The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รวมเล่มหน่วยที่ 6 ความยาว

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Kamon Cha, 2021-03-05 00:01:54

รวมเล่มหน่วยที่ 6 ความยาว

รวมเล่มหน่วยที่ 6 ความยาว

ผลการสอนโดยใช้วธิ ีการแบบเปิด (Open Approach)
เรื่อง ความยาว

ระดับชั้นประถมศกึ ษาปีท่ี 3

โรงเรียนขจรเกียรตถิ ลาง
ปกี ารศกึ ษา 2563 ภาคเรียนที่ 2



คำนำ

เอกสารฉบับนี้เป็นการสรุปผลการสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) ของ
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขจรเกียรติถลาง ปีการศึกษา 2563 ในเรื่อง ความยาว โดย
ได้นำแนวคิดวิธีการแบบเปิดจาก รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ มาปรับใช้กับการเรียนการสอน
คณิตศาสตร์ในช้นั เรียนมกี ารทำการศึกษาชัน้ เรยี น (Lesson Study) ควบคู่ไปกับการสอนแบบเปดิ
เพื่อใหเ้ กิดประโยชน์สูงสุดในการจดั กิจกรรมและเป็นประโยชนต์ ่อครูและนกั เรยี นตอ่ ไป

สารบัญ ข

คำนำ หน้า
สารบัญ
กิจกรรมคาบท่ี 1 “จรวดเหนิ เวหา” ก
กจิ กรรมคาบที่ 2 “ฉันมีคา่ แคไ่ หน” ข
กจิ กรรมคาบท่ี 3 “การเดินทางของฉันและเธอ” 1
ภาพกิจกรรมการจดั การเรียนการสอน
14
29
43

1

แผนการจดั การเรียนรกู้ ลุม่ สาระการเรียนรคู้ ณติ ศาสตร์
ในโครงการพัฒนาวิชาชีพครูคณติ ศาสตร์ ด้วยนวัตกรรมศึกษาชน้ั เรยี น (Lesson Study)

และวธิ ีการสอนแบบเปดิ (Open Approach) ชน้ั ประถมศกึ ษาปีท่ี 3
โรงเรยี นขจรเกยี รติถลาง สงั กดั สำนักงานคณะกรรมการสง่ เสรมิ การศึกษาเอกชนจงั หวัดภูเก็ต

กลุม่ สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สาระการเรียนรู้ ขนาดและการวดั หน่วยการเรียนรู้ท่ี 6

เร่ือง ความยาว หน้า 73 - 74 กิจกรรมเร่ือง จรวดเหนิ เวหา

คาบที่ 1/5 จำนวน 50 นาที วันที่ 29 มกราคม 2563

ระดบั ชัน้ ประถมศกึ ษาปีท่ี 3 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียน ขจรเกยี รตถิ ลาง

ชอ่ื ผรู้ ่วมสรา้ งแผน

1.นางบปุ ผา แสงศรี รองผอู้ ำนวยการโรงเรียนขจรเกยี รติถลาง

2.นางสาวธิดารัตน์ โสตะกุล หัวหนา้ กลุ่มสาระคณติ ศาสตร์

3. นางสาวณัฐธดิ า มะอนันต์ ครูประจำวิชาคณิตศาสตร์ ป.3

4. นางสาวกมลชนก จ่าภา นักศึกษาฝึกปฏิบตั กิ ารสอนในสถานศกึ ษา

5. นางสาวนันวรรณ คำภีระ นักศึกษาฝกึ ปฏิบัตกิ ารสอนในสถานศึกษา

ชือ่ ผู้บันทึก นางสาวกมลชนก จา่ ภา

ชือ่ ผ้สู อน นางสาวกมลชนก จา่ ภา

1. เปา้ หมายของบทเรยี นระดบั หน่วยการเรียนร้แู ละเปา้ หมายของบทเรียนในแตล่ ะคาบในหน่วยการเรียนรู้
นน้ั (Aim of the Lesson)

เปา้ หมายของบทเรียนระดบั หน่วยการเรยี นรู้
1. นกั เรียนสามารถเข้าใจความหมายของความยาวและระยะทางได้
2. นักเรยี นร้จู ักและเข้าใจวธิ ใี ช้เครอื่ งมือในการวัดความยาวได้
3. นักเรียนสามารถเข้าใจวธิ กี ารการใชเ้ ครื่องมือท่ีเหมาะสมในการวัดระยะทางได้
4. นกั เรยี นสามารถคาดคะเนระยะทางได้
5. นกั เรียนสามารถเปรยี บเทียบวธิ กี ารในการวดั ความยาวได้
6. นักเรยี นเข้าใจความสัมพันธ์ของหนว่ ยวดั ความยาวได้
เปา้ หมายของบทเรียนในแต่ละคาบในหนว่ ยการเรียนรนู้ ั้น (คาบท่ี 1/5)
1. นักเรยี นสามารถวัดความยาวในหน่วยเมตรและเซนตเิ มตร รวมทัง้ บอกวธิ กี ารวดั ได้
2. นักเรยี นสามารถวดั ความยาวของระยะทางจากจุดหน่งึ ไปยงั อีกจุดหนึง่ ได้
3. นกั เรยี นสามารถเปรียบเทียบระยะทางของจรวดที่แตล่ ะกลมุ่ รอ่ นได้
4. นักเรียนเข้าใจความสมั พนั ธ์ของหนว่ ยเมตรและเซนติเมตร (1 เมตร = 100 เซนติเมตร)

ลขิ สทิ ธิ์ของศนู ยว์ จิ ยั คณิตศาสตรศึกษา หา้ มเผยแพรโ่ ดยไมไ่ ดร้ ับอนุญาต ศนู ย์วจิ ยั คณิตศาสตรศกึ ษา มหาวิทยาลยั ขอนแก่น

2

2. ลำดบั กจิ กรรมการสอน ใหแ้ บง่ เน้ือหาสาระในคาบที่จะสอนออกเป็นกจิ กรรมยอ่ ย ๆ ในแต่ละชว่ ง
เพื่อใหไ้ ดค้ วามรู้ ความคดิ รวบยอด แนวคิด วิธกี าร ฯลฯ ที่เปน็ ขอ้ ความรู้ส่วนยอ่ ย ๆ เมอื่ ครบคาบเรยี น
แล้วจะได้ตามจดุ ประสงคข์ องคาบเรยี นนั้น

การแสดงแทนโลกจรงิ ของนักเรยี น
- การร่อนของจรวดกระดาษที่นกั เรยี นพับข้ึนเอง
สอ่ื กง่ึ รปู ธรรม
- อปุ กรณ์การวัด ไดแ้ ก่ ตลบั เมตร ไมเ้ มตร ไม้บรรทดั หรอื สายวัดความยาว
การแสดงแทนโลกคณติ ศาสตร์
- การวดั และอ่านค่าความยาวของระยะทางทร่ี ่อนจรวดกระดาษได้
- การเลอื กเครอ่ื งมือในการวัดใหเ้ หมาะสมกบั สิ่งของท่ีต้องการวดั
- การเปรยี บเทยี บความยาวของสงิ่ ของต้งั แต่ 2 ชน้ิ ขน้ึ ไป

3. ขนั้ ตอนการสรา้ งสถานการณ์ปญั หาปลายเปดิ
3.1 เนื้อหาสาระ ทักษะ กระบวนการ และ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ที่ต้องการจะเน้นใน

สถานการณ์ปัญหาปลายเปิดของหน่วยการเรียนรู้นี้ (พิจารณาเปรียบเทียบระหว่างหนังสือเรียน
คณติ ศาสตร์ไทย กบั หนงั สอื เรียนคณิตศาสตรญ์ ี่ปุ่น)

3.1.1 เนอ้ื หาสาระ

1. ความยาว (length) หมายถึง ระยะจากจุดเริ่มต้นถึงจุดสุดท้าย เป็นระยะที่อยู่ในแนวราบหรือ

แนวนอน

2. การวัดความยาว (measure the length) หมายถึง การหาระยะจากจุดเริ่มต้นถึงจุดสุดท้าย

ของสิ่ง ๆ หนึ่ง โดยต้องให้จุดเริ่มต้นของเครื่องมือวัดอยู่ที่ปลายข้างหนึ่งของวัตถุ จากนั้นทาบเครื่องมือวัดไป

ตามสิง่ ท่ตี อ้ งการวดั จนถงึ จุดปลายของส่ิงท่ีตอ้ งการวัด

การเปรียบเทียบความยาวที่มหี นว่ ยความยาวเปน็ เมตร และเซนตเิ มตร

ความยาวระหวา่ งจดุ 2 จดุ ตามแนวเสน้ ตรงเรยี กว่า “ระยะทาง”

3. ตลบั เมตร เปน็ เครอ่ื งมอื ทด่ี ที ีส่ ุดในการวัดระยะทางของการร่อนจรวดกระดาษ
3.1.2 ทกั ษะ/กระบวนการ

1. ทกั ษะกระบวนการทำงานกลุ่ม (นกั เรยี นมสี ว่ นรว่ มในการทำงานกลุ่มและมีความสามัคคีในกลมุ่ )
2. ทักษะการคิดวเิ คราะห์ (นักเรียนสามารถวิเคราะห์เกย่ี วกับการเลือกเคร่ืองมอื ที่ใชใ้ นการวัดสง่ิ ของ
ได้เหมาะสม)
3. ทักษะการให้เหตผุ ล (นักเรียนสามารถใหเ้ หตผุ ลการเลือกเครื่องมือวัดได้)
4. ทกั ษะการเชอ่ื มโยง (นกั เรียนสามารถเช่อื มโยงความรู้เดิมเกีย่ วกับการวดั ความยาวในหนว่ ย
เซนตเิ มตรและมิลลิเมตรได้)

ลิขสิทธิ์ของศนู ยว์ จิ ยั คณิตศาสตรศกึ ษา ห้ามเผยแพร่โดยไมไ่ ดร้ บั อนญุ าต ศูนยว์ ิจยั คณติ ศาสตรศกึ ษา มหาวิทยาลยั ขอนแกน่

3

5. ทักษะการนำเสนอ (นักเรียนสามารถนำเสนอแนวคิดในการวัดความยาวได้)
6. ทักษะการสื่อสาร (นักเรียนสามารถส่อื สารและตัง้ คำถาม เพอื่ ใหเ้ กิดความเข้าใจทตี่ รงกนั ได้)
3.1.3 คณุ ลักษณะอันพงึ ประสงค์
1. นักเรียนเกิดการยอมรับฟังความคิดเหน็ ของผู้อน่ื
2. มีความรับผดิ ชอบและรว่ มมอื กนั ภายในกล่มุ
3. มคี วามตรงต่อเวลา
4. มคี วามกล้าแสดงออก

3.2 คำสำคัญในสถานการณ์ปัญหาปลายเปิด ธรรมชาติการคิดหรือกระบวนการเรียนรู้ของ
นักเรียนจากหน่วยการเรียนรู้ก่อนหน้านี้ หรือจากชั้นเรียนก่อนหน้านี้ หรือจากประสบการณ์ใน
ชีวิตประจำวันของนักเรียนที่ครูรู้ ที่เกี่ยวข้องกับ เนื้อหาสาระ ทักษะ กระบวนการ และคุณลักษณะอันพงึ
ประสงค์ที่กำหนดในข้อ 3.1 เพื่อใช้ในการพิจารณาภาษาที่จะกำหนด “คำสำคัญ” (Key words) ใน
สถานการณ์ปญั หาปลายเปดิ

คำสำคัญ
1. ความยาว (length) หมายถึง ระยะจากจุดเริ่มต้นถึงจุดสุดท้าย เป็นระยะที่อยู่ในแนวราบหรือ
แนวนอน
2. การวัดความยาว (measure the length) หมายถึง การหาระยะจากจุดเริ่มต้นถึงจุดสุดท้าย
ของสิ่ง ๆ หนึ่ง โดยต้องให้จุดเริ่มต้นของเครื่องมือวัดอยู่ที่ปลายข้างหนึ่งของวัตถุ จากนั้นทาบเครื่องมือวัดไป
ตามส่ิงที่ต้องการวัด จนถงึ จุดปลายของส่งิ ทตี่ ้องการวัด
3. ตลับเมตร หมายถึง เครื่องมอื วัดชนิดหน่ึงท่ีมีสายวัดเก็บอยู่ในตลบั อยา่ งมิดชดิ ทำให้สะดวกในการ
นำติดตัวไปใช้งานไดต้ ลอดเวลา ตลับเมตรใช้ในการวดั หาระยะหรือตรวจสอบขนาดของวสั ดุ สง่ิ ของ
4. ระยะทาง หมายถงึ ความยาวระหว่างจดุ 2 จุด ตามแนวเสน้ ตรง

3.3 สถานการณ์ปญั หาในรูปคำสั่งทชี่ ดั เจนและนกั เรยี นเขา้ ใจไดง้ า่ ยๆ
สถานการณ์ปัญหา : ใหน้ กั เรียนแต่ละกลุม่ ร่อนจรวดกระดาษแข่งกัน แลว้ ดูว่าใครจะรอ่ นจรวดได้ไกล
ท่ีสดุ
คำสั่ง : ลองคิดเกี่ยวกับวิธีการวัดความยาวของจรวดกระดาษที่ร่อนไปเพื่อเปรียบเทียบวา่ ใครร่อนไป
ไดไ้ กลทสี่ ุด

3.4 การสรา้ งหรือออกแบบส่ือใหส้ ัมพันธก์ ับคำส่งั ในสถานการณ์ปญั หาปลายเปดิ โดยมสี ่ือหลักท่ี
ใช้ในการสรา้ งสถานการณป์ ญั หาปลายเปิด และสื่อสง่ เสริมที่จะใชใ้ นขณะทีน่ กั เรียนนำเสนอแนวคดิ ต่อชนั้
เรียน หรอื ในขณะท่ีครสู รปุ บทเรียน

สอ่ื หลัก
- สถานการณป์ ญั หา คำส่งั และใบกจิ กรรม

ลิขสทิ ธ์ิของศนู ย์วจิ ยั คณิตศาสตรศกึ ษา หา้ มเผยแพรโ่ ดยไม่ไดร้ ับอนุญาต ศนู ยว์ จิ ยั คณติ ศาสตรศึกษา มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น

4

- จรวดกระดาษ
- ตลบั เมตร
- ไมเ้ มตร
- ไม้บรรทัด
ส่อื เสรมิ
- บตั รขอ้ ความ “ความยาวระหวา่ งจุด 2 จุด ตามแนวเส้นตรงเรยี กวา่ “ระยะทาง””
- บตั รข้อความ “1 เมตร = 100 เซนติเมตร”

3.5 การกำหนดเวลาทีใ่ ช้ในแต่ละคำสง่ั และการกำหนดคาบพรอ้ มกับเป้าหมายของบทเรยี นของ
แตล่ ะคาบ

1. ข้ันนำเสนอสถานการณป์ ัญหา (5 นาท)ี
1) ครกู ลา่ วทกั ทายนกั เรียน และทบทวนเกีย่ วกบั การวัดความยาวในหนว่ ยเซนตเิ มตรและมิลลิเมตร
2) ครูนำเข้าสู่สถานการณ์ปัญหาบนกระดาน และถามนักเรียนว่า “จากสถานการณ์ที่กำหนดให้
นักเรียนคิดว่าเมื่อวัดระยะที่จรวดกระดาษร่อนได้จะออกมาในหน่วยความยาวใด” (เมตรและเซนติเมตร)
จากนัน้ ครถู ามนักเรียนเกย่ี วกบั ความสัมพนั ธ์ของหนว่ ยความยาวเมตรและเซนติเมตร และติดบัตรข้อความ “1
เมตร = 100 เซนติเมตร”
3) ครูแจกกระดาษขนาด A4 ให้นักเรียนกลุ่มละ 1 แผ่น และให้นักเรียนพับจรวดแบบเดียวกันเพื่อ
ความยุติธรรม โดยครูสาธิตการพบั และให้นักเรียนพับตามทีละข้ันตอน เม่ือพบั เสรจ็ ให้เขียนช่ือกลุ่มของตนเอง
กำกบั บนจรวดกระดาษ จากนั้นครูตดิ คำสง่ั ท่ี 1 บนกระดานและใหน้ ักเรยี นอ่านพร้อมกนั 1 รอบ

4) ครแู จกใบกิจกรรมใหน้ ักเรียนแต่ละกลุ่มและอธิบายการบนั ทกึ และการเขยี นอธิบายวิธีการวัดความ
ยาวเพื่อหาระยะทาง แลว้ นำนักเรยี นออกมายังบริเวณทำกจิ กรรม

2. การเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรยี น (20 นาท)ี
5) ครูเรียกให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมาร่อนจรวดกระดาษ โดยครูกำหนดจุดเริ่มต้นให้ทุกคนอยู่ใน
ระยะเดยี วกัน และรอ่ นกระดาษไปในทิศทางเดยี วกนั

ลิขสิทธ์ิของศนู ยว์ จิ ยั คณิตศาสตรศกึ ษา หา้ มเผยแพรโ่ ดยไม่ได้รับอนญุ าต ศูนยว์ จิ ัยคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลยั ขอนแกน่

5

6) เมื่อนักเรียนกลุ่มหนึ่งร่อนจรวดเสร็จแล้ว ครูให้นักเรียนในกลุ่มช่วยกันหาวิธีการวัดความยาวของ
การร่อนจรวดกระดาษโดยเลอื กจากเคร่ืองมือการวัดท่ีครมู ีให้ คอื ไมบ้ รรทดั ไม้เมตร ตลับเมตร

7) ใหน้ กั เรียนวดั ระยะทางที่รอ่ นได้ แลว้ จดบันทึก
8) ครูให้นักเรียนกลุ่มต่อไปร่อนจรวดกระดาษและทำการเลือกเครื่องมือและวัดระยะทางจรวด
กระดาษทร่ี อ่ นได้ และบันทกึ ระยะทางทไี่ ด้ลงในใบกจิ กรรมแบบเดมิ จนครบทุกกลุ่ม
3. ขัน้ อภิปรายและเปรยี บเทียบแนวคดิ ทงั้ ช้ันเรยี น (15 นาที)
9) ให้นักเรียนออกมานำเสนอแนวคิดการเลือกเครื่องมือการวัดและวิธีการวัดระยะทางของการร่อน
จรวดกระดาษหน้าชน้ั เรยี น พรอ้ มทั้งให้นักเรียนในช้ันรว่ มกันอภปิ รายความเหมอื นและต่างของแตล่ ะแนวคดิ
4. สรุปเพื่อเช่อื มโยงแนวคดิ ของนักเรียนทเี่ กิดขึ้นในชนั้ เรียน (10 นาที)
10) ครูให้นักเรียนร่วมกนั สรุปในประเด็น

- การเลอื กใชเ้ คร่อื งมอื วดั (ตลับเมตรเป็นเครื่องมอื ทดี่ ีท่ีสุดในการวดั ระยะทางการร่อนจรวด)
- วิธีการวดั ความยาว
- การอ่านคา่ ความยาวทีว่ ัดได้
- ความสมั พันธ์ของหน่วยเมตรและเซนติเมตร
11) ครใู หน้ กั เรียนร่วมกนั อภิปรายเกี่ยวกับระยะทาง พร้อมติดบตั รข้อความ “ความยาวระหว่างจุด 2
จดุ ตามแนวเสน้ ตรงเรียกว่า “ระยะทาง””

3.6 การคาดคะเนแนวคดิ ของนักเรยี นทจ่ี ะตอบสนองต่อคำสั่งแตล่ ะคำสั่ง
สถานการณ์ปญั หา : ให้นกั เรียนแตล่ ะกลมุ่ รอ่ นจรวดกระดาษแข่งกัน แล้วดูว่าใครจะร่อนจรวดได้ไกล
ท่ีสดุ
คำสั่ง : ลองคิดเกี่ยวกับวิธีการวดั ความยาวของจรวดกระดาษที่ร่อนไปเพื่อเปรียบเทียบว่าใครร่อนไป
ได้ไกลที่สดุ
การคาดการณแ์ นวคิดของนกั เรยี น
วิธกี ารวัด
- นักเรียนใช้ไม้บรรทัดในการวัดระยะทาง โดยเมื่อวัดได้ระยะหนึ่งจะทำเครื่องหมายไว้แล้วจึงวัดต่ อ
จากจุดทท่ี ำเคร่ืองหมายไปเรอื่ ย ๆ สดุ ทา้ ยนำระยะท่ไี ดท้ งั้ หมดมาบวกกนั
- นักเรียนใช้ไม้เมตรในการวดั ระยะทาง โดยเมื่อวัดได้ระยะหนึ่งจะทำเครือ่ งหมายไว้แล้วจึงวัดตอ่ จาก
จดุ ทท่ี ำเคร่ืองหมายไปเร่ือย ๆ สุดท้ายนำระยะท่ไี ดท้ ง้ั หมดมาบวกกนั
- นักเรียนใช้ตลับเมตรในการวัดระยะทาง โดยเริ่มวัดจากจุดที่ร่อนไปยังจุดที่จรวดกระดาษตก โดย
ไม่ไดเ้ ปน็ แนวเสน้ ตรงไปขา้ งหนา้
- นักเรยี นใชต้ ลับเมตรในการวัดระยะทาง โดยเรมิ่ วัดจากจุดท่ีร่อนไปยังจุดทจ่ี รวดกระดาษตก โดยวัด
เป็นแนวเส้นตรงไปข้างหนา้
การอา่ นความยาว

ลิขสทิ ธ์ิของศนู ยว์ จิ ัยคณติ ศาสตรศึกษา ห้ามเผยแพร่โดยไมไ่ ดร้ บั อนญุ าต ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลยั ขอนแก่น

6

- อา่ นหนว่ ยเปน็ เซนติเมตรเพยี งอยา่ งเดียว
- อา่ นหนว่ ยเป็นเมตรและเซนตเิ มตร

4. การจัดลำดับการนำเสนอแนวคิดของนักเรยี นเพอื่ ใหเ้ กดิ การเช่อื มโยงทง้ั แนวคดิ และความคิดรวบยอด
ทางคณติ ศาสตรแ์ ละอน่ื ๆ ของบทเรียนในแตล่ ะคาบ

จดั ลำดับการนำเสนอโดยเรียงจากกลมุ่ ท่ีมแี นวคดิ ที่ยังไม่สมบูรณ์ไปสู่กล่มุ ทม่ี แี นวคิดท่สี มบรู ณ์ โดย
เรยี งลำดับการนำเสนอแนวคิด ดังน้ี

วธิ ีการวัด
- นกั เรียนใชไ้ ม้บรรทดั ในการวัดระยะทาง โดยเมอื่ วดั ไดร้ ะยะหน่ึงจะทำเครื่องหมายไวแ้ ล้วจึงวดั ต่อ
จากจดุ ทท่ี ำเคร่ืองหมายไปเรื่อย ๆ สุดทา้ ยนำระยะท่ีไดท้ ้ังหมดมาบวกกัน
- นักเรยี นใชไ้ มเ้ มตรในการวดั ระยะทาง โดยเมอื่ วดั ได้ระยะหนง่ึ จะทำเครอ่ื งหมายไวแ้ ลว้ จึงวดั ตอ่ จาก
จดุ ทท่ี ำเครื่องหมายไปเร่ือย ๆ สดุ ทา้ ยนำระยะทีไ่ ด้ทงั้ หมดมาบวกกัน
- นกั เรยี นใช้ตลับเมตรในการวัดระยะทาง โดยเริ่มวดั จากจุดทรี่ อ่ นไปยังจุดท่จี รวดกระดาษตก โดย
ไมไ่ ดเ้ ป็นแนวเส้นตรงไปขา้ งหนา้
- นักเรยี นใชต้ ลบั เมตรในการวดั ระยะทาง โดยเริม่ วัดจากจุดท่รี ่อนไปยังจดุ ท่จี รวดกระดาษตก โดยวดั
เป็นแนวเส้นตรงไปข้างหนา้
การอา่ นความยาว
- อ่านหน่วยเป็นเซนตเิ มตรเพียงอย่างเดยี ว
- อา่ นหน่วยเปน็ เมตรและเซนติเมตร

5. ประเด็นท่จี ะใชใ้ นการรว่ มอภิปรายในชนั้ เรียนเพ่ือให้นักเรียนบรรลเุ ป้าหมายของบทเรยี นในแตล่ ะคาบ
- เครอื่ งมือมาตรฐานที่นิยมทีใ่ ชใ้ นการวดั ความยาวในหนว่ ยเมตรและเซนติเมตร
- การเลอื กใช้เครื่องมอื ในการวดั ระยะทาง
- วธิ กี ารวัดความยาวของระยะทาง
- การอา่ นความยาว (หนว่ ยของความยาวเมตรและเซนติเมตร)
- ความสัมพนั ธข์ องหนว่ ยเมตรและเซนติเมตร
- การคาดคะเนความยาวของสง่ิ ของและระยะทาง

6. การวดั และประเมนิ ผล

ส่งิ ทต่ี ้องการวดั วิธีการวัด เคร่อื งมอื ที่ใช้ในการวัด
ด้านความรู้ (K) สงั เกตจาก - การทำกิจกรรม
- การตอบคำถาม - ใบกจิ กรรม

ลิขสิทธิ์ของศนู ย์วจิ ยั คณิตศาสตรศึกษา ห้ามเผยแพรโ่ ดยไมไ่ ดร้ บั อนุญาต ศนู ยว์ ิจัยคณิตศาสตรศกึ ษา มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น

7

สิง่ ท่ตี ้องการวัด วิธกี ารวดั เครอื่ งมอื ทใี่ ชใ้ นการวดั

1. นักเรียนสามารถวัดความยาวในหน่วย - การร่วมกจิ กรรม

เมตรและเซนติเมตร รวมทั้งบอกวิธีการวัด - การทำ/ตรวจใบงาน
ได้

2. นักเรียนสามารถวัดความยาวของ

ระยะทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึง่ ได้

3. นักเรียนสามารถเปรียบเทียบระยะทาง

ของจรวดทแี่ ตล่ ะกลุ่มร่อนได้

4. นักเรียนเข้าใจความสัมพันธ์ของหน่วย

เมตรและเซนติเมตร (1 เมตร = 100

เซนตเิ มตร)

ด้านทกั ษะกระบวนการ (P) สังเกตจาก - ใบกิจกรรม

1. ทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม (นักเรียน - การทำกิจกรรมกลุ่ม

มีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่มและมีความ - การแก้สถานการณ์ปัญหา

สามัคคีในกลุม่ ) - การนำเสนอแนวคิดหนา้ ชั้น

2. ทักษะการคิดวิเคราะห์ (นักเรียนสามารถ เรยี น
วิเคราะห์เกี่ยวกับการเลือกเครื่องมือที่ใช้ใน - การแสดงความคดิ เหน็ หรือต้งั
การวดั ส่ิงของไดเ้ หมาะสม)
คำถาม
3. ทักษะการให้เหตุผล (นักเรียนสามารถให้

เหตุผลการเลือกเครอื่ งมือวดั ได้)

4. ทักษะการเชื่อมโยง (นักเรียนสามารถ

เชื่อมโยงความรู้เดิมเกี่ยวกับการวัดความ

ยาวในหน่วยเซนตเิ มตรและมิลลิเมตรได้)

5. ทักษะการนำเสนอ (นักเรียนสามารถ

นำเสนอแนวคดิ ในการวดั ความยาวได้)

6. ทักษะการสื่อสาร (นักเรียนสามารถ

ส่ือสารและต้ังคำถาม เพือ่ ให้เกิดความเข้าใจ

ที่ตรงกนั ได)้

ด้านเจตคติ (A) สงั เกตจาก -

1. นกั เรยี นเกดิ การยอมรับฟงั ความคิดเหน็ - ความสนใจในการทำกิจกรรม

ของผู้อื่น - การมีส่วนร่วม ในการทำงาน
2. มีความรบั ผดิ ชอบและรว่ มมือกนั ภายใน กลุ่ม
กลมุ่

ลขิ สิทธิ์ของศูนยว์ จิ ยั คณิตศาสตรศกึ ษา หา้ มเผยแพร่โดยไมไ่ ด้รับอนุญาต ศนู ยว์ ิจัยคณติ ศาสตรศกึ ษา มหาวิทยาลยั ขอนแกน่

8

9

ตัวอยา่ งใบกจิ กรรม

หน่วยท่ี 6 ใบกจิ กรรมที่ 14
กจิ กรรม จรวดเหนิ เวหา
สถานการณปญั หา : ใหน้ กั เรียนแตล่ ะกล่มุ รอ่ นจรวดกระดาษแข่งกนั แลว้ ดูวา่ ใครจะร่อนจรวดได้ไกลทส่ี ุด
คาสั่ง : ลองคดิ เก่ียวกับวธิ กี ารวัดความยาวของจรวดกระดาษทร่ี ่อนไปเพอ่ื เปรียบเทียบว่าใครร่อนไปได้ไกลทส่ี ดุ

กลมุ่ ระยะทางทว่ี ัดได้

วิธีการวดั ความยาวท่ีกลมุ่ ตัวเองใช้

รายชือ่ สมาชกิ ในกลุ่ม ป.3 หอ้ ง...................................
1. ชอ่ื เล่น ………………………………. 2. ช่ือเลน่ ……………………………….
3. ชอ่ื เลน่ ………………………………. 4. ชือ่ เลน่ ………………………………. 5. ชือ่ เลน่ ……………………………….

ลขิ สทิ ธ์ิของศนู ย์วจิ ัยคณติ ศาสตรศึกษา ห้ามเผยแพร่โดยไมไ่ ด้รบั อนญุ าต ศูนยว์ ิจยั คณติ ศาสตรศกึ ษา มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่

กิจกรรม แนวคิด จัดทลี ะกล
สถานการณ์ปญั หา

คำสั่ง

ลมุ่ ให้นกั เรยี นเลือกเคร่ืองมือเอง 10

สรุป

- การเลือกใชเ้ คร่ืองมอื
- วธิ ีการวัดแบบใดง่าย
- การอ่านค่าท่ีวัดได้

แผนการจดั การเรียนรู้ (ฉบับยอ่ ) โจทย/์ สถานการ
วชิ าคณิตศาสตร์ ระดับชน้ั ประถมศึกษาปีที่ 3 สถานการณ์ปัญห

ชื่อครผู ูส้ อน : นางสาวกมลชนก จ่าภา นกั เรียนชั้นประถมศึกษาปที ี่ 3 วนั ที่ 29 มกราคม 2564 คำสง่ั : ลองคดิ เก
ชอ่ื โรงเรยี น:โรงเรยี นขจรเกียรติถลาง
จำนวน 25 คน เวลา ____________ น. การคาดการณแ์ น
วิธีการวัด - นกั เร
ชอ่ื หนว่ ยการเรียนรู้: ความยาว จำนวน 1 คาบ ชอื่ แผน: จรวดเหนิ เวหา แผนที่ 1/5 จดุ ท่ีทำเครื่องหม

จดุ ประสงคก์ ารเรยี นร้ขู องหนว่ ยการเรยี นรู้ : จดุ ประสงคข์ องแผน: - นักเ
1. นกั เรยี นสามารถเขา้ ใจความหมายของความยาวและ 1. นักเรยี นสามารถวดั ความยาวในหนว่ ยเมตรและ ท่ที ำเครื่องหมายไ
ระยะทางได้ เซนตเิ มตร รวมทั้งบอกวิธีการวัดได้
2. นกั เรียนรูจ้ กั และเข้าใจวิธใี ช้เครอ่ื งมือในการวดั ความยาว 2. นกั เรยี นสามารถวัดความยาวของระยะทางจากจดุ - นักเ
ได้ หน่งึ ไปยงั อีกจุดหน่ึงได้ เปน็ แนวเส้นตรงไ
3. นักเรียนสามารถเขา้ ใจวิธกี ารการใช้เครอื่ งมอื ทเี่ หมาะสม 3. นักเรยี นสามารถเปรยี บเทยี บระยะทางของจรวดทแ่ี ต่
ในการวัดระยะทางได้ ละกล่มุ รอ่ นได้ - นักเ
4. นักเรยี นสามารถคาดคะเนระยะทางได้ 4. นักเรียนเข้าใจความสมั พนั ธข์ องหนว่ ยเมตรและ เปน็ แนวเสน้ ตรงไ
5. นักเรยี นสามารถเปรียบเทยี บวิธีการในการวัดความยาว เซนตเิ มตร (1 เมตร = 100 เซนตเิ มตร)
ได้ ลำดับการสอน 4 ข
6. นกั เรียนเขา้ ใจความสัมพนั ธ์ของหน่วยวัดความยาวได้ ลำดับกิจกรรมการสอน (Flow of Lesson/ 1. ขัน้ นำเสนอสถา
Sequence of Teaching): 1) ครกู ล่าวทกั ทาย
สาระสำคัญของแผน (Concept/ Main Ideas): 1.การแสดงแทนโลกจริงของนักเรียน 2) ครูนำเขา้ สสู่ ถาน
1. ความยาว (length) (Representations of Real World): หน่วยความยาวใด”
2. การวัดความยาว (measure the length) - การร่อนของจรวดกระดาษทีน่ กั เรียนพบั ขนึ้ เอง 3) ครแู จกกระดาษ
2.การแสดงแทนดว้ ยสอ่ื ก่งึ รปู ธรรม ขั้นตอน เมื่อพับเสร
- การเปรียบเทยี บความยาวที่มีหน่วยความยาวเป็นเมตร และ (Representations of Semi Concrete Aids): 4) ครูแจกใบกิจกรร
เซนติเมตร - อุปกรณ์การวัด ได้แก่ ตลับเมตร ไม้เมตร ไม้บรรทดั กิจกรรม
หรอื สายวัดความยาว 2. การเรียนรู้ดว้ ยต
- ความยาวระหว่างจุด 2 จุด ตามแนวเส้นตรงเรยี กว่า 3.การแสดงแทนโลกคณิตศาสตร์ (Representations 5) ครเู รยี กใหน้ กั เรยี
“ระยะทาง” of Mathematical World): 6) เมื่อนักเรยี นกลุ่ม
3. ตลบั เมตร - การวดั และอา่ นค่าความยาวของระยะทางท่ีรอ่ นจรวด คอื ไม้บรรทดั ไมเ้ ม
กระดาษได้ 7) ให้นกั เรยี นวัดระ
สอื่ หลัก(สอื่ สำหรบั สรา้ งสถานการณป์ ัญหา): - การเลือกเครือ่ งมอื ในการวดั ให้เหมาะสมกบั ส่งิ ของท่ี 8) ครูให้นกั เรียนกล
ตอ้ งการวัด จนครบทกุ กลุ่ม
- สถานการณ์ปัญหา คำสงั่ และใบกจิ กรรม - การเปรียบเทียบความยาวของสงิ่ ของต้งั แต่ 2 ช้ินขึน้ 3. ข้นั อภปิ รายและ
ไป 9) ให้นกั เรียนออกม
- จรวดกระดาษ - ตลบั เมตร อภปิ รายความเหมอื
การคาดการณ์ปญั หาจริงของนกั เรียน 4. สรุปเพือ่ เชอ่ื มโย
- ไม้เมตร - ไมบ้ รรทดั (Students’ authentic problems) : การพบั 10) ครูใหน้ กั เรียนร
จรวดใหร้ ่อนได้ไกล , การวดั ความยาว
สอ่ื เสรมิ (สื่อสำหรับช่วยในการนำเสนอแนวคดิ ของ - การเลือกใชเ้ ค
- การอ่านคา่ คว
นกั เรียน) : 11) ครใู หน้ กั เรียนร

- บตั รข้อความ “ความยาวระหว่างจดุ 2 จดุ ตามแนว

เสน้ ตรงเรียกว่า “ระยะทาง””

- บตั รข้อความ “1 เมตร = 100 เซนติเมตร”

รณป์ ัญหา (Task/ Problem situation) 11
หา : ใหน้ กั เรียนแต่ละกลุ่มร่อนจรวดกระดาษแขง่ กนั แลว้ ดวู า่ ใครจะร่อนจรวดได้ไกลที่สุด
กย่ี วกับวิธีการวัดความยาวของจรวดกระดาษท่รี ่อนไปเพือ่ เปรยี บเทยี บว่าใครรอ่ นไปไดไ้ กลทีส่ ดุ

นวคิดของนักเรยี น การอา่ นความยาว
รียนใชไ้ ม้บรรทดั ในการวัดระยะทาง โดยเมอ่ื วดั ได้ระยะหน่ึงจะทำเครื่องหมายไว้แลว้ จงึ วัดตอ่ จาก - อา่ นหนว่ ยเปน็ เซนติเมตร
มายไปเรื่อย ๆ สดุ ทา้ ยนำระยะท่ีไดท้ ง้ั หมดมาบวกกัน เพยี งอย่างเดียว
เรียนใช้ไมเ้ มตรในการวัดระยะทาง โดยเม่อื วดั ได้ระยะหนึ่งจะทำเคร่อื งหมายไว้แล้วจงึ วดั ตอ่ จากจดุ - อา่ นหน่วยเปน็ เมตรและ
ไปเรอื่ ย ๆ สุดทา้ ยนำระยะท่ไี ด้ท้ังหมดมาบวกกนั เซนตเิ มตร
เรียนใช้ตลับเมตรในการวดั ระยะทาง โดยเริม่ วัดจากจดุ ที่ร่อนไปยงั จดุ ทจ่ี รวดกระดาษตก โดยไมไ่ ด้
ไปข้างหนา้
เรยี นใชต้ ลับเมตรในการวัดระยะทาง โดยเร่ิมวัดจากจดุ ท่รี ่อนไปยงั จดุ ท่ีจรวดกระดาษตก โดยวัด
ไปขา้ งหนา้

ขน้ั ตอนตามวธิ ีการแบบเปิด (Open Approach)
านการณ์ปัญหา (5 นาท)ี
ยนักเรยี น และทบทวนเกยี่ วกบั การวดั ความยาวในหน่วยเซนติเมตรและมลิ ลเิ มตร
นการณป์ ัญหาบนกระดาน และถามนกั เรียนว่า “จากสถานการณ์ที่กำหนดให้ นกั เรียนคดิ วา่ เมื่อวัดระยะทจ่ี รวดกระดาษรอ่ นไดจ้ ะออกมาใน
” จากนั้นครูถามนักเรียนเก่ยี วกับความสัมพนั ธข์ องหน่วยความยาวเมตรและเซนติเมตร และตดิ บตั รข้อความ “1 เมตร = 100 เซนตเิ มตร”
ษขนาด A4 ให้นักเรยี นกลมุ่ ละ 1 แผน่ และให้นกั เรียนพบั จรวดแบบเดยี วกันเพ่อื ความยตุ ิธรรม โดยครูสาธิตการพบั และให้นกั เรียนพับตามทลี ะ
รจ็ ให้เขียนชื่อกล่มุ ของตนเองกำกับบนจรวดกระดาษ จากน้นั ครูตดิ คำส่งั ที่ 1 บนกระดาน
รมให้นกั เรียนแตล่ ะกลมุ่ และอธบิ ายการบนั ทกึ และการเขยี นอธบิ ายวธิ ีการวัดความยาวเพือ่ หาระยะทาง แลว้ นำนกั เรยี นออกมายังบริเวณทำ

ตนเองของนักเรียน (20 นาที)
ยนแตล่ ะกลุ่มออกมาร่อนจรวดกระดาษ โดยครกู ำหนดจดุ เร่มิ ตน้ ใหท้ ุกคนอยู่ในระยะเดยี วกนั และรอ่ นกระดาษไปในทิศทางเดยี วกัน
มหน่ึงรอ่ นจรวดเสรจ็ แลว้ ครูให้นกั เรียนในกลมุ่ ชว่ ยกันหาวิธกี ารวดั ความยาวของการร่อนจรวดกระดาษโดยเลือกจากเคร่ืองมือการวดั ที่ครูมีให้
มตร ตลบั เมตร
ะยะทางทร่ี ่อนได้ แลว้ จดบันทกึ
ลุ่มตอ่ ไปรอ่ นจรวดกระดาษและทำการเลือกเครื่องมือและวัดระยะทางจรวดกระดาษทร่ี ่อนได้ และบนั ทกึ ระยะทางที่ได้ลงในใบกจิ กรรมแบบเดมิ

ะเปรยี บเทียบแนวคิดทั้งช้นั เรียน (15 นาที)
มานำเสนอแนวคดิ การเลือกเครอื่ งมอื การวัดและวิธีการวดั ระยะทางของการรอ่ นจรวดกระดาษหน้าช้นั เรียน พร้อมทัง้ ให้นกั เรียนในชน้ั ร่วมกนั
อนและต่างของแต่ละแนวคดิ
ยงแนวคิดของนกั เรียนที่เกดิ ข้ึนในชัน้ เรยี น (10 นาที)
รว่ มกันสรปุ ในประเด็น
ครื่องมือวดั (ตลบั เมตรเปน็ เครอ่ื งมอื ทด่ี ที ่สี ดุ ในการวดั ระยะทางการร่อนจรวด) - วิธีการวัดความยาว
วามยาวท่ีวัดได้ - ความสมั พนั ธ์ของหนว่ ยเมตรและเซนตเิ มตร
ร่วมกนั อภปิ รายเก่ียวกับระยะทาง พร้อมตดิ บตั รข้อความ “ความยาวระหว่างจุด 2 จุด ตามแนวเสน้ ตรงเรียกวา่ “ระยะทาง””

12

หนว่ ยการเรยี นรทู้ ี่ 6 บันทึกหลังการสอน จำนวน 50 นาที
สอนวันท่ี 2 กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. 2564
กิจกรรมเร่ือง จรวดเหินเวหา เรื่อง ความยาว
ระดบั ชั้น ประถมศึกษาปที ี่ 3
ง คาบท่ี 1/5
ภาคเรียนท่ี 2

ผลการสอน
เป้าหมายของคาบนี้ คอื

1. นักเรยี นสามารถวัดความยาวในหนว่ ยเมตรและเซนตเิ มตร รวมทัง้ บอกวธิ กี ารวดั ได้
2. นักเรยี นสามารถวดั ความยาวของระยะทางจากจดุ หนึ่งไปยังอีกจดุ หนง่ึ ได้
3. นกั เรยี นสามารถเปรยี บเทยี บระยะทางของจรวดที่แต่ละกล่มุ รอ่ นได้
4. นกั เรียนเข้าใจความสัมพนั ธ์ของหน่วยเมตรและเซนติเมตร (1 เมตร = 100 เซนตเิ มตร)
โดยมสี ถานการณป์ ัญหาและคำสัง่ ดงั ต่อไปนี้

สถานการณ์ปญั หา : ใหน้ ักเรยี นแตล่ ะกลมุ่ ร่อนจรวดกระดาษแขง่ กัน แล้วดูว่าใครจะร่อนไดไ้ กลทส่ี ุด

จากสถานการณป์ ญั หานกั เรียนมวี ิธีการพับจรวดของแต่ละกลุ่มทีแ่ ตกต่างกัน

คำสงั่ : ลองคดิ เกย่ี วกบั วธิ ีการวัดความยาวของจรวดทร่ี อ่ นไปเพอ่ื เปรยี บเทียบว่าใครร่อนได้ไกลท่สี ดุ

จากคำสั่ง นักเรียนหลายกลุ่มรู้จักวิธีการวัดความยาวว่าวัดจากอะไร แต่ไม่สามารถเขียนอธิบาย
ออกมาเปน็ ขน้ั ตอนได้ โดยกลมุ่ ทีส่ ามารถอธิบายได้บอกวา่

- การวดั ต้องเร่มิ วัดจากจดุ เริม่ ต้น โดยใช้สายวดั ตัว หรือ ตลบั เมตร ไม้เมตรกไ็ ด้ แตใ่ นทนี่ ี้ นักเรียนเลือกใช้
ตลบั เมตรเพราะมีความยาวมากกว่า และวัดไปยงั จดุ ทจ่ี รวดตก คอื จุดส้นิ สุด

- นักเรียนสามารถบอกว่าความสมั พนั ธข์ องเมตรกับเซนติเมตรไดว้ ่า 100 เซนติเมตร = 1 เมตร
- นักเรยี นสามารถเปลย่ี นหน่วยไดแ้ ละสามารถเข้าใจวา่ เมอื่ หน่วยเดยี วกันสามารถนำมาบวกกันได้

ลิขสทิ ธ์ิของศนู ย์วจิ ยั คณิตศาสตรศกึ ษา ห้ามเผยแพรโ่ ดยไมไ่ ด้รบั อนญุ าต ศนู ยว์ จิ ัยคณิตศาสตรศึกษา มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น

13

ปัญหา/อปุ สรรค
- สถานท่ใี นการร่อนจรวดเป็นทโี่ ลง่ ทำให้จรวดตกลงไปขา้ งล่าง
- เมอ่ื เป็นกจิ กรรมนอกหอ้ งนกั เรยี นต่นื เตน้ และมีความวุ่นวายเกิดขนึ้ และเสียงดงั

แนวทางการแก้ไข/ข้อเสนอแนะ
- ผู้สอนเน้นย้ำเรื่องการพับจรวดให้ร่อนไกล ไม่ใช่ร่อนนาน และให้นักเรียนกลุ่มที่ร่อนจรวดตกลงไป

ข้างลา่ งพับใหมอ่ กี รอบและร่อนใหม่ทีหลังเพ่ือน
- ผู้สอนต้องใช้กติกาในการทำกิจกรรมนอกชั้นเรียน โดยหากนักเรียนเสียงดังจะมีการหักคะแนนโดยหัก

ระยะทางออก 100 เมตร

ลงชือ่ …………..........……………………….....
(นางสาวกมลชนก จ่าภา)

นกั ศกึ ษาปฏบิ ัตกิ ารสอนในสถานศึกษา

ลขิ สิทธ์ิของศูนย์วจิ ยั คณติ ศาสตรศกึ ษา ห้ามเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนญุ าต ศูนยว์ ิจัยคณติ ศาสตรศึกษา มหาวิทยาลยั ขอนแก่น

14

แผนการจดั การเรียนรกู้ ลุม่ สาระการเรยี นรคู้ ณติ ศาสตร์
ในโครงการพฒั นาวชิ าชีพครคู ณิตศาสตร์ ดว้ ยนวัตกรรมศกึ ษาชั้นเรยี น (Lesson Study)

และวธิ ีการสอนแบบเปดิ (Open Approach) ชนั้ ประถมศกึ ษาปีที่ 3
โรงเรียนขจรเกยี รตถิ ลาง สงั กัดสำนกั งานคณะกรรมการส่งเสรมิ การศึกษาเอกชนจงั หวดั ภเู ก็ต

กล่มุ สาระการเรยี นรูค้ ณิตศาสตร์ สาระการเรยี นรู้ ขนาดและการวดั หน่วยการเรยี นรู้ที่ 6

เร่ือง ความยาว หนา้ 75 - 76 กิจกรรมเรือ่ ง ฉันมีค่าแคไ่ หน

คาบท่ี 2/5 จำนวน 50 นาที วันที่ 30 มกราคม 2563

ระดับชนั้ ประถมศึกษาปีท่ี 3 ภาคเรียนท่ี 2 โรงเรยี น ขจรเกียรตถิ ลาง

ชื่อผรู้ ว่ มสรา้ งแผน

1.นางบปุ ผา แสงศรี รองผอู้ ำนวยการโรงเรยี นขจรเกยี รติถลาง

2.นางสาวธดิ ารัตน์ โสตะกุล หัวหนา้ กลุ่มสาระคณิตศาสตร์

3. นางสาวณฐั ธิดา มะอนันต์ ครปู ระจำวิชาคณิตศาสตร์ ป.3

4. นางสาวกมลชนก จ่าภา นกั ศึกษาฝกึ ปฏิบตั กิ ารสอนในสถานศกึ ษา

5. นางสาวนันวรรณ คำภรี ะ นักศึกษาฝกึ ปฏิบตั กิ ารสอนในสถานศกึ ษา

ชื่อผูบ้ นั ทึก นางสาวกมลชนก จ่าภา

ชอื่ ผ้สู อน นางสาวกมลชนก จ่าภา

1. เป้าหมายของบทเรยี นระดบั หน่วยการเรยี นรู้และเป้าหมายของบทเรียนในแตล่ ะคาบในหนว่ ยการเรียนรู้

นัน้ (Aim of the Lesson)

เปา้ หมายของบทเรยี นระดับหนว่ ยการเรยี นรู้
1. นักเรยี นสามารถเข้าใจความหมายของความยาวและระยะทางได้
2. นักเรียนรจู้ ักและเข้าใจวธิ ใี ช้เคร่ืองมือในการวัดความยาวได้
3. นกั เรียนสามารถเข้าใจวธิ กี ารการใช้เคร่ืองมือทเ่ี หมาะสมในการวัดระยะทางได้
4. นกั เรยี นสามารถคาดคะเนระยะทางได้
5. นักเรยี นสามารถเปรียบเทียบวธิ กี ารในการวดั ความยาวได้
6. นักเรยี นเข้าใจความสัมพันธ์ของหนว่ ยวดั ความยาวได้
เปา้ หมายของบทเรยี นในแตล่ ะคาบในหน่วยการเรียนรู้นน้ั (คาบที่ 2/5)
1. นักเรยี นรู้จกั และเข้าใจวธิ ีใช้เคร่อื งมือในการวัดความยาวได้
2. นักเรยี นสามารถเข้าใจวธิ ีการการใชเ้ คร่ืองมือท่เี หมาะสมในการวดั ระยะทางได้
3. นกั เรยี นสามารถคาดคะเนระยะทางได้

ลขิ สทิ ธ์ิของศูนยว์ จิ ัยคณิตศาสตรศึกษา ห้ามเผยแพร่โดยไมไ่ ดร้ บั อนญุ าต ศนู ย์วจิ ัยคณติ ศาสตรศกึ ษา มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่

15

2. ลำดับกิจกรรมการสอน ให้แบง่ เนอื้ หาสาระในคาบทีจ่ ะสอนออกเป็นกิจกรรมย่อย ๆ ในแต่ละช่วง
เพื่อให้ได้ความรู้ ความคดิ รวบยอด แนวคดิ วิธกี าร ฯลฯ ทเี่ ป็นขอ้ ความรู้สว่ นยอ่ ย ๆ เม่อื ครบคาบเรยี น
แล้วจะได้ตามจดุ ประสงคข์ องคาบเรียนนัน้

การแสดงแทนโลกจริงของนักเรยี น
- ระยะทางในชวี ิตจริงของนกั เรยี น
ส่อื กงึ่ รปู ธรรม
- อุปกรณ์การวดั ไดแ้ ก่ ตลับเมตร ไมเ้ มตร ไมบ้ รรทัด หรอื สายวดั ความยาว
การแสดงแทนโลกคณิตศาสตร์
- การวัดและอ่านค่าความยาวจากเคร่ืองมือวดั คอื ตลับเมตรหรือสายวดั ความยาว

3. ขัน้ ตอนการสร้างสถานการณ์ปัญหาปลายเปิด
3.1 เนื้อหาสาระ ทักษะ กระบวนการ และ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ที่ต้องการจะเน้นใน

สถานการณ์ปัญหาปลายเปิดของหน่วยการเรียนรู้นี้ (พิจารณาเปรียบเทียบระหว่างหนังสือเรียน
คณิตศาสตรไ์ ทย กับหนังสอื เรียนคณติ ศาสตร์ญีป่ ุ่น)

3.1.1 เนื้อหาสาระ

1. ความยาว (length) หมายถึง ระยะจากจุดเริ่มต้นถึงจุดสุดท้าย เป็นระยะที่อยู่ในแนวราบหรือ

แนวนอน

2. การวัดความยาว (measure the length) หมายถึง การหาระยะจากจุดเริ่มต้นถึงจุดสุดท้าย

ของสิ่ง ๆ หนึ่ง โดยต้องให้จุดเริ่มต้นของเครื่องมือวัดอยู่ที่ปลายข้างหนึ่งของวัตถุ จากนั้นทาบเครื่องมือวัดไป

ตามส่ิงท่ตี ้องการวัด จนถึงจดุ ปลายของสงิ่ ที่ต้องการวัด

การเปรียบเทยี บความยาวท่ีมีหนว่ ยความยาวเปน็ เมตร และเซนติเมตร

ความยาวระหว่างจุด 2 จดุ ตามแนวเสน้ ตรงเรยี กว่า “ระยะทาง”

3. ตลับเมตร เป็นเครอ่ื งมือท่ดี ีทส่ี ุดในการวดั ระยะทางของการร่อนจรวดกระดาษ
3.1.2 ทกั ษะ/กระบวนการ

1. ทกั ษะกระบวนการทำงานกล่มุ (นักเรยี นมสี ่วนรว่ มในการทำงานกลมุ่ และมีความสามัคคใี นกลมุ่ )
2. ทักษะการคิดวิเคราะห์ (นักเรียนสามารถวิเคราะห์เกี่ยวกับการเลือกเครื่องมอื ท่ใี ชใ้ นการวดั สงิ่ ของ
ได้เหมาะสม)
3. ทกั ษะการใหเ้ หตุผล (นักเรียนสามารถให้เหตุผลการเลือกเครอ่ื งมือวดั ได้)
4. ทักษะการเชือ่ มโยง (นักเรียนสามารถเชือ่ มโยงความรู้เดิมเกีย่ วกบั การวัดความยาวในหนว่ ย
เซนตเิ มตรและมิลลิเมตรได้)
5. ทกั ษะการนำเสนอ (นักเรียนสามารถนำเสนอแนวคดิ ในการวดั ความยาวได้)
6. ทกั ษะการสอื่ สาร (นักเรียนสามารถส่อื สารและตงั้ คำถาม เพอื่ ให้เกิดความเข้าใจทีต่ รงกนั ได้)

ลิขสิทธขิ์ องศนู ย์วจิ ัยคณิตศาสตรศกึ ษา หา้ มเผยแพรโ่ ดยไมไ่ ด้รบั อนญุ าต ศูนย์วิจยั คณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลยั ขอนแกน่

16

3.1.3 คุณลักษณะอันพงึ ประสงค์
1. นกั เรียนเกิดการยอมรับฟงั ความคิดเห็นของผู้อนื่
2. มีความรับผิดชอบและร่วมมอื กันภายในกล่มุ
3. มีความตรงต่อเวลา
4. มีความกล้าแสดงออก

3.2 คำสำคัญในสถานการณ์ปัญหาปลายเปิด ธรรมชาติการคิดหรือกระบวนการเรียนรู้ของ
นักเรียนจากหน่วยการเรียนรู้ก่อนหน้านี้ หรือจากชั้นเรียนก่อนหน้านี้ หรือจากประสบการณ์ใน
ชีวิตประจำวันของนักเรียนที่ครูรู้ ที่เกี่ยวข้องกับ เนื้อหาสาระ ทักษะ กระบวนการ และคุณลักษณะอันพงึ
ประสงค์ที่กำหนดในข้อ 3.1 เพื่อใช้ในการพิจารณาภาษาที่จะกำหนด “คำสำคัญ” (Key words) ใน
สถานการณ์ปญั หาปลายเปิด

คำสำคญั
1. ความยาว (length) หมายถึง ระยะจากจุดเริ่มต้นถึงจุดสุดท้าย เป็นระยะที่อยู่ในแนวราบหรือ
แนวนอน
2. การวัดความยาว (measure the length) หมายถึง การหาระยะจากจุดเริ่มต้นถึงจุดสุดท้าย
ของสิ่ง ๆ หนึ่ง โดยต้องให้จุดเริ่มต้นของเครื่องมือวัดอยู่ที่ปลายข้างหนึ่งของวัตถุ จากนั้นทาบเครื่องมือวัดไป
ตามส่ิงทตี่ อ้ งการวัด จนถึงจดุ ปลายของสิง่ ที่ตอ้ งการวัด
3. ตลับเมตร หมายถงึ เครื่องมอื วดั ชนดิ หนงึ่ ที่มีสายวัดเก็บอยู่ในตลบั อย่างมิดชดิ ทำใหส้ ะดวกในการ
นำตดิ ตวั ไปใชง้ านได้ตลอดเวลา ตลบั เมตรใช้ในการวดั หาระยะหรอื ตรวจสอบขนาดของวัสดุ สิ่งของ
4. ระยะทาง หมายถงึ ความยาวระหว่างจดุ 2 จุด ตามแนวเส้นตรง

3.3 สถานการณป์ ัญหาในรูปคำสง่ั ทีช่ ัดเจนและนกั เรียนเข้าใจไดง้ ่ายๆ
สถานการณ์ปัญหา : โฟกัสและเพื่อน ๆ ได้แข่งขันกันปาจรวดกระดาษและวัดระยะทางการร่อนของ
จรวดไดร้ ะยะทางตามแถบตลบั เมตรท่ีแสดงผล ดงั น้ี

คำสงั่ : 1. ใหน้ ักเรยี นเขียนระยะทางการร่อนจรวดกระดาษของโฟกสั และเพ่ือน ๆ ในตารางดา้ นลา่ งนี้

ช่ือ โฟกสั ธญั ญ่า CJ ไอติม

ระยะทางการร่อน

ลิขสิทธ์ิของศนู ยว์ จิ ัยคณติ ศาสตรศกึ ษา หา้ มเผยแพรโ่ ดยไม่ได้รับอนญุ าต ศนู ย์วิจยั คณติ ศาสตรศกึ ษา มหาวิทยาลยั ขอนแก่น

17

2. ถา้ จรวดกระดาษของคุณครรู ่อนได้ 4 m 18 cm จงเขยี น  ลงบนตลบั เมตรน้ี

3.4 การสร้างหรือออกแบบสื่อใหส้ ัมพนั ธ์กบั คำส่งั ในสถานการณ์ปัญหาปลายเปดิ โดยมีส่ือหลักที่
ใชใ้ นการสร้างสถานการณ์ปญั หาปลายเปดิ และส่ือสง่ เสรมิ ที่จะใชใ้ นขณะทน่ี กั เรยี นนำเสนอแนวคิดตอ่ ชัน้
เรยี น หรือในขณะทค่ี รูสรปุ บทเรยี น

สอ่ื หลัก
- สถานการณป์ ญั หา คำส่ัง และใบกิจกรรม
- ตลับเมตร
สือ่ เสรมิ
- แถบกระดาษตลบั เมตร

3.5 การกำหนดเวลาทีใ่ ชใ้ นแต่ละคำสั่ง และการกำหนดคาบพร้อมกับเป้าหมายของบทเรียนของ
แตล่ ะคาบ

1. ขัน้ นำเสนอสถานการณป์ ญั หา (5 นาที)
1) ครกู ล่าวทกั ทายนักเรยี น และทบทวนความรู้เกีย่ วกับการวดั ความยาวในหนว่ ยเมตรและเซนติเมตร
รวมถงึ การใช้ตลับเมตรในการวัดความยาว และการอา่ นค่าความยาวทว่ี ัดได้
2) ครูนำเสนอสถานการณ์ปัญหาและคำสั่ง พร้อมทั้งติดข้อความบนกระดาน แล้วให้นักเรียนอ่าน
พรอ้ มกนั 1 รอบ
3) ครูแจกใบกิจกรรมให้กับนกั เรยี นและกำหนดเวลาในการทำกจิ กรรม
2. การเรียนรูด้ ้วยตนเองของนักเรยี น (20 นาท)ี
4) นักเรียนลงมอื ทำกิจกรรม โดยทค่ี รูคอยสงั เกตแนวคิดของนักเรยี นวา่ นักเรยี นเข้าใจในคำสั่งถูกต้อง
หรอื ไม่ พร้อมทง้ั นำมาเรียงลำดบั แนวคิดทจ่ี ะใช้ในการนำเสนอและอภิปรายเปรยี บเทียบในขนั้ ถัดไป
3. ขนั้ อภปิ รายและเปรยี บเทียบแนวคิดทง้ั ช้ันเรียน (15 นาที)
5) ให้นักเรยี นออกมาหนา้ ชั้นเรยี นเพอ่ื นำเสนอแนวคดิ การอา่ นค่าระยะทางของการรอ่ นจรวดกระดาษ
ที่วดั ไดโ้ ดยใช้ตลบั เมตร พรอ้ มทง้ั ให้นักเรียนในชนั้ รว่ มกันอภปิ รายความเหมอื นและตา่ งของแต่ละแนวคิด
4. สรปุ เพ่ือเช่ือมโยงแนวคิดของนกั เรียนทเี่ กดิ ข้นึ ในชั้นเรียน (10 นาที)
6) ครใู ห้นักเรยี นรว่ มกันสรุปในประเด็น

- การอ่านคา่ ความยาวท่ีวดั ได้โดยใชต้ ลบั เมตร

3.6 การคาดคะเนแนวคิดของนกั เรยี นที่จะตอบสนองต่อคำสั่งแต่ละคำส่ัง

ลิขสทิ ธิ์ของศูนยว์ จิ ัยคณิตศาสตรศึกษา หา้ มเผยแพร่โดยไมไ่ ด้รับอนญุ าต ศนู ยว์ จิ ยั คณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลยั ขอนแก่น

18

สถานการณ์ปัญหา : โฟกัสและเพือ่ น ๆ ได้แข่งขันกันปาจรวดกระดาษและวัดระยะทางการร่อนของ
จรวดได้ระยะทางตามแถบตลับเมตรทแี่ สดงผล ดังนี้

คำส่งั : 1. ให้นักเรยี นเขยี นระยะทางการรอ่ นจรวดกระดาษของโฟกสั และเพ่อื น ๆ ในตารางด้านล่างน้ี

ชอ่ื โฟกสั ธัญญา่ CJ ไอติม

ระยะทางการร่อน

2. ถา้ จรวดกระดาษของคุณครูร่อนได้ 4 m 18 cm จงเขียน  ลงบนตลับเมตรน้ี

การคาดการณ์แนวคดิ ของนักเรียน
1. ให้นักเรียนเขยี นระยะทางของการร่อนจรวดกระดาษของโฟกัสและเพ่ือน ๆ ในตารางดา้ นล่าง ซึ่งมี
แนวคิดท่ีคาดการณ์ไว้ ดงั น้ี
- นักเรียนเขยี นตวั เลขที่ดูจากตลับเมตรเป็นหนว่ ยเซนตเิ มตรและมิลลเิ มตร

ชื่อ โฟกัส ธญั ญา่ CJ ไอติม
ระยะทางการร่อน 50 cm
60 cm 5 mm 90 cm 6 mm 4 cm 2 mm

- นักเรียนเขียนตวั เลขที่ดจู ากตลับเมตรเป็นหนว่ ยเมตรและเซนตเิ มตร

ช่ือ โฟกสั ธญั ญา่ CJ ไอติม
ระยะทางการร่อน 3 m 50 cm 3 m 65 cm 3 m 96 cm 4 m 2 cm

2. ถ้าจรวดกระดาษของคุณครูร่อนได้ 4 m 18 cm จงเขียน  ลงบนตลับเมตรนี้ ซึ่งมีแนวคิดที่
คาดการณไ์ ว้ ดังน้ี

- นกั เรยี นวาดลกู ศรช้ตี รงท่ีขีด 4 m 8 cm ตามภาพ



- นกั เรยี นวาดลกู ศรชตี้ รงที่ขีด 4 m จำนวน 1 ขดี และวาดลกู ศรช้ตี รงท่ี 18 cm อกี 1 ขดี ตามภาพ

ลขิ สิทธขิ์ องศนู ย์วจิ ัยคณติ ศาสตรศึกษา ห้ามเผยแพร่โดยไมไ่ ดร้ ับอนญุ าต 
ศนู ย์วิจยั คณติ ศาสตรศึกษา มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่

19

- นักเรยี นวาดลกู ศรชีต้ รงทข่ี ีด 4 m 18 cm โดยนบั ขีดทีเ่ ลยจากเสน้ 4 m ไปทง้ั หมด 18 ขดี ตาม
ภาพ



4. การจดั ลำดบั การนำเสนอแนวคิดของนกั เรยี นเพือ่ ใหเ้ กิดการเชือ่ มโยงทง้ั แนวคดิ และความคดิ รวบยอด
ทางคณิตศาสตรแ์ ละอื่น ๆ ของบทเรียนในแต่ละคาบ

จดั ลำดับการนำเสนอโดยเรียงจากแนวคิดท่ยี ังไม่สมบูรณ์ไปสกู่ ลุ่มท่ีมแี นวคิดทส่ี มบูรณ์ โดยเรียงลำดับ
การนำเสนอตามสถานการณ์ปญั หาและคำส่งั ซ่งึ มีรายละเอยี ด ดังนี้

สถานการณ์ปัญหา : 1. ให้นักเรียนเขียนระยะทางของการร่อนจรวดกระดาษของโฟกัสและเพื่อน ๆ
ในตารางด้านล่างนี้

- นักเรียนเขยี นตวั เลขท่ีดูจากตลบั เมตรเป็นหนว่ ยเซนติเมตรและมลิ ลเิ มตร
- นักเรยี นเขียนตัวเลขทดี่ ูจากตลบั เมตรเป็นหน่วยเมตรและเซนติเมตร
2. ถา้ จรวดกระดาษของคณุ ครูร่อนได้ 4 m 18 cm จงเขียน  ลงบนตลับเมตรนี้
- นักเรยี นวาดลกู ศรชี้ตรงท่ีขีด 4 m 8 cm ตามภาพ



- นกั เรียนวาดลกู ศรชี้ตรงทข่ี ีด 4 m จำนวน 1 ขีด และวาดลูกศรชี้ตรงท่ี 18 cm อีก 1 ขดี ตามภาพ



- นกั เรียนวาดลูกศรช้ีตรงทข่ี ีด 4 m 18 cm โดยนับขดี ท่ีเลยจากเส้น 4 m ไปทง้ั หมด 18 ขีด ตาม
ภาพ



5. ประเดน็ ท่จี ะใช้ในการรว่ มอภิปรายในชน้ั เรียนเพ่อื ให้นักเรียนบรรลเุ ป้าหมายของบทเรียนในแต่ละคาบ
- วธิ กี ารวัดความยาวของระยะทาง

ลขิ สทิ ธขิ์ องศูนยว์ จิ ัยคณิตศาสตรศกึ ษา หา้ มเผยแพร่โดยไม่ไดร้ ับอนุญาต ศูนย์วจิ ยั คณติ ศาสตรศึกษา มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่

20

- การอ่านความยาว (หนว่ ยของความยาวเมตรและเซนติเมตร)
- ความสัมพันธ์ของหนว่ ยเมตรและเซนติเมตร
- การคาดคะเนความยาวของสง่ิ ของและระยะทาง

6. การวดั และประเมินผล

ส่ิงที่ต้องการวดั วธิ กี ารวดั เครือ่ งมือท่ีใชใ้ นการวดั
- การทำกจิ กรรม
ด้านความรู้ (K) สังเกตจาก - ใบกจิ กรรม
- ใบกจิ กรรม
1. นกั เรียนรจู้ กั และเข้าใจวิธีใชเ้ ครอ่ื งมือใน - การตอบคำถาม
-
การวัดความยาวได้ - การร่วมกจิ กรรม
2. นกั เรียนสามารถเข้าใจวิธกี ารการใช้ - การทำ/ตรวจใบงาน
เคร่ืองมือที่เหมาะสมในการวดั ระยะทางได้

3. นกั เรียนสามารถคาดคะเนระยะทางได้

ด้านทกั ษะกระบวนการ (P) สังเกตจาก

1. ทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม (นักเรียน - การทำกจิ กรรมกลมุ่

มีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่มและมีความ - การแกส้ ถานการณป์ ัญหา

สามัคคีในกลุม่ ) - การนำเสนอแนวคดิ หน้าชนั้

2. ทักษะการคิดวิเคราะห์ (นักเรียนสามารถ เรียน
วิเคราะห์เกี่ยวกับการเลือกเครื่องมือที่ใช้ใน - การแสดงความคดิ เห็นหรือต้ัง
การวัดสงิ่ ของได้เหมาะสม)
คำถาม
3. ทักษะการให้เหตุผล (นักเรียนสามารถให้

เหตุผลการเลือกเครอื่ งมอื วัดได้)

4. ทักษะการเชื่อมโยง (นักเรียนสามารถ

เชื่อมโยงความรู้เดิมเกี่ยวกับการวัดความ

ยาวในหนว่ ยเซนติเมตรและมลิ ลเิ มตรได)้

5. ทักษะการนำเสนอ (นักเรียนสามารถ

นำเสนอแนวคดิ ในการวัดความยาวได)้

6. ทักษะการสื่อสาร (นักเรียนสามารถ

สอ่ื สารและต้งั คำถาม เพอ่ื ให้เกดิ ความเข้าใจ

ทีต่ รงกนั ได)้

ด้านเจตคติ (A) สังเกตจาก

1. นกั เรยี นเกดิ การยอมรับฟงั ความคดิ เห็น - ความสนใจในการทำกิจกรรม

ของผู้อ่นื

ลิขสิทธข์ิ องศนู ยว์ จิ ยั คณิตศาสตรศึกษา ห้ามเผยแพรโ่ ดยไม่ได้รับอนุญาต ศนู ย์วจิ ัยคณติ ศาสตรศึกษา มหาวิทยาลยั ขอนแกน่

21

หนว่ ยท่ี 6 ใบกจิ กรรมที่ 15 22
กจิ กรรม ฉันมคี า่ แค่ไหน

สถานการณ์ปัญหา : อู๋และเพ่อื น ๆ ไดแ้ ข่งขันกนั ปาจรวดกระดาษและวัดระยะทางการรอ่ นของจรวดไดร้ ะยะทาง
ตามแถบตลับเมตรท่ีแสดงผล ดงั นี้

อู๋ เนลิน่า วายุ กสั

คำสัง่

1. ใหน้ ักเรยี นเขยี นระยะทางของการรอ่ นจรวดกระดาษของอู๋และเพอ่ื น ๆ ในตารางด้านล่างนี้

ชื่อ อู๋ เนลินา่ วายุ กัส
ระยะทางการร่อน

2. ถา้ จรวดกระดาษของคณุ ครูร่อนได้ 4 m 18 cm จงเขียน  ลงบนตลับเมตรน้ี

1.) ชื่อเลน่ …………………………. ช2.) ช่ือเลน่ ………………………….
3.) ชื่อเลน่ …………………………. ป. 3 ห้อง Lotus

หน่วยท่ี 6 ใบกจิ กรรมท่ี 15 23
กจิ กรรม ฉนั มคี ่าแคไ่ หน

สถานการณ์ปัญหา : โฟกัสและเพื่อน ๆ ได้แข่งขันกันปาจรวดกระดาษและวัดระยะทางการร่อนของจรวดได้
ระยะทางตามแถบตลบั เมตรที่แสดงผล ดงั นี้

โฟกสั ธญั ญา่ CJ ไอติม

คำสง่ั

1. ใหน้ ักเรยี นเขยี นระยะทางของการรอ่ นจรวดกระดาษของโฟกัสและเพ่ือน ๆ ในตารางดา้ นล่างน้ี

ชอ่ื โฟกัส ธญั ญ่า CJ ไอตมิ
ระยะทางการรอ่ น

2. ถ้าจรวดกระดาษของคุณครรู อ่ นได้ 4 m 18 cm จงเขียน  ลงบนตลับเมตรนี้

1.) ชือ่ เลน่ …………………………. ช2.) ช่ือเลน่ ………………………….
3.) ชอื่ เล่น …………………………. ป. 3 ห้อง Orchid

หน่วยท่ี 6 ใบกิจกรรมท่ี 15 24
กจิ กรรม ฉนั มคี ่าแคไ่ หน

สถานการณ์ปัญหา : นนท์และเพื่อน ๆ ได้แข่งขันกันปาจรวดกระดาษและวัดระยะทางการร่อนของจรวดได้
ระยะทางตามแถบตลบั เมตรทแ่ี สดงผล ดังนี้

นนท์ มะปราง อลซิ ปณั ณ์

คำส่ัง

1. ให้นกั เรียนเขยี นระยะทางของการรอ่ นจรวดกระดาษของนนท์และเพ่อื น ๆ ในตารางดา้ นล่างนี้

ชอ่ื นนท์ มะปราง อลิซ ปัณณ์
ระยะทางการร่อน

2. ถา้ จรวดกระดาษของคณุ ครูรอ่ นได้ 4 m 18 cm จงเขียน  ลงบนตลบั เมตรนี้

1.) ชือ่ เลน่ …………………………. ช2.) ช่ือเลน่ ………………………….
3.) ชอื่ เล่น …………………………. ป. 3 หอ้ ง Jasmine

กจิ กรรม แนวคดิ
1)
2)
สถานการณ์ปญั หา

คำส่ัง

25

ด สรปุ
- การอ่านคา่ บนตลบั เมตร
- การวัดส่งิ ของใชอ้ ะไรดี

แผนการจดั การเรยี นรู้ (ฉบบั ย่อ) การคาดการณป์ ัญ
วชิ าคณิตศาสตร์ ระดบั ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 authentic pro
เครอ่ื งมอื , การบ

ช่ือครูผสู้ อน : นางสาวกมลชนก จ่าภา นักเรยี นชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 3 วนั ท่ี 30 มกราคม 2564
ชื่อโรงเรยี น:โรงเรียนขจรเกยี รติถลาง
จำนวน 25 คน เวลา ____________ น. ลำดบั กจิ กรรมการ
of Teaching):
ชื่อหนว่ ยการเรียนรู้: ความยาว จำนวน 1 คาบ ชอ่ื แผน: ฉนั มีค่าแคไ่ หน แผนที่ 2/5 1.การแสดง
(Representation
จุดประสงค์การเรยี นรขู้ องหน่วยการเรียนรู้ : สาระสำคญั ของแผน (Concept/ Main Ideas): - ระยะทางในชีวิตจ
1. นกั เรยี นสามารถเข้าใจความหมายของความยาวและ 1. ความยาว (length) 2.การแสดงแทนด
ระยะทางได้ 2. การวัดความยาว (measure the length) of Semi Concre
2. นกั เรียนรูจ้ ักและเข้าใจวิธใี ชเ้ คร่อื งมอื ในการวัดความยาว - อุปกรณ์การวดั ไ
ได้ - การเปรียบเทยี บความยาวที่มีหน่วยความยาวเปน็ เมตร สายวดั ความยาว
3. นักเรยี นสามารถเข้าใจวิธีการการใช้เครือ่ งมือทีเ่ หมาะสม และเซนติเมตร 3.การแสดงแทนโล
ในการวัดระยะทางได้ Mathematical W
4. นักเรียนสามารถคาดคะเนระยะทางได้ - ความยาวระหว่างจุด 2 จดุ ตามแนวเส้นตรงเรยี กว่า - การวัดและอ่านค
5. นักเรยี นสามารถเปรียบเทยี บวธิ กี ารในการวัดความยาว “ระยะทาง” เมตรหรือสายวัดคว
ได้ 3. ตลบั เมตร
6. นกั เรียนเข้าใจความสัมพันธ์ของหนว่ ยวดั ความยาวได้ ลำดับการสอน 4
ส่ือหลกั (ส่ือสำหรบั สรา้ งสถานการณ์ปัญหา): 1. ขั้นนำเสนอสถ
จดุ ประสงค์ของแผน: - สถานการณ์ปญั หา คำส่ัง และใบกจิ กรรม 1) ครกู ลา่ วทกั ทา
1. นักเรียนรจู้ กั และเข้าใจวิธีใชเ้ ครอ่ื งมอื ในการวดั ความยาว - ตลับเมตร และการอา่ นค่าค
ส่อื เสริม(สือ่ สำหรับชว่ ยในการนำเสนอแนวคิดของ 2) ครนู ำเสนอสถ
ได้ นักเรียน) : 3) ครูแจกใบกจิ ก
- แถบกระดาษตลบั เมตร 2. การเรียนรู้ด้วย
2. นกั เรียนสามารถเขา้ ใจวิธีการการใช้เครอ่ื งมอื ทเี่ หมาะสม 4) นักเรียนลงมือ
ในการนำเสนอแล
ในการวัดระยะทางได้ 3. ข้นั อภปิ รายแ
3. นักเรยี นสามารถคาดคะเนระยะทางได้ 5) ใหน้ กั เรียนออ
ชั้นร่วมกันอภปิ รา
โจทย์/สถานการณป์ ญั หา (Task/ Problem situation) 4. สรปุ เพอ่ื เชอ่ื ม
6) ครูให้นักเรยี นร

- การ

ญหาจริงของนกั เรยี น (Students’ การคาดการณแ์ นวคิดของนกั เรียน 26
oblems) : การวัดความยาวโดยใช้
บอกความยาวบนเครื่องมือวัด

รสอน (Flow of Lesson/ Sequence

แทนโลกจริงของนักเรียน
ns of Real World):
จริงของนกั เรียน
ด้วยสอื่ กงึ่ รูปธรรม (Representations
ete Aids):
ได้แก่ ตลบั เมตร ไม้เมตร ไมบ้ รรทัด หรือ

ลกคณิตศาสตร์ (Representations of
World):
ค่าความยาวจากเครอ่ื งมอื วัด คอื ตลบั
วามยาว

4 ขัน้ ตอนตามวิธีการแบบเปดิ (Open Approach)
ถานการณ์ปญั หา (5 นาที)
ายนกั เรียน และทบทวนความร้เู ก่ียวกบั การวดั ความยาวในหนว่ ยเมตรและเซนตเิ มตร รวมถึงการใช้ตลับเมตรในการวัดความยาว
ความยาวที่วัดได้
ถานการณ์ปญั หาและคำสัง่ พร้อมทง้ั ติดขอ้ ความบนกระดาน แลว้ ใหน้ ักเรยี นอา่ นพร้อมกัน 1 รอบ
กรรมให้กบั นกั เรยี นและกำหนดเวลาในการทำกจิ กรรม
ยตนเองของนักเรียน (20 นาท)ี
อทำกจิ กรรม โดยท่คี รคู อยสังเกตแนวคดิ ของนกั เรยี นวา่ นกั เรียนเขา้ ใจในคำสงั่ ถูกตอ้ งหรอื ไม่ พร้อมท้ังนำมาเรยี งลำดับแนวคดิ ที่จะใช้
ละอภิปรายเปรียบเทียบในข้นั ถัดไป
และเปรียบเทยี บแนวคิดท้ังชน้ั เรยี น (15 นาท)ี
อกมาหน้าชน้ั เรียนเพ่ือนำเสนอแนวคิดการอ่านค่าระยะทางของการร่อนจรวดกระดาษทว่ี ดั ได้โดยใชต้ ลับเมตร พร้อมท้ังใหน้ กั เรียนใน
ายความเหมอื นและต่างของแตล่ ะแนวคดิ
มโยงแนวคดิ ของนักเรยี นทเี่ กิดขึน้ ในชั้นเรียน (10 นาที)
รว่ มกันสรุปในประเดน็
รอา่ นคา่ ความยาวที่วัดได้โดยใชต้ ลบั เมตร

27

หนว่ ยการเรียนรทู้ ่ี 6 บันทกึ หลังการสอน จำนวน 50 นาที
สอนวันท่ี 5 กมุ ภาพันธ์ พ.ศ. 2564
กิจกรรมเรือ่ ง นั มคี า่ แคไ่ หน เรอื่ ง ความยาว
ระดับชนั้ ประถมศึกษาปีท่ี 3
ง คาบท่ี 2/5
ภาคเรยี นที่ 2

ผลการสอน
เป้าหมายของคาบนี้ คอื

1. นักเรยี นรจู้ กั และเข้าใจวิธีใช้เครื่องมือในการวดั ความยาวได้
2. นักเรยี นสามารถเข้าใจวธิ กี ารการใช้เครื่องมือทเี่ หมาะสมในการวดั ระยะทางได้
3. นักเรียนสามารถคาดคะเนระยะทางได้

โดยมสี ถานการณ์ปญั หาและคำสั่งดังต่อไปน้ี

สถานการณ์ปัญหา : โฟกัสและเพื่อน ๆ ได้แข่งขันกันปาจรวดกระดาษและวัดระยะทางการร่อนของจรวดได้
ระยะทางตามแถบตลบั เมตรที่แสดงผล ดงั น้ี

คำส่งั ท่ี 1 : ใหน้ กั เรยี นเขยี นระยะทางของการรอ่ นจรวดกระดาษของโฟกสั และเพื่อน ๆ ในตาราง

จากคำสั่งที่ 1 นักเรียนหลายกลุ่มสามารถบอกได้ว่าเพื่อนแต่ละคนร่อนจรวดได้ระยะทางคนละเท่าไร
แต่ยังมีบางกลุ่มที่ยังไม่เข้าใจตัวเลขว่าตลับเมตร หรือแถบที่ให้มาไม่ได้เร่ิมจาก 0 เซนติเมตร และเป็นแถบที่มี
หน่วยเมตรและเซนตเิ มตร

- นกั เรยี นสามารถบอกไดว้ า่ ระยะทาง 100 เซนตเิ มตร = 1 เมตร
- นักเรียนบางกลุ่มเข้าใจการอา่ นตลบั เมตรหรือแถบวดั

คำส่ังท่ี 2 : ถา้ จรวดกระดาษของคณุ ครูรอ่ นได้ 4 m 18 cm จงเขยี นบอกลงบนแถบตลับเมตร

จากคำส่งั ที่ 2 นักเรียนทุกกล่มุ สามารถบอกตำแหนง่ ของการร่อนจรวดกระดาษของครไู ด้

ลิขสิทธิข์ องศนู ยว์ จิ ัยคณิตศาสตรศกึ ษา ห้ามเผยแพรโ่ ดยไม่ไดร้ ับอนุญาต ศูนย์วิจยั คณิตศาสตรศึกษา มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่

28

ปัญหา/อปุ สรรค
- นกั เรียนบางกลมุ่ ไมเ่ ข้าใจวา่ แถบตลบั เมตรทเี่ อามาไมไ่ ดเ้ ร่ิมจาก 0
- นกั เรียนบางกลุ่มยงั อ่านคา่ บนตลบั เมตรไมเ่ ป็น

แนวทางการแกไ้ ข/ข้อเสนอแนะ
- ผสู้ อนอธบิ ายว่าแถบตลับเมตรท่ีตัดมาไมไ่ ดเ้ ริ่มจาก 0
- ผสู้ อนอธบิ ายการดหู รอื การอา่ นตลบั เมตรพร้อมยกตวั อย่างอีกคร้ังเพื่อใหน้ ักเรียนเข้าใจและเห็นภาพมาก

ขึ้น

ลงชื่อ …………..........……………………….....
(นางสาวกมลชนก จ่าภา)

นกั ศกึ ษาปฏบิ ัติการสอนในสถานศึกษา

ลิขสิทธ์ิของศนู ย์วจิ ัยคณติ ศาสตรศกึ ษา ห้ามเผยแพร่โดยไมไ่ ด้รบั อนญุ าต ศูนยว์ จิ ยั คณติ ศาสตรศึกษา มหาวิทยาลยั ขอนแก่น

29

แผนการจดั การเรยี นรู้กลุ่มสาระการเรียนรคู้ ณิตศาสตร์
ในโครงการพัฒนาวชิ าชพี ครูคณิตศาสตร์ ด้วยนวตั กรรมศึกษาช้นั เรียน (Lesson Study)

และวิธกี ารสอนแบบเปดิ (Open Approach) ช้นั ประถมศกึ ษาปที ี่ 3
โรงเรยี นขจรเกียรตถิ ลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศกึ ษาเอกชนจงั หวดั ภเู ก็ต

กลุม่ สาระการเรยี นรู้คณิตศาสตร์ สาระการเรียนรู้ ขนาดและการวดั หนว่ ยการเรยี นรู้ท่ี 6

เรอื่ ง ความยาว หน้า 77 กิจกรรมเรอ่ื ง การเดนิ ทางของฉันและเธอ

คาบท่ี 3/5 จำนวน 50 นาที วนั ที่ 23 กุมภาพนั ธ์ 2564

ระดับชั้น ประถมศกึ ษาปที ี่ 3 ภาคเรียนท่ี 2 โรงเรียน ขจรเกียรติถลาง

ช่ือผรู้ ว่ มสรา้ งแผน

1.นางบุปผา แสงศรี รองผอู้ ำนวยการโรงเรยี นขจรเกียรตถิ ลาง

2.นางสาวธิดารัตน์ โสตะกุล หวั หนา้ กลมุ่ สาระคณิตศาสตร์

3. นางสาวณฐั ธิดา มะอนนั ต์ ครูประจำวิชาคณิตศาสตร์ ป.3

4. นางสาวกมลชนก จา่ ภา นักศกึ ษาฝกึ ปฏิบตั กิ ารสอนในสถานศกึ ษา

5. นางสาวนนั วรรณ คำภีระ นกั ศึกษาฝึกปฏบิ ตั ิการสอนในสถานศกึ ษา

ชื่อผบู้ ันทึก นางสาวกมลชนก จา่ ภา

ชอื่ ผู้สอน นางสาวกมลชนก จา่ ภา

1. เป้าหมายของบทเรียนระดบั หน่วยการเรียนรแู้ ละเป้าหมายของบทเรียนในแต่ละคาบในหนว่ ยการเรียนรู้
นนั้ (Aim of the Lesson)

เป้าหมายของบทเรยี นระดบั หนว่ ยการเรยี นรู้
1. นักเรยี นสามารถเข้าใจความหมายของความยาวและระยะทางได้
2. นักเรียนรจู้ ักและเข้าใจวธิ ใี ช้เครอ่ื งมือในการวดั ความยาวได้
3. นกั เรยี นสามารถเข้าใจวธิ ีการการใช้เครื่องมือทเ่ี หมาะสมในการวดั ระยะทางได้
4. นักเรียนสามารถคาดคะเนระยะทางได้
5. นักเรียนสามารถเปรียบเทียบวิธีการในการวัดความยาวได้
6. นักเรียนเข้าใจความสัมพนั ธ์ของหนว่ ยวดั ความยาวได้
เปา้ หมายของบทเรียนในแต่ละคาบในหนว่ ยการเรียนรนู้ น้ั (คาบท่ี 3/5)
1. นักเรยี นสามารถบอกระยะทางทม่ี ีหนว่ ยเปน็ เมตรและกโิ ลเมตรได้
2. นกั เรียนสามารถดูแผนผังและบอกระยะทางตามถนนและระยะทางได้
3. นักเรียนเข้าใจความสัมพันธข์ องหนว่ ยเมตรและกิโลเมตร (1 กโิ ลเมตร = 1000 เมตร)

ลขิ สทิ ธิข์ องศนู ย์วจิ ยั คณิตศาสตรศึกษา ห้ามเผยแพรโ่ ดยไม่ไดร้ ับอนุญาต ศูนย์วจิ ยั คณิตศาสตรศึกษา มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น

30

2. ลำดบั กจิ กรรมการสอน ให้แบ่งเนื้อหาสาระในคาบทจี่ ะสอนออกเปน็ กจิ กรรมยอ่ ย ๆ ในแต่ละช่วง
เพอื่ ให้ได้ความรู้ ความคิดรวบยอด แนวคดิ วิธกี าร ฯลฯ ท่เี ปน็ ข้อความรสู้ ่วนยอ่ ย ๆ เมือ่ ครบคาบเรียน
แลว้ จะไดต้ ามจุดประสงค์ของคาบเรยี นน้นั

การแสดงแทนโลกจรงิ ของนกั เรยี น
- แผนที่และการเดินทาง
ส่ือกง่ึ รูปธรรม
- ภาพแผนท่ีแสดงการเดนิ ทาง
การแสดงแทนโลกคณติ ศาสตร์
- ระยะทางและระยะทางตามถนน, ความสัมพนั ธ์ของหนว่ ยเมตรและกโิ ลเมตร

3. ขนั้ ตอนการสรา้ งสถานการณป์ ัญหาปลายเปดิ
3.1 เนื้อหาสาระ ทักษะ กระบวนการ และ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ที่ต้องการจะเน้นใน

สถานการณ์ปัญหาปลายเปิดของหน่วยการเรียนรู้นี้ (พิจารณาเปรียบเทียบระหว่างหนังสือเรียน
คณิตศาสตร์ไทย กับหนงั สือเรียนคณิตศาสตร์ญ่ปี ุ่น)

3.1.1 เนอ้ื หาสาระ
1. ระยะทางตามถนน (road distance) หมายถึง ระยะห่างระหว่างจุดสองจุดตามแนวถนน โดยวัด
ตามแนวของเสน้ ทางนนั้
2. กิโลเมตร (kilometer) หมายถึง หน่วยวัดความยาว มีขนาดเท่ากับ 1000 เมตร เขียนแทนด้วย
km
3. การเปลี่ยนหน่วย (change denomination) หมายถึง การทำให้ค่าที่ได้จากการวัดที่เป็นหน่วยท่ี
ต่างกนั ใหอ้ ยหู่ น่วยในมาตราเดียวกัน สามารถเปลยี่ นจากหน่วยท่ีเล็กกว่าไปหน่วยท่ีใหญ่กว่า หรือเปลี่ยนจาก
หนว่ ยทใ่ี หญก่ วา่ เปน็ หนว่ ยทเี่ ลก็ กว่า
ซึ่งการเปลี่ยนหน่วยจากเมตรไปเป็นกิโลเมตรและเมตร ทำได้โดยการนำระยะทางในหน่วยเมตรหาร
ด้วย 1000 หรอื การลบออกครั้งละ 1000 จนไมส่ ามารถลบได้ (ติดลบ) ซงึ่ จำนวนครั้งในการลบออกคือจำนวน
กิโลเมตร และเศษตัวเลขที่เหลือคือเมตร และสามารถมองภาพเป็นตัวเลข 3 หลักนับจากด้านขวาเป็น
ระยะทางหนว่ ยเมตร หลกั ท่ี 4, 5, 6 …เป็นหนว่ ยกิโลเมตร เช่น 1160 เมตร = 1 กโิ ลเมตร 160 เมตร ซ่ึงหนว่ ย
เมตรจะมตี วั เลขน้อยกวา่ 1000 เสมอ

ลขิ สิทธ์ขิ องศูนยว์ จิ ัยคณิตศาสตรศึกษา ห้ามเผยแพร่โดยไมไ่ ด้รบั อนญุ าต ศูนยว์ ิจัยคณติ ศาสตรศกึ ษา มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่

31

3.1.2 ทกั ษะ/กระบวนการ

1. ทกั ษะกระบวนการทำงานกลุ่ม (นักเรียนมสี ่วนรว่ มในการทำงานกลุม่ และมีความสามัคคใี นกลุ่ม)
2. ทกั ษะการคิดวิเคราะห์ (นักเรียนสามารถวเิ คราะห์เก่ียวกับการเลือกเคร่ืองมอื ทใ่ี ช้ในการวัดส่งิ ของ
ได้เหมาะสม)
3. ทักษะการใหเ้ หตุผล (นักเรียนสามารถให้เหตุผลการเลือกเครอ่ื งมือวดั ได้)
4. ทกั ษะการเชื่อมโยง (นักเรียนสามารถเช่ือมโยงความรู้เดิมเกี่ยวกบั การวัดความยาวในหนว่ ย
เซนติเมตรและมลิ ลิเมตรได)้
5. ทกั ษะการนำเสนอ (นักเรยี นสามารถนำเสนอแนวคิดในการวัดความยาวได้)
6. ทกั ษะการส่ือสาร (นักเรยี นสามารถส่ือสารและต้ังคำถาม เพื่อใหเ้ กดิ ความเขา้ ใจที่ตรงกนั ได้)
3.1.3 คณุ ลักษณะอันพงึ ประสงค์
1. นกั เรียนเกดิ การยอมรบั ฟงั ความคดิ เหน็ ของผู้อน่ื
2. มีความรบั ผิดชอบและร่วมมือกนั ภายในกลุ่ม
3. มีความตรงต่อเวลา
4. มีความกล้าแสดงออก

3.2 คำสำคัญในสถานการณ์ปัญหาปลายเปิด ธรรมชาติการคิดหรือกระบวนการเรียนรู้ของ
นักเรียนจากหน่วยการเรียนรู้ก่อนหน้านี้ หรือจากชั้นเรียนก่อนหน้านี้ หรือจากประสบการณ์ใน
ชีวิตประจำวันของนักเรียนที่ครูรู้ ที่เกี่ยวข้องกับ เนื้อหาสาระ ทักษะ กระบวนการ และคุณลักษณะอันพึง
ประสงค์ที่กำหนดในข้อ 3.1 เพื่อใช้ในการพิจารณาภาษาที่จะกำหนด “คำสำคัญ” (Key words) ใน
สถานการณป์ ญั หาปลายเปิด

คำสำคัญ
1. การวัดระยะทาง จะวัดความยาวจากจุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดสิ้นสุดตามแนวการเดินทาง โดยอาจ
แบง่ เป็นชว่ ง ๆ ตามแนวเส้นตรงเพ่อื หาระยะทาง
2. ความแตกต่างของระยะทางตามถนน (road distance) กับระยะห่างระหว่างจุดสองจุด (two
points)
3. ระยะทางตามถนน (road distance) กับระยะห่างระหว่างจุดสองจุด (two points) ต่างกันท่ี
วิธีการวัดระยะทาง การหาระยะทางตามถนนจะวัดระยะทางจากจุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดสิ้นสุดตามแนวการ
เดินทางตามถนน โดยที่อาจแบ่งออกเป็นช่วง ๆ ตามแนวเส้นตรงเพื่อหาระยะทาง ส่วนระยะทาง หรือ Two
point จะวดั ระยะทางจากตำแหนง่ หนงึ่ ไปยังตำแหนง่ หน่ึงเป็นแนวเสน้ ตรง
4. กิโลเมตร (kilometer) หมายถึง หน่วยวัดความยาวที่มักเกี่ยวข้องกับการเดินทาง มีขนาดเท่ากับ
1000 เมตร เขยี นแทนดว้ ย km
5. การเปลี่ยนหน่วย (change denomination) หมายถึง การทำให้ค่าที่ได้จากการวัดที่เป็นหน่วยที่
ตา่ งกนั ใหอ้ ยูห่ นว่ ยในมาตราเดียวกนั

ลขิ สิทธขิ์ องศนู ยว์ จิ ยั คณิตศาสตรศกึ ษา ห้ามเผยแพร่โดยไมไ่ ด้รับอนุญาต ศนู ย์วจิ ัยคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลยั ขอนแกน่

32

3.3 สถานการณ์ปัญหาในรูปคำสง่ั ที่ชัดเจนและนกั เรยี นเข้าใจไดง้ ่ายๆ
สถานการณป์ ญั หา : มาสำรวจการเดินทางจากโรงเรียนไปบ้านโดเรมอ่ นและบ้านโนบิตะกันเถอะ

คำส่งั : ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปน้ี
1. จากโรงเรยี นถงึ บ้านโดเรม่อนมีระยะทางตามถนนกี่เมตร และระยะทางในแนวเส้นตรงเปน็ กเี่ มตร
2. จากโรงเรียนถงึ บา้ นโดเรม่อนมรี ะยะทางตามถนน และระยะทางในแนวเส้นตรงเป็นกี่กโิ ลเมตรกบั ก่ี
เมตร
3. จากโรงเรียนถึงบา้ นโนบติ ะมีระยะทางตามถนน และระยะทางในแนวเสน้ ตรงเป็นก่ีกิโลเมตรกับกี่
เมตร

3.4 การสรา้ งหรือออกแบบสื่อใหส้ ัมพนั ธ์กับคำส่ังในสถานการณ์ปญั หาปลายเปิด โดยมีส่ือหลักที่
ใชใ้ นการสรา้ งสถานการณ์ปัญหาปลายเปดิ และส่ือส่งเสริมทจ่ี ะใช้ในขณะท่ีนกั เรยี นนำเสนอแนวคิดตอ่ ชน้ั
เรียน หรือในขณะทคี่ รูสรุปบทเรยี น

สอ่ื หลกั
- สถานการณป์ ัญหา คำสงั่ และใบกิจกรรม
- ภาพประกอบสถานการณป์ ัญหา

ลขิ สิทธขิ์ องศูนย์วจิ ัยคณิตศาสตรศกึ ษา หา้ มเผยแพร่โดยไมไ่ ดร้ บั อนญุ าต ศูนย์วจิ ัยคณติ ศาสตรศกึ ษา มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น

33

ส่ือเสรมิ
- บัตรขอ้ ความ “ระยะทางตามถนน เป็นระยะทางจากจุดหน่ึงไปอีกจุดหน่งึ บนถนน”
- บัตรข้อความ “1 กิโลเมตร = 1000 เมตร”
- บตั รขอ้ ความ “กิโลเมตร เขียนแทนด้วย กม. หรอื km”
- แผนภาพการแปลงหนว่ ยเมตรเปน็ กิโลเมตร

3.5 การกำหนดเวลาทใี่ ช้ในแตล่ ะคำสงั่ และการกำหนดคาบพร้อมกับเป้าหมายของบทเรยี นของ
แต่ละคาบ

1. ข้นั นำเสนอสถานการณ์ปัญหา (5 นาที)
1) ครูกล่าวทักทายนักเรียน และทบทวนเกี่ยวกับการวัดระยะทาง รวมถึงการวัดความยาวในหน่วย
เมตรและเซนตเิ มตร
2) ครูถามนักเรียนเกี่ยวกับหน่วยการเดินทาง และร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับหน่วยกิโลเมตร และ
ความสมั พันธข์ องหนว่ ยกโิ ลเมตร
3) ครูนำเข้าสู่สถานการณ์ปัญหาและติดภาพประกอบสถานการณ์ปัญหา พร้อมคำสั่งบนกระดาน
จากน้ันให้นกั เรียนอ่านพร้อมกัน 1 รอบ พรอ้ มกับถามเก่ียวกับคำว่า ระยะทาง และระยะทางตามถนนท่ีอยู่ใน
สถานการณ์ปญั หา วา่ 2 คำน้มี ีความเหมือนหรือต่างกนั อยา่ งไร อภปิ รายร่วมกันท้งั ชน้ั เรยี น
4) ครแู จกใบกจิ กรรมให้นกั เรยี นแตล่ ะคู่ พรอ้ มกำหนดเวลาในการทำกจิ กรรม
2. การเรียนรูด้ ว้ ยตนเองของนักเรียน (20 นาท)ี
5) นักเรียนแต่ละคนลงมือแก้สถานการณ์ปัญหาในใบกิจกรรม และครูคอยกระตุ้นให้นักเรียนทำ
กจิ กรรมและสำรวจแนวคิดท่เี กดิ ข้นึ ในช้ันเรยี นเพือ่ นำไปอภปิ รายในข้นั ถัดไป
3. ขน้ั อภิปรายและเปรียบเทยี บแนวคดิ ทง้ั ช้ันเรยี น (15 นาที)
6) นักเรียนออกมานำเสนอแนวคิดการตอบคำถามแต่ละข้อ รวมถึงการแปลงหน่วยจากเมตรไปเป็น
กิโลเมตรกับเมตรหน้าชั้นเรียน โดยให้กลุ่มที่มีแนวคิดที่ยังไม่สมบูรณ์นำเสนอก่อนแล้วจึงให้กลุ่มที่มีแนวคิดที่
สมบรู ณ์ สามารถเชอ่ื มโยงกับความคดิ รวบยอดทางคณิตศาสตร์ของคาบเรยี นได้ ออกมานำเสนอทีหลงั
4. สรปุ เพ่ือเช่อื มโยงแนวคิดของนักเรยี นที่เกิดข้ึนในชน้ั เรยี น (10 นาที)
7) ครใู หน้ กั เรยี นร่วมกนั สรปุ ในประเด็น

- การหาระยะทางในแนวเส้นตรงและระยะทางตามถนน
- ความสมั พันธ์ของหน่วยวัดกโิ ลเมตร และเมตร
- การแปลงหน่วยจากเมตรไปเปน็ กิโลเมตรกับเมตร

3.6 การคาดคะเนแนวคดิ ของนกั เรียนท่ีจะตอบสนองต่อคำสั่งแตล่ ะคำสัง่
สถานการณ์ปัญหา : มาสำรวจการเดินทางจากโรงเรยี นไปบา้ นโดเรม่อนและบ้านโนบิตะกันเถอะ

ลขิ สิทธ์ขิ องศูนย์วจิ ัยคณติ ศาสตรศึกษา ห้ามเผยแพร่โดยไมไ่ ดร้ บั อนุญาต ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น

34

คำสั่ง : ใหน้ ักเรยี นตอบคำถามตอ่ ไปนี้
1. จากโรงเรียนถงึ บ้านโดเรม่อนมรี ะยะทางตามถนนกเี่ มตร และระยะทางในแนวเส้นตรงเปน็ กีเ่ มตร
2. จากโรงเรียนถึงบ้านโดเรม่อนมรี ะยะทางตามถนน และระยะทางในแนวเสน้ ตรงเปน็ ก่ีกโิ ลเมตรกบั กี่
เมตร
3. จากโรงเรียนถงึ บ้านโนบติ ะมีระยะทางตามถนน และระยะทางในแนวเส้นตรงเป็นก่ีกโิ ลเมตรกบั กี่
เมตร
การคาดการณ์แนวคดิ ของนักเรียน
1. จากโรงเรียนถงึ บา้ นโดเรม่อนมีระยะทางตามถนนกเี่ มตร และระยะทางในแนวเส้นตรงเปน็ ก่เี มตร
1.1) ระยะทางตามถนน

- นักเรียนนำระยะแตล่ ะช่วงมาบวกกนั 370 + 510 +280 = 1160 เมตร
- นักเรียนดูภาพและระยะทางในแนวเสน้ ตรงมาตอบ 1050 เมตร
1.2) ระยะทางในแนวเสน้ ตรง
- นกั เรียนดภู าพและระยะทางในแนวเสน้ ตรงมาตอบ 1050 เมตร
- นักเรยี นนำระยะแตล่ ะชว่ งมาบวกกัน 370 + 510 +280 = 1160 เมตร
2. จากโรงเรียนถึงบา้ นโดเรม่อนมีระยะทางตามถนน และระยะทางในแนวเสน้ ตรงเป็นกกี่ ิโลเมตรกับกี่
เมตร
2.1) ระยะทางตามถนน
- นกั เรียนนำ 1160 เมตร หารดว้ ย 1000 = 1 กิโลเมตร 160 เมตร
- นักเรยี นนำ 1160 เมตร ลบออกครัง้ ละ 1000 ซึ่งจำนวนครั้งท่ีลบออกคือจำนวนกโิ ลเมตรที่
ได้ คำตอบจงึ เป็น 1 กิโลเมตร 160 เมตร
- นักเรียนแยก 1160 เมตรเป็น 1000 เมตร กับ 160 เมตรซึ่ง 1000 เมตร = 1 กิโลเมตร
ดังนนั้ 1160 เมตร เทา่ กับ 1 กิโลเมตร 160 เมตร
2.2) ระยะทางในแนวเสน้ ตรง
- นักเรียนนำ 1050 เมตร หารดว้ ย 1000 = 1 กิโลเมตร 50 เมตร

ลิขสทิ ธ์ขิ องศนู ย์วจิ ยั คณติ ศาสตรศกึ ษา ห้ามเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต ศูนยว์ จิ ัยคณิตศาสตรศกึ ษา มหาวิทยาลยั ขอนแกน่

35

- นักเรียนนำ 1050 เมตร ลบออก 1000 = 1 กิโลเมตร 50 เมตร
- นักเรียนแยก 1050 เมตรเป็น 1000 เมตร กับ 50 เมตรซึ่ง 1000 เมตร = 1 กิโลเมตร
ดังนัน้ 1050 เมตร เท่ากบั 1 กโิ ลเมตร 50 เมตร
3. จากโรงเรียนถึงบ้านโนบิตะมีระยะทางตามถนน และระยะทางในแนวเส้นตรงเป็นกี่กิโลเมตรกับก่ี
เมตร
3.1) ระยะทางตามถนน
- นักเรียนนำระยะแตล่ ะชว่ งมาบวกกนั 370 + 510 +420 = 1300 เมตร จากนั้นนักเรยี นนำ
1300 เมตร หารด้วย 1000 = 1 กิโลเมตร 300 เมตร
- นักเรียนนำระยะแต่ละช่วงมาบวกกัน 370 + 510 +420 = 1300 เมตร จากนั้นนำ
1300 เมตร ลบออกครั้งละ 1000 ซึ่งจำนวนครั้งที่ลบออกคือจำนวนกิโลเมตรที่ได้ คำตอบจึงเป็น 1
กิโลเมตร 300 เมตร
- นักเรียนนำระยะแต่ละช่วงมาบวกกัน 370 + 510 +420 = 1300 เมตร จากนั้นนักเรียน
แยก 1300 เมตรเป็น 1000 เมตร กับ 300 เมตรซึ่ง 1000 เมตร = 1 กโิ ลเมตร
ดงั น้ัน 1300 เมตร เทา่ กับ 1 กิโลเมตร 300 เมตร
3.2) ระยะทางในแนวเสน้ ตรง
- นกั เรียนนำ 1020 เมตร หารด้วย 1000 = 1 กิโลเมตร 20 เมตร
- นักเรียนนำ 1020 เมตร ลบออกทีละ 1000 ซึ่งจำนวนครั้งที่ลบออกคือจำนวนกิโลเมตร
ทีไ่ ด้ คำตอบจึงเป็น 1 กโิ ลเมตร 20 เมตร
- นักเรียนแยก 1020 เมตรเป็น 1000 เมตร กบั 20 เมตรซึ่ง 1000 เมตร = 1 กิโลเมตร
ดงั นัน้ 1020 เมตร เท่ากับ 1 กิโลเมตร 20 เมตร

4. การจดั ลำดบั การนำเสนอแนวคดิ ของนักเรียนเพอ่ื ใหเ้ กิดการเชือ่ มโยงท้ังแนวคิดและความคดิ รวบยอด
ทางคณิตศาสตรแ์ ละอน่ื ๆ ของบทเรยี นในแต่ละคาบ

จัดลำดับการนำเสนอโดยเรยี งจากกลมุ่ ที่มีแนวคดิ ท่ยี ังไม่สมบูรณไ์ ปสู่กล่มุ ที่มแี นวคิดท่สี มบูรณ์ โดย
เรยี งลำดบั การนำเสนอตามคำสง่ั

- แนวคิดในการบอกระยะทางตามถนน
- แนวคิดในการบอกระยะทาง
- แนวคดิ ในการเปลีย่ นระยะทางจากเมตรเป็นกโิ ลเมตรกบั เมตร ซ่ึงมกี ารเรียงลำดบั แนวคิด ดังนี้

1. ใช้การลบออกทลี ะ 1000
2. ใชก้ ารแบง่ ตัวเลข
3. ใช้การหาร

5. ประเด็นท่ีจะใช้ในการรว่ มอภปิ รายในช้ันเรียนเพ่ือให้นักเรียนบรรลเุ ปา้ หมายของบทเรยี นในแตล่ ะคาบ

ลิขสิทธข์ิ องศนู ย์วจิ ัยคณิตศาสตรศกึ ษา หา้ มเผยแพรโ่ ดยไม่ไดร้ ับอนญุ าต ศนู ย์วจิ ัยคณิตศาสตรศึกษา มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น

36

- ความแตกตา่ งของระยะทางตามถนนกับระยะทาง
- ความสัมพันธข์ องหนว่ ยกโิ ลเมตรและเมตร
- การแปลงหน่วยจากเมตรเป็นกโิ ลเมตรกบั เมตร

6. การวดั และประเมนิ ผล

สิ่งท่ีต้องการวัด วิธีการวัด เครือ่ งมือที่ใช้ในการวัด
- การทำกิจกรรม
ด้านความรู้ (K) สังเกตจาก - ใบกจิ กรรม
- ใบกิจกรรม
1. นักเรียนสามารถบอกระยะทางที่มีหน่วย - การตอบคำถาม
-
เป็นเมตรและกิโลเมตรได้ - การรว่ มกิจกรรม

2. นักเรียนสามารถดูแผนผังและบอก - การทำ/ตรวจใบงาน
ระยะทางตามถนนและระยะทางได้

3. นักเรียนเข้าใจความสัมพันธ์ของหน่วย

เมตรและกิโลเมตร (1 กิโลเมตร = 1000

เมตร)

ด้านทกั ษะกระบวนการ (P) สังเกตจาก

1. ทักษะกระบวนการทำงานกล่มุ (นักเรียน - การทำกิจกรรมกลมุ่

มสี ่วนร่วมในการทำงานกลุ่มและมีความ - การแกส้ ถานการณป์ ญั หา
สามัคคใี นกลุ่ม) - การนำเสนอแนวคดิ หน้าช้ัน
2. ทกั ษะการคิดวิเคราะห์ (นักเรยี นสามารถ เรียน
วเิ คราะห์เก่ยี วกับการเลือกเคร่ืองมือที่ใช้ใน - การแสดงความคิดเหน็ หรือตัง้
การวดั สงิ่ ของไดเ้ หมาะสม) คำถาม
3. ทกั ษะการให้เหตผุ ล (นักเรียนสามารถให้

เหตผุ ลการเลอื กเครอื่ งมือวัดได้)

4. ทกั ษะการเชือ่ มโยง (นักเรียนสามารถ

เชื่อมโยงความรูเ้ ดิมเกยี่ วกบั การวดั ความ

ยาวในหน่วยเซนตเิ มตรและมิลลิเมตรได)้

5. ทักษะการนำเสนอ (นกั เรียนสามารถ

นำเสนอแนวคดิ ในการวัดความยาวได้)

6. ทกั ษะการส่อื สาร (นักเรียนสามารถ

ส่ือสารและตงั้ คำถาม เพื่อให้เกดิ ความเขา้ ใจ

ท่ตี รงกันได)้

ด้านเจตคติ (A) สังเกตจาก

ลขิ สทิ ธ์ิของศนู ย์วจิ ยั คณติ ศาสตรศึกษา ห้ามเผยแพร่โดยไมไ่ ดร้ บั อนุญาต ศนู ย์วจิ ยั คณติ ศาสตรศกึ ษา มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น

37

38

ตวั อย่างใบกจิ กรรม

หนว่ ยที่ 6 ใบกจิ กรรมที่ 16 กิจกรรม การเดินทางของ ันและเธอ
สถานการณ์ปญั หา : มาสารวจการเดนิ ทางจากโรงเรียนไปบ้านโดเรมอ่ นและบ้านโนบิตะกนั เถอะ

คาสงั่ : ให้นกั เรยี นตอบคาถามต่อไปน้ี

1. จากโรงเรยี นถึงบ้านโดเรมอ่ นมีระยะทางตามถนนกี่เมตร และระยะทางในแนวเส้นตรงเป็นกเ่ี มตร

ระยะทางตามถนน m

ระยะทางในแนวเสน้ ตรง m

2. จากโรงเรยี นถงึ บา้ นโดเรมอ่ นมีระยะทางตามถนน และระยะทางในแนวเสน้ ตรงเปน็ ก่กี ิโลเมตรกบั กเี่ มตร

ระยะทางตามถนน m = km m

ระยะทางในแนวเส้นตรง m = km m

3. จากโรงเรียนถึงบ้านโนบิตะมีระยะทางตามถนน และระยะทางในแนวเส้นตรงเป็นกกี่ โิ ลเมตรกบั ก่เี มตร

ระยะทางตามถนน m = km m

ระยะทางในแนวเสน้ ตรง m = km m

1) ช่อื เลน่ ………………………………….. เลขท่ี …………. 2) ช่อื เลน่ ………………………………….. เลขที่ …………. ช้ัน ป. 3/......

ลขิ สิทธขิ์ องศนู ยว์ จิ ัยคณติ ศาสตรศึกษา ห้ามเผยแพร่โดยไมไ่ ดร้ บั อนุญาต ศนู ยว์ จิ ัยคณติ ศาสตรศึกษา มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น

กิจกรรม แนวคิด
สถานการณป์ ัญหา

คำส่ัง

39

สรปุ

- เปล่ยี นหน่วยอยา่ งไรบา้ ง

แผนการจดั การเรียนรู้ (ฉบบั ยอ่ ) การคาดการณ์ปญั
วชิ าคณติ ศาสตร์ ระดบั ช้นั ประถมศึกษาปที ี่ 3 (Students’ au
การบอกความยา
ชอ่ื ครูผู้สอน : นางสาวกมลชนก จ่าภา นักเรยี นชั้นประถมศึกษาปที ่ี 3 วนั ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 เสน้ ตรง , การเปล
ชือ่ โรงเรียน:โรงเรียนขจรเกยี รติถลาง กิโลเมตร
จำนวน 25 คน เวลา ____________ น.
ลำดบั กิจกรรมการ
ช่อื หน่วยการเรียนรู้: ความยาว จำนวน 1 คาบ ชอื่ แผน:การเดนิ ทางของฉนั และเธอ แผนที่ 3/5 Sequence of Te
1.การแสดงแท
จุดประสงคก์ ารเรยี นรขู้ องหน่วยการเรียนรู้ : จดุ ประสงค์ของแผน: (Representation
1. นกั เรียนสามารถเข้าใจความหมายของความยาวและ 1. นักเรยี นสามารถบอกระยะทางทมี่ หี น่วยเป็นเมตร - แผนทแี่ ละการเด
ระยะทางได้ และกโิ ลเมตรได้ 2.การแสดงแทนด
2. นกั เรียนร้จู กั และเข้าใจวธิ ใี ชเ้ คร่ืองมือในการวัดความยาว 2. นักเรียนสามารถดูแผนผังและบอกระยะทางตาม (Representation
ได้ ถนนและระยะทางได้ Aids):
3. นกั เรยี นสามารถเข้าใจวิธีการการใช้เครือ่ งมอื ทเ่ี หมาะสม 3. นักเรยี นเข้าใจความสัมพันธ์ของหนว่ ยเมตรและ - ภาพแผนทีแ่ สดงก
ในการวัดระยะทางได้ กิโลเมตร (1 กิโลเมตร = 1000 เมตร) 3.การแสดงแ
4. นักเรียนสามารถคาดคะเนระยะทางได้ ( Representat
5. นักเรยี นสามารถเปรียบเทยี บวิธีการในการวดั ความยาว ส่ือหลัก(สือ่ สำหรับสร้างสถานการณ์ปัญหา): World):
ได้ - สถานการณป์ ัญหา คำสงั่ และใบกิจกรรม - ระยะทางและระย
6. นักเรยี นเข้าใจความสัมพันธ์ของหนว่ ยวัดความยาวได้ - ภาพประกอบสถานการณ์ปญั หา ของหน่วยเมตรและ
สอ่ื เสรมิ (สอื่ สำหรบั ชว่ ยในการนำเสนอแนวคิดของ
สาระสำคญั ของแผน (Concept/ Main Ideas): นกั เรยี น) : ลำดับการสอน 4
1. ระยะทางตามถนน (road distance) - บตั รข้อความ “ระยะทางตามถนน เปน็ ระยะทางจาก 1. ขนั้ นำเสนอสถ
2. กิโลเมตร (kilometer) จดุ หน่งึ ไปอีกจดุ หน่ึงบนถนน” 1) ครกู ลา่ วทักทา
3. การเปลีย่ นหน่วย (change denomination) - บัตรขอ้ ความ “1 กโิ ลเมตร = 1000 เมตร” 2) ครูถามนกั เรียน
- บัตรข้อความ “กโิ ลเมตร เขียนแทนดว้ ย กม. / km” 3) ครนู ำเข้าสู่สถา
- แผนภาพการแปลงหน่วยเมตรเปน็ กโิ ลเมตร ถามเกีย่ วกบั คำว่า
4) ครแู จกใบกิจก
โจทย์/สถานการณป์ ญั หา (Task/ Problem situation) 2. การเรียนรดู้ ้วย
สถานการณ์ปญั หา : มาสำรวจการเดนิ ทางจากโรงเรียนไปบา้ นโดเรมอ่ นและบา้ นโนบติ ะกันเถอะ 5) นกั เรยี นแตล่ ะ
นำไปอภปิ รายใน
คำสง่ั : ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปน้ี 3. ขน้ั อภปิ รายแ
1. จากโรงเรียนถึงบ้านโดเรม่อนมรี ะยะทางตามถนนก่ีเมตร และระยะทางในแนวเสน้ ตรงเปน็ กี่เมตร 6) นกั เรยี นออกม
2. จากโรงเรียนถึงบ้านโดเรม่อนมีระยะทางตามถนน และระยะทางในแนวเส้นตรงเปน็ กีก่ โิ ลเมตรกบั กี่เมตร 4. สรปุ เพอ่ื เชื่อม
3. จากโรงเรียนถึงบา้ นโนบติ ะมรี ะยะทางตามถนน และระยะทางในแนวเสน้ ตรงเป็นกี่กโิ ลเมตรกับก่เี มตร 7) ครูใหน้ ักเรียนร
- การหาระยะทา
- การแปลงหน่วย

ญหาจริงของนักเรยี น การคาดการณ์แนวคิดของนกั เรยี น 40
uthentic problems) : 1) ระยะทางตามถนน
าวและความยาวตามแนว
ลี่ยนหนว่ ยจากเมตรเปน็ - นกั เรยี นนำระยะแต่ละชว่ งมาบวกกัน

รสอน (Flow of Lesson/ - นกั เรยี นดูภาพและระยะทางในแนวเส้นตรงมาตอบ
eaching):
ทนโลกจริงของนักเรียน ระยะทางในแนวเส้นตรง
ns of Real World):
ดนิ ทาง - นักเรยี นดภู าพและระยะทางในแนวเสน้ ตรงมาตอบ
ดว้ ยส่อื ก่ึงรูปธรรม
ns of Semi Concrete - นกั เรยี นนำระยะแตล่ ะชว่ งมาบวกกัน

การเดนิ ทาง 2) ระยะทางตามถนน
แ ท น โ ล ก ค ณ ิ ต ศ า ส ต ร์
tions of Mathematical - นักเรยี นนำ 1160 เมตร หารดว้ ย 1000 = 1 กิโลเมตร 160 เมตร

ยะทางตามถนน, ความสัมพันธ์ - นกั เรียนนำ 1160 เมตร ลบออกครง้ั ละ 1000 ซึง่ จำนวนครั้งทลี่ บออกคอื จำนวนกิโลเมตรท่ีได้
ะกโิ ลเมตร
คำตอบจงึ เปน็ 1 กิโลเมตร 160 เมตร

- นักเรยี นแยก 1160 เมตรเปน็ 1000 เมตร กับ 160 เมตรซึง่ 1000 เมตร = 1 กิโลเมตร ดังน้ัน

1160 เมตร เทา่ กบั 1 กโิ ลเมตร 160 เมตร

ระยะทางในแนวเสน้ ตรง

- นกั เรียนนำ 1050 เมตร หารดว้ ย 1000 = 1 กโิ ลเมตร 50 เมตร

- นักเรียนนำ 1050 เมตร ลบออก 1000 = 1 กิโลเมตร 50 เมตร

- นกั เรียนแยก 1050 เมตรเป็น 1000 เมตร กบั 50 เมตรซ่ึง 1000 เมตร = 1 กิโลเมตรดงั น้นั

1050 เมตร เทา่ กบั 1 กิโลเมตร 50 เมตร

3) เช่นเดยี วกนั กบั 2)

4 ขั้นตอนตามวิธีการแบบเปิด (Open Approach)
ถานการณป์ ญั หา (5 นาท)ี
ายนกั เรยี น และทบทวนเกยี่ วกบั การวดั ระยะทาง รวมถึงการวดั ความยาวในหนว่ ยเมตรและเซนติเมตร
นเก่ียวกบั หนว่ ยการเดินทาง และรว่ มกันอภปิ รายเกี่ยวกับหน่วยกโิ ลเมตร และความสัมพนั ธข์ องหนว่ ยกโิ ลเมตร
านการณป์ ัญหาและตดิ ภาพประกอบสถานการณป์ ญั หา พร้อมคำสั่งบนกระดาน จากน้ันให้นกั เรยี นอา่ นพรอ้ มกนั 1 รอบ พร้อมกับ
า ระยะทาง และระยะทางตามถนนที่อยใู่ นสถานการณป์ ญั หา วา่ 2 คำนม้ี คี วามเหมอื นหรอื ตา่ งกนั อย่างไร อภิปรายร่วมกนั
กรรมให้นักเรยี นแต่ละคู่ พร้อมกำหนดเวลาในการทำกจิ กรรม
ยตนเองของนักเรียน (20 นาท)ี
ะคนลงมือแก้สถานการณป์ ัญหาในใบกจิ กรรม และครคู อยกระตนุ้ ใหน้ กั เรียนทำกิจกรรมและสำรวจแนวคิดที่เกิดข้นึ ในชน้ั เรยี นเพื่อ
นข้นั ถัดไป
และเปรียบเทียบแนวคิดท้งั ช้ันเรียน (15 นาท)ี
มานำเสนอแนวคิดการตอบคำถามแตล่ ะข้อ รวมถึงการแปลงหน่วยจากเมตรไปเป็นกโิ ลเมตรกบั เมตรหนา้ ชน้ั เรยี น
มโยงแนวคิดของนักเรียนทเี่ กดิ ขึ้นในชั้นเรยี น (10 นาท)ี
ร่วมกันสรุปในประเด็น
างในแนวเส้นตรงและระยะทางตามถนน - ความสมั พันธ์ของหน่วยวดั กโิ ลเมตร และเมตร
ยจากเมตรไปเปน็ กโิ ลเมตรกบั เมตร

41

บนั ทกึ หลังการสอน

หน่วยการเรยี นรู้ท่ี 6 เรอ่ื ง ความยาว จำนวน 50 นาที
สอนวนั ที่ 23 กมุ ภาพนั ธ์ 2564
กจิ กรรมเร่อื ง การเดนิ ทางของ นั และเธอ ง คาบท่ี 3/5

ระดับชนั้ ประถมศกึ ษาปีที่ 3 ภาคเรยี นท่ี 2

ผลการสอน
เปา้ หมายของคาบน้ี คอื

1. นกั เรียนสามารถบอกระยะทางทีม่ ีหนว่ ยเป็นเมตรและกโิ ลเมตรได้
2. นกั เรียนสามารถดูแผนผงั และบอกระยะทางตามถนนและระยะทางได้
3. นักเรียนเขา้ ใจความสมั พันธ์ของหน่วยเมตรและกโิ ลเมตร (1 กิโลเมตร = 1000 เมตร)
สถานการโดณยป์ มญั สี หถาาน:กมาาหรสนณำ่วป์รยวทญั จ่ี 6หกาใาบแรกลเดิจะกินครทำรมสาทงงั่ จด่ี 1างั6กตกโ่อรจิ ไงกปเรรนรียมี้ นกไาปรเบดา้ินนทโาดงขเรอมงอ่ ันนแแลละเะธบอ้านโนบิตะกนั เถอะ

สถานการณ์ปญั หา : มาสารวจการเดนิ ทางจากโรงเรียนไปบา้ นโดเรมอ่ นและบา้ นโนบิตะกันเถอะ

คำสค1รงั่ ะ.าทยสจะี่ัง่ า1ทจก:าโ:ใางรหตกจงน้าเคารักมกียำเถรนสโนียรถ่ังนนงึงทตบเร่ีอา้ 1ียนบนโคนดาถเักถรึงาเมบรม่อียตา้นอ่นนมไรีหโปดะนลยเี้าระยทมากอ่ mงลนตมุ่ามมสีรถาะนมยนาะกร่ีเทมถาตวงรดั ตแราละมะยถระะนยทนะาทกงาี่เโงมดใตยนรแกนาแวรเลดสะ้นูตรตาะรมงยเเะปส็นทน้ กาถเี่ งมนใตนนรแแลนะวเเสส้น้นตตรรงงไเปด้็นกเ่ี มตร
คำสงั่ ท่ี 2 : จากโรงเรยี นถึงบ้านโดเรม่อนมรี ะยะทางตามถนน และระยะทางในแนวเส้นตรงเปน็ ก่ีกิโลเมตรกับก่ี

เมตรระยะทางในแนวเสน้ ตรง m

2. จาจกโารกงเครียำนสถงั่ ึงทบี่ า้ 2นโนดเกั รเมรอ่ ยี นนมรีหะลยาะยทากงลตุ่มามสถานมนาแรลถะเรปะลยี่ยะทนาหงนใน่วแยนจวเาสกน้ เตมรตงเรปใน็ หกเ้กี่ ปิโล็นเกมติโลรกเมบั กตเ่ี รมไตดร้ โดยการใช้

- ระยกะาทราแงตยากมเถลนขนหลัก 1,000 กบั หลกั mร้อ=ย km m

- ระย1ะทกาโิ งลในเมแตนวรเส=้นต1ร,ง000 เมตร m = km m
- ดูตัวเลขขา้ งหนา้ ท่ีอยู่ในหลกั พนั แล้วจำนวนทีเหลือคอื เมตร

คำสงั่ ท่ี 3 : จากโรงเรียนถงึ บา้ นโนบิตะมรี ะยะทางตามถนน และระยะทางในแนวเส้นตรงเป็นกี่กโิ ลเมตรกับกี่

เมตร

3. จาจกโารกงเครียำนสถั่งึงทบี่ า้ 3นโจนาบกติ คะมำีรสะงั่ยทะที่ 2างตนากั มเถรนยี นนแหลละาระยยกะลท่มุางสใานมแนาวรเถสเ้นปตลรงย่ี เปนน็ หกนกี่ ว่ิโลยเมจตารกกเบั มกต่เี มรตใหร ้เป็นกโิ ลเมตรได้ โดย
การรใะชย้ ะทางตามถนน
m = km m

- การแยกเลขหลกั 1,000 กับ หลกั รอ้ ย
ระยะทางในแนวเสน้ ตรง m = km m

ลขิ สทิ ธิ์ของศูนยว์ จิ ัยคณิตศาสตรศึกษา ห้ามเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนญุ าต ศูนยว์ ิจยั คณิตศาสตรศกึ ษา มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่


Click to View FlipBook Version