The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

วารสารโพธิยาลัย 32

podhiyalai_32

ปท่ี ๓ ฉบับท่ี ๓๒ เดือน มกราคม ๒๕๖๑

วิกฤตสังฉคบมั บปจฉิมวยั

ข้อคิดส�ำหรับปัจฉิมวัย

ตาใหม่ (แต่) ใจเดิม


จงมี ‘ตาใหม่’
อย่าปล่อยไว้จน ‘ตาแก่’
แต่ จงมี ‘ใจเดิม’
อย่าปรุงเสริมจน ‘ใจแปร’

ปปัญจา

เปดิ เล่ม ฉบับที่ ๓๒ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑

วารสารโพธิยาลัย ประจ�ำเดือนมกราคม พ.ศ. ท่ดี ี และใหค้ วามรกั ความอบอนุ่ แกล่ ูกหลาน เป็น
๒๕๖๑ ฉบบั น้ี เปน็ ฉบบั วกิ ฤตสิ งั คมปจั ฉมิ วยั ซงึ่ จดั ร่มโพธ์ิร่มไทร ท่ีท�ำให้ลูกหลานมีความอบอุ่นใจ มี
ท�ำเปน็ พิเศษส�ำหรับบุคคลปจั ฉมิ วยั หรือจะเรยี ก สงู ความม่นั คงทางใจ
วัย ก็คอื ความหมายเดยี วกัน เพียงแตค่ �ำวา่ ปจั ฉิมวัย โชคดีท่ีประเทศไทยของเราน้ัน มีค่านิยม
เปน็ ภาษาบาลี และเปน็ คำ� ทมี่ ใี ชใ้ นพระไตรปฎิ ก ทใ่ี ช้ ประเพณี วัฒนธรรม ท่ีไม่ทอดทิ้งผู้สูงอายุ ต่างกับ
เรียกผ้ทู ่ีมวี ัยอยูใ่ นระหว่างบน้ั ปลายของชีวติ นั่นเอง ต่างประเทศ โดยเฉพาะอยา่ งยิง่ วฒั นธรรมในซีกโลก
ขณะนี้ท่ัวโลกก็ว่าได้ ประสบปัญหาเดียวกัน ตะวนั ตก ทลี่ กู หลานจะแยกตวั ออกมาจากครอบครวั
คือ มีผูส้ งู วยั มากกวา่ วยั อ่นื ท�ำให้แต่ละประเทศตอ้ ง เมอื่ ถงึ วยั หนมุ่ สาว ทงิ้ ใหพ้ อ่ แมอ่ ยตู่ ามลำ� พงั และเมอื่
แสวงหาหนทางแกไ้ ขวา่ จะทำ� อยา่ งไร ในเมอื่ มผี สู้ งู วยั พ่อแม่แก่เฒ่าจริงๆ ก็ส่งไปอยู่บ้านพักคนชรา มีเจ้า
จำ� นวนมากเช่นน้ี จะไมเ่ ป็นปญั หาตอ่ สงั คม หน้าที่ดูแล ลูกหลานไปเย่ียมบ้างบางครั้งบางคราว
ในความเป็นจริง การที่สังคมมีวัยหนึ่งวัย ตามความสะดวก
ใดมากกว่าวัยอื่น จะไม่เป็นปัญหาเลย หากรู้จัก ค่านิยมบ้านพักคนชราได้แพร่หลายเข้ามาใน
หาวิธีจัดการ จัดสรรให้เหมาะสม ถูกควร ให้ได้ เมืองไทยนานนบั หลายสบิ ปีแลว้ และดเู หมือนว่าจะ
เกิดประโยชน์มากที่สุด ท้ังแก่บุคคลในวัยน้ันๆ เพ่มิ มากข้นึ ทกุ วัน ลกู หลานเล้ยี งดูพอ่ แม่ท่ีแกเ่ ฒ่าไม่
และแก่สังคมที่เขาเหล่าน้ันอยู่อาศัย ซึ่งก็เป็นไป ไหว กไ็ ปฝากไวต้ ามบา้ นพกั คนชรา และคนชราหลาย
คล้ายกันทัว่ โลก จงึ มีหลายประเทศหาทางแก้ไขด้วย คนได้ตายท่ีบ้านพักคนชราเหล่าน้ัน ไม่ได้อยู่กับลูก
วิธีการต่างๆ ดังท่านผู้อ่านจะค้นพบได้ในบทความ หลานในวาระสุดท้ายอย่างในสมัยก่อน
ต่างๆ ของวารสารฉบับนี้ ซ่ึงจะให้แง่คิดชวนพินิจ ถ้าคิดว่าการมีผู้สูงวัยจ�ำนวนมากเป็นปัญหา
พิจารณา และสามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ตามความ ก็ควรท่ีจะมาร่วมมือกันท�ำให้ไม่เป็นปัญหา ซ่ึงก็มี
เหมาะสม หลากหลายวิธีการ แต่อย่างน้อยท่ีสุด ผู้สูงวัยควรมี
เรามที งั้ รายงานขอ้ มลู ทเ่ี ชอื่ ถอื ไดจ้ ากทางภาครฐั ความรคู้ วามเขา้ ใจวา่ ควรเตรยี มตวั อยา่ งไร ทง้ั รา่ งกาย
และองคก์ รตา่ งๆ ซงึ่ สนใจปญั หานที้ กี่ ำ� ลงั เกดิ ขน้ึ ในโลก และจิตใจ ให้เข้มแข็ง พร้อมรับมือกับสภาพท่ี
และในฐานะเราเปน็ ปจั เจกบคุ คล ควรมที า่ ทใี นเรอื่ งน้ี เปลีย่ นแปลงไป ความทรุดโทรมทีจ่ ะเกิดขน้ึ ทลี ะเล็ก
อยา่ งไร เพราะการสงู วยั เปน็ เรือ่ งธรรมดา ธรรมชาติ ละน้อย จนกระทงั่ ถึงเวลาปิดฉากชวี ติ ที่ควรเปน็ ไป
ที่เกิดและเป็นไปอยา่ งน้ี ไม่มีวนั สิ้นสุด เราตอ้ งอยู่กบั อยา่ งมคี ณุ ภาพทสี่ ดุ
ความจริงนี้ อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ แต่เราจะท�ำ ผสู้ งู วยั ทง้ั หลาย หากเตรยี มตวั พรอ้ ม จะสามารถ
อย่างไร จึงจะอยู่กับส่ิงท่ีคิดว่าเป็นปัญหาได้อย่างดี มีชีวิตสูงวัยอย่างมีคุณภาพได้ไม่ยาก ดังมีผู้สูงวัย
ประนปี ระนอม และมคี วามสุขดว้ ยกันทกุ ฝ่าย จ�ำนวนมากแสดงให้เห็นเป็นท่ีประจักษ์ มีคนชรา
สังคมจะขับเคลื่อนไปได้ดีนั้น สมาชิกในสังคม หลายคนสามารถวิ่งแข่งมาราธอนเป็นร้อยกิโลเมตร
เร่ิมท่ีครอบครัว กต็ ้องมีพ่อ แม่ ปู่ ยา่ ตา ยาย พี่ ป้า ได้อย่างสบาย เช่น คุณปู่กฤษณะ พรหมสาขา
น้า อา หลากหลายช่วงอายุ เราจะท�ำอย่างไรให้ ณ สกลนคร อายุ ๘๖ ปี สามารถว่ิงไดร้ อ้ ยกิโลเมตร
สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างไม่มีช่องว่างระหว่างวัย อย่างน่าอัศจรรย์ ท่ีเป็นเช่นนไี้ ด้ เพราะทา่ นผา่ นการ
ความอบอุ่นใจ มีก�ำลังใจ และความสมานฉันท์ใน ฝึกฝนตนเองอยเู่ สมอ จงึ สามารถว่งิ ทางไกลเช่นนไ้ี ด้
ครอบครัว ต้องเร่มิ จากผูส้ งู อายุ ที่จะเปน็ แบบอยา่ ง ในตา่ งประเทศกม็ ใี ห้เหน็ คณุ ยา่ คุณยาย ทอี่ ายกุ วา่

2 ๓๒

แปดสิบ สามารถท�ำอะไร ประธานทป่ี รกึ ษา ส า ร บั ญ
ต่างๆ ได้ อย่างน่าอศั จรรย์ใจ พระครูธรรมธรสมุ นต์ นนฺทโิ ก
เช่น ไปเรียนหนังสือต่อ จน a วิสชั นาธรรม : สังคมปจั ฉมิ วยั วกิ ฤตจิ ริงหรอื
จบดุษฎีบัณฑิต ไปวิ่งแข่ง อัคคมหาบัณฑติ พอจ.มหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร.....๓
ไปทำ� โนน่ ทำ� น่ี เปน็ ขา่ วใหเ้ หน็ บรรณาธกิ ารอํานวยการ a ปรารภธรรม : ถ้าสูงอายุเปน็ ก็น่าเป็น
มากมาย พระมหาประนอม ธมมฺ าลงฺกาโร ผู้สูงอายุ - สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์...๑๓
ความแก่ชราน้ันอยู่ท่ีใจ a ธรรมกถา : สุขใจในวัยชรา
หากทำ� ใจไมใ่ หแ้ ก่ กอ็ าจมชี วี ติ บรรณาธกิ ารบริหาร พระไพศาล วสิ าโล....................................๑๙
อยู่ได้นานๆ ด้วยการเจริญ พนิตา อังจนั ทรเพ็ญ a พระธรรมเทศนา : เสน่ห์เย็นๆ
อทิ ธบิ าท ๔ เปน็ ตน้ พระพทุ ธ- [email protected] พระอาจารยช์ ยสาโร..................................๒๔
เจ้าทรงเคยตรัสว่า การเจริญ รองบรรณาธกิ าร a ปญั ญาภวิ ัตน์ : กอ่ นกายแตก
อิทธิบาท ๔* สามารถช่วย ทพญ. อจั ฉรา กลิ่นสุวรรณ์ ธรี ปญั โญ....................................................๓๑
ให้มีอายุยืนนานได้ เพราะ [email protected] a ปญั ญารัตนะ : ความโกรธกบั ผู้สงู อายุ
ฉะน้ัน ผู้ใดประสงค์จะมีอายุ วศนิ อนิ ทสระ............................................๓๕
ยืนจึงควรท�ำตามค�ำสอนของ ประสานงาน a ในกระแสขา่ ว : ประชมุ เตรยี มการสสู่ งั คมผสู้ งู อายุ
พระพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด พระครูประคณุ สรกิจ กองบรรณาธิการ. .....................................๓๘
จริงจัง นอกจากจะท�ำให้ (พระมหาการุณย์ กุสลนนฺโท) a เรื่องชดุ พทุ ธบริษทั : สังคมปัจฉิมวยั ใครว่า
มีอายุยืนแล้ว ยังท�ำให้ชีวิตมี [email protected] เป็นปัญหา - พทุ ธสาวกิ า...........................๓๙
คณุ ภาพอกี ด้วย กองบรรณาธิการ a มองเทศ - มองไทย : พระอุปคุตเถระ
หวังว่าวารสารฉบับ คณะสงฆว์ ดั จากแดง จากพระธรรมกถกึ ถึงผทู้ รงอภิญญา (๒)
วิกฤติสังคมปัจฉิมวัย เล่มน้ี สำ�นักงาน : วัดจากแดง วเิ ทศทยั ย.์ ..................................................๔๓
คงเป็นคู่คิดให้กับสังคมท่ี ๑๖ หมู่ ๖ ถ.เพชรหงึ ษ์ a ใต้ฟ้าวัดจากแดง : รับสมคั รบาฬีศึกษา.....๔๘
ก�ำลังคิดว่ามีปัญหา มีวิกฤติ
หากร่วมมือร่วมใจกันอย่างดี ซ.เพชรหึงษ์ ๑๐ หากท่านผู้อ่านมีความประสงค์จะติดต่อ
ปัญหาน้ีก็ถือว่าไม่เป็นปัญหา ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง กองบรรณาธกิ ารวารสารโพธยิ าลยั หรอื ตอ้ งการ
ใหญโ่ ตอะไรนักหนา สามารถ จ.สมทุ รปราการ ๑๐๑๓๐ แสดงความเหน็ ติชม หรอื คำ� แนะนำ� ใดๆ กรุณา
แก้ไขได้ด้วยปัญญา เพียงขอ โทรศัพท.์ ๐๒-๔๖๔-๑๑๒๒ ติดต่อได้ที่อีเมล [email protected]
ใหพ้ วกเราทกุ คนเจรญิ ปญั ญา พมิ พ์ครง้ั ที่ ๑ : เมษายน ๒๕๖๑ (พระครูประคุณสรกิจ หรือพระมหาการุณย์
ศึกษาธรรมะ แล้วธรรมะจะ กสุ ลนนโฺ ท) หรอื เขยี นจดหมายสง่ ถงึ ทพญ.อจั ฉรา
เป็นที่พ่ึงอันเกษมแก่มนุษย์ จำ�นวน ๕,๐๐๐ เล่ม กลิ่นสุวรรณ์ ชมรมกัลยาณธรรม เลขที่ ๑๐๐
ในทกุ วยั ขอใหท้ กุ ทา่ นมคี วาม ปก ถ.ประโคนชยั ต.ปากนำ�้ อ.เมอื ง จ.สมทุ รปราการ
ปีติสุขกับการไดเ้ กดิ มาในโลก ๑๐๒๗๐ หรอื อเี มล [email protected]
ได้ท�ำประโยชน์ และเจริญ ยามปัจฉมิ วยั วารสารโพธิยาลัยจัดพิมพ์ด้วยปัจจัยบริจาค
ก้าวหน้าในพระธรรม อันจะ ออกแบบ : พระครูวินัยธร ของทา่ นผ้มู จี ติ ศรทั ธา โดยเลอื กใชก้ ระดาษถนอม
นำ� ชวี ติ ใหร้ งุ่ โรจนต์ อ่ ไป ทงั้ ใน สายตา เปี่ยมด้วยคุณค่าทางปัญญาเพื่อแจกเป็น
ภพน้ี และภพหน้า ชัยยศ พทุ ธฺ วิ โร ธรรมทานและบริจาคไปตามห้องสมุดต่างๆ หาก
เครดิตภาพ ทา่ นอ่านจบแลว้ ตอ้ งการแบ่งปนั ธรรมทาน โปรด
คณะผูจ้ ดั ท�ำ ชาคิโนภิกข,ุ เขมา เขมะ, ส่งต่อให้ท่านอ่ืนท่ีเห็นคุณค่า หรือมอบให้สถาบัน
ตอ่ สวัสด์ิ สวสั ดิ-ชโู ต ห้องสมุด วดั หรือสถานปฏิบัติธรรมต่างๆ เปน็ ต้น
*มหาปรนิ พิ พานสูตร ท.ี มหา.เล่ม ๒ ภาค ๑ และขอขอบคณุ เจา้ ของภาพ เพอ่ื ใหเ้ กดิ ประโยชนท์ างปญั ญาอยา่ งกวา้ งขวางแก่
จากทาง Internet ทกุ ทา่ น ผู้ใฝธ่ รรมตอ่ ไป
ศิลปกรรม
สหมติ รกรปุ๊ ทมี
อุปถมั ภอ ุปกรณค อมพวิ เตอร
โดยคุณพัชรพมิ ล ยังประภากร
ประธานกรรมการสนิ คา้ แบรนด์
‘สุวิมล’
จัดพมิ พโ์ ดย
สหมิตรพร้ินตง้ิ แอนดพ์ ับลิชชง่ิ
โทร. ๐๒ ๙๐๓ ๘๒๕๗-๙

3

วิสชั นาธรรม

พระอาจารยม์ หาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร

สังคมปัจฉิมวัย วิกฤติจริงหรือ ?
กราบนมสั การ ปัตโต ผ่านวัยมาแลว้ โดยล�ำดบั ผ่านมา ๓ วัย,
ทา่ นพระอาจารย์ รัตตัญญู ผู้รู้ราตรีนาน คือมีประสบการณ์สูง,
ที่เคารพ ฉบับน้ี อาตุระกาโย มรี ่างกายกระสบั กระส่าย, อะภิก-
เราจะมาวิสัชนา ขะณาตังโก เจ็บป่วยเนืองๆ และ เชฏโฐ คือ
กันถึงปัญหาเรื่อง ผู้เจรญิ ผ้ใู หญ่
วิกฤติของสังคม ค�ำศัพท์เหล่าน้ี มีนัยหมายถึง ผู้สูงอาย ุ
ปัจฉิมวัยซ่ึงเป็น อาตุระ (อาดูร) แก่ชรา คือ เก่าคร่�ำคร่าแล้ว,
ปัญหาที่ท่ัวโลกมี มะหลั ละกะ คอื โตขึน้ ๆ ใหญ่ขึน้ ๆ ใหญ่สุดแลว้ ,
การตน่ื ตวั หาทาง อทั ธะคะโต คือ ผา่ นกาลเวลามา ล่วงเลยเวลา
แก้ไขและจัดการกับการเพ่ิมจ�ำนวนของ มาแลว้ , วะโยอะนปุ ปตั ตะ คอื ผ่านวยั มา ตาม
ผู้สูงอายุ โยมจึงมากราบเรียนถามท่าน ล�ำดบั , วฑุ ฒะ วุฑโฒ คือ แกเ่ ฒ่าแล้ว
พระอาจารย์ เพอ่ื ขอคำ� แนะน�ำเจา้ คะ ท่ีกล่าวมาน้ีคือค�ำศัพท์ในพระไตรปิฎกที่

ปุจฉา : ในพระไตรปิฎก มีค�ำศัพท์ไหนบ้าง หมายถงึ ผสู้ งู อาย ุ สมยั กอ่ นเมอ่ื เราเหน็ ใครเรยี ก
ท่ีมีความหมายเกยี่ วกบั ผสู้ งู อายุเจา้ คะ ทา่ นใดดว้ ยศพั ท์เหล่าน้ี คนท่ีอายุนอ้ ยกวา่ ก็จะ
กราบไหว้ ลุกขึ้นต้อนรับ เชื้อเชิญด้วยอาสนะ
วิสัชนา : ในพระไตรปิฎก จะได้ยินค�ำว่า เชิญนัง่ อะไรตา่ งๆ เป็นธรรมเนยี ม ถ้าใครไมท่ �ำ
ชณิ โณ แปลวา่ แก่ชรา, วุฑโฒ แปลว่า ผูเ้ ฒา่ , ถือวา่ ผดิ ธรรมเนียม ท้งั พุทธ ทัง้ พราหมณก์ ็สอน
มะหัลละโก แปลว่า เป็นผู้ใหญ่, อัทธะคะโต วา่ อภวิ าทนสลี สิ สฺ นจิ จฺ ํ วฑุ ฒฺ าปจายโิ น จตตฺ าโร
ล่วงกาล ผ่านกาลมาหลายกาล, วะโยอะนุป- ธมมฺ า วฑฺฒนฺติ อายุ วณโฺ ณ สุขํ พลํ แปลวา่

4 ๓๒

การมีความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้หลักผู้ใหญ่ วิสัชนา : หลักธรรมส�ำคัญที่ผู้สูงอายุควรน�ำมา
กท็ �ำให้ตัวเองมี อายุ วรรณะ สุขะ พละ ถ้าตาย ปฏิบัติ คือ (๑) พรหมวิหาร ๔ (๒) อิทธิบาท
ไปแล้ว ก็ไปเกิดเป็นเทวดา ทางโลก เรียกผู้ ๔ และ (๓) อภณิ หปัจจเวกขณ์ ๕ และ (๔) เรอ่ื ง
มีอายุมากกว่าว่า อาวุโส ทางธรรม เรียกผู้มี ทาน ศีล ภาวนา
อายุน้อยกว่าว่า อาวุโส เรียกผู้มีอายุมากกว่า
ว่า ภันเต ปุจฉา : สำ� หรับหลกั พรหมวหิ าร ๔ โยมพอจะ
เขา้ ใจว่าผ้สู งู อายุควรจะมี แตห่ ลัก อิทธบิ าท ๔
ปุจฉา : ตามหลักพุทธศาสนา นับช่วงอายุ เกีย่ วขอ้ งและสำ� คญั อย่างไรเจา้ คะ
อย่างไร ทจ่ี ะบอกวา่ ใครเปน็ คนแก่ เอาเกณฑ์
อะไรมาเปน็ ตวั วัดเจ้าคะ วสิ ชั นา : ถา้ ผ้สู ูงอายุมีอทิ ธิบาท ๔ คือ ฉนั ทะ
วิริยะ จิตตะ วิมังสา ความรู้สึกแก่จะไม่เกิด
วิสัชนา : ถ้าจะนับแบบ พระอภิธรรม ทุกคน ข้นึ คือแกแ่ บบ active ไมไ่ ด้แก่แบบ passive
เกิดปุ๊บแก่ปั๊บเลย หลังปฏิสนธิเลย แรกเกิดก็ แกแ่ ลว้ ยงั ทำ� งานไดด้ ี รา่ งกายแขง็ แรง มพี ลงั ใจดี
เรมิ่ แก่แล้ว ชรามาตามกาล เรอ่ื ยๆ มา จนถงึ เรียกว่า “ยงั มไี ฟอยู่” คือ มี ฉนั ทะ ทจ่ี ะท�ำงาน,
ชราสุดท้าย ถา้ นับแบบ พระวนิ ยั คอื พระบวช มี วริ ิยะ ความเพียรพยายาม, มี จติ ตะ เอาใจใส่
ได้ ๑ - ๕ พรรษา เรียกวา่ นวกะ, บวชได้ ๕ - การงาน และ มี วมิ งั สา คือปัญญาวจิ ัย คดิ คน้
๑๐ พรรษา เรียกว่า มชั ฌมิ ะ, บวชได้ ๑๐ - คนแกป่ ระเภทนไ้ี มต่ อ้ งรอขอความชว่ ยเหลอื จาก
๒๐ พรรษา เรยี กวา่ เถระ (แก,่ มน่ั คง) พอบวชได้ ใคร เขาจะตนื่ ตวั กระชมุ่ กระชวย กระฉบั กระเฉง
ถึง ๒๐ พรรษาขึ้นไป เรียกว่า มหาเถระ อยู่ตลอดเวลา และเขาจะดูแลตัวเองได้ แม้
(แกม่ าก, มน่ั คงมาก) นคี่ อื นับแบบพระวินยั เกษียณแล้ว ก็จะไม่ปล่อยชีวิตให้จมกับความ
เหงา หาอะไรที่มีประโยชน์มาท�ำ ท�ำให้มีชีวิต
ปุจฉา : แล้วถา้ นับแบบพระสูตรละ่ เจ้าคะ ชวี าขนึ้ ซ่งึ หลักอทิ ธบิ าท ๔ จะเป็นตัวช่วยได้
วสิ ชั นา : นบั อายแุ บบ พระสตู ร จะแบง่ เปน็ ๓ วยั ปจุ ฉา : เขา้ ใจแลว้ เจา้ ค่ะ โยมสงสัยอยู่ว่า ท�ำไม
คอื ปฐมวัย มชั ฌิมวยั และ ปจั ฉิมวยั อายขุ ัย ผสู้ งู วัยบางทา่ นจงึ ดูไมเ่ หมือนคนแก่ แตม่ คี วาม
กแ็ ลว้ แต่ เชน่ ถา้ อายุขัย ๑๐๐ ปี กเ็ อา ๑๐๐ กระตือรือร้นท่ีจะท�ำอะไรดีๆ อยู่ตลอดเวลา
มาแบง่ ๓ ส่วน แบ่งช่วงแรกเปน็ ปฐมวัย ชว่ งที่ เพราะท่านมีอิทธิบาท ๔ นี่เอง พระอาจารย์
สองเปน็ มชั ฌมิ วยั ชว่ งทส่ี ามเปน็ ปจั ฉมิ วยั นค่ี อื โปรดกรุณาอธบิ ายต่อด้วยเจา้ ค่ะ
การนับอายุแบบพระสตู ร
วสิ ชั นา : เจรญิ พร คุณธรรมส�ำคัญข้อแรก ต้อง
ปจุ ฉา : อยา่ งน้ี โยมกย็ งั ไมใ่ ชค่ นแก่ ใชไ่ หมเจา้ คะ มี พรหมวิหาร ๔ พรหม แปลว่า ประเสริฐ
วิสัชนา : ถา้ หากนบั แบบพระสตู ร กย็ งั ไมแ่ ก่ แต่ หรือ ปู่ สำ� หรับพ่อแม่ กค็ อื ผมู้ คี ณุ ธรรมเหมือน
ถา้ นบั แบบพระอภธิ รรมกแ็ ก่แล้ว พระพรหม หรือเป็นผู้มีคุณธรรมเหมือนปู่ เป็น

ปุจฉา : มีหลักธรรมอะไรบ้าง ที่ผู้สูงอายุควร ผู้มีคุณธรรมที่ประเสริฐ นี้คือ พรหม หรือ
จะนำ� มาปฏบิ ตั เิ พอื่ ใหม้ คี ณุ ภาพชวี ติ และสขุ ภาวะ พรหมวหิ าร พระพรหมตอ้ งมธี รรม ๔ อย่าง คือ
ทีด่ เี จา้ ค่ะ เมตตา กรุณา มทุ ติ า อเุ บกขา

๓๒ 5

ประการแรก ตอ้ งมเี มตตา ปรารถนาดกี ับ
ทุกคน, ใครมที ุกข์กส็ งสาร มกี รุณา คดิ จะช่วย
ให้เขาพ้นทกุ ข,์ มุทิตา ใครมสี ุข เรากย็ ินดี พอใจ
อนโุ มทนาดว้ ย สุดทา้ ย ตอ้ งมี อเุ บกขา วางใจ
วา่ สตั วท์ ั้งหลายมีกรรมเปน็ ของๆ ตน ตวั อยา่ ง
เช่น พ่อแม่ต้องเมตตาต่อลูกทุกคน ลูกที่ก�ำลัง
ตกทุกข์ได้ยาก พ่อแม่ต้องกรุณา ลูกท่ีประสบ
ความส�ำเรจ็ พอ่ แม่ต้องมมี ุทติ า สดุ ท้าย เม่ือลูก
มีครอบครัว พ่ึงตนเองได้แล้ว พ่อแม่ก็ต้องวาง
อุเบกขา คือ วางใจเปน็ กลาง ปล่อยวางได้ วสิ ัชนา : หลักอภิณหปัจจเวกขณส์ �ำคัญมาก คอื
หลักการฝึกใจอยู่เนืองๆ ต้องพิจารณาเนืองๆ
ถงึ จะเปน็ คนแก่แบบ active แต่หากไปเจอของ
จริง ในวันท่ีต้องท้ิงทุกอย่างเพ่ือข้ามภพชาติ ก็
เศร้าซึมจนทรุดไปเลยก็มี ฉะนั้น ต้องพิจารณา
อภิณหปัจจเวกขณ์ ว่า ๑. เรามีความแก่เป็น
ธรรมดา ไม่อาจล่วงพ้นความแก่ไปได้ ๒. เรามี
ความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่อาจล่วงพ้นความ
เจ็บไปได้ ๓. เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่
อาจล่วงพ้นความตายไปได้ ๔. เราจะต้องพลัด
อุเบกขา ไม่ใช่หมายถึงการวางเฉย แต่คือ พรากจากของรกั ของชอบใจเปน็ ธรรมดา ไมอ่ าจ
การวางใจเป็นกลางว่า สัตว์ท้ังหลายมีกรรม ลว่ งพน้ สง่ิ เหลา่ นไ้ี ปได้ และสดุ ทา้ ย ๕. เรามกี รรม
เปน็ ของของตน มกี รรมเป็นทายาท มกี รรมเป็น เปน็ ของของตน เราทำ� กรรมใด ดกี ต็ าม ชวั่ กต็ าม
เผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นท่ีพึ่งอาศัย ใครท�ำกรรม จกั ตอ้ งเป็นทายาทของกรรมนนั้ แลว้ วันคืนลว่ ง
ใดก็ได้รับกรรมน้ัน นี่คือลักษณะของอุเบกขา ไปๆ บัดนี้ เราก�ำลงั ทำ� อะไรอยู่
จะท�ำให้พอ่ แม่วางใจเรือ่ งลกู ๆ ได้ บางที ลูกด้ือ ๕ ขอ้ น้ี ผสู้ ูงอายตุ อ้ งนำ� มาพิจารณาบ่อยๆ
มาก สอนไม่เชอื่ ลกู ไม่ได้ดั่งใจ พ่อแม่หลายคน จะท�ำให้จิตไม่โลดโผนเกินไป บางคนก�ำลัง
ก็จะเครียดเร่ืองลูก แต่ถ้าหากเราท�ำหน้าที่ของ กระชุ่มกระชวย แต่หากไม่เคยพิจารณาหลัก
เราครบแล้ว ก็ต้องยอมรับ ต้องปล่อยให้เขาไป ตรงนี้ พอมาเจอชีวิตท่ีต้องพลัดพราก ก็ทรุด
ตามเหตุปัจจัยของเขา เราควรมีอุเบกขา คือ ไปเลยก็มี ต้องพิจารณาเป็นขณะๆ อะภิณหะ
เรามเี มตตา มกี รณุ า มมี ทุ ติ าแลว้ ตอ้ งมใี หค้ รบถงึ แปลว่า เนืองๆ, ปัจจะเวกขณะ คือ หลักการ
อเุ บกขา จงึ จะเปน็ พ่อแม่ที่มีความสุขได้ พจิ ารณา ตอ้ งกรอกหบู อกตวั เองบอ่ ยๆ สดุ ทา้ ย
ปจุ ฉา : แลว้ อภณิ หปจั จเวกขณ์ สำ� คญั อยา่ งไร อย่าลืมว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดน้ี เราท�ำอะไรอย ู่
เจ้าคะ เราให้ทาน รกั ษาศลี เจรญิ ภาวนาหรอื ยัง

6 ๓๒

ของความตาย ว่าเป็นภัยที่น่ากลัว เราก็จะเบื่อ
หนา่ ยในขนั ธ์ ๕ ว่ามันเปน็ ทตี่ งั้ ของความยดึ ม่ัน
ถือม่ัน และเราก็จะปล่อยวาง (สังขารุเบกขา
ญาณเกดิ ข้ึน)
เรอื่ งของไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขงั อนตั ตา
ถ้าเราพิจารณาบ่อยๆ มีข้อดี คือ ๑. ท�ำใจได ้
๒. ทกุ ขล์ ดลง ๓. เอาความเปลย่ี นแปลงของขนั ธ์
๕ เปน็ อาจารยใ์ หญ่ ตอนทข่ี นั ธ์ ๕ เปน็ ทกุ ข์ ตอน
เจ็บไข้ เจอทุกขเวทนา ก็สามารถใช้ส่ิงน้ีมาเป็น
อาจารยใ์ หญข่ องเราได้ ตอนเราแกก่ เ็ ปน็ อาจารย์
ปจุ ฉา : แลว้ มหี ลักธรรมสำ� คญั อ่ืนๆ สำ� หรับผู้สงู ใหญไ่ ด้ แมแ้ ตค่ วามตายกเ็ ปน็ อาจารยใ์ หญไ่ ด้ ถา้
อายุอีกไหมเจ้าคะ นอกจากหมวดธรรมท่ีท่าน
พระอาจารย์กล่าวมาแล้วน้ี เราหมนั่ พจิ ารณาบอ่ ยๆ พอนกึ ถงึ ความตายกเ็ บา
สบาย ตัดรัก ตดั หลง ตัดความมืดมวั เมาได้ นัน่
วิสัชนา : ก็ต้องคอยหม่ันพิจารณาเรื่องของ คือความไม่ประมาทในชีวิตน่ันเอง ไตรลักษณ์
ไตรลักษณ์ คือ อนิจจงั ทกุ ขงั อนัตตา, อนิจจัง จึงเป็นหมวดธรรมส�ำคัญอีกหมวดหน่ึงส�ำหรับ
ไม่เทย่ี ง คอื เกดิ ข้ึนแล้วกด็ ับไป ทุกขัง เป็นทกุ ข์ ผู้สูงอายุ
ชาติปิทุกขา การเกิดเป็นทุกข์ ชราปิทุกขา หลักธรรมที่ส�ำคัญหมวดสุดท้ายคือ
ความแก่เป็นทุกข์ มรณัมปิทุกขัง ความตายก็ อริยสัจ ๔ คนที่รู้จักว่าตัวเราเป็นขันธ์ ๕ รู้ว่า
เป็นทุกข์ พยาธิปิทุกโข ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ สาเหตุของทุกข์ คือ ตัณหา
สดุ ทา้ ยรวมๆ คอื ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ในเมือ่ ขันธ์ หากจะดับตัณหา ต้องไปนิพพาน หากจะไป
๕ เป็นกองแห่งทุกข์แล้ว เราต้องยอมรับว่า นิพพาน ตอ้ งมีศลี สมาธิ และปัญญา ทัง้ หมดนี้
ขนั ธ์ ๕ ของเรา ตั้งแตเ่ กดิ ก็เปน็ ทกุ ขแ์ ลว้ แก่ก็ คือหลักธรรมส�ำคัญส�ำหรับผู้สูงวัย ท่ีส�ำคัญคือ
ทุกข์ เจ็บก็ทุกข์ ตายก็ทุกข์ เป็นสัจธรรมท่ีเรา ต้องลงมอื ทำ� เอง
ตอ้ งฝกึ ทำ� ใจ พอเจอทกุ ข์ เราจะทำ� อย่างไร หนึ่ง
ตอ้ งยอมรับ (คือกำ� หนดรู)้ สอง ตอ้ งบำ� บดั ทกุ ข์ ปุจฉา : ทางราชการและวงการงานสมัยน้ี เขา
บ�ำรุงสขุ วางกฎเกณฑ์ไว้ว่า คนอายุ ๖๐ ปีแล้ว เป็นวัย
ถา้ ใจยอมรบั ได้ ทุกขใ์ จกไ็ มเ่ กดิ แลว้ เหลือ เกษียณ ไม่ให้ท�ำงานแล้ว ในความเห็นของท่าน
ทุกข์ทางกายภาพ เราก็แค่บ�ำบัดทุกข์ ส่วน พระอาจารย์ คนอายุ ๖๐ เป็นวัยท่ีสมควรจะ
ทุกข์ใจ เรายอมรับว่าขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ไม่ใช่ หยุดท�ำงานแล้วหรือยัง หรือควรจะเอาเวลา
ยอมรับเฉยๆ แตย่ อมรับวา่ ทกุ ข์อ่ืนยงิ่ กวา่ ขันธ์ ไปทำ� อะไร กำ� หนดอายุเทา่ น้ี เหมาะสมหรอื ไม่
๕ ไม่มี ขันธ์ ๕ เปน็ กองทกุ ข์ ถา้ เราไมม่ ขี นั ธ์ ๕ อยา่ งไรเจา้ คะ ?
เราก็ไมม่ ีทุกข์ จะเห็นโทษของการเกดิ เหน็ โทษ วิสัชนา : จริงๆ แล้ว แต่ละคน มีเหตุปัจจัย
ของความแก่ เห็นโทษของความเจ็บ เห็นโทษ พิจารณาแตกต่างกันไป คือคนไหน ถ้าดูทาง

๓๒ 7

กายภาพแล้ว ร่างกายยังแข็งแรง สติปัญญาไม่ ใหค้ วามสำ� คญั กับผ้สู ูงอายุ เชน่ ไปกราบขอขมา
เช่ืองช้า ก็สมควรให้ท�ำงานต่อ บางท่ีเขามีต่อ ไปรดนำ้� ดำ� หวั ระลึกถงึ บุญคณุ อกี สว่ นหน่ึงคอื
อายุราชการให้นะ คนที่ท�ำงานดีๆ สุขภาพดีๆ มกี ารจดั กจิ กรรมส�ำหรบั ผสู้ งู อายุ สละเวลาพา
แต่ท่ัวๆ ไป คนอายุ ๖๐ แล้ว อาจจะไมจ่ า่ ยเป็น ท่านมาวัด มาสวดมนต์เย็น หรือพามาวันเสาร์
เงินเดือน แต่จ่ายเป็นเบ้ียเล้ียง หรือให้เป็นจิต วันอาทิตย์ เมื่อพาท่านมาวัด ลูกหลานก็ได้มา
อาสา ขอ้ ดีสว่ นหน่งึ ถ้าอายุมากแล้ว การทุจริต ดว้ ย หรอื ถ้าไม่ว่าง กฝ็ ากคนอ่นื พามา แลว้ ตอน
คอร์รัปชั่นก็เกิดน้อย อีกส่วนหน่ึง เขาท�ำงาน ขากลับ เรามารับท่านเองก็ได้ ถ้าอย่างน้ีก็จะมี
ความผูกพัน ให้กลับมาอบอุ่นข้ึนได้ เท่าที่
อาตมาทราบคอื ผสู้ งู อายรุ อ้ ยละ ๘๐ อยากมาวดั
มาสวดมนต์ มาฟังเทศน์
อาตมามีโอกาสไปเยี่ยมศูนย์ผู้สูงอายุ ท้ัง
ของรัฐและของเอกชน ไปพูดคุย ไปสวดมนต์
ไปให้ก�ำลังใจผู้สูงอายุ พบปัญหาว่าส่วนใหญ่
คือผู้สูงอายุขาดลูกหลานดูแล อาตมาจึงพา
ญาตโิ ยมไปเยย่ี ม เอามะกรดู หอม ขงิ ขา่ ตะไคร้
เกลือ และน�้ำอุ่น น้�ำร้อน ไปแช่เท้านวดเท้าให้
ใหม้ ีเวลาคยุ กัน เสรจ็ กิจกรรมแลว้ อาตมาก็สวด
ด้วยจิตอาสา พวกมีจิตอาสาจะมาท�ำงานด้วย มนต์ให้ และเทศน์โปรด ให้ลูกหลานได้มีเวลา
ใจทีพ่ ลังเตม็ เปย่ี ม เขายงั มคี วามสามารถ เพราะ อยู่กับผู้สูงอายุ ในช่วงสงกรานต์ วันพ่อ วันแม่
ฉะน้ัน ไม่ควรให้คนอายุ ๖๐ แล้วหยุดท�ำงาน ที่วัดก็จะจัดกิจกรรมเหล่านี้ ทุกเย็นจะเปิด
หรอกนะ วันไหนทำ� ไม่ไหว หยดุ บ้างกไ็ ด ้ แต่ถา้ โอกาสให้ผู้สูงอายุมาสวดมนต์ ท�ำวัตรเย็น แต่
ถงึ ๖๐ แล้วใหเ้ กษยี ณ ก็มเี หตผุ ล ให้เขาไดพ้ ัก ถา้ เป็นวันอาทติ ย์ ผูส้ งู อายุกับเด็กๆ ก็จะมากัน
ได้แสวงหาสัจธรรมของชีวิต เพ่ือเตรียมตัวข้าม พร้อมหน้าพร้อมตา ถ้าเป็นไปได้ อยากให้ทุก
ภพชาติ แตไ่ มค่ วรใหห้ ยดุ งานเลย อยา่ งนอ้ ยควร วดั เปดิ โอกาสใหผ้ สู้ งู อายมุ าสวดมนตท์ ำ� วตั รเยน็
ให้มาทำ� งานแบบจิตอาสา นอกจากน้ี ที่วัดจากแดงก็ก�ำลังท�ำโรงอบ
ปุจฉา : ในปัจจุบัน สังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป สมุนไพรให้กับผู้สูงอายุ และอาตมายกให้ผู้
มาก พ่อแม่กับลูกห่างเหินกัน ยิ่งยายกับหลาน สูงอายุเป็น “คลังสมอง” คือเอาความรู้ เอา
โอกาสเจอกัน ใกล้ชิดกัน ย่ิงมีน้อยมาก กราบ ประสบการณ์จากผู้สูงอายุมาใช้งาน แล้วก็ดูแล
เรยี นถามพระอาจารยว์ า่ เราจะชว่ ยกนั ปรบั ปรงุ ท่านดว้ ย เชน่ สมนุ ไพร แชเ่ ทา้ อบยา หรอื นวด
สัมพันธภาพในครอบครวั ของสงั คมไทย ใหก้ ลบั เป็นต้น หลังจากน้ันก็สวดมนต์ให้ ให้ก�ำลังใจ
มาอบอนุ่ ใกลช้ ดิ เหมอื นสมยั กอ่ น ไดอ้ ยา่ งไรบา้ ง ช่วยทางกายภาพและจิตใจ ให้กรรมฐานเล็กๆ

วิสัชนา : ปรับปรุงได้ อย่างเช่นถือเอาวัน น้อยๆ ที่ผู้สูงอายุท�ำได้ ท่ีวัดเรา มีผู้สูงอายุที่
สงกรานต์เป็นจุดเริ่มต้น เป็นวันผู้สูงอายุ ต้อง พระประแดง ท่จี อมทอง มากนั ทกุ เดอื น ถา้ มา

8 ๓๒

ไม่สะดวก อาตมาก็ไปเยย่ี ม และมีศูนยผ์ ู้สูงอายุ
หลายท่ี ถา้ เขามาวดั ไมส่ ะดวก อาตมาก็ไปเย่ียม
เอง บางทกี ม็ ผี ้สู ูงอายมุ าทีว่ ดั มาชว่ ยโน้นชว่ ยน้ี
อาตมาก็บอกไว้เลยว่า ใครมีประสบการณ์ด้าน
ไหนขอให้ลงชื่อเอาไว้ เช่น มีประสบการณ์
ด้านเกษตร ดา้ นบัญชี ด้านสอนหนังสือ ลงช่อื ไว้
พอมีโอกาส อาตมาก็ไปเชิญผู้สูงอายุเหล่าน้ี
มาสอน ไม่ได้สอนแบบในห้องเรียน แต่สอน
แบบสอนลูกสอนหลาน เราจะได้ความรู้ ได้
ประสบการณ์จากผู้สูงอายุที่เป็นคลังสมอง
มากมาย ขอความกรุณาพระอาจารย์ยกตัวอย่างคนแก่
เรื่องน้ีอาตมาน�ำเสนอมาหลายครั้งแล้ว ในอุดมคติ ที่พระอาจารย์ประทับใจ ในพระ
เพราะเห็นแล้วว่า ผู้สูงอายุเป็นผู้มีความรู้ มี ไตรปฎิ กกลา่ วถึงไว้ มที า่ นใดบ้างเจา้ คะ
ประสบการณ์ ความช�ำนาญ ควรจะเก็บข้อมูล
ความรู้แล้วมาถ่ายทอด และท�ำเป็นคลังสมอง วิสัชนา : เจริญพร คนแก่มีข้อได้เปรียบคือมี
ใครเก่งด้านไหน เก็บไว้ บันทึกไว้ เรามีปัญหา ประสบการณ์ดี ส�ำหรับตัวอย่างคนแก่ในอุดม
เร่ืองน้ีปุ๊บ โทรไปหาท่านได้เลย หรือไปคุยถึง คตใิ นพระพทุ ธศาสนา เชน่ แก่แบบ พระโกณ-
บ้านท่านเลย ถ้าไม่ละเลย มีการจัดการดีๆ ฑญั ญะ ดมี ากเลย พระพทุ ธองคย์ กยอ่ ง รตั ตญั ญ-ู
สังคมเราจะได้ประโยชน์จากผู้สูงอายุอีกมาก สถติ พระโกณฑญั ญะ รตั ตญั ญสู ถติ คอื มอี ายยุ นื
และเราก็ใหป้ ระโยชนท์ า่ นดว้ ย คือได้เกือ้ กูลกนั มปี ระสบการณ์สูง แก่แบบมอี ิทธบิ าท ๔ จะท�ำ
เต็มที่ ไม่มีช่องว่างระหว่างวัย หากท่านได้ อะไรก็ตาม ท่านจะบอกเลย อะหัง ปะฐะมัง
ใช้ความรู้ ให้ความรู้ เป็นประโยชน์แก่สังคม ข้าพเจ้าจะท�ำเป็นคนท่ีหน่ึง จะท�ำอะไรก็ตาม
ทา่ นกไ็ มเ่ หงา ไดพ้ ดู คยุ ไดใ้ หค้ ำ� ปรึกษา เพราะ จะทำ� ก่อน คือแก่ขนาดไหน อายุมากขนาดไหน
นสิ ยั ของผสู้ งู อายจุ ะชอบพดู คยุ แตด่ ที ส่ี ดุ คอื ตอ้ ง ท่านก็ อะหัง ปะฐะมัง ข้าพเจ้าจะท�ำคุณงาม
คุยในเร่ืองที่ท่านช�ำนาญ ท่ีท่านถนัด ท่านจะมี ความดีเป็นคนท่ีหน่ึง คือท่านมีอิทธิบาท ๔
ความสุข และอายุยืนด้วย ท่านถนัดเรื่องอะไร โดยตลอด แก่แบบไม่หงอยเหงา แก่แบบมีชีวติ
เราเก็บข้อมูลไว้ก่อน เมื่อเราต้องการได้ข้อมูล ชวี า และได้รบั การยกยอ่ งวา่ รตั ตญั ญสู ถิต เป็น
สว่ นนี้ เรากไ็ ปหา ไปขอขอ้ มลู จากทา่ น สงั คมเรา ผู้รู้ราตรีนาน มปี ระสบการณ์สูง และท่สี �ำคัญคอื
จงึ ทง้ั ใหผ้ สู้ งู อายุ ทง้ั ไดจ้ ากผสู้ งู อายุ ทง้ั ให้ คอื ให้ แก่แบบช่วยเหลอื ตวั เองได้
ความอบอุน่ ทง้ั ได้ คอื ไดป้ ระสบการณ์ ได้องค์ คนแก่ในอุดมคติอีกแบบคือ แบบว่านอน
ความรู้ ไดเ้ รยี นรหู้ ลายๆ อยา่ งจากทา่ น สอนง่าย คือ พระราธะ บวชเข้ามาเมอื่ แก่ ท่าน
อยากจะบวช ไม่มีใครบวชให้ พระพุทธเจ้า
ปจุ ฉา : ไดฟ้ งั พระอาจารยอ์ ธบิ ายแลว้ กเ็ หน็ ขอ้ ดี ถามสงฆ์ว่า ใครระลึกถึงบุญคุณราธพราหมณ์
ของคนแก่คือมีประสบการณ์มากใช่ไหมเจ้าคะ ได้บ้าง พระสารีบุตรนึกถึงบุญคุณท่ีท่านเคยใส่

๓๒ 9

ตามหลังพระปุณณมันตานีบุตร เพื่อท่ีจะได้ขอ
เรียนรู้เทคนิคการถ่ายทอดวิสุทธิ ๗ ก็ไปน่ังรอ
หน้ากุฏิ เดินตามหลังไป แต่ท่านพระปุณณ-
มัณตานีบุตรไม่ได้หันหลังกลับมา ก็เดินเข้ากุฏิ
พักผ่อนเลย บ่ายๆ ออกจากกุฏิ มาเจอพระ
สารีบุตรก็ถามว่า มาตั้งแต่เมื่อไหร่ขอรับ ท่าน
ตอบว่า ก็เดินตามหลังท่านมา พระปุณณ-
มันตานีเรียนว่า ท�ำไมไม่บอก เดินตามหลังมา
มธี รุ ะอะไรหรอื ครบั อ๋อ กระผมอยากจะมาขอ
เรียนรู้การถ่ายทอดวิสุทธิ ๗ ทั้งที่พระสารีบุตร
บาตรข้าวแค่ทัพพีเดียว พระสารีบุตรก็เลยรับ อายุพรรษามากกว่า พระปุณณมันตานีบุตร
บวชให้ พอบวชแล้ว พระสารีบุตรพาไปโน่น พรรษาน้อยกว่า แตท่ ่านทำ� ตวั นา่ รัก คือไม่มา
ไปน่ี สอนอะไร พระราธะก็ท�ำตามได้หมด รบกวนเลย มีมารยาท รจู้ ักเกรงใจ
สุดท้ายท่านได้บรรลุอรหันต์ เป็นเอตทัคคะคือ อีกตอนหน่ึง ตอนท่ีพระสารีบุตรมีอายุ
ผู้เลิศทางปฏิภาณไหวพริบ แก่แบบมีปฏิภาณ พรรษามากๆ ได้เดินบิณฑบาต ห่มจีวรไม่
ไหวพริบ ว่านอนสอนง่าย และมีญาณปัญญา เรียบร้อย สามเณรลูกศิษย์ ๗ ขวบ เดินตาม
รู้แจ่มแจ้งธรรมทั้งหลายอย่างรวดเร็ว คือแก่ หลัง เหน็ พระสารบี ตุ รหม่ จวี รไมเ่ รียบร้อย เณร
แบบมีประสบการณ์ แล้วเอาประสบการณ์ ก็กระตุกชายจีวร พระสารีบุตรก็หันหลังมา
ความรทู้ างโลกมาใช ้ บางรปู แกแ่ บบพระหลวงตา ถามว่า มีอะไรหรือเณร สามเณรบอกว่าพระ
คือแก่อย่างไม่มีคุณภาพ แก่แล้วด้ือ อายุ อุปัชฌายห์ ม่ จีวรไม่เรยี บร้อย ทา่ นกบ็ อกวา่ เอา้
ยิง่ มาก ทิฏฐมิ านะกม็ ากข้นึ ดอื้ กวา่ เกา่ อันนค้ี ือ รบั บาตรไป สามเณรรับบาตรไป ทา่ นก็วา่ เอ้อ
แก่แบบไม่มีคุณภาพ ถ้าแก่แบบมีคุณภาพ คือ จริง เราห่มไม่เรียบร้อย ท่านก็ห่มจีวรใหม่ให้
ว่านอนสอนง่าย มีปฏิภาณ ญาณปัญญา และ เรยี บรอ้ ย เปน็ ปรมิ ณฑล พอห่มเสรจ็ ท่านกร็ ับ
ไม่มปี ญั หากับสงั คมโดยรอบ บาตรคนื และกก็ ลา่ วขอบคณุ ครบั ทา่ นขอบคณุ
เณรน้อย ๗ ขวบ นี่เป็นตัวอย่างผู้ใหญ่ท่ีน่ารัก
ปุจฉา : พระราธะท่านน่าช่ืนชมและเป็นแบบ ทั้งท่ีพระสารีบุตรอายุมาก เป็นพระอัครมหา
อยา่ งทดี่ มี าก ไมท่ ราบวา่ มที า่ นอนื่ อกี ไหมเจา้ คะ สาวก แต่ปฏิบัติกับเณรอายุ ๗ ขวบ เหมือน
วิสัชนา : ก็มีอีก เช่น พระมหากัสสปะ และ กับลกู จริงๆ เลย
พระสารีบุตร อย่างพระสารีบุตร ท่านก็เป็นผู้ พระสารีบุตรท่านน่ารัก คืออายุมาก แต่
สูงอายุตัวอย่าง ท่านอายุมากกว่าพระปุณณ- ท่านปฏิบัติกับลูกเณร ท่านจะท�ำตัวเหมือนกับ
มันตานีบุตร ท่านไปขอความรู้จากพระปุณณ- เป็นพ่อเป็นแม่จริงๆ น้ีคือลักษณะของพระ
มนั ตานีบุตร ซง่ึ อธบิ ายธรรมะอปุ มาอปุ ไมยเก่ง อรหันต์ แม้แต่กับคนยากคนจน ท่านก็ไม่ถือ
พระสารีบุตรท่านฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เดิน เน้ือถือตัวเลย

10 ๓๒

สว่ น พระมหากัสสปะ ท่านก็เป็นพระเถระ มีความเคารพเป็นอันดับแรกเลย และดูแล
ที่มีอายุพรรษามาก แล้วก็อายุยืน ปฏิบัติจน เอาใจใส่อย่างดี ลูกๆ เห็น ก็จะท�ำตาม ถ้าพ่อ
บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว อายุยืนถึง ๑๒๐ ปี แม่ไม่ท�ำเลย แต่ร�ำคาญคนแก่ พอถึงตอนท่ีตัว
พระพุทธเจ้าตรัสเร่ืองธุดงควัตร ธุตังคะ คือ เองแก่ เดก็ ๆ ก็ทำ� กับเราแบบนนั้ แหละ เราเคย
ธุดงค์ แปลว่า ขัดเกลา องค์แห่งการขัดเกลา ก็มี ปฏิบัติกับพ่อกับแม่ของเราอย่างไร ลูกๆ ก็
พระมาถามทา่ นวา่ ธดุ งคน์ สี้ ำ� หรบั ปถุ ชุ นตอ้ งการ ปฏบิ ตั ิกบั เราอย่างนน้ั
ขดั เกลาเพอ่ื ท่ีจะบรรลมุ รรค ผล นพิ พาน ท่าน เพราะฉะน้ัน พอ่ แมเ่ ปน็ ตวั อย่าง คอื ตอ้ งมี
บรรลุแลว้ ทา่ นจะขัดเกลาไปท�ำไม ทา่ นบอกว่า ความเคารพอ่อนน้อมต่อคุณตาคุณยาย อันนี้
ธดุ งค์เพอ่ื ให้เปน็ แบบอยา่ งใหอ้ นชุ นรุ่นหลงั เขา ส�ำคัญมากๆ เข้าไปนวด ไปคุย ไปอ่านธรรมะ
จะได้เห็นว่าแม้แต่พระอรหันต์ยังปฏิบัติธุดงค์ ให้ฟัง หรือเปิดซีดีธรรมะให้ท่านฟัง เป็นต้น
พระรุ่นหลังจะได้มีก�ำลังใจ ลงมือฝึกหัดปฏิบัติ ถ้าท�ำได้อย่างนี้ พ่อแม่ก็เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับ
ธดุ งค์ ลกู ๆ เดก็ ๆ ก็จะวง่ิ ไปเลน่ อยูใ่ กล้ชิดปตู่ ายา่ ยาย
ดงั น้ัน การขดั เกลาของท่านกเ็ พือ่ เป็นแบบ ครอบครวั ก็จะมีความสขุ มีความอบอุ่น
อย่างให้อนุชนรุ่นหลัง ท่านคิดถึงพวกเราท่ีอยู่
ข้างหลัง ท่านพ้นแล้ว เรียกว่าเป็นพระอรหันต์ ปุจฉา : ถา้ พูดถงึ ปจั จุบนั ผสู้ ูงอายุแบบไหน ไม่
แล้ว อายุก็มากแล้ว ท�ำไมต้องมาปฏิบัติธุดงค์ วา่ จะเปน็ ญาตผิ ใู้ หญห่ รอื อาจเปน็ ใครบางทา่ นท่ี
เพ่ือทรมานขันธ์ ๕ (ธุดงค์ก็คือ องค์แห่งการ พระอาจารย์นึกถึงแล้ว ร้สู ึกประทบั ใจ อยากให้
ขัดเกลา เช่น ฉันม้ือเดียว อยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ พระอาจารยย์ กตวั อยา่ งให้ฟังเจา้ คะ่
ป่าช้าเป็นวัตร ฉันเฉพาะในบาตร ฉันในที่นั่ง วสิ ัชนา : ผู้สงู อายุทอ่ี าตมาประทับใจ กค็ อื ผู้สงู
อาสนะเดียว เป็นต้น) สรุปคือ ต้องปฏิบัติยาก อายทุ ม่ี พี รหมวิหาร ๔ ผสู้ ูงอายุท่ีมคี ุณธรรม ที่
ลำ� บาก ท่านก็เป็นผูส้ งู อายุแลว้ กย็ ังยอมล�ำบาก ส�ำคัญคือท่านขยันสอน ขยันบอก ไม่เบื่อที่จะ
เพอื่ เปน็ แบบอยา่ งใหแ้ กอ่ นชุ นรนุ่ หลงั ทา่ นเมตตา สอน ถ้าลูกหลานไม่รู้ก็จะสอนให้จนรู้ เรียก
นกึ ถงึ ประโยชนข์ องพวกเรา ลำ� พงั ตวั ทา่ นไมต่ อ้ ง ว่าเป็น บูรพาจารย์ ต้ังแต่นาทีแรกจนถึงนาที
ท�ำอะไรแล้ว ดังน้ันขอให้เราส�ำนึกว่าท่านท�ำ สุดท้าย ท่านสอนจนถึงวันที่สอนไม่ไหว ท่าน
เปน็ ตวั อยา่ งขนาดนี้ ดขี นาดนี้ เปน็ แบบอยา่ งไดด้ ี ไม่ได้สอนเพื่อเอาเงินเดือน สอนเพราะเมตตา
ขนาดนี้ เราจะไมเ่ ดินตามทา่ นเลยเชยี วหรอื ได้บุญกุศล อยากให้ลูกหลานเป็นคนดี เราได้
ปุจฉา : ถ้าในครอบครัวหนึ่ง มีคุณตาคุณยาย ประโยชน์จากท่านเช่นน้ี ก็ควรเคารพท่านใน
มคี ณุ พอ่ คุณแม่ แลว้ กม็ ีลูกยังเลก็ หากอยากให้ ฐานะปูชนียบุคคลที่ควรบูชา ผู้สูงอายุที่มี
ลกู ทย่ี งั เลก็ รสู้ กึ ผกู พนั ใกลช้ ดิ คณุ ตาคณุ ยาย คณุ ประสบการณ์มากๆ และมีพรหมวหิ าร ๔ ด้วย
พ่อคณุ แม่จะมสี ่วนช่วยอย่างไรบา้ งเจ้าคะ จะไม่มีอคติ เราก็วางใจท่านได้ หากได้เข้าไป
วิสัชนา : คุณพ่อคุณแม่ต้องอ่อนน้อมถ่อมตน หา ไปใกลช้ ดิ ทา่ นแลว้ เราก็ไดท้ ั้งกำ� ลงั ใจ ไดท้ งั้
ตอ่ คณุ ตาคณุ ยายใหล้ กู เหน็ เปน็ ตวั อยา่ ง โดยการ ความรู้ ได้สารพัดได้นั่นแหละ ถ้าเราเข้าไปหา
ใหค้ วามสำ� คญั กบั พอ่ แม ่ ใหล้ กู เหน็ เปน็ ตวั อยา่ ง ผู้สูงอายทุ ่มี ีคุณธรรม

๓๒ 11

ทีม่ า : สภาพฒั นฯ์ ใชจ้ า่ ยเดอื นละหมน่ื ทำ� อยา่ งไร ถา้ ถงึ วนั เกษยี ณ
จนถึงวันส้ินชวี ิต เราจะอยู่อกี กีป่ ี แลว้ เราจะอยู่
ปุจฉา : ประเด็นส�ำคัญท่ีพูดกันว่า “สังคม อย่างไร ใช้เงินเดือนละเท่าไหร่ ถ้าเคยใช้เดือน
ปัจจุบันนี้ก�ำลังมีวิกฤตเรื่องผู้สูงอายุกันทั่วโลก” ละสองหม่นื ตอ้ งเก็บเงินไวเ้ ท่าไหร่ จนถึงวันสนิ้
เขาต่ืนตวั พยายามหาทางแกไ้ ขปัญหาเรอ่ื งผูส้ งู อายุ คอื เขาวางแผนการเงนิ หลงั จากเกษยี ณแลว้
อายเุ พมิ่ จำ� นวนมากขนึ้ พระอาจารยเ์ หน็ วา่ เรอื่ ง ไม่ต้องท�ำงานอีกเลย ความจริงแล้วคือไม่ต้อง
นี้ วิกฤติ จรงิ ไหมเจา้ คะ ท�ำงานในต�ำแหน่งเงินเดือน แต่ควรท�ำงานใน
วิสัชนา : อาตมามองว่าไม่วิกฤตเลย แต่เป็น ต�ำแหน่งที่เป็นจิตอาสา เพ่ือไม่ให้แก่เร็วและไม่
โอกาสที่จะสร้างสรรค์คุณค่าประโยชน์ให้แก่ เป็นภาระแกส่ ังคมดว้ ย
กันได้มาก อาตมาได้อ่านบทความของสวิต- ในองคก์ ร มลู นิธิต่างๆ ทำ� วจิ ัยวา่ ตอนน้คี น
เซอรแ์ ลนด์ เขามี “ธนาคารเวลา” คนทร่ี า่ งกาย รอ้ ยละ ๘.๕ สามารถวางแผนชวี ติ จากวนั เกษยี ณ
ยังแข็งแรง ก็ไปเป็นจิตอาสาเพื่อไปช่วยดูแล จนถึงวันจากโลกน้ีไป สามารถมีเงินใช้จ่ายพอ
ผู้สูงอายุ พอท�ำแล้วก็มาลงฝากเวลาไว้ใน เพยี ง คอื เกษยี ณแลว้ ไมต่ อ้ งทำ� งาน ไมต่ อ้ งหาเงนิ
“ธนาคารเวลา” พอถึงวัยท่ีตนเองแก่หรือเดิน แตจ่ รงิ ๆ ถา้ ยงั ทำ� ไหว ทำ� งานไปเถอะ ใหว้ างแผน
เหนิ ไมไ่ หว กไ็ ปเบกิ ธนาคารเวลา กจ็ ะมจี ติ อาสา ดๆี ทำ� งานโดยไมต่ อ้ งไปเน้นเรอ่ื งหาเงิน มาเนน้
มาดูแลตัวเอง คือไปท�ำงานจิตอาสา ไม่ต้องรับ เรอื่ งจติ อาสา ใหม้ ชี วี ติ ชวี า ใหร้ สู้ กึ มคี ณุ คา่ ขนึ้ มา
เงนิ ตอนท่รี ่างกายยงั แขง็ แรง สมมตทิ ำ� ไวส้ กั ๒ หากสังคมใหค้ วามสนใจ ชว่ ยกนั เอาใจใส่ เรอื่ งน้ี
ชวั่ โมง เชน่ มาดแู ลพระสงฆ์ กฝ็ ากธนาคารเวลา ก็ไมใ่ ชว่ ิกฤติของสังคมแนน่ อน
เวลาเราช่วยตัวเองไม่ไหว โทรกร๊ิงไปท่ีธนาคาร อาตมาเคยไปเยี่ยมคนแก่ท่ีเป็นโรคชรา
เวลา จติ อาสาทม่ี าสมคั รใหม่ มาฝากธนาคารรนุ่ นอนติดเตียง ไม่ได้ป่วยอะไรหรอก แต่ไม่มี
ใหมก่ จ็ ะมาดแู ลเรา เปน็ การสรา้ งจติ อาสา ใหท้ กุ เรี่ยวแรง อาตมาไปแบบจู่โจมเลย ไปเยี่ยมแล้ว
คนในสงั คมชว่ ยกันรับผิดชอบซึ่งกันและกัน งบ ก็ให้ศีล สวดมนต์ แล้วคุยกรรมฐาน คนแก่
ประมาณรัฐก็ไม่ต้องเสีย เร่ือง “ธนาคารเวลา” ท่ีนอนติดเตียงมา ๔ ปี ลุกขึ้นได้หลายคน แต่
น้ี อาตมาเห็นด้วย ถ้าใครอยากจะทำ� อาตมาก็ หลังจากนั้น อาตมามีโครงการงานเยอะ ไม่ได้
ยนิ ดเี ปน็ ทปี่ รึกษา และก็อยากจะช่วยเสริมให้ ไปเยี่ยมอีก แต่รู้ว่าคนแก่นอนติดเตียง พระไป
ตอนนี้ประเทศไทยมีการท�ำวิจัยเร่ืองผู้ ให้ศีลให้พร สวดมนต์ ให้กรรมฐาน ท่านดีอก
สูงอายุว่า “จะสูงอายุอย่างไรให้มีความสุข” ก็ ดีใจ ตรงน้ีถ้าจัดเป็นทีมข้ึนมา อาตมาพร้อม
คำ� นวณเรื่องงบประมาณค่าใชจ้ า่ ย เช่น เราเคย ท่ีจะช่วยต้ังทีมดูแลผู้สูงอายุให้ได้ อาตมาก็ไป
ทำ� ใหห้ ลายที่หลายแห่ง ทงั้ ท่ีโคราช ท่ีกรงุ เทพฯ
ตอนนกี้ แ็ ถวพระประแดง ขอใหอ้ าตมาชว่ ยสง่ เสรมิ
ในวดั กม็ ผี สู้ งู อายกุ ลมุ่ โนน้ กลมุ่ นม้ี าใชบ้ รกิ าร ทง้ั
เทศน์ ทง้ั สวด ทง้ั ใหก้ ำ� ลงั ใจ หายาสมนุ ไพรมาให้
อาตมาก็พรอ้ มจะชว่ ยในส่วนน้ี

12 ๓๒

ปุจฉา : กราบขอบพระคุณพระอาจารย์แทน ถนัดขวาให้เอาขวายัน ถนัดซ้ายให้เอาซ้ายยัน
ผ้สู งู อายแุ ละญาตโิ ยมทุกคนเจ้าค่ะ อยากขอคำ� แล้วพอลุกได้ ไม่ใช่ลุกจากเตียงเลยนะ ลุกขึ้น
แนะน�ำว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีจุดอ่อนอะไรที่ นั่งก่อน ลุกจะไปห้องน�้ำ มองก่อนว่าห้องน้�ำ
เรียกว่า “นิสัยคนแก่” ทเี่ ราควรระมัดระวงั ใน เปียกไหม ล่ืนไหม แล้วค่อยลุก ลุกเร็วจะวูบ
การมีปฏิสัมพนั ธ์ท่ีดกี บั ทา่ น แล้วจะหกล้มได้ง่าย หน่ึง ต้องลืมตาดูให้ดี
สอง ต้องหายใจเข้าออก ๑๐ คร้ังยาวๆ และ
วิสัชนา : อย่าพูดให้น้อยใจ คนแก่ข้ีน้อยใจ หลังจากน้ัน ถนัดขวาก็ตะแคงขวา ถนัดซ้ายก็
พูดอะไรกระทบหน่อย มักจะน้อยใจ จะผิด ตะแคงซ้าย จึงค่อยลุก แล้วหลังจากน้ันก็มอง
จะถกู อะไร กใ็ ห้โอเคไว้กอ่ น อย่าไปทำ� ใหค้ นแก่ ไปท่ีห้องน�้ำ ค่อยๆ เดินไป คนแก่จะปลอดภัย
นอ้ ยใจเทา่ นัน้ แหละ ไม่มอี ันตราย จุดออ่ นคอื คนแก่จะหกล้มง่าย ถ้า
ปจุ ฉา : สดุ ท้ายนี้ พระอาจารย์จะฝากอะไรถึงผู้ ลม้ แลว้ มกั จะทรุดเลย เพราะฉะน้นั ต้องตัง้ สติ
อ่านสกั นิดไหมเจา้ คะ ๕ ข้ัน หน่ึง ตั้งสติก่อนสตาร์ท ก่อนเร่ิมชีวิต

วิสัชนา : โบราณบอกว่า คนจะงาม งามที่ใจ ประจ�ำวัน สอง สติไม่ลืมที่จะให้ทาน ถ้าลืมให้
ใช่ใบหน้า คนจะสวย สวยจรรยา ใช่ตาหวาน ทาน เกดิ มาไมม่ จี ะทาน สาม สตไิ ม่ลืมรักษาศีล
คนจะแก่ แก่ความรู้ ใช่อยู่นาน คนจะรวย สี่ สติไมล่ ืมพระพุทธเจ้า หา้ สติไม่ลมื ตวั เราเอง
รวยศีลทาน ใช่บ้านโต แก่ความรู้ คือแก่ท่ีดี คือให้คนแก่พิจารณาตามนี้บ่อยๆ คอยเตือน
คือสะสมประสบการณ์เหมือนพระอัญญาโกณ- ให้ท่านท�ำทกุ วนั ๆ ท่านก็อาจจะลืม เอ้า คณุ พอ่
ฑญั ญะ บนั ทกึ ประสบการณใ์ หล้ ูกหลานไดอ้ า่ น คณุ แม่ ทำ� อยา่ งนี้หรือยงั หนึ่ง สอง สาม ส่ี ห้า
ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นประโยชน์กับสังคมได้อย่างดี ให้คนแก่ท�ำ รา่ งกายก็จะแข็งแรง ไม่เปน็ ปัญหา
ยง่ิ เพราะคนแก่ทุกคนมวี ชิ า ทีจ่ ะจากไปพรอ้ ม กับคนในบ้าน ไม่เป็นปญั หากบั สงั คม เจริญพร
กับการส้ินชีวิตของท่าน ถ้าท่านไม่ได้เขียนเอา
ไว้ มันจะหายไปพร้อมกบั ชวี ติ ของทา่ น ก็อยาก
จะฝากวา่ ทา่ นมคี วามรคู้ วามสามารถอะไร เขยี น ท่านสามารถติดตามอ่านวารสารโพธิยาลัย
ลงไปในบนั ทกึ แลว้ กฝ็ ากใหล้ กู หลาน เพราะองค์ ทุกฉบับย้อนหลังได้ทาง เว็บไซต์วัดจากแดง
www.watchakdaeng.com, เว็บไซต์ชมรม
ความรขู้ องผสู้ งู อายุ เปน็ องคค์ วามรทู้ ไี่ มม่ ใี นทอ้ ง กัลยาณธรรม www.kanlayanatam.com,
ตลาด หาซอ้ื ไมไ่ ด้ Line Official id : @kanlayanatam และ
ปุจฉา : สาธุเจ้าค่ะ แล้วพระอาจารย์มีอะไรจะ Facebook Page : Kanlayanatam

ฝากลกู หลานใหเ้ ขาดแู ลคนแกใ่ หด้ ขี นึ้ บา้ งเจา้ คะ ขออนโุ มทนาบญุ ผู้ร่วมจดั พมิ พ์วารสารฉบับน้ี
วสิ ัชนา : ฝากลกู หลานวา่ อยา่ ประมาท จะได้ ๑. ชมรมกัลยาณธรรม
ไม่ต้องเสียใจภายหลัง ขอให้ต้ังสติในการดูแล ๒. คณุ จริ วรรณ ศริ ิจิตร และครอบครัว
ผู้สูงอายุ แนะน�ำท่านว่า ลุกจากเตียงนอนควร ๓. คุณสุวพร หทยั สุทธธิ รรม และครอบครวั
ระวังไม่ให้ล้ม พอตื่นจากที่นอน อย่าเพิ่งลุก ๔. คุณพ่อวัชระ - คุณแม่ทองสุก โลทารักษ์พงศ์
หายใจกอ่ น หายใจซกั ๑๐ ครง้ั ผสู้ งู อายถุ า้ จะลกุ ๕. คุณณรงคฤ์ ทธ์ิ อปุ ถมั ภ์ และครอบครวั

๓๒ 13

ก�ำลัง อ่อนแอลง แตจ่ ติ ใจและปญั ญาก็เข้มแขง็
อยู่ได้ จิตใจและปัญญาที่พัฒนาดีแล้วน่ันแหละ
คือคุณค่าท่ีแท้จริงของชีวิต ดังน้ัน ผู้สูงอายุ
ท่ีสูงธรรม สูงปัญญา จึงเป็นสมบัติสูงค่าของ
สังคม ท่ีคนจะเคารพและเชิดชูบูชา อันจะน�ำ
ประโยชน์มาให้อยา่ งยง่ั ยืนหรือตลอดไป
ท่วี า่ ใหส้ ูงอายุ มากับสูงธรรมสูงปัญญานนั้
ที่จริง สูงธรรม ค�ำเดียวก็คลุมหมด คือรวมท้ัง
ปัญญาดว้ ย แต่เปน็ ธรรมดาในทางพระ ทา่ นถอื
ปัญญาเป็นยอดธรรม จึงนิยมพูดแยกออกมา
ใหเ้ ดน่ ชดั สว่ นธรรมกค็ ลมุ คุณธรรมความดงี าม
อ่ืนท้ังหมด ต้ังแต่ทาน ศีล ต้ังแต่วินัย ความ
ประพฤติดงี าม ชวี ิตทส่ี ะอาดสุจริต การอยรู่ ่วม
สังคมอย่างเกื้อกูลก่อประโยชน์ และคุณธรรม
ความดีงาม ตง้ั แต่เมตตา กรุณา ตลอดจน วิริยะ
สติ สมาธิ ความเข้มแข็งมั่นคง และความสุข
สดชืน่ ผอ่ งใสของจติ ใจ

ถ้าสงู อายุเปน็ ปรารภธรรม
สมเด็จพระพทุ ธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยตุ โฺ ต)

ก็น่าเปน็ ผู้สูงอายุ กองบรรณาธิการเรยี บเรียง
จากบางตอนของหนังสอื ชือ่ ดงั กลา่ ว

สูงอายุ ไม่ใช่ง่อนแง่นงอแง แต่เป็นหลักใหญ่ ธรรม เป็นหลักของชีวติ และเป็นหลกั ของ
แท้ท่มี ่นั คง สังคม มีปัญญา จึงรู้หลัก บอกหลักได้ และใช้
ในสงั คมทง้ั หลายทัว่ ไป มวี ฒั นธรรมนับถอื หลักเปน็ ท�ำใหม้ คี วามย่งิ ใหญ่ที่แท้จริง ดังนัน้ ผู้
ผู้สูงอายุ เป็นเรื่องธรรมดาอย่างท่ีว่าแล้ว สูงอายุ ทีส่ ูงธรรมสูงปญั ญา จึงเป็นผูห้ ลกั ให้แก่
เนื่องจากเป็นผู้ท่ีได้เรียนรู้มาก่อน มีประสบ- สงั คม และเปน็ ผใู้ หญ่ ทจี่ ะบอกจะสอนจะชแ้ี นะ
การณ์ ทจี่ ะบอกจะสอนแก่คนรุ่นหลัง ทเ่ี รียกวา่ จะนำ� ทางแกส่ งั คม เปน็ ผนู้ ำ� ได้ สมกบั ทีเ่ รยี กว่า
อนุชน และจากการเรียนรู้คือการศึกษาน้ัน เป็นผูห้ ลักผ้ใู หญ่
ยิ่งมีชีวิตอยู่นานไป คนสูงอายุขึ้น ก็ย่ิงด�ำเนิน
ชีวิตได้ดีขึ้น มีจิตใจและปัญญาที่เจริญพัฒนา (สนใจเนอื้ หาโดยละเอียดของหนังสอื “ถ้าสูงอายุเป็น ก็น่าเปน็ ผสู้ งู อายุ”
มากข้นึ แม้จะแก่เฒ่าชราลงไป รา่ งกายจะถอย ดาวนโ์ หลดได้จากเวบ็ ไซต์ วัดญาณเวศกวนั ที่ http://book.watnyanaves.net

14 ๓๒

เป็นอนั ว่า ผสู้ งู อายุ ท่สี ูงธรรมสูงปัญญา ก็ แก่นสารเลย อีกไม่นาน อีกประเด๋ียว เราก็จะ
เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ได้แน่นอน ค�ำพระเรียกว่าเป็น ไปจากโลกน้ีแล้ว หมดกัน ไม่มีโอกาสเหลือให้
“เถระ” แตช่ าวบา้ นคงรู้สึกวา่ ไมถ่ นัด ก็อาจจะ แลว้ ชวี ติ ของเรานล่ี ม้ เหลว เกดิ มาเสยี เปลา่ อะไร
เรียกว่า “วุทธชน” หรือจะเรียกให้ยิ่งใหญ่เป็น ทำ� นองนี้ แต่ทางพระ ทา่ นไม่ได้วา่ อย่างนัน้ ใน
“เชษฐบุรษุ ” กไ็ ด้ ธรรมอนั เปน็ ความจรงิ แทน้ น้ั เมอ่ื ยงั เปน็ คน ยงั มี
จะเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ ก็ให้มีความสูงธรรม ชวี ิตอยู่ ไม่มใี ครหมดโอกาส ไม่ว่าจะมองทเี่ วลา
สูงปญั ญาไว้ดงั ที่วา่ มิฉะน้นั จะถูกค�ำเตือน หรอื ในระยะสน้ั หรอื ระยะยาว พดู ถงึ ระยะสนั้ ถา้ จบั
ถูกท่านต�ำหนิได้ว่าเป็น “โมฆชิณณ์” แปลว่า เอาท่ีวนั หนงึ่ ๆ ก็มธี รรมภาษติ สอนไว้ ใหร้ ูจ้ กั ใช้
คนแก่เปล่า นี่ว่าตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เอง เวลาใหเ้ ปน็ ประโยชนว์ ่า “เวลาแตล่ ะวนั อย่าให้
วา่ “บคุ คลไมช่ ่ือวา่ เปน็ เถระ/ผู้หลักผ้ใู หญ่ ดว้ ย ผา่ นไปเปล่า ไมม่ ากก็นอ้ ย ต้องใหไ้ ด้อะไรบ้าง”
การทศี่ รี ษะมผี มหงอก บคุ คลนน้ั มวี ยั แกห่ งอ่ ม ก็ (อโมฆํ ทิวสํ กยริ า อปฺเปน พหเุ กน วา,
เรยี กไดแ้ คว่ ่า เป็นคนแกเ่ ปลา่ ” (ข.ุ ธ. ๒๕/๒๙/๔๙)
ไม่ว่าจะสูงอายุเท่าไร ก็ยังท�ำก�ำไรให้ชีวิตน้ีได้ ข.ุ เถร.๒๖/๓๕๙/๓๓๕)
มากมาย
บางที บางทา่ นคดิ วา่ เราเปน็ ผ้สู งู อายุ กค็ ือ ที่ว่า “ได”้ น้ัน อาจจะคดิ ต่างกนั ไปหลาย
มีอายุเหลือน้อยแล้ว พอคิดอย่างนี้ ก็เลยท�ำให้ อย่าง หลายคนคิดถึงได้เงินทอง บางคนว่าได้
จิตใจสลดหดหู่ ไม่สบายใจ ย่ิงบางคนนึกร�ำพึง งาน บางคนไดเ้ ลา่ เรยี น ไดอ้ า่ นหนงั สอื ไดป้ ญั ญา
ความหลังว่า ชีวิตเราท่ีผ่านมา ไม่ได้อะไรเป็น บางคนวา่ ไดช้ ว่ ยงานคณุ พอ่ ไดร้ บั ใชค้ ณุ แม่ บาง
คนว่าได้ช่วยเหลือคนอ่ืน ได้ท�ำประโยชน์ ฯลฯ
เอาละ เป็นอนั ว่าไดท้ ้งั น้นั และก็ดที ั้งน้นั แล้วก็
อย่าลืมการได้ทางจิตใจด้วย เช่นว่า ได้ความ
สดช่ืนผ่องใส ได้ความอิ่มใจ ใจได้เบิกบาน ได้
ความสงบ ไดค้ วามสขุ ได้คิดดๆี ได้คดิ ท�ำความ
ดี ไดค้ ิดชว่ ยเหลอื คนอ่นื ได้มใี จเมตตา มีกรุณา
มีมุทิตา มีฉันทะท่ีจะท�ำประโยชน์หรือท�ำการ
สรา้ งสรรคโ์ นน่ นี่ ฯลฯ ถึงเวลากลางคนื ตอนลง
นอน คิดวา่ นี่คอื จะหมดวนั แลว้ กม็ านกึ ทบทวน
ว่า วนั นี้ไดอ้ ะไรบา้ ง ถา้ ไดก้ ด็ ีไป ดีใจได้
แตบ่ างทบี างคนบางคนื นกึ ทบทวนแลว้ วนั
นที้ ง้ั วนั ไมไ่ ดอ้ ะไรเลย ชกั จะรสู้ กึ เสยี ใจ แลว้ ใจก็
ขนุ่ มวั หมน่ หมอง ถา้ อยา่ งนก้ี จ็ ะหมดวนั หลบั ไป
โดยไมไ่ ดอ้ ะไรเลย เป็นวนั ท่เี สยี เปล่า แถมยงั ซ�้ำ
เตมิ ตวั เองดว้ ยการมจี ติ ใจเศรา้ หมอง ขนุ่ มวั เปน็
ทุกข์ ในขณะส้ินวัน ติดไปกับใจที่หลับอีกด้วย
เลยเปน็ วันทีส่ ูญเสียจรงิ ๆ

๓๒ 15

ท่ีจริง ไม่ควรต้องสูญเสียอย่างน้ัน เอาละ ผ่องใส เป็นสุข ทำ� อย่างนท้ี กุ คนื ก็คือได้ปฏิบัติ
เมอื่ หมดวนั ในเวลาทล่ี งนอนกลางคนื กอ่ นหลบั ธรรมในชีวิตประจ�ำวันอย่างเป็นประจ�ำ ซึ่ง
ถ้านึกดูแล้ว ทั้งวันน้ันไม่ได้อะไรเลย นั่นก็คิด ทำ� ได้ในห้องนอนและทุกที่ เป็นการศกึ ษาช้นั สูง
แก้ไข ทำ� วันพรุ่งน้ใี หด้ ี วา่ กันใหม่ แต่วันนี้เอง ก็ เป็นการฝึกสติ เจริญสมาธิ ต่อไปจิตก็จะชินเปน็
มใิ ช่หมดโอกาส ลักษณะอาการของมนั อยา่ งนัน้ เปน็ ส่วนสำ� คัญ
แทจ้ รงิ นนั้ โอกาสยงั เปน็ ของเรา จนถงึ ขณะ ของชีวิตท่ีดี ถึงจะเป็นผู้เฒ่าชรา ก็ยังมีเวลาท�ำ
สุดทา้ ยที่จะหลบั เราก็จะทำ� เวลา จนถงึ สดุ ทา้ ย กำ� ไรอย่างนีไ้ ดอ้ กี มากมาย
ทีจ่ ะหลับนั่นแหละ ให้เปน็ เวลาแหง่ การได้ และ
เปน็ การไดอ้ ยา่ งประเสรฐิ อาจจะดกี วา่ ทไี่ ด้ หรอื สงู อายุ คอื ได้ ไม่ใชเ่ สียอายุ
เกินคุ้มกับท่ีเสียไปในวันน้ันทั้งหมดด้วย นั่นคือ อย่างที่ได้รับรู้กันว่า สังคมท่ัวหล้าก�ำลัง
สลัดละความคิดไม่ดี หยุดความไม่สบายใจ ตัด ก้าวหน้าพากันไปเป็นสังคมผู้สูงอายุ ว่าเฉพาะ
ความหวนละห้อยทิ้งไป ท�ำจิตใจให้เบิกบาน ประเทศไทยก็ได้เจริญพัฒนามาเป็นสังคมผู้สูง
ผอ่ งใส มีความสขุ อายุแลว้
ถา้ ทำ� ใจเองไมไ่ ด้ กน็ กึ ถงึ อะไรทด่ี ๆี อาจเปน็ เมื่อสังคมมีผู้สูงอายุเป็นคนจำ� นวนใหญ่ ผู้
พทุ ธวจนะ คตธิ รรม คำ� สวดมนต์ แม้กระท่ังสติ สงู อายกุ ม็ คี วามสำ� คญั ตอ่ ความเปน็ ไป ทงั้ ในทาง
ท่อี ยกู่ บั ลมหายใจของตัวเอง จนหลบั ไปกับใจที่ เจริญและในทางเสื่อมของสังคมประเทศชาติ
ยมิ้ ด้วยความสุขผ่องใส มากขึ้น และสังคมก็ควรต้องเอาใจใส่ต่อความ
นี้เป็นการได้อย่างประเสริฐท่ีดีเลิศ ซึ่งเรา เป็นอยู่เป็นไปของผู้สูงอายุมากขึ้นด้วย ดังที่ได้
สามารถจะได้ และควรทำ� ใหไ้ ดท้ กุ วนั ควรตงั้ เปน็ พูดมาไม่น้อยในที่น้ี ซ่ึงอาจถือว่าเป็นการมอง
หลกั ของใจไวท้ เี ดยี ววา่ จะใหไ้ ดอ้ ยา่ งน้ี โดยใชค้ ำ� ในแง่ดี แต่ทจ่ี รงิ น่าจะเป็นการพดู ในแงข่ องการ
อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนท่านนกุลผู้เฒ่าว่า ทจ่ี ะทำ� ใหด้ ี
เราศึกษาคือฝึกท�ำให้ใจหลับไปพร้อมด้วยจิตท่ี ถึงจะเป็นสังคมผู้สูงอายุ สังคมก็มิใช่เป็น
สังคมของคนสูงอายุ สังคมมีคนต่างรุ่น ต่างวัย
อยู่ร่วมกัน ทั้งคนสูงอายุ และคนวัยอื่นๆ โดย
อาจจำ� แนกเปน็ ผูส้ ูงอายุ ผเู้ จรญิ วยั และผอู้ ่อน
วยั หรอื คนวยั ตน้ คนวยั กลาง และคนสงู อายุ ทกุ
คนทกุ รนุ่ มารวมกนั เปน็ สงั คมนี้ กจ็ งึ ตอ้ งเอาใจใส่
คำ� นึงถงึ ทุกคน
ตรงน้ี ขอแทรกเรอ่ื งนอกนดิ หนอ่ ย เปน็ ข้อ
นา่ แปลกใจ จะว่าน่าขำ� ก็ได้ คอื เร่ืองความเพย้ี น
ของภาษา เม่อื กีพ้ ดู ถึงค�ำว่า “อายุ” ได้บอกวา่
ในภาษาบาลที เี่ ปน็ คำ� เดมิ “อาย”ุ หมายถงึ พลงั
สืบต่อหล่อเล้ียงชีวิต (บางคัมภีร์บอกสั้นๆ แค่

16 ๓๒

ว่า อายุ แปลวา่ ชวี ติ ) อายุจงึ เปน็ พรอย่างหน่ึง จนส้ินสลายคือตาย มาจัดแบ่งเป็นช่วงๆ หรือ
ทีส่ �ำคญั อยูใ่ นจตุรพธิ พร เราจงึ ขอให้คนน้นั คน เป็นระยะๆ คือเป็นข้ันตอนของการคืบเคลื่อน
น้ี มีอายุ มีวรรณะ มีสขุ ะ มพี ละ สู่ความดับสลาย และเรียกแต่ละช่วง แต่ละ
ดังน้ัน “สูงอาย”ุ ท่ีเราแปลว่า มีอายุมาก ระยะว่า “วัย” เช่นเป็น ปฐมวัย มัชฌิมวัย
จงึ ควรหมายความวา่ มพี ลงั ชวี ติ มาก แตใ่ นภาษา ปจั ฉิมวัย วัยเด็ก วยั รุน่ วัยหนุม่ สาว วัยชรา จงึ
ไทยกลับตรงข้าม ที่ว่าสูงอายุ มอี ายุมาก กลาย มีวัยที่ใช้ในความหมายดีๆ เช่น วัยงาม ถึงวัย
เปน็ ว่าแก่ เฒ่า จะหมดแรง ชีวติ หมดก�ำลงั ถงึ พรอ้ มดว้ ยวยั
คราวน้มี ีเพม่ิ อกี คำ� หนง่ึ คอื “วัย” เม่อื พูด ทีน้ี นอกจากพลังชีวิตลงลึกเป็นแกนใจ
ว่า เจริญวัย ในภาษาไทยหมายความว่า เจริญ ชุดใหญ่น้ันแล้ว ยังมีหลักธรรมที่ช่วยให้อายุยืน
เตบิ โตข้ึน แต่ในภาษาบาลีทเี่ ปน็ คำ� เดิม วยั คอื อีกชุดหนึ่ง ซ่ึงเป็นเร่ืองของความเป็นอยู่ หรือ
“วย” หมายถึง ความเส่อื ม ความโทรมทจี่ ะไปสู่ การปฏิบัติตัวในชีวิตประจ�ำวัน จะเรียกว่าข้อ
ความส้นิ สลาย ดงั นน้ั เจริญวัย เจริญโดยวยั จงึ ปฏิบัติเพ่ือส่งเสริมสุขภาพก็ได้ ช่ือเดิมว่า หลัก
แปลวา่ เปน็ ผใู้ หญ่ แก่ เฒา่ บางครัง้ ทีว่ ่า “ผู้สูง อายุสส์ (การปฏิบตั ทิ ่เี กื้อหนนุ อายุ, อายวุ ฒั นวิธี องฺ.ปญฺจก.
อาย”ุ ก็มบี างคนพูดว่า “สงู วัย” ๒๒/๑๒๕/๑๖๓) มี ๕ ขอ้ คือ
ตามภาษาเดมิ เจรญิ อายุ หมายถงึ เพมิ่ พลัง ๑. ท�ำอะไรๆ ต้ังแต่กินอาหาร อยู่ใน
สบื ต่อชวี ิตใหอ้ ยูไ่ ดย้ ืนยาว เวลาน้ี จึงเกิดมคี วาม สิ่งแวดล้อม ด�ำเนินอิริยาบถ ยืนเดินน่ังนอน
นิยมเรียกการท�ำบุญวันเกิดว่า อายุวัฒนมงคล ก็ใหเ้ ปน็ สปั ปายะ คอื ให้สบาย เกอ้ื กลู หนนุ เอือ้
(= มงคลเจริญอายุ มงคลเพ่ิมอาย)ุ แก่ชีวิต ดีต่อสุขภาพ ให้ผ่อนคลาย ไม่เครียด
ส่วนเจริญวัย เจริญโดยวัย เป็น วัยวุฒิ (สปั ปายการี)
(ภาษาบาลวี า่ วโยวฑุ ฒฺ ิ) ได้แก่ ความเจริญโดย ๒. ในสัปปายะ ก็รู้จักประมาณ (สัปปาเย
วัย ความเปน็ ผ้ใู หญ่โดยความเสื่อมสลาย เสือ่ ม มตั ตัญญู)
เพม่ิ ขนึ้ คอื เปน็ ผแู้ ก่ ผู้เฒา่ ๓. กินของที่ย่อยได้สลายแปรหมดไป เช่น
“วยั ” มกี ารใชใ้ นความหมายทซี่ อ้ นลงไปอกี กินของท่ีย่อยง่าย หรือเคี้ยวให้แหลกละเอียด
ชน้ั หน่งึ ด้วย คอื เมื่อถือวา่ อายุเป็นเวลาทัง้ หมด (ปรณิ ตโภชี)
ที่มีชีวิตอยู่ได้ ก็เอาเวลาทั้งหมดของชีวิตที่มี
ความเจริญเติบโตแล้วเสื่อมลงไป ตั้งแต่เกิดไป

๓๒ 17

๔. รจู้ กั จดั รจู้ กั ใชเ้ วลาใหเ้ หมาะ ทำ� ถกู เวลา ระบบสมั พนั ธใ์ หเ้ หมาะ กจ็ ะเปน็ สว่ นรว่ มในการ
ทำ� เปน็ เวลา ทำ� ใหพ้ อหรอื ควรแกเ่ วลา เชน่ นอน สรา้ งสรรค์อภบิ าลสังคมไดเ้ ปน็ อยา่ งดี
เปน็ เวลา พอเวลา (กาลจารี) นี่คือ เม่ือผู้สูงอายุไม่สามารถให้ส่วนร่วม
๕. รู้จักถือพรหมจรรย์ มีการควบคุม ด้านแรงกายได้เพียงพอ ก็ให้สังคมตระหนักรู้
กามารมณ์ เว้นเมถุนตามควร เช่น ถึงวันพระ โดยคนรุ่นรองลงมาและรุ่นเยาว์เข้ามาผ่อน
กร็ ักษาอโุ บสถ (พรหมจาร)ี แทนด้านนี้ พร้อมกันน้ัน บรรดาผู้สูงอายุน้ัน
เป็นคลังข้อมูล เป็นแหล่งประสบการณ์ เป็น
(อายวุ ัฒนวธิ ี มีอีกชุดหน่งึ เปล่ียนข้อ ๔ เปน็ ถือศีลรักษาวนิ ยั ขุมทรัพย์ทางปัญญา ตลอดจนเป็นท่ีสืบปรีชา
(สีลวา) และขอ้ ๕ มีกัลยาณมติ ร) ญาณ และเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าสูงแหล่ง
ใหญ่ เม่ือรับรู้หรือสืบความเข้าใจกันไว้อย่าง
เมอื่ เจรญิ อายแุ ลว้ วรรณะ สขุ ะ พละ กต็ าม น้ี คนรุ่นรองท่ีเป็นแกนก�ำลัง หรือเป็นแรงงาน
ตอ่ มาได้ ทกุ รนุ่ ทกุ วยั แตล่ ะชวี ติ ตา่ งศกึ ษา และ หลักของสังคม พึงมองเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุ
ทุกคนมาร่วมกันพัฒนาสร้างสังคม ดังว่าแล้ว และรู้จักใช้ รู้จักถือเอาประโยชน์จากขุมก�ำลัง
สังคมมีคนต่างรุ่น ต่างวัย มาอยู่ร่วมกัน ท้ังคน หรือแหล่งทรัพยากรนี้ให้คุ้มค่า โดยใฝ่ใจท่ี
สงู อายุ และคนวยั อนื่ ๆ ทกุ คนทกุ รนุ่ ทมี่ ารวมกนั จะฝึกศึกษาเรียนรู้ อย่างน้อยให้การต่อทอด
เป็นสงั คมนี้ จะตอ้ งร่วมด้วยช่วยกัน สร้างสรรค์ สืบสานวัฒนธรรมและอารยธรรมดำ� เนินไปได้
อภบิ าลสงั คม คนจงึ ต้องพัฒนาตวั เองให้มธี รรม ดว้ ยการปฏิบตั ิเช่นนี้ การเปน็ ส่วนร่วมและ
ประจำ� ใจของพระพรหม คอื เมตตา กรณุ า มทุ ติ า ให้ส่วนร่วมแก่กันในสังคม ก็จะเป็นจริงข้ึนมา
อเุ บกขา ว่าตามหลักสังคหวัตถุ ผู้สูงอายุมีบทบาทใหญ่
ทั้งน้ีถือว่า ผู้สูงอายุเป็นผู้น�ำ ท�ำตัวอย่าง ในข้อ “ปิยวาจา” บอกเล่าเรื่องราว ถ่ายทอด
ในการมีหรือตั้งอยู่ในพรหมวิหาร ๔ น้ัน โดย ประสบการณ์ แนะน�ำ สั่งสอนเป็นที่ปรึกษา
แสดงออกในทางปฏบิ ตั ิ ดว้ ยการใชส้ งั คหวตั ถุ ๔ ตลอดจนเผล็ดปรีชาญาณให้แก่อารยธรรม
ดังที่ว่าขา้ งตน้ ทุกคนรว่ มด้วยในการสร้างสรรค์
อภบิ าลสงั คม แตใ่ นทกุ คนนน้ั ไมม่ ใี ครเทา่ กนั เลย
ไมว่ า่ โดยเรย่ี วแรงกำ� ลงั กาย กำ� ลงั ทรพั ย์ กำ� ลงั ใจ
กำ� ลงั ปญั ญา ก�ำลังความสามารถ เร่มิ ด้วยความ
แตกต่างด้านวัตถุ เคร่ืองอาศัยเป็นอยู่ ดังน้ัน
สังคหวัตถจุ งึ เร่ิมท่ี “ทาน” ใหป้ นั จัดสรร เอื้อ
อ�ำนวย อยา่ งน้อย ใหท้ กุ คนมีกินมีใช้ เปน็ อยูไ่ ด้
พอเพียงทวั่ กนั
หันมาดูที่ผู้สูงอายุ คนกลุ่มนี้ท่ีกลายเป็น
จำ� นวนใหญ่ ท่ีจรงิ เปน็ ส่วนรว่ มทเ่ี กอื้ หนนุ สังคม
ได้มาก แต่ถ้าไม่จัดระบบความสัมพันธ์ และ
การเป็นส่วนร่วมให้ดี เมื่อมีจ�ำนวนมาก ก็จะ
เป็นจุดอ่อนแอใหญ่ของสังคม เพราะมีร่างกาย
เส่ือมถอย ก�ำลังน้อยไม่พอแก่งาน แต่เมื่อจัด

18 ๓๒

ในขณะเดยี วกนั คนรนุ่ กลางรองลงมา เปน็ กำ� ลงั มักเป็นเหตุให้เกิดความแก่งแย่งและแตกแยก
แรงงานของสงั คม เปน็ เจ้าบทบาทในข้อ “อัตถ- โดยที่ว่าคนเหล่านั้น ท้ังรอการท่ีจะได้ และ
จริยา” จัดการด�ำเนินงานแผ่ขยายให้สังคมเข้า เพ่งจ้องการท่ีจะได้เท่ากันกับเขาอยู่กันแค่นั้น
ถึงประโยชน์ท่ัวทั้งหมด ในท่ีสุด ทุกคนมีความ ไม่ก้าวไปให้ถึงการร่วมกันสร้างสรรค์ ดังนั้น
เสมอสมานกันตามหลักในข้อ “สมานัตตตา” จึงควรเน้นไปว่า ถ้าถือตามหลักสมานัตตตาน้ี
(เสมอกนั เทา่ กนั โดยมนี ยั แงเ่ ขา้ กนั รว่ มกนั ดว้ ย) ต้องมองการมีส่วนร่วมในแง่ของการมี
ท่วี ่าเสมอกนั หรือเสมอภาค คอื มคี วามเท่า ส่วนร่วมในการใหด้ ้วย
กนั เสมอกนั ตอ่ หนา้ ธรรม ทงั้ ธรรมทเี่ ปน็ กฎหมาย แทนที่จะพูดว่า การ “มีส่วนร่วม” อาจ
กฎเกณฑก์ ตกิ าของสงั คมมนษุ ย์ (นติ ธิ รรม) และ เปล่ียนพูดใหม่ว่า การ “ให้ส่วนร่วม” ที่ว่านี้
ธรรมทเี่ ปน็ กฎธรรมดาแหง่ ความเปน็ ไปตามเหตุ พูดอย่างรวบรัด ความเสมอภาคตามหลักสมา-
ปจั จยั ของธรรมชาติ (ธรรมนิยาม) พรอ้ มกนั นัน้ นัตตตานี้ ตอ้ งมีทั้ง เสมอภาคกนั เท่ากนั และ
ก็เปน็ ความเสมอกัน เทา่ กนั แบบเข้ากันร่วมกัน เขา้ รว่ มกนั (สมานอตั ตา) ทำ� การทำ� งานอยา่ งสม
ซ่ึงในแง่หน่งึ คล้ายกบั หลกั การมสี ่วนรว่ ม เสมอเขา้ กนั (สมานกจิ จ)์ และรว่ มสขุ รว่ มทกุ ขก์ นั
แต่น่าสังเกตว่า ในสังคมของเราที่เป็นมา (สมานสขุ ทกุ ข์)
คนสว่ นมากหรือมากมาย ใชห้ ลกั การมีส่วนรว่ ม เป็นอันว่าได้พูดมาพอสมควรแล้ว ใน
นั้นในความหมายท่ีมุ่งเอาความมีส่วนร่วมใน เร่ืองของการที่ทุกคนจะต้องร่วมด้วยช่วยกัน
การได้ ทำ� ใหค้ วามเสมอภาค และการมสี ว่ นรว่ ม สรา้ งสรรคอ์ ภบิ าลสงั คม

แจก พระมาลยั เถระ
หนงั สอื
เปน็ ใคร ? มาจากไหน ?

หนังสือเล่มดังกล่าวข้างต้น เป็นการรวบรวมบทความชื่อ
เดยี วกนั ของท่านวิเทศทยั ย์ ซ่งึ ตพี ิมพ์เปน็ ตอนๆ ในวารสารโพธยิ าลัย
คร้ันเม่ือจบเรื่องแล้ว ได้มีเจ้าภาพจัดพิมพ์เป็นเล่มพ็อคเก็ตบุ๊คปกส่ีสี
สวยงาม และได้แบ่งปันมาที่วารสารโพธิยาลัยจ�ำนวนหนึ่ง เพ่ือแจก
แก่ผู้สนใจ โดยมีกติกาง่ายๆ ดังนี้ ขอให้ท่านแสดงความคิดเห็น
ที่มีต่อวารสารโพธิยาลัย สั้นยาวไม่จ�ำกัด คณะผู้จัดท�ำจะได้น�ำ
ความคิดเหล่านั้น มาปรับปรุงคุณภาพของวารสารต่อไป ส่งความคิดเห็น
ของท่าน มาที่ ทพญ. อัจฉรา กลน่ิ สุวรรณ์ email address ที่ [email protected]
หรือ เขียนเป็นจดหมายส่งไปรษณีย์มาที่ ชมรมกัลยาณธรรม เลขท่ี ๑๐๐ ถนนประโคนชัย
ต�ำบลปากน้�ำ อ�ำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๒๗๐ วงเล็บมุมซองว่า (วารสาร
โพธิยาลัย) หนังสือมีจ�ำนวนจ�ำกัด กรุณาส่งด่วน ก่อนหนังสือจะหมด โปรดแจ้งช่ือและ
ทอ่ี ยใู่ ห้ชัดเจน สำ� หรับส่งหนังสอื มาดว้ ย

19

สุขใจ ธรรมกถา
พระไพศาล วิสาโล
ในวยั ชรา

เดย๋ี วนเ้ี มอื งไทยมผี สู้ งู วยั หรอื วา่ คนแก่ เปน็ มโี ชค ถา้ ไม่ไดท้ �ำบุญท�ำกศุ ลไว้ก่อน กค็ งจะไม่มี
สดั สว่ นทสี่ งู มาก เขาวา่ กนั ประมาณ ๑๔% เปน็ อายุยืนมาถึงป่านนี้ นอกจากมีโชคเพราะความ
คนแก่อายุ ๖๐ ปขี ้ึนไป สมยั นเ้ี ราไม่ชอบคำ� วา่ ที่มีอายุยืนแล้ว อีกอย่างหน่ึงที่มีค่ามาก ก็คือ
แก่ ทั้งท่ีสมัยก่อน ค�ำว่าแก่เป็นเร่ืองธรรมดา ประสบการณช์ ีวติ
สงั คมสมยั นเี้ ปน็ สงั คมทเ่ี ชดิ ชคู วามหนมุ่ สาว พอ ประสบการณ์ชีวิต ท่ีเกิดจากการผ่านร้อน
เรยี กใครวา่ เปน็ คนแกก่ จ็ ะไมพ่ อใจ อนั นเ้ี ปน็ การ ผา่ นหนาว ผา่ นโลกมามาก ถอื เปน็ ประสบการณ์
ปฏิเสธความจริง เพราะว่าถ้าเราไม่กลัว ไม่ ท่ีมีค่ามาก แม้ว่าหลายคนจะเจอความทุกข์
รงั เกยี จความแก่ เรากจ็ ะไมเ่ ปน็ ทกุ ขก์ บั ความแก่ ความยาก ความลำ� บาก อาจจะเจอความยากจน
หรือกับค�ำเรียก เด๋ียวนี้ก็ไปเลี่ยงใช้ค�ำว่า สูงวัย มาตั้งแต่เล็ก ต้องปากกัดตีนถีบ ต้องเจอกับ
ผูส้ ูงอายุ ความพลัดพรากสูญเสีย ก็ล้วนแล้วแต่เป็น
ถงึ แม้หลายคนยงั หนมุ่ ยังสาว แตก่ ็มักจะมี ความขรุขระ ยากล�ำบากของชีวติ แต่ทั้งหมดนี้
คนแก่อยู่ในบ้าน แล้วต่อไปตัวเองก็ต้องแก่ด้วย กถ็ อื วา่ เปน็ ประโยชน์ เพราะประสบการณต์ า่ งๆ
พูดถึงคนแก่ที่เป็นชาวพุทธ นับว่าโชคดีที่มีอายุ เหลา่ น้ี ชว่ ยทำ� ใหเ้ ราสามารถอยใู่ นโลกนไี้ ดอ้ ยา่ ง
ยืนถึงขนาดนี้ เพราะว่าคนส่วนใหญ่ก็ตายไป มคี วามสุข
กอ่ นทจ่ี ะอายจุ ะเจด็ สบิ แปดสบิ เสยี อกี สว่ นใหญ่ ประสบการณ์หลายอย่างของคนแก่ เช่น
บางคน อายแุ คไ่ ม่กขี่ วบกต็ าย บางคนตายตอน ความรคู้ วามสามารถในการทำ� นา ในการทอผา้
หนุ่มสาว ใครทมี่ ีอายยุ ืนถึง ๗๐ - ๘๐ ปี กถ็ อื ว่า หรือในการเล้ียงวัวเล้ียงควาย เป็นต้น เด๋ียวนี้

20 ๓๒
ไม่มีประโยชน์แล้ว เด๋ียวนี้ความรู้ที่มีอยู่ในหัว ๔๐ กว่า ชอบพูดถึงอาชีพ พูดถึงต�ำแหน่ง
ของคนแก่ มันล้าสมัยไปเยอะแล้ว คนแก่ต้อง เปน็ ช่วงทปี่ ระสบความสำ� เร็จสงู สดุ เรยี กว่า พีค
ไปเรยี นจากเดก็ ๆ เชน่ ไปเรยี นเรอ่ื งคอมพวิ เตอร์ (peak แปลวา่ ยอดเขา) ถา้ ไมน่ บั บคุ คลในวงการ
เร่ืองการใช้แท็บเล็ต เร่ืองการใช้โทรศัพท์มือถือ ราชการ ถา้ เป็นวงธรุ กจิ และวงการเมอื ง ถา้ ชว่ ง
ใช้ไลน์ จากลูกจากหลาน แต่ก่อนนี้มีแต่หลาน ๔๐ กว่าปลายๆ จะ ๕๐ ถอื เป็นชว่ งทจ่ี ะประสบ
ไปเรียนจากปู่ย่าตายาย แต่มีอย่างหน่ึงที่ไม่ล้า ความส�ำเร็จได้สูงมาก โอบาม่าก็อายุ ๔๐ กว่า
สมัย ก็คือประสบการณช์ วี ติ ความเขา้ ใจเกี่ยว บิล คลนิ ตัน ก็ ๔๐ กว่า ทกั ษิณ หรอื ว่าอภิสิทธิ์
กับเรื่องชีวิต ความเข้าใจเก่ียวกับเร่ืองสุขทุกข์ ก็ ๔๐ กวา่ ตอนเปน็ นายกรฐั มนตรี แตว่ า่ โดย
และความไม่เที่ยงของชีวิต ซ่ึงเราเรียกว่า วิชา รวมแล้ว มีความเครียดมากกว่า มีความทุกข์
ชีวติ กไ็ ด้ ไมม่ คี ำ� วา่ ลา้ สมยั ประสบการณช์ ีวิต มากกวา่ คนในวยั ๗๐ – ๘๐ ปี
ท่ีว่านี้ ท�ำให้คนแก่จ�ำนวนมากยังมีความสุขอยู่
ได้ ทง้ั ทีก่ ำ� ลงั วงั ชาถดถอย
ฝรั่งเขาท�ำการศึกษาวิจัยหลายช้ิน แต่ว่า
เขาไมไ่ ดท้ ำ� เฉพาะคนฝรงั่ เขากไ็ ปสอบถามความ
เหน็ ความรสู้ กึ ของคนทงั้ โลก มรี ายงานวจิ ยั ทท่ี ำ�
กบั คน ๗๒ ประเทศ กท็ ำ� หลายเรอ่ื ง เชน่ เร่ือง
ความสุข ก็ศึกษาว่า ในบรรดาคนแต่ละวัย วัย
ไหนท่ีมีความสุขมากกว่ากัน ก็พบว่าความสุข
ของคน ตั้งแตอ่ ายุ ๑๘ ถึง ๘๐ มันจะมีลักษณะ
คล้ายๆ กบั ตวั ยหู รอื วา่ ตวั วี ก็คือวา่ อายสุ บิ แปด
จะมีความสขุ มากทีส่ ดุ แลว้ หลังจากนัน้ พออายุ
มากข้ึน ความสุขก็ค่อยลดลงๆ ลดลงมาเป็น เอ๊ะ ท�ำไมคนแก่จึงมีความสุขมากกว่าคน
ลำ� ดับจนต�่ำสุด ก็คือตอนที่เป็นวยั กลางคน ๔๐ อายุ ๑๘ และมีความสุขมากกว่าคนที่ประสบ
กวา่ มงี านชน้ิ หนงึ่ ระบไุ วช้ ดั เลยวา่ อายุ ๔๖ โดย ความส�ำเร็จในชีวิต ในวัย ๔๐ กว่าหรือ ๕๐
เฉลย่ี แล้วเป็นชว่ งอายุที่มคี วามทกุ ขม์ ากที่สดุ มี ก็พบว่า ส่ิงส�ำคัญน้ันคือ ประสบการณ์ชีวิต
ความสุขน้อยที่สุด หลังจากนั้นความสุขค่อยๆ ประสบการณ์ชีวิตของคนแก่ ท�ำให้เขาท�ำใจได้
เพ่มิ ขึ้น พออายุ ๗๐ ก็สุขมากกวา่ อายุ ๖๐ นะ ในเรื่องการใช้ชีวิต ท�ำใจได้ง่าย เมื่อมีอะไรมา
พอถงึ ๘๐ นี่ สขุ ท่สี ุด สุขกวา่ ตอนอายุ ๑๘ อีก กระทบ ก็โกรธยาก มีความอดกล้ันได้ดี ไม่
ท้ังๆ ท่ีอายุ ๑๘ เป็นช่วงขาข้ึน และ ๘๐ เหมอื นคนหนมุ่ คนสาว นดิ ๆ หนอ่ ยๆ กห็ งดุ หงดิ
เป็นช่วงขาลง แต่แปลกว่าคนที่อายุช่วงขาลง เสียใจ ทกุ ข์ เป็นสิว ผวิ แห้ง ผมแตกปลายก็ทุกข์
กลบั มคี วามสขุ มากกวา่ ทง้ั ๆ ทก่ี ำ� ลงั วงั ชากน็ อ้ ยลง แลว้ บางทนี อนไมห่ ลบั แตเ่ รอื่ งแบบนสี้ ำ� หรบั คน
สุขภาพก็อาจจะไม่ดีนัก เงินทองก็น้อยลง แก่ ถอื เป็นเร่ืองจ๊ิบจอ๊ ยมาก รถตดิ คนหนุม่ คน
ยศศักดิ์ก็หมดไป ขณะที่คนอยู่ในวัยกลางคน สาวก็หงุดหงิดร�ำคาญ เสียงดังก็ร�ำคาญ แต่คน

๓๒ 21

แก่เฉย เพราะเจอมาเยอะแล้วจนอาจจะรสู้ ึกว่า
เร่ืองพวกนม้ี นั จ๊ิบจ๊อยมาก
พูดง่ายๆ คือคนแก่ท�ำใจได้ง่าย อดกลั้น
ได้ดี ปล่อยวางได้เก่ง อันนี้เป็นเรื่องของวุฒิ-
ภาวะ เป็นเร่ืองของประสบการณ์ชีวิต เพราะรู้
ว่า เออ มันก็ธรรมดา ก็เปน็ อย่างนัน้ แหละ หรือ
ว่าเวลามีคนล้มหายตายจากไป คนแก่ก็ไม่ได้
ฟูมฟาย โศกเศร้า คร่ำ� ครวญมาก เพราะร้วู า่ มนั
เป็นเช่นนั้นเอง เจอความสูญเสียพลัดพรากมา หวงั ทำ� ใจยาก ๔๐๐ คนน ่ี เทา่ กบั นกั เรยี นแพทย์
เจด็ สบิ แปดสบิ ปแี ลว้ กเ็ ลยเหน็ เปน็ เรอื่ งธรรมดา ๓ ห้องหรือ ๔ ห้องรวมกัน แต่ว่าคนที่สูงวัย
ไม่โศกเศรา้ ไมค่ ร�ำ่ ครวญ หรือคนแก่ เขาก็ท�ำใจได้ เพราะเขาก็รู้ว่า เออ
ขณะเดียวกัน คนแก่ก็มีความทะเยอ- เราทำ� ไดแ้ คน่ ี้
ทะยานนอ้ ยลง ความเครยี ดของคนเราสว่ นหนง่ึ อกี อยา่ งหนง่ึ กค็ อื คนแกไ่ มร่ อความสขุ จาก
ก็เกิดจากการที่เรามีความทะเยอทะยาน ต้อง อนาคต แต่สามารถเห็นความส�ำคัญของการ
ท�ำให้ได้ แต่คนที่มีอายุแล้ว เขาท�ำได้เท่าไหร่ หาความสขุ จากปัจจบุ นั ความสุขจากปัจจบุ นั มี
เขาก็พอใจแค่น้ัน ยอมรับข้อจ�ำกัดของตัวเอง อะไรบา้ ง กค็ อื ครอบครวั อยกู่ บั ลกู กบั หลาน หรอื
ยอมรับว่าเราทำ� ได้แค่น้ี ไมเ่ สียใจ ไมท่ กุ ข์ วา่ ไปเทีย่ ว ไปสนทนากบั เพอ่ื นท่ีร้านกาแฟ เปน็
ขณะที่คนยังหนุ่มยังสาว พอท�ำงานอะไร ความสขุ งา่ ยๆ ไมต่ อ้ งสะสมเงนิ ทองเพอ่ื จะไปรอ
ลม้ เหลวหนอ่ ย กต็ อี กชกหวั โมโห กลมุ้ อกกลมุ้ ใจ เสพสุขในวันข้างหน้า เพราะว่าเขาหาความสุข
มีเพื่อนญ่ีปุ่นคนหน่ึงนะ ไปท�ำปริญญาเอก ไดท้ กุ วนั เรยี กวา่ มคี วามสุขจากปัจจุบัน ไม่ไป
ท�ำวิจัยวิทยานิพนธ์เก่ียวกับเรื่องต�ำรวจไทย รออนาคต จึงทำ� ใหค้ นแก่มคี วามสขุ ง่าย ย่ิงรวู้ ่า
ทำ� มาหลายปไี มเ่ สร็จ แกเปน็ คนเก่งมาก แตไ่ ป มีเวลาเหลืออยู่ไม่นาน เพราะความตายใกล้เข้า
เจอฤทธ์ิเดชต�ำรวจไทย เขียนไม่ออก ผ่านมา มาแล้ว เขาก็หาความสุขจากปัจจุบันน่ีแหละ
หลายปี วิทยานิพนธ์ก็ไม่เสร็จ สุดท้ายวันหน่ึง และเขากร็ ้วู า่ ความสขุ ทด่ี ีท่สี ดุ คือ ความสขุ ทใ่ี จ
แกก็ผูกคอตายในสวนใกล้บ้าน แต่ถ้าเป็น ไม่ใช่ทรัพย์สมบัติ ความสุขที่ใจท่ีเกิดจากการ
คนแก่นะ เร่ืองพวกน้ีถือเป็นเรื่องธรรมดา ท�ำบญุ ท�ำกศุ ล การสวดมนต์ การนงั่ สมาธิ การ
ไม่เสรจ็ กไ็ ม่เสร็จ เราท�ำได้แค่นี้ ปล่อยวางได้ มเี วลาอยกู่ ับลกู หลานและอยกู่ บั ครอบครัว
ในสหรัฐอเมริกา พวกหมอจบใหม่ เขา ทั้งหมดน้ีเป็นเรื่องของประสบการณ์ชีวิตท่ี
เครียดมาก หมอจบใหม่ เรียกวา่ พวก resident สอนให้คนแก่ส่วนใหญ่โดยเฉล่ียมีความสุข ถึง
ทใ่ี กลจ้ ะจบกเ็ รยี ก intern พวกนจี้ ะเครียดมาก แม้คนเหล่าน้ีไม่ได้เข้าวัดเข้าวาก็ตาม โดยส่วน
ฆ่าตัวตายปีหน่ึง ๔๐๐ คน สงู มากเลยนะ โดย ใหญ่ คนทอ่ี ายมุ าก ๗๐ - ๘๐ มคี วามสขุ มากกวา่
เฉพาะในอเมริกา เป็นอาชีพท่ีมีความทุกข์มาก ตอนอายุ ๔๐ - ๕๐ ใหถ้ ามตวั เองวา่ เราเปน็ คน
พวกน้ียังหนุ่ม ความรู้ดี แต่ว่าพอเจอความผิด แก่ท่ีมีความสุขมากกว่าจริงหรือเปล่า หรือว่า

22 ๓๒

เรามีความสุขน้อยกว่าตอนที่เรายังหนุ่มยังสาว
ตอนท่ีเรายังอยู่ในวัย ๔๐ - ๕๐ ถ้ามีความสุข
น้อยกว่า แสดงว่าเราไม่ปรกติแล้วนะ แสดงว่า
ประสบการณช์ วี ิตท่ีเรามี เราไม่ได้เอามาใช้
อะไรท่ีท�ำให้คนแก่ไม่มีความสุข ข้อแรก
คือ ความหว่ งความวติ กกังวล ไม่ไดว้ ิตกกังวล
เร่ืองสถานะการเงินของตัวเองนะ เพราะหลาย
คนกม็ ฐี านะดี แตจ่ ะหว่ งกงั วลลกู หลาน บางทลี กู
อายุ ๔๐ แลว้ กย็ งั หว่ ง คอยถาม คอยโทรศพั ทไ์ ป เม่ือเรามีอายุมาก เราต้องรู้จักการปล่อย
ถาม หรอื ใหล้ ูกโทรศัพทม์ ารายงาน วาง เห็นวา่ อะไรๆ มันก็ธรรมดา ความไม่สมหวงั
อีกเร่ืองหน่ึงคือ ความโกรธ เดี๋ยวนี้มีคน ความไมถ่ กู ใจ มันเปน็ ธรรมดา จะโกรธไปท�ำไม
แก่จ�ำนวนมาก ย่ิงแก่ตัวก็ย่ิงมีความหงุดหงิด ความโกรธเกดิ จากการเจอสิง่ ท่ไี ม่ได้ดงั่ หวงั เจอ
อารมณ์เสียอารมณ์ร้าย ทั้งที่พูดถึงวัยแล้ว ความผดิ หวัง ไมถ่ กู ใจ ประสบการณน์ า่ จะสอน
น่าจะเย็นลง แล้วพูดถึงประสบการณ์ชีวิต นะว่า เออ จะให้คนอ่ืนท�ำถูกใจเราทุกอย่างได้
ก็น่าจะปล่อยวางได้มากขึ้น ถ้าไม่ใช่ แสดงว่า ยังไง ขนาดเราเองยังท�ำไม่ค่อยถูกใจตัวเอง ใจ
ประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา ไม่ได้สอนเลยว่า เราเองเรายงั สั่งไมไ่ ดเ้ ลย นอนไมห่ ลบั ส่ังใหม้ ัน
อะไรๆ มันก็ไม่แน่ ไม่ได้สอนให้รู้จักการปล่อย หลับมันก็ไม่ยอม อยากให้คนอื่นรู้ใจเรา แต่เรา
วาง ไมไ่ ดส้ อนให้เห็นว่า ความผิดหวัง ไม่สมหวงั ไม่รู้ใจตัวเอง แลว้ จะไปคาดหวังให้คนอืน่ มารู้ใจ
ไม่ถกู ใจ ลว้ นเป็นเรอื่ งธรรมดา ถ้ามอี ายมุ ากขึ้น เราได้อยา่ งไร
แต่ประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาไม่ได้สอนให้ ทจ่ี รงิ ประสบการณช์ วี ติ มนั นา่ จะสอนนะวา่
เห็นอะไรต่ออะไรเป็นเร่ืองธรรมดา แสดงว่า เออ จะไปคาดหวงั จากคนอน่ื ทำ� ไม เขากม็ วี ถิ ที าง
ประสบการณท์ ผ่ี า่ นมา มนั สญู เปลา่ นะ สญู เปลา่ ของเขา ถา้ ไมร่ จู้ กั ระงบั ความโกรธ หรอื วา่ ไมร่ จู้ กั
ท้ังๆ ท่ีมันมคี า่ มาก ปล่อยวางบ้าง มันก็ท�ำร้ายตัวเอง โรคประสาท
หรือวา่ โรคเครียด โรคความดนั บางทเี ส้นเลอื ด
ในสมองแตก เดย๋ี วนก้ี เ็ กดิ ขน้ึ กบั คนสงู วยั มากขน้ึ
ไม่ใช่เพราะไขมันเยอะเท่านั้นนะ แต่เป็นเพราะ
ความเครียดด้วย
ผ่านโลกมามากแล้ว ก็ควรจะใช้ประสบ-
การณใ์ ห้เปน็ ประโยชน์ ในการปล่อยวาง ในการ
คลายความโกรธ รวมทั้งรูจ้ ักใหอ้ ภยั ดว้ ย เพราะ
ประสบการณช์ วี ติ จะสอนวา่ คนเรายอ่ มผดิ พลาด
ได้ สมยั ทย่ี งั หนมุ่ ยงั สาว มนั กล็ มุ่ หลงในเนอ้ื หนงั
ในความสุขช่ัวครู่ช่ัวยาม แต่พอแก่ตัว ก็รู้สึกว่า

23

เออ มันเป็นของธรรมดาที่คนเรามันอาจจะ
หลงใหลไป แต่พออายุมากขึ้น มันก็ปล่อยวาง
ได้ ให้อภยั ได้
นอกจากน้นั คือ ความหวงแหน หวงแหน
ทรพั ย์ แลว้ ก็โลภดว้ ย บางคนกท็ มุ่ เทท�ำงานมา
ทงั้ ชวี ติ สะสมเงนิ ทอง มเี งนิ มาก แตเ่ สยี ดายทจี่ ะ
ใชม้ นั เงนิ มไี วใ้ ช้ ไมใ่ ชม่ ไี วเ้ กบ็ ใครทม่ี เี งนิ แลว้ เกบ็
เอาไว้ พระพุทธเจา้ ตำ� หนิวา่ เป็นคนโง่ ต�ำหนิวา่
เปน็ คนทไี่ มร่ จู้ กั ใชท้ รพั ย์ แสดงวา่ ทรพั ยเ์ ปน็ นาย
เรา ท่จี ริงเราตอ้ งเป็นนายของทรัพย์ ก็คือใช้มัน
ให้ถกู ถ้ามนั เป็นนายเรา กห็ มายความว่า เราจะ ยังอยู่ตรงน้ัน บาทหนึ่งก็เอาไปไม่ได้ แล้วจะ
ไมย่ อมใชม้ นั เรายอมลำ� บากเพอ่ื มนั หรอื วา่ ยอม หวงแหนมันไปท�ำไม มีก็ใช้ แต่ว่าไม่ได้ใช้
ตายเพอื่ มัน พระพุทธเจา้ สอนให้สละทรัพยเ์ พ่อื แบบฟุ่มเฟือย เก็บหอมรอมริบไว้บ้างเพ่ือใช้ใน
รักษาอวัยวะ สละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต สละ โอกาสต่อไป แต่ไม่ใชเ่ พ่อื เกบ็ เอาไว้อย่างเดียว
ชีวิตเพื่อรักษาธรรม แต่ถ้าสละชีวิตเพื่อรักษา อีกเรื่องหน่ึง ท่ีท�ำให้คนแก่มีความกังวล
ทรัพย์สินแสดงวา่ โง่ นั้นคอื ความกลวั ตาย ท่ีจรงิ แล้วประสบการณ์
คนท่ีไม่ได้ปฏิบัติธรรม แต่ละคนก็เป็น ชวี ติ นา่ จะสอน เออ เกดิ มาแลว้ กต็ อ้ งตาย แลว้ คน
อย่างนั้น ใช้จ่ายเงินทองไปแต่ละที ก็กลุ้มอก ทผี่ า่ นโลกมามากแลว้ กจ็ ะเหน็ วา่ คนทตี่ ายดกี ม็ ี
กลุ้มใจ บางทีก็ใช้จ่ายเพ่ือตัวเอง เช่น ลูกก็จ้าง คนที่ตายสงบก็มี เขาตายสงบได้เพราะว่าอะไร
คนงานมาดูแลแม่ พอแม่รู้ว่าจ้างเดือนละ ก็เพราะว่าเขาท�ำบุญท�ำทาน เขาสร้างบุญสร้าง
หมนื่ กวา่ แมก่ ลมุ้ ใจมาก บน่ แลว้ บน่ อกี วา่ เสยี ดาย กศุ ล ก็ปลอ่ ยวาง และยอมรบั ความจรงิ ของชวี ติ
เงินเป็นหมื่น ก็เงินมีไว้เพื่อใช้ ท�ำให้เกิดความ หมนั่ พจิ ารณาความตายอยเู่ สมอ ถา้ คนกลวั ตาย
สะดวกสบาย เมื่อลูกจะใชเ้ งนิ เพ่ือดูแลแม่ แม่ก็ แสดงว่าประสบการณ์ชีวิตท่ีผ่านมาน้ัน ไม่ได้
น่าจะยินดีนะ กลับบ่นว่าลูกเพราะเสียดายเงิน สอนเลย จึงยอมรับความตายไม่ได้ แต่ถ้าเรา
แล้วก็เรียกร้องไม่ให้ลูกไปจ้างคนดูแล แต่ให้ลูก กลวั ตาย ตอ้ งเรง่ ทำ� ความดี เรง่ สรา้ งบญุ สรา้ งกศุ ล
มาดแู ลแมเ่ อง เกดิ ความเครยี ดทงั้ บา้ นเลย ถา้ หวง เร่งท�ำหน้าที่ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ แล้วก็เจริญ
แบบนี้ แล้วไมป่ ล่อยไม่วาง กอ็ าจจะตายไม่ดีนะ สติ ท�ำสมาธภิ าวนา ระลกึ ถงึ ความตายอยู่เสมอ
คนทเ่ี ปน็ ผสู้ งู วยั ประสบการณน์ า่ จะสอนวา่ ทเ่ี รยี กวา่ มรณสติ
ของพวกน้ีเป็นของชั่วคราว ทรัพย์สมบัติ ที่พูดมานี้ คิดว่าน่าจะมีประโยชน์ ทั้งแก่
มันไม่เป็นของเราเลยแม้แต่น้อย ตายแล้ว คนท่ีเป็นผู้สูงวัย หรือคนแก่ คนชราเอง และก็
ก็เอาไปไม่ได้ไปงานศพไม่รู้กี่งานแล้ว กี่ศพแล้ว รวมทั้งคนทย่ี ังมีคนแก่คนชราอยู่ในบา้ น ก็จะได้
เห็นเขาเอาเหรียญใส่ปากศพ เหรียญมันก็ รวู้ ธิ ที จี่ ะแนะนำ� คนแกใ่ หม้ คี วามสขุ เหมอื นอยา่ ง
ไม่ไปไหน พอเผาศพเหลือแต่กระดูก เงินก็ ทค่ี นแกส่ ว่ นใหญ่เขามคี วามสุขกัน

24 ๓๒

พอ ในการฉลองวนั เกิด ก็เป็นโอกาสที่เราจะได้
ปฏิบตั ิธรรม ดว้ ยการท�ำวัตร สวดมนต์ น่ังสมาธิ
และฟังธรรม กิจกรรมเหล่านี้ มุ่งท่ีการช�ำระ
จิตใจ หัวใจของการภาวนาก็อยู่ตรงนี้ อยู่ท่ีเรา
มงุ่ มนั่ ในการฝกึ จติ เรยี นรวู้ ธิ บี รหิ ารจติ ใจของตน
พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า กรรม คือ การ
กระท�ำ โดย กาย วาจา ใจ ซงึ่ ประกอบด้วย
เจตนา พระพุทธองค์ทรงย�้ำจุดน้ีว่า กรรมอยู่
ที่เจตนา การกระท�ำอันใด เราไม่ตั้งใจท�ำ ไม่
ตง้ั ใจพดู กไ็ ม่จัดวา่ เป็นกรรม กรรมดีและกรรม
ชั่วอยู่ที่เจตนา เพราะฉะน้ัน ผู้ที่ต้องการชีวิต
ที่ดีงาม ก็จ�ำเป็นต้องศึกษาเรียนรู้เจตนาของ
ตน ไม่ใช่เรียนรู้แค่ทฤษฎี แต่เรียนรู้ในปัจจุบัน
อาตมาเคยพูดบ่อยๆ ว่า การอยู่ในปัจจุบัน
ไม่ใช่เป้าหมายของการปฏิบัติธรรม แต่เป็น
เง่ือนไขของการปฏิบัติธรรม เพราะการปฏบิ ตั ิ
เสน่ห์เย็น ๆพระธรรมเทศนา
พระอาจารย์ชยสาโร ธรรมต้องอยู่ในปัจจุบัน การอยู่ในปัจจุบันเป็น

เงอ่ื นไข เพราะเราสามารถดเู จตนาทเ่ี กดิ ขน้ึ ทดี่ บั
ไป เจตนาจะท�ำ เจตนาจะพดู เจตนาจะปรงุ แตง่
จะยินดียินร้าย กับความคิดท่ีผุดขึ้นมาในสมอง
พอมสี ติ พอรูต้ ัวอยใู่ นปัจจุบัน เราก็เหน็ ธรรม
เห็นธรรม หมายถึงว่า เห็นกศุ ลธรรม เห็น
อกศุ ลธรรม สามารถแยกแยะ ทา่ นใชค้ ำ� วา่ เลอื ก
เฟน้ วา่ ธรรมขอ้ ไหนควรจะปล่อยวาง ธรรมข้อ
วันนี้เป็นงานประจ�ำปี ท่ีพวกเรามาร่วม ไหนควรจะปรารภ ควรจะท�ำตามด้วยสติด้วย
กันมาอวยพรวันเกิด คุณแม่นงนาถ เพ็ญชาติ ปัญญา ฉะนนั้ เราจะรู้ความหมายของค�ำว่า บญุ
เจา้ ของบ้านบุญ เจ้าของบา้ นพอ เปน็ ผู้มีบุญคุณ หรอื บาป กุศล หรอื อกุศล จะรวู้ ่าค�ำวา่ เจตนา
อย่างมากต่อตัวอาตมาเองและต่อพวกเรา ที่ได้ หมายถึงอะไร กด็ ว้ ยการปฏบิ ตั ธิ รรม โดยการ
มีโอกาสเข้าไปปฏิบัติธรรมท่ีบ้านบุญและบ้าน ฝกึ นอ้ มจติ เขา้ มาอยใู่ นปจั จบุ นั ตอ้ งชา่ งสงั เกต

๓๒ 25
ในการปฏิบัติด้วยจิตใจก็เหมือนกัน ท้ังๆ
ทเ่ี ราคอยสงั เกตสิ่งทีเ่ กดิ ขึน้ ตง้ั อยู่ ดับไป กเ็ ปน็
ข้อมูล เป็นความเข้าใจในเร่ืองต่างๆ ต้ังแต่
เร่ืองท�ำดีได้ดี ท�ำชว่ั ไดช้ ่วั เราดูนอกตัวเรา ทีค่ น
นั้นคนน้ี ท�ำนั่นท�ำนี่ ร�่ำรวยได้ เขายังมีอ�ำนาจ
ในบา้ นเมอื งได้ เปน็ โนน่ เปน็ นไ่ี ด้ ทำ� ใหเ้ กดิ ความ
สับสน และมีความสนใจในกฎแห่งกรรมลดลง
แตเ่ มอื่ เราดขู า้ งใน ดวู า่ เมอื่ มเี จตนาประกอบดว้ ย
คุณงามความดี เจตนาที่ไม่โลภ ไมโ่ กรธ ไม่หลง
จติ ใจของเราสงู ขน้ึ ทนั ที เมอื่ เรามเี จตนาจะทำ� จะ
พดู ด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลง เราก็
วัดหนองป่าพงสมยั ก่อน ตอนอาตมามาอยู่ รู้สึกเลยว่า จิตใจเศร้าหมองทันที คุณภาพของ
ใหมๆ่ นนั้ ไม่มีพระพเ่ี ล้ียงเลย ถกู ทอดทง้ิ อย่ใู น จิตใจลดน้อยลง น่ีแหละ คือการเบยี ดเบียนตน
วัดหนองป่าพงไม่มีใครสนใจ หลายคนไปอยู่วัด เม่ือก่อนเวลาพูดว่าเบียดเบียนผู้อ่ืน ก็พอ
๒ - ๓ วัน หรอื ไมก่ ี่วนั กก็ ลับบ้านเลย เพราะไม่ เข้าใจ แต่การเบียดเบียนตนเองเป็นยังไง ไม่ใช่
มีใครมาคอยบอกว่าต้องฝึกอย่างไร ไม่มีการ ว่าเบียดเบียนตนคือว่า อดนอน งดข้าวเย็น
สอนอะไรเลย ไม่มใี ครสนใจ รสู้ ึกน้อยใจ เสยี ใจ แต่ เบียดเบยี นตนเองก็คือ การปลอ่ ยให้กเิ ลส
แต่ทจี่ ริง ก็เปน็ นโยบายของหลวงพ่อชา ไมใ่ ชว่ า่ ครอบง�ำจิตใจ เม่ือเราสังเกตสิ่งที่เกิดข้ึนใน
ทา่ นจะไมส่ นใจ ทา่ นกค็ อยดเู ราตลอด ทา่ นอยาก กายในใจอย่างสม่�ำเสมอ เราก็จะเห็นได้ชัดเลย
จะดวู า่ เราอดทนไหม เรามคี วามศรทั ธาจรงิ ไหม ว่า เวลาเราไม่ระวังในการแสดงออก ในการพูด
เราฉลาดพอไหม ที่จะสังเกตว่าคนมาอยู่ใหม่ คยุ มีอารมณ์อยแู่ ลว้ จิตใจกเ็ ศร้าหมอง แตส่ ิ่งที่
ตอ้ งทำ� อะไรบ้าง ท่านจะดเู ราอยู่ตลอด พอเวลา อันตรายทส่ี ุด สำ� หรับคนผมู้ ีอารมณ์ เช่น โกรธ
ผ่านไป ๓ - ๔ วนั ทา่ นก็เรมิ่ จะสง่ั สอน แต่ฝกึ แค้น เป็นต้น ก็คือการเจอเพื่อนท่ีมีอารมณ์
ให้เราล�ำบากก่อน ท่านบอกว่า อยากจะรู้จัก เดยี วกัน ต่างคนต่างกเ็ ตมิ อารมณ์ซึง่ กนั และกัน
นิสัยใจคอของคนมาใหม่ วิธีท่ีเร็วท่ีสุด ง่าย คนท่ีเคยเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน ก็อาจจะกลาย
ท่ีสุดก็คือ ให้เขาล�ำบาก จะได้ดูความต้ังใจ เป็นบาปมติ รต่อกนั ในเวลานั้น
ความเข้มแข็ง ความอดทน ได้ง่ายๆ ดังนั้น ไม่ใช่ว่า เราสามารถจะชี้ได้ว่าคนน้ันเป็น
เราก็จะเห็นความส�ำคัญของ ‘การรอบรู้’ กัลยาณมิตร คนน้ีเป็นบาปมิตร คนเราเป็นได้
ในการคอยสังเกตคนรอบข้าง ถึงจะมาอยู่ ทัง้ สองอย่าง เป็นทั้งกัลยาณมิตร และบาปมติ ร
ใหม่ๆ เราก็สามารถที่จะเห็นได้ว่า องค์นั้น ถ้าหากว่าเราโกรธใครสักคน เราก็อยากระบาย
เรยี บรอ้ ย องคน์ น้ั นา่ เปน็ ตวั อยา่ งแกเ่ ราได้ องคน์ ี้ ไประบายกับเพื่อน แล้วเพื่อนก็โกรธตามเรา
ไม่เรียบร้อยเลย แสดงว่าเราไม่ควรจะท�ำอย่าง ดว้ ย ในเวลานัน้ ในกรณีนนั้ เรากเ็ ปน็ บาปมติ ร
นัน้ เลย เรยี นรโู้ ดยการใช้วิธีสังเกตสง่ิ รอบตัว ที่พูดอะไร ท�ำอะไร ให้จิตใจของเพ่ือนหยาบลง

26 ๓๒
ทำ� งานด้วยกนั ท่ีพบทุกวัน นน่ั คือโลก โลกนีจ้ ะ
เป็นโลกท่ีดี โลกที่งาม ส่วนส�ำคัญน้ันอยู่ที่ตัว
เรา การกระท�ำของตัวเอง เมือ่ เราไม่ระวงั ในส่งิ
ทที่ �ำ ในคำ� ท่พี ดู จิตใจของเรามมี ลทนิ ก็จะเกดิ
ความรสู้ กึ เดอื ดรอ้ นใจ เพราะการกระทำ� ดงั กลา่ ว
ถงึ จะไม่ถึงขัน้ ว่ากินไม่ได้ นอนไม่หลบั แต่มนั จะ
เปน็ อะไรสกั อย่างทีร่ ู้สึกไม่ปลอดโปร่งในจติ ใจ

เม่ือจิตใจของเราเป็นบาป แล้วเราแผ่บาป โทษของการละเมิดศีลที่เห็นได้ชัดคือ
ออกไปสู่คนรอบขา้ ง เรยี กวา่ เราเปน็ บาปมิตร ความไม่ยินดีในธรรม คนที่ผิดศีลบ่อยๆ จะไม่
ในขณะเดยี วกนั ถา้ จติ ใจของเรางดงาม มคี ณุ กระตือรือร้นท่ีจะอ่านหนังสือธรรมะ ท่ีจะฟัง
งามความดีเกิดขึ้น เราก็อยากแบ่งปันให้กับ ธรรมะ ท่จี ะปฏิบตั ิธรรม ซ่งึ ก็เปน็ การปดิ โอกาส
คนอื่น อย่างนี้เรียกว่าเราเป็นกัลยาณมิตร ในอนาคตท่ีจะยกจิตใจและชีวิตให้สูงขึ้นได้
เมื่อจิตใจของเราผ่องใส คนเข้าใกล้ได้สัมผัสก็ พระพุทธองค์เคยตรัสว่า อานิสงส์ของการ
รู้สึกทนั ทีว่า จิตใจเขาเย็นลง อยากอยูน่ านๆ มี รกั ษาศีล ก็คือความไมเ่ ดอื ดรอ้ น ลักษณะของ
ความสขุ เพราะอย่ใู กล้คนประเภทนีแ้ ล้ว ความ ภาษาบาลีส่วนมาก จะใช้ส�ำนวนในทางลบ แต่
รู้สึกฟุ้งซ่าน วุ่นวายต่างๆ จะลดลง จิตใจจะ ก็มีความหมายในทางบวกแฝงอยู่ในน้ัน การ
เย็นลง เราจึงได้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการ ไม่เดือดร้อน จะพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ มีความ
กระท�ำ การแสดงออกและการพูดของเรา กับ เคารพนับถือตัวเอง มีความเป็นเพื่อนกับตัว
อารมณ์ เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการกระท�ำ เอง อานิสงส์ของความไม่เดือดร้อน ก็คือความ
การแสดงออกและการพดู ของเรา กบั บรรยากาศ ปราโมทย์ ความปราโมทย์ คอื ความรู้สกึ ท่ีดี ถ้า
รอบขา้ ง แตถ่ ้าเราเป็นคนร้อน และมีการแสดง เทียบกับศัพท์ภาษาอังกฤษ น่าจะตรงกับค�ำว่า
ออกร้อนๆ กจ็ ะดงึ ดูดคนร้อนๆ เข้ามาใกล้ชดิ Sense of well-being
ถ้าหากวา่ เราเป็นคนเย็น ก็จะมแี รงดงึ ดูด อานิสงส์ของปราโมทย์ คือ ปีติ ปีติอาจ
เรียกว่าเสน่ห์เย็น ไม่ใช่เสน่ห์ร้อน เสน่ห์เย็นๆ จะเกิดข้ึนง่ายในชีวิตประจ�ำวันทั่วไป มีความ
ท�ำให้คนอยากเข้าใกล้ อยากใกล้ชิด คนท่ีชอบ รู้สกึ ปราโมทยอ์ ยู่ อานิสงส์ของปตี ิ คือ ปสั สทั ธิ
คณุ งามความดี อยากคบหา นค่ี อื การศกึ ษางา่ ยๆ ปัสสทั ธิ คอื ไมเ่ ครยี ด กายกไ็ มเ่ ครยี ด จติ ใจกไ็ ม่
ในกฎแหง่ กรรม เราสรา้ งชวี ติ ตวั เอง เราสรา้ งโลก เครยี ด ไมม่ คี วามวติ กกงั วล ไมว่ นุ่ วาย ผอ่ นคลาย
ทเี่ ราอยู่อาศยั ดว้ ยการกระทำ� ดว้ ยการพดู ด้วย ท้ังกายทัง้ ใจ อานสิ งส์ของปสั สัทธิ คอื สุข
การคิด โลก ไม่ไดห้ มายถึง โลกท่ีปรากฏอยใู่ น อานสิ งสข์ องสขุ สง่ิ ทจ่ี ะเกดิ ขนึ้ ไดใ้ นจติ ใจ ท่ี
หนังสือหรือในแผนที่ โลกในท่ีนี้ คือ โลกแห่ง มคี วามสขุ ตามกระบวนการนี้ ก็คอื สมาธ ิ ข้อน้ี
ประสบการณ์ โลกส่วนตัวของเราในแต่ละวัน ก็น่าสังเกตน่าจ�ำไว้ เพราะนักปฏิบัติหลายท่าน
เรามีส่ิงแวดล้อมที่เราคุ้นเคย คนรอบข้างที่เรา มกั จะกลวั ความสขุ กลัวติดความสุข ตรงนต้ี ้อง
คุ้นเคย นนั่ กค็ ือโลกของเรา ครอบครัว เพ่ือน ที่ เข้าใจว่า ความสุขเป็นทางผ่าน มันไม่ใช่เป้า

หมายของการปฏบิ ตั ิ แต่ถ้าปฏิบตั ิถูกทาง ตอ้ ง
เจอความสุขแน่นอน ความสุขไม่ใช่จุดจบของ
การปฏิบัติ ความสุขเป็นเงื่อนไข เป็นบาทฐาน
ของสมาธิ
สมาธิมีอานิสงส์คือการรู้เห็นตามความ
เป็นจริง ตรงนี้มีข้อสังเกตอีกข้อหน่ึง ถ้าญาณ
ทสั สนะ (การร้เู หน็ ตามความเป็นจรงิ ) ยอ่ มเกิด
ขึ้นจากสมาธิ แสดงว่า ผู้ขาดสมาธิย่อมไม่เห็น
ตามความเป็นจริง มันเกยี่ วกนั เพราะว่า ผไู้ ม่มี อาการของโมหะ อาการของจิตท่ีเจริญในธรรม
สมาธิย่อมอยู่ด้วยความยินดีกับยินร้าย ซึ่งจะ คือ รเู้ หน็ เหน็ ชัด แต่จิตใจไมห่ วนั่ ไหว เราอยาก
ปรากฏในรูปแบบของอคติต่างๆ ซึ่งจิตพร้อม จะรู้เห็นอะไรตามความเป็นจริง จิตจะต้องต้ัง
ท่ีจะเห็นข้อดีในสิ่งท่ีชอบหรือบุคคลท่ีชอบ มน่ั โดยสมาธิ อาการของสมาธคิ อื รอู้ ยใู่ นปจั จบุ นั
พร้อมท่ีจะเห็นข้อเสียในสิ่งและบุคคลที่ไม่ชอบ อยากจะทราบว่าการปฏิบตั ธิ รรมถกู ทางหรือไม่
จิตใจไม่เป็นกลาง ความยุติธรรมมีได้ยาก หรือ ก็ดูตรงจุดนี้ ถ้าขาดตัวรู้ก็ไม่ใช่แล้ว เป็นมิจฉา
แทบจะไม่มีในจิตใจที่ขาดสมาธิ เพราะจิตท่ีมี สมาธิแลว้
สมาธิ คือจิตใจท่ีปราศจากอคติ จิตใจท่ีไม่ยินดี สัมมาสมาธิ ตัวรู้ ตื่นรู้ ตัวพุทธะ ต้อง
ไม่ยนิ ร้าย แตค่ วามไม่ยินดีไม่ยนิ รา้ ยนั้น ไมใ่ ช่ว่า ปรากฏชดั อานสิ งสข์ องสมาธิ คอื รเู้ หน็ ตามความ
จะท�ำให้ไม่มีความรู้สึกอันใดเลย แต่เขามีความ เป็นจริง เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริง อานิสงส์
เปน็ กลาง มีความเปน็ อุเบกขา ก็คือ นิพพิทา เกิดความเบื่อหน่าย ไม่ใช่เบ่ือ
อเุ บกขา จะต่างจากความเฉยเมย ตรงท่ี หนา่ ยในสิ่งนัน้ ส่ิงน้ี บุคคลนัน้ บุคคลนี้ แต่เบอื่
มคี วามตนื่ รอู้ ยู่ ถา้ เฉยเมย ไมย่ นิ ดยี นิ รา้ ย เพราะ หนา่ ยในความยดึ มน่ั ถอื มน่ั ตา่ งๆ
ไม่ยอมรับ ไม่ยอมคิด ไม่อยากยุ่ง อันน้ีก็เป็น ไม่นานมานี้ อาตมาได้พูดคุยกับเด็กวัยรุ่น
ทม่ี คี วามทกุ ขใ์ จ ทบี่ อกวา่ ไมอ่ ยากจะอยใู่ นโลกนี้
แต่อาตมากบ็ อกวา่ ทห่ี นูบอกว่า ไมอ่ ยากจะอยู่
ในโลกนี้นั้น หมายถึงว่า ไม่อยากจะอยู่ในโลก
แห่งความคิดของหนูมากกว่า คือท่ีว่าเบ่ือโลก
ไม่อยากจะอยู่ในโลก หมายถึง โลกท่ีหนูสร้าง
ข้ึนมาด้วยความคิด ถ้าหนูเปลี่ยนความคิดไป
อยอู่ กี โลกหน่งึ กายไมอ่ ยากจะอยู่ในโลกนี้ ไมใ่ ช่
ว่าฆ่าตวั ตายคือการแกป้ ญั หา ตรงกนั ขา้ ม กลบั
จะท�ำให้ปญั หาเพม่ิ มากข้นึ ไม่อยากอยใู่ นโลกนี้
ได้ไหม ได้ หนกู ็ต้องรู้จกั ปล่อยวางความคิด ซึง่
เปน็ สว่ นประกอบส�ำคญั ของโลกทไ่ี มน่ า่ อยนู่ ี้

28 ๓๒

เราสรา้ งโลกดว้ ยความคิด ฉะนน้ั เม่อื เรา ตอ่ ชีวติ อย่างไร ดงู า่ ยๆ คอื จิตใสเป็นบญุ จติ ขนุ่
เหน็ ชดั สมาธเิ กดิ ขนึ้ แลว้ เรากส็ ามารถเหน็ อะไร เป็นบาป ใช่หรอื เปลา่ ให้ดตู รงนี้
ตอ่ อะไรตามความเปน็ จรงิ เรากจ็ ะเหน็ ตวั สมทุ ยั เมื่อจิตใจของเราไม่หมกมุ่นกับสิ่งไร้สาระ
ชัดเลยว่า เมอื่ เรามคี วามอยากเมอื่ ไร อยากได้ จนไมม่ เี วลาดคู วามจรงิ เรากฝ็ กึ ใหอ้ ยกู่ บั ปจั จบุ นั
อยากมี อยากเป็น ไม่อยากได้ ไม่อยากมี ไม่ ได้มากข้ึน จะเห็นด้วยตนเองว่า เกิดมีตัณหา
อยากเป็น โลกที่เป็นทุกข์ก็เกิดขึ้น ชีวิตเป็น เม่ือไหร่ ก็ทุกข์ทันที ปล่อยวางตัณหาเมื่อ
ทกุ ขท์ นั ที แตท่ ี่เปน็ เช่นนนั้ เพราะตวั เราเอง คอื ไหร่ ความทุกข์ก็ดับทันที ตรงนี้แหละ ท่ีเรา
คนท่ีเป็นทุกข์ ส่วนมากจะเป็นอย่างนี้ เหมือน จะได้หลัก เราก็จะเกิดนิพพิทา เบื่อหน่ายที่จะ
กบั อยใู่ นคกุ อยใู่ นทอ่ี ดึ อดั คบั ขอ้ ง เอาแตร่ อ้ งไห้ เบยี ดเบียนตัวเองดว้ ยตัณหา เบ่ือหน่ายในการ
พร�่ำบ่น ดิ้นรนกับความเป็นอยู่ในห้องน้ัน แต่ ทำ� ลายคณุ ภาพชวี ติ ทำ� ลายความสขุ ในชวี ติ โดย
ว่ากุญแจอยู่ที่ประตู ถ้าเราได้อ่านปรัชญาหรือ ใชเ่ หต ุ โดยไมจ่ ำ� เปน็ ความเปน็ อสิ ระจากอารมณ์
วรรณกรรมฝร่งั ส่วนมากจะเปน็ เรื่องนี้ เรยี กวา่ กจ็ ะเกดิ ขึ้นในเวลานน้ั
เป็นปญั หาของการอยู่ในโลก ที่เป็นเชน่ น้ี แต่ถา้ มพี ระอาจารยท์ า่ นหนง่ึ มาจากองั กฤษ ทา่ น
ตามสายตาของเรา ไม่อยากอยู่ในโลกน้ีเลย พระอาจารยก์ ารณุ โิ ก ทา่ นกเ็ ลา่ วา่ ตอนทา่ นเปน็
ก็ไม่มีใครบังคับเราหรอก กุญแจก็อยู่ตรงนั้น โยมก็มีโอกาสกราบหลวงพ่อชาที่อังกฤษ แล้ว
ออกจากห้องน้ีไปอยู่อีกห้องหน่ึงได้เลย ไม่ต้อง เกดิ ศรทั ธาเลอื่ มใสหลวงพอ่ ชามาก หลวงพอ่ ชา
เป็นฮีโร่ ทนกับโลกที่ไร้ความหมายอะไรเช่นนั้น เห็นอาการ ก็ถามท่านว่า “ถ้านงั่ สมาธิ ๑ ช่วั โมง
มนั ไรค้ วามหมายเพราะเราเอง ไมอ่ ยากจะอยแู่ ลว้ โดยไมค่ ิดอะไรเลย จะเรียกวา่ อะไรไหม” ท่านก็
ก็ต้องหัดเปิดประตูออกไปสิ มันไม่ได้เป็นของ ตอบว่า “นา่ จะเรยี กว่าพระอรหันต์ครับ” หลวง
บังคับ เราก็บังคับตัวเอง แต่เรามองไม่เห็น พ่อชาท่านหัวเราะ แล้วบอกว่า “ไม่ใช่ๆ ต้อง
เพราะเราไม่มีสมาธิ ไม่ฝึกให้เห็นว่าอะไรเป็น เรียกวา่ กอ้ นหนิ ” (หวั เราะ) คอื ท่านอยากใหเ้ รา
อะไรอยู่ในจิตใจ อยู่ในโลกมายา ดังน้ัน เราจึง เห็นว่า การภาวนานี้ ไม่ใช่ว่าไม่คิดอะไรเลย
จ�ำเปน็ ต้องปฏิบัตธิ รรม แต่ต้องรูจ้ กั บริหารความคิดใหด้ ี
ธรรมะทุกอย่างจะน้อมเข้ามาสู่จิตใจ ใน
บทสวดมนต์กม็ ักแปลค�ำว่า ‘โอปนยโิ ก’ กันว่า
‘เป็นส่ิงท่ีน้อมเข้ามาใส่ตัว’ ท่ีจริงสามารถแปล
ได้หลายส�ำนวน ‘ธรรมะเป็นสิ่งที่น�ำเราสู่ข้าง
ใน’ ก็ได้ คือไม่ใช่ว่าเราต้องน้อมธรรมะเข้ามา
โดยธรรมชาติของธรรมะ มันจะน้อมเราเข้าไป
เราก็ตามมาดู ตามมารู้ ไมใ่ ช่ใหเ้ ช่อื แต่ให้ดูว่า
ใช่หรือไม่ใช่ ฉะนั้น ให้ดูความสัมพันธ์ระหว่าง
กายกับใจ หรือระหว่างเจตนากับจิตใจกับชีวิต
เจตนาดีมีผลต่อจิตใจอย่างไร เจตนาร้ายมีผล

๓๒ 29
ถ้ามนุษย์เราคิดไม่ได้ คิดไม่เป็น โลกเราก็
จะไม่เจริญถึงขนาดน้ี ไม่ได้นั่งสบายๆ มีไฟฟ้า
มีเคร่ืองขยายเสียง มีเครื่องปรับอากาศ นี่
เพราะความคิดของมนุษย์ แต่คนเราปล่อยให้
สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตผ่านไป เร่ือยเปื่อย
ไปกับส่ิงท่ีครอบง�ำชีวิตจิตใจ ท่านจึงให้เรารู้จัก
กาลเทศะ เวลาไหนควรจะคิด เราสามารถท�ำ
เปน็ ระเบียบ ใหค้ วามคดิ อยใู่ นโอวาท แตเ่ วลาที่
ไม่จำ� เปน็ ตอ้ งคิด เรากไ็ มต่ อ้ งคดิ ให้จิตใจปล่อย
วางความคิด แม้หลายส่ิงหลายอย่าง จะรู้ได้
ด้วยความคิด แต่ก็มีอีกหลายส่ิงหลายอย่าง
ที่จะรู้ได้เพราะไม่คิด อย่างเช่นในการค้นคว้า
อะไรตา่ งๆ กจ็ ะมวี าระหนงึ่ ทเ่ี กบ็ ขอ้ มลู แลว้ กค็ ดิ
ข้อดีข้อเสีย แต่พอเสรจ็ แลว้ กว็ าง ใหจ้ ิตเราสงบ
เรื่องเหตุผลอะไรต่างๆ มันก็ท�ำงานของมันเอง เพราะอัตตาตัวตน เพราะความอยากมีอยาก
โดยที่เราไม่ต้องรับรู้ หลายคนก็คงเคยเจอเร่ือง เป็น เปน็ ต้น ถ้าเราตดั ตัวนอ้ี อกไป ก็มแี ตด่ ี มแี ต่
ทเี่ ราคิดไม่ตก คดิ ไม่ได้ มันยาก พอวางไว้ไปท�ำ ความเจริญ
อย่างอ่ืนสักพัก อยู่ดีๆ ค�ำตอบก็ผุดขึ้นมาเอง ฉะนั้น ในการปฏิบัติธรรม ท่านจึงให้เรา
แสดงว่าถ้าเราจุดประกายของความคิดใหด้ ี เรา รกั ษาศลี เพอ่ื จะไดอ้ านสิ งส์ คอื ความไมเ่ ดอื ดรอ้ น
ไมต่ ้องไปคดิ มนั ก็ท�ำงานของมนั เป็นกลไกของ ความไม่เดือดร้อนก็เพ่ือความปราโมทย์ ความ
มันเอง รู้แต่ว่าผลของมันจะเกิดขึ้น แต่มันจะ ปราโมทย์ก็เพื่อความปีติ เป็นความปีติในธรรม
มชี ว่ งหนงึ่ ท่ีจะต้องให้มนั สกุ งอมของมนั เอง ปีติก็เพ่ือปัสสัทธิ ความผ่อนคลาย ไม่เครียด
ถ้าเราคิดไม่หยดุ เราเหน่ือย เราเครยี ด เรา ปัสสัทธิก็เพื่อความสุข สุขเพ่ือสมาธิ สมาธิเพื่อ
วิตกกังวล ย่ิงคิดก็ยิ่งคิดไม่ออก วกไปเวียนมา รู้เห็นตามความเป็นจริง ก็คือปัญญาน่ันเอง
ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย ฉะน้ัน การท�ำสมาธิ รเู้ หน็ ตามความเปน็ จรงิ เพอ่ื เราจะไดเ้ บอื่ หนา่ ย
ก็ไม่ใช่ว่า เพ่ือให้เป็นคนที่ไม่มีความคิดใน ในการสร้างโลกท่ีเป็นทุกข์ด้วยความยึดมั่น
สมอง ตรงกันข้าม ก็เพ่ือจะได้ฉลาดในความ ถือม่ัน เบ่ือหน่ายเพ่ือจะได้มีวิราคะ คือการ
คิด แตพ่ อเรามสี มาธแิ ล้ว กส็ ามารถจับประเดน็ คลายก�ำหนดั การปลอ่ ยวางกิเลสทัง้ หลาย เปน็
ได้ว่า เวลานีเ้ รากำ� ลงั คิดโดยมอี คติ หรอื มกี เิ ลส อิสระจากอารมณ์ อารมณ์ยังมี แต่เราไม่ไปยุ่ง
ก็สามารถละความคิดน้ันออกไปได้ ความคิด กับมัน จิตใจไม่เศร้าหมอง เพราะอารมณ์ก็สัก
ที่เหลืออยู่ก็จะมีประสิทธิภาพสูง เพราะแม้แต่ แต่ว่าอารมณ์ เหมือนเมฆก็สักแต่ว่าเมฆ ไม่ใช่
คนท่คี ิดเก่ง หรือว่าเป็นคนท่มี ีการศึกษา บางที ว่าท้องฟ้าจะอยู่อย่างไม่มีเมฆได้ทั้งวันท้ังคืน
ก็ยังผิดพลาด ยังพลั้งพลาดได้บ่อยเหมือนกัน เมฆเขาก็ลอยไปลอยมาตามธรรมชาติของเขา

30 ๓๒

แต่ไม่ไปยุ่งกับตัวท้องฟ้า ท้องฟ้าก็เป็นท้องฟ้า บุญเกิดได้อย่างไร บุญเกิดจากการให้
เหมือนเดิม ทาน ด้วยการชนะ ด้วยการปล่อยวางความ
ทีนี้ ชีวิตของเราเป็นสิ่งท่ีท่านให้เรารู้ ตระหน่ี ความยึดติดในทรัพย์สมบัติ ศีล เป็น
บ่อยๆ ว่ามันไม่แน่นอน เราก็ทราบอยู่แล้ว บุญ เพราะเป็นการช�ำระจิตใจ ช�ำระเจตนาท่ี
แต่ว่าต้องต้ังใจคิด ต้ังใจระลึกอยู่ในความ จะเบียดเบียน โดยกาย โดยวาจา และ สมาธิ
ไม่แน่นอน แต่มนุษย์เราชอบสะสมทุกส่ิง ภาวนา เป็นบุญ เพ่ือจะได้ปล่อยวางนิวรณ์
ทกุ อยา่ ง แม้แต่อายุก็จะบวกเพม่ิ อกี ๑ ปี สะสม เพ่ือจะได้เจริญโพชฌงค์ท่ีเป็นบุญ เป็นองค์
อายุ แต่ถ้าเรามองกลับกัน ก็คือมีเวลาเหลือ ประกอบของจิตที่จะพ้นทุกข์ ถ้าเรามองด้วย
อยู่ในโลกน้อยลงอีก ๑ ปี เวลาผ่านไป เราก็ จิตที่ปราศจากอคติ โดยจิตที่ไม่เข้าข้างตัวเอง
ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ แต่อย่าให้ผ่านไป ดว้ ยการยอมรับขอ้ มลู อยา่ งครบถว้ นว่า เราเปน็
โดยเปล่าประโยชน์ อย่างการเจริญมรณสติ ผู้มีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เปน็ ธรรมดา ชวี ิตเรา
ไม่ใช่แค่ระลึกว่าเราต้องตายแน่ แต่ให้ระลึกว่า มีจ�ำกัด จ�ำกัดเท่าไหร่ เราไม่ทราบ ถึงวาระ
เพราะเราต้องตายแน่ เพราะเวลาตายไม่แน่ สุดท้ายของชีวิต เป็นสิ่งที่เป็นของจริง ถึงจะ
ไมน่ อน เวลาจงึ มคี า่ มาก และเราควรจะใชเ้ วลา เป็นนามธรรมก็ตาม สิ่งท่ีจะเป็นที่พึ่งของเรา
อันมีค่าน้ันให้ดีท่ีสุด แล้วสิ่งที่ดีที่สุดคือส่ิงที่ โดยแท้ ก็คือบุญท่ีเราเคยส่ังสมไว้ สิ่งน้ีจะ
มผี ลท้งั ชาตนิ ี้ ชาตหิ น้า ซง่ึ ไม่พ้นจากบุญ เป็นเสบียงในการเดินทางต่อไปในวัฏสงสาร
ตราบใดทเ่ี รายังไม่บรรลุอรยิ มรรค อรยิ ผล ส่งิ ที่
เราต้องพ่งึ มากทสี่ ุด สิง่ ที่ขาดไม่ได ้ นัน่ ก็คือ บญุ
ฉะนั้น ในวันน้ีอาตมาจึงขออนุโมทนา
กับทุกคนที่มีสัมมาทิฐิ ท่ีเห็นว่า การสร้างสม
ส่ิงที่เป็นบุญกุศล เป็นหัวใจของชีวิตของผู้มี
ปญั ญา บางคนเหน็ ประโยชนซ์ าบซง้ึ ในคำ� วา่ บญุ
จนกระทงั่ สร้างบา้ น และตง้ั ชือ่ บ้านวา่ บ้านบญุ
และยังเข้าใจความลึกซ้ึงของค�ำว่า พอ ด้วย
จึงสร้างบ้านอีกหลังหน่ึงใช้ชื่อว่า บ้านพอ
แสดงถึงความเป็นผู้มปี ัญญาพอสมควร
ในวนั น้ีก็ขออวยพรใหค้ ุณนงนาถ เพญ็ ชาติ
มีแต่ความสขุ ความเจริญในบญุ มคี วามซาบซ้ึง
มีความรู้จักพอในระดับที่ละเอียดข้ึนเรื่อยๆ
มีแต่ความสุขกาย สุขใจ มีแต่ความเจริญในส่ิง
ดีงามยิ่งๆ ขนึ้ ไปตลอดกาลนาน

ทม่ี า : แสดงธรรมเทศนาเนอ่ื งในวนั คล้ายวนั เกิดของ
คุณนงนาถ เพญ็ ชาติ เม่ือวันที่ ๑๘ สงิ หาคม พศ. ๒๕๕๗

31

ปัญญาปริทศั น์

ก่อนกายแตกธีรปัญฺโญ
กอ่ นทก่ี ายเราจะแตกตายทำ� ลายไปนน้ั เรา เทวดาที่มาประชุมกนั มากมายกจ็ ริง แตใ่ นมหา-
มอี ะไรไหม ทอี่ ยากจะท�ำใหไ้ ดก้ ่อนตาย ? สมยั สูตรนน้ั ยงั ประกอบดว้ ยสูตรยอ่ ยๆ อีก ๖
เชื่อว่าส�ำหรับผู้อ่านวารสารโพธิยาลัยน้ี สูตร ซึง่ ๖ พระสูตรนีม้ าจากสุตตนบิ าต ขทุ ทก-
หลายคนคงอยากท่ีจะได้บรรลุธรรม อย่างน้อย นิกาย สุตตันตปิฎก เลม่ ท่ี ๒๕ (สมั มาปริพพา-
ถ้าบรรลธุ รรมขัน้ แรกเปน็ พระโสดาบนั ก็จะปิด ชนยี สตู รนน้ั มาจากจฬู วรรค สว่ นสตู รทเ่ี หลอื อกี
ทางไปอบายได้ และลดการวา่ ยเวยี นตายเกดิ ใน ๕ สตู ร มาจากอฏั ฐกนบิ าต) พระผมู้ พี ระภาคเจา้
กามภพ ให้เหลอื ไมเ่ กนิ ๗ ชาติ แลว้ ก็จะไดพ้ ้น ทรงแสดงพระสูตรเหล่านี้ โดยจ�ำแนกตามจริต
ทกุ ขโ์ ดยส้ินเชิง ของผฟู้ งั ได้ดงั น้คี อื :
ในพระไตรปิฎกนั้น มี ๔ พระสูตร ที่เทวดา สัมมาปริพพาชนียสูตร เหมาะส�ำหรับ
บรรลุธรรมจ�ำนวนมาก ท่านกล่าวไว้ว่า เทวดา ราคจรติ , ปรุ าเภทสูตร เหมาะส�ำหรบั พทุ ธิจริต,
แสนโกฏบิ รรลุอรหัตตผล ส่วนมรรคผลเบือ้ งต�ำ่ กลหววิ าทสตู ร เหมาะส�ำหรับ โทสจรติ , จูฬห-
สาม (คือโสดาบัน สกทาคามี และอนาคามี) พยหู สตู ร เหมาะสำ� หรบั วติ กจรติ , มหาพยหู สตู ร
มปี ระมาณนบั ไมถ่ ว้ น สส่ี ตู รกค็ อื มงคลสตู ร มหา- เหมาะส�ำหรบั โมหจรติ และ ตุวฏั กสูตร เหมาะ
สมยั สตู ร จูฬราหุโลวาทสูตร และ สมจติ ตสตู ร ส�ำหรบั สัทธาจริต
หลายท่านก็คงจะรู้จักมักคุ้นกับมงคลสูตร สำ� หรับ จูฬหพยูหสูตร นั้นเคยนำ� มาแสดง
กันดอี ยแู่ ลว้ เพราะเป็นสว่ นหน่ึงของพระปรติ ร แล้วในวารสารโพธิยาลัยฉบับก่อนๆ ส่วนใน
ที่นิยมใช้สวดในงานมงคลต่างๆ และหนังสือ วารสารฉบับน้ีเป็นฉบับท่ีเก่ียวกับสังคมปัจฉิม
มังคลัตถทีปนีก็ใช้เป็นแบบเรียนเปรียญธรรม วัย ปุราเภทสูตร จึงน่าจะเหมาะที่สุดท่ีจะน�ำ
ของนักศึกษาภาษาบาลีในเมืองไทยด้วย ส่วน มาแสดงในฉบับน้ี ชื่อพระสูตรมาจากศัพท์
มหาสมัยสูตรน้ัน ก็นิยมน�ำไปสวดในงานต่างๆ ปรุ า = กอ่ น + เภทะ = แตก หมายถึงว่าควรจะ
อยู่บ้าง ตัวมหาสมัยสูตรเอง ประกอบด้วยช่ือ ทำ� อะไรใหไ้ ด้ ก่อนท่กี ายจะแตกนน่ั เอง

32 ๓๒

เมื่อพวกเราทุกคนเกิดมา เวลาของแต่ละคนก็เร่ิมนับถอยหลังกันแล้ว ไม่มีใครทราบได้ว่า ชีวิต
ยังมีเวลาเหลืออยู่อีกเท่าไร ก่อนที่กายจะแตกท�ำลายลงนี้ เราควรจะท�ำอะไรบ้าง มาดูเช็คลิสต์
(check list) ของพระพทุ ธเจา้ กนั ดซู วิ า่ เราไดท้ ำ� อะไรไปแลว้ บา้ ง และยงั เหลอื อะไรอกี บา้ งทตี่ อ้ งทำ� ถา้ ทา่ น
เป็นคนหนึง่ ในประเภทพทุ ธิจริต ทช่ี อบคดิ ค้นคว้าหาเหตผุ ล เน้อื หาในพระสูตรน้กี ็อาจจะเหมาะกบั ทา่ น

ปุราเภทสุตฺตํ ปุราเภทสูตร
วา่ ดว้ ยส่งิ ทคี่ วรท�ำกอ่ นกายแตก
(พระพทุ ธเนรมติ ทลู ถามดังนี)้

๑. “กะถงั ทสั สี กะถงั สโี ล [๑] บคุ คลมีทสั สนะอย่างไร มศี ีลอยา่ งไร จงึ เรยี กว่า
อปุ ะสนั โตติ วุจจะติ. เป็นผู้สงบ ข้าแต่พระโคตมะ ข้าพระองคท์ ูลถามแลว้
ตงั เม โคตะมะ ปะพ๎รูหิ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกนรชนผ้สู ูงสดุ น้นั
ปุจฉโิ ต อตุ ตะมัง นะรัง”. แกข่ ้าพระองคเ์ ถิด (พระผู้มพี ระภาคตรัสตอบดงั น้ี)
๒. “วีตะตณั โฺ ห ปุรา เภทา (อติ ิ ภควา) [๒] กอ่ นดับขันธปรนิ ิพพาน พระอรหนั ตเ์ ปน็ ผูค้ ลายตัณหา
ปพุ พะมันตะมะนสิ สโิ ต. ไมต่ ิดอยู่กบั ความเพลิดเพลนิ ที่มีอยใู่ นสว่ นเบ้ืองต้น
เวมัชเฌ นปุ ะสงั เขยโย ใครๆ กำ� หนดไมไ่ ด้ในสว่ นทา่ มกลางพระอรหนั ตน์ ้ัน
ตสั สะ นตั ถิ ปุรกั ขะตัง. มิไดม้ ุ่งหวังถึงตัณหาและทฏิ ฐิ (ในสว่ นเบ้อื งปลาย)
๓. “อกั โกธะโน อะสนั ตาสี [๓] บคุ คลผไู้ ม่โกรธ ไม่สะดุ้ง
อะวิกตั ถี อะกกุ กุโจ. ไม่โออ้ วด ไม่คะนอง
มนั ตะภาณี อะนทุ ธะโต พูดด้วยปญั ญา ไม่ฟุง้ ซ่าน
สะ เว วาจายะโต มนุ .ิ เปน็ ผ้สู ำ� รวมวาจานั้นแล ชือ่ ว่า เปน็ มุนี
๔. “นิราสัตติ อะนาคะเต [๔] บุคคลผู้ไมม่ ตี ณั หาเครอ่ื งเหน่ียวรั้งในอนาคต
อะตตี งั นานโุ สจะติ. ไมเ่ ศรา้ โศกถงึ สิง่ ท่ลี ว่ งไปแล้ว
วิเวกะทัสสี ผสั เสสุ ผเู้ ห็นวิเวกในผัสสะทงั้ หลาย
ทฏิ ฐสี ุ จะ นะ นยี ะติ. ยอ่ มไมถ่ กู น�ำไปในทิฏฐิท้ังหลาย
๕. “ปะติลีโน อะกหุ ะโก [๕] บุคคลนั้นเป็นผู้หลกี เร้น
อะปิหาลุ อะมัจฉะรี. ไม่หลอกลวง ไม่ทะเยอทะยาน
อัปปะคพั โภ อะเชคุจโฉ ไม่ตระหนี่ ไม่คะนอง ไมเ่ ปน็ ทน่ี ่ารังเกียจ
เปสเุ ณยเย จะ โน ยุโต. และไมป่ ระกอบในความเปน็ ผ้มู วี าจาสอ่ เสียด
๖. “สาตเิ ยสุ อะนัสสาวี [๖] บคุ คลผไู้ มย่ นิ ดีในสง่ิ ที่น่ายินดี
อะตมิ าเน จะ โน ยโุ ต. ไมป่ ระกอบในความดูหมน่ิ
สณั ฺโห จะ ปะฏภิ านะวา ละเอียดอ่อน มปี ฏภิ าณ
นะ สทั โธ นะ วิรัชชะติ. ไม่ต้องเช่ือใคร และไมต่ อ้ งคลายก�ำหนดั

๓๒ 33

๗. “ลาภะกมั ย๎ า นะ สกิ ขะติ [๗] บุคคลไม่ศกึ ษาเพราะอยากไดล้ าภ
อะลาเภ จะ นะ กปุ ปะติ. ไม่โกรธเพราะไมไ่ ดล้ าภ
อะวริ ุทโธ จะ ตณั หฺ ายะ ไม่เดอื ดดาล
ระเสสุ นานคุ ชิ ฌะต.ิ และไมย่ ินดใี นรสเพราะตณั หา
๘. “อเุ ปกขะโก สะทา สะโต [๘] บคุ คลเป็นผูว้ างเฉย มสี ติทกุ เม่ือ
นะ โลเก มญั ญะเต สะมงั . ไม่สำ� คัญวา่ เสมอเขา ไมส่ �ำคญั ว่าเลิศกวา่ เขา
นะ วเิ สสี นะ นเี จยโย ไมส่ ำ� คญั ว่าดอ้ ยกว่าเขา ในโลก
ตสั สะ โน สนั ติ อสุ สะทา. กิเลสหนายอ่ มไมม่ แี กบ่ ุคคลนั้น
๙. “ยสั สะ นสิ สะยะนา นัตถิ [๙] บุคคลใดไม่มที อี่ าศยั
ั ตว์ า ธมั มงั อะนสิ สิโต. ไมม่ ีตัณหาในภพหรือในวภิ พ
ภะวายะ วภิ ะวายะ วา บุคคลนน้ั
ตัณฺหา ยัสสะ นะ วชิ ชะติ. รู้ธรรมแลว้ ไมต่ อ้ งอาศยั
๑๐. “ตัง พร๎ ูมิ อุปะสันโตติ [๑๐] เราเรยี กบคุ คลน้ันผไู้ ม่มงุ่ หวังในกาม
กาเมสุ อะนะเปกขนิ งั . ทั้งหลายว่าเปน็ ผ้เู ขา้ ไปสงบ
คันถา ตัสสะ นะ วชิ ชันติ บคุ คลนน้ั ไมม่ ีกิเลสเคร่อื งรอ้ ยรดั
อะตะรี โส วสิ ตั ติกงั . ขา้ มตัณหาท่ีช่ือว่า วสิ ัตตกิ า ได้แลว้
๑๑. “นะ ตสั สะ ปุตตา ปะสะโว [๑๑] บุคคลนนั้ ไมม่ บี ุตร สัตวเ์ ล้ยี ง
เขตตัง วตั ถญุ จะ วชิ ชะต.ิ นา ไร่ และทด่ี ิน
อัตตา วาปิ นริ ัตตา วา ทฏิ ฐวิ า่ มอี ัตตา หรอื ทิฏฐวิ ่า
นะ ตัส๎มิง อุปะลัพภะติ. ไม่มอี ตั ตา หาไมไ่ ดใ้ นบุคคลนน้ั
๑๒. “เยนะ นัง วัชชงุ ปุถชุ ชะนา [๑๒] เหล่าปุถชุ น หรอื สมณพราหมณ์
อะโถ สะมะณะพร๎ าหม๎ ะณา. พึงกลา่ วหาบุคคลน้นั ด้วยโทษใด
ตัง ตัสสะ อะปุรกั ขะตัง โทษนนั้ ไม่เชิดชูบคุ คลนน้ั เลย เพราะฉะน้นั
ตัส๎มา วาเทสุ เนชะต.ิ บุคคลนน้ั จึงไม่หวัน่ ไหวในเพราะวาทะท้ังหลาย
๑๓. “วีตะเคโธ อะมจั ฉะรี [๑๓] บคุ คลผู้เปน็ มนุ ี เป็นผู้คลายความยินดี
นะ อสุ เสสุ วะทะเต มนุ ิ. ไมต่ ระหน่ี ยอ่ มไม่กล่าวในเรือ่ งเลศิ กว่าเขา
นะ สะเมสุ นะ โอเมสุ ไมก่ ล่าวในเร่ืองเสมอเขา ไม่กลา่ วในเร่ืองดอ้ ยกวา่ เขา
กัปปัง เนติ อะกปั ปโิ ย. เปน็ ผู้ไม่มคี วามกำ� หนด ยอ่ มไม่ถึงความก�ำหนด
๑๔. “ยสั สะ โลเก สะกงั นัตถิ [๑๔] บคุ คลใดไมม่ ีความถอื ว่าเปน็ ของตนในโลก
อะสะตา จะ นะ โสจะต.ิ เมือ่ ไมม่ ีความถอื ว่าเป็นของตน ย่อมไมเ่ ศร้าโศก
ธัมเมสุ จะ นะ คัจฉะติ ไม่ถึงความล�ำเอียงในธรรมทั้งหลาย
สะ เว สนั โตติ วุจจะตี”ติ. บุคคลน้นั แล เรียกว่า ผสู้ งบ ฯ

34 ๓๒

ปุราเภทสตู ร ๘. มีสติ เป็นกลาง ทกุ ย่างเมอ่ื
วา่ ดว้ ยสิ่งทคี่ วรท�ำก่อนกายแตก ไม่สำ� คญั วา่ เหนอื หรอื ดอ้ ยเขา
(มีผทู้ ูลถามพระผูม้ พี ระภาคเจา้ ดังนี้) แมเ้ สมอ กไ็ มเ่ ผลอ เทียบเปรยี บเอา
๑. เห็นอยา่ งไร๑ ทำ� อยา่ งไร๒ ใหส้ งบ สำ� หรับเขา ไร้ส่ิงเดน่ เป็นเชน่ เดมิ
จอมไตรภพ โปรดตอบ ขา้ ขอถาม
[ ๑อธิปญั ญา ๒อธศิ ลี ๓อธิจติ ] ๙. ไม่อาศัย ใครอน่ื ใหช้ ่นื จิต
(พระผมู้ ีพระภาคตรัสตอบดังนี้) รู้ชีวติ อสิ ระ จากส่ิงเสรมิ
๒, ๓. ปลอดตณั หา กอ่ นกาย จะตายตาม จะอุบัติ ไม่อุบัติ ก็เดมิ ๆ
อดตี ข้าม ทา่ มกลาง ไม่ถอื เอา ตณั หาเติม ในสิง่ ใหม่ จึงไม่ม ี
ไมป่ กั ใจ หมายข้างหนา้ อนาคต
ส่งิ ปรากฏ ไมส่ ะดุ้ง ใหป้ รุงเผา ๑๐. คนนั้นเขา เราเรยี ก ผสู้ งบ
ไม่โอ้อวด ไม่คะนอง พดู ทำ� เนา ไม่หวังพบ กามหลาก ให้มากสี
ไมฟ่ งุ้ เหงา คนนนั้ เรา เรียกมุนี ห่วงผูกมดั ของเขา ย่อมไม่มี
๔. ไม่โหยหา สงิ่ ทยี่ งั มาไมถ่ งึ พน้ ฝัง่ นี้ เพราะหมดอยาก ทีห่ ลากลาย
ไม่อาลัย ห่วงคำ� นึง อดีตผี
เหน็ วิเวก ในผสั สะ ให้ดดี ี ๑๑. ส�ำหรับเขา ‘ลูกเรา ทรพั ย์สมบตั ิ
ไมถ่ กู ชี้ น�ำไปใน ทฏิ ฐแิ ดน นา สวน’ รดั ผกู กด ก็หดหาย
๕. ชอบปลีกเร้น ไม่เป็น คนลวงหลอก ‘เป็นเจ้าของ’ ‘ตอ้ งจากลา’ มายากลาย
ไม่ต่อ - งอก อยากรา่ น ทะยานแหงน หาไมไ่ ด้ ในเขา เพราะเขา้ ใจ
ไม่ตระหนี่ ไม่สอ่ เสยี ด ให้เกลยี ดแทน
ไมเ่ ปน็ คน กอ่ ความแค้น ให้ใครใคร ๑๒. ชนชาวบ้าน แม้นักปราชญ์ ราชบณั ฑิต
๖. ไมย่ ึดตดิ อยู่กบั สิง่ ท่ีสวยงาม อาจมีจิต ตำ� หนเิ ขา ดว้ ยเหตุไหน
ไมเ่ หยยี บข้าม หมิ่นใคร ท่ไี หนไหน เหตนุ ัน้ เขา ไมเ่ กบ็ เอา ไปเผาใจ
ละเอยี ดอ่อน ปฏิภาณ ไมเ่ ชอ่ื ใคร ด้วยเขาไม่ หวาดหวนั่ เพราะคำ� คน
แตก่ ็ไม่ เย็นร้าง กระดา้ งชา
๗. ไมศ่ กึ ษา เพราะปรารถนาลาภ ๑๓. ไมโ่ ลภลาภ ยอ่ มไม่ขลาด เมือ่ สญู เสีย
ไม่เกรีย้ วกราด ตดิ สยบ รสตัณหา ใครต่�ำเตยี้ - สงู - เสมอ ยอ่ มไมส่ น
หากแม้ลาภ ไดน้ อ้ ย กว่าเคยมา ไม่ก�ำหนด ด้วยตณั หา ทิฏฐิตน
ไมโ่ กรธา ทกุ ข์เทวษ สมเพชเรา ยอ่ มล่วงพน้ เขตกำ� หนด ปลดบ่วงใจ

๑๔. เมอ่ื โลกน้ี ไมม่ ีใคร เป็นเจ้าของ
พลดั พราก - รอ้ ง - โศกเศร้า เข้าตรงไหน ?
และเมื่อเขา ไมอ่ า้ งเอา ทฏิ ฐใิ ด
ผู้นน้ั ไซร้ ใจจงึ พบ สงบจริงฯ

หมายเหต:ุ สำ� หรบั ทา่ นทส่ี นใจ สามารถศกึ ษาคน้ ควา้ รายละเอยี ดของพระสตู รน้ี เพมิ่ เตมิ ไดใ้ นพระไตรปฏิ ก เลม่ ที่ ๒๙ พระสตุ -
ตนั ตปฎิ ก ขทุ ทกนกิ าย มหานทิ เทส จาก ปรุ าเภทสตุ ตนทิ เทส ซงึ่ พระสารบี ตุ รเถระจะไดก้ ลา่ วอธบิ ายขยายความเพมิ่ เตมิ โดย
พสิ ดารไวใ้ ห้ และสามารถหาอา่ นพระสตู รดงั กลา่ วไดต้ ามลงิ้ คน์ ้ี http://www.kanlayanatam.com/book/สตุ ตนทิ เทส.pdf

๓๒ 35
ปัญญารตั นะ

คววาศนิ อมนิ ทสระ โกรธกบั ผสู้ งู อายุ

ผู้สูงอายุไม่ควรโกรธบ่อย การโกรธบ่อย มีพระพุทธพจน์อันน่าใส่ใจเป็นอันมาก
เปน็ การสะสมอกศุ ล คอื ความโกรธไวใ้ นใจ ถา้ ไม่ ทเี่ กีย่ วกับความโกรธ เช่น ไม่มกี าลีใดเสมอดว้ ย
พยายามละ จะยง่ิ โกรธบอ่ ยขนึ้ ยง่ิ มเี งนิ มอี ำ� นาจ โทสะ (นัตถิ โทสะสะโม กะลิ) กาลีคอื โทษรา้ ย
ดูเหมือนจะตามใจตัวเองในเรื่องความโกรธได้ ในภาษาไทยใช้ค�ำ “กาลีบ้าน กาลีเมือง” ดังน้ี
มาก ควรพิจารณาให้เห็นโทษของความโกรธ ก็มี หมายถึง ส่ิงชั่วร้ายที่เกิดขึ้นแก่บ้านเมือง
แลว้ ไมต่ กอยใู่ นอำ� นาจของมนั แตอ่ ยเู่ หนอื มนั ได้ เกดิ ขึ้นแก่คนกเ็ ปน็ โทษรา้ ยแก่คน
คราวใดโกรธเพราะขาดสติ ควบคุมไม่ทัน “นัตถิ โทสะสะโม คะโห ไม่มีเคราะห์ใด
ก็อย่าโกรธให้มาก พอรู้สึกตัวก็รีบระงับเสีย เสมอด้วยโทสะ” พระพทุ ธเจ้า ผูท้ รงรู้ ทรงเห็น
เพราะมันเป็นโทษแก่ตัวเราเอง ท้ังทางร่างกาย ความจรงิ ทงั้ ปวงตรสั ไวด้ งั นี้ เพราะฉะนนั้ เมอื่ ใด
และจติ ใจ ไมต่ อ้ งแจงรายละเอยี ดกพ็ อรๆู้ กนั อยู่ เกิดโทสะหรือความโกรธข้ึน ขอให้พยายาม
ส�ำคัญท่ีต้องพยายามท�ำให้ได้ ให้เรามาชวนกัน หักห้ามใจ และระลึกให้ทันว่า “เคราะห์ร้าย
เป็นมุนีในเพศฆราวาส ที่เรียกว่า ฆราวาสมุนี
คือ เป็นผู้รู้ พูดน้อย แต่มีความสงบอยู่ภายใน
ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า สันติสุขภายในส�ำคัญกว่า
ศีลธรรมอันเป็นรูปแบบภายนอก เพราะคนที่
แสดงตนว่ามีศีลธรรมมาก อันเป็นรูปแบบ
ภายนอกนั้น บางคนบางพวก อาจไม่มีสันติสุข
ภายในเลย เพราะไม่ได้ละส่ิงอันเป็นมลทินใจ
เช่น ความโกรธ ความพยาบาท เปน็ ต้น

36 ๓๒

มาแล้ว ส่ิงช่ัวร้ายมาแล้ว” ถือเป็นคาถา เขามีปัญญาเห็นโทษของความโกรธ จึงไม่
ประจำ� ตัว เป็นคาถาป้องกันภัยก็ได้ เปน็ การรบี โกรธ เพราะไม่โกรธ จึงรักษาปัญญาไว้ได้
สะเดาะเคราะห์เสีย ก่อนที่เคราะห์จะมาถึง และเพิ่มพูนปัญญาข้ึนไปเรื่อยๆ และต้อง
ดีกว่าปล่อยให้มีเคราะห์แล้วไปท�ำพิธีสะเดาะ พยายามพัฒนาปัญญาให้สูงขึ้น จนสามารถตัด
กนั ภายหลัง ความโกรธไดใ้ นทส่ี ดุ (โกธงั ปญั ญายะ อจุ ฉนิ เท)
เราจะเหน็ ความจรงิ อยา่ งหนงึ่ ในชวี ติ ประจำ� พึงตัดความโกรธดว้ ยปญั ญา
วันว่า คนที่น�ำเคราะห์เข้าตัวเพราะความโกรธ
หรือการบนั ดาลโทสะน้ันมไี ม่นอ้ ยเลย พยายาม ธรรมเครือ่ งก�ำจดั ความโกรธ
พิจารณาให้เห็นโทษของมันแล้วละเสีย อย่าท�ำ ๑. วธิ สี รา้ งแนวคดิ เพอ่ื ไมใ่ หโ้ กรธ ทา่ นผรู้ ู้
อะไรลงไปเพราะโทสะ หรือความโกรธ มันจะ แนะน�ำไวม้ าก เช่น (๑) ระลึกบอ่ ยๆ ถึงค�ำสอน
ท�ำให้เกิดเหตุเสมอ เมื่อเกิดความโกรธขึ้นแล้ว ของพระพุทธเจ้าที่เกี่ยวกับโทษของความโกรธ
สง่ิ ทท่ี ำ� ยากกเ็ หมอื นทำ� งา่ ย (ยงั กทุ โฺ ธ อปุ ะโรเธติ และคุณของเมตตา (๒) ระลึกถึงจริยาของ
สกุ ะรงั วยิ ะ ทกุ กะรงั ) เคยทำ� ไมไ่ ดก้ ท็ ำ� ไดเ้ พราะ พระพุทธเจ้า และพระอริยสาวกทั้งหลายผู้มี
ความโกรธผลักดันให้ท�ำ บางคนถึงกับฆ่าพ่อ ความอดทนและมเี มตตา (๓) ระลึกถึงอานิสงส์
ฆ่าแม่ ฆ่าพ่ีน้อง หรือคนที่เคยรักเหลือเกิน ของเมตตา แล้วแผ่เมตตาไปในสรรพสัตว์
ถ้าเขาฉลาดสักหน่อย เขาควรจะจัดการฆ่า (๔) การแยกธาตุคือพิจารณาตัวเราและผู้อ่ืนว่า
ความโกรธในใจของเขาเสีย แทนการฆ่าคนอื่น เป็นเพยี งธาตุ ๔ คอื ดนิ น้ำ� ไฟ ลม (หรอื ธาตุ
แต่น่ันแหละ ความโกรธน่ันเอง ท�ำให้เขา ๖ เพมิ่ อากาศธาตแุ ละวญิ ญาณธาตเุ ขา้ มาอกี ๒)
กลายเปน็ คนโงไ่ ปเสยี แลว้ ดงั พระพทุ ธพจนท์ วี่ า่ เราโกรธอะไร ? เขาก็เปน็ เพยี งธาตุ ? เรากเ็ ปน็
“โกโธ ทมุ เมธะ โคจะโร ความโกรธเป็นโคจร เพียงธาตุเหมอื นกัน ฯลฯ
คือ ทางด�ำเนินของคนด้อยปัญญา” กลับกัน ๒. การน�ำธรรมะบางขอ้ มาดบั ความโกรธ
ความไม่โกรธเป็นทางด�ำเนินของผู้มากด้วย เช่น (๑) ขันติ อดทน อดทนไว้ก่อน อย่าเพิ่ง
ปัญญา พูดหรือท�ำอะไรในขณะโกรธ ความอดทนต่อ
ถามว่า เพราะเขาไม่โกรธจึงมีปัญญา อารมณ์ท่ีมายั่วให้โกรธได้นั้น เป็นตบะ (ขันตี
หรือว่าเพราะเขามีปัญญาจึงไม่โกรธ ? ตอบว่า ปรมัง ตะโป ตีติกขา) เราก�ำลังบ�ำเพ็ญตบะ
อาศัยกัน เปน็ เหตเุ ปน็ ผลของกันและกนั เพราะ โดยการไมโ่ กรธ (๒) ทมะ การฝกึ ตน เหตกุ ารณน์ ้ี
เปน็ สนามฝกึ เปน็ บทเรยี นใหเ้ ราฝกึ ตน ฝกึ กำ� ลงั
คือก�ำลังความสามารถในการอดกล้ัน คนที่
ฝึกตนแล้วเท่านั้นเป็นผู้ประเสริฐท่ีสุดในหมู่
มนุษย์ (ทันโต เสฏโฐ มะนุสเสสุ) (๓) สัจจะ
ตง้ั สจั จาธษิ ฐานไวเ้ สมอวา่ เราจะไมโ่ กรธ จะไมใ่ ห้
ความโกรธครอบง�ำ เพราะคนที่ความโกรธ
ครอบงำ� แลว้ ยอ่ มละกศุ ลคอื ความดคี วามฉลาดเสยี

๓๒ 37

โดยนัยนี้ ภิกษุจึงต้องไม่รวย และต้องมี
อดุ มคตใิ นการลดละกเิ ลส จะไดเ้ พยี งใดกช็ า่ งเถดิ
แตต่ อ้ งม่งุ ไปทางน้นั จึงใหร้ ู้สึกละอายท่ีจะโกรธ
และเกรงกลัวต่อผลความโกรธ (๖) สติ ความ
(โกธาภภิ โู ต กสุ ะลงั ชะหาต)ิ บางคราวเผลอโกรธ ระลกึ ได้ ความระวงั ความไมข่ าดสติ พอระลกึ ได้
ออกไป เปน็ ผูพ้ า่ ยแพก้ ต็ อ้ งตงั้ สัจจะใหม่ ถือคติ ว่าเราโกรธแล้วนะ ความโกรธเกิดแล้วนะ
แบบนักวิทยาศาสตร์คือ ทดลอง ๑๐๐ คร้ัง รบี ควบคมุ ตวั ใหไ้ ด้ (ทมะ) แลว้ รบี สง่ ตอ่ ใหป้ ญั ญา
ลม้ เหลว ๙๙ ครง้ั สำ� เรจ็ ๑ ครงั้ นน่ั คอื ความสำ� เรจ็ (๗) ปัญญา ความรู้ ความเข้าใจ ความสว่าง
เด็กๆ หัดเดิน กว่าจะเดินได้ต้องล้มมาเท่าไร ? แจม่ แจง้ ในเหตผุ ล ในเหตปุ จั จยั รบี ดบั เหตปุ จั จยั
แตเ่ มอื่ พยายามตอ่ ไป ในทสี่ ดุ กเ็ ดนิ ได้ วง่ิ ไดส้ ำ� เรจ็ หรอื สง่ิ อนั เปน็ เชอื้ แหง่ ความโกรธเสยี ความโกรธ
(๔) จาคะ ความสละ คือสละความช่ัว ได้แก่ ก็ดับไปเอง
ความโกรธนน่ั แหละเสยี เพราะความโกรธเปน็ ขา้ ศกึ
ของคุณงามความดี อย่าหวงมันไว้เลย อย่าเอา อารมณ์อนื่ ๆ ท่คี วรระวงั
ความโกรธไว้เป็นเพ่ือนเลย มันเป็นมิตรเทียม นอกจากความโกรธแล้ว ยังมีอารมณ์อื่นๆ
ไม่ใช่มิตรแท้ ให้ความพอใจ (อัสสาทะ) ใน ทีผ่ ู้สงู อายุควรระวงั เหมือนกัน เช่น
เบ้ืองต้น ให้ทุกข์โทมนัส น�ำเคราะห์ร้ายมาให้ ๑. อารมณ์เศร้า ซ่ึงจะมีผลกระทบต่อ
ในบั้นปลาย สละมันไปเถิด (๕) หิริโอตตัปปะ รา่ งกายทั้งหมด
ความละอาย ความเกรงกลัว คือให้ร้สู กึ ละอาย ๒. ความกลวั ความวิตกกงั วล ถงึ อดีตบ้าง
เม่ือโกรธ ละอายตัวเอง ละอายลูกหลานหรือ อนาคตบ้าง
คนใช้ ซง่ึ บางคนเขาเยอื กเยน็ กวา่ สงบไดม้ ากกวา่ ๓. การร่าเริงเกินไป ความร่าเริงแต่พอ
ตามความจรงิ แลว้ เราซงึ่ สงู กวา่ เขา ทงั้ โดยวยั วฒุ ิ เหมาะเป็นเร่ืองดี แต่ความร่าเริงเกินไป ไม่ดี
คุณวุฒิ ต�ำแหน่งฐานะ ควรจะเย็นและสงบได้ ทง้ั แกร่ า่ งกายและจติ ใจ ในพรหมวหิ ารขอ้ มทุ ติ า
มากกวา่ เขา เพอื่ ประโยชนแ์ กต่ วั เราเองและสอน ความพลอยยินดีต่อผู้อ่ืนนั้น เป็นคุณธรรมท่ีดี
เขาไดด้ ว้ ย ยงิ่ เปน็ ภกิ ษสุ ามเณร ซงึ่ ชอื่ ไดว้ า่ เปน็ ป้องกันความริษยาเขา แต่ความร่าเริงเกินไป
สมณะ (ผสู้ งบ) ยง่ิ ควรละอายใหม้ ากทจ่ี ะแสดง ท่านถือเป็นข้าศึกใกล้ของมุทิตาหรือจะเรียกว่า
ความโกรธใหช้ าวบ้านเห็น อย่าพูดถึงวา่ จะไป ข้าศึกโดยอ้อมก็ได้ เพราะท�ำให้ต่ืนเต้นเกินไป
ชวนตชี วนต่อยกับใครเลย และประมาท ส่วนข้าศึกโดยตรงก็คือริษยา
ภิกษุ น้ัน แปลวา่ ผู้ขอ กไ็ ด้ แปลว่า ผู้ทุบ เรียกอกี อย่างหน่ึงวา่ ข้าศกึ ไกลของมุทติ า
หรอื ท�ำลายกไ็ ด้ โดยรูปแบบแห่งการครองชวี ติ ผสู้ ูงอายุ ตอ้ งระวงั ใจให้ราบเรยี บสม�่ำเสมอ
กเ็ ป็นผ้ขู อ ขอปจั จยั ๔ จากชาวบา้ น เพียงเพอื่ เดนิ ตามรอยของพระอรยิ เจา้ ไมด่ ใี จเกนิ ไป และ
ครองชีวิตอยู่ได้ เพ่ือไปสู่ความหมายท่ี ๒ คือ ไม่เสียใจเกินไป ในเรื่องลาภยศ สรรเสริญ สุข
ทุบหรือท�ำลายกิเลสอันเป็นสาระของชีวิต หรือเส่ือมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ เพราะ
สมณะ สิง่ เหล่านลี้ ้วนเป็นมลทนิ ใจทง้ั ส้ิน

38

ในกระแสข่าว

ก า ร ป ร ะ ชุ มกองบรรณาธิการ

เตรียมการสู่สังคมผู้สูงอายุ
Attaining Universal Health Coverage (UHC)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล กล่าว
ร่วมประชุมเกี่ยวกับระบบสุขภาพ เพื่อรองรับ ต่อว่า ประเทศไทยมีจ�ำนวนผู้สูงอายุมากข้ึน
เตรียมการสู่สงั คมผูส้ ูงอายุ อยู่ระหว่างการเปล่ียนผ่านจากสังคมผู้สูงอายุ
ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกล- สู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ซึ่งมีระยะเวลาส้ัน
สัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ท่ีสุดในการเปล่ียนผ่านคือ ๑๖ ปี รัฐบาลไทย
กล่าวว่า ประเทศไทย ได้รับเชิญเข้าร่วมการ ได้ให้ความส�ำคัญในการเตรียมการเรื่องนี้เป็น
ประชุม “Attaining Universal Health ล�ำดับต้น มีนโยบายและหลักแนวคิดส�ำคัญ
Coverage (UHC) focusing on Healthy and คอื “ผสู้ ูงวยั มคี ณุ คา่ สังคมไทยร่วมดแู ล มสี ุข
Active Ageing” ในระหว่างการประชุม G7 จนวาระสุดท้าย” เตรียมพร้อมสู่สงั คมผสู้ งู อายุ
ณ เมืองโคเบะ ประเทศญี่ปุ่น เม่ือวันที่ ๑๒ อย่างสง่างาม โดยทุกภาคส่วนต้องเข้ามาร่วม
กันยายน ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา เพ่ือแลกเปล่ียน ดำ� เนนิ งาน รวมถงึ ภาคประชาสงั คม ภาคเอกชน
ประสบการณ์ในฐานะประเทศท่ีมีความเข้มแข็ง และภาคประชาชน มีการเตรียมความพร้อม
ของระบบสุขภาพ และมีนโยบายท่ีชัดเจน ในทกุ ดา้ น ตงั้ แตด่ า้ นนโยบายเศรษฐกจิ มหภาค
ในการเตรียมการสู่สังคม ท่ีให้ความส�ำคัญกับผู้สูงอายุการสนับสนุนเบ้ีย
สูงอายุ ท้ังด้านมุมมองเชิง ยังชีพ การยืดระยะเวลาเกษียณอายุ การลด
นโยบาย และประสบการณ์ ค่าบริการรถโดยสารสาธารณะแก่ผู้สูงอายุ
ในการเตรียมการก้าวสู่สังคม การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถมีชีวิตที่กระฉับ-
สงู อายุ รว่ มกบั ผนู้ ำ� ดา้ นสขุ ภาพ กระเฉง มีชีวิตชีวาในสิ่งแวดล้อมท่ีเอ้ืออ�ำนวย
และผเู้ ชย่ี วชาญในระดบั โลก ความสะดวก

39

เร่ืองชุดพุ ทธบริษทั

พทุ ธสาวิกา

สังคมปัจฉมิ วัย ใครวา่ เป็นปัญหา

สถานการณ์โลกปัจจุบันท่ีเกิดขึ้นในหลาย ลว้ นเปน็ เงนิ กอ้ นโต ซงึ่ บางทกี ห็ ารายไดไ้ มพ่ อจา่ ย
ประเทศ นับต้ังแต่ประเทศมหาอ�ำนาจ อย่าง ย่ิงถ้ามีลูกหลายคนก็จะเป็นปัญหามากยิ่งขึ้น
สหรฐั อเมรกิ า จนี ญปี่ นุ่ ลามไปถงึ ประเทศเลก็ ๆ ด้วยเหตุน้ี คนสมัยน้ีจึงไม่ยอมมีลูก หรือมีลูก
อยา่ งสงิ คโปร์ ไทย รวมถงึ หลายประเทศในแถบ นอ้ ยลง
สแกนดเิ นเวยี และอาจจะพบสถานการณน์ ใ้ี นอกี อกี ปญั หาหนง่ึ กค็ อื ปญั หาเรอ่ื งคนเลย้ี งลกู
หลายประเทศท่ีไม่ได้ประกาศตนเองว่าเจอกับ สมยั นห้ี าพเี่ ลยี้ งดแู ลลกู ยากมาก จะใหพ้ อ่ แกแ่ ม่
ปัญหานเ้ี ชน่ กัน เฒา่ ปยู่ า่ ตายายเล้ียง บางทีทา่ นก็เลย้ี งได้ บางที
ปัญหาที่วา่ นน้ั ก็คอื การทีม่ ปี ระชากรสงู วยั กไ็ มไ่ หว สภาพรา่ งกายและสขุ ภาพไมเ่ ออื้ อำ� นวย
มากกว่าปกติ และมีคนหนุ่มสาวน้อยลง หลาย ถ้าต้องจ้างพ่ีเลี้ยง สมัยนี้พี่เลี้ยงเด็กคุณภาพดีๆ
ประเทศวิตกกับปัญหาท่ีว่าน้ี ถึงขนาดประกาศ หายากมาก จะใชแ้ รงงานตา่ งดา้ ว บางคนกไ็ มน่ า่
เป็นวาระแหง่ ชาติทต่ี อ้ งนำ� มาพิจารณาแก้ไข ว่า ไว้ใจว่าจะเล้ียงได้ดีพอ ถ้าต้องจ้างจากศูนย์
จะทำ� อย่างไร พ่ีเลี้ยงเด็ก ราคาก็แพงหูฉี่ ต้องมีเงินจริงจึงพอ
จากการวิจัยพบว่า สาเหตุที่เกิดปัญหานี้ จะจา้ งได้ และกไ็ มแ่ นว่ า่ พเี่ ลย้ี งนนั้ จะดจี รงิ หรอื ไม่
มีหลายประการ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ เม่ือ อาจมีโรคจิตแอบแฝง แอบท�ำร้ายเด็ก ก็มีให้
เศรษฐกิจไมด่ ี ประชากรกไ็ มน่ ิยมทจี่ ะมีลูก หรือ เห็นบ่อยไป หรือจะเอาไปฝากเลี้ยงตามสถาน
ถ้าจ�ำเป็นต้องมีก็มีน้อยคน ไม่ยอมมีหลายคน เลี้ยงเด็กกน็ า่ สะพรงึ กลวั ไม่แพ้กนั มีหลายกรณี
เหมอื นสมัยก่อน เพราะการมีลกู หลายคนต้องมี ท่ีเด็กตายขณะไปฝากเล้ียงตามสถานเล้ียงเด็ก
ค่าใชจ้ า่ ยมาก จนประสบภาวะเดือดร้อน ต้องกู้ ปัญหาเหล่านี้ก็ท�ำให้คู่สมรสหลายคู่ชะลอ
หน้ียืมสินมาเป็นค่าใช้จ่ายในการเล้ียงดูลูก เช่น การมีลูก ชะลอนานไป อาจเกดิ ปัญหามลี ูกยาก
ค่าคลอด ค่านม คา่ เทอม คา่ เรยี นพเิ ศษ จปิ าถะ ไปในที่สดุ พลอยไม่ได้ลกู ไปเลย

40 ๓๒

จ�ำนวนผู้สูงวัยจึงมีมากข้ึน จนเป็นท่ีผิดสังเกต
และคาดว่านา่ จะเปน็ ปัญหาในระดับโลก
ในหลายประเทศ ได้ค้นคิดวิธีที่จัดการ
กับปัญหาผสู้ ูงวัยล้นสงั คมดว้ ยวธิ กี ารตา่ งๆ เชน่
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้จัดท�ำธนาคารเวลา
ส�ำหรับประชากรวัยเกษียณ โดยให้ประชากร
วัยเกษียณที่สมัครใจ มาเป็นสมาชิกกับทาง
ธนาคาร ส่ิงท่ีจะฝากกับธนาคารคือเวลาในการ
ใหบ้ รกิ ารผสู้ งู อายคุ นอน่ื ทอี่ ายมุ ากกวา่ ตวั อยา่ ง
เชน่ สภุ าพสตรที า่ นหนงึ่ เปน็ ครทู เ่ี กษยี ณอายแุ ลว้
ในบางคู่สมรส ไม่ต้องการมีลูก ด้วยเห็น วยั ๖๗ ปี เธอเปน็ สมาชกิ กบั ธนาคารเวลา ทาง
ปัญหาอย่างที่กล่าวมาข้างต้น ท่ีแต่งงานเพียง ธนาคารสง่ เธอไปดแู ลสภุ าพสตรชี ราอกี ทา่ นหนง่ึ
ตอ้ งการเพอื่ นชวี ติ มาอยดู่ แู ลกนั เทา่ นน้ั ไมส่ นใจ อายุ ๘๗ ปี โดยเธอลงเวลาไว้กบั ธนาคารเวลาวา่
ทีจ่ ะมีลกู บางคตู่ กลงกันก่อนแต่งงานดว้ ยซ�้ำวา่ ทำ� งานวันละกีช่ ว่ั โมง สะสมไปเร่ือยๆ เพอ่ื วันใด
จะไม่มลี ูก วันหน่ึงท่ีเธอป่วยและต้องการคนดูแล ทาง
เหตุสุดท้ายท่ีท�ำให้ประชากรน้อยลง คือ ธนาคารเวลากจ็ ะจดั สง่ สมาชกิ มาดแู ลเธอใหต้ าม
มคี นจำ� นวนหนง่ึ ไมน่ ยิ มแตง่ งานหรอื มคี ู่ เพราะ เวลาท่ีเธอเคยสะสมไว้ วิธีน้ีก็จะท�ำให้คนแก่คน
เห็นปัญหาชีวิตคู่ว่า ไม่ได้น�ำความสงบสันติ น้ันไม่ตอ้ งเจอปัญหาไรค้ นดแู ล เธอจะมีคนดแู ล
มาสู่ชีวิต การมีคู่เหมือนซ้ือลอตเตอรี่ ยากที่จะ เธอ เท่าที่เธอเคยดแู ลคนอ่นื
ถูกรางวัล คือ คู่ท่ีสามารถพึ่งพาอาศัยกันได้ ในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ไม่ได้
ให้ความรัก ความอบอุ่น ดูแลเอาใจใส่กัน เกษียณอายุในวยั ๖๐ ปี ที่นา่ ประหลาดใจมาก
ในชีวิตจริง คนผิดหวังมีมากกว่าคนสมหวัง คอื อาชีพแอร์โฮสเตส ตวั อย่างเชน่ สายการบิน
ต้องประสบปัญหาหย่าร้าง บางครั้งผ่านมรสุม United Airlines แอร์โฮสเตสสามารถท�ำงาน
รมุ เรา้ ถงึ ขนาดทำ� รา้ ยรา่ งกายกนั จนตอ้ งหยา่ รา้ ง ได้นานเท่าที่ตนเองคิดว่าท�ำไหว บางรายอายุ
กนั ไปในที่สดุ ใกลเ้ จด็ สบิ แลว้ กย็ งั บนิ อยู่ เพยี งแตว่ า่ บนิ นอ้ ยกวา่
คนทไ่ี มแ่ ต่งงาน ส่วนหนึง่ เพราะไมศ่ รทั ธา พวกแอร์สาวๆ เท่านั้น อาจจะบินเดือนละ
ในชีวิตทางโลก การสืบต่อเผ่าพันธุ์ มีศรัทธา ๒ - ๓ ไฟลท์ หรือตามท่ีอยากจะบิน มิน่าล่ะ
ในการประพฤติพรหมจรรย์ ใช้ชีวิตอย่าง คนใช้บริการสายการบินน้ี จึงต้องตกตะลึงที่ได้
นักบวช ไม่ว่าหญิงหรือชาย ปัจจุบันพบว่า เห็นคุณยายมาให้บริการ Tea or Coffee อยู่
คนกล่มุ นม้ี ีจำ� นวนเพิ่มมากขึน้ เร่อื ยๆ ในเคร่อื งบนิ
ด้วยสาเหตุข้างต้น ท�ำให้ช่วงหลายสิบปี เม่ือเกิดปัญหาคนสูงวัยมีมากในสังคม วิธี
ที่ผ่านมา การเพิ่มจ�ำนวนของประชากร หนึ่งที่น่าจะเป็นไปได้ดี ดังกรณี แอร์โฮสเตส
ไม่เทียบเท่ากับท่ีเคยเป็นมาก่อน ท�ำให้ปัจจุบัน สายการบิน United Airlines ก็คือ เลิกการ

๓๒ 41

เกษียณอายุที่วัย ๖๐ ปี เพ่ือนผู้เขียนคนหน่ึง ผเู้ ขยี นเคยไดย้ นิ วา่ เคยมผี รู้ เิ รมิ่ ทำ� มาบา้ งแลว้
เป็นอาจารย์สอนวิชาวรรณคดีในมหาวิทยาลัย แต่ทว่าดูจะแผ่วและอ่อนแรง จนไม่สามารถ
ชื่อดัง เธอจบปริญญาเอกจาก University of ยึดถือเป็นท่ีพ่ึงได้ ท�ำไมไม่มีใครลุกขึ้นมาท�ำให้
Indiana at Bloomington ซง่ึ เปน็ มหาวทิ ยาลยั เกิดแรงกระเพื่อมสั่นไหวจนสังคมได้หันกลับมา
ชั้นน�ำในสหรัฐฯ ทางด้านวรรณคดี เธอรัก เหน็ ความสำ� คญั ของผสู้ งู วยั ผทู้ รงวชิ าความรแู้ ละ
วรรณคดี และชอบท่ีจะถ่ายทอดวิชาความรู้ ประสบการณ์ทัง้ หลาย
ที่เธอเรียนมาจนถึงปริญญาเอกให้กับนักศึกษา วิธีการก็ไม่มีอะไรซับซ้อน คือให้ผู้สูงอายุ
เธอเกษียณอายเุ มอื่ ๒ ปกี อ่ น เธอบอกว่า ทจี่ รงิ ท้ังหลายที่เห็นว่าตนเองยังท�ำงานไหว ยังมี
เธอรู้สึกว่า ยังสอนได้อีก และเสียดายความรู้ ประสิทธิภาพในการท�ำงานได้ตามสมควร และ
ทตี่ นเองมี แตก่ ท็ ำ� อะไรไมไ่ ด้ ตำ� แหนง่ อาจารยเ์ ตม็ มีความสนใจที่จะท�ำงานต่อหลังจากที่เกษียณ
ไม่มีที่ให้เธอสอน เธอมีชีวิตท่ีเคว้งคว้าง เพราะ อายแุ ล้ว ไมว่ ่าจะเป็นท่ปี รึกษา สอน หรือลงมอื
ไม่ไดท้ ำ� งานประจ�ำอกี แล้ว วันๆ น่งั อา่ นหนงั สอื ปฏิบัตกิ ารดว้ ยตนเอง หากท�ำไหว หรือยงั สนุก
ดูภาพยนตร์ เพื่อการวิจารณ์ ในอดีตเธอเคย ท่จี ะท�ำ โดยวิธกี ารน้ี เราสามารถจะแกไ้ ขปัญหา
เขียนวิจารณ์ภาพยนตร์ลงในหนังสือพิมพ์ คนสงู วัยไปไดส้ ว่ นหนึ่งอย่างแน่นอน
เป็นตอนๆ ภายหลังหนังสือพิมพ์ทยอยล้มหาย คนสูงวัยน้นั หากไมร่ ะวงั ตัวดพี อ อาจเป็น
ตายจากไปทีละเล่มสองเล่ม เธอไม่มีสนาม เหยื่อของโรคซึมเศร้า คิดถึงแต่ความหลัง
ท่ีจะลงเร่ืองของเธออีกเลย ท้ังๆ ท่ีมันเป็นงาน อันรุ่งเรืองเปรียบเทียบกับปัจจุบันท่ีอ้างว้าง
ทีด่ ีมาก เตม็ ไปด้วยสาระความรู้ และแงม่ ุมมอง หงอยเหงา ดูไร้ค่า ย่ิงซึมเศร้าย่ิงเส่ียงต่อการ
ลึกซ้ึงอย่างคนท่ีศึกษาเล่าเรียนมาโดยเฉพาะ ฆ่าตวั ตาย ท่ีพบไดม้ ากท่ัวโลกวา่ คนสูงอายเุ ปน็
ทางสาขาน้ี โรคซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย ดังเป็นข่าวให้เห็น
อาชีพบางอาชีพไม่ได้อาศัยเร่ียวแรงในการ บ่อยๆ ตามหน้าหนังสือพิมพ์ รวมถึงข่าวล่าสุด
ท�ำงาน ใช้แต่สมอง และความสุขุมคัมภีรภาพ ท่ีนายพลต�ำรวจเอกท่านหน่ึงเป็นโรคซึมเศร้า
ประสบการณท์ โี่ ชกโชนในสงั เวยี นชวี ติ สง่ิ เหลา่ นี้ กระโดดตึกท่ีศูนย์การค้าเพ่ือฆ่าตัวตาย และ
เราจะปฏิเสธได้อย่างไรว่ามันไม่มีค่า หากเป็น กท็ ำ� ได้ส�ำเรจ็ คือตายสนทิ
สงิ่ มคี า่ ท่ีหาไดเ้ ฉพาะในผสู้ ูงวัยเท่านั้น สำ� หรบั คนหนมุ่ สาว ควรทจี่ ะนกึ อยเู่ สมอวา่
มตี วั อยา่ งอกี มากมาย ทค่ี นสงู อายุ แตย่ งั คง การเกิดแก่เจ็บตายเป็นธรรมชาติของส่ิงมีชีวิต
มปี ระสทิ ธิภาพในทางสมองเป็นอยา่ งดี ยังไมไ่ ด้ ท้ังหลาย วนั นเี้ ป็นหนมุ่ เป็นสาว อกี ไมช่ ้าไมน่ าน
บกพร่องเสียหาย ถูกละเลยและมองข้ามไป กจ็ ะแก่ เจบ็ ไข้ และตาย เหมอื นกัน ด้วยกันหมด
อย่างน่าเสียดาย ท�ำไมประเทศไทยไม่ท�ำ ท้ังสิ้น ควรอย่างย่ิงท่ีจะมีความเมตตาให้กับ
ธนาคารเวลาส�ำหรับผู้สูงอายุให้เป็นรูปธรรม คนสูงวัย ปฏิบัติต่อท่านด้วยความเมตตาและ
และแพร่หลายกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างย่ิง ออ่ นโยน พงึ ตระหนกั รวู้ า่ คนสงู อายนุ นั้ ฮอรโ์ มน
ในยุคนี้ ท่ีกล่าวกันว่า มีวิกฤติการณ์ปัญหา แห่งความเป็นหนุ่มเป็นสาวได้พร่องหรือหมด
สังคมผู้สูงวยั ไปแล้ว หากผู้สูงอายุเหล่าน้ัน ไม่ได้มีความรู้

42 ๓๒

ในเรื่องนี้ ก็อาจมีอาการของผู้สูงวัยคือ ขี้เหงา ปญั หาใดๆ บางทคี ำ� ถามกฟ็ งั ดไู มน่ า่ ถาม แตท่ า่ น
ใจนอ้ ย ใครพดู อะไรผดิ หเู พยี งเลก็ นอ้ ยกน็ ำ� ไปคดิ จะตอบออกมาดีเหลือเชื่อ เป็นค�ำตอบท่ีไม่เคย
ปรุงแต่ง เสียอกเสียใจ กลายเป็นเร่ืองใหญ่โต ได้ยินได้ฟังจากท่ีอื่นมาก่อน ท่านแสดงธรรม
ถึงขนาดไปฆ่าตัวตาย เป็นเรื่องเศร้าท่ีเกิดข้ึน เผยแผ่ธรรมตลอดชีวิต แม้จนวาระสุดท้าย
ซ้�ำซากในสังคม ท่ีท่านมีอายุ ๑๐๓ ปี ท่านได้ใช้วันเวลาในชีวิต
เนื่องจากโพธิยาลัยเป็นวารสารเกี่ยวกับ อยา่ งมีคุณคา่ เต็มเปยี่ ม ไมม่ ีอาการหลงลมื ซึม-
ธรรมะ จึงอยากเล่าถึงพระมหาเถระรูปหนึ่ง เศร้า หมดเรี่ยวหมดแรง ท่านดูแจ่มใสสดชื่น
ซ่ึงได้รับค�ำยกย่องว่าเป็นห้องสมุดเคลื่อนท่ีของ อยู่เสมอ การปฏิบัติธรรมของท่าน เน้นเมตตา
ประเทศศรีลังกา เป็นหนึ่งในนักปราชญ์เอก ภาวนาเปน็ พิเศษ ทา่ นแผเ่ มตตาทุกวัน จนรศั มี
ทางพระพุทธศาสนาของโลก ท่านคือ หลวงปู่ แห่งความเมตตาสว่างรอบองค์ท่าน น่ังที่ใด
อานนั ทไมตรี มหานายกเถร อดตี สงั ฆราชนกิ าย ยุงและสัตว์ร้ายไม่มารบกวน และยังท�ำให้คน
อมรปรุ ะ แหง่ ประเทศศรลี งั กา ตอนทพ่ี บหลวงปู่ ท่ีน่ังอยู่ใกล้ท่าน พวกลูกศิษย์ลูกหารู้สึกสบาย
ท่านอายุ ๙๗ ปี ในวันที่อากาศหนาวเย็น และไมอ่ ยากลุกไปไหนท่หี ่างไปจากทา่ น
ท่ีวัดอมราวดี ประเทศอังกฤษ ในช่วงที่ท่าน เทา่ ท่ไี ด้พบท่าน เห็นได้ชัดเจนวา่ ท่านเปน็
รับนิมนต์ไปสอนพระไตรปิฎก วันน้ันท่านน่ัง แบบอย่างของผ้สู ูงวยั ทม่ี คี ุณภาพ ผ้เู ขยี นเช่อื วา่
พมิ พด์ ดี ตน้ ฉบบั หนงั สอื ของทา่ น สวมถงุ มอื หนา ท่ีท่านสามารถเป็นเช่นนี้ได้เพราะธรรมะนั่นเอง
มนี ิ้วลอดออกมาเพอื่ ใช้ในการพิมพด์ ดี หลงั จาก ผู้เข้าถึงธรรมย่อมใช้ชวี ติ อยา่ งมีคุณคา่ เสมอไป
ไดร้ จู้ กั ทา่ นแลว้ ไดพ้ บวา่ ทา่ นเปน็ มหาเถระชรา การเป็นผู้สูงวัยเป็นเรื่องธรรมชาติอย่าง
ท่ีมีประสิทธิภาพสูงเหลือเชื่อ ท่านสามารถ แท้จริง บุคคลผู้ฉลาดย่อมเรียนรู้ท่ีจะเข้าใจ
สอนหนังสือ เขียนหนังสือ แสดงธรรมได้อย่าง ธรรมชาติ และสามารถจัดสรรธรรมชาติน้ันให้
คล่องแคล่ว ความจ�ำดีเป็นเลิศ สามารถจ�ำ เกิดประโยชน์สงู สุดได้ คนสูงวยั มิใช่ผู้รอวันตาย
ขอ้ ความในพระไตรปฎิ กได้ บอกไดว้ า่ ขอ้ ความนนั้ อย่างเดยี ว ท่านอาจเปน็ ทรพั ยากรบคุ คลทม่ี ีค่า
มาจากพระไตรปิฎกเล่มไหน ไม่ว่าจะสอบถาม เป็นปูชนียบุคคลของลูกหลาน และคนท่ัวไป
ไดอ้ ีกนาน ตราบจนถงึ วนั ท่ที ่านลาจากไป
ในเมื่อการสูงวัยเป็นเรื่องท่ีคนทุกคนต้อง
เผชญิ เราจงึ ควรรว่ มมอื รว่ มใจกนั คดิ หาทางออก
ท่ีสวยงามท่ีสุดส�ำหรับผู้สูงวัย ท่ีจะมีชีวิต
ในบั้นปลายอย่างมีคุณภาพ มีความสุข ไม่เป็น
ภาระสังคม หากเปน็ ทีพ่ ง่ึ ของสังคม เปน็ ร่มโพธิ์
รม่ ไทร ทใี่ หค้ วามรม่ เยน็ แกบ่ ตุ รหลาน และแลว้
วิกฤตสิ ังคมปจั ฉมิ วยั ก็จะไมเ่ ป็นวิกฤติ หากเป็น
โอกาสท่ีเราจะได้ร่วมมือกันท�ำให้สังคมอยู่เย็น
หลวงปูอ่ านนั ทไมตรี มหานายกเถร เปน็ สขุ ไมว่ า่ จะอยู่ในวยั ใด

๓๒ 43

มองเทศ - มองไทย

พระอุปคุตเถระวิเทศทัยย์
จากพระธรรมกถึกถึงผู้ทรงอภิญญา (๒)

บทท่ผี ่านมา ไดเ้ กริน่ ใหท้ ราบแลว้ วา่ เร่ือง หากเราอ่านประวตั ิศาสตรพ์ ระพทุ ธศาสนา
ราวของพระอุปคุตเถระ เป็นคติของมหายาน จะเห็นว่า ครั้นพุทธปรินิพพานล่วงแล้วสาม
และคนไทยน่าจะได้คติเช่นน้ี ผ่านมาทางพม่า เดือน พระอรหันต์เถระน�ำโดยพระมหากัสสป-
เป็นแน่แท้ พอพูดเช่นน้ี บางคนคงท�ำหน้างง เถระ ได้ชักชวนพระอรหันต์หลายร้อยรูป
เหมือนนั่งแท็กซี่ไปสยามพารากอน แต่กลับ รวบรวมค�ำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเรียบเรียง
วนมาบา้ นพกั คนชราบางแค ผูเ้ ขียนจงึ พิจารณา ให้เป็นหมวดหมู่ จนมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าถูก
เห็นว่า สมควรสาธยายค�ำว่า “มหายาน” เสีย ต้องทุกประการแล้ว จึงพากันทรงจ�ำ รักษา
หน่อย เพื่อปูพื้นก่อนท่ีจะวนเข้าสู่เรื่องราวของ ด้วยการท่องดว้ ยปาก เรียกวา่ มุขปาฐะ นัยวา่
พระอปุ คตุ เถระตอ่ ไป เพื่อป้องกันสาวกบางกลุ่ม ตีความค�ำสอนตาม
บอกกันก่อนว่า มหายานคือสาวกของ ความคดิ เห็นแห่งตน
พระพุทธเจ้านั่นแหละ แต่มีความเห็นต่างจาก ครั้นล่วงเลยอีกหน่ึงศตวรรษ ก็มีเร่ือง
ค�ำสอนของพระพุทธองค์ จึงพากันตีความตาม ราวเกิดขึ้นอีก พระอรหันต์จึงชักชวนกันท�ำ
ความคดิ ของตน มองอกี ดา้ น ถอื วา่ เปน็ เรอ่ื งปกติ สังคายนาร้อยกรองค�ำสอนของพระพุทธเจ้าอีก
ของสังคมมนุษย์ ซ่ึงสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเชื้อ ครง้ั เพอื่ ชใ้ี หเ้ หน็ วา่ คำ� สอนทถ่ี กู ตอ้ งแทจ้ รงิ ของ
ชาติศาสนา บา้ นเราเองปจั จบุ ัน กม็ ีใหเ้ ห็นออก พระพทุ ธเจา้ เปน็ อยา่ งไร และพวกประพฤตนิ อก
ดาษดื่น ญาติโยมก็ร้เู ห็นกันเปน็ อยา่ งดี เพียงแต่ ธรรมนอกวินัยเป็นเช่นไร การสังคายนาคราวน้ี
ทำ� หหู นวกตาบอด โดยคิดเสยี ว่าธรุ ะไม่ใช่ แม้จะดูเหมือนว่าเรียบร้อยดี แต่คณะสงฆ์กลุ่ม

44 ๓๒

หน่ึงพากันคัดค้าน แล้วแยกตัวพากันไปจัดต้ัง
กลมุ่ ใหมข่ น้ึ พรอ้ มประพฤตปิ ฏบิ ตั ติ ามความคดิ
เหน็ ของกลมุ่ ตน เรียกวา่ มหาสงั ฆิกะ
ตรงนี้ชี้ให้เห็นว่า พระสงฆ์พร้อมท่ีจะแยก
ตนเองเป็นเอกเทศจากหมู่คณะ ประการแรก
เพราะไม่มีพระพุทธเจ้าเป็นหลักเสียแล้ว ส่วน
ประการส�ำคัญคือความเห็นไม่ตรงกัน ภาษา
พระท่านเรียกว่า ทฏิ ฐสิ ามัญญตา แล้วอวดอา้ ง
ว่าพวกตนประพฤติถูกต้องตามค�ำสอนของ
พระพุทธเจ้า ฝ่ายอ่ืนเหลวไหล ผิดทั้งน้ัน แล้ว เร่ืองเช่ือมโยงกับพระพุทธเจ้า ยิ่งใกล้ชิดติดตัว
ตามมาดว้ ยการประณามหยามเหยยี ดกนั และกนั พระพทุ ธเจา้ ไดย้ งิ่ ดี บา้ นเราเองกม็ เี หน็ ออกบอ่ ย
บางครงั้ ถงึ กบั ยกนรกสวรรคม์ าเปน็ ตวั ตดั สนิ วา่ ยกตวั อย่างเช่น วัดบางแหง่ อา้ งว่า พระพุทธเจา้
ใครถกู ใครผิดกนั เลยทเี ดียว ภาษาบ้านเราเรียก เคยเสด็จไปวัดตนแล้วทรงพระบังคน ต่อมา
ว่าการสาบานด้วยการยกพระรัตนตรัยมาเป็น ร้จู ักกันในช่อื วา่ สว้ มพระพทุ ธเจา้ โดง่ ดงั มนี กั
พยาน แต่คนไทยน้ันไม่สาบานเปล่า ผสมการ ท่องเท่ียวไปชมกันหนาตา เห็นไหมว่า เรื่อง
สาปแช่งเข้าไปด้วย นัยว่าต้องการให้เกิดความ การตลาด พระคณุ เจา้ ไมแ่ พฆ้ ราวาสกันเชียว
ขลงั เขา้ ไปอกี ยทุ ธวิธีแบบน้เี ขาเรียกวา่ รีแบรนด์ หรือ
คณะสงฆ์กลุ่มมหาสังฆิกะน้ีเอง เป็นต้น ปรับภาพลักษณใ์ หม่
ก�ำเนิดของคติมหายาน ซ่ึงต่อมารู้จักกันในช่ือ เรื่องราวของพระอปุ คตุ ก็เชน่ เดียวกัน เปน็
ว่า ยานใหญ่ ส่วนกลุ่มเดิมที่รักษาค�ำสอนของ ผลผลิตจากการปะทะกัน ระหว่างยานเล็กกับ
พระพทุ ธเจา้ อยา่ งเครง่ ครดั เรยี กชอื่ วา่ ยานเลก็ ยานใหญ่ โดยมมี ติ ิของการเมอื งและการศาสนา
นับจากนัน้ เปน็ ตน้ มา สงคราม (แตง่ คมั ภรี )์ ซอ่ นเรน้ อยขู่ า้ งใน นา่ แปลกคอื แมค้ ณะสงฆย์ าน
แย่งชิงศาสนิกระหว่างยานใหญ่กับยานเล็ก เล็กจะทราบวา่ พระอปุ คุตเถระเป็นผลงานการ
กเ็ รม่ิ ข้นึ แต่งของคณะสงฆ์ยานใหญ่ แต่ยุคหลังพากัน
ส่ิงหน่ึงซ่ึงทั้งสองฝ่ายปะทะขัดแย้งกัน ดึงพระอุปคุตเถระมาเป็นคติความเช่ือของตน
บ่อยคือค�ำสอน ไม่ได้เน้นต่อกรด้วยก�ำลัง แต่ หน้าตาเฉย โดยไม่เกิดความตะขิดตะขวงใจ
แข่งขนั ด้วยการแต่งคมั ภรี ์ เรยี กว่าใชต้ ัวหนังสอื แตอ่ ยา่ งใด เขา้ กบั สภุ าษติ ไทยวา่ เกลยี ดตวั กนิ ไข่
เป็นวาทะเชือดเฉือนกัน ส�ำหรับเรื่องเดิมท่ี กนิ ปลาไหลกนิ เสอื ดำ� อา้ วผดิ ไป เกลยี ดปลาไหล
พระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้แล้ว ก็รักษาเค้าโครง กินน้�ำแกง (เร่ืองของพระอุปคุตเถระปรากฏอยู่
เดิมเอาไว้ แต่เสริมเร่ืองให้ถูกใจของผู้คนตาม ในคมั ภรี ป์ ระเภทอวทาน)
ยุคสมัย บางเร่ืองแต่งข้ึนใหม่ท้ังหมด แต่ก็ยึด ถึงตอนน้ีผู้อ่านงงหนักเข้าไปอีก เจอยาน
โยงเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า พูดภาษานักการ เล็กยานใหญ่ ก็แสดงอาการกวน จนมึนไปแล้ว
ตลาดคือ เพื่อให้เกิดความน่าเช่ือถือ จึงแต่ง มาเจอคมั ภรี อ์ วทานอกี จงึ เขา้ สอู่ าการมนึ จนเมา

๓๒ 45

จุดขายของคณะสงฆ์ยานเล็กนั้นมีมาก
มายหลายอย่าง และท่านก็จดลิขสิทธิ์ไว้แล้วใน
นามการสังคายนา นอกจากค�ำสอนหลักของ
พระพุทธเจ้าแล้ว ยังมีนิทานส�ำหรับคนมีการ
ศึกษาน้อยเรียกว่า ชาดก แม้เดิมแท้จะเป็น
พระพุทธพจน์ปรากฏเป็นคาถา แต่ภายหลัง
พระเถราจารย์กพ็ ากนั แต่งเร่อื งราวประกอบจน
ฮติ ตดิ ตลาด มีการนำ� มาเทศนาส่งั สอนชาวบ้าน
จนทกุ คนรจู้ กั กนั ดี ตง้ั แตพ่ ระราชวงั หรหู ราจนถงึ รปู ปูนปัน้ แนต เมอื งพกุ าม ประเทศพมา่

กระท่อมน้อยปลายนา นัยว่าเรื่องราวเหล่านั้น คัมภีร์ชาดกน้ัน จุดขายคือพระโพธิสัตว์
ลว้ นงา่ ยต่อการเข้าใจและประพฤตติ าม สว่ นคัมภีร์อวทาน เนน้ ยกยอ่ งคนธรรมดา
คณะสงฆย์ านใหญค่ งเห็นวา่ คมั ภีร์ประเภท ตรงน้ีเหมือนคณะสงฆ์ยานใหญ่ต้องการ
ชาดกเป็นที่นิยมแพร่หลาย จึงพากันแต่งคัมภีร์ บอกให้รู้ว่า เร่ืองราวในคัมภีร์ชาดกนั้นเป็น
เลียนแบบ ช่ือว่า อวทาน โดยมีเนื้อหาสาระ เรื่องของพระพุทธเจ้าสมัยโพธิสัตว์เท่านั้น ไม่
ต่างกัน กล่าวคือ คัมภีร์ชาดกนั้น ว่าด้วยเรื่อง ได้เก่ียวข้องกับชาวพุทธทั่วไป ส่วนเร่ืองราว
ราวการบ�ำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในอดีต ในคัมภีร์อวทานเป็นของชาวพุทธทุกคน และ
ชาติ ก่อนท่ีจะมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธ เพ่ือให้มีความน่าเช่ือถือมากข้ึน ก็เสริมเข้าไป
เจ้าของชาวเราท้ังหลาย ส่วนเนื้อหาของคัมภีร์ ว่าเร่ืองท้ังหมด เกิดขึ้นสมัยพระพุทธเจ้ายังมี
อวทานน้ัน ว่าด้วยเรื่องราวการประพฤติธรรม พระชนม์ชีพอยู่ และทั้งหมดน้ีพระพุทธเจ้าทรง
กรรมดีของสามัญชนผู้ปรารถนาเป็นชาวพุทธ ตรสั เอง เม่อื พดู เช่นน้ี ก็ไม่มใี ครกลา้ คา้ น เพราะ
ท่ีดี และหาโอกาสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าสักครั้ง พระพุทธเจ้าย่อมเป็นที่รู้จักกันดีของชาวอินเดีย
หนึ่งในชีวิต เพื่อยืนยันว่าสามัญชนคนธรรมดา สมยั นัน้
ก็สามารถประพฤติธรรมได้ และสามารถเข้า เห็นได้ว่าเพียงเปลี่ยนมุมนิดเดียวเท่าน้ัน
ถึงธรรมได้เสมือนพระพุทธเจ้า โดยไม่ต้อง สินค้าใหม่ของคณะสงฆ์ยานใหญ่ก็เป็นท่ีนิยม
บ�ำเพ็ญบารมีหลายกัปหลายกัลป์เหมือน แพร่หลายอย่างรวดเร็ว จนสมัยต่อมา มีผู้แต่ง
พระพทุ ธเจ้า คมั ภรี ป์ ระเภทอวทานอกี เปน็ จำ� นวนมาก ดงั เชน่
อวทาน-ศตกะทวิ ยาวทานทวาทศธรรม-ประพนธ์
โพธิสัตตวาวทานมาลา วิจิตรกรณีกาวทาน
กลั ปตารมุ าวทาน ภทั รกลั ปาวทาน อโศกาวทาน
รัตนาวทานมาลา ทวาตริงศัตยาวทานมาลา
อวทานกลั ปตา ฯลฯ
เห็นการตลาดของคณะสงฆ์ยานใหญ่หรือ
รปู ปนู ป้ันแนต เมืองพกุ าม ประเทศพมา่ ยงั รีแบรนด์นิดเดยี วกข็ ายไดแ้ ลว้

46 ๓๒

เอาเป็นว่าพอเปิดตัวอวทานเพียงสองสาม ประเด็นนี้ผู้เขียนเห็นว่า ไทยเราน่าจะน�ำ
เรื่อง คนก็นิยมกันอย่างกว้างขวาง จึงต้องมี เข้ามาจากประเทศพม่า เพราะมีคัมภีร์ภาษา
การแตง่ อวทานเพม่ิ เตมิ อกี หลายสบิ เลม่ ตามยคุ บาลเี ลม่ หนึง่ แตง่ ท่ีประเทศพมา่ ประมาณพทุ ธ
ตามสมัย ส่วนใหญ่ก็เอาเรื่องเก่านั้นแหละมา ศตวรรษที่ ๑๙ ช่ือว่า คัมภีร์โลกบัญญัติ บาง
ปรับส�ำนวนใหม่ ว่ากันว่าคัมภีร์อวทานเล่ม ท่านบอกว่า เป็นผลงานการแต่งของพระศรี-
เก่าสดุ ชื่อวา่ อวทาน-ศตกะ และ ทิวยาวทาน ลังกา แต่บางคนแย้งว่า เป็นผลผลิตของพระ
ส่วนนอกนั้น เปน็ การนำ� เรอ่ื งเกา่ มาเล่าใหมบ่ ้าง พม่า ผู้เขียนสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นผลงาน
แตง่ เสรมิ เหตกุ ารณส์ มยั นนั้ เพมิ่ ขน้ึ ใหมบ่ า้ ง และ ของพระพม่า เหตเุ พราะคตคิ วามเชือ่ พระอุป-
เหน็ วา่ นา่ จะเปน็ ทช่ี น่ื ขอบของชาวชมพทู วปี จน คุตเถระ ไม่ปรากฏเห็นในประเทศศรีลังกา
ตอ้ งมกี ารรเี มคหลายครงั้ หลายครา อีกนัยหนึ่ง หลักฐานระบุว่า ก่อนพุทธศาสนา
ปัญหาคือ แล้วเร่ืองราวของพระอุปคุต เถรวาทจะเข้ามาเผยแผ่ยังประเทศพม่า ผู้คน
เถระอยใู่ นคัมภีรอ์ วทานเลม่ ใด ? ดนิ แดนแหง่ นี้ ตา่ งพากนั ประพฤตปิ ฏบิ ตั ติ ามคติ
อันนี้ตอบได้ยากนัก เพราะปรากฏเห็นใน ความเช่ือมหายาน
เล่มน้ันนิดเล่มน้ีหน่อย แต่ที่ชัดเจนมากสุด จงึ มใิ ชเ่ รอื่ งแปลก ทเ่ี รอื่ งพระอปุ คตุ เถระจะ
เหน็ จะอยใู่ นคมั ภรี อ์ โศกาวทาน คมั ภรี ท์ วิ ยาว - เป็นท่ีรจู้ ักแพร่หลายของคนพมา่
ทาน และคัมภรี ์อวทาน - ศตกะ หมายถึง เน้อื
หาสาระเป็นหลักฐานมากกว่าเลม่ อ่ืน อกี ท้ังนกั
วิชาการต่างพากันอ้างถึงบ่อย ส่วนคัมภีร์นอก
นั้น ก็อ้างอิงจากคัมภีร์สามเล่มน้ีแหละ โดยน�ำ
ไปเสริมเร่ืองราวกล่าวอ้างให้สมบูรณ์ มีเหตุผล
มากขน้ึ
แตก่ ลา่ วโดยเนอื้ หากเ็ หมอื นกนั จะมแี ปลก
แตกตา่ งกต็ รงรายละเอยี ดเรอ่ื งชอ่ื ผเู้ กยี่ วขอ้ งกบั
พระอุปคุตเถระ แต่เน้ือหาสาระหลักนั้นเป็น รปู ปนู ป้ันครอบครวั พระเจา้ อโศกมหาราช
อันเดียวกัน โดยเฉพาะบทบาทของพระอุปคุต สาญจสิ ถูป อินเดีย

เถระด้านเป็นพระธรรมกถึก และเป็นที่ปรึกษา อีกประการหนึง่ ผเู้ ขียนสันนิษฐานเพ่ิมเติม
พระเจ้าอโศกมหาราช ทั้งการสร้างเจดีย์ตลอด ว่า คัมภีร์โลกบัญญัติเล่มนี้ น่าจะแต่งสมัยคติ
ชมพทู วปี และการสังคายนาพระธรรมวนิ ัยของ ความเชื่อเกี่ยวกับพระอุปคุตเถระก�ำลังเป็น
พระสัมมาสัมพทุ ธเจ้า ที่นิยมแพร่หลายบนแผ่นดินพม่าเป็นแน่ พระ
ก่อนจะจบตอนนี้ เห็นสมควรตามค้นหา เถราจารยช์ าวพมา่ อาจเหน็ วา่ ผคู้ นกำ� ลงั ชนื่ ชอบ
ว่า คติความเช่ือพระอุปคุตเถระ เข้ามายัง พระอุปคตุ เถระจงึ แตง่ คมั ภรี ์ขึน้ โดยอาศัยเร่อื ง
ประเทศไทยได้อย่างไร และเหตุใด จึงเป็นท่ี เลา่ สบื ตอ่ กนั มาเปน็ แกน่ แกนของเรอื่ ง สงั เกตได้
รู้จกั แพรห่ ลายในดนิ แดนเถรวาทของไทย จากสารตั ถะของเรอื่ งเปน็ แบบเดยี วกนั กบั คมั ภรี ์

47

ประเภทอวทานดั้งเดิม จะเพ้ียนบ้างก็เป็นบาง สมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระปรมานชุ ติ ชโิ นรส
เหตกุ ารณแ์ ละชื่อบคุ คลเทา่ นน้ั สมเด็จพระสงั ฆราชองคท์ ี่ ๗ แห่งกรุงรตั นโกสินทร์
เพยี งเทา่ น้ี กท็ ำ� ใหเ้ รอื่ งของพระอปุ คตุ เถระ
โด่งดังเป็นท่นี ยิ มแพรห่ ลาย ๒๓๔๕ มีเร่ืองพระอุปคุตเถระแทรกเฉพาะ
สิ่งหนึ่งซึ่งควรตั้งข้อสังเกตคือ เหตุท่ีเร่ือง ตอนพระพุทธเจ้าได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า ภาย
ราวของพระอุปคุตเถระเป็นที่นิยมแพร่หลาย หลังพุทธปรินิพพาน จะมีพระสาวกนามว่า
ของชาวพมา่ นน้ั สว่ นหนง่ึ นา่ จะมาจากกศุ โลบาย พระกีสนาคอุปคุตจะมาสั่งสอนพญามารและ
ของพระเถราจารย์ เพอ่ื ตอ้ งการลดความส�ำคญั ทรมานจนพญามารศรทั ธาปรารถนาพุทธภูมิ
ของนัต หรอื ผีประจำ� เมือง อนั เปน็ ที่นับถอื ของ คร้นั ยา่ งเขา้ สรู่ ัชกาลที่ ๓ แหง่ รตั นโกสนิ ทร์
ชาวพม่า จึงน�ำเรื่องราวของพระอุปคุตเถระมา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต
ขม่ พวกนตั เรยี กวา่ ใชฤ้ ทธปิ์ ราบฤทธ์ิ และเหน็ จะ ชิโนรส ได้แต่งคัมภีร์ ปฐมสมโพธิกถา เมื่อ
ประสบความส�ำเร็จเป็นรูปธรรม สังเกตได้จาก พ.ศ. ๒๓๘๘ เรื่องพระอุปคุตเถระปรากฏเห็น
นัตเหล่านั้นเดิมอยู่บนภูเขาสูง ต่างพากันย้าย ในตอนมารพันธวรรต กล่าวถึงพระเจ้าอโศก
ถ่ินฐานมาอยู่ตามอารามวิหาร และสถิตอยู่ใน มหาราชจะทำ� การฉลองเจดยี ์ ๘๔,๐๐๐ องค์ แต่
อาคาร ขนาดเลก็ กวา่ วหิ ารอนั เปน็ ทปี่ ระดษิ ฐาน เกรงวา่ พญามารจะมาขดั ขวาง จงึ อาราธนาพระ
พระพทุ ธเจ้า กสี นาคอปุ คุตเถระมาชว่ ยปอ้ งกนั พิธี โดยปราบ
มารด้วยวิธี เนรมิตซากสุนัขเน่าผูกคอพญามาร
แล้วพระอุปคุตเถระ มาปรากฏตัวที่ สุดทา้ ยพญามารยอมแพ้ ปรารถนาพทุ ธภมู ิ
ประเทศไทยตอนไหน ? ความจรงิ สมเด็จพระมหาสมณเจา้ ฯ พระ
ตอบตามตรงแบบไม่อ้อมค้อมว่า ไม่รู้ องค์น้ี ได้รับคติพระอุปคุตเถระมาจากหัวเมือง
เพราะไม่สามารถหาหลักฐานจากเล่มไหน เหนืออีกทอดหน่ึง เพราะคัมภีร์ปฐมสมโพธิ
มายืนยัน หากจะเอานิมิตมาอ้าง ก็จะหาว่า ฉบับด้ังเดิม มีการคัดลอกหลายภาษา และ
สัญญาวิปลาสกันอีก เอาเป็นว่าสันนิษฐานว่า เป็นท่ีนิยมแพร่หลายของผู้คนหัวเมืองเหนือ
น่าจะผ่านพม่าเข้ามาทางหัวเมืองเหนือก่อน จนถงึ สบิ สองปนั นา จงึ ปรากฏเหน็ พระอปุ คตุ เถระ
เหตุเพราะบริเวณแถบนั้น เคยอยู่ภายใต้การ ดงั กลา่ ว
ปกครองของพม่าหลายศตวรรษ ย่อมได้รับ
อิทธิพลเป็นธรรมวิสัย ส่วนจะหยั่งรากฝังลึก (ฉบับหน้ามาว่าเร่อื งราวของพระอุปคุตเถระ)
เข้าสู่วิถีชีวิตมากน้อยเพียงไร ก็ต้องไปค้นหา
คัมภีร์ใบลานกันอีกที ขอสันนิษฐานเบ้ืองต้นไว้
เท่านี้กอ่ น
ส่วนคติพระอุปคุตเถระถ่ายเทลงใต้ น่าจะ
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เพราะมีหลักฐาน
ระบวุ ่า รชั กาลท่ี ๑ โปรดให้พระยาธรรมปรีชา
(แก้ว) ช�ำระดัดแปลงเน้ือหาจากไตรภูมิ พ.ศ.

48 ๓๒

วัดจากแดงใต้ฟ้าวดั จากแดง รับพระเณรเรียนบาฬีช้ันสูง

เคยทราบกันไหมว่า ประเทศไทย ผู้น�ำ แตล่ ะปกี ารศกึ ษาแบง่ ออกเปน็ ๒ ภาค รวมเวลา
พระพุทธศาสนาของโลก ขาดแคลนบุคลากร ๓ ปี เท่ากบั ๖ ภาค
ผู้แตกฉานด้านคัมภีร์สัททาวิเสส (หลักบาฬี ในปีการศกึ ษาแรก พ.ศ. ๒๕๖๑ รบั สมคั ร
ไวยากรณ์ช้ันสูง) และผู้เชี่ยวชาญในพระ นกั ศกึ ษาตง้ั แตว่ นั ท่ี ๑ ม.ี ค. ถงึ ๒๐ เม.ย. ๒๕๖๑
ไตรปิฎก ท่ีเป็นเช่นนี้เพราะการศึกษาของ เปดิ เรยี นภาคการศกึ ษาแรกในวนั พฤหสั บดี
คณะสงฆไ์ ทย มไิ ดน้ ำ� พระไตรปฎิ กบาฬี อรรถกถา ท่ี ๓ พ.ค. ๒๕๖๑ ปิดภาคการศึกษาแรก วันท่ี
ฎกี า มาเป็นหลกั ในการเรียนการสอน เม่อื อ่าน ๒ ต.ค. ๒๕๖๑
หรือศึกษาพระไตรปิฎกก็เน้นท่ีฉบับภาษาไทย เปดิ ภาคการศกึ ษาท่ี ๒ วนั ที่ ๘ พ.ย. ๒๕๖๑
จึงท�ำให้เกิดปัญหาการตีความพระธรรมวินัย ปิดภาคการศกึ ษาท่ี ๒ วันท่ี ๓๐ ม.ี ค. ๒๕๖๒
คลาดเคลื่อน ผิดเพี้ยนไป ส่งผลเสียต่อสังคม ผสู้ มคั รเรยี นตอ้ งมารายงานตวั ทวี่ ดั จากแดง
ชาวพุทธ ณ บัดน้ี วัดจากแดง โดย สถาบัน กอ่ นวนั ที่ ๒๐ เม.ย. ๒๕๖๑ เพอ่ื รบั ทราบระเบยี บ
โพธิยาลยั ได้อาสาแกป้ ัญหาน้ัน ตามประกาศ ปฏิบัติต่างๆ และเพื่อที่ทางสถาบันจะพิจารณา
ของวดั โดยยอ่ ดงั น้ี คัดเลือกผู้สมัครที่มีคุณสมบัติครบถ้วน เข้ามา
สถาบนั โพธยิ าลยั วดั จากแดง อ.พระประแดง เป็นนกั ศึกษาในหลกั สตู รต่อไป
จ.สมุทรปราการ น�ำโดยพระอาจารย์มหา ทงั้ นี้ คณุ สมบตั ขิ องผสู้ มคั ร ไดแ้ ก่ พระภกิ ษ-ุ
ประนอม ธมฺมาลงฺกาโร เปิดรับพระภิกษุ- สามเณร ผู้มีความประพฤติเรียบร้อย ดีงาม
สามเณร เขา้ ศกึ ษาหลกั สตู รบาฬไี วยากรณช์ นั้ ตามพระธรรมวนิ ยั สามารถปฏบิ ตั ติ ามกฎกตกิ า
สงู เพอ่ื พระไตรปฎิ ก ๓ ปี โดยมงุ่ หวงั จะสามารถ ของสถาบนั ได้ เปน็ ผมู้ คี วามตง้ั ใจ และหมน่ั เพยี ร
ผลิตบุคลากรท่ีมีความรู้ความสามารถในพระ ศึกษา จนจบหลักสูตร เพื่อเป็นศาสนทายาท
ไตรปฎิ ก และรกั ษาสบื ทอดพระพทุ ธศาสนาของ ผ้สู ืบทอดพระพทุ ธศาสนาอย่างแทจ้ ริง
พระสมั มาสัมพุทธเจา้ ใหค้ งอยสู่ บื ไป ทส่ี �ำคัญ ปีการศกึ ษา พ.ศ. ๒๕๖๑ จะรับ
โครงการเรยี นตามหลกั สตู รนี้ ใชเ้ วลาศกึ ษา จ�ำนวนจ�ำกัด เพยี ง ๔๐ รูปเท่านน้ั
๓ ปี คือตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๖๑ - ๒๕๖๓
ทมี่ า : คอลมั นแ์ วดวงสงฆ์ โดย สมาน สุดโต หนังสือพมิ พ์ โพสต์ทเู ดย์


Click to View FlipBook Version