The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แบบรายงานนวัตกรรม ศิริรัตน์ โรงเรียนวัดท่ามะขาม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by sirirat.sanny, 2021-09-20 02:26:12

แบบรายงานนวัตกรรม ศิริรัตน์ โรงเรียนวัดท่ามะขาม

แบบรายงานนวัตกรรม ศิริรัตน์ โรงเรียนวัดท่ามะขาม

แบบรายงานนวัตกรรม/ผลการปฏิบตั ิที่เป็นเลศิ
(Best Practices) การจดั การศกึ ษาทางไกลในสถานการณ์

การแพรร่ ะบาดของไวรสั โคโรนา่ (Covid-19)
เร่อื ง “กจิ กรรมสัปดาห์วิทยาศาสตรว์ ทิ ยาศาสตร์ โดย

Google sites”
โดย

นางสาว ศริ ิรตั น์ ศรีเหรา

ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวัดทา่ มะขาม
สานกั งานเขตพ้นื ที่การศึกษาประถมศกึ ษากาญจนบรุ ี เขต 1

คานา

นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน เรื่อง “กิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ โดย Google sites”
เป็นนวัตกรรมท่ีคิดค้นและพัฒนาขึ้น เพื่อใช้แก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนในช่วง สถานการณ์ไวรัสโคโรน่า
(Covid-19) ซึ่งในการจัดสัปดาห์วิทยาศาสตร์ในวันที่ 18 สิงหาคม 2564 เน่ืองจากสถานการณ์ไวรัสโคโรน่า(Covid-
19) น้ัน ทางโรงเรียนไม่สามารถที่จะจัดกิจกรรมแบบพบปะกับนักเรียนได้ แต่ทางคณะครูน้ันได้จัดกิจกรรมสัปดาห์
วิทยาศาสตร์ทางออนไลน์ จัดการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี เป็นท่ีน่าพอใจ ซึ่งการจัดทารายงานนวัตกรรมเล่มน้ี
เป็นการสรุปผลของนวตั กรรมการจัดการเรียนการสอน แบบออนไลน์แทน

ขอขอบคณุ ผบู้ ริหาร และบุคลากรโรงเรียนวัดทา่ มะขามและ ผมู้ สี ว่ นเกยี่ วข้องทุกท่าน ที่ให้ความรว่ มมือ ใน
การขับเคลื่อนนวัตกรรมจนประสบความสาเร็จ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า นวัตกรรมการจัดการเรียน การสอน เร่ือง
“กิจกรรมวิทยาศาสตร์ โดย Google sites” จะเป็น ประโยชน์ต่อโรงเรยี นและหน่วยงาน หรือผู้ที่สนใจ ในการนาไป
ประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหา การจัดการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์ไวรัสโคโรน่า(Covid-19) และด้านอื่นๆ ใน
โอกาสตอ่ ไป

ศิริรัตน์ ศรีเหรา
ผู้จัดทา

สารบัญ หน้า
1
หัวข้อ เรือ่ ง 1
1 แบบรายงานนวัตกรรม/ผลการปฏิบตั ิทเ่ี ปน็ เลิศ (Best Practices) การจัดการ 2
ศกึ ษาทางไกลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา่ (Covid-19)
4
2 ความเปน็ มาและความสาคัญ
4
3 แนวคดิ หลกั การสาคญั ท่ีเกยี่ วข้องกบั ผลงานหรือนวตั กรรม
2.1 เวบ็ ไซตบ์ รกิ าร Google site 8
2.2 วงจรคุณภาพ PDCA
9
4 วัตถปุ ระสงค์และเปา้ หมายของการดาเนนิ งาน 10
3.1 จุดประสงค์ 10
3.2 เป้าหมาย 11

5 ขน้ั ตอนการดาเนนิ งาน
4.1 กลมุ่ ตัวอย่าง
4.2 เคร่อื งมือท่ีใช้ในการสร้างผลงานนวัตกรรม
4.3 ขน้ั ตอนและกระบวนการสรา้ งผลงานนวัตกรรม

6 ผลการดาเนินงานและประโยชนท์ ไี่ ด้รับจากผลงานหรือนวัตกรรม
5.1 สาหรบั ครู
5.2 สาหรับนักเรียน
5.3 สาหรบั ผปู้ กครอง

7 ปจั จยั ความสาเร็จในการดาเนินงานผลงานหรอื นวตั กรรม

8 บทเรียนที่ไดร้ บั

9 การเผยแพร่

10 ภาคผนวกท่เี ก่ยี วข้องกับผลงานหรือนวัตกรรม

1

แบบรายงานนวัตกรรม/ผลการปฏิบัติท่ีเป็นเลิศ (Best Practices) การจัดการศึกษาทางไกลใน

สถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของไวรัสโคโรน่า(Covid-19)

ชอ่ื ผลงาน กิจกรรมสัปดาหว์ ิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ โดย Google sites

ชอ่ื ผู้นาเสนอผลงาน นางสาว ศิรริ ตั น์ ศรเี หรา ตาแหน่ง พนักงานราชการ (ครผู ้สู อน)

โรงเรียน/หน่วยงาน โรงเรยี นวัดทา่ มะขาม

สังกัด สานักงานเขตพ้นื ทีก่ ารศึกษาประถมศกึ ษากาญจนบรุ ีเขต 1

โทรศพั ท์ 092-3626205

E-mail [email protected]

1. ความเป็นมาและความสาคัญ
เหตุผล ความจาเปน็ ปัญหาหรือความต้องการท่จี ดั ทาผลงานนวัตกรรม

สถานการณ์โรคติดเช้ือไวรัสโคโรน่า(Covid-19) มีการระบาดในวงกว้าง องค์การอนามัยโลก ได้ประเมิน
สถานการณ์และประกาศให้ไวรัสโคโรน่า(Covid-19) เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ โดย
แนะนาให้ทุกประเทศเร่งรัดการเฝ้าระวังและ ป้องกันความเส่ียงจากเชื้อ ไวรัสโคโรน่า(Covid-19) ซึ่ง
สถานศึกษาเป็นสถานท่ีท่ีมีนักเรียนอยู่รวมกันจานวนมาก มักจะมีความเสี่ยงสูง หากมีระบบการจัดการที่ไม่ดี
อาจจะมีการแพร่ระบาดของเชอ้ื ไวรัสโคโรน่า(Covid-19) ได้ในกลุ่มเด็ก เน่ืองจากพบว่าการติดเช้ือ ไวรัสโคโร
น่า(Covid-19) ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีอาการหรือมีอาการแสดง ค่อนข้างน้อย ความรุนแรงจะน้อยมาก อาจทา
ให้การแพร่ระบาดเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ( Super spread) ไปยังบุคคลในบ้าน หากมีการระบาดในกลุ่ม
นักเรียนข้ึน จะมีผลกระทบในสังคมหรือผู้ใกล้ชิด เช่น ครู พ่อแม่ ผู้สูงอายุ ที่ติดเชื้อจากเด็ก ดังนั้น หากมีการ
เปิดเรียน มีโอกาสสูงท่ีจะเกิดการติดเช้ือ ในกลุ่มเด็กเพ่ิมมากข้ึน ซ่ึงเด็กเป็นกลุ่มท่ีต้องได้รับการดูแลและ
ระมดั ระวังในการกระจายเช้อื เป็น อยา่ งมาก มาตรการในการเปิดเทอม จึงมีความสาคัญมากในการควบคุมการ
ระบาด การวางแผนเปดิ เทอมจงึ ตอ้ งมัน่ ใจวา่ สามารถควบคุมไม่ใหเ้ กิดการระบาดของโรคได้

สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน กระทรวงศึกษาธิการตระหนักถึงความสาคัญ ในการ
ดูแลนักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษา จึงได้จัดทาแนวทางการจัดการเรียน การสอนของ
โรงเรียนสังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน ในสถานการณ์การระบาด ของโรคติดเชื้อไวรสั โค
โรนา่ (Covid-19) ปกี ารศึกษา 2564 เพ่ือใหโ้ รงเรียนใช้เป็นแนวทาง ในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนใน
สังกัดอย่างมีประสิทธิภาพซ่ึงการระบาดของไวรัสโคโรน่า(Covid-19) ส่งผลต่อระบบการศึกษาเป็นอย่างมาก
สถานการณ์การระบาดเกดิ ขึ้นทาให้โรงเรียนต้องปิดโรงเรียน สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน ได้
กาหนดรูปแบบการเรียนการสอนไว้ 5 รูปแบบ ตามบริบท และความเหมาะสมของแต่ละโรงเรยี น คือ 1. ON-
AIR 2. ONLINE 3. ON–DEMAND 4. ON-HAND และ 5. ON–SITE ไม่จาเป็นวา่ โรงเรยี นทปี่ ิดเรียนตอ้ งใชก้ าร
เรียนการสอนแบบออนไลน์เพียงอย่างเดียว เนื่องจากโรงเรียนอยู่ในพื้นท่ีสีแดงเข้ม จึงทาให้โรงเรียนต้องปิด
การเรียนการสอน และจัดรูปแบบการเรียนการสอนได้ 4 รูปแบบ คือ 1. ON-AIR 2. ONLINE 3. ON–

2

DEMAND 4. ON-HAND จัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่สอดรับกับมาตรการป้องกันการระบาด พร้อมกับ
เตรียมมาตรการ ต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้เรียนได้รับผลกระทบจากรูปแบบการเรียนท่ีเปลี่ยนไป การจัดการ
เรียนการสอนในศตวรรษท่ี 21 เน้นการเรียนการสอนที่กระตุ้นการเรียนรู้ของ ผู้เรียน ซ่ึงในช่วงเดือนสิงหาคม
2564 มี กิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ โดย Google sites แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่
ระบาดของโควิด-19 เร่ิมควบคุมยาก และเข้าสู่ภาวะโรคระบาดใหญ่ท่ัวโลก โรงเรียนมีการหยุดการเรียนการ
สอน แบบ ON–SITE จึงเป็น ท่ีมาของการจัดการเรียนการสอนผ่านสื่อออนไลน์ กิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ โดย Google sites นีจ้ ัดทาข้นึ เพ่อื ให้ผเู้ รยี นเขา้ มามสี ่วนรว่ มในการจัดกจิ กรรมในช้ันเรียนเป็นส่ิง
สาคัญในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการ เนื่องจากผู้เรียนในยุคปัจจุบันมีความรู้ ความสนใจเกี่ยวกับสื่อสังคม
ออนไลน์เปน็ อยา่ งมาก รวมทัง้ ยังเผยแพร่ใหก้ บั ผ้ทู สี่ นใจเขา้ รว่ มกิจกรรมอีกดว้ ย

2. แนวคิดหลกั การสาคญั ที่เกีย่ วขอ้ งกับผลงานหรือนวตั กรรม
2.1 เวบ็ ไซต์บรกิ าร Google site
Google Site เป็นแอพพลิเคช่ันออนไลน์ที่ทาให้การสร้างเว็บไซต์ของทีมกลายเป็นเรื่องง่าย เหมือน

แก้ไขเอกสารเม่ือใช้ Google Site ผู้คนสามารถรวบรวมข้อมูลท่ีหลากหลายไว้ในที่เดียวได้ อย่างรวดเร็วได้แก่
วีดีโอ ปฏิทิน งานนาเสนอ ไฟล์แนบ และข้อความและสามารถใช้งานร่วมกับ กลุ่มเล็กๆทั้งองกรณ์หรือทั้งโลก
เพอื่ ดูหรือแกไ้ ขได้อยา่ งง่ายดายไปท่แี ผงควบคุมของคุณลักษณะท่ี สาคญั ของผลติ ภณั ฑไ์ ด้แก่

1) กาหนดส่วนติดต่อของเว็บไซต์ด้วยตนเอง เพื่อทาให้รูปลักษณ์ของกลุ่มหรือโครงการมี
ความคล้ายคลงึ กัน

2) สร้างหนา้ ย่อยใหม่ดว้ ยการพิมพ์
3) เลือกประเภทหน้าเว็บจากรายการท่ีเพิ่มข้ึนเร่ือยๆ ได้แก่ หน้าเว็บประกาศ ตู้เอกสาร
กระดานข้อมลู และรายชื่อ
4) รวมศูนย์ข้อมูลท่ีใช้งานร่วมกัน ฝังเนื้อหาที่มีข้อมูลมาก ลงในหน้าเว็บใดๆและอัปโหลด
ไฟล์แนบตา่ งๆ
5) จัดการตั้งค่าการอนุญาต เพื่อให้เว็บไซต์ของคุณเป็นส่วนตัวหรือสามารถแก้ไขและดูได้
อย่างกวา้ งขวางตามทค่ี ณุ ต้องการ
6) ค้นหาในเน้อื หาของ Google Site ดว้ ยเทคโนโลยกี ารค้นหาของ Google
การใช้ Google Sites เพ่ือการเรยี นการจัดการเรียนรแู้ บบบรู ณาการโดยใช้ Google site ช่วยในการ
เรียนการสอนของครูทาให้เชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่างๆ ได้ง่าย ยิ่งข้ึนโดยสามารถเชื่อมโยงเนื้อหา
แหล่งความรู้ต่างๆไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไฟล์เอกสาร วีดีโอ หรือไฟล์ เสียงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต (Internet)
และผเู้ รยี นสามารถเข้าถงึ แหล่งข้อมูลได้ง่ายย่ิงข้ึนจะช่วยให้ กระบวนการจดั ประสบการณก์ ารเรยี นรู้ตามความ
สนใจ ความสามารถ ท่ีเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันให้ ผู้เรียนเปล่ียนแปลงพฤติกรรม สามารถนาความรู้ ทักษะ และ
เจตคติไปสร้างงาน แก้ปัญหาและใช้ใน ชีวิตประจาวันได้ง่ายยิ่งขึ้น Google site สามารถใช้เป็นช่องทางใน

3

จัดการเรียนการสอนของครู โดยเฉพาะครผู ู้สอนท่ีไม่เชยี่ วชาญในด้านเทคโนโลยกี ารสื่อสาร โดยเว็บไซตท์ ส่ี ร้าง
ด้วย Google site เป็นเว็บไซต์อย่างง่าย ไม่สลับซับซ้อน ครูผู้สอนสามารถเรยี นรู้ใช้งาน ได้ไม่ยาก อีกทั้งครูยัง
สามารถ ตรวจผลงานของนักเรียนได้อย่างรวดเร็ว ทันใจ การนาเสนอเน้ือหาในรายวิชาต่าง ๆ เป็นไปได้ง่าย

2.2 วงจรคุณภาพ PDCA
วงจรคุณภาพ PDCA วงจรบริหารสี่ข้ันตอนท่ีประกอบไปด้วย Plan (การวางแผน) Do (ปฏิบัติ)
Check (ตรวจสอบ) และ Action (การดาเนินการ) วงจรการบริหารงานคุณภาพใช้ในการ ควบคุมและพัฒนา
กระบวนการ PDCA ทั้งสี่ข้ันตอนเป็นกระบวนการท่ีสามารถทาซา้ ได้ เพ่ือให้ สถานศึกษาสามารถบรหิ ารความ
เปลย่ี นแปลงไดอ้ ยา่ งประสบความสาเร็จวงจรการควบคมุ คุณภาพมี รายละเอียด ดังน้ี
Plan (วางแผน) หมายถึง การวางแผนการดาเนินงานอย่างรอบคอบ ครอบคลุมถึงการ กาหนด
หวั ข้อที่ต้องการปรับปรงุ เปลี่ยนแปลง ซง่ึ รวมถงึ การพฒั นาสง่ิ ใหม่ๆ การแกป้ ัญหาทีเ่ กิดข้นึ จากการปฏบิ ัติงาน
อาจประกอบด้วย การกาหนดเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการดาเนินงาน Plan การจัดอันดับความสาคัญ
ของ เปา้ หมาย กาหนดการดาเนนิ งาน กาหนดระยะเวลาการ ดาเนินงาน กาหนดผู้รับผดิ ชอบหรือผดู้ าเนินการ
และกาหนดงบประมาณท่จี ะใช้ การเขยี นแผน ดงั กลา่ วอาจปรบั เปล่ียนได้ตามความเหมาะสมของลกั ษณะ การ
ดาเนนิ งาน การวางแผนยงั ชว่ ยใหเ้ รา สามารถคาดการณส์ ่งิ ทีเ่ กดิ ขึ้นในอนาคต และชว่ ยลดความสญู เสยี ตา่ งๆท่ี
อาจเกดิ ข้ึนได้
Do (ปฏิบัติตามแผน) หมายถึง การดาเนินการตามแผน อาจประกอบด้วยการมีโครงสร้าง รองรับ
การดาเนินการ มีวธิ กี ารดาเนินการและมีผลของการดาเนินการ
Check (ตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน) หมายถึง การประเมินแผน อาจประกอบด้วยการ ประเมิน
โครงสร้างที่รองรับ การดาเนินการ การประเมินข้ันตอนการดาเนินงาน และการประเมินผล ของ การ
ดาเนินงานตามแผนที่ได้ต้ังไว้ โดยในการประเมินดังกล่าวสามารถทาได้เอง โดย คณะกรรมการที่รับผิดชอบ
แผนการดาเนนิ งานน้ัน ๆ ซง่ึ เปน็ ลกั ษณะของการประเมนิ ตนเอง โดยไม่ จาเปน็ ตอ้ งต้งั คณะกรรมการ อีกชดุ มา
ประเมินแผน หรอื ไม่จาเป็นตอ้ งคดิ เครื่องมอื หรือแบบประเมนิ ท่ียงุ่ ยากซับซอ้ น
Act (ปรับปรุงแก้ไข) หมายถึง การนาผลการประเมินมาพัฒนาแผน อาจประกอบดว้ ยการนา ผลการ
ประเมินมาวิเคราะหว์ ่ามีโครงสรา้ ง หรือข้ันตอนการปฏิบตั ิงานใดที่ควร ปรับปรุงหรือพัฒนาสง่ิ ที่ดีอยู่แล้วให้ดี
ยิ่งข้นึ ไปอกี และสังเคราะห์รูปแบบ การดาเนนิ การใหม่ท่เี หมาะสม สาหรับการ ดาเนินการ ในปีต่อไป

ดังน้ันในสถานการณก์ ารแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรสั โคโรนา่ (Covid-19) การจดั การเรยี นการสอน
ต้องเป็นไปอย่างต่อเน่ืองเพ่ือเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ผู้เรียนต้องเรียนอยู่ท่ีบ้าน ครูผู้สอนจึงใช้
วิธีการจัดการเรียนการสอนผ่านสื่อออนไลน์เว็บไซต์ “กิจกรรมสัปดาห์วทิ ยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ โดย Google
sites” ท่ีสามารถบูรณาการการใช้เทคโนโลยีมาสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน ซ่ึงแนวคิดน้ีจึงเกิดเป็น
นวัตกรรมนี้ขึ้นมา และใช้วงจรตรวจสอบคุณภาพ PDCA มาพัฒนาคุณภาพของงานให้มีประสิทธิภาพและเกิด
ประสิทธิผล ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาการเรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกท้ังเหมาะสมกับการ

4

จัดการเรียนการสอนในศตวรรษท่ี 21 และการจัดการศึกษาทางไกลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติด
เชือ้ ไวรสั โคโรนา่ (Covid-19)

3. วัตถุประสงคแ์ ละเป้าหมายของการดาเนนิ งาน
3.1 จดุ ประสงค์
3.1.1 เพ่ือสร้างและใช้วิธีการจัดการเรยี นการสอนผ่านส่ือออนไลน์เว็บไซต์ “กิจกรรมสัปดาห์

วิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ โดย Google sites” จัดกิจกรรมให้กับนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีที่ 1 –
ชนั้ ประถมศึกษาปีที่ 6 ในช่วงสถานการณ์โรคตดิ เชอื้ ไวรสั โคโรน่า (Covid-19)

3.1.2 เพ่ือปลูกฝังให้นักเรียนนั้น เข้าใจถึงความสาคัญของวิทยาศาสตร์ อีกทั้งยังสร้างแรง
บันดาลใจใหก้ บั นักเรียน ในชว่ งสถานการณ์โรคติดเช้อื ไวรสั โคโรน่า (Covid-19)
2.1.3 เพื่อให้นักเรียนช้ันประถมศึกษาปีท่ี 1 – ช้ันประถมศึกษาปีที่ 6 ร่วมแชร์ไอเดีย ในการใช้ชีวิตใน
สถานการณ์ โรคติดเชอ้ื ไวรัสโคโรน่า (Covid-19)

3.2 เป้าหมาย
3.2.1 การจัดการเรียนการสอนผ่านสื่อออนไลน์เว็บไซต์ “กิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ โดย Google sites นักเรียนชั้นประถมศึกษาปที ี่ 1 – ชั้นประถมศึกษาปีท่ี 6 ในช่วง สถานการณ์
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid-19) ที่สามารถบูรณาการการใช้เทคโนโลยีมาสนับสนุนการ จัดการเรียนการ
สอน ซึง่ จะช่วยให้ผู้เรยี นเกดิ การพฒั นาการเรยี นใหม้ ปี ระสิทธิภาพมากขน้ึ

3.2.2 นกั เรียนชน้ั ประถมศกึ ษาปที ่ี 1 – ชัน้ ประถมศกึ ษาปีที่ 6 ของโรงเรียนวัดทา่ มะขามและ
ผูท้ สี่ นใจใน “กจิ กรรมสปั ดาหว์ ิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ โดย Google sites”

4. ขั้นตอนการดาเนินงาน
โรงเรียนวดั ทา่ มะขาม เปน็ โรงเรียนประถมศึกษา ขนาดกลาง ในเดอื นสงิ หาคม มีสัปดาห์วทิ ยาศาสตร์

ในวันที่ 18 สิงหาคม 2564 คณะครูจึงจัดกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์ โดยวิธีออนไลน์“กิจกรรมสัปดาห์
วิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ โดย Google sites” ซึ่งได้ท้ังความรู้และได้ทบทวนความรู้ นักเรียนทุกคนต้องได้
เรียนรู้อย่างท่ัวถึงและนักเรียนสามารถเข้าเรียนผ่านสื่อออนไลน์ “กิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์
โดย Google sites” ได้ตลอดเวลาอีกด้วย โดยมีกระบวนการผลิตนวัตกรรมในช่วง สถานการณ์โรคติดเชื้อ
ไวรสั โคโรน่า(Covid-19) ดงั นี้

5

4.1 กลุ่มตวั อยา่ ง
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – ช้ันประถมศึกษาปีท่ี 6 ของโรงเรียนวัดท่ามะขามและผู้ท่ี

สนใจใน “กิจกรรมสปั ดาหว์ ิทยาศาสตร์วทิ ยาศาสตร์ โดย Google sites”
4.2 เครื่องมือท่ใี ชใ้ นการสรา้ งผลงานนวัตกรรม
เคร่ืองมือท่ีใช้ในการสร้างผลงานนวัตกรรม ครั้งน้ีใช้เคร่ืองมือที่ครูผู้สอนสร้างขึ้น

ประกอบดว้ ย “กจิ กรรมสัปดาหว์ ิทยาศาสตรว์ ทิ ยาศาสตร์ โดย Google sites”
4.3 ข้นั ตอนและกระบวนการสรา้ งผลงานนวัตกรรม
แนวคิดและกระบวนการออกแบบนวัตกรรมการศึกษาแนวคิด และกระบวนการออกแบบ

นวตั กรรมการศึกษา PDCA คอื

ภาพที่ 1 กระบวนการออกแบบนวตั กรรมการศึกษา PDCA

4.3.1 ขั้นวางแผนปฏิบัติงาน (Plan : P) เป็นข้ันตอนการจัดทาแผนในการดาเนินการสร้าง
การจัดการเรียนการสอนผ่านส่ือออนไลน์เว็บไซต์ “กิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ โดย Google
sites”สาหรับนักเรยี นชั้นประถมศึกษาปีท่ี 1 – ชั้นประถมศึกษาปีท่ี 6 ของโรงเรียนวัดท่ามะขามและผู้ที่สนใจ
ดงั น้ี

1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและวิธีการเขียนเว็บของ Google Site อย่างละเอียดเพ่ือ
สร้างส่อื ออนไลนเ์ วบ็ ไซต์ “กจิ กรรมสัปดาห์วทิ ยาศาสตรว์ ทิ ยาศาสตร์ โดย Google sites”

2) เลือก ฐานกิจกรรมต่างๆ ให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ี 1 – ชั้นประถมศึกษาปี
ท่ี 6 ของโรงเรียนวดั ท่ามะขามและผู้ทส่ี นใจ ประกอบด้วยฐานต่างๆ ดังนี้

ฐานที่ 1 เขา้ ชมนิทรรศการวิทยาศาสตร์
ฐานที่ 2 นกั วิทยาศาสตร์ผ้เู ปล่ยี นโลก
ฐานที่ 3 ตอบคาถามทางวิทยาศาสตร์
ฐานท่ี 4 การทดลองอยา่ งงา่ ย
ฐานท่ี 5 CODING นาสู่การแกป้ ญั หา
ฐานที่ 6 แชรไ์ อเดียการใช้ชีวติ ในยุค COVID-19

6

3) สร้างเว็บไซต์การจัดการเรยี นการสอนผา่ นสื่อออนไลนเ์ ว็บไซต์ “กิจกรรมสัปดาห์
วิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ โดย Google sites” นักเรียนช้ันประถมศึกษาปีที่ 1 – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของ
โรงเรียนวัดท่ามะขามและผู้ท่ีสนใจ โดยอัพโหลดวิดีโอการสอนนักวิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจ และกิจกรรมการ
ทดลองอย่างงา่ ย อกี ทง้ั ในการทาแบบทดสอบแขง่ ขนั ความรู้สปั ดาห์วิทยาศาสตร์ ของนกั เรยี นแตล่ ะชนั้ เรียน

4) นาการจัดการเรียนการสอนผ่านส่ือออนไลน์เว็บไซต์ “กิจกรรมสัปดาห์
วิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ โดย Google sites” นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ี 1 – ชั้นประถมศึกษาปีท่ี 6 ของ
โรงเรยี นวดั ท่ามะขามและผู้ท่ีสนใจไปขอคาแนะนาจากผบู้ รหิ ารและคณะครโู รงเรียนวดั ทา่ มะขาม ในด้านความ
เหมาะสมขององค์ประกอบ ของเวบ็ ไซต์ “กจิ กรรมสปั ดาห์วิทยาศาสตรว์ ิทยาศาสตร์ โดย Google sites” เพ่ือ
มาปรบั ปรงุ แกไ้ ขให้สมบรู ณ์ย่งิ ขนึ้

4.3.2 ข้ันตอนการทาตามแผน (DO : D) จัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บไซต์ “กิจกรรมสัปดาห์
วิทยาศาสตรว์ ิทยาศาสตร์ โดย Google sites” กระบวนการจดั การเรียนรโู้ ดยใช้ Google Site ดงั นี้

4.3.2.1 การสร้างเว็บไซต์ Student Learning ด้วย Google Site ขั้นตอนการสร้าง
มดี งั น้ี 1) หลังจากที่เราสมัคร Gmail แลว้ เราก็เข้าไปที่เว็บ www.googlesite.com เพอื่ สมคั รเข้า
ใช้งาน Google site

2) ให้ login ดว้ ย account บญั ชขี อง Gmail ท่ีสมัครไว้
3) เมอ่ื log in เขา้ มาแล้วจะพบกบั หน้าต่างดังรปู ใหค้ ลกิ ทปี่ ุ่ม “สรา้ งเวบ็ ไซต”์
4) เมื่อสร้างไซตแ์ ล้วจะปรากฎหน้าแรกของ site ตามทีเ่ ราเห็น ใหค้ ลิกทีป่ มุ่ “ว่าง”

5) เรม่ิ สร้างหนา้ เว็บไซต์

7

4.3.2.2 การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ก่อนการจัดการเรียนการสอนออนไลน์
ผสู้ อนควรบอกวธิ ีการใช้งานเว็บไซต์อย่างละเอียด เพื่อให้นกั เรยี นได้ใช้งานเว็บไซต์ได้อยา่ งถูกต้องและเป็นการ
อานวยความสะดวกให้แก่นักเรียนก่อน ได้รับการใช้งานซึ่งล้ิงในการเข้าใช้งานของเว็บไซต์ “กิจกรรมสัปดาห์
วิทยาศาสตรว์ ทิ ยาศาสตร์ โดย Google sites” จะสง่ ให้ นกั เรียน คือ

https://sites.google.com/view/watthamakamschool/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B
8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81?fbclid=IwAR2onfjCNobcKNPKR-7--
K4O1sYPjGpsADg1f0ru8wATn0-wXR3oDhLJI-U

การเข้าใช้งาน เวบ็ ไซต์ “กจิ กรรมสัปดาห์วทิ ยาศาสตร์วทิ ยาศาสตร์ โดย Google sites” ครูผสู้ อนควร
จัดลาดบั ข้ันตอนและใหร้ ายละเอยี ดที่ชัดเจนดังน้ี

1. การเข้าสู่เว็บไซต์ “กิจกรรมสัปดาหว์ ิทยาศาสตรว์ ิทยาศาสตร์ โดย Google sites” โดยพมิ พว์ ่า
https://sites.google.com/view/watthamakamschool/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B2%
E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81?fbclid=IwAR2onfjCNobcKNPKR-7--
K4O1sYPjGpsADg1f0ru8wATn0-wXR3oDhLJI-U

2. การเข้าสู่บทเรียนมี 6 ฐาน ทส่ี ามารถเข้าส่บู ทเรยี นได้

8

4.3.2.3 การอภิปรายหลังการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ การสร้างเว็บไซต์
บทเรียนคอมพิวเตอรผ์ า่ นเวบ็ ดว้ ย “กิจกรรมสปั ดาห์วทิ ยาศาสตรว์ ิทยาศาสตร์ โดย Google sites”
สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ี 1 – ชั้นประถมศึกษาปีท่ี 6 ของโรงเรียนวัดท่ามะขามและผู้ท่ีสนใจ
อภิปรายได้ดังนี้ ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า นักเรียนมีความรู้ความสามารถในการใช้
เทคโนโลยี มีแรงบันดาลใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ อีกท้ังมีการแชร์ ไอเดียในการใช้ชีวิตในช่วงสถานการณ์
Covid-19 โดยเป็นการเผยแพรส่ ู่สาธารณะชน

5. ผลการดาเนนิ งานและประโยชนท์ ่ไี ด้รบั จากผลงานหรอื นวตั กรรม
5.1 สาหรับครู
5.1.1 เป็นส่ือออนไลน์เว็บไซต์ “กิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ โดย Google

sites”ด้วย Google Site ในการ จัดการเรียนรู้ท่ีต้องการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะความรู้ ความสามารถในการ
ใชง้ านเทคโนโลยี ครูสามารถนาไปประยกุ ตใ์ ชใ้ นชั้นเรียนของตนไดห้ รอื พฒั นาเป็น นวตั กรรมการเรียนรู้

5.1.2 เป็นสือ่ ทใี ช้ในการจดั การเรยี นรู้ทสี่ อดคลอ้ งกับทฤษฎี ไดพ้ ฒั นาบทเรยี น อิเลก็ ทรอนิกส์
การใช้นวัตกรรม Google Apps for Education มาเป็นตัวช่วยใช้ในการ เรียนการสอน คือ บทเรียน
อิเล็กทรอนิกส์มีผลทาใหค้ ะแนนเฉล่ียจากการสอนหลังเรยี นสงู กว่าคะแนนเฉลี่ยจากการสอนก่อนเรียน ซึ่งจะ
เห็นได้ว่าเมื่อนาบทเรียนท่ีผ่านส่ือออนไลน์ เว็บไซต์ “กิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ โดย Google
sites”ด้วย Google Site มาใช้จะทาให้มีผลการเรียนที่เพ่ิมสูงข้ึน อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นนวัตกรรมสื่อการ
เรียนรู้รูปแบบใหม่ท่ีออกแบบและสอดแทรกเน้ือหา บทเรียนลงไป ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ฝึกปฏิบัติ
ในการเรยี นรู้ดว้ ยตนเอง จนผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ได้ในท่ีสดุ

5.1.3 เป็นสื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และจุดหมายของ หลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขนั้ พ้ืนฐาน พทุ ธศักราช 2551 ที่เน้นสมรรถนะผูเ้ รยี น มาตรฐาน และตัวชี้วัด ทีน่ าไปสู่การ
ปฏิบัติโดยเฉพาะสมรรถนะสาคัญของผู้เรียนท่ีมุ่งให้เกิด ความสามารถในการสื่อสารและความสามารถในการ
คิด

5.1.4 เป็นหลักฐานหรือร่องรอยในการพัฒนาผู้เรียนให้มีกระบวนการคิดในช่วง สถานการณ์
โรคติดเช้ือไวรัสโคโรน่า (Covid-19) และนวัตกรรมน้ีสามารถนามาใช้เพื่อให้นักเรียนใช้เวลา ว่างในการศึกษา
ได้ตลอดเวลาซ่ึงได้ทั้งความรู้และและการได้ใช้เทคโนโลยี อีกท้ังสาหรับ เตรียมความพร้อมในการประเมิน
ภายนอกของ สมศ. ด้านผู้เรียนมาตรฐานท่ี 4 ผู้เรียนควรมี ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์คิด
อยา่ งมีวจิ ารณญาณ คดิ ไตร่ตรอง คดิ สรา้ งสรรคอ์ ย่างมีวสิ ัยทัศน์

5.1.5 เป็นสื่อท่ีมีการนากลวธิ กี ารสอนรปู แบบการจัดการเรียนรู้โดยใชเ้ ทคโนโลยี การจัดการ
เรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ว่าขณะน้ีมี เทคโนโลยี มีความกว้าหน้าก้าว
ไกลไปในลักษณะรูปแบบได้บ้างทั้งทางด้านวัสดุ อุปกรณ์ และ วิธีใหม่ๆ ให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ และ
ทักษะในการใช้เทคโนโลยี มาเป็นเครื่องมือใน การเรียนรู้ของตนเองและงานมาใช้ควบคู่กับการจัดการเรียนรู้

9

เชน่ การศกึ ษาคน้ คว้าดว้ ย ตนเอง การสังเกตและอธบิ าย (Predict - Observe - Explain) กลวธิ ีร้แู ลว้ อยากรู้
และ ต้องการเรียนรู้ (Knowledge - Want to know – Learning : KWL) เป็นต้นซึ่งกลวิธีเหล่าน้ี จะช่วยให้
ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลในด้านการสร้างองค์ความรู้ ทักษะกระบวนการคิด
กระบวนการ เรยี นรู้ และทักษะทางสังคมมากขนึ้

5.1.6 เปน็ ส่อื ที่ใชใ้ นการจดั กระบวนการเรยี นรู้ให้ผูเ้ รยี นจากกิจกรรมง่ายๆ และ เหมาะสมกับ
เน้ือหาตรงตามมาตรฐานและตัวช้ีวัดของหลักสูตรวิทยาการคานวณ นักเรียนช้ันประถมศึกษาปีที่ 1 – ชั้น
ประถมศึกษาปีท่ี 6 ของโรงเรยี นวัดทา่ มะขามและผทู้ ีส่ นใจ ในชว่ งสถานการณ์โรคตดิ เชอ้ื ไวรัสโคโรนา่ (Covid-
19)

5.1.7 เป็นการกระตุ้นครูผู้สอนให้สนใจใฝ่รู้สืบเสาะหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาตนเองอย่าง
ตอ่ เนอ่ื งและนาส่ิงใหม่ๆมาใชเ้ พื่อพฒั นาการเรียนการสอนวิทยาการคานวณให้มี ประสิทธภิ าพและประสิทธผิ ล

5.2 สาหรบั นักเรียน
5.2.1 เป็นส่ือท่ีนักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองหรือเป็นกลุ่ม ได้

ตลอดเวลาเพื่อสรา้ งทกั ษะชีวิตและทักษะทางสังคม
5.2.2 เป็นส่ือท่ีสามารถใช้กระบวนการคิดได้อย่างหลากหลายโดยเฉพาะการคิด วิเคราะห์

และ การคดิ สร้างสรรค์ ซ่ึงเป็นการคดิ ขนั้ สงู สดุ
5.2.3 นักเรยี นรู้จกั ใชเ้ วลาวา่ งให้เป็นประโยชนส์ าหรบั ฝกึ ทกั ษะการอ่านและการคิด

5.3 สาหรับผ้ปู กครอง
5.3.1 เป็นส่ือที่ลดภาระของผู้ปกครองและเป็นส่ือท่ีสามารถศึกษาได้ตลอดเวลา ในช่วง

สถานการณ์โรคติดเช้ือไวรสั โคโรน่า (Covid-19)
5.3.2 เป็นส่ือทีช่วยกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เพิ่มเติมได้องค์ความรูท้ างวชิ า วิทยาศาสตร์ เกิด

ความสนใจใฝ่รู้ รจู้ กั สืบเสาะหาความรู้ อยากรอู้ ยากเห็นไปพร้อม ๆ กบั บุตรหลาน

6. ปัจจัยความสาเร็จในการดาเนินงานผลงานหรือนวัตกรรม
6.1 บุคลากรท่ีมีส่วนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนประสบผลสาเร็จ คือ ผู้บริหาร โรงเรียนวัด

ท่ามะขามท่ีมีการสนับสนุนและส่งเสรมิ ใหจ้ ัดกิจกรรมการเรยี นรู้ท่ีหลากหลายตามศกั ยภาพของผู้เรียนสง่ เสริม
สนับสนุนให้ ครู ผู้จัดทาส่ือ /นวัตกรรมเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ในช่วง สถานการณ์โรคติดเช้ือไวรัสโคโร
น่า (Covid-19)

6.2 ใช้หลักการจัดกิจกรรมแบบมีส่วนร่วมโดยอาศัยความร่วมมือของผู้บริหาร ครู นักเรียน โรงเรียน
วัดท่ามะขาม ผู้ปกครอง และ ชุมชนหรือหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้อง ร่วมกันวางแผนเตรียมความพร้อมการเรียน
ในชว่ งสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรสั โคโรน่า (Covid-19)

6.3 ผู้บริหารโรงเรยี นวัดท่ามะขาม ใหก้ ารนิเทศ ตดิ ตาม และเยี่ยมช้นั เรยี นอย่างกัลยาณมิตร สง่ เสริม
สนับสนนุ การจดั กจิ กรรม อยา่ งต่อเนื่อง ลงพืน้ ทเี่ ยย่ี มบ้านนักเรียนทว่ั ถงึ ทุกคน

10

6.4 การดาเนินการพัฒนานวัตกรรมให้สาเร็จลุล่วงเกิดสัมฤทธิ์ผลอย่างมีประสิทธิภาพและ เกิด
ประสิทธิผลน้ัน จะต้องอาศัยความร่วมมือท่ีดีจากทุกภาคส่วนท่ีเก่ียวข้อง ต้องเข้ามามีส่วนร่วมใน การจัดการ
ศึกษาในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid-19) อีกท้ัง ผู้บริหาร ครูผู้สอนและผู้ปกครองมี ส่วน
สาคัญที่จะต้องค่อยๆ ปลกู ฝงั ใหน้ ักเรียนเกดิ การเรียนรูอ้ ยา่ งต่อเนื่อง

7. บทเรยี นทไ่ี ด้รับ
7.1 ผเู้ รียนได้ศกึ ษาเทคโนโลยี โดยใชค้ วามรดู้ ้าน ICT มาประยุกต์ใช้ในการเรียนวิชาวทิ ยาศาสตร์และ

สามารถศึกษาเรียนรู้เพ่ิมเติมได้ด้วยตนเองได้ตลอดเวลา โดยใช้การจัดการเรียนการสอน ผ่านสื่อออนไลน์
เว็บไซต์ “กจิ กรรมสปั ดาหว์ ิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ โดย Google sites” ดว้ ย Google Site ให้เปน็ ประโยชน์
ในการแลกเปลีย่ น เรียนรูด้ า้ นการจดั กจิ กรรมการเรียนการสอน และสามารถเผยแพร่ให้ผ้อู ่ืนไดศ้ ึกษา

7.2 นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนผ่านสื่อออนไลน์เว็บไซต์ “กิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ โดย Google sites” ด้วย Google Site รายวิชาวิทยาศาสตร์ ทาให้นักเรียนมีส่วนร่วมใน
กระบวนการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ อย่างมีระบบส่งผลให้พัฒนาคุณภาพนักเรียนพัฒนาทักษะกระบวนการคิด
ผสมผสาน วิทยาการใหม่ ในการศึกษาหาความรู้ และพัฒนาเป็นความรู้ที่คงทนตลอดไป ในช่วงสถานการณ์
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา่ (Covid-19)

7.3 นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนผ่านสื่อออนไลน์เว็บไซต์ “กิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์
วทิ ยาศาสตร์ โดย Google sites” ด้วย Google Site รายวิชาวิทยาการคานวณเปน็ สื่อในการจัดกิจกรรม การ
เรียนรู้การปลูกฝังให้ผู้เรียนรู้จกั การอ่าน ฟัง และการเขียนความรู้เน้ือหาลงบทเรียนใบงานที่ครูผู้สอนได้ให้ใน
แตล่ ะสัปดาห์

7.4 ในการนานวัตกรรมไปใช้นั้น ครูต้องจัดการเรียนรู้แบบให้นักเรียนปฏิบัติจริง นักเรียนเป็น
ศูนย์กลางการเรียนรู้ โดยวิธีการท่ีหลากหลาย เน้น วิธีสอนแบบศูนย์การเรียน ( Learning Center) คือ การ
สอนท่ีเน้นความสาคัญของนักเรียนหรือยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางและใช้เทคนิคการจัดการ เรียนการสอนท่ีใช้
สื่อประสมและกระบวนการกลุ่มเป็นสิ่งสาคัญ เพ่ือส่งเสริมให้การเรียนการสอนมี ชีวิตชีวาช่วยให้ผู้เรียนได้
ศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ด้วยตนเอง เพ่ือส่งเสริมให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วย ตนเอง เช่น การสอน การลงมือ
ปฏบิ ัตจิ รงิ จะชว่ ยให้นกั เรียนเกิดความรู้ (K) ทักษะการทางาน(P) และ เกิดเจตคติทดี่ ี (A) ในการทางานตา่ งๆ ที่
ครูมอบหมาย

8. การเผยแพร่
การจัดการเรียนการสอนผ่านสื่อออนไลน์ด้วย เว็บไซต์ “กิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ โดย
Google sites” ในรายวชิ าวิทยาศาสตร์ นกั เรียนชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 1 – ช้ันประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียน
วัดทา่ มะขามและผทู้ ส่ี นใจ สามารถนามาบูรณา การ ร่วมกับกลุม่ สาระอ่นื ๆ ในการจัดการเรียนการสอนผา่ นสื่อ
ออนไลน์ดว้ ย เวบ็ ไซต์ เว็บไซต์ “กิจกรรมสปั ดาห์วทิ ยาศาสตรว์ ทิ ยาศาสตร์ โดย Google sites” ของนักเรียน

11

9. ภาคผนวกทเี่ ก่ียวขอ้ งกับผลงานหรอื นวตั กรรม

ภาพท่ี 1 ตัวอยา่ ง เว็บไซต์ “กจิ กรรมสัปดาหว์ ทิ ยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ โดย Google sites”
ภาพท่ี 2 การเผยแพร่ “กิจกรรมสัปดาหว์ ิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ โดย Google sites” ใน Facebook

12

ภาพที่ 3 การเผยแพร่ “กิจกรรมสปั ดาห์วทิ ยาศาสตรว์ ทิ ยาศาสตร์ โดย Google sites” ใน Line กลุม่ ผู้ปกครอง
ภาพที่ 4 เกียรติบัตร “กจิ กรรมสปั ดาห์วิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ โดย Google sites”


Click to View FlipBook Version