สนับสนุนงบประมาณโดยโครงการความร่วมมือด้านงานวิจัยและนวัตกรรมกับคณะกรรมาธิการยุโรป Horizon 2020 และ องค์การอนามัยโลก (WHO) คลอดทางช่องคลอด หรือ ผ่าตัดคลอด การตัดสินใจโดยใช้ข้อมูล ข้อมูล แรงจูงใจ Version 4.0 Date 5 May 2022
จะพยายามคลอดธรรมชาติทางช่องคลอดหรือจะผ่าตัดคลอดดี คู่มือนี้จะนำ เสนอข้อมูลบางส่วนที่จะช่วยประกอบการตัดสินใจของคุณ คุณกำ ลังตั้งครรภ์และกำ ลังคิดว่าจะคลอดอย่างไรดี โรงพยาบาลนี้เข้าร่วมในโครงการ QUALI-DEC โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของ กลยุทธ์เพื่อลดการผ่าตัดคลอดที่ไม่จำ เป็น คู่มือที่แพทย์ได้ให้ท่านไว้เล่มนี้ เป็นเครื่องมือที่จะช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการคลอด การใช้คู่มือเล่มนี้ ร่วมกับแพทย์ของท่านจะถือว่าท่านยินดีเข้าร่วมโครงการ การเข้าร่วมของท่านในโครงการนี้จะไม่ถูกเปิดเผย และจะไม่มีการระบุตัวตนของท่านได้ ข้อมูลอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์ที่ปรากฎอยู่ในคู่มือเล่มนี้สามารถขออนุญาตเข้าถึงเพื่ออ่านเพิ่มเติมได้ โดยการ ติดต่อขอรับสิทธิ์ การเข้าถึงข้อมูลจาก [email protected] คณะผู้เขียนและผู้จัดทำ คู่มือเล่มนี้ไม่ได้รับ สิทธิหรือผลประโยชน์ใด ๆ จากการที่ท่านใช้ข้อมูลจากคู่มือเล่มนี้ตัดสินใจเลือกวิธีการคลอดของท่าน ขอขอบคุณอย่างยิ่งที่ได้สละเวลาเข้าร่วมโครงการ 1 Version 4.0 Date 5 May 2022
• สตรีที่กำลังตั้งครรภ์ และแพทย์ของคุณเชื่อว่าการคลอดทางช่องคลอดเป็นทางเลือกที่ปลอดภัย สำ หรับคุณ • การคลอดทางช่องคลอด • การผ่าตัดคลอด • ข้อมูลที่อยู่ในคู่มือเล่มนี้อ้างอิงมาจากงานวิจัยล่าสุดที่เกี่ยวกับการดูแลสตรีตั้งครรภ์ก่อนคลอด ท่าน สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้โดยเขียนอีเมล์ไปที่ [email protected] • เพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่าอะไรคือสิ่งที่สำ คัญและมีความหมายกับคุณ • เพื่อทำ ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงของการคลอดแต่ละวิธี (ดูที่ส่วน "ข้อมูล") • เพื่อจะได้ทราบความพึงพอใจและความต้องการของคุณต่อวิธีการคลอด (ดูที่ส่วน "แรงจูงใจ") • เพื่อช่วยให้คุณมีข้อมูลที่เพียงพอประกอบการตัดสินใจร่วมกับแพทย์ในการวางแผนการคลอด โปรดอย่าลืมว่าสภาวะการตั้งครรภ์ของคุณอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอด การคลอดทางช่อง คลอดหรือการผ่าตัดคลอดจึงอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะกับสภาพการณ์ ณ เวลานั้น ดังนั้นทางเลือก ที่คุณได้ตัดสินใจเอาไว้หลังจากที่ได้อ่านคู่มือเล่มนี้อาจจะไม่ใช่วิธีการคลอดที่จะเกิดขึ้นจริงของคุณ แพทย์จะหารือเรื่องนี้กับคุณหากมีสถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ข้อมูลในคู่มือเล่มนี้มีไว้เพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกวิธีการคลอดแต่ก็ยังต้องอยู่ภายใต้คำ แนะนำ และการควบคุมดูแลของแพทย์ ผู้เขียนขอปฏิเสธความรับผิดชอบใด ๆ ที่เกี่ยวกับการตัดสินใจโดย อาศัยข้อมูลที่อยู่ในคู่มือเล่มนี้ กรุณาปรึกษากับแพทย์ของคุณหากคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในราย ละเอียด คู่มือนี้เหมาะสำ หรับคุณ หากคุณคือ คุณมีทางเลือกอะไรบ้าง ข้อมูลเกี่ยวกับคู่มือเล่มนี้ วัตถุประสงค์ของคู่มือเล่มนี้คือ 2 แหล่งข้อมูลอ้างอิง: Allison Shorten*, Marylene Dugas*, Myriam de Loenzien*, Alexandre Dumont*, Caesarean section or Vaginal birth, Making an informed choice (การผ่าตัดคลอดหรือการคลอดทางช่องคลอด การตัดสินใจ โดยใช้ข้อมูล). 2018» โดย *Allison Shorten: ศาสตราจารย์ด้านการพยาบาลและนักวิจัยด้านการผดุงครรภ์; Marylèbe Dugas: นักมนุษย วิทยาด้านสังคม; Myriam de Loenzien: นักประชากรศาสตร์; Alexandre Dumont: สูตินรีแพทย์และนักวิจัยด้าน สาธารณสุข Version 4.0 Date 5 May 2022
เมื่อคุณตั้งครรภ์ คุณอาจเคยมีคำ ถามในใจว่าควรจะคลอดบุตรอย่างไรดี จะคลอดด้วยวิธีการคลอด ทางช่องคลอดหรือการผ่าตัดคลอด คู่มือเล่มนี้จะช่วยให้คุณได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการคลอดเพื่อช่วยให้ คุณตัดสินใจได้ดีที่สุดสำ หรับตัวคุณเองและลูกน้อย • คำ อธิบายเกี่ยวกับการคลอดแต่ละวิธี ประโยชน์และความเสี่ยงของการคลอดแต่ละวิธี • ตารางสรุปประโยชน์และความเสี่ยงของการคลอดแต่ละวิธี แบบฝึกหัด : • สรุปวิธีการคลอดแบบที่คุณพอใจ • ระบุสิ่งที่สำ คัญที่สุดสำ หรับคุณในการคลอด • กำ หนดวิธีการคลอดที่คุณเลือกลงในแบบประเมินความพึงพอใจต่อวิธีการคลอด คำ ถาม : • ระบุคำ ถามที่ต้องการถามแพทย์ของคุณในการนัดพบครั้งถัดไป ใช้เวลาประมาณ 30 นาที กรอกข้อมูลในส่วน "แรงจูงใจ" อ่านคู่มือเล่มนี้อย่างละเอียด นำ คู่มือเล่มนี้ติดตัวมาด้วยเมื่อนัดพบ แพทย์ในครั้งถัดไป เพื่อที่คุณจะได้ใช้ ข้อมูลในคู่มือเล่มนี้ปรึกษาหารือกับ แพทย์หรือพยาบาลได้ 1 3 2 4 3 วิธีการใช้ เนื้อหา ส่วนที่ 1 - ข้อมูล ส่วนที่ 2 - แรงจูงใจ สิ่งที่สำ คัญสำ หรับคุณคืออะไร Version 4.0 Date 5 May 2022
1. ขอมูล ้ Version 4.0 Date 5 May 2022
คือการคลอดทางช่องคลอดหรือการคลอดธรรมชาติ เป็นการคลอดที่เด็กออกจากมดลูกผ่านทางช่อง คลอดซึ่งแตกต่างจากการผ่าตัดคลอด การผ่าตัดคลอดเป็นการคลอดโดยการผ่าตัดทางหน้าท้องและมดลูก จะเกิดขึ้นเมื่อสภาพการณ์ของ แม่ และ/หรือ ทารกในครรภ์ไม่เหมาะที่จะคลอดทางช่องคลอด ในการผ่าตัดคลอดอาจจะต้องมีการ ฉีดยาชาเข้าทางช่องเหนือเยื่อหุ้มไขสันหลัง หรือการฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง หรือในบางกรณีอาจจะ ต้องให้ยาสลบ การคลอดทางช่องคลอดนี้อาจจะเป็นประสบการณ์ที่น่าพึงพอใจมากสำ หรับสตรีที่กำลังจะเป็นคุณแม่ และการคลอดทางช่องคลอดยังช่วยหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ของการผ่าตัดคลอด ความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่องทำให้การคลอดทางช่องคลอดมีความปลอดภัย สูง สตรีที่ลองคลอดทางช่องคลอดจะสามารถคลอดได้เองถึง 90% อย่างไรก็ตามพบว่ายังมีความ เสี่ยงที่สตรีบางส่วนจะต้องผ่าตัดคลอด คลอดทางช่องคลอด หรือ ผ่าตัดคลอด การคลอดทางช่องคลอด คืออะไร การผ่าตัดคลอด คืออะไร ทำไมจึงเลือกการคลอดทางช่องคลอด สตรี 9 คนจาก 10 คน สามารถคลอดได้เองอย่างปลอดภัย มีเพียงไม่ถึง 10 คน จาก 100 คน ที่อาจจะต้องผ่าตัดคลอด 5 Version 4.0 Date 5 May 2022
สตรีส่วนใหญ่สามารถคลอดทางช่องคลอดตามธรรมชาติได้อยู่แล้ว การคลอดทางช่องคลอดจะ ประสบความสำ เร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสภาวะการตั้งครรภ์ของคุณที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยแพทย์จะ ตรวจสอบประวัติทางการแพทย์ของคุณและจะแจ้งข้อมูลที่จำ เป็นทั้งหมด เพื่อที่คุณจะได้มีส่วนร่วม ในตัดสินใจวางแผนการคลอด • แพทย์จะประเมินสภาวะครรภ์ของคุณตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์เพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะยังสามารถคลอด ทางช่องคลอดได้ • หากสภาวะของคุณเปลี่ยนไปไม่เอื้อต่อการคลอดทางช่องคลอด แพทย์จะแจ้งและหารือกับคุณเพื่อประเมิน ว่าการวางแผนผ่าตัดคลอดจะปลอดภัยต่อตัวคุณและลูกมากกว่าหรือไม่ • หากคุณเลือกที่จะลองคลอดทางช่องคลอด คุณจะได้รับการดูแลตลอดเวลาระหว่างการคลอด ในกรณีที่ จำ เป็นอาจจะมีการผ่าตัดคลอดโดยทันทีหากว่าเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าสำ หรับคุณและลูก • ในกรณีที่การคลอดล่าช้า อาจมีความจำ เป็นที่จะต้องใช้การผ่าตัดคลอด เป็นการตั้งครรภ์เดี่ยว (หมายถึงไม่ใช่ครรภ์แฝด) ทารกในครรภ์อยู่ในท่าที่มีหัวเป็นส่วนนำ มีอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ หรือมากกว่า ทารกอยู่ในท่าที่มีก้นเป็นส่วนนำ (ท่าก้น) นำ้หนักโดยประมาณของทารกมากกว่า 4 กิโลกรัม (ภาวะทารกตัวโต) ปากมดลูกไม่พร้อมสำ หรับการคลอด และจำ เป็นต้องชักนำ ให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอด การคลอดทางช่องคลอดมีเงื่อนไขอะไรบ้าง คุณมีทางเลือกอะไรบ้าง หากสภาวะของคุณเปลี่ยนไปในระหว่าง การตั้งครรภ์และการคลอดบุตร เงื่อนไขสำ�หรับการเลือกวิธี คลอดทางชองคลอด่ เงื่อนไขพิเศษที่ควรหารือกับแพทย์ 6 1 2 Version 4.0 Date 5 May 2022
แบบทดสอบ 1. การคลอดทางช่องคลอดมีความเสี่ยงมากกว่าการผ่าตัดคลอด ทั้งต่อแม่และลูก 2. การผ่าตัดคลอดทำให้ไม่มีความเสี่ยงต่อ การเกิดอวัยวะสืบพันธุ์หย่อน 3. การคลอดทางช่องคลอดทำให้แม่มีโอกาสประสบความสำ เร็จ ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้น ถูก หรือ ผิด ถูก ผิด ถูก ผิด ถูก ผิด 7 Version 4.0 Date 5 May 2022
คำ ตอบของแบบทดสอบ ผลการศึกษาเร็ว ๆ นี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการผ่าตัดคลอดจะมีผลเสียต่อสุขภาพของแม่และลูก มากกว่า การหย่อนยานของอวัยวะสืบพันธุ์มักเกิดขึ้นในเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์เพราะแรงกดของทารกที่ปาก มดลูก การผ่าตัดคลอดไม่ได้ช่วยป้ องกันการหย่อนยานของอวัยวะสืบพันธุ์ การคลอดทางช่องคลอดช่วยทำให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประสบความสำ เร็จมากขึ้น นอกจากนี้การศึกษายัง ระบุอีกด้วยว่าเด็กที่ได้กินนมแม่เป็นเวลาหลายเดือนจะเรียนหนังสือดีกว่า คำ ถามข้อที่ 1 : ผิด คำ ถามข้อที่ 2 : ผิด คำ ถามข้อที่ 3 : ถูก มีความเชื่อผิด ๆ มากมายเกี่ยวกับความปลอดภัยและประโยชน์ของการผ่าตัดคลอด คุณจึงควรใช้เวลาพิจารณาให้ถ่องแท้ถึงความเสี่ยงของการผ่าตัดคลอดและการ คลอดทางช่องคลอด รวมถึงควรพิจารณาเรื่องโอกาสการตั้งครรภ์ในอนาคตของคุณ ด้วย ความเสี่ยงต่าง ๆ เหล่านี้ ได้นำ มาแสดงไว้แล้วในตารางด้านล่างนี้ 8 Version 4.0 Date 5 May 2022
การคลอดทางช่องคลอด : • ทารกออกจากมดลูกผ่านทางช่องคลอด • สามารถใช้วิธีการควบคุมความเจ็บปวดช่วยได้ • หากมีความจำ เป็น อาจต้องผ่าตัดคลอด • อยู่โรงพยาบาลประมาณ 2 วัน การคลอดทางช่องคลอด : • อยู่โรงพยาบาลสั้นกว่า ฟื้ นตัวได้เร็วกว่า เพิ่มความคล่องตัวหลังคลอด • ได้รับประสบการณ์การคลอดธรรมชาติทางช่องคลอด • สามารถกอด อุ้มลูก และให้นมลูกได้ทันทีและต่อเนื่อง • เพิ่มโอกาสประสบความสำ เร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังคลอด • ลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัด (เช่น การตกเลือด) • แม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้เร็วหลังการคลอด • ลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ในอนาคต (เช่น มดลูกแตก รกเกาะตำ ่ หรือรกฝัง แน่น) การผ่าตัดคลอด : • ทารกเกิดจากการผ่าตัดทางหน้าท้อง • การผ่าตัดคลอดต้องมีการฉีดยาชาเข้าทางช่องเหนือเยื่อหุ้มไขสันหลัง หรือการฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง • อย่างไรก็ตาม บางครั้งอาจจำ เป็นต้องวางยาสลบ • อยู่โรงพยาบาลประมาณ 3-4 วัน การผ่าตัดคลอด : • หลีกเลี่ยงความเจ็บปวดจากการคลอด • หลีกเลี่ยงการคลอดล่าช้า •ลดความเสี่ยงของการผ่าตัดคลอดฉุกเฉินหรือการใช้อุปกรณ์ช่วยคลอด (คีม เครื่องดูดสุญญากาศ) • รู้สึกเจ็บปวดบริเวณฝีเย็บหลังคลอดน้อยกว่า • ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ในระยะสั้น การคลอดทางช่องคลอด การผ่าตัดคลอด ความหมาย ประโยชน์ 9 Version 4.0 Date 5 May 2022
การคลอดทางช่องคลอด : • มีความเสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอดฉุกเฉินระหว่างการคลอด • มีความเสี่ยงที่จะต้องใช้อุปกรณ์ช่วยคลอด (คีม เครื่องดูดสุญญากาศ) • มีความเสี่ยงเกิดความเจ็บปวดบริเวณฝีเย็บและช่องท้องระหว่างการคลอด และ 3 วันแรกหลังคลอด • มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ชั่วคราวเฉพาะในช่วง 2 ปีแรกหลังคลอด การคลอดทางช่องคลอด : • มีความเสี่ยงของการคลอดติดไหล่ และ/หรือการบาดเจ็บของแขนงประสาทแขน (Brachial plexus injury) การผ่าตัดคลอด : • อยู่โรงพยาบาลนานกว่า ฟื้ นตัวช้า เจ็บแผลผ่าตัด • ถูกแยกจากลูกหลังผ่าตัดคลอด (เพื่อการดูแล และอาจเกิดอาการคลื่นไส้จากการผ่าตัด) • ไม่สามารถทำ กิจวัตรตามปกติได้อย่างเต็มที่ • อาจต้องการความช่วยเหลือจากคนในครอบครัวในการดูแลทั้งตัวคุณเองและลูก • ไม่สามารถอุ้มหรือดูแลลูกคนอื่น ๆ ในบ้านได้ • ปวดในช่องท้องช่วงระยะ 3 เดือนแรกหลังการผ่าตัดคลอด อาจจะมีอาการปวดแผลผ่าตัดต่อเนื่องได้ถึง 12 เดือนหรือนานกว่านั้น •ลดโอกาสที่จะได้กอด อุ้มลูก และให้นมแม่ทันทีหลังคลอด • เพิ่มความเสี่ยงต่อการตัดมดลูกจากการตกเลือด • เพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ในอนาคต (เช่น มดลูกแตก รกเกาะตำ ่ หรือรกฝัง แน่น การแท้ง และการตั้งครรภ์นอกมดลูก) การผ่าตัดคลอด : • มีความเสี่ยงจะเกิดภาวะแทรกซ้อนระบบหัวใจและการหายใจของทารก • มีความผิดปกติเกี่ยวกับการหายใจหลังคลอด (เมื่อคลอดเร็วกว่า 39-40 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์) • มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วนในวัยเด็กหรือวัยรุ่น • มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคภูมิแพ้หรือโรคหอบหืดเมื่อโตขึ้น ความเสี่ยงและความไม่สะดวก ความเสี่ยงและความไม่สะดวกสำ หรับทารก 10 Version 4.0 Date 5 May 2022
คุณควรปรึกษาแพทย์ล่วงหน้าเพื่อประเมินว่าในกรณีของคุณมีความเป็นไปได้ที่คุณจะคลอดทางช่องคลอดได้ เองหรือไม่ • หารือกับแพทย์ในรายละเอียดถึงประโยชน์และความเสี่ยงของการคลอดทางช่องคลอดและการผ่าตัดคลอด • หากยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับประโยชน์ของการคลอดทางช่องคลอด คุณสามารถขอคำ ปรึกษาจากแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นเพิ่มเติมได้ อย่างไรก็ตาม นโยบายของโรงพยาบาลไม่แนะนำ การผ่าตัดคลอดถ้าไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ • ควรได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนจากสามี หรือ มารดา หรือ ญาติ และแพทย์ • หากมีโอกาสควรเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมสำ หรับการคลอด • เชื่อมั่นว่าคุณสามารถคลอดได้ สามารถลดความเจ็บปวดระหว่างการคลอดได้โดยวิธีการไม่ใช้ยา เช่น การนวด การหายใจ การเคลื่อนไหว หรือการใช้ยาระงับความเจ็บปวดตามความเหมาะสม การเลือกระหว่างการคลอดทางช่องคลอด และการผ่าตัดคลอด การเตรียมพร้อมสำ หรับการคลอดทางช่องคลอด ในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ จะหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดได้อย่างไร 11 Version 4.0 Date 5 May 2022
การชักนำให้เจ็บครรภ์คลอดสามารถทำได้เมื่อปากมดลูกพร้อม โดยทั่วไปจะแนะนำให้รอถึงสัปดาห์ที่ 41 ของการตั้งครรภ์เพื่อเพิ่มโอกาสการคลอดได้เอง อย่างไรก็ตามเงื่อนไขทางการแพทย์บางอย่างอาจทำให้ต้อง มีการชักนำให้เจ็บครรภ์คลอดก่อนถึงสัปดาห์ที่ 41 ของการตั้งครรภ์ หากจำ เป็นต้องมีการชักนำให้เจ็บครรภ์ คลอด เมื่อปากมดลูกยังไม่พร้อม ก็จะต้องทำให้ ปากมดลูกพร้อม เสียก่อน (เช่น การใช้ยาหรือใช้สายสวน ปัสสาวะ) คุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินว่าในกรณีของคุณจำ เป็นต้องใช้การชักนำให้เจ็บครรภ์คลอดหรือ ไม่ จะมีประโยชน์หรือผลข้างเคียงอะไรบ้าง • รอจนกว่าจะเจ็บครรภ์คลอดเอง • เคลื่อนไหว เปลี่ยนตำ แหน่ง ลุกยืน เดิน • รับประทานอาหารย่อยง่ายและเครื่องดื่มเพื่อให้พลังงาน • รับการนวด พยายามผ่อนคลายระหว่างการบีบตัวของมดลูก และหายใจลึก ๆ • ฟังเพลง อาบน้ำ พยายามจินตนาการถึงการคลอดที่ราบรื่น • ขอให้คู่ครองหรือเพื่อนที่เลือกไว้ อยู่ให้กำลังใจในระหว่างการคลอด สามารถชักนำให้เจ็บครรภ์คลอด (หรือกระตุ้นให้เจ็บครรภ์คลอด) ได้หรือไม่ การเพิ่มโอกาสของการคลอดทางช่องคลอด 12 หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม: หากมีคำ ถามเกี่ยวกับสภาวะการตั้งครรภ์ โปรดปรึกษาแพทย์หรือติดต่อโรงพยาบาลที่คุณ จะคลอด Version 4.0 Date 5 May 2022
2. แรงจูงใจ Version 4.0 Date 5 May 2022
วิธีการทำ : • นึกถึงสิ่งที่สำ คัญสำ หรับคุณ (ทั้งข้อดีและข้อเสีย) • อ่านเนื้อหาในแต่ละช่อง (ซึ่งมีข้อเสนอแนะเพื่อช่วยให้คุณได้คิดทบทวน) • ในส่วน ความคิดเห็นของคุณ ให้เขียนสิ่งที่เกี่ยวข้องทั้งหมด (ทั้งข้อดี ข้อเสีย) ที่สำ คัญต่อการตัดสินใจของ คุณ • ใส่เครื่องหมาย x ลงในช่องให้คะแนนความสำ คัญของแต่ละรายการ - ตรวจสอบข้อสรุปของแต่ละทางเลือก (ในหน้า 11) เพื่อเป็นแนวทางต่อยอดกระบวนการคิด แบบฝึกหัด: ขั้นตอนในการชั่งนำ้หนักระหว่างข้อดี และข้อเสีย ขั้นตอนแรก : สิ่งสำ คัญสำ หรับคุณมีอะไรบ้างและสำ คัญ อย่างไร ขั้นตอนที่สอง : วิธีการคลอดแบบใดที่คุณพึงพอใจมากกว่า ตัวอย่าง : ข้อเสนอแนะ : ชอบวิธีการผ่าตัดคลอดมากกว่า ไม่แน่ใจ ชอบวิธีการคลอดทางช่องคลอดมากกว่า ความคิดเห็นของคุณ : การคลอดทางช่องคลอด • ใส่เครื่องหมาย x เพื่อแสดงระดับความพึงพอใจของคุณที่มีต่อวิธีการคลอด ในตารางด้านล่าง สามารถกอด อุ้มลูก และให้นมลูกได้ทันทีและต่อเนื่อง การฟื้ นตัวหลังคลอดอย่างรวดเร็ว สามารถอุ้มลูกคนอื่น ๆ ของฉันที่บ้านได้ การหลีกเลี่ยงการผ่าตัดคลอดฉุกเฉิน ไม่มีอาการปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ไม่สำ คัญ สำ คัญ สำ คัญ มาก 14 Version 4.0 Date 5 May 2022
ความเห็นของคุณ ขั้นตอนแรก : อะไรบ้างคือสิ่งสำ คัญสำ หรับคุณ และสำ คัญ อย่างไร ข้อเสนอแนะ : ไม่สำ คัญ ไม่สำ คัญ สำ คัญ มาก สำ คัญ มาก สำ คัญ สำ คัญ มีประสบการณ์การคลอดทางช่องคลอด ลดความเจ็บปวดในระหว่างการคลอด หลีกเลี่ยงการผ่าตัดคลอดฉุกเฉิน สามารถกอด อุ้มลูก และให้นมลูกได้ทันที หลีกเลี่ยงการคลอดล่าช้า ลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัด (การตกเลือด / โรคหลอด เลือดสมอง / ลิ่มเลือดอุดตัน เพิ่มโอกาสประสบความสำ เร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ฟื้ นตัวหลังคลอดอย่างรวดเร็ว ลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในการตั้งครรภ์ในอนาคต ลดอาการเจ็บปวดหลังคลอดและลดการใช้ยา ใช้เวลาอยู่ในโรงพยาบาลน้อยลง ความเห็นของคุณ : 15 Version 4.0 Date 5 May 2022
ขั้นตอนที่สอง : วิธีการคลอดแบบใดที่คุณพึงพอใจมากกว่า ชอบวิธีการผ่าตัดคลอดมากกว่า ไม่แน่ใจ ชอบวิธีการคลอดทางช่องคลอดมากกว่า • ใส่เครื่องหมาย x เพื่อแสดงระดับความพึงพอใจของคุณที่มีต่อวิธีการคลอด ในตารางด้านล่าง เขียนคำ ถามที่ต้องการถามแพทย์ของคุณเพื่อช่วยในการตัดสินใจ: คำ ถามที่อยากถามแพทย์ 16 คุณสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น QUALI-DEC (คู่มือผู้คลอด DAT) เพื่อติดตั้งในสมาร์โฟนได้ที่นี่ ระบบแอนดรอยด์ ระบบ IOS Version 4.0 Date 5 May 2022
ข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อนผู้คลอด (LABOUR COMPANION) เพื่อนผู้คลอด คือ บุคคลที่สตรีตั้งครรภ์ได้เลือกไว้ให้เป็นผู้ช่วยในขณะที่เข้าห้องคลอด โดยเป็นผู้ที่เธอไว้ใจ และรู้สึกสบายใจที่จะมีเพื่อนผู้คลอดคอยให้กำลังใจและความช่วยเหลือในขณะที่กำลังคลอด โดยเพื่อนผู้ คลอดนี้อาจจะเป็น สามี คู่ชีวิต คนรัก หรือญาติที่ใกล้ชิด ก่อนที่จะครบกำ หนดคลอด คุณควรจะได้คุยกับบุคคลที่คุณอยากให้ทำ หน้าที่เป็นเพื่อนผู้คลอดเพื่อสอบถาม ความสมัครใจว่าเขาพร้อมที่จะช่วยเหลือดูแลคุณในระหว่างการคลอดหรือไม่ เพื่อที่จะได้เตรียมตัวและรับ ทราบบทบาทหน้าที่ของเพื่อนผู้คลอดต่อไป ประโยชน์ของการมีเพื่อนผู้คลอด งานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่าผู้คลอดให้คุณค่าและได้รับประโยชน์จากการมีเพื่อนอยู่ด้วยในระหว่างการ คลอด (“เพื่อนผู้คลอด”) ความช่วยเหลือดังกล่าวอาจหมายรวมถึงการสนับสนุนทางด้านอารมณ์ (การคอย อยู่เป็นเพื่อน การสร้างความเชื่อมั่น และการแสดงความชื่นชมให้กำลังใจ) และการให้ข้อมูลที่เกิดขึ้นใน ระหว่างการคลอด ซึ่งอาจหมายรวมถึงเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในระหว่างการคลอด วิธีช่วยทำให้ผู้คลอดรู้สึกสบาย ขึ้น (การสัมผัสอย่างปลอบโยน การนวด การช่วยผู้คลอดให้ได้เปลี่ยนท่าหรือช่วยการเคลื่อนไหว ช่วยให้ผู้ คลอดได้ดื่มน้ำ เพียงพอและช่วยเหลือเวลาต้องปัสสาวะ) และช่วยสื่อสารแทนผู้คลอดเมื่อผู้คลอดต้องการ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ท่านสามารถขอข้อมูลได้จากพยาบาลที่ดูแลการฝากครรภ์ แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : www.qualidec.com และ www.คลอดปลอดภัย.com Dugas M, Shorten A, Dubé E, Wassef M, Bujold E, Chaillet N. Decision aid tools to support women’s decision making in pregnancy and birth: a systematic review and meta-analysis. Soc Sci Med. 2012 Jun;74(12):1968-78. doi: 10.1016/j.socscimed.2012.01.041. Epub 2012 Mar 14. PMID: 22475401 Stacey D, Légaré F, Lewis K, Barry MJ, Bennett CL, Eden KB, Holmes-Rovner M, Llewellyn-Thomas H, Lyddiatt A, Thomson R, Trevena L. Decision aids for people facing health treatment or screening decisions. Cochrane Database Syst Rev. 2017 Apr 12;4(4):CD001431. doi: 10.1002/14651858.CD001431. pub5. PMID: 28402085; PMCID: PMC6478132. Benefits and Risks/Inconveniences of Planned Vaginal Birth versus Planned Caesarean: Evidence update report for Qualidec Booklet Table. Author: Maria Regina Torloni, June 2020: https://www.qualidec.com/wp-content/uploads/2021/02/Maria-Regina-Torloni_2020-EN.pdf 17 Version 4.0 Date 5 May 2022
กิตติกรรมประกาศ ผู้มีส่วนร่วมในโครงการ • Allison Shorten • Marylène Dugas • Myriam de Loenzien • Alexandre Dumont • Alexandre Dumont • Myriam de Loenzien • Charles Kaboré • Pisake Lumbiganon • Guillermo Carroli • Mac Quoc Nhu Hung • Ana Pilar Betran • Maria Regina Torloni ผู้จัดทำ เนื้อหา คณะกรรมการ ตรวจทานข้อมูล เครื่องมือช่วยในการตัดสินใจนี้ ได้รับการพัฒนาโดยใช้รูปแบบของเครื่องมือช่วยการตัดสินใจที่ พัฒนาโดย Marylène Dugas, Nils Chaillet และ Allison Shorten ที่มีชื่อว่า Giving birth after caesarean, Making an informed choice. (Dugas, 2016) และ และกลุ่มวิจัยเกี่ยวกับเครื่อง มือช่วยการตัดสินใจจากสถาบันวิจัย Ottawa Hospital (OHRI) ในสังกัดมหาวิทยาลัยออตตาวา (University of Ottawa) คู่มือนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ QUALI-DEC-project ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากโครงการความร่วมมือด้านงานวิจัยและนวัตกรรมกับคณะกรรมาธิการยุโรป Horizon 2020 ภายใต้ทุน สนับสนุน No 847567 และ โดยโครงการสนับสนุนการวิจัย UNDP-UNFPA-UNICEF-WHO-World Bank Special Programme of Research และ การฝึกอบรมการวิจัยและการพัฒนาเรื่องการเจริญ พันธ์ุมนุษย์ (HRP) ทุนสนับสนุนส่วนหนึ่งมาจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ในแผนกงานวิจัยเรื่องอนามัย การเจริญพันธุ์ (SRH) เนื้อหาที่ปรากฎในคู่มือเล่มนี้เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน โดยไม่ได้สะท้อนความ เห็นจาก EU, UNDP, UNFPA, UNICEF, WHO หรือ the World Bank แต่อย่างใด Updated 7 May, 2021 Registered in the Decision Aid Library Inventory (DALI) using International Decision Aids Standards (IPDSA): https://decisionaid.ohri.ca/AZsumm.php?ID=1959 Next update expected in 2023 Design-Creation agency DELACREME.pro / Copyright Quali-Dec / January 2022 Version 4.0 Date 5 May 2022