The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หนึ่งในหัวใจการประกอบธุรกิจ คือ การมีเงินทุนหมุนเวียนที่เพียงพอ โดยปกติแล้วผู้ประกอบธุรกิจจะนำทรัพย์สินไปเป็นหลักประกันทางธุรกิจ หรือทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับสถาบันการเงิน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by วารสาร Bangkok Economy, 2022-05-11 02:55:30

กฎหมายการนำบิตคอยน์/คริปโทฯ เป็นหลักประกันทางธุรกิจ

หนึ่งในหัวใจการประกอบธุรกิจ คือ การมีเงินทุนหมุนเวียนที่เพียงพอ โดยปกติแล้วผู้ประกอบธุรกิจจะนำทรัพย์สินไปเป็นหลักประกันทางธุรกิจ หรือทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับสถาบันการเงิน

ขา่ วสารเศรษฐกิจ

กฎหมายการนำบติ คอยน์/ครปิ โทฯ เป็นหลักประกนั ทางธุรกจิ

ทีม่ า : หนังสอื พิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

หนึ่งในหัวใจการประกอบธุรกิจ คือ การมีเงินทุนหมุนเวียนที่เพียงพอ โดยปกติแล้วผู้ประกอบธุรกิจ
จะนำทรัพย์สินไปเป็นหลักประกันทางธุรกิจ หรือทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับสถาบันการเงิน ทั้งนี้ เป็นไปตาม
บทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยหลักประกันในทางธุรกิจ ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
อย่างไรกต็ าม ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ. ทรพั ยส์ นิ ที่จะนำมาเป็นหลกั ประกันไดจ้ ะมีคอ่ นขา้ งจำกัด

คือ อสังหาริมทรัพยแ์ ละสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษจำพวกบ้านและที่ดิน รวมถึงอาจนำสังหาริมทรัพย์ธรรมดา
ทีม่ ีมูลค่าสูง เช่น เครื่องจักรหรือเครือ่ งบินมาเปน็ หลักประกนั ทางธรุ กิจได้ จะเห็นได้วา่ มที รพั ยส์ นิ ค่อนขา้ งจำกัดในการ
นำมาเป็นหลักประกัน เพื่อการกู้ยืมเงินระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับสถาบันการเงิน ปี 2558 มีการประกาศใช้
พ.ร.บ.ว่าด้วยหลักประกนั ทางธุรกจิ พ.ศ. 2558 เพอื่ ลดข้อจำกดั ในเร่ืองทรพั ยส์ ินท่นี ำมาใชเ้ ป็นหลักประกนั ตาม ป.พ.พ.
ซงึ่ ทรัพยส์ นิ ทจี่ ะนำมาเป็นหลกั ประกนั ไดจ้ ะมีค่อนข้างจำกัด

เมือ่ พิจารณาบทบญั ญตั มิ าตรา 8 ของ พ.ร.บ. ว่าด้วยหลกั ประกันทางธรุ กจิ พ.ศ. 2558 จะเห็นได้ว่ามีการขยาย
ขอบเขตของทรัพย์สินที่จะนำมาเป็นหลักประกันเพิ่มขึ้น โดยให้ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน ได้แก่ กิจการ สิทธิเรียกร้อง
สังหาริมทรัพย์ทีผ่ ู้ใหป้ ระกนั ใชใ้ นการประกอบธรุ กจิ เช่น เคร่อื งจกั ร สินคา้ คงคลัง หรือวตั ถุดิบท่ใี ชใ้ นการผลิตสินค้า

ตลอดจนอสังหาริมทรัพย์ในกรณีทีผ่ ู้ให้หลักประกันประกอบธุรกิจอสังหาริมทรพั ยโ์ ดยตรง หรือทรพั ยส์ ินทางปัญญา
และทรัพย์สินอื่นตามที่บัญญัติไว้ในกฎกระทรวงสามารถที่จะนำทรัพย์สินที่มีมูลค่าเหล่านี้ มาใช้เป็นหลักประกัน
ในทางธุรกิจ และมกี ารกำหนดแนวทางในการบงั คบั และการส้ินสุดของหลักประกันดังกลา่ วไว้ใน พ.ร.บ. ฉบับนด้ี ว้ ย

จะเห็นได้ว่า พ.ร.บ. ว่าด้วยหลกั ประกนั ทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 พยายามนำเอาทรัพย์สนิ ที่มีมูลค่าในทางเศรษฐกจิ
มาใช้เปน็ หลักประกันในการกู้ยืมเงนิ ระหว่างผูป้ ระกอบธุรกิจกับสถาบันการเงนิ เพ่ือสร้างมูลค่าให้กับทรัพย์สินเหล่านั้น
เพ่ิมเตมิ ท้ังยังไดม้ ีการบัญญตั ขิ ั้นตอนในการบงั คบั หลกั ประกันในรูปแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากวิธีการบังคับในประมวล
กฎหมายวธิ ีพจิ ารณาความแพ่ง ทำให้กระบวนการในการบงั คับหลักประกันมคี วามสะดวกรวดเรว็ และสามารถนำไปใช้
ในทางปฏิบัติได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้สถาบันการเงินซึ่งเป็นผู้อนุมัติเงินกู้ยืมเงินสามารถพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ
ให้กับทรัพย์สินซึ่งเป็นหลักประกันนี้ได้ง่ายขึ้นและลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้และ
สามารถบังคบั เอากบั หลักประกนั ได้

อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณา ป.พ.พ. รวมถึง พ.ร.บ. ว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 จะเห็นได้ว่า
ทรัพยส์ นิ หนงึ่ ท่มี ีมูลค่าทางเศรษฐกิจและยังไม่ถูกนำมาใชเ้ ป็นหลกั ประกันแม้ว่าจะเป็นทรพั ย์สนิ ท่ีมีมูลค่าค่อนข้างมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมาซึ่งทรัพย์สินนั้น คือ “บิตคอยน์และคริปโทเคอร์เรนซีอื่น ๆ”
ซงึ่ ถอื เป็นสนิ ทรพั ยด์ ิจทิ ลั ที่ประชาชนคนไทย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรอื นติ บิ คุ คลมกี ารถือครองคอ่ นข้างสงู

ในปัจจุบันอาจมีมูลค่าการถือครองบิตคอยน์และคริปโทเคอร์เรนซีสูงถึงหนึ่งแสนล้านบาทในปัจจุบัน
ประกอบกับการเข้าซื้อกิจการของบริษัทบิตคับของธนาคารไทยพาณิชย์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินโดยตรงทำให้
ความเชอ่ื มนั่ ในบิตคอยนแ์ ละครปิ โทเคอร์เรนซใี นฐานะท่ีเปน็ ทรพั ย์สนิ ท่มี ีมลู ค่าทางเศรษฐกิจมีเพ่ิมสูงขนึ้

แม้บติ คอยน์และครปิ โทเคอร์เรนซจี ะเป็นทรัพย์สนิ ดิจิตอลซ่ึงเพ่งิ มามีบทบาทในระบบธรุ กจิ ในช่วงไม่ก่ีปีท่ีผ่านมา
และยังมีข้อถกเถียงเกี่ยวกับทิศทางนโยบายของรัฐบาลที่นำมาใช้ปฏิบัติต่อการถือครองและการใช้ประโยชน์
ในบิตคอยน์และคริปโทเคอร์เรนซีในประเทศไทย แต่ด้วยระบบโครงสร้างเศรษฐกิจโลกและการนำระบบบล็อกเชนมาใช้
ในระบบธุรกิจ ทำให้บิตคอยน์และคริปโทเคอร์เรนซี กลายเป็นทรัพย์สินทีม่ ีมูลค่าในทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่ได้รับ
การยอมรับและมคี ณุ สมบตั ทิ อี่ าจนำมาใช้เป็นหลักประกนั ทางธรุ กจิ ได้

อย่างไรก็ตาม หากรฐั บาลจะนำบิตคอยน์และคริปโทเคอร์เรนซี คงตอ้ งพจิ ารณาขอ้ จำกดั บางประการของบิต
คอยนแ์ ละคริปโทเคอร์เรนซี คือ แนวทางในการบงั คับหลักประกนั และปญั หาการเปลีย่ นแปลงของราคาบิตคอยน์และ
ครปิ โทเคอรเ์ รนซี ทีอ่ าจมีการเปล่ียนแปลงค่อนขา้ งสงู ต่อวันเมอื่ เปรียบเทียบกับทรัพยส์ นิ อนื่

ดังนั้น กระบวนการในการบังคับหลักประกันและการใช้บติ คอยนแ์ ละคริปโทเคอร์เรนซี จงึ ต้องมีการพจิ ารณแนวทาง
ท่ีเปน็ พิเศษแตกตา่ งจากทรพั ยส์ ินอื่น ท้ังนีเ้ พื่อให้การปลอ่ ยสนิ เชื่อเงนิ กใู้ หก้ ับผถู้ ือครองบิตคอยนแ์ ละคริปโทเคอร์เรนซี
มปี ระสิทธภิ าพ และเปน็ การสรา้ งกระบวนการในการลดความเสีย่ งท่เี กดิ ข้นึ ให้กับสถาบนั การเงนิ ใดมากที่สุด จะทำให้
มีทรัพย์สินซึ่งเป็นตัวเลือกเพิ่มขึ้น ในการนำมาเป็นหลักประกันในทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบธุรกิจ ไม่ว่าจะเปน็
บคุ คลธรรมดาหรือนติ บิ คุ คลเพมิ่ มากข้ึนและจะสง่ ผลดตี อ่ ระบบเศรษฐกจิ ของประเทศไทยในภาพรวมไดเ้ ปน็ อยา่ งดี.

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกจิ


Click to View FlipBook Version