The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by นุสราสินี ณ พัทลุง, 2019-06-04 03:01:34

e-bookunit1

e-bookunit1

แผนการจัดการเรียนรู้ มนี วทิ ยา
หนว่ ยที่ 1 ความร้เู บ้ืองต้นเกย่ี วกบั มนี วทิ ยา

ครูนสุ ราสนิ ี ณ พทั ลงุ
วทิ ยาลยั เทคโนโลยกี ารเกษตรและประมงปตั ตานี

1

ICHTHYOLOGY

หนว่ ยท1่ี
ความรเู้ บ้อื งตน้ เกย่ี วกบั มนี วทิ ยา Introduction Ichthyology

จดุ ประสงคเ์ ชงิ พฤตกิ รรม
1. นกั ศึกษาสามารถบอกความหมายของมีนวิทยาได้
2. นกั ศกึ ษาสามารถอธิบายประวัติการศึกษามนี วทิ ยาได้
3. นักศึกษาสามารถจาแนกรายละเอียดของปลาได้
4. นกั ศกึ ษาสามารถอธบิ ายการดารงชีวิตของปลาได้
5. นักศกึ ษาสามารถบอกประโยชน์และโทษของปลาได้
6. นักศกึ ษามีความสนใจใฝร่ ู้ มคี วามรบั ผดิ ชอบเรยี นรู้ด้วยความซือ่ สัตย์ มีคุณธรรมและมีมนุษย์
สมั พนั ธ์ ดาเนินชวี ติ ตามหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง

มีนวทิ ยา (Ichthyology) หมายถงึ ความรู้เกย่ี วกบั ปลาหรือวชิ าท่ศี ึกษาเก่ียวกบั ปลา
ประวตั ิการศกึ ษามีนวทิ ยา

จุดเริ่มต้นของการศึกษามีนวิทยาอย่างเป็นแบบแผนเริ่มในสมัยกรีกโบราณ บุคคลแรกที่
ศึกษาคือ อะริสโตเติล (384-322 ก่อนคริสต์ศักราช) ปราชญ์ชาวกรีก ได้ศึกษาและบันทึกเรื่องราว
ทางชีววิทยาจนได้ชื่อว่าเป็นบิดาทางชีววิทยาและบิดาทางสัตวศาสตร์ อะริสโตเติลได้ใช้วิธีการทาง
วิทยาศาสตรค์ ้นควา้ หาความจริงต่างๆ ของส่ิงมีชีวิต สาหรับด้านสตั วศาสตร์ก็ใชว้ ิธีการสงั เกต ทดลอง
ผา่ ตัดอวัยวะภายใน ศึกษาการอพยพย้ายถนิ่ การสบื พันธุ์ของสัตว์ตา่ งๆ รวมท้ังความรู้ที่เก่ียวกับปลา
ก็มีการบันทึกโดยละเอียดถี่ถ้วนและถูกต้อง ยกเว้นชื่อปลาบางชนิดที่อาจมีความคลาดเคลื่อนบ้าง
เพราะต้องอาศยั การสอบถามจากชาวประมง จงึ ไมม่ คี วามแน่นอนนกั

หลักวิชามีนวิทยาได้มีการรวบรวมจัดพิมพ์และปรับปรุง โดยอ้างอิงผลงานของอะริสโตเติล
ตลอดมา นักวิทยาศาสตร์รุ่นหลัง ได้มีการค้นคว้าเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ข้ึนและยึดถือเป็นตาราศึกษากัน
มาจนกระทั่งทุกวันน้ี จึงเป็นท่ียอมรับกันว่า อะริสโตเติลเป็นนักมีนวิทยาคนแรก ซึ่งควรจะได้รับการ
ยกย่อง (จนิ ดา,2525; พชิ ยา,2555)

ศตวรรษท่ี17-18 ใน ค.ศ. 1686 ฟรานซิส วิลโลบี นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษได้พิมพ์
ผลงานเก่ียวกับชีวประวัติของปลาอังกฤษโดยได้จาแนกพรรณปลาไว้จานวน 420 ชนิด อย่างเป็น
ระบบและมีข้ันตอนที่น่าเช่ือถือ งานช้ินนไ้ี ด้ใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษาแก่นักมีนวทิ ยารุ่นต่อๆ มาเป็น
อย่างดี โดยเฉพาะปีเตอร์ อาร์เทดิ (ค.ศ.1705-1735) ได้ใช้พื้นฐานจากวิลโลบีมาปรับปรุงและตั้ง

วทิ ยาลยั เทคโนโลยกี ารเกษตรและประมงปตั ตานี เรยี บเรยี งโดย ครนู สุ ราสนิ ี ณ พทั ลงุ

2

ICHTHYOLOGY

ระบบการวิเคราะห์พรรณปลาไว้อย่างดีมาก จนได้ใช้เป็นหลักในการศึกษาทางด้านอนุกรมวิธานใน
เวลาต่อมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น จึงมีการยกย่องให้ อาร์เทดิเป็นบิดาแห่งมีนวิทยา ใน ค.ศ. 1738
ภายหลังการเสียชีวิตของอาร์เทดิ ผลงานของเขาได้รับการตีพิมพ์ภายใต้ชื่อว่า “SYSTEMA
NATURALIST” ผู้ที่นาออกเผยแพร่คือลินเนียสซึ่งเป็นเพ่ือนรักของอาร์เทดิ ต่อจากนั้นงานทางด้าน
มนี วิทยาก็ได้รับการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้แพร่หลาย ในยุโรปได้มีการศึกษาเก่ียวกับชีววิทยา
เกีย่ วกบั ปลามากขึน้ ทาให้ความรูเ้ ก่ียวกับปลาเรม่ิ กว้างขวางและละเอยี ดขึ้น (พิชยา,2555)

ความรเู้ บอ้ื งตน้ เกย่ี วกบั ปลา
การศึกษาเก่ียวกับปลา ควรจะทาความรู้จักปลาในเบ้ืองต้นก่อนว่า ปลาคืออะไร มีรูปร่าง

ลักษณะแบบใด มีชีวิตความเป็นอยู่ และความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม หรือมีประโยชน์และโทษต่อ
มนุษย์มากนอ้ ยเพียงใด

ปลาคืออะไร
ในทางมนี วิทยาได้นิยามความหมายของคาว่า ปลา ไวว้ า่ ปลาเปน็ สตั ว์เลอื ดเยน็ มกี ระดูกสัน

หลัง มีขากรรไกร เหงือก ครีบ อาศยั อยู่ในน้า รา่ งกายมเี กล็ดหรอื เมือกปกคลมุ มหี วั ใจ 2 หอ้ ง
ส่วนมากออกลกู เป็นไข่ (จนิ ดา,2555; Lagler et al.,1977)

หรืออาจจาแนกเปน็ ขอ้ ๆโดยละเอียดได้ดงั นี้ (วมิ ล,2528)
1. มกี ระดูกสนั หลัง
2. มโี นโทคอร์ด (notochord) เส้นเดยี ว ภายในกลวง ส่วนมากจะพบในระยะแรกของตัว

อ่อน
3. เปน็ สัตวท์ ีอ่ ยู่ในนา้ หรืออย่างน้อยตอ้ งเป็นท่ชี ื้นแฉะ
4. หายใจด้วยเหงอื ก
5. เปน็ สตั ว์เลือดเย็น (poikilothermal หรือ cold blooded) หมายถึง อณุ หภมู ิรา่ งกาย

จะเปลี่ยนแปลงไปตามสิง่ แวดล้อม
6. เลือดมสี ีแดง โดยมเี ฮโมโกลบิล (haemoglobin) และเป็นระบบวงจรปิด (closed

blood vascular system) ยกเว้นในปลาบางชนิด เช่น Icefish ที่ไมม่ ีเฮโมโกลบิล
7. มีจมกู สาหรับดมกล่ิน
8. ส่วนมากมฟี นั
9. มหี ัวใจ 2 ห้อง
10. ร่างกายแบ่งออกเปน็ หัว ลาตัว และหางชัดเจน

วทิ ยาลยั เทคโนโลยกี ารเกษตรและประมงปตั ตานี เรยี บเรยี งโดย ครนู สุ ราสนิ ี ณ พัทลงุ

3

ICHTHYOLOGY

11. รา่ งกายปกคลุมดว้ ยเกลด็ หรือมีเมอื กหมุ้
12. สว่ นมากมสี มมาตร-ซา้ ยขวา (bilateral symmetry) ยกเว้นปลาซีกเดียว
13. มรี ยางคค์ ู่ไมเ่ กิน 2 คู่
14. มรี ทู วารในบรเิ วณสันท้อง
15. ระบบประสาทอยู่ดา้ นหลัง (dorsal) ของทางเดนิ อาหาร
16. ระบบอวัยวะต่างๆแยกออกจากกัน
17. ส่วนมากเพศผู้และเพศเมยี แยกจากกนั ชดั เจน
18. ส่วนมากออกลูกเป็นไข่ (oviparous) บางชนดิ ออกลูกเปน็ ตวั โดยตวั ออ่ นได้รับอาหาร
จากไข่แดง (ovoviviparous) บางชนดิ ออกลกู เป็นตัวอย่างแท้จริง (viviparous) คอื ตัวอ่อนไดร้ ับ
อาหารจากแม่โดยตรง และบางชนิดออกลูกโดยไม่ได้รบั การผสมจากเช้อื ตัวผู้ (parthenogenesis)
19. โครงกระดูกอาจเปน็ กระดกู อ่อน (cartilage) หรือกระดูกแข็ง (bone) (ภาพที่ 1.1)

ก.

ข.
ภาพท่ี 1.1 ลกั ษณะของปลากระดูกแข็ง ก. ปลากระดกู อ่อน ข.
ทม่ี า: Moyle and Cech, Jr.,2004
วทิ ยาลยั เทคโนโลยกี ารเกษตรและประมงปตั ตานี เรยี บเรยี งโดย ครนู สุ ราสนิ ี ณ พัทลงุ

4

ICHTHYOLOGY

ขนาดของปลา

ปลามขี นาดแตกตา่ งกันมาก ตง้ั แต่ขนาดเล็กท่ีสดุ ซ่ึงมีความยาวเมอ่ื ถึงวัยเจริญพันธุป์ ระมาณ
10-14 มิลลเิ มตร คอื ปลาบ่แู คระ Dwarf pygmy goby, Mistichthys luzonensis) อยใู่ นมหาสมทุ ร
แปซฟิ ิกส์ ประเทศฟิลิปปนิ ส์ (Schultz,1948) และปลาท่ใี หญท่ ส่ี ุดในโลกคือปลาฉลามวาฬ (Whale
shark, Rhincodon typus) ซ่งึ มคี วามยาวประมาณ 21 เมตร น้าหนกั มากกวา่ 25 ตัน (ภาพที่ 1.2)
(บพธิ และนนั ทพร, 2540)

รปู รา่ งของปลา

ปลามีรูปร่างหลายแบบเน่ืองจากความแตกต่างของเผ่าพันธ์ุ ปลาแต่ละชนิดจะมีพฤติกรรม
รวมท้ังที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมต่างกัน สิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลทาให้ปลามีรูปร่างแตกต่างกันอย่างมาก
แต่ส่วนมากแล้วปลามีรูปทรงกระสวย (torpedo-shaped) คือ บริเวณหัวและท้ายจะเรียว ส่วนท้อง
จะปอ่ งออก เชน่ ปลาทู ปลาลงั ปลาอนิ ทรี ปลาโอ ปลาทูน่า ปลาฉลาม เป็นต้น รปู ร่างแบบอ่ืนกม็ ี คือ
รูปทรงกลม เช่น ปลาปักเป้า รูปทรงแบน เช่น ปลากระเบน รูปทรงแบบงู เช่น ปลาไหลมอเรย์ ปลา
ไหล ปลาตูหนา ( พิชยา,2555; Lagler et al., 1977)

แหล่งทอี่ ย่อู าศยั ของปลา

การทป่ี ลามีมากมายหลายชนิด สาเหตุกเ็ นื่องมาจากแหล่งที่อยู่อาศัยท่ีของปลา พ้นื ท่ีของโลก
ปกคลุมดว้ ยน้าไม่ตา่ กว่ารอ้ ยละ70 ปลาสามารถอยูไ่ ด้แทบทุกแหง่ ที่มนี ้าต้ังแต่มหาสมทุ รแอนตาร์กติก
(antarctic) ทีมีอุณหภูมิต่ากว่าจุดเยือกแข็งจนถึงในน้าพุร้อนมากกว่า 40 องศาเซลเซียส ในน้าจืด
สนิทจนถึงน้าเค็มมากกว่าน้าทะเลทั่วไป ในสายน้าที่ไหลเชี่ยวกรากจนมนุษย์ไม่สามารถลุยข้ามได้
จนถึงในน้าท่นี ิ่งสงบ ลกึ และมดื ซึ่งไม่มสี ัตวม์ ีกระดกู สนั หลังชนดิ ใดอยไู่ ด้ยกเว้นปลา นอกจากนี้ปลายัง
อยู่ในที่สูงเหนือระดับน้าทะเลได้ถึง 5 กิโลเมตร และตา่ ลงไปจากระดับน้าทะเลได้อีกถึง 11 กิโลเมตร
ดังนั้น การที่ปลามีท่ีอยู่อาศัยอย่างกว้างขวางหลากหลายเช่นน้ี จึงทาให้มีรูปร่างที่แตกต่างกันและมี
จานวนชนดิ ทีม่ ากท่สี ดุ ในจาพวกสัตว์มกี ระดกู สันหลังดว้ ยกนั (พชิ ยา,2555;Lagler et al., 1977)

วทิ ยาลยั เทคโนโลยกี ารเกษตรและประมงปตั ตานี เรยี บเรยี งโดย ครนู สุ ราสนิ ี ณ พัทลงุ

5

ICHTHYOLOGY

ก.ปลาบู่แคระ

ข.ปลาฉลามวาฬ

ภาพที่ 1.2 ก. ปลาทีเ่ ล็กทส่ี ดุ ในโลก-ปลาบู่แคระ (Dwarf pygmy goby,Mistichthys luzonensis)
ข. ปลาท่ีใหญท่ ีส่ ดุ ในโลก ปลาฉลามวาฬ (Whale shark, Rhincodon typus)

ที่มา: ก. https://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=140634.0
ข. https://th.wikipedia.org/wiki/%

วธิ กี ารดารงชวี ติ ของปลา
ปลาดารงชวี ิตอยู่ในน้า ท้ังในทะเล มหาสมุทร แม่นา้ และลาธาร บางชนดิ อาศัยอยใู่ นถา้ บาง

ชนิดอาศัยในน้าน่ิง น้าไหล หรือมีการอพยพไปมาระหว่างน้าจืดกับน้าเค็ม ปลาจะต้องอาศัยน้าเป็น
แหล่งท่ีอยู่อาศัย หรอื ใช้ชวี ิตส่วนใหญ่อยู่ในน้า หายใจด้วยเหงือก บางชนิดมอี วัยวะช่วยในการหายใจ
เปน็ สัตวเ์ ลือดเย็นคือเป็นสตั ว์ทอี่ ณุ หภมู ิร่างกายเปลย่ี นแปลงตามอณุ หภูมขิ องสงิ่ แวดล้อมรอบตัว ปลา
แต่ละชนดิ มีการกินอาหารท่ีแตกต่างกัน ปลาบางชนดิ กินพชื ปลาบางชนิดกินแพลงก์ตอน บางชนิดกิน
สตั ว์เป็นอาหาร

น้าเป็นตัวกลาง (medium) ในการอยู่อาศัยของปลา เช่นเดียวกับอากาศเป็นตัวกลางของ
สัตว์บกและสัตวป์ ีก น้าจงึ มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของปลาต้ังแต่เกดิ จนกระทงั่ ตาย เช่น เป็นแหล่งที่
เกิด กินอาหาร ด่ืมน้า หายใจ เจริญเติบโต ขับถ่าย การสังคมรวมฝูง ฯลฯ ดังน้ันคณุ สมบตั ิของนา้ จึงมี
ผลต่อปลาโดยตรง

วทิ ยาลยั เทคโนโลยกี ารเกษตรและประมงปตั ตานี เรยี บเรยี งโดย ครนู สุ ราสนิ ี ณ พัทลงุ

6

ICHTHYOLOGY

การหายใจของปลา จะใช้เหงือกแลกเปล่ียนออกซิเจนกับน้า แม้ว่าปลาบางชนิดจะมีอวัยวะ
อ่ืนช่วยหายใจ แต่ปลาก็ใช้เหงือกเป็นอวัยวะหลักในการหายใจ ปลาไม่สามารถใช้ออกซิเจนจาก
อากาศได้โดยตรงเหมือนคน ดังนั้นปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้าจึงมีความสาคัญต่อชีวิตปลาเป็น
อย่างยิ่ง

อาหารท่ีปลากินก็คือพืชน้าต่างๆ รวมท้ังแพลงก์ตอนพืช (phytoplankton) แพลงก์ตอนพืช
เหล่านี้เจริญเติบโตเพ่ิมจานวนได้โดยการสังเคราะห์แสง ดังนั้น ปริมาณแสงที่ส่องลงไปในน้าจึงมีผล
ตอ่ การสร้างอาหารของปลาโดยตรง ปลากนิ เน้อื จะกินพวกแพลงกต์ อนสัตว์ (zooplankton) และสัตว์
อื่นรวมทง้ั ปลาดว้ ยกนั เองท่มี ีขนาดเลก็ กวา่

แสงมคี วามสาคญั ตอ่ การดารงชีวติ ของปลา นอกจากจะมีผลต่อการสงั เคราะห์แสงของพืช
ในน้าแล้วยังมีผลต่อการเจริญเติบโต ความต้านทานโรค การกินอาหาร การสืบพันธุ์ และพฤติกรรม
อืน่ ๆ หากปลาได้รับแสงน้อยหรือมากเกินความต้องการแล้วจะมีผลให้ระบบต่างในร่างกายแปรปรวน
จนอาจถึงตายได้

มลภาวะในน้าก็สง่ ผลกระทบต่อปลาได้ ซงึ่ ส่วนใหญ่เกิดจากการกระทาของคน เมอื่ น้า
เป็นพิษจะส่งผลกระทบต่อปลา ปลาไม่สามารถหลีกหนีไปที่อ่ืนได้ จึงต้องอยู่ในแหล่งน้าน้ันและทนอยู่
กับความเปน็ พษิ ต่อไป

โรคพยาธแิ ละศัตรูของปลา อาจมาจากภายนอกหรือเกิดจากภายในรา่ งกายกไ็ ด้ โรคพยาธิ
จากภายนอก เชน่ ไวรสั แบคทีเรีย รา หนอน โพรโตซัว สตั วจ์ าพวกกงุ้ -ปู (crustacean) และปลา
ปากกลม (Lamprey) โรคทเ่ี กดิ จากภายในก็มี เชน่ มะเร็ง โรคกระดูก โรคตับ โรคความพกิ ารทาง
ร่างกาย เป็นตน้ ศตั รขู องปลาก็ไดแ้ กส่ ัตว์อนื่ ๆ รวมทั้งคนและปลาท่ลี ่าปลาดว้ ยกันเอง
(Lagler et al., 1977)

ประโยชน์ของปลา

1. เปน็ อาหาร ปลาเปน็ อาหารของมนุษย์และสตั ว์อน่ื มานาน ปลาเป็นอาหารโปรตีนทีย่ ่อย
ง่าย มกี รดอะมโิ นครบถ้วน (amino acid) จึงเหมาะกับคนทกุ วัย อกี ท้งั เปน็ โปรตีนท่หี าง่ายราคาถูก
ปลาจงึ เป็นอาหารหลักของมนุษย์มาโดยตลอด

2. เป็นสินค้า เมื่อมนุษย์ทุกชาติกินปลา ดังนั้นจึงเกิดมีการซ้ือขายเกิดข้ึน เป็นผลให้ปลา
กลายเปน็ สนิ ค้าอย่างหนง่ึ ทง้ั ในรูปของสดและแปรรปู จะสามารถพบเห็นการซ้ือขายปลาได้ทุกวนั

3. เป็นต้นกาเนิดของอุตสาหกรรม เนื่องจากปลาเป็นสินค้า จึงเกิดการแปรรูปเพ่ือเก็บไว้
นานๆ สะดวกต่อการใชไ้ ดท้ ุกเวลา การแปรรปู มหี ลายแบบ เช่น การทาแห้ง การทาปลากระปอ๋ ง

วทิ ยาลยั เทคโนโลยกี ารเกษตรและประมงปตั ตานี เรยี บเรยี งโดย ครนู สุ ราสนิ ี ณ พัทลงุ

7

ICHTHYOLOGY

ปลารา้ ปลาเคม็ ปลาสม้ เปน็ ต้น ขน้ั แรกอาจทาภายในครวั เรอื น ต่อมากม็ ีการพฒั นาเปน็ อตุ สาหกรรม
ขนาดใหญ่ข้ึน และก่อให้เกิดอุตสาหกรรมข้างเคียงต่อเนื่องกัน เช่น การทาอาหารสัตว์ การต่อเรือ
โรงงานนา้ แข็ง ร้านขายอุปกรณ์การประมง โรงงานอตุ สาหกรรมห้องเยน็ เป็นต้น

4. เปน็ ประโยชนท์ างการแพทย์ เชน่ การใช้กระเพาะลมของปลาเม้ียนมาเปน็ ยาบารงุ โลหิต
การใช้หนงั ปลานลิ มาปิดแผลไฟไหม้ (อภิรกั ษ์, 2561)

5. เป็นสารสกัดจากส่วนต่างๆ ของร่างกายปลา เช่น สี เมือก เพ่ือการทาสบู่ ทา
เคร่ืองสาอาง ทาน้ามันตับปลา (อภิรักษ์, 2561) นอกจากนี้น้ามันตับปลาฉลามยังใช้ประกอบเป็นยา
รักษาโรคครูมาติซัม แผลไฟไหม้ และแก้ไอ เศษปลาป่นใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์และทาปุ๋ย (Bigelow
and Schroeder, 1995)

6. กาจัดแมลง มีแมลงบางชนิดเป็นภัยต่อคน สัตว์เล้ียง และพืช แมลงบางชนิดจะวางไข่
และเติบโตในน้า หรืออยู่ในน้าตลอดชีวิต ปลาช่วยกินไข่ ตัวอ่อน และแมลงเหล่านั้นเป็นอาหาร เป็น
การรักษาสมดุลของธรรมชาติซ่ึงเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างมาก ปลาท่ีช่วยกาจัดแมลงได้อย่างดี
เช่น ปลากินยงุ

7. ประโยชน์ในด้านการศกึ ษาและวิจัย วิชาท่ศี ึกษาเกี่ยวขอ้ งกบั ปลามหี ลายอยา่ ง เช่น
ชลธีวิทยา นิเวศวิทยา สมุทรศาสตร์ ส่วนศาสตร์ประยุกต์ก็มี เช่น การเพาะเล้ียงสัตว์น้า ผลิตภัณฑ์
สัตว์น้า นอกจากน้ียังมีการศึกษาท่ีเกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์สาขาอ่ืนๆ เช่น การใช้ปลาทดลองเพ่ือ
ศกึ ษาความเป็นพิษของสารพิษในน้า เป็นต้น

8. เป็นกีฬา ท่องเที่ยว และนันทนาการ เกมส์การตกปลาเป็นการพักผ่อนและเป็นกีฬา
ปลาเป็นส่วนประกอบของธรรมชาติท่ีประดับโลกให้สวยงาม เม่ือเลี้ยงไว้ในบ้านจะทาให้เกิดความ
เพลดิ เพลินในใจ

9. เป็นส่วนหน่ึงของส่ิงแวดล้อม ปลาส่วนใหญ่เป็นส่วนประกอบท่ีสาคัญของระบบนิเวศ
เนือ่ งจากเป็นผทู้ ่อี ยูใ่ นชน้ั บนของหว่ งโซอ่ าหาร ปลาเป็นแหลง่ เตอื นภยั ทางสิง่ แวดลอ้ ม

อันตรายจากปลา

แม้ว่าปลาส่วนใหญ่จะมีประโยชน์ต่อมนุษย์ แต่ก็มีบ้างที่เป็นโทษหรือมีอันตรายถึงชีวิต
เราจงึ ควรได้รู้จกั ไวเ้ พอื่ เปน็ การปอ้ งกนั ตวั จากอันตรายเหล่าน้นั ซึ่งได้แก่

1. ปลากินคน โดยเฉพาะปลาฉลามเป็นปลาที่ดุร้าย หากเห็นเรือขนาดเล็ก ปลาเหลา่ นีอ้ าจ
เข้าโจมตีทาให้เรือล่มแล้วกัดกินเหยื่อ ปลาฉลามที่เป็นอันตรายมีเพียงบางชนิด เช่น ปลาฉลามขาว
หรือฉลามกินคน (White shark, Man-eater, Carcharodon carcharias- เป็นชนิดท่ีดุร้ายท่ีสุด)
ส่วนปลาฉลามวาฬซ่ึงมีขนาดใหญ่มากไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ปลาชนิดน้ีกินแต่เพียงปลาและ

วทิ ยาลยั เทคโนโลยกี ารเกษตรและประมงปตั ตานี เรยี บเรยี งโดย ครนู สุ ราสนิ ี ณ พทั ลงุ

8

ICHTHYOLOGY

สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเท่านั้น ปลาฉลามท่ีไม่เป็นอันตรายมีประมาณร้อยละ 85 ของปลาฉลามทั้งหมด
(bigelow and Schroeder, Pygocentrus 1995) นอกจากนี้ก็มีปลาปิรันย่า ( Piranhas หรือ
Piranya) เป็นปลาพ้ืนเมืองในอเมริกาใต้ สกุล Serrasalmus และ จัดว่าเป็นสกุลปลาน้าจืดท่ีดุร้าย
ทส่ี ุดในโลก ชอบหากินเปน็ ฝูง สามารถรุมกินมนุษย์หรือสัตว์ขนาดใหญ่ได้หมดภายในเวลาอันรวดเร็ว
เพราะมีฟันท่ีคมกริบเหมือนใบมีด แต่ก็มีปลาปิรันยาหลายชนิดที่เป็นปลากินพืชและมีนิสัยไม่ดุร้าย
(สภุ าพร, 2542)

2. พิษจากต่อมพิษ ปลาบางชนิดมีต่อมพิษตามส่วนต่างๆของร่างกาย ส่วนใหญ่จะอยู่ตาม
เงี่ยงหรือก้านครีบแข็ง เช่น ปลามังกร ปลากะรังหัวโขน ปลาหิน ปลากระเบนบางชนิด ปลากลุ่มนี้มี
พิษร้ายแรงถึงขั้นทาให้เสียชีวิตได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว ส่วนปลาอ่ืนๆมีพิษเพียงแต่ทาให้เจ็บปวด
เท่าน้ัน เชน่ ปลากด ปลาแขยง ปลาดกุ ปลาสลดิ หิน ปลาขีต้ งั เปด็ ปลาฉลามบางชนิด (สืบสิน, 2527)

3. เนือ้ เป็นพิษ ปลาบางชนิดมเี นือ้ เป็นพิษ โดยเฉพาะปลาปักเป้า (Tetraodontidae) มพี ิษ
ทาให้ชาหรือเป็นอัมพาตและอาจถึงแก่ชีวิตหากรักษาไม่ทัน เนื้อปลาปักเป้าอาจรับประทานได้ ถ้า
ได้รับการล้างและทาอย่างถูกวิธี ชาวญ่ีปุ่นเป็นชนชาติที่มีความรู้ในการประกอบอาหารจากเน้ือปลา
ชนิดนี้ (Halstead, 1995) ส่วนปลาอ่ืนที่มีพิษส่วนใหญ่จะเป็นเพราะอาหารท่ีปลากินเข้าไปสะสมอยู่
ในเนื้อ เมื่อมนุษย์รับประทานปลาน้ันเข้าไปจึงเกิดเป็นพิษ เช่น ปลาบ้าหรือปลาพลวงในบางฤดูอาจ
กินเมล็ดพืชบางชนิดซ่ึงมีพิษเข้าไปหรือปลาบางชนดิ กินแพลงก์ตอน ในบางฤดูกาลจะมีแพลงก์ตอนที่
เป็นพิษเกิดข้ึนมาก และปลาได้กินแพลงก์ตอนน้ันเข้าไปสะสมในตัว ทาให้เนื้อเป็นพิษต่อมนุษย์ท่ี
รับประทานปลานัน้ เข้าไป

4. กระแสไฟฟา้ ปลาท่ีมกี ระแสไฟฟ้ามีอยู่ไม่มากนกั แตอ่ ันตรายต่อมนุษย์มไี ด้ตั้งแต่รสู้ ึกชา
ไปจนถงึ ขัน้ เสยี ชีวิต ปลาทมี่ กี ระแสไฟฟา้ เชน่ ปลาไหลไฟฟา้ ปลาดุกไฟฟา้ ปลากระเบนไฟฟ้า

วทิ ยาลยั เทคโนโลยกี ารเกษตรและประมงปตั ตานี เรยี บเรยี งโดย ครนู สุ ราสนิ ี ณ พทั ลงุ


Click to View FlipBook Version