The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายวิชาช่องทางการเข้าสู่อาชีพ ระดับประถมศึกษา (อช11001)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ebookcha, 2020-07-19 22:59:18

รายวิชาช่องทางการเข้าสู่อาชีพ ระดับประถมศึกษา

รายวิชาช่องทางการเข้าสู่อาชีพ ระดับประถมศึกษา (อช11001)

หนังสือเรียนสาระการประกอบอาชีพ

รายวชิ าช่องทางการเข้าสู่อาชีพ
(อช11001)

ระดบั ประถมศึกษา

(ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ. 2560)

หลกั สูตรการศึกษานอกระบบระดบั การศึกษาข้นั พนื้ ฐาน
พทุ ธศักราช 2551

สานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศัย
สานักงานปลดั กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงศึกษาธิการ

หา้ มจาหน่าย
หนงั สือเรียนเลม่ น้ีจดั พิมพด์ ว้ ยเงินงบประมาณแผน่ ดินเพ่อื การศึกษาตลอดชีวติ สาหรับประชาชน

ลิขสิทธ์ิเป็นของ สานกั งาน กศน. สานกั งานปลดั กระทรวงศึกษาธิการ

หนังสือเรียนสาระการประกอบอาชีพ
รายวชิ าช่องทางการเข้าสู่อาชีพ (อช11001)
ระดบั ประถมศึกษา
ฉบบั ปรับปรุง พ.ศ. 2560

เอกสารทางวชิ าการหมายเลข 24/2555

คํานาํ

กระทรวงศึกษาธกิ ารไดป ระกาศใชห ลักสูตรการศกึ ษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน
พุทธศักราช 2551 เม่อื วนั ที่ 18 กันยายน พ.ศ.2551 แทนหลักเกณฑและวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรยี น
ตามหลกั สูตรการศกึ ษาขัน้ พน้ื ฐาน พุทธศกั ราช 2544 ซึ่งเปน หลักสตู รท่พี ัฒนาขน้ึ ตามหลักปรัชญา และ
ความเช่ือพ้ืนฐานในการจัดการศึกษานอกโรงเรยี นทีม่ กี ลมุ เปา หมายเปนผูใหญมีการเรียนรูและส่ังสม
ความรู และประสบการณอ ยา งตอเน่ือง

ในปงบประมาณ 2554 กระทรวงศึกษาธิการไดกําหนดแผนยุทธศาสตรในการขับเคล่ือน
นโยบายทางการศกึ ษาเพ่อื เพ่ิมศกั ยภาพและขดี ความสามารถในการแขงขันใหประชาชนไดมีอาชีพที่
สามารถสรางรายไดท ม่ี งั่ คั่งและมน่ั คง เปน บคุ ลากรทีม่ วี ินยั เปย มไปดว ยคุณธรรมและจริยธรรม และมี
จิตสํานึกรับผิดชอบตอตนเองและผูอ่ืน สํานักงาน กศน. จึงไดพิจารณาทบทวนหลักการ จุดหมาย
มาตรฐาน ผลการเรียนรทู ่ีคาดหวัง และเน้ือหาสาระ ทั้ง 5 กลุม สาระการเรียนรู ของหลกั สูตรการศึกษา
นอกระบบระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 ใหมีความสอดคลองตอบสนองนโยบาย
กระทรวงศกึ ษาธิการ ซงึ่ สงผลใหต องปรับปรุงหนังสือเรียน โดยการเพ่ิมและสอดแทรกเน้ือหาสาระ
เกี่ยวกับอาชีพ คุณธรรม จริยธรรม และการเตรียมพรอมเพ่ือเขาสูประชาคมอาเซียน ในรายวิชาท่ีมี
ความเก่ียวของสัมพันธกัน แตยังคงหลักการและวิธีการเดิมในการพัฒนาหนังสือท่ีใหผูเรียนศึกษา
คน ควาความรูดวยตนเอง ปฏิบตั กิ จิ กรรม ทําแบบฝก หดั เพือ่ ทดสอบความรูความเขาใจ มีการอภิปราย
แลกเปลี่ยนเรยี นรกู บั กลุม หรอื ศกึ ษาเพม่ิ เติมจากภูมปิ ญ ญาทอ งถิ่น แหลง การเรยี นรแู ละส่ืออื่น

การปรับปรุงหนังสอื เรียนในครั้งนี้ ไดรับความรวมมืออยางดียิ่งจากผูทรงคุณวุฒิในแตละ
สาขาวชิ า และผเู ก่ียวขอ งในการจดั การเรยี นการสอนท่ศี กึ ษาคน ควา รวบรวมขอมลู องคความรูจากสื่อ
ตาง ๆ มาเรียบเรียงเน้ือหาใหครบถวนสอดคลองกับมาตรฐาน ผลการเรียนรูที่คาดหวัง ตัวชี้วัดและ
กรอบเนอ้ื หาสาระของรายวชิ า สํานกั งาน กศน.ขอขอบคณุ ผูมสี ว นเกยี่ วขอ งทกุ ทานไว ณ โอกาสนี้ และ
หวังวาหนังสือเรียนชุดน้ีจะเปนประโยชนแกผูเรียน ครู ผูสอน และผูเก่ียวของในทุกระดับ หากมี
ขอเสนอแนะประการใด สาํ นักงาน กศน. ขอนอ มรบั ดวยความขอบคณุ ย่งิ

สารบัญ หนา

คํานํา 1
คําแนะนําการใชห นังสอื เรยี น 2
โครงสรางรายวชิ าชองทางการเขาสอู าชีพระดบั ประถมศึกษา 5
บทที่ 1 การงานอาชพี 39
50
เรอื่ งที่ 1 ความสาํ คัญและความจาํ เปน ในการประกอบอาชพี 52
เรอ่ื งท่ี 2 อาชพี ในชุมชน 53
เรื่องท่ี 3 การประกอบอาชีพในภมู ภิ าค 5 ทวปี 60
บทที่ 2 ชองทางการเขา สอู าชีพ 69
เร่ืองที่ 1 ความจาํ เปนในการมองเห็นชองทางการประกอบอาชีพ 72
เรอ่ื งท่ี 2 ความเปนไปไดใ นการเขา สอู าชีพ 87
เรื่องที่ 3 การลาํ ดบั อาชีพและเหตผุ ล 92
บทที่ 3 การตัดสนิ ใจเขา สูอาชพี 93
เรื่องท่ี 1 ตัดสินใจเขา สอู าชีพดว ยปรัชญาคิดเปน 96
เรื่องท่ี 2 การตัดสินใจเขา สอู าชพี ดวยการวิเคราะหศักยภาพ 97
บทท่ี 4 ความพรอมในการเขา สูอาชพี
เรื่องท่ี 1 ตรวจสอบความเปน ไปไดใ นการประกอบอาชีพ
ภาคผนวก
บรรณานกุ รม

คาํ แนะนําการใชหนงั สอื เรียน

หนังสือเรยี นสาระการประกอบอาชีพ รายวิชาชองทางการเขาสูอาชีพ ระดับประถมศึกษา
เปน หนังสือเรยี นทีจ่ ดั ทําขน้ึ สําหรบั ผเู รยี นท่ีเปน นกั ศกึ ษานอกระบบ

ในการศึกษาหนงั สอื เรียนสาระการประกอบอาชพี รายวชิ าชอ งทางการเขาสอู าชพี ผูเรียนควร
ปฏบิ ตั ิดงั นี้

1. ศึกษาโครงสรา งรายวชิ าใหเขาใจในหวั ขอ สาระสาํ คญั ผลการเรยี นรทู ีค่ าดหวัง และขอบขา ย
เนอื้ หา

2. ศกึ ษารายละเอียดเนือ้ หาของแตล ะบทอยางละเอยี ดและทาํ กจิ กรรมตามท่ี กําหนด แลวตรวจสอบ
กบั ผรู ู ครู

3. หนงั สอื เรียนเลมนีม้ ี 4 บท คือ
บทที่ 1 การงานอาชพี
บทท่ี 2 ชองทางการเขา สูอาชีพ
บทที่ 3 การตัดสนิ ใจเขา สอู าชีพ
บทที่ 4 ความพรอ มในการเขา สูอ าชพี

โครงสรา งรายวิชาชองทางการเขาสอู าชีพ
ระดับประถมศึกษา

สาระสาํ คญั

การมอี าชพี เปน ความภูมิใจของคนทุกคน ซึ่งเราสามารถเลือกประกอบอาชีพใหเหมาะสมกับ
ความถนดั ความชอบของตน และตรงกับความตอ งการของตลาด นอกจากน้ีควรเปนอาชีพท่ีตองไมมี
ผลกระทบใด ๆ ตอ ส่ิงแวดลอม ดังนัน้ การจะตัดสนิ ใจเลือกอาชพี ใดอาชีพหน่ึงจะตองศึกษา วิเคราะห
ขอมูลอาชพี อยางถอ งแท เพือ่ ทจ่ี ะตดั สนิ ใจเลอื กอาชีพใหม ีความเส่ียงนอ ยท่สี ดุ

ผลการเรยี นรูท่คี าดหวงั

1. อธิบายความหมาย ความสําคญั วิเคราะหลักษณะงาน ขอบขายการงานอาชีพใน ชุมชน
สงั คม ประเทศ และภมู ิภาค 5 ทวปี ไดแ ก ทวีปเอเชยี ทวปี ออสเตรเลยี ทวีปอเมริกา ทวีป
ยุโรป และทวีปแอฟริกา เพอ่ื การเขาสอู าชีพได

2. อธิบายเหตุปจ จัยความจาํ เปนในการตดั สินใจเลอื กอาชพี ท่เี หมาะสมกับศกั ยภาพ ของตนได
3. ยอมรบั และเห็นคุณคาในอาชพี ทต่ี ดั สนิ ใจเลือก
4. ปฏิบตั ิการวิเคราะหตดั สนิ ใจเลือกอาชีพได

ขอบขา ยเน้อื หา

บทที่ 1 การงานอาชพี
บทท่ี 2 ชองทางการเขา สูอาชีพ
บทท่ี 3 การตดั สินใจเขา สอู าชีพ
บทท่ี 4 ความพรอ มในการเขา สูอาชพี

สอื่ การเรียนรู

1. ใบงาน
2. หนงั สือเรยี น

1

บทที่ 1
การงานอาชีพ

สาระสาํ คญั

อาชีพตาง ๆ ใน 5 ภูมิภาคหลักของโลกนี้มีมากมาย แตอาจจะแบงกลุมได ดังนี้ งานอาชีพ
ดานเกษตรกรรม งานอาชีพดานอุตสาหกรรม งานอาชีพดานพาณิชยกรรม งานอาชีพดานความคิด
สรา งสรรค งานอาชพี ดานอาํ นวยการและอาชพี เฉพาะทาง ซึง่ แตล ะอาชีพสามารถแบงเปน อาชีพยอ ย ๆ
ไดอีกมาก ดังนัน้ ควรศึกษาวเิ คราะหข อบขายอาชพี กระบวนการทํางาน การบริหารจดั การอาชีพใหเ ขาใจ
เพื่อการมองเห็นชอ งทางในการเลือกอาชีพไดอยา งเหมาะสมกับตนเอง ชมุ ชน สงั คม

ตวั ชวี้ ดั

1. อธิบายความสาํ คัญและความจาํ เปนในการประกอบอาชพี
2. อธบิ าย วิเคราะห ลักษณะขอบขา ยกระบวนการผลิตงานอาชีพในชุมชน สังคม ประเทศ

และภมู ิภาค 5 ทวปี ไดแก ทวีปเอเชีย ทวปี ออสเตรเลีย ทวปี อเมริกา ทวีปยโุ รป และทวีป
แอฟริกา
3. อธิบายการจัดการอาชพี ในชุมชน สังคม ประเทศ และภูมิภาค 5 ทวีป ไดแก ทวีปเอเชีย
ทวีปออสเตรเลยี ทวปี อเมริกา ทวปี ยโุ รป และทวปี แอฟรกิ า
4. อธบิ ายคณุ ธรรม จริยธรรม ในการทํางานอาชพี
5. อธิบายการอนรุ ักษพ ลงั งานและสงิ่ แวดลอ มในการทํางานอาชีพในชุมชน สังคม ประเทศ
และภูมภิ าค 5 ทวปี ไดแ ก ทวปี เอเชีย ทวปี ออสเตรเลีย ทวีปอเมรกิ า ทวีปยุโรป และทวีป
แอฟรกิ า

ขอบขายเนือ้ หา

เรื่องท่ี 1 ความสาํ คญั และความจาํ เปนในการประกอบอาชีพ
เรื่องท่ี 2 อาชพี ในชุมชน
เร่ืองท่ี 3 การประกอบอาชพี ในภมู ิภาค 5 ทวปี

ส่อื การเรียนรู

1. ใบงาน
2. หนังสอื เรียน

2

ขน้ั ตอนการเรยี นรู กจิ กรรม การวดั สือ่ การเรยี นรู
และประเมินผล ใบงานที่ 1
ลกั ษณะบง ชี้
ความสําเร็จของผูเรียน 1. ผูเรียนและครรู วมกัน 1. สังเกตความสนใจ ใบงานท่ี 2
อธบิ ายงานอาชพี
ในชุมชน อภิปรายความสาํ คญั และ ความเขา ใจจากการทาํ

ระบุอาชพี ที่ทาํ ไดใน ความจาํ เปนของการมี ใบงานท่ี 1
ชุมชนอยา งนอ ย 10
อาชีพ อาชีพ

2. ครูอบรมใหผูเรียนศกึ ษา

เรอื่ งงานอาชีพในชมุ ชนใน

หนังสอื เรยี นเพอื่ เตรียม

เรยี นรูตอ ไป

3. สาํ รวจอาชพี ในชุมชน 2. พิจารณาจากผล

ประเทศ และภูมภิ าค 5 การสาํ รวจจาก

ทวปี ไดแ กท วปี เอเชยี ใบงานที่ 2

ทวีปออสเตรเลีย ทวปี

อเมริกา ทวีปยุโรป และ

ทวปี แอฟรกิ า

เร่ืองที่ 1 ความสําคญั และความจําเปน ในการประกอบอาชีพ

อาชีพ หมายถึง การประกอบการท่มี รี ายไดตอบแทนโดยใชแรงงาน ความรู ทักษะ อุปกรณ
เครอ่ื งมอื สถานที่ วิธีการ ตอ งเปน อาชีพสจุ รติ และไมมีผลเสียตอ ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

มนุษยเราจาํ เปน ตองมปี จ จยั ตาง ๆ เพื่อตองการดํารงชวี ติ เชน มที ี่อยูอ าศัย มีอาหารรับประทาน
มเี คร่ืองนงุ หม มยี ารักษาโรคตาง ๆ ซง่ึ ทงั้ 4 อยางน้จี ะเปน พ้นื ฐานของการดาํ รงชีวติ ทว่ั ไป แตบางคนก็
อาจมคี วามจําเปน อืน่ ๆ อีก เชน รถยนต โทรศัพทมือถือ ขึ้นอยูกับความจําเปนในการประกอบอาชีพ
หรือความจําเปน ตอการดํารงชวี ติ ประจาํ วนั การจะมปี จ จัยตา ง ๆ เหลา น้ขี น้ึ อยกู บั ฐานะทางการเงิน ซึ่งก็
คือความสามารถในการหารายไดของแตละบคุ คล

3

ใบงานท่ี 1

อภิปรายความสําคัญและความจําเปน ของการมอี าชีพ
ใหผูเ รยี นและครรู วมกนั พูดคยุ ตามประเดน็ ทกี่ าํ หนดใหบนฐานความรูแ ละประสบการณของผเู รยี น
และชวยกนั สรปุ โดยผูเ รียนแตละคนบนั ทกึ ลงในแบบบนั ทกึ ตามความเขาใจของตนเอง

แบบบนั ทึก

ประเด็นอภิปราย
คนเราตอ งมีอาชพี จรงิ หรอื จําเปน อยางไร ใหเหตผุ ลประกอบ

ผรู ว มอภปิ ราย

……………………………………………………………………………………………………...
……………………………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………….......
……………………………………………………………………………………………………...

4

สรุปความคิดเหน็

……………………………………………………………………………………………………...
……………………………………………………………………………………………………...
……………………………………………………………………………………………………...
……………………………………………………………………………………………………...
……………………………………………………………………………………………………...
……………………………………………………………………………………………………...
……………………………………………………………………………………………………...
……………………………………………………………………………………………………...
……………………………………………………………………………………………………...
……………………………………………………………………………………………………...

ลงช่ือ………………………………………………................ ครูประจาํ กลุม
ศรช.………………………………………………………….

5

เรอ่ื งที่ 2 อาชีพในชุมชน

การเปล่ียนแปลงทางดานสังคมและสิ่งแวดลอ ม ความเจรญิ กาวหนาทางดานเทคโนโลยีมผี ล
ตอชีวิตความเปนอยู และโดยเฉพาะการประกอบอาชีพของคนในหมูบาน ไดแก การเกิดอาชีพใหม
หรือการอนุรกั ษอาชีพเดิมใหอยูใ นทองถ่ิน ดังน้ี

1. การสรางอาชพี จากชองวา งระหวางอาชีพ โดยอาศัยชองวางระหวางอาชีพ 2 อาชีพ เชน
อาชีพขยายลําไมไ ผ โดยซ้อื จากแหลง ปลูกไปขายใหกบั แหลง ทาํ เคร่ืองจักสาน

2. การสรา งอาชพี จากผลของการประกอบอาชีพ โดยอาศัยผลพลอยไดจากอาชีพเดิม เชน
ทําภาชนะใสของจากทางมะพราว จากตน มะพรา วทปี่ ลูกเปนอาชีพอยูแลว

3. การสรางอาชพี จากทรัพยากรทอ งถน่ิ เปน การสรางอาชพี ใหม โดยการนําทรพั ยากรทีม่ อี ยู
ในทองถนิ่ มาใชใ หเปนประโยชน เชน ทําอิฐจากดินเหนยี วทมี่ อี ยูในทอ งถนิ่

4. การสรา งอาชพี จากความตอ งการของตลาด เปนการสรางอาชพี ใหม โดยอาศัยขอมูลทาง
การตลาด เชน เล้ยี งกบเพราะตลาดมีความตอ งการมาก หรือปลกู ผกั ปลอดสารพิษ

5. การสรา งอาชพี ท่ขี าดแคลนในทอ งถน่ิ เปน การสรา งอาชพี ใหม โดยอาศยั ขอ มลู ในทองถิน่
เชน อาชพี รบั ซอมมอเตอรไ ซคเ กดิ ข้ึนเพราะชางในหมบู า นขาดแคลน

6. ประกอบอาชีพตามบรรพบุรุษ พอแม ปูยา ตายาย ทําอาชีพอะไร รุนลูก รุนหลาน ก็จะ
ดาํ เนนิ การตอ เชน อาชีพขายกว ยเตี๋ยว ถา มชี อ่ื เสียงกจ็ ะขายจนกระท่ังรุนลูก รนุ หลาน

7. ประกอบอาชีพตามสภาพภมู ปิ ระเทศ ซ่ึงในประเทศไทยประกอบดวยสภาพพื้นท่ี ท่ีเปน
ภูเขา ท่ีราบลุม ที่ดอน ดังนั้นการเพาะปลูกข้ึนอยูกับสภาพพ้ืนท่ีดวย เชน ที่ราบลุม
สามารถทาํ นาได อยูใกลทะเลประกอบอาชีพดานประมง หรือบางทําเลสามารถจัดเปน
แหลงทองเท่ยี วได

8. ประกอบอาชีพตามนโยบายของรัฐบาลหรือของผูประกอบการเอง ซ่ึงในพ้ืนท่ีไมเคยทํา
มากอน เชน นํายางพาราไปปลกู ทางภาคอสี าน แตเ ดมิ ยางพาราจะปลกู กนั ทางภาคใตเ ปน
สว นใหญ

อาชีพในโลกน้มี ีหลากหลาย และคนเราตองมีอาชีพ เพื่อใหมีรายไดเล้ียงตนเอง ครอบครัว
การมีอาชีพของตนเองตองอาศัยปจจัยหลายอยาง เชน ความรูความสามารถ เงินที่ใชในการลงทุน
มสี ถานที่ มตี ลาดรองรบั ตวั อยา ง งานบาน งานผา และเครื่องแตง กาย

งานบา น เปนอาชีพท่เี ก่ยี วกบั งานบาน เชน รับจา งซกั – รีดเสอื้ ผา อาหารปน โต ฯลฯ

6

งานผาและเครื่องแตงกาย
งานผาและเครื่องแตงกาย สิ่งสําคัญ คือ ผาสําหรับใชเปนวัสดุท่ีสําคัญในการนําผามาทํา

เครื่องนงุ หม แลว ยงั มปี ระโยชนใชสอยอยา งอนื่ อีก เชน ผาปโู ตะ หมอนองิ ท่ีนอน ผา มาน ดังนน้ั จงึ ควร
มคี วามรูความเขา ใจเก่ียวกบั ผา นอกจากน้ีอาจจะมีงานบริการทเี่ ก่ยี วขอ งตา ง ๆ เชน งานซักรีด งานรับ
ปะชุนเส้อื ผา

ผาทน่ี ยิ มเลอื กใช
ชนิดของผา ทเ่ี รารูจกั กนั แพรห ลาย ไดแ ก ผาฝาย ผา ลนิ นิ ผา ไหม ผา ขนสัตว และผาท่ีทําจาก

เสนใยสงั เคราะห ซ่งึ จะแบงไดเปน 2 ประเภท คือ
1. เสนใยธรรมชาติ ไดแก
1.1 เสนใยทไ่ี ดมาจากสัตว เชน แกะ กระตา ย ไหม
1.2 เสนใยท่ีไดม ากจากพชื เชน ฝาย ลินิน ปอ ปา น และใยสับปะรด
1.3 เสน ใยที่ไดม าจากแร เชน ใยหิน
2. เสนใยสงั เคราะห เชน ไนลอ น เทโตรอน ใยแกว

อาชีพท่ีเก่ียวขอ งกบั งานผา และเครอ่ื งแตง กาย
1. งานตัดเย็บเส้ือผา เชน ตดั เสื้อ ตดั กระโปรง ตัดกางเกง
2. งานตัดเย็บเครื่องใชต าง ๆ เชน ผามาน ปลอกหมอน ผา ปทู ี่นอน
3. อาชพี ท่เี ก่ียวกับการทอผาเชน ทอผาไหมผาฝาย โดยทอเปน ช้นิ แลวนําไปตัดเยบ็ เปนเสือ้ ผา
หรอื ของใชตา ง ๆ นอกจากนีอ้ าจมกี ารทอเปนของใช เชน ทอผา ขาวมา ผาปโู ตะผา ปทู น่ี อน
4. อาชีพซอมแซมและตกแตงดัดแปลงเสื้อผา เปนอาชีพบริการรับจางซอมแซม เส้ือผาที่
ชํารุด เชน การปะ การชุน การกุน การดาม เปนอาชีพหนึ่งท่ีทํารายไดดี ลงทุนไมสูงนัก
มคี วามรูความสามารถในการปะชุน กุน ดาม ตามที่ลกู คาตอ งการ
5. อาชีพตกแตงดดั แปลงเส้ือผาเครือ่ งแตง กาย เปนการตกแตง ดัดแปลงใหท ันสมยั หรอื ตาม
ตองการใหด สู วยงามกวาของเดมิ หรอื ตกแตง ดดั แปลงเพอื่ ใชออกงานไดหลายแหง ทาํ ให
ประหยัดคาใชจาย
วัตถุประสงคในการดดั แปลง มีดงั น้ี
5.1 ตกแตงเพ่ิมเติมหรือปด บงั รอยชํารุด โดยใชลกู ไม กระดุม ลูกปด สตกิ๊ เกอร มาติด
เพิม่ เติม เชน รปู ดอกไม รูปหวั ใจ
5.2 ดดั แปลงเสอื้ กระโปรง กางเกง เชน ทาํ ใหสน้ั ลง ยาวขน้ึ

7

5.3 ดดั แปลงใหมทัง้ หมด เชน นําชดุ ของคนอวนมาดัดแปลงสาํ หรับคนผอมกวา
การจดั การงานอาชพี

1. การเลอื กทําเลทต่ี ัง้ ถา เปนอาชพี บริการเชน รานตดั เสอื้ ผา หรอื รับตกแตงดัดแปลงก็ควรตองอยู
ในยานชมุ ชนการคมนาคมเดนิ ทางสะดวกแตถ าเปนอาชีพทอผา ก็อาจทอที่บานได แลว นาํ ไปสง
ยังรา นคา อกี ตอ หน่ึง

2. การออกแบบเพื่อแนะนําลูกคา การมีความรูเกี่ยวกับศิลปะการออกแบบดวยจะชวยให
ลูกคาพอใจยิ่งขึ้น นอกจากน้ันควรมีความรูเก่ียวกับการออกแบบเส้ือผาใสไปงานใน
ลักษณะตาง ๆ ความนยิ มของวัยตา ง ๆ รปู รางทรวดทรงของผูสวมใส ชนิดของผาทั้งหมด
จะตอ งใหเ หมาะสมกับการออกแบบ โดยการออกแบบลงในกระดาษกอ น แลวจึงไปวาง
ทาบกบั ผาทีจ่ ะใชต ดั

3. การตัดเย็บ เปนการตัดเย็บตามแบบท่ีกําหนด ซึ่งตองอาศัยทักษะในการตัดเย็บเสื้อผาที่
ออกแบบจงึ ดูเรียบรอย สวยงาม

4. การเก็บงานและการตกแตง เม่ือเย็บเปนตัวแลวก็มีการเก็บงานใหเรียบรอย และตกแตงให
สวยงาม เชน การทาํ โบวผ ูก

5. การรีดผา ตองศึกษาลักษณะของผากับความแรงของเตารีดไฟฟา สวนใหญจะพรมนํ้า
กอ นรดี เส้ือผาเพอ่ื ใหด สู วยงาม

6. การหาลกู คา เปน การหากลุมเปาหมายดวยการประชาสัมพันธ จัดโปรโมชั่นพิเศษ และ
การบอกตอของลูกคา คนอนื่ ๆ

อาชพี การทอผา งานออกแบบ มคี วามสาํ คญั การกําหนดสีท่ีใช การนาํ ไปใช ซึ่งเปนความรู
ของภมู ิปญ ญามากอ น แตปจจุบันมีการพยายามทจี่ ะนาํ ความรสู มยั ใหมเ ขาไปดดั แปลง เชน การเลอื กลาย
การใชสีทย่ี อ ม พยายามใชสีเคมีบาง เพื่อมใิ หผาสตี กจะทําใหผาเกาชา

สภาพปญ หา
1. สภาพปญหาท่พี บผปู ระกอบการขาดคณุ ธรรม จรยิ ธรรม เชน สินคาเสร็จไมตรงตามนัด
ไมมีความรับผิดชอบตอคุณภาพสินคา เชน เย็บไมเรียบรอย ไมตรงกับแบบที่ตองการ
ไมอ ดทนตอ การตําหนขิ องลูกคา ควรใหค วามสาํ คญั ตอลกู คา
2. ผูป ระกอบอาชีพขาดทักษะในการออกแบบงานผา เชน การออกแบบงานตัดเย็บเส้ือผา
การออกแบบลวดลายเกยี่ วกบั การทอผา
3. การบรกิ าร ขาดการมมี นษุ ยสัมพนั ธต อ ลูกคา

8

การอนรุ ักษพ ลงั งานและสิ่งแวดลอ ม
1. เศษผาท่ีเหลืออาจดัดแปลงเปนผลิตภัณฑอื่น ๆ ท่ีเหมาะสมกับขนาดของเศษผา เชน
งานประดษิ ฐ การทาํ ดอกไม เยบ็ เปน ผา หมโดยเอาเศษผา มาตอกัน หรือทําพรมเช็ดเทา
2. สที ีใ่ ชใ นการยอมผา ในปจจุบันมกี ารนาํ สวี ิทยาศาสตรมาใช เนอ่ื งจากคงทนกวา สธี รรมชาติ
ดังนน้ั ควรเนนการใชสธี รรมชาติ เพือ่ ไมใ หเ ปน อนั ตรายตอ สิ่งแวดลอม

อาหารและโภชนาการ
ความหมายของอาหาร

อาหาร หมายถงึ ส่ิงทีค่ นรบั ประทานหรอื กนิ เขา ไปแลว มีผลทําใหรา งกายเจรญิ เติบโต แข็งแรง
และทาํ ใหร างกายดําเนนิ ชวี ิตอยไู ด ซ่ึงอาหารน้ันรวมไปถงึ นํา้ ดว ย

ความสําคัญของอาหาร
1. ทําใหรางกายมีการเจริญเติบโต เปนส่ิงที่สําคัญสําหรับการเจริญเติบโตของเด็ก หาก
รบั ประทานอาหารไมเพยี งพอกบั ความตอ งการของรางกาย อาจทาํ ใหเกดิ โรคตาง ๆ ได และ
มสี ภาพรางกายไมส มบรู ณ
2. ทําใหรางกายมีภูมิตานทานโรค เมื่อไดรับอาหารที่เหมาะสมตามหลักโภชนาการแลว
รางกายสามารถทีจ่ ะตอสูกบั เชือ้ โรคตาง ๆ ได
3. มอี ายยุ นื เมือ่ รบั ประทานอาหารครบถวน รา งกายแข็งแรง ทําใหสุขภาพดี และมีผลทําให
อายยุ ืนยาว

อาหารหลัก 5 หมู

9

หมูท่ี 1 ไดแก อาหารประเภทเน้ือสัตวตาง ๆ ไข ปลา นม ถ่ัวเมล็ดแหง เปนแหลงของ
สารอาหารประเภทโปรตนี

หมูท่ี 2 ไดแ ก อาหารประเภทขา ว แปง นาํ้ ตาล เผอื ก มนั ขา วโพด เปน แหลง ของสารอาหาร
ประเภทคารโบไฮเดรต

หมูท ี่ 3 ไดแก อาหารประเภทผักใบเขียว พืชผักตาง ๆ เปนแหลงของสารอาหาร ประเภท
แรธ าตตุ าง ๆ และวติ ามิน

หมูที่ 4 ไดแก อาหารประเภทผลไมตาง ๆ เปนแหลง ของสารอาหารประเภท คารโ บไฮเดรต
เพราะมนี าํ้ ตาลมากจึงทาํ ใหไดพลงั งานมากกวาผัก และเปน แหลงของแรธ าตุ และวิตามินตาง ๆ

หมูที่ 5 ไดแก อาหารประเภทไขมันทไ่ี ดจากสตั วแ ละพืช เชน น้าํ มนั หมู นํา้ มันจากถัว่ เหลือง
นํา้ มนั งา น้าํ มนั รําขา ว เปน แหลง ของสารอาหารประเภทไขมัน

อาหารหลกั 5 หมู ทกี่ าํ หนดขนึ้ อยูกบั ผูบรโิ ภค ควรรับประทานใหค รบประจําทุกวัน และได
สัดสว นที่เหมาะสมกบั ความตอ งการของรา งกาย เพ่ือรางกายมีสขุ ภาพท่ดี ี ไมเปน โรคขาดสารอาหาร

การเลอื ก เตรยี ม ประกอบ และการปรุงอาหาร
การเลือกซอ้ื อาหารสด อาหารแหง ตองมหี ลกั เกณฑแ ละวธิ ีการถกู ตอ ง เพอ่ื จะไดอ าหารทีม่ ที งั้

คุณภาพและปริมาณคมุ คา กับเงนิ ที่ตอ งจายไป ดังนี้

10

1. ซอ้ื อาหารเพอื่ คุณภาพของอาหาร หลักเกณฑและเปา หมายสําคญั ของการเลอื กซือ้ อาหาร
ไมใชเพื่อใหไดอาหารปริมาณมากที่สุด หรือจายเงินนอยที่สุด แตตองคํานึงถึงเพอ่ื ใหได
อาหารมปี ระโยชนส งู สดุ ทัง้ ในดานคุณภาพอาหารและปริมาณ

2. ซือ้ อาหารจากแหลงผลติ ขายสง อาหารทกุ ชนดิ ท่ีจําหนา ยตามแหลง ผลติ หรือขายสง จะมี
ราคาตํ่ากวาแหลงทซี่ อื้ มาขายตอหรือขายปลกี

3. การซือ้ อาหารตามฤดูกาล จะไดร าคาถูกและคณุ ภาพสงู การซอื้ ตองเปลี่ยนแปลงและเนน
การใชผลติ ผลตามฤดกู าล

4. รูจ ักใชอ าหารแทนกันได หากไมมผี ลผลติ ทต่ี องการกใ็ หเ ลือกซอ้ื สง่ิ ที่ทดแทนกันได โดย
ไมท าํ ใหผ ลผลติ มีคุณภาพต่าํ ลง

5. การเลอื กซื้ออาหาร ควรมีความรูเก่ยี วกับคณุ ภาพอาหาร จะไดอ าหารท่มี คี ุณภาพสงู คมุ คา
กบั เงินทีเ่ สียไป

หลกั การในการเตรยี มอาหาร ประกอบ และปรุงอาหาร

หลกั ในการปรงุ อาหาร ยดึ หลกั 3 ส ดงั น้ี
1. สงวนคุณคา ดว ยวิธีการปรุงทีช่ ว ยสงวนคณุ คาของอาหารใหผ ูบรโิ ภคไดร บั ประโยชนเต็มที่
2. สุกเสมอ คือ ใชค วามรอนในการปรงุ อาหารเพ่อื ทาํ ลายเชอ้ื โรค และสารเคมที ่ีอาจปนเปอ นตดิ

มากบั อาหาร
3. สะอาด ควรคํานงึ ถงึ ความปลอดภยั ของอาหาร และการปรุงอาหาร

11

การเก็บถนอมอาหาร
การถนอมอาหาร เปน วธิ ีการเก็บอาหารใหมีอายยุ ืนนาน สามารถนํามารับประทานได โดยมี

หลายวธิ ี คือ
1. การตากแหง เปน วธิ ที างธรรมชาตโิ ดยใชแสงแดดทาํ ใหอ าหารแหง อาหารที่นํามาตากแหง
ตอ งเปนอาหารท่ีมีคณุ ภาพและเปน อาหารสด
2. การรมควัน เปน การถนอมอาหารท่ีแตกตา งจากการทําใหอ าหารแหงดวยความรอ น เพราะ
นอกจากเปนการทําใหอ าหารแหงแลวยงั มีควันของไมช ว ยรักษาอาหารใหเก็บไวไดน าน
3. การดอง การดองผกั ผลไม มหี ลายรปู แบบ เชน การดองเคม็ ดองเปรย้ี ว ดองหวาน เปน ตน
4. การทําเค็ม เปนวิธกี ารถนอมอาหารโดยใชเ กลอื เปน วตั ถกุ ันเสยี สําหรับเก็บรกั ษาอาหาร
ใหอ ยูไ ดนาน
5. การใชนํา้ ตาล เปนวธิ ีการใชความหวานของนํา้ ตาลเก็บรกั ษาอาหารใหอยไู ดนาน เชน การเชื่อม
การกวน การฉาบ การแชอ ิ่ม

การเกบ็ อาหารสดและอาหารแหง
1. การเก็บเน้ือสตั ว มวี ิธกี ารเก็บ ดงั น้ี
1.1 เนอ้ื หมู เนอื้ ววั ควรลางแลว เกบ็ ไวในตูเย็นกอนเก็บตอ งเอาออกจากวสั ดทุ ่ีหอหุมอยู
ลา งแลว ซับใหแหง จงึ ใสกลองหรอื ถงุ พลาสตกิ ปดใหแนน แชในชองเย็นจดั
1.2 เน้อื สตั วจ ําพวกปลา เปด ไก อาจใชว ธิ ีรวน ตม นึ่ง ยาง กไ็ ด จะเกบ็ ไดนานขึน้
2. การเก็บผัก ถายงั ไมนาํ ผักมาประกอบอาหาร ควรพรมนาํ้ หอพนั ดว ยใบตอง เก็บไวใ นท่รี ม
หรือบรรจุถงุ พลาสตกิ เก็บไวใ นตเู ย็นชอ งธรรมดา
3. การเก็บไข มวี ธิ กี ารเก็บดงั นี้
3.1 เลอื กไขท ใ่ี หมแ ละสะอาด ไมค วรเกบ็ ไขไวหลายวัน
3.2 ไมควรลางไขกอ นเก็บ นอกจากสกปรก เพราะเชื้อโรคจะผา นเขาไปไดง า ย
3.3 ควรเกบ็ ไขแ ยกใสชอ งที่เก็บไขใ นตเู ย็น โดยวางสว นปา นข้นึ จะทาํ ใหเ ก็บไดน าน

12

อาชีพทเี่ กยี่ วขอ งกับอาหารและโภชนาการ
1. อาชีพเปด รานขายอาหาร เชน ขายขาวแกง ขายอาหารตามสั่ง ขายกวยเตี๋ยว ขายขนมจีน
บางรานอาจจะขายเฉพาะอยางหรือหลายอยางอยูในรา นเดยี วกนั ขนาดของรานขึ้นอยกู ับ
การลงทุน และจํานวนลูกคา ดงั นน้ั การตั้งรานอาหาร จะตองเลือกทําเล สํารวจลักษณะ
ของลูกคา เชน รายไดของลูกคา ความชอบ ชนิดและรสชาติของอาหาร การเปด
รา นอาหารตอ งควบคไู ปกบั การขาย เครื่องดื่ม
2. อาชพี ขายเครื่องดมื่ รา นประเภทนี้จะเนนเครอ่ื งด่ืมเปน หลัก ถา เครอื่ งด่มื ขนาดเล็กอาจจะ
ขายเฉพาะเครอื่ งดม่ื ประเภทกาแฟ ซึ่งมหี ลากหลายชนดิ อาจขายตามขางทางหรอื หา งกไ็ ด
ถาขายเครือ่ งด่มื ที่มีแอลกอฮอลก็อาจจะมอี าหารประเภทของวา งใหแ กลม ดวย สวนใหญ
ก็จะมีดนตรี และอาจมีสถานทีส่ ําหรบั เตน ราํ ได ทเี่ รยี กกันวา Pub (ผบั )
3. อาชพี ขายขนม อาจมบี างคนท่ีตอ งการเปดรา นขายขนมอยา งเดยี วเชน ขายขนมที่มคี วามเยน็
ขายขนมประเภทไข ขายขนมไทย เชน บวั ลอยเผอื ก เตา สว น ขายประเภทเบเกอรี่ ซึ่งอาจ
ควบกบั การขายเคร่ืองดืม่ ดวย
4. อาชพี ขายอาหารปน โต อาชพี น้ีไมจาํ เปนตอ งเปด รานขายอาหาร แตใชวิธีประชาสัมพันธ
ใหทราบวามีธุรกิจประเภทน้ีเพื่อใหลูกคาสั่งจอง ราคาและชนิดของอาหารขึ้นอยูกับ
การตกลงกนั บางคนรับอาหารเฉพาะวนั ทาํ งาน และสามารถเลือกอาหารได อาชีพน้ตี อ ง
อาศยั รสชาติของอาหารเปน หลัก การสง ตรงตอเวลา การเลือกสถานที่ก็ไมจําเปนอาจจะ
ใชส ถานท่ใี นบา นได
5. อาชพี ถนอมอาหาร การถนอมอาหารเหมือนการเก็บอาหารใหมีอายุยืนคงทน เชน การตากแหง
การรมควัน การดอง การทาํ เค็ม การใชน ้าํ ตาล อาชพี นี้ขึ้นอยูก ับวัสดุ ทรพั ยากรที่มีอยูใน
ทอ งถิ่น เชน อยูใกลทะเลก็อาจจะทําปลาเคม็ ปลาแดดเดยี ว หอยดอง หรือในทองถิ่นท่ีมี
พชื ผกั มากก็จะถนอมผัก โดยการดองผัก หรือมผี ลไมม ากกใ็ ชวธิ ีเชือ่ ม เชน ทํามะตมู เชือ่ ม
6. อาชพี บรกิ ารจดั เล้ียงเปน อาชีพที่มบี ริการจดั เล้ียงอาหารนอกสถานท่ี เชน จัดแบบบฟุ เฟต 
โตะจนี รายละเอยี ดเกย่ี วกบั ราคาและชนิดของอาหารข้นึ อยกู บั การตกลง

13

การจดั การงานอาชพี
1. ทําเลที่ตั้ง อาชีพที่เกี่ยวกับอาหาร เชน การเปดรานขายอาหาร ขายเคร่ืองดื่ม ขายขนม
นอกจากรสชาตอิ าหารยังจะตองอาศัยทําเลที่ต้ังราน จึงจําเปนตองเลือกสถานที่ที่อยูใน
ยานชุมชน
2. การจัดสถานท่ี ควรออกแบบรา นใหด ูโลง จดั โตะและเกา อ้ี รวมทั้งของใชภ ายในรานตอง
มีความสะอาดและถกู อนามัย
3. ควรเลอื กซอ้ื อาหารท่ีมคี ณุ ภาพ มคี วามสดใหม ถาเปน อาหารแหงควรหลีกเลยี่ งทเ่ี ก็บไวน าน
ตรวจสอบวามีเชอ้ื ราหรือไมม สี ารอนื่ ปนเปอ นหรอื ไม
4. การปรงุ อาหาร ควรคํานงึ ถงึ คณุ คาอาหาร เชน การใชความรอน การรักษาความสะอาด
การใชผงชูรส การคงคณุ คา ของอาหารทั้ง 5 หมู การจัดอาหารใหเหมาะสมกับวัย เชน
วัยผูใ หญเปนวยั ทตี่ องการเสรมิ สรางเซลลต า งๆ เพอ่ื รกั ษาสมรรถภาพการทาํ งานในรา งกาย
ใหค งที่ จึงควรไดร บั อาหารทัง้ 5 หมู ในสัดสว นทเ่ี หมาะสม
5. การบริการในธุรกิจขายอาหาร มีความสําคัญย่ิง ผูบริการตองใสใจกับการมีมารยาทใน
การบริการ มีความรูเกยี่ วกับการเสริ ฟอาหารและเครื่องดม่ื
6. การมีคุณธรรม จริยธรรม ตอลูกคา เชน การคิดราคาอาหารท่ีเปนธรรม รับผิดชอบใน
กรณที ่อี าหารตอ งมคี วามสดหรือมคี ุณคาทางอาหาร

กจิ วตั รประจําวนั ของอาชพี ขายอาหารอาจไมเหมอื นอาชีพอนื่ ๆ เชน ต่นื เชา ไปซื้อของทีต่ ลาด
แลว เตรียมอาหารเพือ่ ใหทันขาย ชวงท่ีเหน่ือยในการบริการลูกคาก็คือชวงเชา ชวงกลางวัน ชวงเย็น
ซงึ่ เปนชว งที่ลกู คา สว นใหญม ารับประทานอาหาร ชวงเวลาอนื่ ๆ อาจจะเปน งานเบา เชน ชวงท่ีเตรียม
อาหาร มกี ารหัน่ ผกั หัน่ เนื้อ

สภาพปญ หา
1. ขาดการบริการที่ดี ไมมีมนุษยสัมพันธ ไมสนใจลูกคาเม่ือมาใชบริการ ดังนั้น จึงควร
ปรับปรุงดานการบริการที่ดีตอ ลูกคา เชน เมื่อลูกคาเขารานควรยิ้มแยม แจมใส พรอม
จดั หาโตะใหน ั่ง บริการตามลําดับทล่ี ูกคาเขา มาใชบรกิ าร
2. เจาของรา นมักขาดทนุ เนอื่ งจากการขายอาหารสามารถถูกคดโกงไดห ลายทาง ถา เจา ของ
หรือผูไวใจไดไมไดดูแลอยางใกลชิด เชน คนเก็บเงินไมซื่อสัตย ลูกจางมักหยิบฉวย
ส่งิ ของไปใชใ นบาน
3. คุณภาพสนิ คา ไมคงที่ เชน ไมส กุ ไมส ะอาด เสื่อมคณุ ภาพ ทําใหลกู คาไมมาใชบริการ

14

การอนรุ ักษพลงั งานและสงิ่ แวดลอม

การอนรุ ักษพ ลงั งานและสง่ิ แวดลอมในครอบครวั ทําได ดงั นี้
1. การเลอื กซื้อเครือ่ งใชไ ฟฟา มาใชประกอบอาหาร เชน กระทะไฟฟา ควรเปนเครื่องใชไฟฟา

ท่รี ะบุฉลากประหยดั ไฟ
2. เม่ือเปดกอ กน้าํ ประปาควรใชน ํ้าในปริมาณพอเพียง แลว ปด กอ กนํ้าทันที อยาปลอยใหนํ้า

ไหลจนลนภาชนะ
3. นา้ํ ใชแลว เชน น้ําซาวขา ว น้ําลา งผัก ผลไม น้ําซกั ผา ครง้ั สุดทายก็นาํ ไปรดตนไมไ ด
4. ถุงขยะในบา นตอ งมีฝาปดใหมิดชิด เพราะเปนจุดรวมของสัตวที่เปนพาหะนําโรค เชน

หนู แมลงสาบ

งานเกษตร
งานเกษตรหมายถึงงานท่ีเกย่ี วกับการปลูกพชื เลีย้ งสัตว และอาชีพที่เก่ียวของตาม กระบวนการผลิต

และการจดั การผลผลิต มีการใชเทคโนโลยีเพื่อการเพิ่มผลผลิต ปลูกฝงความรับผิดชอบ ขยัน อดทน
การอนรุ กั ษพ ลงั งานและสิ่งแวดลอมงานเกษตรสว นใหญเก่ียวของกับการปลูกพืช จะเห็นวาในอดีตเรามี
พืชหลายชนิดทสี่ ามารถสงออกไปขายตา งประเทศได เชน ขา ว ยางพารา ขาวโพด มันสําปะหลัง สวน
การเลี้ยงสัตวและการประมงยังนอย โดยเฉพาะการประมงตองอาศัยสภาพพื้นที่ที่ติดชายทะเล
การประกอบอาชพี เกษตรจะกา วหนา อยางไร ตอ งเขา ใจพื้นฐานเกษตรโดยเฉพาะเรอื่ งดนิ และปุยทเี่ ปน
สิ่งสาํ คญั ในการเจริญเติบโตของพืช

15

ดนิ
1. ความหมายของดิน
ดินเกดิ จากการผุพังสลายตวั ของหนิ และแรผ สมกบั ซากพืชซากสัตวท ่ีตายทับถม เปน เวลา

หลายลานป หลังจากเปดปา ใหม ๆ ดนิ ยงั อุดมสมบูรณ ปลกู พืชลงไปกจ็ ะงามและใหผ ลผลติ สงู แตถา
ปลกู พืชติดตอ กันหลาย ๆ ป ไมมีการปรบั ปรงุ ดนิ ดินจะเสือ่ มโทรมเพราะอินทรียวัตถแุ ละธาตอุ าหาร
พชื เปรยี บเสมอื นรากฐานของชวี ติ เกษตรกร หรอื กลาวอีกนยั หนง่ึ คุณภาพของดนิ เทากบั คณุ ภาพชวี ิตของ
เกษตรกร

2. สวนประกอบดนิ
(1) อนนิ ทรยี วัตถุ เปนสว นท่ีไดจากการผุพังสลายตัวของแรและหิน เปน แหลงธาตุ
อาหารพืชทส่ี าํ คัญท่สี ุดดนิ สวนใหญท่ีใชปลูกพชื ในประเทศไทยมอี นนิ ทรยี วัตถุเปน
สว นประกอบถงึ รอยละ 97-99 ของนํา้ หนกั แหง ของดนิ
(2) อินทรียวัตถุ เปนสวนท่ีไดจากการเนาเปอยผุพังสลายตัวของเศษซากพืช และ
สัตวที่ทับถมกันอยูในดิน อินทรียวัตถุมีปริมาณธาตุอาหารพืชอยูนอย แตมี
ความสาํ คัญในการทําดนิ ใหโปรง รว นซุยระบายนาํ้ และถา ยเทอากาศไดด ี ทงั้ ยังเปน
แหลง พลังงานของจุลินทรียในดิน ดินสวนใหญท่ีใชเพาะปลูกพืชในประเทศไทย
มอี ินทรยี วตั ถุอยเู พียงรอ ยละ 1-3 ของนา้ํ หนกั แหง ของดนิ โดยเฉพาะอยางยิ่งใน
ภาคอีสานดินสวนใหญอินทรียวัตถุต่ํามาก (นอยกวารอยละ 1) จึงควรให
ความสาํ คญั ตอการเพม่ิ อินทรียวตั ถุใหแกด นิ
(3) นา้ํ ในดิน ทาํ หนาท่ีชวยละลายธาตุอาหารพืชในดิน และจาํ เปนสําหรับใชใน
การเคล่ือนยา ยธาตอุ าหารและสารประกอบตาง ๆ เขา ไปในตนพชื
(4) อากาศในดนิ ทําหนา ทีใ่ หออกซิเจนแกร ากพืชและจุลินทรยี ในดิน สําหรับใชใน
การหายใจ

3. หนา ตัดดนิ
ดินมคี วามลึกหรอื ความหนา ถา มองลึกลงไปในแนวด่งิ จะพบวา ดินมลี กั ษณะเปน ชั้น ๆ

เรียกสว นนว้ี า หนาตดั ดนิ ดินทวั่ ๆ ไปมักมีอินทรียวัตถุสะสมอยูท่ีดินบนและปริมาณอินทรียวัตถุจะ
ลดนอยลงในดินลาง ระดับท่ีลึกลงไปตามแนวหนาตัดดิน จะพบหินท่ีกําลังผุพัง สลายตัวในช้ันลาง
เรยี กวา วัตถตุ น กําเนดิ ดิน ชน้ั ที่อยูล กึ ลงไปถดั จากวตั ถุตน กาํ เนิดดนิ เรยี กวา พื้นหิน ซง่ึ เปนช้ันหินที่ยัง
ไมไดผ านกระบวนการผพุ ังสลายตัว

16

รากพืชเจริญเตบิ โตและดดู ธาตอุ าหารเฉพาะในสวนท่เี ปน ดนิ บนและดินลา ง ซงึ่ ดินแตล ะ
ชนิดมีความลึกไมเทากัน ดินที่ลึกจะมพี ื้นที่ใหพืชหยั่งราก และดูดธาตุอาหารไดมากกวาดินที่ตื้น
การปลกู พืชใหไ ดผลดี จึงควรพจิ ารณาความลึกของดนิ ดวย

4. การเจรญิ เตบิ โตของพืช

ทุกสรรพสงิ่ (สงิ่ มชี ีวิตและสงิ่ ไมมชี ีวิต) ในระบบนิเวศลวนเช่ือมโยงสัมพันธกันเปน
เหตุปจจัยซงึ่ กันและกนั สาํ หรบั ปจจยั หลกั ที่มผี ลตอ การเจรญิ เตบิ โตของพชื มดี ังตอไปน้ี

(1) แสงแดดเปน แหลงพลังงานทพ่ี ืชใชใ นการสงั เคราะหแ สง
(2) อุณหภูมิของดินและบรรยากาศ มีผลตอ กระบวนการตาง ๆ ภายในตนพืช เชน

การสังเคราะหแสง การหายใจ เปน ตน
(3) ความชื้นและน้ํา เปนวัตถุดิบในการสังเคราะหแสง ทําใหเซลลแตกตัวเปน

ตวั กลางขนยา ย ธาตอุ าหาร และอนิ ทรียสารในสวนตาง ๆ ของพชื
(4) สภาพกรด- ดา งของดนิ นิยมบอกเปนคา พีเอช (pH) โดยทวั่ ไปพชื เจรญิ เตบิ โตไดดี

ในดินทม่ี ีพเี อชใกลเ ปน กลาง (pH 6.0-6.5)
(5) ชนิดและปริมาณของกาซตาง ๆ ในดิน อากาศ สวนใหญในดินประกอบดวย

กา ซออกซเิ จน ไนโตรเจน และคารบ อนไดออกไซด รากพืชใชกาซออกซิเจนใน
การหายใจ ถากาซออกซิเจนไมพ อระบบรากของพชื จะออนแอ
(6) โรคและแมลงศัตรูพืช ถาพืชมีโรคและแมลงศัตรูพืชรบกวนมาก ยอมยับยั้ง
การเจริญเติบโต และการใหผลผลติ ของพชื

17

(7) ปริมาณธาตอุ าหารพืชในดิน และสมบตั ิของดิน สมบัติทางเคมี โดยเฉพาะความเปน
กรด - ดาง ของดิน สมบัติทางกายภาพ เชน ความรวนซุยของดิน การระบายนํ้า
การถายเทอากาศ ฯลฯ และสมบตั ิทางชวี ภาพไดแ ก จลุ นิ ทรีย และสัตวเลก็ ๆ ในดิน
มผี ลตอ การเจริญเติบโตของพืช

(8) ความรคู วามสามารถในการจดั การไรนาของเกษตรกร ซึง่ นับวันจะย่ิงสําคัญมากขึ้น
เนอื่ งจากการแขงขันท่ีรุนแรงข้นึ ทงั้ ดา นประสทิ ธภิ าพ คุณภาพ และตน ทนุ การผลติ

5. ความตองการธาตุอาหารของพืช ในจํานวน 17 ธาตุท่ีพืชตองการใชในการเจริญเติบโต
และใหผ ลผลติ ได 3 ธาตุ จากนา้ํ และอากาศ คอื คารบอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน สว นอกี
14 ธาตไุ ดจากดนิ
ใน 14 ธาตุนั้น มี 6 ธาตุท่ีพืชตองการในปริมาณมาก คือ ไนโตรเจน (เอ็น)
ฟอสฟอรัส (พี) โพแทสเซียม (เค) แคลเซียม แมกนีเซียม และกํามะถัน แตการใสปุย
จะเนนเฉพาะ เอ็น-พี-เค จึงเรียกวา ธาตุอาหารหลัก สวนแคลเซียม แมกนีเซียม และ
กํามะถันน้ัน ดินสวนใหญท่ีใชปลูกพชื ในปจจุบันมักไมขาด และเมื่อใสปุย เอ็น-พี-เค
ลงไปในดนิ มกั มี 3 ธาตุนปี้ นลงไปดว ยเสมอซ่ึงเรียกวา ธาตุอาหารรอง สวนธาตุอาหารเสริม
(จลุ ธาตุ) ไดแก เหลก็ สงั กะสี โบรอน เปนตน ถาพชื ขาดธาตหุ นงึ่ ธาตใุ ดธาตนุ นั้ จะเปนตวั
จาํ กดั การเจรญิ เตบิ โตและการใหผลผลติ ของพืช

6. การสญู เสียธาตุอาหารพืชในดิน
ธาตอุ าหารพชื ในดนิ สญู เสียออกไปไดห ลายทาง ดงั น้ี
(1) สูญเสียไปกับผลผลิตพชื ที่เก็บเกี่ยวออกไป
(2) ถูกชะลา งออกไปจากบรเิ วณรากพืช โดยเฉพาะไนโตรเจน เชน ถา เกิดฝนตกหนัก
หลงั จากใสปยุ ไนโตรเจน โดยเฉพาะในดินทราย เกษตรกรอาจไดรับประโยชน
จากการใสป ุย เพยี งรอยละ10 เทานัน้ เพราะไนโตรเจน ละลายไปกบั นํ้างายมาก
(3) สญู หายไปในรปู กาซ เชน กรณีของไนโตรเจน
(4) การตรึง โดยเฉพาะฟอสฟอรัส การตรึง หมายถึง ธาตุอาหารพืชถูกดินหรือ
สารประกอบในดินจับไว พชื จงึ ไมสามารถดูดธาตอุ าหารเหลานัน้ ไปใชประโยชน
ไดท ง้ั หมด ซง่ึ ความเปนกรด - ดางของดนิ เปนปจจัยสําคัญทีส่ ดุ ท่มี ีผลตอการตรึง
ธาตอุ าหารพืชในดนิ
(5) สญู เสยี ไปกบั การชะลา งและพงั ทลายของดนิ พน้ื ที่ที่มีความลาดและมสี ภาพโลง เตยี น
ปราศจากพืชพนั ธหุ รอื สิ่งปกคลมุ หนาดนิ หรือมีการไถพรวนดนิ เพอ่ื เตรียมปลูกพชื

18

ถาฝนตกหนกั จะเกดิ การกัดเซาะผวิ ดิน ธาตุอาหารพืชในดนิ ยอมสญู หายออกไปจาก
พนื้ ทด่ี วย
เม่อื มีการเพาะปลูกพืช ธาตอุ าหารจะถูกดูดไปใชในการเจริญเติบโตและถูกเก็บสะสมไวใน
สว นตาง ๆ ของพชื ไดแ ก ใบ ลาํ ตน ดอก ผล ฯลฯ เมอ่ื เก็บเกี่ยวผลผลติ ออกจากพ้ืนที่ ธาตุอาหารพืช
ยอ มถกู นาํ ออกไปจากพนื้ ทีด่ วย

ในพื้นทก่ี ารเกษตร ธาตอุ าหารพืช ในดินสูญเสียไปกับผลผลติ มากทส่ี ุด การปลูกพืชติดตอกัน
ยาวนานโดยไมม กี ารเพ่มิ เติมธาตุอาหารลงไปในดิน ความอุดมสมบูรณข องดนิ จะลดลง และในทา ยท่สี ดุ
ดนิ จะไมสามารถใหผ ลผลิตพชื สูงได

ดงั น้นั ควรเพมิ่ เติมธาตุอาหารพชื ลงไปในดนิ ใหเพียงพอ ซง่ึ การใสปุยเปน วธิ ีการหนงึ่ เพราะ
การฟน ฟูดินใหกลบั มาอุดมสมบูรณอีกคร้ังหน่งึ ตองใชเวลาและคา ใชจายสูงมาก จงึ ควรดูแลรักษาความ
อดุ มสมบูรณของดินใหด ีอยเู สมอ

19

สารฆา ศตั รพู ืชและสัตว
สารฆาศตั รพู ชื และสัตวสวนใหญเปนสารประกอบอนินทรีย เปนพิษกับแมลงและศัตรูพืช

หากใชอยางไมระมัดระวังยอมเปนโทษตอสุขภาพของท้ังผูใชและผูบริโภค ท้ังยังมีสารพิษตกคางใน
สิ่งแวดลอมอีกดวย จึงมักมีคําเตือนบนฉลาก ตัวอยางเชน ควรเกบ็ เก่ียวผลผลิตหลังจากฉีดพนยา
20 วนั เปนตน มิฉะน้นั สารพิษตกคา งจะเปน อันตรายตอผบู รโิ ภค

ปยุ และประโยชนของปยุ
ปยุ คือ วัสดทุ มี่ ธี าตุอาหารพชื เปน องคป ระกอบหรอื สงิ่ มีชีวิตท่ีกอใหเกิดธาตุอาหารพืช เม่ือ

ใสลงไปในดนิ แลว จะปลดปลอ ย หรือสงั เคราะหธาตุอาหารท่ีจาํ เปนใหแกพ ชื
การเพาะปลกู พืชในดนิ ท่มี ีความอดุ มสมบรู ณสงู จงึ ตอ งการธาตุอาหารเพม่ิ เติมจากปุย นอยกวา

ดินทมี่ คี วามอุดมสมบูรณต่ํา

ปุย แบงออกเปน 3 ประเภท ดงั นี้
(1) ปุย เคมี คอื สารประกอบอนินทรยี ท ่ใี หธาตุอาหารพชื เปนสารประกอบที่ผาน กระบวนการผลิต

ทางเคมี เม่ือใสลงไปในดินท่ีมีความชื้นที่เหมาะสม ปุยเคมีจะละลายใหพืชดูดไปใช
ประโยชนไดอยางรวดเรว็
(2) ปุยอินทรีย คือ สารประกอบที่ไดจากสิ่งมีชีวิต ไดแก พืช สัตว และจุลินทรีย ผาน
กระบวนการผลติ ทางธรรมชาติ ปยุ อินทรยี สวนใหญใ ชใ นการปรบั ปรงุ สมบตั ทิ างกายภาพ
ของดิน ทําใหดินโปรง รวนซุย ระบายน้ําและถายเทอากาศไดดี รากพืชจึงชอนไชหา
ธาตอุ าหารไดงายข้นึ

ปุยอินทรียมี 3 ประเภท คือ ปุยหมัก ปุยคอก และปุยพืชสด ปุย อินทรีย
มีปริมาณธาตอุ าหารพืชอยนู อยเมือ่ เปรยี บเทยี บกบั ปยุ เคมแี ละธาตุอาหารพชื สว นใหญอยใู น
รูปของสารประกอบอนิ ทรีย เชน ไนโตรเจน อยใู นสารประกอบ จําพวกโปรตีน เม่ือใส
ลงไปในดิน พชื จะไมสามารถดูดไปใชประโยชนไดท ันที แตต องผานกระบวนการยอย
สลายของจุลินทรียใ นดนิ แลวปลดปลอยธาตุอาหารเหลา นั้นออกมาในรูปสารประกอบ
อินทรยี เ ชน เดยี วกนั กบั ปุย เคมี จากน้ันพืชจงึ ดูดไปใชป ระโยชนได
(3) ปุยชีวภาพ คือ ปุยที่ประกอบดวยจุลินทรียท่ียังมีชีวิตอยู และคุณสมบัติพิเศษสามารถ
สังเคราะหส ารประกอบธาตุอาหารพชื ไดเ องหรอื สามารถเปลย่ี นธาตอุ าหารพชื ทอี่ ยใู นรปู ท่ี
ไมเปนประโยชนตอศตั รพู ชื ใหม าอยใู นรูปทีพ่ ืชสามารถดูดไปใชประโยชนได และยังมี
ประโยชนอ่ืน ๆ อีก เชน

20

1. ทําใหศ ัตรูพืชลดลงชัว่ คราว เพราะไมชอบกลิ่นหรือความเปนกรดของปุยชีวภาพ
แตเ ม่ือศตั รพู ืชปรับตวั ได ก็จะทาํ ลายพืชเหมือนเดิม

2. ในกรณีทีเ่ กษตรกรใชป ุย เคมสี ูตรเดมิ ๆ อยา งตอเนอ่ื ง ทาํ ใหม กี ารสะสมธาตอุ าหาร
พืชบางตวั ในดนิ มากเกนิ ไป โดยเฉพาะอยางยิ่งฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม เม่ือ
หยุดใชป ยุ เคมีแลว ใชป ุย ชวี ภาพแทนพืชจะคงเจริญเตบิ โตไดด ี

3. ในบางกรณี ดินมีความเปนดางหรือธาตุอาหารพืชบางตัวไมละลาย เม่ือใชปุย
ชีวภาพท่มี คี วามเปน กรดใสลงไป จะทาํ ใหส ภาพดนิ ดีขึ้นช่ัวคราว และปลดปลอย
ธาตุอาหารพืชออกมามากข้นึ

4. ในกรณที ดี่ นิ นนั้ ขาดธาตุอาหารรองบางตัว ปุยชีวภาพที่มีธาตุอาหาร ดังกลาวจะ
เขาไปทดแทนทําใหเกดิ ผลดีตอ พชื

5. มีฮอรโมนพืชบางอยางที่ถูกสังเคราะหขึ้นในกระบวนการหมัก และมีปริมาณ
เหมาะสมกับพืชนนั้ ๆ จึงทําใหพ ืชเจรญิ เติบโตดขี ้ึน

ปรมิ าณธาตอุ าหารพืชในปยุ เคมี
ฉลากของปุยเคมีทุกชนิดมีตัวเลข 3 จํานวนเรียงกัน ตัวเลขแตละจํานวนแสดงปริมาณ

ธาตไุ นโตรเจน ฟอสฟอรสั และโพแทสเซยี ม (เอ็น-พี-เค) ตามลําดับ เรียกวา สูตรปุย ซึ่งมีหนวยเปน
เปอรเ ซ็นต (%) โดยนํ้าหนักท้งั หมดของปยุ เคมี

ตวั อยางเชน ปุยสูตร 13-0-46 แสดงวาปุยเคมีหนัก 100 กิโลกรัม มีไนโตรเจน 13 กิโลกรัม
ไมม ีฟอสฟอรัส และมโี พแทสเซยี ม 46 กิโลกรมั สวนธาตอุ าหารพืชตัวอนื่ ๆ ในปุยเคมี ผูผลิตจะระบุ
หรอื ไมก ไ็ ด แตถาระบุจะใสข อ มลู วา มีธาตอุ าหารรองและจลุ ธาตุอะไรบา ง? ในปรมิ าณ (%) เทาไหร?

ถาเกษตรกรตองการผสมปุยเคมีใชเอง เพราะปุยสูตรท่ีมีจําหนายในทองตลาดไมตรงกับ
ความตองการ แนะนาํ ใหใชแ มปยุ ดงั ตอไปน้ี

(1) ปยุ ไนโตรเจน (ปุยเอน็ ) เชน ปุยยเู รีย (46-0-0) ปยุ แอมโมเนยี ซลั เฟส (21-0-0)
(2) ปุยฟอสฟอรัส (ปุยพี)เชน ปยุ ทริปเปลซปุ เปอรฟอสเฟส (0-46-0) ปยุ ไดแอมโมเนียมฟอสเฟส

(18-46-0)
(3) ปุยโพแทสเซียม (ปยุ เค) เชน ปยุ โพแทสเซียมคลอไรด (0-0-60) ปยุ โพแทสเซียมซัลเฟส

(0-0-50)

21

การพจิ ารณาเลอื กซ้ือปุย เคมี
ตามพระราชบัญญัติปุย พ.ศ. 2518 ไดกําหนดใหผขู ายปุยเขียนขอความท่ีสําคัญตาง ๆ เปน

ภาษาไทยหรอื ที่เรยี กวา ฉลากปยุ ไวท ่ีกระสอบปุยใหเดนชัด คือ (1) ชื่อทางการคาและมีคําวา ปุยเคมี
(2) สตู รปยุ (3) นํ้าหนักสุทธิของปุย (4) ปริมาณธาตุอาหารรอง (5) เครื่องหมายการคา (6) ผูผลิตและ
สถานที่ผลิตหรือสถานท่ีตั้งของผูแทนจําหนายที่ชัดเจน (7) ทะเบียนเลขที่ ยกเวน ปุยเคมีมาตรฐาน
7 ชนดิ เชน ยูเรยี (46-0-0) ซุปเปอรฟ อสเฟส (0-20-0) โพแทสเซยี มคลอไรด (0-0-60) เปนตน ท่ีไมตอง
ขน้ึ ทะเบียน

อาชพี ท่เี กย่ี วขอ งกับงานเกษตร
1. อาชพี ปลูกพชื อาจจะปลกู พืชชนิดเดยี วหรือปลูกพืชหลายชนิดผสมกัน เชน ปลูกพืชผัก
แตมีหลายชนดิ หรือปลูกพืชประเภทตาง ๆ เชน ปลกู ผกั ปลกู ผลไม และทํานาดว ย
2. อาชพี เลีย้ งสัตว เปนอาชพี ทีท่ ําไดทวั่ ประเทศ การเลย้ี งสตั วบางชนิดข้นึ อยกู ับสภาพพื้นที่
ทรพั ยากรและสงิ่ แวดลอ ม เชน การเล้ยี งหอยนางรม การเลย้ี งปลาในกระชัง
3. อาชพี เกษตรผสมผสาน เปนอาชีพเกษตรประกอบดวยหลายประเภทท่ีมีการเกื้อกูลกัน
เชน มีการปลูกพชื รวมกับการเล้ียงสัตวโดยนําเศษพืชมาใหส ตั วก ิน เอามลู สัตวไปใสพืช หรือ
ผสมผสานกนั ระหวางพชื เชน เกอื้ กูลกนั โดยอาศัยรม เงาจากตนไมท่ใี หญก วา
4. อาชีพแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร โดยนําผลผลิตทางการเกษตรที่เหลือจากการขาย
หรอื เปน ชวงท่ีมีราคาตกตา่ํ กน็ าํ มาแปรรูปไดเชน การตากแหงการดองการรมควนั การเชอ่ื ม
5. อาชพี พอ คาคนกลาง เปน อาชพี ทีร่ ับซอ้ื สินคาจากอีกท่หี น่งึ ไปยงั อกี ที่หนง่ึ ซง่ึ ไมต องเปน
ผผู ลติ เอง เชน มกี ารรบั ซือ้ สนิ คาหลากหลายจากผผู ลิตไปขายตลาด

1. การปลูกพชื
1.1 ประเภทของการปลกู พืช สามารถแบงพืชออกตามลักษณะการใช ดงั น้ี
(1) พชื ไร คอื เปนไมประเภทไมล ม ลุก และไมทนแลง ตอ งการนํา้ นอย มอี ายกุ ารปลูก
และการเก็บเกีย่ วไมนาน และเมอ่ื ใหผ ลผลติ แลว ลาํ ตน กจ็ ะตาย เชน ขาวโพด ออย
ขา ว มนั สาํ ปะหลงั
(2) พืชสวน คือ พืชทีป่ ลูกในพ้ืนที่ไมมากหรือมาก ๆ ก็ได แตตองปฏิบัติดูแลอยาง
ใกลช ดิ มากกวา พืชไร สวนมากอายยุ ืนสามารถเก็บเก่ียวไดนานเปนเวลาหลายป
ตดิ ตอ กนั เชน พืชผกั ผลไม ไมดอกไมประดับ

22

(3) พชื ปา เปนพืชท่ีไมตองการดูแลรักษา หรือมนุษยปลูกขึ้นโดยอาศัยธรรมชาติท่ี
สอดคลองกบั พืชชนิดที่เกิดข้นึ เองในปา เชน การปลกู สัก ปลกู ไผ

(4) พืชสมนุ ไพร หมายถงึ พืชทมี่ ีสรรพคุณในการรักษาโรคไดทั้งหมด พืชและสัตว
บางชนิดยังนํามาสกัดเปนเครื่องสําอาง เชน วานหางจระเข อัญชัน ขมิ้น เปน
อาหารเสรมิ เชน กระชาย กระเทยี ม เปน เครอ่ื งดื่ม เชน บัวบก คําฝอย ตะไคร ใช
ปรงุ แตง อาหาร เชน หอมแดง มะนาว

1.2 กระบวนการผลติ พชื
การปลกู พชื ชนิดใดกต็ าม ควรมีขั้นตอนการเตรียม ดงั น้ี
(1) การจัดเตรยี มกอนเพาะปลกู
1. จัดเตรียมสภาพพื้นที่ เตรียมดินใหเหมาะสมกับพืชที่จะปลูกจัดหานํ้าใชอยาง
เพียงพอ
2. เตรียมวัสดุอปุ กรณ เชน เตรียมพันธุพชื วัสดุในการปลูกพืชนาํ้ มนั เคร่ืองมือ
ทจ่ี ําเปน อาจมกี ารเตรยี มตรวจสอบเคร่ืองจกั รทจ่ี ะใช เชน เครอ่ื งสูบน้ํา อาจ
ตองมีการเปลยี่ นอะไหลบางชน้ิ กไ็ ดใหจ ัดหาไวล ว งหนา
3. เตรยี มทนุ ในทน่ี ห้ี มายถึงเงินทุนทจ่ี ะเตรียมซ้อื วัสดอุ ุปกรณ จา งแรงงาน
4. เตรยี มแรงงาน แรงงานที่ใชอาจจะเปนแรงงานในครอบครวั หรือแรงงานจา ง
ขา งนอก ตองวางแผนการใชแ รงงานวา ชวงใดตองใชมากนอยเพียงใด
5. ศึกษาราคาของตลาดพชื ในชว งน้นั ๆ เพื่อวางแผนการปลกู ใหตรงกบั ชว งทีม่ ี
ราคาแพง
6. เตรยี มพนั ธพุ ชื อาจไดพันธมุ าจากการเพาะเมลด็ ก่งิ ตอน ก่ิงทาบ การแยกหนอ
การเสยี บยอด ซึ่งตอ งพิจารณาขอดขี อเสยี ของแตละวธิ ี และความเหมาะสม
ของพืชทจี่ ะใชปลกู
(2) การปลูกพืช เมือ่ เตรยี มสถานที่แลว กล็ งมือปลกู การปลกู มหี ลายวธิ ี เชน หวานเมล็ด
การขุดหลุมปลูก ขึ้นอยกู ับชนิดของพชื ดว ย
(3) การดูแลรักษา เม่ือปลูกแลวตองมีการดูแลรักษา มีการใหนํ้า ใหปุยบํารุงดิน
ปอ งกนั กําจดั ศัตรพู ชื ทัง้ นข้ี ้ึนอยกู ับชนิด อายุ ของตน พชื ดวย
(4) อายุการเก็บเก่ียว มีความแตกตางตามชนิดของพืชขึ้นอยูกับระยะเวลา หรือใช
วธิ ีการสงั เกต พืชอาจเก็บเกี่ยวดว ยแรงคน เครื่องทุนแรงหรือเก็บเก่ียว ไดทั้งแรง
คนและเครื่องจกั รก็ตองขึ้นอยูก บั ขนาดของธรุ กจิ ดวย

23

(5) การขาย พืชมีวธิ กี ารขายไดหลายวิธี เชน มีพอคา คนกลางมาซอื้ ถงึ บาน ไปขายเอง
ทตี่ ลาด สงรา นคา ประจาํ เชน สงตามหางสรรพสินคา สงกลุมสหกรณ

สภาพปญ หา
1. พนื้ ฐานความรขู องเกษตรกรรายยอ ยสวนใหญมกี ารศึกษานอย เชน จบ ป.4 ป.6 หรือลืม
หนังสือไปแลว ทาํ ใหม ีปญ หาในการศกึ ษาหาความรู โดยเฉพาะการศกึ ษาขอ มลู การผลิต
กับขอมลู ทางการตลาด จงึ เปน สาเหตทุ ี่ทําใหการผลิตยงั คงเดิมหรือตาม ๆ กันไป
2. ราคาพชื ผลไมแนนอน ไมม หี ลกั ประกนั ในการรับซ้อื ผลผลติ ทางการเกษตร เมื่อผลผลิต
เก็บเกีย่ วไดแ ลวจึงหาตลาด ไมม ีการหาตลาดไวลวงหนา ดังนั้น ผลผลิตทางการเกษตรจึง
ถกู กําหนดราคาโดยพอ คา คนกลาง เนอ่ื งจากผลผลติ ทางการเกษตรมีอายุสั้น ทาํ ใหเกษตรกร
ตอ งรบี ขาย ถาไมข ายทนั ทีตองเตรยี มยงุ ฉางสําหรับเก็บ เชน ขา ว
3. ระบบชลประทาน การวางระบบชลประทานของภาครัฐบาลไมท่ัวถงึ บางแหง มีนํ้าใชทาง
การเกษตรตลอดป บางแหง ตองอาศัยน้าํ ตามธรรมชาติ
4. การชวยเหลอื ในการสรางถนนเขาไปในพ้ืนท่ีของเกษตรกรยังไมท่ัวถึง ทําใหไมสะดวก
ในการขนสง ผลผลติ ทางการเกษตรออกมาจากฟารม
5. การจดั การของเกษตรกรยงั ไมค มุ คากบั การลงทุน มกี ารใชท ุนมากกวา ผลที่ไดทาํ ใหขาดทุน
ทกุ ปจ นเกดิ เปนหนีส้ ินเพ่ิมขึน้ ๆ
6. ราคาผลผลิตตกต่ํา เมื่อผลผลิตออกมากจะทําใหราคาผลผลิตตกตํ่า อาจแกปญหาโดย
การทําใหอ อกนอกฤดกู าล หรือเพม่ิ มลู คา ผลผลิต โดยการแปรรปู อาหารหรือถนอมผลผลิต

การอนรุ กั ษพลังงานและสง่ิ แวดลอม
1. ใชพ ลังงานไฟฟาทางการเกษตรอยา งประหยดั เชน เครื่องปนไฟฟา
2. ประหยดั นาํ้ มนั เชอ้ื เพลงิ ในการดําเนนิ งานควรวางแผนการดําเนินงานกอ นเพ่ือประหยัด
ในการใชน้ํามนั เชน วางแผนซื้อวัสดอุ ุปกรณใ หน อ ยครง้ั
3. ไมควรเผาตอซังในพืน้ ท่ีนา ไร สวน นอกจากจะทําใหเกดิ มลพษิ ทางอากาศแลว ยังทาํ ใหหนาดิน
ซง่ึ ประกอบดวยแรธ าตุอาหารสูญเสียไปดวย โดยการถูกความรอน
4. การใชผลผลติ ใหเกดิ ประโยชน ผลผลิตท่ีเหลอื จากการจาํ หนายควรนาํ มาใชใหเกิดประโยชน
ตอไป เชน มูลสัตว ใหน าํ มาใชห มักปยุ เศษพชื นาํ มาใหสตั วก นิ หรอื ทาํ ปยุ หมัก

24

2. การเล้ียงสตั ว
2.1 ประเภทของการเล้ยี งสัตว แบงตามลักษณะของสตั วไ ด ดงั นี้
(1) สัตวใหญ นิยมเลี้ยงกันแพรหลาย เปนสัตวที่เล้ียงไวเพ่ือใชงาน ใชเปนพาหนะ
เลยี้ งเปนอาชพี เชน โคเนอ้ื กระบือ
(2) สัตวเล็ก นิยมเลี้ยงในครัวเรือนเปนอาชีพ เปนอาหารหรือเพ่ือความเพลิดเพลิน
เชน สุกร แพะ กระตา ย
(3) สตั วปก เปน สตั วประเภทมีปก เชน ไก เปด หา น นก
(4) สัตวนา้ํ เปนสัตวท ่อี าศัยในน้ํา หรอื ครึ่งบกครงึ่ น้ํา เชน ปลา กุง กบ และตะพาบนา้ํ
2.2 กระบวนการผลิตสัตว
(1) การเตรียมการกอนการเลี้ยงสัตว คลายกับการเตรียมการปลูกพืช มีการเตรียม
สถานท่ี วสั ดุอปุ กรณ เตรียมทนุ แรงงาน ศึกษาราคาตลาด เตรียมพนั ธุ ซึ่งสงิ่ ของ
เครือ่ งใชอาจแตกตา งกนั การเตรยี มสถานทีต่ องมกี ารเตรยี มเพมิ่ เตมิ เชน เตรียม
โรงเรอื น เตรียมบอน้าํ สําหรบั การเลยี้ งสัตวบางชนิด
(2) การเลยี้ งสตั ว ตอ งจัดสถานท่ใี หเ หมาะสมกบั สตั วช นดิ น้ัน ศึกษาความชอบ ชนดิ
และปรมิ าณอาหารทตี่ อ งการตามวยั ของสตั ว
(3) การดูแลรักษา อาจตอ งมีการใหอาหารเสริม หรอื บางชนิดตองใหออกกาํ ลงั กาย มี
การสังเกตเพอ่ื ปอ งกนั โรคตา ง ๆ
(4) การขาย ขายเม่อื สัตวเ จรญิ เตบิ โตเต็มที่ ถา เลี้ยงตอ ไปจะทาํ ใหตนทุนสูง ตองเสีย
คา อาหาร คาแรงงานเล้ียง และอ่ืน ๆ อีก การขายก็เชนเดียวกันกับการจําหนาย
ผลผลติ ทเ่ี กยี่ วกบั พืช เชน มีพอ คาคนกลางมาซอ้ื หรือสงตามหางสรรพสนิ คา

งานชา ง
งานชา ง หมายถึง งานหรือสิ่งท่ีเกิดขนึ้ จากการทาํ งานของชา งทีม่ คี วามรู ความชํานาญ ในงาน

นั้น ๆ ทกั ษะเปน ส่งิ จําเปน ในการเปนชาง เพราะเปนการสรา งความรู ความชํานาญในการทํางานสง่ิ ใด
สง่ิ หนึง่ โดยมีขัน้ ตอนดงั น้ี

1. การศึกษาหาความรูกับงานชางนนั้ ๆ กอนท่ีจะลงมือปฏิบัติงานนั้น ๆ เพ่ือใหทราบ
ธรรมชาตขิ องงาน เชน งานไฟฟา ตองเขาใจเกีย่ วกับธรรมชาตขิ องกระแสไฟฟา การทํางาน
ของอปุ กรณต าง ๆ จากคมู อื ประกอบของอปุ กรณน้นั ๆ

25

2. การวเิ คราะหส าเหตุของการชาํ รุดเสยี หายของชนิ้ สวนอุปกรณหรือสิง่ กอ สรา ง ศึกษาชนดิ
ของวัสดุและหนาที่ของช้ินสวนอุปกรณในแตละสวนกอนทําการถอดหรือแกไข
ซอ มแซม

3. การจัดเตรียมอุปกรณใ นการถอดประกอบชนิ้ สว นในแตละอปุ กรณ เคร่อื งมือในการซอม
เชน คอน คีม ไขควง ตลับเมตร ฯลฯ ใหเหมาะสมกับลักษณะงานนั้น

4. การวางแผนและกําหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานในแตละสวนใหเหมาะสม และการใชวัสดุ
อปุ กรณอ ะไรบา ง งบประมาณท่ใี ชความคุมคา กับการซอ มบาํ รงุ

5. การปฏบิ ัติงาน คือ การทํางานทลี ะข้ันตอนตามท่ีไดศึกษาวิเคราะหและวางแผนไวเปน
การฝกใหม ีการสังเกต ตรวจสอบ และคน ควา เพื่อทําการทดลองและแกไขขอบกพรอง
หรอื จุดเสยี ใหด ขี ้ึนหรืออยใู นสภาพเดมิ ทส่ี ามารถใชไดตอไป

6. เม่ือทําการซอมแซมเรียบรอยแลวใหตรวจสภาพความเรียบรอย อุปกรณใสครบถวน
ถกู ตอ งหรือไม แลว จงึ ทาํ การทดลองวา สามารถใชไดห รอื ไม หรือตองทาํ การปรบั ปรงุ แกไ ข
ใหดีตอไป

ประเภทของงานชา ง
1. ชางไฟฟา เปนผมู ีความชํานาญเกยี่ วกับธรรมชาตแิ ละการทํางานของระบบไฟฟา ประโยชน
และโทษของไฟฟา เชน เดนิ สายไฟในอาคาร ชา งวทิ ยุ โทรทศั น
2. ชางไม เปนผูมคี วามชาํ นาญเกีย่ วกับงานไม เชน การทาํ เฟอรนิเจอรจากไม ทําโตะ เกาอ้ี
หรืองานกอสรางจากไม
3. ชา งยนต เปน ผมู คี วามชํานาญเก่ียวกับเครื่องยนต กลไก การทํางานของเครื่องยนต เชน
เปน ชางซอมรถยนต รถจกั รยานยนต
4. ชางประปาเปนผมู คี วามชํานาญเกีย่ วกับการวางทอประปาธรรมชาติการไหลของน้ํา การเช่ือมตอ
ทอ ในลกั ษณะตาง ๆ
5. ชา งปนู เปนผูมคี วามชาํ นาญเกยี่ วกับการกออฐิ ถือปูน การฉาบ การเทพื้นคอนกรตี
6. ชางทาสี เปนผมู คี วามชาํ นาญเกยี่ วกบั การทาสกี บั วสั ดุตา ง ๆ แลว ยงั มีความชาํ นาญเกย่ี วกับ
การเลือกใชสีกบั วัสดตุ าง ๆ
7. ชา งเชือ่ ม เปนผูม คี วามชํานาญเกยี่ วกบั งานเชือ่ ม การใชเครือ่ งมอื เคร่ืองจักรในการเชื่อม
อาชพี ทีเ่ กีย่ วของ เชน อาชพี ทาํ เหล็กดัดประตู หนาตา ง

26

อาชีพที่เก่ียวขอ งกบั งานชาง
1. เปนอาชพี ตามความชํานาญ เชน ชางไฟฟา ชา งไม ชา งยนต ชา งประปา ชางปูน ชางทาสี
ชางเชอ่ื ม โดยอาจใชความรคู วามสามารถรับงานเอง มีการบรหิ าร จดั การ คิดราคาไดเอง
ติดตามการทํางานเอง จัดการหาลูกคาเอง หรือบางคนใชความชํานาญเปนลูกจางงาน
กอ สราง
2. เปดรา นซอ ม เชน ซอมเคร่อื งไฟฟา ซอ มเครื่องรถยนต ข้ึนอยกู ับความชาํ นาญของแตละคน

กระบวนการงานของชาง
1. ออกแบบงานชา งตอ งมีการออกแบบมากอ น เพอื่ ใหชางตาง ๆ ทาํ ตาม และเปนการคดิ งาน
มาทงั้ ระบบแลว มีการกาํ หนดชนิดของวสั ดุท่ีตองใชอยางละเทาใด สังเกตวาเม่ือเราซ้ือ
อุปกรณงานชา งก็มคี ูมือการตดิ ต้ังมากบั ชุดอุปกรณดว ย
2. อานแบบ ชา งจะตอ งอา นแบบใหเ ขา ใจ สามารถแยกวสั ดอุ ปุ กรณท ีใ่ ชไดทาํ ใหค ดิ คา ใชจา ย
ได และเรยี นรรู ะบบ/ขน้ั ตอน การติดตั้งหรอื ประกอบงานนนั้
3. จัดเตรียมวสั ดอุ ุปกรณต ามท่ีกําหนด ใชวัสดุอุปกรณชนิดใดบาง จํานวนก่ีช้ิน ชนิดของ
เครือ่ งมอื ท่ใี ชจ ดั เตรยี มใหพรอมกอนลงมือปฏิบัติ
4. ลงมอื ปฏบิ ตั ิ นาํ วสั ดุอุปกรณม าใหพ รอ ม แลว ปฏบิ ตั ติ ามข้ันตอนทก่ี าํ หนดอยา งเครง ครัด
5. ทดลองใช ควรตรวจสอบกับแบบอีกครง้ั กอนทดลองใช เพือ่ ไมใหเ กดิ การผดิ พลาด

งานประดิษฐ
งานประดษิ ฐ หมายถึงสิ่งท่ที ําขึน้ ใหมโ ดยใชวัสดุตา งๆ ทั้งท่ีเปน วัสดเุ หลอื ใชห รอื วัสดทุ ว่ั ๆ ไป

แลวนําไปใชใหเ กดิ ประโยชน เชน
1. เปนกิจกรรมท่ชี วยใหเกดิ ความคิดรเิ รมิ่ สรางสรรค
2. เปน การใชเ วลาวา งใหเ กดิ ประโยชน
3. เปน การฝก ใหร จู ักสังเกตสิง่ รอบ ๆ ตัว และนาํ มาใชป ระโยชนไ ด
4. สรางความภาคภมู ิใจกับผปู ระดิษฐ
5. สามารถสรางงานและสรา งรายไดเ พอ่ื เปน พ้นื ฐานการประกอบอาชีพได
6. ลดคา ใชจา ย

27

ขอบขา ยของงานประดษิ ฐ
งานประดิษฐตาง ๆ สามารถเลือกทําไดตามความตองการและประโยชนใชสอย ซ่ึงแบง เปน

4 ประเภท ไดดังนี้
1. ประเภทของเลน เปนของเลนเพื่อความเพลิดเพลิน ของเลนเพ่ือการคิด เชน งานปน
งานจักสาน วัสดทุ ่ีใช เชน กระดาษ ผา เชือก พลาสติก
2. ประเภทของใช อาจทําขึ้นเพือ่ ใชในชีวติ ประจาํ วนั เชน ตะกรา กระบุง งานไมไ ผ ผา เชด็ เทา
ผาปูโตะ วัสดุท่ีใช เชน กระดาษ ไมไ ผ ดนิ ผา เหลก็ ใบตอง
3. ประเภทของตกแตง ใชตกแตงสถานที่ บานเรือนใหม ีความสวยงาม เชน การประดิษฐ
ดอกไม แจกัน ภาพวาด งานแกะสลกั
4. ประเภทเคร่ืองใชงานพิธี ทําข้ึนเพื่อใชในพิธีทางศาสนาในชวงโอกาสตาง ๆ และงาน
ประเพณี เชน ลอยกระทง งานเขาพรรษา งานออกพรรษา งานศพ เครื่องใชในงานพิธี
ทางศาสนา เชน พานพุม มาลัย เครอ่ื งแขวน บายศรี การจัดดอกไม ในงานศพ
วสั ดุอปุ กรณที่ใชในงานประดษิ ฐจะตอ งใชวัสดุ และอุปกรณตาง ๆ ดังน้ี
1. วัสดุธรรมชาติ เชน ใบไม กอนหนิ ขนสัตว เกลด็ ปลา เปลอื กไข ฯลฯ
2. วสั ดุสังเคราะห เชน กระดาษ ผา พลาสติก เชอื กไนลอน ฯลฯ
3. เศษวสั ดุ มที ั้งวัสดุธรรมชาตแิ ละวสั ดุสงั เคราะห เชน เศษผา เศษไม เศษโลหะ ฯลฯ
อปุ กรณท ใี่ ชในงานประดิษฐ ไดแก ไมบรรทัด ไมฉาก ไมครึ่งวงกลม กรรไกร มีดคัตเตอร

เข็ม ดาย กาว ตะปู คอ น จักรเยบ็ ผา ฯลฯ

อาชีพท่เี กย่ี วของกบั งานประดิษฐ
อาชพี นักประดษิ ฐ เปนอาชีพทผ่ี ลติ ส่ิงของเครอื่ งใช ซ่ึงจะตองเปน ผูท่มี ีความคิดสรางสรรค

ทันตอความตอ งการของตลาด
ลกั ษณะการประกอบอาชพี ไดแก ผลติ เสร็จแลว ขายความคดิ ใหก บั บริษทั หรือคดิ แลว ผลติ เอง

สงขายใหรา นคา หรอื ผลิตเองแลวขายเองโดยตรง

กระบวนการผลิตงานประดษิ ฐ
งานประดษิ ฐ มีขั้นตอน ดังน้ี
1. ออกแบบงานประดิษฐ เชน ประดิษฐดอกไมจะตองออกแบบขนาดของใบ ขนาดของกลีบดอก
เกสรดอกไม กานดอก

28

2. จัดเตรยี มวสั ดอุ ปุ กรณใ หพรอ ม เชน กระดาษ กรรไกร มดี กาว วสั ดุท่จี ะใช ทาํ สิ่งประดษิ ฐ
3. ปฏบิ ัติ เม่อื ออกแบบและเตรียมวสั ดุแลว ใหนาํ มาประกอบตามตองการ
4. การตกแตง อาจมีการตกแตง ใหสวยงามดวยการหาวัสดมุ าตกแตง เพม่ิ เติม เพ่ือเพิ่มมูลคา

ใหผลิตภัณฑ เชน ตกแตงดว ยการทาสี
5. ตรวจสอบช้ินงาน โดยตรวจสอบกับแบบท่ีกําหนดไวอีกคร้ังหนึ่ง วามีการติดวัสดุครบถวน

หรอื ไม หรอื ตรวจสอบโดยผชู าํ นาญใหแสดงความคดิ เห็น

ปญ หาในการผลติ ช้นิ งาน
1. วัตถุดิบ ปจจบุ นั วัสดธุ รรมชาติโดยการหาจากพืชในทองถิ่น ถูกใชอ ยา งฟมุ เฟอ ยไมมีการปลูก
ทดแทน วัสดมุ ีราคาแพงข้นึ เชน กระดาษ
2. การสง เสรมิ และพัฒนาผลิตภัณฑ ผูผลิตสวนใหญไมมีความรูเรื่องการออกแบบ ทําให
บรรจภุ ณั ฑไ มทนั สมยั และไมม คี ณุ คา
3. กระบวนการผลติ สว นใหญข น้ั ตอนการผลิตยังใชวิธเี กา มีการนําเทคโนโลยเี ขามาใชน อ ย
ตน ทุนสูง

การอนรุ กั ษพลังงานและสิ่งแวดลอม
1. งานประดิษฐที่ผลิตโดยโรงงานท่ีเปนระบบอุตสาหกรรม จะมีการใชพลังงานไฟฟากับ
เครื่องจักร ดังน้ันจึงควรดูแลใชไฟฟาภายในโรงงาน เชน มีการติดประกาศวิธีการใช
ไฟฟา อยางประหยัด
2. งานประดษิ ฐที่เปนระบบอตุ สาหกรรมควรคาํ นงึ ถงึ สง่ิ แวดลอม เชน การท้ิงของเสยี ทเ่ี ปน
สารเคมลี งสูแมนํา้ ลาํ คลอง หรอื ปลอยควนั พษิ สบู รรยากาศ โดยเฉพาะวัสดุท่ีทําเปนสาร
พลาสตกิ หรือยางสงั เคราะห

งานธุรกจิ
งานธรุ กจิ หมายถงึ การดาํ เนนิ กิจกรรมการผลติ หรือจําหนายสินคา การแลกเปล่ียนสนิ คาในเรื่อง

ของสินคาและบริการ และบริการโดยมุง หวงั ผลกําไร
ลักษณะของธรุ กจิ
การประกอบธรุ กจิ มีหลากหลายรปู แบบ แตละรูปแบบมีขอดแี ละขอเสียแตกตา งกันในเรื่อง

ของการจดั ตง้ั การขยายกจิ การ ความรบั ผดิ ชอบของเจา ของ จงึ ควรศึกษาใหเ ขา ใจเพื่อเลือกรูปแบบให
เหมาะสมกับตนเอง

29

1. กจิ การเจาของคนเดียว หมายถงึ กิจการท่มี บี คุ คลเดียวเปนเจา ของกิจการ เปน ผดู าํ เนนิ งาน
และรับผิดชอบบริหารงานเพียงลําพังคนเดียว ทําใหการตัดสินใจเปนไปดวยความรวดเร็ว
ผปู ระกอบการหรอื เจา ของธรุ กิจเปน ผูรบั ผิดชอบในผลการประกอบการนนั้ ทงั้ หมด ไมว า
จะเปน กําไรหรือขาดทุนโดยไมจํากัดจํานวนแตเพียงผูเดียว กลาวคือ หากธุรกิจมีกําไร
กาํ ไรทงั้ หมดก็จะเปน ของผูป ระกอบการนน้ั แตห ากธรุ กจิ ขาดทุน ผปู ระกอบการก็ตองรับ
ผลขาดทุนน้ันทั้งหมด

2. หา งหนุ สว น หมายถึง กจิ การท่ีมบี คุ คลตั้งแต 2 คนข้นึ ไป ตกลงรว มดาํ เนนิ กิจการดวยกัน
เพอื่ แสวงหาผลกาํ ไรจากการดาํ เนินกจิ การนน้ั

3. บริษทั จาํ กดั หมายถึง กจิ การทีจ่ ัดตัง้ ขึน้ โดยมีการแบง ทุนเปนหนุ ทีม่ ีบคุ คลถือหนุ มีมูลคา
เทา ๆ กนั และผูถ อื หุนแตล ะคนรับผิดชอบเพียงคาหนุ ทีต่ นนาํ สง ใชไมค รบตามมลู คาของหนุ
ท่ีตนถือเทา นั้น

ระบบสหกรณ
สหกรณ เปนองคกรธุรกจิ รปู หน่ึงที่ประกอบดว ยบคุ คลมารวมกนั โดยวิธกี ารชวยเหลือซ่ึงกัน

และกันอยางมีวัตถุประสงค เพื่อสงเสริมผลประโยชนทางเศรษฐกิจของสมาชิก การประกอบธุรกิจ
ระบบสหกรณเปนการจดั การไมม ุงคา กาํ ไร ยึดหลักการชว ยเหลอื ซงึ่ กันและกนั ของสมาชิก ปองกันมิให
ถูกเอาเปรยี บจากพอคา คนกลางหรือบุคคลอื่น ๆ

ลกั ษณะของสหกรณ
1) เปนองคก รทีม่ ีการรวมกลุมบุคคลท่ีมวี ัตถปุ ระสงคและความสนใจเหมอื นกัน
2) องคก รมจี ดุ หมายหลักในการสงเสริมผลประโยชนทางเศรษฐกจิ แกสมาชกิ
3) การจดั องคก รยดึ รปู แบบประชาธปิ ไตย โดยใหทกุ คนมสี วนรวมในการจดั การ การกํากบั
ดูแล การจดั หาทุน และรับผิดชอบ

หลักการของสหกรณ
1) การเปนสมาชิกสหกรณ ตองเขามาดวยความสมัครใจ ยอมรับระเบียบ กฎเกณฑ ของ
สหกรณต ามหลกั เสรีภาพ
2) สมาชิกทุกคนมสี ิทธิเทาเทียมกนั ตามหลกั ประชาธิปไตย
3) การมผี ลกาํ ไรตอ งมคี วามยุตธิ รรม

30

4) การดําเนินธุรกิจถือหลกั วา เงินสว นเกินหรือผลกําไรเปนของสมาชกิ ทกุ คน
5) สง เสริมใหบคุ ลากรมคี วามรคู วามสามารถในการดําเนินงานสหกรณ และสนับสนุนให

สมาชกิ ไดฝก ศึกษาหาความรูใ นการประกอบอาชีพของตน
6) มีความรว มมือระหวางสมาชกิ สหกรณ เพ่อื ใหบรรลเุ ปาหมายของการอยดู ี กินดี และมีสขุ

ของสมาชิกในประเทศไทย มีพระราชบัญญัติสหกรณ พ.ศ. 2511 เปน กฎหมายรองรับ
การดําเนินงานของสหกรณ ประเภทของสหกรณ ระบุไววามี 2 ประเภท คือ สหกรณ
จํากัด และไมจํากัด แตในการปฏิบัติสหกรณในประเทศไทย แบงได 6 ประเภท คือ
สหกรณการเกษตร สหกรณก ารประมง สหกรณน คิ ม สหกรณร านคา สหกรณอ อมทรัพย
สหกรณบ ริการ

วสิ าหกจิ ชุมชน
วิสาหกิจชมุ ชน คือ การประกอบการโดยชุมชนท่ีมีสมาชิกชุมชนเปนเจาของปจจัยการผลิต

การคา และการเงนิ เพ่อื ใหเกิดประโยชนทั้งดานเศรษฐกจิ คอื การสรางรายไดและอาชีพ ดา นสงั คม คือ
การยดึ โยงรอ ยรดั ความเปนครอบครัวและชุมชนให รวมคิด รวมทํา รวมรับผิดชอบ แบงทุกขปนสุข
ซ่ึงกันและกนั วสิ าหกจิ ชมุ ชนจะเปน เครอ่ื งมือในการสรางฐานรากทางเศรษฐกจิ และสังคมใหเขมแข็ง
ตลอดจนพง่ึ พาตนเองไดใ นทีส่ ดุ

หลักการวสิ าหกิจชมุ ชน
1) ชุมชนหรอื องคกรชุมชนเปนเจา ของปจ จยั การผลิตและทรพั ยากรธรรมชาติ
2) เคารพหลกั การและเปา หมายการดาํ รงชวี ิตรว มกนั แบง ปนกัน พงึ่ พิงกันภายในชุมชนอยาง
เสมอภาคและเคารพหลักการอยูรวมกันของชุมชนกับสิ่งแวดลอม ระบบนิเวศนแบบ
ปฏสิ มั พันธภาพ
3) มกี ารทาํ งานแบบมีสว นรว มของชมุ ชน จัดการและวางแผนแมบทพฒั นาชมุ ชนดว ยตนเอง
4) สรางทนุ ของชุมชนหรือกองทุนของชมุ ชนหลากหลายรปู แบบ เปน หลกั ประกนั ความเสมอภาค
ทางเศรษฐกิจและสิทธิมนษุ ยชน
5) วสิ าหกิจชมุ ชนเปนหลกั การมสี วนรวมและกระจายผลประโยชนควบคูไปกับการสราง
สังคมสวสั ดกิ ารทีเ่ กิดจากสมาชิกชุมชนรวมมือขึน้ มา เรียกวา สวสั ดกิ าร
6) เศรษฐกจิ ชมุ ชนมาจากฐานการผลิตทหี่ ลากหลาย เปน องคกรรวมดา นปจจัยส่ี ตอบสนอง
ตลาดในชุมชนกอน

31

วสิ าหกจิ ชุมชน เปน แนวคดิ ท่มี ุงผลติ หรอื บริการโดยสมาชิกในชุมชน เพ่ือการบริโภค และ
สรางรายไดใหชุมชนจากผลผลิตที่หลากหลายในชุมชน ทั้งในดานการบริโภคแบบพึ่งพาตนเอง
การเกบ็ หรือถนอมอาหารไวกนิ ในครอบครัว ในชมุ ชน จะชว ยลดรายจา ยของครอบครวั และเสรมิ สราง
สขุ ภาพสงั คม สขุ ภาพอนามยั ทีด่ ี มีคณุ ธรรม ไมเห็นแกประโยชนดา นกําไรสูงสดุ

ดังนั้น การจัดตัง้ วิสาหกจิ ชมุ ชนจงึ ต้งั อยบู นกระบวนการคดิ และปฏิบตั ิ ดังน้ี
1) จดุ เร่ิมตนของการแปรรูปหรือผลิตสินคาของชุมชน สมาชกิ ชุมชนตองมี เปาหมายเพื่อ

บริโภคอุปโภคของตนเองเปนหลัก ดานการผลิตสินคาหลายชนิด หลายประเภท เพื่อ
การพ่ึงพาตนเอง ลดรายจายท่ีเสียไปจากการซอื้ ปอ งกันไมใ หเ งนิ ไหลออกไปจากชุมชน
จะสง ผลใหก ารหมนุ เวยี นและแพรสะพดั อยใู นชมุ ชน
2) สมาชกิ ในชมุ ชนผลิตสนิ คา เปนระบบอตุ สาหกรรม เพ่ือลดรายจายของตนเอง หรือเปน
หลักพึ่งพิงตนเองไดแลว จึงคอยขยับขยายการผลิตออกไปสูชุมชนเพ่ือนบาน เพื่อลด
ภาระการซอ้ื ของแพงแกชมุ ชนเพ่ือนบาน
3) การเร่ิมตนดําเนินการวิสาหกิจชุมชน ตองคาํ นึงถึงการลงทุนตา่ํ อุปกรณงาย ๆ การใช
แรงงานในชุมชน และการรูจักพัฒนาจากภูมิปญญาดั้งเดิมมาใช

ขอบขายของงานธุรกจิ
การประกอบธุรกจิ แบงออกตามอาชีพ เชน ธุรกจิ การเกษตร ธุรกิจอตุ สาหกรรม การทอ งเทีย่ ว

อุตสาหกรรมยานยนต ธุรกิจการกอสราง ธุรกิจการเงิน ธุรกิจเกี่ยวกับงานบาน ธุรกิจเก่ียวกับงาน
ประดิษฐ ซึ่งทกุ อาชีพนอกจากมีกระบวนการผลติ แลว ยงั มีงานธุรกจิ แทรกไปกับอาชพี ดว ย

1. ขอมูลท่ีเก่ียวของกับธุรกิจ เชน ประกอบธุรกิจการเกษตรก็ควรมีขอมูลทางการเกษตร
เชน ผลผลติ เปน อะไร ใชว ัสดอุ ปุ กรณใ ดบา ง สถานทผ่ี ลิตอยทู ่ีใด และในลักษณะเชา หรอื
เปนของตนเอง มกี ระบวนการผลติ อยา งไร ขายที่ใด ใชแรงงานอยา งไร จะผลิตเม่อื ใด ซึ่ง
ขอมลู เหลา นีจ้ ะมปี ระโยชนตองานธุรกิจใชใ นการวางแผน

2. งานการเงินและบัญชี เปนการวางแผนเกี่ยวกับรายไดและรายจาย เพื่อใหใชจายเงินได
เพยี งพอกบั รายได และมเี งนิ ออมไวใชจ ายในอนาคต

ประโยชนของการทําบญั ชี
1. เจาของกจิ การทราบวาธุรกิจมีกําไรหรอื ขาดทนุ
2. ทราบเกย่ี วกบั ราคาสง่ิ ของที่ซือ้ และราคาขายผลผลติ
3. เปน ขอ มลู การทําธุรกิจในครอบครวั ตอไป

32

4. งายตอการตรวจสอบเน่ืองจากเปนการบันทึกรายการทั้งรายรับ-รายจาย ตามลําดับ
เหตกุ ารณ กอ น-หลงั

อาชีพทเ่ี กย่ี วขอ งกบั งานธุรกจิ
ทกุ อาชพี ทก่ี ลาวมาสว นหน่งึ ของการดําเนินงาน คือ งานธรุ กิจ
1. ธรุ กิจการเกษตร เปนธุรกิจท่เี กี่ยวขอ งกบั การเกษตร
2. ธุรกิจอตุ สาหกรรม เปน ธรุ กจิ ทีเ่ กี่ยวกับงานชาง เชน ธุรกิจผลิตเคร่ืองใชไฟฟา ธุรกิจผลิต
รถยนต
3. ธุรกจิ อตุ สาหกรรมการทอ งเทย่ี ว เปน ธรุ กิจจัดการทอ งเท่ยี ว เชน บริษัทจัดทวั ร มีการบริการ
การเดนิ ทาง ท่พี ัก อาหาร มมี ัคคเุ ทศก เปนการบรกิ ารอยางครบวงจร
4. ธรุ กจิ การกอ สราง เชน ธรุ กิจรบั กอสรา งบาน อาคาร
5. ธุรกจิ การเงิน เชน ธุรกิจการธนาคาร
6. ธรุ กิจใหบ รกิ าร เชน ธุรกิจรานเสริมสวย ธรุ กิจนวดแผนโบราณ

33

7. ธุรกิจซ้ือมาขายไป เปนกิจการท่ีซ้ือขายสินคาท้ังขายสงและขายปลีก โดยไมใชผูผลิต
เชน หา งสรรพสนิ คา รา นขายผลไม

สภาพปญหา
1. บุคลากรขาดความชํานาญการทําธุรกิจ บุคลากรสวนใหญโดยเฉพาะธุรกิจขนาดยอม
ขาดความชํานาญการทาํ ธรุ กจิ เชน การวิเคราะหแ นวโนมความตองการของตลาด การทาํ
บญั ชกี ารเงินตาง ๆ
2. ขาดการสรางความเชื่อถือและทําความรูจักกับลูกคา ขาดความเชื่อถือจากลูกคา เชน
การปลอมปนสินคา การสงมอบสินคาไมตรงเวลา นอกจากน้ียังขาดความเขาใจลูกคาซ่ึง
ผปู ระกอบการจะตองทาํ ความรจู ักกับลกู คา เชน รสนิยมความชอบไมชอบ กลุมอายุ กาํ ลังซอ้ื
ของลูกคา

ใบงานที่ 2
สาํ รวจอาชพี ในชมุ ชน ภูมภิ าค ภูมภิ าค 5 ทวีป ไดแ ก ทวปี เอเชีย ทวีปออสเตรเลยี ทวปี อเมรกิ า
ทวปี ยุโรป และทวปี แอฟรกิ า
ใหผเู รียนสํารวจอาชีพในชุมชน ภูมิภาค และในโลกมา 10 อาชีพ ลงในแบบสํารวจ โดย
ดําเนนิ การดงั น้ี
1. ครูและผเู รยี น ศึกษาวิธีการสาํ รวจ แลว รวมกนั กาํ หนดแบบสาํ รวจ และกําหนดวธิ ีการทจ่ี ะ

ใชส ํารวจ
2. ดาํ เนินการสาํ รวจแลวกรอกรายละเอยี ด ดังน้ี

2.1 ช่ือผูเรยี น ศรช. สถานศึกษา ชอ่ื ครปู ระจํากลมุ
2.2 ช่อื อาชีพ เชน เพาะเห็ด
2.3 ทําเลทต่ี ง้ั เชน บานเลขท่ี 207 หมทู ่ี 11 แขวงทาขาม เขตบางขนุ เทียน กรุงเทพมหานคร
2.4 การประกอบอาชีพใหม ีรายละเอียดเกยี่ วกับระยะเวลาการประกอบอาชีพ ต้ังแตเร่ิมตน
จนถึงปจ จุบนั จดุ เริ่มตนหรือเหตจุ ูงใจในการประกอบอาชีพ วัสดุ อปุ กรณ (หลกั ) ที่ใช
กระบวนการผลิต กระบวนการตลาด ปญ หา อปุ สรรค การสรางความม่ันคงในอาชีพ

34

แบบสํารวจ

ชอ่ื ผเู รียน ………………………………………….......... ศรช. … …………………...……………….
สถานศึกษา………………………………………….........ชอ่ื ครปู ระจาํ กลมุ ……………………………

35

กลมุ อาชพี ใหม

จากการเปลี่ยนแปลงในบริบทโลกทั้งในสวนการรวมกลุมทางการเงิน การเปลี่ยนแปลง
เทคโนโลยีอยา งรวดเร็ว การเปล่ียนแปลงของธรรมชาติและส่ิงแวดลอม การเปล่ียนแปลงพฤติกรรม
ของผบู รโิ ภค การรวมกลุมทางเศรษฐกจิ และประการสําคญั คือ การเปล่ียนแปลงโครงสรางประชากร
ทางสงั คม ดังน้นั อาชีพในปจ จุบันจะตอ งมีการพัฒนาวธิ ีการและศกั ยภาพในการแขง ขนั ไดในระดบั โลก
ซ่ึงจะตองคํานึงถึงบริบทภมู ภิ าคหลักของโลก หรือ “รูศักยภาพเขา” หมายถึง ทวีปเอเชีย ทวีปอเมริกา
ทวปี ยโุ รป ทวปี ออสเตรเลีย และทวปี แอฟรกิ า และจะตอ ง “รูศ กั ยภาพเรา” หมายถึง รูศกั ยภาพหลกั ของ
พ้นื ที่ประเทศไทย คอื ศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติในแตละพื้นที่ ศักยภาพของศิลปะ วัฒนธรรม
ประเพณี และวิถชี ีวิตของแตล ะพ้นื ที่ และศกั ยภาพของทรัพยากรมนุษยใ นแตล ะพื้นท่ี ดงั นั้นเพือ่ ใหการ
ประกอบอาชีพสอดคลองกับศักยภาพหลักของพ้ืนที่และสามารถแขงขันในเวทีโลก จึงไดกําหนด
กลุมอาชีพใหม 5 กลุมอาชีพ คือ กลุมอาชีพใหมดานการเกษตร กลุมอาชีพใหมดานพาณิชยกรรม
กลุมอาชีพใหมดานอุตสาหกรรม กลุมอาชีพใหมดานความคิดสรางสรรค และกลุมอาชีพใหมดาน
บริหารจดั การและบริการ

1. กลุมอาชพี ใหมด านการเกษตร คอื การพัฒนาอาชพี ในดานการเกษตรเกี่ยวกับการ
ปลกู พืช เลี้ยงสัตว การประมง โดยนาํ องคค วามรูใ หม เทคโนโลย/ี นวัตกรรม มาพฒั นาใหส อดคลองกับ
ศักยภาพหลักของพ้ืนที่ คือ ศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติในแตละพื้นท่ี ตามลักษณะภูมิอากาศ
ศักยภาพของภูมิประเทศ และทาํ เลทีต่ ง้ั ของแตละพ้ืนท่ี ศักยภาพของศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และ
วิถีของแตละพื้นที่และศักยภาพของทรัพยากรมนุษยในแตละพ้ืนที่ อาชีพใหมดานการเกษตร เชน
เกษตรอินทรยี  เกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม วนเกษตร ธุรกิจการเกษตร เปน ตน

2. กลุมอาชีพใหมดานพาณิชยกรรม คือ การพัฒนาหรือขยายขอบขายอาชีพดาน
พาณชิ ยกรรม เชน ผูใหบ รกิ ารจาํ หนายสนิ คาทงั้ แบบคาปลีกและคาสงใหแ กผบู ริโภคทงั้ มีหนา รา นเปน
สถานท่จี ัดจาํ หนาย เชน หา งราน หางสรรพสินคา ซุปเปอรสโตร รานสะดวกซื้อ และการขายที่ไมมี
หนารา น เชน การขายผา นสื่ออิเล็กทรอนกิ ส

3. กลมุ อาชีพใหมดา นอตุ สาหกรรม คอื การพัฒนาอาชพี ทอี่ าศัยองคค วามรู เทคโนโลย/ี
นวัตกรรม อาชพี เกย่ี วกบั งานชาง ซง่ึ ไดแก ชา งไฟฟา ชา งไม ชางยนต ชา งประปา ชางปูน และชา งเชอ่ื ม
ใหส อดคลอ งกับความตอ งการของตลาดในประเทศ และตา งประเทศและศักยภาพหลักของพ้ืนท่ี เชน
ผูผลิตช้ินสวนอิเล็กทรอนิกสเครื่องใชไฟฟา หรืออุปกรณอิเล็กทรอนิกสโดยทั่วไป เชน IC PCB
ผูประกอบรถยนตและยานยนตประเภทตาง ๆ ผูผลิต ตัวแทนจําหนายหรือผูประกอบชน้ิ สวนหรือ
อะไหลรถยนต ผใู หบรกิ ารซอมบํารุงรถยนต ผูจดั จาํ หนายและศนู ยจาํ หนา ยรถยนตท้ังมือหนึ่งมือสอง

36

ผูผลิตและจําหนายเคร่ืองจักรและเครื่องมือทุกชนิด เชน เครื่องจักรกลหนัก เครื่องจักรกลเบา ผลิต
อปุ กรณห รอื สว นประกอบพ้ืนฐานของเครือ่ งใชไ ฟฟาตา ง ๆ เชน สายไฟ หลอดไฟ ฉนวนไฟฟามอเตอร
ตาง ๆ การผลิตอลูมิเนียม ผลิตและตัวแทนจําหนายผลิตภัณฑเหล็ก สเตนเลส ผูผลิตจําหนายวัสดุ
กอสราง วัสดุตกแตง สขุ ภัณฑ การกอสรา งอาคาร หรือท่อี ยูอาศัย

4. กลมุ อาชีพใหมด านความคดิ สรา งสรรค ทา มกลางกระแสการแขง ขันของโลกธรุ กจิ
ที่ไรพรมแดนและการพฒั นาอยา งกา วกระโดดของเทคโนโลยกี ารสอ่ื สารและการคมนาคม การแลกเปลยี่ น
สนิ คา จากทีห่ น่ึงไปยังอีกสถานท่ี ท่ีอยูหางไกลนั้นเปนเร่ืองงาย ในปจจุบันเมื่อขอจํากัดของการขาม
พรมแดนมใิ ชอ ุปสรรคทางการคา ตอ ไปจงึ ทําใหผบู รโิ ภค หรือผูซ อ้ื มีสิทธเิ ลือกสินคาใหมไดอยางเสรี
ท้ังในดา นคุณภาพและราคา ซง่ึ การเรียนรแู ละพัฒนาสินคา และบรกิ ารตาง ๆ ท่มี ีอยูในตลาดอยูแลวใน
ยคุ โลกไรพรมแดนกระทําไดง า ย ประเทศทม่ี ีตน ทุนการผลิตต่ํา เชน ประเทศจีน อินเดยี เวียดนาม และ
ประเทศในกลมุ ยโุ รปตะวนั ออก จะมีความไดเปรียบในการแขง ขนั ดานราคา ดวยเหตนุ ป้ี ระเทศผนู าํ ทาง
เศรษฐกจิ หลายประเทศ จึงหนั มาสง เสรมิ การดําเนนิ นโยบายเศรษฐกิจสรา งสรรคเพอื่ พัฒนาสนิ คา และ
บริการใหม ๆ และหลกี เลี่ยงการผลิตสินคาทตี่ อ งตอสดู านราคา โดยหลักการของเศรษฐกจิ สรางสรรค
คือ แนวคิดหรอื แนวปฏิบตั ทิ ี่สรา ง/เพม่ิ มูลคา ของสนิ คาและบริการไดโดยไมตองใชทรัพยากรมากนัก
แตใ ชความคดิ สตปิ ญญา และความสรา งสรรคใ หมากข้ึน

ทศิ ทางของแผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสงั คมแหงชาติฉบับท่ี 11 (พ.ศ. 2555 – 2559) ได
กําหนดยุทธศาสตรการปรับโครงสรางเศรษฐกิจสูการเจริญเติบโตอยางคุณภาพและยั่งยืน ให
ความสําคญั กบั การปรับโครงสรางเศรษฐกจิ บนฐานความรู ความคดิ สรา งสรรคและภูมิปญญา ภายใต
ปจจัยสนับสนุนท่ีเอื้ออํานวย และระบบการแขงขันท่ีเปนธรรมเพ่ือสรางภูมิคุมกันใหกับประเทศ
มงุ ปรับโครงสรางและการลงทุนใหสอดคลองกับความตองการของตลาดทั้งภายในและตางประเทศ
สรางมูลคาเพ่ิมใหกับสาขาบริการ ที่มีศักยภาพบนพื้นฐานของนวัตกรรมและความคิดสรางสรรค
พัฒนาธุรกิจสรางสรรคและเมืองสรางสรรค เพิ่มผลิตภาพของภาคเกษตรและสรางมูลคาเพ่ิมดวย
เทคโนโลยีและกระบวนการผลิตท่ีเปนมิตรกับสิ่งแวดลอม พัฒนาภาคอุตสาหกรรมสูอุตสาหกรรม
ฐานความรูเชงิ สรางสรรคและเปนมิตรตอสิง่ แวดลอ ม พัฒนาโครงสรา งพ้นื ฐาน และระบบโลจิสติกส
สรา งความมนั่ คงดานพลงั งานควบคไู ปกับการปฏิรูปกฎหมายและกฎระเบยี บตา ง ๆ ทางเศรษฐกจิ และ
การบริหารจัดการเศรษฐกิจสวนรวมอยางมีประสทิ ธิภาพ เพ่ือใหเปนฐานเศรษฐกิจของประเทศที่
เขมแขง็ และขยายตวั อยา งมีคณุ ภาพ

กลุมอาชีพใหมดานความคิดสรางสรรค จึงเปนอาชีพที่อยูบนพื้นฐานของการใช
องคค วามรู (Knowledge) การศกึ ษา (Education) การสรา งสรรคง าน (Creativity) และการใชท รพั ยสิน

37

ทางปญญา (Intellectual Property) ที่เชื่อมโยงกับพนื้ ฐานทางวฒั นธรรม (culture) การสง่ั สมความรูของ
สงั คม (Wisdom) และเทคโนโลยี/นวัตกรรมสมัยใหม (Technology and Innovation) (อาคม เติมพิทยา
ไพสิฐ, 2553) ดงั นน้ั กลุม อาชพี ใหมดานความคดิ สรางสรรค จงึ เปน การตอยอดหรือการพฒั นาอาชีพใน
กลมุ อาชพี เดมิ คือ กลมุ อาชีพเกษตรกรรม กลุมอาชพี อุตสาหกรรม กลมุ อาชพี พาณชิ ยกรรม กลุมอาชพี
คหกรรม กลุม อาชพี หตั ถกรรม และกลุมอาชีพศลิ ปกรรม

กลุมอาชีพใหมด านความคดิ สรา งสรรค เชน แฟชัน่ เสื้อผา เคร่อื งประดับ เครอ่ื งสําอาง
ทรงผม สปาสมนุ ไพร การออกแบบสอ่ื /ภาพยนตร/โทรทศั น เครื่องใชไ ฟฟา เฟอรน เิ จอร วสั ดุกอสราง
แบบประหยัดพลงั งาน เซรามกิ ผาทอ จักสาน แกะสลัก รถยนตพลังงานทางเลือก ขากลอัตโนมัติเพื่อ
ผพู ิการ การทองเทย่ี วเชงิ วฒั นธรรม ตลาดนํ้าอโยธยา เปนตน

5. กลุมอาชีพใหมดานบริหารจัดการและบริการ เชน ธุรกิจบริการทองเที่ยว ธุรกิจ
บริการสุขภาพ ธุรกิจบริการโลจิสติกส ธุรกิจภาพยนตร ธุรกิจการจัดประชุมและแสดงนิทรรศการ
บริการทีป่ รกึ ษาดานอสังหารมิ ทรัพย ทป่ี รกึ ษาทางธุรกจิ

งานอาชีพใหมทง้ั 5 กลุม ในอนาคตจะมีการเติบโตทางธุรกจิ มากข้ึน จงึ มคี วามตองการ
เจาหนาท่ี บุคคล พนักงาน เพื่อควบคุมและปฏิบัติงานท่ีมีความรู ความสามารถ และทักษะฝมือเปน
จาํ นวนมาก

38

เรอื่ งท่ี 3 การประกอบอาชพี ในภมู ภิ าค 5 ทวปี

ภูมิภาคของโลกประกอบดวย 5 ภมู ิภาค ไดแก เอเชยี อเมริกา ยโุ รป ออสเตรเลีย แอฟรกิ า ซง่ึ ใน
แตละภมู ิภาคจะมลี ักษณะการประกอบอาชพี ที่แตกตางกนั เพราะมีความแตกตางกันทางสภาพบริบท
ของพื้นท่ี ไดแกทรัพยากรธรรมชาติและพ้ืนท่ี ลักษณะภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ศิลปะ วัฒนธรรม
ประเพณี วิถีชีวิต และการดํารงชีวิตของประชาชน ดังน้ันในการประกอบอาชีพ ผูประกอบการ
จําเปน ตอ งเขาใจในความแตกตางของสภาพบริบทของพื้นที่ดังกลาว เพราะในอนาคตการติดตอทาง
การคา จะสามารถเชอ่ื มโยงตดิ ตอ ซอ้ื ขายไดอยา งไมมขี อบเขตจาํ กดั ความแตกตางของลกั ษณะงานอาชพี
ในแตล ะภูมภิ าค มรี ายละเอียดดังนี้

ภูมิภาคเอเชีย สวนใหญของประเทศในภูมิภาคเอเชียประกอบอาชีพเกษตรกรรมเปนหลัก
ไดแก การปลูกพืช การเลยี้ งสัตว การประมงปาไม รวมถงึ งานอาชีพทางดา นเหมืองแร และอุตสาหกรรมดวย
โดยในแตล ะอาชีพทป่ี ระกอบการในภูมภิ าคเอเชีย มลี กั ษณะการประกอบอาชีพ ดงั นี้

การปลูกพืช เปนอาชพี เกษตรกรรมทป่ี ระชาชนสว นใหญใ นแตละประเทศของภมู ภิ าค
เอเชียดาํ เนินการประกอบเปน อาชพี แตมีความแตกตางกนั ไปตามลักษณะภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และ
การดํารงชวี ติ ของประชากร โดยประเทศในเขตพนื้ ที่ราบท่ีมปี รมิ าณฝนเพยี งพอ และประชากรอาศัยอยู
อยางหนาแนน จะมีการดําเนินการประกอบอาชีพการปลูกพืชเพ่ือเลี้ยงตนเอง แตในเขตพ้ืนที่ที่มี
ภมู อิ ากาศแบบปา ดิบชืน้ มีประชากรอยบู างเบา จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมปลูกพืชแบบเลื่อนลอย
ทั้งนีใ้ นพ้นื ทท่ี ี่เปนทุงหญามีระบบชลประทาน สวนใหญจ ะประกอบอาชพี ปลูกพชื พรอมการเลี้ยงสตั ว
โดยพนื้ ท่ีใดของประเทศทอี่ ยูใ นเขตอากาศหนาว เขตทะเลทราย และเขตภเู ขา จะเปน พื้นที่ทไี่ มส ามารถ
ประกอบอาชพี เกษตรกรรมปลกู พชื ได

สําหรับพืชเศรษฐกิจท่ีสําคัญนิยมปลูกในประเทศของภูมิภาคเอเชีย เชน ขาวเจา
ขา วโพด มะพราว ปาลมนํ้ามนั มะกอก ชา ฝา ย ปอ ปา น ยางพารา เปนตน

การเล้ียงสัตว อาชีพเกษตรกรรม การเล้ียงสัตว เปนอีกอาชีพหน่ึงที่ประชาชนใน
ประเทศตาง ๆ ของภมู ภิ าคเอเชียนิยมประกอบอาชีพ แตมีความแตกตางกันไปตามสภาพภูมิประเทศ
และภมู ิอากาศ โดยในประเทศทมี่ ีอากาศแหง แลง แถบเอเชยี ตะวนั ตกเฉียงใต และตอนกลางของภูมิภาค
ซึ่งมีลกั ษณะพนื้ ทีเ่ ปน ทุง หญา ก่ึงทะเลทราย ประชากรในเขตดังกลา วจึงนยิ มเล้ยี งสตั วแบบเรร อน ไดแ ก
อฐู แพะ แกะโค มา และจามรีโดยการเล้ยี งสตั วใ นลกั ษณะดังกลาว เปนการประกอบอาชพี เพ่ือตอ งการนม
และเน้ือนาํ มาใชเปนอาหาร สวนในเขตอากาศรอนช้ืนและอบอุน ประชากรจะนิยมเล้ียงสัตวเพื่อ

39

การบริโภคและการสง เปนสนิ คาออก ไดแก สุกร ไก เปด ท้ังน้ีในเขตอากาศดังกลาว จะนิยมเลี้ยงโค
กระบือ และมา เชนเดยี วกัน แตเ ปน การเลี้ยงไวเ พ่อื ใชง าน

การประมง การประกอบอาชีพประมงของภมู ิภาคเอเชีย มีการดําเนินการประกอบ
อาชพี ประมงใน 2 ลกั ษณะ ไดแก ประมงน้าํ จดื และประมงทางทะเล การประกอบอาชีพประมงนํ้าจืด
สวนใหญจะนยิ มทาํ อาชพี ประมงควบคูกับการปลูกพืช โดยเฉพาะพืชผัก สําหรับการประกอบอาชีพ
ประมงทางทะเล มีการประกอบอาชีพในเขตนานนํ้าแถบชายฝงตะวันออกของภูมิภาคเอเชีย ตั้งแต
อาวไทยไปจนถึงชองแคบเบริง ที่กระแสนํ้าอุนกุโรชิโว ไหลมาบรรจบกับกระแสน้ําเย็นโอยาชิโว
เพราะเปนแหลงท่ีมีอาหารสมบูรณ ทําใหมีสัตวน้ําอยูเปนจํานวนมาก ประเทศญี่ปุนเปนประเทศท่ีมี
การประกอบอาชพี ประมงทางทะเลมากทส่ี ดุ ในโลก นอกจากการประกอบอาชพี ประมงจบั สตั วนาํ้ ทะเล
แลว ตามแนวชายทะเล ยังมีการประกอบอาชีพการเล้ยี งหอยประเภทตาง ๆ รวมถึงสาหรายทะเล ซ่ึงมี
การประกอบอาชพี เชนนี้กระจายโดยทั่วไปในประเทศท่มี พี น้ื ที่ชายทะเล

ปาไม อาชีพปาไม มีการดําเนินงานอาชพี ใน 2 ลักษณะตามเขตภมู ิอากาศ คือ ปา ไมใ น
เขตรอน จะเปน ไมประเภทไมเนื้อแขง็ ในเขตประเทศ ไทย พมา ลาว กมั พชู า เวียดนาม อินเดีย และใน
ประเทศกลุมหมเู กาะ สว นปา ไมในเขตหนาวจะเปนปาตนสนโดยมกี ารนําไมสนมาใชท าํ เปน กระดาษและ
ลงั ไม

เหมอื งแร ภมู ภิ าคเอเชยี เปน ภมู ิภาคทอ่ี ุดมไปดวยแรธ าตุนานาชนิด เนื่องจากมีสภาพ
ภมู ปิ ระเทศเปนเทือกเขาท่ีมีอายแุ ตกตางกัน แรธ าตทุ ่ีสาํ คญั ที่มกี ารขุดขึ้นมาใชประโยชน ไดแก เหล็ก
ถานหิน ดบี ุก นํา้ มนั แมงกานิส เพชร พลอย เปน ตน

อตุ สาหกรรม ในภมู ภิ าคเอเชยี การประกอบอาชพี ดา นอุตสาหกรรม สวนใหญจะเปน
อตุ สาหกรรมแบบหัตถกรรม หรอื อุตสาหกรรมในครัวเรอื น ในลักษณะงานฝม ือ ของทรี่ ะลกึ เชน ผาทอ
เครื่องโลหะ เครื่องแกะสลัก เคร่ืองจักสาน เปนตน สําหรับอุตสาหกรรมใหม ประเทศญ่ีปุน เกาหลี
ไตหวนั และสิงคโปร ถูกจดั ใหเ ปนประเทศในกลมุ อตุ สาหกรรมใหม

ลกั ษณะวิธกี ารคา ในภมู ภิ าคเอเชยี การคาขายแตเดิม ประเทศในภมู ภิ าคเอเชยี จะใชวิธี
ตา งคนตางขาย ต้ังแตป  พ.ศ. 2558 กลมุ ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต ในนามของอาเซียน
กาํ หนดทลายกาํ แพงทางภาษี และรวมคา ขายกับประเทศในภูมิภาคอื่น เพ่ือใหสามารถกระจายสินคา
และสรา งพลงั การตอ ลองราคา

40

ภมู ภิ าคอเมริกา เนอื่ งจากภมู ิภาคอเมรกิ า มีความแตกตางกนั ในดานภูมปิ ระเทศภูมิอากาศ และ
วถิ กี ารดํารงชีวติ คอ นขางสงู ในเขตอเมรกิ าใตและอเมริกาเหนือ การประกอบอาชพี ของท้ัง 2 เขต จึงมี
ความแตกตา งกันไปดวย ดงั น้ี

การปลกู พืช นิยมปลกู พืช มดี ังน้ี อเมรกิ าเหนอื
อเมรกิ าใต

ประเภท ขอ มลู ประเภท ขอมลู

กาแฟ ปลูกมากในประเทศบราซลิ มี ไมมีการปลกู

มากถึงรอ ยละ 50 ของโลก และ

ยังมกี ารปลกู ในประเทศ

โคลมั เบยี และเอกวาดอร

โกโก ปลูกเพอื่ นาํ มาทาํ เปน ไมมีการปลูก

ชอ็ กโกแลต เครอื่ งดื่ม และ

ขนมหวาน นยิ มปลูกใน

ประเทศบราซลิ เอกวาดอร

ขา วโพด เปนพชื ทป่ี ลกู มากในประเทศ ขาวโพด เปนพชื เศรษฐกจิ ของประเทศ

บราซลิ รวมถึง ประเทศ สหรฐั อเมรกิ า ปลกู มากในแถบ

อารเจนตนิ า เวเนซเู อลา เปรู ภาคกลางของประเทศ

และโคลัมเบยี

ขา วสาลี นิยมปลกู ในประเทศบราซิล ขา วสาลี ปลกู มากในประเทศ

อารเจนตินา ชิลี สหรฐั อเมรกิ า และแคนาดา

โดยประเทศสหรัฐอเมรกิ า

จะปลกู ขา วสาลฤี ดูหนาว

ประเทศแคนาดา จะปลกู

ขา วสาลฤี ดใู บไมผ ลิ

ออ ย ปลูกมากในประเทศบราซลิ ไมมีการปลูก

กลว ย ปลกู มากในประเทศเอกวาดอร ไมมีการปลกู

41

ประเภท อเมริกาใต ประเภท อเมริกาเหนอื
ฝา ย ขอมลู ฝา ย ขอมลู

ปลกู มากในประเทศบราซลิ ถั่วเหลอื ง ปลูกมากในบรเิ วณลมุ แมน าํ้
อารเ จนตนิ า ยาสบู มิสซสิ ซปิ ป ภาคตะวนั ตกของ
รัฐแอริโซนา และแคริฟอรเ นยี
ไมมกี ารปลกู ขาวเจา ปลกู มากในเขตทรี่ าบภาคกลาง
ผกั และผลไม ของประเทศสหรฐั อเมรกิ า
ไมม ีการปลกู ตา ง ๆ เปน พืชเศรษฐกจิ ท่สี รา ง
ชือ่ เสียงใหแ กประเทศ
ไมมกี ารปลกู สหรฐั อเมรกิ า ปลกู มากในเขต
ไมม ีการปลกู ภาคตะวนั ออกของประเทศ
สหรฐั อเมรกิ า
ปลูกมากในเขตภาคใตข อง
ประเทศสหรฐั อเมรกิ า
ในภาคตะวนั ออกของประเทศ
สหรฐั อเมรกิ า มกี ารปลกู
เชอรรี สตรอวเบอรรี แอปเปล
ภาคใต ปลกู สม สับปะรด
ชายฝง ตะวันตกเฉยี งใต
ปลูกองนุ มะกอก สม มะนาว

การเล้ยี งสัตว ในเขตอเมรกิ าใต และอเมรกิ าเหนอื มีการเล้ียงสตั ว ดงั นี้
โคเน้ือ ในเขตอเมริกาใต นิยมเล้ียงในประเทศบราซิล อารเจนตินา และ

อรุ ุกวัย สวนในเขตอเมริกาเหนอื นิยมเลีย้ งในแถบตะวนั ตกของประเทศ และจะเล้ียงเปนฟารมปศสุ ัตว
ขนาดใหญ

42

โคนม เขตอเมรกิ าใตไมม ีการเลยี้ งโคนม ในสว นของอเมริกาเหนอื นยิ มเล้ยี ง
ในเขตท่ีราบภาคกลางและภาคตะวนั ออกของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยพื้นที่ดังกลาว จะมีการปลูก
ขา วโพด และถัว่ เหลือง ซึง่ มกี ารนําขา วโพด และถ่ัวเหลอื ง มาใชเ ปนอาหารสตั ว เพ่ือใหโ คนมมสี ขุ ภาพ
แขง็ แรง

แกะ เขตอเมริกาใต นิยมเล้ียงในประเทศอุรุกวัย โดยมีการเล้ียงจํานวนมาก
เปนอันดับ 2 ของโลก ในเขตอเมริกาเหนอื นยิ มเลีย้ งในภาคตะวันตก และตะวนั ตกเฉยี งใตข องประเทศ
สหรฐั อเมริกา

สุกร เขตอเมริกาใต นยิ มเล้ียงในประเทศเปรู และบราซลิ สว นเขตอเมริกาเหนือ
นยิ มเลย้ี งในเขตท่ีเลยี้ งโคนม โดยใชหางนมนาํ มาเลยี้ งสกุ ร

ปา ไม เขตอเมริกาใต เปน แหลง ไมเ นอ้ื แขง็ ที่มอี ยอู ยา งอุดมสมบูรณแ ละกวางขวาง แต
นํามาใชป ระโยชนไ ดนอย เพราะการคมนาคมไมส ะดวก สําหรับเขตอเมรกิ าเหนือ สวนใหญป ระกอบ
อาชพี ปา ไม ท่สี ว นใหญเ ปน ไมเ นอ้ื ออน

เหมืองแร เขตอเมรกิ าใตแ ละอเมรกิ าเหนอื มแี รธาตุทส่ี าํ คญั อืน่ ไดแ ก

อเมรกิ าใต อเมริกาเหนอื
ขอมลู
ประเภท ขอมลู ประเภท
ถา นหนิ มีมากแถบเทอื กเขาดา น
ไมม ที รัพยากรและการผลติ ตะวันตกของประเทศ
สหรฐั อเมรกิ า
เหลก็ มมี ากในประเทศบราซลิ มกี าร เหลก็ มมี ากทบี่ ริเวณเทอื กเขาเมซาบี
ผลิตมากเปน อนั ดบั 2 ของโลก รัฐมนิ นิโซตา และเปน แหลง
รวมท้งั เวเนซเู อรา โบลิเวยี ชิลี เหลก็ ทส่ี าํ คัญทสี่ ุดในเขต
อเมริกาเหนอื
ทองคาํ มมี ากในประเทศบราซิล ทองคาํ แหลงผลติ ทสี่ าํ คญั อยทู ี่
เทือกเขารอกกี้
ทองแดง มีมากเปน อันดับท่ี 1 ของโลก ทองแดง แหลงผลติ ทส่ี าํ คญั อยูที่
ในประเทศชลิ ี รวมท้งั ใน เทือกเขารอกก้ี
ประเทศบราซลิ และเปรู

43

อเมรกิ าใต อเมรกิ าเหนอื

ประเภท ขอมลู ประเภท ขอ มลู

ไมมที รพั ยากรและการผลติ บอกไซต เปน แรธ าตทุ นี่ าํ มาใชเ พอ่ื การผลติ

อลูมิเนยี ม มมี ากท่ีรฐั อารคนั ซอ

ดีบุก ประเทศโบลีเวีย มกี ารผลิตดีบกุ ไมมที รัพยากรและการผลติ

มากเปนอนั ดบั 2 ของโลก

สังกะสี ผลติ มากในประเทศเปรู บราซิล ไมมีทรัพยากรและการผลติ

และอารเจนตนิ า

น้ํามนั ประเทศเวเนซูเอรา เปนประเทศ นาํ้ มนั มแี หลง ผลติ ทางตอนเหนือของ

ทีม่ กี ารผลติ มากทส่ี ดุ และยังมี รัฐอาลาสกา และภาคกลาง

ในประเทศบราซลิ โบลีเวยี ตอนลา งของประเทศแคนาดา

เอกวาดอร

อตุ สาหกรรม ในเขตอเมริกาใต จะเปนอุตสาหกรรมเบา เชน การผลิตน้ําตาล อาหาร
กระปอง ประเทศทมี่ อี ตุ สาหกรรมเจรญิ กาวหนาเปนอุตสาหกรรมขนาดใหญ ไดแก ประเทศบราซิล
และอารเจนตนิ า เปนการผลิตเหล็กกลา น้ํามัน และปโตรเคมี สวนอเมริกาเหนือ เปนสวนภูมิภาคท่ี
เจรญิ กาวหนา มากทางอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการผลติ ในอุตสาหกรรมหลัก

ภมู ภิ าคยโุ รป การดาํ เนนิ งานอาชพี ของประเทศในภูมิภาคยุโรปมีลกั ษณะการประกอบอาชพี ดงั น้ี
การปลูกพืช พ้ืนที่การปลูกพืชของภูมิภาคยุโรป สวนใหญปลูกในยุโรปตะวันออก

และภาคใตข องประเทศอังกฤษ ภาคเหนอื และภาคตะวนั ตกของประเทศฝรง่ั เศส รวมถึงตอนเหนือของ
ประเทศเยอรมัน พืชท่สี าํ คัญและมีผลตอเศรษฐกจิ ไดแ ก

ขา วสาลี ปลูกมาในประเทศยเู ครน ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน โรมาเนีย บัลกาเรีย
เยอรมัน ฮังการี

ขาวโอต ขาวบารเลย ถั่ว มันฝรั่ง ปลูกไดโดยทั่วไปของประเทศตาง ๆ ใน
ภมู ภิ าคยโุ รป

องุน สม มะกอก มะนาว แอปเปล ปลกู มากในประเทศที่มลี ักษณะอากาศแบบ
เมดิเตอรเนยี น ไดแก ประเทศอติ าลี ฝรงั่ เศส สเปน กรซี


Click to View FlipBook Version