The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หน่วยที่ 2 ปัจจัยและ สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกบการผลิตกล้วยไม้ตัดดอกฯ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by supat moolmuang, 2019-06-06 02:43:37

หน่วยที่ 2 ปัจจัยและ สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกบการผลิตกล้วยไม้ตัดดอกฯ

หน่วยที่ 2 ปัจจัยและ สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกบการผลิตกล้วยไม้ตัดดอกฯ

หย หน่วยที่ 2
ปัจจยั และ สภาพแวดล้อมทีเ่ กยี่ วข้องกบั การผลติ กล้วยไม้ตดั ดอก

และกล้วยไม้กระถางเพ่ือการค้า

นางสุพัตร มูลเมือง
รายวชิ าการผลติ กล้วยไมเ้ พือ่ การค้า (3502-2203)

หลักสตู รประกาศนยี บตั รวิชาชพี ช้นั สูง

ใบความรู้ที่ 2 หน่วยท่ี 2
สอนคร้ังท่ี 3
วชิ า การผลิตกลว้ ยไมเ้ พือ่ การคา้ (3502-2203) รวม 4 ชว่ั โมง
ช่ือหน่วย ปัจจยั และสภาพแวดลอ้ มที่เกี่ยวขอ้ งกบั การผลิต
กลว้ ยไมต้ ดั ดอกและกลว้ ยไมก้ ระถางเพือ่ การคา้ จานวน4 ชวั่ โมง
ชื่อเร่ือง ปัจจยั และสภาพแวดลอ้ มที่เกี่ยวขอ้ งกบั การผลิตกลว้ ยไมต้ ดั ดอกและ
กลว้ ยไมก้ ระถางเพอื่ การคา้

หัวเร่ือง

1 ปจั จยั และสิง่ แวดล้อมทีเ่ กี่ยวข้องกบั การเจริญเตบิ โตของกลว้ ยไม้

สาระสาคญั

กล้วยไม้เป็นพืชวงศ์ใหญ่ มีประมาณ 25,000 - 30,000 ชนิด (สุทัศน์, 2554) มีการกระจายพันธ์ุได้อย่าง
กว้างขวางมากทั่วไปแทบทุกมุมโลก ท้ังในเขตร้อนชื้น เขตอบอุ่น และเขตหนาว นอกจากนี้ยังพบว่ามีกล้วยไม้ท่ี
เจริญเติบโตอยู่ในพ้ืนท่ีราบลุ่มจนกระท่ังเทือกเขาสูง จากถ่ินกาเนิดที่แตกต่างกัน มีผลทาให้ลักษณะนิสัยการ
ดารงชีวิต และการปรบั ตวั ใหเ้ ขา้ กบั สภาพแวดลอ้ มในแต่ละถนิ่ ท่ีอยูอ่ าศยั เพอ่ื ความอย่รู อดกย็ ่อมมีความแตกต่างกัน
กล้วยไม้เป็นต้นไม้ท่ีมีใบสีเขียวเช่นเดียวกับต้นไม้โดยทั่วไป มีระบบรากหาอาหาร มีความต้องการแสงเพื่อการ
สังเคราะห์แสงสาหรับสร้างพลังงาน เก็บสะสมอาหาร ต้องการความช้ืน ธาตุอาหาร และอุณหภูมิท่ีเหมาะสมเพื่อ
การดารงชีวิตและช่วยในการเจรญิ เติบโต ผลิดอก และติดฝัก สาหรับการสืบพันธ์ุต่อไป เช่นเดียวกับต้นไม้ชนิดอื่น
ทว่ั ไป

จดุ ประสงค์การเรียนรู้

1. บอกปัจจยั สงิ่ แวดลอ้ มทีเ่ ก่ยี วขอ้ งกับการเจริญเติบโตของกลว้ ยไม้ได้
2. อธบิ ายถงึ ปจั จัยส่งิ แวดล้อมท่ีเกย่ี วขอ้ งกับการเจริญเติบโตของกลว้ ยไม้ได้

เนือ้ หาสาระ

1. ปัจจัยและสิง่ แวดล้อมท่เี ก่ยี วข้องกับการเจรญิ เติบโตของกล้วยไม้

1,1.สายพนั ธ์ุและคุณภาพของสายพนั ุธ์ุ การเลอื กสายพนั ธุ์เป็นปัจจยั สาคัญที่สดุ ทีจ่ ะต้องนามาพจิ ารณา
เป็นอนั ดบั แรก หากเลือกพันธุ์ที่มีลกั ษณะดปี ลูกงา่ ย ต้านทานโรค การเจรญิ เติบโตและออกดอกเร็วให้
ผลผลิตสงู ท้งั น้ตี ้องคานงึ ถึงความตอ้ งการของตลาดด้วย จะทาให้การปลูกกล้วยไม้เพื่อการค้าประสบ
ความสาเร็จ ลกั ษณะพันธทุ์ ี่ดี มดี ังน้ี

1.ปลูกเล้ียงง่าย ต้านทานโรค โดยเฉพาะโรคทีร่ ะบาดไดง้ ่าย
2.ต้นเจรญิ เตบิ โตเรว็ ออกดอกเร็ว และออดดกหรอื ออกดอกท้ังปี
3.รปู ทรงตน้ แข็งแรง ไม่ล้มง่าย ลาตน้ ไมส่ ูงเกนิ ไป มปี ล้องส้ัน
4.เป็นพนั ธุ์ท่แี มลงไมช่ อบ ทาใหต้ ้น ใบ ดอก ปลอดภยั จากแมลง
5.ใบทีขนาดไมใ่ หญ่จนเกนิ ไปจนเป็นพมุ่ ทึบทาให้ไม่สะดวกในการพ่นยากาจดั ศัตรพู ชื
1.2 ปจั จยั ตามธรรมชาติ มหี ลายประการ ได้แก่
1.2.1. แสงสว่าง แสงสว่างมีอิทธิพลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้วยไม้ โดยแสงสว่างเป็น
เครื่องช่วยให้น้าทอี่ ยู่ในใบกับก๊าซคารบ์ อนไดออกไซด์ที่ต้นไม้ดูดจากอากาศมีปฏกิ ิริยากัน ประ กอบกับวัตถุสีเขียว
ในใบซึ่งเรียกว่า คลอโรฟีลล์ ทาให้เกิดเป็นน้าตาลกลูโคสเก็บไว้ เม่ือกล้วยไม้หายใจเอาก๊าซออกซิเจนเข้าไปก็จะ
เกิดปฏิกิริยากับน้าตาลกลูโคส ทาให้เกิดเป็นพลังงานสร้างความเจริญเติบโตให้กับต้นกล้วยไม้ ดังสมการโดยย่อ
ดงั น้ี

คาร์บอนไดออกไซด์ + น้า แสงสว่าง นา้ ตาล + ออกซิเจน
คลอโรฟิลล์

นอกจากน้ีแสงสว่างยังมีอิทธิพลต่อการออกดอกและความสงู ของต้นกล้วยไม้ด้วย อีกทั้งยังเป็นตัวควบคมุ
การออกดอกของกล้วยไม้บางชนิด เช่น กล้วยไม้สกุลแมลงปอ และลูกผสมแวนด้าใบกลม ถ้าได้รับความเข้มของ
แสงในแต่ละวันน้อยกว่าความต้องการก็จะมีแต่การเจริญเติบโตทางลาต้นและใบ โดยไม่ออกดอกหรือออกดอก
นอ้ ยลงกว่าปกติ ดงั นั้นแสงสว่างจงึ เป็นสิ่งแวดล้อมท่ขี าดไม่ได้ในการดารงชวี ติ ของกล้วยไม้

กลว้ ยไมแ้ ต่ละชนิดแตล่ ะสกลุ จะต้องการแสงสว่างท่ีไม่เหมือนกัน กล้วยไม้บางชนิดต้องการแสงเต็มที่ บาง
ชนิดต้องการแสงราไรแต่บางชนิดต้องการร่มเงามาก โดยโครงสร้างของใบกล้วยไม้จะมีความสัมพันธ์กับความ
ต้องการแสง กล่าวคือ กล้วยไม้ใบหนาและใบกลมจะต้องการแสงแดดเต็มที่ เมื่อโครงสร้างใบเร่ิมกว้างและน่ิมจะ

ต้องการแสงแดดน้อยลง และเมื่อใบนิ่มสีเขียวมีแผ่นใบใหญ่จะต้องการร่มเงามาก ดังน้ันจึงควรเลือกตาข่ายพราง
แสงใหแ้ สงผา่ นไดม้ ากน้อยตามความตอ้ งการของกลว้ ยไมช้ นดิ นั้น ๆ (นฤทธ,์ิ 2551)

อยา่ งไรกต็ ามกลว้ ยไม้สว่ นใหญไ่ ม่ต้องการแสงแดดเต็มท่ี (ยกเว้นสกุลแวนดา้ ประเภทใบกลม) ซ่ึงจะเห็นได้
จากการเจริญเติบโตของกลว้ ยไม้ท่ีมักเจริญภายใต้ร่มเงาของต้นไมใ้ หญ่ ปรมิ าณความต้องการแสงของกล้วยไม้บาง
ชนิด เช่น กล้วยไม้สกุลหวายและประเภทแคทลยี าต้องการแสงประมาณ 60 - 70 เปอร์เซ็นต์ กล้วยไม้ประเภทไม่
แตกกอตอ้ งการแสงประมาณ 50 เปอรเ์ ซน็ ต์ ดงั นั้นการปลกู เล้ียงกลว้ ยไมใ้ นประเทศไทยจาเป็นที่จะต้องมีการพราง
แสงแดด หรือปลูกในบริเวณที่มีรม่ เงา ซึ่งการให้แสงสวา่ งแก่กล้วยไม้น้ันควรยดึ หลักที่ว่า ให้กล้วยไม้ได้รับแสงมาก
ท่ีสุดแต่ร้อนน้อยที่สุด เพราะแสงสว่างแรงเกินไปอาจไปทาลายคลอโรฟีลล์เป็นอันตรายต่อกล้วยไม้ได้ เช่น ใบไหม้
หรือทาให้กล้วยไม้ตายได้ แต่ถ้ากล้วยไม้ได้รับแสงน้อยเกินไปใบจะมีสีเขียวเข้มไม่สดใส บางครั้งต้นสูงชะลูด
อ่อนแอ เปราะหักง่าย แต่ถ้ากล้วยไม้ได้รับแสงพอเหมาะใบจะมีสีเขียวอมเหลืองนิด ๆ และสดใส นอกจากน้ีถ้า
ทาเลปลูกกล้วยไม้มีกระแสลมธรรมชาติพัดถ่ายเทความร้อนออกไปอย่างสม่าเสมอ จะพบว่ากล้วยไม้เจริญเติบโต
แข็งแรงและใหด้ อกได้ดี

1.2.2. ความชุ่มชื้นหรือน้า หมายถึง ความช้ืนที่กล้วยไม้นาไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น ความชื้นในอากาศ
รอบๆ ต้นกล้วยไม้ ความชื้นของเครื่องปลูก และความชน้ื ตามฤดูกาล

เน่อื งจากความชุ่มชน้ื หรอื น้าเปน็ ตัวชว่ ยละลายสารตา่ งๆ ท่เี ปน็ อาหารของกล้วยไมใ้ ห้กลว้ ยไม้ดูดไปใช้เป็น
ประโยชน์ได้ เป็นตัวสะสมอาหารให้แก่กล้วยไม้ และมีหน้าที่หล่อเล้ยี งส่วนต่าง ๆ ของกล้วยไม้เช่น ลาต้น ใบ ดอก
ให้สดชื่นและคงรูปร่างอยู่ได้ ซึ่งภายในทุกส่วนของกล้วยไม้จะมีน้าเป็นสว่ นประกอบอยู่ด้วยเสมอ เพราะน้าเป็นสิง่
ที่ช่วยให้แต่ละส่วนของกล้วยไม้สามารถดารงคงรูปลกั ษณะของพันธุกรรมไว้ได้ นอกจากน้ันน้ายังมีบทบาทภายใน
ระบบสรีรวทิ ยาของกล้วยไม้ เพื่อชว่ ยให้ชีวิตกลว้ ยไมเ้ จริญงอกงามและสร้างความสมบูรณ์พร้อมภายในตัวเองอย่าง
สาคญั ดังนั้น ความชุ่มชน้ื กบั น้าจึงเปน็ ส่งิ ทแี่ ยกออกจากกนั เสียมิได้ และเปน็ ปจั จยั ท่ีขาดไม่ไดส้ าหรับการดารงชีวิต
ของกล้วยไม้

กลว้ ยไมส้ ่วนใหญจ่ ะต้องการความชื้นสูงและมีความช้ืนสัมพัทธใ์ นอากาศ 60 - 80 เปอร์เซน็ ต์ ส่วนบรเิ วณ
รากกค็ วรมคี วามชนื้ แต่ไมเ่ ปียกแฉะเกินไป โดยเฉพาะกล้วยไม้ที่มรี ะบบรากแบบรากอากาศ กล้วยไม้ท่มี ีใบหนา ผวิ
ใบหยาบ และมีลาลูกกล้วย จะทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีกว่ากล้วยไม้ท่ีมีใบบาง ผิวใบน่ิม และไม่มีลาลูกกล้วย
เน่ืองจากกล้วยไม้ไทยหลายชนดิ ต้องผา่ นความแหง้ แลง้ ในชว่ งฤดูหนาว (พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์) จึงจะออกดอก
ในช่วงฤดูร้อนหรือต้นฤดูฝน (มีนาคม -กรกฎาคม) ดังนั้น บริเวณท่ีปลูกจึงต้องให้ความชื้นสูงพอสมควร โดยการ
ป้องกันลมโกรกและพื้นทางเดินควรจะอุ้มน้าได้ นอกจากน้ีพ้ืนท่ีปลูกจะต้องโปร่งเพ่ือให้มีการระบายน้าท่ีดี และ
ควรรดนา้ เพยี งแค่ให้ชนื้ เทา่ น้ันอยา่ รดน้าบ่อยเกินไปจนรากไมม่ ีโอกาสท่จี ะแห้ง เพราะกลว้ ยไมท้ ่ไี ด้รบั ความช้ืนมาก
เกนิ ไปมโี อกาสตายได้มากกวา่ กลว้ ยไมท้ ่ีขาดนา้

สาหรับการปรับความชื้นภายในเรือนกล้วยไม้ให้เหมาะสมน้ัน ทาได้โดยการให้น้าในปริมาณที่พอเหมาะ
ปลูกกล้วยไม้ในปริมาณท่ีเหมาะสม และจัดสภาพแวดล้อมภายนอกเรือนกล้วยไม้ให้มีความชื้นเพียงพอ ส่วนน้าที่
นามาใช้รดกล้วยไม้น้ันควรเป็นน้าที่มีคุณภาพดี ซึ่งได้มาจากแม่น้า ลาคลองธรรมชาติ คลองชลประทาน หรืออ่าง
เก็บนา้ ที่ไมม่ ปี ัญหาน้าเสยี หรือนา้ เคม็ และต้องมีปรมิ าณเพียงพอตลอดฤดปู ลกู

1.2.3. อากาศ หมายถึง บรรยากาศตามธรรมชาติซ่ึงล้อมรอบตัวเราและกล้วยไม้ เช่น ก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซออกซิเจน กล้วยไม้ดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปทางใบ เพ่ือนาไปสร้างน้าตาล
กลูโคส ส่วนก๊าซออกซิเจนช่วยทาให้น้าตาลกลูโคสสลายตัว ก่อให้เกิดพลังงานสร้างความเจริญเติบโตแก่ต้น
กล้วยไม้ นอกจากนอี้ ากาศยังเป็นสอ่ื นาความอบอุน่ และความชนื้ เพ่ือถ่ายเทให้แก่กลว้ ยไม้ ทาให้เครื่องปลกู แห้งเร็ว
และยงั ช่วยให้นา้ ในกลว้ ยไมร้ ะเหยออกทางรูตามผิวใบอันเปน็ การคายนา้ ซึ่งการหายใจของกลว้ ยไม้และการระเหย
ของนา้ ออกทางใบจะช่วยให้กล้วยไมด้ ดู น้าดูดอาหารขน้ึ ทางรากได้มากขึ้น

สาหรับส่วนผสมของอากาศตามธรรมชาตไิ ม่มีความสาคัญมากนัก เพราะเราไม่สามารถควบคุมได้ แต่การ
หมุนเวียนถ่ายเทอากาศภายในเรือนกล้วยไม้จะทาให้กล้วยไม้ได้รับอากาศบริสุทธิ์อยู่เสมอ เพราะกล้วยไม้
เจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีลมอ่อนๆพัดผ่าน โดยเฉพาะกล้วยที่มีระบบรากแบบรากอากาศ ดังนั้นบริเวณท่ีปลูกเล้ียง
กล้วยไม้ควรจะเป็นท่ีโล่ง เพ่ือให้ลมพัดผ่านท้ังบริเวณต้นและราก มีการเคล่ือนที่ของอากาศดี ซ่ึงจะเห็นได้จาก
กล้วยไม้ท่ีเจริญเติบโตดีมักปลูกเลี้ยงโดยใช้วิธีแขวน และมีการใช้เครื่องปลูกและภาชนะปลูกท่ีโปร่ง เพื่อให้มีการ
ถ่ายเทอากาศที่ดี ไม่ควรปลูกกล้วยไม้ในบริเวณที่อับลมหรือการระบายอากาศไม่ดี เพราะจะทาให้เกิดสภาพร้อน
ชืน้ และเกิดการระบาดของโรคไดง้ า่ ย

1.2.4. อุณหภูมิ หมายถึง ความร้อนหนาวของอากาศ อุณหภูมิเป็นปัจจัยท่ีควบคุมอัตราเร็วช้าของ
กระบวนต่างๆ ในกล้วยไม้ เชน่ กระบวนการสังเคราะหแ์ สง กระบวนการหายใจ กระบวนการเคลือ่ นย้ายสารต่างๆ
ก ร ะ บ ว น ก า ร อ อ ก ด อ ก ถ้ า ห า ก อุ ณ ห ภู มิ สู ง ก ร ะ บ ว น ก า ร ต่ า ง ๆ จ ะ เ กิ ด เ ร็ ว ขึ้ น
ถ้าอุณหภูมิต่ากระบวนการต่างๆก็จะชา้ ลง แต่ก็มีขีดจากัดคือถ้าอุณหภูมิสูงเกินไปหรือตา่ เกินไปกระบวนการต่างๆ
กจ็ ะหยดุ เชน่ กัน

กล้วยไม้ในเขตร้อนจะเจริญเติบโตได้ดีในช่วงอุณหภูมิประมาณ 25-35 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่า
กล้วยไม้จะมีการเจริญเติบโตลดลง และอาจจะทาให้กล้วยไม้พักตัว ไม่ออกดอก โดยเฉพาะสกุลหวาย ไม่ควรปลูก
ในที่ท่ีอุณหภูมิช่วงกลางคืนต่ากว่า 18 องศาเซลเซียส แต่สาหรับในประเทศไทยปัจจัยท่ีเกี่ยวกับอุณหภูมิไม่ค่อย
เป็นอปุ สรรคมากนกั ในการปลูกเล้ยี งกลว้ ยไม้ เนื่องจากความแตกต่างของระดบั อุณหภูมิในแตล่ ะท้องท่ีมีไม่มากนัก
แต่อาจจะมีปัญหาเรื่องอุณหภูมิสูงเกินไปคือแดดจัดบ้างในบางฤดู ดังนั้น ในการสร้างเรือนกล้วยไม้ให้ยึดหลัก
อุณหภมู ิทเ่ี ป็นผลมาจากความเข้มของแสงแดด ความชนื้ ในบรเิ วณนนั้ และลมทพ่ี ดั ผ่าน

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกล้วยไม้แต่ละชนิดมีความต้องการอุณหภูมิท่ีไม่เหมือนกัน กล้วยไม้บางชนิด
ต้องการอุณหภูมิค่อนข้างเย็น ดังน้ันควรพิจารณาเลือกพ้ืนท่ีปลูกให้เหมาะสมกับความต้องการของกล้วยไม้ชนิดที่

จะนามาปลูก และพิจารณาเลือกกล้วยไม้ซึ่งมีนิสัยเหมาะสมกับอุณหภูมิในสภาพธรรมชาติของพื้นท่ี ซ่ึงมีอยู่แล้วก็
เปน็ เร่อื งทส่ี าคัญ

1.3. โรงเรอื นปลกู เล้ียงกลว้ ยไม้

ในการสร้างโรงเรือนสาหรับปลูกกล้วยไม้น้ัน จุดประสงค์ เพ่ือใช้จัดวางต้นกล้วยไม้ให้เป็น
ระเบียบสะดวกแก่การทางาน และปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการเจริญเติบโต และการ
ออกดอกของกล้วยไม้ที่อยู่ในโรงเรือน ต้นกล้วยไม้ทุกชนิดมีความต้องการแสงแดดเพื่อใช้
สังเคราะห์แสง สร้างอาหารนาไปใช้ในการเจริญเติบโต แต่ต้นกล้วยไม้ไมส่ ามารถทนต่อความ
ร้อนท่ีมากับแสงแดดได้ จึงจาเป็นต้องมีการพรางแสงเพื่อช่วยลดอุณหภูมิให้ต่าลง โดยสร้าง
หลงั คาโรงเรอื นใหพ้ รางแสงเหลอื เพยี ง 50 - 70 เปอรเ์ ซ็นต์ (อมั พร, 2553) ตามความตอ้ งการ
ของกล้วยไม้แต่ละชนิด และต้องมีการระบายอากาศดีไม่ให้ร้อนอบอ้าว แต่ไม่ควรให้ลมโกรก
แรงเกินไปจนพัดพาความช้ืนไปหมด โครงสร้างโรงเรือนควรแข็งแรง โรงเรือนสร้างได้เป็น 2
แบบ คอื

1. สรา้ งเป็นโรงเรือนหลังใหญ่แล้วสรา้ งโต๊ะวางกล้วยไมห้ รอื ราวแขวนไว้ภายใน
2. สร้างโต๊ะวางกล้วยไม้ แล้วใช้ไม้ต่อจากโต๊ะข้ึนไปเพื่อทาโครงหลังคา โครงหลังคาของโรงเรือนควรเป็น
เสาคอนกรีตหรือแป๊บน้า ฝังลึกในดิน 50 เซนติเมตร โรงเรือนสูง 2-3 เมตร ใช้ตาข่ายไนล่อนหรือซาแรนคลุมหลัง
คา เน่ืองจากมีน้าหนักเบา ใช้ได้ง่าย และมีราคาถูก โดยขึงให้ตึงและยึดติดกับลวดให้เรียบร้อย การขึงตาข่ายไน
ลอ่ นสดี า อาจทาโดย

1). เย็บตดิ เปน็ ผืนเดียวกัน แล้วเอาขึ้นคลุมหลงั คาหรือขงึ บนหลังคา แลว้ จงึ เยบ็ ติดกนั ตรงึ กับลวด
เป็นระยะ ๆ เพ่ือกันกระพือ มขี อ้ เสียทีไ่ ม่ต้านพายอุ าจถกู พัดพงั ไดง้ า่ ย

2) ขึงแต่ละผืนชิดกันหรือเว้นช่องว่างเล็กน้อย และตรึงกับลวดเป็นระยะ ๆ จะช่วยลดแรงปะทะ
ของลมพายุ

3) ขึงตา่ งระดับ ใหแ้ ต่ละแผ่น (หน้ากว้าง 2 เมตร) อยู่สลับกนั สงู – ต่า เพื่อใหร้ ะบายอากาศได้ดี
ขึน้ และลดแรงปะทะของลมพายุ
ตารางท่ี 4.1 ลกั ษณะโรงเรือนของกลว้ ยไม้แต่ละสกลุ

สกุล ความสงู โรงเรือน การพรางแสง วิธกี ารปลูก
หวาย (เมตร) (%) วางบนช้ัน
2.5-3.5 50-60

ออนซิเดยี ม 2.5-3.5 40-50 วางบนชัน้
อะแรนด้า 3.0-4.0 50-70 วางบนชนั้ หรอื ปลูกลงแปลง
ม็อคคาร่า 3.0-4.0 50-70 วางบนชั้นหรอื ปลกู ลงแปลง
แวนด้า
3.0-4.0 40-50 วางบนชน้ั หรือแขวนหรอื ลงแปลง
-ใบแบน 3.0-4.0 20-30 ปลกู ลงแปลง
-ใบรอ่ ง
ท่มี า: ดิษฐ์ ช่ังหิน, 2553

พ้ืนโรงเรือนกล้วยไม้ ภายในเรือนกล้วยไม้ควรจะมีความช้ืนพอสมควรจึงควรหาวัสดุท่ีอมน้าได้มาก เช่น
ทราย ขี้เถ้าแกลบ เททับลงไป เกลี่ยให้เรียบเสมอกัน หนาประมาณ 2 - 4 น้ิว เรียงอิฐเป็นทางเดินภายใน หรือทับ
ทั่วบริเวณพ้ืน วัสดุเหล่านี้จะเก็บความชื้นจากน้าท่ีรดหรือน้าฝน และคายความช้ืนให้แก่กล้วยไม้ ทาให้เรือน
กล้วยไม้เย็นลงและมีความช้ืนสูงข้ึน สาหรับต้นกล้วยไม้ท่ีปลูกโดยวางบนโต๊ะนั้น ทาโต๊ะสูง 70 เซนติเมตร กว้าง 1
เมตร และยาว 15 - 20 เมตร แล้วแต่ขนาดพ้ืนที่ เว้นทางเดินกว้าง 1 - 1.2 เมตร เพื่อความสะดวกในการทางาน
พืน้ โต๊ะอาจใชไ้ ม้ไผ่ สายโทรศัพท์ หรอื ลวดสลิงขงึ ตามความยาวของโต๊ะ สาหรบั ไม้นั้นใช้ได้ดที สี่ ุดแต่มีราคาแพง ไม้
ไผ่ผุง่าย สายโทรศัพท์ใช้ได้ทนทานแต่หย่อนได้ง่ายเม่ือต้นโตขึ้นและมีน้าหนักมากข้ึน มีผู้ดัดแปลงใช้เสาคอนกรีต
อัดแรงท่อนเลก็ กว่าเสารั้วมาใชว้ างจะลดตน้ ทนุ ในระยะยาวได้

สาหรบั กลว้ ยไมป้ ระเภทรากอากาศ เช่น แวนดา้ แอสโคเซนด้า ต้องปลูกในกระเชา้ แล้วแขวนราวดว้ ยลวด
ราวควรสูงจากพื้นดินประมาณ 2.5 เมตร ทา 4 ราว ระยะห่างระหว่างราว 40 - 50 เซนติเมตร แล้วเว้นทางเดิน
ประมาณ 1 เมตร ถา้ เป็นพวกแวนด้าตน้ ใหญ่ ราวตอ้ งสงู กว่าน้ี เพื่อไม่ให้รากระพ้นื ดิน

รปู ที่ 4.1 โรงเรอื นปลกู เลีย้ งกล้วยไม้
ถ่ายภาพโดย สุพัตร มลู เมือง, 2555

1.4. วสั ดปุ ลูก และภาชนะปลกู กล้วยไม้

กล้วยไม้มีความจาเป็นสาหรับใช้วัสดุห่อหุ้มส่วนของราก และมีความสาคัญต่อการเจริญเติบโตของระบบ
ราก รากทาหน้าทีล่ าเลยี งนา้ และแรธ่ าตุไปยงั ส่วนของลาต้น เพอ่ื ใหต้ ้นเจรญิ เตบิ โต พัฒนาออกดอกและให้ผล (ฝัก)

นอกจากนก้ี ลว้ ยไมป้ ระเภทรากอากาศ และกง่ึ อากาศ ( epiphyte ) มีหน้าท่แี ตกต่างจากพชื ตระกลู อื่น ๆ
กล่าวคือ เซลรากกล้วยไม้มีคลอโรฟิลล์ (chlorophylls) จึงสามารถสร้างอาหารเองได้โดยวิธีการสังเคราะห์แสง (
photosynthesis ) อาหารท่รี ากสรา้ งขนึ้ จะนาไปใช้ในกระบวนการตา่ ง ๆ (metabolism) ในส่วนของรากเองและ
ส่วนอื่น ๆ ทไ่ี มม่ ีการสังเคราะห์แสง กล้วยไมแ้ ต่ละชนดิ ใช้วัสดปุ ลกู แตกตา่ งกนั ซงึ่ รายละเอยี ดในหนว่ ยต่อไป

เอกสารอา้ งอิง

กมลวรรณ เตชะวนิช. 2552. กล้วยไม้..คู่มอื การปลูกและสายพันธยุ์ อดนยิ ม. กรงุ เทพ. บรษิ ทั พมิ พ์ดกี ารพิมพ.์
กรมวชิ าการเกษตร. 2552. ไม้ดอกไมป้ ระดบั . กรุงเทพ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ.์
ดษิ ฐ์ ชัง่ หนิ . 2553. เอกสารประกอบการสอนวชิ ากล้วยไม.้ วทิ ยาลยั เกษตรและเทคโนโลยแี พร่. (อัดสาเนา).
นฤทธ์ิ เจรญิ กจิ ประเสริฐ. 2551. คมู่ อื การปลูกเล้ียงกล้วยไม้. กรงุ เทพ. เกษตรสยามบคุ๊ ส์.
สาอางค์ เนตรนารี. 2550. กลว้ ยไม.้ กรงุ เทพ. อักษรสยามการพมิ พ์.
ระพี สาครกิ . 2549. กล้วยไม้สาหรับผู้เรม่ิ ตน้ . กรงุ เทพ. บรษิ ัท วศิระ จากดั .
อัมพร เดชสถาพร. 2553. กลว้ ยไม.้ กรุงเทพ. ธนธชั การพิมพ์.


Click to View FlipBook Version