The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ปัญหาหนี้ครัวเรือน ปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า หากไม่ได้รับการแก้ไขก็จะเป็นปัจจัยฉุดรั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และเป็นระเบิดเวลาที่อาจปะทุขึ้นจนกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงิน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by วารสาร Bangkok Economy, 2022-05-18 04:57:40

หนี้ครัวเรือน : ปัญหาที่ทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกันแก้

ปัญหาหนี้ครัวเรือน ปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า หากไม่ได้รับการแก้ไขก็จะเป็นปัจจัยฉุดรั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และเป็นระเบิดเวลาที่อาจปะทุขึ้นจนกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงิน

ขา่ วสารเศรษฐกิจ
หนคี้ รวั เรอื น : ปญั หาทีท่ กุ คนต้องร่วมดว้ ยชว่ ยกนั แก้

ปัญหาหนี้ครัวเรือน ปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า หากไม่ได้รับการแก้ไขก็จะเปน็
ปจั จยั ฉุดร้ังการฟ้ืนตวั ของเศรษฐกิจ และเป็นระเบิดเวลาที่อาจปะทุขึน้ จนกระทบตอ่ เสถียรภาพระบบการเงนิ
ปจั จัยฉดุ ร้งั การบรโิ ภคของครัวเรอื น และการเตบิ โตของเศรษฐกจิ

ปัญหาหนี้ครัวเรือนสูงก่อตัวมาระยะหนึ่งแล้วและถูกซ้ำเติมให้ทวีความรุนแรงขึ้นด้วยวิกฤตโควิด
จากการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสำรวจภาวะเศรษฐกจิ และสังคมของครวั เรอื น สำนักงานสถิติแหง่ ชาติ พบว่า (รูปประกอบ)
สัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ (Debt Service Ratio: DSR) โดยเฉลี่ยของครัวเรือนไทยอยู่ในจุดใกล้เส้นยาแดงที่ระดับ 30%
มาตง้ั แตก่ อ่ นเกิดโควิด (ปี 2562) พูดง่ายๆ คอื ถ้าสัดสว่ นนเ้ี พิ่มขน้ึ อีกนิดเดยี วจนเกนิ 30% ซึ่งเปน็ จุดวกกลับ (turning point)
การก่อหนกี้ ็จะเปลยี่ นบทบาทจากการกระตนุ้ เป็นการฉดุ รง้ั การบรโิ ภคของครัวเรอื น และเมอ่ื เกิดวกิ ฤต

โควิดช่วงปี 2563-2564 เศรษฐกจิ ไทยถกู กระทบรุนแรง รายได้ครัวเรอื นหายไปมาก ครัวเรอื นจำเป็นต้องกู้ยืม
เพอื่ พยงุ กำลังซอ้ื และรักษาระดบั การบริโภค สดั สว่ นภาระหนตี้ ่อรายไดโ้ ดยเฉลี่ยจึงปรับตวั เพิ่มขน้ึ เรว็ เกินระดับ 30%
จนทำให้ภาระหนก้ี ลายเปน็ ปัจจัยฉดุ ร้งั การบรโิ ภคและการฟน้ื ตัวของเศรษฐกจิ มองไปขา้ งหนา้ แม้รายได้ของครัวเรือน
จะมีแนวโน้มทยอยฟื้นตวั ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แต่คาดว่าภาระหนี้ที่สูงจะยังคงเป็นปัจจัยฉุดรั้งเศรษฐกิจต่อไป
เน่อื งจากครัวเรอื นจำเปน็ ต้องนำรายได้ที่เพ่มิ ขึ้นไปชำระหนีท้ ม่ี ีอยูเ่ ดิมกอ่ น ทำให้ไม่สามารถใชจ้ า่ ยไดอ้ ยา่ งเตม็ ที่

* อ้างอิงจากการศึกษาเพ่ือหาความสัมพันธร์ ะหว่างภาระหนส้ี ินและการบรโิ ภคครวั เรือน ใชว้ ิธีการทางเศรษฐมิติ
ที่เรียกว่า Local linear regression ซึ่งสามารถหาความสัมพนั ธ์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น (non-linear) ระหว่างตัวแปรต่างๆ
จงึ เหมาะกบั การหาจุดวกกลบั (turning point) ท่คี วามสัมพันธร์ ะหวา่ งภาระหนี้และการบริโภคเปลยี่ นทิศทาง

จดุ เปราะบางในระบบเศรษฐกิจการเงินที่ไมค่ วรมองข้าม

ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงถึงร้อยละ 89.3 ต่อ GDP ในไตรมาส 3 ปี 2564 ประกอบกับเงินออมที่ลดลง
โดยเฉพาะกลุม่ ที่ไดร้ บั ผลกระทบจากการระบาด ทำให้ครัวเรือนเหล่านี้ขาดภูมคิ ุ้มกนั ในการรองรบั เหตุการณ์เลวร้าย
ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น หากถูกเลิกจ้าง หรือค่าจ้างถูกปรับลดลงมาก นอกจากครัวเรือนจะลดการบริโภคแล้ว
ยงั อาจส่งผลใหค้ รัวเรือนผิดนดั ชำระหน้ี สรา้ งความเสี่ยงให้กับระบบสถาบันการเงนิ หรือผู้ให้กูย้ ืม และในกรณีเลวร้าย
หากเกิดการผิดนัดชำระหนี้ในวงกว้าง ระบบการเงินได้รับความเสียหายจนไม่สามารถดำเนินการได้ตามปกติ
กจ็ ะกระทบกจิ กรรมทางเศรษฐกิจรุนแรง และอาจนำไปสวู่ ิกฤตเศรษฐกจิ ไดใ้ นท้ายที่สุด

การแก้ปัญหาหน้ีครวั เรอื นท่ีทุกฝา่ ยต้องชว่ ยกนั แก้ไข

ผู้เขียนเห็นวา่ จำเป็นต้องแก้ไขใน 3 เรื่องควบค่กู นั 1) “เพิ่มรายไดข้ องครวั เรือน” เพราะตราบใดท่ีครัวเรือน
ยังมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องก่อหนี้เพื่อนำไปใช้จ่าย ในภาพใหญ่ค งต้องช่วยกันคิดวา่
จะทำอย่างไรให้แรงงานไทยเก่งขนึ้ มที ักษะการทำงานท่ีตรงกบั ความตอ้ งการของตลาด

จะทำอย่างไรให้แรงงานในภาคเกษตรกรรมที่มีจำนวนถึง 1 ใน 3 ของกำลังแรงงานทัง้ หมดมีรายได้เพิ่มข้ึน
อย่างยั่งยืน รวมทั้งปัญหาแรงงานในภาคบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวที่รายได้ฟื้นตัวได้ช้า ท่ามกลางวิถีการ
ท่องเที่ยวแบบใหมท่ ี่จะเปล่ยี นไป และใหภ้ าคธุรกจิ เพ่ิมการลงทนุ ในประเทศไทย ซึ่งจะชว่ ยยกระดบั ผลิตภาพการผลิต
และรายไดข้ องประชาชน ประเด็นเหล่านีเ้ ป็นโจทย์ที่สำคญั และท้าทายเปน็ อย่างมากสำหรบั ท้งั ภาครัฐและภาคเอกชน

2) “ปลดหนี้เดิม” ในช่วงที่ผ่านมา หลายหน่วยงานริเริม่ มาตรการต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อช่วยเหลือ
ลูกหนี้ทยอยปรับตัวและหลุดพ้นจากปัญหาหนี้ที่ประสบอยู่ โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ผลักดัน
หลายโครงการ อาทิ การปรับโครงสร้างหน้ี คลินิกแก้หนี้ และโครงการหมอหน้ีเพื่อประชาชน เพื่อให้ลูกหนี้รายย่อย
มีภาระหนีท้ ต่ี ้องจา่ ยในแต่ละเดอื นสอดคล้องกบั รายได้ทีเ่ ปลีย่ นไป

ด้านสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เดินหน้าช่วยเหลือกลุ่มข้าราชการครู
ที่ประสบปัญหาหนี้สินสูง สำหรับกรมส่งเสริมสหกรณ์เริ่มออกแบบมาตรการชว่ ยเหลือสมาชิกสหกรณ์และเกษตรกร
อยา่ งไรกด็ ี ยังคงตอ้ งเรง่ เดนิ หนา้ ตอ่ ไปเพ่อื ทำให้หลายมาตรการท่อี อกมาเกดิ ผลดใี นวงกวา้ ง

3) “สร้างความตระหนักรู้ทางการเงินให้กับครัวเรือน” เพื่อไม่ให้เกิดการใช้จ่ายและการก่อหนี้ที่เกินตัว
มคี วามตระหนกั ถึงความสำคัญของการออมและการลงทนุ ร้จู กั วางแผนการเงินและบริหารความเสีย่ ง

สิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่ของหลายภาคส่วนที่ต้องทำร่วมกัน โดยภาครัฐต้องส่งเสริมความรู้ทางการเงิน
ให้กับประชาชน ขณะที่ภาคครัวเรือนก็ต้องขวนขวายหาความรู้และฝึกวินัยทางการเงินด้วยตัวเอง นอกจากน้ี
ภาคสถาบนั การเงนิ ต้องไม่ออกโปรโมชนั่ หรอื ผลติ ภัณฑ์การเงนิ ทสี่ มุ่ เสีย่ งจะทำใหป้ ระชาชนติดกับดกั หนี้

โดยสรุป ปัญหาหนี้ครัวเรือนถือเป็นจุดเปราะบางสำคัญของระบบเศรษฐกิจการเงินไทยที่จำเป็น
ต้องได้รับการแก้ไขอย่างรอบด้านโดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน การที่ภาครัฐกำหนดให้ปี 2565
เปน็ “ปแี ห่งการแก้หน้ภี าคครัวเรือน” นบั เป็นจุดเริม่ ต้นทดี่ ีในการจดั การกบั ปญั หาที่สั่งสมมานานอย่างจรงิ จงั

ทม่ี า : หนงั สือพมิ พ์กรงุ เทพธุรกจิ


Click to View FlipBook Version