The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

จับทิศ "เศรษฐกิจไทย" ปี 2564 ในมุมมอง "คลัง" ครึ่งปีหลังที่เหลือจะเป็นอย่างไร? และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะต่อไปจะเป็นไปในทิศทางใด?

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by วารสาร Bangkok Economy, 2022-05-23 03:29:00

เศรษฐกิจไทยปี 64 มุมมองคลัง

จับทิศ "เศรษฐกิจไทย" ปี 2564 ในมุมมอง "คลัง" ครึ่งปีหลังที่เหลือจะเป็นอย่างไร? และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะต่อไปจะเป็นไปในทิศทางใด?

'เศรษฐกจิ ไทย' ปี 64 มุมมอง 'คลงั '

จับทิศ "เศรษฐกจิ ไทย" ปี 2564 ในมุมมอง "คลัง" คร่ึงปีหลังท่ีเหลือจะเป็นอย่างไร?
และการขับเคล่อื นเศรษฐกจิ ในระยะต่อไปจะเป็นไปในทิศทางใด?

หลังจากท่ีสานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ หรือ สศช.)
ได้ประกาศตวั เลขผลติ ภัณฑม์ วลรวมภายในประเทศ หรือจีดพี ี ในไตรมาส 1/2564 เมื่อวันที่ 17 พ.ค.
ท่ีผา่ นมานัน้ แมเ้ ศรษฐกิจไทยจะยังคงชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ -2.6 ต่อปี (%YoY) ต่อเน่ืองจากไตรมาสก่อนหน้า
ท่ีลดลงร้อยละ -4.2 ตอ่ ปี แตก่ ็ถอื ว่ามที ิศทางการปรบั ตวั ที่ดีขึน้

และหากปรับผลทางฤดูกาลออกแล้ว (Seasonally adjusted) เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรก
ยังสามารถขยายตัวจากไตรมาสก่อนหน้าได้ที่ร้อยละ 0.2 (%QoQ-SA) ดีกว่าที่หลายหน่วยงาน
ทางเศรษฐกจิ คาดไว้วา่ จะหดตวั ติดต่อกนั 2 ไตรมาสและเข้าสภู่ าวะเศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิค

การทีต่ ัวเลขจดี ีพีขยายตวั สูงกวา่ ท่หี ลายฝา่ ยคาด สะท้อนให้เห็นถึงการฟ้ืนตัวของเศรษฐกิจไทย
อย่างต่อเนื่องติดต่อกัน 3 ไตรมาส นับต้ังแต่ไปทาจุดต่าสุดในไตรมาส 2/2564 ที่หดตัวสูงถึงร้อยละ
-12.1 ต่อปี แม้ว่าจะได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ในช่วงต้นปี
2564 ก็ตาม

หากพิจารณาในแต่ละองค์ประกอบของเศรษฐกิจ มีหลายด้านที่ปรับตัวดีข้ึน ท้ังการลงทุน
ภาคเอกชนท่ขี ยายตวั เปน็ ครง้ั แรกในรอบ 5 ไตรมาส ที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี ตามการฟื้นตัวของการลงทุน
ด้านเคร่ืองจักรเคร่ืองมือที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 ต่อปี การลงทุนภาครัฐที่ขยายตัวเร่งข้ึนมาอยู่ที่ร้อยละ
19.6 จากร้อยละ 0.6 ในไตรมาสก่อน เป็นการขยายตัวจากท้ังการลงทุนด้านการก่อสร้างและ
การลงทุนดา้ นเครื่องจกั รเครอื่ งมือ โดยขยายตัวรอ้ ยละ 23.1 ต่อปี และร้อยละ 10.1 ตอ่ ปตี ามลาดบั

ประกอบกบั ผลของฐานการคานวณท่ีตา่ ในปีกอ่ น ดา้ นการค้าระหว่างประเทศพบว่าการส่งออก
และนาเข้าสินค้าขยายตัวร้อยละ 3.2 และ 6.4 จากท่ีเคยหดตัวร้อยละ -1.5 และ -3.1 ในไตรมาส
ก่อน โดยท้ังคู่กลับมาขยายตัวได้เป็นครั้งแรกในรอบ 4 และ 9 ไตรมาสตามลาดับ ตามการฟ้ืนตัว
ของเศรษฐกจิ ประเทศค่คู า้ ของไทย

อย่างไรก็ดี ยังมีบางองค์ประกอบทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวลดลงจนส่งผลให้ภาพรวมจีดีพี
ในไตรมาสแรกยังคงติดลบเมื่อเทียบรายปี ได้แก่ ภาคการบริโภคในประเทศท่ีลดลงร้อยละ -0.5 ต่อปี
เน่ืองจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ในเดือน ม.ค.2564
รวมถึงการส่งออกบริการท่ีลดลงถึงร้อยละ -63.5 ตามการลดลงของนักท่องเท่ียวชาวต่างชาติ
จากมาตรการจากัดการเดินทาง

แม้ว่าจะมีนักท่องเที่ยวกลุ่มพิเศษประเภท Special Tourist Visa และ Thailand Privilege
Card เข้ามาบ้างก็ตาม ส่งผลให้รายรับจากนักท่องเท่ียวและรายรับค่าโดยสารยังอยู่ในระดับต่า
เมอื่ เทียบกบั ช่วงก่อนโควดิ

ถึงแม้ว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาส 1/2564 จะดีกว่าท่ีหลายหน่วยงาน
ทางเศรษฐกิจได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า (โดยเฉล่ียคาดว่าจะหดตัวอยู่ที่ร้อยละ -3.3 ต่อปี) แต่เมื่อเทียบกับ
การประมาณการเศรษฐกิจของสานักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) พบว่าเป็นไปตามค าดการณ์
โดย ณ เดอื น เม.ย.2564 สศค.ไดค้ าดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/2564
ท่รี อ้ ยละ -2.5 ซง่ึ ถอื ว่าใกลเ้ คียงกับตวั เลขจริงคอ่ นขา้ งมาก

การคาดการณ์องค์ประกอบของเศรษฐกิจที่สาคัญที่ช่วยให้ผลการประมาณการเศรษฐกิจไทย
มีความแม่นยาประกอบไปด้วย การบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชนและรัฐบาล
และการนาเข้าและการส่งออกสนิ คา้ และบริการ

ในระยะถัดไป เศรษฐกิจไทยยังคงมีความเสี่ยงจากหลายปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการฟื้นตัว
ทางเศรษฐกิจ ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส
โควิด-19 รอบใหม่ช่วงปลายเดือน มี.ค.2564 ที่มีความรุนแรงและขยายวงกว้างกว่าการระบาด
ท้ังสองรอบก่อนหน้า จนทาให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ค่อยๆ ฟื้นตัว กลับมาชะลอลงอีกครั้ง
จนในปัจจบุ นั กย็ งั คงพบคลสั เตอรข์ องการระบาดอยเู่ ป็นระยะ

ขณะท่ีการฟืน้ ตวั ของภาคการทอ่ งเทย่ี วท่ีช่วยสร้างเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล
ยังมีปัจจัยเส่ียงจากสถานการณ์การกระจายวัคซีนทั่วโลกท่ีมีแนวโน้มล่าช้าและกระจุกตัวในประเทศ
เศรษฐกิจขนาดใหญ่ ความเสี่ยงด้านประสิทธิภาพของวัคซีนท่ีลดลงจากการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส
โควดิ -19

ยกตวั อย่างเชน่ ในประเทศอสิ ราเอลซึง่ ถือเป็นประเทศหนึง่ ท่ีมีการฉีดวัคซีนต่อจานวนประชากร
ในระดบั สูง พบวา่ ประชาชนยังคงสามารถติดเชื้อโควิดสายพันธ์ุเดลต้า (ท่ีพบในอินเดีย) แม้จะมีการฉีด
วัคซีนป้องกันโควิดของบริษัทท่ีได้ช่ือว่ามีประสิทธิภาพสูงอย่างไฟเซอร์ก็ตาม จนทาให้ต้องชะลอ
การเปดิ ประเทศออกไป

สาหรับปัจจัยหลักท่จี ะชว่ ยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะข้างหนา้ อยู่ทกี่ ารควบคมุ การแพร่ระบาด
ในประเทศให้ลดลงโดยเร็ว การเร่งฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมประชาชนเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ให้เร็วที่สุด
เพ่ือให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจสามารถกลับมาดาเนินต่อได้มากขึ้นใกล้เคียงกับช่วงก่อนการระบาด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชาชนและบุคลากรด้านการท่องเที่ยวใน 10 จังหวัด
พ้ืนที่เป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ตามแนวทางการเปิดประเทศเพ่ือขับเคล่ือนเศรษฐกิจ
การทอ่ งเที่ยว 4 ระยะ สาหรับรองรับการเปิดประเทศเพื่อการท่องเท่ยี วตงั้ แตช่ ่วงไตรมาสที่ 3 เปน็ ต้นไป

ประกอบกับมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลที่ออกมาอย่างต่อเน่ือง ท้ังในด้านการคลัง อาทิ
โครงการคนละคร่ึง เฟส 3 โครงการเราชนะ โครงการ ม.33 เรารักกัน โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ระยะที่ 3 โครงการเพ่ิมกาลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ โครงการย่ิงใช้ ย่ิงได้
และมาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน การลดค่านา้ ค่าไฟ เปน็ ต้น

ในด้านการช่วยเหลือผา่ นมาตรการด้านการเงิน อาทิ มาตรการสินเช่ือฟ้ืนฟู มาตรการพักทรัพย์
พักหนี้ และการปรับโครงสร้างหนี้ ท่ีจะเป็นตัวช่วยแบ่งเบาภาระให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการ
ท่ีได้รับผลกระทบจากการระบาดรอบใหม่ สามารถประคับประคองตนเองได้จนกว่าสถานการณ์
การแพรร่ ะบาดจะคลคี่ ลายลง อกี ทั้งรฐั บาลยังคงมงี บประมาณเพียงพอหากเกิดสถานการณ์ท่ีอาจทาให้
เศรษฐกจิ ชะลอลงมากกวา่ ท่ีคาด

ท่ีเราจะตอ้ งติดตามกันตอ่ ไปคอื การขบั เคลือ่ นเศรษฐกิจทส่ี าคัญในช่วงท่เี หลือของปี ท้งั ภาคการผลิต
และภาคการส่งออกไทยที่มีแนวโน้มเติบโตตามเศรษฐกิจโลก การเร่งเบิกจ่ายของภาครัฐว่าจะยังคง
รักษาแรงส่ง การเติบโตได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่ รวมถึงภาคการท่องเท่ียวว่าจะสามารถเร่ิมฟ้ืนตัวได้
ในช่วงคร่ึงปีหลังได้หรือไม่ ซึ่งทั้งหมดจะเป็นตัวช่วยให้เศรษฐกิจไทยในปี 2564 สามารถกลับมา
ขยายตวั ได้อกี คร้ังทร่ี อ้ ยละ 2.3 ตอ่ ปี ตามที่กระทรวงการคลังคาดการณ์ไว้ ณ เดือน เม.ย.2564

ทีม่ า : หนงั สือพิมพ์กรงุ เทพธรุ กิจ


Click to View FlipBook Version