คำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
“ภาษาเขมร”
ภาษาเขมร
ชาวเขมรเป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
มีมากที่สุดในประเทศกัมพูชา คิดเป็น ๙๐% ของทั้งประเทศชาวเขมร
จะใช้ภาษาเขมรในการสื่อสาร ซึ่งเป็นภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเชีย
ติก ที่พบได้ในแถบตอนกลางของอินเดีย, บังกลาเทศ, ในเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้, ตอนใต้ของจีน และในหมู่เกาะจำนวนมากของมหาสมุทรอินเดีย
ชาวเขมรส่วนใหญ่เป็นผู้นับถือศาสนาพุทธในรูปแบบเขมร
และการผสานความเชื่อที่ผสมผสานองค์ประกอบของพุทธศาสนาเถรวาท,
ศาสนาฮินดู, ศาสนาผี และการเคารพคนตาย
ชาวเขมรเริ่มมีบทบาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลังจาก
ชาวมอญไม่นาน โดยเข้ามาแทนที่กลุ่มชาติพันธุ์ที่พูด
ภาษาในกลุ่มภาษามอญ-เขมรและตระกูลภาษาออสโตรนี
เซียนและสร้างจักรวรรดิเขมรขึ้นในอดีต ชาวเขมรยังแบ่ง
ได้เป็นกลุ่มย่อย ๓ กลุ่มตามประเทศและภาษาที่ใช้คือชาว
เขมรในกัมพูชา พูดภาษาเขมร ชาวเขมรเหนือหรือเขมร
สุรินทร์อยู่ในประเทศไทย และพูดภาษาเขมรที่เป็น
สำเนียงของตนเองและพูดภาษาไทยด้วย ชาวขแมร์กรอม
เป็นชาวเขมรที่อยู่ทางภาคใต้ของเวียดนาม
พูดภาษาเขมรที่เป็นสำเนียงของตนเองและพูดภาษา
เวียดนาม บางส่วนอพยพเข้าสู่กัมพูชาเพราะถูกบังคับ
หรือหนีระบอบคอมมิวนิสต์ในเวียดนาม
ภาษาเขมรเป็นภาษาคำโดด จัดอยู่ในตระกูลมอญ-เขมร
คำดั้งเดิมส่วนใหญ่เป็น คำพยางค์เดียวและเป็นคำโดด
ถือเอาการเรียงคำเข้าประโยคเป็นสำคัญเช่นเดียวกับ
ภาษาไทย แต่มีลักษณะบางอย่างต่างไปจากภาษาไทย
การสังเกตคำเขมรที่ใช้ในภาษาไทย
มีดังนี้
๑. มักจะสะกดด้วย จ ญ ร ล เช่น เผด็จ บำเพ็ญ กำธร ถกล ตรัส
๒. มักเป็นคำควบกล้ำ เช่น ไกร ขลัง ปรุง
๓. มักใช้ บัง บัน บำ บรร นำหน้าคำที่มีสองพยางค์ เช่น
บัง-บังคับ บังคม บังเหียน บังเกิด บังคล บังอาจ
บัน-บันได บันโดย บันเดิน บันดาล บันลือ
บำ-บำเพ็ญ บำบัด บำเหน็จ บำบวง
บรร-บรรจง บรรทัด บรรทม
๔. นิยมใช้อักษรนำ เช่น สนุก สนาน เสด็จ ถนน เฉลียว เป็นต้น
๕. คำเขมรส่วนมากใช้เป็นราชาศัพท์ เช่น ขนง ขนอง เขนย เสวย
บรรทม เสด็จ โปรด เป็นต้น
๖. มักแผลงคำได้ เช่น
- ข แผลงเป็น กระ เช่น ขดาน-กระดาน ขจอก-กระจอก
- ผ แผลงเป็น ประ เช่น ผสม-ประสม ผจญ-ประจญ
- ประ แผลงเป็น บรร เช่น ประทม-บรรทม ประจุ-บรรจุ
ประจง-บรรจง
การยืมคำของเขมรมาใช้ในภาษาไทย
๑. ยืมมาใช้โดยตรง เช่น กระดาน กระท่อม กะทิ บัง โปรด ผกา เป็นต้น
๒. ยืมเอาคำที่แผลงแล้วมาใช้ เช่น กังวล บำบัด แผนก ผจัญ
๓. ยืมทั้งคำเดิมและคำที่แผลงแล้วมาใช้ เช่น เกิด-กำเนิด ขลัง-กำลัง
เดิน-ดำเนิน ตรา-ตำรา บวช-ผนวช
๔. ใช้เป็นคำสามัญทั่วไป เช่น ขนุน เจริญ ฉงน ถนอม สงบ เป็นต้น
๕. ใช้เป็นคำในวรรณคดี เช่น ขจี เชวง เมิล สดำ สลา เป็นต้น
๖. ใช้เป็นคำราชาศัพท์ เช่น เขนย ตรัส ทูล บรรทม เสวย เป็นต้น
๗. นำมาใช้ทั้งเป็นภาษาพูดและภาษาเขียน
ตัวอย่างภาษาเขมรในภาษาไทย
กระชับ กระโดง กระเดียด กระบอง กระบือ
กระท่อม กระโถน กระพัง ตระพัง ตะพัง กระเพาะ
กระแส กังวล กำจัด กำเดา รัญจวน ลออ สกัด
สนอง สนุก สดับ สบง สังกัด สไบสำราญ สรร
สำโรง แสวง แสดง กำแพง กำลัง ขนาน ขจี
โขมด จัด เฉพาะ ฉบับ เชลย โดยทรวง ถนน
บายศรี ประกายพรึก ปรับ ประจาน โปรด เผด็จ
ผจญ ผจัญ เผอิญ เผชิญ เพ็ญเพลิง เพนียด
ระลอก
ตัวอย่างประโยค
๑.ข้าได้ยินมาว่ากระท่อมกลางป่ าหลังนั้นเป็ นของแม่มดผู้นั้น(กระท่อม)
๒.ฉันกำลังมองดูป่ าไม้สีเขียวขจีที่อยู่ไกลสุดลูกหูลูกตา(ขจี)
๓.เรากำลังขับรถบนถนนเพื่อจะมุ่งหน้ าไปยังทะเล(ถนน)
๔.จดหมายฉบับนี้ที่เพื่อนๆ ทุกคนในห้องเรียนเขียนถึงฉันทำให้ฉันซึ้ง
มาก(ฉบับ)
๕.ขนมโปรดของแม่ฉันคือทองหยิบทองหยอด(โปรด)
๖.ค่ายลูกเสือปี นี้มีฐานมากมายที่ให้ลูกเสือได้ออกผจญภัย(ผจญ)
๗.ฉันได้ยินมาว่าเดือนหน้ าเขาจะปรับราคาค่าอาหารขึ้น(ปรับ)
๘.มีอาร์เผอิญเจอเพื่อนเก่าสมัยมัธยม(เผอิญ)
๙.เติร์ดถูกประจานถึงพฤติกรรมแย่ๆ ที่ทำตอนเรียนประถม(ประจาน)
๑๐.คืนนี้หมู่บ้านจักรพงษ์มีการแข่งขันการทำบายศรี(บายศรี)
แหล่งอ้างอิง
http://www.digitalschool.club/digitalschool/m3/th3_1
/lesson2/content1/content02.php
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/mcjou/article/view/249154
สมาชิก
๑.น.ส.ญาณิศา จันทร์ดี เลขที่ ๒
๒.น.ส.อภิชญา วงค์จันต๊ะ เลขที่๕
๓.น.ส.ปัญญาพร พรมเมืองดี เลขที่๗
๔.น.ส.อภิญญา หมื่นโฮ้ง เลขที่๑๖
๕.น.ส.จิรชญา เพชรสุทธิ์ เลขที่๑๗
๖.น.ส.สุพรรษา ลินะ เลขที่๒๒
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓.๑