The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมการรวมกลุ่มภายใต้โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (เกษตรผสมผสาน)จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ พ.ศ.2566

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมการรวมกลุ่มภายใต้โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (เกษตรผสมผสาน)จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ พ.ศ.2566

สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมการรวมกลุ่มภายใต้โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (เกษตรผสมผสาน)จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ พ.ศ.2566

สรุปผลการดำเนินงาน กิจกรรมการรวมกลุ่ม ภายใต้โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (เกษตรผสมผสาน) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รวบรวมและจัดทำโดย : กลุ่มยุทธศาสตร์พัฒนาการเกษตร สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


คำนำ ด้วยสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับมอบหมายจากกองนโยบาย เทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินกิจกรรมการ รวมกลุ่ม ภายใต้โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (เกษตรผสมผสาน) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายผลการดำเนินกิจกรรมเกษตรผสมผสานให้กับเกษตรกร ส่งเสริมให้ เกษตรกรมีความรู้และทักษะ สามารถดำเนินกิจกรรมเกษตรผสมผสาน และพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรให้ได้ มาตรฐาน เพื่อสร้างมูลค่าและรายได้ให้กับเกษตรกร และเพิ่มศักยภาพในการดำเนินกิจกรรมเกษตรผสมผสาน ให้กับเกษตรกร ในรูปแบบกลุ่มเกษตรกร จำนวน 1 กลุ่ม เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมสอดคล้องกับงบประมาณที่ ได้รับจัดสรรและเป้าหมายที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดไว้ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้คัดเลือกเกษตรกรกลุ่มปลูกผักพื้นบ้าน ปลอดภัยจากสารพิษ ตำบลสิงหนาท อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เข้าร่วมโครงการพัฒนา เกษตรกรรมยั่งยืน (เกษตรผสมผสาน) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กิจกรรมการ รวมกลุ่ม เกษตรกรต้องทำการเกษตรในรูปแบบเกษตรผสมผสาน มีความสนใจเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐาน สินค้าเกษตร ทั้งนี้ ขอขอบคุณหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบพื้นที่ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้สำเร็จลุล่วงเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ด้วยดีมา ณ โอกาสนี้ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มยุทธศาสตร์พัฒนาการเกษตร กันยายน พ.ศ. 2566


สารบัญ หน้า คำนำ รายงานชุดที่ 1 รายงานข้อมูลทั่วไปของกลุ่มเกษตรกร 1 รายงานชุดที่ 2 รายงานผลการจัดเวทีของกลุ่มเกษตรกร 3 รายงานชุดที่ 3 แผนปฏิบัติการของกลุ่มเกษตรกร 5 รายงานชุดที่ 4 รายงานสรุปผลการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร 6 รายงานการประชุมการจัดเวทีเพื่อให้กลุ่มเกษตรกรนำเสนอผลการปฏิบัติงาน 8 ภาคผนวก แนวทางการดำเนินกิจกรรมการรวมกลุ่ม ภายใต้โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน 11 (เกษตรผสมผสาน) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โครงการพัฒนาเกษตรกรมยั่งยืน (เกษตรผสมผสาน) กิจกรรมการรวมกลุ่ม 16 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ภาพกิจกรรมการดำเนินงานกิจกรรมการรวมกลุ่ม ภายใต้โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน 19 (เกษตรผสมผสาน) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566


1 รายงานชุดที่ ๑ รายงานข้อมูลทั่วไปของกลุ่มเกษตรกร ข้อมูลทั่วไป ๑. ชื่อกลุ่มเกษตรกร กลุ่มปลูกผักพื้นบ้านปลอดภัยจากสารพิษ ๒. สถานที่ตั้งของกลุ่ม บ้านเลขที่ 51 หมู่ที่ 5 บ้าน หลุมทองหลาง ตำบล สิงหนาท อำเภอ ลาดบัวหลวง จังหวัด พระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13230 เบอร์โทรศัพท์ 0812676989 E-mail address - ๓. ประวัติความเป็นมา ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา และมีการปลูกผักพื้นบ้านส่งขายตลาดไท และ สี่มุมเมือง โดยผ่านพ่อค้าคนกลาง ซึ่งถูกกดราคาเป็นอย่างมาก จึงได้เกิดความคิดที่รวมกลุ่มกันเพื่อหาช่องทาง การตลาดใหม่ ได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่เกษตรแนะนำบริษัทที่ส่งออก จึงมีการรวมกลุ่มและพัฒนาสินค้าให้ สามารถส่งออกได้ ปัจจุบันจดทะเบียนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสินค้าทั้งหมด 100% ส่งต่างประเทศ โดยมีบริษัทตัวแทน เข้ามารับซื้อสินค้า 9 บริษัท ผักทุกชนิดได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP กำหนดเป็นราคาเดียวตลอดทั้งปี วันที่จัดตั้งกลุ่ม พ.ศ. 2563 จำนวนสมาชิกทั้งหมด 20 คน จำนวนสมาชิกที่ผ่านการอบรมจากศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านทั้งหมด 8 คน ๔. วัตถุประสงค์ เพื่อให้มีผลผลิตเพียงพอต่อความต้องการของตลาดและมีอำนาจต่อรองราคา ลดการแข่งขันกันเอง และยังสามารถได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและองค์การต่าง ๆ ได้อีกด้วย ทำให้เกิดความสามัคคีในชุมชน ทำให้ ชุมชนเกิดความเข้มแข็งในเรื่องเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ ๕. โครงสร้างการบริหารจัดการกลุ่ม รายชื่อสมาชิกทั้งหมดประกอบด้วย ประธาน ชื่อ นายโชติ สายด้วง เบอร์โทรศัพท์ 0812676989 ผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์ปราชญ์เกษตรช้างใหญ่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 รองประธาน ชื่อ นายบัญชา พวงสมบัติ เบอร์โทรศัพท์ 0898043854 ผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์ ....................................................... ปีงบประมาณ พ.ศ. ............... กรรมการ ชื่อ นายไผ่รุ่ง แต้เก่ง เบอร์โทรศัพท์ 0861045697 ผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์ ....................................................... ปีงบประมาณ พ.ศ. ............... กรรมการ ชื่อ นางสาววัชราภรณ์ มีสมบูรณ์ เบอร์โทรศัพท์ 0859624109 ผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์ ....................................................... ปีงบประมาณ พ.ศ. ...............


2 กรรมการ ชื่อ นางชะม้อย สายด้วง เบอร์โทรศัพท์ 0818482585 ผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์ ....................................................... ปีงบประมาณ พ.ศ. ............... กรรมการ ชื่อ นางสาววัชรา เปลี่ยนรัศมี เบอร์โทรศัพท์ 1892113179 ผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์ ....................................................... ปีงบประมาณ พ.ศ. ............... กรรมการ ชื่อ นางสาววันนา วงษ์สุดี เบอร์โทรศัพท์ 0616734308 ผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์ ....................................................... ปีงบประมาณ พ.ศ. ............... ๖. กิจกรรมทางการเกษตรของกลุ่มเกษตรกร ปลูกผักพื้นบ้านปลอดภัยจากสารพิษ ได้รับการรับรองมาตรฐาน (GAP) ส่งต่างประเทศ โดยผ่านบริษัท ตัวแทนผู้ส่งออก ประเทศที่ส่งแถบทวีปยุโรป มีอังกฤษ เยอรมัน สวิสเซอร์แลนด์ ฯลฯ


3 รายงานชุดที่ 2 รายงานผลการจัดเวทีของกลุ่มเกษตรกร ชื่อกลุ่มเกษตรกร กลุ่มปลูกผักพื้นบ้านปลอดสารพิษ ตำบลสิงหนาท อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดเวทีของกลุ่มเกษตรกร เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566 ๑. วิเคราะห์กิจกรรม/ผลที่ได้รับในการดำเนินงานที่ผ่านมา (กลุ่มใหม่) สมาชิกกลุ่มประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนาเป็นอาชีพหลัก ปลูกผักพื้นบ้านเป็นอาชีพเสริม และได้ รับรองมาตรฐาน GAP และเป็นสินค้าส่งขายต่างประเทศ ส่วนผักที่ตกเกรดส่งพ่อค้าขายภายในประเทศ แต่ราคาไม่ แน่นอนและไม่สูง จึงอยากหาวิธีแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า และขยายช่องทางการตลาดเพื่อสร้างรายได้ให้กับสมาชิก .๒. ประเมินจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัดของกลุ่ม 2.1 จุดแข็ง 2.1.1 ประธานกลุ่มมีภาวะผู้นำ มีบทบาทหน้าที่ในสังคมหลายด้าน 2.1.2 สมาชิกกลุ่มมีความสามัคคี เชื่อมั่นในตัวผู้นำ พร้อมปรับเปลี่ยน 2.1.3 สมาชิกส่วนใหญ่มีองค์ความรู้ด้านการเกษตร 2.1.4 มีวัตถุดิบในชุมชน 2.2 จุดอ่อน 2.2.1 สมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุทำให้ยากต่อการส่งเสริมพัฒนาอาชีพ และพัฒนาองค์ความรู้ 2.2.2 ขาดผู้สืบสานต่อทางการเกษตร 2.3 โอกาส 2.3.1 หน่วยงานภาครัฐ เอกชนเข้ามาให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง 2.3.2 อยู่ใกล้ตลาดที่รับซื้อสินค้าเกษตร 2.3.3 สินค้าเกษตรได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP 2.4 ข้อจำกัด 2.4.1 ราคาผันผวน 2.4.2 มีคู่แข่งสูง ๓. ปัญหา และอุปสรรคของกลุ่ม - ต้นทุนการผลิตสูง - เงื่อนไขในการส่งออกสูง และเปลี่ยนแปลงตลอด - สมาชิกขาดความชำนาญในการประกอบอาชีพอื่น - นโยบายของรัฐมีผลกระทบในการส่งออก


4 ๔. แนวทางการแก้ไข และแนวทางพัฒนากลุ่ม - ส่งเสริมให้เกษตรกรมีองค์ความรู้ และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร - ส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้เรื่องการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่มาใช้ในการทำการเกษตร - ส่งเสริมองค์ความรู้ในการลดต้นทุนทางการผลิต - ส่งเสริมองค์ความรู้เรื่องการตลาด


รายงานชุดที่ ๓ แผนปฏิบ นักกิจกรรม หัวข้อกิ(โป1. จัดกระบวนการกลุ่มและจัดเวทีชี้แจงทำความเข้าใจกลุ่มเกษตรกรในการ ดำเนินกิจกรรมกลุ่ม โดยสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด และให้ความรู้ การเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร โดยวิทยากรจากหน่วยงาน ของกรมวิชาการเกษตร (การผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม GAP หรือ มาตรฐานอื่น ๆ ของกรมวิชาการเกษตร) หรือหน่วยงานของกรมพัฒนาที่ดิน (ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม PGS) ในพื้นที่ เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรเลือก เข้าสู่ระบบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร มาตรฐานใดมาตรฐานหนึ่ง -จัดเวทีแบจัดทำแผนปอบรมและกิ2. จัดกระบวนการเรียนรู้ด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาด เพื่อเข้าสู่ ระบบการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรที่กลุ่มเกษตรกรได้เลือกไว้ โดยใช้ วิทยากร จากหน่วยงานของกรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมวิชาการ และ กรมพัฒนาที่ดิน ในพื้นที่ -การฝึกอบรได้กำหนด -พัฒนาการให้เป็นไปตา3. ให้ความรู้เรื่องการจัดทำบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพ และพัฒนาเป็นแหล่ง เรียนรู้ด้านบัญชี ภายใต้งบประมาณที่กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ได้รับจัดสรรใน โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (เกษตรผสมผสาน) ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ -จัดฝึกอบรต้นทุนประกรวมงบประมาณ


บัติการของกลุ่มเกษตรกร นางสุพัตรา เฉลิมสาร วิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ กิจกรรม/วิชา ปรดระบุ) ระยะเวลา ดำเนินงาน งบประมาณ หน่วยงานหลัก หน่วยงาน สนับสนุน บบมีส่วนร่วมเพื่อ ปฏิบัติงานการฝึก จกรรมการสาธิต ก.ค. - ส.ค. 66 30,000 สนง.กษ.อย. รมหลักสูตรตามที่ รผลิตสินค้าเกษตร ามกลไกการตลาด ส.ค. - ก.ย. 66 สนง.กษ.อย. รมการจัดทำบัญชี กอบอาชีพ มีนาคม 2566 สนง.ตรวจบัญชี สหกรณ์ 30,000 5


6 รายงานชุดที่ 4 รายงานสรุปผลการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร ชื่อกลุ่มเกษตรกร กลุ่มปลูกผักพื้นบ้านปลอดภัยจากสารพิษ จังหวัด พระนครศรีอยุธยา จัดเวทีสรุปผลการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2566 (แนบรายงานการประชุม) ๑. องค์ความรู้ที่นำมาใช้เพื่อเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรที่กลุ่มเกษตรกรได้เลือกไว้ (ด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาด) สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้จัดเวทีให้เกษตรกรนำเสนอผลการ ปฏิบัติงานและสรุปผลการดำเนินงานกลุ่มปลูกผักพื้นบ้านปลอดภัยจากสารพิษ ตำบลสิงหนาท อำเภอลาดบัว หลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้นำเสนอผลการดำเนินงานของกลุ่มในช่วงที่ผ่านมาให้แก่หน่วยงานและสมาชิก กลุ่มได้รับทราบเพื่อหาแนวทางพัฒนากลุ่มให้ก้าวหน้าขึ้น และขอรับการสนับสนุนทุนและองค์ความรู้เพื่อพัฒนา ผลิตภัณฑ์ และแปรรูปเพื่อขยายช่องทางการตลาด โดยมีเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด พระนครศรีอยุธยาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมจัดเวทีสรุปผลการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร จำนวน 3 ราย สมาชิกกลุ่ม 20 ราย รายละเอียดผลการประชุมตามรายงานการประชุมที่ได้แนบมาพร้อมนี้ ๒. จำนวนเกษตรกรภายในกลุ่มที่เข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร 20 ราย ๓. ผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเกษตรกรที่เข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร ผลผลิตผักทุกชนิดได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP การทำกะเพราแผ่นปรุงรส และเจลลี่ใบโหระพา โดยการนำผักในกลุ่มมาแปรรูป เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาด และเพิ่มมูลค่าผลผลิต สร้างงานใหม่ให้เกิดขึ้นภายใน กลุ่มและชุมชน ผลิตขายในชุมชน ร้านของฝาก และช่องทางออนไลน์ ๔. ช่องทางการจัดจำหน่ายผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเกษตรกรที่เข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร ช่องทางการจำหน่ายผักทุกชนิดที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP ส่งออกขายกับบริษัทตัวแทน ต่างประเทศส่วนการแปรรูปจะจำหน่ายตลาดในชุมชน ร้านของฝากวัดเจดีย์หอย ช่องทางออนไลน์ ๕. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อกลุ่มเกษตรกร หลังจากที่ได้ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการที่ได้รับการสนับสนุน ๓.๑ ด้านเศรษฐกิจ (เช่น รายรับ-รายจ่าย ต้นทุนการผลิต ราคาผลผลิต การใช้ปัจจัยการผลิต ภาวะหนี้สิน ฯลฯ) - สร้างงาน สร้างอาชีพใหม่ให้กับชุมชน สมาชิกสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อื่นได้อีก 3.2 ด้านสังคม (เช่น การมีส่วนร่วมของสมาชิก การแบ่งหน้าที่ภายในกลุ่ม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯลฯ) - มีการร่วมกิจกรรมของสมาชิก ทำให้ได้มีการพูดคุยถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ได้ร่วมกันหาแนวทางแก้ไข และช่วยเหลือกัน ทำให้เกิดความสามัคคีและเข้มแข็งกายในกลุ่ม 3.3 ด้านสิ่งแวดล้อม - ผักที่นำมาแปรรูปเน้นผักที่ได้ผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP เท่านั้น เพื่อสมาชิกภายในกลุ่มจะได้ลดการ ใช้สารเคมี ๔. สรุปปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนากลุ่มเกษตรกรเพื่อเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร - ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เกษตรกรผู้ผลิตมี สุขภาพอนามัยดีขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วย ผู้บริโภคเชื่อมั่นในสินค้าทาง การเกษตรของประเทศไทย รักษาสภาพแวดล้อม และเกิดระบบการผลิตสินค้าเกษตรแบบยั่งยืน


7 5. ข้อคิดเห็นของเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด 5.1 ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรมการรวมกลุ่ม - เกษตรกรส่วนใหญ่มีอายุมาก ขาดความสนใจที่จะพัฒนาอาชีพด้านการเกษตรในรูปแบบใหม่ ๆ - เวลาในการจัดฝึกอบรมน้อยไป เนื่องจากกลุ่มเกษตรกรต้องตัดผักส่งออเดอร์ทุกวัน 5.2 ข้อเสนอแนะในการดำเนินกิจกรรมการรวมกลุ่มในปีต่อไป - งบประมาณในการดำเนินงานควรเพิ่มให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้เกษตรกรสามารถเรียนรู้ได้หลากหลาย วิชา - ควรให้มีโอกาสได้ไปดูงานยังกลุ่มที่ทำสำเร็จแล้ว เพื่อจะได้นำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในการพัฒนา และ เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายร่วมกันได้


8 รายงานการประชุม การจัดเวทีเพื่อให้กลุ่มเกษตรกรนำเสนอผลการปฏิบัติงาน และสรุปผลการดำเนินงานการรวมกลุ่ม วันอังคารที่ 5 กันยายน 2566 เวลา 09.00 น. ณ กลุ่มปลูกผักพื้นบ้านปลอดภัยจากสารพิษ ตำบลสิงหนาท อำเภอลากบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้มาประชุม 1. นางสุพัตรา เฉลิมสาร นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2. นางกิติมา ประดิษฐกุล ค้าพลอย นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3. นางสาวศิริพร แสงอรุณ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้มาประชุม (สมาชิกกลุ่ม) 1. นายโชติ สายด้วง ประธานกลุ่ม 2. นายบัญชา พวงสวัสดิ์ 3. นางชะม้อย สายด้วง 4. นางสุวรรณ กาฬการ 5. นางสาววรัชรา เปลี่ยนรัศมี 6. นายไพรุ่ง แก้วเก่ง 7. นางเชิญขวัญ สายด้วง 8. นางมาลี ดวงแก้ว 9. นางสาววันทนา พรรณฑูล 10. นางปิยรัตน์ เม่นคล้าย 11. นางสาวสิริวรรณ สายด้วง 12. นางสาวยุพิน ขำประฐม 13. นางพะเยาว์ สายด้วง 14. นางสาวจำเนียร วงศ์สุปไทย 15. นางสาวสมร ดวงแก้ว 16. นางบุญเสริม พรายทองแย้ม 17. นางสุมาลี พรรณฑูล 18. นางนาลิน บุญวัดหงส์ 19. นางน้ำฝน วงษ์อนันต์ 20. นางพรพรรณ เปลี่ยนรัศมี เริ่มประชุมเวลา 09.00 น.


9 การจัดเวทีเพื่อให้กลุ่มเกษตรกรนำเสนอผลการปฏิบัติงาน และสรุปผลการดำเนินงานการรวมกลุ่ม นางวรรณ์ภัสสร ศรีจันทร์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มอบหมายให้กลุ่ม ยุทธศาสตร์พัฒนาการเกษตร โดยนางสุพัตรา เฉลิมสาร นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ ชี้แจงแนวทาง การดำเนินกิจกรรมการรวมกลุ่ม ภายใต้โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (เกษตรผสมผสาน) จังหวัดระนครศรี อยุธยา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดังนี้ 1. การจัดทำเวทีเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการ และให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566 2. การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ จัดฝึกอบรมและกิจกรรมสาธิต 2 วิชา ได้แก่ วิชากะเพราแผ่น อบปรุงรส และวิชาเจลลี่ใบโหระพา เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2566 3. การติดตามผล โดยให้กลุ่มเกษตรกรนำเสนอผลงานและรายงานความก้าวหน้าของกลุ่มเกษตรกร เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2566 สมาชิกกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติงาน และสรุปผลการดำเนินงานการรวมกลุ่ม ผลผลิตผักทุกชนิด ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP การทำกะเพราแผ่นอบปรุงรส และเจลลี่ใบโหระพา การนำผักในกลุ่มมาแปรรูป เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาด และเพิ่มมูลค่าผลผลิต สร้างงานใหม่ให้เกิดขึ้นภายในกลุ่มและชุมชน กิจกรรมฝึกอบรม และสาธิตที่ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ มีข้อแนะนำดังนี้ 1. กลิ่นสมุนไพรแรงเกินไป 2. ความร้อนมากเกินไป ทำให้กะเพราแผ่นอบปรงุรสไหม้ 3. เก็บไว้นานมีกินเหม็นหืน ช่องทางการตลาดการจัดจำหน่ายผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเกษตรกรที่เข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐาน สินค้าเกษตร ช่องทางการจำหน่ายผักทุกชนิดที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP ส่งออกขายกับบริษัทตัวแทน ต่างประเทศส่วนการแปรรูปจะจำหน่ายตลาดในชุมชน ร้านของฝากวัดเจดีย์หอย ช่องทางออนไลน์ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อกลุ่มเกษตรกร หลังจากที่ได้ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการที่ได้รับการสนับสนุน ด้านเศรษฐกิจ (เช่น รายรับ-รายจ่าย ต้นทุนการผลิต ราคาผลผลิต การใช้ปัจจัยการผลิต ภาวะหนี้สิน ฯลฯ) - สร้างงาน สร้างอาชีพใหม่ให้กับชุมชน สมาชิกสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อื่นได้อีก ด้านสังคม (เช่น การมีส่วนร่วมของสมาชิก การแบ่งหน้าที่ภายในกลุ่ม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฯลฯ) - มีการร่วมกิจกรรมของสมาชิก ทำให้ได้มีการพูดคุยถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ได้ร่วมกันหาแนวทางแก้ไขและ ช่วยเหลือกัน ทำให้เกิดความสามัคคีและเข้มแข็งกายในกลุ่ม ด้านสิ่งแวดล้อม - ผักที่นำมาแปรรูปเน้นผักที่ได้ผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP เท่านั้น เพื่อสมาชิกภายในกลุ่มจะได้ลดการใช้ สารเคมี


10 สรุปปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนากลุ่มเกษตรกรเพื่อเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เกษตรกร ผู้ผลิตมีสุขภาพอนามัยดีขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วย ผู้บริโภคเชื่อมั่นในสินค้าทาง การเกษตรของประเทศไทย รักษาสภาพแวดล้อม และเกิดระบบการผลิตสินค้าเกษตรแบบยั่งยืน ข้อเสนอแนะในการดำเนินกิจกรรมการรวมกลุ่มในปีต่อไป 1. งบประมาณในการดำเนินงานควรเพิ่มให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้เกษตรกรสามารถเรียนรู้ได้ หลากหลายวิชา 2. ควรให้มีโอกาสได้ไปดูงานยังกลุ่มที่ทำสำเร็จแล้ว เพื่อจะได้นำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในการพัฒนา และเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายร่วมกันได้ สมาชิกกลุ่มต้องการไปศึกษาดูงานแหล่งผลิตเมล็ดผักบุ้ง ลงชื่อ.......................................................ผู้จัดทำสรุปผลการประชุม (นางสุพัตรา เฉลิมสาร) นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ ว่าที่ร้อยตรี...................................................ผู้ตรวจรายงานการประชุม (อุเทน สีลาเม) หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์พัฒนาการเกษตร


ภาคผนวก


16


17


18


19 ภาพกิจกรรมการจัดเวทีแบบมีส่วนร่วมเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติงานกลุ่มฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566 ณ กลุ่มปลูกผักพื้นบ้านปลอดภัยจากสารพิษ ตำบลสิงหนาท อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


20


21


22 ภาพกิจกรรมการฝึกอบรมและการสาธิต ฝึกปฏิบัติและการสาธิตการทำกะเพราแผ่นอบปรุงรส เจลลี่ใบโหระพา เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2566 ณ กลุ่มปลูกผักพื้นบ้านปลอดภัย จากสารพิษ ตำบลสิงหนาท อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


23


24


25


26


27


28


29


30 ภาพกิจกรรมการจัดเวทีนำเสนอผลการปฏิบัติงานของกลุ่มเกษตรกร และสรุปผลการดำเนินงานการรวมกลุ่ม วันที่ 5 กันยายน 2566 ณ กลุ่มปลูกผักพื้นบ้านปลอดภัยจากสารพิษ ตำบลสิงนาท อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


31


32


33


คณะผู้จัดทำ ที่ปรึกษา นางวรรณ์ภัสสร ศรีจันทร์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้รวบรวมข้อมูล ว่าที่ร้อยตรีนายอุเทน สีลาเม นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ นางสุพัตรา เฉลิมสาร นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ ผู้วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงาน นางสุพัตรา เฉลิมสาร นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ นาวสาวศิริพร แสงอรุณ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน


Click to View FlipBook Version