The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

นางสาวรัญชิดา-หนูฉ้ง-ภาษาอังกฤษเล่ม1

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

พัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ

นางสาวรัญชิดา-หนูฉ้ง-ภาษาอังกฤษเล่ม1

พัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ นางสาวรัญชิดา หนูฉ้ง รหัสนักศึกษา 6241104015 สาขาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล


บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษมีความสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันเพราะว่าภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ สำคัญต่อการติดต่อสื่อสาร เช่น ด้านการศึกษา ด้านการแสวงหาความรู้ ด้านการประกอบอาชีพ ด้านการสร้าง ความเข้าใจต่อประเพณีวัฒนธรรม ด้านการค้าขายและธุรกิจ ร่วมไปถึงด้านการติดต่อสื่อสารกับกลุ่มประชาคม อาเซียนและต่างประเทศทั่วโลกโดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาดังนี้เพื่อศึกษาเรียนรู้ทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาตนเองและแนวคิดต่างๆที่เกี่ยวข้อง และเพื่อเรียนรู้และฝึกสมรรถนะ ทักษะด้านภาษาอังกฤษของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจากการศึกษาพบว่าการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษครั้ง นี้เนื่องจากพื้นฐานความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษของผู้ศึกษาในช่วงแรกยังไม่เก่งมากนักหลังจากได้เรียนรู้ พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษครั้งนี้ ช่วยเพิ่มทักษะในการในการทำงานหลายอย่างไปพร้อมๆ กันได้ดีขึ้น เนื่องจาก สมองได้มีการฝึกฝนให้มีการเปลี่ยน และแปลคำศัพท์อย่างรวดเร็ว สมองจึงมีความสามารถในการทำกิจกรรมหลาย อย่างไปพร้อมๆ กันได้ นอกจากนี้ผลจากการสังเกตการพูดสองภาษา พบว่ามีทักษะในการเอาใจใส่ที่ดีขึ้น ที่สำคัญ ยังสามารถสลับไปมาระหว่างงานต่างๆ ได้อย่างง่ายดายอีกด้วย คำสำคัญ : การพัฒนา,ทักษะภาษาอังกฤษ


บทนํา หลักการและเหตุผล ภาษาอังกฤษถือเป็นภาษาที่มีบทบาทสำคัญ และมีผลกระทบต่อประชากรไทยในหลากหลายด้าน ตัวอย่างด้านล่างนี้ คือความสำคัญของภาษาอังกฤษที่มีผลต่อด้านต่างๆ ที่ใกล้ตัว และทำให้เห็นภาพชัดเจน เพื่อให้ เห็นว่าเพราะเหตุใดเราจึงควรเรียนรู้ และเห็นถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้น ภาษาอังกฤษถือเป็น ภาษากลางที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารในระดับโลก เป็นภาษาหลักของประชากรกว่า 360 ล้านคน อีกทั้งยังเป็นภาษา ที่สองของประชากรกว่า 750 ล้านคนทั่วโลกนอกจากนี้ภาษาอังกฤษยังถือเป็นภาษาทางราชการของ 61 ประเทศ และเป็นภาษาหลักในหลายรัฐทั่วโลก จึงถือเป็นภาษากลางที่ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างประชากรในประเทศต่างๆ ทั้ง ในส่วนของการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ทำให้สื่อต่างๆ ที่แผยแพร่ในระดับนานาชาติ จะใช้ภาษาอังกฤษ ทั้งสิ้น จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ภาษาอังกฤษถือเป็นภาษาที่สองที่มีบทบาท และความสำคัญเป็นอย่างยิ่งใน การเรียนรู้ เพื่อเป็นประโยชน์ในการสื่อสารระดับที่กว้างขึ้น หรือในระดับนานาชาติอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับ ด้านการศึกษา ถือเป็นด้านที่สำคัญอย่างมาก ไม่แพ้ด้านการติดต่อสื่อสาร เพราะปัจจุบันสถาบันการศึกษา และ มหาวิทยาลัยในประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทยเอง ได้พยายามปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา ให้มีความเป็นสากล มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่นหลักสูตรที่เป็นภาษาไทยเองมีการนำเอาความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษเข้ามาประยุกต์ใช้มาก ขึ้น และมีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ English Program หรือ Mini English Program และนอกจากนี้ ทางกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทย ยังได้ส่งเสริมให้นักเรียนเริ่มเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ระดับอนุบาล เพื่อ เตรียมความพร้อม และให้ตัวนักเรียนได้มีความคุ้นเคยกับภาษาอังกฤษดีขึ้น เมื่อเข้าเรียนในระดับสูง ดังนั้นภาษาอังกฤษจึงจะมีผลอย่างมากต่อการศึกษาต่อต่างประเทศ การเรียนในสถาบันนานาชาติใน ประเทศไทย หรือในภาคส่วนของการศึกษาด้านการแพทย์ และด้าน STEM คือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรร รมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (Science, Technology, Engineering, and Mathematics) เพราะข้อมูล หนังสือ วารสาร และงานวิจัยทางวิชาการของสาขาเหล่านี้มักจะเป็นภาษาอังกฤษแทบทั้งสิ้น เพื่อให้นักวิชาการในระดับ นานาชาติอ่านได้ และเป็นการง่ายในการนำไปต่อยอดความรู้ในอนาคต นอกจากนี้ในทุกสาขาของการเรียน ถ้า เข้าใจภาษาอังกฤษจะทำให้คุณเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ และเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ได้กว้างขวางมากขึ้นกว่าคนที่รู้แค่ ภาษาไทยภาษาเดียว ดังนั้นจากเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวข้างต้นจึงเป็นผลให้ภาษาอังกฤษเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ทำให้สามารถ เข้าเรียนในสถาบัน และมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้หลายที่ทั่วโลก อีกทั้งยังมีโอกาสที่จะได้รับการตอบรับเข้าศึกษา และ ยังมีโอกาสได้รับทุนการศึกษามากกว่าคนปรกติ เนื่องจากการสมัครเข้าศึกษาต่อ และสมัครทุนการศึกษา มักจะมี เงื่อนไขระดับการรู้ภาษาอังกฤษเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ


วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาเรียนรู้ทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ 2. เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาตนเองและแนวคิดต่างๆที่เกี่ยวข้อง 3. เพื่อเรียนรู้และฝึกสมรรถนะทักษะด้านภาษาอังกฤษของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ขอบเขต ขอบเขตด้านระยะเวลา 19 มกราคม ถึงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 ขอบเขตด้านเนื้อหาการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ นิยามศัพท์ ทักษะ หมายถึง ความสามารถของบุคคลที่จะดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างชำนาญ ซึ่งความสามารถ นั้นเกิดขึ้นได้จากการเรียนรู้ เช่น ทักษะทางอาชีพ ทักษะทางการกีฬา ทักษะในการทำงานร่วมกับคนอื่น ทักษะ การอ่าน ทักษะในการจัดการ ทักษะทางคณิตศาสตร์ หรือทักษะทางภาษา ฯลฯ เป็นต้น ทักษะชีวิต หมายถึง ความสามารถขั้นพื้นฐานของบุคคลในการปรับตัวและเลือกทางเดินชีวิตที่เหมาะสม เพื่อที่จะสามารถเผชิญปัญหาต่าง ๆที่อยู่รอบตัวในสภาพสังคมปัจจุบันและเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยอาศัยการถ่ายทอดประสบการณ์ด้วยการฝึกฝนอบรม การพัฒนา หมายถึง ความเจริญก้าวหน้าโดยทั่ว ๆ ไป เช่น การพัฒนาชุมชน พัฒนา ประเทศ คือการทา สิ่งเหล่านั้นให้ดีขึ้น เจริญขึ้น สนองความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ให้ได้ดี ยิ่งขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่า “การ พัฒนา” เป็นกระบวนการของการเคลื่อนไหวจากสภาพที่ไม่น่า พอใจไปสู่สภาพที่น่าพอใจ สมรรถนะวิชาชีพครูหมายถึง คุณลักษณะของบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ คุณลักษณะที่ เฉพาะและจำเป็นสำหรับการประกอบวิชาชีพครู มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนและส่งเสริม การ เรียนรู้ของผู้เรียนให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ


แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ความเป็นมาของสมรรถนะ แนวคิดเกี่ยวกับสมรรถนะเริ่มจากการนำเสนอบทความทางวิชาการของแมคเคิล แลนด์ (McClelland) นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเมื่อปีค.ศ.1960 ซึ่งกล่าวถึง ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะที่ดีของบุคคล (Excellent Performer) ในองค์การกับระดับ ทักษะความรู้ความสามารถโดยกล่าวว่าการรัด IQ และการทดสอบ บุคลิกภาพบังไม่เหมาะสมใน การทำนายความสามารถหรือสมรรถนะของบุคคลได้เพราะไม่ได้สะท้อน ความสามารถที่แท้จริง ออกมาได้ ในปีค.ศ.1970 US State Department ได้ติดต่อบริษัทแม็คเบอร์ (Mcber) แมค เคิลแลนด์เป็นผู้บริหาร อยู่เพื่อให้หาเครื่องมือชนิดใหม่ที่สามารถทำนายผลการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ได้อย่างแม่นยำแทนแบบทดสอบ เก่า ซึ่งไม่สัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงาน เนื่องจากคน ได้คะแนนดีแต่ปฏิบัติงานไม่ประสบผลสำเร็จจึงต้อง เปลี่ยนแปลงวิธีการใหม่แมคเคิลแลนด์ได้ เขียนบทความ“Testing for Competence Rather Than for Intelligence” ในวารสาร American Psychologist เผยแพร่แนวคิดและสร้างแบบประเมินแบบใหม่ที่เรียกว่า Behavioral Event Interview (BEI) เป็นเครื่องมือประเมินที่ค้นหาผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานดีซึ่งแมคเคิลแลนด์ เรียกว่า สมรรถนะ ในปีค.ศ.1982 ริชารด โบยาตซิส (Richard Boyatzis) ได้เขียนหนังสือ The Competent Manager : A Model of Effective Performance’^ละได้นิยามคำว่า ompetencies เป็นความสามารถในงานหรือเป็น คุณลักษณะที่อยู่ภายในบุคคลซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติงานให้เกิด ประสิทธิภาพ ปี ค.ศ.1994 แกรึแฮเมลและซี.เค.พราฮาราด (Gary Hamel และ C.K.Prahalad) ได้เขียนหนังสือชื่อ Competing for the Future ซึ่งได้นำเสนอแนวคิดที่สำคัญคือสมรรถนะหลัก (Core Competencies เป็น ความสามารถหลักของธุรกิจ ซึ่งถือว่าในการประกอบธุรกิจนั้นจะต้อง มีเนื้อหาสาระหลัก พื้นฐานความรู้ทักษะและ ความสามารถในการทำงานอะไรได้บ้างและอยู่ใน ระดับใดจึงทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุดตรงตามความต้องการ ขององค์การ ในปัจจุบันองค์การของเอกชนชั้นนำได้นำแนวคิดสมรรถนะไปใช้เป็นเครื่องมือใน การบริหารงานมากขึ้น และยอมรับว่าเป็นเครื่องมือสมัยใหม่ที่องค์การต้องได้รับความพึงพอใจ อยู่ในระดับต้นๆ มีการสำรวจพบว่ามี 708 บริษัททั่วโลกนำสมรรถนะหลัก (Core Competency) เป็น 1 ใน 25 เครื่องมือที่ได้รับความนิยมเป็นลันดับ 3 รอง จากจริยธรรมขององค์กร(Coporate Code oF Ethics)LLละ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning)แสดง ว่า สมรรถนะหลัก (Core Competency) จะมีบทบาทสำคัญที่จะเข้าไปช่วยให้งานบริหารประสบความสำเร็จ จึงมี ผู้สนใจศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการนำหลักการของสมรรถนะมาปรับให้เพิ่มมากขึ้นหน่วยงานของ รัฐและเอกชนของ ไทยหลายหน่วยงานได้ให้ความสนใจนำมาใช้ เช่น บริษัทปูนซีเมนต์ไทย ปตท. และสำนักงานข้าราชการพลเรือน เป็นต้น (เทื้อน ทองแก้ว, 2549)


ความหมายของสมรรถนะ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2547 : 54 - 55) กล่าวว่า คำว่า สมรรถนะ มา จากคำภาษาอังกฤษ ว่า Competency ในภาษาไทยมีผู้ใช้อยู่หลายคำ เช่น สมรรถภาพ สมรรถนะ ศักยภาพ เป็นต้น คณะกรรมการ บัญญัติศัพท์ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้บัญญัติศัพท์ว่า ความสามารถ มีความสามารถ ความมี สามัตถิยะ ในที่นี้จะใช้คำว่า สมรรถนะ เนื่องจากเป็นคำที่หน่วยงานภาครัฐและนักวิชาการส่วนใหญ่ใช้กัน แพร่หลายมากที่สุดนิยามของ คำว่า “สมรรถนะ” หรือ Competency นี้ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ในตำราบทความ และข้อเขียน ทางวิชาการหลากหลายโดยทั่วไปกล่าวกันว่า ไม่มีนิยามใดผิดหรือถูกแต่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ใน การนำไปใช้มากกว่าตัวอย่างคำจำกัดความของคำว่า “สมรรถนะ” ตามที่มีผู้อธิบายไว้ อาทิ สมรรถนะ หมายถึงคุณลักษณะที่อยู่ภายในของบุคคลญ (Underlying characteristics) ซึ่งสามารถ ผลักดันให้บุคคลเหล่านั้นปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายตามบทบาท หรือตามสถานการณ์ที่กำหนดให้ใด้อย่างดีเลิศ (McClelland, 1973 : 80) สมรรถนะ หมายถึง คุณลักษณะที่อยู่ภายในของบุคคล ซึ่งมีผลต่อการปฏิบัติงาน ที่มีประสิทธิภาพ และ/ หรือการปฏิบัติงานที่ดีเยี่ยม (Spencer,1993 : 112) สมรรถนะ หมายถึง คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่ทำให้บุคลากรในองค์กรการ ปฏิบัติงานได้ผลงานโดดเด่น กว่าคนอื่น โดยบุคลากรเหล่านี้ แสดงคุณลักษณะเซิงพฤติกรรม ด้งกล่าวมากกว่าเพื่อนร่วมงานคนอื่น ใน สถานการณ์ที่หลากหลายกว่า และได้ผลงานดีกว่าผู้อื่น (สำนักงานข้าราชการพลเรือน,2547:54) สมรรถนะ หมายถึง คุณลักษณะพื้นฐานของแต่ละบุคคล ซึ่งสามารถทำนายไปถึง ผลของการปฏิบัติงานที่ เหนือชั้นกว่าคนอื่นได้อย่างมีความหมาย (ณรงค์วิทย์ แสนทอง ,2547:48) สมรรถนะ หมายถึง กลุ่มของความรู้ ทักษะและคุณลักษณะ (Attributes^เกี่ยวข้อง กันซึ่งมีผลกระทบต่อ งานหลักของตำแหน่งงานหนึ่งๆ (สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ,2547:83) สรุปได้ว่า สมรรถนะ หมายถึง คุณลักษณะที่อยู่ภายในตัวของบุคคลและแสดง ออกมาโดยการปฏิบัติ ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีผลงานการปฏิบัติงานที่ดีเยี่ยม และโดดเด่น ที่งํ๋ความรู้ ความสามารถ ทักษะ เจตคติ และพฤติกรรม แนวคิดเกี่ยวกับสมรรถนะ แนวคิดเกี่ยวกับสมรรถนะหรือขีดความสามารถในการทำงาน (Competency) เกิดขึ้นในช่วงต้นของ ศตวรรษที่ 1970 โดยนักวิชาการชื่อ แมคเคิลแลนด์(McClelland^งได้ ทำการศึกษาวิจัยว่าทำไมบุคลากรที่ทำงาน ในตำแหน่งเดียวกันจึงมีผลงานที่แตกต่างกันแมคเคิล แลนด์ (McClelland^งทำการศึกษาวิจัยโดยแยกบุคลากรที่ มีผลการปฏิบัติงานดีออกจาก บุคลากรที่มีผลการปฏิบัติงานพอใช้ แล้วจึงศึกษาว่าบุคลากรทั้ง2 กลุ่ม มีผลกา ทำงานที่แตกต่าง กันอย่างไร ผลการศึกษาทำให้สรุปได้ว่า บุคลากรที่มีผลการปฏิบัติงานดีจะมีสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า


สมรรถนะ (Competency) (จิรประภ า อัครบวร, 2549 : 58) และในปี ค.ศ. 1973 แมคเคิล แลนด์ (McClelland)^เขียนบทความวิชาการเรือง “Testing for Competence rather than Intelligence” ซึ่งถือ เป็นจุดกำเนิดของแนวคิดเรื่องสมรรถนะที่สำกัญอธิบายบุคลิกลักษณะของ คนว่าเปรียบเสมือนกับภูเขานี้าแข็ง (Iceberg) แนวคิดการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ใขเพิ่มเดิม (ฉบบที่ 2) พ.ศ. 2545 กำหนดความมุ่ง หมายว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่ สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการ ดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การจัดการศึกษาให้ผู้เรียนได้พัฒนาตามความมุ่งหมายด้งกล่าว ครูจะต้องเป็นผู้มี ความรู้ ความสามารถ กระทรวงศึกษาธิการ (2542 : 27) กล่าวไว้ว่าการพัฒนาศักยภาพครู ถือเป็นหน้าที่ของสถานศึกษาที่จะพัฒนาให้ เป็นครูมืออาชีพการวิเคราะห์ครูในด้าน ความสามารถ ความถนัด ความสนใจ เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับพิจารณา สนับสนุนให้มีการ พัฒนาศักยภาพของครูอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาศักยภาพครูให้มีความเป็นผู้นำทางวิชาการ สามารถปฏิบัติหน้าที่โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ อาศัยความร่วมมือของครู แกนนำ ครูต้นแบบ และสถาบันการศึกษาชั้นสูง รวมที่งชมรมวิชาชีพซึ่งจะช่วยพัฒนาครูให้มี ศักยภาพในการพัฒนาหดักสูตร และการ จัดการเรียนรู้ตามหดักสูตรการศึกษาชั้นพื้นฐานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ก.ค.ศ. ได้กำหนดหดักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษาผู้อยู่ใต้บังคับ บัญชาโดยให้เหตุผลว่า โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และที่ แกํไขเพิ่มเดิม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 มาตรา 79 บัญญัติให้ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อยู่ใต้บังคับ บัญชา และมีหน้าที่พัฒนาผู้ อยู่ ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติที่ดี คุณธรรม จริยธรรม และ จรรยาบรรณ วิชาชีพ ที่เหมาะสม ในดันที่จะทำให้การปฏิบัติหน้าที่เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและ ความก้าวหน้าแก่ราชการ ซึ่งก.ค.ศ.กำหนดดังนี้ 1. ผู้บังคับบัญชาทุกคน ทุกระดับมีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุนให้ข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษาผู้ อยู่ใต้บังคับบัญชาทุกคนได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่องและ ได้มาตรฐานถือว่าการปฏิบัติงานและการ เรียนรู้เป็นเรื่องเดียวกันจำเป็นต้องพัฒนาตลอดเวลา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนมีหน้าที่ต้อง พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ให้ก้าว หันต่อการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการและด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง และให้ ผู้บังคับบัญชานำผลการ พัฒนาไปใช้เป็นส่วนสำคัญในการพิจารณาดำเนินการบริหารทรัพยากรบุคคล เช่น การ เลื่อนชั้น เงินเดือน การเปลี่ยนตำแหน่งหรือสายงาน การเลื่อนวิทยฐานะ การยกย่องเชิดชูเกียรติ 2. ผู้บังคับบัญชาทุกคน ทุกระดับต้องพัฒนาตนเองให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ ข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา พัฒนาหน่วยงานการศึกษาให้เป็นองค์การแห่งการ เรียนรู้และพัฒนาผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาให้มี


คุณลักษณะที่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ และมี ความสามารถในการปฏิบัติงานในหน้าที่ความรับผิดชอบให้มี ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและ ความก้าวหน้าแก่ราชการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2547 : 45 - 46) จนเกิดทำงานกล่าวถึง รูปแบบการพัฒนาคนใน องค์กรที่สำคัญ 3 วิธี คือ การพัฒนาขณะปฏิบัติงาน และการพัฒนา ตนเองดงนี้ 1. การพัฒนาขณะปฏิบัติงาน หมายถึง การพัฒนาที่ผู้เรียนรู้ใด้เรียนรู้เทคนิค วิธีการทำงานจนเกิดทักษะ มีความช่านาญจาการได้ฝึกหรือทดลองปฏิบัติงาน รวมทิ้งอาจได้รับ การ ถ่ายทอดจากผู้บังหับบัญชาหรือพี่เลี้ยงไปพร้อม ๆกับการปฏิบัติงานจริงการพัฒนาขณะ ปฏิบัติงานนี้เป็นวิธีที่ใช้กัน อย่างแพร่หลายมากกว่าวิธีอื่นๆ แต่ไม่ได้หัดทำกันอย่างเป็นระบบ เพราะมีลักษณะเป็นวิธีการทดลองการ ปฏิบัติงานมากกว่าการพัฒนาอย่างจริงจัง ข้อเสียของการ พัฒนาอย่างนี้ คือ อาจทำให้ผลงานของหน่วยงานลดลง ไปบ้างทิ้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ตัวอย่างของการพัฒนาในขณะปฏิบัติงานเช่น การสอนงาน ระบบพี่เลี้ยง การเรียนรู้จาการ ปฏิบัติงาน ฯลฯ 2. การพัฒนานอกเวลาปฏิบัติงาน หมายถึง การที่ผู้ใด้รับการพัฒนาต้องหยุดการ ทำงานปกติของตนเอง เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมตามหหักสูตรหรือโครงการต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้น ซึ่ง อาจจะ จัดขึ้นโดยหน่วยงานพัฒนาของ ส่วนราชการเอง หรือส่งไปเข้ารับการฝึกอบรมใน หน่วยงานภายนอกส่วนราชการที่นิยมดำเนินการ มี 4 วิธี ได้แก่ การฝึกอบรมในห้องเรียนหรือ ในชั้นเรียน การฝึกอบรมทางไกล การดูงาน การศึกษาต่อ ฯลฯ 3. การพัฒนาตนเอง หมายถึงการที่บุคคลมีความสนใจ ใฝ่รู้และพยายามพัฒนา ตนเองด้วยวิธีการ ต่างๆ โดยขึ้นอยู่กับเวลา โอกาส ความถนัดและความสนใจของผู้ปฏิบัติงาน เช่น การศึกษาหาความรู้จากหนังสือ เอกสารทางวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์ ต่องานของตนเองใฝ่หาความรู้โดยแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และความคิดเห็นกับ ผู้บังหับบัญชา เพื่อนร่วมงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ติดตามข่าวและเหตุการณ์ที่ สำคัญทิ้งภายในและ ภายนอกประเทศเพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์ของตนเอง ดังนั้น การพัฒนาข้าราชการครูให้เป็นข้าราชการครูมืออาชีพนั้นต้องพัฒนาทิ้งใน ด้านความรู้!,นเนื้อหา ทักษะด้านต่างๆ รวมถึงเจตคติของความเป็นข้าราชการครู ซึ่งสามารถ พัฒนาโดยใช้วิธีที่หลากหลาย เช่น การ อบรมสัมมนา การฝึกพัฒนาขณะปฏิบัติงาน การพัฒนา โดยการศึกษาหันคว้าด้วยตนเอง การศึกษาดูงานเป็นต้น นอกจากนั้นสำนักงานคณะกรรมการ การประถมศึกษาแห่งชาติ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2546 : 17 )ได้ กล่าวถึงมาตรการและแนวทางในการพัฒนาข้าราชการครูตังนี้ 1. ส่งเสริมการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นบุคคลแห่งการ เรียนรู้มีแนวทางใน การดำเนินงาน โดยจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ กำกับติดตาม ประเมินผล เกี่ยวกับการพัฒนาครูและบุคลากร ทางการศึกษา มีการใช้หสักสูรและวิธีการพัฒนาที่ หลากหลายต่อเนื่อง อีกทั้งบังมีการส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากร มีความตระหนักในการพัฒนา ตนเองอย่างต่อเนื่อง


2. ส่งเสริมครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ปฏิบัติงานตามมาตรฐานและ จรรยาบรรณของวิชาชีพ โดย ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาตระหนัก และปฏิบัติตน ตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ มีการรัด กิจกรรมเผยแพร่ผลงานและยกย่องเชิดชูเกียรติ 3. ส่งเสริมขำราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีความก้าวหน้าในวิชาชีพ มี การพัฒนาตนเองใน รูปแบบต่างๆ ตามความต้องการของตนเองหรือหน่วยงานให้มีโอกาสในการ เปลี่ยนสายงานเพื่อความก้าวหน้าใน วิชาชีพ และมีการพัฒนาผลงานทางวิชาการเพื่อพัฒนา ตนเองไปสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น ดังนั้น สรุปได้ว่าการพัฒนาขำราชการครูเป็นการปรับปรุงการดำเนินงานโดยการ เลือกสรรเปลี่ยนแปลง และเพิ่มเดิมแนวทางการดำเนินงานที่มีอยู่แล้วให้พัฒนาคุณภาพให้บรรลุ จุดมุ่งหมายแก่ความเป็นเลิศทาง การศึกษา โดยจะต้องเน้นพัฒนาครูที่เป็นหัวใจของการขับ เคลื่อนที่จะนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษา ซึ่งขำราชการ ครูต้องมีความรู้ความเข้าใจและต้อง ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถมีคุณธรรม จริยธรรมและ มีสมรรถนะที่จำเป็นในการดำรงชีวิตต่อไป องค์ประกอบของสมรรถนะ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2547 : 59) จากโมเดลภูเขาน้ำแข็งในแมคเคิล แลนด์ได้แบ่ง องค์ประกอบของสมรรถนะออกเป็น 5 ส่วน และได้อธิบายความหมายของแต่ละ องค์ประกอบไว้ดังนี้องค์ประกอบ ของสมรรถนะตามแนวคิดของแมคเคิลแลนด์มี 5 ส่วนคือ 1. ความรู้ (Knowledge) คือความรู้เฉพาะในเรื่องที่ต้องรู้เป็นสาระสำกัญสำหรับ วิชาชีพ เช่น ความรู้ ด้านเครื่องยนต์ เป็นต้น 2. ทักษะ (Skills) คือ สิ่งที่ต้องการให้ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ทักษะทาง คอมพิวเตอร์ ทักษะ ทางการถ่ายทอดความรู้ เป็นต้น ทักษะที่เกิดได้นั้นมาจากพื้นฐานทาง ความรู้และสามารถปฏิบัติได้อย่าง แคล่วคล่องว่องไว 3. ความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเอง (Self - Concept) คือเจตคติค่านิยมและความ คิดเห็นเกี่ยวกับภาพ ลักษณะของตนหรือสิ่งที่บุคคลเชื่อว่าตนเองเป็น เช่น ความมีนใจในตนเอง เป็นต้น 4. บุคลิกลักษณะประจำตัวของบุคคล (Traits) เป็นสิ่งที่อธิบายถึงบุคคลนั้น เช่น คน ที่น่าเชื่อถือและ ไว้วางใจได้หรือมีลักษณะเป็นผู้นำ เป็นต้น 5. แรงจูงใจ/เจตคติ (Motives/Attitude) เป็นแรงจูงใจหรือแรงขบภายในซึ่งทำให้ บุคคลแสดง พฤติกรรมที่มุ่งไปสู่เปาหมายหรือมุ่งสู่ความสำเร็จ เป็นต้น องค์ประกอบทิ้ง 5 ส่วน ดังกล่าวข้างต้นแสดงความสัมพันธ์ในเซิงอธิบายเปรียบเทียบ


ดังนั้นองค์ประกอบของสมรรถนะจึงมีเพียง รสํวนคือ ความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ ซึ่งตามทัศนะของแมค เคิลแลนด์กล่าวว่า (สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ,2547: 48) สมรรถนะเป็น ส่วนประกอบขึ้นมาจากความรู้ ทักษะ และ เจตคติ/แรงจูงใจ หรือ ความรู้ ทักษะ และเจตคติ/ แรงจูงใจ ก่อให้เกิดสมรรถนะ 1. สมรรถนะในการพูด การเขียน เป็นต้น 2. สมรรถนะให้เกิดความแตกต่าง (Differentiating Competencies^มายถึง ปัจจัยที่ให้บุคคลมีผล การทำงานที่ดีกว่าหรือสูงกว่ามาตรฐาน สูงกว่าคนทั่วไปจึงทำให้เกิดผล สำเร็จที่แตกต่างกัน ภาพ 3 ที่มาของสมรรถนะ ที่มา: สุกัญญา รัศมรธรรมโชติ, 2547 : 49 ประเภทของสมรรถนะ นักวิชาการได้แบ่งประเภทของสมรรถนะไว้ดังนี้ ณรงค์วิทย์แสนทอง (2547: 10-11) แบ่งสมรรถนะออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. สมรรถนะหดัก (Core Competency) หมายถึง บุคลิกของคนที่สะท้อนให้เห็นถึง ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ความเชื่อ และอุปนิสัยของคนในองค์การโดยรวมที่จะช่วยสนับสนุนให้องค์การบรรลุเป้าหมาย ตามวิสัยทัศน์ใด้


2. สมรรถนะตามสายงาน (Job Competency^มายถึง บุคลิกลักษณะของคนที่ สะท้อนให้เห็นถึง ความรู้ทักษะ ทัศนะคติ ความเชื่อ และอุปนิสัยที่จะช่วยส่งเสริมให้บุคคลนั้นๆ สามารถสร้างผลงานในการ ปฏิบัติงานตำแหน่งนั้นๆ ได้สูงกว่ามาตรฐาน 3. สมรรถนะส่วนบุคคล (Personal Competency^ มายถึงบุคลิกลักษณะของคนที่ สะท้อนให้เห็น ถึงความรู้ ทักษะ ทัศนะคติ ความเชื่อ และอุปนิสัยที่ทำให้บุคคลนั้นมีความสามารถในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ได้โดดเด่นกว่าคนหัวไป ปิยะชัย สันทรวงศไพศาล (2549 : 16) แบ่งสมรรถนะออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. สมรรถนะหดัก (Core Competency) หมายถึง ส่วนที่เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะ ด้านที่เป็นผล มาจากการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีที่ซับซ้อนและการปฏิบัติงานที่กลมกลืน 2. สม รรถน ะใน การบ ริห ารสั ดการ (Professional Competency) ห ม ายถึงส่วน ที่ เป็ น ความสามารถในการบริหารสัดการ ซึ่งจะแปรทันตามกลยุทธ์ขององค์กรและหน่วยงานไม่หยุด นึ่งเป็นส่วน ที่สนับสนุนผลการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ยึดถือเปาหมายขององค์กร เป็นหดักและสามารถ สัดผลได้ 3. สมรรถนะในตำแหน่งหน้าที่ (Functional Competency) หมายถึง ส่วนที่เป็น ความสามารถที่ ใช้เฉพาะตำแหน่งงานนั้นๆ เพื่อให้นั้นใจว่าบุคลากรมีความรู้ ทักษะและ ความสามารถเพียงพอต่อการ ปฏิบัติงาน สรุปได้ว่า สมรรถนะสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทหดัก คือ สมรรถนะหดัก เป็น คุณลักษณะของบุคคลที่มี ทักษะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในการปฏิบัติงานให้บรรลุเป๋าหมาย ขององค์กรได้และสมรรถนะตามสายงาน เป็น คุณลักษณะของบุคคลที่มีความสามารถ มีความรู้ ทักษะ ทัศนะคติ ความเชื่อที่จะช่วยส่งเสริมและสร้างผลงานใน การปฏิบัติงานตำแหน่งนั้นๆ ได้สูงกว่ามาตรฐาน สมรรถนะประจำสายงาน สมรรถนะประจำสายงาน (Functional Competency) ประกอบด้วย 6 สมรรถนะ(สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษานั้นพื้นฐาน, 2553 : 31-38) ดังนี้ 1. สมรรถน ะการบ ริห ารห ลักสูตรและการจัดการเรียน รู้ (Curriculum and Learning Management) หมายถึงความสามารถในการสร้างและพัฒนาหลักสูตรการออกแบบ การเรียนรู้อย่าง สอดคล้องและเป็นระบบสัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญใช้และพัฒนาสื่อ นสัตกรรมเทคโนโลยีและ การสัดประเมินผลการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพและ เกิดประสิทธิผลสูงสุด ตัวบ่งชี้


1.1 การสร้างและพัฒนาหลักสูตร 1.1.1 สร้าง/พัฒนาหดักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหดักสูตรแกนกลาง และท้องถิ่น 1.1.2 ประเมินการใช้หดักสูตรและนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนา หลักสูตร 1.2 ความรู้ความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ 1.2.1 กำหนดผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เน้นการวิเคราะห์สังเคราะห์ประยุกต์ ริเริ่มเหมาะสม กับสาระการเรียนรู้ ความแตกต่างและธรรมชาติของผู้เรียนเป็นรายบุคคล 1.2.2 ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลายเหมาะสมสอดคล้องกับรัย และความ ต้องการของผู้เรียน และชุมชน 1.2.3 เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบการเรียนรู้การดัดกิจกรรม และการ ประเมินผลการเรียนรู้ 1.2.4 ดัดทำแผนการดัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบโดยบูรณาการอย่างสอดคล้อง เชื่อมโยงกัน 1.2.5 มีการนำผลการออกแบบการเรียนรู้ใปใชในการดัดการเรียนรู้และปรับใช้ตาม สถานการณ์อย่างเหมาะสมและเกิดผลกับผู้เรียนตามที่คาดหดัง 1.2.6 ประเมินผลการออกแบบการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ปรับปรุง/พัฒนา 1.3 การดัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นล้ากัญ 1.3.1 ดัดทำฐานข้อมูลเพื่ออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นล้ากัญ 1.3.2 ใช้รูปแบบ/เทคนิควิธีการสอนอย่างหลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาเต็ม ตามศักยภาพ 1.3.3 ดัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ปลูกฝัง/ส่งเสริมคุณลักษณะดันพึงประสงค์และ สมรรถนะของ ผู้เรียน 1.3.4 ใช้ทักจิตวิทยาในการดัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข และพัฒนา อย่างเต็มศักยภาพ 1.3.5 ใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนในการดัดการเรียนรู้ 1.3.6 พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง และชุมชน 1.4 การใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการดัดการเรียนรู้


1.4.1 ใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการดัดการเรียนรู้อย่างหลากหลาย เหมาะสมกับ เนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ 1.4.2 สืบกันข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อพัฒนาการดัดการเรียนรู้ 1.4.3 ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อ/นวัตกรรมที่ใชในการจัดการ เรียนรู้ 1.5 การจัดและประเมินผลการเรียนรู้ 1.5.1 ออกแบบวิธีการจัดและประเมินผลอย่างหลากหลาย เหมาะสมกับเนื้อหา กิจกรรมการ เรียนรู้ และผู้เรียน 1.5.2 สร้างและนำเครื่องมือจัดและประเมินผลไปใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม 1.5.3 จัดและประเมินผลผู้เรียนตามสภาพจริง 1.5.4 นำผลการประเมินการเรียนรู้มาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้สรุปได้ว่า สมรรถนะ การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ หมายถึง ความสามารถในการสร้างและพัฒนาหสักสูตร ออกแบบการเรียนรู้อย่างสอดคล้องเหมาะสมกับ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ และผู้เรียนอย่างเป็นระบบ จัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วน ร่วม จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำกัญ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมคุณลักษณะลันพึงประสงค์ใช้หลัก จิตวิทยาในการจัดการเรียนรูให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข ใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการ เรียนรู้อย่างหลากหลาย สืบกัน ข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ออกแบบวิธีการจัด และประเมินผล สร้างและนำเครื่องมือจัดและประเมินผลไปใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม นำผลการประเมินการ เรียนรู้มาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ 2. สมรรถนะการพัฒนาผู้เรียน(Student Development) หมายถึงความสามารถ ในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมการพัฒนาทักษะชีวิตสุขภาพกายและสุขภาพจิตความเป็น ประชาธิปไตยความภูมิใจในความเป็นไทยการ จัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้มีคุณภาพ ตัวบ่งชี้ 2.1 การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้แก่ผู้เรียน 2.1.1สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมแก่ผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้!,นชั้นเรียน 2.1.2จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการ วางแผนกิจกรรม 2.1.3จัดทำโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้แก่ผู้เรียน 2.2 การพัฒนาทักษะชีวิต และสุขภาพกาย และสุขภาพจิตผู้เรียน


2.2.1จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนด้านการดูแลตนเอง มีทักษะในการเรียนรู้ การทำงานการอยู่ร่วมกันใน สังคมอย่างมีความสุข และรู้เท่าหันการเปลี่ยนแปลง 2.3 การปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตย ความภูมิใจในความเป็นไทยให้กบผู้เรียน 2.3.1 สอดแทรกความเป็นประชาธิปไตย ความภูมิใจในความเป็นไทย ให้แก่ ผู้เรียน 2.3.2 จดทำโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ความภูมิใจใน ความเป็นไทย 2.4 การจดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2.4.1 ให้ผู้เรียน คณะครูผู้สอน และผู้ปกครองมีส่วนร่วมในดูแลช่วยเหลือ นักเรียนรายบุคคล 2.4.2 นำข้อมูลนักเรียนไปใช่ช่วยเหลือ/พัฒนาผู้เรียนทั้งด้านการเรียนรู้และปรับ พฤติกรรมเป็น รายบุคคล 2.4.3 รัดกิจกรรมเพื่อปองกินแก่ไขปัญหา และส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้แก่ นักเรียนอย่างหัวถึง 2.4.4 ส่งเสริมให้ผู้เรียนปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมกับค่านิยมที่ดีงาม 2.4.5 ดูแล ช่วยเหลือ ผู้เรียนทุกคนอย่างหัวถึง หันการณ์ สรุปได้ว่า สมรรถนะการพัฒนาผู้เรียน หมายถึง ความสามารถในการปลูกฝัง และรัดกิจกรรมส่งเสริม คุณธรรมจริยธรรมให้แก่ผู้เรียน การพัฒนาทักษะการทำงานการอยู่ ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข การปลูกฝัง ประชาธิปไตย ภูมิใจในความเป็นไทย ผู้ปกครองมี ส่วนร่วมในดูแลช่วยเหลือนักเรียน นำข้อมูลนักเรียนไปใช่ ช่วยเหลือและพัฒนาผู้เรียนทิ้งด้าน การเรียนรู้และปรับพฤติกรรมเป็นรายบุคคล ส่งเสริมให้ผู้เรียนปฏิบัตินอย่าง เหมาะสมกับ ค่านิยมที่ดีงาม รัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนอย่างหัวถึง แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง ความต้องการในการพัฒนาตนเอง เพื่อให้เพิ่มพูนความรู้ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่างๆ ไป ตามวัตถุประสงค์ของแต่ละบุคคล รวมทั้งสามารถดำรงอยู่ในสังคมหรือประสบความสำเร็จในชีวิต หน้าที่การงาน ควรมีแนวคิดเกี่ยวกับความต้องการในการพัฒนาตนเอง ความหมายการพัฒนาตนเอง ปัจจุบันโลกเจริญก้าวหน้ามาก รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การพัฒนาตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ บุคคลต้องพยายามปรับปรุงพัฒนาตนเองให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ กรกนก วงศ์พันธุเศรษฐ์ (อ้างถึงในเกศรินทร์ วิริยะอาภรณ์, 2545) ได้กล่าวว่า การพัฒนาตนเอง หมายถึง การขยายขอบเขตความสามารถในการใช้ความรู้ ความสามารถของบุคคลได้อย่างเต็มที่และประยุกต์ใช้


ความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับมา เพื่อแก้ปัญหาหรือหาข้อยุติปัญหาในสถานการณ์ใหม่ๆที่แตกต่างออกไป ใน เรื่องนี้ ศศลักษณ์ ทองปานดี (2551) การพัฒนาตนเอง หมายถึง การดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมบุคคลให้มี ความรู้ ความสามารถ มีทักษะการทำงานดีขึ้น ตลอดจนมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน อันจะเป็นผลให้การ ปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และการพัฒนาบุคคลควรส่งเสริม และพัฒนาทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และ สติปัญญาอย่างทั่วถึงสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โสภณ ช้างกลาง (2550) การพัฒนาตนเองหมายถึง การดึงเอาศักยภาพของตนเองออกมาแก้ไข ปรับเปลี่ยนให้เกิดความเจริญดีขึ้นกว่าอดีต สร้างความแปลกใหม่ให้กับตนเอง เป็นการสร้างศักยภาพของตนเองให้ ดีขึ้น เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันได้อย่างมีความสุข เป็นกระบวนการที่จะเพิ่มพูน ความรู้ เพื่อยกระดับมาตรฐานหรือความชำนาญในการปฏิบัติงานให้สูงขึ้นและตนเองมีความเจริญก้าวหน้า ศรีแพร ทวิลาภากุล (2549) การพัฒนาตนเอง หมายถึง การปฏิบัติตัวของบุคคลในอันที่จะสร้างเสริม ศักยภาพของตนเองให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ เป็นผลให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณภาพได้ทุกสถานการณ์แวดล้อม ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จในชีวิตในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ให้ผู้ตอบแบบสอบถาม ประเมินตนเองว่ามีการพัฒนาตนเองในประเด็นต่างๆ มากน้อยเพียงใด โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลัก คือ การ พัฒนาตนเองโดยตนเอง และการพัฒนาตนเองโดยผู้อื่น เกศรินทร์ วิริยะอาภรณ์ (2545) สรุปการพัฒนาตนเองได้ว่า องค์ประกอบของการพัฒนาตนเองอยู่ที่การ เตรียมความพร้อมของร่างกายและจิตใจ พร้อมจะเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงทั้งในตนเองและสิ่งแวดล้อมรอบตัว รวมทั้งสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สำหรับพุทธปรัชญานั้น พระเทพเวที ประยุทธ์ ปยุตโต (2528, อ้างถึงในดำรงศักดิ์ตอประเสริฐ, 2544) สรุปการพัฒนาตนเองคือ การศึกษาหรือเรียกว่าไตรสิกขาเป็นการศึกษาอบรมหรือการพัฒนาชีวิตแก่ตนเอง 3 ด้าน คือ ศีล ได้แก่ การพัฒนาพฤติกรรมทางวาจาให้สัมพันธ์ด้วยดีกับสิ่งแวดล้อมทางสังคม ทางวัตถุ สมาธิ ได้แก่ การ ฝึกฝนพัฒนาจิตใจที่ให้มีคุณธรรมมีประสิทธิภาพมีความสุข และปัญญา ได้แก่ การพัฒนาความรู้ความเข้าใจเป็น การพัฒนาตนเองโดยการสร้างปัญญา แก้ปัญหา รู้จักการเรียนรู้ รู้จักคิด มีความอดทน มีความขยันมีความคิดแยบ คายและสภาพจิตใจที่เกื้อกูลต่อการที่จะคิดพร้อมที่จะแสวงหาและทำให้เกิดปัญญา สามารถดำเนินชีวิตอยู่ด้วยดี ไม่มีทุกข์ จากแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง สรุปได้ว่า การพัฒนาตนเองเพื่อให้มีการเพิ่มพูนความรู้ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่างๆ ไปตามวัตถุประสงค์ของแต่ละบุคคล รวมทั้งสามารถดำรงตนอยู่ในสังคม หรือประสบความสำเร็จในชีวิต หน้าที่การงาน ตลอดจนมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน อันเป็นผลให้การปฏิบัติงานมี ประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น การพัฒนาบุคคลควรส่งเสริมพัฒนาทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาอย่างทั่วถึง สม่ำเสมอ และต่อเนื่อง


ความสำคัญของการพัฒนาตนเอง ในปัจจุบันการศึกษาเรื่องการพัฒนาตนเองเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากสภาพของโลกและเหตุการณ์ใน ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อย่างเข้าสู่ยุคของข่าวสารข้อมูล (Information Era) หรือที่เรียกว่าเป็นยุคของโลกคลื่นที่สาม (Third Wave) ให้เกิดการรวมตัวของทรัพยากรขึ้น เมื่อโลกอยู่ในสภาวะที่ ไร้พรมแดนการแข่งขันเพื่อช่วงชิงทรัพยากรจึงมีมากขึ้นเป็นทวีคูณ ซึ่งอาจเปรียบได้ว่าเป็นสงครามข่าวสารในด้าน ข้อมูลความรู้ จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดำเนินไปโดยไม่พยายามก้าวให้ทันจะ กลายเป็นผู้ล้าหลังและเสียประโยชน์ในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้น การพัฒนาตนเองเพื่อให้เรียนรู้ได้เท่าทันการ เปลี่ยนแปลงของโลกยุคโลกาภิวัตน์เพื่อความอยู่รอดของชีวิตจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น (ศศินา ปาละสิงห์, 2547) องค์ประกอบในการพัฒนาตนเอง องค์ประกอบในการพัฒนาตนเองด้านต่างๆ ดังนี้ 1. บุคลิกท่าทาง นับเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง เพราะกิริยาท่าทางคือการสื่อสารที่สำคัญซึ่งจะทำให้ผู้อื่นรู้ถึง จิตใจตลอดจนความนึกคิดของบุคคลผู้นั้น ดังนั้น กริยาท่าทางหรือบุคลิกภาพที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้ สมาชิกกลุ่ม จึงทำให้ผู้อื่นยกย่องและเชื่อถือไว้วางใจ 2. การพูด นับเป็นการสื่อสารที่จะทำให้ผู้อื่นปฏิเสธหรือยอมรับในตัวผู้พูดได้เช่นกัน ซึ่งการพูดในที่นี้ รวมทั้งการพูดคุยแบบธรรมดาและการพูดแบบเป็นทางการ การพูดที่จะประสบความสำเร็จนั้น มีหลักการเบื้องแรกที่สำคัญ คือการระมัดระวังมิให้คำพูดออกไปเป็นการประทุษร้ายจิตใจผู้ฟัง 3. พัฒนาคุณสมบัติทางด้านมนุษย์สัมพันธ์ ความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นเป็นทางที่จะทำให้ผู้อื่นยอมรับและ ยกย่อง บุคคลที่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อคนอื่น ย่อมจะทำให้ได้รับความสนับสนุนและร่วมมือ 4. พัฒนาคุณสมบัติเฉพาะตัว ทำให้ได้รับการยอมรับจากสมาชิกส่วนใหญ่ ดังนั้นนอกจากความรู้ ความสามารถแล้ว คุณสมบัติเฉพาะตัวบางประการก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะผลักดันให้บุคคลได้รับการยอมรับจากทุก ฝ่าย เป็นผู้มีคุณธรรม ได้แก่ เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตและประพฤติตนอยู่ภายใต้ คุณธรรม ความดี ตามบรรทัด ฐานของสังคมนั้นๆ ทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง มนุษย์ทุกคนมีความต้องการในการพัฒนาตนเอง ต้องการที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือสร้างแรงจูงใจในการ พัฒนาตนเอง เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพการงาน เพื่อความมั่นคงในรายได้ ทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนา บอยเดล (Boydell, 1985 อ้างถึงใน เกศรินทร์ วิริยะอาภรณ์, 2545) ซึ่งเป็น นักจิตวิทยา ได้กำหนดขอบเขตเนื้อหาสาระสำคัญของทฤษฎีการพัฒนาตนเอง แบ่งเป็น 4 ด้าน สรุปได้ ดังนี้


1. ด้านสุขภาพ สิ่งสำคัญในการพัฒนาตนเอง บุคคลจะต้องมีสุขภาพจิตที่ดีและร่างกายจะต้องแข็งแรง แยกเป็น 3 ระดับ 1.1 ระดับความคิด ไม่ดื้อรั้นดันทุรัง แต่จะต้องยึดมั่นในความคิดเห็นและความเชื่อที่มั่นคงและ ต่อเนื่อง ในเวลาเดียวกันก็สามารถมีชีวิตอยู่กับความคลุมเครือขัดแย้งได้ 1.2 ระดับความรู้สึก รับรู้ ยอมรับความรู้สึก มีความสมดุลทั้งภายในและภายนอกอย่างมั่นคง 1.3 ระดับความมุ่งมั่นคุณค่าของโภชนาการในเรื่องอาหารการกินสุขภาพที่แข็งแรง มีรูปแบบชีวิต ที่ดี 2. ด้านทักษะ จะต้องการพัฒนาทักษะทางสมอง และการสร้างสรรค์ความคิดในหลายรูปแบบ รวมทั้งความทรงจำ ความมีเหตุผล ความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาทักษะประกอบด้วย 3 ระดับ คือ 2.1 ระดับความคิด ทักษะทางใจและการคิดคำนึงที่ดี เช่น ความรู้สึกในเรื่องงาน ความทรงจำที่มี เหตุผล การสร้างสรรค์ มีความคิดริเริ่ม 2.2 ระดับความรู้สึก ทักษะด้านสังคม ด้านศิลปะและการแสดงออก ต้องนำความรู้สึกของตนเข้า ร่วมกับแต่ละสถานการณ์ และสามารถถ่ายทอดความรู้สึกได้ 2.3 ระดับความมุ่งมั่น มีทักษะทางเทคนิค ทางกายภาพ สามารถกระทำได้อย่างศิลปิน มิใช่เป็นผู้ ที่มีความชำนาญเท่านั้น 3. ด้านการกระทำให้สำเร็จ การกระทำหรือการปฏิบัติสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงโดยกล้ากระทำด้วยตัวเองโดยไม่ต้อง รอคำสั่ง หรือไม่รอคอยให้เกิดขึ้นเอง มี 3 ระดับ คือ 3.1 ระดับความคิด มีความสามารถที่จะเลือก และเสียสละได้ 3.2 ระดับความรู้สึก มีความสามารถในการจัดการเปลี่ยนสภาพจากความไม่สมหวัง ไม่เป็นสุขให้ เป็นความเข้มแข็ง 3.3 ระดับความมุ่งมั่น สามารถลงมือริเริ่มการกระทำได้ ไม่รอคอยให้เกิดขึ้นเอง 4. ด้านเอกภาพของตนเอง เป็นการยอมรับข้อดี และข้อเสียของตนเองด้วยความพอใจในความสามารถและยอมรับ ข้อบกพร่องของตนเองและพยายามแก้ไขให้ดีที่สุด มี 3 ระดับ คือ 4.1 ระดับความคิด มีความยอมรับ รู้จักและเข้าใจตนเอง 4.2 ระดับความรู้สึก ยอมรับตนเองแม้แต่ความอ่อนแอ และยินดีในความเข้มแข็งของตนเอง 4.3 ระดับความมั่นคง มีแรงผลักดันตนเอง มีเป้าหมายภายใน มีจุดประสงค์ในชีวิต


กระบวนการในการพัฒนาตนเอง การพัฒนาตนเองให้ประสบความสำเร็จ ควรจะมีกระบวนการตามขั้นตอนซึ่ง (สุวรี เที่ยวทัศน์, 2542) ได้ กล่าวถึงกระบวนการในการพัฒนาตนเอง สรุปดังนี้ 1. สำรวจตัวเอง การที่คนเราจะประสบความสมหวังหรือไม่ สาเหตุที่สำคัญ คือ จะต้องมีการสำรวจตนเอง เพราะตนเองเป็นผู้กระทำตนเอง คนบางคนไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตเนื่องจากบุคคลมีจุดอ่อนหรือคุณสมบัติที่ ไม่ดี การที่จะทราบว่า ตนมีคุณสมบัติอย่างไร ควรจะได้รับการสำรวจตนเอง ทั้งนี้ เพื่อที่จะได้ปรับปรุงแก้ไข หรือ พัฒนาตนเองให้ดีขึ้น เพื่อจะได้มีชีวิตที่สมหวังต่อไป 2. การปลูกคุณสมบัติที่ดีงาม โดยคุณสมบัติของบุคคลสำคัญของโลกเป็นแบบอย่าง ซึ่งคุณสมบัติของ บุคคลไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวมาแต่เกิด แต่สามารถเกิดขึ้นได้ 3. การปลูกใจตนเอง เป็นสิ่งสำคัญ เพราะบุคคลที่มีกำลังใจดี ย่อมมุ่งมั่นดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายของ ชีวิตที่กำหนดไว้ 4. การส่งเสริมตนเอง คือการสร้างกำลังกายที่ดี สร้างกำลังใจให้เข้มแข็ง และสร้างกำลังความคิดของตน ให้เป็นเลิศ 5. การดำเนินการพัฒนาตนเอง เป็นการลงมือปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างตนเองให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้ 6. การประเมินผล เพื่อจะได้ทราบว่าการดำเนินการพัฒนาตนเองตามที่บุคคลได้ตั้งเป้าหมายไว้ดำเนินการ ไปได้ผลมากน้อยเพียงไร จึงจำเป็นต้องอาศัยการวัดผลและการประเมินผล


วิธีดำเนินการ เครื่องมือ / แหล่งเรียนรู้ที่ใช้ในการพัฒนาตนเอง พัฒนาตนเองในรูปแบบออนไลน์ผ่าน YouTube และหนังสือกวดวิชา วัสดุอุปกรณ์ 1. คอมพิวเตอร์ 2. โทรศัพท์ 3. หนังสือ งบประมาณการดำเนินการ 300 บาท


วิธีการพัฒนาตนเอง พัฒนาตนเองในรูปแบบออนไลน์ผ่าน YouTube หนังสือกวดวิชา E-book


ผลการดำเนินการ การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษครั้งนี้เนื่องจากพื้นฐานความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษของผู้ศึกษาใน ช่วงแรกยังไม่เก่งมากนักหลังจากได้เรียนรู้พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษครั้งนี้ช่วยเพิ่มทักษะในการในการทำงาน หลายอย่างไปพร้อมๆ กันได้ดีขึ้น เนื่องจากสมองได้มีการฝึกฝนให้มีการเปลี่ยน และแปลคำศัพท์อย่างรวดเร็ว สมองจึงมีความสามารถในการทำกิจกรรมหลายอย่างไปพร้อมๆ กันได้ นอกจากนี้ผลจากการสังเกตการพูดสอง ภาษา พบว่ามีทักษะในการเอาใจใส่ที่ดีขึ้น ที่สำคัญยังสามารถสลับไปมาระหว่างงานต่างๆ ได้อย่างง่ายดายอีกด้วย การอภิปรายผล การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ นอกจากจะได้ภาษาใหม่แล้ว ยังมีส่วนช่วยทำให้ภาษาเดิมนั้นดีขึ้นตามไป ด้วย เพราะทักษะทางภาษานั้นพ่วงอยู่กับความรอบรู้ในเรื่องต่างๆ การเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่เป็นแหล่งความรู้ที่ กว้างขวางที่สุดในโลก จึงมีส่วนช่วยพัฒนาทักษะภาษาเดิมให้ดีขึ้นได้ ประโยชน์ของการเรียนภาษาอังกฤษยัง สามารถทำได้อีกหลากหลายวิธีหากต้องการเรียนรู้ภาษาอื่นๆ เพิ่มเติมก็จะทำให้เรียนรู้ได้ง่ายและเร็วขึ้นด้วย เพราะสามารถจับทางได้แล้วว่าควรเรียนรู้ภาษาอย่างไร เพื่อให้ประสบความสำเร็จ หรือว่าทำได้ดีขึ้น โดยเฉพาะ การเรียนภาษาในแถบทวีปยุโรปอื่นๆ เป็นภาษาที่สามก็จะทำได้ง่ายขึ้น เพราะรากภาษามีความใกล้เคียงกัน บทสรุป การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษนั้นเป็นภาษาที่มีคนใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งในการใช้ชีวิตทั่วไป ในทางธุรกิจ และในทางการศึกษา การพัฒนาภาษาอังกฤษจึงจะช่วยขยายช่องทางการเรียนรู้ ทำให้เราสามารถเข้าถึงหนังสือ สื่อการสอน และแหล่งความรู้ได้อย่างหลากหลายแหล่งทั่วโลก เพิ่มโอกาสที่เราจะได้ไปเรียนต่อต่างประเทศ เพื่อที่จะเข้าถึงโอกาสใหม่ๆ ที่ไม่ได้จำกัดในประเทศเพียงประเทศเดียวเท่านั้น รวมไปถึงโอกาสดีๆ อย่างหาทุน เรียนต่อ ที่จำเป็นต้องใช้ทักษะภาษาอังกฤษในระดับคล่องแคล่ว โดยเฉพาะผู้ที่ต้องค้นคว้า ทำวิจัย หรือ จำเป็นต้องอ่านงานวิชาการก็จะยิ่งได้ประโยชน์มากขึ้น เพราะส่วนใหญ่แล้วบทความทางวิชาการนั้นเขียนเป็น ภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ภาษาอังกฤษยังถูกใช้สำหรับการสอนและการจัดหลักสูตรมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้กระทั่งใน ประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก หรือภาษาราชการ หลักสูตรการเรียนการสอนด้วยภาษาอังกฤษยัง เติบโตขึ้นประมาณ 240% ดังนั้นการมีความเข้าใจในภาษาอังกฤษจึงเป็นการเปิดกว้างของความรู้มากมาย ที่ สามารถนำไปใช้ในระหว่างการศึกษาและต่อยอดการทำงานได้กว้างขวางมากขึ้น


เอกสารอ้างอิง เกศรินทร์ วิริยะอาภรณ์. (2545). ความต้องการในการพัฒนาตนเองของข้าราชการกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ศศินา ปาละสิงห์. (2547). ความต้องการในการพัฒนาตนเองของข้าราชการพลเรือน สายสามัญ สังกัด ศูนย์กลาง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์รัฐ ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยบูรพา. สุวรี เที่ยวทัศน์. (2542). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.


Click to View FlipBook Version