ข่าวสารเศรษฐกจิ
Apec 2022 เตบิ โตสมดลุ ดว้ ย BCG
ปี 2022 นบั เป็นปีประวตั ศิ าสตร์ของประเทศไทยในฐานะเจา้ ภาพ APEC หรอื ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
ในเอเชีย-แปซิฟกิ ซึง่ ไทยเคยเป็นเจ้าภาพในเวทีนีค้ รัง้ ล่าสุดเมื่อปี 2003 ปีนไี้ ทยภมู ิใจนำเสนอ BCG Economy Model
เพื่อสนบั สนุนความสมดุลในการพฒั นาเศรษฐกจิ
APEC ประกอบไปด้วย 21 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา ญี่ปุ่น เก าหลีใต้
สหรฐั อเมรกิ า จนี ฮอ่ งกง ไต้หวนั เมก็ ซโิ ก ปาปวั นิวกินี เปรู รัสเซีย และประเทศสมาชิกอาเซยี นอกี 7 ประเทศ คือ ไทย
สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน APEC มีประชากรรวมกันทั้งสิ้นเกือบ 3 พันล้านคน
และมี GDP รวมกนั เกิน 50% ของ GDP โลก
ในปีนี้ไทยในฐานะเจ้าภาพ APEC ได้นำเสนอหัวข้อหลัก Open Connect Balance หรือ เปิดกว้างสัมพันธ์
เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล เพื่อสื่อถึงเป้าหมายที่จะเปิดกว้างโอกาสทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิก
เชื่อมโยงทุกภาคสว่ นให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยใช้เครื่องมือทางดจิ ิทัล และสร้างการเตบิ โตอยา่ งสมดลุ
โดยการสนับสนนุ ธุรกจิ ที่มีธรรมาภิบาลและคำนึงถึงสง่ิ แวดล้อม
ประเทศไทยมีความเห็นว่า ภายหลังการเผชิญวิกฤติโควิด-19 ทุกประเทศสมาชิกจำเป็นจะต้องเติบโต
อย่างยั่งยืน กล่าวคือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จะต้องได้รับการพัฒนาควบคู่กันไปอย่างสมดุล ไทยจึงเสนอ
ทางออกสำคัญ คือ แนวคิด Bio-Circular-Green Economy Model หรือ BCG ในเวทีระดับโลกนี้
BCG คอื แนวคิดท่ีรวบรวม 3 แนวคดิ ใหญ่ในการสร้างการเตบิ โตทางเศรษฐกจิ ท่สี อดคล้องกบั ความยัง่ ยืน
ทางส่ิงแวดล้อม ไดแ้ ก่
Bioeconomy หรือเศรษฐกิจชีวภาพ กล่าวถึงเศรษฐกิจที่สนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่มาจาการค้นพบสาร
ในชีวภาพต่างๆผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีระบบ ทำให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่มสูง ตัวอย่างสินค้า เช่น
ขา้ วทม่ี ีคณุ ค่าทางอาหารสงู และโปรตีนทางเลือกท่แี ปรรปู จากขนไก่
Circular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน กล่าวถึงอุตสาหกรรมทีม่ ีการใช้ทรัพยากรซ้ำๆ ซึ่งส่วนหนง่ึ
เป็นเพราะผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการออกแบบให้แยกช้ินส่วนและใช้ซ้ำได้ง่าย เพื่อลดการเกิดขยะ ตัวอย่างสินค้า เช่น
เสอื้ ที่ทำจากเศษผ้า
Green Economy หรือเศรษฐกิจสีเขียวกล่าวถึงเศรษฐกิจที่ส่งเสริมการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
ทุกประการ เช่น การลดคารบ์ อนไดออกไซด์ ตัวอย่างสนิ คา้ เช่น รถ EV
แนวคิด BCG จะส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจจากการพัฒนานวัตกรรม สร้างการจ้างงาน
ในอุตสาหกรรมใหม่ และสนับสนนุ การผลิตสินค้าท่ีลดผลกระทบเชิงลบต่อส่ิงแวดล้อม ซึ่งจะทำให้พฤติกรรมผูบ้ ริโภค
เปล่ยี นแปลงตามไปด้วย
APEC ได้หารือประเด็น BCG ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส ภายใต้หัวข้อ Policy
Dialogue on Understanding the BCG Economy Model ซงึ่ จดั ขึ้นเมอ่ื วันที่ 22 ก.พ.2565 ท่ีผ่านมา มีสาระสำคญั
คือ การหารือแนวทางการประยุกต์แนวคิด BCG ใน 3 อุตสาหกรรม ได้แก่ 1.การเกษตรและอาหาร 2.พลังงาน
3.การกอ่ สร้างและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
จากการหารอื พบวา่ หลายประเทศสมาชกิ APEC มีกรพฒั นาอตุ สาหกรรมที่สอกคลอ้ งกับแนวคดิ BCG อยูก่ ่อนแลว้
และเห็นพ้องว่า BCG คือทางออกที่สำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจท่ียั่งยืน แนวคิดนี้จะต้องได้รับการสนับสนุน
จากทุกภาคส่วน เช่น ภาคการเงนิ ท่มี บี ทบาทสำคัญในการใหท้ ุนสนับสนุนอตุ สาหกรรมทีเ่ ก่ียวขอ้ งกบั BCG
การนำเสนอแนวคิด BCG ของประเทศไทยในเวทีระดับโลกอย่าง APEC เป็นก้าวสำคัญที่จะผลักดัน
ใหค้ วามยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม และส่ิงแวดล้อม เกิดข้ึนจรงิ ในภูมภิ าค
ท่ีมา : หนงั สือพมิ พ์กรุงเทพธุรกจิ