กฎหมายอาญา
ภาคความผิด
E-BOOK
นางสาวพิยะลักษณ์ เหมือนพรรณราย
รหัสนิสิต641081239
คำนำ
หนังสือเล่มนี้จัดทำเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชากฎหมายอาญา
ภาคความผิดเพื่อให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับกฎหมายและให้เข้าใจ
กฎหมายมากยิ่งขึ้น
ซึ่งเกี่ยวกับความผิดต่อศาสนา มาตรา206 มาตรา207 ประกอบ
มาตรา208 เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ ผู้จัดทำหวังว่าหนังสือเล่ม
นี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน
หากมีข้อผิดพลาดประการใดผู้จัดทำขอน้อมรับ
และขออภัยมา ณ ที่นี่ด้วย
ผู้จัดทำ
นางสาวพิยะลักษณ์ เหมือนพรรณราย
วันที่14 กันยายน 2565
ศาสนา
ความหมายของศาสนา
“ศาสนา” เก็นศัพท์ในภาษาสันสกฤตบาลีใช้ว่า สาสนา แปลว่าคำสั่งสอน ย่อมมี
ในทุกศาสนา ในฝ่ายตะวันตก คาว่าศาสนาตามความหมายกว้าง ๆ คือ
ความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งมีอานาจอยู่เหนือสิ่งธรรมชาติ จะเรียกว่าพระเจ้าหรือ
พระผู้เป็นเจ้าก็แล้วแต่ ซึ่งพระองค์ทรงปกครองและควบคุมโลก พร้อมทั้งมวล
มนุษยชาติด้วยทิพย์อานาจ มนุษย์มีหน้าที่เป็นพันธกรณี จะต้องมีความเชื่อ ความ
ศรัทธา เคารพบูชาพระองค์และคาสั่งสอนของพระองค์ด้วยความเกรงกลัวและ
ด้วยความจงรักภักดี รับใช้พระองค์ ด้วยการประพฤติปฏิบัติตามหลักคาสั่งสอน
อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้คาว่าศาสนา
ประเทศไทย
แม้รัฐธรรมนูญของไทยจะประกาศเสรีภาพในการนับถือศาสนาและการไม่มีศาสนา
อย่างเป็นทางการ แต่พุทธศาสนานิกายเถรวาทก็ยังคงมีบทบาทสำคัญอย่างมากใน
สังคมไทยทั้งในทางกฎหมายและทางวัฒนธรรม รัฐธรรมนูญประกาศว่าพระมหากษัตริย์
ของไทยต้องเป็นชาวพุทธและเป็นผู้ปกป้องพระพุทธศาสนา พระราชบัญญัติคณะสงฆ์
พ.ศ. 2505 เป็นการดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทพระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์ ซึ่งรวมถึงรูป
ปั้นพระพุทธรูปที่สร้างความเสียหายขโมยซื้อหรือนำออกจากประเทศไทยถ่ายรูปนั่งหัน
เท้าแตะศีรษะและสวมรอยสักรูปพระพุทธเจ้านักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศไทยจาก
ต่างประเทศ ได้รับคำเตือนอย่างจริงจังว่าอย่ากระทำการดังกล่าวเมื่อเดินทางเข้า
ประเทศ ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 มาตรา 206 และ 208 ยังฝ่าฝืนดูหมิ่น
หรือขัดขวางสถานที่และบริการของศาสนาใด ๆ ที่รัฐบาลไทยยอมรับ
ลักษณะ 4 ความผิด
เกี่ยวกับศาสนา
มาตรา 206 “เหยียดหยามศาสนา”
ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ แก่วัตถุหรือสถาน
อันเป็นที่เคารพในทางศาสนาของหมู่ชนใด
อันเป็นการเหยียดหยามศาสนานั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึง
เจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 207 ผู้ใดก่อให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในที่ประชุม
ศาสนิกชนเวลาประชุมกัน นมัสการ หรือกระทำได้พิธีกรรมตาม
ศาสนาใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 208 ผู้ใดแต่งกายหรือใช้เครื่องหมายที่แสดงว่า
เป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวชในศาสนาใดโดยมิชอบ เพื่อให้
บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นบุคคลเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
หนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ลักษณะ 4 ความผิดเกี่ยวกับศาสนา
มาตรา 206 “เหยียดหยามศาสนา”
ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ แก่วัตถุหรือสถานอันเป็นที่เคารพใน
ทางศาสนาของหมู่ชนใด อันเป็นการเหยียดหยามศาสนานั้น
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองพัน
บาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
องค์ประกอบภายนอก
(1) ผู้ใด (ผู้กระทำ)
(2) กระทำด้วยประการใดๆ (การกระทำ)
(3) แก่วัตถุหรือสถานอันเป็นที่เคารพในทางศาสนาของหมู่ชนใด
(วัตถุแห่งการกระทำ)
4) อันเป็นการเหยียดหยามศาสนา (องค์ประกอบภายนอกซึ่งไม่ใช่ข้อเท็จจริ
แต่เป็นพฤติการณ์ประกอบการกระทำ)
องค์ประกอบภ
ายใน เจตนา
(ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผล)
(3) แก่วัตถุหรือสถานอันเป็นที่เคารพในทางศาสนาของหมู่ชนใด
วัตถุ - หมายถึงสิ่งที่เคลื่อนที่ได้ เช่น พระพุทธรูป ไม้กางเขน
ซึ่งเป็นที่เคารพทางศาสนาสถาน - สิ่งที่ติดกับที่ดิน เช่น โบสถ์ เจดีย์ สุเหร่า
ซึ่งเป็นที่เคารพทางศาสนา ศาสนาของหมู่ชน - หมู่ชนจะเป็นจำนวนมากหรือ
น้อยก็ได้ แต่ต้องไม่ใช่บุคคลผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ
และไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นศาสนาใด
4)องค์ประกอบภายนอกซึ่งไม่ใช่ข้อเท็จจริง หมายความว่า
การกระทำจะเป็นการเหยียดหยามหรือไม่ ให้ใช้มาตรฐานของวิญญูชน ไม่
ต้องคำนึงถึงความรู้ของผู้กระทำ ผู้กระทำจะอ้างว่าไม่รู้ว่าเป็นการเหยียด
หยามจึงไม่มีเจตนาเหยียดหยามไม่ได้ หากวิญญูชนเห็นว่าการกระทำเป็นการ
เหยียดหยาม ก็ครบองค์ประกอบความผิด
แต่ถ้าวิญญูชนเห็นว่าไม่เป็นการเหยียดหยาม ผู้กระทำก็ไม่มีความผิด
ตัวอย่าง
นายจิมชาวต่างประเทศเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย
ไม่รู้ว่าวัตถุชิ้นหนึ่งในวัดคือพระพุทธรูป
จึงเอามือลูบเศียรพระพุทธรูปเพื่อให้ช่างถ่ายภาพ นายจิมไม่รู้
ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของมาตรา 206 จึง
ขาดเจตนา แต่ถ้านายจิมรู้อยู่แล้วว่าวัตถุชิ้นนั้นคือพระพุทธ
รูปอันเป็นที่เคารพของพุทธศาสนิกชน แต่ไม่รู้ว่าการที่เอามือ
ลูบเศียรพระพุทธรูปเป็นการเหยียดหยามศาสนานายจิมก็มี
ความผิดตามมาตรา206 เพราะการกระทำเช่นนั้นวิญญูชน
เห็นว่าเป็นการเหยียดหยามศาสนาแล้ว
การกระทำที่ไม่
เป็นความผิด
คำพิพากษาฎีกาที่ 736/2505พระภิกษุร่วมประเวณีกับหญิงใน
กุฏิพระ “กุฏิพระ” ไม่ใช่สถานอันเป็นที่เคารพในทางศาสนา จึงไม่
เป็นความผิดตามมาตรา 206
การกระทำที่เ
ป็นความผิด
คำพิพากษาฎีกาที่ 846/2483 การขุดทำลายเจดีย์วัดร้างเพื่อหา
ทรัพย์และลักพระพุทธรูป เป็นการกระทำต่อสถานที่อันเป็นที่
เคารพในทางศาสนา อันเป็นการเหยียดหยามศาสนา
คำพิพากษาฎีก
าที่ 1807/2550
จำเลยแต่งกายเป็นพระภิกษุ ยืนอยู่ระหว่างพระพุทธรูปปาง
ห้ามญาติและรูปปั้ นหลวงปู่แหวน โดยเท้าข้างหนึ่งยืนอยู่บน
ฐานพระพุทธรูปปางห้ามญาติ และทำท่ายกมือขวาขึ้นเช่น
เดียวกับพระพุทธรูปปางห้ามญาติและมีผู้ถ่ายรูปไว้ ต่อมา
หนังสือพิมพ์ข่าวสดได้นำภาพถ่ายของจำเลยที่แสดงท่าทาง
ดังกล่าวลงพิมพ์เผยแพร่ คดีมีปัญหาวินิจฉัยว่า การกระทำ
ของจำเลยเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า พระพุทธรูป
เป็นที่เคารพสักการะในทางศาสนาของประชาชนผู้นับถือ
ศาสนาพุทธทั่วไป จำเลยแต่งกายเป็นพระภิกษุแล้วใช้เท้าข้าง
หนึ่งยืนอยู่บนฐานพระพุทธรูปปางห้ามญาติ โดยเท้าจำเลย
อยู่บนส่วนหนึ่งของพระบาทพระพุทธรูป ยกมือขวาขึ้นเลียน
แบบพระพุทธรูป ส่วนใบหน้าของจำเลยแสดงท่าทางล้อเลียน
ถลึกตาอ้าปากเช่นนี้ นอกจากเป็นการไม่เคารพต่อพระพุทธ
รูปแล้ว จำเลยยังได้แสดงตนเสมอกับพระพุทะรูป จึงเป็นการ
กระทำอันไม่สมควร และเป็นหารดูหมิ่นเหยียดหยามพระพุทธ
ศาสนา จำเลยมีความผิดตามมาตรา206
มาตรา 207 ความผิดฐานก่อการวุ่นวายในที่ประชุมศาสนิกชน
ผู้ใดก่อให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในที่ประชุมศาสนิกชนเวลาประชุมกัน
นมัสการ หรือกระทำพิธีกรรมตามศาสนาใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมาย
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
องค์ประกอ
บภายนอก
(1) ผู้ใด
(2)ก่อให้เกิดการวุ่นวายขึ้น
(3) ในที่ประชุมศาสนิกชน เวลาประชุมกันนมัสการ หรือกระทำพิธีกรรม
ทางศาสนาใดๆโดยชอบด้วยกฎหมาย
องค์ประกอบภายใน เจตนา
การวุ่นวาย การกระทำต้องมีผล คือ การวุ่นวายเกิดขึ้น
ความวุ่นวายต้องเกิดขึ้นในที่ประชุมศาสนิกชนซึ่งจะกี่คนก็ได้
แต่หมายความว่า หลายคนประชุม นมัสการ หรือกระทำพิธีกรรม ผู้ที่
วุ่นวายคือผู้กระทำความวุ่นวายต้องเกิดขึ้นในเวลาประชุม เช่น ขณะ
กำลังสวดมนต์ไหว้พระ ขณะทำพิธีบวช เผาหรือฝังศพ
(ประชุมกันกระทำพิ ธีกรรม)
ฎีกาที่ 1109/2500 การแห่นาคไปตามถนนหลวง เป็นการ
กระทำตามประเพณีนิยมของบางชนหมู่ ยังไม่ถึงขั้น
พิธีกรรมทางศาสนา เป็นการสนุกสนานตามประสาชาวบ้าน
มีผู้เมาสุราชักมีดไล่แทงคนในขบวนแห่ และใช้น้ำโคลน
สกปรกสาดเข้าไป ทำให้วุ่นวายแตกตื่นยังไม่ผิดมาตรา207
(แต่ถ้าแห่นาคเข้าไปในวัดกำลังเวียนรอบโบสถ์ คงถือว่าเป็น
พิธีกรรมทางศาสนาได้แล้ว)
ฎีกาที่ 392/2500 ชาวบ้านแห่ต้นดอกไม้และปราสาทผึ้งขึ้นไป
บนกุฏิพระในวัด เพื่อถวายตามพิธีกรรมทางพุทธศาสนา จำเลย
เมาสุราขึ้นไปบนกุฏิด่าพระภิกษุและหยิบปราสาทผึ้งมาเตะเล่น
ข้างล่างกุฏิ ถือว่าเกิดการวุ่นวายแล้ว จำเลยผิดมาตรานี้
มาตรา 208 แต่งกายหรือใช้เครื่องหมายเลียนแบบพระ หรือนักบวช
ผู้ใดแต่งกายหรือใช้เครื่องหมายที่แสดงว่าเป็นภิกษุ สามเณร นักพรต
หรือนักบวชในศาสนาใดโดยมิชอบ เพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นบุคคล
เช่นว่านั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
องค์ปร
ะกอบภายนอก
(1) ผู้ใด
(2)แต่งกายหรือใช้เครื่องหมายที่แสดงว่าเป็นพระภิกษุ
สามเณร นักพรต หรือนักบวชในศาสนาใด โดยมิชอบ
องค์ปร
ะกอบภายใน
(1) เจตนา
(2) เจตนาพิเศษ
“เพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่า ตนเป็นบุคคลเช่นว่านั้น”
ภิกษุ สามเณร หมายถึงผู้บวชในพุทธศาสนาตามกฎหมาย
(พ.ร.บ.คณะสงฆ์)
นักพรต นักบวช คือ ผู้บวชในศาสนาอื่น
“เพื่อให้ผู้อื่นเชื่อว่า ตนเป็นบุคคลเช่นว่านั้น” เป็นเจตนาพิเศษ หากขาด
เจตนาพิเศษ การกระทำก็ไม่เป็นความผิด เช่นโกนศีรษะสวมจีวรในการ
แสดงภาพยนตร์ เป็นต้น
ฎีกาที่ 4499/2539 คณะสงฆ์ชั้นต้นมีคำวินิจฉัยว่า จำเลย
กระทำผิดล่วงละเมิดพระธรรมวินัย ให้จำเลยสึกจากการเป็น
พระภิกษุ จำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยดังกล่าวต่อ
คณะสงฆ์ และกลับมาแต่งกายเป็นพระภิกษุอีก เพื่อให้
บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นพระภิกษุ จำเลยมีความผิดตาม
มาตรา208
ฎีกาที่ 3699-3739/2541 พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505
มาตรา 23 กำหนดให้การแต่งตั้งพระอุปัชฌาย์เป็นไปตาม
หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม
เมื่อจำเลยไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์
แต่ทำพิธีบวชให้ผู้อื่น การบวชจึงไม่ชอบตามกฎพระมหาเถร
สมาคม และ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ผู้รับการบวชจึงไม่มีสิทธิแต่ง
กายหรือใช้เครื่องหมายที่แสดงว่าเป็นพระภิกษุในพุทธ
ศาสนา ต้องมีความผิดตามมาตรา 208 จำเลยซึ่งเป็นผู้บวช
ให้และทำหน้าที่เป็นพระผู้รับนำเข้าหมู่ เป็นผู้สนับสนุนตาม
มาตรา 208,86
ฎีกาที่ 1798/2542 พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 29 การ
สละสมณเพศเพราะถูกจับในข้อหาคดีอาญาแยกได้เป็น 3 กรณี คือ
1.เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่เห็นสมควรให้ปล่อย
ชั่วคราวและเจ้าอาวาสไม่ยอมรับตัวไว้ควบคุม พนักงานสอบสวน
ดำเนินการให้สละสมณเพศได้
2. พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเห็นว่าไม่ควรปล่อย
ชั่วคราวและไม่ควรมอบตัวให้เจ้าอาวาสรับตัวไปควบคุม ก็ดำเนินการ
ให้สละสมณเพศได้
3. พระภิกษุรูปนั้นไม่ได้สังกัดอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งหรือเป็นพระจรจัด ก็
ดำเนินการให้สละสมณเพศได้ กรณีของจำเลยปรากฏว่าร้อยตำรวจ
โท ส. นำจำเลยไปพบพระ ท. เจ้าอาวาสวัดและมีตำแหน่งเป็นเจ้า
คณะและพระภิกษุผู้ใหญ่อีกหลายรูปเพื่อทำการสอบสวนจำเลยแล้ว
ไม่ได้ความชัดว่าจำเลยจำพรรษาและสังกัดวัดใด จำเลยได้ยินยอมสึก
จากการเป็นพระภิกษุโดยทำการเปลื้องจีวรออกแล้วแต่งกายด้วยชุด
ขาว จึงถือได้ว่าจำเลยได้สละสมณเพศแล้วในขณะนั้น ตาม
พ.ร.บ.คณะสงฆ์ฯ มาตรา 29 การที่จำเลยอ้างว่ายอมเปลื้องจีวรออก
เพื่อต่อสู้คดี ไม่เป็นเหตุให้จำเลยซึ่งได้สละสมณเพศแล้วกลับมาเป็น
พระภิกษุใหม่อีก ดังนั้น เมื่อภายหลังจำเลยกลับมาแต่งกายเป็นพระ
ภิกษุเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นพระภิกษุ
การกระทำจึงเป็นความผิดตามมาตรา 208
ฎีกาที่ 6782/2543พระภิกษุถูกจับในข้อหามีวัตถุออกฤทธิ์ต่อ
จิตประสาทไว้ในครอบครอง เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินการให้
สละสมณเพศตามอำนาจหน้าที่ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ฯ มาตรา 29
ให้ไว้ ในคดีนี้ เจ้าพนักงานตำรวจให้จำเลยพนมมือต่อหน้า
พระพุทธรูป ซึ่งอยู่บนสถานีตำรวจและกล่าวคำว่า “ข้าพเจ้าขอ
ลาสึกก่อน” และจำเลยถอดสบงและจีวรแล้วใส่เสื้อผ้าอื่นที่
ตำรวจจัดหาให้ และเจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัวไปควบคุมไว้ ต่อมา
จำเลยได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจึงได้แต่งกายเป็นพระ
ภิกษุอีก ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยย่อมเข้าใจว่าตนยังไม่ขาด
จากความเป็นพระภิกษุ เนื่องจากไม่สมัครใจลาสิกขาบท และ
เข้าใจว่าเจ้าพนักงานตำรวจกระทำโดยพละการ จำเลยไม่มี
เจตนากระทำความผิดตามมาตรา 208
บทสรุป
ศาสนาทุกศาสนาถือว่าเป็นสถาบันที่สําคัญของสังคมทุกสังคมรวมท้ังสังคมไทยและ มีความ
ผูกพันกับคนไทยมาช้านาน โดยเฉพาะศาสนาพุทธเป็นทั้งที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ เป็นบ่อเกิดของ
ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะวิทยาการ และเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต ให้
คนไทยมพื้นฐานทางจิตใจและสังคมที่ดี ดังนั้นการกระทำไม่ว่าด้วยประการใดๆก็ตามซึ่งจะ
ถือว่าเป็นการดูหมิ่นเหยีดหยาม ศาสนาหรือไม่ จะต้องพิจารณาถึงความยึดถือในทางศีลธรรม
ของมนุษย์ ประกอบด้วยและการกระทํา ดังกล่าวจะต้องเป็นการกระทําที่ถึงขนาดก่อกวนความ
สงบสาธารณะหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน ซึ่งจะเห็นได้ว่าบทบัญญัติตามประมวล
กฎหมายอาญาในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานเหยยีดหยามศาสนาก็ยังไม่มีความชัดเจน ในกา
รกระทําในลักษณะใดบ้างที่จะเป็นการเหยียดหยามศาสนาอยู่นั้นเอง อย่าวไรก็ดีในปัจจุบันคน
ไทยต้องประสบกับปัญหามากมายทั้งด้านการเมืองเศรษฐกิจทำให้สังคมไทย ต้องหันไปพึ่งพา
วัตถุมากขึ้นจนหลงลืมวิถีชีวิตด้ังเดิม และอาจหลงลืมไปว่าสิ่งจําเป็น
ในการดํารงชีวิต ของมนุษย์นั้นไม่ใช่วัตถุแต่เป็นจิตใจ และการประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรม
ของศาสนาต่างหากที่จะนําพาชีวิตมนุษย์ไปสู่เป้าหมายที่ดีงาม สุดท้ายหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคน
ไทยจะเห็นถึงความสําคัญของ ศาสนา ปฏิบัติตามคําสั่งสอนของศาสนา ไม่ดูหมิ่นเหยียดหยาม
ศาสนาอื่น และรู้จักที่จะนําหลักธรรม ของศาสนามาใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตต่อไป
อ้างอิง
สถิตย์ ไพเราะ. คำบรรยายสำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
ภาคหนึ่ง สมัย 65ปีการศึกษา2555
การปฏิรูปกฎหมาย : LAW REFOR
https://www.drthawip.com/criminalcode/1-30
Thyoaun!k
E-BOOK
นางสาวพิยะลักษณ์ เหมือนพรรณราย
รหัสนิสิต641081239