โครงการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพสำหรับครู-นักเรียน ภาควิชาชีพดุริยางคศิลป์ 1. หลักการและเหตุผล ในการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพตามพันธกิจของสถานศึกษาได้นั้น สถานศึกษาจะต้องมีการ พัฒนาในด้านต่าง ๆ เช่นอาคารสถานที่ อุปกรณ์การเรียนการเรียนการสอน หลักสูตร และที่สำคัญก็คือบุคลากร เพราะบุคลากรเป็นผู้จัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้พัฒนาให้เป็นไปตามพันธกิจ และสามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปประกอบอาชีพได้ ดังนั้นการจะทำให้กระบวนการจัดเรียนการสอนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และมีคุณภาพที่ดีได้นั้น จำเป็นจะต้องพัฒนาครูผู้สอนให้เป็นผู้ที่มีความรู้ในด้านวิชาการตามสาขาต่าง ๆ สามารถนำความรู้ ไปใช้ในการ จัดการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามพันธกิจของสถานศึกษา 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อให้ความรู้เชิงปฏิบัติการให้กับครู-อาจารย์-นักเรียน ภาควิชาดุริยางคศิลป์ 2.2 ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้จากการเข้าร่วมโครงการไปพัฒนาการเรียนการสอนในสายงาน ของตนเองให้ดียิ่งขึ้น 2.3 เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ของผู้ร่วมโครงการฯ 3. เป้าหมาย 3.1) เชิงปริมาณ 3.1.1) บุคลาภาควิชาดุริยางคศิลป์ จำนวน 19 คน 3.1.2) นักเรียน ภาควิชาดุริยางคศิลป์ จำนวน 120 คน 3.2) เชิงคุณภาพ 3.2.2) บุคลากรครู ภาควิชาดุริยางคศิลป์ จำนวน 19 คน มีความรู้เพิ่มจากการเข้าร่วมโครงการ และนำไปใช้พัฒนาการเรียนการสอน 3.2.3) นักเรียน ภาควิชาดุริยางคศิลป์ จำนวน 120 คน 4.กลุ่มเป้าหมาย 4.1) บุคลากรครู ภาควิชาดุริยางคศิลป์ 4.2) นักเรียน ภาควิชาดุริยางคศิลป์ 5.ระยะเวลาดำเนินการ 5.1) วัน พฤหัสบดี ที่ 29 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2566 6.สถานที่ดำเนินการ 6.1) หอประชุมรักษ์ศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย
7.กิจกรรมที่ดำเนินการ วิธีดำเนินการ (PDCA) 7.1) วางแผนดำเนินโครงการ (Planning :P) 7.1.1) ประชุมบุคลากรของภาควิชาดุริยางคศิลป์เพื่อปรึกษาหารือถึงปัญหาที่พบในการดำเนิน โครงการในปีที่ผ่านมา เช่น ในเรื่องวัตถุประสงค์โครงการ เป้าหมาย และงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินโครงการ เพื่อนำมาวางแนวทางในการแก้ปัญหา 7.1.2) เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ 7.1.3) วางแนวทางการปฏิบัติงานของแต่ละส่วนแต่ละฝ่ายออกเป็นคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน ฝ่ายต่าง ๆ ให้ครอบคลุมในการดำเนินงาน 7.1.4) วางแผนหรือเตรียมการประเมินผลอย่างเป็นระบบ 7.2) การลงมือปฏิบัติตามแผนที่กำหนด (Doing : Do) 7.2.1) จัดสถานที่ 7.2.2) ดำเนินงานตามโครงการ 7.3) การตรวจสอบประเมินการดำเนินงานตามแผนที่กำหนด (Checking : C) 7.3.1) ประเมินผลโครงการ 7.4) การจัดทำการประเมินผลเพื่อเป็นแผนปฏิบัติ (Action: A) 7.4.1) สรุปผลการดำเนินงาน 7.4.2) รายงานผล และนำผลที่ได้มาพัฒนาปรับปรุงโครงการครั้งต่อไป 8.ผลผลิต 8.1) เชิงปริมาณ 8.1.1) นักเรียน ภาควิชาดุริยางคศิลป์ทุกระดับชั้นจำนวนประมาณ 120 คน 8.1.2) ครู/บุคลากร ภาควิชาดุริยางคศิลป์ จำนวน 19 คน 8.2) เชิงคุณภาพ 8.2.1) นักเรียน และครู/บุคลากร ภาควิชาดุริยางคศิลป์ทุกระดับชั้นจำนวนประมาณ 120 คน ที่เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาความรู้ ประสบการณ์ 8.2.2) นักเรียนและครู/บุคลากร ภาควิชาดุริยางคศิลป์ทุกระดับชั้นจำนวนประมาณ 120 คน ที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ 9.ผลลัพธ์ 9.1) นักเรียน และครู/บุคลากร ได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง 9.2) นักเรียน และครู/บุคลากร ได้รับประสบการณ์ตรง 9.3) นักเรียน และครู/บุคลากร ได้แสดงออกในวิชาชีพของตนเอง 9.4) เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านดนตรีไทย 10.ผู้รับผิดชอบโครงการ 10.1) หัวหน้าภาควิชาดุริยางคศิลป์ 10.2) หัวหน้ากลุ่มสาระวิชาชีพปี่พาทย์ 10.3) หัวหน้ากลุ่มสาระวิชาชีพเครื่องสายไทย 10.4) หัวหน้ากลุ่มสาระวิชาชีพคีตศิลป์ไทย
11.การติดตามประเมินผล ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีวัดและ ประเมินผล เครื่องมือวัดและ ประเมินผล ผู้รับผิดชอบ ผลผลิต (ปริมาณ) -นักเรียน ภาควิชา ดุริยางคศิลป์ทุกระดับชั้นจำนวน ประมาณ 120 คน - ครู/บุคลากร ภาควิชาดุริยางคศิลป์ จำนวน 19 คน การประเมิน โครงการ แบบประเมิน โครงการ หัวหน้าภาควิชาดุริยางคศิลป์ หัวหน้ากลุ่มสาระวิชาชีพปี่พาทย์ หัวหน้ากลุ่มสาระวิชาชีพเครื่องสาย ไทย หัวหน้ากลุ่มสาระวิชาชีพคีตศิลป์ ไทย ผลผลิต (คุณภาพ) - นักเรียน ครู/บุคลากร ได้พัฒนา ศักยภาพของตนเอง -นักเรียนครู/บุคลากร ได้รับ ประสบการณ์ตรง - นักเรียน ครู/บุคลากร ได้ แสดงออกในวิชาชีพของตนเอง - นักเรียน ครู/บุคลากร เกิดการ แลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านดนตรี ไทย การประเมิน โครงการ แบบประเมิน โครงการ 12.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 12.1) นักเรียน ครู/บุคลากร ได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง 12.2) นักเรียน ครู/บุคลากร ได้รับประสบการณ์ตรง 12.3) นักเรียน ครู/บุคลากร ได้แสดงออกในวิชาชีพของตนเอง 12.4) นักเรียน ครู/บุคลากร เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านดนตรีไทย
กำหนดจัดกิจกรรม โครงการการสืบสานการบรรเลงดนตรีไทยในพิธีไหว้ครู “เสียงพาทย์ เสียงพิณ” วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๖ ตั้งแต่เวลา ๑๖.๓๐ น.เป็นต้นไป ณ หอประชุมรักษ์ศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย ๑. พิธีเปิด ๒. บรรเลงถวายมือ (รับเกียรติบัตร และของชำร่วย) ๒.๑ วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ - เพลง โหมโรงขวัญเมือง และเพลงบังใบ เถา ๒.๒ วงจะเข้หมู่ - เพลง จีนขิมใหญ่ ๒.๓ วิทยาลัยนาฏศิลป - เพลง พม่า ๕ ท่อน ๓ ชั้น ๒.๔ วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย - เพลง แขกโอด ๓ ชั้น ๒.๕ โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร - เพลง โหมโรงไอยเรศ ๓ ชั้น และเพลงสี่บท เถา 2.๖ โรงเรียนศรีอินทราทิตย์ (บ้านเมืองเก่า) - เพลง โหมโรงม้ารำ และเพลงไส้พระจันทร์ เถา ๒.๗ วง "เทวาประสิทธิ์" (น้องเอ็นดู ๘ ขวบ) - เพลง โหมโรงไอยเรศ ๓ ชั้น และเพลงเชิดจีน ๒.๘ วิทยาลัยานาฏศิลปกาฬสินธุ์ - เพลง แปดบท เถา และเพลงทยอยใน เถา ๒.๙ วง "สุราเทพ" วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย - เพลง สุโขทัย เถา เพลงเงี้ยวรำลึก เถา และเพลงทยอยเขมร ๓ ชั้น ๒.๑๐ วิทยาลัยนาฏศิลป - เพลง พันธ์ฝรั่ง เถา และเพลงช้างประสานงา เถา ๒.๑๑ วง "บ้านคีตา" - เพลง โหมโรงแขกมอญ และโอ้ลาว เถา ๒.๑๒ วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย - เพลง จีนลั่นถัน เถา ๒.๑๓ วง "ทวีศักดิ์ อัครวงษ์" - เพลงพม่าเห่ และเพลงทยอยเขมร ๓. พิธีปิดกล่าวให้โอวาส ……………………………………………………………….. หมายเหตุ : - กำหนดการสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม - เวลาดำเนินตามความเหมาะสม
คำกล่าวรายงาน เนื่องในพิธีเปิดโครงการสืบสานการบรรเลงดนตรีไทยในพิธีไหว้ครู “เสียงพาทย์ เสียงพิณ” วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ หอประชุมรักษ์ศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย ******************** กราบเรียน ผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย ประธานในพิธีที่เคารพอย่างสูง กระผมในนามของภาควิชาดุริยางคศิลป์ ขอขอบพระคุณท่านผู้อำนวยการ เป็นอย่างยิ่งที่ได้กรุณาให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสืบสานการ บรรเลงดนตรีไทยในพิธีไหว้ครู “เสียงพาทย์ เสียงพิณ” ประจำปีการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๖ ในวันนี้ โครงการสืบสานการบรรเลงดนตรีไทยในพิธีไหว้ครู “เสียงพาทย์ เสียงพิณ” จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ความรู้เชิงปฏิบัติการให้กับครู-อาจารย์-นักเรียน ภาควิชาดุริยางคศิลป์ และผู้เรียนได้พัฒนาให้เป็นไปตามพันธกิจ และสามารถนำ ความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพได้ บัดนี้ ได้เวลาอันสมควรแล้ว ขอกราบเรียนเชิญท่านผู้อำนวยการวิทยาลัย กล่าวเปิดโครงการสืบสานการบรรเลงดนตรีไทยในพิธีไหว้ครู “เสียงพาทย์ เสียงพิณ” ขอกราบเรียนเชิญครับ
คำกล่าวเปิด เนื่องในพิธีเปิดโครงการสืบสานการบรรเลงดนตรีไทยในพิธีไหว้ครู “เสียงพาทย์ เสียงพิณ” วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ หอประชุมรักษ์ศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย ******************** คณะครู อาจารย์ แขกผู้มีเกียรติ และนักเรียน นักศึกษาที่รักทั้งหลาย วันนี้ เป็นอีกหนึ่งวันที่ดิฉันรู้สึกยินดี เป็นเกียรติ และเต็มใจอย่างยิ่ง ที่ได้มา เป็นประธานเปิดโครงการสืบสานการบรรเลงดนตรีไทยในพิธีไหว้ครู “เสียงพาทย์ เสียงพิณ” ขอชมเชยผู้เข้าร่วมโครงการทุกคน ว่าเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เป็นผู้มีศักยภาพ เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน จากวัตถุประสงค์โครงการจะเห็นได้ว่าเด็กและ เยาวชนมีความสำคัญ เปรียบเหมือนต้นกล้าทางวัฒนธรรม ซึ่งจะเจริญงอกงามขึ้น ผลิดอกออกผลในวันข้างหน้า ในอนาคตก็จะเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติใน การเป็นผู้นำทางด้านศิลปะต่อไป ดิฉันต้องขอขอบคุณเป็นอย่างสูง ที่คณะครู อาจารย์ ได้ให้ความร่วมมือใน การประชาสัมพันธ์โครงการ สนับสนุนและอนุญาตให้นักเรียนเข้าร่วมโครงการใน ครั้งนี้ ถือว่าเป็นผู้ที่ทำหน้าที่อันสำคัญในการทำให้โครงการในครั้งนี้ดำเนินงานไปได้ อย่างดียิ่ง เป็นการร่วมมือกันที่จะส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านดนตรี หวังเป็น อย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมือจากท่านในการดำเนินงานในครั้งต่อไป ดิฉันขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ท่านเคารพ นับถือ ได้โปรดดลบันดาลให้คณะครู อาจารย์ แขกผู้มีเกียรติ นักเรียน นักศึกษา และผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน จงประสพแต่ความสุข ความเจริญ มีกำลังกาย กำลังใจที่ เข้มแข็ง มีความเจริญก้าวหน้าในชีวิต ตลอดไป บัดนี้ ได้เวลาอันสมควรแล้ว ดิฉันขอเปิด โครงการสืบสานการบรรเลง ดนตรีไทยในพิธีไหว้ครู “เสียงพาทย์ เสียงพิณ” ณ บัดนี้
1. การบรรเลงวงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยว วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ เพลงโหมโรงขวัญเมือง เพลงโหมโรงขวัญเมือง เป็นเพลงโหมโรงที่มีความหมายไปในทางขอความสิริมงคลจงมีแก่บ้านเมือง และ ชุมชนนั้น ๆ เพลงนี้ 'พระประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก) ได้แต่งขึ้นจากเพลงเรื่องพม่าเพลงหนึ่ง เพื่อให้คู่กับเพลงพม่า วัด (หรือเพลงพาเมียมา) ซึ่งครูเพ็ง มีศักดิ์เป็นญาติผู้น้องของพระประดิษฐ์ไพเราะได้แต่งขึ้นเป็นเพลงโหมโรง ก่อน หน้าเพลงนี้ สันนิษฐานว่าพระประดิษฐ์ไพเราะได้แต่งเพลงนี้ ขณะที่เป็นครูฝึกสอนวงมโหรีหญิงของ สมเด็จกรม พระยาสุดารัตน์ราชประยูร เนื่องจากผู้บรรเลงเป็นสตรีล้วน ๆ ทำนองเพลงก็จะต้องให้เหมาะสมกับผู้บรรเลง ลีลา ของเพลงนี้จึงเป็นไปในทางสุภาพเรียบร้อยและอ่อนโยน แม้จะมีเม็ดพรายบ้าง ก็เป็นเม็ดพรายที่ไม่โลดโผน จนเกินไป มุ่งหมายในความไพเราะซาบซึ้งเป็นส่วนสำคัญ เพลงบังใบ เถา เพลงบังใบ อัตรา ๒ ชั้น ของเก่า ประเภทหน้าทับสองไม้ มี ๒ ร้องในการแสดงโขนละคร ภายหลังมี ผู้นำมาแต่งขยายขึ้นเป็นอัตรา ๓ ชั้น และตัดลงเป็นชั้นเดียว ครบเป็นเพลงเถา มีหลายทางด้วยกัน ทางที่นิยมมาก คือ ทางปี่พาทย์ของจางวางทั่ว พาทยโกศล เพลงนี้ในอัตรา ๓ ชั้น ยังมีอีก ๒ คือทางของครูช้อย สุนทรวาทิน และ ทางของพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) ทางที่นำมาบรรเลงในวงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยววันนี้ เป็นทางจางวางทั่ว พาทยโกศล หรือทางฝั่งธนที่นิยมบรรเลงกันแพร่หลาย ออกรสออกชาติได้ครบถ้วน และออก ภาษาแขกอย่างชัดเจน บทร้อง เพลงบังใบ เถา ๓ ชั้น น้ำใสไหลเย็นเห็นตัวปลา ว่ายแหวกปทุมาอยู่ไหวไหว นิลุบลพ้นน้ำอยู่รำไร ตูมตั้งบังใบอรชร ๒ ชั้น ดอกขาวเหล่าแดงสลับสี กรายคลี่ขยายแย้มเกสร บัวเผื่อนเกลื่อนกลาดในสาคร บังอรเก็บเล่นกับนารี ชั้นเดียว นางทรงหักห้อยเป็นสร้อยบัว สวมตัวกำนัลสาวศรี ปลิดกลีบประมาณมากมี นารีลอยเล่นเป็นนาวา บทละครเรื่องอิเหนา บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ รายนามผู้บรรเลง 1. นางสาวมลิสลา นาใจคง ขับร้อง 2. นางสาวมานิตา ศรีคำภา ขับร้อง 3. นายนันทวัฒน์ ศักดิ์เทวี ซอด้วง 4. นายมนตรี ศรีมงคล ซออู้ 5. นายธนากร บุษบง จะเข้ 6. นายณัฏฐกร พูลสุข โทน รำมะนา 7. นางสาวพิญชญาดา หาญสุวรรณ ฉิ่ง 8. นายศักยริกข์ กาญจันดา ฉาบ 9. นายเจตนิพัทธ์ กิจจา กรับ 10. นายเจษฎา ดาษดื่น โหม่ง 11. นายสรจักษ์ สะหะขันธ์ กรับพวง ผู้ควบคุมการบรรเลงขับร้องและฝึกซ้อม ๑. นางสาวสุดารัตน์ ลาดนอก ๒. นายเชาวลิษ ทองคำ ๓. นายสมมาศ วงอินทร์ ๔. ว่าที่ร้อยตรีรัฐสินธุ์ ชมสูง ๕. นางชุลี เมธาศุภสวัสดิ์
2. การบรรเลงจะเข้หมู่ เพลงจีนขิมใหญ่ เพลงจีนขิมใหญ่ เป็นเพลงสำเนียงจีนของเก่า บางทีก็เรียกสั้น ๆ ว่า “ขิมใหญ่” เป็นพลงที่มีทำนองไพเราะ ได้รับความนิยมแพร่หลายมาก ต่อมาราวสมัยรัชกาลที่ 4 พระประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก) จึงคิดแต่งเพลงขิมใหญ่ ขึ้นเป็นอัตรา 3 ชั้น ดังได้กล่าวมาแล้วในค าอธิบายเพลงจีนขิมเล็ก และต่อมานายมนตรี ตราโมท ได้ตัดแต่งลงเป็น ชั้นเดียว ให้เป็นสำเนียงจีนครบเป็นเพลงเถา รายนามผู้บรรเลง 1. นางสาวเชฏฐินี จุ้ยวงษ์ 2. นายสุรสิทธิ์ ใจดี 3. นายสรศักดิ์ ศิริอ่วม 4. นายณัฐปพน เกื้อกูล 5. นายนนท์ณัฏฐ์ จันทรเนตร 6. นางสาวกรกนก สมทรง 7. นายไพโรจน์ เกตุศรี 8. นางสาวพรรษเฉลิม ณ ลำปาง 9. นางสาวกมลลีฬห์ สุขพันธุ์ถาวร 10. นายชัยนคร อ่องเพ็ง 11. นางสาววิภา ไทยบุญเรือง 12. นายพสธร ต้นสีนนท์ 13. เด็กชายปรัตถกร สมศิริ 3. การบรรเลงวงเครื่องสายไทยเครื่องคู่ วิทยาลัยนาฏศิลป เพลงพม่าห้าท่อน สามชั้น เพลงพม่าห้าท่อน สามชั้น เป็นเพลงที่อยู่ในกระบวนการบรรเลงเสภา ซึ่งใช้บรรเลงต่อจากเพลงโหมโรง สมัยรัชกาลที่ 4 เพลงพม่าห้าท่อนนี้เป็นเพลงที่ใช้บรรเลงประจำสำหรับวงปี่พาทย์ทุกวง ในการประชันฝีมือนั่น เพลงพม่าห้าท่อนก็เป็นเพลงอีกเพลงหนึ่งซึ่งได้รับความนิยมสูงสุดเพราะผู้เล่นสามารถยักย้ายวิธีการเล่นออกเป็น สำเนียงเพลงต่าง ๆ ได้ อย่างเช่น ออกไปทางสำเนียงพม่า สำเนียงมอญ สำเนียงลาว เป็นต้น บทร้องเพลงพม่าห้าท่อน สามชั้น เดินทางมาในหว่างกระถางไม้ ดอกใบรุกขชาติดาษดื่น ลมหวนเกสรเมื่อค่อยคืน ชื่นชื่นชูกลิ่นถวิลใจ จำปาเทศเกดแก้วพิกุลแกม ยี่สุ่นแซมสายหยุดพุดไสว พะยอมยงค์ดัดทรงสมละไม ชั้นในไว้กรงสาลิกา นกแก้วจับคอนแล้วนอนเฉย เจ้าแก้วเอ๋ยสาวรักเจ้าหนักหนา ฯ (แปลงมาจากเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนที่ 17 ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างได้นางแก้วกิริยา) รายนามผู้บรรเลงและขับร้อง 1. นางสาวนารากร อุดมโภชน์ ขับร้อง 2. นายกันตณัฐ ใจดี ซอด้วง 3. นางสาวนิรดา สิงห์งอย ซอด้วง 4. นายอัศม์เดช กุลภัทร์แสงทอง ซออู้ 5. นายชั้นเอก พรมจีน ซออู้ 6. นายปณวรรธ ชิตร จะเข้ 7. นายภราดล ปิ่นมณี จะเข้ 8. นายธาดา ชุมทอง ขลุ่ยเพียงออ 9. นายภูผา บุญเลิศ ขลุ่ยหลิบ 10. นายธรนินทร์ ใจเย็น โทน-รำมะนา 11. นายชยพล เชยนิ่ม กลองยาว 12. นางสาววัลคุ์วดี ปั้นอินทร์ ฉิ่ง 13. นางสาวณัฐนรี ชุบคำ กรับพวง 14. นางสาวนงนภัส ม่วงคำ ฉาบ ผู้ควบคุมการบรรเลงขับร้องและฝึกซ้อม ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติ อัตถาผล นางสาวจินตนา สืบสงัด
4. การบรรเลงวงเครื่องสายไทยผสมขิม วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย เพลงแขกโอด สามชั้น เพลงแขกโอดนี้ แต่โบราณมีเพียงทำนอง 2 ชั้น เป็นเพลงในประเภทโยน หน้าทับสองไม้ สำหรับร้องหรือ บรรเลงประกอบกับบทที่แสดงความเศร้าโศก แต่ทำนองเพลงมีสำเนียงแขกปนอยู่นิดหน่อย จึงเรียกว่า แขกโอด ส่วนทำนอง 3 ชั้นที่ได้รับความนิยมบรรเลงอยู่ทั่ว ๆ ไป ครูช้อย สุนทรวาทิน เป็นผู้แต่ง โดยพยายามแทรกแซง สำเนียงแขกเข้าไว้อีกมากมาย ทำให้สมชื่อและน่าฟังยิ่งขึ้น บทร้องเพลงแขกโอด สามชั้น กลับเสียใจอาลัยขุนช้างเล่า นิจจาเจ้าหลับกลิ้งอยู่ไกลหมอน จะเย็นฉ่ำน้ำค้างขจายจร ใครจะซ้อนผ้าห่มให้ผัวรัก เห็นม่านขาดกลาดขวางอยู่กลางห้อง สองมือตีอกเพียงอกหัก ( เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ตอนที่ 18 ขุนแผนพานางวันทองหนี ) รายนามผู้บรรเลงและขับร้อง 1. นายศุภกิตต์ เถื่อนเหลือ ซอด้วง 2. นางสาวณัฐณิชา นาคแก้ว ซอด้วง 3. นางสาวขวัญพิชชา คำภีรพันธ์ ซอด้วง 4. นางสาวปัทมาวดี ผาสุก ซอด้วง 5. นายอภิษฎา สุดสวาท ซอด้วง 6. นางสาววิภา ไทยบุญเรือง จะเข้ 7. นายพสธร ต้นสีนนท์ จะเข้ 8. นายกฤษฎ์ ยิ่งยวด ซออู้ 9. นางสาวศศิชา หงส์ดำเนิน ซออู้ ๑0. นางสาวกฤษณา ทั่งแสน ซออู้ ๑1. เด็กหญิงฟาเร ประธรรม ซออู้ ๑2. นางสาวกรกนก สมทรง ขิม 13. นายสิทธิรัตน์ ดนุชนินทร์ ขลุ่ยเพียงออ ๑4. นายธนิสร ฉิมทอง ฉิ่ง 15. นายกิตติทัต อิ่มจิตร์ ฉาบ 16. เด็กชายศตพร ศิลาพันธุ์ กรับ 17. นายนิรุตติ์ สุขสวรรค์ โทน-รำมะนา 18. นายภัทรดนัย เหล่าต้น โหม่ง 19. นายปัณณวิญช์ กังสุกุล แทมโบรีน 20. นายพงศธร ลิ้มเจริญ มาราคัส 21. นายศักดิธัช เสียงล้ำ กลองแขกตัวผู้ 22. นายนิติ วิสุวรรณ์ กลองแขกตัวเมีย 23. นางสาวสุธิมา จันทะคุณ ผู้ขับร้อง 24. นางสาวพิชญาภา ครุฑนวล ผู้ขับร้อง ควบคุมการฝึกซ้อม/การบรรเลงและการขับร้อง 1. นางสาวกรกนก สมทรง 2. นายมนตรี จริงเสถียร
5. วงโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เพลง โหมโรงไอยเรศ และ เพลงสี่บท เถา โหมโรงเพลงไอยเรศร์ ในกระบวนเพลงโหมโรงทั้งหมด เพลงไอยเรศร์เป็นเพลงโหมโรงที่จัดว่าเยี่ยมยอดที่สุด ไม่มีเพลงใดสู้ได้เลย ทั้งทางสำนวนทำนองและวิธีดำเนินลีลา ยิ่งกว่านั้นเพลงไอยเรศร์ยังเป็นเพลงที่ให้ความสะดวกและเปิดหนทางให้ เครื่องดนตรีทุกชนิดหาความไพเราะได้มาก เนื่องจากความดีของเพลงไอยเรศร์ดังกล่าวมาแล้ว จึงมีวงดนตรี นำไปใช้บรรเลงกันอย่างแพร่หลาย จนเรียกได้ว่า จืด แต่ก็ดูเหมือนจะจืดแต่เพียงชื่อเท่านั้น หากบรรเลงขึ้นเมื่อใด ก็ไพเราะน่าฟังทุกครั้ง ส่วนผู้แต่งเพลงนี้ ยังไม่ทราบว่าเป็นท่านผู้ใด ทราบแต่ว่าคิดชึ้นจากเพลงในเรื่องเพลงฉิ่งแบบ หนึ่ง ซึ่งมีเพลงไอยเรศร์ชูงา – ไอยราชูงวง ช้างประสานงา และช้างต่อช้างตั้ง เข้าใจว่ามีมาแต่ครั้งปลายรัชกาลที่ 3 แต่ไม่ทราบนามคณาจารย์ผู้แต่ง ซึ่งได้แต่งเพลงไอยเรศร์ 3 ชั้น มาเป็นเพลงโหมโรงเสภา เพลงสี่บท เถา ถึงสมัยที่มีประเพณีร้องเพลงแทรกในการขับเสภา เพลงสี่บทก็เข้าอยู่เป็นเพลงในอันดับที่ 3 (ไม่นับเพลง โหมโรง) ของเพลงที่ร้องส่ง ครั้นถึงปลายสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งนิยมขยายเพลงต่าง ๆ ขึ้นเป็น 3 ชั้น เพลงสี่บทหรือ อังคารสี่บทก็ได้รับการแต่งขยายขึ้นเป็น 3 ชั้น ในยุคเดียวกับเพลงเสภาอื่น ๆ แต่ไม่ทราบว่าท่านผู้ใดเป็นผู้แต่ง การดำเนินทำนองของเพลงสี่บท 3 ชั้นนี้ โดยเฉพาะในท่อน 2 ของเดิมก็ได้เปลี่ยนทำนองลูกล้อไว้แล้วทั้ง 4 เที่ยว (เที่ยวแรก 2 เที่ยว เที่ยวหลัง 2 เที่ยว) แต่ส่วนทำนองในท่อน 1 มิได้เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ต่อมาจึงได้มีผู้คิด แต่งทำนองเปลี่ยนสำหรับบรรเลงเที่ยวหลังขึ้น แต่ก็ได้แต่งกันหลายแบบ ซึ่งโดยมากก็คงคล้ายคลึงกัน และในเวลา ต่อมาก็มีการทำขึ้นเป็นเถาด้วย บทร้องเพลงสี่บท เถา พระพรางพิศพรรณรุกขชาติ งอกงามเดียรดาษบนเนินผา ไม้ผลผลห้อยย้อยระย้า สกุณาจิกกินแล้วบินพลาง ลางต้นเอนชายปลายสะบัด ดังไม้ดัดปลูกไว้ในกระถาง กอรวกร่มเรียงเคียงทาง พยอมยางสูงเยี่ยมเทียมคีรี งามชะง้อนเงื้อมผาศิลาลาย เหลืองแดงดังระบายหลายสี โตรกตรอกซอกทางชลธี วารีซาบซึมอยู่อัตรา ที่ทางหว่างเชิงกุหนุงนั้น ร่มรื่นพื้นพรรณพฤกษา ภายใต้เตียนสะอาดลาดศิลา เสด็จโดยมรรคาคลาไคล พระพรายชายพัดมาอ่อนอ่อน เข้าหยุดประทับร้อนอาศัย นั่งเล่นที่ศาลาลัย แทบใกล้อาศรมพระมุนี ฯ ( อิเหนา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ตอนเมื่อท้าวดาหาทำพิธีแก้บนที่วิลิศมาหราคีรี)
รายนามผู้บรรเลงและขับร้อง วงโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เพลง โหมโรงไอยเรศ และเพลงสี่บท เถา 1. เด็กหญิงนันทภัค ชื่นชมคุณ 2. เด็กชายภัทณกฤต มีแสง 3. เด็กชายภาษกนต์ ศรีสมุท 4. เด็กชายณัฐชนน สุวรรณศรี 5. นายกันตธี ดิษย์เมธาโรจน์ 6. นายสุรัติ หลิมศิริวงษ์ 7. นายสรธร ทรรทรานนท์ 8. นายมัตตะ ลวางกูร 9. เด็กชายนะโม กุลด้วง 10. นางสาวพิมพิศา ศรีวิชัย 11. เด็กหญิงพัชรกันย์ ศรีวิชัย 12. เด็กหญิงฐิตารีย์ บุญโรจน์เสรี ควบคุมการฝึกซ้อม/การบรรเลงและการขับร้อง 1. นายวิศรุต สุวรรณศรี 2. นายปริทัศน์ เรื่องยิ้ม 3. นายทักษินาวัชฬ์ กลิ่นหอม 4. นางสาวบัณฑิตา นุ่มเจริญ ผู้ประสานงาน 1. ว่าที่ ร.ต.ปฎิพัทธ์ พินทอง
6. วงปี่พาทย์ไม้แข็ง โรงเรียนศรีอินทราทิตย์ (บ้านเมืองเก่า) เพลงโหมโรงม้ารำ และเพลงไส้พระจันทร์ เถา โหมโรงม้ารำ เพลงโหมโรงม้ารำ เป็นเพลงโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นเพลงชุด คือ ม้าย่อง ม้ารำ และม้าสะบัดกีบ เพลงดังกล่าวนี้ พวกกลองแขกปี่ชวานำไปใช้บรรเลงสำหรับเพลงกระบี่กระบอง เรียกว่าเพลงขึ้นม้า ทำสำหรับรำ ง้าว ถ้ารำทวนใช้เพลง ม้ารำ ม้าย่อง รำหอก โล่โตมร ไม้สั้น ทำเพลงกระบี่ลีลา ต่อยมวย ทำเพลงเจ้าเซ็น ทางละคร ใน ละครนอก ก็นิยมนำมาเป็นเพลงร้องบ้างเป็นบางเพลง สำหรับพลงม้ารำที่ใช้เป็นเพลงโหมโรง หลวงประดิษฐ์ ไพเราะ ( ศร ศิลปะบรรเลง ) คิดทำขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2470 นอกจากใช้เป็นเพลงโหมโรงแล้ว ยังใช้สำหรับรับร้องได้ ทำนองของเพลงตื่นเต้นเร้าใจ อาจนึกเห็นภาพการรำทวนและอาวุธต่าง ๆ ตามจังหวะของเพลงได้ เพลงไส้พระจันทร์ เถา เพลงนี้เดิมมีแต่อัตราชั้นเดียว เป็นเพลงโบราณ มีบางท่านตั้งชื่อให้สุภาพขึ้นว่า เพลงนาคราชแผลงฤทธิ์ บ้าง นาคราชพ่นพิษบ้าง และบ้างก็ว่านาคราชแผ่พังพาน หลวงพระดิษฐ์ไพราะ ( ศร ศิลปบรรเลง ) ได้คิดยืด ทำนองขึ้นจากเพลงไส้เดือนฉกจวักชั้นเดียวของเก่า เป็น 2 ชั้นและ 3 ชั้น รวมเป็นเพลงเถา เมื่อ พ.ศ.2491 และ คิดทำนองร้องขึ้นประกอบบางครั้งก็เรียกว่า เพลงไส้พระจันทร์ ความหมายของเพลงนี้ในตอนแรกของเพลงซึ่งมี จังหวะช้าแสดงถึงอารมณ์ที่มีความในใจครุ่นคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และในตอนท้ายของเพลงนี้ มีจังหวะเร็วรุกเร้า แสดงถึงอารมณ์ร้อนใจที่จพต้องทำสิ่งนั้นให้เป็นผลสำเร็จ บทร้องเพลงไส้พระจันทร์ เถา 3 ชั้น เอนเอียงลงบนเตียงกอดหมอนข้าง เสน่ห์นางครุ่นคิดคำนึงถึง รู้จักบ้านก็จะด้านไปโดยดึง จะพากพึงพึ่งใครผู้ใดดี 2 ชั้น ช่วยพูดพาพิมมาให้พบ ไม่ลืมลบคุณเลยจนเป็นผี อย่าเลยวันรุ่งขึ้นพรุ่งนี้ จะสืบบ้านพิมพี่ให้แจ้งใจ ชั้นเดียว จะบิณฑบาตกาญบุรีศรีสุพรรณ ให้พบขวัญตาพี่จงได้ จำจะเขียนเพลงยาวติดเอาไป สมคะเนก็จะให้เสียทีเดียว (เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน เณรแก้วครวญถึงนางพิม) รายนามผู้บรรเลงและขับร้อง ๑. เด็กชายธณิติ สิงห์สถาน ๒. เด็กหญิงสุพิตชา พึ่งเจาะ ๓. เด็กหญิงจริยา อิ่มขาว ๔. เด็กชายจิรภัทร ขวัญเขียว ๕. เด็กชายพงษ์ปิยะ ประดับวงค์ ๖. เด็กหญิงศรีไพร สมัยครีบ ๗. เด็กหญิงดวงกมล เกิดป้อม ๘. เด็กหญิงหทัยทิพย์ อิ่มทอง ๙. เด็กหญิงณัฏฐพร อ้นป้อม ๑๐. เด็กหญิงฉันทพิชญา ชูทอง ๑๑. เด็กชายฐิติที่พล แก้วสุติน ๑๒. เด็กหญิงวัชรี ธรรมเนียม ควบคุมการฝึกซ้อม/การบรรเลงและการขับร้อง ๑. นางสาวปรียา ศาลาคง ๒. จ่าสิบตำรวจโท นพร พงศ์สีทอง
7. วงปี่พาทย์ไม้แข็ง วง "เทวาประสิทธิ์" (น้องเอ็นดู 8 ขวบ) เพลงโหมโรงไอยเรศ 3 ชั้น และเพลงเชิดจีน โหมโรงไอยเรศ 3 ชั้น โหมโรงไอยเรศร์ในกระบวนเพลงโหมโรงทั้งหมด เพลงไอยเรศร์เป็นเพลงโหมโรงที่จัดว่าเยี่ยมยอดที่สุด ไม่ มีเพลงใดสู้ได้เลย ทั้งทางสำนวนทำนองและวิธีดำเนินลีลา ยิ่งกว่านั้นเพลงไอยเรศร์ยังเป็นเพลงที่ให้ความสะดวก และเปิดหนทางให้เครื่องดนตรีทุกชนิดหาความไพเราะได้มาก เนื่องจากความดีของเพลงไอยเรศร์ดังกล่าวมาแล้ว จึงมีวงดนตรีนำไปใช้บรรเลงกันอย่างแพร่หลาย จนเรียกได้ว่า จืด แต่ก็ดูเหมือนจะจืดแต่เพียงชื่อเท่านั้น หาก บรรเลงขึ้นเมื่อใด ก็ไพเราะน่าฟังทุกครั้ง ส่วนผู้แต่งเพลงนี้ ยังไม่ทราบว่าเป็นท่านผู้ใด ทราบแต่ว่าคิดชึ้นจากเพลง ในเรื่องเพลงฉิ่งแบบหนึ่ง ซึ่งมีเพลงไอยเรศร์ชูงา – ไอยราชูงวง ช้างประสานงา และช้างต่อช้างตั้ง เข้าใจว่ามีมาแต่ ครั้งปลายรัชกาลที่ 3 แต่ไม่ทราบนามคณาจารย์ผู้แต่ง ซึ่งได้แต่งเพลงไอยเรศร์ 3 ชั้น มาเป็นเพลงโหมโรงเสภา เพลงเชิดจีน พ.ศ. 2396 ครูมีแขกได้แต่งเพลงเชิดจีนขึ้น แล้วนำขึ้นบรรเลงทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปิ่น เกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดมาก จึงโปรดให้เลื่อนบรรดาศักดิ์ เป็นที่พระประดิษฐไ์พเราะ และเพลงเชิดจีนนี้เป็น เพลงที่ท่านแต่งขึ้นด้วยวิธีอันแปลกประหลาดกว่าเพลงไทยทั้งหลายที่เคยมีมา สำนวนทำนองของเพลงมีทั้งเชิงล่อ เชิงชน ทีหนีทีไล่ตลอดเวลา ท่านได้แต่งด้วยอารมณ์สนุกสนานไม่ยึดถือกำเนิดจากเพลงใด และทุก ๆ ตัวต่อท้าย ด้วยเชิดในชั้นเดียวทั้งสิ้น นับว่าเพลงนี้แปลกกว่าเพลงไทยทั้งหลาย มีความไพเราะเร่งเร้ากระตุ้นเตือนใจให้ชวนฟัง สนุกและรื่นเริง รายนามผู้บรรเลงและขับร้อง 1. เด็กชายปราชญ์กวี แรงกสิวิทย์ 2. นางสาวชนาภา กล่อมเขียน 3. เด็กชายบัญญพนต์ มีช้าง 4. เด็กหญิงวรรธนิชา เนตรวิจิตร 5. เด็กชายกิตติพัฒน์ แตงณรงค์ 6. เด็กหญิงพันญ์ตรีวงษ์ แรงกสิวิทย์ 7. นางพิมพ์พจี คงอยู่ ควบคุมการฝึกซ้อม/การบรรเลงและการขับร้อง 1. นายชัยวิวัฒน์ แรงกสิวิทย์ 2. นายสุชาติ รุ่งอินทร์
8. วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่ วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ เพลงแปดบท เถา และเพลงทยอยใน เถา เพลงแปดบท เถา เพลงแปดบท 2 ชั้น เป็นเพลงโบราณตั่งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมเรียกว่า ยิกินแปดบท (คำว่า “ยิกิน” บางแห่งก็ว่า “ลิกิน” ) ต่อมาจึงมีผู้นำเพลงนี้มาแต่งขึ้นเป็น 3 ชั้น เรียกกันสั้น ๆ เพียงว่า แปดบท สังเกตสาม สำนวนทำนอง เข้าใจว่าจะเป็นครูเพ็ง และแต่งในราว ๆ ปลายรัชกาลที่ 4 มาถึงยุคที่นิยมเพลงเถากันขึ้น จึงมีผู้ตัด เพลงนี้ลงมาเป็นชั้นเดียว ใช้รับร้องและบรรเลงติดต่อกันครบเป็นเถา ความหมายของเพลงถึงจิตใจที่เต็มไปด้วย ความหวาดระแวง ในเหตุร้ายภัยพิบัติ บทร้องเพลงแปดบท เถา 3 ชั้น ฝูงเนื้อลืมถิ่นกินระบัด โคกระทิงวิ่งตัดมาหน้าฉาน เหมือนจะทูลข่าวขัดทัดทาน พระเห็นเภทพาลก็หลากใจ 2 ชั้น ร้อนระงมล้มแล้งไม่พานพัด เงียบสงัดใบไม้ก็ไม่ไหว พวงอุบะตันหยงที่ทรงไป ก็ขาดตงลงในกลางทาง ชั้นเดียว ไม้ใหญ่ยางสูงระหง ไม่ต้องลมล้มลงมาขัดขวาง อัศจรรย์วันนี้ประหลาดลาง เดินทางแต่ก่อนบ่ห่อนมี ( อิเหนา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ตอนที่อิเหนาจากระเด่นบุษบากลับไปแก้สงสัยในกรุงดาหา) เพลงทยอยใน เถา เพลงทยอย 2 ชั้นของโบราณ เป็นเพลงเรื่อง ซึ่งมีเพลงหลายเพลงรวมบรรเลงติดต่อกัน สำหรับบรรเลง ประกอบกิริยาเดินทาง โดนมีอารมณ์เศร้าโศกเสียใจของตัวละคร ครูเพ็ง นัยว่าเป็นน้องชายพระประดิษฐ์ไพเราะ ( มี ดุริยางกูร หรือครูมีแขก ) ได้นำมาแต่งขึ้น ทั้ง 3 ชั้น 2 ชั้น และชั้นเดียว ครบเป็นเพลงเถา บรรเลงในเสียง ที่ เรียกว่า “ ทางใน ” ให้มีเชิงเป็นลูกล้อลูกขัด แต่ชั้นเดียวได้เปลี่ยนขึ้นไปบรรเลงทางนอก เหมาะที่เครื่องดนตรี ต่าง ๆ จะบรรเลงได้อย่างไพเราะสนิทสนม ความหมายในเรื่องเศร้าโศกอันเป็นของเดิม จึงลดน้อยถอยไป คงมี ทำนองแสดงเศร้าโศกอยู่แต่ในการร้องเท่านั้น บทร้องเพลงทยอยใน เถา 3 ชั้น แสนวิตกโอ้อกของสร้อยฟ้า ดังชีวาแทบจะออกไปจากร่าง แสนที่จะอับอายแทบวายวาง จะรักรูปทรงร่างไปใยมี 2 ชั้น จะผินพึ่งพ่อแม่ก็แลหาย จะฆ่าตัวเสียให้ตายลงเป็นผี อับอายขายหน้าทั้งตาปี มีสามีแล้วก็พลัดเป็นศัตรู ชั้นเดียว ฉวยเชือกผูกคอเข้าให้ชิด แล้วมายืนนิ่งคิดอยู่เป็นครู่ ( เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน คนละสำนวนกับฉบับพิมพ์ของหอพระสมุด ฯ ไม่ทราบว่าผู้ใดแต่ง )
รายนามผู้บรรเลงและขับร้อง ๑. นายธนวัฒน์ วงศ์เครือศร ปี่ใน ๒. นายธันยพงศ์ โพธิพร ระนาดเอก ๓. นายกษิดิส วริวัง ระนาดทุ้ม ๔. นายอัครวิทย์ กาละมุล ฆ้องวงใหญ่ ๕. นายจักรพงษ์ บุญเต็ม ฆ้องวงเล็ก ๖. นายกิตติพงศ์ นันทะศรี กลองแขก ๗. นายศุภโชค คำเพชรดี กลองแขก ๘. นายพัสกร หิริโกกุล เครื่องภาษา ๙. นายอัตต์ลิขิต ไหว้พรหม ฉิ่ง 10. นางสาวพิชญ์นาฏ อันเกรียงไกร กรับ ๑๑. นายพงศ์พชร ไชยศิวามงคล ฉาบเล็ก ๑๒. นางสาวมานิตา ศรีคำภา ผู้ขับร้อง ๑๓. นายนวพล สิงขรณ์ ผู้ขับร้อง ผู้ฝึกซ้อมการบรรเลง นายชัยวัฒน์ ครุฑบุญ ประสานงาน นายทัตพล ชูเชิด ฝึกซ้อมผู้ขับร้อง นางสาวสุดารัตน์ ลาดนอก ผู้ควบคุมการบรรเลงและขับร้อง นายพฤกษา โพธิพร นายโสภณ ศิวบวรวัฒนา นายชนาญวัต ไชยศิริ
9. วงปี่พาทย์ไม้แข็ง “สุราเทพ” วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย เพลงสุโขทัย เถา เพลงเงี้ยวรำลึก เถา และเพลงทยอยเขมร สามชั้น เพลงสุโขทัย เถา เพลงสุโขทัย เถา เป็นเพลงที่ประพันธ์ ในปี พ.ศ.2566 โดยนาย ภัทระ กิ้มเฉี้ยง อาจารย์ประจำภาควิชา ดนตรีศึกษา คณะศิลปศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย ได้รับแรงบันดาลใจในการประพันธ์เพลง มาจากเพลง เถา ต่างๆ ที่ประพันธ์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เช่น เพลงสุพรรณรำลึก เถา เพลงบางระจัน เถา เป็นต้น เพลงสุโขทัย เถา เป็นเพลงประเภทหน้าทับปรบไก่มี5จังหวะได้ต้นแบบเพลงมาจากเพลงเทพทองชั้นเดียว นำ มาเเต่งขยายเป็นสองชั้นเเละสามชั้น มีท่อนเดียวเเละเที่ยวเปลี่ยนเเละยังสรอดแทรกสำเนียงเขมรเข้าไปในบทเพลง เนื้อร้องได้รับแรงบันดาลใจมาจากคำขวัญจังหวัดสุโขทัย บทร้องเพลงสุโขทัย เถา รุ่งอรุณงดงามเเห่งความสุข ปฐมยุคเรืองรองของสยาม ราชธานีเรื่องลือระบือนาม พ่อขุนรามองอาจปราชญ์ราชา มรดกโลกล้ำเป็นตำนาน เปี่ยมโบราณสถานอันล้ำค่า ทั้งจารึกจำหลักอัครา ภูมิปัญญางามละบือลายสือไทย คือเเดนดินถิ่นพิสุทพุธศาส งามพิลาศประทีบทองส่องไสว ผ้าตีนจกล้ำค่าอ่าอำไพ เลิศวิลัยทองโบราณตระการตา สังคโลกลายคามวามวิจิตร ปรับประดิษฐ์เป็นประจักษ์รู้รักษา ประเพณีพื้นบ้านสืบสานมา ทรงคุณค่าเมืองงามสุโขทัย รายนามผู้บรรเลงและขับร้อง 1. ปี่ นายปุณยวัจน์ เรืองฤทธิ์ 2. ระนาดเอก นายเอกพล ซ่องสกุล 3.ระนาดทุ้ม นายเมธาชัย อย่ามีภัย 4. ฆ้องวงใหญ่ นายณัฐพงษ์ ลมลอย 5. ฆ้องวงเล็ก นายเฉลิมพล คำพันธ์ 6. ฉิ่ง นายวัลลภ รอดแล้ว 7. กลองเเขก นายคฑาวุธ เเป้นสุขเย็น 8. กลองเเขก นายธนาภรณ์ นามคง 9. กรับ นายบุญยชา จาดโห้ 10. ฉาบเล็ก นายสุธนา ชำนาญ 11. ผู้ขับร้อง นางสาวสุจาริณี ดารารัตน์ 12. ผู้ขับร้อง นางสาว สุภาพร เถื่อนโต ควบคุมการฝึกซ้อม/การบรรเลงและการขับร้อง 1. ว่าที่ร้อยตรีบงกฎ เขียนเจริญ 2. นายภัทระ กิ้มเฉี้ยง 3. นายมนตรี จริงเสถียร
เพลงเงี้ยวรำลึก เถา เพลงเงี้ยวรำลึกนี้ นายบุญยงค์เกตุคง แต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2501 โดยคัดเอาตอนปลายของ “ฟ้อนเงี้ยว”มา เพิ่มทำนองดัดแปลงขึ้นเป็น 3 ชั้น ส่วน 2 ชั้นใช้ทำนองฟ้อนเงี้ยวของเดิมไว้เป็นหลัก แล้วทอนจังหวะแต่งให้เป็น เพลงชั้นเดียวเพื่อให้ครบเป็นเพลงเถา ครั้นได้แต่งทำนองเพลงขึ้นแล้ว นายจำเนียร ศรีไทย-พันธ์ จึงได้ประดิษฐ์ทาง ร้องให้สอดคล้องกัน เมื่อได้แต่งทั้งทำนองดนตรีและทำนองร้องขึ้นแล้ว จึงได้ขอร้องให้นายคงศักดิ์ คำศิริหัวหน้า แผนกดนตรีไทย กองการกระจายเสียง กรมประชาสัมพันธ์ แต่งบทร้องประจำเพลงนี้ขึ้น บทร้องเพลงเงี้ยวรำลึก เถา 3 ชั้น สรวมชีพอภิวาทบาทบงสุ์ พระผู้ทรงดำรงมหาอาณาจักร ประเทศไทยให้ไทยได้พำนัก ร่มเย็นเกล้าประจักษ์ทั่วแดนไทย พระพจนาน่าชมสมเป็นเจ้า ระรื่นเร้าชื่นอุรายามปราศรัย เสนาะโสตรปราโมทย์สมานใจ ชวนจงรักต่อใต้ฝ่าธุลี 2 ชั้น ทรงกรุณาข้าบาทราชมุทิต ปลูกน้ำจิตไทยนิยมสมราศี มิตรไทยไพร่ฟ้าประชาชี ได้พึ่งพระบารมีโดยเพียงเพ็ญ พระทรงพระกรุณาด้วยปราโมทย์ เกื้อประโยชน์บำรุงสุขดับยุคเข็ญ ใครเดือดร้อนพระก็ผ่อนให้ร่มเย็น ไทยจึงเด่นด้วยพระบารมี ชั้นเดียว ขอพระองค์เสด็จดำรงเศวตฉัตร สิริสวัสดิ์พิพัฒน์เพิ่มเฉลิมศรี เจริญพระชนม์พรรษากว่าร้อยปี สรรพภัยอย่ามีมาแผ้วพาน ใดพระองค์ปองประสงค์จงประสิทธิ์ เลิศพระฤทธิ์กฤษดาเดชาฉาน ผดุงแผ่นดินภิญโญมโหฬาร โสตถิ์สมมานมวลไทยหมายใจเอย ฯ (นายคงศักดิ์ คำศิริผู้แต่งบทร้องและทางร้อง เพลงเงี้ยวรำลึก เถา) รายนามผู้บรรเลงและขับร้อง 1.ปี่ นายปุณยวัจน์ เรืองฤทธิ์ 2. ระนาดเอก นายคมกริซ ทันลา 3. ระนาดทุ้ม นายเมธาชัย อย่ามีภัย 4.ฆ้องวงใหญ่ นายณัฐพงษ์ ลมลอย 5. ฆ้องวงเล็ก นายชัยทัต จันทร์เอี่ยม 6. ฉิ่ง นายวัลลภ รอดแล้ว 7. กลองเเขก นายคฑาวุธ เเป้นสุขเย็น 8. กลองเเขก นายธนาภรณ์ นามคง 9. กรับ นายสุธนา ชำนาญจุ้ย 10. ฉาบเล็ก นายธิเบต อาริกุล 11. ผู้ขับร้อง นางสาวสุจาริณี ดารารัตน์ 12. ผู้ขับร้อง นางสาวสุภาพร เถื่อนโต ควบคุมการฝึกซ้อม/การบรรเลงและการขับร้อง 1. ว่าที่ร้อยตรีบงกฎ เขียนเจริญ 2. นายภัทระ กิ้มเฉี้ยง 3. นายมนตรี จริงเสถียร
เพลงทยอยเขมร สามชั้น เมื่อสมัยรัชกาลที่ 4 ครูแตง ผู้มีฝีมือในทางเป่าปี่ผู้หนึ่ง จนได้สมญาว่าครูแตงปี่ ได้นำเอาเพลงทยอยเขมร 2 ชั้นนั้น มาแต่งขึ้นเป็นอัตรา 3 ชั้น การแต่งขยายขึ้นมาเป็น 3 ชั้นนี้ ทำนองร้องยังคงแสดงอารมณ์โศกอยู่ เช่นเดียวกับในอัตรา 2 ชั้น แต่ทำนองดนตรีนั้น เนื่องจากเพลงทยอยเขมรเป็นเพลงที่มี “ โยน ” ผู้แต่งสามารถ พลิกแพลงได้มาก ท่านผู้แต่งจึงได้สอดแทรกเม็ดพลายต่าง ๆ ตลอดจนลูกล้อลูกขัดไว้อย่างพริ้งเพรา ซึ่งเป็นการ แสดงออกในวิชาการอันกว้างขวางทางดุริยางคศิลปอย่างหนึ่ง จึงทำให้สำเนียงที่แสดงอารมณ์โศกจ มหายไปบ้าง เพลงทยอยเขมร 3 ชั้น ที่ครูแตงได้แต่งขึ้นนี้ แต่งเป็น 2 เที่ยว โดยเปลี่ยนทำนองมิให้ซ้ำกัน ซึ่งได้รับความนิยมใน วงการดนตรีอย่างกว้างขวาง บทร้องเพลงทยอยเขมร สามชั้น ครั้นออกมานอกนัคเรศ พระทรงเดชเศร้าสร้อยละห้อยไห้ เหลียวหลังตั้งตาดูเวียงชัย หฤทัยหวั่นหวั่นถึงกัลยา ( อิเหนา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ) รายนามผู้บรรเลงและขับร้อง 1. ปี่ นายปุณยวัจน์ เรืองฤทธิ์ 2. ระนาดเอก นายคมกริซ ทันลา 3.ระนาดทุ้ม นายเมธาชัย อย่ามีภัย 4. ฆ้องวงใหญ่ นายวัลลภ รอดแล้ว 5. ฆ้องวงเล็ก นายสุธนา ชำนาญจุ้ย 6. ฉิ่ง นายเฉลิมพร คำพันธ์ 7. กลองเเขก นายณัฐนันท์ มั่นสุทธิ 8. กลองเเขก นายรังสรรค์ แก้วมณี 9. โทน นายคฑาวุธ เเป้นสุขเย็น 10. กรับ นายธนาภรณ์ นามคง 11. ฉาบเล็ก นายธิเบต อาริกุล 12. ผู้ขับร้อง นางสาวภัทราภรณ์ดีเจริญ 13. ผู้ขับร้อง นางสาวเพ็ญนภา เชตุชะเอม ควบคุมการฝึกซ้อม/การบรรเลงและการขับร้อง 1. ว่าที่ร้อยตรีบงกฎ เขียนเจริญ 2. นายภัทระ กิ้มเฉี้ยง 3. นายมนตรี จริงเสถียร
10. วงปี่พาทย์ไม้แข็ง วิทยาลัยนาฏศิลป เพลง พันธ์ฝรั่ง เถา และเพลงช้างประสานงา เถา เพลง พันธ์ฝรั่ง เถา เพลงพันธุ์ฝรั่งเถา ที่จริงเพลงนี้ไม่ใช่ 3 ชั้น 2 ชั้น และชั้นเดียว แต่เป็น 2 ชั้น ชั้นเดียวและอัตราซึ่งตัดจาก ชั้นเดียวอีกชั้นหนึ่ง ( มักเรียกกันว่าครึ่งชั้น ) แต่ก็ได้ยินบรรเลงกันมาอย่างแพร่หลายมากแล้ว เพลงนี้มีความหมาย มิสู้จะแสดงออกชัดเจนนัก แต่ก็พอเห็นได้ว่า เป็นไปในทางรักหรือคะนึงถึงความรักอย่างเย็น ๆ บทร้องเพลงพันธุ์ฝรั่ง เถา เจ้าพระยาวิชเยนทร์เห็นอำมาตย์ ก็เดาคาดเหตุได้ไม่แปรผัน มาลวงเราให้เฝ้าองค์พระทรงธรรม์ เราก็พันธุ์ฝรั่งชาติราชเสนา มาร้ายดีอย่างไรใคร่ผจญ เกิดเป็นคนเดี๋ยวก็ทุกข์เดี๋ยวสุขา แม้ทำดีใช่ได้ดีไปทุกครา ทำชั่วช้ากลับได้ดีมีถมไป อันคุณธรรมความดีที่นายรัก ประหลาดนักมักเพิ่มศัตรูได้ ที่สัตย์ซื่อถือธรรมประจำใจ มักจะไร้สินทรัพย์อับจน (ร้อยโทชิต สุนทรโชติ ผู้ประพันธ์บทร้อง) เพลงช้างประสานงา เถา เพลงช้างประสานงาชั้นเดียว อยู่ในเรื่องเพลงฉิ่งและท านอง 2 ชั้น ใช้ร้องประกอบการแสดงละคอนมาแต่ โบราณ เพลงนี้มีผู้แต่งขึ้นเป็น 3 ชั้น หลายท่านด้วยกัน ทางของนายจิตต์ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ก็เป็นทางหนึ่งที่ นิยมกัน ซึ่งได้แต่งขึ้นไว้เมื่อ พ.ศ. 2475 โดยมุ่งให้มีความหมายถึงการต่อสู้กันด้วยการชนช้างที่เรียกว่ายุทธหัตถี บทร้องเพลงช้างประสานงา เถา 3 ชั้น เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกู้ชาติกระทำยุทธหัตถี ขับคชาชะล่าไล่หมู่ไพรี ทิ้งโยธีทวยหาญชาญฉกรรจ์ 2 ชั้น พระทรงศักดิ์ชกัคเชนทร์เบนเข้ารบ พัทธะกอล่อตลบแล้วเหหัน สองช้างประสานงาสง่ายัน พลายทรงธรรม์แบกถนัดงัดกลางทรวง ชั้นเดียว พระนเรศวร์ทรงสังเกตสบโอกาส ก็โถมฟาดฟันตะแบงพระแสงจ้วง เต็มพระหัตถ์ถนัดแรงแล่งตัดทรวง อุปราชาร่วงพิราลัย (พันโท สราวุธิ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ผู้ประพันธ์บทร้อง) รายนามผู้บรรเลงและขับร้อง 1. เด็กชายธนภัทร สีเตา ปี่ 2. นายธงธวัช เนตยารักษ์ ระนาดเอก 3. นางสาวภัทราพร ชัยชโลธร ระนาดทุ้ม 4. นายปณิธาณ หล่อเลอเกียรติ ฆ้องวงใหญ่ 5. นางสาวสีรารมย์ ปิ่นแหวน ฆ้องวงเล็ก 6. นางสาวกมลตรา ฟักทอง ฉิ่ง 7. นางสาวมาริษา ลีลาคำ กรับ 8. นายธนเดช วันเพ็ญ ฉาบเล็ก 9. นายกรกฤต หิมพานต์ กลองแขกตัวผู้ 10. นายเกียรติศักดิ์ นามวงศ์ กลองแขกตัวเมีย 11. นายชินราช วงษ์พันธ์ กลองฝรั่ง 12. นายรชต นาคเกษม แสน 13. นายภูมิรพี โตสวน ฉาบฝรั่ง 14. เด็กหญิงโศจิรัตน์ เกิดมงคล ผู้ขับร้อง 15. นางสาวประรัชญา นวลศรี ผู้ขับร้อง ควบคุมการฝึกซ้อม/การบรรเลงและการขับร้อง ผู้ช่วยศาสตราจารย์กิตติ อัตถาผล นางสาวจินตนา สืบสงัด
11. วงปี่พาทย์ไม้แข็ง “วงบ้านคีตา” เพลงโหมโรงแขกมอญ และเพลงโอ้ลาว เถา เพลงโหมโรงแขกมอญ เพลงนี้เป็นที่นิยมกันมากในหมู่นักดนตรี ถือว่า เป็นเพลงชั้นสูงแต่โบราณมา ทำนองเดิมซึ่งเป็น 2 ชั้น ก็ เป็นชั้นเยี่ยม ครั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พระประดิษฐ์ไพเราะ ( ครูมีแขก ) ได้คิดทำนองสามชั้นและทางเดี่ยวขึ้นมา ทางเดี่ยวนี้ ถ้านักดนตรีผู้ใดบรรเลงเดี่ยวได้ ก็ว่าเป็นผู้มีเกียรติและความสามารถมาก เมื่อ พ.ศ. 2474 หลวง ประดิษฐ์ไพเราะ ( ศร ศิลปบรรเลง ) ได้คิดขึ้นเป็นเพลงโหมโรงเสภาสำหรับประชันวงกันระหว่างลูกศิษย์ชั้นกลาง ของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ทำนองที่คิดขึ้นนี้ เป็นทำนองหลีกสามเสียงเปลี่ยนแปลงทำนองและเสียงกลมกล่อม ใช้ ทั่วทุกเสียงดนตรี บ่งถึงสำเนียงต่าง ๆ กัน เพลงโอ้ลาว เถา เพลงโอ้ลาว 2 ชั้น และชั้นเดียว เป็นเพลงประเภทสองไม้และเพลงเร็วโบราณได้มีผู้แต่งเป็น 3 ชั้นอยู่ หลายทาง ทางที่กรมศิลปากรนิยมใช้เป็นทางของหลวงประดิษฐ์ ไพเราะ ( ศร ศิลปะบรรเลง ) ซึ่งได้แต่งไว้เมื่อราว พ.ศ. 2456 มีความหมายถึงการครวญคร่ำรำพันถึงความทุกข์ในขณะเดินทาง บทร้องเพลงโอ้ลาว เถา 3 ชั้น เดินทางมาในกลางมรคา พระราชาทอดถอนใจใหญ่ โอ้ว่าเวรกรรมได้ทำไว้ จะต้องไปเป็นข้าเจ้าพราหมณ์ชี อกเอ๋ยไม่เคยจะตกยาก ลำบากเคืองข้องหมองศรี ไม่รู้จักใจนายว่าร้ายหรือดี จะมาตีกันเล่นไม่เว้นวัน 2 ชั้น ครั้นเจ้าพราหมณ์เหลียวมาทำหน้าม่อย (อุ๊ยหน่า) หนามยอกเข้าไปหน่อยน้อยหรือนั่น ทำนิ่วพักตร์ชักหนามออกเสียพลัน ค่อยเหยียบยันโขยกเขยกมา เห็นสุมทุมพุ่มไม้ในไพรชัฎ ให้เกรงกริ่งสิงห์สัตว์ที่ในป่า เดินพลางทางนึกภาวนา ร้องเตือนนายขาระวังตัว ชั้นเดียว ได้ยินเสียงสกุณีมี่ก้อง ชะนีเหนี่ยวไม้ร้องเรียกผัว ขวัญหายกายสั่นอยู่ระรัว คิดกลัวผีสางปรางควาน ดำเนินเดินตามเจ้าพราหมณ์ไป เปลี่ยวเปล่าเศร้าใจในไพรสาณฑ์ ขึ้นเขาข้ามน้ำลำธาร ดัดดั้นดงดานเดินมา ( พระมณีพิชัย พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ) รายนามผู้บรรเลงและผู้ขับร้อง 1. นายเอกริน ณรงค์ ระนาดเอก 2. นายณัฏภูมิ พิมพ์สมบูรณ์ ระนาดทุ้ม 3. นางสาวณัฏฐณิชา อ้นป้อม ฆ้องวงใหญ่ 4. เด็กหญิงจุฑา อ่วมพรหม ฆ้องวงเล็ก 5. เด็กชายจิรภัทร ขวัญเขียว กลองแขก 6. เด็กชายฐิติพล แก้วสุติน ฉาบใหญ่ 7. เด็กหญิงสุพิตชา พึ่งเจาะ ฉาบเล็ก 8. เด็กชายพงษ์ปิยะ ประดับวงค์ โหม่ง 9. เด็กหญิงวัชรี ธรรมเนียม กรับ 10. นางสาวปรียา ศาลาคง ฉิ่ง 11. จ่าสิบตำรวจโทนพร พงศ์สีทอง กลองแขก 12. นายมนตรี จริงเสถียร ผู้ขับร้อง ควบคุมการฝึกซ้อม/การบรรเลงและการขับร้อง ๑. นางสาวปรียา ศาลาคง ๒. จ่าสิบตำรวจโท นพร พงศ์สีทอง
12. วงปี่พาทย์ไม้แข็ง วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย เพลงจีนลั่นถัน เถา เพลงจีนลั่นถัน เถา เพลงนี้ นับเป็นเพลงโบราณแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา บางท่านเรียก สาธุการจีน ใช้ขับร้องลำนำมาก่อน ต่อมา ในราวรัชกาลที่4 นิยมเล่นเป็นเพลงชุด คือ (1) ลั่นถัน (2) ขวัญอ่อน (3) ลาวดวงเดียว (4)จีนใหญ่ แต่การบรรเลง ใช้ปี่คู่ คือ ปี่นอกกับปี่ใน จึงเรียกว่า จีนสองเลา เป็นเพลงอัตรา 2 ชั้น ในสมัยรัชกาลที่ 6 หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้นำเพลงต้น คือ เพลงลั่นถัน 2 ชั้น มายืดเป็น 3 ชั้น ขึ้นบรรเลงเมื่อคราวต้อนรับสมเด็จพระ เจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ (ซึ่งขณะนั้นดำรงพระ-อิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ) เสด็จกลับจากยุโรป ครั้งที่ 2 และตัดลงเป็นชั้นเดียว รวมเป็นเพลงเถา บทร้องเพลงจีนลั่นถัน เถา 3 ชั้น ดูราสุดาดวงเนตร เจ้าประเวศไปสู่พิมานสวรรค์ พี่ตั้งหน้าท่าน้องทุกคืนวัน พึ่งเห็นขวัญตามาถึงธานี อยู่ไยในหน้าพระลานเล่า ขอเชิญเข้าปรางค์มาศปราสาทศรี พี่ขอบใจในสวาทแสนทวี มิเสียทีที่บำรุงผดุงมา 2 ชั้น แต่ยังเยาว์คุ้มเท่าเป็นเอกองค์ ปิ่นอนงค์นางในทั้งซ้ายขวา คิดว่าจะไว้ชื่อให้ลือชา มิรู้ว่าเริงรวยไปด้วยครุฑ ด้วยแรงราคจากรสพาราณสี ไปลองเล่นฉิมพลีอันสูงสุด ครั้นเบื่อหน่ายบ่ายเล่ห์เสห่ห์ครุฑ กลับมายุดย้ายชมสมคนธรรพ์ ชั้นเดียว หนึ่งแล้วสองมิหนำซ้ำสาม เจ้าทำงามพักตราน่ารับขวัญ เมื่อเป็นหญิงเพศยาอาธรรม์ จะให้เลี้ยงนางนั้นฉันใด (กากีคำกลอน เจ้าพระยาคลัง (หน) แต่ง) รายนามผู้บรรเลงและขับร้อง 1. นายอนุพงษ์ อู่อรุณ ปี่ 2. นายอัสนี สระทองแก้ว ระนาดเอก 3. นายปติพัฒน์ หมื่นพระโกฏดี ระนาดทุ้ม 4. นายธนวัฒน์ เสือสุ่น ฆ้องวงใหญ่ 5. นายธนดล กลิ่นสน ฆ้องวงเล็ก 6. เด็กชายมานพ ครุฑชาติ ฉิ่ง 7. นายณัฐนันท์ มั่นสุทธิ กลองแขก 8. นายรังสรรค์ แก้วมณี กลองแขก 9. นายสุทธิรักษ์ ครุฑน้อย กลองจีน 10. นายคฑาวุธ แป้นสุขเย็น กลองสองหน้า 11. นายธีรเดช โสมาบุตร ฉาบใหญ่ 12. นายรัตนพล น้อยรุ่ง ฉาบเล็ก 13. นายภาณุพงศ์ รุ่งสองแคว กรับ ควบคุมการฝึกซ้อม/การบรรเลงและการขับร้อง 1. นายสมุทร อิงควระ 2. ว่าที่ร้อยตรีบงกฎ เขียนเจริญ 3. นายจักรพรรณ จันทร์ศรี 4. นางฟ้ามุ่ย ศรีบัว
13. วงปี่พาทย์ไม้แข็ง “วงทวีศักดิ์ อัครวงษ์” เพลงทยอยเขมร เถา เพลงพม่าเห่ เถา และเพลงพระอาทิตย์ชิงดวง เพลงทยอยเขมร เถา “ทยอยเขมร เถา” เพลงอัตราจังหวะสองชั้น ทำนองเก่าสมัยอยุธยา เป็นเพลงหน้าพาทย์สำหรับประกอบ กิริยาครุ่นคิดหรือความโศกเศร้าเสียใจของตัวละคร และมีผู้แต่งเป็นเพลงเถาหลายทางด้วยกันในอัตราจังหวะสาม ชั้นที่แต่งขยายนี้ ครูแตง (ปี่) แต่งทางหนึ่งเป็นทำนองเที่ยวแรก พระประดิษฐไพเราะ (มีดุริยางกูร) แต่งทางหนึ่ง เป็นทำนองเที่ยวกลับทางเปลี่ยน จางวางทั่ว พาทยโกศล แต่งทางหนึ่ง ต่อมามีนักดนตรีแต่งตัดครบเป็นเพลงเถา นิยมนำมาบรรเลงขับร้อง เพลงที่แต่งแต่ละทางต่างก็เพิ่มกลเม็ดเด็ดพราย เพิ่มลูกล้อ ลูกขัด ลูกเล่นต่าง ๆ บทร้องเพลงทยอยเขมร เถา ครั้นออกมานอกนัคเรศ พระทรงเดชเศร้าสร้อยละห้อยไห้ เหลียวหลังตั้งแต่ดูเวียงชัย หฤทัยหวั่นหวั่นถึงกัลยา โอ้ว่าเจ้าดวงยิหวาพี่ ป่านฉะนี้จะคร่ำครวญหวนหา ใครจะปลอบโฉมงามสามสุดา แต่พอพาใจเศร้าบรรเทาคลาย คิดถึงน้ำคำที่ร่ำสั่ง คิดถึงความหลังแล้วใจหาย ครวญพลางกำสรดระทดกาย แล้วคิดอายพวกพลมนตรี ฯ ( อิเหนา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ) เพลงพม่าเห่ เถา เมื่อ พ.ศ. 2466 นายมนตรี ตราโมท ได้นำเพลงพม่าเห่ 2 ชั้นนี้มาแต่งขึ้นเป็นอัตรา 3 ชั้น และตัดลงเป็น ชั้นเดียวเพื่อให้ครบเพลงเป็นเพลงเถา เนื่องจากในสมัยนั้นวงการดนตรีและขับร้องเพลงไทยกำลังนิยมร้องและ บรรเลงเพลงพม่าเห่ 3 ชั้นหรือเถา แทนเพลงพม่าห้าท่อนกันอย่างแพร่หลาย เพราะฉะนั้นเพลงพม่าเห่ 3 ชั้นและ เถา จึงมีอยู่ด้วยกันหลายทางเพราะต่างวงก็ต่างแต่งกันขึ้นมา บทร้องเพลงพม่าเห่ เถา จอมขัตติยะ ครองบุรีอังวะราชฐาน อุ้มนัดดาออกท้องพระโรงธาร ฟังบอกราชการแล้วบัญชา ฝ่ายพระราชนัดดาเป็นทารก เกาะอังษาคว้าพระศกเล่นเกศา จอมกษัตริย์ตรัสดุกุมารา เอ๊ะอ้ายลูกเชลยกล้าคว้าหัวกู ตรัสแล้วระลึกคำสมิงพระราม ว่าเชลยเขาห้ามไม่ยอมอยู่ ตกพระทัยแก้ไฉนก็สุดรู้ เสด็จคืนเข้าสู่มณเฑียรชัย ฯ (พระนิพนธ์สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ เอาเค้ามาจากเรื่องราชาธิราช)
เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง แต่เมื่อใกล้จะถึงเวลาเลิกทุก ๆ วงจะต้องร้องทำนองเพลงอื่น ๆ โดยมีบทเป็นใจความร่ำลา และแสดง ความอาลัยซึ่งเรียกว่า “ลำลา” เมื่อราว พ.ศ. 2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราช นิพนธ์บทเสภาเรื่องพญาราชวังสัน ซึ่งแปลงมาจากเรื่องโอเทลโล ของเชกสเปียร์ที่ทรงพระราชนิพนธ์เป็นบท ละคอนไว้เมื่อ พ.ศ.2454 ให้เป็นบทสำหรับขับถวายเวลาทรงพระเครื่องใหญ่ และงานเลี้ยงบางโอกาส โดยมี พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เป็นผู้ถวายคำแนะนำในการบรรจุเพลงร้องตาม แบบแผนของ เสภา ในเรื่องพระยาราชวังสันนี้ มีอยู่ตอนหนึ่ง ซึ่งเป็น “อัศจรรย์” ระหว่างพระยาราชวังสัน (โอเทลโล) กับนางบัว ผัน (เด็สเดโมนา) พระยาประสานดุริยศัพท์ ถวายทูลความเห็นว่า ควรบรรจุเพลงอาทิตย์ชิงดวงเช่นกัน แต่เพลงนี้ ต้องมีสร้อยและดอกต่อท้าย จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์ดอกและสร้อยต่อท้ายขึ้นตามแบบของเดิม บทร้องเพลง พระอาทิตย์ชิงดวง อันเป็นพระราชนิพนธ์ บทนี้ เป็นบทที่นิยมกันมากในสมัยปัจจุบัน บทร้องเพลงพระอาทิตย์ชิงดวง เรื่อย เรื่อย ภุมรินบินว่อน เกลือกเกสรบัวทองผ่องใส รื่นรื่นรสสุคนธ์ปนไป สองใจจ่อจิตสนิทนอน ดอกเอย เจ้าดอกบัวผัน บุหงาสวรรค์ ของเรียมนี่เอย เจ้าหน้านวลเอย เจ้าหน้านวลยวนใจให้พี่เชย ไม่ละไม่เลยไม่ลืมชม แม้ห่างอินทรีอกพี่ระบม อกตรอมอกตรมเสียจริงเอย เจ้าภุมรินเอยกลั้วกลิ่นบุปผา เกสรผกาไม่ราโรย จะคลึงจะเคล้าจะเฝ้าสงวน จะยั่วจะยวนเมื่อลมโชย จะกอบจะโกย กลิ่นไปเอย ดอกเอ๋ย เจ้าดอกโกมุท เจ้าแสนสวยสุด ของเรียมนี่เอย (บทของเก่า) รายนามผู้บรรเลงและขับร้อง 1. นายสุรศักดิ์ กิ่งไทร ปี่ใน 2. นายทวีศักดิ์ อัครวงษ์ ระนาดเอก 3. นายศุภชัย สิงห์เถื่อน ระนาดทุ้ม 4. นายพงศ์พันธ์ เพชรทอง ฆ้องวงใหญ่ 5. นายกิตติศักดิ์ อยู่สุข ฆ้องวงเล็ก 6. นายชัยพฤกษ์ สิทธิ กลองแขก 7. นายพิเชฏ โยธี กลองแขก 8. นายกรรธวัช แก้วอ่อน ฉิ่ง 9. นายมนตรี จริงเสถียร ผู้ขับร้อง 10. นางสาวสุดารัตน์ ลาดนอก ผู้ขับร้อง