The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

ต้นหนวดหมึก

ต้นหนวดหมึก

ต้นหนวดปลาหมึก จัดทำ โดย นายอภิชัย เรืองเกตุ เลขที่ 6 นางสาวสุทธิดา ภาษี เลขที่ 15 นางสาวกาญจณา เสียงสี เลขที่ 21 คุณครูอรรถชัย มีสุข เสนอ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 /10 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต


ต้นหนวดปลาหมึก มีถิ่นกำ เนิดในรัฐควีนส์แลนด์ ปาปัวนิวกินี และ อินโดนีเซีย เป็นไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 2 เมตร เจริญเติบโตเร็วมาก ใบมีสี เขียวเป็นมัน ต้นหนวดปลาหมึก มีหลายชนิด มีทั้งใบเล็ก ใบใหญ่ แต่จะมีลักษณะ เหมือนกัน คือใบจะแตกออกมาจากกิ่งเดียว โดยแต่ละกิ่งจะมีใบ ประมาณ 7-15 ใบ ซึ่งจะกางออกคล้ายกับนิ้วของคน ต้นหนวดปลาหมึกเจริญได้ดีในห้อง ที่มี ความอบอุ่น มีการเจริญเติบโตที่สม่ำ เสมอ เมื่อปลูกไปนานๆ ต้นหนวดปลาหมึก จะมีลำ ต้นที่สูง ถ้าต้องการให้แตกกิ่งก้านสาขา ควรตัดยอดออก ต้นหนวด ปลาหมึกคนเป็นต้นไม้อีกชนิดที่คนรักการตกแต่งบ้านตกแต่งสวนรู้จักดี ด้วย คุณสมบัติที่เป็นต้นไม้ใบเยอะ ดูแลง่าย โตเร็ว เรียกได้ว่าเอามาลงในสวนใช้เวลา ไม่นาน ก็ได้ไม้พุ่มใหญ่ ๆ มาอยู่ในบ้านแล้ว ช่วยให้บรรยากาศในบ้านดูสดชื่นขึ้น ไปได้มาก ต้นหนวดปลาหมึกราคาไม่สูง สามารถนำ มาปลูกลงพื้นที่ได้ในจำ นวน มาก ทำ ให้เราสามารถได้สวนเขียว ๆ ได้ในต้นทุนที่ไม่สูง และยังเป็นสวนที่เติบโต ได้อย่างรวดเร็วด้วย ที่สำ คัญประโยชน์ของต้นหนวดปลาหมึกยังมีมากมาย รวม ทั้งเป็นต้นไม้ที่ค่อนข้างทนและดูแลไม่ยาก เพียงแค่ดูแลดิน ดูแลน้ำ ดูแลแสง เติม ปุ๋ยบ้างในบางครั้ง และหมั่นตกแต่งทรงพุ่มให้อยู่ในขนาดที่ต้องการอยู่เสมอ เท่านั้น เพียงแค่นี้เราก็จะได้ทรงพุ่มเขียว ๆ สบายตาให้บ้านเรือนอาคารได้ ต้นหนวดปลาหมึก หรือ Umbrella Tree, Octopus tree เป็นต้นไม้อีก ชนิดที่มักจะนำ มาปรับแต่งฮวงจุ้ยกัน ด้วยความที่ใบของต้นหนวดปลาหมึกนั้น เป็นลักษณะแผ่และปลายมน เกาะกันเป็นแผงคล้ายฝ่ามือ จึงเชื่อกันว่า เป็นต้นไม้ ที่นำ มาปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย สิ่งไม่ดีที่เข้ามาที่บ้านของเรา การวางต้นหนวดปลาหมึก นิยมวางไว้ที่ตรงประตูบ้านทั้งสองข้าง หรือที่ประตูตัวบ้านก็ได้เช่นกัน


ลักษณะทั่วไป (ลำ ต้น) ลำ ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 6-12 ม. ขนาดทรงพุ่ม 5-6 ม. ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มทรงกระบอก หรือรูปร่ม ลำ ต้นตั้งตรง เปลือกต้นสี น้ำ ตาลอ่อนหรือสีเทา ค่อนข้างเรียบ มีรากอากาศห้อยตามลำ ต้นและกิ่ง (ใบ) ใบประกอบรูปนิ้วมือ เรียงเวียนสลับ ก้านใบรวมยาว 30-40 ซม. ก้านใบ ย่อยยาว 4-6 ซม. มีใบย่อย 6-9 ใบ รูปรี หรือรูปรีแกมรูป ขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 15-25 ซม. ปลายใบติ่งแหลมหรือมน โคนใบแหลมหรือมน ขอบใบเป็น คลื่น แผ่นใบค่อนข้างหนาและเหนียว สีเขียวเข้มเรียบเป็นมัน ดอก สีชมพู ออกเป็นช่อแบบช่อซี่ร่มแยกแขนงที่ปลายกิ่ง ช่อดอก ตั้งยาว 50-70 ซม. ดอกอยู่รวมกันเป็นกระจุกกระจุกละ 11-13 ดอก บนแกนช่อดอก กลีบเลี้ยง เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอก 5 กลีบรูป สามเหลี่ยม ปลายกลีบแหลมโค้งเข้า เกสรเพศผู้ 13 อัน เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 1 ซม. ออกดอกเดือน มี.ค.-ก.ค. (ผล) ผลแห้งแตก สีแดง ออกอยู่รวมกันเป็นกระจุก พัฒนาจากฐาน รองดอกทรง กระบอก มีลิ้นเปิดให้เมล็ดออกมา เมล็ดทรงกลม สีนํ้าตาล อมดำ ขนาดเล็ก จำ นวนมาก ติดผลเดือน พ.ค.-ส.ค. ขยายพันธุ์โดยการ เพาะเมล็ด ตอนลำ ต้น หรือปักชำ กิ่งแขนงข้างลำ ต้น วิธีการปลูกต้นหนวดปลาหมึก ต้นหนวดปลาหมึกสามารถปลูกได้ทั้งในร่มและที่กึ่งร่มกึ่งแดด สำ หรับวิธีการปลูก ต้นหนวดปลาหมึกนั้นมีวิธีการดังนี้ – การเตรียมดิน ต้นหนวดปลาหมึกชอบดินร่วนปนทรายที่สามารถอุ้มน้ำ ได้ แต่ก็สามารถระบายน้ำ ได้ดี ไม่ชอบน้ำ ขังเพราะอาจก่อให้เกิดโรคกับรากได้ และยังสามารถนำ ไปปลูกได้ทั้ง ในกระถาง และนำ ไปลงดินภายนอกอาคารก็ได้เหมือนกัน


– การจัดแสงแดด ต้นหนวดปลาหมึกเป็นไม้ที่ต้องการแสงสว่างในการเจริญเติบโต แต่ว่าไม่ชอบการ ได้รับแสงตรง ๆ จึงสามารถนำ มาปลูกในร่ม ในสวนประดับ หรือในอาคารได้ แต่ไม่ เหมาะกับการปลูกในห้องปิดทึบ ที่จำ เป็นต้องย้ายออกไปรับแสงบ้าง และด้วย ขนาดของต้นหนวดปลาหมึกที่สามารถโตได้เร็ว การย้ายไปย้ายมาก็อาจเป็นภาระ ได้ – การรดน้ำ ต้นหนวดปลาหมึกชอบน้ำ และความชื้น จึงควรรดน้ำ ได้อย่างสม่ำ เสมอและหลีก เลี่ยงการปล่อยดินให้แห้งแตก – การใส่ปุ๋ย การบำ รุงต้นหนวดปลาหมึกสามารถใช้ได้ทั้งปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมี ทั้งนี้ควร หลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยคอก/ปุ๋ยหมักกับต้นหนวดปลาหมึกที่ปลูกในอาคาร เพราะอาจ ทำกทำให้เกิดกลิ่นได้ ารดูแลรักษา แสง ต้องการแสงสว่างในการเจริญเติบโตแต่ไม่ชอบแสงแดดโดยตรง อุณหภูมิ ชอบอุณหภูมิประมาณ 24-27 องศาเซลเซียส ความชื้น ต้องการความชื้นมากในขณะที่ต้นยังเล็ก น้ำ ควรให้น้ำ น้อยแต่ให้บ่อย ๆ ครั้ง หากดินแห้งควรให้น้ำ ดินปลูก ดินร่วน 2 ส่วน ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า 1 ส่วน ใบไม้ผุ ๆ 1 ส่วน ทราย หยาบ 1 ส่วน ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกละลายน้ำ รดเดือนละ 2 ครั้ง กระถาง ควรเปลี่ยนกระถางใหม่ทุกปี โรคและแมลง ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค ส่วนแมลงได้แก่ เพลี้ยต่าง ๆ การป้องกันและกำ จัด ใช้ยาไซกอน อัตรา 20 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร รดที่โคนต้น


ต้นหนวดปลาหมึกเป็นต้นไม้ที่ปลูกได้ทั้งที่กึ่งแดดกึ่งร่ม เราจึงมักใช้ประโยชน์ จากต้นหนวดปลาหมึกด้วยการนำ มาประดับอาคารบ้านเรือน หรือสวนหย่อมด้าน นอกอาคาร เนื่องจากเป็นต้นไม้ที่ปลูกง่าย การดูแลไม่มาก เพียงแค่จัดแสง น้ำ และ อากาศให้ถ่ายเทได้สะดวกก็เพียงพอ โดยประโยชน์ของต้นหนวดปลาหมึกนอกจาก นำ มาใช้เป็นไม้ประดับแล้ว ด้วยธรรมชาติของไม้ต้นนี้ที่สามารถคายความชื้นได้ใน ระดับปานกลาง ทำ ให้ช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศได้ และที่สำ คัญหนวดปลาหมึกยัง สามารถช่วยกรองสารพิษในอากาศได้ด้วย จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะปลูกไว้ในสวน ปลูกริมถนน เพื่อกรองอากาศก่อนเข้าสู่ตัวบ้านได้ด้วยเหมือนกัน


Click to View FlipBook Version