The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

วารสารโพธิยาลัย 37

podhiyalai_37

ไตรปิฎก
มรดกชาวพุทธ

พระวนิ ัย
บัญญัตหิ ้าม ตามความผดิ

พระสูตร-กจิ
อนุเคราะห ์ ตามเหมาะสม

พระอภธิ รรม
จำาแนกสิ้น  ทุกส่ิงปม

ฝกึ ฝนบม่
ครบปฎิ ก แจง้ -จบเอยฯ

ปปญั จา

เปดิ เลม่ ฉบบั ที่ ๓๗ เดอื นมถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๕๖๑

วารสารโพธิยาลัย ฉบับเดือนมิถุนายน เล่มน้ีเป็น ชีวิตและงานของท่าน อ่านเร่ืองนี้ได้จาก พระไตรปิฎก
ฉบับ “รจู้ ักบ้านของตวั เทย่ี วทัว่ พระไตรปิฎก” ซงึ่ เปน็ กบั อุบาสกคนหน่งึ เจ้าของคำ� บอกเลา่ น้นั คอื อาจารยธ์ นู
ช่ือหนังสือของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ มาลากลุ ณ อยธุ ยา ศิลปินอิสระผู้มีความสขุ ทสี่ ุดท่านหนง่ึ
(ป.อ. ปยตุ ฺโต) ที่แสดงแก่คณะสงฆแ์ ละญาตโิ ยมวัดญาณ- จากการได้อ่านพระไตรปิฎกและการปฏิบัติธรรมในชีวิต
เวศกวัน ค่�ำวันปาติโมกข์ ท่ี ๓ ธันวาคม ๒๕๖๐ ต่อมา ประจำ� วัน
คณะผู้จัดท�ำได้น�ำไปถอดเทป และส่งไปถวายให้ท่าน บทความในเล่มน้ลี ้วนมคี วามเขม้ ขน้ หนักแน่นด้วย
ตรวจทาน เมอ่ื ทา่ นเจา้ ประคณุ สมเดจ็ ฯ ตรวจทานเสรจ็ แลว้ เน้ือหาสาระท่ีเป็นประโยชน์แก่พุทธศาสนิกชน ชนิดที่หา
ทางวัดญาณเวศกวนั ไดน้ �ำไปตพี ิมพ์เป็นหนงั สอื เลม่ เลก็ ๆ อ่านที่ไหนไมไ่ ด้ นอกจาก วิสชั นาธรรม ของท่านอาจารย์
เพื่อการเผยแพร่เปน็ ธรรมทาน พระมหาประนอม ธมมฺ าลงกฺ าโร ทยี่ อดเยยี่ ม แจม่ แจง้ และ
นติ ยสาร “สารคด”ี ฉบบั ๔๐๑ ประจำ� เดอื นกรกฎาคม คอลมั น์ ในประสบการณ์ ของอาจารยธ์ นู มาลากลุ ฯ แลว้
๒๕๖๑ ได้จดั ท�ำฉบบั “พระไตรปิฎก” ในลักษณะสารคดี เราขอแนะน�ำบทความ ตามพระป่ามาเรียนธรรม ของ
ใหค้ วามรเู้ กยี่ วกบั พระไตรปฎิ ก นบั เปน็ การใหค้ วามสำ� คญั ท่านธีรปัญโญ ซ่ึงได้ตอบปัญหาหลากหลายท่ีน่าสนใจ
แก่พระธรรมค�ำสอนของพระพุทธศาสนา ท่ีเก็บไว้ใน เกี่ยวกับแรงบันดาลใจในการบวชของนายแพทย์หนุ่ม
พระไตรปิฎก ซึ่งเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เกยี รตนิ ยิ มอนั ดบั หนงึ่ ทมี่ อี นาคตรงุ่ โรจนร์ ออยู่ และเหตผุ ล
กลา่ ววา่ เม่อื เราอยูใ่ นโลกของพระพทุ ธศาสนา โดยเฉพาะ ทที่ า่ นตดั สนิ ใจเลอื กมาเรยี นธรรมทสี่ ำ� นกั เรยี นวดั จากแดง
อยา่ งยง่ิ พทุ ธบรษิ ทั ทงั้ ส่ี พระไตรปฎิ กจงึ เปรยี บเสมอื นบา้ น เปน็ ระยะเวลานานหลายปแี ลว้ อา่ นจบแลว้ ทกุ ทา่ นจะรสู้ กึ
ของเรา เราควรทจ่ี ะรจู้ กั บา้ นของเราอยา่ งเขา้ ใจ และอาศยั มกี ำ� ลงั ใจในการศกึ ษาและปฏบิ ตั ธิ รรมมากข้ึน
อยู่ในบ้านของเราอย่างรอบรู้ เพ่อื จะไดร้ บั ประโยชน์จาก เริ่มแล้วฉบับนี้ เร่ืองชุด ของ วิเทศทัยย์ ตอนใหม่
การอยู่อาศยั ในบ้านไดอ้ ยา่ งเต็มท่ี ลา่ สดุ ได้แก่ พระตสิ สเถระ หรอื พระโมคคัลลบี ตุ รติสสะ
เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เมตตาอธิบายขยายความให้ พระอาจารย์ของพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งในสมัยน้ัน
เห็นว่า พระไตรปิฎก ประกอบด้วย ๓ ส่วน คอื พระวินัย มีอลัชชี (ผู้ไม่มียางอาย) เข้ามาปลอมบวชในพระพุทธ
พระสูตร และพระอภธิ รรม แต่ละส่วนประกอบด้วยก่ีเล่ม ศาสนาเป็นจ�ำนวนมาก เพื่อแสวงหาลาภสักการะ ซึ่ง
แตล่ ะเล่มมเี นือ้ หาอะไรบ้าง จึงถอื ได้วา่ เป็นหนงั สอื ทช่ี ว่ ย พระเจ้าอโศกมีพระราชประสงค์จะก�ำจัดอลัชชีเหล่าน้ัน
ใหเ้ ขา้ ถึงเนอื้ หาในพระไตรปิฎกอย่างคร่าวๆ ทำ� ใหผ้ สู้ นใจ จึงโปรดให้พระอาจารย์ของท่านตรวจสอบความรู้ในพระ
สามารถเลือกอ่านในสงิ่ ทีต่ อ้ งการทราบไปตามลำ� ดับ ธรรมวินัยของพระ ปรากฏว่าจับพระที่สอบไม่ผ่าน สึกได้
ดว้ ยเหตุน้ีวารสารโพธยิ าลัย จงึ จดั ท�ำฉบบั รจู้ กั บ้าน ถึงหกหมื่นรูป เป็นเหตุให้ท่านและพระเจ้าอโศกมหาราช
ของตัวฯ ขึ้นมา โดยมีเนื้อหาที่แตกต่างไปจากนิตยสาร ถูกกล่าวหาว่าใจแคบ และโหดร้ายมาก แต่ถ้าไม่ท�ำเช่นน้ี
สารคดี เป็นการเจาะลึกในลักษณะที่เน้นสาระทางธรรม พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทอาจจะผิดเพ้ียนไปไม่เหมือน
เป็นหลัก เช่น อ่านพระไตรปิฎกแล้วจะได้อะไร โดยมี เดมิ ในครั้งพทุ ธกาลก็เป็นได้
ผใู้ ห้คำ� ตอบเป็นท้งั พระภกิ ษุสงฆ์ ในคอลมั น์ วิสัชนาธรรม นอกจากพระโมคคัลลีบุตรติสสะจะมีชื่อเสียงทาง
กับท่านอาจารย์พระมหาประนอม ธมมฺ าลงฺกาโร และมี ด้านบู๊ จากการปราบอลัชชีแล้ว ท่านยังมีชื่อเสียงทาง
ทั้งอุบาสกท่ีอ่านพระไตรปิฎกต่อเน่ืองเสมอมาหลายสิบปี ดา้ นบนุ๋ อกี ดว้ ย จากผลงานการจดั การสงั คายนาพระธรรม
และไดป้ ระโยชนจ์ ากการอา่ นนนั้ แลว้ นำ� มาประยกุ ตใ์ ชก้ บั วนิ ยั ครง้ั ท่ี ๓ โดยทา่ นเปน็ องคป์ ระธาน และพระเจา้ อโศก

2 ๓๗

มหาราชเป็นองค์อุปถัมภ์ ท�ำให้พระ ประธานที่ปรึกษา ส า ร บั ญ
ธรรมวินัยมีความบริสุทธิ์ จากนั้นไม่นาน พระครูธรรมธรสมุ นต์ นนฺทิโก
พระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งพระสมณ- a วสิ ชั นาธรรม :
ทตู ไปประกาศศาสนา ๙ สาย รวมถงึ ดิน อัคคมหาบัณฑติ พระไตรปิฎก มรดกจากพระพุทธเจ้า
แดนสวุ รรณภมู ิ ทำ� ใหป้ ระเทศไทยของเรา บรรณาธิการอํานวยการ พอจ.มหาประนอม ธมฺมาลงกฺ าโร.................๓
ได้รบั อานสิ งสจ์ ากผลงานนี้ของทา่ นดว้ ย พระมหาประนอม ธมมฺ าลงกฺ าโร a ธรรมปรทิ ัศน์ :
จึงกล่าวได้ว่า ทั้งพระโมคคัลลี- รจู้ กั บ้านของตัว เที่ยวท่วั พระไตรปฎิ ก (๑)
บุตรติสสะและพระเจ้าอโศกมหาราช บรรณาธิการบริหาร สมเดจ็ พระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยตุ โฺ ต)....๑๓
มีคุณูปการอันย่ิงใหญ่ต่อความเป็น พนติ า อังจนั ทรเพ็ญ a ชวนอ่านพระสตู ร : ไม่ตอ้ งกงั วล
พระพุทธศาสนาเถรวาทแบบด้งั เดมิ ของ [email protected] พระอาจารยช์ ยสาโร..................................๒๓
พระบรมศาสดาของเรา และเรอื่ งราวของ รองบรรณาธิการ a ปัญญาปริทัศน์ : ตุวฺ ฏกปฏิปทา
พระโมคคัลลีบุตรติสสะนั้น จึงมีความ ทพญ. อัจฉรา กลนิ่ สุวรรณ์ ธีรปญั โญ...................................................๒๖
โลดโผนสนุกสนานน่าสนใจเป็นอันมาก [email protected] a ชวนรู้ : พระธมั มเจดยี ์
อยา่ ไดพ้ ลาดแมแ้ ต่ตอนเดียว ผู้ช่วยบรรณาธิการ ธมั มปชู โกภกิ ข.ุ ............................................๔๒
โพธยิ าลยั ฉบบั นี้เปน็ ฉบบั ขน้ึ ตน้ ปที ่ี๔ พนั ธุ์รพี นพรัมภา a โยมถาม พระตอบ : ตามพระป่ามาเรียนธรรม
ต้องขออภัยท่านผู้อ่านหลายท่านท่ีแสดง [email protected] ธรี ปญั โญ...................................................๔๕
ความคดิ เหน็ มาวา่ วารสารออกชา้ ไมต่ รง a ในประสบการณ์ :
กับเดือนต่างๆ ซ่ึงคณะผู้จัดท�ำได้เคย ประสานงาน พระไตรปฎิ กกับอุบาสกคนหนง่ึ
เรียนให้ทราบแล้วว่า คณะผู้จัดท�ำเป็น พระครปู ระคณุ สรกิจ อ. ธนู มาลากลุ ณ อยธุ ยา...........................๕๑
อาสาสมัครท้ังส้ิน ท�ำงานนี้ด้วยใจมุ่งมั่น (พระมหาการณุ ย์ กสุ ลนนโฺ ท) a มองเทศ - มองไทย : พระติสสเถระ (๑)
ในการสบื ตอ่ อายพุ ระพทุ ธศาสนา สรรหา [email protected] วเิ ทศทยั ย.์ .................................................๖๐
บทความดๆี มานำ� เสนอใหเ้ ปน็ สมบตั ขิ อง กองบรรณาธกิ าร
แผ่นดิน คณะผู้จัดท�ำแต่ละท่าน มีภาระ คณะสงฆว์ ดั จากแดง หากท่านผู้อ่านมีความประสงค์จะติดต่อ
หน้าทปี่ ระจ�ำท�ำอย่างหนาแนน่ บางท่าน สำ�นกั งาน : วัดจากแดง กองบรรณาธกิ ารวารสารโพธยิ าลยั หรอื ตอ้ งการ
มีงานประจ�ำที่ต้องรับผิดชอบ โดยสละ ๑๖ หมู่ ๖ ถ.เพชรหึงษ์ ซ.เพชรหึงษ์ ๑๐ แสดงความเหน็ ตชิ ม หรอื ใหค้ ำ� แนะนำ� ใดๆ กรณุ า
เวลาท่ีพอมี มาช่วยกันจัดท�ำวารสารนี้ ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง ติดต่อได้ท่ีอีเมล [email protected]
อยา่ งตง้ั ใจ คอ่ ยๆ ทำ� ไปใหด้ ที สี่ ดุ จงึ ทำ� ให้ จ.สมุทรปราการ ๑๐๑๓๐ (พระครูประคุณสรกิจ หรือพระมหาการุณย์
วารสารแตล่ ะเลม่ กวา่ จะสำ� เรจ็ ออกมาได้ โทรศพั ท์. ๐๒-๔๖๔-๑๑๒๒
ต้องใช้เวลานานกวา่ ปกติ ท�ำใหอ้ อกช้าไป พมิ พ์ครั้งที่ ๑ : มถิ นุ ายน ๒๕๖๑
จำ�นวน ๕,๐๐๐ เล่ม
ภาพปก : อ.ปญั ญา วิจนิ ธนสาร
ศลิ ปนิ แห่งชาติ สาขาทศั นศลิ ป์
ออกแบบปก : อ.บญั ชา หนังสือ

เครดติ ภาพ
ชาคโิ นภกิ ขุ, True Little Monk, กุสลนนโฺ ท) ขอขอบคณุ ทุกความคิดเหน็
ศลิ ปนิ กิตติ ปริเมธาชยั , วารสารโพธยิ าลยั

ศลิ ปิน ธนู มาลากุล ณ อยุธยา จั ด พิ ม พ ์ ด ้ ว ย ป ั จ จั ย
และขอขอบคุณเจา้ ของภาพ บริจาคของท่านผู้มีจิต
จากทาง Internet ทกุ ทา่ น ศรทั ธาแจกเปน็ ธรรมทาน
บา้ ง จงึ เรยี นมาเพอื่ ทราบอกี ครงั้ หนง่ึ และ ศิลปกรรม และบรจิ าคไปตามหอ้ ง
ขอยืนยันว่า ถึงแม้จะออกช้า แต่ก็เต็ม สหมติ รกรุ๊ปทมี สมุดต่างๆ เพื่อให้เกิด
ไปด้วยคุณภาพท้ังเนื้อหาและการจัดท�ำ อุปถมั ภอุปกรณค อมพิวเตอร ประโยชน์ทางปัญญา
ซึ่งท่านจะทราบด้วยตนเอง หากได้อ่าน โดยคณุ พัชรพิมล ยังประภากร อยา่ งกวา้ งขวางแกท่ า่ น
วารสารโพธิยาลัยทุกฉบับต้ังแต่หน้าแรก ประธานกรรมการ ‘สุวิมล’ ผ้ใู ฝ่ธรรมต่อไป
จนหนา้ สดุ ท้าย จดั พิมพ์โดย
สหมติ รพริน้ ต้ิงแอนด์พับลชิ ช่ิง
คณะผู้จัดท�ำ โทร. ๐๒ ๙๐๓ ๘๒๕๗-๙

๓๗ 3

วสิ ัชนาธรรม

พระอาจารย์มหาประนอม ธมฺมาลงกฺ าโร

พระไตรปฎิ ก

มรดกจาก
พระพุทธเจา้

รูปแบบของพระสูตร เรียกว่า “สังคตี ิสตู ร” คือ
พระสตู รในรูปแบบการสังคายนา ท่ีรวบรวมพระ
ธรรมวินัยของพระพุทธองค์ จัดเป็นหมวดหมู่
อย่างน้ีๆ พระท่ีบวชเข้ามาในภายหลังก็ให้ศึกษา
แนวนี้ เป็นการศึกษาภาคบังคับเพ่ือท่ีจะพ้น
จากนิสสัย
ปุจฉา : พระไตรปิฎกมีความสําคญั อย่างไรเจา้ คะ คอื ชว่ งแรกพระบวชมาไมน่ านกบ็ รรลุ แตห่ ลงั
วสิ ชั นา : นอกจาก เปน็ แหลง่ รวบรวมคำ� สอนแลว้ จากนั้นสิกขาบทมีมากข้ึน การล่วงละเมิดมีมาก
พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ ธรรมก็ดี ข้ึน แต่ก็ไม่ได้บรรลุ ก็มีภาคบังคับคือให้เรียน
วินัยก็ดี ท่ีเราตถาคตตรัสไว้แล้ว จะเป็นศาสดา ภาคปริยัติกับปฏิบัติควบคู่กัน โดยท่ีการเรียน
แทนตถาคต หลงั จากตถาคตปรนิ พิ พานแลว้ พระ ปริยัติกับปฏิบัติ สิ่งแรกเลยคือเรียนเพื่อพ้นจาก
ธรรมคือพระสูตรกับพระอภิธรรม วินัยก็คือพระ นสิ สยั นสิ สยั แปลวา่ ถอื คำ� สอนจากครบู าอาจารย์
วินัย เพราะฉะน้ัน พระไตรปิฎกจึงเป็นตัวแทน เป็นที่พ่ึง นิสสยาจารย์ คือต้องอาศัยครูบา
ของพระพทุ ธองค์ อาจารย์ขมวดเข้ามา ต้องอาศัยอะไรบ้าง เช่น

ปจุ ฉา : ในสมัยพุทธกาล บรรยากาศการศกึ ษา อาศัยปริยัติ ในส่วนของภิกขุปาติโมกข์ ภิกขุนี-
เป็นอยา่ งไร ปาตโิ มกข์ ส่วนท่ี ๒ คือขอ้ วัตรต่างๆ เชน่ ขันธก-
วสิ ชั นา : สมยั นนั้ ไมเ่ รยี กวา่ พระไตรปฎิ ก เรยี กวา่ วัตร มหาวัตร เสขิยวัตร ข้อต่อมาก็คือ การท�ำ
ธรรมะ หมวดนกิ ายตา่ งๆ ชว่ งแรกๆ พระพทุ ธองค์ สงั ฆกรรมตอ้ งสวดบาลี สวดกรรมวาจาภาษาบาลี
กเ็ ทศน์ หลงั จากนนั้ พระสารีบตุ รก็ได้รวบรวม จดั เปน็ ขอ้ ตอ่ มากค็ อื สมถะ - วปิ สั สนากรรมฐาน ตอ้ ง
หมวดหมู่พระธรรมท่ีพระพุทธองค์ตรสั แล้ว ด้วย ร้พู อทีจ่ ะปฏิบัตดิ ว้ ยตนเองได้

4 ๓๗

ข้อตอ่ มาพระสตู รส่ภี าณวาระ (หยุดพักสวด ปุจฉา : อธบิ ายยอ่ ๆ มีอะไรบ้างเจ้าคะ
๑ คร้งั = ๑ ภาณวาระ) ตอนนี้ของไทยกเ็ อามา วิสัชนา : ก่อนที่จะไปส่ังสอนภิกษุณีได้ ดูแลตัว
ท�ำเป็นบทสวดมนต์ฉบับหลวง ๒๙ สตู ร ชื่อพระ เองได้หรือยัง ต้องเรียนภิกขุปาติโมกข์ ภิกขุนี-
สตู รสี่ภาณวาระ เรียนรพู้ ระสตู รเหลา่ นี้ เพ่อื ท่ีจะ ปาติโมกข์ ต้องรู้ขันธกวัตร มหาวัตร เสขิยวัตร
ปกป้องตนเอง และเพ่ือท่ีจะอนุเคราะห์ญาติโยม ตอ้ งสวดกรรมวาจาเปน็ ตอ้ งรทู้ ง้ั สมถะ - วปิ สั สนา
น่นั ก็คอื ปรยิ ัตกิ ับปฏบิ ตั ิที่พระเณรตอ้ งเรียนรู้ กรรมฐาน ทรงจ�ำพระสูตรส่ีภาณวาระ และข้อ
และสุดท้าย พรรษาครบ ๕ พ้นนิสสัยได้ สุดทา้ ย พรรษาครบ ๕ นนั้ คอื ดูแลตวั เองไดแ้ ล้ว
นั่นคือบรรลุนิติภาวะของความเป็นพระ คือให้
ปริยตั กิ ับปฏบิ ตั คิ วบคกู่ นั ไป คอื วางแผนต้ังแตอ่ ยู่ ปุจฉา : หากจะมาเป็นครูบาอาจารย์ จะต้อง
ในโบสถ์ ให้เรียนอนุศาสน์ ๘ อย่าง ก็คือการ เรยี นอยา่ งไรเจา้ คะ
ใช้ชีวิตของพระ ต้องอาศัยปัจจัย ๔ คือ จีวร วสิ ัชนา : หลักสตู รที่ ๒ เป็นอาจารยส์ อนคนอื่น
บิณฑบาต เสนาสนะ เภสัช สิ่งเหล่านี้จะได้จาก ตอ้ งเรยี นมากกวา่ นี้ เรยี นรพู้ ระไตรปฎิ กครบระบบ
ทไี่ หน และ ปาราชกิ ๔ ขอ้ คอื หา้ มฆา่ มนษุ ย์ หา้ ม คือ เรยี นรพู้ ระสตู ร พระวินยั พระอภิธรรม โดย
ลักทรัพย์ ห้ามอวดอุตตริมนุสสธรรม ห้ามเสพ เฉพาะเนน้ พระวินัยปิฎก อรรถกถาของพระวนิ ัย
เมถนุ เรยี นรตู้ ง้ั แตอ่ ยใู่ นโบสถ์ พรอ้ มกบั กรรมฐาน ปิฎกทั้งหมด และในส่วนของพระสูตร ๓ นิกาย
๕ คือ ตจปัญจกกรรมฐาน ไดแ้ ก่ เกสา (ผม) โลมา และในส่วนของพระอภิธรรม ก็มีธัมมสังคณี
(ขน) นขา (เล็บ) ทันตา (ฟัน) ตโจ (หนัง) เป็นต้น และวภิ งั ค์ เปน็ ต้น ตอ้ งมีความรู้เหล่าน้ี จึงจะเป็น
ปจุ ฉา : ตงั้ แตบ่ วชกใ็ หเ้ รยี นเรอื่ งพวกนกี้ อ่ นเลย อาจารย์สอนคนอ่ืนได้ ถ้าไม่มีองค์ความรู้เหล่านี้
ใช่ไหมเจ้าคะ ไม่อนญุ าตให้เปน็ อาจารย์ของผู้อ่ืน
สรปุ คอื หลกั สตู รที่ ๑ ดแู ลตวั เองได้ หลกั สตู ร
วิสชั นา : ใช่ เจริญพร หลักสตู รท่ี ๑ เรยี นพรอ้ ม ท่ี ๒ เปน็ อาจารย์สอนผอู้ ่ืนได้ หลกั สตู รท่ี ๓ เปน็
กันทั้งปริยัติ - ปฏิบัติ เรียนต้ังแต่บวชพร้อมกัน อปุ ัชฌาย์ได้
เลย ปรยิ ตั ิก็คอื อนุศาสน์ ๘ อย่าง และก็ปฏิบตั ิ
คือส่วนของกรรมฐาน ไดแ้ ก่ ตจปญั จกกรรมฐาน ปจุ ฉา : เปน็ อปุ ชั ฌายน์ ี่ ยงิ่ ยากเขา้ ไปอกี ใชไ่ หม
ออกจากโบสถแ์ ลว้ ใหไ้ ปเรยี นวนิ ยั ตอ่ เรยี นสงั ฆา- เจา้ คะ
ทเิ สส เปน็ ต้น จนจบ แลว้ ในส่วนของปฏบิ ตั ิ ก็ไป วสิ ัชนา : ใช่ เจรญิ พร หลักสูตรที่ ๒ (เปน็ ครบู า
เรยี นกรรมฐานหมวดอนื่ อกี ๕ หมวดจนจบอาการ อาจารย)์ บงั คับอายุพรรษาด้วย อยา่ งต่�ำตอ้ ง ๑๐
๓๒ พอจบอาการ ๓๒ แลว้ กเ็ รยี นนามกรรมฐาน พรรษาข้นึ ไป พอถึง หลกั สตู รท่ี ๓ เป็นอุปัชฌาย์
ทต่ี รสั วา่ ต้องเรียนอยา่ งน้ี ตอ้ งศึกษาอยา่ งน้ี วนิ ยั ปฎิ กตอ้ งเรยี นทง้ั หมด แลว้ พระสตู รตอ้ งเรยี น
ต้องท�ำอย่างนี้ มีแสดงอยู่ในวินัยปิฎก ในหมวด หลายนิกาย พระอภิธรรมก็ต้องเรียนจนครบ
โอวาทวรรค ข้อท่ี ๓ ที่เก่ียวกับ ภิกขุโนวาทก- ทั้งหมด ตอ้ งมอี งค์ความร้เู หล่านี้ครบ และต้องมี
สิกขาบท สิกขาบทท่บี อกคุณสมบตั ิของพระท่จี ะ พรรษาครบ ๒๐ พรรษา จงึ จะเป็นอปุ ัชฌายบ์ วช
ไปอบรมส่ังสอนภกิ ษุณไี ด้ กุลบุตรได้ ให้โอวาทภิกษุณีได้ ในพระไตรปิฎก
ไดต้ ราไว้ชดั เจน

๓๗ 5

ปจุ ฉา : ทา่ นใหค้ วามส�ำคญั กบั พระวนิ ยั มากเลย ตรวจดวู า่ ศาสนาของพระพทุ ธเจา้ องคก์ อ่ นๆ องค์
พระวินัยนี้ท่านสือ่ ถงึ อะไรเจา้ คะ ไหนตงั้ อยไู่ ดน้ าน องคไ์ หนตง้ั อยไู่ มไ่ ดน้ าน พอเขา้
วิสัชนา : พระวินัยจะเปน็ การจัดการ “วตี ิกกม- ฌานไปดูแล้ว เห็นศาสนาของพระพุทธเจ้าบาง
กเิ ลส” กเิ ลสทจ่ี ะไปลว่ งละเมดิ ผอู้ น่ื ไปจาบจว้ ง พระองค์ตงั้ อยแู่ ค่Generation*เดยี วบางพระองค์
ผู้อ่ืน ฉะน้ัน ถ้ามีวินัยแล้ว จะไม่ล่วงละเมิด กส็ อง สาม บางพระองคก์ ห็ ลาย Generation พอ
ผอู้ ื่น สง่ิ แรกคอื ความนา่ เลอ่ื มใส ยังผไู้ มเ่ ล่ือมใส เหน็ อยา่ งนน้ั แลว้ กร็ บี ไปทลู พระพทุ ธองค์ “ขา้ แต่
ใหเ้ ลอื่ มใส ยงั ผเู้ ลอ่ื มใสแลว้ ใหเ้ ลอ่ื มใสยงิ่ ๆ ขนึ้ ไป พระองคผ์ เู้ จรญิ ขอใหพ้ ระองคท์ รงรบี บญั ญตั พิ ระ
พระพุทธองค์ตรัสว่า เม่ือพระวินัยยังมีอยู่ พระ วินัย รีบรวบรวมพระธรรมวินัยเถิดพระเจ้าข้า”
ศาสนากย็ งั อยู่ ชอ่ื วา่ วนิ ยั เปน็ อายขุ องพระศาสนา (ตอนน้นั วนิ ยั ยงั ไมไ่ ด้บญั ญตั ิ)
ปจุ ฉา : คือศีลใช่ไหมเจ้าคะ พระอาจารย์ พระพทุ ธองคต์ รสั วา่ “สารบี ตุ ร เหตยุ งั ไมเ่ กดิ
วิสัชนา : ใช่ เจรญิ พร ถา้ รักษาศีลเปน็ คนท่ยี งั ไม่ วินยั ยังไม่บญั ญัติ” ต่อมา หลงั จากมีเหตุเกดิ แล้ว
เลื่อมใสก็จะเลือ่ มใส คนทเี่ ลอ่ื มใสแลว้ จะเลอ่ื มใส การบัญญัติพระวินัยก็เกิดข้ึน มีการบัญญัติวินัย
ยิ่งๆ ข้ึนไป เป็นวนิ ยั ปิฎก สำ� หรบั ผู้รกั ษาศีลเอง สิกขาบทน้ันสิกขาบทน้ีแล้ว และพระสูตรก็มีพอ
วีติกกมกิเลส กิเลสที่จะก้าวล่วงละเมิดผู้อื่น สมควรแลว้ หลงั จากนนั้ พระสารบี ตุ รกไ็ ดร้ วบรวม
ข่มไว้ได้ด้วย “วินัยหรือศีล” ผู้พบเห็นก็จะเกิด โดยใช้หลักการที่รวบรวมให้พระสาวกรูปอ่ืนดู
ความศรัทธาเล่ือมใส กเ็ หมือนทางโลก สิง่ แรกคือ เปน็ แบบอยา่ ง คอื พระสารีบตุ รแสดงพระสตู รชอื่
ต้องละลายพฤติกรรม พฤติกรรมผดิ ยังมีอยู่ ตอ้ ง “สังคีติสตู ร” คอื เอาพระสตู รท่พี ระพทุ ธเจ้าตรัส
ละลายพฤติกรรมก่อน ก่อนที่จะให้ยาอะไรเข้าไป มารวมเป็นระบบ สังคายนา เป็นหมวดเปน็ หมู่
การละลายพฤติกรรมในพระพุทธศาสนา ก็คือ ปุจฉา : “สังคีติสูตร” นี้เป็นต้นแบบของการ
เบญจศีลน่แี หละ สงั คายนาเลย ใชไ่ หมเจ้าคะ
ปจุ ฉา : สาธเุ จา้ คะ่ ทม่ี าของการเกดิ พระไตรปฎิ ก วสิ ัชนา : เจรญิ พร ตน้ แบบการสังคายนา มาจาก
มีเหตุมาอยา่ งไรเจ้าคะ สังคตี สิ ูตร ทสตุ ตรสูตร เป็นพระสตู รท่ีทา่ นพระ
วิสัชนา : มีคร้ังหนึ่ง พระสารีบุตรได้ไปกราบ สารบี ตุ ร รวบรวมค�ำสง่ั สอนของพระพุทธเจา้ เปน็
พระพทุ ธเจา้ เพราะในขณะทที่ า่ นเขา้ ฌาน และได้ หมวดหมู่ ใหง้ ่ายตอ่ การศกึ ษาจดจ�ำ
ปุจฉา : พระสารีบุตรท่านสมเป็นพระธรรม
เสนาบดีเจ้าค่ะ แล้วตอนที่ยังไม่มีพระไตรปิฎก
ทา่ นคงสวดสาธยายกนั เพราะเหตใุ ดสมเดจ็ พระ
พทุ ธโฆษาจารยจ์ งึ สรปุ วา่ สมยั กอ่ นทม่ี กี ารทรง
จ�ำด้วยการสาธยาย มคี วามถูกตอ้ งแมน่ ย�ำกวา่
ยุคหลังทม่ี กี ารบันทกึ ลายลักษณ์อักษร เจา้ คะ
วสิ ชั นา : สมยั กอ่ น การทรงจำ� มคี วามแมน่ ยำ� กวา่
เพราะท่านมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ สมัยก่อน

*Generation ช่ัวอายุคน, รุน่

6 ๓๗

ท่านฟังแบบต้ังอกต้ังใจ ฟังแบบทะลุทะลวง ไม่ บุคคลเป็นหลัก แล้วก็ดึงเข้าสู่ธรรมะ ดึงเข้าสู่
ตอ้ งพงึ่ อปุ กรณ์ ฟงั แลว้ ใหเ้ ขา้ ใจ ใหจ้ ำ� ได้ แลว้ เอา อริยสัจ ๔ ในส่วนพระอภิธรรม จะเน้นสภาวะ
มาทวนบอ่ ยๆ ไมใ่ หล้ มื เมอื่ มกี ารฟงั ใหเ้ ขา้ ใจ จำ� ได้ ธรรมล้วนๆ เลย ไม่ไดย้ กบคุ คลมาเปน็ หลัก เน้น
แล้วกม็ าทวนอยูบ่ ่อยๆ เรยี กว่า สวดสาธยาย ในส่วนสภาวธรรมเลย
สมยั กอ่ น ทา่ นจะสอนหนงั สอื กนั ดว้ ยปาก ฟงั ดังนั้น ธรรมะในส่วนของพระสูตรกับพระ
โดยไมไ่ ดเ้ ขยี นลงกระดาน ฟงั เสรจ็ แลว้ เขา้ ใจ แลว้ อภิธรรม จะมีข้อแตกต่างกัน พอจัดเป็นหมวด
สวดสาธยายกลบั ไปกลบั มา เรยี กวา่ “ตอ่ หนงั สอื ” ใหญๆ่ แล้ว จากนน้ั ก็จัดเปน็ หมวดย่อย
ครูบาอาจารย์จะพูดให้ฟัง ลูกศิษย์ก็จ�ำ ว่าตาม อยา่ งพระวนิ ยั มหี มวดยอ่ ย ๕ หมวด มอี กั ษร
แล้วก็ท่อง แล้วก็มาทวน ทุกเช้าทุกเย็น แล้ว ยอ่ ก็คอื อา ปา ม จุ ป อา คอื อาทิกัมมกิ ะ ปา
ครบู าอาจารยก์ จ็ ะมาตอ่ (สอนตอ่ ) แลว้ กจ็ ำ� ไวท้ ลี ะ คือ ปาจิตตียะ ม คอื มหาวัคค์ จุ คือ จลุ ลวคั ค์
ประโยค แล้วก็ทบทวนบอ่ ยๆ ไมใ่ หล้ มื ป คอื ปรวิ าร อา คือ อาทิกัมมิกะ นั่นคือในส่วน
ยุคแรกสมยั แรก พระอริยะหรือพระอรหันต์ ของอักษรย่อ อักษรย่อนี้ จะย่อแบบสังคายนา
มีเยอะ สติสัมปชัญญะสมบูรณ์ เพราะฉะนั้น บ้านเราจะย่ออีกช่ือหนึ่ง เพราะฉะนั้นในหมวด
เมื่อฟังเข้าใจ จ�ำได้ ไม่ลืม องค์ที่มีความจ�ำเป็น ของพระวินัยให้ย่อตามหมวดของพระวินัย ห้า
เลิศ ไม่ลมื เลย ในช่วงแรกๆ คือ พระอานนท์ กบั ช่ือนี้มที มี่ าอย่างไร นีเ้ ปน็ อักษรยอ่ ของพระวินัย
หมอชวี ก ๒ ท่านน้ี ท�ำบญุ แลว้ ปรารถนาวา่ “ขอ ในส่วน พระสูตร หมวดที่มีเนื้อความยาวๆ
ให้ข้าพเจ้าจงมีความทรงจ�ำเป็นเลิศ” หลังจาก กม็ าตง้ั หมวดหมไู่ ว้ “ทฆี นกิ าย” ทส่ี น้ั กวา่ นนั้ เรยี ก
ท่ีพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ตอนข้ึนสู่ วา่ “มชั ฌมิ นิกาย” จากนนั้ กม็ ี “สังยุตตนิกาย”
สังคายนา คนท่ีจ�ำพระพุทธพจน์ได้ทั้งหมดคือ สังยตุ ต คอื ประกอบเร่อื ง กค็ อื ปรารภบคุ คล เชน่
พระอานนท์ ตอนนน้ั ทา่ นยงั ไมไ่ ดเ้ ปน็ พระอรหนั ต์ ปรารภเทวดาแลว้ ทรงแสดงธรรม กเ็ รยี กวา่ เทวตา-
ก็จริง แต่ด้วยบุญกุศลที่ได้ตั้งจิตปรารถนาว่า สงั ยตุ ต์ เป็นตน้
“ขอให้สามารถทรงจ�ำพระธรรมค�ำสอนของ
พระพุทธองค์ได้ทั้งหมด” บุญนั้นก็สัมฤทธ์ิผล ปจุ ฉา : แล้วมีหมวดอนื่ อะไรอีกบา้ งไหมเจ้าคะ
สดุ ทา้ ยพอทา่ นไดบ้ รรลเุ ปน็ พระอรหนั ต์ กไ็ ดเ้ ขา้ มา พระอาจารย์
ร่วมสงั คายนาคร้งั ท่หี นง่ึ ตามที่ทราบกันแล้ว วิสัชนา : “อังคุตตรนิกาย” คือหมวดธรรม ๑
หมวดธรรม ๒ หมวดธรรม ๓ หมวดธรรม ๔ จนถงึ
ปจุ ฉา : พระไตรปฎิ กมกี ารจัดหมวดหมู่อยา่ งไร หมวดธรรมท่มี ี ๑๑ อยา่ ง หมวดธรรมทม่ี อี ยา่ ง
เจ้าคะ พระอาจารย์ เดียว ประกอบด้วยอะไรบ้าง หมวดธรรมที่มี ๒
วสิ ชั นา : ถา้ หมวดใหญๆ่ กม็ ี ๓ คอื หมวดพระวนิ ยั อยา่ ง ๓ อย่าง ประกอบดว้ ยอะไรบา้ ง และมอี ีก
หมวดพระสตู ร หมวดพระอภธิ รรม โดย หมวดของ หมวดหนึ่ง ที่เหลือนอกจากนี้ คือพระสูตรเล็กๆ
พระวินยั เนน้ เรอ่ื งศีล ๒๒๗ ของภกิ ษุ เน้นเรอื่ ง น้อยๆ ปกิณกะ กระจัดกระจาย ทั่วๆ ไป หรือไม่
ศีลของภิกษุณี ศีลของพระท้ังหมด อยู่ในหมวด อยใู่ นกฎเกณฑท์ ก่ี ลา่ วมา กเ็ รยี กวา่ “ขทุ ทกนกิ าย”
พระวนิ ยั ในสว่ นพระสตู ร จะเปน็ ธรรมะทป่ี รารภ แปลว่า หมวดเล็กนอ้ ย, ปลีกยอ่ ย, เบ็ดเตลด็

๓๗ 7

ปุจฉา : หมวดพระอภิธรรมแบ่งอย่างไรเจ้าคะ อภิธรรมเพื่อน�ำไปปฏิบัติ จะเกิดความเข้าใจ
ยากมากเลย พวกโยมจ�ำเปน็ ตอ้ งเรยี นไหมเจา้ คะ เห็นแจ้งได้ง่าย ไม่จ�ำเป็นต้องเรียนเพื่อเอาไป
วสิ ัชนา : พระอภธิ รรมแบง่ เปน็ ๗ หมวด เร่ิม สอบ แตต่ อ้ งเรยี นเพอื่ ทำ� ความเขา้ ใจ นำ� ไปปฏบิ ตั ิ
ตั้งแต่ สํ วิ ธา ปุ ก ย ป ตัวยอ่ นะ สํ คอื ธมั ม- ใหถ้ ูกตอ้ ง เจรญิ พร

สังคณี วิ คือ วิภังค์ ธา คือ ธาตุกถา ปุ คือ ปจุ ฉา : วนั กอ่ นพระอาจารยม์ หากรี ตทิ า่ นเทศน์
ปุคคลบัญญัติ ก คือ กถาวัตถุ ย คือ ยมก ป วา่ “เรยี นยากมาก ตอ้ งใชท้ กุ CPU ในสมองเลย
คือ ปัฏฐาน ๗ หมวดด้วยกัน เช่น ธัมมสังคณี ท่ีจะเรยี นอภิธรรม แลว้ ก็บอกวา่ ไม่แปลกใจเลย
แสดงมาตกิ า คอื หวั ข้อธรรมทเ่ี ป็นสภาวะล้วนๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงเกิดฉัพพรรณรังสีจากการ
ถ้าย่ออภิธรรมให้เห็นภาพรวมง่ายๆ ก็คือพูดถึง
จติ เจตสกิ รปู นพิ พาน ค�ำวา่ จติ คือจติ ใจของ พจิ ารณาธรรมในพระอภธิ รรม” อยากใหอ้ ธบิ าย
คนเรา เจตสิก คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ ค�ำกล่าวของท่านเจ้าค่ะ
สงั ขารขันธ์ รปู คือ รูปขนั ธ์ นพิ พาน คอื ขันธ- วสิ ชั นา : เจรญิ พร ธรรมะทลี่ กึ ซง้ึ ทสี่ ดุ ทยี่ ากทส่ี ดุ
วิมุตติ พระอภิธรรมน้ี พูดถึงเรื่องขันธ์ท้ัง ๕ คือธรรมะในอภิธรรม โดยเฉพาะใน คัมภีร์มหา-
ท่ีเป็นกองทุกข์ การก�ำจัดทุกข์ได้ คือต้องพบ ปัฏฐาน ท่ีท่านเกิดฉัพพรรณรังสี เกิดจากทรง
พระนิพพาน พิจารณาธรรมะหมวดที่ลึกซ้ึงที่สุด ที่เราสวดใน
งานศพ บทสดุ ทา้ ยวา่ “เหตปุ จั จโย อารมั มณปจั จ-
ปจุ ฉา : เอาขนั ธ์ ๕ มาคยุ กนั อยา่ งเดยี วเลยนะคะ โย..” นนั่ คอื “ปจั จยาการ” ปจั จยาการ มี ๒ สว่ น
วิสชั นา : เจรญิ พร ใครอยากจะหลุดพ้น ต้องคยุ ปฏจิ สมปุ บาทกเ็ รยี กวา่ ปจั จยาการ คมั ภรี ม์ หา-
เร่ืองขันธ์ ๕ พ้นจากขันธ์ ๕ จะเกิดขันธวิมุตติ ปฏั ฐาน กเ็ รยี กวา่ ปจั จยาการ แปลวา่ อาการของ
ไปได้อย่างไร อภิธรรมนี้ยาก คนที่ไม่มีบุญบารมี เหตุของปจั จยั ทีเ่ กดิ ขน้ึ ตามสภาวะของมนั ยาก
ฟังไม่รู้เร่ือง ยุคหลังมีพระเถระท่ีท่านอ่านรู้เรื่อง ลึกซึ้ง แต่มีความน่าอัศจรรย์อยู่อย่างหน่ึง คือ
แลว้ สงสารอนชุ นรนุ่ หลงั ทา่ นจงึ ยอ่ เนอื้ หาอภธิ รรม ลาดลึกไปตามล�ำดับ ไม่โกรกชัน ถ้าตั้งใจเรียน
ทจ่ี ะเรยี นใหง้ า่ ยขนึ้ ยอ่ อภธิ รรมทเี่ ปน็ บาลที ยี่ ากๆ ต้ังใจปฏิบตั ิ กส็ ามารถท�ำความเข้าใจได้ คือไมใ่ ช่
ยอ่ ใหเ้ ป็น ๙ ปริจเฉท เรียกวา่ พระอภธิ มั มัตถ- ลึกแบบหยั่งไม่ถึง ไม่เหมือนใจคน หยั่งเท่าไหร่
สังคหะ ๙ ปริจเฉท ก็ไม่ถึง แต่ธรรมะของพระพุทธเจ้า ลึกย่ิงกว่า
ปจุ ฉา : ท่ีวา่ งา่ ยน้ี คือทา่ นยอ่ แล้วหรือเจา้ คะ ใจคน แต่มีความน่าอัศจรรย์ตรงที่สามารถหยั่ง
ถงึ ได้ ธรรมะของพระพทุ ธเจา้ ลกึ โดยเหตุ เรยี กวา่
วสิ ชั นา : ๙ ปรจิ เฉท พดู ถงึ ๒ เรอ่ื งคอื รปู ธรรมกบั ธัมมคัมภีระ ลึกโดยผล เรียกว่า อตั ถคัมภรี ะ ลึก
นามธรรม พดู ถึงสมถะและวิปัสสนา อะไรคอื รปู โดยการรู้แจ้งแทงตลอด เรียกว่า ปฏิเวธคัมภีระ
อะไรคอื นาม รปู แตล่ ะตวั ทำ� หนา้ ทอ่ี ะไร นามแตล่ ะ ลกึ โดยการแสดง เรยี กว่า เทศนาคัมภีระ ลกึ โดย
ตัวท�ำหน้าทอ่ี ะไร จติ ก็เป็นนาม เจตสิกกเ็ ปน็ นาม อาการทงั้ ๔ อยา่ ง ลมุ่ ลกึ ขนาดไหน แตม่ คี วามนา่
รปู คอื รปู ธรรม พ้นจากรปู นามขันธ์ ๕ คอื นิพพาน อศั จรรยต์ รงทวี่ า่ สามารถศกึ ษา เรยี นรู้ ตรกึ ตรอง
(ขนั ธวมิ ตุ ต)ิ อภธิ รรม ๙ ปรจิ เฉทภาพรวมเปน็ เรอื่ ง ตามแลว้ กเ็ หน็ สงิ่ ตา่ งๆ ตามสภาวะนนั้ ได้ อนั นค้ี อื
รูปนาม อภิธรรมก็จะอธิบายไว้ชัดเจน คนเรียน ความน่าอศั จรรย์ ๔ ประการ ของพระธรรมวนิ ยั

8 ๓๗

ปจุ ฉา : แลว้ พระไตรปฎิ กของมหายาน ตา่ งจาก
ของเถรวาทอยา่ งไรเจา้ คะ
วิสัชนา : พระไตรปิฎกมหายานมี ๒๐๐ เล่ม
แต่ไม่มีพระอภิธรรมปิฎกเลย มีแต่พระวินัยกับ
พระสตู ร พระวนิ ยั กม็ ไี มม่ าก แตพ่ ระสตู รจะมเี ยอะ
สว่ นพระอภธิ รรมจะไมม่ เี ลย กม็ คี ราวหนงึ่ อาตมา
ได้ไปร่วมประชุมกับองค์ดาไลลามะ ท่านบอกว่า ซึ้งใจ แล้วอยากช่วยเหลือคนอื่น คือมหายานน้ี
“ในฝ่ายมหายานของเรา มีแต่วินัยกับพระสูตร เน้นโพธิสัตว์ ช่วยเหลือผู้อื่น แต่ไม่เน้นเพ่ือการ
มอี ยู่ ๒๐๐ กวา่ เลม่ แต่ไมม่ พี ระอภธิ รรม” ตอนนี้ หลุดพ้น แต่มองฝั่งเถรวาทว่าอยากหลุดพ้น
ทางฝ่ายมหายาน (วัชรยาน) ก�ำลังแปลอภิธรรม คนเดียว เห็นแก่ตัว ไม่อยากช่วยผู้อื่น ของเขา
ไปสูม่ หายาน คอื มหายานยคุ หลงั ๆ เขาประยกุ ต์ ช่วยเหลือคนทั้งโลกหลุดพ้นแล้ว เขาจึงจะ
เพ่ือให้เข้าใจง่ายๆ อะไรที่ยากๆ เขาก็ตัดออกไป หลุดพ้นทีหลัง ความคิดประยุกต์ก็ไปได้เรื่อยๆ
ปรบั เพ่ือให้อยูร่ อดได้ สงั สารวฏั จงึ ยาว

ปุจฉา : แต่ของเถรวาทยึดของเก่า ไม่เปล่ียน ปจุ ฉา : ไกลไปจากหลกั เลย
แปลง ?
วสิ ัชนา : พระพทุ ธเจา้ ตรสั มาอย่างไร เถรวาทก็ วิสชั นา : เจริญพร หลกั หาย มีครงั้ หนง่ึ พระญี่ปุน่
ยึดไว้อยา่ งนัน้ เป็นทางเพอ่ื หลุดพน้ พระมหายาน ท่านก็บอกว่า “ถ้าจะศึกษา
พุทธศาสนาที่แท้ต้องศึกษาเถรวาท” อาตมา
ปจุ ฉา : อยา่ งน้ที างมหายานกเ็ ผยแพรง่ ่ายกวา่ ถามท่านว่าท�ำไมท่านไม่บวชในเถรวาทล่ะ ท่าน
ใช่ไหมเจา้ คะ ตอบวา่ “ออ้ ตอนนเี้ ขา ประยกุ ตไ์ ปไกลมาก เขาอยู่
วสิ ัชนา : เผยแพรง่ ่ายกว่า แตว่ ่าเปลย่ี นจากทอง อยา่ งนัน้ กันจนชนิ ไปแลว้ ”
แทเ้ ปน็ ทองเหลอื ง ทองเก๊ จรงิ อยู่ การประยกุ ตก์ ็
ทำ� ใหค้ นเขา้ ใจงา่ ย เหมอื นกบั อยากจะชมดอกฟา้ ปจุ ฉา : พระพุทธเจ้าเนน้ วา่ ใหม้ พี ระวนิ ัยเปน็
แต่โน้มลงมาติดดิน คือดึงฟ้าให้ต่�ำ ตอนที่จะได้ หลกั กอ่ นทจี่ ะหลอ่ หลอมอะไรออกมาได้ ตอ้ งมี
ชน่ื ชมกก็ ลายเปน็ ดอกดนิ ไมใ่ ช่เปน็ ดอกฟา้ แล้ว ศีล คดิ อยา่ งนั้นก็ไม่ไดห้ ลกั แลว้ สเิ จา้ คะ
วิสชั นา : เจรญิ พร เขาถอื ศีลกินเจ ศีลทจ่ี ะถือมี
ปุจฉา : เร่ืองศีลเร่ืองวินัย ในมหายานก็ไม่ ไมก่ ข่ี อ้ ศลี เพอ่ื หลดุ พน้ ศลี ทบี่ ญั ญตั กิ นั ขนึ้ มาใหม่
เครง่ ครดั เหมอื นของเถรวาทใช่ไหมเจา้ คะ เชน่ ไม่ทานเนือ้ สตั ว์ ทานแต่มงั สวริ ัติ อะไรต่างๆ
วิสัชนา : เจริญพร เขาประยกุ ตเ์ พือ่ ให้อยู่ได้ สรุ า คือไปเอาศีลแบบที่พระเทวทัตน�ำเสนอ ศีลแบบ
ก็ด่มื ได้ อาหารเย็นกท็ านได้ สดุ ท้ายภรรยาก็มีได้ สุดโต่ง ไม่ใชอ่ ย่างที่พระพุทธเจา้ ตอ้ งการ

เพ่ือให้อยู่ได้ แต่ว่าการอยู่ได้นี้ ศีลก็ไม่ได้ใส่ใจ ปุจฉา : เข้าใจแล้วเจ้าค่ะ แล้วยุคปัจจุบันนี้
สมาธิใส่ใจพอประมาณ วิปัสสนาปัญญาก็ไม่ได้ พระไตรปฎิ กแปลกนั ไปกภี่ าษาแลว้ ใชฉ้ บบั ไหน
ใส่ใจ เน้นไปทางปรัชญา ค�ำคม ท่ีฟังแล้วกินใจ เปน็ มาตรฐานหรอื เปน็ หลกั ทใ่ี ชอ้ า้ งองิ กนั เจา้ คะ

๓๗ 9

วิสัชนา : ตอนน้ีเรายึดฉบับ “ฉัฏฐสังคายนา” ปุจฉา : โอโ้ ฮ้ นานจรงิ ๆ เจ้าคะ่ พระอาจารย์
เป็นหลัก แต่จะแปลเป็นหลายภาษา ทั้งภาษา ไปอยู่เมอื งอะไรบ้างนะเจา้ คะ
สงิ หล ไทย พมา่ ลาว เขมร โรมนั เยอรมนั องั กฤษ วสิ ชั นา : อยู่เมอื งอมรปรุ ะ อยู่รา่ งก้งุ อยู่หลาย
รสั เซยี มองโกเลยี ฯลฯ สงั คายนาครง้ั ที่ ๖ กเ็ กอื บ เมือง แต่อมรปุระอยู่นาน ท่ีนั่นมีชาวต่างชาติ
๗๐ ปแี ล้ว (พ.ศ. ๒๔๙๘) เอาอนั น้เี ป็นหลกั เปน็ คืออาตมารูปเดียว ๓ องค์ท่ีเหลืออยู่ร่างกุ้ง อยู่
มาตรฐานรว่ มกนั เพราะไมใ่ ชพ่ ระพมา่ ทำ� ประเทศ องค์ละวัดๆ แล้วก็เรียนตามหลักสูตรของเขา
เดียว พระไทยก็ส่งตัวแทนไปร่วม พระเขมร และสามารถสอบหลักสูตรของเขาได้ ปีแรกที่ไป
พระลาว พระลงั กา พระเถรวาท ๕ ประเทศ สง่ ตวั กส็ อบหลกั สูตรของเขาผา่ น ตดิ อนั ดับ ๑ , ๒ , ๓
แทนประเทศไปร่วม ครบทั้งหมดเลย จาก ๗๐ องค์ เนื่องจากว่าเคยเรียนพ้ืนฐานจาก

ปุจฉา : เปน็ ฉบับนานาชาติจริงๆ อยากใหพ้ ระ เมืองไทยไปแล้ว พอไปที่โน่นก็เลยเข้าใจได้ง่าย
อาจารย์เล่าถึงความประทับใจต้ังแต่เร่ิมศึกษา จึงติดอันดับต้น เรียนไปด้วย ปฏิบัติไปด้วย ใช้
พระไตรปิฎกเจา้ คะ่ เวลาทง้ั หมด ๑๒ ปี จบธมั มาจริยะ และได้เรียน
วสิ ชั นา : ไดศ้ กึ ษาตงั้ แตป่ ี ๒๕๒๗ ตอนนน้ั ไดเ้ รยี น กรรมฐานดว้ ยพอสมควร

นักธรรมจบแล้ว ไปเรียนอภิธรรมจบมัชฌิมตรี ปจุ ฉา : สาธเุ จา้ คะ่ เรยี นจบมาแลว้ พระอาจารย์
ถึงได้ไปเรียนบาลีใหญ่ท่ีวัดท่ามะโอ ต้ังแต่ปี กลบั มาพฒั นาการศกึ ษาสงฆใ์ นเมอื งไทย เรม่ิ ตน้
๒๕๒๕ เรียนได้ ๓ ปี จึงได้เรียนพระไตรปิฎก มาสอนท่วี ดั จากแดงนเี้ ลยหรือเปลา่ เจ้าคะ
แต่พอเรียนไปแล้วได้เห็นความลึกซ้ึงของพระ วิสัชนา : กลับมาทว่ี ดั มหาธาตุฯ ก่อน แลว้ ก็เปดิ
ไตรปฎิ ก เหน็ วา่ ครบู าอาจารยบ์ า้ นเราไมเ่ พยี งพอ การเรยี นการสอนทวี่ ัดมหาธาตุฯ หลายปี ทเ่ี รยี น
จึงอยากจะเรียนให้มากกว่านี้ ทราบว่าทางพม่า ท่ีสอนล้น ไม่มีที่จะน่ังเรียน ไม่มีที่จะใช้สอย
ยงั มสี อนอยู่ จงึ ตดั สนิ ใจไปเรยี นตอ่ ทป่ี ระเทศพมา่ อาตมาจึงมองดวู า่ ท่ีวัดมหาธาตุฯ คับแคบ เลยไป
ตอนนั้น สอบบาลีใหญ่ของวัดท่ามะโอผ่าน ดูพน้ื ที่หลายๆ แห่ง ดูวัดจากแดง ตอนน้นั ยังไม่มี
สอบเปรยี ญธรรม ๓ ประโยคกผ็ า่ น แลว้ กอ็ ยเู่ มอื ง การเรยี นการสอนอะไรมาก จงึ ตกลงเขา้ มาพฒั นา
ไทยน่สี อบเปรยี ญ ๕ ผา่ นแลว้ บาลีใหญผ่ ่านแล้ว จัดการเรียนการสอน เจ้าอาวาสท่านก็เห็นด้วย
ก็ไปเรียนพม่า ก่อนจะไปเรียนพม่า ก็ต้องเรียน จึงเร่ิมมาพัฒนา หลักสูตรก็มาท�ำกันใหม่เลย มี
ภาษาพม่า อ่านออกเขียนได้หมดแล้ว ก่อนไปก็ พระเณรเรยี นชว่ งแรกแค่ ๑๐ กว่ารปู
มาอยู่วัดมหาธาตุฯ มาเรียนภาษาพม่าเพิ่มเติม
ท�ำพาสปอร์ต ท�ำวีซ่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ ปจุ ฉา : มาเรมิ่ ท�ำทวี่ ดั จากแดง ปพี .ศ.ไหนเจา้ คะ
(อาจ อาสโภ) ส่งไป ๔ รูป ตอนน้ันส่งไปให้ไป วสิ ชั นา : ปี ๒๕๔๘ ลองมาเปิดสอน สอนไปสอน
ศึกษาพระไตรปิฎก ชื่อโครงการ “พระใจสิงห์” มา เห็นว่า ผ่านได้ พอปี ๒๕๕๐ พระน้องชาย
ไปเรยี นมาอยา่ งยากล�ำบาก ตอ้ งรู้จริง ตัง้ ใจเรียน มาชว่ ย (พระอาจารยต์ ว่ น -พระมหาธติ พิ งศ์อตุ ตฺ ม-
จริง ต้องมีพน้ื ฐาน จงึ จะเรยี นไหว เตรยี มตั้งแตป่ ี ปญฺโญฺ) ก็ดีขึ้น แรกๆ มา ทุกอย่างยังไม่พร้อม
๒๕๒๙ แลว้ แตไ่ ดเ้ ดนิ ทางไปจรงิ ๆ กต็ น้ ปี ๒๕๓๐ ท้งั โตะ๊ ทัง้ เกา้ อี้ ทง้ั ห้องเรียน อะไรทกุ อย่าง พอปี
อาตมาไปเรยี นอยูท่ น่ี นั่ นาน ๑๒ ปี สองปผี า่ นไป เรมิ่ มคี วามเปน็ ไปได้ อาตมาทงั้ สอน

10 ๓๗

ท้ังเผยแผ่ ท�ำให้มีคนศรัทธามาช่วยงานเพิ่มขึ้น คือพระสูตรเหล่าน้ีเราเคยได้ยินพระสวด
จริงๆ พ.ศ. ๒๕๕๐ เรมิ่ มีการสอบกันแลว้ แตใ่ ช้ แตเ่ ราไมไ่ ดศ้ ึกษาความหมาย แตพ่ อเรามาศึกษา
ชอ่ื ของวดั อน่ื ส่งสอบ ๒ ปแี รก เรายังไมเ่ ป็นส�ำนกั ความหมาย กจ็ ะเข้าใจ เอาพระสูตรทง่ี า่ ยๆ และ
เรียน พอปีท่ี ๓ ส่งสอบในชื่อของส�ำนักเรียน เก่ียวกับชีวิตของเรามาศึกษาก่อน พอศึกษา
วดั จากแดง คนกร็ ู้จกั กนั มากขึน้ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๓ เขา้ ใจแลว้ ไปอา่ นธรรมบท ไปอา่ นชาดก หรอื เปต-
เป็นต้นมา และพฒั นาข้ึนมาเรื่อยๆ วตั ถุ วมิ านวตั ถุ อา่ นตรงนแี้ ลว้ จะเกดิ กมั มสั สกตา-
ปุจฉา : สาธุเจ้าค่ะ ประชาชนทั่วไป มีความ สัมมาทิฏฐิขึ้น เข้าใจบาปบุญคุณโทษ ก็อยู่ใน
จ�ำเปน็ แคไ่ หน ทคี่ วรจะศกึ ษาพระไตรปฎิ ก แลว้ ขุททกนิกายนี้เเหละ หลังจากน้ัน ก็อ่านธรรมะ
จะเร่มิ ตน้ และมวี ธิ ีการศึกษาอยา่ งไรเจา้ คะ ประกอบด้วย เช่น ธรรมบท ธรรมบทพระบาลี
วิสัชนา : ญาติโยมก็ควรศึกษาพระอภิธรรมทั้ง ธรรมบทอรรถกถา ถ้ามีพื้นฐานของอภิธัมมัตถ-
๙ ปรจิ เฉท ใหเ้ ขา้ ใจ สอบไมส่ อบไมใ่ ชเ่ รอ่ื งสำ� คญั สงั คหะ ๙ ปรจิ เฉทดว้ ย อ่านแลว้ ก็จะมีอรรถรส
เรียนพระอภิธรรม ๙ ปรจิ เฉท พอเข้าใจเสรจ็ แลว้ มากเลย เจริญพร
ไปเอาพระไตรปิฎกมาอ่านพระสูตร จะเข้าใจ
กระจา่ งชดั ยงิ่ ขนึ้ คอื จะเหน็ ความลกึ ซง้ึ ของพระ ปจุ ฉา : ญาติโยมทีไ่ ม่ไดเ้ รียนบาลี ถ้าตอ้ งอ่าน
สูตรเม่ือได้เรียนพระอภิธรรม จะเห็นตัวอย่าง ฉบบั ภาษาไทย คงมหี ลายฉบบั เขามพี ฒั นาการ
ประกอบชัดเจนของพระอภิธรรมเม่ือได้เรียน มาอยา่ งไร แลว้ จะเอาฉบบั ไหนเปน็ หลกั ดเี จา้ คะ
พระสตู ร พระสูตรกบั พระอภิธรรมจึงตอ้ งเช่ือม วิสัชนา : สมัยก่อนโน้นมีแต่ฉบับหลวง ซ่ึงเดิม
ถงึ กนั เรยี นพระอภธิ รรมกเ็ หมอื นกบั เรยี นเนอื้ หา พิมพด์ ว้ ยอกั ษรขอมนะ ไม่มีภาษาไทยด้วย คนที่
สาระลว้ นๆ ไม่เห็นตัวอยา่ งประกอบ จึงตอ้ งเรยี น อ่านขอมไม่ออกก็จะไม่รู้เร่ือง ตอนหลังก็เปลี่ยน
ประกอบกนั “พระอภธิ รรมเปน็ grammar เปน็ จากอักษรขอมเป็นอักษรไทย ฉบับไทยของ ร.๕
ไวยากรณ์ของพระไตรปิฎก ส่วนพระสูตรเป็น จปร. มีท้งั บาลี มที ั้งคำ� แปล อนั นีค้ ือฉบับเกา่ แก่
usage คอื สอนวิธกี ารใช้” หลังจากนั้น ก็มีการพัฒนาการแปลมาเร่ือยๆ
เรยี นพระอภธิ รรมพอรพู้ นื้ ฐานแลว้ หยบิ พระ จนกระท่ังมาถึงยุคที่อ่านง่ายๆ โดยมหาจุฬาฯ
สูตรมาอ่าน เร่ิมจากพระสูตรงา่ ยๆ ขุททกนิกาย มาจัดท�ำ เป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพฯ ทรง
ขุททกปาฐะ สิ่งแรกจะพูดถึงเรื่องไตรสรณคมน์ เป็นองค์ประธาน ทรงเรยี นคณะสงฆ์วา่ พระไตร-
ท�ำไมต้องนะโมสามจบ ศีล ๕ คืออะไร มีองค์ ปิฎกที่แปลไปแล้วน้ัน อ่านไม่เข้าใจ จับประเด็น
ประกอบอยา่ งไร มอี านสิ งส์อยา่ งไร พอหลังจาก ไมไ่ ด้ ขอใหม้ กี ารแปลแบบยอ่ และแปลแบบเต็ม
นั้นก็เข้าไปสู่กรรมฐานเบ้ืองต้น คืออาการ ๓๒ คอื จับประเดน็ ให้ได้ และใชภ้ าษาสมยั ใหม่ ตอนนี้
หลังจากนั้นก็ไปดูอานาปานสติกรรมฐาน กุมาร ก็ถือว่าการแปลฉบับนี้ ก็เป็นภาษาท่ีอ่านเข้าใจ
ปัญหา หลังจากนั้นก็เข้าไปสู่เมตตสูตร หลังจาก ง่ายทส่ี ดุ ทนั สมยั ทีส่ ดุ
น้ันก็เข้าไปดูมงคลสูตร หลังจากนั้นก็เข้าไปดู ปจุ ฉา : พระไตรปฎิ กฉบบั ของมหาจฬุ าฯ ใชไ่ หม
ตโิ รกุฑฑสูตร เป็นต้น คือจากงา่ ยไปยาก เจ้าคะ

๓๗ 11

วิสัชนา : เจริญพร ของมหาจุฬาฯ เขาท�ำอยู่ ธรรมบทท่ีเราเรียนอยู่ก็จะเป็นประโยชน์ครบ
หลายปี และเป็นโครงการที่ทางหลวง (สมเด็จ เราเรียนแค่ภาษา เรียนแปล เรียนไวยากรณ์
พระเทพฯ) ไดเ้ ขา้ มาสนบั สนนุ แลว้ ขอใหใ้ ชค้ ำ� แปล เรียนสัมพันธ์ แต่ส่วนธรรมะก็ดี ตัวองค์ธรรมก็ดี
ทอี่ า่ นเขา้ ใจงา่ ย แตก่ อ่ นหนา้ นก้ี ม็ ฉี บบั อน่ื อยา่ งเชน่ การใช้ไปเทศน์ไปสอน ใช้บรรยาย ใช้กรรมฐาน
ฉบบั มหามกฏุ ฯ, ของ ส.ธรรมภกั ดี เปน็ ตน้ ก็ดี ส่วนนี้เรายังไม่ได้เรียน ดังน้ัน กระบวนการ
เรยี นการสอนจงึ ยังไมค่ รบถว้ น
ปุจฉา : ของมหามกฏุ ฯ เก่ากวา่ นะ แลว้ ท�ำไม เรียนจบแล้วจะให้ไปเทศน์ ต้องไปตั้งหลัก
จงึ มี ๙๐ เลม่ เจ้าคะ เรียนใหม่ เพราะตอนเรียนไม่ได้เข้าใจ เรียนเอา
วิสัชนา : มี ๙๐ เล่ม เพราะมีการแปลพระ แค่สอบแปลผ่าน แต่ถ้าเรียนแล้วเข้าใจ เนื้อหา
อรรถกถาใส่ไปด้วย เนื่องจากมหามกุฏฯ แปล คืออะไร ธรรมะคืออะไร เอาไปใช้ได้อย่างไร ถ้า
แบบส�ำนวนวัด คือแปลยังรักษาสำ� นวนบาลีเอา เรยี นในลักษณะน้เี พม่ิ อีกสัก ๕ - ๖ มุมมอง จาก
ไว้ แล้วใส่อรรถกถา แตอ่ า่ นเขา้ ใจยาก จึงปรารภ เรื่องเดียวก็จะกระจ่างเลย แล้วจะได้ท้ังภาษา
พระธรรมฉบับง่ายๆ มหาจุฬาฯ ก็ทำ� ข้นึ มา แต่ใน ไดท้ ง้ั ธรรมะ ไดท้ ง้ั การเอาไปใชใ้ นชวี ติ จรงิ เจรญิ พร
ช่วงแรกไม่มีอรรถกถา แต่ตอนน้ีอรรถกถาของ ปุจฉา : พระอาจารย์คะ เห็นมีการแบ่งเป็นวัด
มหาจฬุ าฯ ก็มแี ลว้ รวม ๙๐ เล่มเทา่ กนั ปา่ กบั วดั บา้ น และพระวดั ปา่ หลายรปู กส็ นใจมา
เรียนท่สี �ำนักเรยี นของพระอาจารย์ โยมนกึ ถึง
ปุจฉา : ในฐานะท่ีพระอาจารย์ เป็นท้ังครูบา ปริยัติกับปฏิบัติ อย่างวัดป่าเขาก็จะเน้นเร่ือง
อาจารย์ และเปน็ ก�ำลงั ส�ำคญั ในการพฒั นาการ ปฏิบัติ เขาไม่เอาปริยัติ ของวัดบ้าน เราเน้น
ศึกษาของพระสงฆ์ในเมืองไทยในยุคปัจจุบัน ปรยิ ัติ แล้วปฏิบัติ เราเนน้ ดว้ ยหรือเปลา่ เจ้าคะ
ในความเหน็ ของทา่ น ระบบการศกึ ษาในปจั จบุ นั วิสชั นา : เจริญพร จรงิ ๆ แลว้ คำ� ว่าปฏบิ ตั ิ เราไป
มอี ะไรทตี่ อ้ งปรบั ปรุงพัฒนาบา้ งเจ้าคะ ตคี วามจากเดมิ คอื เขา้ ปา่ เจรญิ กรรมฐานคอื ปฏบิ ตั ิ
วิสัชนา : เจริญพร ตอนนห้ี ลักสูตรของพระสงฆ์ แต่พอมาเรียนแล้ว ค�ำวา่ ปฏบิ ัติ นบั หนึง่ คอื การ
เรา คอื เอาหนงั สอื มาเรยี น หนงั สอื ธรรมบท หนงั สอื เข้าถึงไตรสรณคมน์ เข้าถึงไตรสรณคมน์ถูกต้อง
พระอภิธรรม หนังสอื วิสทุ ธมิ รรค หนังสอื ต�ำราที่ ไหม นับสองคือ ศีล จตุปาริสุทธิศีล เราเรียนรู้
เอามาเรยี นกถ็ กู ตอ้ งสมบรู ณ์ แตว่ ธิ กี ารเรยี นยงั ไม่
ครบถ้วน ยงั ไม่สมบรู ณ์ คอื การเรียนแค่ ๒ - ๓ มมุ
เชน่ ธรรมบท เราเรยี นแปลบาลเี ปน็ ไทย แปลไทย
กลับไปเป็นบาลี วิชาสัมพันธ์ ก็จะเรียนสามมุม
เรยี นไวยากรณ์ เรยี นแปล และเรยี นสัมพนั ธ์
แต่ถ้าเราเพ่ิมเติมมุมมอง เนื้อหาสาระ เพ่ือ
ประยกุ ตว์ า่ จะเอาไปเทศน์ เอาไปสอน เอาไปใชไ้ ด้
อย่างไร และอาศัยท้ังหมดนี้ ฝึกอ่าน ฝึกสวด
ฝึกพูดบาลี ได้อย่างไร ถ้าเพิ่มมุมมองน้ีเข้าไปอีก

12 ๓๗

และปฏบิ ตั ติ ามไดไ้ หม นบั สาม ถา้ เปน็ ของโยมคอื มีอะไรฝากท่านผู้อ่านเกี่ยวกับเร่ืองการศึกษา
กศุ ลกรรมบถ ๑๐ ถา้ เปน็ ของพระกค็ อื ธดุ งค์ ๑๓ พระไตรปิฎกบา้ งเจา้ คะ
เราเรยี นรู้และปฏบิ ัติไดไ้ หม นบั ส่ี ของการปฏิบัติ วิสัชนา : ในส่วนของพระไตรปิฎก ถ้ามีโอกาส
กค็ อื สมถกรรมฐาน ๔๐ นับห้า ของการปฏบิ ัติ สรา้ งศรัทธาใหก้ บั ตนเอง ลองอ่านท�ำความเข้าใจ
คือ วปิ ัสสนากรรมฐาน สักเล่มหน่ึง เลือกเอาเล่มที่อ่านท�ำความเข้าใจ
เพราะฉะนั้นค�ำวา่ ปฏิบัติ ๑. ไตรสรณคมน์ งา่ ยมาน่งั สวดสาธยายดู สวดสาธยายแลว้ สิ่งแรก
๒. ศลี ๓. ธุดงค์ ๔. สมถะ ๕. วิปัสสนา บันได ๕ ทจ่ี ะเกดิ คอื ศรทั ธา ปตี กิ จ็ ะเกดิ หลายคนทอี่ าตมา
ขัน้ ของการปฎิบัติ ๑ - ๒ - ๓ - ๔ - ๕ ถา้ เข้าใจ แนะไป พออา่ นจบ ๒ เล่มแล้ว เลม่ ท่ี ๓ เล่มที่ ๔
นยิ ามของคำ� วา่ ปฏิบตั ิ กจ็ ะเขา้ ใจวดั จากแดง เขาอ่านต่อเองเลย ศรัทธาเกิด ปัญญาเกิด หา
วัดจากแดงไม่ใช่กรรมฐานอย่างเดียว หรือ เล่มที่อ่านงา่ ยๆ เข้าใจง่าย สละเวลาอ่าน ใช้การ
กรรมฐานล้วนๆ ไม่ใช่เรียนแล้วไม่ปรับมาใช้เลย อ่านก็ได้ อาจจะสาธยายก็ได้ อา่ นก็คืออา่ นในใจ
พอเรียนเสร็จแล้ว ชวนญาติโยมให้เข้าถึงไตร- สาธยายกค็ อื อา่ นออกเสยี ง
สรณคมน์ แล้วรณรงค์ให้รักษาศีล ต้ังอยู่ในศีล
จากนั้นองค์ไหนเจริญธุดงค์ไหว ปฏิบัติธุดงค์ได้ ปจุ ฉา : ขอวธิ กี ารวางใจ ในการอา่ นพระไตรปฎิ ก
กี่ขอ้ กส็ มาทานธดุ งค์ แต่มากกวา่ น้นั องค์ไหนท�ำ ส�ำหรบั ญาติโยมด้วยเจ้าคะ่
สมถะได้ก็นิมนต์เข้าคอร์สปฏิบัติสมถกรรมฐาน วสิ ชั นา : ทำ� ใจโดยคดิ วา่ ไดอ้ า่ นพระไตรปฎิ กคอื
สงู สดุ หากองคไ์ หนมเี วลาเจรญิ วปิ สั สนากรรมฐาน ไดเ้ ข้าเฝ้าพระพุทธเจา้ เป็นภาษาที่พระพทุ ธเจา้
ก็ลงมือปฏิบัตวิ ปิ สั สนากรรมฐาน ตรัส ชว่ งแรกอาจจะแปลกๆ จะเขา้ ใจยาก แตพ่ อ
ส�ำหรับวัดจากแดง ค�ำว่าปฏิบัติ คือความ อ่านไปสักพักเร่ิมชินแล้ว พระพุทธองค์ตรัสเป็น
หมาย ๕ อย่าง และบันได ๕ ขัน้ ของการปฏบิ ตั ิ ภาษาอยา่ งนี้ๆ ไดธ้ รรมะอยา่ งนๆ้ี จะเกดิ ศรัทธา
เอามาเสนอครบหมด ท้ังพระสายป่าสายบ้าน เกิดสมาธิ แล้วปัญญาก็จะเกิดข้นึ ตามลำ� ดบั

ฟังแล้วเข้าใจ พอเข้าใจแล้ว อยากจะเรียนรู้และ ปจุ ฉา : ที่พระอาจารยบ์ อกใหอ้ า่ น ๒ - ๓ เลม่
เอาไปใช้จรงิ ๆ ตัง้ แต่การเข้าถงึ ไตรสรณคมน์ ศลี เลม่ ไหนกอ่ นดเี จา้ คะ
จริงอยู่พระป่าหลายองค์ก็เทศน์ไตรสรณคมน์
บันไดข้ันท่หี น่งึ ของการปฏิบตั ิ แต่การแสดงไตร- วสิ ชั นา : อา่ น ขทุ ทกนกิ าย กแ็ ลว้ กนั แลว้ กไ็ ปท่ี
สรณคมนอ์ ยา่ งละเอยี ดสมบรู ณ์ ตอ้ งทวี่ ดั จากแดง วิมานวัตถุ แลว้ ก็ไปท่ี เปตวัตถุ แลว้ กไ็ ป ชาดก
นำ� มหาไตรสรณคมน์อย่างละเอยี ดมาสอน นำ� มา แลว้ กไ็ ป พทุ ธวงศ์ หลงั จากนน้ั กไ็ ปเลอื กอา่ นตาม
สวด มาสาธยาย ชดั เจนในแงข่ องปรยิ ตั ิ ชดั เจนใน ท่ีตนเองอยากอ่าน เอาพื้นฐานเล่มที่ง่ายท่ีสุด
แง่ของปฏิบัติ ชดั เจนในแงข่ องค�ำสอน เจริญพร ธรรมะที่ง่ายอ่านแล้วเข้าใจเลย เอาเรื่องน้ัน เอา
เลม่ นั้น เจริญพร
ปุจฉา : ขออนุโมทนาทุกท่านท่ีเข้ามาศึกษาที่
ส�ำนักวัดจากแดงเจา้ คะ่ สุดท้ายนี้ พระอาจารย์ ปจุ ฉา : สาธเุ จา้ คะ่ เดย๋ี วถา้ อา่ นแลว้ สงสยั อะไร
กม็ าถามที่วดั จากแดงได้เลย มีผู้รู้เยอะมาก
วิสัชนา : เจรญิ พร

๓๗ 13

ธรรมปริทัศน์

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยตุ ฺโต)

รูจ้ กั บ้านของตัว

เท่ียวทว่ั

พระไตรปิฏก



เวลามาก หนักหน่อย ถ้าองค์ไหนมีธุระ อยู่ไกล
จำ� เป็น กต็ อ้ งนมิ นต์ไปก่อน
ทีนี้ เรื่องอะไรทอี่ ยากจะพดู ซ่งึ เป็นเร่อื งยาก
เกรน่ิ น�ำ กอ่ นจะแสดงเรอื่ งนี้ เจา้ ประคณุ หน่อย แต่ให้มีผลเป็นการกระท�ำ ก็คือพวกเรานี่
สมเด็จฯ ได้เล่าถึงอาการอาพาธ ท่ียังรบกวน โดยเฉพาะพระ ท่เี ราอยูก่ นั นี้ ก็รูก้ ันดวี า่ เราอย่ใู น
สงั ขารอยู่ แตเ่ หน็ ว่า จ�ำเปน็ ต้องพดู ก่อนทีจ่ ะพดู พระธรรมวนิ ยั
ไม่ไหว จึงไดแ้ สดงเรือ่ งนี้ เรารูก้ นั อยู่ว่า ธรรมวนิ ัยนเี้ ปน็ ที่รองรับ เปน็
ท่ีเกดิ ของเรา เราทงั้ หมดเกิดจากพระวนิ ยั เราอยู่
เรมิ่ เร่อื ง – ขอเขา้ ชมบา้ น ในธรรม ธรรมวนิ ยั เรยี กวา่ เปน็ บา้ นของเรา หรอื

เอาละ เมอื่ เปน็ อยา่ งนี้ แตเ่ รอ่ื งทอี่ ยากจะคยุ เปน็ กุฏิทจ่ี �ำวดั ของเรา
อยากจะเลา่ อยากจะบอก มเี ยอะ โอกาสจงึ เหลอื เม่ือเป็นบ้านของเรา เราก็ต้องรู้จักบ้านของ
น้อย เม่ือโอกาสมีน้อย จะท�ำอย่างไรดี การท่ีได้ ตัว คนอยู่บา้ นแล้วไม่รู้จักบา้ นของตน คงไม่ดแี น่
พูดเร่ืองอะไรต่างๆ กันมานั้น พูดแล้วก็ผ่านไปๆ อยา่ งนอ้ ยกค็ วรรวู้ า่ มอี ะไรอยตู่ รงไหนในบา้ น และ
คราวนก้ี ็เลยคิดวา่ เม่อื มีโอกาสนอ้ ย จงึ อยากจะ รวู้ ่าอะไรเป็นอะไร แคน่ ้นั กย็ งั ดี
พูดเรื่องท่ีออกผลเป็นการกระท�ำ ส�ำหรับพระท่ี ถา้ ดกี วา่ นน้ั กร็ วู้ า่ ออ๋ ของชนิ้ นี้ ทอ่ี ยตู่ รงนี้ ที่
ฟงั นี้ จะขอให้เอาไปทำ� จริงๆ คราวน้ไี มใ่ ชพ่ ูดแค่ อยู่บนนนั้ นะ่ มนั คอื อะไร มันเป็นอย่างไร สำ� หรับ
ใหร้ ู้ แตอ่ ยากให้ท�ำ ใช้งานอะไร แต่ยังใช้ไม่เป็น ทีน้ี ถ้าเก่งกว่าน้ันก็
เพราะฉะน้นั วันนี้ ขอพดู เร่ืองที่อาจจะไม่นา่ คอื มีความรู้ มคี วามช�ำนาญ รลู้ ึกซ้งึ ละเอยี ดลออ
ฟัง เป็นเร่ืองทนี่ ่าเบือ่ ยาก และกย็ าวดว้ ย ท้งั คน สามารถเอาของชิ้นนั้นไปใช้งาน ไปท�ำประโยชน์
ฟงั ก็จะเหน่อื ย จะเบอื่ ท้งั คนพดู กต็ ้องทนพูด ใช้ ทัง้ แกต่ นและแก่ผูอ้ ่นื ไดด้ ว้ ย

14 ๓๗

นก่ี เ็ หมอื นกนั บา้ นแหง่ พระธรรมวนิ ยั ของเรา ทใ่ี ชอ้ ธบิ าย มองปราดไปกเ็ หน็ เลยวา่ อะไรอยตู่ รง
วา่ โดยทเ่ี กบ็ รกั ษาไว้ กค็ ือพระไตรปิฎก พระเณร ไหน คมั ภีรน์ ้ันวา่ ด้วยเร่อื งอะไร เราคน้ เรือ่ งอะไร
ที่บวชมาน้ี ที่จริงอย่างน้อยก็ควรต้องรู้จักพระ จะดูทไี่ หน
ไตรปฎิ ก เพราะฉะนนั้ วนั นจี้ งึ อยากพดู เรอื่ งนี้ คอื เรอ่ื ง
แต่บางที ที่เรียนกันไปน้ัน อย่างพระเณรที่ พระไตรปฎิ ก ในฐานะทเ่ี ปน็ บา้ น เปน็ กฏุ ทิ อี่ ยขู่ อง
เรียนบาลีกันมากมาย แม้แต่หนังสือหรือคัมภีร์ เรา ใหร้ ู้จกั ไว้ นกี่ ็ต้องพดู ยาว
ท่ีใช้ เอาไปเรียนและก็ไปสอบ ยังไม่รู้จักเลยว่า การพดู น่กี ็เป็นการทดสอบไปในตัว คอื
หนังสือหรือคัมภีร์นั้นเกี่ยวข้องอย่างไรกับพระ ข้ัน ๑ ทา่ นท่มี ที นุ อยู่ พอพูดใหฟ้ ัง กพ็ อจะ
ไตรปฎิ ก อยตู่ รงไหนของพระไตรปฎิ ก ระลกึ ได้ มองเหน็ ตามไปวา่ ออ้ ! ทกี่ ำ� ลงั พดู น้ี ออ๋ ๆๆ
อยา่ งพระเณรทเ่ี รยี นประโยค ๓ ใชอ้ รรถกถา เห็นภาพตามไป
ธรรมบทนน้ั ธรรมบทอยู่ตรงไหนในพระไตรปฎิ ก ขน้ั ๒ รองลงไป ผูท้ ี่ไมร่ ู้ มองไม่เหน็ ว่าอะไร
หลายองค์ไม่รู้หรอก พอไปเรียนประโยค ๔ อยู่ท่ีไหน แต่พอฟงั เข้าใจ จับความได้
มงั คลตั ถทปี นี อาจารยว์ า่ อยา่ งไร กแ็ ปลไปตามนน้ั ข้ัน ๓ ผู้ท่ีฟังไม่รู้เร่ือง บ่นว่ายากๆ น่าเบ่ือ
ไม่รู้วา่ มงั คลตั ถทปี นีทอี่ ธบิ ายมงคล ๓๘ ประการ พรา่ สับสน
นั้น มงคล ๓๘ ประการ เป็นอะไร อย่ตู รงไหนใน เอาละ เป็น ๓ ระดับ จากน้นั ก็มาถึงค�ำถาม
พระไตรปฎิ ก ว่า แลว้ จะเอาอย่างไร หมายความว่า เราจะเรยี น
ตอ่ ไป เรยี นสงู ขึน้ อีก ถึงประโยค ๖ ประโยค รู้ จะพยายามฟังให้รู้จักบ้านของตัวเองน้ันไหม
๗ ได้เรียนสมันตปาสาทิกา ให้แปล กแ็ ปลได้ ให้ พดู งา่ ยๆ วา่ จะสไู้ หม บางองคม์ ฉี นั ทะ ชอบ สนใจ
สอบ ก็สอบได้ แต่ก็ไม่รู้อีกน่ันแหละว่าอันน้ีเขา พอใจ ถงึ ยงั ไมร่ ู้ กจ็ ะพยายามรู้ บางองคไ์ มม่ ฉี นั ทะ
เรยี กวา่ เปน็ อรรถกถา ไมร่ วู้ า่ อธบิ ายพระไตรปฎิ ก รสู้ กึ วา่ ยากลำ� บาก นา่ เหนอื่ ย แตม่ วี ริ ยิ ะ ใจสู้ อยา่ ง
ตรงไหน ข้อความในพระไตรปฎิ กทถ่ี กู อธบิ ายนนั้ นกี้ ย็ งั ไหว สว่ นอกี พวกหนงึ่ ทอ้ แท้ เบอ่ื หนา่ ย หมด
วา่ อยา่ งไร ไมร่ เู้ รอ่ื งเลย ไมร่ ทู้ งั้ นนั้ ไปจนถงึ วสิ ทุ ธ-ิ กำ� ลัง กเ็ ปน็ อนั ว่าเลิกกนั ไป
มคั ค์ กระท่ังอภธิ ัมมัตถวิภาวินี ก็ไม่ร้วู ่าตน้ แหลง่ ที่พดู วนั นี้ เปน็ การทดสอบตวั เองดว้ ย ผพู้ ดู
ตน้ ตอ ที่มาทีไ่ ปในพระไตรปฎิ กอย่ตู รงไหน เรยี น เองนี้ ปอดไม่ดี ท้องก็ไม่ดี ลมดันขึ้นไป ท�ำให้
รเู้ ฉพาะคมั ภีร์นน้ั แค่แปลได้เทา่ น้ันเอง สมองต้อื ๆ ท่ือๆ แต่กจ็ ะพดู ไปเรื่อยๆ
เพราะฉะนนั้ จงึ เปน็ ความผดิ พลาดอยา่ งยง่ิ บอกแล้ววา่ ทเี่ กบ็ รกั ษาพระธรรมวินัยไว้ คือ
ใหญ่ พระเณรเรยี นบาลี แคเ่ รยี นภาษาบาลี เรยี น พระไตรปิฎก ซึ่งในประเทศพุทธศาสนาเถรวาท
จบไปแลว้ กล็ อ่ งลอยเลอื่ นลอย ตวั แทต้ วั จรงิ ของ กม็ เี หมอื นๆ กัน เน้อื หนงั สือหรือความในคัมภรี ก์ ็
ท้ังหมด นั้นคอื พระไตรปฎิ ก ไปกันไมถ่ งึ เหมือนกัน แตเ่ วลาจัดชดุ กแ็ ลว้ แต่ประเทศนน้ั ๆ
พระเณรที่บวชกันมาน้ี พอเข้าสู่พระธรรม ซ่งึ จดั ไมค่ ่อยเท่ากนั และเรยี งลำ� ดับไมเ่ หมือนกนั
วินยั ถา้ เอาจรงิ เอาจัง หากว่าอย่นู านๆ เม่ือเรียน สำ� หรบั เมอื งไทยนี้ เราจดั ตามพทุ ธกจิ ๔๕ พรรษา
สงู ขนึ้ ไป เชน่ ถงึ ประโยค ๖ พอพดู ถงึ พระไตรปฎิ ก จึงแบ่งเป็น ๔๕ เล่ม
น่ี ควรต้องรู้หมดแล้ว ตลอดไปถึงคมั ภรี ์เกยี่ วข้อง

๓๗ 15

พระไตรปิฎก ก็คือ ‘ปิฎก ๓’ (ไตร = ๓ + (เรียกแบบชาวบ้านว่าศีล ๒๒๗) ของพระภิกษุ
รวมกนั เรยี กวา่ ปาตโิ มกข์ แตเ่ ปน็ ของภกิ ษุ จงึ เรยี ก
ปิฎก=ตะกร้า คือที่ใส่รวมต�ำราหรือคัมภีร์ไว้, ให้เต็มว่า “ภกิ ขปุ าตโิ มกข”์
ปรยิ ตั )ิ ไดแ้ ก่ คมั ภรี ท์ บี่ รรจพุ ทุ ธพจน์ รวมทงั้ เรอ่ื ง ส่วนสิกขาบทของภิกษุณี วันน้ีไม่ได้สวด
ราวประกอบ ซงึ่ แสดงหลกั พระพทุ ธศาสนา จดั เปน็ เพราะเปน็ เรอ่ื งของภกิ ษณุ ที จี่ ะสวด สกิ ขาบทของ
๓ ปิฎก คือ ภิกษณุ มี ี ๓๑๑ ข้อ กเ็ รยี กวา่ “ภกิ ขุนีปาตโิ มกข”์
๑. วนิ ยั ปิฎก บรรจุวินัยของพระสงฆ์ สิกขาบท ๒๒๗ ของภิกษุ ท่ีเป็นภิกขุ-
๒. สุตตันตปิฎก บรรจุพระธรรมเทศนาของ ปาติโมกข์ และสิกขาบท ๓๑๑ ข้อ ของภิกษุณี
พระพุทธเจ้า ท่เี ป็นภิกขนุ ปี าตโิ มกข์ ก็อยู่ในคัมภีรใ์ หญ่ ท่ีเรยี ก
๓. อภิธรรมปิฎก บรรจธุ รรมที่เปน็ เนือ้ หาแทๆ้ ว่า วภิ ังค์ น้เี อง
(แปลวา่ ธรรมอย่างย่ิง เนื้อธรรมแทๆ้ ไม่เก่ียวกับ ถามวา่ ทำ� ไมจงึ เรยี กชอื่ คมั ภรี ท์ บี่ รรจสุ กิ ขา-
บคุ คลและเหตกุ ารณเ์ ปน็ ตน้ ) นกี่ ค็ อื พระไตรปฎิ ก บท ๒๒๗ ในภกิ ขปุ าติโมกข์ และสิกขาบท ๓๑๑
คอื ๓ ปฎิ ก พดู กนั แบบสบายๆ วา่ พระวนิ ยั – พระ ในภกิ ขุนีปาติโมกข์นัน้ วา่ “วภิ ังค”์
สูตร - พระอภิธรรม ก็ใหเ้ ข้าใจกอ่ นวา่ วภิ ังค์ แปลวา่ แจกความ
ดลู กึ ลงไป ในแบบไทย วนิ ยั ปฎิ ก มี ๘ เล่ม คอื แจกแจงอธบิ ายรายละเอียด
พระสตุ ตนั ตปฎิ ก ทเ่ี รยี กสน้ั ๆ วา่ พระสตู ร ๒๕ เลม่ คมั ภรี ์ “วภิ งั ค”์ นนั้ มใิ ชม่ เี ฉพาะตวั สกิ ขาบท
และ พระอภิธรรมปิฎก ๑๒ เล่ม แตม่ วี ิภังคไ์ วด้ ้วย หมายความวา่ มิใชม่ เี ฉพาะตวั

พระวินยั ปิฎก สิกขาบทท่ีเป็นพระบัญญัติว่า ภิกษุท�ำอย่างนั้น
(วภิ งั ค์ – ขันธกะ – ปรวิ าร) มคี วามผิดอยา่ งน้นั มิใชแ่ ค่นน้ั
ทีน้ีก็มาเรียงล�ำดับ ขอให้ฟังดูซิว่าจะเข้าใจ แตม่ ี วภิ งั ค์ คอื อธบิ ายสกิ ขาบทนนั้ ๆ แจกแจง
ตามทันไหม รายละเอียดไว้ด้วย เริ่มตั้งแต่ต้นบัญญัติที่บอก
หนึง่ วินยั ปิฎก ทว่ี ่า มี ๘ เลม่ น้นั คอื ทจ่ี ริงมี เลา่ วา่ เรื่องราวเป็นมาอยา่ งไร เพราะเหตปุ รารภ
๓ คมั ภีรใ์ หญ่ ได้แก่ วิภังค์ ขันธกะ และ ปรวิ าร อะไร พระพุทธเจ้าจึงได้ทรงบัญญัติสิกขาบทนั้น
แล้วแบ่งซอยจาก ๓ คัมภีร์ คือมีภิกษุรูปนั้นไปท�ำอะไร
ใหญ่นั้นแยกออกไป จึงเป็น ไมด่ ีอย่างนนั้ อยา่ งนี้ ชาวบา้ น
๘ เลม่ มาโพนทะนาว่าบอกแก่พระ
จดั แบง่ อยา่ งไรจึงเปน็ ๘ สงฆ์ พระสงฆ์จึงน�ำเร่ืองมา
เลม่ กม็ าดูเรยี งไปตามล�ำดบั กราบทูล แล้วพระพุทธเจ้า
เรมิ่ ดว้ ย วภิ งั ค์ คอื อะไร ? ก็ทรงให้ประชุมสงฆ์ ตรัส
เมื่อกี้นี้ พระสวดปาติโมกข์ ชแี้ จงตา่ งๆ แลว้ ก็ทรงบัญญัติ
อธบิ ายหนอ่ ยวา่ วนิ ยั ของพระ สิกขาบทน้ันนี้ขึ้นมา โดย
น้ันแยกออกเป็นสิกขาบทแต่ ความเห็นชอบของสงฆ์
ละข้อๆ ทีนี้ สิกขาบท ๒๒๗

16 ๓๗

เมอื่ มตี น้ บญั ญตั มิ า และทรงบญั ญตั สิ กิ ขาบท ท�ำนองเดียวกับของภกิ ษุนั่นเอง แต่สกิ ขาบทของ
เสรจ็ มตี วั สกิ ขาบทออกมาแลว้ ทนี กี้ ต็ อ้ งแจกแจง ภิกษุณีจ�ำนวนมากก็ซ้�ำกับของภิกษุท่ีมีมาก่อน
อธิบายความกันละ เริ่มต้ังแต่ให้ค�ำจ�ำกัดความ (พระบญั ญตั ขิ อ้ ไหนทไ่ี มจ่ ำ� เพาะเพศ กใ็ หใ้ ชแ้ กท่ งั้
ของคำ� ตา่ งๆ ในสกิ ขาบทนน้ั เชน่ วา่ “ภกิ ข/ุ ภกิ ษ”ุ สองฝา่ ย) ขอ้ ไหนสว่ นใดซ�้ำกบั ของภกิ ษุ กไ็ มต่ อ้ ง
หมายถงึ ใคร ฯลฯ แล้วก็ชีแ้ จงรายละเอียดต่างๆ แจงความอีก ดังน้ันท้ังที่ของภิกษุณีมี ๓๑๑ ข้อ
คัมภีร์ที่มีวิภังค์ คือมีเร่ืองราวของการบัญญัติ กจ็ งึ กลายเปน็ เลม่ เลก็ ๆ (ภกิ ขนุ วี ภิ งั ค)์ จดั เปน็ วนิ ยั
สกิ ขาบท และการแจกแจงอธบิ ายรายละเอยี ดไป ปฎิ กเลม่ ที่ ๓ กเ็ ป็นอนั จบวิภงั ค์ (รวมมี ๓ เลม่ )
ด้วย อยา่ งน้แี หละ ทา่ นเรียกวา่ “วิภงั ค”์ จึงมที ั้ง แต่วินัยพระยังไม่จบนะ ที่ว่ามาในวิภังค์น้ัน
วิภงั คฝ์ า่ ยภิกษุ และวภิ งั คฝ์ ่ายภิกษุณี ของภกิ ษมุ ี ๒๒๗ ขอ้ และของภิกษุณมี ี ๓๑๑ ขอ้
วภิ ังคแ์ รก เปน็ การแจกแจงอธบิ ายสกิ ขาบท เป็นสิกขาบทในปาติโมกข์ แต่ยังมีสิกขาบทท่ีมา
๒๒๗ ของพระภิกษุ เป็นคัมภรี ใ์ หญ่ ยืดยาวมาก นอกปาตโิ มกขอ์ ีกมากมาย เปน็ พันๆ ข้อ
จึงเรียกว่า มหาวิภังค์ แต่เมื่อเป็นเร่ืองของภิกษุ พระไมใ่ ชม่ ศี ลี แคน่ ี้ วนิ ยั พระไมใ่ ชแ่ คส่ กิ ขาบท
บางทีกเ็ รยี กงา่ ยๆ วา่ ภกิ ขุวภิ งั ค์ ๒๒๗ (และ ๓๑๑) ในปาติโมกข์ ตามที่แจงความ
บอกแลว้ ว่า มหาวภิ งั ค์ หรอื ภิกขุวิภงั ค์ นี้ ไวใ้ นคมั ภรี ว์ ภิ งั คเ์ ทา่ นน้ั ยงั มอี กี มากนกั สกิ ขาบท
ยดื ยาวใหญโ่ ตมาก กเ็ ลยตอ้ งแบง่ เปน็ ๒ เลม่ และ ๒๒๗ ในปาติโมกข์นั้น เป็นวินัยประจ�ำตัวส่วน
ขนาดวา่ เลม่ ใหญๆ่ แลว้ เลม่ ที่ ๑ กจ็ บไดแ้ คอ่ นยิ ต เบอ้ื งตน้ อนั เปน็ พนื้ ฐานของชวี ติ พรหมจรรย์ (เรยี ก
เทา่ นน้ั เอง จากนน้ั กต็ อ่ ไปเลม่ ท่ี ๒ วา่ ดว้ ยอาบตั ทิ ี่ วา่ เปน็ อาทพิ รหมจรรย)์ แตน่ อกเหนอื จากนนั้ ยงั
เบาหนอ่ ย เรมิ่ ตงั้ แตน่ สิ สคั คยิ ปาจติ ตยี ์ วา่ ไปเรอ่ื ย มีบรรดาสิกขาบทนอกปาติโมกข์ ท่ีจะก�ำกับบ้าง
จนกระทงั่ จบอธกิ รณสมถะ กจ็ งึ จบมหาวภิ งั คเ์ ลม่ เสริมบ้าง ให้พระสงฆ์มีหน้าที่ มีขนบธรรมเนียม
๒ น่ีคือวิภังคข์ องพระภกิ ษุ ๒ เลม่ จบแล้ว มลี กั ษณะความเปน็ อยทู่ ดี่ งี ามประณตี เออ้ื ตอ่ การ
ตอ่ ไปกถ็ งึ วภิ งั คข์ องภกิ ษณุ ี คอื วา่ ดว้ ยสกิ ขา- ด�ำเนินชีวิต และการปฏิบัติกิจหน้าท่ีให้สัมฤทธิ์
บท ๓๑๑ ข้อ ของภิกษุณี ก็ด�ำเนินความว่าไป ความมุ่งหมายแห่งระบบชีวิตของสังฆะ (เรียกว่า
เปน็ อภสิ มาจาร)
สิกขาบทนอกปาติโมกข์นั้น มีวิธีจัดพวก
จัดหมู่ต่างออกไป ไม่เป็นแบบวิภังค์ แต่จัดเป็น
“ขนั ธกะ” ซึง่ แปลงา่ ยๆ ว่าหมวดน่นั เอง เชน่ ว่า
วนิ ยั ตอนนม้ี สี กิ ขาบทเปน็ ขอ้ บญั ญตั เิ กยี่ วกบั เรอ่ื ง
อุโบสถว่า เร่ืองเป็นมาอย่างน้ีๆ จึงทรงบัญญัติ
ให้พระสงฆ์ท�ำอุโบสถ และในการท�ำอุโบสถน้ัน
จะต้องปฏิบัติอย่างไรๆ จนจบเรื่อง รวมเรียกว่า
อุโบสถขันธกะ คือขันธกะหรือหมวดท่ีว่าด้วย
อุโบสถ

๓๗ 17

ในทำ� นองเดยี วกนั พทุ ธบญั ญตั แิ ละเรอื่ งราว กฐินขนั ธกะ มี จวี รขนั ธกะ มีขนั ธกะอะไรๆ กว็ ่า
ของการท�ำสังฆกรรมปวารณา ก็ได้จัดเป็นหมวด ไป เอาละนะ เป็นอนั ให้รู้จกั ว่า น่คี อื ขันธกะ คน
หนึ่ง เรียกวา่ ปวารณาขนั ธกะ พุทธบัญญตั ิและ ทรี่ จู้ กั ขนั ธกะแลว้ จะคน้ เรอ่ื งวนิ ยั กร็ วู้ า่ เรอื่ งอะไร
เร่ืองราวของการท�ำสังฆกรรมกฐิน ก็จดั เปน็ กฐนิ จะค้นทีไ่ หน อยา่ งไร
ขนั ธกะ พทุ ธบญั ญัตแิ ละเร่ืองราวว่าด้วยเรอ่ื งจวี ร รวมความวา่ ขนั ธกะนน้ั มที ง้ั หมด ๒๒ ขนั ธกะ
กจ็ ดั เป็น จวี รขันธกะ ดงั น้เี ป็นตน้ ๑๐ ขันธกะแรกเป็นขันธกะใหญ่ๆ ที่ส�ำคัญมาก
ที่น่ารู้น่าสังเกตไว้ก็คือ ขันธกะเริ่มแรก ช่ือ และมีเร่ืองราวยืดยาว หนาเหลือเกิน กินท่ีมาก
ว่า มหาขันธกะ แปลวา่ หมวดใหญ่ หรอื ตอนใหญ่ เรยี กวา่ มหาวรรค เมอื่ ทำ� เปน็ หนงั สอื ตอ้ งใชเ้ นอื้ ท่ี
ว่าด้วยเร่ืองราวเริ่มต้ังแต่ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ๒ เลม่ คอื เป็นพระไตรปิฎก เลม่ ๔ และ เลม่ ๕
แล้วประทับน่ังเสวยวิมุตติสุข ใต้ร่มโพธ์ิตรัสรู้ ที่ ขอให้สังเกตว่า เร่ืองราวที่จัดเป็นหมวดเป็น
อุรุเวลาเสนานิคม น่ีคือจุดเร่ิมต้นของพระพุทธ ตอนนี้ เวลาครบจำ� นวน ๑๐ ทา่ นเรยี กวา่ “วรรค”
ศาสนา ซ่ึงบอกไว้ในวินัยปฎิ ก ท่จี ะด�ำเนินเรือ่ งสู่ อย่างในกรณีน้ี มีขันธกะต่างๆ พอครบ ๑๐
การประกาศพระศาสนา ตง้ั สงั ฆะ และการบญั ญตั ิ ขันธกะ กเ็ ป็นวรรคหนึ่ง ที่นี่ ขนั ธกะชุดแรกครบ
สิกขาบท เกดิ มีวินยั สบื ตอ่ มา ๑๐ ขนั ธกะ ก็รวมเปน็ มหาวรรค กินเน้ือที่ ๒ เล่ม
จากจุดเร่ิมต้น ที่อุรุเวลาเสนานิคมน้ัน ไดแ้ กเ่ ลม่ ๔ และเลม่ ๕ อยา่ งทว่ี า่ ไปแลว้ เอาละนะ
พระพุทธเจ้าเสด็จออกบ�ำเพ็ญพุทธกิจ เสด็จไป เปน็ อนั ว่าจบมหาวรรค
ไหน ก็เสด็จไปทีอ่ สิ ิปตนมฤคทายวัน ไปประกาศ บอกเพิม่ นดิ หนงึ่ ว่า ท่วี ่าวรรคหน่ึงมี ๑๐ น้นั
พระธรรมจักร โปรดพระเบญจวัคคีย์ แล้วก็มี ไมจ่ ำ� เปน็ ตอ้ ง ๑๐ ตายตวั บางที ๑๑ หรอื ๑๒ กม็ ี
ผู้บรรลุธรรม จึงเร่ิมมีการบรรพชาอุปสมบท น่ี อาจพดู ว่าวรรคหน่งึ มีประมาณ ๑๐
แหละ ประวัติการอุปสมบทอยู่ในขันธกะแรกน้ี ตอ่ จากนก้ี เ็ ปน็ ขนั ธกะยอ่ ยลงไป มเี รอ่ื งเยอะ
จึงบอกว่าขันธกะแรกคือหมวดหรือตอนท่ีว่าด้วย เช่น เภสชั ชขนั ธกะ ว่าด้วยเรอ่ื งยา พระจะทำ� ยา
เร่ืองการอุปสมบท หรือจะว่าการต้ังสังฆะก็ได้ จะใช้ยา อะไร อย่างไร ได้ หรอื ไม่ได้ ฯลฯ
เพราะเกดิ มผี บู้ วชเปน็ พระ จงึ เปน็ สงั ฆะขนึ้ มา เรมิ่ แล้วก็มี เสนาสนขันธกะ ว่าด้วยเสนาสนะ
ดว้ ย เอหิภกิ ขอุ ุปสมั ปทา คือที่นั่งท่ีนอน พระจะอยู่อย่างไร มีวิหาร มีกุฏิ
ตอ่ จากนน้ั มพี ระอรหนั ตสาวกแลว้ พระองค์ มถี ้�ำ มอี ะไรตา่ งๆ กว็ ่าไปตามพระบัญญตั ใิ นเรอ่ื ง
ก็ทรงส่งไปประกาศพระศาสนา แลว้ ทรงอนุญาต เสนาสนะ มี จัมมขนั ธกะ ว่าด้วยเร่อื งเคร่อื งใช้ท่ี
ให้พระสาวกบวชกุลบุตรได้ ก็เกิดการอุปสมบท เป็นหนงั กเ็ ปน็ หมวดหนงึ่
แบบทีส่ อง เรยี กว่า ติสรณคมนปู สัมปทา ตอ่ มา ว่าไปอย่างนี้ จนกระท่งั ถึง ภกิ ขนุ ีขันธกะ คอื
สงั ฆะใหญข่ นึ้ กท็ รงใหส้ งฆเ์ ปน็ ใหญ่ จงึ เกดิ ญตั ต-ิ หมวดว่าด้วยภิกษุณี แล้วต่อไปจนถึงหมวดตอน
จตุตถกรรมวาจาอุปสัมปทา ขึ้นมา ท่ีว่าด้วยสังคายนาครั้งท่ี ๑ ซึ่งมีพระเถระร่วม
ประวัติการอุปสมบททั้งหมด อยู่ในขันธกะ ประชุม ๕๐๐ องค์ ก็เรียกว่า ปัญจสติกขันธกะ
แรก ท่ีเรียกว่า มหาขันธกะน้ี ต่อมาล�ำดับท่ีสอง ลงทา้ ยดว้ ยสังคายนาครัง้ ที่ ๒ ซง่ึ มีพระเถระรว่ ม
จึงมี อโุ บสถขันธกะ แลว้ กม็ ี ปวารณาขันธกะ มี ประชุม ๗๐๐ องค์ เรยี กว่า สัตตสติกขันธกะ

18 ๓๗

ขันธกะย่อยๆ ท้ังหมดนี้ รวมเป็นอีก ๑๒
ขันธกะ ก็จัดเปน็ อีกวรรคหน่งึ เรยี กวา่ จลุ ลวรรค
คือวรรคเลก็ กนิ เนอื้ ทพี่ ระไตรปฎิ กอกี ๒ เล่ม คอื
เล่ม ๖ และ เลม่ ๗
เมอื่ กว้ี รรคใหญม่ ี ๑๐ คราวนวี้ รรคเลก็ มี ๑๒
ขันธกะ เมื่อรวมท้ังมหาวรรค และ จุลลวรรค
กไ็ ด้พระไตรปิฎกเล่ม ๔ - ๕ และ ๖ - ๗ เปน็ อัน
จบขันธกะ ถงึ นี่ ตวั พระวินยั ปิฎกก็จบแลว้ ทั้งใน
ปาติโมกข์ และนอกปาตโิ มกข์
ต่อจากน้ีก็ไปถึงวินัยส่วนท่ีเรียกว่า ปริวาร
จัดเป็นพระไตรปิฎก เลม่ ๘ วา่ “จรตตี ิ คจฉฺ ต”ิ (“จรติ” แปลวา่ ไป) หรือว่า
ปริวารก็คือบริวาร คือเป็นเคร่ืองประกอบ “จรตีติ วตฺตติ” (“จรต”ิ แปลวา่ เปน็ ไป ดำ� เนิน
หรือเป็นส่วนพ่วง จะเรียกว่าเป็นคู่มือพระวินัย ไป) หรอื บางทีก็แปลวา่ “จรตีติ กโรต”ิ (“จรติ”
ก็ได้ ใช้ส�ำหรับทบทวน หรือซักซ้อมความรู้ แปลวา่ กระทำ� หรือประพฤต)ิ นี่แคค่ ำ� งา่ ยๆ
พระวนิ ยั เช่น ถามวา่ อยา่ งนี้ ตอบได้ไหม จะตอบ ดูทย่ี ากขนึ้ อีกหนอ่ ย เชน่ คำ� วา่ “นิทาน” ซ่งึ
ว่าอย่างไร ก็คือวินัยที่เรียนมาใน ๗ เล่มต้นนั่น ในภาษาไทยเอามาใชจ้ นเพยี้ นความหมายไปแลว้
แหละ เอามาซักซ้อม เอามาทบทวนความรู้กัน เราอยากรู้ความหมายเดิมของจริงในภาษาบาลี
เรยี กวา่ ปริวาร เปน็ เลม่ ท่ี ๘ เปน็ อันจบแลว้ วินัย ก็ไปเปิดดู อรรถกถาหน่ึงก็บอกว่า “นิทานนฺติ
ปิฎก ๘ เล่ม ปจจฺ โย” (“นิทาน” แปลว่า ปัจจัย, อง.ฺ อ.๓/๑๑๘)
หรือเราอา่ นพระไตรปฎิ กบาลี เล่ม ๑๖ ไปเจอค�ำ
แทรกกอ่ นไปต่อ พอให้รู้จัก “อรรถกถา” ว่า “นิทาน” เกิดสงสัยข้ึนมาว่านิทานที่นั่นแปล
ทีนี้ คนที่จะอ่านบาลีพระไตรปิฎกให้เข้าใจ ว่าอะไร ก็ไปเปิดดูคัมภีร์อรรถกถาที่อธิบายพระ
ดีน่ยี ากมาก ก็จงึ มีพระอาจารยท์ ีช่ ำ� นาญไดร้ จนา ไตรปฎิ กเล่มนน้ั กพ็ บค�ำอธิบาย (ส.ํ อ.๒/๓๒) บอก
คือแต่งคัมภีร์อธิบายความในพระไตรปิฎกขึ้นมา วา่ ค�ำทั้งหลายเชน่ นิทาน สมทุ ัย เป็นไวพจน์ของ
เรียกว่า “อรรถกถา” ซึ่งก็จะคู่เคียงไปกับพระ คำ� วา่ การณะ (คอื แปลวา่ เหต)ุ อยา่ งน้เี ปน็ ต้น นี่
ไตรปิฎก คืออธิบายไปตามล�ำดับถ้อยค�ำและ แหละเรยี กวา่ อรรถกถา จงึ บอกว่าอรรถกถากค็ อื
ข้อความในพระไตรปิฎกนั้น อรรถกถาคืออะไร Dictionary
ขอแทรกสักนดิ เพือ่ จะไดร้ ูจ้ กั กนั Dictionary แปลวา่ อะไร dictionary มาจาก
พูดง่ายๆ ในข้ันพ้ืนฐาน อรรถกถา ก็คล้าย diction แปลว่า “ค�ำ”, “ถ้อยค�ำ” และ -ary
อย่างพจนานุกรม คอื Dictionary นี่เอง “อรรถ- แปลว่า “เกี่ยวกับ” “ว่าด้วย” dictionary จึง
กถา” แปลว่า ค�ำบอกความหมาย หรอื ถ้อยค�ำที่ แปลว่า “วา่ ดว้ ยถอ้ ยคำ� ” แตข่ องบาลี คอื อรรถ-
บอกความหมาย เชน่ ไปเจอค�ำวา่ “จรต”ิ อรรถ- กถานี่ ตรงเลย แปลว่า ค�ำบอกความหมาย นคี่ ือ
กถาก็ไขความ คือบอกความหมาย หรือแปลให้ ตวั อรรถกถาที่แท้

๓๗ 19

ใครบอกว่าแปลพระไตรปิฎกไม่ต้องอาศัย ที่จริงน่ันไม่ใช่อรรถกถา แต่เป็นเร่ืองพ่วงติดมา
อรรถกถา ก็เหมือนคนท่ีจะแปลภาษาต่าง ในอรรถกถา
ประเทศ บอกว่า ฉันไม่ต้องใช้ดิกชั่นนารี ฉันไม่ เป็นธรรมดาว่าพระเถระท่ีเป็นอาจารย์สอน
เอาพจนานกุ รม บาลสี อนธรรมในลงั กานน้ั ทา่ นยอ่ มมคี วามรเู้ รอื่ ง
อรรถกถาวา่ โดยพ้นื ฐาน ท่เี ป็นตวั แท้ตวั จริง ราว เร่ืองเล่าขาน ต�ำนาน เร่ืองประวัติศาสตร์
คืออย่างที่ว่ามานี้ แต่อรรถกถาไม่ได้หยุดแค่นั้น มากมาย สืบต่อกันมา เม่ือท่านอธิบายธรรมใน
ยังเป็นอรรถสังวรรณนาด้วย คือมิใช่แค่ให้ความ พระไตรปิฎก ท่านอธิบายโดยใช้อรรถกถา และ
หมายของถ้อยค�ำอย่างเดียว แต่ยังอธิบายขยาย มเี ร่อื งราวอะไรจะชว่ ยให้เขา้ ใจ และเรียนกนั ได้ดี
ความไปอกี วา่ ถอ้ ยคำ� และขอ้ ความทพ่ี ระพทุ ธเจา้ มีชีวิตชีวา ท่านก็น�ำมาบอกมาเล่า ประกอบค�ำ
ตรัสตรงนีๆ้ มีความหมายกวา้ งออกไปอย่างไรอีก อธบิ ายใหเ้ ขา้ ใจชดั เจน กส็ ืบๆ กันมา
แล้วก็อธิบายไปกันใหญ่ ทีน้ีอรรถกถาเดิมที่เป็นภาษาบาลีก็สูญไป
ทีน้ี เมื่อเป็น อรรถสังวรรณนา ก็อธิบาย แลว้ พระเถระทเี่ ราเรยี กวา่ พระอรรถกถาจารย์ มา
บรรยาย พรรณนาไปตา่ งๆ พอบรรยายไปๆ ทา่ นก็ จากอนิ เดยี มาแปลอรรถกถาทส่ี บื ทอดมาในลงั กา
ยกเรอื่ งประกอบบา้ ง เรอื่ งเกรด็ บา้ ง มาเลา่ ใหฟ้ งั ดว้ ย เปน็ ภาษาสงิ หล เมอ่ื แปลกลบั จากภาษาสงิ หลเปน็
ทนี พ้ี ระอาจารยท์ สี่ อนลกู ศษิ ยใ์ นลงั กา กร็ เู้ รอ่ื งราว ภาษาบาลี กม็ เี รอื่ งราวในลงั กาตดิ มามากมายเตม็
เร่ืองเล่ากันมาของท้องถ่ิน ของบ้านเมือง ท่านก็ ไปทวั่
เอาเหตุการณ์เอานิทานเอาต�ำนานในเกาะลังกา เป็นอันว่าต้องแยกให้เป็น คิดง่ายๆ เร่ือง
มาเลา่ ประกอบการสอนดว้ ย บอกวา่ ตอนนน้ั พระ ท่ีพระพุทธเจ้าตรัส อยู่ในพระไตรปิฎกตั้งแต่
เจ้าแผ่นดินองค์น้ี ยกทัพไปตีกับพระเจ้าแผ่นดิน พทุ ธกาลนานไกลโพน้ จะมเี รอื่ งในลงั กาไดอ้ ยา่ งไร
องค์โน้น มีเรื่องมาอย่างนั้นๆ เรื่องราวในลังกา เรื่องราวของลังกาจะเป็นค�ำอธิบายพระไตรปิฎก
ก็มาอยู่ในอรรถกถาพ่วงติดมาด้วย คนไม่รู้ ไปไดอ้ ยา่ งไร เรอ่ื งราวในลังกาเยอะแยะไปท่มี ใี น
ไมเ่ ขา้ ใจ กน็ กึ วา่ อนั นน้ั เปน็ อรรถกถา เปลา่ ! อนั นน้ั หนงั สอื หรอื คมั ภรี ท์ บี่ รรจอุ รรถกถาไวน้ น้ั เปน็ ของ
เปน็ เรอ่ื งพว่ งมาในอรรถกถา นี่ คนไม่รกู้ ไ็ ปเทย่ี ว แถมเพิม่ พ่วงติดเข้ามา เพราะพระพทุ ธศาสนามา
บอกวา่ อรรถกถาไมน่ า่ เชอื่ เลา่ อะไรตอ่ อะไรกไ็ มร่ ู้ เจริญทน่ี นั่ อยนู่ าน
ย้�ำว่า อรรถกถาของเดิมท่ีน�ำมาจากชมพู-
ทวีป เม่ือพระเถราจารย์น�ำมาอธิบายให้ลูกศิษย์
ฟังต่อกันมาในลังกาหลายร้อยปี (๗๐๐ ปีเศษ)
ก็ได้เติบขยายมีเรื่องราวพอกเพ่ิมขึ้นมา กว่าพระ
พุทธโฆสาจารย์จะมาแปลจากภาษาสิงหลกลับ
ไปเป็นบาลี ก็ได้เรื่องของลังกาเข้าไปรวมอยู่ด้วย
มากมายทั่วไปหมด แล้วทั้งตัวอรรถกถาแท้พ้ืน
ฐานท่ีเป็นอย่างดิกช่ันนารี พร้อมด้วยอรรถสัง-
วรรณนา ที่เป็นหลักเป็นแกนของคุณค่าท่ีแท้

20 ๓๗

และเร่อื งประกอบต่างๆ ทเ่ี ปน็ ของแถมพว่ งมา ก็ ข) จุลลวรรค ว่าด้วยสกิ ขาบทนอกปาติโมกข์
เรยี กรวมเปน็ คำ� เดยี ววา่ อรรถกถา ผทู้ ใี่ ช้ เมอ่ื เขา้ ใจ ๑๒ ขันธกะ (เล่ม ๖ - ๗)
แยกได้ กจ็ ะใชป้ ระโยชน์ไดเ้ ตม็ ๆ ๓. ปริวาร คมั ภรี ์ประกอบ ถาม - ตอบ ซกั ซอ้ ม
ทนี ี้ อรรถกถาทอ่ี ธบิ ายพระวนิ ยั ปฎิ กทง้ั หมด ความรพู้ ระวินัย (เล่ม ๘)
นนั้ มชี อื่ วา่ สมนั ตปาสาทกิ า เมอื่ เรยี นวนิ ยั สงสยั หมายเหตุ: ตามท่ีเรียกขานกันมาในเมืองไทย
ตรงไหน ก็เอา สมันตปาสาทิกา มาค้นอ่านค�ำ จำ� พระวนิ ยั ปฎิ ก คำ� ยอ่ (หวั ใจ) วา่ “อา ปา ม จุ ป”
อธิบายของทา่ น ดูต้งั แต่ขัน้ ของดกิ ชนั นารีไปเลย โดยแยกเป็น ๑. อาทิกัมม์/อาทิกัมมิกะ (ฉบับ
ขอบอกไว้อีกนิดว่า dictionary ของอรรถกถา อกั ษรพมา่ เรยี ก “ปาราชกิ ปาฬ”ิ ) วา่ ดว้ ยสกิ ขาบท
นั้น ไม่เหมือนของชาวบ้านสมัยนี้ คือดิกชันนารี ฝ่ายภิกษุ ตั้งแต่ปาราชิกถึงอนิยต ๒. ปาจิตตีย์
ของชาวบ้านน้ัน เป็นอย่างที่ไทยเราเรียกว่า ว่าด้วยสิกขาบทฝ่ายภิกษุ แต่นิสสัคคิยปาจิตตีย์
พจนานุกรม คือเรียงล�ำดับค�ำตามล�ำดับอักษร ถึงเสขิยะ ตลอดภิกขุนีวิภังค์ (ของพม่า นับแต่
แต่ดิกชันนารีที่เป็นอรรถกถาของบาลีนี้ ท่าน ปาจิตตยี ์ สว่ นนสิ สคั คยิ ฯ อยใู่ น ๑.) ๓. มหาวรรค
เรียงตามล�ำดับข้อความในพระไตรปิฎก คือพระ ๔. จลุ ลวรรค ๕. ปรวิ าร
ไตรปิฎกด�ำเนินความไปถึงไหน ท่านก็อธิบายไป
ตามลำ� ดบั อยา่ งนั้น อนั นก้ี ็ใหเ้ ข้าใจไว้ดว้ ย พระสุตตนั ตปฎิ ก
มแี ทรกนดิ หนงึ่ คอื วา่ เนอื่ งจากในวนิ ยั ปิฎกมี (พระสตู ร: ที ม สํ อํ ขุ)
ส่วนทเี่ ป็นแกน่ แท้ๆ คือปาตโิ มกข์ที่เราสวดเมือ่ กี้ ตอ่ จากพระวนิ ยั กไ็ ปถงึ พระสตู ร ซงึ่ ในทนี่ ค้ี อื
ซึ่งมีเฉพาะตัวสิกขาบท ท่านก็มีอรรถกถาที่ไม่ ทีเ่ รียกช่อื เต็มวา่ “พระสตุ ตนั ตปฎิ ก”
อธิบายวินัยปิฎกท้ังหมดให้ยืดยาว แต่อธิบาย พระสตุ ตนั ตปฎิ กนี่ กอ็ ยา่ งท่ีบอกเมื่อกี้ เรียก
เฉพาะปาติโมกข์น้ีเท่าน้ัน ก็เป็นอีกคัมภีร์หนึ่ง กนั สนั้ ๆ งา่ ยๆ วา่ “พระสตู ร” คอื พระธรรมเทศนา
เรยี กวา่ กังขาวติ รณี เอาละ ทนี ้ี พระวินัยปิฎก ของพระพุทธเจ้า หมายความว่า พระพุทธเจ้า
ก็ผา่ นไปได้แลว้ เสดจ็ เดนิ ทางไป ทรงจารกิ ไป ทรงพบคนนน้ั คนนี้
ก็สรุปไว้ เพื่อทบทวนง่ายว่า พระวินัยปิฎก เม่ือเป็นโอกาสเหมาะ ก็ทรงแสดงธรรมแก่เขา
มี ๓ คมั ภรี ใ์ หญ่ คอื หรือเขาทูลถามข้อสงสัย หรือบางคนมาเฝ้าทูล
๑. วภิ งั ค์ แจงสกิ ขาบทในปาติโมกข์ แยกเป็น ถามเรื่องราวอะไรๆ พระองค์ก็ทรงตอบ ทรง
ก) มหาวภิ ังค์ (ภิกขุวภิ งั ค์) แจงสิกขาบทใน อธบิ าย ทรงแสดงธรรมหรือเทศนใ์ หฟ้ ัง ส่งิ ที่ทรง
ภิกขปุ าติโมกข์ (เล่ม ๑ - ๒) เทศน์ เน้ือความทที่ รงตอบ ทรงแสดงคราวนั้นๆ
ข) ภิกขุนีวิภังค์ แจงสิกขาบทในภิกขุนี- กเ็ ป็นพระสูตรหนง่ึ ๆ
ปาติโมกข์ (เล่ม ๓) ทนี ี้ พระธรรมเทศนาของพระพทุ ธเจา้ ทเี่ รยี ก
๒. ขนั ธกะ วา่ ดว้ ยสกิ ขาบทนอกปาติโมกข์ ๒๒ วา่ พระสูตรนน้ั มีมากเหลือเกนิ รวมท้ังหมดไว้ใน
ขนั ธกะ คือ พระไตรปฎิ ก (จัดแบบไทย) ได้ ๒๕ เล่ม เรยี กวา่
ก) มหาวรรค ว่าดว้ ยสกิ ขาบทนอกปาติโมกข์ พระสตุ ตันตปิฎก เป็นปฎิ กท่ีใหญ่ท่สี ุด
๑๐ ขนั ธกะ (เล่ม ๔ - ๕) พระสตุ ตนั ตปฎิ กนน้ั เรากต็ อ้ งรจู้ กั วธิ จี ดั แบง่
จะได้จ�ำง่ายและใช้เป็น ที่ว่ามี ๒๕ เล่มน้ี ก็จัด

๓๗ 21

แบง่ เป็นนกิ าย “นกิ าย” แปลวา่ ชุมนมุ พวก หมู่ สังยุตต์ พระสูตรท่ีเก่ียวกับภิกษุณี ก็เอามารวม
หรอื หมวด ในทน่ี ค้ี อื ชมุ นมุ พระสตู ร ทา่ นกจ็ ดั เปน็ ไว้ เรียกว่า ภิกขุนีสังยุตต์ พระสูตรเก่ียวกับท้าว
๕ ชมุ นุม คือ ๕ นิกาย สักกะ คือพระอินทร์ ก็รวมไว้ เรียกว่า สักกสัง-
วธิ จี ดั คอื พระสตู รทย่ี าวๆ ในทนี่ อี้ าจพดู วา่ ท่ี ยุตต์ พระสูตรท่ีวา่ ด้วยเร่ืองกิเลส ก็รวมไว้ดว้ ยกนั
ยาวมากๆ กเ็ อามารวมไว้ด้วยกนั เป็นนกิ ายหนึ่ง เรยี กวา่ กิเลสสงั ยุตต์ พระสูตรทวี่ ่าดว้ ยเร่ืองฌาน
เรียกว่า ทฆี นกิ าย แปลวา่ ชุมนมุ พระสตู รทย่ี าวๆ กร็ วมไว้ด้วยกัน เรยี กว่า ฌานสังยตุ ต์ พระสตู รว่า
หรือขนาดยาว ต่อมาพระสตู รที่ยาวปานกลาง ไม่ ดว้ ยพยาบาทกร็ วมกนั ไว้ เรยี กวา่ พยาปาทสงั ยตุ ต์
ยาวนัก แต่ก็ไม่สั้น ก็จัดเป็นนิกายหนึ่ง เรียกว่า พระสูตรว่าด้วยโพชฌงค์ ก็รวมกันไว้ เรียกว่า
มัชฌิมนิกาย แปลว่า ชุมนุมพระสูตรท่ียาวปาน โพชฌงั คสงั ยตุ ต์ อยา่ งนเ้ี ปน็ ตน้ เยอะแยะไปหมด
กลาง หรือพระสตู รขนาดกลาง สงั ยตุ ตนกิ ายนมี้ ี ๕ เลม่ นบั เปน็ พระไตรปฎิ ก เลม่
คราวนี้ก็มาถึงล�ำดับท่ี ๓ ปรากฏว่าเป็น ท่ี ๑๕ ถึงเล่ม ๑๙ เปน็ อนั วา่ จบสงั ยุตตนิกาย แต่
พระสูตรสั้นๆ มีเร่ืองน้อย ประเภทน้ีมีมากมาย เด๋ียวทหี ลงั จะกลบั มาพูดถงึ เนือ้ ในอีกหน่อย
เหลือเกิน ต้องมีวิธีจัดพิเศษ เพื่อให้เป็นพวก เหลอื จากน้ี พระสตู รขนาดสน้ั ๆ เลก็ ๆ นอ้ ยๆ
เป็นประเภท อย่างเป็นระบบ มิฉะนั้น จะเป็น ยังมอี ีกมากมายนกั จะจดั อย่างไร คราวนี้เอาใหม่
พระสูตรเล็กๆ น้อยๆ ท่ีสุมกัน ปนเป สับสน ทา่ นจดั ตามตัวเลข คอื ตามจ�ำนวนข้อธรรม หลัก
คน้ ยาก ศกึ ษาล�ำบาก ยงุ่ ไปหมด ธรรมทมี่ ธี รรมขอ้ ยอ่ ยขอ้ เดยี ว กเ็ อามารวมไวพ้ วก
ทีนี้ก็มาดูวิธีจัดท่ีแยบคายของท่าน เร่ิมด้วย เดียวกนั เป็น เอกกนบิ าต คือหมวด ๑ หลักธรรม
กลุ่มแรก จับเอาเป้าเอาประเด็นอย่างใดอย่าง ทม่ี ีธรรม ๒ ขอ้ ย่อย กเ็ อามารวมไวด้ ว้ ยกนั เปน็
หน่ึงขนึ้ มาต้ังเปน็ แกน เช่น เอาบุคคล สถานที่ ขอ้ ทุกนบิ าต (หมวด ๒) หลกั ธรรมทม่ี ธี รรม ๓ ขอ้
ธรรม หลกั การ อนั ใดอันหนึ่ง อย่างใดอยา่ งหน่งึ ยอ่ ย กม็ ารวมเปน็ ติกนบิ าต (หมวด ๓) แลว้ กเ็ ป็น
ต้ังเป็นแกน เป็นจุดรวมเป็นศูนย์รวมของเรื่องที่ จตกุ กนบิ าต (หมวด ๔) แล้วก็เปน็ ปญั จกนบิ าต
เกี่ยวข้อง แล้วน�ำเอาพระสูตรท่ีเก่ียวข้องหรือว่า (หมวด ๕) แล้วก็เปน็ ฉกั กนบิ าต (หมวด ๖) แลว้
ดว้ ยประเดน็ นั้น เป้านน้ั มาไว้ด้วยกัน โดยต้ังช่อื ก็เปน็ สัตตกนิบาต (หมวด ๗) แล้วก็เป็น อัฏฐก-
รวมวา่ เก่ยี วกบั ประเด็นน้ันเปา้ นนั้ คำ� วา่ เกย่ี วกบั
หรือว่าด้วยน้ี ภาษาบาลีเรียกว่า “สังยุตต” จึง
เรียกว่า สังยุตตนิกาย คือชุมนุมพระสูตรที่เป็น
เรือ่ งราวเก่ยี วข้องกับบุคคลนั้น ส่งิ น้นั ท่นี ้ัน หรอื
ธรรมข้อน้ันๆ
ยกตัวอย่าง เช่น พระสูตรท่ีมีเร่ืองราว
เก่ียวข้องกับป่า ก็เอามารวมไว้ด้วยกัน เรียกว่า
วนสงั ยตุ ต์ พระสูตรที่มเี รื่องเก่ยี วกับมาร ก็รวมไว้
ดว้ ยกัน เรียกว่า มารสังยุตต์ พระสูตรที่เกยี่ วกับ
พระเจา้ ปเสนทโิ กศล กร็ วมมาตงั้ ชอื่ เรยี กวา่ โกศล-

22 ๓๗

นบิ าต (หมวด ๘) แลว้ กเ็ ปน็ นวกนบิ าต (หมวด ๙)
แล้วก็ ทสกนบิ าต (หมวด ๑๐) แลว้ ก็ เอกาทสก-
นบิ าต (หมวด ๑๑) เปน็ อนั จบ แล้วเรียกชื่อรวม
ท้งั หมดวา่ องั คุตตรนิกาย
ขอใหส้ งั เกตช่อื ของนิกายนีท้ วี่ ่า “องั คุตตร”
น้ัน มาจาก อังค (องค์, หน่วย, ข้อยอ่ ย) + อตุ ตร
(เหนือข้ึนไป, เกิน, เพ่ิมข้ึน) เป็น “อังคุตตร”
จงึ แปลวา่ เพมิ่ ขน้ึ ทลี ะหนว่ ย หรอื เกนิ ขน้ึ ไปทลี ะขอ้
จึงเปน็ หมวด ๑ หมวด ๒ หมวด ๓ ฯลฯ ไปเรือ่ ย
อยา่ งทวี่ า่ แลว้ และดงั นน้ั องั คตุ ตรนกิ าย จงึ แปลวา่
ชมุ นมุ พระสตู รทม่ี ธี รรมขอ้ ยอ่ ยเพม่ิ ขนึ้ ทลี ะหนว่ ย
อังคุตตรนกิ ายนมี้ ี ๕ เลม่ เป็นพระไตรปฎิ ก
เลม่ ๒๐-๒๔ ขอพดู ไวค้ รา่ วๆ แคพ่ อเหน็ รปู เคา้ เทา่ ก็สรุปไว้ให้เห็นภาพก่อนว่า พระสุตตันต-
นกี้ อ่ น จะไดเ้ ปน็ เรอื่ งเบาๆ เอาเปน็ อนั วา่ จบองั คตุ - ปิฎก มี ๕ นิกาย จัดเป็น ๒๕ เลม่ (เล่ม ๙ – ๓๓)
ตรนกิ าย แล้วจะกลบั มาพูดถงึ เนอ้ื ในอกี ที จ�ำหัวใจวา่ ที ม สํ อํ ขุ ไดแ้ ก่
ทีนี้ พระสูตรน้อยใหญ่นั้นมากมายอย่างย่ิง ๑. ทฆี นกิ าย ชุมนมุ พระสูตรขนาดยาว ๓ เลม่
แม้จะจัดแบ่งหมวดหมู่แบบต่างๆ น�ำมารวมไว้ (เล่ม ๙ - ๑๑)
อยา่ งทว่ี า่ มานนั้ แลว้ กย็ งั มลี น้ จากนนั้ อกี มากมาย ๒. มชั ฌิมนิกาย ชุมนุมพระสตู รขนาดกลาง ๓
นอกจากพระสูตรอีกมากมาย ที่มีลักษณะพิเศษ เลม่ (เล่ม ๑๒ - ๑๔)
ไม่เข้าในหมวดหมู่ที่จัดไปแล้ว ก็ยังมีคัมภีร์ต่างๆ ๓. สังยุตตนิกาย ชุมนุมพระสูตรท่ีจัดรวมกลุ่ม
ซึ่งมีเน้ือหาสาระจ�ำเพาะของตัวเองอันนอกเหนือ ตามเรื่องที่เน่อื งกนั ๕ เล่ม (เล่ม ๑๕ - ๑๙)
เกณฑ์ท่ีใช้จัดมาแล้ว ท่านก็จึงรวมพระสูตรและ ๔. อังคุตตรนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเป็น
คัมภีร์จ�ำเพาะพิเศษเหล่านั้น มาจัดเป็นอีกนิกาย หมวดๆ ตามล�ำดบั จ�ำนวนข้อธรรม ๕ เล่ม (เล่ม
หนึ่ง เรียกว่า ขุททกนิกาย คือชุมนุมพระสูตร ๒๐ - ๒๔)
และเรื่องราวเล็กๆ น้อยๆ ปลีกย่อย หรือจะว่า ๕. ขุททกนกิ าย ชมุ นุมพระสตู ร คาถาภาษิต คำ�
เบด็ เตล็ด กไ็ ด้ อธิบาย เร่ือง เบ็ดเตล็ด ท่ีจัดเข้าในสี่นิกายแรก
ช่ือบาลีว่า “ขุททก” แปลว่า เล็กน้อย ไมไ่ ด้ ๙ เล่ม (เลม่ ๒๕ - ๓๓)
ปลีกย่อย แต่ว่าโดยปริมาณ มีมากท่ีสุดถึง ๑๕ (อา่ นตอ่ ฉบับหนา้ )
คมั ภรี ์ จดั เปน็ พระไตรปฎิ ก ๙ เลม่ (เลม่ ๒๕ – ๓๓)
และวา่ โดยสาระ บางคมั ภรี ก์ ส็ ำ� คญั และลกึ ซงึ้ มาก ท่ีมา : จากหนังสือ “รู้จักบ้านของตัว เท่ียวทั่ว
เรอ่ื งขทุ ทกนกิ าย วา่ ไวค้ รา่ วๆ เทา่ นกี้ อ่ น พระไตรปิฎก” ของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
(ป.อ. ปยุตโฺ ต) สามารถอ่านฉบับเต็มได้จากเว็บไซต์
สาระท่ีลึกละเอียดกว่าน้ี เช่นว่า ๑๕ คัมภีร์ย่อย วัดญาณเวศกวัน ตามลิ้งค์ http://www.
อะไรบ้าง เปน็ อย่างไร ไว้ค่อยพูดข้างหน้า watnyanaves.net/th/book_detail/657

23

ชวนอา่ นพระสตู ร:

พระอาจารยช์ ยสาโร

ไม่ต้องกังวล
นกุลบิดาคหบดี และภรรยา นกุลมารดา เปน็ สอง ใช้วธิ ีพิเศษคอื บันลือสหี นาท ทำ� สัจจกิริยา การบันลือ
สามีภรรยาตัวอย่างในพระไตรปิฎก ท่านได้บรรลุเป็น สหี นาทนัน้ หมายถึงการประกาศอย่างองอาจ นา่ เกรง
พระโสดาบันท้ังสองคน และจงรักภักดีต่อกัน ตาม ขามเหมือนราชสีห์ ถึงคุณธรรมท่ีมีอยู่ในตัวเอง นกุล
แบบผ้มู กี เิ ลสนอ้ ยนิด ครง้ั หนึ่งท่านกราบทูลพระพุทธ- มารดาเชื่อว่า คำ� พดู อันบริสุทธขิ์ องผบู้ รสิ ุทธ์ิ อาจทำ� ให้
องค์วา่ ประสงค์จะพบกนั ชาตหิ นา้ พระพุทธองคต์ รัส เกิดพลังรักษาโรคของสามีได้ สันนิษฐานว่าอาจจะได้
วา่ เปน็ ไปได้ สำ� หรบั คทู่ มี่ คี ณุ ธรรมเสมอกนั (แตถ่ า้ ฝา่ ย ข้อคิดเรื่องนี้จากการฟังพระพุทธองค์ทรงเล่านิทาน
หนง่ึ ชอบเขา้ วดั ฝา่ ยหนงึ่ ชอบเขา้ บาร์ คงตอ้ งลากนั ทน่ี )ี่ ชาดก เพราะพระโพธิสตั ว์เคยใช้พลงั สัจจะบอ่ ย
สองคนนเ้ี ปน็ กัลยาณมิตรต่อกันอยา่ งดี คอื เข้าใจ การบันลือสีหนาทของนกุลมารดา ต้องท�ำต่อ
ซ่ึงกันและกัน ส่งเสริมความดีของกันและกัน หนา้ สามจี งึ จะดี ทา่ นจงึ เขา้ ใกลเ้ ตยี งทนี่ กลุ บดิ านอนอยู่
ไม่ถือสาในข้อบกพร่องเล็กๆ น้อยๆ ของกันและกัน แลว้ กลา่ วเตอื น เปน็ ใจความวา่ อยา่ เพงิ่ กงั วลอะไรเลยนะ
เป็นที่ปรึกษาที่ดีต่อกัน มีความสุขในความสุขของกัน ถ้าตายด้วยจิตกังวลก็เป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาค
และกนั รว่ มกนั ทำ� บญุ และสรา้ งคณุ งามความดใี นสงั คม ทรงต�ำหนิการตายเป็นทุกข์แบบน้ีบ่อยๆ ถ้าเป็นห่วง
ครง้ั หนงึ่ ๑ นกลุ บดิ าปว่ ย เปน็ ไขห้ นกั ภรรยารกั ษา ว่าตายแล้ว ภรรยาจะเล้ียงลูกและครองเรือนไม่ได้ ก็
ทกุ วถิ ที าง แตอ่ าการของสามไี มด่ ขี น้ึ นกลุ มารดาจงึ ลอง อยา่ ไปคิดอย่างนนั้ เลย ดฉิ ันปั่นฝ้าย ทอผ้าขนสตั วเ์ กง่
เลี้ยงลกู ครองเรือนไดส้ บายหรอก อยา่ พงึ กังวลไปเลย
๑ นกุลปติ สุ ูตร อังคตุ ตรนิกาย ฉักกนบิ าต (พระไตรปฎิ ก เล่มท่ี ๒๒)

24 ๓๗

หรอื ถา้ กงั วลวา่ ตายแลว้ ภรรยาจะมสี ามใี หม่ เรอื่ งน้ี ให้ทราบว่า ในบรรดาสาวิกาของพระผู้มีพระภาค
ยงิ่ ไมม่ ที าง ๑๖ ปที ผี่ า่ นมา ดฉิ นั ไดป้ ระพฤตพิ รหมจรรย์ เจ้าท่ียังเป็นคฤหัสถ์อยู่ ซ่ึงเห็นธรรมแล้ว เข้าถึง
ของคฤหัสถ์อย่างเคร่งครัด (คือไม่เคยคิดนอกใจสามี กระแสธรรมแล้ว ดฉิ ันเปน็ คนหน่ึง ฯลฯ ใครสงสัยก็ไป
การพอใจอยู่กับคู่ครองเพียงคนเดียว พระพุทธองค์ ทูลถามพระผู้มพี ระภาคเจ้าได้
ใหเ้ กยี รตวิ า่ เปน็ การประพฤตพิ รหมจรรยใ์ นระดบั ชาวบา้ น) ฉะนนั้ อยา่ พงึ ตายทงั้ ทย่ี งั มคี วามหว่ งใยเลย เพราะ
และจะไม่เลิก ฉะน้ัน เร่ืองนี้สบายใจได้ อย่าพึงเป็น ตายอยา่ งนน้ั เปน็ ทกุ ข์ และพระผมู้ พี ระภาคทรงตเิ ตยี น
ห่วงเลย (อาตมารู้สึกว่า น้�ำเสียงของนกุลมารดา จะ พอพดู จบแลว้ อาการของนกุลบดิ าพน้ วิกฤติ เริม่
ดเู ปน็ ยาขมสกั หนอ่ ยหนง่ึ อาจจะเปน็ เพราะวา่ ตอ้ งการ ดขี ้นึ อย่างนา่ อัศจรรย์ แขง็ แรงขึ้นแล้ว นกุลบิดาไปเฝ้า
กระตุน้ ความรู้สกึ ปฏิเสธในใจของสามผี ู้ร่อแรว่ ่า รู้แลว้ พระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงฟังเรื่องการบันลือ
รแู้ ลว้ ท�ำไมจะไม่รู้ เพอื่ เปน็ ก�ำลังชนะไข้) สีหนาทของนกุลมารดา พระองค์ทรงรับรองทุกข้อ
หรือถ้าเป็นกังวลว่า ตายไปแล้ว ภรรยาจะไม่ และทรงชมว่า นกุลบิดามบี ญุ มีภรรยาที่เกง่ มาก
ต้องการเห็นพระผู้มีพระภาคหรือภิกษุสงฆ์ ไม่ต้องคิด คำ� พดู ของนกลุ มารดาทเ่ี รยี กวา่ การบนั ลอื สหี นาท
อย่างนั้นเลย เพราะดิฉันอยากเห็นพระองค์ท่านมาก ไม่ใช่เรื่องก๋ากั่นแน่นอน เป็นการพูดของผู้ที่หนักแน่น
เหลือเกิน อย่าพงึ เปน็ ห่วงเรอื่ งนเ้ี ลย ในธรรม องอาจ เพราะจิตไม่หว่ันไหวแล้ว พูดอย่าง
หรือถ้าเป็นหว่ งว่า ตายไปแล้วภรรยาจะไม่ท�ำศลี ไม่กลัวอะไรท้ังส้ิน เหมือนราชสีห์ไม่ต้องกลัวสัตว์ใดๆ
ใหบ้ รสิ ทุ ธิ์ กส็ บายใจได้ เพราะในบรรดาสาวกิ าของพระ ในป่า ค�ำพูดของนกุลมารดามีอ�ำนาจมาก เพราะเป็น
ผมู้ พี ระภาคเจา้ ทย่ี งั เปน็ คฤหสั ถอ์ ยู่ ดฉิ นั เปน็ คนหนง่ึ ทม่ี ี การกล่าวความจริงของผู้เขา้ ถึงความจรงิ ค�ำพูดของ
ศีลบริบูรณ์แลว้ ตอนนผี้ มู้ ีพระภาคเจา้ กำ� ลงั ประทบั อยู่ ท่านไม่มีลกั ษณะอวดดหี รอื คยุ โมแ้ ม้แต่นดิ เดยี ว
ท่ปี า่ เภสกฬามิคทายวนั หากมีใครสงสัยวา่ ดิฉันไม่พดู ขอ้ สงสยั อาจจะมอี ยวู่ า่ นกลุ บดิ าเปน็ โสดาบนั แลว้
ความจรงิ กไ็ ปทลู ถามพระผมู้ ีพระภาคเจา้ ได้ กังวลจริงหรือ อาตมาสันนิษฐานว่าคงไม่ ภรรยา
หรือถ้าท่านเป็นห่วงว่า ตายไปแล้ว ภรรยาจะ พูดแบบตักเตือนเพื่อให้เป็นการยืนยันท่ีหนักแน่น
ไมไ่ ดค้ วามสงบแนว่ แน่ ขอใหท้ ราบวา่ ในบรรดาสาวกิ า มรี สชาติ มพี ลงั
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าท่ียัง อยา่ งไรกต็ ามในกรณที คี่ นธรรมดา
เป็นคฤหัสถ์อยู่ และมีสมาธิดี ก�ำลังจะสิ้นบุญ การปลอบใจว่า
ดิฉนั เป็นคนหน่ึง ฯลฯ ใครสงสัย ไม่มีอะไรท่ีจะต้องเป็นห่วง เป็น
ในค�ำพูดของดิฉัน ก็ไปทูลถาม หนา้ ทสี่ ำ� คญั ของญาติ เพราะความ
พระผู้มพี ระภาคเจ้าได้ กังวลจะท�ำให้ผู้ใกล้ตายเป็นทุกข์
หรือถ้าเป็นห่วงว่า ภรรยา อยมู่ าก แทนทจ่ี ะเตรยี มตวั ลาโลก
ยังไม่ได้ที่พ่ึงอันแท้จริงในพระ อยา่ งสงบ คนจำ� นวนมาก มัวแต่
ศาสนา ยังไม่ข้ามพ้นความ คิดเร่ืองส่ิงต่างๆ ในครอบครัว
สงสัย ยังไม่ถึงความแกล้วกล้า หรือการงาน ท่ียังไม่เสร็จ ยังไม่
ยั ง ไ ม ่ เ ป ็ น ตั ว ข อ ง ตั ว ใ น พ ร ะ เรียบร้อย ตัวเองอาจพร้อมที่จะ
ศาสนา ไมต่ ้องเป็นกงั วลเลย ขอ ไปแล้ว แต่กลัวว่าจะเป็นการทิ้ง

๓๗ 25

ปญั หาไวก้ บั คนอนื่ อยา่ งนเี้ ปน็ ตน้ ลกู หลานจงึ ตอ้ งชวน ข้อต่อไป แสดงถึงค่านิยมของพุทธมามกะ
ให้ปล่อยวางอยู่บ่อยๆ ยืนยันว่าอะไรก็ตามที่ยังคารา- โดยแท้ คือชาวพุทธควรให้ความส�ำคัญกับการเข้าหา
คาซังอยู่ พวกเราจะสามารถจัดการได้ ไมต่ ้องกงั วล ครบู าอาจารย์ ผสู้ งบผมู้ ปี ญั ญา เปน็ ประจำ� เพอ่ื ไดก้ ำ� ลงั
ส่วนนกุลบดิ า บุญยังไมห่ มด แตข่ ้อพิจารณาทจี่ ะ ใจ และขอ้ คดิ ในเรอ่ื งชีวิตดงี าม (ไมม่ ีโอกาส กฟ็ งั หรอื
ขอฝากไว้คอื พลงั ศกั ดสิ์ ิทธท์ิ ่เี กิดขึน้ ในวนั นั้น เกิดจาก อ่านสง่ิ ทที่ า่ นสอน)
การพูดของนกุลมารดา เปน็ พลังธรรมชาติลว้ น (ขอไม่ การฝกึ อบรมกาย วาจา ใหเ้ รียบรอ้ ย สรา้ งสรรค์
เรียกพลังจักรวาล) หรือมีส่วนช่วยจากจิตใจของคนไข้ ปราศจากโทษ การฝึกสมาธิภาวนา ให้จิตสงบระงับ
ทไ่ี มอ่ ยากตาย ดว้ ยเกรงวา่ ภรรยาสดุ ทรี่ กั จะเขา้ ใจทา่ นผดิ เป็นแหล่งความสุขท่ีม่ันคง และเป็นบาทฐานแห่ง
บัดน้ี ขอดูท่ีเนื้อหาของค�ำยืนยันของนกุลมารดา ปัญญา การบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน ผู้เข้าถึง
๖ ขอ้ อีกที ซง่ึ มเี รือ่ งตงั้ แตร่ ะดับสามัญ ตลอดถึงเรอื่ ง กระแสพระนิพพาน พ้นจากอบาย และก�ำเนิดสัตว์
เหนือโลก ท้ัง ๖ ข้อเหลา่ นี้นา่ สนใจ เพราะถึงจะไม่ใช่ เดรัจฉานโดยเด็ดขาด ถ้าใครรักตัวเองจริงๆ ก็ต้อง
เรื่องควรกังวลก็ตาม ก็ยังเป็นเร่ืองท่ีควรเอื้อเฟื้อ หรือ ปรารถนาสิ่งเหล่าน้ี ถ้าใครรักสามีหรือภรรยาจริงๆ ก็
เอาใจใส่ เผอ่ื วา่ เราหมดวซี ่าเม่ือไร จะได้ไม่ตอ้ งคดิ มาก ต้องปรารถนาให้เขาได้สิ่งเหล่าน้ี ปัญหาคือเราทุกคน
และเปน็ ทุกข์ มีกรรมเป็นของๆ ตน คุณธรรมเหล่านี้ต้องสมัครใจ
ข้อท่ีหน่ึงเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สมบัติ คือการเอา ปฏิบัติอย่างต่อเน่ืองด้วยความอดทนจึงจะได้ ถ้ารู้สึก
ตวั รอดทางดา้ นวตั ถุ พอ่ บา้ นแมบ่ า้ นไมต่ อ้ งการตายดว้ ย ว่าปฏิบัตธิ รรมเพราะถกู บังคบั ผลจะไม่ค่อยเกิด
จิตกังวล ควรระมัดระวังเร่ืองค่าใช้จ่ายให้อยู่ในเกณฑ์ ฉะนั้น เราชวนใครมาปฏิบัติ ให้ชวนด้วยเมตตา
พอดี คอื ไมส่ รุ ยุ่ สรุ า่ ยจนเปน็ หนสี้ นิ เขา รจู้ กั ใชเ้ งนิ ใหเ้ กดิ โดยไม่คาดหวังอะไรมาก ถ้าเขายอมก็ดี ถ้าไม่ยอม
ประโยชน์และความสุข แก่ตัวเองและครอบครัว รู้จัก ให้ถือเสียว่า การอยู่ด้วยอวิชชาเป็นสิทธิมนุษยชน
เก็บไว้ก้อนหนึ่งเพื่อลงทุน เผ่ือฉุกเฉิน เอาไว้ส่วนหน่ึง เหมือนกัน เราต้องเคารพในสิทธิของเขา ให้เราอยู่
ทำ� บญุ สนุ ทาน ฉลาดดแู ลเรอ่ื งเงนิ เรอื่ งทอง ไมป่ ระมาท ด้วยอุเบกขา อนาคตข้างหน้าหากเขาเปล่ียนใจ เราก็
ไมห่ ลงใหล ถงึ เวลาจะไปแลว้ ไม่ต้องเดือดร้อน ยงั พรอ้ มท่ีจะน�ำพา
ขอ้ ทสี่ องเตือนวา่ ความหวงแหนคนที่เรารักเปน็ สัจจะ มีพลังศักด์ิสิทธ์ิจริงๆ การพูดเท็จในเรื่อง
ธรรมชาตทิ ร่ี นุ แรง ฉะนนั้ ผใู้ ฝช่ วี ติ ดงี าม ควรเขม้ งวดใน เล็กนอ้ ย ไม่วา่ ด้วยเหตุผลใดๆ ท�ำให้เรารับพลงั นี้ไมไ่ ด้
ศลี ขอ้ ทสี่ าม เพอื่ จะไมต่ อ้ งสรา้ งความทกุ ข์ ความระทม นา่ เสียดาย
ขมข่ืนให้กับภรรยาหรือสามี ในขณะเดียวกัน เราต้อง สามภี รรยาท่ไี มเ่ ขา้ วดั อาจจะมกี ารยืนยนั ในบาง
ยอมรับว่า ความหวงแหนเป็นกิเลสที่เราควรขัดเกลา เร่อื งทเ่ี ป็นจรงิ กไ็ ด้ แต่มันคงไม่ศกั ด์สิ ิทธิ์ เชน่ การพูด
ด้วยการพยายามพัฒนาความรู้สึกต่อคนรอบข้าง ฉันรักเธอ กลับไปกลับมาหลายรอบ สามีก็น�้ำตาคลอ
ใหน้ ้อมไปในทางแหง่ พรหมวิหารมากข้ึน ผูท้ รี่ ักค่คู รอง ภรรยาก็ร้องไห้ เปลืองกระดาษทิชชูหลายแผ่นแล้ว
อย่างนี้ ต้องการให้เขามีความสุข ไม่ต้องการให้เขามี เกดิ แต่พลังสัง่ ขม้ี ูก
ความทกุ ขแ์ มแ้ ตน่ อ้ ย คดิ ถงึ ตอนตวั เองจะตาย แลว้ ถาม
ตนวา่ ถา้ เขาเกดิ เหงา อยากมคี นใหม่ เราจะรสู้ กึ อยา่ งไร ที่มา : ตัดตอนมาจากหนังสือ “๖ พระสูตร” ของ
ไหม ถา้ ไดค้ �ำตอบวา่ เห็นใจ อยา่ งนี้เรียกวา่ เก่งใชไ้ ด้ พระอาจารย์ชยสาโร จัดพิมพ์โดย โรงเรียนทอสี
เมือ่ พ.ศ. ๒๕๕๖

26

ตุวฏกปฎิปทา ปัญญาปรทิ ัศน์

ภควตาปาติโมกข์ธีรปัญโญ

วารสารโพธิยาลยั ฉบับน้ี นบั เปน็ ฉบับที่ ๓๗ และแสดงปาติโมกข์ทั้งหมดเพียง ๓ คร้ัง พระ
แล้ว ถอื ว่าเป็นฉบบั พเิ ศษ เพราะตัวเลข ๓๗ น้ัน โกณฑัญญะพุทธเจ้าเป็นพระพุทธเจ้าองค์ถัดมา
ถอื เป็นตวั แทนของธรรมรตั นะกว็ า่ ได้ ในวารสาร จากพระทปี ังกรพทุ ธเจา้ )
ฉบับกอ่ นๆ ได้พูดถึง ธรรมะ ๓๗ กันมาหลายชดุ มาถึงสมัยพระโคตมพุทธเจ้าของพวกเรา
แลว้ เชน่ ตถาคตธรรม ๓๗ โพธิปกั ขยิ ธรรม ๓๗ วันเพ็ญเดือน ๗ น้ี ยังนับเป็นวันส�ำคัญที่พระ
เนกขมั มธรรม ๓๗ สวากขาตธรรม ๓๗ เปน็ ต้น พทุ ธองคท์ รงแสดงมหาสมยั สตู ร แกพ่ ระขณี าสพ
มาฉบับนี้ ขอเสนอธรรมะ ๓๗ ในหมวดของ ๕๐๐ รูป ที่ออกบวชมาจากศากยสกุลอีกด้วย
พระวนิ ัยหรอื ขอ้ ปฏบิ ตั ิกันดบู า้ ง ในวันน้ี เหล่าเทวดาและพรหมมาประชุมกัน
ย้อนหลังไป ๓ อสงไขยแสนมหากัปที่แล้ว มากมาย เพื่อมาทัศนาพระอรหันต์ และมาฟัง
ในวันเพ็ญเดือนเชษฐะ (เดือน ๗) นี้ เป็นวันที่ ธรรม พระพุทธองค์ทรงตรวจดูจริตของพวก
พระโกณฑัญญะพุทธเจ้าทรงยกปาติโมกข์ข้ึน เทวดากลุ่มต่างๆ แล้ว ก็ได้ตรัสอีก ๖ พระสูตร
แสดงแก่ภิกษุแสนโกฏิ มีพระสุภัททเถระเป็น ใหเ้ หมาะกบั จรติ ๖ แบบนน้ั ๆ คอื สมั มาปรพิ พา-
ประธาน นับเป็นการประชุมคร้ังแรกในศาสนา ชนียสูตร ส�ำหรับพวกราคจริต ปุราเภทสูตร
ของพระโกณฑัญญะศาสดาพระองค์น้ัน (ใน สำ� หรบั พวกพทุ ธจิ รติ กลหววิ าทสตู ร สำ� หรบั พวก
ศาสนาของพระองค์มีการประชุมสาวกสันนิบาต โทสจริต จูฬวิยูหสูตร ส�ำหรับพวกวิตกจริต

๓๗ 27

มหาพยหู สตู ร สำ� หรับพวกโมหจริต และ ตุวฏก- มีมหานิทเทสซ่ึงเป็นค�ำอธิบายของพระสารีบุตร
สตู ร สำ� หรบั พวกศรทั ธาจรติ (สมั มาปรพิ พาชนยี - อยูใ่ นพระไตรปฎิ กเองดว้ ย) เป็นแบบเรียนทีภ่ กิ ษุ
สูตรมาจาก จูฬวรรค สุตตนิบาต ขุททกนิกาย ยคุ แรกๆ ทอ่ งจำ� กนั ไดจ้ นติดปากและข้นึ ใจ ก่อน
สุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ส่วนพระสูตรอ่ืนๆ ท่ี ท่ีอาณาปาตโิ มกขจ์ ะคอ่ ยๆ บญั ญตั ขิ ้นึ จนครบทัง้
เหลอื น้นั มาจาก อัฏฐกนิบาต ในเลม่ เดียวกัน) ๒๒๗ ข้อ
หลังจากท่ีทรงแสดงพระสูตรเหล่าน้ีเสร็จ สว่ นคำ� วา่ “ปฏปิ ทา และ ปาตโิ มกข”์ นี้ เปน็
ลงแล้ว เทวดาแสนโกฏิบรรลุอรหัตตผล ส่วน ค�ำท่ีพระพุทธองค์ทรงเป็นผู้ใช้เอง ในการถาม
มรรคผลเบ้ืองต�่ำ ๓ มีประมาณนับไม่ถ้วน (ใน ตอบ เพื่ออธิบายขยายความปฏิปทาท่ีน�ำไปสู่
พระไตรปิฎกมี ๔ พระสูตรท่มี เี ทวดาบรรลธุ รรม ความดับกิเลส (โดยเร็ว) ซึ่งในตุวฏกสูตรนั้นได้
มากมายเท่านี้ อีก ๓ พระสูตรคือ มงคลสูตร แบ่งปฏิปทาเป็น ๒ สว่ น คือ ปาตโิ มกขปฏิปทา
จูฬราหุโลวาทสตู ร และสมจิตตสตู ร) และ สมาธิปฏิปทา ในฎีกาวิสุทธิมรรค ท่านใช้
สำ� หรบั ปุราเภทสูตร และ จฬู วยิ หู สูตร ได้ ค�ำวา่ ภควตาเทสิตปฏปิ ทา เปน็ ปฏปิ ทาท่พี ระผู้
เคยน�ำมาแสดงในวารสารฉบับก่อนๆ แล้ว วันน้ี มพี ระภาคทรงแสดงเอง ใหส้ งั เกตความคลา้ ยคลงึ
เราจะมาดทู พ่ี ระสตู รสดุ ทา้ ย คือ ตวุ ฏกสูตร หรอื กบั โพธิปกั ขยิ ธรรม ๓๗ ทม่ี ชี ่ือเรียกอกี อย่างวา่
ทเ่ี รยี กอกี อยา่ งไดว้ า่ ตวุ ฏกปฏปิ ทา มาดซู วิ า่ พวก อภญิ ญาเทสติ ธรรม (อนั หนง่ึ เปน็ ปฏปิ ทา อนั หนง่ึ
เทวดาที่มีศรัทธานั้น เขาบรรลุธรรมเพราะได้ฟัง เป็นธรรม ท่ีพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเอง)
ธรรมะแบบไหนกนั ถ้าปาติโมกข์ ๒๒๗ ข้อ เราเรียกย่อๆ ว่า ภิกขุ-
หลายคนคงเคยได้ยิน โอวาทปาติโมกข์ ปาติโมกข์ ปาติโมกข์ ๓๗ ข้อน้ี ผูเ้ ขยี นขอเสนอ
(คือธรรมะ ๓ ข้อ ที่พระพุทธเจ้าแสดงในวัน ช่ือว่า ภควตาปาติโมกข์ ซ่ึงเป็นปาติโมกข์ใน
มาฆะบชู า ขนึ้ ตน้ ดว้ ยการไมท่ ำ� บาปทง้ั ปวง การทำ� แนวพระสูตร ไม่ใช่ในแนวพระวินัย ถ้าภิกขุ-
กุศลให้ถึงพร้อม และการช�ำระจิตของตนให้ขาว ปาติโมกข์ เปรียบเหมือนกฎหมายของพระที่
รอบ) และอาณาปาติโมกข์ (ซงึ่ เปน็ การรวบรวม ละเอยี ดละออมาก ภควตาปาตโิ มกขน์ ้ี กค็ งเหมอื น
พระวนิ ยั ที่พระพทุ ธเจา้ บัญญัติไว้ ๒๒๗ ข้อ ภกิ ษุ guideline หรือแนวปฏบิ ตั กิ วา้ งๆ ท่ียดื หย่นุ กวา่
น�ำมาสวดในวันอุโบสถ) กันมาบ้างแล้ว แต่ถ้า และอาจจะงา่ ยกวา่ ในการท�ำความเขา้ ใจ
ถามวา่ เคยไดย้ นิ ปาตโิ มกข์ ๓๗ ขอ้ หรอื ปฏปิ ทา- กอ่ นอ่ืน ขอน�ำผลของผู้ทปี่ ฏิบตั ติ ามปฏิปทา
ปาตโิ มกข์ ไหม ? หลายคนคงจะเลกิ คว้ิ ผเู้ ขยี นเอง ปาติโมกข์น้ี จากคัมภีร์วิสุทธิมรรคมาเล่าให้ฟัง
ก็เพิ่งจะค้นพบปาติโมกข์แบบนี้ในพระไตรปิฎก กันก่อน เป็นตัวอย่างของการไม่มีกุลปลิโพธ
เมอ่ื ไมน่ านมานเี่ อง จงึ ขอนำ� มาแบง่ ปนั กนั สำ� หรบั (ความหว่ งตระกลู ญาตหิ รอื ตระกลู อปุ ฏั ฐาก) เพอื่
ผู้เริ่มศึกษาบางท่านนั้น โอวาทปาติโมกข์ ๓ ข้อ เป็นการเตรียมตัวให้พร้อมในการปฏิบัติ ตระกูล
อาจจะย่อเกินไป อาณาปาติโมกข์ ๒๒๗ ข้อ ก็ อุปัฏฐากอาจเป็นปลิโพธ แก่ภิกษุบางรูปผู้อยู่
อาจจะเยอะเกินไป ลองมาศึกษาดูแบบพอ คลุกคลี “เม่ือเขาสุขก็สุขไปกับเขาด้วย เมื่อเขา
ปานกลาง ๓๗ ข้อบ้าง ก็น่าสนใจ พระสูตรนี้ ทุกขก์ ็ทกุ ข์ไปด้วย” ภิกษุรูปนั้นจะละตระกลู ไป
จดั เป็นพระสตู รในยคุ ตน้ ๆ ของพทุ ธกาล (เพราะ ฟังธรรมที่วิหารใกล้เคียงก็ไม่ได้ แต่บิดามารดา

28 ๓๗

อาจไม่เป็นปลิโพธแก่ภิกษุบางรูป เช่น กับภิกษุ อยจู่ ำ� พรรษาในอาวาสของพวกเรา เธอควรบำ� รงุ
หนุ่ม ผู้เป็นหลานของพระติสสเถระ ผู้อยู่ท่ี โดยเคารพ” อุบาสิการับค�ำว่า “ดีละ” แล้วจึง
โกรันทกวหิ าร ฉะน้นั จัดแจงของควรเค้ียว ของควรฉัน ที่ประณีตไว้
มเี รอื่ งเลา่ วา่ ภกิ ษหุ นมุ่ รปู นนั้ ไดไ้ ปเรยี นบาลี ภกิ ษหุ นมุ่ กไ็ ดไ้ ปสเู่ รอื นญาตใิ นเวลาฉนั ภตั ร ใครๆ
ที่โรหณชนบท แม้อบุ าสิกาโยมแม่ ผูเ้ ป็นนอ้ งสาว ต่างกจ็ �ำท่านไมไ่ ด้
ของพระตสิ สเถระ กถ็ ามถงึ ความเปน็ ไปของภกิ ษุ ภิกษุหนุ่มนั้นฉันบิณฑบาต อยู่จ�ำพรรษาใน
หนุม่ กะพระเถระอยทู่ ุกเมอื่ พระเถระคดิ ว่า “สกั ทน่ี ้ัน ตลอด ๓ เดือนแล้ว จึงบอกลาว่า “อาตมา
วันหนง่ึ เราจักนำ� ภกิ ษหุ น่มุ มาเสยี ท”ี จึงมุ่งหนา้ จะไปละ” พวกญาติทั้งหลายของท่านกล่าวว่า
ส่โู รหณชนบท แมภ้ ิกษหุ นุ่มก็คิดวา่ “เราอยใู่ นที่ “ท่านผู้เจริญ พรุ่งนี้ค่อยไปเถิด” ในวันรุ่งข้ึน
นี้นานแล้ว จกั ขอไปเยย่ี มอุปัชฌาย์เด๋ยี วน้ี ทราบ นิมนต์ให้ท่านฉันในเรือน แล้วใส่กระบอกน�้ำมัน
ความเปน็ ไปของอุบาสกิ า (โยมแม)่ ดว้ ยแลว้ จงึ จนเต็ม ถวายน�้ำอ้อยงบก้อนหน่ึง และผ้าจีวร
จะกลับ” จึงออกจากโรหณชนบทไป ภกิ ษทุ ้งั สอง ยาว ๙ ศอก แล้วก็กล่าวว่า “ขอท่านผู้เจริญ
น้ันมาพบกันกลางทาง ภิกษุหนุ่มกระท�ำวัตรแก่ จงไปเถดิ ” ภกิ ษหุ นุม่ ท�ำอนโุ มทนา แล้วก็มุ่งหนา้
พระอุปัชฌาย์เถระผู้ลุง ท่ีโคนต้นไม้ต้นหนึ่งแล้ว กลับไปส่โู รหณชนบท
พอถูกถามว่า “เธอจะไปไหน” จึงได้แจ้งความ แมอ้ ุปชั ฌาย์ของท่าน เม่ือปวารณาแลว้ เดิน
ข้อนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า “เธอท�ำดีแล้ว แม้ ทางย้อนกลับมา ก็พบกับท่านเข้าตรงที่ท่ีพบกัน
อุบาสิกาก็ถามถึงเธออยู่เร่ือย ถึงเราเองก็มาเพ่ือ ในตอนแรกนั่นเอง ภิกษุหนุ่มไหว้พระเถระผู้ลุง
เรอ่ื งนี้เหมือนกัน เธอจงไปเถอะ ส่วนตวั เราจักจำ� กระท�ำวัตรแก่พระเถระที่โคนต้นไม้นั้น ครั้งนั้น
พรรษานี้อยูเ่ สยี ทีโ่ รหณชนบทน่ีแหละ” แลว้ กส็ ่ง พระเถระถามภิกษุหนุ่มว่า “ดูกร พ่อภัทรมุข
ภกิ ษหุ นมุ่ นน้ั ไป ภกิ ษหุ นมุ่ รปู นน้ั ถงึ โกรนั ทกวหิ าร (พ่อหน้าบาน) เธอพบอุบาสิกาแล้วหรือ” ภิกษุ
นน้ั ในวนั เขา้ พรรษานนั่ เอง ไดเ้ ขา้ อยใู่ นเสนาสนะ หนมุ่ ตอบวา่ “พบแลว้ ครบั ทา่ น” แลว้ กเ็ ลา่ ความ
ทบี่ ดิ าใหเ้ ขาทำ� ไวเ้ พอ่ื ทา่ นเลยทีเดียว เป็นไปทั้งหมด พร้อมท้ังเอาน้�ำมันที่ได้มานั้น
คร้ังนั้น บิดาของภกิ ษุหน่มุ มาวัดในวนั รงุ่ ขึ้น ทาเท้าท้ังสองของพระเถระ ใช้น�้ำอ้อยงบท�ำเป็น
ถามวา่ “ภนั เต ใครมาพกั ทเี่ สนาสนะของกระผม” น้�ำปานะ ถวายผ้าจีวรผืนนั้นแก่พระเถระ ไหว้
พระในวัดนั้นก็ตอบว่า “ภิกษุอาคันตุกะหนุ่มรูป แล้วกล่าวว่า “ภันเตครับ โรหณชนบทเท่าน้ัน
หนึ่ง” บิดาจึงเข้าไปหาภิกษุหนุ่ม ไหว้แล้วกล่าว เป็นที่สัปปายะแก่กระผม” แล้วจึงไป พระเถระ
วา่ “ข้าแต่ทา่ นผเู้ จรญิ วตั รสำ� หรบั ผ้อู ยจู่ �ำพรรษา กลับมาสู่โกรันทกวิหาร ในวันรุ่งข้ึน จึงได้เข้าไป
ในเสนาสนะของกระผมมอี ย”ู่ ภกิ ษหุ นมุ่ จงึ ถามวา่ สู่โกรนั ทกคาม
“วตั รอะไรหรืออุบาสก” บดิ าตอบวา่ “ตลอด ๓ ฝา่ ยอบุ าสกิ าคดิ วา่ “สกั ประเดย๋ี ว พระพช่ี าย
เดอื น ตอ้ งรบั ภกิ ษาในเรอื นของกระผมเทา่ นนั้ ใน เราจกั พาบตุ รของเรามา” จงึ คอยยนื ดหู นทางอยู่
เวลาทปี่ วารณาแลว้ จะไปควรบอกลา” ภกิ ษหุ นมุ่ ตลอดเวลาทีเดียว คร้ันเห็นพระเถระน้ันมาเพียง
ยอมรบั โดยดษุ ณี แมอ้ บุ าสกกไ็ ปสเู่ รอื น แลว้ กลา่ ว รูปเดยี วเท่านนั้ ก็คิดวา่ “เหน็ ทบี ตุ รของเราคงจะ
กะอุบาสิกาว่า “มีพระคุณเจ้าอาคันตุกะรูปหนึ่ง ตายเสียแล้ว ท่านจงึ มาเพยี งรูปเดยี วเทา่ นนั้ ” จึง

๓๗ 29

ทอดตวั ลงนอนรอ้ งไหค้ รำ่� ครวญอยทู่ แี่ ทบเทา้ ของ กม็ าถงึ ยคุ ของวสิ ทุ ธมิ รรคและฎกี า (พนั กวา่ ปหี ลงั
พระเถระนั้น พระเถระคิดว่า “ภิกษุหนุ่มจากไป พุทธกาล) และใช้กล่อมเกลาให้กุลบุตร เป็นผู้มี
โดยไม่ยอมให้ใครๆ แม้แต่บิดามารดารู้จักตน ความมกั นอ้ ย สนั โดษ ไมต่ ิดตระกลู เปน็ อย่างยง่ิ
เพราะความเป็นคนมักน้อยจริงๆ หนอ” แล้วจึง จึงท�ำให้เป็นท่ีเล่ือมใสแม้แก่บิดามารดาของตน
ปลอบโยนโยมน้องสาว เล่าความเป็นไปท้ังหมด (ซึง่ ปกตมิ ักเหน็ เป็นพระลูกชาย มากกว่าเห็นเปน็
นำ� ผ้าจีวรผนื นน้ั ออกมาแสดง พระภิกษุ) ค�ำว่า ตุวฏ แปลว่า ด่วน ปฏิปทา
อุบาสิกาเล่ือมใส หันหน้าตรงไปทางทิศท่ี แปลว่า ทาง เม่ือมารวมกัน ตุวฏกปฏิปทา จึง
บุตรจากไป หมอบกราบ ยกมือข้ึนแนบอก แปลได้ว่า ทางด่วน ส�ำหรับท่านที่สนใจปฏิปทา
นมัสการอยู่ กล่าวว่า “พระผู้มีพระภาคเห็นที ท่ีจะน�ำไปสู่มรรคผลอย่างรวดเร็ว จึงควรศึกษา
จะทรงกระท�ำภิกษุผู้เป็นดั่งเช่นบุตรเรา ให้เป็น พระสตู รน้ีอย่างละเอียด
กายสกั ขี (เป็นพยาน) หนอ แสดงรถวินตี ปฏปิ ทา เอาละ เกร่ินน�ำมาพอสมควรแล้ว มาดูราย
นาลกปฏิปทา ตวุ ฏกปฏปิ ทา และมหาอรยิ วังส- ละเอียดกันเลยว่า ตวุ ฏกปฏปิ ทานี้ คอื อะไร และ
ปฏิปทา ซึ่งแสดงถึงความสันโดษในปัจจัย ๔ ข้อปฏิบัติ ปฏิปทาปาติโมกข์ ๓๗ ข้อนี้มีอะไร
และความยินดีในการภาวนา แม้ว่าเธอฉันอยู่ใน กันบ้าง หวังว่าถ้าพระภิกษุน�ำมาสวด สาธยาย
เรือนของมารดาผ้ใู หก้ ำ� เนิด ตลอดเวลา ๓ เดอื น และศึกษากันอย่างจริงๆ จังๆ ในแต่ละหัวข้อ
แท้ๆ ก็ยังไม่ยอมกล่าวว่า ‘อาตมาเป็นบุตรของ ให้ละเอียด เหมือนกับมงคลสูตร ๓๘ ประการ
ทา่ น ท่านเป็นมารดาของเรา’ โอ้ อัจฉรยิ มนษุ ย”์ ท่ีฆราวาสเขาศึกษากัน ก็น่าจะเป็นการเร่ิมต้น
ส�ำหรับภิกษุผู้เป็นเช่นนี้ แม้แต่มารดาบิดาก็ยัง ชีวติ นกั ศกึ ษาบนทางดว่ นท่ดี ีและปลอดภยั
ไม่เป็นปลิโพธ จะป่วยกล่าวไปไยถึงตระกูล
อุปัฏฐากอน่ื เล่า ดงั น้แี ล หมายเหตุ ในตัวพระสูตร อรรถกถา หรือฎกี า ไม่ไดน้ บั
แบ่งหัวข้อเอาไว้ แต่ผู้เรียบเรียงขอโอกาสแบ่งเป็น
จะเห็นวา่ ตุวฏกปฏปิ ทา นัน้ เปน็ ทีร่ ู้จักและ ๓๗ หัวข้อเอง เพ่ือให้จ�ำง่าย เป็นประโยชน์แก่การ
จำ� กนั ไดท้ วั่ ไปในหมภู่ กิ ษุ และอบุ าสกิ า อยา่ งนอ้ ย อ้างถงึ เพอ่ื ศกึ ษาในรายละเอียดแต่ละขอ้ ตอ่ ไป

30 ๓๗

ตวุ ฏกสตู ร

อฏั ฐกวรรค สตุ ตนิบาต ข้อ ๙๒๑-๙๔๐
ขทุ ทกนิกาย สุตตันตปฎิ ก

๑. “ปุจฉามิ ตงั อาทิจจะพนั ธุ วิเวกงั สนั ติปะทญั จะ มะเหสิ
กะถงั ทิสวฺ า นิพพาติ ภกิ ขุ อะนปุ าทยิ าโน โลกสั มฺ ิง กญิ จ”ิ

๒. “มูลัง ปะปัญจะสังขายะ (อิติ ภควา) มนั ตา อสั ฺมตี ิ สพั พะมปุ ะรุนเธ
ยา กาจิ ตัณฺหา อชั ฌตั ตัง ตาสงั วนิ ะยา สะทา สะโต สกิ เข

๓. “ยงั กิญจิ ธัมมะมะภชิ ญั ญา อัชฌัตตัง อะถะวาปิ พะหิทธา
นะ เตนะ ถามัง กพุ เพถะ นะ หิ สา นิพพตุ ิ สะตัง วตุ ตา

๔. “เสยโย นะ เตนะ มัญเญยยะ นีเจยโย อะถะวาปิ สะริกโข
ผุฏโฐ อะเนกะรูเปห ิ นาตุมานัง วกิ ปั ปะยงั ติฏเฐ

๕. “อชั ฌตั ตะเมวุปะสะเม นะ อัญญะโต ภิกขุ สนั ติเมเสยยะ
อัชฌตั ตัง อปุ ะสนั ตสั สะ นตั ถิ อตั ตา กโุ ต นริ ัตตา วา

๖. “มชั เฌ ยะถา สะมุททัสสะ อมู ิ โน ชายะตี ฐโิ ต โหติ
เอวัง ฐิโต อะเนชสั สะ อุสสะทัง ภกิ ขุ นะ กะเรยยะ กหุ ญิ จ”ิ

๗. “อะกิตตะยี ววิ ะฏะจักขุ สักขิธมั มัง ปะริสสะยะวนิ ะยัง
ปะฏิะปะทงั วะเทหิ ภทั ทันเต ปาติโมกขัง อะถะวาปิ สะมาธงิ ”

๓๗ 31

ตวุ ฏกปฏิปทา
วธิ ีดบั (กเิ ลส) ดว่ น

(พระพุทธเนรมติ ทลู ถาม)
[๑] ข้าพระองคข์ อทลู ถาม ถงึ วเิ วกและสันตบิ ท กะพระองค์ ผูท้ รงเป็นเผ่าพันธุพ์ ระอาทติ ย์
ผูท้ รงแสวงหาคณุ อนั ย่งิ ใหญ่ ว่า “ภกิ ษุเห็นอย่างไร จึงไมถ่ อื มนั่ อะไรๆ ในโลก ดบั ไป”

(พระผมู้ พี ระภาคตรสั ตอบ)
[๒] ภิกษุพงึ ขจัดบาปธรรมทงั้ ปวง ทีเ่ ป็นรากเหงา้ แหง่ กเิ ลสเคร่อื งเนิน่ ชา้ *
และอัสมิมานะ ด้วยมนั ตา** ตณั หาอยา่ งใดอยา่ งหน่ึงทเ่ี กดิ ในภายใน
ภกิ ษุมีสตทิ กุ เมอ่ื พึงศกึ ษาเพอื่ กำ� จดั ตณั หาเหล่านั้น
(* มูลของปปญั จสังขา คอื อวชิ ชา อโยนิโสมนสกิ าร อัสมมิ านะ อหริ ิกะ อโนตตัปปะ อทุ ธัจจะ ** ปัญญา)

[๓] ภกิ ษุพงึ รู้คุณธรรมอย่างใดอยา่ งหนึ่ง ในภายในหรอื ในภายนอก
แตไ่ มค่ วรท�ำความถือตวั * เพราะคุณธรรมน้ัน เพราะการท�ำความถอื ตวั น้ัน
ผสู้ งบทงั้ หลายกล่าวว่า ไมเ่ ป็นความดบั กิเลส
(*ถามํ คือ ความดอ้ื ร้ัน)

[๔] ภกิ ษไุ ม่พงึ ส�ำคญั ตนวา่ ‘เราเลิศกว่าเขา’ ‘เราด้อยกว่าเขา’
หรือวา่ ‘เราเสมอเขา’ เพราะคณุ ธรรมนั้น เปน็ ผู้ประกอบด้วยคุณธรรมตา่ งๆ แลว้
ไม่พงึ ต้ังกำ� หนดส�ำคัญตน (ดว้ ยคณุ ธรรมนั้น)

[๕] ภิกษุพงึ สงบกิเลสภายในนน่ั เอง ไม่พึงแสวงหาความสงบโดยทางอ่นื
เมอื่ ภกิ ษุสงบกิเลสภายในได้แล้ว ทิฏฐิว่าอัตตาเท่ียง หรอื ทิฏฐิวา่ อตั ตาสิน้ สูญ ก็ไมม่ แี ตท่ ไี่ หนๆ

[๖] คลืน่ ไม่เกดิ ในส่วนกลางทะเล ฉันใด ความหว่ันไหวก็ไมเ่ กดิ แก่ผมู้ ่นั คง ฉนั นน้ั
ภกิ ษไุ มพ่ งึ ก่อกเิ ลสเครอื่ งฟูใจ* ในทไ่ี หนๆ
(*อุสสทะ คอื ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทฏิ ฐิ กิเลส กรรม)

(พระพุทธเนรมติ ทูลถาม)
[๗] พระผู้มีพระภาค ผูม้ พี ระจกั ษุ*เปิด ไดท้ รงแสดงธรรมทป่ี ระจักษ์เอง
อันเปน็ ธรรมเคร่ืองก�ำจดั อนั ตราย ข้าแต่พระองค์ผูเ้ จรญิ ขอพระองคจ์ งตรสั บอก
ปฏปิ ทาของทา่ น คอื ปาตโิ มกข์ หรอื แม้ สมาธิ เถิด
(*มงั สจักษุ ทิพพจักษุ ปญั ญาจกั ษุ พทุ ธจกั ษุ สมนั ตจกั ษุ)

32 ๓๗ คามะกะถายะ อาวะระเย โสตงั ๒
๘. “จักขหู ิ เนวะ โลลสั สะ๑ นะ จะ มะมาเยถะ กิญจิ โลกสั ฺมงิ ๔
ระเส จะ นานุคิชเฌยยะ๓ ปะริเทวงั ภิกขุ นะ กะเรยยะ กุหิญจ๕ิ
๙. “ผัสเสนะ ยะทา ผุฏฐัสสะ เภระเวสุ จะ นะ สัมปะเวเธยยะ๗
ภะวญั จะ นาภชิ ปั เปยยะ๖ ขาทะนียานัง อะโถปิ วัตถานงั
๑๐. “อนั นานะมะโถ ปานานัง นะ จะ ปะริตตะเส ตานิ อะละภะมาโน๙
ลัทธา นะ สนั นธิ ิง กะยิรา๘ วิระเม กกุ กุจจา๑๒ นปั ปะมชั เชยยะ๑๓
๑๑. “ฌาย๑ี ๐ นะ ปาทะโลลสั สะ๑๑ อัปปะสัทเทสุ ภิกขุ วหิ ะเรยยะ๑๔
อะถาสะเนสุ สะยะเนสุ ชาคะรยิ ัง ภะเชยยะ๑๖ อาตาป๑ี ๗
๑๒. “นิททงั นะ พะหลุ กี ะเรยยะ๑๕ เมถุนัง วิปปะชะเห สะวิภูสัง๑๘
ตนั ทิง มายงั หสั สัง ขิฑฑงั โน วทิ ะเห อะโถปิ นกั ขตั ตัง๑๙
๑๓. “อาถัพพะณัง สุปินงั ลักขะณงั ตกิ จิ ฉงั มามะโก นะ เสเวยยะ๒๐
วิรตุ ัญจะ คพั ภะกะระณงั นะ อณุ ณะเมยยะ ปะสังสิโต ภกิ ข๒ุ ๒
๑๔. “นินทายะ นปั ปะเวเธยยะ๒๑ โกธัง เปสุณยิ ัญจะ ปะนุเทยยะ๒๔
โลภัง สะหะ มัจฉะรเิ ยนะ๒๓ อปุ ะวาทัง ภกิ ขุ นะ กะเรยยะ กหุ ิญจ๒ิ ๖
๑๕. “กะยะวกิ กะเย นะ ติฏเฐยยะ๒๕ ลาภะกมั ฺยา ชะนัง นะ ละปะเยยยะ๒๘
คาเม จะ นาภสิ ัชเชยยะ๒๗

๓๗ 33

(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบ)
[๘] ๑) ภิกษุไม่พงึ เป็นผู้มตี าลอกแลก ๒) พงึ ปอ้ งกนั หูมิใหไ้ ดย้ ินคามกถา*
๓) ไม่พงึ ติดใจในรส และ ๔) ไมพ่ ึงยึดถืออะไรๆ ในโลกว่า เปน็ ของเรา
(*ติรัจฉานกถา)

[๙] ๕) เมื่อใด ภกิ ษถุ ูกผัสสะกระทบ เม่ือนั้น เธอกไ็ ม่พงึ ท�ำความครำ�่ ครวญในท่ีไหนๆ
๖) ไมพ่ งึ คาดหวังภพ และ ๗) ไมพ่ งึ กระสับกระสา่ ยเพราะอารมณ์ท่ีนา่ กลวั

[๑๐] ๘) ภกิ ษุได้ข้าวกด็ ี น�ำ้ ก็ดี ของขบเค้ียวกด็ ี ผา้ กด็ ี ไมค่ วรทำ� การสะสม
๙) เมื่อไมไ่ ด้ กไ็ ม่พึงสะดงุ้

[๑๑] ๑๐) ภกิ ษุพึงเป็นผู้มฌี าน ๑๑) ไมพ่ งึ ไปในท่ีไมค่ วรไป
๑๒) พงึ เว้นจากความไม่สำ� รวม (มอื เทา้ กริ ยิ า มารยาท)
๑๓) ไม่พึงประมาท และ ๑๔) พงึ อยูใ่ นทีน่ ่งั ทีน่ อนทีม่ เี สยี งน้อย

[๑๒] ๑๕) ภิกษไุ มพ่ งึ หลับมาก ๑๖) พงึ ประกอบความเพียรเครอ่ื งตนื่ อยู่
๑๗) มคี วามเพียรเคร่อื งเผากเิ ลส ๑๘) พงึ ละเวน้ ความเกียจคร้าน ความหลอกลวง

เรื่องชวนหวั การเล่น เมถนุ การประดับตกแตง่

[๑๓] ๑๙) ผู้นับถือพระรัตนตรยั ไม่พงึ ประกอบการท�ำอาถรรพณ์
การท�ำนายฝนั การทำ� นายลักษณะ หรอื แม้การดูฤกษ์ยาม
๒๐) ไมพ่ ึงเรยี นการทำ� นายเสยี งสัตว์ร้อง
การปรุงยาให้ตัง้ ครรภ์ และการบ�ำบดั รกั ษาโรค

[๑๔] ๒๑) ภิกษุไมพ่ ึงหวน่ั ไหวเพราะการนนิ ทา ๒๒) แมไ้ ด้รับการสรรเสริญก็ไมพ่ งึ ลำ� พองตน
๒๓) พึงบรรเทาความโลภรวมทงั้ ความตระหน่ี ๒๔) พงึ บรรเทาความโกรธและวาจาส่อเสยี ด

[๑๕] ๒๕) ภกิ ษุไมพ่ ึงดำ� รงชวี ติ ในการซ้ือขาย ๒๖) ไม่พงึ ก่อกิเลส เป็นเหตุให้ถูก (ผรู้ ู้) ตำ� หนิ
ในทไ่ี หนๆ
๒๗) ไม่พงึ เกีย่ วขอ้ งจัดแจงในบา้ น และ ๒๘) ไม่พงึ พูดเลยี บเคียงเพราะอยากได้ลาภ

34 ๓๗

๑๖. “นะ จะ กัตถิตา สยิ า ภกิ ข๒ุ ๙ นะ จะ วาจงั ปะยตุ ตงั ภาเสยยะ๓๐
ปาคัพภยิ ัง นะ สิกเขยยะ๓๑ กะถัง วิคคาหิกัง นะ กะถะเยยยะ๓๒

๑๗. “โมสะวัชเช นะ นีเยถะ๓๓ สัมปะชาโน๓๔ สะฐานิ นะ กะยิรา๓๕
อะถะ ชวี ิเตนะ ปญั ญายะ สีลัพพะเตนะ นาญญะมะติมญั เญ๓๖

๑๘. “สุตฺวา รุสิโต พะหุง วาจงั สะมะณานัง วา ปุถุชะนานัง
ผะรเุ สนะ เน นะ ปะฏวิ ัชชา นะ หิ สันโต ปะฏเิ สนิกะโรนต๓ิ ๗

๑๙. “เอตัญจะ ธัมมะมัญญายะ วิจินัง ภกิ ขุ สะทา สะโต สิกเข
สนั ตีติ นิพพุติง ั ตฺวา สาสะเน โคตะมสั สะ นะ ปะมัชเชยยะ

๒๐. “อะภิภู หิ โส อะนะภภิ โู ต สักขิธัมมะมะนตี หิ ะมะทัสสี
ตัสฺมา หิ ตสั สะ ภะคะวะโต สาสะเน อปั ปะมตั โต สะทา นะมัสสะมะนสุ ิกเข”ติ

๓๗ 35

[๑๖] ๒๙) ภกิ ษไุ มพ่ ึงเป็นคนมักอวด ๓๐) ไมพ่ ึงกล่าววาจาม่งุ ได้
๓๑) ไมพ่ งึ ศกึ ษาความเปน็ ผู้คะนอง ๓๒) ไมพ่ ึงกลา่ วถ้อยค�ำทเี่ ป็นเหตใุ หท้ ุม่ เถียงกัน

[๑๗] ๓๓) ภิกษไุ มพ่ ึงนำ� ชนไปในความเท็จ ๓๔) มสี มั ปชัญญะรู้ตัว
๓๕) ไมพ่ งึ ท�ำความโอ้อวด และ ๓๖) ไมพ่ ึงดูหม่นิ ผ้อู นื่ ด้วยความเปน็ อยโู่ ดยปัญญา
และดว้ ยศีลวตั รของตน

[๑๘] ๓๗) ภกิ ษผุ ูถ้ กู คนเหล่าอนื่ เบยี ดเบียน ไดย้ นิ คำ� พดู มากของพวกสมณะ หรอื พวกคนพดู มาก (เหล่าอ่นื )
ไมพ่ งึ โต้ตอบคนเหล่าน้ันด้วยคำ� หยาบ เพราะผูส้ งบย่อมไมส่ ร้างศตั รู

[๑๙] ภิกษรุ ธู้ รรมน้แี ล้ว เลือกสรรอย่*ู พงึ เปน็ ผู้มสี ติ มีสกิ ขาทกุ เมอ่ื
ร้คู วามดับกิเลสว่า เปน็ ความสงบแลว้ ไม่พงึ ประมาทในศาสนาของพระโคดม

(*วิจนิ ัง คือปญั ญา)

[๒๐] ภกิ ษนุ ้ันเป็นผคู้ รอบง�ำ* ไมถ่ ูกครอบง�ำ ได้เหน็ ธรรมที่เปน็ พยานดว้ ยตนเอง ไมต่ ้องเชื่อใคร
เพราะฉะน้ัน เธอพึงเปน็ ผูไ้ ม่ประมาท ในศาสนาของพระผ้มู พี ระภาคพระองคน์ นั้
นอบน้อมอยู่ พงึ หม่ันศกึ ษาทุกเมอ่ื เถดิ
(*ครอบง�ำอารมณ์ ๖ หรอื ครอบงำ� อกศุ ลธรรม)

36 ๓๗

อินทรีย ์ สรุป ๓๗ หวั ขอ้ ตามล�ำดบั ทีพ่ ระพุทธองคท์ รงแสดง (*ตริ จั ฉานกถา)
๑) ภกิ ษไุ ม่พงึ เป็นผู้มตี าลอกแลก
๒) พึงป้องกนั หมู ิใหไ้ ด้ยินคามกถา*
๓) ไมพ่ ึงตดิ ใจในรส และ
ผสั สะ ๔) ไม่พงึ ยึดถอื อะไรๆ ในโลกวา่ เป็นของเรา
๕) เม่ือใด ภิกษถุ ูกผัสสะกระทบ

เมอื่ น้นั เธอก็ไมพ่ งึ ท�ำความครำ�่ ครวญในทไ่ี หนๆ
ปจั จัยส ี่ ๖) ไมพ่ ึงคาดหวังภพ และ
๗) ไม่พึงกระสบั กระสา่ ยเพราะอารมณท์ น่ี า่ กลวั
ทส่ี งบ ๘) ภิกษไุ ด้ขา้ วก็ดี น�ำ้ กด็ ี ของขบเคย้ี วกด็ ี ผา้ กด็ ี ไม่ควรสะสม
๙) เมื่อไมไ่ ด้ ก็ไมพ่ งึ สะดุ้ง
๑๐) ภกิ ษพุ ึงเป็นผู้มฌี าน
๑๑) ไม่พึงไปในทไ่ี ม่ควรไป
๑๒) พงึ เว้นจากความไม่ส�ำรวม (มือ เทา้ กิริยา มารยาท)
ไม่เซาซบ ๑๓) ไมพ่ ึงประมาท และ
๑๔) พึงอยใู่ นทีน่ ่ังทีน่ อนทมี่ ีเสยี งนอ้ ย
๑๕) ภกิ ษไุ ม่พงึ หลับมาก
๑๖) พึงประกอบความเพยี รเครือ่ งต่นื อยู่
๑๗) มีความเพียรเครอื่ งเผากเิ ลส
สยบไสย ์ ๑๘) พงึ ละเว้นความเกียจคร้าน ความหลอกลวง

เรอื่ งชวนหวั การเล่น เมถนุ การประดับตกแต่ง
๑๙) ผนู้ ับถอื พระรตั นตรยั ไม่พึงประกอบการทำ� อาถรรพณ์
ไม่ไหวหว่ัน
การทำ� นายฝนั การท�ำนายลักษณะ หรอื แม้การดฤู กษย์ าม
๒๐) ไมพ่ งึ เรยี นการท�ำนายเสียงสตั ว์ร้อง

การปรุงยาใหต้ งั้ ครรภ์ และการบ�ำบัดรักษาโรค
๒๑) ภิกษไุ ม่พึงหวั่นไหวเพราะการนนิ ทา
๒๒) แมไ้ ดร้ บั การสรรเสริญกไ็ ม่พงึ ลำ� พองตน
๒๓) พึงบรรเทาความโลภ รวมทัง้ ความตระหน่ี
๒๔) พึงบรรเทาความโกรธและวาจาสอ่ เสยี ด

๓๗ 37

ไม่ย่งุ เรือน ๒๕) ภกิ ษุไม่พึงดำ� รงชีวิตในการซ้อื ขาย
๒๖) ไม่พงึ ก่อกเิ ลสเปน็ เหตุใหถ้ กู (ผรู้ )ู้ ตำ� หนิ ในทไ่ี หนๆ
๒๗) ไม่พึงเกยี่ วข้องจัดแจงในบ้าน
และ ๒๘) ไม่พึงพูดเลยี บเคียงเพราะอยากได้ลาภ

ใหม้ ุ่งเรียน ๒๙) ภิกษไุ ม่พึงเป็นคนมกั อวด
๓๐) ไม่พึงกล่าววาจามงุ่ ได้
๓๑) ไม่พึงศึกษาความเป็นผคู้ ะนอง

อย่าเถยี งกัน ๓๒) ไม่พึงกลา่ วถอ้ ยค�ำทเี่ ป็นเหตุใหท้ ่มุ เถยี งกัน

รักษ์สัจมนั่ ๓๓) ภกิ ษุไม่พึงนำ� ชนไปในความเท็จ

ไม่หม่นิ กัน... ๓๔) มีสัมปชญั ญะร้ตู ัว
๓๕) ไม่พงึ ท�ำความโอ้อวด
๓๖) ไม่พึงดหู มิน่ ผูอ้ ื่น ดว้ ยความเป็นอยู่โดยปญั ญาและดว้ ยศีลวตั รของตน

ไมท่ ้อใจ... ๓๗) ภกิ ษผุ ู้ถกู คนเหล่าอ่นื เบยี ดเบยี น
ไดย้ นิ คำ� พดู มากของพวกสมณะ หรอื พวกคนพดู มาก (เหล่าอื่น)
ไมพ่ งึ โต้ตอบคนเหล่านน้ั ดว้ ยคำ� หยาบ
เพราะผสู้ งบย่อมไมส่ รา้ งศตั รู

หมน่ั ศึีกษา... ภกิ ษรุ ู้ธรรมน้แี ลว้ เลอื กสรรอยู่
พึงเปน็ ผ้มู สี ติ มีสิกขาทกุ เม่อื
รคู้ วามดบั กิเลสว่า เปน็ ความสงบแล้ว
ไม่พึงประมาทในศาสนาของพระโคดม


สรปุ ค�ำยอ่ ของแต่ละหมวดมารวมกนั ไดว้ า่ : ไมเ่ ซาซบ สยบไสย์ ไมไ่ หวหวนั่
อนิ ทรีย์ ผัสสะ ปัจจัยสี่ ท่สี งบ รักษส์ ัจมัน่ ไม่หม่ินกนั ดว้ ยปัญญา
ไมย่ ุง่ เรือน ให้มุ่งเรยี น อยา่ เถียงกัน อย่าหมิน่ ใคร คนอน่ื ใหข้ ่นื หนา
แม้ศีลวตั ร ธุดงค์ขัด พิสุทธ์ใิ ส หมน่ั ศกึ ษา ปฏิปทา ปาตโิ มกข์ เทอญ ฯ
ไม่ท้อใจ คำ� ใคร ตำ� หนิมา

38 ๓๗

ปฏปิ ทาปาตโิ มกขใ์ นบทกวี

๑) “ข้าฯ ขอถามเหล่ากอพระอาทติ ย์ จะสัมฤทธิ์ ทางวิเวก ดว้ ยเหตไุ หน ?
ภกิ ษเุ ย็น เพราะได้ เหน็ อย่างไร ? จงึ จะไม่ ยดึ ส่ิงใด ในโลกพลัน”

๒) “ถอนมูลเหตุ ปปญั จสงั ขา ดว้ ยปัญญา อย่ายึดมา วา่ เปน็ ‘ฉัน’
ตัณหาใด ภายใน อยา่ ใกลม้ นั สติมั่น ถอนตณั หา สกิ ขาเพียร

๓) คณุ ธรรม ใน - นอก ก�ำหนดรู้ ไมเ่ อา ‘ก’ู ไปติด ให้ผดิ เพี้ยน
ไมเ่ อา ‘เรา’ กำ� เขา้ ให้เก่าเวียน อยากสงบ ให้เพยี ร ละ ‘ของเรา’

๔) เหตตุ ่างๆ อย่าสรา้ ง วา่ ฉนั ‘ใหญ’่ หรอื ฉนั ไร้ คุณธรรม ‘ตำ่� ’ กวา่ เขา
หรอื ยดึ เอา เขาเทียบ ‘เทา่ ’ ตวั เรา ‘ตน’ ไหนเลา่ ควรยดึ ควรฝึกคนื

๕) ความสงบ พบอยู่ แตภ่ ายใน ไม่อาจไป แสวงไกล ในท่ีอืน่
‘ตน’ ของผู้สงบ กจ็ บคนื ‘ตนสิน้ สญู ’ น้นั จะมี จากทใ่ี ด

๖) อนั ฟองคล่ืน ไม่ผดุ สรา้ ง กลางสมุทร พระพสิ ุทธิ์ เมอ่ื หมด ‘ฉัน’ ไม่หวนั่ ไหว
ฟองกิเลส ฤๅจะฟู ขน้ึ อย่างไร เพราะเขาได้ หย่ังถึง บ้ึงวาร”ี

๗) “โอ้ ! พระผบู้ รรลุ จักษเุ ปดิ ธรรมประเสรฐิ ที่ทา่ นเหน็ เปน็ สกั ขี
ปฏปิ ทาปาตโิ มกข์ โปรดพาที เป็นหลกั ช้ี ทางสงบ จบเหตุภยั ”

๘) “จงสำ� รวม สองตา อย่าลอกแลก๑ ไดย้ นิ แยก คามกถา อยา่ ปราศรัย๒
จงส�ำรวม อยา่ หลงรส๓ สะกดใจ สิ่งใดๆ อย่ายึดเหมา ของเรามา๔

๙) หากโรคา เบยี ดบีฑา พยาธ ิ อย่าปริ - เทวะ๕ ปรารถนา-
หวังภพใหม่ ให้สขุ เสริม กวา่ เดิมมา๖ สิ่งกลวั อย่า-ประหวน่ั พรั่นระทม๗

๑๐) ไดข้ ้าวน้ำ� ของเคี้ยว หรือของฉนั ท่อนผา้ นน้ั พอใช้ ไม่สะสม๘
แมไ้ มไ่ ด้ ไม่ขวนขวาย ให้ตรอมตรม๙ สนั โดษขม่ มักนอ้ ยฆา่ -ตัณหาชวน

๑๑) อย่ใู นฌาน๑๐ รักษาย่าน - ทีโ่ คจร๑๑ สำ� รวมก่อน๑๒ ไม่ประมาท๑๓ พลาดทางหวน
ทน่ี อนนั่ง อาสนะ สงดั ควร อิริยาบถลว้ น ปลอดเสียง ส�ำเนยี งดัง๑๔

๑๒) ไมห่ ่วงนอน ผ่อนพกั หลบั ให้มาก๑๕ ๓๗ 39
ละเมถุน มายา หรรษายัง
๑๓) ท�ำนายฝัน อาถรรพณ์ ลักษณะ ต่ืน๑๖แล้วพาก เพยี รเผา กเิ ลสฝัง๑๗
เท่ียวรกั ษา ยากาย ไม่หน่ายปลง การละเลน่ ขเี้ กียจยง้ั ให้หยั่งลง๑๘
๑๔) ไมห่ วน่ั ไหว เมื่อใคร ให้นินทา๒๑ นักขัตตะ๑๙ บำ� รงุ ทอ้ ง ใหน้ อ้ งหลง
ขจดั โลภ มจั ฉรยิ ะ ที่รกั เพลนิ ๒๓ ไมพ่ งึ สง่ - เสริมเรยี น ใหเ้ พ้ียนเดนิ ๒๐
๑๕) ไมร่ ับเงนิ และทอง ของซอ้ื ขาย๒๕ แมอ้ ัตตา ไมใ่ หญ่ ได้สรรเสรญิ ๒๒
ไมเ่ ขา้ ไป จดั แจง แต่งฆรา๒๗ หยุดเจรญิ ส่อเสียด เบียดโกรธา๒๔
๑๖) ไม่อวดตัว๒๙ กลา่ ววาจา หาทางได๓้ ๐ ระวงั กาย วาจา - คดิ อยา่ ผดิ หนา๒๖
ไม่ศกึ ษา ความคะนอง ใหห้ มองเอียง๓๑ ไม่ประจบ ปลาปา พาเลยี บเคียง๒๘
๑๗) รกั ษส์ จั จะ ไมร่ ะคน ปนความเท็จ๓๓ ไมก่ ล่าวค�ำ เปน็ เหตุรา้ ย ให้ทมุ่ เถยี ง๓๒
มีสมั ป - ชญั ญะ รู้ตวั พอ๓๔ อาชีวะ พิสุทธเิ์ ลี้ยง จงเพียงพอ
๑๘) ยินวาจา นานา ของชนอืน่ ไมอ่ วดคุณ - สำ� เร็จ ของตนหนอ๓๕
ไม่ตอบโต้ ชนเหล่าน้นั กล้นั วจี ไม่หมิน่ ตอ่ อน่ื ชน ว่าตนดี๓๖
๑๙) ปฏปิ ทา สามสบิ เจ็ด ด่งั เพชรแกว้ อันสุดกลืน ข้ึงเคียด เขา้ เสยี ดสี
เหน็ สนั ติ กเิ ลสลด หมดสนิ้ ไป ดว้ ยมนุ ี ไม่มี อริใคร๓๗
๒๐) ครอบงำ� เขลา ไรเ้ งา เขา้ มาครอบ ไตร่ตรองแนว่ ในสกิ ขา พาผอ่ งใส
น้อมน�ำให้ ไมป่ ระมาท ชาติอดุ ม ประมาทไร้ ในศาสนา พระโคดม
พยานตอบ ธรรมเฉพาะ อันเหมาะสม
สกิ ขาบม่ ในศาสนา พระศาสดา เทอญ ฯ”

* “ทรงกลด” “ทรงปฏิ ก กลดขาว ทรงธดุ งคก์ ้าว กลดเหลือง”

40 ๓๗

ตวุ ฏกปฏิปทา กับ ไตรสกิ ขา หรือพวกคนพูดมาก (เหล่าอื่น) ไมพ่ ึงโต้ตอบ
คนเหลา่ น้นั ดว้ ยค�ำหยาบ (ผรสุ วาจา)
คือ ๑) ปาติโมกข์ปฏิปทา สงเคราะห์ลงใน ศลี เพราะผู้สงบยอ่ มไมส่ รา้ งศัตรู
สิกขา อาชวี ปารสิ ุทธิศีล
และ ๒) สมาธิปฏิปทา สงเคราะห์ลงใน สมาธิ
สิกขา และ ปัญญาสกิ ขา ได้ดังน้ี ๑๑) ไม่พึงไปในท่ีไม่ควรไป (ปาทโลละ) รักษา
ย่านท่คี วรโคจรของตนไว้
ปาติโมกข์ปฏปิ ทา ๑๙) ผู้นับถือพระรัตนตรัยไม่พึงประกอบการท�ำ
อนิ ทรียสังวรศีล อาถรรพณก์ ารทำ� นายฝนั การทำ� นายลกั ษณะ
๑) ภิกษุไม่พึงเปน็ ผู้มีตาลอกแลก (จักขโุ ลละ) - หรือแม้การดูฤกษย์ าม (นักขตั ตะ)
ส�ำรวมตา ๒๐) ไมพ่ ึงเรยี นการท�ำนายเสยี งสัตว์รอ้ ง (วริ ุตงั )
๒) พงึ ปอ้ งกันหู มิใหไ้ ด้ยินเดียรจั ฉานกถา การปรุงยาให้ต้ังครรภ์ (คัพภกรณัง) และ
(คามกถา) - ส�ำรวมหู การบ�ำบดั รักษาโรค (ตกิ จิ ฉงั )
๓) ไมพ่ งึ ติดใจในรส - สำ� รวมในจมูก ลิน้ และ ๒๗) ไม่พงึ เกี่ยวขอ้ งจัดแจง (อภิสชั ชะ) ในบา้ น
ผัสสะ

ปาติโมกขสงั วรศีล ๒๘) ไม่พึงพูดเลียบเคียง (ลปะ) เพราะอยากได้

๑๒) พงึ เวน้ จากความไม่สำ� รวม มอื เท้า กิริยา ลาภ
มารยาท (กกุ กจุ จะ) ๒๙) ภิกษไุ มพ่ ึงเป็นคนมกั อวด (กัตถติ า)
๑๘.๒) พึงละเว้นความหลอกลวง (มายา) ๓๐) ไมพ่ ึงกลา่ ววาจามุง่ ได้ (ปยตุ ตวาจา)
เรอ่ื งชวนหวั (หัสสัง) การเลน่ (ขฑิ ฑัง)
การเสพเมถนุ การประดับตกแตง่ (สวภิ ูสัง) ปจั จยสันนิสติ ศลี
๒๔) พงึ บรรเทาความโกรธและวาจาสอ่ เสียด ๘) ภิกษุได้ขา้ วก็ดี น้�ำกด็ ี ของขบเค้ียวก็ดี ผ้ากด็ ี
(เปสุเณยยะ) ไม่ควรทำ� การสะสม (สันนธิ )ิ
๒๕) ภิกษุไม่พึงดำ� รงชวี ิตในการซ้อื ขาย ๙) เมอื่ ไมไ่ ด้ กไ็ ม่พงึ สะดุ้ง (ปริตตสะ)

(กยวิกกยะ) สมาธปิ ฏปิ ทา
๒๖) ไมพ่ ึงก่อกเิ ลสเป็นเหตุใหถ้ กู ผู้รู้ต�ำหนิ สมาธิ

(อปุ วาทะ) ในทไี่ หนๆ ๑๐) ภิกษพุ ึงเปน็ ผู้มีฌาน (ฌายี)
๓๑) ไมพ่ ึงศกึ ษาความเป็นผู้คะนอง (ปาคัพภิยะ) ๑๓) ไมพ่ งึ ประมาท (อัปปมชั ชะ) คอื มีสติ
๓๒) ไม่พึงกลา่ วถ้อยค�ำท่เี ปน็ เหตุใหท้ ุ่มเถยี งกัน ๑๔) พึงอย่ใู นท่นี งั่ ทนี่ อนท่มี เี สยี งน้อย
(วคิ คาหกิ กถา) ๑๕) ภิกษุไมพ่ งึ หลบั มาก (นทิ ทา)
๓๓) ภกิ ษไุ ม่พงึ น�ำชนไปในความเทจ็ (โมสวัชชะ) ๑๖) พงึ ประกอบความเพยี รเครอื่ งตน่ื อยู่(ชาครยิ ะ)
๓๗) ภิกษุผู้ถูกคนเหล่าอ่ืนเบียดเบียน ๑๗) มีความเพียรเคร่ืองเผากเิ ลส (อาตาป)ี
ไดย้ ินค�ำพดู มากของพวกสมณะ ๑๘.๑) พงึ ละเว้นความเกยี จคร้าน (ตันท)ิ

๓๗ 41

๒๓) พึงบรรเทาความโลภ รวมท้ังความตระหน่ี ๓๕) ไม่พงึ ท�ำความโอ้อวด (สาเฐยยะ)
(มัจฉริยะ) ๓๖) ไมพ่ งึ ดหู ม่นิ ผอู้ ืน่ (อติมานะ) ดว้ ยความเปน็
ปญั ญา อย่โู ดยปัญญา หรือด้วยศีลวตั รของตน
๔) ไม่พงึ ยดึ ถอื อะไรๆ ในโลกว่า เป็นของเรา ภิกษุรู้ธรรมน้ีแล้ว เลือกสรรอยู่ (วิจินัง คือ
(มมายติ ะ) ปัญญา) พึงเป็นผู้มีสติ มีสิกขาทุกเม่ือ รู้ความ
๕) เม่อื ใด ภิกษถุ กู ผัสสะ (โรค) กระทบ เมื่อน้นั ดับกเิ ลสว่า เป็นความสงบแลว้ ไมพ่ งึ ประมาทใน
เธอก็ไมพ่ ึงทำ� ความคร่ำ� ครวญ (ปริเทวะ) ศาสนาของพระโคดม
ในที่ไหนๆ ภิกษุน้ันเป็นผู้ครอบง�ำ (อารมณ์ ๖) และ
๖) ไมพ่ ึงคาดหวงั (อภิชปั ปะ) ภพ (ใหมว่ า่ จะด ี ไมถ่ กู (อกุศลธรรม) ครอบง�ำ ได้เห็นธรรมท่เี ปน็
กว่าเก่า) พยานด้วยตนเอง ไม่ต้องเชื่อใคร เพราะฉะน้ัน
เธอพึงเป็นผู้ไม่ประมาทในศาสนาของพระผู้มี
๗) ไมพ่ งึ กระสับกระสา่ ย (ปริตสั สะ) พระภาคพระองค์นัน้ นอบนอ้ มอยู่ พงึ หม่ันศึกษา
เพราะอารมณ์ทน่ี ่ากลัว
๒๑) ภกิ ษุไมพ่ ึงหว่นั ไหวเพราะการนนิ ทา ทกุ เม่อื เถิด

๒๒) แมไ้ ดร้ บั การสรรเสรญิ กไ็ มพ่ ึงลำ� พองตน หมายเหตุ : โปรดศกึ ษาคำ� อธิบายเพมิ่ เตมิ จากพระสารีบตุ ร
(อุณณเมยยะ) ได้ในมหานิทเทส ตามลิงค์ข้างล่างนี้ http://www.
๓๔) มสี ัมปชญั ญะรตู้ ัว (สัมปชาโน) kanlayanatam.com/book/ตวุ ฏกปฏปิ ทา_มหา-นทิ เทส.pdf

แจก พระอุปคตุ เถระ
หนังสอื

หนังสือพระอุปคุตเถระ มาจากบทความท่ีเรียบเรียงโดย วิเทศทัยย์
เล่าเรื่องพระอรหันต์เถระผู้มากด้วยฤทธิ์ ซ่ึงเร่ืองน้ีเคยตีพิมพ์เป็นตอน
ลงในวารสารโพธิยาลัย ด้วยส�ำนวนภาษาที่น่าติดตามและท้าทายให้
คิดพิจารณา บัดน้ีท่านได้รวบรวมพิมพ์เป็นหนังสือ และได้มอบมาให้
กองบรรณาธิการบางส่วน ซ่ึงวารสารโพธิยาลัยยินดีมอบหนังสือน้ีให้
ท่านผู้อ่าน โดยมีกติกาง่ายๆ ดังน้ีคือ ขอให้ท่านแสดงความคิดเห็น
ทมี่ ตี อ่ วารสารโพธยิ าลยั สนั้ ยาวไมก่ �ำหนด เพอื่ คณะผจู้ ดั ทำ� จะไดน้ ำ� ความ
คดิ เหน็ เหลา่ นน้ั มาปรบั ปรงุ คณุ ภาพของวารสารตอ่ ไป สง่ ความคดิ เหน็ ของทา่ นมาที่ ทพญ.อจั ฉรา
กล่ินสุวรรณ์ email [email protected] หรือ เขียนเป็นจดหมาย ส่งไปรษณีย์มาที่
ชมรมกลั ยาณธรรม เลขที่ ๑๐๐ ถนนประโคนชยั ตำ� บลปากนำ้� อำ� เภอเมอื ง จงั หวดั สมทุ รปราการ
๑๐๒๗๐ วงเลบ็ มมุ ซองวา่ (วารสารโพธยิ าลยั ) หนงั สอื มจี ำ� นวนจำ� กดั กรณุ าสง่ ดว่ น กอ่ นหนงั สอื
จะหมด โปรดแจ้งช่ือและทีอ่ ยใู่ ห้ชัดเจน ส�ำหรับสง่ หนังสือถึงท่านตามที่ขอมาด้วย

42 ๓๗
ชวนรู้

พระธัมมเจดยี ์ธมั มปูชโกภิกขุ
พระเจดยี ท์ ่ไี มไ่ ด้สรา้ งด้วยอิฐปนู แตส่ รา้ งดว้ ยธรรมะ
แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสมั พุทธเจ้า

“ดกู รอานนท์ ธรรมแลวินัยใด
ทเ่ี ราไดแ้ สดงแล้วและบัญญัตแิ ลว้
แก่เธอทง้ั หลาย
“เพราะเหตุดงั นีน้ ั่นแหละ จุนทะ ธรรมท้งั หลาย
ธรรมแลวนิ ัยน้นั จกั เป็นศาสดา เหล่านัน้ ใด อันเราแสดงแลว้ ดว้ ยปญั ญาอันยง่ิ
ของเธอทั้งหลาย ในเมือ่ เราล่วงลับไป” บรษิ ทั ท้งั หมดเทียว พงึ พร้อมเพรียงกนั ประชุม

( ท.ี ม.๑๐/๑๔๑/๑๗๘ ) รวบรวมตรวจตราอรรถด้วยอรรถ พยญั ชนะ

พระธัมมเจดีย์ พระเจดีย์ท่ีสร้างด้วยธรรมะ ดว้ ยพยญั ชนะ ในธรรมเหลา่ นั้น โดยวธิ ีที่
แหง่ องคส์ มเดจ็ พระสมั มาสมั พทุ ธเจา้ เพอ่ื อนรุ กั ษ์ พรหมจรรยน์ ี้ จะพึงเป็นไปตลอดกาลยดื ยาว
คำ�สอนดั้งเดิมและสมบูรณ์ท่ีสุดของพระพุทธเจ้า
ซึ่งถูกบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก ให้อยู่ในรูปแบบ ต้ังมนั่ อยู่ สิน้ กาลนาน”

(พระไตรปฎิ ก เลม่ ท่ี ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค)

ของคลงั ขอ้ มูลอเิ ล็กทรอนิกส์แหง่ ยคุ ซง่ึ สามารถ ตรวจตราพยญั ชนะดว้ ยพยญั ชนะ” ดงั่ พระพทุ ธ
เช่ือมโยงกับองค์ความรู้ร่วมสมัย เพ่ือประโยชน์ พจน์ขา้ งต้น คือการสอบทานเทียบเคยี งตัวอักษร
แหง่ การเขา้ ถงึ ธรรมะของผคู้ นในโลกปจั จบุ นั ท่ีบนั ทกึ พระไตรปิฎก
พระธัมมเจดีย์ ประกอบด้วยสองส่วน คือ
สว่ นท่เี ป็นแกนและสว่ นทเี่ ป็นองคพ์ ระเจดยี ์
๑. ส่วนที่เป็นแกนฐานข้อมูล คือพระ
ไตรปิฎกบาลี ซ่ึงเป็นฐานข้อมูลกลางร่วมกันของ
พระไตรปิฎก ฉบบั ศรลี งั กา ไทย และ เมยี นมาร์
เพ่ือให้ได้รับการยอมรับร่วมกัน จากท้ังสาม
ประเทศ ส่วนน้ีเปรียบเหมือนการ “รวบรวม

พระบรมศาสดาทรงประทานแนวทางสำ� คัญ
ในการสบื ทอดค�ำส่งั สอนของพระองค์
ดงั มีปรากฏบันทึกไวใ้ นพระไตรปฎิ ก

๓๗ 43

๒. ส่วนที่เป็นองค์พระเจดีย์ เนื้อหาหลัก การดำ�เนนิ งานโครงการฯ แบ่งเป็นสองระยะ
จะประกอบดว้ ย พระไตรปฎิ กแปลภาษาตา่ งๆ คำ� ระยะแรก คือการสร้างแกนฐานข้อมูล
สอนของครูบาอาจารย์ร่วมสมัย และการศึกษา พระธัมมเจดีย์ด้วยพระไตรปิฎกของสามประเทศ
พระไตรปฎิ กในแงม่ มุ ตา่ งๆ ซงึ่ จะถกู ยดึ โยงเขา้ หา (ศรลี งั กา ไทย เมยี นมาร)์ จะมผี ลสำ�เรจ็ คือ
แกนพระไตรปิฎกบาลี ส่วนน้ีเปรียบเหมือนการ ๑) ฐานข้อมูลพระไตรปิฎกอิเล็กทรอนิกส์
“รวบรวมตรวจตราอรรถด้วยอรรถ” คือการ กลาง ซ่ึงทำ�ให้สามารถพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นตัว
สอบทานเทียบเคียงความหมายของหลักธรรม อักษรในภาษาต่างๆ ได้ และนำ�ไปพิมพ์เป็นเล่ม
ต่างๆ กบั ความหมายในพระไตรปฎิ ก แจกจา่ ยเป็นธรรมทาน ใหเ้ ก็บรักษาไว้ทว่ั โลก
๒) ระบบรักษาพระไตรปิฎกอิเล็กทรอนิกส์
ไปสู่ “บนั ทึกคำ�สอนของพระพทุ ธเจ้า” แบบเขา้ รหสั ไรศ้ นู ยก์ ลาง (Distributed Encryption)
ท่ียอมรบั ร่วมกนั เปน็ ฐานขอ้ มูลเดียวกนั ๓) ระบบการเชื่อมต่อกับแกนพระธัมมเจดยี ์
ของชาวพุทธทง้ั มวล ท่ีเป็นมาตรฐานเปิด เพื่อรองรับการเช่ือมโยงกับ
ฐานข้อมูลธรรมะร่วมสมัย ซ่ึงจะจัดทำ�ในระยะ
ปัจจุบันน้ี ตน้ ฉบับพระไตรปฎิ กบาลี ซึง่ เปน็ ท่ีสอง
ทย่ี อมรบั กนั โดยทั่วไป มอี ยสู่ ามฉบบั ไดแ้ ก่ พระ ระยะทสี่ อง คอื การสรา้ งองคพ์ ระเจดยี ์ ทจ่ี ะ
ไตรปฎิ กบาลขี องประเทศศรลี งั กา ไทย และ เมยี น- เชื่อมโยงคำ�สอนธรรมะร่วมสมัยกับแกนฐาน
มาร์ โดยแต่ละประเทศ ต่างยึดถือ และยอมรับ ขอ้ มลู พระไตรปฎิ ก
ตามพระไตรปิฎกฉบับของตน คณะสงฆ์เถรวาท
รกั ษาและสบื ทอดพระไตรปฎิ กตอ่ เนอ่ื งกนั มาเปน็
เวลากว่าสองพันปี จึงทำ�ให้พระไตรปิฎกของทั้ง ประเทศไทยในฐานะ “จุดตั้งต้น” ของการ
สามประเทศ มคี วามแตกต่างกนั ไม่ถึง ๓ % ดังท่ี เผยแผพ่ ระพุทธศาสนาในโลกยุคใหม่
สมเดจ็ พระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยตุ โฺ ต) กลา่ ววา่ ผู้คนในโลกยุคใหม่แห่งเทคโนโลยีไร้สายนี้
พระไตรปิฎกเถรวาทเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เขา้ ถงึ ขอ้ มลู ด้วยการ “คน้ หา” ผ่านทางอุปกรณ์
ว่า เป็นคัมภีร์ของพระพุทธศาสนาท่ีเช่ือถือได้ ติดตัว ซึ่งดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลในอินเตอร์เน็ต
มากทสี่ ุด ถา้ พุทธศาสนกิ ชน ศรลี งั กา ไทย และ เมียนมาร์
อย่างไรก็ตาม หากชาวพุทธประมาทหรือ สามารถรวมใจกัน สร้างแกนพระไตรปิฎกบาลี
ละเลย ไม่มีการทบทวนและสอบทาน พระไตร ของพระธมั มเจดยี ไ์ ดส้ ำ�เรจ็ กจ็ ะสามารถเจรจากบั
ปฎิ กทงั้ สามฉบบั รว่ มกนั และพระไตรปฎิ กทม่ี กี าร เจา้ ของโปรแกรมการคน้ หา เชน่ บรษิ ทั กเู กลิ เพอ่ื
คัดลอกต่อๆ กันไป กระจัดกระจายอยู่มากมาย ว่าเม่ือใดก็ตาม ท่ีมีคนคีย์เพื่อค้นหาคำ�ศัพท์บาลี
ในอินเตอร์เน็ต จะมีเนื้อหาแตกต่างกันมากข้ึน หรือศัพท์ท่ีเกี่ยวกับธรรมะเข้าไปท่ีอินเตอร์เน็ต
เรือ่ ยๆ จนในท่ีสุด จะไม่สามารถประสานรวมกัน ก็ให้ผลการค้นหาอันดับแรก ชี้มาท่ีฐานข้อมูล
ได้อกี ตอ่ ไป พระธัมมเจดีย์ ซ่ึงจะนำ�เสนอคำ�อธิบายธรรมะ
ต่างๆ จากฐานข้อมูลธรรมะร่วมสมัยท่ีได้รับการ

44 ๓๗

คดั เลอื กแลว้ วา่ เปน็ ข้อมูลที่ถกู ตอ้ งและเชอ่ื ถอื ได้ ในอดีตที่ผ่านมา ชาวตะวันตกสนใจใน
และเชอื่ มโยงโดยตรง ถงึ คำ�อธบิ ายในพระไตรปฎิ ก พระพุทธศาสนา นิกายมหายาน เช่น เซน และ
ด้วย วัชรยานของทิเบต มาในช่วงไม่ก่ีสิบปีนี้ ท่ีมี
ความสนใจเพิ่มข้ึนอย่างมาก ในพระพุทธศาสนา
ทำ�ไมต้องสร้างคลังข้อมูลพระไตรปิฎกอิเล็ก- แบบด้ังเดิม (Original Buddhism) จึงมีความ
ทรอนิกสท์ ่ถี ูกต้องร่วมกนั ของชาวพทุ ธ สนใจค้นคว้าและศึกษาคำ�สอนของพระพุทธเจ้า
๑) มภี ยั จากความพยายามจะบดิ เบอื นพระ ท่ีบันทึกไว้ในพระไตรปิฎกเถรวาทกันอย่างกว้าง
ไตรปฎิ ก ขวาง พระไตรปิฎกบาลีทีช่ าวตะวันตกใชอ้ ย่แู พร่
เปน็ ทท่ี ราบกนั ดใี นหมชู่ าวพทุ ธทห่ี ว่ งใยพระ หลายขณะนี้ เป็นพระไตรปิฎกบาลีและชุดคำ�
ศาสนา ว่ามีกระบวนการที่พยายามบิดเบือน แปล ซ่ึงจดั ทำ�โดยสมาคมบาลปี กรณ์ (Pali Text
คำ�สอนของพระพุทธศาสนาด้วยการประชา- Society) แห่งประเทศอังกฤษ ซ่งึ ก่อต้ังมาต้ังแต่
สัมพนั ธแ์ บบบริโภคนิยมสมยั ใหม่ ซง่ึ ไดผ้ ลดมี าก ปี พ.ศ.๒๔๒๔ ซง่ึ จดั ทำ�และจดั พมิ พพ์ ระไตรปฎิ ก
จนทำ�ให้กระบวนการน้ันคิดการไปไกลถึงขนาด ชดุ นี้ ตามสะดวก คอื ตามความสนใจของกลมุ่ นัก
ท่ีจะครอบงำ�พระพุทธศาสนาท้ังหมด โดยการ วิชาการตะวันตกท่ีศึกษาพระไตรปิฎก โดยมิได้
ยึดครองศูนย์กลางคำ�สอนของพระพุทธเจ้าคือ อ้างอิงระบบการสังคายนาของพระพุทธศาสนา
ตวั พระไตรปิฎก เถรวาท
๒) สมัยปจั จบุ นั เปน็ ยุคท่ีสะดวกในการจดั คลังข้อมูลพระไตรปิฎกอิเล็กทรอนิกส์ของ
พิมพ์และจัดสร้าง แต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำ�ให้ พระธัมมเจดยี ์ จะสามารถแสดงให้เหน็ โครงสร้าง
สะดวกในการเกดิ ความผดิ พลาด ถา้ ไมใ่ สใ่ จและ ของคำ�สอนพระพทุ ธเจา้ ไดใ้ นทนั ที วา่ สว่ นใดเปน็
ไมร่ อบคอบในความถูกต้อง ฐาน สว่ นใดเป็นยอด อะไรเป็นเปลือก และอะไร
ในสมัยโบราณ การจัดสร้าง หรือจัดพิมพ์ เปน็ แก่น และไม่ว่าจะสนใจฐาน หรือยอด ก็จะมี
พระไตรปิฎกต้องใช้ทรัพยากรอย่างมาก ทั้งผู้มี คำ�อธบิ ายร่วมสมยั ในแง่มุมตา่ งๆ ใหเ้ ข้าใจไดโ้ ดย
ความรู้ ช่างจาร หรือ ช่างเรียงพิมพ์ ดังนั้น ผู้ท่ี ง่าย ซึ่งเทคโนโลยีฐานข้อมูลและอินเตอร์เน็ตใน
จะเปน็ เจา้ ภาพจัดทำ�ได้ ส่วนใหญ่คือกษตั รยิ ์หรอื สมยั ปจั จุบนั สามารถทำ�ได้
ชนช้นั นำ�ของสงั คม แตย่ ุคปจั จบุ ัน ที่เป็นยคุ ของ
ขา่ วสารขอ้ มลู และอนิ เตอรเ์ นต็ ใครๆ กส็ ามารถจดั
ทำ�พระไตรปฎิ กได้ ซงึ่ จะพบเหน็ มากมายกระจาย
อยใู่ นอนิ เตอรเ์ นต็ แตค่ วามถกู ตอ้ งและคณุ ภาพก็
กระจัดกระจายตามสภาพของเหตปุ จั จัย
3) บดั นีเ้ ปน็ เวลาเรม่ิ ตน้ ของยุคท่พี ระพุทธ
ศาสนาจะแพร่หลายไปในตะวันตก แต่ยังขาด ข้อมูลเพิ่มเติม http://dhammastupa.org
พระไตรปิฎกท่ีสมบูรณ์ ท่ีชาวตะวันตกจะใช้ (เพม่ิ เพือ่ นโดยสแกน QR code นี้)

อ้างอิง

๓๗ 45

เรยี นแลว้ ไม่เห็นคุณค่าของการเรียน รสู้ กึ ว่าทาง
ธรรมน้นั ลกึ ซงึ้ กว่าทีเ่ รยี นมามากเลย เปน็ หมอน้ี
ก็ดีนะ คือถา้ เปน็ อาชีพทางโลก อาตมาคดิ ว่าการ
เปน็ หมอ กส็ ามารถชว่ ยแกไ้ ขความทกุ ขข์ องเพอื่ น
มนษุ ยไ์ ด้มาก แต่การเปน็ พระนี้ ละเอียดลึกซง้ึ ยิ่ง
กว่า ตอนนนั้ อาตมาต้ังใจวา่ จะเลิกทกุ อย่าง แลว้
จะมาบวช แตว่ ่ามรี ุ่นพที่ ีเ่ ปน็ หมอ ท่านแนะนำ� วา่
ถ้าเราเลิกเรียนตอนน้ันแล้วมาบวช คนภายนอก

โยมถาม พระตอบ

มาเรียนธรรมตามพระป่าธรีปญั โญ
ค�ำถาม ๑ กราบนมัสการพระอาจารย์ ผมเป็น เขาจะมองวา่ เราลม้ เหลวในชวี ติ ของการเปน็ หมอ
คนหนึง่ ที่อยากบวช แต่พอ่ แม่ของผมอยากใหผ้ ม เราจงึ ไดห้ นมี าบวช ซงึ่ ทำ� ใหอ้ าตมาฉกุ คดิ วา่ กจ็ รงิ
เรียนแพทย์ให้จบและมาเป็นแพทย์รักษาคนไข้ เหมือนกนั เพราะถา้ เราออกไปตอนนน้ั ก็เทา่ กับ
ให้คุ้มค่ากับสิ่งท่ีเล่าเรียนมา ซ่ึงเป็นอาชีพที่มี ว่าเราเรียนไม่จบ เราต้ังใจมาเรียนแพทย์เฉพาะ
เกยี รติและเปน็ ท่ีเคารพนบั ถอื แตผ่ มอยากศึกษา ทางใหจ้ บ อาตมาจึงตดั สินใจเรียนตอ่
ธรรมะของพระพุทธเจ้า เพราะมีความศรัทธาว่า ช่วงที่ได้พบกับพระอาจารยช์ ยสาโร อาตมา
เป็นหนทางดับทุกข์ได้แท้จริง อยากกราบเรียน เรยี น resident อยู่ปี ๒ หลงั จากน้ัน อาตมาตอ้ ง
ถามวา่ ผมจะบอกคณุ พ่อคณุ แมอ่ ยา่ งไร ใหท้ า่ น รออกี ๔ ปี เพราะวา่ หลักสูตรท้งั หมด ตอ้ งเรยี น
ยอมรบั และอยากทราบวา่ พระอาจารยท์ ำ� อยา่ งไร เป็น resident (แพทย์เฉพาะทาง) ๓ ปี เป็น
ให้คุณพ่อคุณแม่ของพระอาจารย์ยอมให้ท่านมา fellow (แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ) อีก ๓ ปี หลักสูตร
บวชอยู่ได้นานครับ ทัง้ หมด ๖ ปี เราก็ไมอ่ ยากใหค้ นมาวา่ ได้เหมือน
ค�ำตอบ การได้มาบวชนี้มาจากหลายเหตุปัจจัย กันว่า เราไปบวชเป็นพระเพราะล้มเหลวในการ
สำ� หรบั อาตมาเองตอนทไี่ ปเรยี นแพทยเ์ ฉพาะทาง เปน็ หมอ มองดไู มด่ เี หมอื นกนั ใชไ่ หม ทง้ั ตอ่ ตวั เรา
อยู่ท่ีอเมริกา ตอนนั้นรู้จักพระอาจารย์ชยสาโร และตอ่ พระศาสนา เรากเ็ ลยเรยี นไปใหจ้ บเสยี กอ่ น
แล้วกเ็ กิดศรัทธามาก จรงิ ๆ ตอนน้นั คิดวา่ จะเลกิ แลว้ จงึ ค่อยมาบวช

46 ๓๗

แตเ่ ม่อื มองยอ้ นหลงั ไป อาตมาวา่ กด็ เี หมือน ท�ำงานอะไรอย่างนี้ ถ้าคิดอย่างที่บอกว่าอุตส่าห์
กัน เพราะช่วงท่ีเราตัดสินใจว่าเราอยากจะบวช เรียนทางโลกมาแล้ว ควรจะต้องท�ำงานทางโลก
เราก็ได้ลองฝึกทดสอบจิตใจตัวเองดู ตอนน้ันเรา เราก็คงไม่มีพระพุทธเจ้ามาต้ังแต่แรก เพราะเจ้า
ก็รักษาศลี ๕ เป็นปกติ แล้วรักษาศีล ๘ สปั ดาห์ ชายสทิ ธตั ถะเอง ทรงเกง่ ศลิ ปศาสตรท์ ง้ั ๑๘ อยา่ ง
ละครงั้ เรากเ็ ลอื กไว้วา่ ทุกวันอาทติ ย์จะเปน็ วันท่ี เรยี กวา่ เกง่ ทกุ อยา่ งแลว้ ถา้ บอกวา่ ทำ� อยา่ งนน้ั เสยี
เรารกั ษาศีล ๘ เรากฝ็ ึกสวดมนต์ นงั่ สมาธทิ ุกวนั เวลา กเ็ ทา่ กบั วา่ ไมใ่ หโ้ อกาสในทางธรรมะ เพราะ
วันอาทิตย์ก็ทำ� ให้มากหนอ่ ย รู้สึกว่าเราชอบทาง วา่ การมาศึกษาทางธรรมะนั้น เปน็ งานทล่ี ะเอียด
ด้านนี้ จติ ใจมคี วามม่ันคง กว่าจะเรียนจบก็ไดฝ้ กึ ลึกซ้ึงกว่า ต้องใช้ความตั้งใจอะไรมากกว่าเยอะ
ใจอยู่หลายปี เราเรียนจบทางโลกครบหมดแล้ว ฉะนั้น เราควรจะท�ำสง่ิ ท่ยี ากกอ่ น แล้วถ้ามาบวช
และเรากไ็ มไ่ ด้ล้มเหลว จริงๆ เราเรียนดีมากด้วย แลว้ อยไู่ มไ่ หวจรงิ ๆ ตอนนนั้ เราอาจจะกลบั ไปเปน็
แต่ว่าเราสนใจทางธรรมมากกวา่ กเ็ ลยมาทางนี้ หมอกไ็ ด้ แต่อาตมาคิดว่า เรานา่ จะลองดูก่อนนะ
ส่วนในเร่ืองของโยมพ่อโยมแม่ อาตมาคดิ ว่า เราทกุ คนมาถงึ จดุ น้ีได้ แสดงวา่ เราต้องเคยทำ� มา
พ่อแม่ทุกคนก็รักลูกเหมือนกัน ต้องการให้ลูก บา้ งแลว้ ควรมาลองทำ� ตอ่ ใหย้ ง่ิ ๆ ขน้ึ ไป แตก่ ไ็ มใ่ ช่
มคี วามสขุ ถา้ เรามาบวชดว้ ยความเขา้ ใจ เลอื กทาง วา่ ทกุ คนทม่ี าบวชจะอยไู่ ดน้ ะ ลองมาดสู กั พกั หนงึ่
ของเราเอง มาทางน้ีแล้วเรามีความสุข อาตมา ว่าไหวไหม ถ้าแน่ใจว่าเราชอบทางนี้ ก็น่าจะได้
เชื่อว่า สุดท้ายพ่อแม่ท่านก็เข้าใจ เพราะจริงๆ อนุโมทนากัน
แล้ว เราหลอกคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้หรอก ท่านดู ค�ำถาม ๒ ขอความเมตตาท่านเล่าเรื่องเสน่ห์
แป๊บเดียวก็รู้แล้วว่าเราเป็นยังไง ชอบจริงไหม ของวัดป่าท่ีพระอาจารย์ช่ืนชมและเลือกไปบวช
มีความสุขจริงไหม พอเรามาบวช ท่านมาเย่ียม ทนี่ นั่ และประสบการณว์ ถิ ชี วี ติ พระปา่ เออ้ื ตอ่ การ
เราท่ีวัด ทา่ นก็รเู้ องว่าเราชอบทางนี้จรงิ ๆ ท่านก็ เจรญิ สมณธรรมอยา่ งไรบา้ ง แลว้ เหตใุ ดทา่ นจงึ มา
อนโุ มทนาดว้ ย อาตมาวา่ เรอื่ งนเี้ ปน็ เรอ่ื งทเี่ ราตอ้ ง อยวู่ ดั บ้าน คือวัดจากแดงครบั
คุยกนั ในแตล่ ะครอบครัว ค�ำตอบ ส�ำหรับส่วนตัวของอาตมาเอง อาตมา
แทท้ ีจ่ รงิ แล้ว อาตมามองวา่ การเปน็ หมอนี้ ชอบทง้ั ๒ อยา่ ง คอื ชอบปรยิ ัตแิ บบของวัดบ้าน
ก็มีมาทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าจะเกิดในสังคมไหน (คามวาส)ี คอื ชอบธรรมะซง่ึ เปน็ ของพระพทุ ธเจา้
ในยุคไหน ก็ต้องมีหมอท่ีเป็นอาชีพอยู่ในสังคม ที่รักษาไว้ในบาลีพุทธพจน์ แต่ว่าในเรื่องของ
น้ันๆ แต่ว่าโอกาสที่จะได้เกิดมาพบพระพุทธ วถิ ีชวี ิต อาตมาชอบแบบวดั ปา่ (อรัญวาส)ี กเ็ ลย
ศาสนา มีคณะสงฆ์ท่ียังประกาศพระศาสนา มี มีอะไรท่ีค่อนข้างจะผสมทั้ง ๒ ด้าน บวชที่สาย
พระอรยิ บคุ คลทจี่ ะพาใหเ้ ราพน้ ทกุ ขไ์ ด้ เปน็ โอกาส วัดป่า แต่ว่าสนใจมาเรียนปริยัติทางสายวัดบ้าน
ที่หาได้ยากกว่า เพราะฉะนั้น เราน่าจะท�ำส่ิงท่ี ดว้ ย ซ่งึ ทงั้ ๒ อยา่ ง ก็มีสง่ิ ท่ไี ดเ้ รยี นรมู้ าก ท้ังข้อ
ทำ� ได้ยากและหาโอกาสไดย้ าก จะไมด่ ีกว่าหรือ วัตรปฏิบัติ หลักไวยากรณ์ภาษา และไวยากรณ์
ถา้ ครอบครวั มสี มั มาทฏิ ฐแิ ลว้ การไดม้ าบวช ทางธรรม รู้สึกว่าเราโชคดีที่แม้พระพุทธศาสนา
ย่ิงอยไู่ ดน้ านเท่าไหร่ ก็ยง่ิ ดีเทา่ นัน้ ญาติโยมควร ลว่ งเลยมาเกนิ กงึ่ พทุ ธกาลแลว้ ยงั มขี อ้ วตั รปฏบิ ตั ิ
จะอนโุ มทนามากกว่า สว่ นเร่ืองของการเรียนการ ท่ีสมบูรณ์ หรือจะเรียกว่าใกล้เคียงกับความ

๓๗ 47

เป็นอยู่ของพระในสมัยพุทธกาลเลยก็ว่าได้ ยังมี ภาษาบาลใี หไ้ ดม้ ากทส่ี ดุ อาตมาคดิ วา่ ถา้ เขา้ ใจบาลี
ครูบาอาจารย์ โดยเฉพาะสายเถรวาทของเรา ท่ี อย่างเช่น ธรรมบทสักคาถาบทหน่ึง คือถ้าไป
พยายามรักษาไวท้ ุกขอ้ ไมเ่ พกิ ถอน ไม่เพ่ิม ทำ� ให้ ดใู นทอ้ งเรอื่ ง คนทฟี่ งั คาถาเหลา่ นแ้ี ลว้ บรรลธุ รรม
เรามีโอกาสที่จะได้ใช้วิถีชีวิตซ่ึงเอื้อต่อการศึกษา กนั ทงั้ นนั้ เลยนะ ทนี เี้ ราฟงั มาตง้ั ๕๐ กวา่ คาถาแลว้
มากท่สี ดุ มใี ครบรรลบุ า้ งหรอื ยงั ยงั กเ็ พราะวา่ อะไร ? เพราะ
แว็บแรกของวัดป่าก็คือ อาตมาประทับใจ ว่าเรายังไม่เข้าใจอรรถของมัน แม้ว่าจะแปลเป็น
ตงั้ แตเ่ หน็ คอื โยมปา้ พานงั่ รถเขา้ ไป เหน็ กำ� แพงวดั ภาษาไทยได้ เราเข้าใจไหม เราอาจเข้าใจได้นัย
เห็นต้นไม้ ถ้าใครเคยไปวัดป่านานาชาติก็จะเห็น เดยี ว เรายงั ไมเ่ ขา้ ใจลกึ ซง้ึ วา่ ทำ� ไมคนเขาฟงั คาถา
ต้นไมใ้ หญๆ่ แตไ่ กล ชดั เจนเลยวา่ น่ีเป็นป่า แค่นี้ นัน้ แลว้ เขาถึงบรรลธุ รรมได้ อาตมาอยากร้ตู รงนี้
กป็ ระทบั ใจแลว้ มตี น้ ไมใ้ หญๆ่ ตน้ ไมส้ งู ๆ แลว้ พอ มนั ไพเราะแลว้ เราก็อยากจะติดตาม
เขา้ ประตวู ดั ไป บรรยากาศเงยี บสงบมาก ทางเดนิ พอไดม้ าเรยี นแลว้ โอโ้ ห คำ� บาลลี กึ ซงึ้ มาก ถา้
ก็กวาดอย่างเรียบร้อย สะอาดสะอ้าน ห้องน้�ำก็ ไดเ้ รยี นหลกั ไวยากรณท์ างภาษามา จะพบวา่ นเ่ี ขา
สะอาดดมี าก แตว่ า่ ไมม่ คี น เงยี บเลย อนั นเ้ี ปน็ สง่ิ ที่ สามารถกระจายคำ� แตล่ ะคำ� เปน็ ธาตุ เปน็ ปจั จยั ได้
ประทับใจ เข้าไปแล้ว ความรู้สึกบอกเลยว่า แลว้ แตล่ ะตวั เขาสามารถจะใสอ่ งคธ์ รรม ซงึ่ ถา้ ได้
นเ่ี ปน็ วดั ทมี่ ขี อ้ วตั รปฏบิ ตั ทิ ดี่ ี วดั วาสะอาดสะอา้ น เรียนอภิธรรม ซ่งึ อธบิ ายไวยากรณ์ทางธรรมะมา
พระก็ไม่ได้มาสุงสิงอะไร ท�ำกิจวัตรของตนเอง กจ็ ะเหน็ กระบวนการของวปิ สั สนา ทีอ่ ยู่ในภาษา
เสร็จแลว้ ก็กลบั เข้ากุฏิ ภาวนา แคน่ ้กี ็ได้ใจเราไป เลย อาตมาวา่ ภาษาบาลเี ปน็ ภาษาทอี่ จั ฉรยิ ะมาก
เยอะแล้ว ก็คิดว่าเราชอบทีน่ ี่ ฉะนนั้ สำ� หรบั อาตมามคี วามรสู้ กึ เหมอื นกบั วา่
ส่วนท่ีมาเรียนที่วัดบ้านน้ีก็เพราะปริยัติ คือ คนเรียนธรรมะแต่ไม่เรียนบาลี ก็เหมือนกับคน
อาตมาสนใจบาลี ยิ่งเป็นค�ำบาลีท่ีเป็นพุทธพจน์ เรยี นฟสิ กิ สแ์ ตไ่ มเ่ รยี นเลข ประมาณอยา่ งนน้ั การ
ไม่รเู้ ปน็ ยังไง เวลาเราฟังแล้ว รู้สึกวา่ ไพเราะมาก เรียนฟิสกิ ส์กบั เลขนี้ มนั ไปดว้ ยกันมาก การทจี่ ะ
แล้วก็อยากจะเข้าใจความหมาย แต่ถ้าเราไม่ได้ จบั concept ของฟสิ กิ สม์ าอยใู่ นเลขได้ อยา่ งเชน่
เรียน ก็ไม่สามารถท่ีจะแปลได้ ไม่เข้าใจความ E = mc2 มันชัดเลย ใชแ้ ทนไปไดเ้ ลย E m c ท่ี
หมายอย่างลึกซ้ึง คือเราอยากจะท�ำความเข้าใจ Albert Einstein คิดข้ึนมานี่ ถ้าคนเรียนฟิสิกส์
แต่ไม่เรียนเลข ก็จะขาดความสมบูรณ์ไปเยอะ
แบบเดยี วกนั ภาษาบาลนี เ้ี ปน็ ภาษาทร่ี กั ษาพทุ ธ-
พจนไ์ วไ้ ด้ เพราะเปน็ ภาษาทม่ี คี วามหมายทล่ี กึ ซงึ้
มาก และสามารถศกึ ษาไดอ้ ยา่ งเปน็ ระบบ อาตมา
ชอบตรงน้ี สดุ ทา้ ยจงึ ตดั สนิ ใจมาเรยี นทว่ี ดั จากแดง
ตอนแรกขอเจา้ อาวาสวดั ปา่ บญุ ลอ้ มไวห้ นงึ่ ปี
เรยี นไปเรยี นมา ยงั ไมพ่ อ กเ็ ลยขอเรยี นตอ่ ตอนนี้
เรยี นอยวู่ ดั จากแดงมาได้ ๕ ปแี ลว้ ยง่ิ เรยี นยงิ่ สนกุ
ก็เลยคิดท�ำหนังสือพวกนี้ออกมา แปลบทที่ชอบ

48 ๓๗

ไปดว้ ย รสู้ กึ วา่ อา่ นบาลแี ลว้ มคี วามซาบซง้ึ กอ็ ยาก อาตมาทราบวา่ ทปี่ ระเทศศรลี งั กา ญาตโิ ยม
จะถ่ายทอดออกมา ให้ผู้ท่ีไม่มีเวลาศึกษา ได้มี คฤหัสถ์เขาสนใจกันมาก อย่างคาถาธรรมบทนี้
โอกาสซาบซง้ึ ดว้ ย พวกคาถาตา่ งๆ ในสคาถวรรค เด็กๆ ทอ่ี ยูใ่ นโรงเรยี นกส็ ามารถจะท่องได้ สมมติ
อิติวตุ ตกะ เถระ - เถรคี าถา สตุ ตนบิ าต เปน็ คาถา ว่ามี ๔๐๐ กว่าคาถา หลายๆ คน ทอ่ งไดเ้ ป็นร้อย
ท่ีไพเราะมาก เวลาเราแปลออกมาเป็นค�ำเฉยๆ คาถา อาตมาเคยไปเป็นพระธรรมทูตอยู่ที่นิว-
กด็ ูจดื ไป กเ็ ลยพยายามแปลออกมาเป็นค�ำกลอน ซแี ลนด์ มโี ยมทเี่ ปน็ ชาวศรลี งั กา ตอนกลางวนั วา่ ง
บ้าง แต่ว่าต้องมีความซาบซ้ึงในอรรถรสในบท จากงาน เขาชอบมาสวดมนต์คนเดียวที่วัด เขา
ของคาถาบาลใี หไ้ ดเ้ สยี กอ่ น อาตมากแ็ ปลกตรงนี้ บอกวา่ เขาทอ่ งคาถาไดเ้ กนิ รอ้ ยคาถา แลว้ เวลาเขา
คือชอบวถิ ชี ีวติ วดั ปา่ แตช่ อบปริยตั วิ ัดบา้ น ก็เลย เจอปัญหาอะไรในชีวิต ก็จะท่องคาถาธรรมบทนี้
เปน็ อยา่ งนแ้ี หละ อยทู่ งั้ วดั ปา่ วดั บา้ น กร็ สู้ กึ วา่ ได้ ขนึ้ มาแลว้ หนง่ึ ในนน้ั กจ็ ะตอบคำ� ถามในชวี ติ เขาได้
ประโยชนท์ งั้ ๒ ทาง อาตมาคดิ วา่ ดมี ากเลย ของเราน้ี เราไม่คอ่ ย
ค�ำถาม ๓ ตัวเลขในวงเล็บของบทสวดคาถา ได้สนใจ เราไมค่ ่อยไดท้ ่องอะไรกันเลย ทอ่ี ยใู่ นหวั
ธรรมบทของหนงั สอื สตู รหายใจ หมายถงึ อะไรครบั ท่ีเราทรงจ�ำได้จึงไม่ค่อยมี เด๋ียวน้ีทางตะวันตก
ค�ำตอบ เป็นเลขที่ของคาถา ในคาถาธรรมบท คนสนใจพระพุทธศาสนามากนะ สมมติเราไป
จรงิ ๆ จะมีท้ังหมด ๔๐๐ กว่าคาถา แต่เราคัดเอา ตา่ งประเทศ เขาจะถามเราวา่ พระพุทธเจ้าสอน
มาสวดกันแค่ ๕๐ คาถา ตัวเลขที่ท้ายคาถานั้น อะไรบา้ ง อยา่ งนี้ เรามอี ะไรในหวั บา้ งทจ่ี ะตอบเขา
โยมสามารถท่ีจะไปตามดูต่อได้ว่า คาถาท่ีสวด อยา่ งนอ้ ยจำ� คำ� ในธรรมบทนเี้ อาไปสกั บทสองบท
แล้วชอบ เปน็ คาถาท่ีเทา่ ไหร่ เพราะอาตมาไม่ได้ จำ� ให้ได้ ภาษาบาลใี ห้แม่นเลย แลว้ ก็แปลมาเปน็
เรียงตามล�ำดับในพระไตรปิฎก แต่เลือกมาจาก ภาษาไทยด้วย ไปดภู าษาอังกฤษดว้ ยก็ได้ เดยี๋ วน้ี
หลายๆ ท่ี ท่ีโนน่ บา้ ง ทน่ี ีบ่ า้ ง มาต่อกนั เพราะ มีหลาย version เชน่ ภาษาองั กฤษ อยา่ งคาถา
ฉะนนั้ เราสามารถท่จี ะไปคน้ หา ไปศึกษาต่อได้ หนง่ึ เขาแปลมาได้ต้งั หลายแบบ เราชอบอนั ไหน
ถ้าไปเปิดดูอรรถกถา เขาก็จะมีนิทาน เราก็จ�ำไปสักแบบหน่ึง แล้วเราก็พูดไปเลย พูด
ประกอบให้ นิทานน้ีไม่ใช่เป็นเรื่องไม่จริงนะ แบบมน่ั ใจวา่ พระพทุ ธเจา้ สอนอยา่ งน้ี คนทเี่ ขาฟงั
นิทาน แปลว่า เหตุ พระพุทธเจ้ากล่าวคาถานี้ ถ้าเขามีปัญญา กจ็ ะเขา้ ใจความหมายลึกซ้ึงได้เอง
เพราะเหตอุ ะไร เขากจ็ ะอธบิ ายใหช้ ดั ขนึ้ วา่ ตอนที่ เราลองดสู ิ เราเปน็ ชาวพทุ ธ แต่ท�ำไมเราไม่รู้
พระพุทธเจ้าทรงประทับในที่นี้ มีเหตุอย่างนี้เกิด ว่าพระพุทธเจา้ สอนอะไรบ้าง ในคำ� ของพระพุทธ
ขึ้น พระพุทธเจา้ ทรงทำ� อย่างน้ี สดุ ทา้ ยพระองค์ เจ้าจรงิ ๆ เราก็จ�ำไว้เปน็ ภาษาบาลเี ลย จำ� ค�ำแปล
ก็ตรัสคาถานี้ ตอนท้ายก็จะมีการอธิบายว่า ค�ำ เป็นภาษาไทยไว้ แปลเป็นภาษาอังกฤษไว้ด้วย
แต่ละคำ� ในคาถานีห้ มายถงึ อะไร เพราะฉะนั้น เรา จำ� ไดส้ กั ๓ บทก็เก่งแล้ว เวลาเราไปถงึ ไหน ก็จะ
สามารถที่จะไปเปิดดูอรรถกถาได้ จะได้ไปค้นต่อ ไดพ้ ูดได้ เราอาจจะสวดทุกๆ วนั ก็ได้ มี ๔๐ บท
เวลาท่ีเราคุ้นเคยในพุทธพจน์น้ีแล้ว ก็ไปค้นต่อ เรากส็ วดไปวนั ละ ๒ - ๓ บท ท่องไป สวดไป
จิตก็จะได้เข้าถึงอรรถที่ลึกซ้ึงขึ้น ถือว่าช่วยกัน อาตมาวา่ ดนี ะ กอ่ นนอน เรากม็ คี าถาธรรมบท
ศึกษา ชว่ ยกนั เรียนพทุ ธพจน์ อยใู่ นใจ เพราะวา่ เราอาจจะไปเมอื่ ไหรก่ ไ็ ด้ ไมแ่ น่


Click to View FlipBook Version