The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ภาพรวมธุรกิจค้าปลีกปี 2564 กำลังซื้อผู้บริโภคเติบโตต่ำกว่าที่ควรเป็น!! ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นผู้ค้าปลีก บ่งบอกถึงการบริโภคที่ถดถอยอย่างมีนัย ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ฉุดรั้งการบริโภคให้ถดถอย ก็คือ หนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by วารสาร Bangkok Economy, 2022-05-19 22:30:14

หนี้ครัวเรือนเพิ่ม! ระเบิดลูกต่อไป...ฉุดภาคค้าปลีก

ภาพรวมธุรกิจค้าปลีกปี 2564 กำลังซื้อผู้บริโภคเติบโตต่ำกว่าที่ควรเป็น!! ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นผู้ค้าปลีก บ่งบอกถึงการบริโภคที่ถดถอยอย่างมีนัย ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ฉุดรั้งการบริโภคให้ถดถอย ก็คือ หนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น

ขา่ วสารเศรษฐกจิ

หนี้ครวั เรือนเพ่มิ ! ระเบิดลูกตอ่ ไป...ฉุดภาคคา้ ปลกี

ภาพรวมธรุ กจิ ค้าปลกี ปี 2564 กำลงั ซอื้ ผบู้ รโิ ภคเติบโตตำ่ กวา่ ที่ควรเป็น!! ดัชนชี วี้ ดั ความเชื่อม่ันผู้ค้าปลีก
บ่งบอกถงึ การบริโภคทถ่ี ดถอยอยา่ งมนี ัย ซงึ่ สาเหตุหนง่ึ ทีฉ่ ุดรั้งการบริโภคให้ถดถอย ก็คือ หน้คี รวั เรือนท่ีสูงขน้ึ

ในปี 2563-2664 ผ้บู ริโภคใชจ้ า่ ยน้อยลง เน่อื งจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทัว่ โลก กระทบเศรษฐกจิ ไทย
และส่งผลใหก้ ำลงั ซ้อื ผู้บรโิ ภคลดลงตาม นอกจากน้ี การใช้จา่ ยของนักท่องเทยี่ วตา่ งชาติปี 2563 กม็ ีสดั ส่วนเพยี ง 16%
ของ 1.9 ลา้ นลา้ นในปี 2562 แมฟ้ น้ื ตัวขน้ึ มาบางสว่ น แตก่ ข็ ึ้นอย่กู ับการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยภาครฐั

อย่างไรก็ตาม ได้สร้างผลกระทบเพียงระยะสั้นต่อตลาดค้าปลีกเท่านั้น ในระยะกลาง ปริมาณยอดขาย
จากร้านค้าปลีกอาจได้รับผลกระทบเชิงลบ จากสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงต่อ GDP คาดอยู่ที่ 88-91%
ภายในสิ้นปี 2565 คิดเป็น 8-10% (Percentage Points) สูงกว่าปี 2562 และสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2546 และคิดเป็น
ระดับสูงสุดในเอเชีย!! ข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่า หนี้ครัวเรือนในไตรมาส 3 ปี 2564
สงู ถงึ 89.3% ตอ่ GDP เพม่ิ ขึน้ จาก 80.0% เม่ือตน้ ปี 2563 ประมาณการวา่ หน้คี รัวเรือนอาจเพิ่มสงู ถงึ 91% ต่อ GDP
ในปี 2565

หนี้ครัวเรือนส่วนใหญ่ เมื่อพิจารณาในรายละเอียดของวัตถุประสงค์การกู้ยืมจากสหกรณ์ออมทรัพย์และ
เครดติ ยูเนี่ยน ซง่ึ เปน็ เจา้ หน้ีรายใหญ่ของหนี้ครัวเรือน พบว่า อันดับแรก กู้ยมื เพ่อื นำไปชำระหน้ีสินเดมิ (26%) อันดับสอง
ใช้สอยส่วนตัว (24%) อันดับสาม ใช้จ่ายด้านอื่นๆ (13%) ซึ่งแตกต่างจากการกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ที่ส่วนใหญ่
เป็นการกเู้ พอื่ ซ้อื บา้ นและรถยนต์

ปัจจัยที่ทำให้ครัวเรือนมีรายรับไม่พอรายจ่าย ส่วนหนึ่งมาจากรายจ่ายไม่จำเป็น และส่วนใหญ่มาจาก
ภาระหน้ีที่สงู ผลการศึกษาพบว่า การท่องเทย่ี วเป็นรายจา่ ยก้อนใหญ่ทค่ี รวั เรือนที่มีหนแ้ี ละมีปัญหาควรลด!

โดยตอ้ งลดลงถึง 83% จากปรมิ าณการใช้จ่ายปัจจุบัน เพอ่ื ใหค้ รวั เรือนมีรายรบั เพยี งพอกบั รายจ่าย รองลงมา
คือ หมวดเสื้อผ้า ครัวเรือนควรลดการใช้จา่ ยถงึ 73% ส่วนค่าอาหารนอกบ้านและของใชส้ ่วนบุคคลก็ควรลดลง 58%
และ 54% ตามลำดับ

ยังมีรายจา่ ยอ่นื ๆ ที่ควรปรับลดการใช้จา่ ยเพ่ือสร้างวินัยและลดความเสยี่ งทางการเงนิ ในครัวเรือน เช่น ค่าเหล้า
ค่าหวย ควรลดลง "ครึ่งหนึ่ง" จากที่ใช้จ่ายในปัจจุบัน หากครัวเรือนปรับลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นและนำเงินที่เหลือ
ไปชำระหนี้ (ลดภาระหน)ี้ เพอ่ื ลดเงินตน้ อย่างต่อเนอ่ื งและสมำ่ เสมอ ก็จะสร้างฐานะทางการเงนิ ที่ดีขึน้ ได้ กระบวนการ
ดังกล่าวต้องใช้เวลาและความอดทนอดกลน้ั แต่สามารถทำได้

หนี้ครัวเรือนจึงเป็นเรื่องที่น่ากังวล เพราะหนี้ส่วนใหญ่ของคนไทยเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ในฝั่ง "ผู้กู้"
พบว่าผูก้ ู้ท่มี ีหน้แี ละมีหน้ีเสยี เยอะเปน็ ผู้กู้อายุน้อย เกษตรกรก็สะสมหนี้จนแก่ ส่งผลตอ่ การพัฒนาเศรษฐกิจระยะยาว
ซงึ่ เห็นว่าผูก้ ู้มกี ารกู้หลายบญั ชีมากขน้ึ และมีความสัมพนั ธ์กับคุณภาพหนี้ที่ด้อยลง เห็นหน้ีทก่ี ระจุกตัวอาจมีความเสี่ยง
เชิงระบบได้
แนวทางการแกป้ ญั หาหน้ีครวั เรอื น

1.เพิม่ รายได้ของครวั เรือน รฐั บาลควรสนบั สนนุ การเพมิ่ ผลิตภาพการผลติ ใหไ้ ด้ผลผลติ ท่ีสูงขึ้น ใหม้ ีการจ้างงาน
เพิ่มขึ้นในภาคการผลิตต่างๆ เพื่อเพิ่มรายได้ของภาคครัวเรือน อุปสงค์ มวลรวมจะเพิ่มขึ้น ส่งเสริมให้ภาคการผลิต
มภี ูมคิ ุ้มกันทด่ี ี สามารถท่ีจะอยูไ่ ดด้ ้วยตัวเอง ลดการพ่ึงพิงสถาบันอืน่ ๆ จากภายนอก เศรษฐกจิ ของประเทศก็จะมีการ
พัฒนาได้อย่างยงั่ ยืน ลดช่องว่างระหวา่ งคนจนและคนรวยลง และกระจายรายได้อย่างเป็นธรรมมากข้ึน เพราะตราบใด
ทคี่ รัวเรือนยังมรี ายไดไ้ มเ่ พยี งพอต่อการดำรงชพี กเ็ ล่ียงไมไ่ ด้ท่ีจะตอ้ งก่อหน้ีเพอื่ นำไปใช้จ่าย ในภาพใหญ่คงตอ้ งชว่ ยกัน
คดิ ว่าจะทำอยา่ งไรให้แรงงานไทยเก่งขนึ้ มที กั ษะการทำงานทต่ี รงกบั ความตอ้ งการของตลาด

2.ปลดหนี้เดิม ในช่วงที่ผ่านมา หลายหน่วยงานริเริ่มมาตรการต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้
ให้ทยอยปรับตัวและหลดุ พ้นจากปัญหาหนี้ที่ประสบอยู่ โดย ธปท. ได้ผลักดันหลายโครงการ อาทิ การปรับโครงสรา้ งหนี้
คลินิกแก้หนี้ โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน เพื่อให้ลูกหนี้รายย่อยมีภาระหนี้ที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนสอดคล้อง
กบั รายได้ทเี่ ปล่ยี นไป

ด้านสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เดินหน้าช่วยเหลือกลุ่มข้าราชการครูที่ประสบปัญหา
หนี้สินสูง สำหรับกรมส่งเสริมสหกรณ์เริ่มออกแบบมาตรการช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์และเกษตรกร อย่างไรก็ดี
ยังคงต้องเร่งเดินหนา้ ตอ่ ไปเพื่อทำใหห้ ลายมาตรการทีอ่ อกมาเกดิ ผลดใี นวงกว้าง

3.สรา้ งความตระหนกั ร้ทู างการเงินด้วยการให้มีบัญชีครัวเรือน เพือ่ ไมใ่ ห้เกดิ การใช้จา่ ยและการก่อหน้ีที่เกินตัว
มีความตระหนกั ถงึ ความสำคัญของการออมและการลงทุน รู้จักวางแผนการเงินและบรหิ ารความเส่ียง บัญชีครัวเรือน
เป็นเรื่องส่วนบุคคล เป็นเรื่องของการรู้จักตนเอง สำคัญและเป็นวิถีชีวิต ถ้าครอบครัวหนึ่งทำบัญชีครัวเรือนอย่างดี
เอาบญั ชคี รวั เรอื นมาดจู ะรวู้ ่าครัวเรือนน้ีดำรงชวี ติ อย่างไร จนหรอื รวย สขุ ภาพครอบครวั เปน็ อย่างไร

การแก้ไขวิกฤตินี้ไม่ใช่เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นการเฉพาะ การแก้ไขด้
านรายได้ต้องทำควบคู่ไปกับการลดหนี้ ถ้าหนี้ลด แต่รายได้ไม่เพิ่ม สุดท้ายจะกลับไปเป็นหนี้อีก ดังน้ัน
การปรับขีดความสามารถทางการผลิตที่แข่งขันได้ในอนาคต จึงเป็นเงื่อนไขสำคัญต่อการสร้างรายได้ของประชาชน
และผู้ประกอบการ รัฐบาลต้องมองปญั หาหน้แี ละรายไดใ้ ห้ทะลุ รีบลงมือปฏบิ ัติก่อนทีส่ ายเกินไป

ท่มี า : หนงั สอื พิมพก์ รุงเทพธรุ กิจ


Click to View FlipBook Version