The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

วารสารโพธิยาลัย 33

podhiyalai_33

ฉบั บ

ปท่ี ๓ ฉบับที่ ๓๓ เดือ น กุม ภ าพันธ ๒๕ ๖ ๑

รักช้นั ?

ปปญั จา

ความรักน้ี ตรองให้ดี มีส่ีชั้น ราคะฝัน ได้แนบกาย แบบชายหญิง
รักแบบมิตร เมตตาชิด สนิทจริง สามรักยิ่ง ศรัทธาเสริม เพิ่มปัญญา
ส่ีคือรัก เอ่อล้น จนพ้นรัก เพราะรู้จัก รักวิเวก อุเบกขา
เกิดรักธรรม บริกรรม ภาวนา รักสูงค่า เพราะรู้จัก รักให้เป็น...

รกั ๔ แบบ
ราคะ : ยึดตดิ อารมณ์ ติดขอ้ ง ไม่ยอมปลอ่ ย ยินดใี นธรรมที่เปน็ อารมณ์ของสงั โยชน์ (เครอ่ื งผูก)
เอาเขามาเป็นเครอ่ื งมือท�ำให้เรามีความสุข มีความเปน็ เจา้ เข้าเจ้าของ หวงแหน
เมตตา : เปน็ ไปในการเกอ้ื กลู ปรารถนาดี หวงั ใหเ้ ขาเปน็ สขุ กำ� จดั ความพยาบาท ทำ� ใหร้ ม่ เยน็ แผไ่ ปไดไ้ มม่ ปี ระมาณ
ศรทั ธา : เช่ือในสงิ่ ท่ีควรเช่อื ผ่องใสแลน่ น�ำหนา้ ไมข่ ุน่ มวั น้อมใจเช่อื เกดิ จากการได้ฟงั พระสัทธรรม
ฉนั ทะ : ปรารถนาท่จี ะทำ� แสวงหาอารมณ์ ตอ้ งการอารมณ์ เป็นฉันทะอิทธบิ าท จุดเรม่ิ ของกจิ กรรมฐาน
(รกั แบบแรก เป็นอกุศล ให้ผลเป็นทุกข์ รักสามแบบที่เหลือ เปน็ กศุ ล ให้ผลเปน็ สุข)

รักของฉัน ต้ังอยู่ ข้างหลังภาพ ไม่อาจหาบ เอาออกไป ให้ใครเห็น
รักของฉัน อยู่หลังภพ สงบเย็น รักฉันเป็น รักในรู้ อยู่นิรันดร์ ฯ

คณุ หญงิ กีรติ,
(ข้างหลังภาพ ของ ศรีบรู พา)
ปญั ญา : แทงตลอดสภาวะตามความเป็นจริง ส่องให้เห็นอารมณช์ ดั ไมห่ ลง มีสมาธเิ ป็นฐาน

เปดิ เล่ม ฉบบั ท่ี ๓๓ เดอื นกมุ ภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑

วารสารโพธิยาลัยฉบับเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ พระอาจารยม์ หาประนอม ธมมฺ าลงฺกาโร ซงึ่ ท่านได้
ฉบับน้ี เปน็ ฉบับ ‘ความรกั แนวพทุ ธ’ ทเ่ี ลือกหวั ข้อน้ี ให้อรรถาธิบายเร่ืองความรักไว้ โดยให้รายละเอียด
เพราะเป็นฉบับประจ�ำเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งในทาง ทม่ี าจากพระไตรปฎิ ก ตง้ั แตค่ วามรกั ของปถุ ชุ น จนถงึ
สากลถอื วา่ เปน็ เดอื นแหง่ ความรกั เนอื่ งจากวนั ท ี่ ๑๔ ความรกั ของพระพทุ ธเจา้ และพระโพธสิ ตั ว์ วา่ มคี วาม
ในเดือนนี้ ถอื กันว่าเปน็ วันแห่งความรกั ซ่ึงกลายเปน็ แตกต่างกันอย่างไร ท่ีน่าสนใจท่ีสุดก็คือ หากรักเป็น
วันสำ� คญั ของคนไทยไปด้วย มคี วามเคลื่อนไหวตา่ งๆ ความรักนั้นก็จะเป็นบาทฐานของการปฏิบัติภาวนา
ในสังคม เช่น หนุ่มสาวนัดพบกัน โดยถือว่าเป็นวัน ช่วยให้การปฏิบัติภาวนาเจริญก้าวหน้า จนถึงข้ัน
พเิ ศษท่จี ะแสดงความรกั ตอ่ กนั มีการใหข้ องขวญั เปน็ บรรลธุ รรมเปน็ พระอริยบุคคลได้
ดอกกหุ ลาบแดง ช็อคโกแลต ฯลฯ นอกจากคอลัมน์วิสัชนาธรรมดังกล่าวแล้ว
ท้ังหมดล้วนเป็นส่ิงที่เป็นไปในสังคมฝร่ังและ ก็อยากเชิญชวนให้อ่านบทความที่มีความต่อเน่ือง
ผนู้ บั ถอื ครสิ ตศาสนา แตใ่ นสงั คมไทยทป่ี ระชากรสว่ น สัมพันธ์กัน อย่างเป็นอันหน่ึงอันเดียวกัน โดยท่าน
ใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชน ก็มีการเฉลิมฉลองเทศกาล ผเู้ ขยี นทง้ั สามไมไ่ ดน้ ดั หมายกนั มากอ่ น แตส่ งิ่ ทปี่ รากฏ
วาไลนไทน์อย่างแพร่หลาย กว้างขวาง ราวกับไม่ใช่ ขึ้นคือ บทความทั้งสามต่างมีเนื้อหาส่งเสริมกันอย่าง
ประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชน ลงตัว เสรมิ สร้างความเขา้ ใจเรอื่ งความรักในแนวพทุ ธ
เป็นท่ีน่าสังเกตว่า การฉลองที่เอิกเกริกเช่นนี้ ไม่เกิด ใหก้ ระจา่ งและชดั เจนยง่ิ ขนึ้ สองบทความนน้ั คอื ชวี ติ
ขึ้น ในประเทศท่ีนับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทอ่ืนๆ กับความรัก เขียนโดย ท่านอาจารย์วศิน อินทสระ
ทั้งประเทศเมยี นมาร์ และประเทศศรีลงั กา นักเขียนหนังสือแนวธรรมะ ท่ีเปรียบเหมือนอัญมณี
ด้วยเหตุนี้ โพธิยาลัยจึงจัดท�ำฉบับ ‘ความรัก เม็ดงามแห่งบรรณพิภพ ที่เมตตามอบบทความนี้
แนวพทุ ธ’นข้ี น้ึ มาเพอื่ แสดงใหเ้ หน็ วา่ พระพทุ ธศาสนา ให้แก่โพธิยาลัย และบทความเร่ือง เรียนรู้ท่ีจะรัก
ของเราก็มีค�ำสอนเก่ียวกับความรักด้วยเหมือนกัน ตนเองกอ่ นรกั คนอน่ื เขยี นโดย พทุ ธสาวกิ า ทนี่ ำ� เสนอ
และคำ� สอนนนั้ เปน็ อยา่ งไร มคี วามแตกตา่ งกบั คำ� สอน ประเด็นเรื่องการรักตนเอง ซึ่งพระพุทธองค์ทรง
ศาสนาอ่นื ๆ อยา่ งไร สรรเสริญว่า เป็นส่ิงที่ควรท�ำเหนือส่ิงอ่ืนใด เพราะ
เป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาก็คือพระ ตนย่อมเป็นท่ีพ่ึงแห่งตน ตนควรมีตนที่พ่ึงได้ จึงจะ
นพิ พาน เพราะฉะนัน้ ความรกั ท่ีถูกตอ้ ง เหมาะควร เป็นทีพ่ ึง่ ของคนอื่นได้
ในพระพุทธศาสนา ย่อมต้องเกื้อกูลกับการไปสู่พระ อีกเร่ืองหนึง่ ท่นี ่าอา่ นเป็นอยา่ งยงิ่ คอื บทความ
นพิ พาน ไมใ่ ชว่ นอยกู่ บั การเวยี นวา่ ยตายเกดิ ความรกั ของพระไพศาล วิสาโล เติมเต็มชีวิตด้วยความรัก
ต้องเปน็ สงิ่ ทยี่ กระดบั จติ ใจ ใหไ้ ปส่คู วามดีงาม ความ เป็นบทความที่อ่านง่าย แต่มีความหมายล�้ำลึกชวน
สะอาดหมดจด ที่ช่วยขัดเกลาจิตวิญญาณให้สูงขึ้น พนิ ิจ เป็นเสมือนเส้นผมบงั ภูเขาสำ� หรบั คนท่ัวไป เป็น
จนสามารถเข้าถงึ กระแสพระนพิ พานไดใ้ นท่สี ุด ประสบการณ์ท่ีท่านได้พบเจอ และรวบรวมมาเป็น
พระพุทธองค์ทรงมีความรักต่อปวงสัตว์เสมอ อุทาหรณ์สอนใจ ท่ีจะช่วยขจัดปัดเป่าปมปัญหาชีวิต
เหมือนกันหมด ทรงมีจิตปรารถนาดีท่ีย่ิงใหญ่ ชนิด ของทุกชีวิตที่ประสบปัญหาต่างๆ ท่ีมีสาเหตุมาจาก
ไม่มีประมาณ ทรงสละพระองค์ พระชนมช์ พี เพื่อเปดิ การขาดความรกั หรือการรกั ไมเ่ ป็น
โอกาสให้เหล่าเวไนยสัตว์มีโอกาสพบกับประโยชน์ ในฉบับยังพรั่งพร้อมด้วยบทความดีๆ ท่ีกล้าที่
สูงสดุ ในชีวิตน้ี คือ พระนพิ พาน จะบอกวา่ ดที กุ เรอ่ื ง โดยในฉบบั นี้ เราไดเ้ รมิ่ เรอ่ื งชดุ คอื
หากสนใจรายละเอียดเรอ่ื งความรักแนวพุทธ ที่ จะมตี อ่ กนั ๔ ตอน เขียนโดยท่านธรี ปญั โญ นักเขียน
ละเอียดลึกซงึ้ ขอเชิญอ่านคอลัมน์ วสิ ชั นาธรรม กับ ประจำ� ของเรา ทเี่ ราภาคภมู ใิ จมาก เพราะทา่ นมแี นวคดิ

2 ๓๓

ทสี่ รา้ งสรรค์อยเู่ สมอ รบั รองว่า ประธานท่ีปรกึ ษา ส า ร บั ญ
ไมม่ ซี �ำ้ ในท่ีอน่ื แมแ้ ต่คณะผ้จู ัด พระครธู รรมธรสุมนต์ นนฺทิโก
ทำ� เอง กย็ งั คอยตามวา่ ในคราว a วสิ ชั นาธรรม : ความรกั แนวพทุ ธ
น ้ี ทา่ นจะนำ� เสนอเรอื่ งอะไรหนอ อัคคมหาบัณฑิต พอจ.มหาประนอม ธมมฺ าลงกฺ าโร.................. ๓
เพราะเราไม่อาจจะคาดเดาได้ บรรณาธิการอาํ นวยการ a ธรรมปริทัศน์ : ยอดอุบาสิกา ธัมมกถึก ตอน ๒
เลย คราวน้กี ็เช่นกนั ท่านเขียน พระมหาประนอม ธมมฺ าลงฺกาโร สมเดจ็ พระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโฺ ต)......๙
เรอื่ งธรรมะ๓๓ตอนมฆมาณพ a พระธรรมเทศนา : ความรักทีแ่ ท้จรงิ
เปน็ เรื่องท่ีพัวพันกับตัวเลข ๓๓ บรรณาธกิ ารบรหิ าร พระอาจารยช์ ยสาโร.....................................๑๖
ในพระพุทธศาสนา เล่าเรื่อง พนิตา องั จนั ทรเพญ็ a ธรรมกถา : เติมเตม็ ชวี ติ ด้วยความรัก
เกย่ี วกบั มฆมานพวา่ มาเปน็ พระ [email protected] พระไพศาล วสิ าโล.......................................๒๓
อินทร์ได้อย่างไร และยังมีข้อ รองบรรณาธิการ a ธรรมรำ� ลกึ : อาจริยบูชา ๑๐๐ ปี
สงั เกตชวนคดิ มากมาย เหน็ ไหม ทพญ. อัจฉรา กลน่ิ สุวรรณ์ พระโพธญิ าณเถร - สวุ ณั ณฉายา....................๒๙
วา่ นา่ ติดตามเพยี งไหน [email protected] a ปญั ญาปริทัศน์ : ธรรมะ ๓๓ (ตอน ๑)
น่ี คื อ ค ว า ม พิ เ ศ ษ ข อ ง มฆมาณพ - ธรี ปญั โญ.....................................๓๒
วารสารโพธิยาลัย รวมถึงบท ประสานงาน a ปญั ญารัตนะ : ชีวติ กบั ความรัก
ความท่ีตีพิมพ์ต่อเนื่องเป็น พระครูประคุณสรกจิ วศนิ อินทสระ .............................................๔๒
ตอนๆ เช่น เรื่องพระอุปคุต (พระมหาการณุ ย์ กุสลนนฺโท) a สมั โมทนียกถา : โทษเขา เราทกุ ข์
เป็นต้น ก็มีเนื้อหาที่พรั่งพร้อม [email protected] สวุ ณั ณฉายา.................................................๕๑
ดว้ ยสาระ ท่หี าอ่านทไ่ี หนไม่ได้ กองบรรณาธกิ าร a ทันโลก รธู้ รรม : เสือไม่ด�ำเทา่ ใจ
เรื่องชุด พระอุปคุตเถระ โดย คณะสงฆว์ ดั จากแดง ปฏริ ปู เทสการก............................................๕๔
วิเทศทัยย์ ก�ำลังสนุก เป็นการ สำ�นักงาน : วดั จากแดง a เร่อื งชดุ พทุ ธบริษัท : เรียนรู้ทีจ่ ะรักตนเอง
คน้ ควา้ ของนกั วชิ าการทางพระ ๑๖ หมู่ ๖ ถ.เพชรหงึ ษ์ กอ่ นรกั คนอนื่ - พทุ ธสาวกิ า...........................๕๗
พุทธศาสนา ที่มีดีกรีการศึกษา a มองเทศ - มองไทย : พระอปุ คุตเถระ ตอน ๓
ระดบั ดษุ ฎบี ณั ฑติ สาขาพระพทุ ธ ซ.เพชรหึงษ์ ๑๐ วเิ ทศทยั ย.์ ....................................................๖๐
ศาสนาจากประเทศศรีลงั กา ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง
ความรกั เปน็ ธรรมชาตขิ อง จ.สมทุ รปราการ ๑๐๑๓๐ หากท่านผู้อ่านมีความประสงค์จะติดต่อ
สงิ่ มชี วี ติ แตจ่ ะมสี กั กค่ี นทเี่ ขา้ ใจ โทรศพั ท์. ๐๒-๔๖๔-๑๑๒๒ กองบรรณาธิการวารสารโพธิยาลัย หรือต้องการ
ความรกั และปฏบิ ตั ติ อ่ ความรกั พมิ พค์ ร้งั ที่ ๑ : เมษายน ๒๕๖๑ แสดงความเห็น ติชม หรือค�ำแนะน�ำใดๆ กรุณา
อยา่ งถกู ตอ้ ง เหมาะควร และกอ่ ติดต่อได้ที่อีเมล [email protected]
ใหเ้ กดิ กศุ ลแกต่ นและผอู้ น่ื อา่ น จำ�นวน ๕,๐๐๐ เล่ม (พระครูประคุณสรกิจ หรือพระมหาการุณย์
โพธยิ าลยั ฉบบั น้ี แล้วจะค้นพบ ปก กสุ ลนนโฺ ท) หรอื เขยี นจดหมายสง่ ถงึ ทพญ.อจั ฉรา
คำ� ตอบทไี่ ดแ้ สดงไวใ้ นบทความ กล่ินสุวรรณ์ ชมรมกัลยาณธรรม เลขที่ ๑๐๐
ต่างๆ ท่ีเราคัดสรรมาน�ำเสนอ ครรลองธรรม ถ.ประโคนชัย ต.ปากน้ำ� อ.เมือง จ.สมทุ รปราการ
แก่ท่านด้วยความปรารถนาดี ภาพ : อ.ปญั ญา วิจินธนสาร ๑๐๒๗๐ หรอื อเี มล [email protected]
หวงั วา่ ทา่ นผอู้ า่ นจะไดร้ บั สารตั ถ ศิลปินแหง่ ชาติ สาขาทศั นศลิ ป์ วารสารโพธิยาลัยจัดพิมพ์ด้วยปัจจัยบริจาค
ประโยชน์สมความต้ังใจของ ของท่านผู้มีจิตศรัทธา โดยเลือกใช้กระดาษถนอม
คณะผ้จู ัดทำ� พ.ศ. ๒๕๕๗ สายตา เปี่ยมด้วยคุณค่าทางปัญญาเพื่อแจกเป็น
คณะผูจ้ ัดทำ� ออกแบบ : พระครูวินัยธร ชัยยศ ธรรมทานและบริจาคไปตามห้องสมุดต่างๆ หาก
ท่านอ่านจบแล้ว ต้องการแบ่งปันธรรมทาน โปรด
พุทธฺ ิวโร ส่งต่อให้ท่านอ่ืนท่ีเห็นคุณค่า หรือมอบให้สถาบัน
เครดติ ภาพ ห้องสมุด วัด หรือสถานปฏิบัติธรรมต่างๆ เป็นต้น
มนตรี ศริ ธิ รรมปติ ,ิ เขมา เขมะ, เพ่ือให้เกิดประโยชน์ทางปัญญาอย่างกว้างขวางแก่
และขอขอบคณุ เจา้ ของภาพ ผู้ใฝธ่ รรมตอ่ ไป
จากทาง Internet ทุกท่าน
ศลิ ปกรรม
สหมติ รกรปุ๊ ทมี
อปุ ถมั ภอปุ กรณคอมพิวเตอร
โดยคณุ พัชรพมิ ล ยงั ประภากร
ประธานกรรมการสนิ ค้าแบรนด์
‘สุวิมล’
จัดพมิ พโ์ ดย
สหมติ รพร้ินติ้งแอนด์พับลชิ ชิง่
โทร. ๐๒ ๙๐๓ ๘๒๕๗-๙

3

วสิ ัชนาธรรม

ความรักแนวพุทธพระอาจารย์มหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร
ปุจฉา : วารสารฉบับเดือนกมุ ภาพันธ์ ขอกราบเรียน ปจุ ฉา : เกยี่ วขอ้ งเปน็ มนษุ ยด์ ว้ ยกนั เทา่ นน้ั หรอื เจา้ คะ
สัมภาษณ์เรื่องความรักแนวพุทธ ก่อนอื่น มีค�ำไหน ถา้ เรารกั สตั วเ์ ลย้ี ง จดั เปน็ ความรกั ประเภทไหนเจา้ คะ
บ้างเจา้ คะ่ ทม่ี คี วามหมายถึงความรกั และใช้ในความ
หมายทตี่ า่ งกันอย่างไรเจา้ คะ วสิ ชั นา : ถา้ รกั สตั วเ์ ลย้ี ง จดั เปน็ ตณั หาเปมะกไ็ ด้ เคห-
สิตะเปมะก็ได้ (สัตว์ท่ีอยู่ในบ้าน) เมตตาเปมะก็ได้
วสิ ัชนา : ต้องแบง่ เป็น ความรักทางโลก กับ ความรกั บางคนเอาสัตว์มาเล้ียง ตอนหลัง ไม่ถูกใจ ร�ำคาญ
ทางธรรม เปมะ แปลว่า ความรัก ใช้ค�ำว่า เมตตา ก็เอาไปท้ิง อย่างนี้ก็ไม่มีเมตตาเปมะ ไม่ใช่ความรัก
ก็ได้ ถ้าใชเ้ ปมะ จะเน้น ๒ อยา่ ง คือ ตณั หาเปมะ กับ แบบท่ีมเี มตตา
เคหสิตเปมะ แต่ถ้าเมตตา จะเน้นเร่ืองส่ิงที่เป็นกุศล
มีแต่คิดจะให้ ปจุ ฉา : ความรกั เกดิ จากเหตอุ ะไรบ้างเจา้ คะ
ปจุ ฉา : แตล่ ะคำ� ใชใ้ นความหมายตา่ งกนั อยา่ งไรเจา้ คะ วิสชั นา : "ปุพเพวะ สนั นวิ าเสนะ ปจั จุปปันนะหิเตนะ
วา เอวนั ตัง ชะยะเต เปมัง อปุ ะลัง วะ ยะโส ธะเก"
วิสัชนา : ตัณหาเปมะ คอื รักของหน่มุ สาว ส่วน เคห- แปลวา่ "ความรักเกดิ ไดด้ ว้ ยเหตุ ๒ ประการ คอื (๑)
สิตเปมะ เป็นความรักท่ีอาศัยเรือน อาจจะเป็นคน เคยอยรู่ ว่ มเรยี งเคยี งกนั มากอ่ น แบบทเ่ี รยี กวา่ บพุ เพ-
อยูใ่ นบา้ นเดียวกัน ญาตพิ ่ีน้อง ตัณหาเปมะนน้ั อาศยั สันนิวาส กบั (๒) ไดช้ ว่ ยเหลือเก้ือหนุนกันในปัจจบุ ัน
ตัณหาราคะ เช่น ความรักของแม่ที่มีต่อลูก ก็อาศัย ชาตินี้ เหมือนกับดอกบัว (อุบล) เกิดได้ด้วยเหตุ ๒
ตัณหาเปมะส่วนหน่ึง และมีเมตตาเปมะด้วย คือ ประการ คอื นำ้� และเปือกตม" นีเ้ ป็นตณั หาเปมะ แต่
เมตตา ไม่ได้หวังอะไรตอบแทน แต่ถ้าเป็น ตัณหา- ถา้ เคหสติ เปมะ กอ็ าจจะเคยทำ� บญุ รว่ มกนั มา แลว้ มา
เปมะ กับ เคหสิตเปมะ ก็หวงั สงิ่ ตอบแทน อยา่ งแรก เกดิ รว่ มพอ่ แมเ่ ดียวกัน อยบู่ ้านเดียวกนั ส่วนเมตตา-
เจือด้วยราคะ อย่างหลังคืออาศัยอยู่เรือนเดียวกัน เปมะ (เราใชเ้ มตตาเลย) เปน็ รกั ทป่ี รารถนาใหค้ นอนื่ มี
แบบญาติกัน หรือเพอ่ื นทร่ี ักใครส่ นทิ สนม ความสุข ไม่ต้องการส่งิ ใดๆ จากเขา

4 ๓๓

ปจุ ฉา : โยมไดย้ นิ มาวา่ “ทีใ่ ดมีรักทน่ี ัน่ มที ุกข”์ จริง วสิ ชั นา : ใช่ พอลกู พดู คำ� นี้ แมก่ เ็ ลยเสยี ใจมาก ตดั ใจได้
ไหมเจ้าคะ เลย ไปตงั้ ใจภาวนาจรงิ จงั ตอ่ มากไ็ ดบ้ รรลธุ รรมชน้ั สงู

วสิ ชั นา : ถา้ รกั นน้ั เปน็ ตณั หาเปมะ หรอื เคหสติ เปมะ ปุจฉา : ถึงจะเป็นความรกั ของแม่ กอ็ าจจะทุกข์ได้ ถา้
ท่ีใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์แน่นอน มีพุทธพจน์ว่า เปมโต ไมใ่ ชเ่ มตตาจรงิ ๆ ใชไ่ หมเจา้ คะ
ชายเต โสโก เปมโต ชายเต ภยํ ความเศร้าโศก เกดิ
ขึ้นเพราะตณั หาเปมะ ภัย เกดิ ข้ึนเพราะตณั หาเปมะ วิสัชนา : เจริญพร เรียกว่าความรกั อาศยั เรอื น ไม่ใช่
ก็คือ ความรักเป็นเหตุให้เกิดความเศร้าโศกและภัย หนมุ่ รกั สาว แตเ่ ปน็ พอ่ แมร่ กั ลกู แตห่ ลายคนกจ็ ะเปน็
ต่างๆ เปมโต วิปฺปมุตฺตสฺส ถ้าบุคคลมีจิตหลุดพ้น แบบนี้ เปน็ หว่ งลกู เรยี กว่า เคหสติ เปมะ จะทุกขแ์ บบ
จากกามคุณอารมณ์ สน้ิ ตณั หาเปมะแล้ว นตถิ โสโก นอ้ ยใจ เสียใจ เศรา้ ใจ แตถ่ ้าเป็นตัณหาเปมะ รกั ดว้ ย
กจ็ ะไมม่ คี วามเศร้าโศก กโุ ต ภยํ กจ็ ะไมม่ ีพิษภยั ตณั หา จะทกุ ขม์ ากกวา่ บางทกี ็ แคน้ อาฆาต พยาบาท
ตัวอย่าง มีภิกษุณีรูปหนึ่งที่ลูกชายตัวเองก็บวช อาจถึงฆา่ กันได้ด้วยเพราะความรกั น้นั
กอ่ น สดุ ทา้ ยลกู ชายบรรลเุ ปน็ พระอรหนั ต์ แตแ่ มก่ ย็ งั ปจุ ฉา : ฟงั อยา่ งน ี้ โยมเหน็ วา่ ความรกั นอี้ นั ตรายมาก
ยึดมัน่ ว่า น่ี ลูกชายของเรา ความรักท่ีผกู พนั ในเรือน พระอาจารยเ์ จา้ คะ แลว้ พระพทุ ธเจา้ ทา่ นทรงสรรเสรญิ
ก็คือรักลูกนั่นแหละ แม่จึงไปบวชเป็นภิกษุณีเพราะ ความรักแบบไหน อย่างไหนท่ีจะเป็น ความรักแบบ
อยากได้เห็นลูกชายใกล้ชิด พระอรหันต์ท่ีเป็นพระ ผู้รู้ ทเี่ ราจะฉลาดรกั

ลูกชายท่านมีปัญญา คิดว่าจะท�ำอย่างไรให้โยมแม่ วสิ ชั นา : ความรกั แบบผู้รู้กค็ ือ เมตตา พระพทุ ธองค์
ตดั ใจได้ ท้ังๆ ที่โยมแมร่ ักลูก เปน็ เคหสิตเปมะ ไมใ่ ช่ สรรเสริญเมตตา อันเป็นความรักที่เป็นสากล ถ้าเรา
ตณั หาเปมะ แตค่ วามรกั ความหวงั ดนี น้ั กลบั เปน็ ตวั กนั้ สวดมนต์บทเมตตาใหญ่ รักด้วยเมตตานี้มีประโยคท่ี
ไม่ให้แม่บรรลุธรรม พระอรหันต์ลูกชายจึงใช้อุบาย เปน็ คำ� พดู ออกมา ๕๒๘ ประโยค คอื แผเ่ มตตาไปในทศิ
ขับไลไ่ สส่ง บอกแมใ่ ห้ไปใหพ้ ้น ทง้ั สบิ นน้ั คอื เปน็ รกั ทบี่ รสิ ทุ ธทิ์ พ่ี ระพทุ ธเจา้ สรรเสรญิ
เมตตาทไ่ี มอ่ าศยั เรอื น ไมอ่ าศยั ตณั หา แตเ่ ปน็ เมตตาท่ี
ปจุ ฉา : เรอื่ งของพระกุมารกสั สปะใชไ่ หมเจ้าคะ ตอ้ งอาศยั จติ ทเี่ ปน็ กศุ ล ปรารถนาใหท้ กุ คนมคี วามสขุ

ปุจฉา : หมายถึงเราต้องเอาความสุขความเจริญของ
ผรู้ ับเป็นทต่ี ้ัง ไมใ่ ช่ปากบอกวา่ เราเมตตา แตว่ ่าทำ� ทกุ
อย่างเพื่อสนองความต้องการของตน สนองตัณหา
ของตน อนั น้เี ปน็ ความเข้าใจผดิ ใชไ่ หมเจา้ คะ

วิสัชนา : เจริญพร เช่นพ่อแม่หวังดีต่อลูก อยากให้
ลูกเป็นอย่างน้ันอย่างนี้ อันน้ันคือเมตตาเปมะ
แต่ถ้าลูกไม่ได้เป็นดังท่ีหวัง พ่อแม่ก็ทุกข์ น้ันก็คือ
เคหสติ เปมะ กับ ตณั หาเปมะ สองอยา่ งน้ีมันมคี วาม
หวังอยู่ จึงทำ� ให้เกิดทกุ ข์

ปุจฉา : ดูเหมือนความรักของคนเราจะปะปนกันไป
มีท้ังเมตตา มีท้ังราคะ แล้วมีหมวดธรรมไหนบ้าง ที่
เป็นส่วนช่วยส่งเสริมให้เราสามารถพัฒนาความรัก

๓๓ 5

ให้เป็นแบบมีเมตตาท่ีสูงส่งบริสุทธ์ิ และน�ำมาช่วย บรรลุได้ถึงขัน้ อนาคามี ศาสนาอ่ืนเขาไม่สอน มแี ตใ่ น
พฒั นาตนเองและสังคมได้มากขนึ้ เจ้าคะ่ พระพทุ ธศาสนา นอกจากนี้ ก่อนทีจ่ ะเจรญิ วปิ สั สนา
พระพทุ ธเจา้ สอนใหเ้ จรญิ เมตตากรรมฐานกอ่ น เมตตา
วิสชั นา : หลักของสาราณยี ธรรม* และ พรหมวหิ าร กรรมฐานถือว่าเป็นหน่ึงในสมถกรรมฐาน ท่ีเป็นตัว
๔ หรือ อปั ปมัญญาภาวนา ที่ดีทีส่ ุดสำ� หรับการชว่ ย ปรบั พ้ืนฐานจิต (อารักขกรรมฐาน**) กอ่ นที่จะเจริญ
สงั คมกค็ ือ มี สาราณยี ธรรม ได้แก่ เมตตากายกรรม วปิ ัสสนากรรมฐานใหไ้ ดผ้ ลดี
เมตตาวจีกรรม และเมตตามโนกรรม คือจะท�ำ จะ แม้แต่ชาวพุทธเราเอง ศึกษาพุทธศาสนากันก็
พูด จะคิด ก็มีเมตตาทั้งต่อหน้าและลับหลัง จะเป็น จรงิ สอนใหแ้ ผ่เมตตากท็ ำ� ได้ แต่เรายงั เขา้ ไม่ถึงความ
ประโยชน์แก่สังคมมาก คือไม่ใช่หน้าไหว้หลังหลอก เมตตาท่ีลึกซ้ึง อย่างเช่นกรณียเมตตสูตร สูตรเดียว
สงั คมไดป้ ระโยชนม์ ากจากการมเี มตตากนั ถา้ มเี มตตา น้ี กอ่ นทีจ่ ะแผ่เมตตา คนที่ปรารถนาสันตบทคอื พระ
จากสาราณียธรรมและเมตตาพรหมวิหาร ถ้าเมตตา นพิ พาน ต้องมคี ณุ สมบัติ ๑๕ ขอ้ แลว้ จงึ แผเ่ มตตาได้
ในลักษณะอย่างนี้เป็นไปได้ โดยอาศัยพื้นฐานเมตตา แลว้ จะไดต้ ตยิ ฌาน จากนน้ั กอ็ าศยั ตวั นเี้ ปน็ ฐานเจรญิ
บารมขี องพระโพธสิ ตั ว์ และจดุ เร่ิมต้นที่จะรักใครเป็น วปิ สั สนา แลว้ อาจจะไดบ้ รรลถุ งึ ขนั้ อนาคามี ไปเกดิ ใน
คอื ตอ้ งรกั ตวั เองใหเ้ ปน็ ใหไ้ ดก้ อ่ น พระพทุ ธองคจ์ งึ เรมิ่ ช้ันสทุ ธาวาสได้เลย โดยอาศัยเมตตากรรมฐาน
สอนให้แผ่เมตตาให้คนแรก คือใหต้ วั เราเอง เจรญิ พร

ปุจฉา : กราบสาธุเจ้าค่ะ พวกเราเป็นชาวพุทธ
พระพุทธเจ้าสอนเราให้มีความรักแบบเมตตา โยม
ไม่แน่ใจว่า ศาสนาทุกศาสนา สอนให้เมตตากัน
เหมอื นพระพุทธเจ้าสอนไหมเจ้าคะ

วสิ ชั นา : ทกุ ศาสนากส็ อนเรอ่ื งเมตตา แตเ่ ขาไมไ่ ดส้ อน
ลกึ ซงึ้ เหมอื นพระพทุ ธศาสนา คอื เขาแคม่ เี มตตาแบบ
ตัณหาเปมะ เคหสิตเปมะ รักแบบพ้ืนฐาน รักแบบ
ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แต่เมตตาที่จะเป็นฐานเข้าไปถึง
ตติยฌาน และเป็นฐานส�ำหรับการเจริญวิปสั สนา จน

*สาราณียธรรม ๖ คือ ธรรมเป็นท่ีตั้งแห่งความให้ระลึกถึง, ธรรมเป็นเหตุที่ระลึกถึงกัน, หลักการอยู่ร่วมกัน ๑. เมตตากายกรรม
ตั้งเมตตากายกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ท้ังต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยเหลือกิจธุระของผู้ร่วมคณะด้วยความเต็มใจ แสดงกิริยา
อาการสภุ าพ เคารพนับถอื กัน ท้ังต่อหนา้ และลับหลัง ๒. เมตตาวจกี รรม ต้ังเมตตาวจกี รรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ท้ังตอ่ หน้าและลบั หลงั คือ
ช่วยบอกแจ้งสง่ิ ท่เี ป็นประโยชน์ ส่ังสอน แนะน�ำตกั เตอื นดว้ ยความหวงั ดี กลา่ ววาจาสุภาพ แสดงความเคารพนับถือกนั ทั้งต่อหน้าและลบั
หลงั ๓. เมตตามโนกรรม ตั้งเมตตามโนกรรม ในเพ่อื นพรหมจรรย์ ท้ังต่อหนา้ และลับหลัง คอื ตั้งจติ ปรารถนาดี คิดท�ำสง่ิ ท่ีเป็นประโยชน์
แก่กนั มองกนั ในแง่ดี มหี นา้ ตายิ้มแย้มแจม่ ใสตอ่ กนั ๔. สาธารณโภคี ไดข้ องสิ่งใดมาก็แบง่ ปนั กนั คือ เมื่อไดส้ ิ่งใดมาโดยชอบธรรม แมเ้ ป็น
ของเลก็ น้อย กไ็ มห่ วงไว้ผู้เดยี ว น�ำมาแบ่งปันเฉลยี่ เจือจาน ใหไ้ ดม้ ีส่วนร่วมใชส้ อยบรโิ ภคทวั่ กนั ๕. สีลสามัญญตา มศี ีลบรสิ ุทธเ์ิ สมอกนั กบั
เพอ่ื นพรหมจรรยท์ ง้ั หลาย ทง้ั ตอ่ หนา้ และลบั หลงั คอื มคี วามประพฤตสิ จุ รติ ดงี าม ถกู ตอ้ งตามระเบยี บวนิ ยั ไมท่ ำ� ตนใหเ้ ปน็ ทนี่ า่ รงั เกยี จของ
หมู่คณะ ๖. ทฏิ ฐิสามัญญตา มีทฏิ ฐดิ ีงามเสมอกนั ในเพื่อนพรหมจรรย์ทงั้ หลาย ท้ังตอ่ หนา้ และลบั หลงั คอื มีความเห็นชอบร่วมกัน ในขอ้ ที่
เป็นหลกั การส�ำคัญทจ่ี ะนำ� ไปสูค่ วามหลุดพ้น ส้นิ ทุกข์ หรือขจัดปญั หา
ธรรม ๖ ประการนี้ มคี ณุ คอื เปน็ สารณยี ะ (ทำ� ใหเ้ ปน็ ทร่ี ะลกึ ถงึ ) เปน็ ปยิ กรณ์ (ทำ� ใหเ้ ปน็ ทร่ี กั ) เปน็ ครกุ รณ์ (ทำ� ใหเ้ ปน็ ทเี่ คารพ) เปน็ ไป
เพ่อื ความสงเคราะห์ (ความกลมกลนื เขา้ หากนั ) เพ่อื ความไม่วิวาท เพอื่ ความสามัคคี และ เอกภี าพ (ความเปน็ อนั หนึ่งอันเดยี วกนั )

(คัดยอ่ มาจาก พจนานุกรมพทุ ธศาสตร์ ฉบบั ประมวลธรรม ของ สมเด็จพระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโฺ ต)
**จตุรารักขกรรมฐาน คือกรรมฐานที่ใช้ปรับพ้ืนจิตก่อนเจริญวิปัสสนา มี ๔ อย่าง ๑ พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย
๒. เจรญิ เมตตา ๓. อสภุ ะ ๔. มรณสติ

6 ๓๓

อุปะวะเทยยุง - ติเตียนผู้อ่ืนด้วยสิ่งใด ไม่ควรท�ำ
ส่ิงน้ันแม้เพียงเล็กน้อย คุณสมบัติครบ ๑๕ ข้อแล้ว
จึงจะแผ่เมตตา คือก่อนมีเมตตาต้องมีฐาน ๑๕
อย่างน้ันก่อน แล้วแผ่เมตตาไป จึงจะถึงเมตตาฌาน
ดงั นน้ั เมตตา มีต้งั แต่ พอ่ แมเ่ มตตาลูก, เมตตาท่ีแผ่
ไปในสตั วท์ ง้ั ปวง, เมตตาของพระโพธสิ ตั ว์ และเมตตา
ท่ีเปน็ เมตตากรรมฐาน เมตตาฌาน
เมตตาบรสิ ทุ ธิจ์ รงิ ๆ เร่ิมจากความรกั ของพอ่ แม่
ทีม่ ีต่อลูก เรยี กว่า เคหสติ เปมะ แตเ่ มตตาท่ีสงู กว่านั้น
ปจุ ฉา : ลึกซงึ้ มากเจา้ คะ่ แล้วความรักต้นแบบ ที่นา่ คอื ไมห่ วงั สงิ่ ตอบแทน จะไมห่ วงั ผลวา่ คนทเี่ ราเมตตา
สรรเสรญิ ทชี่ าวพทุ ธควรเดนิ ตามรอย ขอความเมตตา จะดหี รอื ไมด่ ี แตเ่ รามเี มตตาตอ่ เขาแลว้ กจ็ บ ถา้ ไปดใู น
พระอาจารยก์ รุณายกตัวอย่างเจา้ ค่ะ ลกั ขณาทจิ ตกุ ะของเมตตา ตอ้ งมขี นั ติ อดทน เหน็ คณุ
ของขนั ติ คุณของการใหอ้ ภัย จึงเกดิ เมตตา ตอ้ งเหน็
วิสัชนา : ความรักของพระพุทธเจ้า เป็นตัวอย่าง โทษของความโกรธ ท้ังในชาติน้ีและชาติหน้า แล้ว
ท่ดี ีทส่ี ุด ทรงรกั พระราหลุ และพระเทวทตั เท่าๆ กัน ต้องมีขันติบารมี เห็นคุณของคนที่เราจะโกรธ ความ
ทั้งในสุขิตสัตว์ และทุกขิตสัตว์ พระพุทธองค์ทรง เมตตาจงึ เกิดขนึ้
เมตตาได้เสมอกัน บางคร้งั เรารักเมตตาคนอื่น สพั เพ
สัตตา ได้ แต่สุดท้าย เราก็มักจะมาเลือก คนนั้นได้ ปจุ ฉา : ตอ้ งคำ� นงึ ถงึ เรอ่ื งกฎแหง่ กรรมประกอบไปดว้ ย
คนนี้ไม่ได้ มักจะมีบางคนท่ีเรารู้สึกว่าเมตตาไม่ได้ คอื มอี เุ บกขา ตามทพี่ ระอาจารยเ์ คยสอนใชไ่ หมเจา้ คะ
คือ เมตตาพรหมวิหารเรายังไม่มีจริง ผู้ท่ีจะมีเมตตา
จริงๆ อย่างพระพุทธเจ้าจึงหายากมาก การฝึกใจ วสิ ชั นา : ใช่ ถา้ ไปถงึ กฎแหง่ กรรมคอื เขา้ ใจถงึ อเุ บกขา
ให้มีเมตตา ต้องมีความเอ้ือเฟื้อเผื่อแผ่เป็นพื้นฐาน แล้ว คือ เมตตา เป็นอนั ดบั แรก กรณุ าเป็นอนั ดบั ที่ ๒
จากวตั ถทุ าน พฒั นาไปสอู่ ภัยทาน ถ้าวัตถทุ านให้ได้ มุทิตา เปน็ อนั ดบั ที่ ๓ และ ๔ อุเบกขา ถา้ พิจารณา
แต่อภัยทานให้ไม่ได้ เมตตาก็ไม่เกิด ดังนั้น ต้องให้ เรื่องกฎแห่งกรรมก็เป็นลักษณะของอุเบกขาพรหม-
อภัยทานได้ เมตตาจงึ จะเจรญิ วหิ าร เราปรารถนาดตี อ่ เขาแล้ว เราทำ� หน้าที่ของเรา
เมตตาที่เป็นพ้ืนฐาน เราก็ต้องฝึกกันไป แต่ใน ครบแลว้ เขาจะดหี รอื ไมด่ ี เปน็ เรอื่ งกรรมของเขาแลว้
กรณยี เมตตสตู ร จะเปน็ เมตตาขนั้ สงู เจรญิ ตตยิ ฌาน เราไมใ่ ช่เป็นผูด้ ลบนั ดาล เราเป็นเพยี งผใู้ ห้ ผเู้ สรมิ
ได้ ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติ ๑๕ ข้อ คือ ๑. สักโก – ปุจฉา : โยมเขา้ ใจแลว้ วา่ ความรักของพระพทุ ธเจา้ คอื
อาจหาญ, ๒. อุชู - ตรง, ๓. สุหชุ ู - ซือ่ ตรง, ๔. สุวะโจ - ความเมตตาที่บริสุทธิ์ แต่โยมอยากทราบความแตก
วา่ งา่ ย, ๕. มทุ ุ - ออ่ นโยน, ๖. อะนะตมิ านี - ไมเ่ ยอ่ หยงิ่ , ต่างระหว่างความรักของพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์
๗. สันตุสสะโก - สันโดษ, ๘. สุภะโร - เล้ียงง่าย, และพระพรหม มีความแตกตา่ งกนั อยา่ งไรบ้างเจ้าคะ

๙. อัปปะกิจโจ - มีกิจน้อย, ๑๐. สัลละหุกะวุตติ - วิสัชนา : พระโพธิสัตว์รักเมตตาเพื่อพระโพธิญาณ
ประพฤติตนเบากายเบาใจ, ๑๑. สันตินทฺริโย - แต่พระพุทธเจ้าไม่ได้รักเพ่ือพระโพธิญาณแล้ว เป็น
มีอินทรีย์สงบ, ๑๒. นิปะโก - มีปัญญารักษาตน, อนันตะ พระองค์มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ และ
๑๓. อปั ปะคัพโภ - ไมค่ ะนองกายวาจา, ๑๔. กุเลสุ พรหมวิหาร ๔ ดุจห้วงมหรรณพ เมตตาไม่มีท่ีสุด
อะนะนุคิทโธ - ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย และ ๑๕. เลย ระหว่างพระเทวทัตกับพระราหุล พระองค์รัก
นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร ใคร่เสมอกันเลย ไม่ทรงปรารถนาอะไรตอบแทนเลย

๓๓ 7

พระมหากรุณาธิคุณเป็นคุณสมบัติที่ส�ำคัญที่สุด ปุจฉา : ถ้าตกจากพรหมลงมา มีโอกาสลงไป
พระพุทธองคม์ ีแต่ให้ แต่พระโพธสิ ตั ว์ยังหวงั ท่านยงั อบายภูมไิ ด้ไหมเจ้าคะ
เป็นปุถุชนแต่บ�ำเพ็ญบารมีเพ่ือเป็นพระพุทธเจ้า ยัง
หวังโน่นหวังนี่ ยังหวังโพธิญาณ ยังหวังให้ประเทศ วิสชั นา : ไดส้ ิ เพราะพรหมก็ยังเป็นปุถุชนอยู่ แต่ถ้า
ชาติสงบสุข ยังหวังให้ญาติสงบสุข เพราะฉะน้ัน เป็นพรหมสัมมาทิฏฐิ พรหมอริยะ ก็ไม่ไปอบายภูมิ
กิเลสยังมีอยู่ บางคร้ังยังไปอบาย ยังตกนรกอยู่ เช่น เจริญพร
กอ่ นจะมาเปน็ พระเตมยี ใ์ บ้ พระองคย์ งั ตกนรกมากอ่ น ปุจฉา : โยมเข้าใจเรื่องเมตตาลึกซ้ึงข้ึนเยอะเจ้าค่ะ
ปุจฉา : แจ่มแจ้งนักเจ้าค่ะ แล้วรักแบบพระพรหม โยมคิดว่าคนที่มีปัญหาต้องทุกข์เร่ืองความรัก เพราะ
เป็นอย่างไรเจา้ คะ่ เขายงั เขา้ ไมถ่ งึ ความหมายของเมตตาจรงิ ๆ คนจำ� นวน
มากบอกวา่ ตวั เองมเี มตตา แตเ่ วลาแผเ่ มตตากว็ า่ “ขอ
วสิ ัชนา : พระพรหมกเ็ หมอื นกัน พระพรหมก็ยงั เปน็ ให้สัตว์ทั้งปวงจงเป็นสุข ยกเว้น..ไอ้คนข้างบ้าน”
ปถุ ชุ น แตถ่ ้าพระพรหมทเ่ี ปน็ อริยะ เชน่ พระพรหม คือเรามักจะมีใครสักคนท่ีเราเว้นไว้ เราจะแก้นิสัยนี้
ชั้นสทุ ธาวาสกไ็ มม่ ปี ญั หา ไมม่ ีอคติ แตถ่ า้ เป็นพรหม ไดอ้ ย่างไรเจา้ คะ ?
ธรรมดา พรหมปุถุชน ก็ยังมีโอกาสมีอคติ มีล�ำเอียง
ถงึ จะมเี มตตาตอ่ สตั วโ์ ลก แตส่ ตั วโ์ ลกไหนไมเ่ กย่ี วขอ้ ง วสิ ชั นา : แสดงวา่ เรายังไม่เข้าใจคำ� วา่ เมตตา สิ่งแรก
กับเรา ไมม่ ีคุณประโยชน์อะไรกบั เรา พระพรหมนั้นก็ เลย กอ่ นจะแผเ่ มตตา ต้องนึกถงึ วา่ ทกุ คนเป็นเพอ่ื น
ลำ� เอยี งเปน็ เรือ่ งปกติ เพราะความเป็นปถุ ุชน ทุกข์ เป็นเพื่อนทุกข์ในฐานะท่ี การเกิดก็เป็นทุกข์
เขาทกุ ข์ เราก็ทกุ ข์ การแกก่ ็เปน็ ทุกข์ เราทกุ ข์ เขาก็
ปุจฉา : อ้าว...พระพรหมมีพรหมวิหาร นึกว่าท่าน ทุกข์ การเจบ็ เรากเ็ จบ็ เขากเ็ จบ็ การตาย เราและเขา
จะไมล่ �ำเอยี งเจา้ ค่ะ ก็ตอ้ งตาย เปน็ ความทกุ ข์ เขากพ็ ลัดพราก เรากต็ ้อง
พลัดพราก การอยู่ร่วมกับคนที่ไม่ถูกกัน ก็เป็นทุกข์
วิสชั นา : กอ่ นทจ่ี ะมาเป็นพรหมกย็ งั มีพรหมวิหารอยู่ เหมอื นกัน ปรารถนาสง่ิ ใดและไม่ได้ดงั หวังก็ทกุ ขเ์ ช่น
ได้ฌานตอนน้ัน อคติไม่แทรกแซง จึงมาเป็นพรหม กนั มขี ันธ์ ๕ กเ็ ปน็ ทุกข์ ดังนัน้ กอ่ นทจี่ ะแผ่เมตตา
แต่สุดท้ายแล้วก็ยังเป็นปุถุชน ยังถูกอ�ำนาจของอคติ มองใหเ้ ปน็ เพอื่ นทกุ ขย์ าก และปรารถนาใหเ้ ขามคี วาม
เข้ามาแทรกแซงได้ เช่น ถา้ เราไปดูในบทสวดพาหงุ ฯ สขุ ทกุ คนเปน็ เพอ่ื นของเราทง้ั หมด สตั วท์ งั้ หลายทเ่ี ปน็
ตอนที่พกาพรหมมาทูลถามพระพุทธเจ้า จะเห็นว่า เพอื่ นทกุ ข ์ ตอ้ งเผชญิ ความยากลำ� บากมาดว้ ยกนั ทกุ ข์
พระพรหมก็มที ิฏฐมิ านะ มีอคติ เพราะเขาเป็นมจิ ฉา- ในฐานะเพอื่ นทกุ ขก์ นั ถา้ คนเคยลำ� บากมาดว้ ยกนั จะ
ทฏิ ฐิ ถา้ เป็นพรหมสัมมาทิฏฐกิ ไ็ ม่มปี ัญหา เจรญิ พร ทำ� ใหม้ เี มตตาตอ่ กนั งา่ ยขนึ้ และจรงิ ใจปรารถนาดตี อ่

กันได้งา่ ย อยากให้เขาพน้ จากทกุ ข์ ถ้าเรามองอยา่ งนี้
ขณะแผ่เมตตา จะไมเ่ ลอื กท่รี กั มกั ท่ชี ัง

ปุจฉา : คือเราตอ้ งเขา้ ใจใหถ้ ึงความจริงตรงนีก้ อ่ น ฟัง
ดแู ลว้ เหมอื นวา่ การมเี มตตาแลว้ เปน็ ผลดกี บั ผทู้ ไ่ี ดร้ บั
เมตตา แล้วเราผูเ้ มตตาเขา มีขอ้ ดีอะไรบ้างเจา้ คะ่ ?

วสิ ชั นา: คนทเี่ มตตาเขาไดค้ อื ๑) ไดเ้ จรญิ เมตตาพรหม
วหิ าร ๒) ไดเ้ จรญิ เมตตาบารม ี ๓) ไดเ้ จรญิ เมตตาฌาน
ถา้ เจรญิ เมตตาบารม ี คอื ปรารถนาใหค้ นอน่ื มคี วามสขุ

8 ๓๓

โดยทตี่ นเองปรารถนาดีกับคนอนื่ ท�ำดีกบั คนอื่น เรา ปุจฉา : แล้วรักตนเองแบบไหน จงึ จะดีทีส่ ดุ เจ้าคะ
ไมไ่ ด้ปรารถนาอะไรจากเขา เวลามเี มตตา จะมองวา่
เขาคือเพ่ือนทุกข์เพ่ือนยากของเรา หรือคนที่เรารู้จัก วสิ ชั นา : ถา้ รกั ตนดที ส่ี ดุ คอื จะไมท่ ำ� ตนเองใหเ้ ดอื ดรอ้ น
ไหมหรอื เปน็ อะไรกบั เราไหม เรามองเหน็ แคน่ ้ี แตพ่ ระ ทั้งชาตินี้และชาติหน้า รักตนเองที่ดีท่ีสุดในทาง
โพธิสัตวจ์ ะมองสตั วโ์ ลกทง้ั มวลเป็นเพื่อนทุกข์ เพ่ือน พุทธศาสนาก็คือ รักษาศีล ท�ำสมาธิ เจริญภาวนา
ยากทง้ั หมดเลย มคี วามปรารถนาดี อยากชว่ ยใหเ้ ขา เจริญไตรสิกขา แต่ถ้ารักตนเอง แล้วหาวัตถุกามมา
ทั้งหลายพ้นทุกข์ทั้งปวงได้ นอกจากนี้ลองดูอานิสงส์ ดูแลตนเอง ถือว่าการรักน้ันเป็นการรักด้วยตัณหา
ของเมตตา* ทา่ นกลา่ วไว้มี ๑๑ ประการ แต่ความรักตนท่ีประเสริฐที่สุดคือรักเพ่ือให้ตนพ้น
จากทกุ ขท์ ้ังปวง เปน็ รกั ท่ดี ีท่ีสุด
ปุจฉา : โยมอยากให้พระอาจารย์เมตตาช่วยขยาย
ความพระพุทธภาษิตท่ีว่า รักอื่นเสมอด้วยรักตนไม่มี ปจุ ฉา : ถา้ เราเรมิ่ ตน้ ด้วยการรักตนเองใหถ้ ูก คือรัก
คอื ไมว่ า่ จะมองไปทางไหน ไมม่ ใี ครทเี่ ปน็ รกั ยง่ิ กวา่ ตน ตนเองเปน็ เราก็จะรักคนอื่นเป็นด้วย ใช่ไหมเจา้ คะ
วิสัชนา : นตถฺ ิ อตตฺ สมํ เปมํ - รักอน่ื เสมอด้วยรกั ตน วสิ ชั นา : ใช่ เวลาแผ่เมตตาทุกครง้ั คนแรกทเ่ี ราตอ้ ง
ไมม่ ี พระพทุ ธเจา้ ตรสั ตอนทพี่ ระเจา้ ปเสนทโิ กศลถาม แผ่ให้คือตัวเอง ชุดท่ีสองคือ พ่อแม่ ครูบาอาจารย์
พระพุทธเจ้าเร่ืองของพระนางมัลลิกา คือตอนแรก ชุดท่ีสามคือ เพื่อนๆ ญาติสนิทมิตรสหาย ชุดสดุ ทา้ ย
พระเจ้าปเสนทิโกศลถามพระนางมลั ลกิ าวา่ ในโลกน้ี ศตั รู คู่เวร กอ่ นท่เี ราจะใหอ้ ะไรคนอื่น เราตอ้ งมสี ิ่งนัน้
เธอรกั ใครมากทส่ี ดุ พระนางมลั ลกิ าตอบวา่ รกั ตนเอง กอ่ น แตถ่ า้ เมตตามนั ไมเ่ ปย่ี มลน้ จากใจของเรา แคพ่ ดู
มากทสี่ ดุ คำ� ตอบนท้ี ำ� ใหพ้ ระเจา้ ปเสนทโิ กศลตกตะลงึ เฉยๆ มันก็เป็นแค่ลมปาก ไม่ใช่เมตตาจริงๆ ถ้ารัก
มาก เพราะคาดหวงั วา่ พระนางจะตอบวา่ รกั พระองค์ ตนเองไมเ่ ปน็ กย็ อ่ มจะรกั คนอน่ื ไมเ่ ปน็ เปน็ แคต่ ณั หา
มากท่ีสดุ ทรงรีบไปเขา้ เฝ้าพระพทุ ธเจา้ และทูลถาม เปมะ รกั เพราะอยากไดอ้ ะไรจากเขา ถา้ เมตตาจรงิ ๆ
ปญั หาน ้ี พระพุทธเจา้ ตรสั ยืนยันวา่ ใช ่ พระนางพูด จะเป่ียมล้นจิตใจเราออกไปราดรดผอู้ ืน่
ความจรงิ สตั วโ์ ลกทง้ั มวลเปน็ อยา่ งนน้ั จรงิ ๆ รกั ตนเอง ปุจฉา : สุดท้ายน้ี ขอความเมตตาพระอาจารย์ฝาก
ที่สุด อันนี้ แค่ตัณหาเปมะ รักตนเองจึงมีท้ัง ๓ ขอ้ คิดใหผ้ ู้อา่ นเก่ียวกบั ความรักความเมตตาเจ้าค่ะ

มุมมอง ตัณหาเปมะ เคหสิตเปมะ และเมตตาเปมะ วสิ ชั นา : ทอี่ ยากจะฝากไวค้ อื หลกั สาราณยี ธรรม หลกั
สัตว์ทุกตัวรักตัวกลัวตาย และแสดงความรักตนเอง พรหมวหิ าร ๔ หลกั สงั คหวตั ถุ ทงั้ หมดทง้ั มวลกค็ อื ฝกึ
แตกต่างกันไป รักตนเองให้เป็น แผเ่ มตตาให้กับตัวเองให้เปน็ ถา้ แผ่
เมตตาใหต้ วั เองเปน็ รกั ตวั เองเปน็ จริงๆ ก็จะไม่ทำ� ให้
ตนเองและผูอ้ น่ื เดือดร้อน ทงั้ ชาตินแ้ี ละชาตหิ น้า ถา้
เป็นเมตตาคือความรักที่บริสุทธิ์ แต่ถ้าเป็นตัณหาก็
ทำ� ใหค้ นอนื่ เดอื ดรอ้ นได ้ แตถ่ า้ เปน็ เมตตาพรหมวหิ าร
จะไมท่ ำ� ใหใ้ ครเดอื ดรอ้ น ขอใหม้ เี มตตาสาราณยี ธรรม
เมตตาพรหมวหิ าร ต้องเข้าใจเมตตาใหช้ ัดเจน แล้วก็
ปฏิบตั อิ ย่างถกู ตอ้ ง เมตตากจ็ ะเป็นประโยชน์ตอ่ มวล
มนุษยชาตติ อ่ สัตวโ์ ลกทงั้ ปวง เจริญพร

*อานิสงส์ของการเจริญเมตตา ๑๑ ประการ ๑. หลับอยู่ก็เป็นสุข ๒. ต่ืนข้ึนก็เป็นสุข ๓. ไม่ฝันร้าย ๔. เป็นท่ีรักของมนุษย์ท้ังหลาย
๕. เปน็ ท่ีรักของอมนุษย์ท้งั หลาย ๖. เทวดายอ่ มคุม้ ครองรกั ษา ๗. อุปัทวนั ตรายท้ังหลายย่อมท�ำอนั ตรายไมไ่ ด้ ๘. จติ ต้ังม่ันเป็นสมาธไิ ดง้ ่าย
๙. ผิวพรรณยอ่ มผ่องใส ๑๐. เป็นผู้ไมล่ ุม่ หลงมวั เมาในชวี ิต ไม่ขาดสตติ าย ๑๑. ถ้ายงั ไม่บรรลอุ มฤตธรรม ย่อมเป็นผู้เข้าถงึ พรหมโลก

9

ธรรมปรทิ ัศน์

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยตุ ฺโต)

ยอดอุบาสิกา ธัมมกถกึ ตอน ๒

ต้งั แตพ่ ทุ ธกาลมา บรรยากาศของวดั คือการศึกษา

ยอดอรยิ สาวิกา กร็ กั ษาพระไตรปฎิ กให้เราด้วย

เกร่ินน�ำ (ตอ่ จาก ตอน ๑ ในฉบับที่ ๒๗ เดือนสงิ หาคม ๒๕๖๐)

ชีวิตของพระในสมัยพุทธกาล ก็มีให้เราเห็น
กเ็ ปน็ อนั วา่ การศกึ ษาสมยั นน้ั มกี ารสาธยาย ในพระไตรปฎิ ก และในอรรถกถา บางองคบ์ วชเขา้
เป็นส่วนส�ำคัญ เมื่อไม่ได้ใช้วิธีของเล่มหนังสือ มา พอเล่าเรียนศกึ ษาไดพ้ อสมควรแล้ว กม็ ุง่ ออก
กต็ อ้ งสาธยายเอง ตอ้ งจบั ใหแ้ นช่ ดั แมน่ ยำ� แลว้ ก็ ไปปฏิบัติบ�ำเพ็ญสมถวิปัสสนาเฉพาะตัว เรียกว่า
ตอ้ งมาพจิ ารณา สอดสอ่ งเนอ้ื ความใหก้ ระจา่ งแจง้ วปู กฏั โฐ เหมือนกับปลกี ตวั ออกไป ตั้งใจบ�ำเพ็ญ
ในความหมายของส่ิงท่ีได้สาธยายน้ัน เป็นชีวิต เอาจรงิ เอาจงั
ของการศึกษาตั้งแตใ่ นสมัยพุทธกาล
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงสอนทรงเทศนา พระก็ บรรยากาศแห่งการศกึ ษาในวัดตงั้ แต่พทุ ธกาล
ทรงจ�ำกันไว้ แลว้ สาธยาย เรยี กวา่ สาธยายพระ ว่าโดยทัว่ ไป พระในวัด เชา้ ออกบิณฑบาต
สูตรเป็นต้น ก็คือสาธยายพุทธพจน์นั่นแหละ กลับมาแล้ว หลังภัต คือหลังเวลาฉันแล้ว ไม่มี
ท้ังพระเถระ พระอาจารย์ ท้ังพระลูกศิษย์ เพื่อ เรื่องกิจของชีวิตส่วนตัวแล้ว ก็โล่ง เหลือแต่เร่ือง
เอามาศึกษากัน กร็ ักษาพทุ ธพจน์ไปดว้ ย มมี าแต่ การศึกษาการปฏิบัติของตัว ก็มักมานั่งฟังธรรม
ในพทุ ธกาลนนั้ การสาธยายกไ็ ดเ้ ปน็ กจิ กรรมสว่ น สนทนาธรรมกนั ในโรงหรอื หอทฉี่ นั นนั่ แหละ กวา้ ง
หนง่ึ ทสี่ ำ� คญั ของการศึกษา โล่งดี เป็นท่ีเหมาะ ก็กลายเป็นธรรมสภา คือเป็น
ที่มาพดู มาฟังธรรมกนั

10 ๓๓
ในพระไตรปฎิ ก มคี ำ� บอกชอ่ื สถานทที่ พ่ี ระมกั แปลวา่ เขา้ ไปยืนใกลๆ้ ท�ำไมล่ะ ก็ไปยืนดแู ล ดี
มาน่ังถกถ้อยสนทนาฟังธรรมกัน ปรากฏมากอยู่ กว่ายืนอยู่ไกลๆ ดูแลว่ามีอะไรที่ควรท�ำให้ ท่าน
๒ ค�ำ ดังท่ีมักบอกว่า “ปจฺฉาภตฺตํ” หลังภัต ต้องการจะให้ช่วยเหลืออะไร อย่างคนเจ็บคนไข้
กลับจากบิณฑบาตแล้ว พระมานั่งประชุมกันที่ ก็ต้องไปดูแลอยู่ใกล้ๆ ท่ีว่า ไปยืนใกล้ๆ เม่ือไป
“อุปฏั ฐานศาลา” พระพุทธเจา้ เสด็จออกมาจาก ยืนดูแล้ว ก็น่ังด้วย น่ังก็อยู่ในค�ำนั้นแหละ คือ
ทป่ี ระทับ คือ “วิหาร” ทสี่ มัยอรรถกถาเรียกว่า เป็นลักษณะและอาการทั่วไปของการคอยดูแล
“คนั ธกฎุ ”ี พระองคเ์ สดจ็ ไปทพ่ี ระนงั่ ประชมุ กนั นน้ั อาการท่เี ขา้ ไปยืนดอู ยใู่ กล้ๆ นีเ้ ป็นหลักใหญ่ แลว้
ครั้นแล้ว พระองค์ก็ตรัสถาม เป็นส�ำนวน ในเวลาท่ไี ม่มีอะไรมาก กไ็ ปนั่งคอยดู ค�ำวา่ ฐานน้ี
แบบทอี่ รรถกถา เชน่ อรรถกถาธรรมบท มกั เขยี น แปลว่ายืนก็จริง แต่บางทีก็แปลว่า อยู่ ยืนอยู่
ไว้ว่า “กาย นุตฺถ ภิกฺขเว เอตรหิ กถาย ตง้ั อยู่ ดำ� รงอยู่
สนนฺ สิ นิ นฺ า” ภกิ ษทุ ง้ั หลาย เธอนงั่ ประชมุ สนทนา เป็นอันว่า อุปัฏฐาน ก็ไปอยู่ใกล้ๆ คอยอยู่
เร่ืองอะไรกัน และตรัสต่อไปว่า “กา จ ปน โว ใกล้ๆ คือดแู ล ทีน้ี ใชไ้ ปใช้มา กลายเป็นใชค้ ำ� ว่า
อนตฺ รากถา วิปปฺ กตา” และเธอทัง้ หลายสนทนา “เฝ้า” อยา่ งเวลาเฝ้าพระพุทธเจา้ ก็ใชอ้ ปุ ฏั ฐานน้ี
เรื่องอะไรค้างอยู่ พระก็กราบทูลว่า ก�ำลังพูดคุย อย่างพระอานนท์กเ็ ปน็ อปุ ฏั ฐาก
กนั เร่ืองน้ี ถา้ เปน็ เร่ืองมีสาระ หรือพระมขี อ้ สงสยั รวมความว่า การมายืน มาอยู่ใกล้ๆ คอย
กนั อยู่ พระพทุ ธเจา้ กต็ รสั แสดงอธบิ ายใหฟ้ งั พระก็ ดแู ล เฝ้าอยู่ เฝา้ ฟงั ความ เรยี กวา่ อุปฏั ฐาน ผ้ทู ่ี
ทลู ถามตอ่ ไป อะไรทำ� นองนี้ นคี่ อื ชวี ติ ของพระใน มายืน มาอยใู่ กล้ๆ คอยอย่ใู กล้ๆ คอยดูแล เฝา้ อยู่
ยคุ พทุ ธกาล เปน็ สว่ นหนง่ึ แหง่ ชวี ติ ของการศกึ ษา กเ็ รยี กว่า อุปฏั ฐาก
สถานท่ีที่พระมักมาประชุมกันน้ัน ท่ีใหญ่ ทีน้ี การที่จะเกิดมีอุปัฏฐานศาลา ก็มีเร่ือง
หน่อยก็คือ อุปัฏฐานศาลา ที่ว่าเม่ือกี้ ซ่ึงก็คือ มาว่า พระภิกษุทั้งหลายน้ัน เดิมทีท่านไม่มีท่ีฉัน
อุปัฏฐาน+ศาลา แปลว่า ศาลาเป็นท่ีอุปัฏฐาน ไปบิณฑบาตมาแล้วก็ฉันกันตามพ้ืนกลางแจ้ง ก็
หลายคนรจู้ กั คำ� วา่ “อปุ ฏั ฐาก” อปุ ฏั ฐากกค็ ำ� เดยี ว ล�ำบาก ด้วยร้อนบ้าง หนาวบ้าง พระพุทธเจ้า
กบั อปุ ฏั ฐาน ถา้ เปน็ การกระทำ� * เรยี กวา่ อปุ ฏั ฐาน จึงทรงอนุญาตให้มีอุปัฏฐานศาลา เป็นท่ีฉัน
ถ้าเปน็ คนทีท่ �ำอปุ ัฏฐาน กเ็ รียกวา่ อปุ ัฏฐาก (วนิ ย.๗/๒๓๕/๙๘)
อุปฏั ฐาก แปลวา่ อะไร อปุ ัฏฐากก็แปลวา่ ผู้ อุปัฏฐานศาลาก็เป็นที่ฉัน จึงแปลกันว่า
เฝ้า ผู้ดูแล เช่น พระเฝ้าไข้ พระดแู ล อย่างพระ หอฉัน และจึงเป็นที่มีพระมาพร้อมกันมาก พอ
อานนทเ์ ปน็ พระอุปัฏฐากของพระพทุ ธเจา้ (พทุ ธ บ่ายก็เป็นที่ว่าง กว้างขวาง พระก็ใช้เป็นที่มาน่ัง
อปุ ัฏฐาก หรือ พทุ ธปุ ัฏฐาก) ในพจนานกุ รมไทย สนทนาประชุมกัน เม่ือมาชุมนุมหรือประชุมกัน
แปลวา่ ผู้อปุ ถมั ภ์บ�ำรงุ จะแปลวา่ ผรู้ ับใช้ ก็ได้ ก็มายืน มาอยใู่ กลก้ นั
บอกแล้วว่ามาจากอุปัฏฐาน ทีน้ี อุปัฏ- ที่อุปัฏฐานศาลาน้ัน บางทีพระบางองค์ก็
ฐาน ก็มาจาก “ฐาน” ซึ่งแปลว่าการยืน แล้ว แสดงธรรมให้ที่ประชุมฟัง บางทีท่านก็ซักถาม
“อุป” แปลว่า เข้าไป หรือใกล้ๆ อุปัฏฐาน ก็ สนทนากนั มเี รอ่ื งในพระไตรปฎิ ก บางทพี ระพทุ ธ
*อปุ ฏั ฐาน เปน็ การกระท�ำ หรอื สถานทีก่ ็ได้ (อปุ + ฐา + ย)ุ เจา้ เสด็จมาท่นี ัน่ มีพระภิกษกุ �ำลังพดู ให้ทปี่ ระชุม

๓๓ 11

ฟัง ปิดประตูไว้ เม่ือพระพุทธเจ้าเสด็จไป ทรง ประเทศมหาอำ� นาจมี ๒ รฐั ใหญ่ คอื แคว้นมคธ
ได้ยินเสียงว่าพระก�ำลังแสดงธรรมให้หมู่คณะฟัง กบั แควน้ โกศล ราชาแหง่ มคธคอื พระเจา้ พมิ พสิ าร
พระองคไ์ มท่ รงต้องการรบกวนหรือขัด ก็ประทบั ราชาแหง่ โกศลคือพระเจา้ ปเสนทโิ กศล
ยืนรออยทู่ ่ีซมุ้ ประตู จนกระทงั่ พระองคน์ ้ันแสดง คราวหนึ่งพระก็มานั่งสนทนาถกเถียงกันว่า
ธรรมจบแล้ว พระองค์จึงทรงกระแอมและเคาะ
ประตู พระมาเปดิ ประตู พระองคเ์ สดจ็ เขา้ ไปแล้ว (คราวนี้พระพูดกันในอุปัฏฐานศาลา, ขุ.อุ.๒๕/๕๒/๘๖)
กต็ รสั แกพ่ ระองคน์ นั้ และประทานสาธกุ าร (อง.ฺ นวก.
๒๓/๒๐๘/๓๗๑) อย่างนเ้ี ป็นต้น พระเจ้าแผ่นดินสองพระองค์น้ี องค์ไหนมีโภคะ
ทีอ่ ุปัฏฐานศาลาน้ัน ขณะที่พระมาพูดธรรม มพี ระคลงั ใหญ่กว่า องค์ไหนแควน้ ใหญ่กว่า องค์
ฟงั ธรรมกนั พระพทุ ธเจา้ กเ็ สดจ็ ไปทรงแสดงธรรม ไหนมีก�ำลังอ�ำนาจเหนือกว่า องค์ไหนรบเก่งกว่า
อธิบายธรรมให้พระฟัง พระมีปัญหามีข้อสงสัย ถกเถยี งกนั ทำ� นองน ี้ พระพทุ ธเจา้ เสดจ็ มา พระองค์
อะไรก็ทูลถาม จนกระทั่งมีอาสนะท่ีพระปูถวาย ตรัสถามว่า เธอสนทนาอะไรกันค้างอยู่ พระก็
ไว้ประจ�ำท่ีน่ัน อุปัฏฐานศาลาก็จึงท�ำหน้าที่เป็น ทลู เลา่ ถวาย พระองคก์ ต็ รสั สอนวา่ พระมาสนทนา
ธรรมสภา และเปน็ ทีเ่ ฝ้าพระพทุ ธเจ้าดว้ ย สมชอ่ื กนั ในเร่อื งอย่างน้ี ไม่สมควร ถา้ จะสนทนาอยา่ ง
วา่ อุปฏั ฐานศาลา (ใครอยากทราบให้ชัดข้ึน ก็ไปดูค�ำ น ้ี นงั่ นง่ิ ดกี วา่ เปน็ อรยิ ดษุ ณภี าพ อรยิ ดษุ ณภี าพ
เปน็ คำ� ตรสั ของพระพทุ ธเจา้ หมายถงึ การนงิ่ อยา่ ง
อธบิ ายของอรรถกถา เชน่ อ.ุ อ.๑๐๖) อริยชน
ทีนี้บางที พระบางรูปก็สนทนาเรื่องโจรว่า
ท่ีว่ามานี้ ก็ช้ีให้เห็นชีวิตในวัดสมัยก่อน ต้ัง โจรก๊กน้ันแก๊งน้ีไปปล้นอย่างน้ันอย่างน้ี เก่งจัง
แต่พุทธกาลที่พระพุทธเจ้ายังประทับอยู่ ซ่ึงมี อีกรูปก็เถียงว่า ไม่จริงหรอก สู้โจรก๊กโน้นแก๊ง
บรรยากาศของการศึกษา นู้นไม่ได้ พวกหลังนี้เก่งกว่า ถ้าเป็นเมืองไทย
นอกจากอปุ ฏั ฐานศาลา อกี คำ� หนงึ่ ซง่ึ เปน็ ชอื่ สมยั กอ่ นไมน่ านน้ี กม็ าเถียงกนั ว่า เสอื ด�ำกบั เสอื
เรียกสถานท่ีท่ีพระมักมาพบปะหรือประชุมพูด ใบ ใครเก่งกวา่ กนั อะไรทำ� นองนี้ พระพทุ ธเจา้
ธรรมฟงั ธรรมกนั คอื คำ� วา่ “มณฑลมาฬ” (มณฑล เสด็จมา พระก็เงียบ พระองค์ก็ตรัสถามว่า เธอ
มาล กเ็ ขยี น) แปลกนั วา่ โรงกลม (อรรถกถาบางที ทงั้ หลายสนทนาอะไรกนั คา้ งอยู่ เมอื่ พระกราบทลู
อธบิ ายว่าเปน็ ทสุ สมณฑป คือโรงผา้ ขงึ ) แล้ว พระองค์ก็ตรัสสอนให้รู้กันว่า การพูดคุย
ที่น่ีก็ท�ำนองเดียวกับที่อุปัฏฐานศาลาหลัง กันอย่างนั้นเป็น ติรัจฉานกถา มีความหมายว่า
ภัต คือตอนบ่ายพระมาน่ังสนทนาธรรมกัน เป็นถ้อยค�ำเร่ืองราวสนทนาที่ขวางทางนิพพาน
บางครั้งพระพุทธเจ้าก็เสด็จเข้าไป พระก็หยุด พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าไม่ควรสนทนาเรื่อง
พระองคก์ ต็ รสั ถาม พระกก็ ราบทลู วา่ กำ� ลงั สนทนา อย่างน้ี
กนั เรอื่ งนัน้ เรอื่ งน้ี พระองค์กท็ รงตอบคำ� ถามบา้ ง
ทรงอธิบายบ้าง ทรงเล่าขยายความบ้าง ให้พระ
ได้ความรู้ความเขา้ ใจเพ่มิ ขึ้น
บางทีพระก็สนทนาไม่เข้าเร่ือง หรือพูด
เรื่องไม่เป็นเร่ือง เช่นวา่ เวลาน้นั พระเจ้าแผ่นดิน

12 ๓๓

แต่ถา้ พระสนทนากนั เร่ืองบา้ นเมืองว่า เวลา ค�ำว่า “สวดมนต์” นี้ เราไปเอาค�ำของ
นีม้ ีโจรปล้นทนี่ ัน่ ปลน้ ทน่ี ่ี บอ่ ยมาก ไมด่ เี ลยนะ พราหมณม์ าใช้ เพราะวา่ กนั ตามทแ่ี ท้ ในพระพทุ ธ
ท�ำให้ประชาชนเดือดร้อน ท�ำอย่างไรจะช่วยให้ ศาสนาไม่ใช้ค�ำว่ามนต์ มนตเ์ ป็นคำ� ของพราหมณ์
บา้ นเมอื งสงบสขุ ใหช้ าวบา้ นทำ� มาหากนิ กนั อยา่ ง ถ้าเป็นการสวดมนต์ ก็คือ “มนฺตสชฺฌาย”
ปลอดภัย จะได้โล่งใจ และได้นอนตาหลับ เรา (สันสกฤตเปน็ “มนตฺ ฺรสฺวาธฺยาย”) สวดมนต์ คอื
ควรแสดงธรรมอะไรดี ช่วยกันหน่อย พระต้อง สาธยายมนต์ หรอื สังวัธยายมนตร์
ระดมกำ� ลงั กนั จารกิ ไปเทศน์ ไปสัง่ สอน อย่างน้ี ว่าตามมติในพระพุทธศาสนา อรรถกถา
ถอื วา่ เปน็ การสนทนาธรรม ไม่เป็นไร จะพูดเรื่อง อธิบายวา่ การสวดมนต์ หรอื สาธยายมนต์ หมาย
โจร เรอ่ื งพระราชา หรือเร่อื งอะไร กไ็ มว่ า่ อยา่ ง ถงึ การสวดหรอื สาธยายมนตอ์ าถรรพ์ (อาถพพฺ ณ-
ท่ีพระพุทธเจ้าตรัสเรื่องชาดก ตรัสแสดงธรรม มนตฺ คือมนตร์ในอาถรรพเวท) พดู อย่างเขา้ ใจกัน
มากมาย โดยทรงปรารภเร่ืองราวและเหตุการณ์ ง่ายๆ ก็คือมนต์ในทางไสยศาสตร์ เช่น มนต์ท�ำ
รา้ ยบา้ ง ดบี า้ ง อะไรเหลา่ นี้ อยา่ งนไ้ี มเ่ ปน็ ตริ จั ฉาน เสนห่ ์ มนต์เสกหนงั เสกตะปเู ข้าท้องเขา มนต์ไล่ผี
กถา โยมต้องแยกให้ได้ พระตอ้ งปฏบิ ตั ิให้ถูกต้อง มนตเ์ รียกเอาผีลงใส่หม้อ ฯลฯ
ทา่ นผรู้ ใู้ นพระพทุ ธศาสนาบางครงั้ ทา่ นกเ็ อา
นีก่ เ็ ล่าใหฟ้ งั โยมจะได้เข้าใจ พอได้มองเหน็ ค�ำว่า มนต์ หรือมนตร์ ของพราหมณ์มาใช้บ้าง
ชีวิตในวัดสมัยพุทธกาลว่าท่านอยู่กันอย่างไร น่ี เพื่อส่ือสารกับพวกพราหมณ์ หรือกับคนนอก
สว่ นหนง่ึ ศาสนาทยี่ งั ไมร่ จู้ กั พระพทุ ธศาสนา คอื เอาคำ� ของ
สวดมนต์ จากสาธยายมนตใ์ ห้ถงึ สาธยายธรรม เขามาใชเ้ พอ่ื สอื่ สารเชงิ เทยี บเคยี งใหเ้ ขาพอจะคดิ
กลบั มาทกี่ ารสาธยาย คอื “สชั ฌายะ” อยา่ ง เขา้ ใจหลกั ธรรมคำ� สอนของเรา เชน่ ในการโตต้ อบ
ทวี่ า่ แล้ว การสวด คือ สาธยาย เป็นคำ� สำ� คัญใน กนั เขาพดู ขนึ้ มาถงึ มนตข์ องเขา ทางฝา่ ยเรารหู้ มด
พระธรรมวินัย เป็นเร่ืองของการรักษาค�ำสอน ทนี จ้ี ะถามเขาบา้ งวา่ เขา้ ใจหลกั ธรรมของเราไหมที่
ของพระพุทธเจ้า และเป็นกิจกรรมในชีวิตการ วา่ อย่างนี้ๆ ก็บอกเขาว่านเ่ี ป็นพทุ ธมนต์ เมือ่ เขา
ศึกษา อย่างท่ีว่ามาแล้ว การสวดหรือสาธยาย บอกว่าเขายังไม่รู้ และเขาอยากเรียนพุทธมนต์
นนั้ จงึ เปน็ การสวดธรรม สาธยายธรรม หรอื ธรรม นน้ั กต็ กลงสอนให้ และเม่ือเขาร้เู ขา้ ใจหลักธรรม
สาธยายบ้าง สาธยายพระสตู ร หรอื สวดพระสูตร น้ันดีแล้ว ก็เลิกใช้ค�ำว่ามนต์ท่ีเป็นค�ำของเขาน้ัน
บ้าง เปน็ ตน้ เพราะเราใช้เพยี งเปน็ ค�ำส่ือเบอ้ื งต้น
แตเ่ วลานี้ เราใชค้ ำ� วา่ “สวดมนต”์ กนั จนตดิ กรณีอย่างท่ีว่าน้ี มาในประวัติของบุคคล
กลายเป็นค�ำพูดสามัญของชาวพุทธเมืองไทยไป ส�ำคัญหลายท่าน ตัวอย่างเช่น เม่ือพระสารีบุตร
แลว้ กเ็ อาละ ใหเ้ ปน็ เรอ่ื งทแ่ี ลว้ กแ็ ลว้ กนั ไป แตเ่ มอ่ื รับการท้าโต้ธรรมกับนางชมั พุปริพาชกิ า นางปร-ิ
เป็นชาวพุทธ ถึงจะรับเอาค�ำข้างนอกมาใช้ กค็ วร พาชกิ าถามปญั หาอะไรมา พระสารีบตุ รกต็ อบได้
ใชอ้ ย่างร้เู ทา่ ทัน อย่างนอ้ ยวา่ อันนี้ เราวา่ ไปตาม หมด ในทีส่ ดุ ถึงวาระพระสารีบุตรถามบ้าง เป็น
นยิ มกนั นะ แตเ่ ราจะใช ้ จะทำ� ใหถ้ กู ตอ้ งตามความ ค�ำถามข้อธรรมสั้นๆ ปริพาชิกาตอบไม่ได้ นาง
หมายของเรา คือให้เป็นไปตามหลักของพุทธ จึงถามว่าท่ีท่านถามน้ันคืออะไร พระสารีบุตรก็

๓๓ 13

ตอบวา่ เปน็ พทุ ธมนต์ ปรพิ าชกิ าจะขอเรยี น กเ็ ลย ท�ำให้ฟื้นจากป่วยไข้หายโรคบ้าง ฯลฯ จัดเป็น
บวชเป็นภิกษุณีเข้ามาเรียนธรรม ก็เลิกใช้ค�ำว่า พระปริตร (“ปริตฺต”) ต่างๆ ซึ่งมีความหมาย
พุทธมนต์ จบแล้วได้เป็นพระภิกษุณีส�ำคัญ เป็น เป็นค�ำแปลว่า คุ้มครองป้องกัน ก็น�ำมาสวดกัน
มหาสาวกิ า คือ พระกุณฑลเกสเี ถรี เรียกว่าเป็นมนต์ของพระพุทธเจ้า เป็นพระพุทธ
มนต์ ชาวพุทธก็มีมนต์ของตัว ไม่ใช่มนต์ของ
พราหมณ์
ควรท�ำความเข้าใจก�ำกับไว้ว่า มนต์ของ
พระพุทธศาสนา อย่างพระปริตรท้ังหลายน้ัน มี
อานุภาพในทางปกป้องคุ้มครอง ให้เกิดความ
มนั่ คง มั่นใจ ปลอดภยั มีความเกษมสวสั ดี น�ำมา
ซึ่งความสุขความเจริญ โดยอยู่ในขอบเขตของ
คุณธรรม ไม่มีการท�ำร้ายเบียดเบียนสนองโลภะ
โทสะอย่างมนต์อาถรรพณ์ของพราหมณ์หรือ
ไสยศาสตร์ และไม่เลยเถิดไปในทางท่ีจะท�ำให้
ปลอ่ ยตวั ตกอยใู่ นความประมาท ตอ้ งไมเ่ ปน็ อยา่ ง
ลัทธอิ อ้ นวอนนอนรอผลดลบันดาล ท่ีทำ� ใหง้ อมอื
งอเท้า ไม่ต้องท�ำอะไร แต่ให้มีก�ำลังใจ ม่ันใจท่ี
จะทำ� การทัง้ หลายอย่างเข้มแข็งจริงจงั
บทธรรมท่ีน�ำมาใช้สวดมนต์น้ัน หลายบท
สาระของเรือ่ งทเี่ ลา่ เปน็ ตัวอยา่ งมานี้ ก็อยทู่ ่ี เป็นค�ำสอนในข้ันปัญญาอย่างสูง เราน�ำมาใช้กัน
ว่าเรายอมใช้ค�ำของพราหมณ์ และลัทธิภายนอก มกั เพอื่ ผลแคใ่ นระดบั จติ ใจ ชาวพทุ ธจะตอ้ งเขา้ ใจ
เพื่อการสื่อสารเช่ือมต่อให้เขามาเข้าใจหลักธรรม เร่ืองนี้ แล้วเราจะเจริญก้าวหน้าในธรรม จาก
ในพระพทุ ธศาสนา กา้ วจากเร่ืองไสยศาสตร์ และ ข้ันต้นท่ีสวด-สาธยายได้ผลได้อานิสงส์ทางจิตใจ
เรอื่ งความเชอ่ื ถือตา่ งๆ มาสู่เร่ืองของปญั ญา แมแ้ ต่ปตี อิ ่ิมใจ ได้ความแชม่ ช่ืนสงบ เตรยี มจิตให้
ในยคุ ตอ่ ๆ มา เรากใ็ ชค้ ำ� วา่ มนต ์ โดยเปลย่ี น พร้อมทจี่ ะเจริญสมาธิ ไดบ้ รรยากาศทรี่ ่ืนรมย์ ได้
จากมนต์ มนตร์ มันตระ ของพราหมณ์ ท่ีเป็น พฤตกิ รรมของหมชู่ นทเ่ี รยี บรอ้ ยงดงามนา่ เลอื่ มใส
อาถรรพณมนต์ มาเป็นพระพุทธมนต์ วิธีของ ชวนศรทั ธาแลว้ เมอ่ื ใหก้ ารสวด-สาธยายนำ� ใจเขา้
เราคือ ไปเลือกคัดเอาบทธรรมค�ำสอนของ สู่การศกึ ษา กจ็ ะกา้ วไปในปญั ญาด้วย
พระพุทธเจ้า ที่เป็นพระพุทธคุณ หรือที่แสดง เป็นอันว่า เรอื่ งสวดมนต์ สาธยายมนต์ท่ีเปน็
คุณของพระรัตนตรัยบ้าง ท่ีเป็นค�ำแสดงความ คำ� ของพราหมณ์ คราวนเี้ รานำ� มาใชใ้ นความหมาย
ปรารถนาดแี บบอวยชัยใหพ้ รบ้าง ทแ่ี สดงอำ� นาจ ของเราแบบพุทธ ถึงแม้ถ้อยค�ำจะปะปนกันบ้าง
ของคุณธรรมในการคุ้มครองปกป้องและแก้ เรากใ็ ชก้ นั มาจนตดิ ชนิ เขา้ เปน็ ประเพณแี นน่ หนา
ปัญหาบ้าง ที่มีต�ำนานในด้านการบ�ำรุงจิตใจ ไปแล้ว

14 ๓๓

ถงึ เราจะใชต้ ามกนั มา แตก่ ข็ อใหใ้ ชด้ ว้ ยความ
รู้เข้าใจเท่าทันว่า ในท่ีสุดเรามุ่งเพื่อสาธยายพุทธ
พจน์ สาธยายพระสูตร สาธยายพระธรรม เป็น
ธรรมสาธยาย โดยมุ่งที่พุทธพจน์เป็นส�ำคัญ ก็
ให้การสาธยายนั้น พาเราก้าวหน้าไปในธรรม
ด้วย โดยรู้เข้าใจเน้ือความ แล้วก็น�ำข้ึนไปสู่การ สวดตอ่ แล้วพรุง่ นกี้ ็ไมจ่ บ วนั มะรนื สวดต่อ ราวๆ
ศกึ ษา การปฏิบตั ิ เจรญิ งอกงามขยายตอ่ ไป ไม่ใช่ สกั ๓ วนั จงึ จบมหาสตปิ ฏั ฐานสตู ร อยา่ งนเี้ ปน็ ตน้
แค่สาธยายว่ากันไปตามแบบ ไม่ใช่แค่พอรักษา
ประเพณีและรักษาหมู่คณะเท่าน้ัน และก็ไม่ใช่ ยอดพหสู ตู อบุ าสกิ า รกั ษาพระไตรปฎิ กใหเ้ ราดว้ ย
ใหไ้ ดผ้ ลแคใ่ นขนั้ จติ ใจ แตใ่ หก้ า้ วไปในปญั ญาดว้ ย ถ้าไม่อยากให้เป็นพระสูตรท่ียาวมาก ก็มี
อย่างทีไ่ ดพ้ ูดมา แหลง่ หนง่ึ ทจ่ี ะบอกให ้ ทมี่ พี ระสตู รขนาดสนั้ หนอ่ ย
วันนี้เรามาประชุมกัน สวดสาธยายมนต์กัน มากมาย นี้ก็คือ พระสูตรในคัมภีร์อิติวุตตกะ
หลายบท เมื่อสวดจบแล้ว เราอาจจะเลือกเอา ซึง่ มีทัง้ หมด ๑๑๒ สตู ร กนิ เนอื้ ทใ่ี นพระไตรปฎิ ก
บทใดบทหน่ึงที่สวดสาธยายกันแล้วน้ัน ยกข้ึน เลม่ ๒๕ เพียง ๙๘ หนา้ แสดงวา่ พระสูตรหน่งึ ๆ
มาเป็นเร่ืองท่ีจะสนทนาสากัจฉากันสักบทหน่ึง ไม่ยาวเลย เฉลี่ย พระสูตรละไม่ถึง ๑ หน้า มี
วันหนึ่งหรือคร้ังหนึ่งก็บทหนึ่ง ยกเอามาพูดคุย พระสูตรที่แสดงหลกั ธรรมส�ำคญั ๆ นา่ ศึกษามาก
สนทนา ท�ำความเขา้ ใจเน้ือหาสาระกัน และชวน พระสูตรในอติ วิ ตุ ตกะเหล่านท้ี ัง้ หมด ไดจ้ าก
กนั นำ� ธรรมในนนั้ ไปปฏบิ ตั ิ อยา่ งนก้ี จ็ ะเปน็ การใช้ อุบาสิกาซ่ึงเป็นอริยสาวิกาท่านหนึ่ง ช่ือขุชชุต-
การสาธยายใหเ้ ปน็ ประโยชน์ จะใกลเ้ คยี งกบั ชวี ติ ตรา ที่พระพทุ ธเจา้ ทรงยกย่องเป็นเอตทัคคะใน
ในสมัยพุทธกาล บรรดาอุบาสกิ าพหสู ูต อบุ าสิกาทา่ นนเ้ี ป็นผ้ทู รง
อีกอย่างหน่ึง เมื่อเราสวดบทสวดมนต์ทั้ง จ�ำพุทธพจน์ในคัมภีร์ท่ีเรียกว่าอิติวุตตกะน้ีไว้
หลาย ที่สาธยายกนั เปน็ ประจำ� จนแมน่ ดีแล้ว เรา ซ่ึงได้น�ำมาสู่การสังคายนาครั้งท่ี ๑ แล้วก็เก็บ
ก็อาจจะแถมหรือเพ่ิม โดยไปเลือกคัดจากพระ รกั ษาไว้ในพระไตรปฎิ ก
ไตรปฎิ ก เอาพระสตู รที่เหมาะๆ มาสาธยายเพิม่ เร่ืองนี้แปลก และน่าสนใจมาก เรารู้กัน
ขน้ึ นี่ก็จะเป็นการดี อันนี้ทา่ นไม่ไดห้ า้ ม ว่า พระสูตรท้ังหลายท้ังปวงนั้น พระอานนท์
สมัยก่อน เม่ือผมเป็นเณรเล็กๆ หรือแม้แต่ พุทธอุปัฏฐาก เป็นผู้ทรงจ�ำไว้ และเป็นผู้วิสัชนา
เป็นพระรุ่นเล็กๆ ยังเด็กๆ อยู่ท่ีวัดพระพิเรนทร์ ในสังคายนาครั้งที่ ๑ เวลาแสดง พระอานนท์
ท่านสวดกันมากมาย หลังจากสวดท�ำวัตรค�่ำจบ ข้ึนค�ำน�ำ บอกที่มาที่ไปของแต่ละพระสูตรว่า
แล้ว กส็ วดมนตต์ ่อ นอกจากบทสวดมนต์ทใ่ี ช้กนั “เอวมฺเม สุตํ เอกํ สมยํ ภควา...” ถ้าเริ่มอย่างน้ี
ทวั่ ไปแล้ว พระสตู รใหญๆ่ ไมใ่ ชแ่ ค่ธัมมจกั กัปป- ก็เป็นส�ำนวนของพระอานนท์ ท่ีน�ำมาสาธยาย
วัตตนสตู ร อาทติ ตปรยิ ายสูตร อนัตตลักขณสูตร แก่ทปี่ ระชุมสังคายนาคร้ังแรกนั้น

เท่านนั้ ท่านสวดไปถงึ มหาสติปฏั ฐานสตู ร ซง่ึ ยาว แต่ดังท่ีว่าแล้ว พระสูตร ๑๑๒ สูตร ใน
มาก วนั เดียวสวดไมจ่ บ วนั น้ีสวดจบแคน่ ้ี พร่งุ นี้ อติ ิวุตตกะ ท่อี ุบาสกิ าชื่อขชุ ชุตตราทา่ นนี้ ทรงจำ�

๓๓ 15

รักษาไว้และน�ำมาถ่ายทอดให้น้ัน ไม่ได้เร่ิมต้น ธรรมบนที่สูงกว่า ขุชชุตตราอุบาสิกาก็ได้แสดง
ว่า “เอวมฺเม สุตํ...” แต่ขึ้นต้นว่า “วุตฺตํ เหตํ ธรรมใหแ้ ก่ชาววัง มีพระนางสามาวดเี ป็นประมขุ
ภควตา วตุ ตฺ มรหตาติ เม สตุ ”ํ กล็ งทา้ ยวา่ “สตุ ”ํ จนตลอดพรรษา
เหมอื นกนั แตข่ น้ึ ตน้ คนละสำ� นวนเลย นแ่ี หละคอื อรยิ สาวิกาขุชชุตตราทา่ นนี้ ไดท้ รงจำ� รกั ษา
ส�ำนวนของอุบาสิกาชื่อ ขุชชุตตรา น้ี ผู้ทรงจ�ำ พระไตรปิฎกส่วนนี้มา แล้วท่านส่งต่อแก่เหล่า
พระสตู รชดุ นข้ี องพระไตรปฎิ กไว้ เราจะตอ้ งระลกึ ภิกษุณี แล้วภิกษุณีสงฆ์ก็รักษาพุทธพจน์ส่วนนี้
บญุ คณุ ของอบุ าสกิ าทา่ นน้ี วา่ เปน็ บคุ คลส�ำคญั ไว ้ แลว้ ภกิ ษณุ สี งฆก์ ถ็ า่ ยทอดใหแ้ กภ่ กิ ษสุ งฆ ์ ดงั ที่
ทไี่ ดช้ ว่ ยรกั ษาพทุ ธพจนไ์ วไ้ ดจ้ �ำนวนมากทเี ดยี ว นำ� มาแสดงในสงั คายนาครง้ั ท ี่ ๑ ตามคำ� ของอรยิ -
พระสตู รในอติ วิ ตุ ตกะน้ี เปน็ พระสตู รทส่ี ำ� คญั สาวกิ าขชุ ชตุ ตรา ดงั บอกแล้ว ทีข่ ้ึนตน้ ว่า “วตุ ฺตํ
ไมน่ ้อยเลย อย่างเร่อื งนพิ พาน ๒ บญุ กริ ยิ าวตั ถุ ๓ เหตํ ภควตา วตุ ตฺ มรหตาติ เม สตุ ”ํ ซงึ่ เรยี กรวมวา่
ก็มาในอิติวุตตกะนี้ อติ วิ ตุ ตกะ อยใู่ นพระไตรปฎิ ก เลม่ ท ี่ ๒๕ ใครสนใจ
เรื่องการรักษาพระไตรปิฎกของขุชชุตตรา ก็ไปอ่านดู ก็จะได้รู้จัก (และท่ีจริงก็ได้เขียนเล่าไว้ใน
อุบาสิกา อริยสาวิกายอดพหูสูตน้ี มีเรื่องเป็นมา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ แลว้ ละเอยี ด
ว่า เมื่อพรรษาท่ี ๙ แห่งพุทธกิจ พระพุทธเจ้า กวา่ ทีเ่ ล่าที่น่ี ให้ดทู ี่ค�ำว่า “ขชุ ชุตตรา”)
ประทับจ�ำพรรษาที่โฆสิตาราม พระนครโกสัมพี
นครหลวงของแคว้นวังสะ เวลาน้ัน ขุชชุตตรา น่ีแหละ อย่านึกว่าพระเท่านนั้ ทำ� งานส�ำคัญ
น้ีเป็นอุปัฏฐายิกา พูดง่ายๆ ว่า เป็นคนรับใช้ ขอให้โยมรู้จักไว้ บุคคลส�ำคัญที่รักษาพระพุทธ
ของพระนางสามาวดี ซึ่งเป็นมเหสีของพระเจ้า ศาสนามา ตั้งแต่คร้ังพุทธกาล ก็มีกระท่ังโยม
อุเทน ในช่วงเวลานั้น ขุชชุตตราได้ไปฟังธรรมที่ อุบาสกอุบาสิกา ที่มีความรู้พระธรรมวินัยดี มี
วัดโฆสิตารามเปน็ ประจำ� ความแตกฉาน
เร่ืองราวด�ำเนินไปว่า พระนางสามาวดีซึ่ง ตัวอยา่ งฝ่ายอุบาสกบา้ ง ท่านหนึง่ ชือ่ จติ ต-
เป็นพระมเหสี ยอมรบั ความดงี าม ความสามารถ คหบดี เป็นพระอนาคามี พระพุทธเจ้าทรง
ของขชุ ชตุ ตรา ถงึ กบั รบั ฟงั ธรรมทข่ี ุชชุตตราสดับ ยกย่องให้เป็นเอตทัคคะในบรรดาธรรมกถึก
มาแลว้ ถ่ายทอดให้ โดยยกยอ่ งนับถอื ใหน้ ง่ั แสดง ฝ่ายอุบาสก บางทีพระสงสัยธรรม มาถามท่าน
ทา่ นกอ็ ธบิ ายให้พระฟังได้
ถ้าคฤหัสถ์เก่ง ท้ังหญิงทั้งชาย มีความรู้ดี
ก็ช่วยกันรักษาพระธรรมวินัยไว้ได้ ไม่ให้คนไป
นบั ถอื เหลวไหล ออกนอกลนู่ อกทาง พทุ ธบรษิ ทั
ก็จะเขม้ แขง็ มั่นคง
กเ็ ลยนำ� มาเลา่ ใหฟ้ งั จะเหน็ วา่ เปน็ บรรยากาศ
ของการศึกษาท้ังน้ัน วันน้ีก็ขอจบการเล่าเรื่อง
แค่น้ี

ทมี่ า : ปรารภธรรม หลังฟงั สวดปาติโมกข์ ณ อุโบสถวัดญาณ-
เวศกวนั อ.สามพราน จ.นครปฐม วนั ท่ี ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๐

พระธรรมเทศนา

พระอาจารย์ชยสาโร

ความรกั ที่แทจ้ ริง
วันนี้อาตมามีความยินดีที่ได้มีโอกาสมา อย่างนี้ข้ึนมาแล้วก็ค่อนข้างฟุ้งซ่าน บางทีนอน
เย่ียมญาติโยม จะใช้เวลาให้เป็นประโยชน์มาก ไมห่ ลบั รสู้ กึ วา่ เปน็ ปญั หาสำ� คญั มากทจ่ี ำ� เปน็ ตอ้ ง
ที่สุด ใช้เวลาให้คุ้มค่าที่สุด อาตมาเป็นชาว หาค�ำตอบให้ได้ แต่ส่ิงท่ีแปลกก็คือ เพื่อนๆ ไม่
อังกฤษ เกิดในประเทศที่ไม่มีพุทธศาสนา บ้าน เหน็ ว่าเป็นเรอ่ื งส�ำคัญเลย พดู กับเพื่อนๆ เหมือน
ของโยมพ่อโยมแม่อยู่ในชนบท บ้านที่เราอยู่น้ัน พดู กันคนละภาษา อยกู่ ันคนละโลก ไดค้ ยุ กับครู
เท่ากับอ�ำเภอที่ต่างจังหวัดในเมืองไทย พลเมือง ท่ีโรงเรียนก็เหมือนกัน มีความรู้สึกเปล่าเปล่ียว
หมื่นกวา่ ๆ ตอนอาตมาเป็นเดก็ สุขภาพไมด่ ี เป็น ว้าเหว่ เหมือนกับว่าเราเป็นคนเดียวในโลกท่ีมี
โรคหดื ทกุ ปจี ะมหี ลายวนั ทไ่ี มไ่ ดไ้ ปโรงเรยี น ทำ� ให้ ความคิดอยา่ งน้ี
เกดิ นสิ ยั ชอบอยคู่ นเดยี ว ชอบอา่ นหนงั สอื ชอบคดิ แต่โชคดีมากท่ีบ้านของอาตมาอยู่ห่างจาก
คน้ คว้า และพจิ ารณาเร่อื งชีวติ ของตวั เอง เคมบริดจ์ไม่กี่กิโลเมตร วันเสาร์อาตมามักจะข้ึน
พออายุ ๑๕ - ๑๖ ปี รา่ งกายสงั ขารก็มีการ รถเมล์ไปเท่ียวเมืองเคมบริดจ์ แต่ไม่ได้ไปเท่ียว
เปล่ียนแปลง จากเด็กสู่ผู้ใหญ่ และความคิดก็มี ดอู ะไรหรอก ไปอยูท่ ่ีร้านหนงั สือ เมอื งเคมบริดจ์
การวิวัฒนาการเช่นเดียวกัน เกิดความสงสัยว่า มีร้านหนังสือเยอะมาก และท่ีน่ันส่วนมากผู้ที่
เราเกิดมาท�ำไม ส่ิงท่ีสูงสุดท่ีมนุษย์ควรจะได้ ท�ำงานในร้านหนังสือเป็นนิสิตเก่า เขาเห็นใจ
คอื อะไร ในโลกน้ี ชีวิตทีป่ ระเสริฐมจี ริงไหม และ นักศึกษายากจน เราจะไปอ่านหนังสือท้ังวันก็ได้
ชีวิตที่ประเสริฐคืออะไร เม่ือเกิดความสงสัย ไม่มใี ครรบกวน

๓๓ 17
บางทีอาตมาจะไปถึงแต่เช้า หยิบหนังสือ ค�ำสอนของพระพุทธศาสนาจนประมาท ฟังมา
มาอ่านถึงเทยี่ ง หิวข้าวก็เก็บหนงั สือไวท้ ่เี ดมิ ออก มากแล้ว ฟังแล้วรู้สึกเฉยๆ หรือบางทีสัปหงก
ไปกินข้าวเสร็จแล้วกลับมาอ่านต่อ อ่านหนังสือ แต่ว่าชาวตะวันตกมีความรู้สึกอีกอย่าง เพราะ
เพลินๆ ไม่ต้องเสียสตางค์เลย ก็ท�ำอย่างน้ีหลาย หลักการของศาสนาคริสต์ซ่ึงเป็นศาสนาประจ�ำ
คร้ัง ชอบอา่ น ชอบศึกษาเร่อื งจิตใจ เรอื่ งปรัชญา ชาติของเราหรือประจ�ำทวีปก็ว่าได้ สอนว่า
เรอ่ื งจติ ศาสตร ์ มนษุ ยศาสตร ์ สนใจในเรอ่ื งเหลา่ นี้ “จิตเดิมแท้ของมนุษย์เป็นของสกปรก หมายถึง
จนกระทั่งวันหน่ึง ได้พบหนังสือค�ำสอน มี Original Sin หรือบาปเดิม” ซ่ึงท�ำให้คนมี
ของพระพุทธเจ้า อ่านหนังสือหน้าแรกก็สะดุ้ง ความรสู้ กึ วา่ แทจ้ รงิ แลว้ จติ ใจของเราน ้ี เศรา้ หมอง
เกิดความศรัทธาเลื่อมใสว่านี่คือความจริง ไม่มี โดยธรรมชาต ิ แมว้ า่ เราอาจจะทำ� ความดบี างอยา่ ง
ความรู้สึกว่าเป็นปรัชญาของเอเชียหรือเป็นของ ความจริงแล้ว มันเป็นแค่การบังกิเลสมากกว่า
แปลกอะไร แต่อาตมามีความรู้สึกเหมือนกับว่า คือความดีและความบริสุทธ์ิท่ีเกิดขึ้น ไม่ใช่ของ
พระพุทธเจ้าสามารถเอาความคิดท่ีลึกซึ้งของ แท้จริง ส่ิงท่ีแท้จริงของเราคือกิเลส ท�ำให้ชาว
เราออกมาพูดเป็นภาษาคน เพราะฉะนั้น การ ตะวันตกมักรู้สกึ ว่าตวั เองไมด่ อี ยเู่ สมอ
ได้พบพระพุทธศาสนา เท่ากับได้พบตัวเอง แต่ค�ำสอนของพระพุทธเจ้ากลับตรงกันข้าม
ท�ำให้เข้าใจการสอนของครูบาอาจารย์ที่ว่า เลย พระพทุ ธองคต์ รสั วา่ จติ เดมิ แทข้ องมนษุ ยเ์ ปน็
พทุ ธศาสนาไมใ่ ชเ่ รอื่ งต�ำรา ไมใ่ ชเ่ รอื่ งของวดั วา ของสะอาด ถา้ พูดในแง่ของการปฏิบัติ ทฤษฎีน้มี ี
ไม่ใช่เร่ืองของนักบวช เป็นเร่ืองของเราทุกคน ความสำ� คญั มาก เพราะถา้ ถอื วา่ จติ เดมิ แทข้ องเรา
และเปน็ เร่อื งของหวั ใจมนุษย์
ส่ิงที่ประทับใจมากในหนังสือเล่มนั้นคือ ค�ำ
สอนท่เี กย่ี วกบั จติ หมายถึงจติ ทบ่ี ริสทุ ธ์ิ สะอาด
โดยธรรมชาติ พระพุทธศาสนาสอนว่า “จิตใจ
ของเราโดยธรรมชาติ จิตเดิมแท้ เป็นจิตท่ีใส
สะอาด จิตน้ีหลงอารมณ์ เกดิ ความเขา้ ใจผิด เกิด
ความคดิ ผดิ เกีย่ วกับตัวเอง ชวี ติ ของตนเอง และ
ความคิดผิดนี้ กลายเป็นความยึดมั่นถือม่ันใน
ความรสู้ กึ ตา่ งๆ ว่าฉนั วา่ ของฉนั มกี ารแบ่งแยก
ระหว่างสิ่งที่เป็นฉัน ของฉัน และส่ิงท่ีไม่ใช่ฉัน
ของฉัน เกิดความขัดแย้ง เกิดความบาดหมาง
ระหว่างความนึกคิดของตัวเอง และความจริง
ของธรรมชาติ อันน้ีเรียกว่าทุกข์ จิตเป็นทุกข์”
ทีน้ีจะว่าอาตมาพิสูจน์ความจริงของธรรมะ
อันนั้นก็ไม่ถูก ยังไม่ได้พิสูจน์ แต่มีความเช่ือม่ัน
ว่าน่ีคือความจริง คนไทยไม่ใช่น้อยท่ีคุ้นเคยกับ

18 ๓๓

เป็นของสกปรก เราจะไม่มีก�ำลังใจท่ีจะขัดเกลา
ตวั เอง เพราะวา่ ยงิ่ ขดั เกลายงิ่ เจอแตค่ วามสกปรก
การขัดเกลาส่ิงสกปรกโดยธรรมชาติให้เป็นของ
สะอาด เป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าเน้ือแท้ของจิตใจเรา
สะอาดโดยธรรมชาติ และเศร้าหมองเพราะหลง
อารมณ์ว่าเป็นอัตตาตัวตน การขัดเกลาย่อมมี
ความหมายและความส�ำคัญด้วย มีความจ�ำเป็น
ด้วย ผู้ท่ีซาบซึ้งในข้อน้ีมาก จะมีความรู้สึกว่า
การขัดเกลากิเลส การแสวงหาความบริสุทธ์ิเดิม
แท้ของจิตน้ัน เป็นส่ิงสงู สุดในชีวติ มนุษย์
เพราะฉะน้ัน ต้ังแต่นั้นเป็นต้นมา อาตมามี
ความมั่นใจว่า จะด�ำเนินชีวิตในรูปแบบอย่างไร ประเพณขี องเขาถกู ของประเทศอนื่ ๆ ผดิ หรอื วา่
ก็ตาม จะประกอบอาชีพอย่างไรก็ตาม การ ของเขาดที ่สี ดุ เราเลยได้ความคดิ วา่ คนทุกคนมัก
ประกอบอาชีพ การด�ำเนินชีวิตนั้น ต้องเป็นไป จะมกี ารเข้าขา้ งตวั เองวา่ ของเราดกี ว่าของคนอ่นื
เพอ่ื ความบรสิ ุทธิท์ างใจ ถงึ ประเทศอนิ เดยี แลว้ กเ็ ทยี่ วบา้ ง ไปอยตู่ าม
อาตมามีนิสัยแปลกอย่างหน่ึงตั้งแต่เป็นเด็ก วดั ตามวาบ้าง อยทู่ ว่ี ัดฮนิ ดูบ้าง อยู่ท่ีวดั พุทธบา้ ง
สนใจในประเทศอินเดียมาก หนังที่เป็นเร่ืองของ ทุกวันน้ีชาวพุทธในประเทศอินเดียมีน้อย แต่ที่
อนิ เดยี กช็ อบด ู อาหารของอนิ เดยี กช็ อบทาน ดนตรี พทุ ธคยา ทต่ี รสั รขู้ องพระพทุ ธองค ์ มวี ดั หลายวดั
อินเดียก็ชอบฟัง ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับอินเดีย ทุกประเทศท่ีมีชาวพุทธจะมีวัดประจ�ำชาติท่ีนั่น
ถูกใจเราเหลือเกิน เพราะฉะน้ันเม่ืออาตมาจบ ตอนน้ันอาตมาสนใจเรื่องศาสนาพุทธ นิกายเซน
High School สอบเข้ามหาวทิ ยาลัยไดเ้ รยี บรอ้ ย มาก ชอบไปทำ� วัตร น่งั สมาธทิ ว่ี ัดเซนเปน็ ประจ�ำ
แล้ว จึงไปขออนุญาตจากคุณพ่อ ขอไปหา ต่อมาได้ข้ึนภูเขาหิมาลัย ไปอยู่กับพระทิเบตท่ี
ประสบการณ์ตา่ งประเทศกอ่ นทจี่ ะเรยี นต่อ เมือ่ ธรรมศาลา ซ่ึงเป็นที่ประทับของทะไลลามะ
ท่านอนุญาตแล้ว ได้ออกไปท�ำงานท่ีโรงงาน ๓ ช่วงนั้นเร่ิมนั่งสมาธิภาวนา แต่มีปัญหาว่าไม่ได้
เดือน แล้วออกเดินทางไปประเทศอินเดีย ซึ่ง ต้ังใจกับวิธีกรรมฐานอย่างใดอย่างหน่ึง มีการ
อาตมาตง้ั ใจวา่ จะไปทางบก กเ็ ลยขา้ มไปเบลเยยี่ ม เปลี่ยนบ่อยๆ เพราะว่าไปท่ีไหนก็มักจะพบคน
เยอรมัน ออสเตรยี ยูโกสลาเวยี กรีซ ตุรกี อิหร่าน ทที่ �ำตา่ งๆ กัน บางทีก็ลองท�ำสมาธดิ ู พบคนท่ีท�ำ
ปากสี ถาน ในทส่ี ดุ ถงึ อนิ เดยี ใชเ้ วลาเดนิ ทางเกอื บ แบบเซนก็เปล่ียนท�ำแบบเซนบ้าง ต่อมาก็สนใจ
๒ เดอื น การเดินทางของเรานน้ั บางทกี ไ็ ปรถไฟ อีกอย่างหน่ึง ก็ท�ำอีกอย่างหน่ึง กลับไปกลับมา
บางทีโบกรถสิบล้อไป ไปง่ายๆ ค่�ำที่ไหนก็พักที่ จิตใจก็ไมส่ งบ
นน่ั พบกบั คนหลายชาตหิ ลายประเทศ วฒั นธรรม เห็นว่าการที่เราจะก้าวหน้าในการปฏิบัติ
ต่างๆ แล้วสังเกตในการเดินทางว่า ทุกประเทศ ต้องเลือกอารมณ์กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง
ท่ีเราผ่าน ทุกชาติ ทุกชุมชน ต่างก็ถือว่าจารีต แลว้ มคี วามจงรักภกั ดตี อ่ อารมณ์นั้น ปญั หาไม่ได้

๓๓ 19

อยู่ที่เทคนิค หากอยู่ท่ีจิตใจของเราที่อยากจะได้ ซึ่งเราฟังเหตุผลนี้ก็รู้สึกไม่พอใจ เพราะเรา
วิธีการท่ีดีท่ีสุด ลองปฏิบัติกับวิธีการใดวิธีหนึ่ง เป็นชาวตะวันตก ไม่ค่อยรู้สึกถึงบุญคุณพ่อแม่
ก็เกิดปัญหาข้ึนมา เกิดนิวรณ์ เลยคิดว่าคงจะ โยมทเี่ คยศกึ ษาภาษาองั กฤษคงรวู้ า่ คำ� วา่ “บญุ คณุ
เลือกอารมณ์ไม่ถูก ลองท�ำอย่างอื่นบ้าง อาจไม่ ของพ่อแม่” (กตัญญูกตเวที) จะแปลเป็นภาษา
ต้องประสบปัญหา ซึ่งนิวรณ์น้ีต้องถือว่าเป็นของ องั กฤษไมไ่ ด ้ ไมม่ คี ำ� ใช ้ เพราะชาวตะวนั ตกไมค่ อ่ ย
ธรรมดา ไม่ว่าจะปฏิบัติด้วยอารมณ์กรรมฐาน มคี วามรสู้ กึ ในสงิ่ น้ี แตต่ อนน้ันก็อยู่ใกลท้ ะเลสาบ
ไหน เราต้องมีความอดทนต่ออุปสรรคท่ีเกิด ทชี่ าวฮินดูถอื ว่าขลงั ศักด์สิ ทิ ธ์ิ อยู่ใกลท้ ะเลสาบ
ข้ึน ระหว่างการปฏิบัติ นิวรณ์เป็นส่ิงท่ีมี ก็สมถะดี เป็นคร้ังแรกที่ได้ท�ำความเพียรอย่าง
ประโยชน์ ควรถือว่าเป็นสิ่งท้าทาย เป็นสิ่งท่ี ต่อเนื่อง ส่ิงที่เกิดข้ึนในใจของอาตมาในสมัยนั้น
กระตุ้นสติปัญญาให้ตื่นข้ึนท�ำงาน เป็นส่ิงท่ี เป็นส่ิงที่เราไม่เคยได้คาดหวัง หรือไม่เคยคิดว่า
ช่วยใหก้ ารปฏิบตั ิของเราเขม้ แขง็ มั่นคง จะเกดิ ขนึ้ ผลจากการปฏิบัติ เคยคิดว่ามันจะเปน็
ตอนน้ันอาตมายังเป็นนักปฏิบัติจับจด เอา ทำ� นองทวี่ า่ จติ เยอื กเยน็ ไมม่ คี วามคดิ ฟงุ้ ซา่ น เกดิ
อยา่ งนั้นบ้างอยา่ งนี้บ้าง ก็ไมส่ งบเทา่ ไร แต่ต่อมา อิทธิฤทธป์ิ าฏหิ าริย์ ร้ใู จคน อะไรอยา่ งน้ี แต่ส่งิ ที่
อาตมาได้พบกับพระองค์หนึ่ง ซึ่งความจริงท่าน เกิดข้ึนคือ ความรู้สึกรักพ่อแม่ รู้สึกซาบซึ้งใน
เป็นนักบวชฮินดู แต่การประพฤติของท่านน่า บุญคุณของพ่อแม่ อาตมาแปลกใจว่าท�ำไมถึง
เล่ือมใสมาก ท่านเปน็ ผูท้ ่ีมคี วามมักนอ้ ย สันโดษ เป็นอยา่ งน้ ี ในทสี่ ดุ กต็ ดั สินใจกลับบา้ น แลว้ เดนิ
และวิธีการปฏิบัติของท่าน ก็ไม่ต่างกันกับของ ทางกลบั อังกฤษ
พุทธเท่าไรนัก อาตมาจึงขออยู่กับท่านคล้ายกับ คุณพ่อของอาตมา มาจากตระกูลท่ียากจน
เปน็ ลกู ศษิ ย์ ตอนนนั้ อาตมาอายไุ ด้ ๑๘ ปี และรสู้ กึ มาก ยังไม่เคยมีใครในตระกูลของเราท่ีเรียน
เลือ่ มใสท่านมาก อยากจะอยกู่ บั ท่านเป็นประจำ� หนังสือสูง หรือเข้ามหาวิทยาลัย คุณพ่อจึงหวัง
แตท่ า่ นคดั คา้ น ทา่ นบอกวา่ อาตมายงั หนมุ่ เกนิ ไป ในตัวอาตมามาก อาตมาเรียนหนังสือดี มักจะ
แล้วท่านย้�ำว่า ถ้ายังไม่ได้ขออนุญาตจากพ่อแม่ สอบได้ท่ี ๑ ทุกปี พ่อก็มีความหวังว่า เราจะได้
เพอื่ จะเปน็ สมณะอยา่ งนี้ การปฏบิ ตั ิจะไมไ่ ดผ้ ล เข้ามหาวิทยาลยั Oxford ได้ปริญญาเอก ตอ่ ไป
ได้เป็นศาสตราจารย์ ท่านมีความหวังมาก เป็น
ความหวังที่ส�ำคัญในหัวใจของท่าน เรารู้เรื่องนี้
แล้ว แต่วา่ ตอนท่ีกลบั ไปองั กฤษ มีความรู้สึกวา่
คณุ คา่ ของชวี ติ อยทู่ ก่ี ารปฏบิ ตั ธิ รรม หลงั จากเรา
ไดพ้ ลัดพรากจากพระฮินดอู งค์นนั้ เราได้ทบทวน
การปฏบิ ตั ิ เหน็ แลว้ วา่ ค�ำสอนทถี่ กู ใจเรามากทส่ี ดุ
ที่ม่ันใจมากท่ีสุดคือค�ำสอนของพระพุทธเจ้า
แล้วเราจะพยายามปฏิบัติตามหลักน้ีให้เต็มท่ี
ต่อไป แต่รู้ว่าการอยู่เป็นฆราวาสน้ัน ยากที่จะ
เอาจริงเอาจังได้ รู้สึกอึดอัดเหมือนกัน ยังไงๆ

20 ๓๓

เราก็รู้ว่าการท่ีจะไปเรียนต่อท่ีมหาวิทยาลัย เป็น ต่อมาเม่ือเรามาปฏิบัติศึกษาค�ำสอนของ
ไปไม่ได้ แต่เสียใจว่า ในขณะท่ีเราได้รู้สึกซาบซ้ึง พระพุทธเจ้ามากข้ึน ก็มารู้จักค�ำสอนเก่ียวกับ
ในบญุ คณุ ของพอ่ แม่ และรดู้ ว้ ยวา่ สงิ่ ทพ่ี อ่ แมห่ วงั เมตตา ท�ำใหเ้ ขา้ ใจเร่ืองน้ลี ะเอียดขน้ึ เมตตาเปน็
มากทส่ี ดุ จากลกู คอื การเขา้ มหาวทิ ยาลยั แตก่ ลบั ความรักที่ประกอบด้วยธรรมะ เป็นความรัก
เป็นสิ่งท่ีเราท�ำไม่ได้ ท�ำให้อาตมารู้สึกเป็นทุกข์ ทสี่ ม�่ำเสมอ ในสรรพสตั ว์ท้งั หลาย บางทพี วกเรา
มาก พอไปถึงบ้านก็พยายามหาโอกาสพูดกับพ่อ อาจเคยสงั เกตตวั เองวา่ การทเี่ ราจะเมตตาสงสาร
เพ่ือบอกว่าเราจะเรียนต่อไมไ่ ด้ ในที่สุดก็มีโอกาส คนอน่ื ๆ ทีป่ ระเทศอ่นื หรอื คนทเี่ ราไม่เคยได้พบ
แตพ่ ดู ไมค่ อ่ ยออก ตะกกุ ตะกกั อธบิ ายวา่ เราตงั้ ใจ เป็นเร่ืองท่ีท�ำได้ง่าย แต่คนท่ีเราเมตตายากที่สุด
จะบวชเป็นพระในพระพทุ ธศาสนา คอื คนทอี่ ยใู่ กลช้ ดิ เพราะคนเหลา่ นแี้ หละ ทม่ี กั จะ
นอกจากท�ำให้ท่านผิดหวัง เร่ืองการเรียน ทำ� ใหเ้ ราหนกั ใจ มกี ารกระทำ� และคำ� พดู ทก่ี ระทบ
หนังสือ มีอีกเรื่องหน่ึงคือ คุณพ่ออาตมาเป็น กระเทือนใจเราบ่อยๆ ฉะนั้น การแผ่เมตตาของ
คนมีอคติต่อศาสนา ท่านมีความเห็นว่า ศาสนา คนทว่ั ไปมกั จะเปน็ ไปในทำ� นองทวี่ า่ “ขอใหส้ รรพ
คริสต์เป็นกาฝากของสังคม เป็นยาเสพติดของ สัตว์ท้ังหลายมีความสุข ความสุขเถิด เว้นแต่
ประชาชน เป็นของหลอกลวง แล้วท่านก็เหมา คนนน้ั ” ต้องมีเวน้ แต่ เว้นแตค่ นทห่ี นาด้วยกเิ ลส
เอาวา่ ศาสนาทุกศาสนาคงเหมอื นกัน ลกู จะออก คนท่ีเราไมช่ อบ แต่นั่นไม่ใช่เมตตา เพราะเมตตา
จากโลก บวชเป็นพระ จงึ เป็นสง่ิ ที่ขัดใจทา่ นมาก ทีแ่ ท้จริง ยอ่ มไมม่ กี ารเลือกทรี่ ักมกั ท่ีชัง
เหมือนกนั แตเ่ รากล็ องอธบิ ายใหท้ ่านฟัง ฟังแลว้ เร่ืองความรักนี้ เป็นสิ่งส�ำคัญในชีวิตของ
ท่านบอกว่า เร่ืองพระพุทธศาสนานี้ พ่อไม่เคย ฆราวาสทุกคน บางคนถึงกับเอาความรักเป็น
ศกึ ษา ไม่รู้เรอื่ ง แต่วา่ ส่งิ ที่พอ่ ตอ้ งการมากทส่ี ุด สรณะ ที่พึ่งของชีวิต ซึ่งมักจะท�ำให้ชีวิตประสบ
คือ ต้องการให้ลูกมีความสุข ถ้าลูกเห็นว่าบวช ความทกุ ขร์ ะทมบอ่ ยๆ รกั ได้ ไม่เปน็ ไร ไม่ผดิ ศลี
เป็นพระแล้ว ลูกจะมีความสุข พ่อก็พอใจแล้ว ไม่ผิดอะไร แตพ่ ทุ ธศาสนาสอนวา่ ทกุ สิ่งทกุ อย่าง
อาตมารสู้ กึ วา่ นำ�้ ตาจะไหล ตอ้ งขอตวั ออกจากหอ้ ง ในชีวิต ต้องประกอบด้วยธรรมะ ต้องยอมรับ
วนั นน้ั เปน็ วนั ทอี่ าตมาเขา้ ใจเรอ่ื งความรกั ความจริง เราต้องพยายามพิจารณาทุกเช้าเย็น
ความรกั ทแี่ ทจ้ รงิ เหน็ พอ่ สามารถเสยี สละความ วา่ เราตอ้ งมคี วามพลดั พรากจากคนทเ่ี รารกั ทกุ คน
หวัง ความต้องการของตัวเอง โดยไม่ได้หวัง ไมว่ นั ใดวนั หนึ่ง เราไมต่ ายจากเขา เขากต็ อ้ งตาย
อะไรเลย นอกจากปรารถนาให้เรามีความสุข จากเรา อันนี้ไม่ใช่เพื่อท�ำให้เรารู้สึกกลุ้มใจหรือ
วันนั้นเป็นวันส�ำคัญมากในชีวิต ตั้งแต่วันน้ัน เศร้าใจ แต่เป็นการเปิดจิตใจให้กว้างออกไปรับ
เป็นต้นมา รสู้ ึกมีความเคารพรกั ในคุณพอ่ เพมิ่ ขึน้ ความจรงิ ซง่ึ ปกต ิ เ ราชอบพยายามประคบั ประคอง
ทวีขึ้นอย่างมาก และตัวเองก็ได้ความเข้าใจเรื่อง อารมณ์ที่สบายของเราไว้ โดยการกลบเกล่ือน
ความรกั ด้วยว่า ความรักนี้ เป็นส่งิ ท่ไี มม่ เี งอ่ื นไข ความจรงิ บางแง ่ บางมมุ บางประการ ทเี่ ปน็ สงิ่ ทจี่ ะ
เป็นความรักท่ีไม่มีตัณหา หรือความต้องการ ลดรสชาตขิ องอารมณน์ น้ั เพราะวา่ ธรรมชาตขิ อง
ใดๆ เข้าไปแอบแฝง เป็นความรกั ที่ไมต่ อ้ งการ คนเราน ้ี ชอบเพลิดเพลินในอารมณ์ เพลดิ เพลนิ
อะไรตอบแทน มแี ตจ่ ะให้ ไมม่ คี วามคดิ วา่ จะเอา ในความรัก

๓๓ 21
แต่ถ้าเราเพลิดเพลินในสิ่งใดแล้ว ความ ของคนอ่ืน ต่อความต้องการของเขา ความกลัว
เพลิดเพลินนั้นแหละ จะเป็นความยึดมั่นถือมั่น ความวิตกกังวลของเขา สามารถสังเกตเห็นส่ิง
เกิดภพ เกิดชาติ เกิดความไม่ม่ันคง เกิดความ แวดล้อม หรือบุคคลรอบข้างอย่างลึกซึ้ง เพราะ
หว่ันไหว เพราะว่าอารมณ์ทั้งหลายเป็นของไม่ ตอนน้ใี จเราพอแลว้ ไมม่ ีความห่วงอะไร จติ ที่เตม็
เที่ยง เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามเหตตุ ามปจั จยั ผยู้ ดึ มัน่ ไปดว้ ยธรรมะแลว้ เปน็ จติ ทส่ี รา้ งสรรคม์ าก เพราะ
ในอารมณ์ ย่อมฝืนธรรมชาติ ไม่ให้เปล่ียนแปลง ว่าไม่มีอะไรบกพร่อง พร้อมท่ีจะช่วยคนอื่นได้
แต่มนุษย์เราจะสู้ธรรมชาติไม่ได้ มันเป็นการฝืน พร้อมท่ีจะให้ความรักโดยไม่หวังอะไรตอบแทน
ที่ลมๆ แล้งๆ เป็นการฝืนท่ีจะท�ำให้รู้สึกระทม คอื เขาจะรกั หรอื ไมร่ กั กเ็ รอื่ งของเขา แตว่ า่ เราจะ
ขมขื่น รู้สึกเซ็ง หมดหวัง สิ้นหวัง นักปฏิบัติผู้ ให้ เราพอใจกับการให้ แต่ไม่มีความต้องการ
ปรารภธรรมะจะค�ำนึงถึงความจริงเก่ียวกับเรื่อง ในความรกั เพ่ือแกค้ วามร้สู กึ เปล่าเปลยี่ ว หรอื
นี้อยเู่ สมอ ส�ำนึกรูใ้ นโทษของการไมย่ อมรับความ วา่ งเปลา่ ในใจของตวั เอง เรามธี รรมะเป็นท่ีพงึ่
จรงิ วา่ สง่ิ ทง้ั หลายทงั้ ปวงไมเ่ ทยี่ ง รวู้ า่ ยดึ มนั่ ในสง่ิ ความรักเป็นที่พ่ึงไม่ได้ แต่ธรรมะเป็นที่
ทไี่ มเ่ ทยี่ งเมอ่ื ไร กต็ อ้ งเปน็ ทกุ ขท์ นั ที คดิ อยา่ งนไ้ี ด้ พึ่งได้ ธรรมะเป็นสิ่งท่ีส�ำคัญย่ิงในชีวิตมนุษย์
ความรักมนั ไม่หายไปไหนหรอก ไม่ใช่วา่ ความรกั เราต้องพยายามเป็นผู้รู้จักฝึกอบรมตัวเอง รู้จัก
ของเราจะจืดชืดหมดรสชาติ แต่จะเป็นความรัก ปกครองตัวเอง ถ้าเราปกครองตัวเองไม่ได้ มัน
ที่สกุ งอม เป็นความรักของผู้ใหญ่ เปน็ ความรักที่
ไมม่ โี ทษอะไร
เรอ่ื งความรกั นี้ ตอ้ งสงั เกตวา่ มนั จะเปลย่ี น
สภาพตามความรู้และความเข้าใจในธรรมะ
ของผรู้ กั หมายความวา่ ถา้ พวกเราไมม่ สี ตปิ ญั ญา
เป็นที่พึ่งภายในใจ ไม่มีตัวผู้รู้คอยคุ้มครองการ
ด�ำเนินชวี ิต คอยดแู ลสง่ิ ทเ่ี ราทำ� ค�ำท่เี ราพูด เรา
ย่อมมีความรู้สึกขาดความม่ันคง ซ่ึงจะอยู่ลึกๆ
ในใจตลอดเวลา รู้สึกว่าขาดอะไรสักอย่าง เม่ือมี
ความรู้สึกอย่างนี้แล้ว เรามักจะพยายามกลบ
ความรู้สึกน้ีโดยความรัก จึงแสวงหาความรัก
อย่างดิ้นรน กระสับกระส่าย กระวนกระวาย
ความรักของเราแบบน้ัน จึงประกอบด้วยความ
เหน็ แกต่ ัว เพราะเกิดจากความอยาก
แต่ผู้มีที่พึ่งภายในแล้ว มีความมั่นคงภายใน
ใจแล้ว จะมีความรู้สึกพอดี ไม่มีอะไรขาด ไม่มี
อะไรเกนิ พอดๆี ผทู้ รี่ สู้ กึ พอดนี นั่ แหละจงึ สามารถ
ให้ความรักด้วยความเป็นอิสระ ไวต่อความรู้สึก

22 ๓๓

ยากท่ีจะหลีกเล่ียงความบกพร่อง ฉะนั้น ให้ ว่าเราเคยยึดม่ันถือม่ันในความสุขทางเน้ือหนัง
บริหารตัวเอง ด้วยการสอดส่องดูแลการกระท�ำ ว่า เป็นสิ่งที่ให้ความหมายแก่ชีวิต แต่ตอนนี้
การพดู ความคดิ ของตวั เอง สรา้ งตวั รขู้ น้ึ มาภายใน ก�ำลงั ตาฟาง หูไม่ค่อยได้ยนิ นัง่ ลงก็ “โอ๊ย” ลุก
ตัวผู้รู้นี้จะเป็นเหมือนพี่เล้ียง หรือกัลยาณมิตร ข้ึนก็ “โอ๊ย” ทานข้าวก็ไม่อร่อย ไม่มีอริยทรัพย์
ติดตัว ไปที่ไหนก็จะคอยช้ีแนะตักเตือน เวลาจะ เป็นท่ีพึ่งภายใน ก็เลยทุกข์ เสียดายอดีต กลัว
พูดโกหก พูดซุบซิบนินทา จู้จ้ีข้ีบ่น ตัวผู้รู้จะ อนาคต จิตใจเห่ียวแห้ง ผู้หญิงจึงหันเข้าหาวัด
ไม่พอใจ ตัวผู้รู้จะ “เฮ่ย” แต่ค�ำว่า “เฮ่ย” ผชู้ ายหนั หาเมยี นอ้ ย ทงั้ สองแบบกไ็ มค่ อ่ ยไดเ้ รอื่ ง
ของตัวผู้รู้นั้นจะประกอบด้วยเมตตา เตือนว่า แต่ถ้าเราเอาความสุขแบบท่ีเกิดจากคุณงาม
“ไม่ได้นะ พูดอย่างน้ีท�ำให้คนอื่นเดือดร้อน ความดีเป็นจุดมุ่งหมายในการด�ำเนินชีวิต ความ
เป็นการเบียดเบียน อย่าไปท�ำเลย” เวลาเราคิด สุขน้ีเรามีโอกาสเข้าถึง มีโอกาสท่ีจะเสวยตลอด
หมกมนุ่ ในกาม คดิ ปองรา้ ย คดิ อาฆาต พยาบาท ชาติ เป็นความสุขท่ีเยือกเย็น เป็นความสุข
คดิ แกแ้ ค้นหรอื คิดเอารัดเอาเปรียบ ตัวผรู้ จู้ ะรอ้ ง ทเ่ี กิดขนึ้ ในจติ ใจของเรา แลว้ จะแผ่ไปมีผลตอ่ คน
“เฮย่ ! หยดุ ” เรากต็ อ้ งหยุดต้องเลกิ รอบข้างด้วย คือการช่วยเหลือคนอื่น อยู่ที่เรามี
พวกเราเคยฟงั คำ� เหล่าน้บี ่อย หยดุ ละ เลกิ คุณธรรมภายใน มีความสงบ มีความสุขภายใน
อะไรอย่างน้ี แต่ฟังแล้ว รู้สึกว่าเป็นค�ำห้วน ไม่ ผู้ท่ีวุ่นวายสับสนจะไปช่วยคนอ่ืนไม่ได้ พูดอะไร
ไพเราะ ค่อนขา้ งแสลงหู แต่ว่า การเลิก การหยุด ไม่มีใครเชื่อ ท�ำอะไรไม่ได้ผล แต่ส�ำหรับผู้มี
การละ การวางน้ี เป็นไปเพื่อความสุข ความสุข คุณธรรม ค�ำพูดมนี ้ำ� หนกั การกระทำ� ก็มีนำ�้ หนัก
ในโลกน้ีมีหลายประเภท ถ้าเราไม่มีความกล้า ท�ำอะไรก็เป็นที่ประทับใจผ้อู ่ืน
หาญ ที่จะสละความสุขท่ีมีปริมาณน้อย หรือ เพราะฉะน้ัน ถ้าเรามีความต้ังใจดีท่ีจะช่วย
ความสขุ ทไี่ มบ่ รสิ ทุ ธิ์ เราจะไมม่ สี ทิ ธท์ จี่ ะกา้ วไป คนอื่น ให้เราฉลาดในการช่วยตัวเอง เพราะการ
ถงึ หรอื บรรลคุ วามสขุ ทสี่ ขุ มุ และบรสิ ทุ ธ ์ิ เหมอื น ชว่ ยตวั เองและการชว่ ยคนอน่ื เปน็ สง่ิ เดยี วกนั ชวี ติ
กับว่าเราอยู่ในห้องนี้ เราก็เข้าห้องโน้นไม่ได้ จะ ที่มีการช่วยตัวเองและช่วยคนอ่ืน เป็นชีวิตท่ีเบิก
อยู่ท้ังสองห้องพร้อมกันก็ไม่ได้ ต้องเลือก ให้ บานผ่องใสด้วยการท�ำหน้าท่ี การท�ำหน้าที่ให้ดี
สังเกต และยอมรับความจริงของธรรมชาติว่า ที่สุดก็ด้วยการปล่อยวาง ความหวังในผลคือการ
การมัวเมาสยบในความสุขทางเนื้อหนัง เป็นการ เจริญมรรค เป็นส่งิ ทน่ี ่าภมู ใิ จ
ปดิ โอกาสทเ่ี ราจะเขา้ ถงึ ความสขุ ทเ่ี ลศิ กวา่ ฉะนนั้
ต้องพิจารณาว่า ความสุขอย่างไรมีความส�ำคัญ ที่มา : พระธรรมเทศนา ณ หอ้ งประชุมของเกษตรสัมพนั ธ์
และมีคณุ คา่ แกช่ วี ติ กรมสง่ เสริมการเกษตร เมือ่ วนั ที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๓๓
ในการวิเคราะห์ความสุข ประเด็นส�ำคัญ
อยู่ท่ีความไม่เที่ยง เราติดในโลกียสุขตอนเป็น
หนุ่มเป็นสาว เม่ือเราแก่ลง เราจะรู้สึกเหมือน
ชีวิตเป็นดอกไม้เฉา หรือต้นไม้กร�ำแดด จะกลุ้ม
ใจว่าชีวิตของคนแก่น้ีไม่มีความหมาย เพราะ

23

ธรรมกถา

พระไพศาล วสิ าโล

เตมิ เตม็ ชวี ติ ดว้ ยรกั
อะไรคอื สิ่งท่ีสำ� คญั ส�ำหรบั ชีวติ คนเรา หลาย พ่อแม่ กับเด็กที่ได้รับสัมผัสจากพ่อแม่ ในตู้อบ
คนนึกถึงข้าวปลาอาหาร รวมทั้งน�้ำและอากาศ ก็มีทุกอย่างที่จ�ำเป็นส�ำหรับร่างกาย แต่ท�ำไม
นั่นเป็นสิ่งจ�ำเป็นและส�ำคัญทีเดียว แต่ว่ามัน เดก็ บางคนก็ไม่ค่อยเติบโตเทา่ ไหร่
จ�ำเป็นส�ำหรับร่างกาย คนเราไม่ได้มีแค่ร่างกาย เมอ่ื ประมาณสกั ๓๐ – ๔๐ ปผี า่ นมา เขาเคยมี
เรามีจติ ใจด้วย ขา้ วปลาอาหาร นำ�้ อากาศ เปน็ ข้อห้ามว่า ห้ามพยาบาลหรือพ่อแม่ไปสัมผัสตัว
ส่ิงส�ำคัญจ�ำเป็นส�ำหรับร่างกาย และอะไรคือส่ิง เดก็ ทอี่ ยใู่ นตอู้ บ เพราะวา่ เดก็ อาจจะตดิ เชอื้ อนั นี้
ทสี่ �ำคญั จ�ำเปน็ ส�ำหรบั จติ ใจ ก็มีมากมายนะ แต่มี กเ็ ปน็ การปฏบิ ัติท่สี บื มา แต่โรงพยาบาลนั้นมเี ด็ก
สิง่ หนง่ึ ทข่ี าดไมไ่ ด้ น่นั คือ ความรัก ทารกคนหน่ึงเติบโตดีกว่าคนอื่นๆ ก็แปลกใจว่า
ความรัก เริม่ ตั้งแตค่ วามรักของพ่อแม่ ญาติ เป็นเพราะอะไร ในเม่ือเด็กทุกคนก็ได้ทุกอย่างท่ี
ผใู้ หญ่ ความรกั ของมติ รสหาย ความรกั ของครบู า จ�ำเป็นต่อร่างกายเท่าๆ กัน ในท่ีสุดก็พบว่าเด็ก
อาจารย์ คนเราแมจ้ ะมขี า้ วปลาอาหาร แตถ่ า้ ขาด คนน้ันที่เติบโตได้ดี มีพยาบาลคนหน่ึงแกเอ็นดู
ความรักจากคนรอบข้าง มันก็เป็นชีวิตที่ไม่สม อาจจะเห็นว่าผอมมาก ก็เลยแอบไปจับเนื้อต้อง
ประกอบ และแม้แต่การเจรญิ เตบิ โตทางรา่ งกาย ตัว ไปสัมผัสด้วยความรัก ด้วยความห่วงใย
ก็อาจจะไมด่ ีดว้ ย เด็กทารกท่ีคลอดออกมา และ ปรากฏว่าเด็กคนนั้นก็กลับเติบโตได้เร็วกว่าเด็ก
ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง เช่นอาจจะคลอดก่อน ทงั้ หลายในโรงพยาบาลนนั้ ทีอ่ ยใู่ นตู้อบ พยาบาล
ก�ำหนด แล้วจ�ำเป็นต้องไปเข้าตู้อบ ก็จะมีความ แอบทำ� เพราะวา่ เขาหา้ ม เขาคำ� นงึ ถงึ แตเ่ รอ่ื งของ
แตกต่าง ระหว่างเด็กที่ไม่ได้รับการสัมผัสจาก ร่างกายว่า ถ้าติดเช้ือจะมีปัญหา แต่ว่าลืมความ

24 ๓๓

ต้องการทางจิตใจของเด็ก ทารกก็ต้องการความ ยงั ไมน่ บั ประเภททว่ี า่ มพี อ่ แมก่ จ็ รงิ แตพ่ อ่ แม่
รักเหมือนกันนะ พอเขาได้รับความรัก เริ่มจาก ไมม่ เี วลา พอ่ แมต่ อ้ งทำ� มาหากนิ มลี กู อยทู่ บี่ า้ นแต่
การสัมผัส เริ่มจากการกอดของพ่อแม่ หรือถ้า วา่ ไมม่ เี วลาทจี่ ะใหค้ วามรกั ความใสใ่ จ เดก็ จำ� นวน
ไม่มีพ่อแม่ ก็พยาบาลนี่แหละ ช่วยท�ำให้เด็กมี มากเตบิ โตมาโดยขาดความรกั ถา้ โชคดนี ะ แมไ้ ม่
ความสุข และความสุขก็ท�ำให้ร่างกายของเขา ได้รับความรักจากพ่อแม่ แต่ก็ได้รับความรักจาก
เจริญเตบิ โตไดเ้ รว็ ข้นึ ยายอย่างอบอุ่น ยายเป็นเหมือนแม่คนหนึ่ง แต่
นี่ขนาดเดก็ ทารกนะ นับประสาอะไรกบั เด็ก ว่าจ�ำนวนมากไม่มีโชคแบบน้ัน ส่วนใหญ่เติบโต
ที่โตแล้ว แล้วก็รู้ประสีประสา มีหัวจิตหัวใจ ยิ่ง มาก็เป็นผู้ใหญ่ที่ขาดความรัก เพราะฉะนั้น ก็
จะเป็นคนที่มีความทุกข์มาก รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า
ไม่มีคุณค่า พ่อแม่จึงไม่มาดูแล หรือว่าพ่อแม่จึง
ท้ิงเรา ไม่เลีย้ งดเู รา เดก็ มีปมดอ้ ย ปมดอ้ ยน้ีอาจ
จะน�ำไปสู่พฤติกรรมอีกหลายอย่างตามมา เช่น
เรียนก็ไม่ดี ท�ำมาหากินก็ไม่ประสบความส�ำเร็จ
เพราะไม่มีความเช่ือมั่นในตัวเอง และที่แย่กว่า
นน้ั คอื เขา้ หาอบายมขุ หรอื วา่ ถา้ เปน็ ผหู้ ญงิ กอ็ าจ
ต้องการความรัก แต่เดี๋ยวน้ีเด็กจ�ำนวนมากเลย จะคบผชู้ ายไม่เลอื กหน้า เรียกวา่ โหยหวิ ความรกั
ที่เติบโตมาโดยขาดความรัก เพราะว่าในสังคม คนที่หิวโหยความรักนี่ บางทีก็หวังความรักจาก
ปัจจุบันนี้ หลายครอบครัวพ่อแม่ก็หย่าร้างกัน เพศตรงขา้ มมาทดแทน ได้แลว้ ก็ยังไม่พอ กไ็ ปหา
หรือบางทีผู้หญิงก็คลอดลูกโดยท่ีไม่มีพ่อ อันน้ี คนใหม่ หรือบางทีผู้ชายนั่นแหละหลอกผู้หญิง
เกดิ ขน้ึ มากในชนบท หญงิ สาวในชนบทไปทำ� งาน เพราะร้วู ่าผหู้ ญิงโหยหาความรักจากผ้ชู าย ผชู้ าย
ในกรงุ เทพฯ ไปรักชอบผ้ชู าย และผชู้ ายก็อาจจะ กห็ ลอก สมอารมณห์ มายแลว้ กท็ งิ้ ผหู้ ญงิ ไปหาคน
หวังแค่ประโยชน์เฉพาะหน้า พอผู้หญิงท้องแล้ว อืน่ ตอ่ ไป อนั น้ีเรียกวา่ ไมม่ หี ลักในการดำ� เนินชีวติ
ผูช้ ายก็ทิ้ง ผู้หญิงกต็ ้องกลับมาทบี่ า้ น มาเล้ยี งลกู หรือมฉิ ะน้นั กต็ ้องการประชดสงั คม ประชด
คนเดยี ว หรือบางทีไม่มีปญั ญาเลย้ี ง กส็ ง่ ลกู ไปให้ ชะตากรรม ทำ� ตัวเหลวแหลก ผชู้ ายก็เปน็ นะ แต่
ยายเล้ียงในชนบท เด๋ียวนี้เด็กที่ไม่ได้อยู่ในการ ลักษณะอาจจะเป็นประเภทพวกอันธพาล อย่าง
เลี้ยงดูของพ่อแม่ แต่อยู่ในการเล้ียงดูของยายมี พวกนักเรียนอาชีวะท่ีชอบยกพวกตีกัน พวกนี้
เป็นจ�ำนวนมาก หมู่บ้านรอบๆ หรือแถวนี้ก็มี จ�ำนวนมากขาดความรัก แล้วก็ไม่ประสบความ
เยอะ ทีเ่ ดก็ ถูกเลยี้ งดดู ว้ ยยาย เพราะพ่อแม่หยา่ ส�ำเร็จในการเรียน ตัวเองก็ไม่เห็นคุณค่าของตัว
ร้างบ้าง หรือถึงแม้แม่จะได้แต่งงาน แต่คลอด เอง แล้วก็ไมม่ ีอะไรที่จะเชดิ หน้าชูตาได้ ก็เลยคดิ
ลูกมาแล้ว ผู้ชายไม่รับผิดชอบ หรือมีจ�ำนวนไม่ วา่ ถา้ ฉนั เดน่ ทางดไี มไ่ ดก้ เ็ ดน่ ทางชวั่ กแ็ ลว้ กนั หรอื
น้อย ทีพ่ ่อแมก่ ็ยงั อยู่ แตไ่ มม่ ปี ญั ญาเลย้ี ง พอ่ แม่ มฉิ ะนัน้ กไ็ ปเขา้ พวก เพราะต้องการการยอมรบั
ไปเปน็ กรรมกรอยใู่ นกรงุ เทพฯ กส็ ่งลูกมาให้ยาย จากหัวหน้าแก๊งหรือเพ่ือนพ้องด้วยกัน ไม่ได้รับ
ในหมบู่ า้ นเลี้ยง เปน็ อย่างน้จี ำ� นวนมากเลย ความรกั จากพอ่ แม่ ก็ไปแสวงหาการยอมรับจาก

๓๓ 25

เพอ่ื นเปน็ การทดแทน และเพอ่ื ทใี่ หเ้ พอื่ นยอมรบั
ก็ต้องยอมที่จะท�ำทุกอย่าง แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่
ไมด่ ี เพอื่ นทา้ ใหไ้ ปจี้ ไปปลน้ ไปขม่ ขนื กไ็ ป เพราะ
ไมท่ ำ� กจ็ ะถกู เขาตอ่ วา่ ดถู กู หาวา่ หนา้ ตวั เมยี คา้ ยา
กม็ ี ไมอ่ ยากคา้ แตก่ ต็ อ้ งไป สดุ ทา้ ยกต็ ดิ ยา ตดิ แลว้
ก็หลงวนอยู่ในวัฏฏะของการค้าและเสพยา
อนั นไ้ี มน่ บั ถงึ คนทมี่ พี ฤตกิ รรมกา้ วรา้ ว ซง่ึ เปน็
พฤติกรรมก้าวร้าวเพราะขาดความรัก มันมีปม
คนเหล่าน้ีย่ิงมีพฤติกรรมก้าวร้าว ก็ยิ่งไม่ได้รับ
การยอมรับจากคนรอบข้าง กับคนท่ีอยู่ใกล้เขา
ก็ระอา ไม่อยากคบหา ย่ิงรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้าง
เขา้ ไปใหญ่ แลว้ กเ็ ลยกลายเปน็ พาชวี ติ ใหจ้ มอยใู่ น
ความทกุ ข์ หรอื วา่ สรา้ งความทกุ ขใ์ หก้ บั ผอู้ น่ื เวลา ในโรงพยาบาล มีผู้ป่วยที่อยู่ในระยะสุดท้ายพวก
มลี กู กไ็ มไ่ ดใ้ สใ่ จลกู ดา่ ลกู ตบตลี กู อาจจะมองวา่ นี้เยอะ แคค่ วามทกุ ขเ์ พราะโรคภัยไข้เจ็บนีก้ ห็ นกั
ลูกเปน็ ตัวขดั ขวางความสขุ เปน็ มารหัวขน ท�ำให้ แล้วนะ ยังมีความรู้สึกเจ็บปวด เพราะบาดแผล
ไมส่ ามารถใชช้ วี ติ เหมอื นคนอน่ื ได้ ตงั้ แตเ่ ปน็ วยั รนุ่ ในจิตใจท่ีไม่มีคนรัก หรือไม่ได้รับความรักจาก
แล้วกส็ ่งทอดความรุนแรง ความทุกข์ใหล้ กู ต่อไป ใคร บางทกี เ็ กดิ ข้นึ กับเด็กๆ
เหล่าน้ีคือสิ่งท่ีเราเห็นได้มากข้ึนในสังคม มเี ดก็ คนหน่ึงอายุ ๙ ขวบ เปน็ มะเร็ง มะเร็ง
ปัจจุบัน ซ่ึงสรุปว่าคนเรานี่ก็น่าสงสารมาก แล้ว ทเี่ ป็นบ่อยกบั เด็กก็คอื ลวิ คเี มีย เดก็ ก็มอี าการแย่
บางครั้งก็ขาดคนเข้าใจ เพราะว่าพฤติกรรมท่ี ลงไปเรอื่ ยๆ จนกระทงั่ เรยี กวา่ อยใู่ นระยะสดุ ทา้ ย
แสดงออกมา ไม่สามารถท�ำให้คนเข้าใจหรือ แล้ว แตว่ า่ เด็กนี้ไม่ยอมตาย สัญญาณชพี แยห่ มด
ยอมรับได้ มีแต่อยากจะผลักไส บางคนก็ชอบ แล้ว หมอไปเย่ียมก็แปลกใจ แต่ก็สังเกตนะว่า
ขโมย เห็นเงินทองเป็นสรณะ คิดว่าเงินทองจะ รอบๆ เตียงของเด็ก รวมทั้งฝาผนัง (ที่บ้านของ
ท�ำให้ตัวเองเป็นท่ียอมรับ มันก็ได้รับการยอมรับ เดก็ ) มภี าพทเ่ี ดก็ วาด เปน็ ภาพพ่อแมล่ กู อยูด่ ว้ ย
แค่ช่วั คราว พอเงนิ หมดเขากต็ ีจากไป คนเหลา่ นี้ กัน แต่ละภาพก็มีแต่ภาพพ่อแม่ลูก แต่ในชีวิต
ถึงเวลาทีป่ ระสบความลม้ เหลว เชน่ แต่งงานแล้ว จริง เดก็ คนนม้ี ีแตแ่ ม่ พยาบาล หมอ ไม่เคยเหน็
กเ็ ลกิ กัน ยงิ่ เจ็บปวดมาก ยง่ิ เปน็ การซำ�้ เตมิ ว่าฉัน พอ่ ถามว่าพ่อไปไหน กไ็ ด้คำ� ตอบวา่ หย่ากัน เลิก
เปน็ คนทไ่ี มม่ คี ณุ คา่ พอ่ แมก่ ท็ งิ้ มแี ฟน มสี ามี มเี มยี กันไปนานแลว้ แล้วก็ไมต่ ดิ ตอ่ กันเลย หมอก็บอก
เมียก็ทิ้ง ส่วนใหญ่เกิดข้ึนกับผู้หญิงที่ถูกผัวทิ้ง ว่าอยากจะให้แม่ช่วยไปติดต่อพ่อ และแจ้งข่าว
รสู้ กึ วา่ ตวั เองไรค้ า่ โทษตวั เอง บางคนกเ็ ขา้ หาเหลา้ ให้พ่อรู้ว่าลูกก�ำลังป่วยหนัก ทีแรกแม่ก็อิดออด
เข้าหายาเสพตดิ สุดท้ายบางทีกฆ็ ่าตวั ตาย เพราะไม่อยากเจอสามีแล้ว เจ็บปวดมาก แต่พอ
น้ีคอื สภาพท่ีเราเห็นมากขนึ้ เรื่อยๆ ในสังคม หมอยนื ยัน คะยนั้ คะยอ กไ็ ปโทรหาสามี ติดตาม
คนเหล่าน้ี พอถึงเวลาเจ็บป่วยก็น่าสงสารมาก หาพอ่ เด็กมาจนไดเ้ จอลกู ในที่สดุ

26 ๓๓

พอ่ พอรวู้ า่ ลกู ปว่ ยหนกั กร็ บี มาเลย มาถงึ กม็ า ตอ้ งกินกับหลานนะ อาหารของโรงพยาบาลทใ่ี ห้
นั่งอยขู่ า้ งเตียง สภาพลูกนีเ่ รียกวา่ แทบจะไม่คอ่ ย กบั คนไข้ กแ็ บง่ กนั นะ หลานกินครงึ่ หนงึ่ ยายกิน
มีสติแล้วนะ เพราะใกล้ตายเต็มที พอรู้ว่าพ่อมา คร่งึ หนง่ึ
สิ่งท่ีท�ำกค็ อื เดก็ จบั มือพ่อมาวางไว้บนอกของตัว จนมาถึงวันสุดท้าย พยาบาลคนหน่ึงจะมา
เอง แลว้ กจ็ ับมือแม่อีกข้างมาไว้บนอกของตวั เอง ฉีดยาระงับปวดให้ เพราะว่าแกต้องได้ยาทุก ๒
เด็กซ่ึงมีอาการกระสับกระส่ายตอนแรก พอเขา ช่ัวโมง แต่เด็กบอกว่าไม่ต้องฉีดแล้วครับ ผมไม่
ทำ� อยา่ งน ี้ เขากส็ งบนงิ่ เลย ไมน่ านเขากต็ าย จาก ปวดแล้วครับ ฉดี แล้วผมกร็ ู้สกึ มึนๆ แลว้ กพ็ ูดวา่
ไปอยา่ งสงบ เหมอื นกบั วา่ ความปรารถนาสดุ ทา้ ย มีอย่างหนึ่งท่ีผมอยากได้ พยาบาลถามว่าอยาก
ในชีวิตได้ท�ำแล้ว ก็คือพ่อกับแม่ได้มาส่งตัวเอง ไดอ้ ะไร ผมอยากจับแขนพยาบาลครับ พยาบาล
ได้รับความรักจากพ่อและแม่พร้อมๆ กัน ก็จะ ก็ดีนะ ให้แกจับแขน เด็กก็จับแขนแน่นเลยนะ
ตายได้ หมดหว่ งแลว้ ตอนแรกยงั หว่ งพอ่ เพราะวา่ แล้วกจ็ บั แขนนานถงึ คร่ึงชั่วโมง แกไม่ทำ� อะไรแค่
ปรารถนาความรักจากพ่อ พอพ่อมาหา เขารู้สึก จับแขนอย่างเดียว พยาบาลก็ดีนะ ยืนให้แกจับ
มีความสุขมากที่ได้เอามือของพ่อกับแม่มาวางไว้ เพื่อนพยาบาลก็แปลกใจ บ่นข้ึนมาเลยว่า ไม่มี
บนอกของตัวเอง มันเป็นสัมผัสสุดท้ายที่ท�ำให้ อะไรทำ� หรอื ไงนะ คนไขก้ เ็ ยอะ จะตอ้ งฉดี ยาอกี ตง้ั
เขาพรอ้ มทีจ่ ะตายได้ หลายคน นั่งให้เดก็ จับแขนอย่ทู ำ� ไม แต่พยาบาล
มีอีกรายหน่ึงอายุมากหน่อย ๑๗ พ่อแม่ คนนี้แกก็น่ิงนะ เพราะแกรู้ว่าสิ่งท่ีเด็กคนน้ีต้อง
เป็นเอดส์ตายทั้งคู่ต้ังแต่เขายังเล็ก ตัวเองเป็น การคือความรกั และเด็กไมม่ ีใครเลย เดก็ คงเห็น
ก�ำพร้าต้ังแต่ ๒ - ๓ ขวบ จำ� หน้าพ่อไมไ่ ด้ อยู่กับ พยาบาลคนน้ีมีเมตตา เวลามาท�ำหัตถการ
ยาย ยายก็ยากจน หาเงินมาด้วยการเก็บขยะ พยาบาลคนอื่นก็ท�ำสักแต่ว่าท�ำๆ คือรีบๆ ท�ำ
เลี้ยงชีพ แต่ยายก็รักหลานมาก ดูแลหลาน เพราะคนไข้เยอะ สนใจแตเ่ รือ่ งรา่ งกาย วดั ความ
อย่างดี แต่ว่าหลานก็มาป่วยเป็นมะเร็งที่กระดูก ดัน ฉีดยา แล้วก็ไป แต่พยาบาลคนนี้แกใส่ใจ
ตอนที่มะเร็งลุกลาม โรงพยาบาลท่ีรักษาคือ นมุ่ นวล อ่อนโยน พดู ให้กำ� ลงั ใจ แกก็คงอยากจะ
บุรีรัมย์ก็ไม่มีเทคโนโลยีพอ ต้องส่งต่อไปท่ีโรง จับมือพยาบาลคนนี้ จับแขน เพราะว่ามันเป็น
พยาบาลขอนแก่น แต่เด็กไม่ยอมไป เด็กบอกว่า เครื่องหมายแห่งความรกั ความอบอนุ่ พยาบาล
ถ้าไปแล้วใครจะดูแลยาย แล้วใครจะเลี้ยงดูยาย ก็ใหจ้ บั
หาเงนิ ใหย้ าย สดุ ทา้ ย โรงพยาบาลกต็ อ้ งหารถพา
ไปส่งท่ีขอนแก่น ไปถึงขอนแก่นก็เรียกร้องจะ
กลบั อยา่ งเดยี ว อยากกลบั บา้ น อยากจะไปหายาย
พอกลับมาบุรีรัมย์ได้เจอยายก็ดีใจ แต่อาการมัน
ก็ลุกลามเร็วข้ึน ลามไปเร่ือยๆ จนกระท่ังระยะ
สุดท้ายแล้ว เด็กเจ็บปวดมาก ต้องฉีดยามอร์ฟีน
ทกุ ๒ ชั่วโมง ยายก็มาเยี่ยมแทบทกุ วนั มาเยย่ี มก็
ไม่มีอะไรติดมือมาเพราะยากจน แม้แต่ข้าวก็

๓๓ 27
ผา่ นไปครง่ึ ชวั่ โมง พอเพอ่ื นมาตอ่ วา่ พยาบาล
คนน้ี เด็กคนนี้ได้ยินก็เลยบอกว่า พอแล้วครับ
คุณหมอครับ พอแล้วครับ แค่นี้ล่ะครับ ท้ังชีวิต
ผมก็ต้องการแค่น้ีครับ แกไม่ได้เรียกว่าพยาบาล
เรยี กหมอ คณุ หมอไปทำ� งานไดแ้ ลว้ ครบั ผมเขา้ ใจ
ครบั แลว้ แกกป็ ลอ่ ยมอื นะ นนั่ คือตอนเยน็ แลว้
อกี ไมก่ ี่ชวั่ โมงต่อมา แกก็ส้นิ ลม
เร่ืองนีย้ ังมีตอ่ นะ พยาบาลคนน้ีกับพยาบาล ค่อยน่ารักเท่าไหร่ หมอให้ยาก็ไม่ยอมกินตาม
ท่ีบ่น นอนบ้านเดียวกัน ประมาณตี ๑ ก็มีเสียง ก�ำหนด โวยวาย แต่ตอนท่ีอาการหนักๆ โชคดี
เคาะประตู พยาบาลทบี่ น่ กต็ นื่ ขนึ้ มา กไ็ ดย้ นิ เสยี ง ได้จิตอาสามาช่วยดูแล จิตอาสาก็มาแนะน�ำว่า
เรียก คล้ายๆ เสียงเดก็ คนน้ี เปดิ ประตูไปกไ็ ม่เจอ พอ่ และแมเ่ ลยี้ ง ควรจะใหค้ วามรกั แกเ่ ขา กอดเขา
อะไร ก็เลยรีบปิด แล้วกลับไปนอนต่อ วันรุ่งขึ้น แลว้ กบ็ อกวา่ รกั เขา แมเ่ ลยี้ งกท็ ำ� นะ พอ่ กท็ ำ� แลว้
ไปท�ำงานก็พบว่าเด็กคนน้ีตายแล้ว ถามว่าตาย กท็ ำ� ด้วยความจริงใจ แตก่ อ่ นน้ีไม่เคยกอดกันเลย
ก่ีโมง ตายตอนตี ๑ เป็นเวลาเดียวกับท่ีมีเสียง นะ แตว่ า่ เพราะคนไขก้ อ็ าการแย ่ ทงั้ พอ่ ทงั้ แมเ่ ลย้ี ง
เคาะประตเู ลย พยาบาลคนนค้ี อื คนทบี่ น่ เจอแบบ กไ็ ปกอด แลว้ กบ็ อกรกั พบวา่ คนไขม้ ีอาการดีขนึ้
นี้ ผวาเลยนะ เด็กเขามาลา ไม่ได้มาลาพยาบาล เลยนะ ที่เคยงอแง ไมย่ อมกินยา กเ็ รม่ิ กินยาตาม
คนที่ตัวเองจับแขน แต่มาลาพยาบาลที่บ่น นับ ก�ำหนด สนใจดูแลรักษาสขุ ภาพตัวเอง ก็เรยี กว่า
ตง้ั แต่นน้ั พยาบาลคนน้ีก็เปลยี่ นไปเปน็ คนละคน มีอาการดีข้ึน โดยเฉพาะคนไข้จ�ำนวนมาก ส่ิงที่
เลยนะ เธอออ่ นโยนมากขน้ึ เพราะเหน็ วา่ สงิ่ สำ� คญั เขาตอ้ งการในชวี ติ นี้ก็คอื ความใส่ใจและความรกั
ที่คนเราต้องการ โดยเฉพาะคนใกล้ตาย นั้นคือ ท่ีจริง อย่าว่าแต่คนท่ีขาดความรักในวัยเด็ก
ความรัก ย่ิงเด็กท่ีขาดความรัก ขาดความอบอุ่น ก�ำพร้าพอ่ กำ� พร้าแม่ หรือพอ่ แมแ่ ยกทางกัน แม้
ไมไ่ ด้รับความรักจากพ่อแม่ สง่ิ ที่เขาต้องการมาก คนทม่ี พี อ่ แมเ่ ลยี้ งดู อาจจะเปน็ เดก็ ทม่ี คี วามอบอนุ่
ในชว่ งเวลาสดุ ทา้ ยของเขา ไมใ่ ชย่ า ไมใ่ ชอ่ อกซเิ จน แลว้ ก็โตมาเปน็ ผใู้ หญท่ สี่ ขุ ภาพดสี ุขภาพจิตดี แต่
แตค่ อื ความรัก หรือการไดส้ ัมผัสกบั คนทีเ่ ขารัก พอมาป่วยด้วยโรคร้าย เช่นเป็นมะเร็ง เวลาใกล้
อันน้ีไม่ใช่เด็กอย่างเดียว ผู้ใหญ่ก็เหมือนกัน ตายนแ่ี หละ กย็ งั อยากไดค้ วามรกั จากคนรอบขา้ ง
นะ ในบางคน อายุ ๓๐ กว่า ชีวิตก็คลา้ ยๆ กบั ที่ จากพอ่ แม่ จากเพอื่ น เวลาบอกคนทใ่ี กลต้ ายวา่ ฉนั
พูดมา ไมไ่ ด้กำ� พร้า แตพ่ อ่ แมแ่ ยกทางกัน แลว้ แม่ รกั เธอนะ หรอื เธอมีคณุ คา่ ตอ่ ฉนั มาก ลกู มีความ
ก็ทิ้งลูกไปต้ังแตเ่ ลก็ พ่อกเ็ ลี้ยงลูก ตอนหลังพ่อก็ หมายต่อชีวิตของพ่อมาก เขาจะรู้สึกดีข้ึนเลย
แต่งงานใหม่ และมีแม่เล้ียง แต่เด็กนี่เป็นผู้หญิง อาการกระสบั กระสา่ ยกล็ ดลง นบั ประสาอะไรกบั
ก็เหมือนกับคนที่ขาดความรัก ก็ใช้ชีวิตแบบไม่ คนทเี่ ขามชี วี ติ อา้ งวา้ ง ขาดความรกั ตง้ั แตเ่ ลก็ จนโต
ใส่ใจ ขี้ขโมย ด้ือ แล้วกค็ บผู้ชายไมเ่ ลือกหน้า จน ยังมีอีกรายหนึ่งนะ พ่อแม่ไม่ได้แยกทางกัน
กระท่ังติดเช้ือ HIV และพอเช้ือลามก็กลายเป็น แตแ่ มไ่ มม่ เี วลาจะเลย้ี งลกู ตอ้ งทำ� มาหากนิ กส็ ง่ ลกู
เอดส์ ตอนท่ีนอนป่วยก็เรียกว่าเป็นคนไข้ที่ไม่ ให้ยายเล้ียง ยายก็เลี้ยงดี แต่ว่าไม่ค่อยได้เจอแม่

28 ๓๓

เหนิ หา่ งมาก ถงึ วนั ทต่ี วั เองปว่ ย แลว้ โรคกล็ กุ ลาม แต่กวา่ จะถึงตรงนน้ั ไม่ว่าจะมาปฏิบัติธรรม
จนถงึ ระยะสดุ ทา้ ย พอแมไ่ ดม้ าหามาเยยี่ ม แลว้ ก็ หรือไม่ เพียงแค่ได้ชื่อว่าเป็นคนดี ก็ต้องมีสิ่งนี้
มาดูแล มากอด ก็มีความสุขมาก คนป่วยที่ใกล้ คอื ความรกั ฉะนนั้ ถา้ เราอยากจะชว่ ยผอู้ นื่ เรมิ่ ตน้
ตายน่ี ถา้ มโี อกาสทจี่ ะมคี วามสขุ ความสขุ ท่ีมคี า่ ดว้ ยการใหค้ วามรกั แกเ่ ขา ไมต่ อ้ งนกึ ไปไกลตวั นะ
มากคอื การที่เขาไดร้ ับความรัก ความรักจากคน คนใกลต้ วั นแี่ หละ เชน่ ลกู หลาน หรอื บางทแี มแ้ ต่
ท่ีเขารักนมี้ ันมีความหมายต่อชวี ิตเขา ตอนน้นั ยา พ่อแม่ด้วย เพราะพ่อแม่บางคนท่ีขาดความรัก
ไมช่ ว่ ยแลว้ บางทมี อรฟ์ นี กไ็ มไ่ ดช้ ว่ ยดว้ ยซำ�้ แตส่ ง่ิ ต้ังแตเ่ ดก็ มาเป็นพ่อเปน็ แมก่ ็ไมส่ มบูรณ์ ใช้ความ
ท่ีช่วยทางจิตใจก็คือความรักของพ่อแม่ หรือคน รุนแรงกบั ลกู ด่าวา่ ลูก หรอื บางทีก็เอาเปรียบลูก
ใกล้ชดิ หรือแม้แตค่ วามรกั ของพยาบาล เรียกร้องจากลูกตลอดเวลา แบบน้ีก็มีอยู่นะ คน
เพราะฉะน้ัน การให้ความรักนั้น มันเป็น เหลา่ นข้ี าดความรกั ถ้าเราไมเ่ ข้าใจกจ็ ะเกิดความ
สิ่งที่ประเสริฐมากส�ำหรับผู้ป่วย เราซื้ออย่างอ่ืน เกลยี ดชงั เกดิ ความระอา แหนงหนา่ ย ซงึ่ ยง่ิ ทำ� ให้
ให้เขา เช่น ซื้อซุปไก่ ซื้อรังนกให้เขา มันยังไม่มี เขาแย่ยิ่งกว่าเดมิ
ความหมายเท่าการใหค้ วามรักแก่เขา โดยเฉพาะ อาจารย์พุทธทาสท่านบอกว่า หัวใจของ
อยา่ งยิ่ง คนที่เปน็ พอ่ แมห่ รือวา่ คนที่เป็นลูก อันนี้ ศาสนาคอื รกั ผอู้ น่ื ยงิ่ เปน็ ศาสนาพทุ ธดว้ ยนะ รกั
กเ็ ปน็ การปฏบิ ตั ธิ รรมอยา่ งหนง่ึ นะ เปน็ การปฏบิ ตั ิ ผอู้ ่นื ไม่ต้องรักไกล เราเริ่มจากคนใกล้ตัว คนใน
ธรรมด้วยการให้ความรัก ท่ีจริงควรจะท�ำตั้งแต่ บา้ นนแี่ หละ แลว้ จะเปน็ พน้ื ฐานไปสกู่ ารรกั คนอนื่
ลกู ยงั เดก็ ยังเล็ก พอ่ แมก่ ็ปฏบิ ตั ธิ รรมดว้ ยการให้ คนไกลออกไปจนกระทงั่ รกั สรรพสัตว์ อย่างทีเ่ รา
ความรกั และความรกั ตอ้ งแสดงออกดว้ ยการให้ แผเ่ มตตากันทุกเชา้ ทกุ เยน็ สัพเพ สัตตา ...
เวลา หรอื มีเวลาให้ ไม่ใชใ่ ห้เงิน
มีคนบอกว่า “ความรัก” มันเขียนว่า สระ ท่ีมา : ปรารภธรรมหลังทำ� วัตรเย็น ที่วดั ปา่ สุคะโต อ.แกง้ ครอ้ จ.ชยั ภมู ิ
เอ วอ ลอ อา ความรักมันแสดงด้วยเวลา เม่ือ วันที่ ๒๔ มี.ค. ๒๕๖๑
ให้เวลากับเขา เขาก็เติมเต็ม จากความรักความ
อบอนุ่ ทำ� ใหเ้ ดก็ เจรญิ เตบิ โตมาเปน็ คนทมี่ สี ขุ ภาพ ทา่ นสามารถตดิ ตามอา่ นวารสารโพธยิ าลัยทกุ ฉบบั
จิตดี ถ้าสุขภาพจิตมีปัญหาจากการพร่องความ ย้อนหลงั ได้ทาง เว็บไซต์วัดจากแดง
รักความอบอุ่นนะ ในการปฏิบัติธรรมก็มีปัญหา www.watchakdaeng.com,
มีอุปสรรค เพราะเหมือนกับว่า ในเม่ือจิตใจยัง เวบ็ ไซตช์ มรมกัลยาณธรรม
ไม่ได้รับการเติมเต็มอะไรเลย จะท�ำอะไรให้ดี www.kanlayanatam.com,
ขน้ึ ไปกว่านั้นกย็ าก เม่อื ได้รบั การเตมิ เตม็ อาจจะ
ไม่ได้รับจากพ่อแม่ แต่จะได้รับจากคนรอบข้าง Line Official id : @kanlayanatam และ
จนกระทั่งรู้สึกเห็นค่าของตัวเอง มีความภูมิใจ Facebook Page : Kanlayanatam
มีความม่ันใจในตัวเอง ในการปฏิบัติธรรม เจริญ
สติ หรอื วา่ การเจรญิ กรรมฐานกจ็ ะกา้ วหนา้ ไดง้ า่ ย ขออนุโมทนาบญุ ผ้รู ่วมจัดพิมพ์วารสารฉบับน้ี
๑. ชมรมกัลยาณธรรม
๒. คุณจิรวรรณ ศริ จิ ติ ร และครอบครวั
๓. คณุ สุวพร หทัยสุทธธิ รรม และครอบครวั
๔. คุณพ่อวชั ระ - คุณแมท่ องสกุ โลทารักษพ์ งศ์
๕. คุณณรงคฤ์ ทธิ์ อุปถัมภ์ และครอบครวั

29

ธรรมรำ� ลึก

๑๐๐ ปี พระ โ พอาธจิญริยบาูชณา สวุ ัณณฉายา

เถร
ณ วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี

เม่ือวันท่ี ๑๓ - ๑๗ ม.ค. ๒๕๖๑ ข้าพเจ้า เม่ือลอ้ รถคอ่ ยๆ ชะลอความเรว็ ลง เหมอื นมี
ได้มีโอกาสไปร่วมงานอาจริยบูชาหลวงปู่ชา บางอย่างก้ันขวางอยู่ภายหน้า เม่ือเข้าสู่เขตถนน
สุภัทโท ซ่ึงบรรดาลูกศิษย์ได้จัดข้ึน เพ่ือร�ำลึก บริเวณภายนอกวัด สิ่งนั้นหาใช่อะไรไม่ คือหมู่
ถึงวันคล้ายวันละสังขารของท่าน เมื่อวันท่ี ๑๖ มนุษย์และยวดยานพาหนะจ�ำนวนมาก สัญจร
มกราคม ๒๕๓๕ กันขวักไขว่ไปมา มีร้านรวงตั้งเรียงราย รถจอด
ท่ีข้าพเจ้าเขียนนี้ ก็เป็นแค่บันทึกธรรมดาๆ เรียงแถวตลอดแนวเส้นทาง ผู้คนโดยมากสวม
มากกว่า หาได้มีหลักเกณฑ์ หรือส�ำนวนอัน ชุดขาวซึ่งตัดกับสีเขียวขจีของต้นไม้ และก�ำแพง
แพรวพราวไม่ เขียนตามความรู้สึกท่ีได้พบเจอ สูงตระหง่านในช่วงฤดูหนาว ประหน่ึงจับโลก
และนำ� มาเลา่ สกู่ นั ฟงั ใหท้ า่ นผอู้ า่ นไดเ้ หน็ ในมมุ ท่ี ๓ ใบมารวมอยู่ที่เดียวกัน คือ โลกมนุษย์ โลก
ขา้ พเจ้าเหน็ แห่งเคร่ืองจักร และโลกแห่งธรรมชาติ ๓ สิ่งน้ี
แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่ท�ำไมจึงมารวมตัวกัน
อยทู่ น่ี ไ่ี ด ้ อะไรคอื แรงผลกั ดนั รวมทงั้ ตวั ขา้ พเจา้ เอง
เหตใุ ดจงึ หอบสงั ขารมา ณ ทีแ่ ห่งน้ีได้ และสง่ิ นั้น
ก็คือ ศรัทธา ถึงแม้ผู้คนที่มารวมตัวกันที่น่ีจะมี

30 ๓๓
ความแตกต่างกันในด้านต่างๆ แต่ทุกคนมีสิ่ง การฟงั คำ� สอนของครูบาอาจารย์ แล้วนำ� ไป
เดียวกันคือ ศรัทธา จึงมารวมตัวกันที่นี่ การมี ประพฤตปิ ฏบิ ตั จิ งึ จะเกดิ ผล ฟงั อยา่ งเดยี วไมน่ าน
ศรัทธาในพระรัตนตรัย ย่อมน�ำพาตนให้พ้นจาก ก็ลมื ไม่ได้ประโยชน์เทา่ ท่คี วร
ทกุ ข์ได้ อนโุ มทนากบั หลวงปชู่ าทท่ี า่ นไดว้ างรากฐาน
การปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะเป็นสมถะหรือ การปฏิบัติธรรมโดยการปฏิบัติให้เป็นแบบอย่าง
วิปัสสนาให้เกิดผลดีน้ัน ส่วนหนึ่งต้องอาศัยค�ำ เป็นตวั อยา่ งของการปฏิบตั ติ ามศีล สมาธิ ปญั ญา
แนะนำ� จากครบู าอาจารยท์ ม่ี คี วามรคู้ วามสามารถ เนน้ การปรารภความเพยี ร การฝกึ จติ ใหเ้ กดิ สมาธิ
คอยแนะนำ� บอกสอนเทคนคิ ตา่ งๆ เพอื่ ใหผ้ ปู้ ฏบิ ตั ิ พัฒนาจิตใจเพ่ือความพ้นทุกข์อย่างแท้จริง โดย
สามารถปฏบิ ัตไิ ดโ้ ดยสะดวก และผปู้ ฏิบัตจิ ำ� ต้อง อาศยั สภาพแวดลอ้ มอนั เปน็ ธรรมชาตปิ า่ เขา พนื้ ที่
มีการได้ยินได้ฟัง หรือศึกษาธรรมะอย่างมีความ เงยี บสงบ ไม่เกลือ่ นกล่นด้วยผู้คน ปฏิบัตเิ พ่อื การ
ถูกตอ้ งด้วย การปฏิบตั ิจงึ จะมปี ระสทิ ธิภาพ สละ หาใช่เพ่ือส่ังสม สรา้ งพระใหเ้ ปน็ พระ สรา้ ง
เสียงระฆังดังข้ึน ช่วงเวลาประมาณตี ๓ ชาวพุทธใหเ้ ป็นชาวพทุ ธ ตนสอนตนได้แล้ว และ
ท�ำลายความเกียจคร้าน ความง่วงเหงาหาวนอน สอนผู้อื่นให้รู้ตามดว้ ย นับวา่ เป็นตัวอย่างท่ดี ี ให้
ลุกข้ึนมาปรารภความเพียร ท�ำวัตร สวดมนต์ สาธุชนรุ่นหลังได้ยึดถือเป็นแบบอย่าง เพ่ือได้ลิ้ม
นงั่ สมาธิ อยา่ งพร้อมเพรยี งกนั จนถงึ เวลาใกล้รุ่ง ธรรมรสแหง่ ความเป็นบรรพชติ
หมู่ภิกษุหลายร้อยรูปท�ำข้อวัตร เตรียมตัวออก
บณิ ฑบาตโปรดผใู้ จบญุ รอบวดั ในแตล่ ะสาย ตาม
หมู่บ้านต่างๆ ญาติโยมก็เตรียมใส่บาตรเป็น
จ�ำนวนมาก ซ่งึ เป็นภาพท่ีก่อใหเ้ กดิ ความเลือ่ มใส
ศรทั ธาเปน็ อยา่ งยงิ่ ภายในบรเิ วณวดั ญาตโิ ยมเหน็
พระภิกษเุ ดินผา่ น ก็น่ังพบั เพียบลงกบั พ้ืน หมอบ
กราบอยา่ งออ่ นนอ้ ม ถา้ หากไรซ้ ง่ึ ศรทั ธา และมไิ ด้
ถกู อบรมมาเปน็ อยา่ งดไี ซร ้ กม็ อิ าจทำ� กริ ยิ าอนั งาม
เชน่ น้ไี ด้

สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี ความพร้อมเพรียง
แห่งหมู่คณะน�ำมาซ่ึงความสุข จะเห็นได้ชัดเจน
ที่หนองป่าพงเมื่อกลับจากบิณฑบาต ภัตตาหาร
จดั เรยี งกนั อยา่ งเปน็ ระเบยี บ พระสงฆจ์ ำ� นวนมาก
เรียงเป็นแถวๆ พจิ ารณาอาหาร พระเปน็ ร้อยรปู
อาหารก็มากมาย แต่ใช้เวลาพิจารณาไม่นานเลย
ดสู งบเรยี บร้อย และน่งั ฉนั ตามอาสนะของตนๆ

๓๓ 31

ของท่าน ท�ำให้จิตเกิดความเล่ือมใสพร้อมกับ
ความตื่นเตน้ เดนิ เวยี นประทกั ษิณ วางดอกไม้ท่ี
พระเจดีย์ เป็นเหตุการณ์ที่น่าประทับใจ เห็นถึง
แรงศรัทธาของชาวพุทธท่ีเข้มแข็ง และน�ำมาซึ่ง
ก�ำลังใจต่อการประพฤติปฏิบัติธรรมเพ่ือพ้นจาก
ทุกข์ในสังสารวัฏ ได้พบได้เห็นสมณะผู้ทรงศีล
ได้ยินได้ฟังพระสัทธรรมอันประเสริฐ ได้เจริญ
สมถวิปัสสนา นบั วา่ เปน็ กุศลอย่างมากมายย่งิ
นี่ก็เป็นเหตุการณ์ที่ข้าพเจ้าได้พบเห็นและ
ชว่ งกลางวนั จะเปน็ การฟงั ธรรมจากพระมหา เป็นส่วนหน่ึงในหน้าประวัติศาสตร์แห่งอาจริย-
เถระทีเ่ ป็นศิษยท์ ันหลวงปู่ และการเจริญภาวนา บชู า ๑๐๐ป ี หลวงปชู่ า สภุ ทั โท แหง่ วดั หนองปา่ พง
ตลอดวัน ช่วงบ่ายมีการแจกน้�ำปานะ (ซ่ึงวันละ ไดน้ ำ� มาฝากทกุ ทา่ นอยา่ งจรงิ ใจ สง่ิ หนง่ึ สง่ิ ใดลว้ น
คร้ังเท่าน้ัน) ที่ศาลาหลังเดียวกับท่ีใช้สวดมนต์ เกิดข้นึ ต้งั อยู่ และดับสลายไป ขอให้ทุกท่านจง
และฉนั ภัตตาหาร ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท จงยังกิจของตน และ
ทั่วผืนป่าภายในบริเวณวัด มีกลดและเต็นท์ ของท่านให้ถึงพร้อม น้อมน�ำค�ำสั่งสอนของท่าน
ของผู้มาปฏบิ ัติ เปน็ การอยูอ่ ย่างเรียบงา่ ย รบั ผิด ผู้รู้ไปปฏิบัติ เพ่ือบรรลุธรรมตามรอยพระอริย-
ชอบตัวเอง ไม่จ�ำเป็นต้องมีสิ่งใดมาก อยู่อย่าง เจา้ ทง้ั หลาย ในกาลอนั ใกล้ ดว้ ยกนั ทกุ คนทกุ ทา่ น
สันโดษก็ท�ำให้ชีวิตเป็นสุขได้ ซ่ึงพ้ืนท่ีป่าในวัด ส่ิงท่ีข้าพเจ้าได้พบเห็น และน�ำมาแบ่งปัน
สามารถรองรับผู้คนนับหมื่นท่ีมาร่วมงานได้ มอง พวกทา่ นตามกำ� ลงั ปัญญาอันนอ้ ยนดิ ของตน ผิด
เห็นคนกับป่าอยู่ร่วมกันอย่างสงบ ก็ท�ำให้เกิด พลาดประการใด ขา้ พเจ้าขออภยั และนอ้ มรับไว้
ความเล่ือมใส มนุษย์ไม่ได้เกิดมาเพื่อท�ำลาย แต่เพียงผู้เดียว และขอให้ทุกท่านจงยินดีในการ
ธรรมชาติ แตเ่ กิดมาเพอื่ เขา้ ใจธรรมชาติ ฝึกตน
วันท่สี ำ� คญั ทสี่ ุด กค็ งเป็นวนั ประทักษณิ บูชา
เครื่องสักการะพระเจดยี ์หลวงปู่ ซึง่ เป็นวนั คล้าย
วันมรณภาพของท่าน พระสงฆร์ วมตัวกันท่ศี าลา
จำ� นวนนบั รอ้ ยรปู ถอื ดอกไมธ้ ปู เทยี น จดั แถวเดนิ
มงุ่ ไปยงั พระเจดยี ์ รอบขา้ งทางมอี บุ าสกอบุ าสกิ า
น่งั พนมมือด้วยอาการส�ำรวมกนั เนอื งแน่น มีการ
ถา่ ยทอดสด ทงั้ ภาษาไทย และภาษาตา่ งประเทศ
กลุ่มพระภิกษุสามเณรอยู่ข้างหน้า ถัดมาจะเป็น
กล่มุ อุบาสกอุบาสิกา
ผคู้ นมารวมตวั กนั อยทู่ นี่ ี่ เปน็ จำ� นวนนบั หมน่ื
คน เป็นพลังแห่งศรัทธา น้อมร�ำลึกถึงพระคุณ

32

ปัญญาปริทศั น์

ธรี ปัญโญตอน

มฆมาณพ๓๓ ๑ธรรมะ
ตลอด ๓ ปที ผ่ี า่ นมาน้ี ปรากฏการณท์ ปี่ รากฏ ในทางพระพทุ ธศาสนา แมเ้ ราจะไมส่ ามารถรไู้ ดว้ า่
ข้ึนแล้วแผ่กระจายไปท่ัวโลกก็คือ วารสารต่างๆ วารสารนจี้ ะคงความเปน็ อกั ขระ (ไมส่ น้ิ ) หรอื เปน็
ดูท่าจะค่อยๆ ทยอยกันล้มหายตายจาก ร่�ำลา อมระ (ไม่ตาย) สมอย่างชื่อสวรรค์ไปได้อีกนาน
วงการหนงั สอื สง่ิ พมิ พไ์ ปทลี ะเลม่ สองเลม่ คนสมยั เทา่ ไรกต็ าม แตฉ่ บบั นกี้ เ็ หน็ สมควรจะนำ� เรอ่ื งของ
ใหม่จ�ำนวนไม่น้อยเลิกอ่านวารสารในรูปแบบท่ี ธรรมะ ๓๓ มาพดู คยุ เลา่ สกู่ นั ฟังสกั หน่อยหนง่ึ
เปน็ หนงั สอื กนั แลว้ แตห่ นั ไปอา่ นในโทรศพั ทห์ รอื
ในแทป็ เลตแทน ถงึ อยา่ งนน้ั วารสารโพธยิ าลยั กไ็ ด้ ท่านผู้อ่านคงจะเคยได้ยินเร่ืองของสวรรค์
ทยอยออกมาสู่สายตาของท่านผู้อ่าน (ซึ่งอาจจะ ช้ันน้ีในทางพุทธศาสนากันมาบ้างแล้ว ท่านเคย
ช่วยถนอมสายตากว่า) เป็นประจ�ำทุกเดือนมา สงสัยเหมอื นอยา่ งผู้เขียนบ้างไหมว่า :
เปน็ เวลาเกอื บสามปี ฉบบั ทที่ า่ นถอื อยนู่ ้ี กไ็ ดม้ าถงึ - ท�ำไมสวรรค์ช้ันนี้จึงต้องมีช่ือเป็นตัวเลข
ฉบับท่ี ๓๓ แลว้ ซ่งึ ถา้ เรียกเป็นภาษาบาฬีก็ต้อง วา่ ดาวดงึ ส์ (ซงึ่ แปลวา่ ๓๓) ชอื่ นนั้ จะมคี วามหมาย
เรยี กว่า ฉบบั ‘ตาวติงสะ’ อันถอื เป็นฉบับพิเศษ เป็นอะไรได้บ้าง ? (ในเม่ือตัวเลขอื่นก็มีตั้งเยอะ
เพราะช่ือตาวติงสะ หรือดาวดึงส์ในภาษาไทยนี้ ต้ังแยะ ท�ำไมตอ้ งมาเลอื กเอาชือ่ ๓๓ มาตงั้ เป็น
เปน็ ชอ่ิื ของชน้ั สวรรคท์ มี่ บี ทบาทสำ� คญั อยา่ งมาก ชื่อสวรรคด์ ว้ ย)

๓๓ 33

- ท�ำไมธรรมเนียมของพระพุทธเจ้าต้อง ผู้มีอัปปมาทปฏิปทา จนได้ถึงความเป็นใหญ่
เสดจ็ ขนึ้ มาแสดงธรรมท่ีสวรรคช์ ้นั ดาวดงึ ส์ ? (พระอินทร์) เสวยราชย์ในเทวโลกทั้ง ๒ (คือชั้น
- ชื่อของเทพท้ัง ๓๓ องค์ ที่อยู่บนช้ัน จาตุมหาราชิกา และ ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งอยู่บนเขา
ดาวดงึ ส์นน้ั มีชื่ออะไรกันบ้าง ? สเิ นรเุ หมอื นกัน) แม้การบรรลคุ ณุ วิเศษซ่ึงจะเป็น
- ท�ำไมช้างทรงของพระอินทร์จึงมีชื่อว่า โลกยิ ะหรอื โลกุตตระกต็ ามที ทง้ั หมดนั้นจะมไี ดก้ ็
เอราวณั ? ตอ้ งอาศยั ความไมป่ ระมาทนที้ งั้ สนิ้ จากเรอ่ื งนี้ เรา
- ท�ำไมมวยผมของพระโพธสิ ตั ว์ จงึ ถูกเกบ็ จะมาสนั นษิ ฐานกันดซู วิ ่า เลข ๓๓ นี้ จะสามารถ
ไว้ที่สวรรค์ชัน้ ดาวดงึ ส์ ? แปลวา่ อะไรได้บ้าง
- มฆเทวะ มฆมาณพ มฆวาน คือใคร
สัมพนั ธ์กนั อยา่ งไร ?
- ท�ำไมสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาและ
ดาวดงึ ส์ ต้องอยู่บนเขาสิเนรุ ?
- ท�ำไมต้องเป็นพระอภิธรรม ท่ีพระพุทธ-
องค์ทรงแสดงแก่เทวดา บนยอดเขาสุเมรุ ?
- ท�ำไมพระพุทธองค์จึงเสด็จไปในสวรรค์
ชั้นดาวดึงส์ ในพรรษาที่ ๗ ?
- ท�ำไมพระอินทร์ต้องมีพระชายาต้ังสี่องค์
ชือ่ ของชายาแตล่ ะองคน์ ั้น ส่อื ความหมายอะไร ? มฆมาณพ
- มฆมาณพ มคั คภาวนา มาฆบูชา มคี วาม ประวตั มิ ฆมาณพ (อดีตชาติของพระอินทร)์

เก่ียวข้องกันอย่างไร ? อปฺปมาเทน มฆวา เทวานํ เสฏฐตํ คโต
- ท�ำไมต้องเป็นพระทาฐธาตุ (พระเขี้ยว อปปฺ มาทํ ปสสํ นตฺ ิ ปมาโท ครหโิ ต สทา’ ติ
แกว้ ) ขา้ งขวาบน ทถี่ กู น�ำไปเกบ็ ไวท้ ชี่ น้ั ดาวดงึ ส์ ? ทา้ วมฆวาน ถงึ ความเปน็ ผปู้ ระเสรฐิ กวา่ เทพดา
บทความเร่ืองธรรมะ ๓๓ ท้ังส่ีตอนต่อไปน้ี ท้งั หลาย กเ็ พราะความไมป่ ระมาท
จะพาทา่ นผอู้ า่ นไปศกึ ษาคาถาทม่ี า นทิ านตน้ เรอื่ ง เหล่าบัณฑิตย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท
นยั สำ� คญั ของตวั เลข ความรทู้ างอภธิ รรม และการ ความประมาท อนั ผรู้ ูท้ ง้ั หลายตเิ ตยี นทกุ เมื่อ
วิเคราะห์ทางภาษาบาฬี เพ่อื นำ� เสนอแนวทางใน พระพุทธองค์ตรัสพระคาถาน้ีแล้วก็น�ำนิทาน
การทำ� ความเขา้ ใจ แลว้ หวงั วา่ ทา่ นไดอ้ า่ นแลว้ จะ (ภาษาบาฬีแปลวา่ เหต)ุ น้ีมาตรสั ขยายความวา่ :
สามารถกลบั มาตอบค�ำถามเหล่านี้ได้ดว้ ยตนเอง ในอดีตกาล มีมาณพช่ือว่า มฆะ เกิดใน

ก่อนอ่ืนต้องมาท�ำความเข้าใจกับเร่ืองราว หมบู่ า้ นอจลคาม ในแควน้ มคธ มนี สิ ยั ชอบใหท้ าน
ประวัตขิ องชื่อตาวติงสะหรอื ๓๓ น้ี ที่มาในคาถา รักษาศีลอยู่เป็นนิตย์ พอใจแผ้วถางภูมิประเทศ
ธรรมบทท่ีเป็นพระพุทธภาษิตกันก่อน โดยต้น ท�ำทาง เกล่ยี พื้นท่ี สรา้ งสาธารณประโยชน์ (ตรง
เรื่องมาจากการที่พระพุทธองค์ตรัสอานิสงส์ของ กับจิตอาสานักพัฒนาท้องถ่ินในสมัยปัจจุบัน)
ความไมป่ ระมาท แลว้ ทรงเลา่ เร่ืองของมฆมาณพ มีคนอ่ืนมาแย่งท่ีก็ไม่โกรธ เห็นคนอ่ืนมีสุข ตน

34 ๓๓

ก็สุขไปด้วย ชักชวนเพื่อนๆ ได้ รวมเป็นสหาย
๓๓ คน ท�ำการพัฒนาท้องถ่ินใหเ้ ปน็ รมณียสถาน
ทั่วๆ ไป และยังชักชวนให้ชาวบ้านรักษาศีล ๕
ด้วย นายบ้านเห็นว่าตนจะเสียผลประโยชน์จาก
การขายสุราและอบายมุขต่างๆ จึงเรียกมาตัก
เตอื นใหเ้ ลกิ มฆมาณพและสหายเหน็ วา่ นเี่ ปน็ การ ภรรยาทั้ง ๔ ของมฆมาณพ
ท�ำทางไปสสู่ วรรคข์ องตน จงึ ไมย่ อมเลกิ นายบา้ น มฆมาณพมีภรรยา ๔ คน คือ นางสนุ ันทา
โกรธจึงไปฟ้องพระราชาว่าพวกนี้เป็นโจรกบฏ สจุ ติ ตา สธุ มั มาและสชุ าดา บรรดาหญงิ ๔ คนนน้ั
พระราชามไิ ดพ้ จิ ารณาไตส่ วน มรี บั สง่ั ใหจ้ บั มาทงั้ นางสุธัมมาอยากมีส่วนในบุญด้วย จึงติดสินบน
๓๓ คน แลว้ รับส่งั ให้ปล่อยชา้ งไปเหยยี บให้ตาย นายชา่ งไมใ้ หช้ ว่ ยใหต้ นไดเ้ ปน็ ใหญใ่ นศาลาน้ี นาย
หมด มฆมาณพได้ให้โอวาทแก่สหายทั้งหลายไม่ ชา่ งไมน้ น้ั รบั คำ� แลว้ ไดต้ ากไมส้ ำ� หรบั ทำ� ชอ่ ฟา้ ให้
ใหโ้ กรธ แตใ่ หแ้ ผเ่ มตตาจติ ไปยงั พระราชานายบา้ น แหง้ แล้วถากใหเ้ รียบ สลักอักษรว่า สธุ ัมมศาลา
ชา้ ง และตนเอง ใหเ้ สมอเทา่ กนั ทงั้ สฝี่ า่ ย เมอื่ มฆะ ทไ่ี มน้ นั้ แลว้ เอาผา้ พนั เกบ็ ไว้ ครน้ั สรา้ งศาลาเสรจ็
และสหายได้ปฏิบัติอยู่อย่างนั้น ช้างจึงไม่ท�ำ แล้ว ในวันยกช่อฟ้า ช่างไม้จงึ กล่าวกับ ๓๓ คน
อนั ตราย พระราชาทรงรบั ทราบแล้ว ทรงดำ� รวิ า่ น้ันว่า ลืมท�ำช่อฟ้าไว้ จะใช้ไม้ที่ตัดเดี๋ยวนี้ก็ไม่ได้
ชา้ งคงจะเหน็ คนมากจงึ ไมท่ ำ� อนั ตราย จงึ รบั สง่ั ให้ ต้องได้ไม้ช่อฟ้าแห้งท่ีเขาตัดถากเก็บไว้ก่อน มฆ-
ใช้เส่ือล�ำแพนปูปิดทับพวกเขาเสียก่อน แต่ช้าง มาณพและพวกจงึ ชว่ ยกนั แสวงหา มาเหน็ ในเรอื น
ก็ยังไม่ยอมเหยียบ ถอยกลับแต่ไกล สุดท้าย ของนางสุธมั มา จงึ ขอซอ้ื ด้วยทรัพย์พันหนึ่ง นาง
พระราชากลบั ทรงดำ� รขิ น้ึ มาไดว้ า่ นา่ จะมเี หตบุ าง กไ็ มย่ อมขาย แต่ขอมีสว่ นรว่ มในการทำ� บุญสร้าง
อย่าง จึงเรียกมฆมาณพและพวกเข้าไปสอบถาม ศาลาดว้ ย ๓๓ สหายไม่ยอม ชา่ งไม้เกลยี้ กล่อมว่า
พอพระราชาได้สดับรับทราบเรื่องจริงก็มีจิต “ยกเว้นพรหมโลกแล้ว ไม่มีสถานท่ีไหนที่เว้น
โสมนสั ขอโทษมฆมาณพและสหาย แลว้ สงั่ ปลด จากมาตุคามได”้ ขอใหร้ บั เอาช่อฟ้า เพอ่ื ให้งาน
นายบ้านออกจากต�ำแหน่ง ลงโทษให้เป็นทาส สรา้ งศาลาสำ� เรจ็ เถดิ พวกเขาจงึ ยอมรบั เอาชอ่ ฟา้
ของมฆะและพวก และได้พระราชทานช้างน้ัน น�ำมาสร้างศาลาให้เสร็จ แล้วแบ่งเป็น ๓ ส่วน
ให้เป็นพาหนะ พร้อมทั้งทรงแต่งต้ังให้มฆมาณพ ส่วนหน่ึงสร้างเป็นที่ส�ำหรับอยู่ของพวกอิสรชน
ข้ึนเป็นนายบ้านแทน สว่ นหนง่ึ สำ� หรบั คนเขญ็ ใจ สว่ นหนง่ึ สำ� หรบั คนไข้
เมือ่ มฆะและสหายรวม ๓๓ คน ไดพ้ ้นโทษ สหาย ๓๓ คน ให้ปูไม้กระดาน ๓๓ แผ่น
ออกมา ก็ย่ิงเห็นอานิสงส์ของบุญ มีจิตใจผ่องใส ไว้ท่ีศาลา แล้วให้สัญญาแก่ช้างว่า ถ้าผู้เป็นแขก
จึงคิดจะท�ำบุญให้มากยิ่งๆ ข้ึนไปอีก จึงพากัน อาคันตุกะมานั่งบนแผ่นกระดานของผู้ใดก็ให้พา
วางแผนสร้างศาลาที่พักมหาชนบนทางส่ีแพร่ง เขาไปพักที่เรือนของผู้น้ัน และให้ผู้น้ันเลี้ยงดูปู
โดยเรยี กนายชา่ งมามอบหมายงาน แตม่ คี วามเหน็ เสอ่ื รบั รองอาคนั ตกุ ะนน้ั ดว้ ย นายมฆะเองปลกู ตน้
ตรงกันว่า ควรห้ามมาตคุ าม (ผู้หญิง) เขา้ มามี ทองหลางไว้ต้นหนง่ึ ไม่หา่ งจากศาลา แล้วปูแผ่น
สว่ นในการสรา้ งศาลาน้ัน ศิลาไว้ท่ีโคนต้นทองหลางนั้นด้วย พวกที่เข้าไปสู่

๓๓ 35

ศาลา แลดูชอ่ ฟา้ อ่านตวั อักษรแลว้ ยอ่ มพดู กนั วา่ มาตาเปตภิ ร๑ํ ชนฺตุํ กุเล เชฏฺฐาปจายินํ๒
ศาลาชื่อสุธัมมา ชอ่ื ของชน ๓๓ คนไมป่ รากฏ สณฺหํ สขิลสมภฺ าส๓ํ เปสเุ ณยฺยปฺปหายินํ๔
นางสุนันทาคิดว่า พวกน้ีเม่ือท�ำศาลา ไม่ยอมให้ มจเฺ ฉรวนิ เย ยตุ ฺต๕ํ สจจฺ ํ๖ โกธาภภิ ๗ุํ นรํ
พวกเรามีส่วนบุญด้วย แต่นางสุธัมมาก็ใช้อุบาย ตํ เว เทวา ตาวตสึ า อาหุ “สปปฺ ุริโส อิติ
ท�ำช่อฟ้าเข้าร่วมมีส่วนจนได้ เพราะความฉลาด เลยี้ งดมู ารดาบดิ า๑ เคารพผใู้ หญก่ วา่ ในตระกลู ๒
ของตน เราก็ควรจะท�ำอะไรๆ บ้าง จงึ คิดวา่ ควร เอย่ วาจา ออ่ นหวาน เกอ้ื กลู ๓
ให้ขุดสระโบกขรณีเพื่อพวกท่ีมาสู่ศาลาจะได้ดื่ม ไมป่ ากปนู สอ่ เสยี ด ใครๆ๔
ได้อาบน้�ำ ส่วนนางสุจิตตาคิดว่า นางสุธัมมาได้ ใหท้ าน ไม่ตระหน๕ี่ กลา่ วคำ� ทส่ี ัจจะ จรงิ ใจ๖
ใหช้ ่อฟ้า นางสนุ ันทาได้สร้างสระโบกขรณี เราก็ ระงบั โกรธโทษภยั ๗ ดาวดงึ สถ์ งึ ได ้ ดว้ ย ๗ วตั ตบท
ควรสรา้ งอะไรๆ บา้ ง จงึ ได้มคี วามคดิ วา่ ในเวลา พระอนิ ทรฯ์
ท่ีพวกชนมาสู่ศาลา ด่ืมน้�ำอาบน�้ำแล้ว ควรจะ ในเวลาส้ินชีวิต ได้ไปเกิดเป็นท้าวสักกเทว-
ได้ประดับระเบียบดอกไม้แล้วจึงไป นางจึงได้ให้ ราช ในภพดาวดึงส์ ส่วนสหายของเขาเหล่าน้ัน
เขาสร้างสวนดอกไมอ้ นั นา่ รนื่ รมย์ เป็นทีร่ วมของ กไ็ ปเกดิ ในที่นน้ั เหมอื นกนั
ตน้ ไม้ ดอกไม้ และผลไม้ทกุ ชนิด ฝา่ ยนางสุชาดา เทวาสรุ สงคราม
คิดว่า เราเป็นท้ังลูกลุงของนายมฆะและเป็นทั้ง
ภรยิ า กรรมทนี่ ายมฆะทำ� กเ็ ปน็ ของเราเหมอื นกนั ในกาลนั้น พวกอสูรอยู่ในภพดาวดึงส์บน
กรรมทเ่ี ราทำ� กเ็ ปน็ ของนายมฆะดว้ ย ดงั นแ้ี ลว้ ไม่ เขาสิเนรุมาก่อน (ซึ่งตอนน้ันคงจะยังไม่เรียกว่า
ท�ำอะไรๆ มัวแต่แต่งหน้าแต่งตัวของตนเท่านั้น ดาวดึงส์ เพราะดาวดึงส์ แปลว่า ๓๓ นา่ จะได้ช่ือ
ปลอ่ ยเวลาใหผ้ า่ นพ้นไปดว้ ยความประมาท ตอนมฆมาณพและสหาย ๓๓ คน ไปเกิด) อสูร
เหลา่ นนั้ คดิ วา่ เทพบตุ รใหมๆ่ มาเกดิ แลว้ จงึ เตรยี ม
เลย้ี งนำ้� สรุ าทพิ ย์ ทา้ วสกั กะ (ความทเ่ี คยชนิ กบั การ
รักษาศีล ๕) จึงได้ทรงนัดหมายแก่สหายของ
พระองคว์ ่ามใิ หใ้ ครๆ ดมื่ พวกอสรู ดืม่ น�้ำทิพยเ์ มา
กันหมดแล้ว ท้าวสักกะทรงให้ช่วยกันจับเท้าท้ัง
๒ ของพวกอสรู เหลา่ นนั้ เหวย่ี งลงไปในมหาสมทุ ร
อสูรเหลา่ นนั้ มีศีรษะปกั ด่งิ ตกลงไปในสมทุ รแลว้
แตด่ ว้ ยอานภุ าพแหง่ บญุ เกา่ ของพวกอสรู นน้ั อสรู
วิมานจึงได้เกิดขึ้นที่เชิงเขาสิเนรุ เมืองนี้มีขนาด
เดียวกับดาวดึงส์ มีสิ่งต่างๆ คล้ายคลึงกัน เช่น
ฝา่ ยนายมฆะ บำ� เพ็ญวตั ตบท ๗ คอื บำ� รงุ ดาวดึงส์มีต้นปาริฉัตตก์ อสูรภพน้ีก็มีต้นไม้ช่ือ
มารดาบิดา ๑ ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ใน จติ ตปาตลิ (ไมแ้ คฝอย) จนพวกอสรู เองกเ็ ขา้ ใจวา่
ตระกูล ๑ พูดค�ำสัตย์ ๑ ไม่พูดค�ำหยาบ ๑ ไม่ อสุรบุรีเป็นเมืองเก่าของตนคือดาวดึงส์ ต่อเม่ือ
พูดส่อเสียด ๑ ก�ำจัดความตระหนี่ ๑ ไม่โกรธ ตน้ จติ ตปาตลอิ อกดอกนน่ั แหละ จงึ ทราบวา่ ไมใ่ ช่
๑ ถงึ ความเปน็ ผคู้ วรสรรเสรญิ ตามพระบาลีว่า : ชัน้ ดาวดึงส์เสียแลว้ พากันยกทพั กลับขนึ้ ไป เกดิ

36 ๓๓

สงครามระหวา่ งเทวดาและอสรู (เทวาสรุ สงคราม) มปี ระมาณ ๕๐๐ โยชน์ ไดเ้ กดิ แลว้ แกน่ าง ช่อื วา่
ต่างฝ่ายต่างก็ไม่มีใครเอาชนะใครกันได้โดยเด็ด สถานท่ีอ่ืนที่น่าปลื้มใจกว่าเทวสภานั้นย่อมไม่มี
ขาด เทพนครและอสรุ นคร จงึ ไดช้ ่ือว่า อยชุ ฌบรุ ี ในวันพระ มีการฟังธรรม ในท่ีนั้นนั่นเอง จน
(อยุธยา) “เมืองที่ไม่มีใครรบชนะ” ครั้งหน่ึงเม่ือ กระท่ังทุกวันน้ี ชนทั้งหลายเมื่อเห็นสถานที่อัน
พวกอสรู ปราชยั แลว้ พระอนิ ทรเ์ มอ่ื เขา้ สเู่ ทพนคร น่าปล้ืมใจในท่ีแห่งใดแห่งหน่ึงเข้าก็ยังกล่าวกัน
แวดล้อมแล้วด้วยหมู่เทพในเทวโลกชั้นจาตุมหา- อยวู่ า่ “ชา่ งเหมอื นเทวสภาชอ่ื สธุ มั มาเสยี นก่ี ระไร”
ราชและชนั้ ดาวดงึ ส์ (ถอื ไดว้ า่ ครองสวรรคท์ งั้ สอง ส่วนนางสุนันทาถึงแก่กรรมแล้ว ก็ได้ไปเกิดใน
ชัน้ ) ปราสาทนามว่า เวชยันต์ จึงเกดิ ขนึ้ ในทส่ี ดุ ภพดาวดึงส์น้ันเหมือนกัน มีสระโบกขรณีช่ือ
แห่งชัยชนะ ล้วนแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ ต้น สนุ นั ทา ประมาณ ๕๐๐ โยชน์ เกดิ แล้วแกน่ าง
ปารฉิ ตั ตก์ มปี รมิ ณฑล (แผไ่ ป) ๓๐๐ โยชนโ์ ดยรอบ นางสุจิตตาถึงแก่กรรมแล้ว ก็ได้ไปเกิดในภพ
เกิดขึ้นด้วยผลแห่งต้นทองหลาง บัณฑุกัมพล- ดาวดึงส์น้ันเหมือนกัน มีสวนช่ือจิตรลดา
ศิลา มีสีดังดอกชัยพฤกษ์สคี รัง่ และสีบัวโรย ทก่ี ึ่ง ประมาณ ๕๐๐ โยชน์ ท่ีพวกเทพดาพาเหล่า
แห่งพระวรกายยุบลงในเวลาประทับน่ัง ฟูขึ้น เทพบตุ รผู้มบี ุรพนิมติ เกิดแลว้ ใหห้ ลงเทีย่ วไปอยู่
เต็มที่อีกในเวลาเสด็จลุกขึ้น เกิดขึ้นแล้วท่ีโคนไม้ เกิดแล้วแก่นาง
ปาริฉัตตก์ ด้วยผลแห่งแผ่นศิลาท่ีเคยปูวางไว้ สว่ นนางสชุ าดา ถงึ แกก่ รรมแลว้ เพราะความ
บนโลกมนุษย์ ที่ไมเ่ คยได้ท�ำบุญอะไรๆ ไว้ วันๆ เอาแตแ่ ต่งหน้า
สว่ นชา้ งไปเกดิ เปน็ เทพบตุ รชอื่ เอราวณั จรงิ ๆ แต่งตัว จึงไปเกิดเป็นนางนกยางในซอกเขาแห่ง
แล้ว สัตว์ดิรัจฉานไม่มีในเทวโลก เพราะฉะนั้น หนึ่ง ได้ดูเงาตัวเองในน้�ำท้ังวัน ท้าวสักกะทรง
เฉพาะในเวลาท่ีท้าวสักกะและสหายเสด็จออก เสดจ็ ไปเตือนสติ และแนะนำ� ใหร้ ักษาศีล ๕ นาง
เพื่อประพาสอุทยาน เทพบุตรนั้นจึงจะจ�ำแลง นกยางรู้สึกส�ำนึก จึงต้ังใจรักษาศีล ๕ เท่ียว
ตัวเปน็ ช้าง นิรมิตกระพอง ๓๓ กระพอง เพ่ือชน หากินแต่ปลาที่ตายเองเท่าน้ัน ท้าวสักกะเพื่อ
๓๓ คน นิรมิตกระพองชือ่ สุทศั นะ ในท่ามกลาง ทรงประสงค์จะลองใจนาง จึงทรงจ�ำแลงเป็น
กระพองทงั้ หมด เพื่อท้าวสกั กะโดยเฉพาะ ปลาตายนอนหงายอยู่หลังหาดทราย นางเห็น
แม้นางสุธัมมา ถึงแก่กรรมแล้ว ก็ได้ไปเกิด ปลานั้นแล้ว ได้คาบเอา ด้วยส�ำคัญว่า ปลาตาย
ในภพดาวดงึ สน์ ้นั เหมือนกนั เทวสภาชอื่ สุธัมมา ในเวลาจะกลืน ปลากระดิกหาง ท�ำให้นางรู้ว่า
ปลาเป็น นางจึงปล่อยไปเสียในน้�ำ ท้าวสักกะ
ทรงทดลองอยา่ งน ี้ ครบ ๓ ครงั้ จงึ ทรงคนื รา่ งเดมิ
แล้วตรัสชมเชยการรักษาศีลของนาง และเตือน
ไมใ่ หป้ ระมาท แตน่ นั้ นางไดป้ ลาทต่ี ายเองบา้ ง ไม่
ไดบ้ า้ ง เมอ่ื ไมไ่ ดอ้ าหาร ลว่ งไป ๒ - ๓ วนั กซ็ บู ผอม
ท�ำกาละแล้ว ไปเกิดเป็นธิดาของนายช่างหม้อ
ในเมืองพาราณสี นางเป็นเด็กหญิงท่ีมีศีล ๕
มัน่ คง ตายจากภพน้นั ได้มาเกดิ เป็นธดิ าของทา้ ว

๓๓ 37

การไปเกดิ บนสวรรคไ์ วใ้ หอ้ ยา่ งแยบยล เปน็ เรอ่ื ง
ทแ่ี มแ้ ตเ่ ดก็ กเ็ ขา้ ใจไดไ้ มย่ าก แตเ่ มอ่ื ไดม้ าบวชเรยี น
ไดเ้ ขา้ มาศกึ ษาพระพทุ ธวจนะอยา่ งเปน็ ระบบ เรม่ิ
จากการศกึ ษาบาฬไี วยากรณใ์ หญ่ ทมี่ กี ารแยกธาตุ
แยกปจั จยั ใหเ้ ขา้ ถงึ ความละเอยี ดของความหมาย
ที่แฝงไว้ในศัพท์ ดังที่มีค�ำกล่าวว่า “พระบาฬีมี
อรรถเปน็ รอ้ ย คนรนู้ อ้ ยกไ็ ดแ้ คอ่ รรถเดยี ว” และ
ได้ศึกษาพระอภิธรรมควบคู่ไปด้วย ท�ำให้เข้าใจ
ความหมายทางสภาวธรรมของเรอื่ งนี้ ท่ีตอ้ งการ
ถา่ ยทอดมาส่คู นรุ่นเราได้อยา่ งล่มุ ลกึ มากย่ิงข้ึน

วิปจิตตะ ช่ือว่า อสูรกัญญา ตอนนางมาเกิดใน ที่จะกล่าวต่อไปนี้ จึงเป็นเพียงนัยหน่ึงที่จะ
อสรู บรุ นี น้ั นางมรี ปู รา่ งงดงาม เปน็ ทหี่ มายปองของ ขอนำ� รอ่ งลองวเิ คราะหใ์ หด้ เู ปน็ ตวั อยา่ ง ใครคดิ วา่
อสรู มากมาย แตด่ ว้ ยบพุ เพสนั นวิ าส นางกลบั เลอื ก เปน็ ประโยชน์ จะนำ� วธิ กี ารวเิ คราะหศ์ พั ทแ์ ละองค์
ทา้ วสกั กะทปี่ ลอมมาเปน็ อสรู แก่ (ชรสกั กะ) ในงาน ธรรมไปใชแ้ ยกแยะวเิ คราะหศ์ พั ทแ์ ละสภาวธรรม
พิธีสยุมพร (เลือกคู่) เมื่อท้าวสักกะทรงพานาง ในเรื่องอ่ืนๆ ซึ่งคิดว่ายังมีส่ิงดีๆ อีกมากมายใน
อสรู กญั ญาสชุ าดาไปเทพนครแลว้ กท็ รงสถาปนา พระไตรปฎิ กทร่ี อคอยใหพ้ วกเราเขา้ ไปศกึ ษา แลว้
ไวใ้ นตำ� แหนง่ หวั หน้านางอัปสร นางทูลขอพรต่อ น�ำนัยต่างๆ มาแบ่งปันกันให้ทุกคนได้ทราบด้วย
ท้าวสักกะว่า นางไม่มีมารดาบิดาหรือพ่ีน้องใน กจ็ ะเปน็ ประโยชนแ์ ละทำ� ใหก้ ารศกึ ษาธรรมะสนกุ
เทวโลกน้ี เมื่อพระองค์จะเสด็จไปในท่ีใดๆ ก็ขอ ยง่ิ ขนึ้ สว่ นการวเิ คราะหแ์ ยกศพั ทแ์ ละองคธ์ รรม
ให้พานางไปในที่น้ันๆ ด้วย นางจึงเป็นท่ีรักของ ทีจ่ ะกล่าวตอ่ ไป ไม่มีเขยี นไว้ในต�ำราไหนๆ เป็น
ทา้ วสักกะมาก จนท้าวสักกะเอง ได้รบั ขนานนาม อัตโนมติของผู้เขียนเอง ในการนี้ ต้องน�ำศัพท์
วา่ สุชัมบดี มาวิเคราะห์ใหม่ท้ังหมด ให้ประกอบกันได้กับ
พระศาสดาตรัสอัปปมาทปฏิปทาของมฆ- เร่ืองเล่าและให้ได้องค์ธรรมตามพระอภิธรรม
มาณพอยา่ งน,้ี แลว้ ไดต้ รสั อานสิ งส์ คอื การไดเ้ ปน็ คือใหเ้ ปน็ ไปในแนวเดยี วกนั จงึ จะสามารถเข้าใจ
ทา้ วมฆวาน (พระอนิ ทร)์ ผถู้ งึ ความเปน็ ผปู้ ระเสรฐิ คอนเซ็ปของเร่ืองราวได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนผู้ใด
กว่าเทพดาท้ังหลาย ได้เป็นใหญ่ในเทวโลกทั้ง ต้องการแยกศัพท์เป็นค�ำๆ ที่เขาเขียนอธิบายไว้
๒ และการจะได้บรรลุคุณวิเศษ ซึ่งเป็นโลกิยะ แล้วอย่างเป็นทางการ ก็สามารถเปิดดูได้ใน
และโลกตุ ตระ แม้ทง้ั หมด ก็เพราะอาศัยความไม่ พจนานกุ รมแยกศพั ท์ท่วั ไปได้
ประมาทนเี่ อง
ไดฟ้ งั เรอื่ งนีจ้ บแล้ว ร้สู ึกอย่างไรบา้ ง ผเู้ ขยี น มาดขู อ้ สงั เกตเหลา่ นก้ี ันก่อน
เองก็ชื่นชอบเรื่องน้ีมาก สมัยเด็กๆ ได้อ่านกลับ เร่อื งแรก เร่อื งช่อื ของสวรรค์ สวรรค์มที ้ังหมด ๖
ไปกลับมาอยู่หลายรอบ คิดว่าเรื่องนี้ให้คติเตือน ช้ันด้วยกนั มีชอ่ื จากลา่ งขึ้นบนดงั น้ี

ใจเราหลายๆ อย่าง และได้มอบปฏิปทาส�ำหรับ

38 ๓๓

ชนั้ ท่ี ๑) จาตุมหาราชิกา แต่ถ้าเราจะลองวิเคราะห์ให้ลึกลงไปกว่า
ชน้ั ท่ี ๒) ตาวตงิ สา (ไทยนยิ ม เรยี กวา่ ดาวดงึ ส์ เปน็ นนั้ ขอใหล้ องฟงั คำ� ตอบที่ได้จากมุมมองของการ
ท่มี าของค�ำว่า ดาว ในภาษาไทย ?) ศกึ ษาไวยากรณบ์ าฬีดบู ้าง วา่ จะเขา้ ทไี หม
ช้ันที่ ๓) ยามา
ช้นั ที่ ๔) ตุสติ า (ไทยเรยี ก ดุสติ ) ค�ำตอบนี้ ต้องอาศัยจินตนาการสักเล็กน้อย
ชน้ั ที่ ๕) นมิ มานรตี มารู้จักภาษาบาฬีกันก่อน ลองทายกันดูซิว่า
ช้นั ท่ี ๖) ปรนมิ มิตวสวัตตี ภาษาบาฬีนั้น มีพยัญชนะ (อักขระ) อยู่ท้ังหมด
ก่ตี ัว ?
สวรรคท์ ีม่ ฆมาณพไปเกดิ นั้น คือชัน้ ดาวดึงส์
ถามว่า ท�ำไมสวรรค์ช้ันนี้ต้องมีช่ือเป็นตัวเลข เฉลย พยญั ชนะบาฬี มที ัง้ หมด ๓๓ ตวั
วา่ ดาวดงึ ส์ (ซึ่งมาจาก ตาวตสึ ในภาษาบาฬีท่ี คอื ก ข ค ฆ ง เรียกวา่ ก วรรค
แปลว่า ๓๓) ? จ ฉ ช ฌ ย เรียกว่า จ วรรค
ถา้ อา่ นเรอื่ งขา้ งบนมา กจ็ ะตอบไดท้ นั ทวี า่ ก็ ฎ ฐ ฑ ฒ ณ เรียกว่า ฎ วรรค
เปน็ เพราะ มฆมาณพและพวกรวม ๓๓ คน ไปเกดิ ต ถ ท ธ น เรยี กว่า ต วรรค
ทนี่ นั่ จงึ ทำ� ใหม้ ชี อื่ อยา่ งนน้ั ถา้ วเิ คราะหศ์ พั ทต์ าม ป ผ พ ภ ม เรียกวา่ ป วรรค
พจนานุกรมท่วั ไป จะไดว้ า่ ย ร ล ว ส ห ฬ เรยี กวา่ เศษวรรค
เตตฺตึส ชนา นิพฺพตฺตนฺติ เอตฺถาติ เตตฺตึโส
ภพเปน็ ทเี่ กดิ ของบคุ คล ๓๓ คน ดงั นน้ั จงึ เรยี กวา่ ดังนน้ั จะตงั้ วเิ คราะห์ว่า
ตาวตึส (เตตฺตึส บทหน้า อ ปัจจัย, แปลง เต เตตฺตึส อกฺขรา นพิ ฺพตตฺ นตฺ ิ เอตฺถาติ เตตตฺ ึสา
เปน็ ตาว, ลบ ต) ภาษาเป็นที่เกิดของอักขระ ๓๓ ตัว จึงเรียก
(ภาษานั้น) ว่า ตาวตึสา ก็คงจะได้ ซ่ึงคงไม่เป็น
การบงั เอญิ ทม่ี ฆมาณพและพวก มจี ำ� นวนเทา่ กบั
แต่ถ้าถามต่อไปว่า แล้วท�ำไมพระพุทธเจ้า อักขระในภาษาบาฬพี อดบิ พอดี
ต้องมาแสดงธรรมทช่ี น้ั ดาวดึงส์เสมอด้วยเลา่ ? จรงิ ๆ แลว้ ไวพจนข์ องเทพอยา่ งหนง่ึ คอื อมร
แม้แต่พระพุทธมารดา ที่อยู่บนสวรรค์ช้ันดุสิต แปลว่าไม่ตาย ( อ-ไม่ + มร-ตาย) ก็ไปพ้อง
ยังต้องลงมาฟงั ธรรมทช่ี ้นั ดาวดึงส์ กบั อักขร (ไทยใช้ อักษร) ซ่ึงแปลวา่ ไมส่ น้ิ ไปได้
เพราะ อกขฺ ร ( อ-ไม่ + ขร-ส้ิน) มาจาก น ขรติ
ค�ำตอบตามคัมภีร์ได้อธิบายไว้ว่า เพราะบน น ขยี ตีติ อกฺขโร อกฺขรํ สง่ิ ทไี่ มส่ น้ิ ไป คือใชไ้ ม่มี
ดาวดงึ สน์ น้ั มีสธุ ัมมศาลา และ เทวดาจะไดไ้ ปฟงั วนั หมด (น บทหนา้ ขี ธาตใุ นความหมายวา่ สนิ้ ไป
กนั ไดท้ ง้ั หมด เพราะเทวดาชนั้ ตำ�่ จะขน้ึ ไปชนั้ สงู อร ปจั จัย, แปลง น เปน็ อ, ซ้อน ก, ลบสระหน้า)
กว่าตนไม่ได้ แต่เทวดาชั้นสูงจะลงมาฟังธรรม
ในชั้นต�่ำได้ ในท่ีน้ีต้องเข้าใจว่าเทวดาชั้นจาตุ- ถ้าจะมีค�ำถามต่อว่า ท�ำไมช้างทรงของ
มหาราชิกาน้ัน สามารถขึ้นไปฟังธรรมในชั้น พระอนิ ทร์ จงึ ตอ้ งชื่อเอราวัณ ?
ดาวดึงส์ได้ เพราะเทวดาทั้งสองชั้นนี้อยู่บนเขา ตรงนี้ตามคัมภีร์ ท่านก็ไม่ได้อธิบายให้หาย
พระสุเมรุด้วยกัน และมีพระอินทร์เป็นใหญ่ใน สงสัย เพียงแตบ่ อกว่า เรียกเอราวณั เพราะเกิด
ทั้งสองชั้นเหมือนกัน ตอบแบบน้ีก็ฟังดูเป็นเหตุ ในสมุทรที่ช่ืออิราวัณเท่าน้ัน ซ่ึงก็ไม่ได้ให้ความ
เป็นผลกนั ดี

๓๓ 39

ส่วน วณฺณ น้ัน แปลว่า สระ ชัดอย่แู ลว้ รวม
กนั ได้คำ� ว่า เอราวณฺณ แปลวา่ สระทีม่ ี อะ-อ-ุ อิ
และอา เป็นต้น (อา-อี-อู-เอ-โอ)
จึงขอเสนอการต้ังวิเคราะหข์ นึ้ ใหม่ว่า
อ จ อิ จ อุ จ ออิอุสงฺขาตา เอรา (รัสสระ)
อา อาทิ เยสนฺติ อาอีอูเอโอสงฺขาตา อาทโย
(ฑฆี สระ)
เอรา จ อาทโย จ เอราทโย,
วณณฺ ยี นฺติ อเนนาติ วณโฺ ณ
เอราทนี ํ วณฺโณ เอราวณฺโณ (ลบ ท)ิ

(ตรงน้ีอาจะจะยากไป ส�ำหรับผู้ไม่ได้เรียนบาฬี
ไวยยากรณ ์ กข็ อใหข้ า้ มไป แตค่ นทเ่ี รยี น ถา้ ไดเ้ หน็
กระจ่างอะไรเพิ่มเติมนัก แต่ถ้าเราได้เรียนภาษา วเิ คราะหศ์ พั ท์แล้ว ก็จะเข้าใจไดช้ ัดเจนทนั ที)
บาฬมี าบา้ ง กจ็ ะรวู้ า่ ในภาษาบาฬมี สี ระ (ซงึ่ ภาษา สรปุ ว่า :
บาฬเี รียกว่าวัณณะ) อย่ดู ว้ ยกนั ๘ ตัว คือ อะ อา
อิ อี อุ อู เอ โอ เอรา อาทิ วณณฺ ียนตฺ ิ อเนนาติ เอราวณโฺ ณ
เรียก เอราวณฺณ เพราะ เป็นเครื่องประกาศ
แล้วมันเกย่ี วอะไรกบั ชื่อชา้ งเอราวณั ? อ วณั ณะ อิ วณั ณะ และ อุ วัณณะ เปน็ ต้น
มนั จะมาเกย่ี วตรงที่ สระ อะ อิ อ ุ ๓ ตวั นี้ อนั นกี้ ค็ งไมบ่ งั เอญิ อกี เหมอื นกนั ทช่ี อ่ื ชา้ งใน
เป็น เสยี งสระพ้นื ฐาน ส่วนสระที่เหลือ เปน็ การ สวรรคช์ นั้ ดาวดงึ สจ์ ะไปพอ้ งกนั กบั ชอื่ ของจำ� นวน
ประกอบรวมกันข้ึนของสระพื้นฐานนั้นอีกที คือ สระ ๘ ตวั ในภาษาบาฬี พอดบิ พอดีอีก
อะ+อะ=อา อิ+อิ=อี อุ+อุ=อู อะ+อิ=เอ และ
อะ+อุ=โอ ทีนลี้ องกลบั ไปอา่ นเรอ่ื งมฆมาณพใหม่ ก็จะ
ถ้าเอาเสียงสระพื้นฐานท้ังสามตัว คือ อ+อิ เข้าใจประโยคที่ว่า (ตอนอยู่ในโลกมนุษย์) “ชน
+อุ มารวมกนั ๒ ตวั แรก คือ อ+อิ รวมกนั จะได้ ๓๓ คน ให้ปูไม้กระดาน ๓๓ แผ่นไว้ที่ศาลา
เป็น เอ ส่วน อุ น้ัน ตามหลักเสียงทางภาษา แล้วให้สัญญาแก่ช้างว่า ถ้าผู้เป็นแขกอาคันตุกะ
สามารถแปลงให้เปน็ อร ได้ (ตวั อยา่ งเชน่ สตถฺ ุ มาน่ังบนแผ่นกระดานของผู้ใด ก็ให้พาเขาไปพัก
เป็น สตฺถารํ, ปติ ุ เป็น ปติ โร เป็นต้น) ท่เี รอื นของผ้นู ัน้ และใหผ้ นู้ ้นั เลย้ี งดปู เู สือ่ รับรอง
เมอ่ื รวมท้งั สามตัว อ+อิ+อร กจ็ ะได้เป็น เอร อาคันตกุ ะน้นั ด้วย”
หรอื กค็ ือรสั สระ อ-อิ-อุ น่ันเอง (และตอนอยู่ในดาวดึงส์) “เทพบุตรนั้นจึง
ส่วน อา นน้ั มาจากค�ำวา่ อา+อา จะจ�ำแลงตัวเป็นช้างเอราวัณนิรมิตกระพอง ๓๓
อา ตัวแรก มาจากสระอา + อา ตัวที่สอง มา กระพอง เพ่ือชน ๓๓ คน นิรมิตกระพองชื่อ
จาก อาทิ แปลว่าเปน็ ตน้ กค็ ือทีฆสระท้ังหมดทีม่ ี สุทัศนะ ในท่ามกลางกระพองทั้งหมด เพื่อท้าว
อาเปน็ ตน้ ซงึ่ กค็ ือ อา-อี-อ-ู เอ-โอ นนั่ เอง สกั กะโดยเฉพาะ” ไดช้ ัดมากข้ึน

40

ก่อน (ภาษาอื่นๆ) ภาษาน้นั ชื่อว่า ดาวดึงส์
(ตาว แปลวา่ ก่อน + ตสึ แปลวา่ เกดิ มีขน้ึ )

ทีน้เี ม่อื กลบั ไปอ่านเรอ่ื ง สธุ ัมมศาลา ใหมใ่ น
ตอนทว่ี ่า “พวกทีเ่ ข้าไปสศู่ าลา แลดูชอ่ ฟา้ อา่ น
ตวั อักษรแลว้ ย่อมพูดกนั ว่า ศาลาช่ือสธุ ัมมา ช่อื
ของชน ๓๓ คนไม่ปรากฏ” ก็จะเขา้ ใจไดต้ ามนัย
ใหมน่ ีว้ า่ คนทไ่ี ปฟงั ธรรมท่ีสธุ ัมมศาลาย่อมคดิ ถึง
แต่ธรรมะ และไม่ได้คิดถึงตัวอักษรเป็นตัวๆ ไป
จัดเป็นธรรมาธิษฐาน ท่ีร้อยเรียงเป็นเรื่องราว
บคุ ลาธษิ ฐานไดล้ กึ ซง้ึ จรงิ ๆ ดาวดงึ สโ์ ดยนยั นี้ จงึ
ไมใ่ ชช่ อื่ ของภพภมู เิ ทา่ นน้ั แตเ่ ปน็ ชอื่ ของระบบ
ซึ่งตรงนี้ เปน็ การแสดงถึงการผสมพยญั ชนะ ภาษาและระบบธรรมะท่ีมากับภาษาน้นั ดว้ ย
กับสระในภาษาบาฬี ให้เกิดเป็นถ้อยค�ำธรรมะ
เพือ่ ตอ้ นรับปฏิสันถาร แกผ่ ู้ทีม่ าเยอื น ณ สธุ ัมม- ทนี ก้ี ข็ อใหย้ อ้ นกลบั มาดทู คี่ าถาธรรมบททนี่ ำ�
ศาลาแห่งนี้ น่ันเอง เรื่องอกี ที
อกี วเิ คราะหห์ นงึ่ ตามพจนานกุ รมบาฬ ี ทา่ น
วเิ คราะห์ไวว้ า่ อปฺปมาเทน มฆวา เทวานํ เสฏฐตํ คโต
ตาว ปฐมํ ตึสติ ปาตุภวตีติ ตาวตึสา อปปฺ มาทํ ปสํสนฺติ ปมาโท ครหโิ ต สทา’ ติ
(ปฐวี) พ้ืนแผ่นดินใด เกิดปรากฏข้ึนในโลกเป็น ลองนบั ดซู วิ ่า พระคาถานมี้ ที ั้งหมดก่ีพยางค์ ?
คร้ังแรกก่อน (พื้นแผ่นดินอื่นๆ) พ้ืนแผ่นดินนั้น ปกติแล้วคาถาธรรมบทส่วนใหญ่จะอยู่ใน
ช่ือว่า ดาวดึงส์ กลมุ่ ปฐั ยาวตั คาถา ซง่ึ ในคาถา ๑ บท จะมที ง้ั หมด
ตามความเขา้ ใจเร่อื งการแตกดบั ของโลกว่า ๔ บาทด้วยกนั และในแต่ละบาทจะมี ๘ อกั ขระ
(พยางค)์ รวม ๘ x ๔ จะได้ท้งั หมด ๓๒ อกั ขระ
เม่ือโลกถกู ทำ� ลายจนหมดส้ิน แลว้ มกี ารสรา้ งโลก เมื่อรวมกับ ติ (ทมี่ าจาก อติ ิ ซ่งึ เป็นเครอ่ื งหมาย
ใหม่ ฝนจะตกลงมาอย่างหนักตรงบริเวณที่โลก ค�ำพูดปิดท้าย) อีกหนึ่งอักขระ ก็จะได้อักขระ
ถกู ทำ� ลายไป นำ�้ นนั้ กค็ อ่ ยๆ ขนุ่ ขน้ ขน้ึ เปน็ ตะกอน ทั้งหมด ๓๓ ตัวพอดี
ทับถมจนเป็นดินมหมึ า แลว้ ลดแห้งลงตามลำ� ดับ
จนเกดิ พนื้ แผน่ ดนิ ปรากฏโผลข่ น้ึ ใหเ้ หน็ กอ่ น กค็ อื แต่เป็นท่ีน่าสังเกตว่า คาถานี้บาทสุดท้าย
เขาสเิ นรุ ซง่ึ เปน็ ทอ่ี ยขู่ องเทวดาชน้ั ดาวดงึ สน์ น่ั เอง แทนทจี่ ะมี ๘ กลบั มี ๙ อกั ขระ จงึ ทำ� ใหน้ บั อกั ขระ
ถา้ จะขอตง้ั วเิ คราะหแ์ บบเดยี วกนั แตเ่ ปลยี่ น รวมได้ ๓๓ ตวั พอด ี โดยไมต่ อ้ งนบั ตวั อติ ทิ ป่ี ดิ ทา้ ย
จากปฐวีเปน็ ภาษา ซึ่งจะตรงกบั ต�ำนานทบี่ อกว่า เลย ลองนับดอู กี ทซี ิวา่ ได้ ๓๓ ไหม
ภาษาบาฬีเป็นภาษาดั้งเดิม ภาษาแรกของโลก
ก็จะได้ว่า ตาว ปฐมํ ตึสติ ปาตภุ วตีติ ตาวตสึ า สรุปได้ว่าพระพุทธเจ้าได้ให้นัยของตัวเลข
(ภาสา) ภาษาใด เกดิ ปรากฏขน้ึ ในโลกเปน็ ครงั้ แรก ๓๓ น้ีไว้แลว้ ท้ังในคาถา ในเร่อื งทม่ี า และทแ่ี ฝง
ไว้ในช่ือตาวติงสะก็ดี หรือในช่ือช้างเอราวัณก็ด ี

๓๓ 41

ดาวดึงส์ในความหมายแบบนัยท่ีเสนอมาทั้งหมด การที่เราจะเข้าใจอารยธรรมใดอารยธรรม
น ้ี จงึ ทำ� ใหเ้ ขา้ ใจไดว้ า่ นอกจากจะเปน็ ชอื่ ชน้ั หนง่ึ หนงึ่ ใหเ้ ขา้ ถงึ นน้ั เราจะตอ้ งเขา้ ใจภาษาทเี่ ขาใชพ้ ดู
ของสวรรคแ์ ลว้ ยงั หมายถงึ ระบบตวั อกั ขระของ กนั และวฒั นธรรมทเ่ี ขามปี ฏสิ มั พนั ธต์ อ่ กนั ภาษา
พระบาลี ทรี่ อ้ ยเรยี งขนึ้ เปน็ พระพทุ ธพจน์ รวมทงั้ ในสวรรค์น้ัน เขาพูดสื่อสารกันด้วยภาษาบาฬี
คาถาภาษิตทั้งหมดท่ีพระพุทธเจ้าเทศน์ส่ังสอน สว่ นวฒั นธรรมในสวรรคน์ ั้น กส็ ือ่ ดว้ ยวฒั นธรรม
ก็รวมลงอยู่ในความไม่ประมาทท้ังหมดนั่นเอง ของพระอภิธรรมน่ันเอง ถา้ ไมไ่ ด้ศึกษาสองอยา่ ง
(ให้ดูขั้วตรงข้ามของพระอินทร์และเพื่อนๆ ก็คือ น ี้ สวรรคก์ ก็ ลายเปน็ เพยี งแคน่ ทิ านสนกุ ๆ สำ� หรบั
พวกอสรู ท่ปี ระมาทมัวเมา กินเหล้าจนตกลงจาก คนไมเ่ ช่อื เทา่ น้นั เอง หรือส�ำหรบั คนท่เี ชือ่ แต่มิได้
เขาพระสเุ มรไุ ป) ศกึ ษาใหด้ ี กอ็ าจกลายเปน็ การสง่ เสรมิ สสั สตทฏิ ฐิ
ตลอดพระชนมช์ พี ของพระพทุ ธองคท์ ไี่ ดท้ รง ไปแทนกไ็ ด้
เทศนส์ งั่ สอนใหเ้ กดิ มพี ระอรยิ เจา้ ตรสั รตู้ ามขน้ึ มา ดงั นน้ั จงึ ขอเชญิ ชวนพวกเรามาศกึ ษาธรรมะ
มีประมาณไม่ถว้ น กไ็ ดอ้ าศัย อกั ขระทงั้ ๓๓ ตวั ในภาษาพอ่ ของเราคอื ภาษาบาฬ ี (ถา้ ใหด้ กี ศ็ กึ ษา
(มฆมาณพและเพอื่ นๆ) รวมทัง้ สระ ๘ ตัว (ช้าง ไวยากรณ์ใหญ ่ แยกธาตุ แยกปจั จัย ใส่องคธ์ รรม
เอราวัณ) นี้แหละ ในการผสมผสานออกมาเป็น ใหไ้ ดด้ ว้ ย) เพอ่ื จะไดท้ ำ� ความเขา้ ใจในพระพทุ ธพจน์
ถ้อยค�ำ หลายครั้งก็ได้ตรัสภาษิต เป็นคาถาร้อย ให้ลึกซึ้ง และจะได้ซาบซึ้งกับอรรถรสของภาษา
กรอง อันสละสลวย ไพเราะกินใจ ก็ได้ใชจ้ งั หวะ เหมอื นได้เข้าเฝ้าพระพทุ ธเจา้ หรอื ไดเ้ ขา้ ชมสวน
ค�ำท้ัง ๓๓ อักขระ (พยางค)์ นี้ ในการประกอบ ธรรมะดว้ ยตาของตนเอง ฉะนั้น
เปน็ แต่ละคาถา สว่ นเนือ้ ความทีพ่ ระองค์สงั่ สอน
กค็ อื มรรค หนทางในการปฏบิ ตั ิ ซง่ึ ในตอนตอ่ ไป ท่ีเขียนเล่ามาท้ังหมดนี้ ถ้าท่านผู้อ่านพอจะ
จะค่อยๆ ขยายความ ใหเ้ หน็ วา่ เลข ๓๓ น้นั ยงั มี เข้าใจส่ิงท่ีน�ำมาเสนอได้บ้าง ก็เสมือนว่าท่านได้
ความสมั พนั ธก์ บั ทางสายกลาง หรือมรรคมีองค์ เรม่ิ กา้ วแรกเขา้ สสู่ วนอกั ษรนนั ทวนั ในชน้ั ดาวดงึ ส์
๘ อยา่ งไรบา้ ง แล้ว ยังมีอรรถรสอีกมากมายที่รอพวกเราเข้าไป
เลือกสรรหา ขอเพียงมีเครื่องมือท่ีพร้อม และมี
ทัศนคตทิ ถี่ ูกตอ้ ง ขอต้อนรบั ทกุ ๆ ทา่ นเข้าสสู่ วน
สวรรค์แหง่ อักษรธรรม ณ บัดนี้

ตาวตงึ ส์ ซึ่งแปลวา่ สามสบิ สาม
จำ� นวนตาม พยญั ชนะ อักขระภาษา
เทา่ สหาย แห่งพระอนิ ทร์ ปน่ิ เทวา
พร้อมกันมา แต่โบราณ ชว่ ยงานกัน
ใครเข้าใจ ในอักษร กลอนภาษา
อปุ มา ดง่ั ไดข้ ึน้ เมอื งสวรรค์
ไดซ้ อ่ งเสพ อรรถรส ละเอยี ดอัน
นันทวนั เปิดแลว้ เชิญแกว้ ชมฯ

(ยังมีต่อฉบบั หน้า)

42

ปัญญารตั นะ

วศนิ อนิ ทสระ

ชีวิต

กบั ความรกั

ความรักคืออะไร ความรกั สัมพนั ธ์กบั ชวี ติ อย่างไร
ความรักเป็นสิ่งที่รู้ยากเข้าใจยากอย่างหน่ึง โดยธรรมดา ทุกคนคงไม่ปฏิเสธว่า ชีวิตเรา
ซ่ึงบรรดาสิ่งท่ีรู้ยากเข้าใจยากและอธิบายยากทั้ง ตอ้ งการความรกั ตอ้ งการความอบอนุ่ อนั เกดิ จาก
หลาย มักเป็นความรู้สึกท่ีเกิดข้ึนในใจ เหมือน ความรกั ความถนอม จากมารดาบดิ า ญาตพิ น่ี อ้ ง
เรายืนอยู่ในท่ีโล่งแจ้ง หรือใต้ต้นไม้อันร่มครึ้ม และผู้เลี้ยงดู ต้องการความรัก ความเข้าใจของ
เรารู้สึกว่าอากาศสดช่ืน ท�ำให้เรามีความสดชื่น เพอ่ื นรว่ มเลน่ เพอ่ื นรว่ มชน้ั เรยี นและรว่ มโรงเรยี น
กระปร้ีกระเปร่า เบิกบาน แต่ถ้าใครสักคนหนึ่ง เมื่อเป็นหนุ่มสาวก็ต้องการความรักจากเพศตรง
ถามเราว่า อากาศสดช่ืนเป็นอย่างไร เราคงตอบ กนั ขา้ ม และความรกั ความไวว้ างใจจากเพอ่ื นเพศ
ได้ยาก ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราไปอยู่ในที่อับ เดียวกัน เมอื่ แตง่ งานแลว้ กป็ รารถนาให้ความรัก
ปกคลมุ อยูด่ ้วยอากาศเสีย เราร้สู ึกได้ แตอ่ ธบิ าย ของคูค่ รองม่นั คงยั่งยนื หากมลี ูกหลานกต็ ้องการ
ยากเชน่ เดียวกัน ความรักจากลูกหลาน
ความรักเป็นความรู้สึกชนิดหนึ่ง ซ่ึงเมื่อ นอกจากบุคคลรอบขา้ งแลว้ มนุษย์เรายังรกั
เกิดข้ึนแก่บุคคลใดในสิ่งใดแล้ว ท�ำให้บุคคลนั้น สิง่ ตา่ งๆ ทีอ่ ยูร่ อบตัว และเก่ยี วขอ้ งกบั ตวั เองอกี
ปรารถนาจะอยู่ใกล้สนิทสนมชมเชย ปรารถนา มากอย่าง เช่น รักต้นไม้ รักบ้านเรือน หมู่คณะ
จะเปน็ อนั หนงึ่ อนั เดยี วกนั กบั บคุ คลนน้ั หรอื สงิ่ นน้ั รกั หนังสอื รกั การงาน ฯลฯ
ความรกั หย่ังลงได้ ทงั้ ในสง่ิ มีชวี ติ และไม่มชี วี ิต

๓๓ 43

รวมความว่า ชีวิตกับความรักน้ัน เดินเคียง ท�ำอย่างไรจึงจะเปน็ ที่รักของผู้อ่ืน
คู่กันไปตลอด อาจเปล่ียนบ้างก็เฉพาะวัตถุแห่ง พุทธศาสนาแสดงหลักธรรมไว้ ๖ ประการ
ความรัก หรือสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความรักเท่าน้ัน เรียกว่า สาราณียธรรม อันเป็นเหตุให้ผู้ปฏิบัติ
สว่ นตัวความรกั เอง ยังคงดำ� รงม่ันอย่เู สมอ ตาม เป็นที่รัก เคารพของผู้อ่ืน เป็นไปเพื่อการ

เหตุเกิดของความรักตามหลกั พทุ ธศาสนา สงเคราะหก์ นั ไมว่ วิ าทกนั เปน็ ไปเพอื่ สามคั คเี อก-ี
ตามหลักฐานทางพุทธศาสนาแสดงไว้ว่า ภาพ คือความเป็นน�้ำหน่ึงใจเดียวกัน ธรรม ๖
ความรักเกิดด้วยเหตุหลายอย่าง ในท่ีน้ีขอน�ำมา ประการนั้น คอื

กล่าว ๒ อยา่ งคอื ๑. เมตตากายกรรม คอื จะท�ำอะไรเกีย่ วกบั ผู้อื่น
กท็ ำ� ดว้ ยเมตตา แสดงออกในรปู ของการชว่ ยเหลอื
๑. ปุพเพสันนวิ าส (ปพุ พูปการะ)
๒. การช่วยเหลือเก้ือกูลกันในปัจจุบัน ผอู้ นื่ ดว้ ยการชว่ ยขวนขวายในกจิ ธรุ ะของผอู้ น่ื ใน
(ปัจจบุ นั หติ ะ) ทางทถี่ กู ตอ้ งชอบธรรม เชน่ ชว่ ยยกของหนกั ชว่ ย
ปุพเพสันนิวาสน้ัน คือการที่เคยอยู่ร่วมกัน ถือของในรถประจ�ำทางเม่ือตนได้ท่ีน่ังแล้ว ช่วย
มา เคยคบหาสมาคมสนิทสนม ชอบพออธั ยาศัย เหลือการงานของผู้อนื่ ตามโอกาสอนั ควร
กนั มา สว่ นปพุ พปู การะนนั้ คอื การทเี่ คยอปุ การะ ๒. เมตตาวจกี รรม คอื เมือ่ จะพดู กพ็ ูดด้วยเมตตา
เลี้ยงดูกันมา เคยท�ำบุญคุณเกื้อหนุนกันมา เม่ือ เช่น ชว่ ยอบรมส่งั สอนคณุ ความดีแกผ่ ูอ้ น่ื พดู ตกั
มาพบกนั ในชาตนิ ้ี ก็มักจะเกดิ ความนยิ มชมชอบ เตือนเม่ือเขามีท่าทีว่าจะด�ำเนินชีวิตไปในทางที่
สนิทสนมคุ้นเคยได้อย่างรวดเร็ว โดยท่ีเจ้าตัวก็ ผดิ แม้จะดดุ ่าวา่ กลา่ วรนุ แรงกนั บา้ ง ก็ให้ทำ� ดว้ ย
หาสาเหตุไม่ค่อยได้ว่าท�ำไมตนจึงไปนิยมชมชอบ อาศัยการพดู ด้วยเมตตา
บุคคลผู้น้ันผู้น้ีอย่างจริงจัง ตั้งแต่คร้ังแรกๆ ที่ได้
พบเห็น ส่วนการเกื้อกูลกันในปัจจุบันน้ัน เป็น ๓. เมตตามโนกรรม คือจะคิดอะไรๆ ก็คิดด้วย
เหตุผลที่ชัดเจน คือท�ำให้เกิดความสนิทสนมรัก เมตตา ไมค่ ิดพยาบาท ไม่คิดเบียดเบยี น (วหิ ิงสา)
ใคร่ ไว้วางใจ ในฐานะเป็นกัลยาณมิตร มิตรแท้ พยายามอบรมจติ ของตนใหค้ นุ้ กบั เมตตา มเี มตตา
แสดงออกในรปู ของการอปุ การะ รว่ มสขุ รว่ มทกุ ข์ ปราณแี นบสนทิ อยกู่ บั ใจเสมอ เมอื่ มเี มตตาปราณี
แนะนำ� ประโยชน์ และมคี วามรักใคร่ อยู่เช่นนี้ ความคิดพยาบาทและเบียดเบียนก็
ไม่อาจเข้าครอบครองใจได้ ใจก็เอิบอิ่มอยู่ด้วย
เมตตา ถ้าสามารถอบรมจิตให้มีเมตตาจนถึงได้
ฌาน (เมตตาเจโตวิมุติ) ก็จะได้รับอานิสงส์ของ
เมตตามากขน้ึ ถงึ ๑๑ ประการ แมไ้ มถ่ งึ ขน้ั นน้ั แต่
มีเมตตาประจ�ำใจไว้ ก็จะได้รับประโยชน์ในชีวิต
ประจ�ำวันมใิ ช่นอ้ ย (อานสิ งส์เมตตา โปรดอา่ นหนา้ ๕)
ผู้ใด ท�ำอะไรๆ ด้วยเมตตา พูดด้วยเมตตา
และคดิ อย่างมเี มตตาอย่เู สมอแล้ว ผูน้ ัน้ ย่อมเป็น
ที่รักเป็นท่ีพอใจของผู้อ่ืน เป็นคนมีเสน่ห์ประจ�ำ

44 ๓๓

ตัว ใครเขา้ ใกลก้ อ็ บอุน่ มคี วามสขุ ชนื่ บาน รูส้ กึ ๖. มีความเห็นถูกต้องตามท�ำนองคลองธรรม
ปลอดภัย มีความเห็นท่ีดีเสมอกัน (ทิฏฐิสามัญญตา) ไม่
๔. แบ่งปันลาภผลท่ีตนได้มาโดยชอบธรรมให้ ทะเลาะกบั ใครเพราะมคี วามเหน็ ผิดกนั
แก่ผอู้ ืน่ ตามสมควร ไม่หวงแหนไวบ้ ริโภคใช้สอย ขอ้ น้มี ปี ระเดน็ ส�ำคญั อยู่ ๒ ประเดน็ คือ
แต่ผู้เดียว คุณข้อน้ีเป็นการฝึกใจให้รู้จักเสียสละ
ไม่เห็นแก่ตัว ความเสียสละน้ันเป็นคุณธรรมพื้น ก. มคี วามเหน็ ถกู ตอ้ งตามทำ� นองคลองธรรม
ฐานของผู้อยู่ร่วมกันในสังคมและเป็นเคร่ืองผูก มคี วามเหน็ ทีด่ ี ร่วมกนั เสมอกนั กบั ผ้อู นื่
มิตร (ททํ มติ ฺตานิ คนฺถต)ิ คอื ผูกนำ้� ใจของกนั ไว้ ข. ในกรณีที่มีความเห็นไม่ลงรอยกัน หรือ
ด้วยการให้ การช่วยเหลือเอื้อเฟื้อกัน ท�ำให้เกิด ขดั แยง้ กนั กไ็ มท่ ะเลาะววิ าทกนั เพราะความเหน็
รกั ใครส่ นทิ สนม เปน็ นำ้� หนงึ่ ใจเดยี วกนั เครอ่ื งผกู ไมต่ รงกนั นน้ั ถอื วา่ เปน็ เพยี งความคดิ เหน็ ของคน
อย่างอื่น ผูกคนไว้ได้ยาก แต่ความรักเป็นเครื่อง ผู้หนึ่ง เราอาจผิดหรือเขาอาจผิดก็ได้ และความ
ผูกท่เี หนียวแน่นม่นั คง เห็นผิดน้ัน ย่อมสามารถแก้ให้ถูกได้ เราเองก็
๕. มีความประพฤติดี อย่างเดียวกันกับผู้อื่น เคยเห็นผิดในบางเร่ือง และเราสามารถท�ำความ
(สลี สามญั ญตา) ไมป่ ระพฤตเิ สอื่ มเสยี อนั เปน็ เหตุ เห็นที่ผิดน้ันให้ถูกได้ ด้วยการอ่านหนังสือดีๆ ที่
ให้เป็นท่ีรังเกียจของผู้อื่น ความประพฤติจัดเป็น ชีแ้ จง แนะนำ� จนเราเขา้ ใจ หรอื อาจเปน็ เพราะมี
สง่ิ สำ� คญั ในตวั คน เพราะเปน็ เครอื่ งสอ่ ใหเ้ หน็ นสิ ยั ผู้ตักเตือนให้เราได้สติ คนอ่ืนก็เช่นกัน อาจจะมี
อปุ นสิ ัยของเขาว่าเป็นอยา่ งไร นสิ ยั อุปนสิ ยั เป็น ความเห็นผิดไปบ้างในบางคราว เม่ือได้กัลยาณ-
สว่ นภายในของคน เรารไู้ ดย้ าก แตเ่ ราสามารถรไู้ ด้ มติ ร กท็ �ำความเหน็ ใหถ้ กู ต้องได้ กลบั เป็นบุคคล
ดว้ ยความประพฤตขิ องเขานนั้ เอง ตวั เราเองกค็ วร ทมี่ คี า่ ตอ่ สงั คมอยา่ งมาก เพราะฉะนน้ั ถา้ ทะเลาะ
ระวังความประพฤติ เพราะคนอ่ืนเขาจะอ่านเรา กันเพราะความเห็นผิดกันเสียแล้ว ก็เป็นอัน
จากความประพฤตขิ องเราเชน่ เดยี วกนั อยา่ คดิ วา่ แตกแยกกัน โอกาสจะท�ำคนเห็นผิดให้กลับเป็น
ความประพฤตดิ หี รอื เลวเลก็ นอ้ ย เปน็ สงิ่ ไมส่ ำ� คญั เห็นถกู ก็ไมม่ ี
รูรั่วเพียงเล็กน้อยท�ำให้เรือจมได้ ไฟเล็กน้อย ความเห็นเปน็ ส่งิ สำ� คญั ในชีวิตคน เพราะคน
สามารถเผาบา้ นเผาเมอื งได้ ยาพิษเล็กน้อยทำ� ให้ เราส่วนมากจะด�ำเนินชีวิตตามที่ตนเห็นว่าดี ถ้า
คนตายได้ ในทางกลบั กัน สิง่ ดเี พยี งเลก็ น้อย เม่อื เห็นผิดก็ด�ำเนินชีวิตผิด เห็นถูกก็ด�ำเนินถูก เขา
ท�ำถูกกาลเทศะ และถูกบุคคลเข้า อาจชว่ ยให้เขา ด�ำเนินชีวิตอย่างไร ย่อมขึ้นอยู่กับว่า เขามีความ
เจริญรุ่งเรอื งได้ ขอนไม้เล็กๆ อาจช่วยชะลอชวี ิต เห็นอย่างไร ความเห็น จึงเป็นเข็มทิศในการ
ของคนผทู้ ใี่ กลห้ มดกำ� ลงั ในมหาสมทุ ร จนพบเรอื ด�ำเนนิ ชวี ิตของตน
ใหญ่และรอดชีวิตได้ ยาเพยี งเล็กน้อยชว่ ยตัดโรค หลักธรรมท้ัง ๖ ข้อน้ี เรียกว่า สาราณีย-
ได้ คำ� พดู เพยี งคำ� เดยี วหรอื สองคำ� อาจชว่ ยชวี ติ คน ธรรม แปลว่า ธรรมอนั เปน็ เหตุใหร้ ะลกึ ถงึ กัน
ใหร้ อดตาย และด�ำเนินชีวิตอยา่ งผาสุกตอ่ ไปได้ นอกจากสาราณียธรรม ๖ แล้ว ควรมีสงั คห-
วตั ถุ ๔ ประการ สังคหวัตถุ แปลว่า หลักธรรม

45

เป็นเคร่ืองคล้องใจกันและกัน หรือหลักส�ำหรับ
สงเคราะหเ์ ออื้ เฟอ้ื กนั ซงึ่ พระพทุ ธองคท์ รงเปรยี บ
ไว้ว่า เหมือนเพลารถที่ยึดรถเอาไว้ และให้แล่น
ไปด้วยดี เป็นเหตุให้บุตรธิดา ต้องเคารพนับถือ
มารดาบิดา เปน็ ต้น หวั ขอ้ ธรรมของสงั คหวัตถุ ๔
มีดงั นี้....

๑. ทาน การแบ่งปัน ความเสียสละ ไม่เหน็ แก่ตวั
๒. ปิยวาจา การพดู จาน่ารกั พูดไพเราะ ดูดดื่มใจ
๓. อตั ถจรยิ า ประพฤตสิ ง่ิ ทเี่ ปน็ ประโยชนแ์ กผ่ อู้ นื่
อย่เู สมอ ทำ� ตนเปน็ คนมปี ระโยชน์ ทำ� ตนเปน็ คน
มีคา่ ไมท่ ำ� ตนใหต้ กตำ�่ เพราะเป็นผู้ไร้ประโยชน์
๔. สมานตั ตตา วางตนดี วางตนเหมาะสมแกฐ่ านะ
เป็นคนเสมอตน้ เสมอปลาย ร่วมสขุ ร่วมทกุ ข์ ไม่
ทำ� ตนสงู เกนิ ไป หรอื ตำ่� เกนิ ไป วางตนพอดพี องาม เป็นโรคจิต เป็นบ้าได้ โรคประสาทและโรคจิตน้ี
ไมม่ ากไม่น้อย เป็นโรคทางจิตใจ สืบเน่ืองมาจากความคิด หรือ
สุขภาพจิตที่เสื่อมโทรม เศร้าหมอง ตึงเครียด
การครองใจคน ส่วนโรคระบบประสาทหรือโรคประสาทนั้น เป็น
หลักธรรมดังกล่าวมานี้ ย่อมเอื้ออ�ำนวยให้ โรคทางกาย เกดิ ขน้ึ เพราะความผดิ ปกตทิ างสมอง
เปน็ ไปเพอ่ื ครองใจคน ในการครองใจคนนน้ั เบอ้ื ง ไขสนั หลงั หรอื เสน้ ประสาท เชน่ เนอ้ื งอกในสมอง
แรกเราลองมาตรึกตรองดูว่า มนุษย์เราต้องการ อัมพาต ไขสันหลังอักเสบ๑ โรคประสาทจึงไม่
อะไรบ้าง เมื่อกล่าวโดยสรุป มนุษย์เราต้องการ อยู่ในกลุ่มของโรคจิตเวช ความจริงพระธรรม
ความสขุ กายสบายใจ ใครสามารถใหค้ วามสขุ กาย ค�ำสอนของพระพุทธเจ้าน้ัน เป็นยาทั้งป้องกัน
สบายใจแก่เขาได้ เขาก็รัก เมื่อเขารัก ก็ครองใจ และรักษาโรคจิตและโรคประสาทได้เป็นอย่างดี
เขาได้ (เรอื่ งความสขุ กายขอขา้ มไป) ขอให้สนใจเถอะ หม่ันอ่าน หม่ันฝึกฝน ท�ำใจให้
ความสุขใจอาศยั สุขภาพจติ ทีด่ ี คนเราแมจ้ ะ สะอาดสวา่ งและสงบอยเู่ สมอ กจ็ ะปอ้ งกนั โรคจติ
มีความสุขทางกายพร้อมแล้ว แต่ถ้าสุขภาพจิต โรคประสาทไดอ้ ย่างดี
ไมด่ ี วิตกหมกมุ่น กังวล ยำ�้ คิดย้ำ� ทำ� คอื คดิ แลว้ ถ้าเป็นเสียแล้วก็บ�ำบัดแก้ไขได้ ด้วยการท�ำ
คดิ อกี ไมร่ จู้ กั จบสน้ิ ปลงใจไมไ่ ดว้ า่ จะเอาอยา่ งไร จิตใหส้ ะอาด สว่าง และสงบ และทำ� ใหใ้ จเปน็ สุข
แน่ คดิ วนเวยี นเหมอื นพายเรอื ในอา่ ง หรอื พายเรอื เช่นกัน๒ พยายามถืออดุ มคติว่า อะไรจะเกดิ ขน้ึ ก็
ในสระว่ายน้�ำ เข้าลักษณะท่ีทางจิตเวชเรียกว่า ชา่ งเถอะ ขอรกั ษาสขุ ภาพจติ ใหด้ ไี วเ้ สมอ ถา้ ท�ำ
โรคประสาท เป็นโรคประสาทนานๆ เข้า ท�ำให้ ไดท้ กุ ส่ิงทุกอยา่ งจะดเี อง

๑. โปรดดูเพ่ิมเตมิ ใน น.พ. วิจารณ์ วิชัยยะ โรคประสาท, หมอชาวบา้ น ฉบับเดือนเมษายน ๒๕๒๖
๒. โปรดดรู ายละเอยี ดใน วศนิ อนิ ทสระ, ความสุขใจ ในหนงั สือเรอ่ื ง เพือ่ ชีวิตทดี่ ี เล่ม ๒

46 ๓๓

เพราะฉะน้ัน เราควรจัดต้ังเป็นกฎส�ำหรับ นอกจากนี้ ควรท�ำตนเป็นคนมีประโยชน์
ตัวเองไว้ว่า “เราจะให้ความสุขกายสบายใจแก่ การท่ีจะเป็นคนมีประโยชน์ก็ต้องหมั่นท�ำสิ่งที่
ผู้เข้าใกล้ คบหาสมาคมกับเราในฐานะต่างๆ ถ้า เป็นประโยชน์ อยู่ที่ไหนกับใคร กท็ �ำตนเปน็ คนมี
ให้ความสุขแก่เขาไม่ได้ ก็อย่าก่อทุกข์หรือก่อเวร ประโยชนส์ �ำหรบั ที่น้นั และส�ำหรับคนนั้น ใหเ้ ขา
ก่อภัยอะไรแก่เขา อย่าให้เขาต้องหวั่นวิตกอะไร รสู้ ึกว่าเราเป็นคนดีมปี ระโยชนส์ ำ� หรบั เขา ถ้าเขา
เพราะเรา ให้ได้ชื่อว่า เป็นผู้มีฉายาอันเย็น คือ ขาดเราไปแลว้ เขารสู้ กึ เปน็ การสญู เสยี อนั ยง่ิ ใหญ่
เป็นร่มเงาที่เยือกเย็นส�ำหรับผู้เข้าใกล้และคบหา หรืออย่างน้อยก็รู้สึกว่า เป็นการขาดอะไรไปสัก
สมาคม” อย่างหน่ึง คนเรายิ่งท�ำประโยชน์มากก็ยิ่งเป็น
คนมปี ระโยชนม์ าก ประโยชน์ทีต่ นทำ� ขยายกว้าง
เครอ่ื งมอื อปุ กรณ์ หรอื ปจั จยั ในการท�ำใหค้ นอน่ื ออกไปเท่าใดก็เป็นคนมีค่ามากเท่านั้น บางคน
มีความสขุ กายสบายใจ มากจนตีราคาไม่ได้ บางคนมีประโยชน์แก่ครอบ
เพ่ือความสุขกายของผู้อ่ืน ซึ่งต้องอาศัย ครัว บางคนมีประโยชนแ์ ก่ตำ� บล อำ� เภอ จังหวัด
ปัจจัย ๔ และความไม่มีโรค เราควรหัดเป็นคน ประเทศชาติ บางคนเปน็ ประโยชนแ์ ก่โลกทง้ั โลก
ไม่เห็นแก่ตัว แต่เป็นคนแบ่งปัน เฉลี่ยลาภผล ทีเดียว ใครๆ ก็นิยมยกย่อง และประโยชน์ที่ท�ำ
ของตนแก่ผู้อื่นท่ีขาดแคลน คนท่ีขัดสนส่ิงใด ไวแ้ กโ่ ลกเปน็ บญุ ตดิ ตวั เขาไปนานแสนนาน กลา่ ว
ก�ำลังต้องการอะไรอยู่ ใครให้สิ่งนั้นแก่ตนย่อม ไดว้ า่ ตราบใดทสี่ งิ่ ซงึ่ เขาทำ� ไวน้ นั้ ยงั เปน็ ประโยชน์
เกดิ ความรู้สกึ รกั ใครผ่ กู พนั ดนิ ทแ่ี ตกระแหงยอ่ ม แก่โลกอยู่ เขาก็ยงั ได้บญุ อย่ตู ราบนน้ั นอกจากนี้
ต้องการน�้ำฉนั ใด ผขู้ าดแคลนจริงๆ ยอ่ มตอ้ งการ เขายังท�ำตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่คนรุ่นหลัง ให้คน
ความชว่ ยเหลอื ฉนั นนั้ สำ� หรบั ผกู้ ระหายนำ้� นำ�้ สกั รุ่นหลังได้ถือเป็นแบบอย่างด�ำเนินตาม น่ีก็เป็น
แก้วหนึ่งย่อมมีความหมายกับเขามาก ผู้ขาดเงิน บญุ สำ� หรับเขาอีกสว่ นหนึ่ง
แม้เพียง ๑๐ บาท ๒๐ บาทกพ็ อประทงั ชวี ติ ไปได้ ขอย้ำ� ไวใ้ นที่น้วี ่าคนส�ำคญั ไม่จำ� เป็นตอ้ งเปน็
และจะจารึกการช่วยเหลือในยามขาดแคลนน้ัน คนใหญค่ นโตเสมอไป แตต่ อ้ งเป็นคนมปี ระโยชน์
ไปตลอดชีวิต การท�ำความดีอย่างถูกต้องเหมาะ จริงอยู่ คนท�ำไมด่ กี ็เปน็ ตวั อย่างอนั ดสี �ำหรบั
สมแมเ้ พียงเลก็ นอ้ ย กม็ ผี ลมาก จงึ ไม่ควรเพิกเฉย ผู้มีปัญญา รู้จักเลือกว่าอย่างนี้ควรเว้น เพราะมี
กบั สิง่ เล็กนอ้ ย คนเคยท�ำมาแล้วไม่ดี จึงควรเว้นเสีย แต่ยังสู้
ความจรงิ การใหม้ หี ลายลกั ษณะ กลา่ วคอื ให้ ตัวอย่างทางดีไม่ได้ เพราะตัวอย่างทางไม่ดีนั้น
เพอื่ อนเุ คราะห์ ดังกลา่ วมาแล้วนน้ั ประการหนงึ่ คนเขลาอาจถอื เปน็ ตวั อยา่ งทำ� ตาม เกดิ ผลเสยี หาย
การใหเ้ พื่อสมานไมตรีระหว่างเพ่ือนฝงู ญาติมิตร ร้ายแรงได้มาก พูดกันไปแล้ว ถึงตัวอย่างทางดี
ในโอกาสตา่ งๆ เชน่ แต่งงาน ขนึ้ บา้ นใหม่ วนั เกดิ เหมือนกัน คนดีเท่านั้นจึงจะเอาอย่าง คนไม่ดี
หรืองานศพ เปน็ ต้น เรียกว่าใหเ้ พอื่ สงเคราะห์ซึ่ง หาเอาอย่างไม่ ยังถอื เปน็ ขอ้ รังเกยี จเสียอีก
กนั และกัน ยงั มีการใหอ้ ีกประเภทหน่ึง คือ เพ่อื อย่างไรก็ตาม เกิดมาทั้งที ควรตั้งใจท�ำตน
บูชาพระคณุ เช่น ให้แกพ่ อ่ แม่ ญาตผิ ู้ใหญ่ หรอื ผู้ ให้เป็นประโยชน์ เป็นทางให้ปล้ืมใจในทางที่ถูก
มอี ปุ การคุณต่อเรา เพื่อเป็นการตอบแทนความดี ทีช่ อบ เหน็ ตนเป็นคนมีคา่ ตามความเป็นจรงิ ไม่
ของทา่ น

๓๓ 47

ต้องสลดใจ และต�ำหนิตัวเองอยู่เนืองนิจว่า เรา การตั้งใจบ�ำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อ่ืนน้ี รวม
เป็นคนไมม่ ีค่า ไม่เป็นประโยชน์แกใ่ คร เรียกว่า “อัตถจริยา” ซึ่งองค์พระพุทธเจ้าทรง
คนมีประโยชน์ย่อมครองใจผู้อื่นได้ไม่ยาก บ�ำเพ็ญอยู่เปน็ ประจ�ำตลอดเวลา ๔๕ ปี หลังจาก
อาจจะครองใจคนท้ังโลกก็ได้ ลองอ่านประวัติ ตรสั รู้แลว้ จวบจนวันปรินพิ พาน ควรเป็นตัวอย่าง
คนที่ท�ำประโยชน์ไว้แก่โลก ที่มวลมนุษย์พากัน ส�ำหรบั พวกเราทั้งหลายด้วย
ยกย่องว่า “คนส�ำคัญของโลก” ดูเถิด จะเห็น เพ่ือความสบายใจของผู้อื่น เราควรหัดเป็น
ความจรงิ ดงั กลา่ วมาน้ี จะยกตวั อยา่ งกม็ มี ากเหลอื คนพูดจาดี เว้นค�ำเท็จ หกั รานประโยชน์ผ้อู ื่น พดู
เกิน จะขอยกองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ค�ำจริง อันเอื้ออ�ำนวยประโยชน์แก่ผู้อื่น เว้นค�ำ
เพยี งองคเ์ ดียวขน้ึ มาเป็นตวั อยา่ ง ท่านท้งั หลายก็ สอ่ เสยี ดยยุ งใหเ้ ขาแตกกนั แตพ่ ดู คำ� สมานสามคั คี
จะมองเหน็ ไดท้ นั ทวี า่ พระองคท์ า่ นไดท้ ำ� ประโยชน์ เว้นค�ำหยาบอันเป็นเหตุกระทบกระเทือนใจผู้อื่น
ไวแ้ กโ่ ลกเพยี งไร โลกจงึ ไดน้ อ้ มเศยี รใหแ้ กพ่ ระองค์ ใช้ค�ำพูดอ่อนหวาน นุ่มนวล ชวนฟัง ระร่ืนหู
ท่านตลอดมา ตัง้ แต่บดั นัน้ จนกระทั่งบดั น้ี ชูกำ� ลงั ใจ เว้นค�ำเพ้อเจอ้ ไรส้ าระ ท�ำให้เสยี เวลา
ผู้ฟังหรือคู่สนทนาโดยเปล่าประโยชน์ พูดค�ำดี
มีประโยชน์
คำ� พดู จดั เปน็ สว่ นสำ� คญั ในพฤตกิ รรมของคน
ผูพ้ ูดดี ดดู ดมื่ ใจ ย่อมก่อให้เกิดความรักใครส่ นิท
สนม พดู ชว่ั ทำ� ใหค้ นเกลยี ดชงั นำ� ภยั พบิ ตั มิ าสตู่ น

การพดู จาด ี ท เ่ี รยี กวา่ ส ภุ าษติ น น้ั พ ระพทุ ธเจา้
ทรงแสดงองคป์ ระกอบไว้ดงั น๑้ี
๑. พูดถกู กาล คือ พูดในเวลาทคี่ วรพดู แม้
จะเปน็ คำ� ทคี่ วรพดู แลว้ กต็ อ้ งเลอื กเวลาใหเ้ หมาะ
สมด้วย เชน่ เราจะพูดตักเตอื นเพอ่ื น กค็ วรเป็น
เวลาที่เขาพร้อมจะฟัง การพูดในที่ชุมชนหรือใน
การบรรยายในชน้ั เรยี น กค็ วรใหเ้ ปน็ ไปตามเวลา
ทกี่ ำ� หนด ผพู้ ดู นอ้ ยกวา่ เวลาทกี่ ำ� หนดเกนิ ไป หรอื
ลน้ เกนิ ไปบอ่ ยๆ กจ็ ะทำ� ใหเ้ สยี ประโยชนข์ องผฟู้ งั
และเสยี ความนยิ มนับถือ ใครๆ มองเห็นเปน็ คน
ล้นหรือขาดเกินไป ไม่พอดี

ถา้ เราคดิ วา่ วาสนาบารมีของเราน้อยนกั จะ ๒. พูดค�ำจริง ท�ำให้เกิดความนิยมเชื่อถือ
ท�ำอย่างพระองค์ท่านไม่ได้ ก็พยายามท�ำตนให้ ผู้อื่นไม่ต้องประหว่ันพร่ันพรึงต่อความปรวนแปร
เปน็ ประโยชน์แกค่ รอบครวั แกพ่ น่ี อ้ ง แกเ่ พ่อื นๆ กลับกลอก ให้เป็นท่ีเคารพยกย่องในวาจาว่า
ของเรา เท่าน้กี น็ ับว่าดตี ามฐานะของเราแลว้
๑. สุภาษิตสตู ร องฺ ปณฺจก ๒๒/๑๙๘/๒๗๑

48 ๓๓

“ถ้าท่านผู้นั้นพูด หรือนัดหมายส่ิงใดแล้ว ก็เป็น มีกำ� ลังใจอยู่ ก็ยังไม่แพ้ สิ้นสุดกำ� ลังใจเมือ่ ใด แม้
อันนอนใจได”้ กำ� ลังอย่างอื่นๆ จะมีอย่พู รอ้ มกช็ ่วยอะไรไม่ได้ ดู
ตวั อยา่ งคนทรี่ สู้ กึ สญู เสยี ความรกั หรอื สง่ิ ทร่ี กั เมอ่ื
๓. พูดค�ำอ่อนหวาน ไม่กระด้างด้วยมานะ เสียก�ำลังใจก็หมดอาลัยตายอยาก มืออ่อนเท้า
(ความทะนงตน) หรอื ถือดี หย่งิ ยะโส ดหู มิ่นผูอ้ น่ื ออ่ นทำ� อะไรไมไ่ ด้ แตพ่ อรวู้ า่ ไดส้ มหวงั ในความรกั
ด้วยกิริยาหรือวาจา พยายามท�ำให้ผู้อื่นสบายใจ กำ� ลงั ใจมมี าฟน้ื ขนึ้ ไดท้ นั ที ผทู้ เ่ี ปน็ หวั หนา้ สามารถ
ดว้ ยวาจาของตน ไมใ่ ชใ่ หเ้ ขาทกุ ขใ์ จ เสยี ใจ เพราะ ท�ำอะไรได้มากกว่าคนอ่ืนก็เพราะก�ำลังใจสูงกว่า
คำ� หยาบของตน สตรีท่ีมีความสามารถในการพูดจาให้ก�ำลังใจแก่
๔. พูดมปี ระโยชน์ (ได้กล่าวมาแล้ว) ชายคนรกั ของตน จงึ มกั เปน็ ทร่ี กั อยา่ งยงิ่ ของชาย

๕. พดู ดว้ ยจติ ประกอบดว้ ยเมตตาคอื จะพดู นนั้ และชว่ ยหนนุ ใหก้ า้ วหนา้ ในวถิ ที างทเี่ ขากำ� ลงั
อะไรกบั ใคร ขอใหส้ ำ� รวจใจของตวั เองดเู สยี กอ่ นวา่ ดำ� เนนิ อยู่ได้อย่างดี ชายทพี่ ูดจาใหก้ ำ� ลงั ใจหญิงก็
เราพูดด้วยความปรารถนาดีหรือปรารถนาร้าย เช่นเดยี วกัน
ตอ่ เขา ถา้ พบวา่ ปรารถนารา้ ยกไ็ มค่ วรพดู เมอ่ื พบ
ว่าปรารถนาดีจึงควรจะพูด ความจริงผู้ฟังเขาก็ ความอ่อนนอ้ มถอ่ มตน
พออา่ นออกวา่ อาการทเ่ี ราพดู นน้ั ดว้ ยปรารถนาดี มนษุ ยเ์ ราทกุ คน ไมช่ อบความเยอ่ หยงิ่ จองหอง
หรอื ปรารถนารา้ ย เมอื่ เราพดู ดว้ ยความปรารถนา แต่ชอบความอ่อนน้อมถ่อมตน ถ้าอยากให้ใคร
ดี หรือเมตตาจิต และพูดถูกกาล พูดอ่อนหวาน เกลียดชัง ก็จงเย่อหยิ่งจองหอง ยกตนข่มผู้อื่น
พดู จริง พดู มปี ระโยชนแ์ ลว้ ผลทีไ่ ดก้ ็คงเปน็ ผลดี ถ้าอยากให้เขารัก ก็จงอ่อนน้อมถ่อมตนต่อคน
ทง้ั แกต่ วั เราและผทู้ เี่ ราพดู ดว้ ย การทเี่ ขาจะเขา้ ใจ ทกุ ประเภท วางตนเหมาะสมแกค่ นทกุ ชน้ั ทกุ เพศ
ผิดในตัวเราก็อาจจะมีได้บ้าง แต่ส่วนมากมักจะ ทกุ วยั พยายามวางตนเสมอตน้ เสมอปลาย ไมส่ าม
เปน็ ไปเพราะเหตกุ ารณอ์ นื่ บงั คบั เชน่ กำ� ลงั อยใู่ น วันดีส่ีวันร้าย หรือประพฤติต่อผู้อ่ืนตามอารมณ์
สถานการณ์ที่เขาไม่เข้าใจเรา แต่พอสถานการณ์ ตน แลว้ คดิ แตจ่ ะใหผ้ อู้ นื่ เขา้ ใจตนโดยทต่ี นไมต่ อ้ ง
หรือเหตุการณ์น้ันล่วงไปแล้ว เขาก็จะเข้าใจเราดี เข้าใจใคร ลองสำ� รวจดูเถดิ จะไมม่ ใี ครเกลยี ดชัง
ขน้ึ และคงจะรักใคร่นบั ถอื เราตลอดไป คนท่ีออ่ นนอ้ มถ่อมตน เพราะเราออ่ นนอ้ ม เขาถงึ
นอกจากพูดจาดีดังกล่าว ควรหัดเป็นคน ยกย่อง ยง่ิ ถ้าเรากระดา้ ง ยกตน เขายิง่ อยากจะ
พูดจาให้ก�ำลังใจผู้อื่น แม้เราไม่มีส่ิงใดจะให้เขา ข่มลง ควรฝึกตนให้เป็นเหมือนน้�ำ ท�ำประโยชน์
แต่การพูดให้ก�ำลังใจก็ถือว่าเป็นการให้สิ่งส�ำคัญ ทกุ อยา่ งแลว้ ไหลลงตำ่� ออ่ นโยน ละมนุ ละไม แตม่ ี
ในชีวติ ประการหน่งึ ทเี ดียว เพราะกำ� ลังใจเป็นสิง่ อานุภาพยิง่ นกั
สำ� คญั อยา่ งยงิ่ สำ� หรบั ความกา้ วหนา้ หรอื ถอยหลงั การนยิ มยกยอ่ ง

ในชีวิตของคน เมื่อใดเราท้อแท้ เม่ือนัน้ เราอยาก ทกุ คนตอ้ งการความนยิ มยกยอ่ งจากผอู้ นื่ โดย
เข้าใกล้คนทพี่ ดู จาให้ก�ำลงั ใจแกเ่ รา และอยากจะ วิธีใดวิธีหน่ึง โดยตรงหรือโดยอ้อม กล่าวอีกนัย
ห่างให้ไกลแสนไกลซ่ึงคนที่พูดจาท�ำลายก�ำลังใจ หน่ึง ตอ้ งการใหส้ ังคมยอมรับตน แมจ้ ะไม่ใชห่ รอื
ของเรา สงครามชวี ติ นน้ั กำ� ลงั ใจสำ� คญั ทส่ี ดุ เมอ่ื ยงั ไม่ถึงฐานะคนส�ำคัญ ก็เพียงแต่เป็นผู้ไม่ไร้ความ


Click to View FlipBook Version