แก้ว เป็นตัวละครที่มีความสวยงามสะดุดตากว่าไก่ตัวอื่นๆ ปู่เจ้าสมิงพลายจึงได้เลือก ไก่แก้วแล้วสั่งให้วิญญาณภูตผีเข้าสิงในไก่แก้ว เพื่อไปหลอกล่อพระลอ เกศุริยง บุญมาก. (2551).วิธีการ
4 คัดเลือกนักแสดงไก่แก้ว จะคัดเลือกตามลักษณะของนักแสดงตัวพระ ซึ่งเป็นตัวพระน้อย มีหลักการเลือก คือ ผู้ที่ลักษณะใบหน้ารูปไข่สวยงาม คมคาย เด่นสะดุดตา มีความว่องไว กระฉับกระเฉง ขนาดลําตัวเรียว เอวเล็กกิ่ว หรือนักแสดงตัวนาง ซึ่งจะคัดเลือกจากผู้ที่มีรูปร่างใกล้เคียงกับตัวพระลอ ท่าทาง กระฉับกระเฉง คล่องแคล่วว่องไว มีจริต สามารถแสดงกิริยาท่าทางต่าง ๆ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ1.3 พระพี่เลี้ยง เป็นพระพี่เลี้ยงของพระลอ ในตอนนี้มี2 คน คือ นายแก้ว และนายขวัญ ใน ฉากนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็นนายรัก และนายราม มีบทบาทติดตามข้างเคียงพระลอไปทุกที่ทั้งสองมีความ จงรักภักดีต่อพระลอเป็นอย่างยิ่ง เมื่อถึงคราวพระลอมีภัยก็ยอมสู้อย่างถวายชีวิตเพื่อปกป้องพระลอ อร พรรณ ขวัญบุตร.(2560). วิธีการคัดเลือกนักแสดงพระพี่เลี้ยง จะคัดเลือกตามลักษณะของนักแสดงตัวพระ ซึ่งมีหลักการเลือกคือ ผู้ที่ลักษณะใบหน้ารูปไข่สวยงาม คมคาย เด่นสะดุดตา ท่าทางสะโอดสะองและผึ่ง ผาย มีกิริยาท่าทางว่องไว กระฉับกระเฉง ขนาดลําตัวเรียวเอวเล็กกิ่วคอดตามลักษณะชายงามในวรรณคดี ไทยเช่นเดียวกับตัวพระลอ 2. เพลงและดนตรี เพลงและดนตรีของการแสดงชุดพระลอตามไก่จะให้รายละเอียดของสาระ 2 ประเด็น คือ เพลง และดนตรีดังนี้2.1 เพลง หมายถึง ถ้อยคําที่นักประพันธ์เรียงร้อยหรือเรียบเรียงขึ้น ซึ่งประกอบด้วย เนื้อ ร้อง ทํานอง จังหวะ ทําให้เกิดความไพเราะสร้างความเพลิดเพลินให้แก่ผู้ฟัง เพลงที่ใช้ประกอบการแสดงชุด ประกอบด้วย เพลงเชิด เพลงรัว เพลงลาวเจ้าซูเพลงเชิดฉิ่ง เพลงเชิดจีนตัว 3 เพลงกราวรํา และเพลงเชิด (ประดิษฐ์อินทนิล,2553) ดังนี้2.1.1 เพลงเชิด หมายถึง เพลงหน้าพาทย์ที่เกี่ยวกับการเยื้องกรายและการเดินของตัว ละครในนาฏกรรม ไทย ใช้ในการเดินทางไกล 2.1.2 เพลงรัว หมายถึง เพลงที่ใช้ประกอบกิริยาที่สําเร็จด้วยคาถาที่ร่ายมนต์มาแล้ว หรือใช้เป็นหน้าพาทย์ประกอบกิริยานิมิตสิ่งต่างๆให้เกิดขึ้น 2.1.3 เพลงลาวเจ้าซูบทเพลง “ลาวเจ้าส”ูหรือบางแห่งเรียก “ลาวเจ้าซู”และ ”ลาว เจ้าชู้” เป็นบทเพลงสําเนียงลาวที่ไพเราะ ท่วงทํานองหวานซึ้ง ที่มาบทเพลงดังกล่าวไม่ปรากฏนามผู้แต่ง ในอดีตเคยเป็นเพลงประกอบการแสดงละครเรื่อง “พระลอ” 2.1.4 เพลงเชิดฉิ่ง หมายถึง เพลงที่ใช้ในการค้นหา การลอบเข้าออกในสถานที่ใดที่หนึ่ง การไล่หนีจับกัน การเหาะลอยไปในอากาศ และการใช้อาวุธแผลงศร ขว้างจักร เช่น การแสดง พระลอตามไก่พระรามจะแผลงศร รจนาจะเสี่ยงพวงมาลัย เป็นต้น 2.1.5 เพลงเชิดจีนตัว3 หมายถึง เพลงที่เป็นทํานองลูกโยนที่ใช้ลักษณะทํานองลูกล้อชนิด ล้อตาม ล้อขัด และ ชนิดเหลื่อมเฉพาะตัว การกําหนดเครื่องดนตรีที่บรรเลงทํานองลูกล้อชนิด ต่าง ๆ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ` 2.1.6 เพลงกราวรํา หมายถึง เพลงที่ใช้สําหรับการแสดงการเยาะเย้ยถากถางให้ตัวละคร ฝ่ายตรงข้ามต้องอับอายขายหน้า นอกจากนี้ยังให้อารมณ์สนุกสนานดีใจ มีความหมายถึงความ สมหวัง เมื่อประกอบกิจต่างๆ สําเร็จ และเป็นสัญลักษณ์ของการลาโรงเมื่อสิ้นสุดการแสดงต่าง ๆ 2.1.7 เพลิงเชิด หมายถึง เพลงที่ใช้ในการเดินทางที่รีบร้อน การเดินทางระยะไกล การ เดินทัพ
5 2.2 เนื้อเพลง - เชิด – - รัว - - ร้องลาวเจ้าซู-ท้าว ธ ผาดเห็นไก่ตระการ ภูบาลบานหฤทัย งามพอใจพอตามิทันทาธารธํารง ทรงมกุฏภูษาสรรพ จับพิชัยอาวุธราชพล บัดดลธรุกไล่หวังได้ไก่ตัวงาม พี่เลี้ยงตามจอมราช ครั้นคลาดไก่หยุดท่า เห็น ธ ช้าไก่ขันเรียก ไก่กะเหวียกตาดูครั้นภูธระจะทัน ไก่ค่อยผันค่อยผาย ระร่าย ระร่าย ส่ายตีนเดิน ดําเนินหงส์ยกย่าง ครั้นเห็นห่างไก่หยุด ครั้นจะสุดแดนป่า ครั้นจะผ่าแดนบ้าน ไก่แกล้งคร้านมารยา เห็นไก่ช้า ธ ก็สาว ทางยืดยาวย่นสั้น เหย่าไย่ไย่ ใกล้กระชั้น ไก่แกล้ง ไก่แกล้ง กระเจิงโผ - เชิดฉิ่ง -ไก่เอยไก่แก้ว กล้าแกล้วกายสิทธิ์ฤทธิ์ผีสิง เลี้ยวล่อลอราชฉลาดจริง เพราะพริ้งหงอนสร้อยสวยสอางค์ทําทีแล่นถลาให้คว้าเหมาะ ย่างเหยาะกรีดปีกไซร้หาง ครั้นพระลอไล่กระชั้นกั้นกาง ไก่ขวัญหันห่างราชา ฉับเฉียวเลี้ยวลัดฉวัดเฉวียน วนเวียนหลบเวิ้งเซิงพฤกษา ขันเรื่อยเฉื่อยก้องห้องวนา ทําท่าเยาะเย้ยภูมี - กราวรํา - - เชิดจีน - - เชิด - 2.3 ดนตรีหมายถึง เสียงที่จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบ และมีแบบแผนโครงสร้าง เป็นรูปแบบ ของกิจกรรมเชิงศิลปะของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับเสียงโดยดนตรีนั้นแสดงออกมาในด้านระดับเสียง (ซึ่ง รวมถึงท่วงทํานองและเสียงประสาน) จังหวะ และคุณภาพเสียง (ความต่อเนื่องของเสียง พื้นผิวของเสียง ความดังค่อย) ดนตรีนั้นสามารถใช้ในด้านศิลปะหรือสุนทรียศาสตร์การสื่อสาร ความบันเทิง รวมถึงใช้ใน งานพิธีการต่างๆ (สุกรีเจริญสุข,2561) วงดนตรีที่ใช้ประกอบการบรรเลงชุดการแสดงพระลอตามไก่เป็นวงดนตรีประเภทวงปี่พาทย์ไม้นวม โดยมีเครื่องดนตรี ประกอบด้วย ขลุ่ย ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่– เล็ก ซออู้ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง ดัง ภาพ
6 ภาพที่1 แสดงวงดนตรีที่มา : ( ภีระเมศร์, 2560) 3. เครื่องแต่งกาย ราชบัณฑิตยสภา, (2545) “เครื่อง” คือ สิ่งสําหรับประกอบกันหรือเป็นพวกเดียวกัน “แต่ง” คือ จัดให้งาม “กาย”คือตัว ดังนั้น “เครื่องแต่งกาย” จึงหมายถึง สิ่งสําหรับประกันจัดให้งามที่เกี่ยวกับตัวของ นักแสดง ลักษณะการแต่งกายของชุดแสดงพระลอตามไก่จะแบ่งได้เป็น 3 ชุด คือ ชุดพระลอ ชุดไก่แก้ว และชุดพระพี่เลี้ยง(นายแก้ว-นายขวัญ) โดยมีลักษณะดังนี้3.1 การแต่งกายพระลอ มีรายละเอียดเครื่องประกอบการแต่งกาย ประกอบด้วย ชุดยืนเครื่อง พระ แดงขริบเขียวโดยมีเครื่องประกอบการแต่งกาย ประกอบด้วยเสื้อหรือฉลองพระองค์ผ้านุ่ง หรือภูษา ห้อยหน้า ห้อยข้าง หรือเจียระบาด รัดสะเอว สนับเพลา เข็มขัด กรองคอ ทับทรวง พาหุรัด สังวาล ตาบ ทิศ ดอกไม้ทัด อุบะ ปะวะหล่ํา กําไลแผง หรือทองกร กําไลข้อเท้า และ สวมศีรษะยอดลาว มีพระขรรค์เป็นอาวุธ เกศุริยง บุญมาก. (2551).
7 ภาพที่2 การแต่งกายพระลอ 3.2 การแต่งกายของไก่แก้ว มีรายละเอียดเครื่องประกอบการแต่งกาย ประกอบด้วย เสื้อแขนกุด สีขาวลักษณะมีขน กางเกงสีขาวยาวระดับครึ่งน่อง มีจี้นาง เข็มขัด มีหาง มีปีก มีข้อแขน มีข้อมือ และใช้ข้อเท้าลักษณะเป็นเดือยไก่ศีรษะสวมปันจุเหร็จ มีเกี้ยวหัวไก่และดอกไม้ทัด เกศุริยง บุญมาก. (2551).
8 ภาพที่3 การแต่งกายไก่แก้ว 3.3 การแต่งกายของพระพี่เลี้ยง(นายแก้ว-นายขวัญ) มีรายละเอียดเครื่องประกอบการแต่งกาย ประกอบด้วยนายแก้วจะแต่งกายด้วยชุดยืนเครื่องพระสีเหลืองขลิบแดง แต่ไม่มีพาหุรัดมีผ้าโพกหัวสี เหลืองและผ้าพาดไหล่สีชมพูผ้าคาดเอวใช้ผ้าตาดสีทอง และนายขวัญจะแต่งกายด้วยชุดยืนเครื่องพระสีม่วงขลิบเหลือง แต่ไม่มีพาหุรัด มีผ้าโพกหัวสีเหลืองและผ้าพาดไหล่สีฟ้า ผ้าคาดเอวใช้ผ้าตาดสีฟ้า อร พรรณ ขวัญบุตร.(2560). ภาพที่4 การแต่งกายของพระพี่เลี้ยง (นายแก้ว-นายขวัญ)
9 4.อุปกรณ์ประกอบการแสดง อุปกรณ์ประกอบการแสดง หมายถึง อุปกรณ์การแสดงเป็นสิ่งที่ทําให้การแสดงมีความน่าสนใจ มากขึ้น ในการสร้างสรรค์อุปกรณ์การแสดงสามารถนําความรู้ด้านจิตรกรรมมาใช้ในการออกแบบ ตกแต่ง ลวดลายอุปกรณ์การแสดงให้มีความสวยงาม การแสดงชุดพระลอตามไก่ ใช้อุปกรณ์ประกอบการแสดงที่สําคัญ คือ พระขรรค์อาวุธมีคม ลักษณะคล้ายดาบ มีคมสองด้าน ตรงกลางคอด ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่พระลอ ใช้ในการไล่ล่าไก่แก้ว ดังภาพ ภาพที่5 พระขรรค์5. โอกาสที่ใช้แสดง นิยมนํามาใช้แสดงในงานเทศกาลต่างๆ ได้ทุกเทศกาล รวมไปงานอวมงคลและงานมงคลต่างๆ อย่างไรก็ตามสามารถใช้ประกอบการเรียนการสอนด้วยเช่นกัน
10 อธิบายท่ารําพระลอตามไก่การอธิบายท่ารํา จะอธิบายตามลักษณะการปฏิบัติท่ารําของการปฏิบัติเท้าในลําดับแรก จากนั้น จะอธิบายอิริยาบทของมือ และการเอียงศีรษะตามลําดับ ดังนี้1. เพลงเชิด 1.1 ท่าเชิด 1 วิธีปฏิบัติพระลอ เก็บเท้าออก มือขวาจับพระขรรค์มือซ้ายสอดเชิด นายแก้ว-นายขวัญ เก็บเท้าออก มือสอดเชิด วิ่งตามหลังพระลอ ลักษณะการเคลื่อนไหว วิ่งวนหน้าเวที1 รอบ จากขวาไปซ้าย ภาพที่6 ท่าเชิด 1 1.2 ท่าเชิด 2 วิธีปฏิบัติพระลอ เก็บเท้า มือขวาจับพระขรรค์ควงระดับแง่ศีรษะ มือซ้ายส่งจีบหลัง เอียงขวา นายแก้ว-นายขวัญ เก็บเท้า มือขวาจีบปรกข้าง มือซ้ายส่งจีบหลัง เอียงขวา ลักษณะการเคลื่อนไหว วิ่งวนเลขแปดขึ้นหน้าเวที ภาพที่7 ท่าเชิด 2
11 1.3 ท่าเชิด 3 วิธีปฏิบัติพระลอ เก็บเท้า มือขวาม้วนมือจับพระขรรค์ลักษณะวงบน มือซ้ายแบลาด(ท่าผาลา) เอียงซ้าย นายแก้ว-นายขวัญ เก็บเท้า มือขวาม้วนมือจีบปล่อยเป็นวงบน มือซ้ายแบลาด(ท่าผาลา) เอียง ซ้าย ลักษณะการเคลื่อนไหว วิ่งวนเลขแปดขึ้นหน้าเวที ภาพที่8 ท่าเชิด 3 1.4 ท่าเชิด 4 วิธีปฏิบัติพระลอ เก็บเท้า มือขวาจับพระขรรค์ลักษณะวงบน มือซ้ายวงหน้า เอียงขวา นายแก้ว-นายขวัญ เก็บเท้า มือขวาจีบปรกข้าง มือขวาตั้งวงหน้า เอียงขวา ลักษณะการเคลื่อนไหว วิ่งวนเลขแปดขึ้นหน้าเวที ภาพที่9 ท่าเชิด 4
12 1.5 ท่าเชิด 5 วิธีปฏิบัติพระลอ เก็บพระขรรค์กระเถิบเท้าไปทางซ้ายของเวทีมือซ้ายตั้งวงบน มือขวาเหยียดแขนตึง เอียงขวา ไก่แก้ว บินกระเจิงออกหน้าเวทีนายแก้ว-นายขวัญ กระเถิบเท้าไปทางซ้ายของเวทีมือซ้ายตั้งวงบน มือขวาเหยียดแขนตึง เอียง ขวา ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่10 ท่าเชิด 5 1.6 ท่าเชิด 6 วิธีปฏิบัติพระลอ กระเถิบเท้าไปทางขวาของเวทีมือทั้งสองเช็ดหน้าตา เอียงซ้าย ไก่แก้ว บินกระเจิง นายแก้ว-นายขวัญ กระเถิบเท้าไปทางขวาของเวทีมือทั้งสองเช็ดหน้าตา เอียงซ้าย ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่11 ท่าเชิด 6
13 1.6 ท่าเชิด 6 วิธีปฏิบัติพระลอ กระเถิบเท้าไปทางขวาของเวทีมือทั้งสองเช็ดหน้าตา เอียงซ้าย ไก่แก้ว บินกระเจิง นายแก้ว-นายขวัญ กระเถิบเท้าไปทางขวาของเวทีมือทั้งสองเช็ดหน้าตา เอียงซ้าย ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่12 ท่าเชิด 6 1.7 ท่าเชิด 7 วิธีปฏิบัติพระลอ ก้าวข้างเท้าขวา มือซ้ายตั้งวงบน มือขวาตั้งวงล่าง เอียงซ้าย ไก่แก้ว ก้าวข้างเท้าซ้าย มือขวาตั้งวงบน มือซ้ายตั้งวงล่าง เอียงขวา นายแก้ว-นายขวัญ ยืนพักเท้า ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่13 ท่าเชิด 7
14 2. เพลงลาวเจ้าซู2.1 ท้าว ธ ผาด วิธีปฏิบัติพระลอ ฉายเท้าขวา มือทั้งสองม้วนมือแบคว่ํา แยกออกจากกัน เอียงซ้าย ไก่แก้ว ยกหน้าเท้าซ้าย มือทั้งสองตั้งวงกลาง หน้าตรง นายแก้ว-นายขวัญ ยืนพักเท้า ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่14 ท่าท้าว ธ ผาด 2.2 เหลือบเห็นไก่ตระการ วิธีปฏิบัติพระลอ “เหลือบเห็น” ก้าวข้างเท้าซ้าย มือซ้ายวางหน้าขา มือขวาจับสะเอว ลักคอซ้าย “ไก่ตระการ” ยืนพักเท้าซ้าย มือซ้ายแตะหน้าขา มือขวาจับสะเอว หน้าตรง ไก่แก้ว ย่ําเท้าซ้าย ขวา และเคาะเท้าซ้าย มือทั้งวงกลาง เอียงขวา นายแก้ว-นายขวัญ ยืนพักเท้า ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่15 ท่าเหลือบเห็นไก่ตระการ
15 2.3 ภูบาลบานหฤทัย วิธีปฏิบัติพระลอ “ภูบาล” ยกหน้าเท้าซ้ายมือซ้ายจีบเข้าอก เอียงขวา “บานหฤทัย” ย่ําขวา ซ้าย ขวา มือซ้ายปาดจีบท่ายิ้ม มือขวาส่งจีบหลัง ลักคอซ้าย ไก่แก้ว ย่ําเท้าซ้าย ซ้าย และเคาะเท้าขวา มือทั้งสองแทงมือแขนตึง เอียงซ้าย นายแก้ว-นายขวัญ ยืนพักเท้า ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่16 ท่าภูบาลบานหฤทัย 2.4 งามพอใจพอตา วิธีปฏิบัติพระลอ “งามพอใจ” ถอนเท้าซ้าย แตะเท้าขวา มือขวาชี้นิ้วคว่ํามือเข้าอก มือซ้ายจับสะเอว เอียงขวา “พอตา” ก้าวข้างเท้าขวา มือขวาชี้ระดับตา มือซ้ายจับสะเอว เอียงซ้าย ไก่แก้ว “งามพอใจ” ก้าวข้างเท้าขวา มือขวาจีบคว่ําระดับอก มือซ้ายแบลาด จากนั้นกระดก เสี้ยวเท้าซ้าย พร้อมกับส่งมือขวาเป็นบัวบาน มือซ้ายตั้งวงหน้า เอียงซ้าย “พอตา” ก้าวข้างเท้าซ้าย มือ ซ้ายจีบคว่ําระดับอก มือขวาแบลาด จากนั้นกระดกเสี้ยวเท้าขวา พร้อมกับส่งมือซ้ายเป็นบัวบาน มือขวา ตั้งวงหน้า เอียงขวา นายแก้ว-นายขวัญ ปฏิบัติท่าสวยงาม ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่17 .ท่างามพอใจพอตา
16 2.5 มิทันทาธารธํารง วิธีปฏิบัติพระลอ “มิทันทา” เบี่ยงตัวทางขวา สะดุดซ้าย มือซ้ายตั้งวงล่างสั่นปลายมือ มือขวาจับสะเอว เอียงขวา “ธารธํารง” เดินเท้าซ้าย มือทั้งสองตั้งวง จากนั้นเพลงร้องซ้ํา เดินขึ้นหน้า 2 ครั้ง และเดินถอย หลังอีก 2 ครั้ง ไก่แก้ว “มิทันทา” ยั้งจังหวะ จากนั้นก้าวเท้าขวา แล้วย่ําเท้าตามจังหวะเพลง มือซ้ายแทงเป็น วง มือขวาแบลาด ปฏิบัติมือสลับไปมา “ธารธํารง” เดินเท้าซ้าย มือทั้งสองตั้งวง จากนั้นเพลงร้องซ้ํา เดิน ขึ้นหน้า 2 ครั้ง และเดินถอยหลังอีก 2 ครั้ง นายแก้ว-นายขวัญ ปฏิบัติท่าสวยงาม ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่18 ท่ามิทันทาธารธํารง 2.6 ทรงมกุฏภูษาสรรพ วิธีปฏิบัติพระลอ “ทรงมกุฎ” สะดุดเท้าซ้าย มือทั้งสองจีบคว่ําระดับสะเอว จากนั้นยกหน้าเท้าซ้าย มือ ทั้งสองปล่อยเป็นวงบัวบาน หน้าตรง “ภูษาสรรพ” ก้าวข้างเท้าขวา มือซ้ายแบมือแตะระดับสะเอว มือ ขวาแบมือแตะกระเบนเหน็บ เอียงขวา ไก่แก้ว ปฏิบัติท่า“มิทันทาธารธํารง” ไปเรื่อย ๆ แต่หน้าตรงกับเวทีลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่19 ท่าทรงมกุฎภูษาสรรพ
17 2.7 จับพิชัยอาวุธราชพล วิธีปฏิบัติพระลอ “จับพิชัย” ยืนพักเท้าซ้าย มือขวาจับพระขรรค์ดึงออกมาควรระดับแง่ศีรษะ มือซ้าย จับสะเอว เอียงขวา “อาวุธราชพล” ก้าวข้างเท้าขวา ยกหน้าเท้าซ้าย มือขวาตวัดพระขรรค์จับลักษณะวง บน มือซ้ายจีบหงายชายพก เอียงซ้าย ไก่แก้ว ย่ําเท้าตามจังหวะเพลง มือทั้งสองตั้งวงกลาง นายแก้ว-นายขวัญ ยืนพักท่า ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่20 ท่าจับพิชัยอาวุธราชพล 2.8 บัดดล ธ รุกไล่วิธีปฏิบัติพระลอ “บัดดล” วางเท้าซ้ายพักเท้าขวา มือขวาจับพระขรรค์ระดับวงล่าง มือซ้ายส่งจีบหลัง เอียงขวา “ธ รุกไล่” เบี่ยงตัวทางขวา ถอนเท้าขวา มือขวาจับพระขรรค์ระดับวงบน มือซ้ายตั้งวงหน้า เอียงขวา วิ่งซอยเท้าตามไก่ไก่แก้ว “บัดดล” เบี่ยงตัวทางขวา (หันหลังให้เวที) ยืนพักเท้าซ้าย มือทั้งสองแทงมือลงระดับ สะโพก เอียงขวา “ธ รุกไล่” กระโจนตัว มือทั้งสองตั้งวงกลาง เอียงซ้าย บินซอยเท้าไปข้างเวทีนายแก้ว-นายขวัญ วิ่งตามหลังพระลอ ลักษณะการเคลื่อนไหว เป็นเส้นโค้ง ไก่อยู่หน้า ตามด้วยพระลอ และนายแก้วนายขวัญ ภาพที่21 ท่าบัดดล ธ รุกไล่
18 2.9 หวังได้ไก่ตัวงาม วิธีปฏิบัติพระลอ “หวังได้” ก้าวเท้าซ้าย มือซ้ายโกยขึ้น มือขวาจับพระขรรค์ระดับวงล่าง เอียงซ้าย “ไก่ตัวงาม” ก้าวเท้าขวา มือซ้ายกํามือชี้ไปที่ไก่เอียงขวา ไก่แก้ว เดินนําหน้าพระพอ มือซ้ายตั้งวงบน มือขวาจีบหงายแขนตึง เอียงขวา จากนั้นค่อย คลายมือจีบปล่อยเป็นตั้งวง นายแก้ว-นายขวัญ เดินตามพระลอ ลักษณะการเคลื่อนไหว เป็นเส้นโค้ง ไก่อยู่หน้า ตามด้วยพระลอ และนายแก้วนายขวัญ ภาพที่. 22 ท่าหวังได้ไก่ตัวงาม 2.10 พี่เลี้ยงตามจอมราช วิธีปฏิบัติพระลอ “พี่เลี้ยงตาม” หันตัวกลับหลังทางขวา เท้าขวาก้าวข้าง มือขวาถือพระขรรค์ระดับวง ล่าง มือซ้ายส่งจีบหลัง เอียงซ้าย “จอมราช” ประเท้าซ้ายมือซ้ายวาดแขนตึง มือขวาถือพระขรรค์ระดับวง ล่าง เอียงขวาจากนั้นวาดแขนซ้ายขึ้น พร้อมกับกลับควงพระขรรค์เป็นวงล่าง เอียงซ้าย ไก่แก้ว เดินนําหน้าพระลอ ปฏิบัติท่าเดิมต่อเนื่อง นายแก้ว-นายขวัญ ลงนั่งคุกเข่าพนมมือ รับบัญชา ลักษณะการเคลื่อนไหว เป็นเส้นโค้ง ไก่อยู่หน้า ตามด้วยพระลอ และนายแก้วนายขวัญ ภาพที่23 ท่าพี่เลี้ยงตามจอมราช
19 2.11 ครั้นคลาดไก่หยุดท่า วิธีปฏิบัติพระลอ “ครั้นคลาด” ปฏิบัติท่าจอมราชต่อเนื่อง “ไก่หยุดท่า” วิ่งซอยเท้าตามไก่จากนั้น ถอน เท้าซ้ายพักเท้าขวา มือขวาถือพระขรรค์ระดับวงล่าง มือซ้ายส่งจีบหลัง เอียงขวา ไก่แก้ว “ครั้นคลาด” เบี่ยงตัวทางขวา (หันหลังให้เวที) ยืนพักเท้าซ้าย มือทั้งสองแทงมือลงระดับ สะโพก เอียงขวา “ไก่หยุดท่า” ซอยเท้าบิน จากนั้นสะดุดเท้าซ้าย แล้วพักเท้า มือทั้งสองม้วนมือจีบปล่อย เป็นวงล่าง เอียงซ้าย นายแก้ว-นายขวัญ วิ่งตามพระลอ แล้วยืนพักเท้าซ้าย ลักษณะการเคลื่อนไหว เป็นเส้นตรง ไก่อยู่หน้า ตามด้วยพระลอ และนายแก้วนายขวัญ ภาพที่24 ท่าครั้นคราดไก่หยุดท่า 2.12 เห็น ธ ช้าไก่ขันเรียก วิธีปฏิบัติพระลอ “เห็น ธ ช้า” เดินตามจังหวะเพลง “ไก่ขันเรียก” เดินตามจังหวะเพลง ไก่แก้ว “เห็น ธ ช้า” เบี่ยงตัวทางขวา มือซ้ายตั้งวงบน มือขวาจีบหงายแขนตึงระดับไหล่เอียง ขวา “ไก่ขันเรียก” เบี่ยงตัวทางซ้าย มือซ้ายจีบหงาย มือขวาตั้งวงหน้า เอียงซ้าย จากนั้นดึงมือซ้ายตั้งวงห บน มือขวาส่งจีบหลัง เอียงขวา นายแก้ว-นายขวัญ เตินมือเดียวตามพระลอ ลักษณะการเคลื่อนไหว เป็นเส้นตรง ไก่อยู่หน้า ตามด้วยพระลอ และนายแก้วนายขวัญ ภาพที่25 ท่าเห็น ธ ช้าไก่ขันเรียก
20 2.13 ไก่กะเหวียกตาดูวิธีปฏิบัติพระลอ เดินตามจังหวะเพลงในท่ารําเดิม ไก่แก้ว “ไก่กะเหวียก” เบี่ยงตัวทางซ้าย ก้าวไขว้เท้าซ้าย มือซ้ายจีบปรกข้าง มือขวาตั้งวงล่าง เอียงซ้าย “ตาดู” เบี่ยงตัวทางขวา ก้าวไขว้เท้าขวา มือขวาจีบปรกข้าง มือซ้ายตั้งวงล่าง เอียงขวา นายแก้ว-นายขวัญ เดินตามพระลอ ลักษณะการเคลื่อนไหว เป็นเส้นตรง ไก่อยู่หน้า ตามด้วยพระลอ และนายแก้วนายขวัญ ภาพที่26 ท่าไก่กะเหวียดตาดู2.14 ครั้นภูธระจะทัน วิธีปฏิบัติพระลอ เดินตามจังหวะเพลงในท่ารําเดิม ไก่แก้ว “ครั้นภู” เบี่ยงตัวทางขวา ก้าวหน้าเท้าซ้าย มือขวาจีบปรกข้าง มือซ้ายตั้งวงล่าง เอียง ซ้าย “ธรจะทัน” ก้าวหน้าเท้าขวา มือขวาม้วนจีบปล่อยเป็นตั้งวงบน มือซ้ายพลิกมือรับจีบหงายชายพก เอียงขวา นายแก้ว-นายขวัญ เดินตามพระลอ ลักษณะการเคลื่อนไหว เป็นเส้นตรง ไก่อยู่หน้า ตามด้วยพระลอ และนายแก้วนายขวัญ ภาพที่27 ท่าภูธรจะทัน
21 2.15 ไก่ค่อยผันค่อยผาย วิธีปฏิบัติพระลอ เดินตามจังหวะเพลงในท่ารําเดิม ไก่แก้ว “ไก่ค่อยผัน” เบี่ยงตัวทางขวา ก้าวหน้าเท้าขวา แตะเท้าซ้าย มือซ้ายตั้งวงบน มือขวาจีบ หงายชายพก เอียงซ้าย “ค่อยผาย” เบี่ยงตัวทางซ้าย ก้าวหน้าเท้าซ้าย แตะเท้าขวา มือขวาตั้งวงบน มือ ซ้ายจีบหงายชายพก เอียงขวา นายแก้ว-นายขวัญ เดินตามพระลอ ลักษณะการเคลื่อนไหว เป็นเส้นตรง ไก่อยู่หน้า ตามด้วยพระลอ และนายแก้วนายขวัญ ภาพที่28 ท่าไก่ค่อยผันค่อยผาย 2.16 ระร่าย ระร่าย ส่ายตีนเดิน วิธีปฏิบัติพระลอ “ระร่าย ระร่าย ส่ายตีนเดิน” ประเท้าซ้ายมือซ้ายวาดแขนตึง มือขวาถือพระขรรค์ระดับวงล่าง เอียงขวาจากนั้นวาดแขนซ้ายขึ้น พร้อมกับกลับควงพระขรรค์เป็นวงล่าง เอียงซ้าย ไก่แก้ว “ระร่าย ระร่าย” เท้าซ้ายยกหน้า มือซ้ายจีบคว่ํางอแขนระดับสะเอว มือขวาแบลาด เอียงขวา จากนั้นเท้าขวายกหน้า มือขวาจีบคว่ํางอแขนระดับสะเอว มือซ้ายแบลาด เอียงซ้าย “ส่ายตีน เดิน” เท้าซ้ายก้าวไขว้ขยั่นเท้า มือซ้ายควักจีบแล้วปล่อยเป็นแบลาด มือขวาพลิกข้อมือปลายนิ้วตั้งขึ้น เอียงซ้าย นายแก้ว-นายขวัญ เดินตามพระลอ ลักษณะการเคลื่อนไหว เป็นเส้นตรง ไก่อยู่หน้า ตามด้วยพระลอ และนายแก้วนายขวัญ ภาพที่29 ท่าระร่าย ระร่าย ส่ายตีนเดิน
22 2.17 ดําเนินหงส์ยกย่าง วิธีปฏิบัติพระลอ “ดําเนินหงส์ยกย่าง” เดินตามจังหวะเพลง หน้าตรง ไก่แก้ว “ดําเนินหงส์ยกย่าง” หน้าตรง ก้าวหน้าเท้าขวา กระดกเท้าซ้าย มือทั้งสองรวมจีบระดับ อก “หงส์ยกย่าง” เท้าซ้ายก้าวไขว้เขย่งเท้าขั้น มือทั้งสองแทงปลายนิ้วกับข้างขา เอียงซ้าย นายแก้ว-นายขวัญ เดินตามพระลอ ลักษณะการเคลื่อนไหว เป็นเส้นตรง ไก่อยู่หน้า ตามด้วยพระลอ และนายแก้วนายขวัญ ภาพที่30 ท่าดําเนินหงส์ยกย่าง 2.18 ครั้นเห็นห่างไก่หยุด วิธีปฏิบัติพระลอ “ครั้นเห็นห่าง” วิ่งซอยเท้า มือขวาจับพระขรรค์ระดับวงล่าง มือซ้าย ส่งจีบหลัง หน้าตรง “ไก่หยุด”วิ่งซอยเท้าตามไก่จากนั้น ถอนเท้าซ้ายพักเท้าขวา มือขวาถือพระขรรค์ระดับวงล่าง มือซ้ายส่งจีบหลัง เอียงขวา ไก่แก้ว “ดําเนินหงส์ยกย่าง” หน้าตรง ก้าวหน้าเท้าขวา กระดกเท้าซ้าย มือทั้งสองรวมจีบระดับ อก “หงส์ยกย่าง” เท้าซ้ายก้าวไขว้เขย่งเท้าขั้น มือทั้งสองแทงปลายนิ้วกับข้างขา เอียงซ้าย นายแก้ว-นายขวัญ เดินตามพระลอ ลักษณะการเคลื่อนไหว เป็นเส้นตรง ไก่อยู่หน้า ตามด้วยพระลอ และนายแก้วนายขวัญ ภาพที่31 ท่าครั้นเห็นห่างไก่หยุด
23 2.19 ครั้นจะสุดแดนป่า วิธีปฏิบัติพระลอ “ครั้นจะสุด” เบี่ยงตัวทางขวา เท้าซ้ายก้าวข้าง มือซ้ายตั้งวงบนมือขวาจับพระขรรค์ระดับวงบน (ท่าแหวก) เอียงขวา “แดนป่า” ก้าวหน้าเท้าขวา มือซ้ายชี้กวาด มือขวาจับพระขรรค์ระดับวง ล่าง เอียงซ้าย ไก่แก้ว “ครั้นจะสุด” ก้าวหน้าเท้าขวา มือขวาส่งจีบหงายระดับไหล่มือซ้ายตั้งวงล่าง เอียงขวา“แดนป่า” ก้าวหน้าเท้าซ้าย มือซ้ายม้วนมือจีบหงาย มือขวาม้วนจีบตั้งวงบน เอียงขวา นายแก้ว-นายขวัญ เดินตามพระลอ ลักษณะการเคลื่อนไหว เป็นเส้นตรง ไก่อยู่หน้า ตามด้วยพระลอ และนายแก้วนายขวัญ ภาพที่. 32 ท่าครั้นจะสุดแดนป่า 2.20 ครั้นจะผ่าแดนบ้าน วิธีปฏิบัติพระลอ “ครั้นจะผ่า” เท้าซ้ายก้าวข้าง มือซ้ายตั้งวงบนมือขวาจับพระขรรค์ระดับวงล่าง เอียง ขวา “แดนบ้าน” ก้าวหน้าเท้าขวา มือซ้ายกํานิ้วมือชี้ม้วนข้อมือ เอียงซ้าย ไก่แก้ว “ครั้นจะผ่า” ก้าวหน้าเท้าขวา มือขวาส่งจีบปรกข้าง มือซ้ายตั้งวงล่าง เอียงขวา“แดนบ้าน” ก้าวหน้าเท้าซ้าย มือซ้ายม้วนมือจีบหงาย มือขวาม้วนจีบตั้งวงบน เอียงขวา นายแก้ว-นายขวัญ เดินตามพระลอ ลักษณะการเคลื่อนไหว เป็นเส้นตรง ไก่อยู่หน้า ตามด้วยพระลอ และนายแก้วนายขวัญ ภาพที่33 ท่าครั้นจะผ่าแดนบ้าน
24 2.21 ไก่แกล้งคร้านมารยา วิธีปฏิบัติพระลอ “ไก่แกล้งคร้าน” เดินสองมือ “ไก่แกล้งคร้านมารยา” เดินสองมือตามจังหวะเพลง ไก่แก้ว “ไก่แกล้งคร้าน” เบี่ยงตัวทางซ้าย เท้าซ้ายก้าวไขว้มือทั้งสองม้วนมือจีบจับสะเอว เอียงซ้าย(ผงกศีรษะ) “ไก่แกล้งคร้านมารยา” เบี่ยงตัวทางขวาเท้าขวาก้าวไขว้มือทั้งสองม้วนมือจีบจับ สะเอว เอียงขวา(ผงกศีรษะ) นายแก้ว-นายขวัญ เดินตามพระลอ ลักษณะการเคลื่อนไหว เป็นเส้นตรง ไก่อยู่หน้า ตามด้วยพระลอ และนายแก้วนายขวัญ ภาพที่34 ท่าไก่แกล้วคร้านมารยา 2.22 เห็นไก่ช้า ธ ก็สาว วิธีปฏิบัติพระลอ “เห็นไก่ช้า” เดินสองมือ “ธ ก็สาว” เดินสองมือขยั่นเท้า ไก่แก้ว “เห็นไก่ช้า” เท้าขวาก้าวหน้า มือทั้งสองตั้งวงกลาง หน้าตรง “ธ ก็สาว” เท้าซ้าย ก้าวหน้า มือทั้งสองตั้งวงกลาง หน้าตรง นายแก้ว-นายขวัญ เดินตามพระลอ ลักษณะการเคลื่อนไหว เป็นเส้นตรง ไก่อยู่หน้า ตามด้วยพระลอ และนายแก้วนายขวัญ ภาพที่35 ท่าเห็นไก่ช้า ธ ก็สาว
25 2.23 ทางยืดยาวย่นสั้น วิธีปฏิบัติพระลอ “ทางยืดยาว” เดินสองมือ “ย่นสั้น” วิ่งตามไก่จากนั้นท้ายเพลงสะดุดขวา แล้วแตะ ขวา มือขวาตั้งวงล่าง มือซ้ายส่งจีบหลัง ไก่แก้ว “ทางยืดยาว” เบี่ยงตัวทางขวา เหยียบเท้าขวา มือทั้งสองแทงข้างสะโพก เอียงขวา“ย่นสั้น” บินหนีจากนั้นท้ายเพลงสะดุดซ้าย แล้วแตะซ้าย มือสองม้วนมือจีบปล่อยเป็นตั้งวงล่าง เอียง ซ้าย นายแก้ว-นายขวัญ วิ่งตามพระลอ ลักษณะการเคลื่อนไหว เป็นเส้นตรง ไก่อยู่หน้า ตามด้วยพระลอ และนายแก้วนายขวัญ ภาพที่36 ท่าทางยืดยาวย่นสั้น 2.24 เหย่าไย่ไย่ ใกล้กระชั้น วิธีปฏิบัติพระลอ “เหย่าไย่ไย่” กระโจนตัวไปด้านหน้า โดยก้าวเท้าขวา เท้าซ้าย แล้วจบด้วยเท้าขวา มือ ทั้งสองกํามือระดับวงล่าง “ใกล้กระชั้น ” เบี่ยงตัวทางขวา ก้าวไขว้เท้าขวา มือขวาจับพระขรรค์ระดับวง กลาง มือซ้ายตั้งวงล่าง เอียงขวา ไก่แก้ว “เหย่าไย่ไย่” กระโจนตัวไปด้านหน้า โดยก้าวเท้าขวา เท้าซ้าย แล้วจบด้วยเท้าขวา มือทั้งสองกํามือระดับวงล่าง “ใกล้กระชั้น ” เบี่ยงตัวทางขวา ก้าวไขว้เท้าขวา มือทั้งสองม้วนจีบจากนั้น ปล่อยเป็นมือเหยียดแขนตึงตั้งปลายนิ้วขึ้น มือขวาตั้งวงล่าง เอียงขวา นายแก้ว-นายขวัญ วิ่งตามพระลอ ลักษณะการเคลื่อนไหว เป็นเส้นตรง ไก่อยู่หน้า ตามด้วยพระลอ และนายแก้วนายขวัญ ภาพที่37 ท่าเหย่าไย่ไย่ ใกล้กระชั้น
26 2.25 ไก่แกล้ง ไก่แกล้ง กระเจิงโผ วิธีปฏิบัติพระลอ “ไก่แกล้ง” ยืนพักเท้าขวา มือขวาจับพระขรรค์ระดับวงล่าง มือซ้ายส่งจีบหลัง เอียง ขวา “ไก่แกล้ง” ยืนพักเท้า “กระเจิงโผ” ถอนเท้าขวา มือขวาจับพระขรรค์ระดับวงบน มือซ้ายตั้งวงหน้า เอียงขวา ไก่แก้ว “ไก่แกล้ง” เบี่ยงตัวทางซ้าย เท้าซ้ายก้าวไขว้มือทั้งสองม้วนมือจีบจับสะเอว เอียง ซ้าย(ผงกศีรษะ) “ไก่แกล้ง” เบี่ยงตัวทางขวาเท้าขวาก้าวไขว้มือทั้งสองม้วนมือจีบจับสะเอว เอียงขวา“กระเจิงโผ” ถอนเท้าขวา มือทั้งสองแงมือแล้วตั้งวงกลาง พร้อมกับบินนําหน้าพระลา นายแก้ว-นายขวัญ วิ่งตามพระลอ ลักษณะการเคลื่อนไหว เป็นเส้นตรง ไก่อยู่หน้า ตามด้วยพระลอ และนายแก้วนายขวัญ ภาพที่38 ท่าไก่แกล้ง ไก่แกล้ง กระเจิงโผ 3. เพลงเชิดฉิ่ง 3.1 ไก่เอยไก่แก้ว วิธีปฏิบัติพระลอ พักเท้าซ้าย มือซ้ายจับพระขรรค์ระดับวงล่าง มือขวาชี้ไก่เอียงขวา ไก่แก้ว “ไก่เอย” ยืนชิดเท้า มือทั้งสองวางหน้าขา หน้าตรง “ไก่แก้ว” วาดเท้าซ้ายวางหลัง ทรุดตัวนั่งตั้งเข่าขวา มือทั้งสองตั้งวงกลาง หน้าตรง นายแก้ว-นายขวัญ ยืนพักเท้า ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่39 ท่าไก่เอยไก่แก้ว
27 3.2 กล้าแกล้วกายสิทธิฤทธิ์ผีสิง วิธีปฏิบัติพระลอ “กล้าแกล้วกายสิทธิ์” พักเท้าขวา มือซ้ายจีบคว่ํา มือขวาแบลาด จากนั้นมือซ้ายปล่อย เป็นบัวชูฝัก มือขวาตั้งวงหน้า เอียงซ้าย มือซ้ายจับพระขรรค์ระดับวงล่าง มือขวาชี้ไก่เอียงขวา “ฤทธิ์ผีสิง” พักเท้าขวา มือซ้ายปาดมือจีบเข้าริมฝีปาก มือขวาจับพระขรรค์ระดับวงล่าง เอียงซ้าย ไก่แก้ว “กล้าแกล้วกายสิทธิ์” ก้าวข้างเท้าซ้าย กระดกเสี้ยวเท้าขวา มือซ้ายตั้งวงล่าง มือขวา จีบปรกข้าง เอียงขวา “ฤทธิ์ผีสิง” ก้าวข้างเท้าขวา กระดกเสี้ยวเท้าซ้าย มือทั้งสองพนมระดับอก เอียง ซ้าย นายแก้ว-นายขวัญ ยืนพักเท้า ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่40 ท่ากล้าแกล้วกายสิทธิ์ฤทธิ์ผีสิง 3.3 เลี้ยวล่อลอราช วิธีปฏิบัติพระลอ “เลี้ยวล่อ” ก้าวไขว้เท้าซ้าย หมุนตัวทางขวา มือขวาจับพระขรรค์ระดับวงบน เอียง ซ้าย “ลอราช” ก้าวหน้าเท้าขวา มือซ้ายจับพระขรรค์ระดับวงบน มือขวาจีบหงายแขนตึงระดับไหล่ไก่แก้ว “เลี้ยวล่อ” ก้าวไขว้เท้าซ้าย หมุนตัวทางขวา มือขวาตั้งวงบน มือซ้ายจีบหงายชายพก เอียงซ้าย “ลอราช” หันหลังให้เวทีก้าวหน้าเท้าขวา มือซ้ายตั้งวงบน มือขวาจีบหงายแขนตึงระดับไหล่เอียงขวา นายแก้ว-นายขวัญ ยืนพักเท้า ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่41 ท่าเลี้ยวล่อลอราช
28 3.3 ฉลาดจริง วิธีปฏิบัติพระลอ วิ่งวนมาแทนที่ไก่แก้ว จากนั้นหันหน้าตรง มือขวาชี้ตัวไก่มือซ้ายจับพระขรรค์ระดับ วงล่าง เอียงขวา ไก่แก้ว วิ่งวนมาแทนที่พระลอ จากนั้นหันหน้าตรง กระโดดขาขวา ซ้าย และเคาะเท้าขวา มือ ทั้งสองจีบรวมระดับอก จากนั้นม้วนมือออก เป็นมือขวาตั้งวงบน มือซ้ายเหยียดแขนระดับไหล่ ปลายนิ้วชี้ลง เอียงขวา นายแก้ว-นายขวัญ ยืนพักเท้า ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่42 ท่าฉลาดจริง 3.4 เพราพริ้งหงอนสร้อย วิธีปฏิบัติพระลอ “เพราพริ้ง” ก้าวหน้าเท้าขวา กระดกเท้าซ้าย มือขวาจับพระขรรค์ระดับวงหน้า มือ ซ้ายตั้งวงจากนั้น ลดมือจับพระขรรค์มาตั้งวงล่าง มือซ้ายจีบปรกหน้า เอียงขวา “หงอนสร้อย” ก้าวหน้า เท้าซ้าย มือซ้ายจีบหงายแขนตึงระดับไหล่เอียงซ้าย ไก่แก้ว “เพราพริ้ง” ก้าวหน้าเท้าขวา กระดกเท้าซ้าย มือขวาจีบปรกหน้า เอียงซ้าย จากนั้นมือ ขวาตั้งวงล่าง มือซ้ายจีบปรกหน้า เอียงขวา “หงอนสร้อย” ก้าวหน้าเท้าซ้าย มือซ้ายจีบหงายแขนตึงระดับ ไหล่มือขวาตั้งวงบน เอียงซ้าย นายแก้ว-นายขวัญ ยืนพักเท้า ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่43 ท่าเพราพริ้งหงอนสร้อย
29 3.5 สวยสอางค์วิธีปฏิบัติพระลอ ปฏิบัติท่าต่อเนื่องคือยืนลักษณะเดิม จากนั้นย่ําเท้าช้า 8 ครั้ง ขณะที่ย่ําเท้า กลับมือ กลับจีบ และเร่งจังหวะให้เร็วขึ้นจนหมด “สวยสอางค์” มือขวาจับพระขรรค์ระดับวงบน มือซ้ายจีบหงาย แขนตึงระดับไหล่เอียงซ้าย ไก่แก้ว ปฏิบัติท่าต่อเนื่องคือยืนลักษณะเดิม จากนั้นย่ําเท้าช้า 8 ครั้ง ขณะที่ย่ําเท้า กลับมือ กลับจีบ และเร่งจังหวะให้เร็วขึ้นจนหมด “สวยสอางค์” มือขวาตั้งวงบน มือซ้ายจีบหงายแขนตึงระดับ ไหล่เอียงซ้าย นายแก้ว-นายขวัญ ยืนพักเท้า ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่44 ท่าสวยสอางค์3.6 ท่าดนตรีรับครั้งที่1 วิธีปฏิบัติพระลอ 1. หันหน้าเวทีก้าวหน้าเท้าซ้าย มือซ้ายจีบคว่ํา มือขวาแบลาด เอียงขวา 2. ควักจีบซ้ายปล่อยเป็นบัวชูฝัก มือขวาเหยียดแขนตึงตั้งข้อมือขึ้น เอียงซ้าย 3. แตะจมูกเท้าขวา หมุนตัวทางขวา 1 รอบ หันหน้าเวที4. ก้าวข้างเท้าขวา มือซ้ายแบลาดระดับสะเอว มือขวาจับพระขรรค์จีบคว่ําระดับ สะเอว เอียงขวา 5. ยกหน้าเท้าซ้าย มือขวาจับพระขรรค์ลักษณะบัวชูฝัก มือซ้ายตั้งวงหน้า เอียงซ้าย ไก่แก้ว 1. หันหลังให้เวทีก้าวหน้าเท้าซ้าย มือซ้ายจีบคว่ํา มือขวาแบลาด เอียงขวา 2. ควักจีบซ้ายปล่อยเป็นบัวชูฝัก มือขวาเหยียดแขนตึงตั้งข้อมือขึ้น เอียงซ้าย 3. แตะจมูกเท้าขวา หมุนตัวทางขวา หันหน้าเวที4. ก้าวข้างเท้าซ้าย มือซ้ายจีบคว่ําระดับสะเอว มือขวาแบลาดระดับสะเอว เอียงซ้าย 5. เท้าขวากระดกเสี้ยว มือซ้ายส่งบัวชูฝัก มือขวาวงหน้า เอียงขวา นายแก้ว-นายขวัญ ยืนพักเท้า ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง
30 ภาพที่45 ท่าดนตรีรับครั้งที่1 3.7 ท่าไล่ครั้งที่1 วิธีปฏิบัติพระลอ 1. หันหน้าเข้าหาไก่แตะจมูกเท้าซ้าย ซอยเท้าถอยหลัง มือซ้ายตั้งวงบน มือขวาจับ พระขรรค์ลักษณะจีบคว่ํา เอียงขวา 2. แตะจมูกเท้าขวา ซอยเท้าไล่ไก่มือซ้ายจีบคว่ําแขนตึงระดับไหล่มือขวาจับพระ ขรรค์ลักษณะวงบน เอียงซ้าย หมายเหตุปฏิบัติขึ้นลงไล่ไก่ลักษณะเดิม อีก 2 ครั้ง 3. หันหน้าเวทีก้าวข้างเท้าขวา มือขวาจับพระขรรค์ลักษณะจีบคว่ํา มือซ้ายแบลาด เอียงขวา 4. ยกหน้าเท้าซ้าย มือซ้ายตั้งวงหน้า มือขวาจับพระขรรค์ลักษณะบัวชูฝัก เอียงซ้าย ไก่แก้ว 1. หันหน้าเข้าหาพระลอ แตะจมูกเท้าซ้าย ซอยเท้าไล่เข้าหาพระลอ มือซ้ายตั้งวงบน มือขวาจีบคว่ํา เอียงขวา 2. แตะจมูกเท้าขวา ซอยเท้าถอยหลัง มือซ้ายจีบคว่ําแขนตึงระดับไหล่มือขวาตั้งวง บน เอียงซ้าย หมายเหตุปฏิบัติขึ้นลงไล่พระลอลักษณะเดิม อีก 2 ครั้ง 3. หันหน้าเวทีก้าวข้างเท้าซ้าย มือซ้ายจีบคว่ํา มือขวาแบลาด เอียงซ้าย 4. กระดกเสี้ยวเท้าขวา มือซ้ายส่งบัวชูฝัก มือขวาตั้งวงหน้า เอียงขวา นายแก้ว-นายขวัญ ยืนพักเท้า ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง
31 1 2 ภาพที่46 ท่าดนตรีรับครั้งที่1 3.8 ทําทีแล่นถลา วิธีปฏิบัติพระลอ “ทําที” เท้าขวาก้าวข้าง มือถือพระขรรค์ระดับวงล่าง มือซ้ายจีบส่งหลัง เอียงซ้าย “แล่นถลา” ถอนเท้าขวากลับตัวทางขวา มือขวาจับพระขรรค์ระดับจีบปรกข้าง มือซ้ายตั้งวงหน้า วิ่งวน แทนที่ตัวไก่ไก่แก้ว “ทําที” ก้าวไขว้เท้าซ้าย มือทั้งสองจีบหงายรวมไว้ระดับอก จากนั้นมือขวาม้วนมือจีบ ปล่อยเป็นตั้งวงบน มือซ้ายแทงมือลงปลายนิ้วตก เอียงขวา “แล่นถลา” ถอนเท้าขวา มือทั้งสองแทงมือ จากนั้นกระทบเข่า มือทั้งสองตั้งวงกลาง เอียงซ้าย วิ่งวนแทนที่พระลอ นายแก้ว-นายขวัญ ยืนพักเท้า ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่47 ท่าทําทีแล่นถลา
32 3.9 ให้คว้าเหมาะ วิธีปฏิบัติพระลอ “ให้คว้า” เบี่ยงตัวทางซ้าย(หันหน้าเข้าหาไก่) ก้าวข้างเท้าซ้าย มือซ้ายจับพระขรรค์ระดับวงล่าง มือขวาคว้าใต้มือไก่เอียงซ้าย “เหมาะ” เปลี่ยนเป็นก้าวข้างเท้าขวา มือขวาจับพระขรรค์ระดับสะเอว มือซ้ายคว้าใต้มือไก่เอียงขวา ไก่แก้ว “ให้คว้า” เบี่ยงตัวทางซ้าย(หันหน้าเข้าหาพระลอ) ยืนผสมเท้าขวา มือซ้ายจีบส่งหลัง มือขวา ม้วนมือจีบเข้าหาสะเอว เอียงขวา “เหมาะ” เปลี่ยนเป็นยืนผสมเท้าซ้าย มือขวาจีบส่งหลัง มือซ้าย ม้วนมือจีบเข้าหาสะเอว เอียงซ้าย นายแก้ว-นายขวัญ ยืนพักเท้า ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่48 ท่าให้คว้าเหมาะ 3.10 ย่างเหยาะ วิธีปฏิบัติพระลอ “ย่าง” ยกหน้าเท้าซ้าย มือซ้ายจีบคว่ําระดับสะเอว มือขวาแบลาด เอียงขวา“เหยาะ” ยกหน้าเท้าขวา มือขวาจีบคว่ําระดับสะเอว มือซ้ายแบลาด เอียงซ้าย ไก่แก้ว “ย่าง” ยกหน้าเท้าซ้าย มือซ้ายจีบคว่ําระดับสะเอว มือขวาแบลาด เอียงขวา “เหยาะ”ยกหน้าเท้าขวา มือขวาจีบคว่ําระดับสะเอว มือซ้ายแบลาด เอียงซ้าย นายแก้ว-นายขวัญ ยืนพักเท้า ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพทที่49 ท่าย่างเหยาะ
33 3.11 กรีดปีกไซร้หาง วิธีปฏิบัติพระลอ เท้าขวาก้าวข้าง มือขวาจับประขรรค์ระดับวงล่าง มือซ้ายส่งจีบหลัง เอียงซ้าย ไก่แก้ว “กรีดปีก” เบี่ยงหน้าทางขวา ก้าวหน้าเท้าขวา เอี้ยวตัว มือทั้งสองตั้งวงกลาง เอียงขวา“ไซร้หาง” เอี้ยวตัวทางซ้าย มือทั้งสองตั้งวงกลาง ไซร้หัว เอียงซ้าย นายแก้ว-นายขวัญ ยืนพักเท้า ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่50 ท่ากรีดปีกไซร้หาง 3.12 ครั้นพระลอไล่กระชั้น วิธีปฏิบัติพระลอ “ครั้นพระลอ” ยืนพักเท้าขวา มือขวาจับพระขรรค์ระดับวงล่าง มือซ้ายส่งจีบหลัง เอียงขวา “ไล่กระชั้น” ถอนเท้าขวา หมุนตัวทางขวาหันหลังให้เวทีมือขวาจับพระขรรค์ระดับวงบน มือ ซ้ายตั้งวงหน้า เอียงขวา ไก่แก้ว “ครั้นพระลอ” ก้าวข้างเท้าซ้าย มือทั้งสองตั้งวงกลาง เอียงขวา “ไล่กระชั้น” ถอนเท้า ขวา มือทั้งสองแทงมือจากนั้นกระทบเข่า มือทั้งสองตั้งวงกลาง เอียงซ้าย วิ่งวนแทนที่พระลอ นายแก้ว-นายขวัญ ยืนพักเท้า ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่51.ท่าครั้นพระลอไล่กระชั้น
34 3.13 กั้นกาง วิธีปฏิบัติพระลอ “กั้น” เบี่ยงตัวทางซ้ายหันหน้าเข้าหาไก่ก้าวข้างเท้าซ้าย มือซ้ายเหยียดแขนตึงระดับ ไหล่มือขวาจับพระขรรค์วงล่าง เอียงซ้าย “กาง” เหยียดแขนจับพระขรรค์แขนตึงระดับไหล่เอียงขวา ไก่แก้ว “กั้น” เบี่ยงตัวทางขวาหันหน้าเข้าหาพระลอ ผสมเท้าขวา มือขวาจีบหงายชายพก มือ ซ้ายส่งจีบหลัง เอียงขวา “กาง” ผสมเท้าซ้าย มือซ้ายจีบหงายชายพก มือขวาส่งจีบหลัง เอียงซ้าย นายแก้ว-นายขวัญ ยืนพักเท้า ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่52 ท่ากั้นกาง 3.14 ไก่ขวัญหันห่าง วิธีปฏิบัติพระลอ “ไก่ขวัญ” ยกหน้าเท้าขวา แล้วเปลี่ยนเป็นยกหน้าเท้าซ้าย มือทั้งสองปฏิบัติท่ากาง กั้น “หันห่าง” หันมาหน้าเวทีพร้อมกับยกหน้าเท้าขวา มือทั้งสองปฏิบัติเช่นเดิม ไก่แก้ว “ไก่ขวัญ” หันหลังให้เวทีแตะเท้าขวา มือขวาตั้งวงบนมือซ้ายจีบหงายชายพก เอียง ขวา “หันห่าง” หมุนตัวทางขวามาหน้าเวทีแตะเท้าซ้าย มือซ้ายตั้งวงบนมือขวาจีบหงายชายพก เอียง ซ้าย นายแก้ว-นายขวัญ ยืนพักเท้า ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่53 ท่าไก่ขวัญหันห่าง
35 3.15 ราชา วิธีปฏิบัติพระลอ “ร้องเอื้อน” ก้าวหน้าเท้าขวา มือซ้ายจีบหงายชายพก มือขวาจับพระขรรค์แบลาด ข ยั่นเท้าพร้อมกับปฏิบัติสลับตั้งมือจับพระขรรค์ขึ้นลงตามจังหวะเพลง พร้อมกลับมือจีบ ช้า 8 ครั้ง แล้ว ค่อยเร็ว “ราชา” จบท่าด้วยมือซ้ายตั้งวงล่าง มือขวาจับพระขรรค์แบลาด เอียงขวา ไก่แก้ว “ร้องเอื้อน” ก้าวหน้าเท้าขวา มือซ้ายจีบหงายชายพก มือขวาแบลาด ขยั่นเท้าพร้อม กับปฏิบัติสลับตั้งมือขวาเป็นตั้งวงกลางขึ้นลงตามจังหวะเพลง พร้อมกลับมือจีบ ช้า 8 ครั้ง แล้วค่อยเร็ว“ราชา” จบท่าด้วยมือซ้ายตั้งวงล่าง มือขวาแบลาด เอียงขวา นายแก้ว-นายขวัญ ยืนพักเท้า ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่54 ท่าราชา 3.16 ท่าดนตรีรับครั้งที่2 วิธีปฏิบัติพระลอ 1. หันหน้าเวทีก้าวหน้าเท้าซ้าย มือซ้ายจีบคว่ํา มือขวาแบลาด เอียงขวา 2. ควักจีบซ้ายปล่อยเป็นบัวชูฝัก มือขวาเหยียดแขนตึงตั้งข้อมือขึ้น เอียงซ้าย 3. แตะจมูกเท้าขวา หมุนตัวทางขวา 1 รอบ หันหน้าเวที4. ก้าวข้างเท้าขวา มือซ้ายแบลาดระดับสะเอว มือขวาจับพระขรรค์ระดับจีบปรกข้าง เอียงขวา 5. ยกหน้าเท้าซ้าย มือขวาจับพระขรรค์ลักษณะวงบน มือซ้ายแบลาด เอียงซ้าย ไก่แก้ว 1. หันหลังให้เวทีก้าวหน้าเท้าซ้าย มือซ้ายจีบคว่ํา มือขวาแบลาด เอียงขวา 2. ควักจีบซ้ายปล่อยเป็นบัวชูฝัก มือขวาเหยียดแขนตึงตั้งข้อมือขึ้น เอียงซ้าย 3. แตะจมูกเท้าขวา หมุนตัวทางขวา หันหน้าเวที4. ก้าวข้างเท้าซ้าย มือซ้ายจีบปรกข้าง มือขวาตั้งวงกลาง เอียงซ้าย 5. เท้าขวากระดกเสี้ยว มือซ้ายตั้งวงบน มือขวาแบลาด เอียงขวา นายแก้ว-นายขวัญ ยืนพักเท้า ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง
36 ภาพที่55 ท่าดนตรีรับครั้งที่2 3.17 ท่าไล่ครั้งที่2 วิธีปฏิบัติพระลอ 1. หันหน้าเข้าหาไก่แตะจมูกเท้าซ้าย ซอยเท้าถอยหลัง มือซ้ายจีบหงายแขนตึงระดับ ไหล่มือขวาจับพระขรรค์ตั้งปลายขึ้น เอียงขวา 2. แตะจมูกเท้าขวา ซอยเท้าไล่ไก่มือซ้ายม้วนมือจีบปล่อยเป็นตั้งมือขึ้น มือจับพระ ขรรค์ลักษณะจีบหงายระดับไหล่เอียงซ้าย หมายเหตุปฏิบัติขึ้นลงไล่ไก่ลักษณะเดิม อีก 2 ครั้ง 3. หันหน้าเวทีก้าวข้างเท้าขวา มือขวาจับพระขรรค์ระดับจีบปรกข้าง มือซ้ายตั้งวง กลาง เอียงขวา 4. ยกหน้าเท้าซ้าย มือขวาจับพระขรรค์ระดับวงบน มือซ้ายแบลาด เอียงซ้าย ไก่แก้ว 1. หันหน้าเข้าหาพระลอ แตะจมูกเท้าซ้าย ซอยเท้าไล่เข้าหาพระลอ มือซ้ายตั้งวงบน มือขวาจีบคว่ํา เอียงขวา 2. แตะจมูกเท้าขวา ซอยเท้าถอยหลัง มือซ้ายจีบคว่ําแขนตึงระดับไหล่มือขวาตั้งวง บน เอียงซ้าย หมายเหตุปฏิบัติขึ้นลงไล่พระลอลักษณะเดิม อีก 2 ครั้ง 3. หันหน้าเวทีก้าวข้างเท้าซ้าย มือซ้ายจีบปรกข้าง มือขวาตั้งวงกลาง เอียงซ้าย 4. กระดกเสี้ยวเท้าขวา มือซ้ายตั้งวงบน มือขวาแบลาด เอียงขวา นายแก้ว-นายขวัญ ยืนพักเท้า ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่56 ท่าดนตรีรับครั้งที่2
37 3.18 ฉับเฉียว วิธีปฏิบัติพระลอ “ฉับ” หันหลังให้เวทีก้าวหน้าเท้าซ้าย มือซ้ายจีบหงายชายพก มือขวาจับพระขรรค์จีบส่งหลัง เอียงซ้าย วิ่งวนแทนที่ไก่“เฉียว” หันหลังให้เวทีก้าวหน้าเท้าขวา มือขวาจับพระขรรค์ระดับวง ล่าง มือซ้ายส่งจีบหลัง เอียงขวา วิ่งวนแทนที่ไก่ไก่แก้ว “ฉับ” หันหน้าเวทีก้าวหน้าเท้าซ้าย มือซ้ายจีบหงายชายพก มือขวาส่งจีบหลัง เอียง ซ้าย วิ่งวนแทนที่พระลอ “เฉียว” หันหน้าให้เวทีก้าวหน้าเท้าขวา มือขวาจีบหงายชายพก มือขวาส่งจีบ หลัง เอียงขวา วิ่งวนแทนที่พระลอ นายแก้ว-นายขวัญ ยืนพักเท้า ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่57 ท่าฉับเฉียว 3.19 เลี้ยวลัดฉวัดเฉวียน วิธีปฏิบัติพระลอ “เลี้ยวลัด” หันหลังให้เวทีก้าวหน้าเท้าซ้าย มือซ้ายตั้งวงกลาง มือขวาจับพระขรรค์จีบ ปรกข้าง จากนั้นปล่อยมือขวาจับวงบน มือซ้ายแบลาด เอียงซ้าย วิ่งวนแทนที่ไก่ “ฉวียน” หันหลังให้เวทีก้าวหน้าเท้าขวา มือซ้ายจีบปรกข้าง มือขวาจับพระขรรค์วงกลาง จากนั้นมือซ้ายตั้งวงบน มือขวาจับพระ ขรรค์แบลาด เอียงขวา วิ่งวนแทนที่ไก่ไก่แก้ว ปฏิบัติท่าตรงข้ามกับพระลอ นายแก้ว-นายขวัญ ยืนพักเท้า ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่58 ท่าเลี้ยวลัดฉวัดเฉวียน
38 3.20 วนเวียนหลบเวิ้ง วิธีปฏิบัติพระลอ “วนเวียน” หันหลังให้เวทีก้าวหน้าเท้าซ้าย มือซ้ายตั้งวงบัวชูฝัก มือขวาจับพระขรรค์เหยียดแขนตึงระดับไหล่เอียงซ้าย วิ่งวนแทนที่ไก่ “เชิงพฤกษา” หมุนตัวทางขวา มือขวาจับพระขรรค์วง บัวชูฝัก มือซ้ายเหยียดแขนตึงระดับไหล่ตั้งปลายมือ เอียงขวา วิ่งวนมาทางซ้ายของเวที ไก่แก้ว “วนเวียน” หันหน้าเวทีก้าวหน้าเท้าขวา มือขวาตั้งวงบัวชูฝัก มือซ้ายเหยียดแขนตึง ระดับไหล่เอียงขวา วิ่งวนแทนที่พระลอ “เชิงพฤกษา” หมุนตัวทางขวา มือขวาตั้งวงบัวชูฝัก มือซ้าย เหยียดแขนตึงระดับไหล่ตั้งปลายมือ เอียงขวา วิ่งวนมาทางขวาของเวทีนายแก้ว-นายขวัญ ยืนพักเท้า ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่59 ท่าวนเวียนหลบเวิ้ง 3.21 เชิงพฤกษา วิธีปฏิบัติพระลอ ก้าวหน้าเท้าขวา แบมือหงายตั้งสองข้าง หน้าตรง ไก่แก้ว กระดกเท้าซ้าย มือซ้ายตั้งวงบน มือขวาตั้งวงหน้า เอียงซ้าย (ท่าหลบ) นายแก้ว-นายขวัญ ยืนพักเท้า ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพท.ี่60 ท่าเชิงพฤกษา หมายเหตุพระลอสั่งนายแก้ว นายขวัญ หาไก่เพราะไก่หายไป ไก่แก้ว ยืนหลบอยู่ที่เดิม
39 3.22 เชิด 1 วิธีปฏิบัติพระลอ ยืนพักเท้าซ้าย มือซ้ายแตะหน้าขา มือขวาจับพระขรรค์ระดับวงล่าง เอียงขวา ไก่แก้ว ก้าวเท้าซ้าย มือขวาตั้งวงบน มือซ้ายเหยียดแขนตึงระดับไหล่เอียงขวา เดินย่ําเท้า เข้า หาพระลอ 1 จังหวะใหญ่ขณะย่ําเท้าล่อแขนซ้ายไปด้วย นายแก้ว-นายขวัญ ยืนพักเท้า ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่61 ท่าเชิด 1 3.23 เชิด 2 วิธีปฏิบัติพระลอ เดินเข้าหาไก่มากลางเวที ไก่แก้ว ย่ําเท้า มือซ้ายตั้งวงบน มือขวาเหยียดแขนตึงระดับไหล่เอียงซ้าย เดินย่ําเท้าล่อพระ ลอมากลางเวทีนายแก้ว-นายขวัญ ย่ําเท้า มือทั้งสองตั้งวงกลาง หน้าตรง ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่62 ท่าเชิด 2
40 3.24 เชิด 3 วิธีปฏิบัติพระลอ หันหลังให้เวทีประเท้าซ้าย มือซ้ายจีบคว่ําระดับสะเอว จากนั้นปล่อยมือซ้ายเป็นบัวชูฝัก มือขวาเหยียดแขนตึงระดับไหล่เอียงขวา จากนั้นเดินย่ําเท้าตามจังหวะเพลงวนแทนที่ไก่ไก่แก้ว หันหน้าให้เวทีประเท้าซ้าย มือซ้ายจีบคว่ําระดับสะเอว จากนั้นปล่อยมือซ้ายเป็นบัวชูฝัก มือขวาเหยียดแขนตึงระดับไหล่เอียงขวา จากนั้นเดินย่ําเท้าตามจังหวะเพลงวนแทนที่พระลอ นายแก้ว-นายขวัญ ย่ําเท้า มือทั้งสองตั้งวงกลาง หน้าตรง ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่63 ท่าเชิด 3 3.25 เชิด 4 วิธีปฏิบัติพระลอ หันหน้าเวทีย่ําเท้าตามจังหวะเพลงมือซ้ายจีบปรกข้าง มือขวาตั้งวงกลาง จากนั้นสือ ซ้ายม้วนมือตั้งวงบน มือขวาแบลาด เอียงขวา หมุนตัวทางขวา 1 รอบ ไก่แก้ว ปฏิบัติตรงข้ามกับพระลอ นายแก้ว-นายขวัญ ย่ําเท้า มือทั้งสองตั้งวงกลาง หน้าตรง ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่64 ท่าเชิด 4
41 3.26 เชิด 5 วิธีปฏิบัติพระลอ หันหน้าเวทีย่ําเท้าตามจังหวะเพลงมือซ้ายบัวชูฝัก มือขวาเหยียดแขนตึงปลายนิ้ว ตั้งขึ้น เอียงซ้าย หมุนตัวทางซ้าย แทนที่ไก่ไก่แก้ว ปฏิบัติตรงข้ามกับพระลอ นายแก้ว-นายขวัญ ย่ําเท้า มือทั้งสองตั้งวงกลาง หน้าตรง ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่65 ท่าเชิด 5 หมายเหตุปฏิบัติท่าเชิด3- เชิด 5 อีก 2 รอบ (เรียกโคม 3 ใบ) 3.27 เชิด 6 วิธีปฏิบัติพระลอ หันหน้าเข้าหาไก่กันไก่ขึ้นลง จนหมดจังหวะ ไก่แก้ว ปฏิบัติตรงข้ามกับพระลอ นายแก้ว-นายขวัญ ย่ําเท้า มือทั้งสองตั้งวงกลาง หน้าตรง ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่66 ท่าเชิด 6
42 3.28 เชิด 7 วิธีปฏิบัติพระลอ คว้าพลาด โดยครั้งที่1 ก้าวข้างเท้าซ้าย มือซ้ายจับพระขรรค์มือขวาจีบหงายชายพก เอียงซ้าย ครั้งที่2 ก้าวข้างเท้าขวา มือขวาจับพระขรรค์มือซ้ายจีบหงายชายพก เอียงขวา ครั้งที่3 เบี่ยง ตัวทางขวา ก้าวข้างเท้าซ้าย มือซ้ายจับพระขรรค์มือขวาจีบหงายชายพก เอียงขวา จากนั้นวิ่งตามจับไก่มาทางซ้ายของเวที ไก่แก้ว คว้าพลาด โดยครั้งที่1 ผสมเท้าขวา มือซ้ายตั้งวงบน มือขวาตั้งวงล่าง เอียงขวา ครั้งที่2 ผสมเท้าขวา มือขวาตั้งวงบน มือซ้ายตั้งวงล่าง เอียงซ้าย ครั้งที่3 เบี่ยงตัวทางขวา ก้าวข้างเท้า ซ้าย มือซ้ายตั้งวงบน มือขวาตั้งวงล่าง เอียงขวา จากนั้นกระโดด บินหนีพระลอไปทางขวาของเวทีนายแก้ว-นายขวัญ ย่ําเท้า มือทั้งสองตั้งวงกลาง หน้าตรง ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่67 ท่าเชิด 7 3.29 เชิดฉิ่ง 1 วิธีปฏิบัติพระลอ พระลอสั่งนายขวัญ หาไก่เพราะไก่หายไป ไก่แก้ว แตะเท้าซ้าย มือซ้ายจีบตั้งวงล่าง มือขวาจีบคว่ําแขนตึง เอียงขวา ซอยเท้าขึ้นหน้าเวทีนับ 1 จากนั้นแตะเท้าขวา มือซ้ายจีบคว่ําแขนตึง มือขวาตั้งวงล่าง เอียงซ้าย ปฏิบัติขึ้นลงอีก 2 ครั้ง นายแก้ว-นายขวัญ ย่ําเท้า มือทั้งสองตั้งวงกลาง หน้าตรง ลักษณะการเคลื่อนไหว พระลอ อยู่บนระดับเดียวกับไก่แก้ว แก้ว-ขวัญ อยู่ล่าง ภาพที่68 ท่าเชิดฉิ่ง 1